เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
thepuk
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

B-LAND: ชี้แจงผลประกอบการประจำปี
คำแนะนำ: ลดการลงทุน
วันศุกร์บริษัทประกาศงบการเงินงวดสิ้นปี 31 มี.ค.48 เป็นขาดทุนสุทธิ 1,878 ล้านบาท
เทียบกับ YoY ที่มากำไรสุทธิ 1,714 ล้านบาท บริษัทชี้แจงว่าสาเหตุที่ปีนี้ขาดทุนมากเป็นเพราะ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินคือ ที่เคยตกลงให้มีการโอนทรัพย์ชำระ
หนี้ แต่ให้มีการลดราคาทรัพย์สินลงร้อยละ 30 จากราคาปกติ และเมื่อดำเนินการเสร็จ สถาบัน
การเงินจะตัดภาระดอกเบี้ยให้กับบริษัท และจะก่อให้เกิดกำไรสุทธิกับบริษัท แต่ตามหลัก
มาตรฐานบัญชีต้องให้บันทึกขาดทุนจากการโอนสินทรัพย์ชำระหนี้ก่อน ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าว
ทำให้เกิดความแตกต่างของกำไรจำนวน 3,590 ล้านบาท

ผลกระทบ:
ดูเหมือนว่าพอฟังคำอธิบายแล้วจะสบายใจขึ้นว่าผลขาดทุนเกิดการการปรับโครงสร้างหนี้
ในอนาคตเมื่อชำระหนี้แล้วจะกลับมาบันทึกกำไรอีก แต่ ACS ขอย้ำว่าจากปัจจัยพื้นฐานของ B-
LAND ยังไม่ดีเช่นเดิม พิจารณาจากประเด็นดังต่อไปนี้
ธุรกิจหลักคือ รายได้จากการขายมีเพียง 307 ล้านบาท แต่ต้นทุนขายสูงถึง 4,672 ล้าน
บาท เมื่อพิจารณาหมายเหตุประกอบงบการเงินปรากฏว่าในต้นทุนขายมีการกลับรายการกำไรที่
เคยรับรู้ในงวดก่อนๆ 4,614 ล้านบาท มาบันทึกเป็นต้นทุนขาย แสดงว่าที่ผ่านมาที่เคยบันทึก
เป็นกำไรนั้นทำไม่ได้จริง
แต่ยังดีที่มีรายได้ค่าเช่าและบริการที่ให้กำไรพอควร คือ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ถ้าไม่มี
รายการนี้จะยิ่งแย่มาก
ที่น่าประหลาดใจคือ ค่าใช้จ่ายขายและบริหารกลับเป็นบวก ก็เพราะ มีการโอนกลับค่าเผื่อ
หนี้สงสัยจะสูญจำนวน 1,637 ล้านบาทเข้ามา ถือว่าเป็นกรณีที่ไม่เกิดกับบริษัทหลักทรัพย์ทั่วไปที่
ดำเนินการปกติรายได้อื่นๆปีนี้มากถึง 3,912 ล้านบาท แต่ YoY เป็นเพียง 342 ล้านบาท เมื่อ
พิจารณาในโครงสร้างพบว่ามีรายการที่น่าจะเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอเต็มไปหมดคือ การกลับรายการ
ยกเลิกการขายในปีก่อน 2,047 ล้านบาท หรือกำไรจากการตีที่ดิน 928 ล้านบาท เป็นต้น
Copy จาก เวป efinance ครับ
คือผมตามเก็บหุ้นนี้มานานแล้วครับตั้งแต่ 60สตางค์ ตอนนี้เหลือ 41สตางค์
เพราะรอ Hall ใหม่ที่ก่อสร้างอยู่ 2 Hall ที่อิมแพค อะครับ เลยอยากความเห็นว่าควรจะเก็บต่อ หรือหยุดพักก่อนดีครับ อีกอย่าง ทางบริษัท เพิ่งประกาศงบปันผลไตรมาสสองอ่ะครับ จะขายทิ้งดีมั้ยเนี้ย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amorna
Verified User
โพสต์: 454
ผู้ติดตาม: 0

เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คำเดียว
ผู้บริหารไม่โปร่งใสค่ะ
Price is what you pay, value is what you get.
thaistock2005
Verified User
โพสต์: 424
ผู้ติดตาม: 0

เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถูกต้องนะคร้าบ...........

