โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 1
นักวิชาการมักจะถูกมองว่าเป็น นักวิชาเกินในทรรศนะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่สำหรับ ดร.ฉลองภพ
สุสังกร์ กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทย บอกว่าจะขอทำหน้าที่คอยระวัง หากมีตัวเลขที่บ่งชี้ว่าประเทศไทยจะเดินเข้าไปสู่ความเสี่ยงมากขึ้นก็จะออกมาพูด มาเสนอแนะต่อไป ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ได้อธิบายถึงสัญญาณความเสี่ยงที่เพิ่ม ขึ้นว่า
ข้อมูลที่นายกฯพูดเหมือนว่าปัญหาที่มีอยู่คือราคาน้ำมันเรื่องเดียว จริงๆ ไม่ใช่ หากดูตัวเลขการนำเข้า สมมติว่าราคาน้ำมันไม่ได้เปลี่ยน ปีนี้เท่ากับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว การนำเข้ารวมทั้งหมดก็ยังขยายตัว 23% จึงไม่ใช่เรื่องราคาน้ำมันอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างอื่น สิ่งที่เห็นคือการนำเข้าพวกโลหะพื้นฐานเช่นเหล็ก ท่อ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 50% น่าจะไปโยงกับโครงการขนาดใหญ่ อาทิ หนองงูเห่า โครงการรถไฟเชื่อมหนองงูเห่า การที่เราเห็นตัวอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันสูงขึ้น ยิ่งเป็นการก่อสร้าง ยิ่งโยงไปถึงเมกะโปรเจ็กต์อื่นๆ ที่กำลังจะตามมา
นอกจากนี้พวกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มมากประมาณ 30% เดี๋ยวนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เข้ามามี 2 ระดับ เช่น สินค้าไฮเอนด์ อาทิ โทรทัศน์พลาสมา ที่ผลิตประกอบในไทยไม่ได้ ต้องนำเข้าและราคาลดลงคนเริ่มซื้อมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งเป็นสินค้าของญี่ปุ่นที่ผลิตในจีนที่เริ่มนำเข้ามา หากดูจะเห็นเมดอินไชน่าเข้ามาเยอะ
กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งกำลังเปลี่ยนคือสิ่งที่ผลิตนอกประเทศเริ่มมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เพราะมีสินค้าใหม่ๆ ที่ประเทศเราไม่ได้ประกอบ เป็นสินค้าต่างชาติที่เราบริโภคอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์บริษัทข้ามชาติว่าเขาจะเลือกอย่างไร จะไปตั้งโรงงานที่ไหน จากโรงงานนั้นเขาจะส่งไปขายที่ไหน หากเราไม่เข้าใจ มันจะเปลี่ยนแปลงเร็วจนเราตั้งตัวไม่ทัน
สุสังกร์ กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทย บอกว่าจะขอทำหน้าที่คอยระวัง หากมีตัวเลขที่บ่งชี้ว่าประเทศไทยจะเดินเข้าไปสู่ความเสี่ยงมากขึ้นก็จะออกมาพูด มาเสนอแนะต่อไป ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ได้อธิบายถึงสัญญาณความเสี่ยงที่เพิ่ม ขึ้นว่า
ข้อมูลที่นายกฯพูดเหมือนว่าปัญหาที่มีอยู่คือราคาน้ำมันเรื่องเดียว จริงๆ ไม่ใช่ หากดูตัวเลขการนำเข้า สมมติว่าราคาน้ำมันไม่ได้เปลี่ยน ปีนี้เท่ากับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว การนำเข้ารวมทั้งหมดก็ยังขยายตัว 23% จึงไม่ใช่เรื่องราคาน้ำมันอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอย่างอื่น สิ่งที่เห็นคือการนำเข้าพวกโลหะพื้นฐานเช่นเหล็ก ท่อ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 50% น่าจะไปโยงกับโครงการขนาดใหญ่ อาทิ หนองงูเห่า โครงการรถไฟเชื่อมหนองงูเห่า การที่เราเห็นตัวอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันสูงขึ้น ยิ่งเป็นการก่อสร้าง ยิ่งโยงไปถึงเมกะโปรเจ็กต์อื่นๆ ที่กำลังจะตามมา
นอกจากนี้พวกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มมากประมาณ 30% เดี๋ยวนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เข้ามามี 2 ระดับ เช่น สินค้าไฮเอนด์ อาทิ โทรทัศน์พลาสมา ที่ผลิตประกอบในไทยไม่ได้ ต้องนำเข้าและราคาลดลงคนเริ่มซื้อมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งเป็นสินค้าของญี่ปุ่นที่ผลิตในจีนที่เริ่มนำเข้ามา หากดูจะเห็นเมดอินไชน่าเข้ามาเยอะ
กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งกำลังเปลี่ยนคือสิ่งที่ผลิตนอกประเทศเริ่มมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เพราะมีสินค้าใหม่ๆ ที่ประเทศเราไม่ได้ประกอบ เป็นสินค้าต่างชาติที่เราบริโภคอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์บริษัทข้ามชาติว่าเขาจะเลือกอย่างไร จะไปตั้งโรงงานที่ไหน จากโรงงานนั้นเขาจะส่งไปขายที่ไหน หากเราไม่เข้าใจ มันจะเปลี่ยนแปลงเร็วจนเราตั้งตัวไม่ทัน
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 2
รัฐไม่อ่านอาการโครงสร้างนำเข้า
ดังนั้นตัวเลขออกมาอย่างนี้เริ่มเห็นว่ามีการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้าง ชี้ให้เห็นว่าจริงๆ มีอะไรที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงในเชิงตัวเลขทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต้องเจาะลงไปค่อนข้างลึกเพื่อจะวิเคราะห์ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น และสิ่งเหล่านี้มันจะมีความเสี่ยงต่อประเทศเราในระยะต่อไปอย่างไร เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องตามดูต่อไป เพราะนโยบายรัฐบาลไม่ได้ออกมารับสิ่งนี้เท่าที่ควร รัฐบาลยังอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อจะเดินเหมือนเดิม
ประเด็นใหญ่ เราพยายามชี้ให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สะท้อนออกมาเป็นตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลสูงมากๆ ในปีนี้ ซึ่งอันนี้หมายความว่าจะเดินนโยบายแบบเดิมๆ ไม่ได้ เดินก็ได้ แต่ยิ่งเดินยิ่งเสี่ยง เพราะฉะนั้นในปัจจุบันที่รัฐบาลเดินนโยบายอย่างนี้ ก็ยิ่งพาประเทศไทยสู่ความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสมทบความเสี่ยงภายนอกที่มีอยู่มากมายในโลก ที่อาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างใหญ่หลวง อย่างที่หลายคนมองกันอยู่
เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรต้องยอมรับว่านโยบายที่เดินอยู่ไม่เหมาะกับสถานการณ์ ณ วันนี้ ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม หากเขาไม่ทำไม่เป็นไร เราก็ต้องตามดูสถานการณ์ หากเห็นตัวเลขแย่ขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องชี้ให้เห็น
ดังนั้นตัวเลขออกมาอย่างนี้เริ่มเห็นว่ามีการปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้าง ชี้ให้เห็นว่าจริงๆ มีอะไรที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงในเชิงตัวเลขทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต้องเจาะลงไปค่อนข้างลึกเพื่อจะวิเคราะห์ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น และสิ่งเหล่านี้มันจะมีความเสี่ยงต่อประเทศเราในระยะต่อไปอย่างไร เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องตามดูต่อไป เพราะนโยบายรัฐบาลไม่ได้ออกมารับสิ่งนี้เท่าที่ควร รัฐบาลยังอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อจะเดินเหมือนเดิม
ประเด็นใหญ่ เราพยายามชี้ให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สะท้อนออกมาเป็นตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลสูงมากๆ ในปีนี้ ซึ่งอันนี้หมายความว่าจะเดินนโยบายแบบเดิมๆ ไม่ได้ เดินก็ได้ แต่ยิ่งเดินยิ่งเสี่ยง เพราะฉะนั้นในปัจจุบันที่รัฐบาลเดินนโยบายอย่างนี้ ก็ยิ่งพาประเทศไทยสู่ความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสมทบความเสี่ยงภายนอกที่มีอยู่มากมายในโลก ที่อาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างใหญ่หลวง อย่างที่หลายคนมองกันอยู่
เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรต้องยอมรับว่านโยบายที่เดินอยู่ไม่เหมาะกับสถานการณ์ ณ วันนี้ ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม หากเขาไม่ทำไม่เป็นไร เราก็ต้องตามดูสถานการณ์ หากเห็นตัวเลขแย่ขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องชี้ให้เห็น
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 3
สถานการณ์เปลี่ยน
แต่ "ทักษิณ" ไม่เปลี่ยน
หากถามว่า 4 ปีรัฐบาลไม่ได้ทำอะไร ย้อนหลังกลับไปก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เพียงแต่ว่า ณ วันนี้ สถานการณ์มันเปลี่ยนไปจาก 4 ปีที่แล้ว หรือเปลี่ยนไปจากปีที่แล้ว เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน สิ่งที่ต้องดูคือว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ความเสี่ยงข้างหน้าอยู่ตรงไหน รัฐบาลที่เดินนโยบายอยู่มันสอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่อย่างไร
เรามองว่าการตั้งเป้าเมกะโปรเจ็กต์ ไม่สอด คล้องกับการรับความเสี่ยง เพราะเมกะโปรเจ็กต์หากเริ่มแล้วมันเลิกยาก สมมติอีก 2 ปีดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลไป 4% ของจีดีพี แต่เซ็นสัญญาเมกะโปรเจ็กต์ไปหมดแล้วจะทำอย่างไร
ท่านนายกฯบอกว่าเป้ามายขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 2% แต่ครึ่งปีแรกปีนี้ก็ขาดดุลเกือบ 2% ไปแล้ว เพราะฉะนั้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับความคาดหวังทั้งนั้น เพราะฉะนั้นปัจจุบันนโยบายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
จากประสบการณ์ที่เราเรียนรู้มาจากประเทศที่พังๆ มาในอดีตก็เพราะอย่างนี้ทั้งนั้น นั่นคือผู้นำประเทศไม่เคยเห็นความเสี่ยง หัวชนฝา เดินนโยบายลดแลกแจกแถมตลอด พอถึงเวลาที่รู้ตัวว่าอันตรายมันสายไปแล้ว เพราะมันแก้ยาก เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าหลายคนเป็นห่วงว่ารัฐบาลเดินตามแนวทางประเทศที่พังเหล่านี้ทั้งนั้น โดยที่เราควรได้เรียนรู้
แต่ "ทักษิณ" ไม่เปลี่ยน
หากถามว่า 4 ปีรัฐบาลไม่ได้ทำอะไร ย้อนหลังกลับไปก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เพียงแต่ว่า ณ วันนี้ สถานการณ์มันเปลี่ยนไปจาก 4 ปีที่แล้ว หรือเปลี่ยนไปจากปีที่แล้ว เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน สิ่งที่ต้องดูคือว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ความเสี่ยงข้างหน้าอยู่ตรงไหน รัฐบาลที่เดินนโยบายอยู่มันสอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่อย่างไร
เรามองว่าการตั้งเป้าเมกะโปรเจ็กต์ ไม่สอด คล้องกับการรับความเสี่ยง เพราะเมกะโปรเจ็กต์หากเริ่มแล้วมันเลิกยาก สมมติอีก 2 ปีดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลไป 4% ของจีดีพี แต่เซ็นสัญญาเมกะโปรเจ็กต์ไปหมดแล้วจะทำอย่างไร
ท่านนายกฯบอกว่าเป้ามายขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 2% แต่ครึ่งปีแรกปีนี้ก็ขาดดุลเกือบ 2% ไปแล้ว เพราะฉะนั้นทั้งหมดขึ้นอยู่กับความคาดหวังทั้งนั้น เพราะฉะนั้นปัจจุบันนโยบายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
จากประสบการณ์ที่เราเรียนรู้มาจากประเทศที่พังๆ มาในอดีตก็เพราะอย่างนี้ทั้งนั้น นั่นคือผู้นำประเทศไม่เคยเห็นความเสี่ยง หัวชนฝา เดินนโยบายลดแลกแจกแถมตลอด พอถึงเวลาที่รู้ตัวว่าอันตรายมันสายไปแล้ว เพราะมันแก้ยาก เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าหลายคนเป็นห่วงว่ารัฐบาลเดินตามแนวทางประเทศที่พังเหล่านี้ทั้งนั้น โดยที่เราควรได้เรียนรู้
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 4
สมมติฐานผิด-นโยบายผิด
ประเด็นคือสมมติฐานรัฐบาลผิดว่าปัญหาทั้งหมดอยู่ที่ราคาน้ำมันอย่างเดียว พอผิดปั๊บ นโยบายก็ผิดหมด โดยตั้งสมมติฐานปัญหาอยู่ที่ราคาน้ำมันและตั้งต่อไปว่าราคาน้ำมันเริ่มชะลอ เริ่มทรงตัว ข้อสรุปก็จะบอกว่าปัญหาก็จะหมดไป แต่ดูไม่ใช่
