คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1
เคยอ่านเจอมาว่าเวลาจะซื้อหุ้นดูแต่ pe ratio ไม่ได้เพราะว่า บริษัทนั้นอาจจะต้องการเพิ่มกำไรต่อหุ้นให้มากโดยใช้ส่วนหนี้สินมากและใช้จำนวนหุ้นที่น้อย เนื่องจากต้นทุนเงินกู้โดยปกติ (cost of debt) ถูกกว่า ต้นทุนเงินทุน (cost of capital) อยากให้ช่วยขยายความให้หน่อย และมีคำถามดังนี้ 1. สมมุติกู้เงินมา 1000 ล้าน จ่ายดอก 7% cost of debt คือ 70 ล้านใช่ไหม แต่ถ้าเอาเงินของ บ.ล. ไปลงทุนเองจะต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายทีเดียว 1000 ล้านใช่หรอกป่าว ถ้าว่างรบกวนตอบให้หน่อยได้ไหมครับ เพราะไม่รู้จะไปถามใครดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 2
การพิจารณาราคาเพื่อลงทุน คงต้องพิจารณาหลายปัจจัยร่วมด้วยกัน จะดูเพียงตัวใดตัวหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ครับ อาจเกิดการผิดพลาดขึ้นได้
การดูแต่ P/E อย่างเดียว ก็อาจจะเกิดกรณีเช่นนี้
บริษัท A มีสินทรัพย์รวม 1000 ล้านบาท ทุน 800 ล้านบาท (หุ้นทั้งหมด 80 ล้านหุ้น) มีหนี้การค้าทั้งหมด 200 ล้านบาท ไม่มีหนี้เงินกู้
มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 200 ล้านบาท กำไรสุทธิ 150 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 1.875 บาท
บริษัท B มีสินทรัพย์รวม 1000 ล้านบาท ทุน 200 ล้านบาท (หุ้นทั้งหมด 20 ล้านหุ้น) มีหนี้การค้าทั้งหมด 200 ล้านบาท หนี้เงินกู้ 600 ล้านบาท
มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 200 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 42 ล้านบาท ภาษี 39.50 ล้านบาท กำไรสุทธิ 118.50 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 5.925 บาท
ทั้งสองบริษัทควรซื้อขายที่ P/E เดียวกันหรือไม่
และก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาครับ
การดูแต่ P/E อย่างเดียว ก็อาจจะเกิดกรณีเช่นนี้
บริษัท A มีสินทรัพย์รวม 1000 ล้านบาท ทุน 800 ล้านบาท (หุ้นทั้งหมด 80 ล้านหุ้น) มีหนี้การค้าทั้งหมด 200 ล้านบาท ไม่มีหนี้เงินกู้
มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 200 ล้านบาท กำไรสุทธิ 150 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 1.875 บาท
บริษัท B มีสินทรัพย์รวม 1000 ล้านบาท ทุน 200 ล้านบาท (หุ้นทั้งหมด 20 ล้านหุ้น) มีหนี้การค้าทั้งหมด 200 ล้านบาท หนี้เงินกู้ 600 ล้านบาท
มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 200 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย 42 ล้านบาท ภาษี 39.50 ล้านบาท กำไรสุทธิ 118.50 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 5.925 บาท
ทั้งสองบริษัทควรซื้อขายที่ P/E เดียวกันหรือไม่
และก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องพิจารณาครับ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 3
บริษัท B น่าสนใจมากครับ เพราะจ่ายดอกเบี้ยถูกมาก ๆ
ถูกจนผิดปกติเลยครับ
ถูกจนผิดปกติเลยครับ
- BerZerK
- Verified User
- โพสต์: 128
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 7
สมมุติอีกหน่อยว่า P/BV ของทั้งสองบริษัทเท่ากันละกันซัก 2 ก็น่าจะพอ
ดังนั้น P/E ของบริษัท A ก็เท่ากับ (2x800)/150 = 10.67
และ P/E ของบริษัท B ก็เท่ากับ (2x200)/118.5 = 3.38
ดูแว๊บแรก ๆ บริษัท B ถูกเหลือเชื่อ!!!