เท่าที่ดูงบเล่น ๆ
อะไรที่มันแย่ ๆ
ก็เอามาใส่ซะทีเดียวเลย

งบงวดหน้าน่าจะออกมาดีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

8) ลองอ่านดูนะครับ
อ่านแล้วรู้สึกยังไงก็เล่าให้ฟังบ้างนะคร้าบ

'รายใหญ่' เสียเหลี่ยม..'กาญจนพาสน์' กระอักหุ้น 'BLAND' ติดต้นทุน 0.70 บาท

'รายใหญ่-นักการเมือง' ติดร่างแหหุ้น 'บางกอกแลนด์'(BLAND) ราคาร่วงหนักเหลือ
0.38 บาท เหตุเพิ่มทุนเรื้อรัง.. 'กาญจนพาสน์' เหนือชั้น ใช้โครงการศูนย์แสดงสินค้า
แห่งใหม่ 'เดอะชาเลนเจอร์' พ่วงแผนเอาหุ้น 'อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น' เข้าตลาดล่อ 'ราย
ใหญ่' แห่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนหลายระลอก.. ขณะที่ผลการดำเนินงานปีนี้ เข้าขั้น 'สาหัส'

นับตั้งแต่กลางปี 2547 ถึงปัจจุบัน บริษัท บางกอกแลนด์ (BLAND) ออกหุ้นเพิ่มทุน
ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม 2 ครั้งในเดือนต.ค.47 และ พ.ค.48 ที่ราคาต้นทุน 0.68 บาท
และออกหุ้นเพิ่มทุนขายให้กับนักลงทุนในวงจำกัด (รายใหญ่) รวม 11 ครั้งที่ราคา
ระหว่าง 0.70-0.82 บาท ช่วงเดือนพ.ค.47-มิ.ย.48

เท่ากับว่านับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2547 ถึง มิ.ย.2548 บางกอกแลนด์ออกหุ้นเพิ่มทุนมา
แล้วทั้งสิ้น 3,648 ล้านหุ้น มีราคาเฉลี่ยที่หุ้นละ 0.70 บาท ระดมทุนกลับออกไปแล้ว
ประมาณ 2,550 ล้านบาท

แต่หากเริ่มนับตั้งแต่ปลายปี 2546 ถึงปัจจุบันบางกอกแลนด์ขายหุ้นเพิ่มทุนมาแล้ว
17 ครั้ง (ขายผู้ถือหุ้นเดิม 2 ครั้ง, ผู้ถือตราสารหนี้มาใช้สิทธิ 2 ครั้ง และนักลงทุนใน
วงจำกัด 13 ครั้ง) รวมหุ้นที่ออกทั้งสิ้น 6,233 ล้านหุ้น มูลค่าการระดมทุนรวม 6,873
ล้านบาท โดยมีราคาเฉลี่ยที่หุ้นละ 1.10 บาท

ทีมงาน 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' ย้อนศรเส้นทางการเพิ่มทุนของ BLAND ซึ่งพบว่า
มีนักลงทุนในวงจำกัดทั้งที่เป็นนักลงทุน 'ต่างชาติ' และ 'นักการเมือง' ชั้นนำของไทย
ติดหุ้นตัวนี้ 'ต้นทุนสูง' เป็นจำนวนมาก

'รายใหญ่' ที่เข้ามาติดหุ้น BLAND ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในเครือข่าย บล.ซีมิโก้ ซึ่ง
ประกอบด้วย บลจ.ซีมิโก้ ไนท์ฟันด์ แมเนจเม้นท์ และ Quam Securities Company
Limited รวมถึง McCarthy Ventures Limited จดทะเบียนอยู่ที่เกาะ 'บิติชเวอร์จิ้น
ไอร์แลนด์' รายใหญ่เหล่านี้เข้ามาซื้อหุ้น BLAND หลายล็อตมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่
ประมาณ 0.70 บาท/หุ้น

ลูกค้ารายใหญ่ที่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน BLAND หลายครั้งผ่าน Quam Securities
Company ได้แก่ มร.อู คิท หวา, มร.แอนโทนี่ คาร์รอน, มร.พอล เบิร์นาร์ด หยาง, บ.
อินทีกริตี้ แอสเสท แมเนจเม้นท์ และ บ.ฟอสซิล เอ็นเตอร์ไพร์ส

ส่วนลูกค้าคนดังที่ลงทุนผ่าน บลจ.ซีมิโก้ ไนท์ฟันด์ แมเนจเม้นท์ เช่น นายอนุทิน
ชาญวีรกูล รมช.สาธารณสุข ซื้อรวมหุ้น 3 ครั้งจำนวน 8 ล้านหุ้นที่ราคาเฉลี่ย 0.70
บาท/หุ้น, นางพร เทพสุทิน เครือญาติ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ท่องเที่ยว และ
การกีฬา จองซื้อ 3 ครั้งจำนวน 22.50 ล้านหุ้น

บล.ไซรัส ก็จองซื้อด้วย 10 ล้านหุ้น, นางนภารัตน์ สิหนาทกถากุล 8.5 ล้านหุ้น, นาย
นุประพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (อดีตผู้บริหารบล.ซีมิโก้) 6 ล้านหุ้น, นายสุรพันธ์
พัฒนพิฑูรย์ 20.50 ล้านหุ้น, นายชัยณรงค์ ศรีเฟื่องฟุ้ง 4 ล้านหุ้น

นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา 14.30 ล้านหุ้น, ตระกูล 'ตวงสิทธิสมบัติ' 40 ล้านหุ้น, นาย
ณรงค์ สุขศรีวงศ์ 21.80 ล้านหุ้น, นายเทพ ฐิติเมธากุล (ตัวแทนกลุ่ม ซันไรส์ อีคิวตี้)
56.77 ล้านหุ้น, น.ส.อัจจิมา ภาคานาม 42 ล้านหุ้น, น.ส.นันทนา หาญสุรนันท์ 50
ล้านหุ้น, รวมทั้ง บ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต ก็ร่วมจองซื้อด้วย 56.77 ล้าน
หุ้น

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าบุคคลที่มีชื่อเสียงที่จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน BLAND หลายคนเป็น
ลูกค้า 'บล.ซีมิโก้' และถือหุ้นใหญ่อยู่ใน ไรมอน แลนด์ (RAIMON) ซึ่งเป็นบริษัทที่
บล.ซีมิโก้ ถือหุ้นใหญ่ 27.23% เช่น น.ส.อรชร เจริญพงศ์อนันต์, นายอนุทิน ชาญวีร
กูล และ นางพร เทพสุทิน..ไม่เพียง 'รายใหญ่-นักการเมือง' ที่เข้ามาติดร่างแหหุ้น
BLAND เท่านั้น ยังมีกองทุนในกลุ่ม 'Knight Fund' ไม่ต่ำกว่า 6 กองทุนก็เข้ามาซื้อ
หุ้นเพิ่มทุน BLAND เป็นจำนวนมากด้วย

'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' เชื่อว่า นักลงทุนที่เข้ามาจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่สนนราคาไม่
ต่ำกว่าหุ้นละ 0.70 บาท/หุ้น มีจำนวนไม่น้อยที่ 'ติดหุ้น' เพราะช่วงเวลาที่เปิดจองหุ้น
โดยเฉพาะหลังจากเดือนก.พ.2548 เป็นต้นมาทิศทางของหุ้น BLAND เป็น 'ขาลง'
อย่างชัดเจนจากราคา 0.80 บาท ปรับลดลงเหลือ 0.38 บาทลงมาแล้วประมาณ
52%

เกมนี้ยังไม่จบ..แม้ว่า BLAND จะเพิ่มทุนไปแล้วเป็นจำนวนมาก (ตั้งแต่พ.ค.2547-มิ.
ย.2548 เพิ่มทุนไปแล้วทั้งสิ้น 3,648 ล้านหุ้น) แต่ยังเหลือหุ้นเพิ่มทุนส่วนที่ต้องจัด
สรรให้กับ ผู้ถือหุ้นเดิม ที่ยังขายไม่หมดอีก 5,136 ล้านหุ้น เหลือในส่วนของ นักลง
ทุนในวงจำกัด อีก 1,214 ล้านหุ้น และที่ต้องเตรียมไว้ออก BLAND-W1 อีกจำนวน
2,000 ล้านหุ้น

เท่ากับว่าในอนาคตนับต่อจากนี้ยังจะมีหุ้นเพิ่มทุน BLAND ที่รอการจัดสรรเพิ่มอีก
6,350 ล้านหุ้น (ไม่รวม BLAND-W1 จำนวน 2,000 ล้านหุ้น) ที่บริษัทเตรียมนำออก
ขายไปเรื่อยๆ (ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2548 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 20,584 ล้านบาท
ชำระแล้ว 12,233 ล้านบาท)

เพราะฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าราคาหุ้น BLAND นับจากนี้จะต้องถูกกดดันจากหุ้น
จำนวนมหาศาลที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ส่วนเหตุผลที่ 'รายใหญ่' แห่กันเข้ามาจองซื้อหุ้นตัวนี้ได้รับรายงานว่า เพราะต่างเชื่อ
ในโครงการที่ 'นายอนันต์ กาญจนพาสน์' ประธานกรรมการบริษัทใช้เป็น 'จุดขาย' นั่น
ก็คือ โครงการก่อสร้างศูนย์การแสดงสินค้าแห่งใหม่ 'เดอะชาเลนเจอร์' (The
Challenger) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2548 นี้

แผนใหญ่ที่ 'อนันต์' ใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหุ้น BLAND มาตลอดยังรวมถึงการนำ
บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่สิ่งที่
นักลงทุนต้องจับตามองเกมนี้ให้มากๆ เพราะเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2547 มติที่ประชุม
BLAND ได้ 'ซุกซ่อน' เงื่อนไขบางอย่างเอาไว้