วันนี้เรามีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ขาดดุลบัญชี ปีที่แล้วเกินดุล 280,000 ล้านบาท แค่ 5 เดือนพลิกมาขาดดุล 180,000 ล้านบาท ต้องมีอะไรอยู่ข้างใน ไม่ใช่เรื่องราคาน้ำมันอย่างเดียว หากยอมรับตรงนี้และไปเจาะลึกว่าเกิดอะไรก็จะหามาตรการที่เหมาะสม
หากไม่ยอมรับและเดินในทางเดิมต่อไป อันนั้นเป็นเรื่องความเสี่ยงว่าอย่าไปใช้นโยบายผูกมัดประเทศกับระดับการใช้จ่ายที่สูงมากๆ ใน 5 ปีข้างหน้า เมกะโปรเจ็กต์เซ็นสัญญาไปแล้วต้องเดินให้เสร็จ จนกว่าโครงการจะเสร็จ อย่างเช่นรถไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ๆ จะบอกว่าชะลอไป 3 ปีทั้งๆ ที่เขาขุดไปแล้วและคนทำโครงการต้องไปกู้แบงก์ต้องจ่ายดอกเบี้ย เมกะโปรเจ็กต์ยิ่งทำมาก็ยิ่งผูกมัดตัวเองกับเหตุการณ์ข้างหน้า หากข้างหน้าเลวร้ายมากๆ มันปรับตัวไม่ได้ต้องเดินต่อก็ยิ่งแย่ เป็นความเสี่ยงอันที่ 1
อีกอันหนึ่งที่เสียงมากๆ คือเรื่องอัตราดอกเบี้ยตอนนี้หลายๆ คนมองว่า มีภาวะที่ไม่ปกตินัก โดยเฉพาะในตลาดเงินโลกที่ดอกเบี้ยระยะยาว (พันธบัตรอายุ 10 ปี) ที่ยังต่ำมาก เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยระยะสั้นที่เริ่มขึ้น หลายคนมองว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ความไม่สมดุลอันนี้ (สหรัฐขาดดุลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก) ไม่สามารถคงอย่างนี้ได้นาน เพราะยิ่งสหรัฐขาดดุล ดอลลาร์ยิ่งไหลออก ถึงจุดหนึ่งคนในตลาดก็ต้องคิดว่า เงินดอลลาร์จะมีค่าอยู่แบบนี้ไม่ได้ หากทุกคนคิดว่าดอลลาร์จะตก ผลสุดท้ายก็โยกการถือครองทรัพย์สินจากดอลลาร์ไปอย่างอื่น คนไม่อยากถือดอลลาร์เงินที่จะไปซื้อพันธบัตรก็น้อยลง เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยก็จะเด้งขึ้นอย่างสูง
เมื่อเป็นอย่างนี้ผลคือสำหรับคนและธุรกิจทั่วๆ ไป ที่ต้องระวังคืออย่าก่อหนี้ระยะยาวมากเกินไป วันนี้ดอกเบี้ยต่ำ เราไปก่อหนี้ยาวเยอะ เช่น ซื้อบ้านแพงเกินไป ผ่อน 10-20 ปี หากเกิดโกลาหลในตลาดเงินโลกจากความไม่สมดุลที่มีอยู่ ตอนนั้นดอกเบี้ยกระโดดขึ้นมาก ผู้ที่ผ่อนยาวจะมีปัญหา
นอกจากผู้บริโภค ธุรกิจก็เช่นเดียวกัน หากโครง การใหญ่เกินไปยาวเกินไป ยกเว้นพวกที่สามารถ หาเงินเองได้ เช่น ออกพันธบัตร แต่พวกที่กู้แบงก์จะมีปัญหา อีก 2 ปีไม่รู้ว่าดอกเบี้ยจะขึ้นแค่ไหน
พวกแบงก์เองก็ต้องระวัง โดยเฉพาะแบงก์รัฐที่พยายามชักจูงให้คนมากู้และออกแพ็กเกจที่ดูเหมือนว่าดอกเบี้ยถูก เช่น ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี หากให้ดอกเบี้ยต่ำและตรึงไว้นานเกินไป แบงก์เองจะเสี่ยง ถ้าดอกเบี้ยขึ้น 1-2 ปีข้างหน้า ต้นทุนของแบงก์จะสูงมาก รายได้จากการให้กู้จะต่ำ
จะเห็นว่าภาวะอย่างนี้เกือบทุกส่วนจะต้องเน้นเรื่องการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรัฐบาลต้องทำก่อนเลย แม้รัฐบาลไม่ทำ คนอื่นควรต้องทำ เพราะความเสี่ยงไม่ใช่ระดับประเทศ แต่เป็นระดับบริษัท ธนาคาร ระดับบุคคล ทุกคนต้องดูแลตัวเองให้ดี
ประเด็นคือสมมติฐานรัฐบาลผิดว่าปัญหาทั้งหมดอยู่ที่ราคาน้ำมันอย่างเดียว พอผิดปั๊บ นโยบายก็ผิดหมด โดยตั้งสมมติฐานปัญหาอยู่ที่ราคาน้ำมันและตั้งต่อไปว่าราคาน้ำมันเริ่มชะลอ เริ่มทรงตัว ข้อสรุปก็จะบอกว่าปัญหาก็จะหมดไป แต่ดูไม่ใช่
วันนี้เรามีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจที่ขาดดุลบัญชี ปีที่แล้วเกินดุล 280,000 ล้านบาท แค่ 5 เดือนพลิกมาขาดดุล 180,000 ล้านบาท ต้องมีอะไรอยู่ข้างใน ไม่ใช่เรื่องราคาน้ำมันอย่างเดียว หากยอมรับตรงนี้และไปเจาะลึกว่าเกิดอะไรก็จะหามาตรการที่เหมาะสม
หากไม่ยอมรับและเดินในทางเดิมต่อไป อันนั้นเป็นเรื่องความเสี่ยงว่าอย่าไปใช้นโยบายผูกมัดประเทศกับระดับการใช้จ่ายที่สูงมากๆ ใน 5 ปีข้างหน้า เมกะโปรเจ็กต์เซ็นสัญญาไปแล้วต้องเดินให้เสร็จ จนกว่าโครงการจะเสร็จ อย่างเช่นรถไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ๆ จะบอกว่าชะลอไป 3 ปีทั้งๆ ที่เขาขุดไปแล้วและคนทำโครงการต้องไปกู้แบงก์ต้องจ่ายดอกเบี้ย เมกะโปรเจ็กต์ยิ่งทำมาก็ยิ่งผูกมัดตัวเองกับเหตุการณ์ข้างหน้า หากข้างหน้าเลวร้ายมากๆ มันปรับตัวไม่ได้ต้องเดินต่อก็ยิ่งแย่ เป็นความเสี่ยงอันที่ 1
อีกอันหนึ่งที่เสียงมากๆ คือเรื่องอัตราดอกเบี้ยตอนนี้หลายๆ คนมองว่า มีภาวะที่ไม่ปกตินัก โดยเฉพาะในตลาดเงินโลกที่ดอกเบี้ยระยะยาว (พันธบัตรอายุ 10 ปี) ที่ยังต่ำมาก เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยระยะสั้นที่เริ่มขึ้น หลายคนมองว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ความไม่สมดุลอันนี้ (สหรัฐขาดดุลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก) ไม่สามารถคงอย่างนี้ได้นาน เพราะยิ่งสหรัฐขาดดุล ดอลลาร์ยิ่งไหลออก ถึงจุดหนึ่งคนในตลาดก็ต้องคิดว่า เงินดอลลาร์จะมีค่าอยู่แบบนี้ไม่ได้ หากทุกคนคิดว่าดอลลาร์จะตก ผลสุดท้ายก็โยกการถือครองทรัพย์สินจากดอลลาร์ไปอย่างอื่น คนไม่อยากถือดอลลาร์เงินที่จะไปซื้อพันธบัตรก็น้อยลง เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยก็จะเด้งขึ้นอย่างสูง
เมื่อเป็นอย่างนี้ผลคือสำหรับคนและธุรกิจทั่วๆ ไป ที่ต้องระวังคืออย่าก่อหนี้ระยะยาวมากเกินไป วันนี้ดอกเบี้ยต่ำ เราไปก่อหนี้ยาวเยอะ เช่น ซื้อบ้านแพงเกินไป ผ่อน 10-20 ปี หากเกิดโกลาหลในตลาดเงินโลกจากความไม่สมดุลที่มีอยู่ ตอนนั้นดอกเบี้ยกระโดดขึ้นมาก ผู้ที่ผ่อนยาวจะมีปัญหา
นอกจากผู้บริโภค ธุรกิจก็เช่นเดียวกัน หากโครง การใหญ่เกินไปยาวเกินไป ยกเว้นพวกที่สามารถ หาเงินเองได้ เช่น ออกพันธบัตร แต่พวกที่กู้แบงก์จะมีปัญหา อีก 2 ปีไม่รู้ว่าดอกเบี้ยจะขึ้นแค่ไหน