ROA ของ บริษัท A = 150/1000=15%, บริษัท B=118.5/1000=12%
ในขณะที่ ROE ของ บริษัท A = 150/800 = 19%, บริษัท B= 118.5/200 = 60%
โอววว ... บริษัท B ดูดีอย่างเหลือเชื่อ
ความสามารถในการหากำไรก็เท่า ๆ กัน
ภาษีก็เสีย 25% เท่า ๆ กัน
บริษัท A กับบริษัท B มีเจ้าหนี้การค้าเท่ากันคือ 200 ล้าน
และก็มีกำไรขั้นต้น เท่ากันคือ 200 ล้าน
บริษัท B จะมีภาระดอกเบี้ยต้องจ่าย ในขณะที่ บริษัท A ไม่มี
แต่....
วันดีคือร้าย ของขายไม่ออกละเอ็งเอ๋ย
ควักเนื้อกันเลือดสาดไครจะถึงฆาตก่อนกันก็ดูเอง
ดังนั้น P/E ของบริษัท A ก็เท่ากับ (2x800)/150 = 10.67
และ P/E ของบริษัท B ก็เท่ากับ (2x200)/118.5 = 3.38
ดูแว๊บแรก ๆ บริษัท B ถูกเหลือเชื่อ!!!
ROA ของ บริษัท A = 150/1000=15%, บริษัท B=118.5/1000=12%
ในขณะที่ ROE ของ บริษัท A = 150/800 = 19%, บริษัท B= 118.5/200 = 60%
โอววว ... บริษัท B ดูดีอย่างเหลือเชื่อ
ความสามารถในการหากำไรก็เท่า ๆ กัน
ภาษีก็เสีย 25% เท่า ๆ กัน
บริษัท A กับบริษัท B มีเจ้าหนี้การค้าเท่ากันคือ 200 ล้าน
และก็มีกำไรขั้นต้น เท่ากันคือ 200 ล้าน
บริษัท B จะมีภาระดอกเบี้ยต้องจ่าย ในขณะที่ บริษัท A ไม่มี
แต่....
วันดีคือร้าย ของขายไม่ออกละเอ็งเอ๋ย
ควักเนื้อกันเลือดสาดไครจะถึงฆาตก่อนกันก็ดูเอง
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 9
ในกรณีที่ทั้งสองเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐาน และการแข่งขัน แบบเดียวกัน ถ้า PE เท่ากันเลือก Aครับเพราะว่าความมั่นคงการเงินดีกว่า ครับแถมไม่ต้องคืนเงินกู้ด้วยได้เงินสดเข้ากระเป๋าเต็มๆ
กำไร 150 ล้านก็สมมุติว่าเป็นเงินสด ทั้งหมดเลยละกันครับที่สามารถปันผลหรือเอาไปทำอะไรต่อได้
แต่ของ B กำไร 118 ต้องเอาไปจ่ายคืนเงินกู้อีกด้วยนี่ครับเอาไปลงทุนต่อหรือว่าปันผลได้น้อยกว่าแน่ๆที่ PE เท่ากันนะครับ
แต่หาก PE ต่างกันอาจจะเป็น B ที่น่าสนใจกว่าก็ได้ครับ
กำไร 150 ล้านก็สมมุติว่าเป็นเงินสด ทั้งหมดเลยละกันครับที่สามารถปันผลหรือเอาไปทำอะไรต่อได้
แต่ของ B กำไร 118 ต้องเอาไปจ่ายคืนเงินกู้อีกด้วยนี่ครับเอาไปลงทุนต่อหรือว่าปันผลได้น้อยกว่าแน่ๆที่ PE เท่ากันนะครับ
แต่หาก PE ต่างกันอาจจะเป็น B ที่น่าสนใจกว่าก็ได้ครับ
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ถามต่อครับ
โพสต์ที่ 10