พวกแบงก์เองก็ต้องระวัง โดยเฉพาะแบงก์รัฐที่พยายามชักจูงให้คนมากู้และออกแพ็กเกจที่ดูเหมือนว่าดอกเบี้ยถูก เช่น ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี หากให้ดอกเบี้ยต่ำและตรึงไว้นานเกินไป แบงก์เองจะเสี่ยง ถ้าดอกเบี้ยขึ้น 1-2 ปีข้างหน้า ต้นทุนของแบงก์จะสูงมาก รายได้จากการให้กู้จะต่ำ
จะเห็นว่าภาวะอย่างนี้เกือบทุกส่วนจะต้องเน้นเรื่องการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรัฐบาลต้องทำก่อนเลย แม้รัฐบาลไม่ทำ คนอื่นควรต้องทำ เพราะความเสี่ยงไม่ใช่ระดับประเทศ แต่เป็นระดับบริษัท ธนาคาร ระดับบุคคล ทุกคนต้องดูแลตัวเองให้ดี
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 5
ระวังฐานการผลิตหาย
นอกจากนี้ความเสี่ยงอีกอันคือจีน จีนเขาเปิดตัวเองเข้าสู่ตลาดโลก มีผลกระทบใหญ่หลวง จีนเข้ามามีบทบาทที่ใหญ่และเร็วกว่าที่ทุกคนคาด 10 กว่าปีมาถึงวันนี้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในจีนไปขายทั่วโลก
อย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐ ญี่ปุ่น จีนจึงกลายเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ หากจีนขยายตัวแบบนี้ แน่นอนเป็นโอกาสของประเทศที่จะขายของให้จีน แต่ของที่จะขายจะเป็นของที่ไปเสริมของของเขา พวกที่เขาต้องการมากๆ คือวัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ ประเทศอื่นๆ จะไปอยู่ในซัพพลายเชนของจีน
แต่ในเวลาเดียวกันประเทศอื่นๆ ก็เสี่ยงที่ฐานการผลิตจะหายไปบางส่วน โดยเฉพาะฐานการผลิตที่เป็นของบริษัทข้ามชาติ เพราะจีนใหญ่มาก จีนมีโครงสร้างพื้นฐานดี มีตลาดแรงงานใหญ่มาก การศึกษาดี คนงานขยัน พอถึงจุดหนึ่งอาจจะคุ้มค่าสำหรับบริษัทข้ามชาติที่จะใช้จีนเป็นฐานการผลิตใหญ่และใช้จีนเป็นฐานการส่งออก
วันหนึ่งจีนกับอาเซียน ทำเอฟทีเอกับเรียบร้อยแล้ว การส่งรถยนต์มาขายก็ไม่ต้องเสียภาษีอะไร เพราะจุดหนึ่งต้องตกลงกันคือเรื่องลดภาษี เพราะฉะนั้นวันหนึ่งรถยนต์จากจีนก็จะมาขายเมืองไทยก็อาจจะเกิดขึ้นได้ พวกนี้ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของบริษัทข้ามชาติ เราจะมาคุยว่าเราจะส่งไปจีนจะคุยได้อย่างไรเพราะไม่ใช่บริษัทของเรา มันขึ้นอยู่กับโตโยต้า ฮอนด้า หรือบริษัทอะไรต่างๆ เขา จะเอาอย่างไร
อนาคตจีนกำลังเริ่มรุกและเร็วเพื่อเข้าไปมีบทบาทในตลาดโลก และจีนมีนโยบายให้เอาเงินไปลงทุนนอกประเทศ จีนใช้พลังเงินของตัวไปซื้อธุรกิจในประเทศอื่นอาทิ ไอบีเอ็มขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้จีนไปแล้ว จีนกำลังไปซื้อยูโนแคล หรือบริษัทโรเวอร์ที่อังกฤษ เขาใช้พลังเงินซื้อบทบาทในตลาดโลกโดยทางลัด
การค้าขายกับจีนตกลงกันระดับประเทศ แต่เวลาค้าขายๆ กับมณฑล ก็มีระเบียบของเขาเอง เราเสียเปรียบ เขาเข้ามาได้ แต่เราต้องผ่านข้อตกลงของมณฑลก็มีปัญหา แต่โอกาสที่เราจะสูญเสียฐานการผลิตในสินค้าบริโภคขั้นสุดท้ายมีเยอะ ยิ่งตอนนี้เป็นช่วงที่เจรจาการค้าเสรีเต็มไปหมด การปกป้องสินค้าของแต่ละประเทศทำได้ยาก
นอกจากนี้ความเสี่ยงอีกอันคือจีน จีนเขาเปิดตัวเองเข้าสู่ตลาดโลก มีผลกระทบใหญ่หลวง จีนเข้ามามีบทบาทที่ใหญ่และเร็วกว่าที่ทุกคนคาด 10 กว่าปีมาถึงวันนี้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในจีนไปขายทั่วโลก
อย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐ ญี่ปุ่น จีนจึงกลายเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ หากจีนขยายตัวแบบนี้ แน่นอนเป็นโอกาสของประเทศที่จะขายของให้จีน แต่ของที่จะขายจะเป็นของที่ไปเสริมของของเขา พวกที่เขาต้องการมากๆ คือวัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ ประเทศอื่นๆ จะไปอยู่ในซัพพลายเชนของจีน
แต่ในเวลาเดียวกันประเทศอื่นๆ ก็เสี่ยงที่ฐานการผลิตจะหายไปบางส่วน โดยเฉพาะฐานการผลิตที่เป็นของบริษัทข้ามชาติ เพราะจีนใหญ่มาก จีนมีโครงสร้างพื้นฐานดี มีตลาดแรงงานใหญ่มาก การศึกษาดี คนงานขยัน พอถึงจุดหนึ่งอาจจะคุ้มค่าสำหรับบริษัทข้ามชาติที่จะใช้จีนเป็นฐานการผลิตใหญ่และใช้จีนเป็นฐานการส่งออก
วันหนึ่งจีนกับอาเซียน ทำเอฟทีเอกับเรียบร้อยแล้ว การส่งรถยนต์มาขายก็ไม่ต้องเสียภาษีอะไร เพราะจุดหนึ่งต้องตกลงกันคือเรื่องลดภาษี เพราะฉะนั้นวันหนึ่งรถยนต์จากจีนก็จะมาขายเมืองไทยก็อาจจะเกิดขึ้นได้ พวกนี้ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของบริษัทข้ามชาติ เราจะมาคุยว่าเราจะส่งไปจีนจะคุยได้อย่างไรเพราะไม่ใช่บริษัทของเรา มันขึ้นอยู่กับโตโยต้า ฮอนด้า หรือบริษัทอะไรต่างๆ เขา จะเอาอย่างไร
อนาคตจีนกำลังเริ่มรุกและเร็วเพื่อเข้าไปมีบทบาทในตลาดโลก และจีนมีนโยบายให้เอาเงินไปลงทุนนอกประเทศ จีนใช้พลังเงินของตัวไปซื้อธุรกิจในประเทศอื่นอาทิ ไอบีเอ็มขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้จีนไปแล้ว จีนกำลังไปซื้อยูโนแคล หรือบริษัทโรเวอร์ที่อังกฤษ เขาใช้พลังเงินซื้อบทบาทในตลาดโลกโดยทางลัด
การค้าขายกับจีนตกลงกันระดับประเทศ แต่เวลาค้าขายๆ กับมณฑล ก็มีระเบียบของเขาเอง เราเสียเปรียบ เขาเข้ามาได้ แต่เราต้องผ่านข้อตกลงของมณฑลก็มีปัญหา แต่โอกาสที่เราจะสูญเสียฐานการผลิตในสินค้าบริโภคขั้นสุดท้ายมีเยอะ ยิ่งตอนนี้เป็นช่วงที่เจรจาการค้าเสรีเต็มไปหมด การปกป้องสินค้าของแต่ละประเทศทำได้ยาก
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 6
นโยบายการเงิน-การคลัง
ห้ามแยกกันเดิน
นโยบายการเงิน-การคลัง จริงๆ ต้องไปในทางที่สอดคล้องกัน แต่หากรัฐบาลยังเดินหน้าใช้จ่ายมากมาย ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุลสูง ทางที่ดีรัฐบาลควรลดการใช้จ่ายลง แต่สมมติรัฐบาลเดินไปเหมือนเดิมและสมมติว่าแบงก์ชาติห่วงเสถียรภาพเศรษฐกิจ ก็ปรับดอกเบี้ยขึ้นสูงๆ แน่นอนคนอยู่นอกภาครัฐมีปัญหาทันที ยิ่งดุลบัญชีเดินสะพัดแย่ แบงก์ชาติอาจจะบอกว่าไม่ไหวแล้วต้องช่วยส่งออก ก็หันไปใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้อ่อนๆ ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไร ยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
ตอนนี้รัฐบาลยังมองในลักษณะที่ว่าคนลำบากต้องปรับค่าจ้าง เงินเดือน ให้ทันเงินเฟ้อ พอเงินเฟ้อขึ้นทุกอย่างขึ้นตาม ถ้าสมมติยิ่งจะให้เงินบาทอ่อน เงินเฟ้อขึ้น ทุกอย่างปรับตาม ไม่ได้ประโยชน์อะไรที่จะให้เงินบาทอ่อนก็จะเข้าสู่วงจรที่เงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
เงินเฟ้อบางที่ไม่ได้มาจากภาคการค้า พวก non trade sector แต่เงินเฟ้อเราเห็นว่ามาจากราคาน้ำมัน หากราคาน้ำมันเพิ่มสูงทีเดียว และอยู่ในระดับนั้นไปเรื่อยๆ ผลกระทบจะอยู่ในช่วงที่ปรับตัวเข้าสู่ภาวะใหม่ ตอนนั้นเราต้องยอมให้ปรับไป แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันมีเสถียรภาพเงินเฟ้อจะลงไปเอง ไม่ใช่เรื่องอะไรที่ว่าต้องเป็นห่วงหนัก ว่าจะทำให้เงินเฟ้อสูง หากไม่มีนโยบายอะไรที่จะไปสนับสนุน ถึงจุดหนึ่งมันก็เริ่มลดลง
ดังนั้นหากนโยบายการเงินการคลังไม่ได้เดินไปด้วยกัน การบริหารประเทศยากมาก โดยเฉพาะการบริหารประเทศที่จะรักษาเสถียรภาพทำได้ยากมาก
แต่เชื่อว่าเราคงยังไม่ประสบวิกฤต เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจมากขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนจะวิกฤต ผมไม่อยากใช้คำว่าวิกฤต แต่มีความเสี่ยง ต้องหาวิธีรับมือให้ได้ (หน้าพิเศษ)
ห้ามแยกกันเดิน
นโยบายการเงิน-การคลัง จริงๆ ต้องไปในทางที่สอดคล้องกัน แต่หากรัฐบาลยังเดินหน้าใช้จ่ายมากมาย ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุลสูง ทางที่ดีรัฐบาลควรลดการใช้จ่ายลง แต่สมมติรัฐบาลเดินไปเหมือนเดิมและสมมติว่าแบงก์ชาติห่วงเสถียรภาพเศรษฐกิจ ก็ปรับดอกเบี้ยขึ้นสูงๆ แน่นอนคนอยู่นอกภาครัฐมีปัญหาทันที ยิ่งดุลบัญชีเดินสะพัดแย่ แบงก์ชาติอาจจะบอกว่าไม่ไหวแล้วต้องช่วยส่งออก ก็หันไปใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนให้อ่อนๆ ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไร ยิ่งทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
ตอนนี้รัฐบาลยังมองในลักษณะที่ว่าคนลำบากต้องปรับค่าจ้าง เงินเดือน ให้ทันเงินเฟ้อ พอเงินเฟ้อขึ้นทุกอย่างขึ้นตาม ถ้าสมมติยิ่งจะให้เงินบาทอ่อน เงินเฟ้อขึ้น ทุกอย่างปรับตาม ไม่ได้ประโยชน์อะไรที่จะให้เงินบาทอ่อนก็จะเข้าสู่วงจรที่เงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
เงินเฟ้อบางที่ไม่ได้มาจากภาคการค้า พวก non trade sector แต่เงินเฟ้อเราเห็นว่ามาจากราคาน้ำมัน หากราคาน้ำมันเพิ่มสูงทีเดียว และอยู่ในระดับนั้นไปเรื่อยๆ ผลกระทบจะอยู่ในช่วงที่ปรับตัวเข้าสู่ภาวะใหม่ ตอนนั้นเราต้องยอมให้ปรับไป แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันมีเสถียรภาพเงินเฟ้อจะลงไปเอง ไม่ใช่เรื่องอะไรที่ว่าต้องเป็นห่วงหนัก ว่าจะทำให้เงินเฟ้อสูง หากไม่มีนโยบายอะไรที่จะไปสนับสนุน ถึงจุดหนึ่งมันก็เริ่มลดลง
ดังนั้นหากนโยบายการเงินการคลังไม่ได้เดินไปด้วยกัน การบริหารประเทศยากมาก โดยเฉพาะการบริหารประเทศที่จะรักษาเสถียรภาพทำได้ยากมาก
แต่เชื่อว่าเราคงยังไม่ประสบวิกฤต เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจมากขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนจะวิกฤต ผมไม่อยากใช้คำว่าวิกฤต แต่มีความเสี่ยง ต้องหาวิธีรับมือให้ได้ (หน้าพิเศษ)
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 7
มีเหตุผลครับ น่าคิดมาก เหมือนกับฟางมันขาดไปทีละเส้น มันเหลือน้อยเข้าไปทุกที ไม่อยากเห็นฟางเส้นสุดท้ายขาดเลยจริงๆ ซักต้นปีหน้าคงจะเห็นอะไรชัดเจนขึ้นไม่รู้หมู่หรือจ่า
ขอบคุณคุณโลโซมากครับ คัดเอาเนื้อหาดีๆมาให้อ่านกันประจำ
ขอบคุณคุณโลโซมากครับ คัดเอาเนื้อหาดีๆมาให้อ่านกันประจำ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 9
8) ขอบคุณหลายๆ เด๊อ ขรับ...
เดี๋ยวนี้ไม่ได้ตามข่าวประเภทนี้แล้ว
เคยต้องตามในอดีต ตอนเป็นพวกไว๊ท์คอลล่า
มีความรู้สีกว่า เศรษฐศาสตร์
เป็นศาสตร์ที่มองต่างมุมได้เป็นอย่างแรงๆเลย
นายมาถามว่าอยากได้ใครมา brief ภาพรวมให้ก็เลือกกันมา
เลือกได้คนนึง เงินเดือนมากกว่าพวกเราทั้งแผนกรวมกันซะอีก
ตอนหลังท่านมาเป็นเจ้าของไฟแนนซ์ เป็นรัฐมนตรีอะไรอีกเยอะแยะ
ท่านสอนว่า เศรษฐศาสตร์ไม่มีสูตรสำเร็จ
เลือกที่จะใช้แนวทางไหน ก็ใช้ไปให้ตามที่ถนัด
อย่าเปลี่ยนม้ากลางศึก ก็ละกัน
สมัยก่อน มีสภาพัฒน์ กะ ทีดีอาร์ไอ นี่แหละครับ ก็ขับเคี่ยวกันมา
แล้วแต่ผู้ใหญ่ นักการเมือง จะเลือกใช้บริการของใคร
ทางสภาพัฒน์พูดน้อยกว่า(อาจจะเพราะเป็นของรัฐ ไม่อยากออกมาวิจารณ์
เดี๋ยวโดน นักการเมือง เบิร์ดกะโหลกเอาได้)
ทีดีอาร์ไอ พูดมากกว่า(เรียกเรตติ้ง เป็นอิสระ เดี๋ยวโดนข้อหาไม่มีผลงาน)
พวกนักเศรษฐศาสตร์ ผมเห็น เสร็จ นักการเมือง ซะส่วนใหญ๋
ฮุ..ฮุ...ฮุ....
เดี๋ยวนี้ไม่ได้ตามข่าวประเภทนี้แล้ว
เคยต้องตามในอดีต ตอนเป็นพวกไว๊ท์คอลล่า
มีความรู้สีกว่า เศรษฐศาสตร์
เป็นศาสตร์ที่มองต่างมุมได้เป็นอย่างแรงๆเลย
นายมาถามว่าอยากได้ใครมา brief ภาพรวมให้ก็เลือกกันมา
เลือกได้คนนึง เงินเดือนมากกว่าพวกเราทั้งแผนกรวมกันซะอีก
ตอนหลังท่านมาเป็นเจ้าของไฟแนนซ์ เป็นรัฐมนตรีอะไรอีกเยอะแยะ
ท่านสอนว่า เศรษฐศาสตร์ไม่มีสูตรสำเร็จ
เลือกที่จะใช้แนวทางไหน ก็ใช้ไปให้ตามที่ถนัด
อย่าเปลี่ยนม้ากลางศึก ก็ละกัน
สมัยก่อน มีสภาพัฒน์ กะ ทีดีอาร์ไอ นี่แหละครับ ก็ขับเคี่ยวกันมา
แล้วแต่ผู้ใหญ่ นักการเมือง จะเลือกใช้บริการของใคร
ทางสภาพัฒน์พูดน้อยกว่า(อาจจะเพราะเป็นของรัฐ ไม่อยากออกมาวิจารณ์
เดี๋ยวโดน นักการเมือง เบิร์ดกะโหลกเอาได้)
ทีดีอาร์ไอ พูดมากกว่า(เรียกเรตติ้ง เป็นอิสระ เดี๋ยวโดนข้อหาไม่มีผลงาน)
พวกนักเศรษฐศาสตร์ ผมเห็น เสร็จ นักการเมือง ซะส่วนใหญ๋
ฮุ..ฮุ...ฮุ....