บ.ล. b ที่คุณฉัตรชัยบอกว่ากู้มา 600ล้านเงินต้นจะต้องคืนเมื่อไหร่ครับ ถ้ากำหนดคืน 10 ปี ก็ตัดจ่ายปีสุดท้ายอีก 600 ล้านถูกไหมครับ ถ้างั้นกำไรปีละ118.5ล้านก็ต้องเผื่อคืนต้นทุนเงินกู้ปีละ 60 ล้านด้วยสิครับ กลายเป็นกำไรจริงเหลือแค่ 58.5 ล้านถูกต้องหรือป่าวครับ
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 12
ว่าแล้วคนส่วนใหญ่ คิดเหมือนผมเลือก A 8)
ยังไงผมก็เอาธุรกิจ ที่มี DCA+โครงสร้างดีและความสามารถในการทํากําไร+
ความซื่อสัตว์ สามารถ ขยัน ของผู้บริหารไว้ก่อน
หาก p/e p/bv สูงกว่า บมจ ใกล้เคียงไปนิดก็ยังรับได้กว่า
บมจ ที่ถูกแสนถูกแต่โครงสร้าง บมจไม่ได้เรื่องอันนี้ขอ บ๊ายยยบาย :lol:
_____________________
กระบี่อยู่ที่ใจ
ยังไงผมก็เอาธุรกิจ ที่มี DCA+โครงสร้างดีและความสามารถในการทํากําไร+
ความซื่อสัตว์ สามารถ ขยัน ของผู้บริหารไว้ก่อน
หาก p/e p/bv สูงกว่า บมจ ใกล้เคียงไปนิดก็ยังรับได้กว่า
บมจ ที่ถูกแสนถูกแต่โครงสร้าง บมจไม่ได้เรื่องอันนี้ขอ บ๊ายยยบาย :lol:
_____________________
กระบี่อยู่ที่ใจ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
คุณฉัตรชัยถามหน่อยครับ
โพสต์ที่ 14
ผมว่าต้องลองสมมติเหตุการณืดูว่า แบบไหนควรเลือก A แบบไหนเลือก B
ผมว่าที่ PE เท่ากันเลือก A แน่นอน แต่ว่า จะเปลี่ยนเป็น B เมื่อ PE มีค่าเท่าไรดี สมมติว่ามีหลายเหตุการณ์
1. ดอกเบี้ยขาขึ้น กำลังซื้อของผู้บริโภคหดตัว
2. ดอกเบี้ยทรงตัว กำลังซื้อทรงตัว
3. สินค้าเป็นที่ต้องการแบบสุด
4. มีโครงการที่ลดต้นทุนได้มากมาย
สุดท้ายผมว่าอยู่ที่การประมาณ กำไรที่แม่นยำในแต่ละเหตุการ์ณแล้วคิดกลับดูว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าความเสี่ยงไหม
จริงๆแล้วคิดอย่างนี้มันเหมือนตามตำราอะไรบ้างไหมครับ หรือว่าคิดแบบนี้มีข้อเสียไงบ้างครับ
ผมว่าที่ PE เท่ากันเลือก A แน่นอน แต่ว่า จะเปลี่ยนเป็น B เมื่อ PE มีค่าเท่าไรดี สมมติว่ามีหลายเหตุการณ์
1. ดอกเบี้ยขาขึ้น กำลังซื้อของผู้บริโภคหดตัว
2. ดอกเบี้ยทรงตัว กำลังซื้อทรงตัว
3. สินค้าเป็นที่ต้องการแบบสุด
4. มีโครงการที่ลดต้นทุนได้มากมาย
สุดท้ายผมว่าอยู่ที่การประมาณ กำไรที่แม่นยำในแต่ละเหตุการ์ณแล้วคิดกลับดูว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าความเสี่ยงไหม
จริงๆแล้วคิดอย่างนี้มันเหมือนตามตำราอะไรบ้างไหมครับ หรือว่าคิดแบบนี้มีข้อเสียไงบ้างครับ