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 12
ขอเพิ่มเติมความเห็น จากหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน
ศุภวุฒิ สายเชื้อ มองเศรษฐกิจมุมบวก มั่นใจปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ เป็นนักวางยุทธศาสตร์ในด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ได้รับการยอมรับในวงการโบรกเกอร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในครั้งนี้ หลังจากงานไทยแลนด์โฟกัส เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2548 ภัทรมองภาพเศรษฐกิจออกมาดี เมื่อเทียบกับบริษัทโบรกเกอร์ฝรั่งที่มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 3% ดร.ศุภวุฒิได้ อธิบายเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังว่า
หากมองเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทโบรกเกอร์ฝรั่ง 3-4โบรกเกอร์ อย่างเช่นซิตี้กรุ๊ป เอบีเอ็น แอมโร ซีเอสเอฟบี ซีแอลเอสเอ กลุ่มเหล่านี้ออกรายงานว่า จีดีพีของไทยจะโต 2% กว่า ไม่ถึง 3% และปีหน้าประมาณ 2.5% หากพิจารณาดูจีดีพีในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัว 3.3% ถ้าหากทั้งปีโต 2.5% แสดงว่าครึ่งปีหลังจีดีพีต้องลดลงตลอด แต่ผมมองว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะโต 3.4% และเราเชื่อว่าในไตรมาส 2 ปีนี้ จีดีพีน่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3% แต่มองว่าในไตรมาส 3 และ 4 จีดีพีจะดีขึ้น คือตกท้องช้างแล้วจะขึ้น แต่ฝรั่งมองตรงกันข้าม
3 ปัจจัยดันจีดีพีครึ่งปีหลังโต
หากถามว่า ในครึ่งปีหลังจะฟื้นมาจากอะไร โดยมองว่ามาจาก 1.การส่งออกของไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง 14-15% และเชื่อว่าน่าจะทำต่อได้ เพราะในครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจโลกไม่ได้เลวร้ายอะไร ดังนั้นการส่งออกในตัวของมันเองคิดเป็นสัดส่วน 55% ของจีดีพี หากการส่งออกในครึ่งปีหลังขยายตัวได้ 14% ก็จะยิ่งเป็นตัวยันไว้ให้เศรษฐกิจโตได้ เพราะครึ่งหนึ่งของเศรษฐ กิจคือการส่งออก ในส่วนนี้ถ้าส่งออกโตได้ 14-15% ทางรัฐบาลจึงต้องพยายามที่จะผลักดันเรื่องการส่งออก จึงเชื่อว่าการส่งออกไม่แย่
2.การนำเข้าน้ำมัน หากดูตัวเลขจะเห็นความแปลก ว่าตัวเลขการนำเข้าน้ำมันในปีนี้กับปีที่แล้ว ปริมาณนำเข้าเพิ่ม 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ อันนี้ผิดปกติมากๆ เพราะปริมาณการนำเข้าน้ำมันเทียบกับดีมานด์ในประเทศที่โตปีละ 6-7% แต่ปริมาณการนำเข้าสูงถึง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่าน่าจะมีการสต๊อกน้ำมันไว้เยอะมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ารัฐบาลค่อยๆ ปรับราคาน้ำมันขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้กันว่าน้ำมันมีแนวโน้มจะขึ้น ทุกคนจึงยิ่งมีการ สต๊อก ยิ่งซื้อน้ำมันเร็ว ก็ยิ่งกำไรเยอะ เพราะอนาคตราคาน้ำมันจะต้องขึ้น เนื่องจากนโยบายไปกำหนดไว้อย่างนั้น จึงมีการนำเข้ามาจำนวนมาก
แต่หลังจากลอยตัวน้ำมันดีเซล ภาวะน้ำมันขาขึ้นอย่างนั้นก็หมดไป น้ำมันขึ้นไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว การ สต๊อกมีความเสี่ยง เป็นภาระทางการเงิน และมีความเสี่ยงในเรื่องราคาด้วย ทำให้เรามองว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันจะโตช้าลงมาก ทำให้ มูลค่าที่จะนำเข้าน้ำมันโตช้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ 60 เหรียญต่อบาร์เรล ผมเชื่อว่าสูงสุดแล้ว ผมไม่เชื่อคนอื่นที่บอกว่าจะขึ้นไป 80 เหรียญ/ บาร์เรล เพราะที่ราคา 60 เหรียญต่อบาร์เรลจะเริ่มทำให้ดีมานด์ลงแล้ว และตอนนี้การอนุรักษ์ทรัพยากรเริ่มจะเข้ามาแล้ว หากขึ้นราคามากก็จะใช้น้อยลง เชื่อว่าผู้ผลิตจะไม่ขึ้นราคามาก และกลไกตลาดจะกดราคาน้ำมันลง
เพราะฉะนั้นปริมาณและราคาน้ำมันในครึ่งปีหลังไม่ขึ้น การนำเข้าก็จะไม่โตมาก ทางภัทรมองว่าในครึ่งปีหลังไทยจะไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเลย ตรงกันข้ามคาดว่าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 1,000 ล้านเหรียญ
ดังนั้นหากไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะมีผลประโยชน์ต่อเนื่องให้เห็น ถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเมื่อไหร่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเลิกห่วงขึ้นเยอะ เพราะถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพ และความมั่นใจในเรื่องค่าเงินบาทจะกลับมา
รวมทั้งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้สภาพคล่องในระบบดีขึ้น เพราะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีแต่เงินจะไหลออก แต่การเกินดุลมีเงินไหลเข้า อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์มากสำหรับครึ่งปีหลังที่จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
3.ในส่วนที่เกี่ยวกับภาครัฐบาลเองที่มีนโยบายงบประมาณสมดุล วันนี้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่แข็งแกร่ง หนี้ภาครัฐต่อจีดีพี 45% งบประมาณก็สมดุลและส่วนที่ยังเหลือในท่อ (งบประมาณที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2548) ตามที่นายกรัฐมนตรีบอกอีก 200,000-300,000 ล้านบาท ที่จะสามารถดันให้ออกมา หากใช้ 200,000 ล้านบาท ในช่วง 5 เดือนที่เหลือ ก็ประมาณเดือนละ 40,000 ล้านบาท ก็ไม่น้อยเลย เพราะว่าจีดีพีประมาณ 600,000 ล้านบาท/เดือน คิดเป็นประมาณ 6-7% ของจีดีพี หากรัฐบาลกระตุ้นๆ เดือนละ 6-7% ของ จีดีพี ก็จะประคองเศรษฐกิจต่อไปได้
เพราะฉะนั้นลองนึกภาพว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ตัวที่ขับเคลื่อนมีทั้งการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐบาล การนำเข้าที่ลดลง ทั้ง 3 ตัวจะดันให้จีดีพีของเราไม่ตกต่ำ และฟื้นได้นิดหน่อยด้วยซ้ำ และภัทรมองว่าไตรมาส 4 จีดีพีจะโตสัก 4%
ดังนั้นทั้งปีเฉลี่ยจีดีพีจะโตได้ประมาณ 3.4% และภายใต้จีดีพี 3.4% คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นที่คิดแบบคอนเซอร์เวทีฟแล้วจะอยู่ที่ 730 จุด
ส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้ามองว่าเป็นผลมาจากการส่งออก ซึ่งจะขยายตัว 15% ต่อปี และการลงทุนที่จะขยายตัวใกล้เคียงกันคือ 14.6% โดยการลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้น 12.5% และการลงทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 20% แต่การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงก็จะทำให้การนำเข้าขยายตัวมากถึง 15% เป็นผลให้ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นด้วย
ภัทรยังมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกจาก 3.5% ในปลายปี 2005 มาเป็น 4% ในปลายปี 2006 (เมื่อเทียบกับ 2.75% ในปัจจุบัน) โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจาก 4% ในปี 2005 เหลือ 3.5% ในปี 2006 การที่ ธปท.สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ 3.5% จะช่วยให้ค่าเงินบาทปรับตัวมาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 41 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2006
ดูปัจจัยพื้นฐานแล้ว ศก.ไม่ได้แย่
เมื่อถามว่า คนส่วนใหญ่มองไปทางร้าย ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า ปกติการคาดการณ์คือความเสี่ยง แคมป์หนึ่งเป็นแคมป์ที่กลัวว่าจีดีพีโต 2% กว่า ไม่ฟื้นเลย อีกแคมป์หนึ่งบอกว่า 6% และทางภัทรมองในแง่ดี คือขอให้เศรษฐกิจโลกดี ผมไม่เคยเห็นเศรษฐกิจไทยไม่ดี
"ผมไม่เชื่อเรื่องความไม่มั่นใจ ผมเชื่อในเรื่องปัจจัยพื้นฐาน และมองตรงกันข้าม ผมยอมรับว่ารัฐบาลนี้เน้นเรื่องความมั่นใจและความไม่มั่นใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องชั่วคราว ซึ่งจะถูกพิสูจน์ได้โดยปัจจัยพื้นฐาน ถ้าคุณไม่มั่นใจ แล้วที่คุณไม่มั่นใจมันถูก เดี๋ยวก็เจ๊ง ถ้าคุณไม่มั่นใจแล้วคุณผิด แล้วมันออกมาดี แล้วมันจะดีเอง ผมเชื่ออย่างนั้น ผมไม่เคยเชื่อเรื่องความมั่นใจว่าเป็นปัจจัยหลักที่จะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว ผมไม่เถียงว่าในระยะสั้นมันมีผล แต่เชื่อว่าความไม่มั่นใจ ความมั่นใจมันเปลี่ยนกันได้บนปัจจัยพื้นฐาน"
อย่างไรก็ตาม ผมดูแล้วว่าปัจจัยพื้นฐานไม่ได้แย่ขนาดนั้น ไม่ได้ดี แต่ไม่แย่ขนาดนั้น
ไม่เชื่อว่าจะเผชิญวิกฤต
เมื่อถามว่า ประเทศไทยกำลังจะเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตหรือไม่ ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า "ไม่เชื่อว่าจะเป็นวิกฤตเหมือนรอบที่แล้ว เพราะมันคนละลักษณะเศรษฐกิจ กล่าวคือ รอบที่แล้วเราเริ่มต้นจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เราเป็นหนี้เพิ่มขึ้นเดือนละ 1,000 ล้านเหรียญ แต่รอบนี้เพิ่งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5 เดือนก็ตกใจกัน ทั้งๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากว่า 6 ปี หรือ 70 กว่าเดือน แต่มาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5 เดือน กลัวจะวิกฤต ไม่ใช่"
พร้อมย้ำว่า รอบที่แล้วบริษัทมีหนี้ต่อทุน 3 ต่อ 1 แต่รอบนี้ 1 ต่อ 1 จะวิกฤตได้อย่างไร คราวที่แล้วคนที่เจ๊งคือบริษัทใหญ่ สถาบันการเงินจึงมีปัญหาไปด้วย เพราะฉะนั้นวิกฤตรอบที่แล้วกับครั้งนี้คนละเรื่องกัน รอบที่แล้วมีการลงทุน 42% ของจีดีพี รอบนี้ 26% ของจีดีพี จึงมองว่าไม่วิกฤตอย่างที่ทุกคนกลัว
แต่รอบนี้หากเศรษฐกิจชะลอ ปัญหาโจรผู้ร้ายจะมากขึ้น และรอบนี้หากเศรษฐกิจซึม กลุ่มรายย่อย เอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบ แต่บริษัทใหญ่มีการปรับตัวรับมือไปแล้ว โดยเฉพาะรายใหญ่ๆ ยังแข็งแกร่งมาก จากการคำนวณของภัทร พบว่าหากราคาน้ำมันขึ้นไป 60 เหรียญต่อบาร์เรล เขาก็อยู่ได้ หรือดอกเบี้ยขึ้นไป 2% ก็อยู่ได้ เพราะหนี้ต่อทุน 1 เท่า และจ่ายปันผลอยู่ 5% แถมผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ ROE ประมาณ 18-19% และสถาบันการเงินก็ไม่มีปัญหา ขณะนี้ปล่อยกู้ไปประมาณ 80% ของฐานเงินฝาก ตอนนั้นปล่อยไปประมาณ 120% ของฐานเงินฝาก และต้นทุนตอนนี้ของแบงก์ก็ต่ำ ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา
หากถามว่าจะฟื้นอย่างไร เชื่อว่าจะค่อยๆ ฟื้น
ศุภวุฒิ สายเชื้อ มองเศรษฐกิจมุมบวก มั่นใจปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ เป็นนักวางยุทธศาสตร์ในด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ได้รับการยอมรับในวงการโบรกเกอร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในครั้งนี้ หลังจากงานไทยแลนด์โฟกัส เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2548 ภัทรมองภาพเศรษฐกิจออกมาดี เมื่อเทียบกับบริษัทโบรกเกอร์ฝรั่งที่มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 3% ดร.ศุภวุฒิได้ อธิบายเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังว่า
หากมองเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทโบรกเกอร์ฝรั่ง 3-4โบรกเกอร์ อย่างเช่นซิตี้กรุ๊ป เอบีเอ็น แอมโร ซีเอสเอฟบี ซีแอลเอสเอ กลุ่มเหล่านี้ออกรายงานว่า จีดีพีของไทยจะโต 2% กว่า ไม่ถึง 3% และปีหน้าประมาณ 2.5% หากพิจารณาดูจีดีพีในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัว 3.3% ถ้าหากทั้งปีโต 2.5% แสดงว่าครึ่งปีหลังจีดีพีต้องลดลงตลอด แต่ผมมองว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะโต 3.4% และเราเชื่อว่าในไตรมาส 2 ปีนี้ จีดีพีน่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3% แต่มองว่าในไตรมาส 3 และ 4 จีดีพีจะดีขึ้น คือตกท้องช้างแล้วจะขึ้น แต่ฝรั่งมองตรงกันข้าม
3 ปัจจัยดันจีดีพีครึ่งปีหลังโต
หากถามว่า ในครึ่งปีหลังจะฟื้นมาจากอะไร โดยมองว่ามาจาก 1.การส่งออกของไทยในครึ่งปีแรกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง 14-15% และเชื่อว่าน่าจะทำต่อได้ เพราะในครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจโลกไม่ได้เลวร้ายอะไร ดังนั้นการส่งออกในตัวของมันเองคิดเป็นสัดส่วน 55% ของจีดีพี หากการส่งออกในครึ่งปีหลังขยายตัวได้ 14% ก็จะยิ่งเป็นตัวยันไว้ให้เศรษฐกิจโตได้ เพราะครึ่งหนึ่งของเศรษฐ กิจคือการส่งออก ในส่วนนี้ถ้าส่งออกโตได้ 14-15% ทางรัฐบาลจึงต้องพยายามที่จะผลักดันเรื่องการส่งออก จึงเชื่อว่าการส่งออกไม่แย่
2.การนำเข้าน้ำมัน หากดูตัวเลขจะเห็นความแปลก ว่าตัวเลขการนำเข้าน้ำมันในปีนี้กับปีที่แล้ว ปริมาณนำเข้าเพิ่ม 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ อันนี้ผิดปกติมากๆ เพราะปริมาณการนำเข้าน้ำมันเทียบกับดีมานด์ในประเทศที่โตปีละ 6-7% แต่ปริมาณการนำเข้าสูงถึง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ สรุปได้ว่าน่าจะมีการสต๊อกน้ำมันไว้เยอะมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ารัฐบาลค่อยๆ ปรับราคาน้ำมันขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้กันว่าน้ำมันมีแนวโน้มจะขึ้น ทุกคนจึงยิ่งมีการ สต๊อก ยิ่งซื้อน้ำมันเร็ว ก็ยิ่งกำไรเยอะ เพราะอนาคตราคาน้ำมันจะต้องขึ้น เนื่องจากนโยบายไปกำหนดไว้อย่างนั้น จึงมีการนำเข้ามาจำนวนมาก
แต่หลังจากลอยตัวน้ำมันดีเซล ภาวะน้ำมันขาขึ้นอย่างนั้นก็หมดไป น้ำมันขึ้นไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว การ สต๊อกมีความเสี่ยง เป็นภาระทางการเงิน และมีความเสี่ยงในเรื่องราคาด้วย ทำให้เรามองว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันจะโตช้าลงมาก ทำให้ มูลค่าที่จะนำเข้าน้ำมันโตช้า โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ 60 เหรียญต่อบาร์เรล ผมเชื่อว่าสูงสุดแล้ว ผมไม่เชื่อคนอื่นที่บอกว่าจะขึ้นไป 80 เหรียญ/ บาร์เรล เพราะที่ราคา 60 เหรียญต่อบาร์เรลจะเริ่มทำให้ดีมานด์ลงแล้ว และตอนนี้การอนุรักษ์ทรัพยากรเริ่มจะเข้ามาแล้ว หากขึ้นราคามากก็จะใช้น้อยลง เชื่อว่าผู้ผลิตจะไม่ขึ้นราคามาก และกลไกตลาดจะกดราคาน้ำมันลง
เพราะฉะนั้นปริมาณและราคาน้ำมันในครึ่งปีหลังไม่ขึ้น การนำเข้าก็จะไม่โตมาก ทางภัทรมองว่าในครึ่งปีหลังไทยจะไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเลย ตรงกันข้ามคาดว่าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 1,000 ล้านเหรียญ
ดังนั้นหากไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะมีผลประโยชน์ต่อเนื่องให้เห็น ถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเมื่อไหร่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเลิกห่วงขึ้นเยอะ เพราะถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพ และความมั่นใจในเรื่องค่าเงินบาทจะกลับมา
รวมทั้งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้สภาพคล่องในระบบดีขึ้น เพราะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีแต่เงินจะไหลออก แต่การเกินดุลมีเงินไหลเข้า อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์มากสำหรับครึ่งปีหลังที่จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
3.ในส่วนที่เกี่ยวกับภาครัฐบาลเองที่มีนโยบายงบประมาณสมดุล วันนี้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่แข็งแกร่ง หนี้ภาครัฐต่อจีดีพี 45% งบประมาณก็สมดุลและส่วนที่ยังเหลือในท่อ (งบประมาณที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2548) ตามที่นายกรัฐมนตรีบอกอีก 200,000-300,000 ล้านบาท ที่จะสามารถดันให้ออกมา หากใช้ 200,000 ล้านบาท ในช่วง 5 เดือนที่เหลือ ก็ประมาณเดือนละ 40,000 ล้านบาท ก็ไม่น้อยเลย เพราะว่าจีดีพีประมาณ 600,000 ล้านบาท/เดือน คิดเป็นประมาณ 6-7% ของจีดีพี หากรัฐบาลกระตุ้นๆ เดือนละ 6-7% ของ จีดีพี ก็จะประคองเศรษฐกิจต่อไปได้
เพราะฉะนั้นลองนึกภาพว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ตัวที่ขับเคลื่อนมีทั้งการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐบาล การนำเข้าที่ลดลง ทั้ง 3 ตัวจะดันให้จีดีพีของเราไม่ตกต่ำ และฟื้นได้นิดหน่อยด้วยซ้ำ และภัทรมองว่าไตรมาส 4 จีดีพีจะโตสัก 4%
ดังนั้นทั้งปีเฉลี่ยจีดีพีจะโตได้ประมาณ 3.4% และภายใต้จีดีพี 3.4% คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นที่คิดแบบคอนเซอร์เวทีฟแล้วจะอยู่ที่ 730 จุด
ส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้ามองว่าเป็นผลมาจากการส่งออก ซึ่งจะขยายตัว 15% ต่อปี และการลงทุนที่จะขยายตัวใกล้เคียงกันคือ 14.6% โดยการลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้น 12.5% และการลงทุนของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 20% แต่การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงก็จะทำให้การนำเข้าขยายตัวมากถึง 15% เป็นผลให้ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นด้วย
ภัทรยังมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกจาก 3.5% ในปลายปี 2005 มาเป็น 4% ในปลายปี 2006 (เมื่อเทียบกับ 2.75% ในปัจจุบัน) โดยการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงจาก 4% ในปี 2005 เหลือ 3.5% ในปี 2006 การที่ ธปท.สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ 3.5% จะช่วยให้ค่าเงินบาทปรับตัวมาเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 41 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2006
ดูปัจจัยพื้นฐานแล้ว ศก.ไม่ได้แย่
เมื่อถามว่า คนส่วนใหญ่มองไปทางร้าย ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า ปกติการคาดการณ์คือความเสี่ยง แคมป์หนึ่งเป็นแคมป์ที่กลัวว่าจีดีพีโต 2% กว่า ไม่ฟื้นเลย อีกแคมป์หนึ่งบอกว่า 6% และทางภัทรมองในแง่ดี คือขอให้เศรษฐกิจโลกดี ผมไม่เคยเห็นเศรษฐกิจไทยไม่ดี
"ผมไม่เชื่อเรื่องความไม่มั่นใจ ผมเชื่อในเรื่องปัจจัยพื้นฐาน และมองตรงกันข้าม ผมยอมรับว่ารัฐบาลนี้เน้นเรื่องความมั่นใจและความไม่มั่นใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องชั่วคราว ซึ่งจะถูกพิสูจน์ได้โดยปัจจัยพื้นฐาน ถ้าคุณไม่มั่นใจ แล้วที่คุณไม่มั่นใจมันถูก เดี๋ยวก็เจ๊ง ถ้าคุณไม่มั่นใจแล้วคุณผิด แล้วมันออกมาดี แล้วมันจะดีเอง ผมเชื่ออย่างนั้น ผมไม่เคยเชื่อเรื่องความมั่นใจว่าเป็นปัจจัยหลักที่จะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว ผมไม่เถียงว่าในระยะสั้นมันมีผล แต่เชื่อว่าความไม่มั่นใจ ความมั่นใจมันเปลี่ยนกันได้บนปัจจัยพื้นฐาน"
อย่างไรก็ตาม ผมดูแล้วว่าปัจจัยพื้นฐานไม่ได้แย่ขนาดนั้น ไม่ได้ดี แต่ไม่แย่ขนาดนั้น
ไม่เชื่อว่าจะเผชิญวิกฤต
เมื่อถามว่า ประเทศไทยกำลังจะเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตหรือไม่ ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า "ไม่เชื่อว่าจะเป็นวิกฤตเหมือนรอบที่แล้ว เพราะมันคนละลักษณะเศรษฐกิจ กล่าวคือ รอบที่แล้วเราเริ่มต้นจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เราเป็นหนี้เพิ่มขึ้นเดือนละ 1,000 ล้านเหรียญ แต่รอบนี้เพิ่งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5 เดือนก็ตกใจกัน ทั้งๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากว่า 6 ปี หรือ 70 กว่าเดือน แต่มาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5 เดือน กลัวจะวิกฤต ไม่ใช่"
พร้อมย้ำว่า รอบที่แล้วบริษัทมีหนี้ต่อทุน 3 ต่อ 1 แต่รอบนี้ 1 ต่อ 1 จะวิกฤตได้อย่างไร คราวที่แล้วคนที่เจ๊งคือบริษัทใหญ่ สถาบันการเงินจึงมีปัญหาไปด้วย เพราะฉะนั้นวิกฤตรอบที่แล้วกับครั้งนี้คนละเรื่องกัน รอบที่แล้วมีการลงทุน 42% ของจีดีพี รอบนี้ 26% ของจีดีพี จึงมองว่าไม่วิกฤตอย่างที่ทุกคนกลัว
แต่รอบนี้หากเศรษฐกิจชะลอ ปัญหาโจรผู้ร้ายจะมากขึ้น และรอบนี้หากเศรษฐกิจซึม กลุ่มรายย่อย เอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบ แต่บริษัทใหญ่มีการปรับตัวรับมือไปแล้ว โดยเฉพาะรายใหญ่ๆ ยังแข็งแกร่งมาก จากการคำนวณของภัทร พบว่าหากราคาน้ำมันขึ้นไป 60 เหรียญต่อบาร์เรล เขาก็อยู่ได้ หรือดอกเบี้ยขึ้นไป 2% ก็อยู่ได้ เพราะหนี้ต่อทุน 1 เท่า และจ่ายปันผลอยู่ 5% แถมผลตอบแทนจากการลงทุนหรือ ROE ประมาณ 18-19% และสถาบันการเงินก็ไม่มีปัญหา ขณะนี้ปล่อยกู้ไปประมาณ 80% ของฐานเงินฝาก ตอนนั้นปล่อยไปประมาณ 120% ของฐานเงินฝาก และต้นทุนตอนนี้ของแบงก์ก็ต่ำ ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา
หากถามว่าจะฟื้นอย่างไร เชื่อว่าจะค่อยๆ ฟื้น
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 13
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์เปลี่ยนแต่นายกฯไม่เปลี่ยน !!!
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณครับ คุณLOSO และคุณฉัตรชัย สำหรับข้อมูล
ดูเผินๆเหมือนข้อมูลทั้ง2จะขัดแย้งกันนะครับ แต่ดูดีๆผมว่าเค้าเสริมกันเองอยู่นา
คือถ้าสังเกตุดีๆข้อมูลหลังไม่ได้พูดถึงเมกกะโปรเจ็กเลย ผมค่อนข้างเชื่อครับว่าการเร่งเม็กกะโปรเจ็กโดยใช้เงินเร็วและมากเกินไปน่าจะส่งผลเสียในช่วงนี้ให้ทวีขึ้นไปอีก และการเติบโตของจีนในอนาคตก็น่าจับตามองจริงๆครับ
ถ้าตัดทั้ง2เรื่องนี้ออกไปได้ โอกาสทางรอดก็จะตกมาอยู่ตามข้อมูลหลังได้มากขึ้นครับ
ทำอย่างไรจะให้ผู้บริหารราชการคิดว่าเงินที่เค้าใช้จ่ายเป็นเงินส่วนตัวของเค้าเอง ถ้าทำได้ก็น่าจะดีขึ้นอีกเยอะ....การระวังในการจับจ่ายจะได้ระมัดระวังมากขึ้นกว่านี้
ดูเผินๆเหมือนข้อมูลทั้ง2จะขัดแย้งกันนะครับ แต่ดูดีๆผมว่าเค้าเสริมกันเองอยู่นา
คือถ้าสังเกตุดีๆข้อมูลหลังไม่ได้พูดถึงเมกกะโปรเจ็กเลย ผมค่อนข้างเชื่อครับว่าการเร่งเม็กกะโปรเจ็กโดยใช้เงินเร็วและมากเกินไปน่าจะส่งผลเสียในช่วงนี้ให้ทวีขึ้นไปอีก และการเติบโตของจีนในอนาคตก็น่าจับตามองจริงๆครับ
ถ้าตัดทั้ง2เรื่องนี้ออกไปได้ โอกาสทางรอดก็จะตกมาอยู่ตามข้อมูลหลังได้มากขึ้นครับ
ทำอย่างไรจะให้ผู้บริหารราชการคิดว่าเงินที่เค้าใช้จ่ายเป็นเงินส่วนตัวของเค้าเอง ถ้าทำได้ก็น่าจะดีขึ้นอีกเยอะ....การระวังในการจับจ่ายจะได้ระมัดระวังมากขึ้นกว่านี้