นั่นก็คือมีการทำสัญญากับ McCarthy Ventures Limited ให้เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน
BLAND เพื่อแลกกับสัญญาซื้อหุ้น อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ (ปัจจุบัน
BLAND ถืออยู่ 99.97%) ในสัดส่วนไม่เกิน 20% ในราคา 4,000 ล้านบาท และมี
สัญญาพ่วงท้ายอีกว่าต้องนำหุ้น 'อิมแพ็ค' เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน
วันที่ 31 ก.ค. 2548

ถ้า BLAND โอนทรัพย์สินมาให้กับ 'อิมแพ็ค' McCarthy Ventures จะยอมชำระเงิน
มัดจำล่วงหน้า 1,000 ล้านบาท เห็นได้ชัดว่าเบื้องหลังการเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน
BLAND ของ 'นักลงทุนต่างชาติ-รายใหญ่' อาจมีการซ่อนเงื่อนไขพิเศษให้สิทธิซื้อ
หุ้นอิมแพ็ค 'ราคาถูก' ไว้ทำกำไรในภายหลังด้วย

ในปี 2547 ที่ผ่านมา บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ สร้างรายได้ให้กับ
BLAND จำนวน 1,107.18 ล้านบาท คิดเป็น 69.84% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท
ฉะนั้นถ้าโยกรายได้จากอิมแพ็คออกไปอนาคตของ BLAND อาจจะดับวูบลงทันที
เพราะฉะนั้น 'รายย่อย' จะเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์ในเกมนี้ทั้งขึ้นทั้งล่อง

แต่นาทีนี้ 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek' ประเมินว่า 'เกมพลิก' เพราะอิมแพ็คไม่สามารถ
เข้าจดทะเบียนได้ทันในวันที่ 31 ก.ค.2548 ตามสัญญา และฐานะการเงินของ
BLAND ก็ค่อนข้าง 'อ่อนแอ'

จากงบการเงิน ณ 31 มี.ค.2548 บริษัทมีหนี้สินหมุนเวียนสูงถึง 30,264 ล้านบาท
บริษัทรายงานว่ามีหนี้สินกับสถาบันการเงิน และผู้ถือตราสารหนี้รวม 15,503 ล้าน
บาท แบ่งเป็น เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 1,140 ล้านบาท
และ เงินกู้ยืมจากธนาคาร และตราสารหนี้ 14,363 ล้านบาท

ขณะที่ในรอบปีที่ผ่านมา (สิ้นสุด 31 มี.ค.2548) BLAND มีรายได้จากธุรกิจหลัก
เพียง 1,585 ล้านบาท และบันทึกรายได้ทางบัญชีสูงถึง 4,852 ล้านบาท รวมเป็น
6,437 ล้านบาท..ขาดทุนจากการดำเนินงานปกติสูงถึง 2,242 ล้านบาท เห็นได้ชัด
ว่า 'รายได้' (จากธุรกิจหลัก) กับ 'ค่าใช้จ่าย' ไม่สมดุลกัน

ในงบการเงินฉบับนี้ยังถูก 'ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต' (ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส) ตั้ง
ข้อสังเกตแบบมีเงื่อนไขใน 2 ประเด็น คือ หนึ่ง..ประเด็นเงินลงทุนระยะยาวในกอง
ทุนต่างประเทศ New Asian Land Fund จำนวน 7,701 ล้านบาท ที่จัดตั้งในประเทศ
เบอร์มิวด้า

สอง..ประเด็นการจ่ายชำระคืนเงินกู้ระยะยาวให้กับ 'บริษัท ยีฮิง' (Yee Hing) จำนวน
1,091 ล้านบาท ซึ่งมี 'นายอนันต์ กาญจนพาสน์' เป็นกรรมการ และผู้ถือหุ้น โดย
ชำระเป็นเงินสดจำนวน 699 ล้านบาท, ชำระเป็นอสังหาริมทรัพย์ของ BLAND
จำนวน 50 ล้านบาท และการหักกลบกับยอดสินทรัพย์อื่นจำนวน 342 ล้านบาท

จิ๊กซอว์ที่น่าจับตาอยู่ที่ 'บริษัท ยีฮิง' แห่งนี่ซึ่งมีฐานปฏิบัติการณ์อยู่ที่ 'ฮ่องกง'
บริษัทนี้เป็น 'ตัวเชื่อม' ผลประโยชน์ ไปสู่ปลายทาง นั่นก็คือ กระเป๋าเงินของ
ตระกูล 'กาญจนพาสน์'

ไม่เพียงได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นเท่านั้น ยังมีข้อมูลระบุว่า 'ยีฮิง' เข้ามาแสวง
หาผลประโยชน์จากหุ้น BLAND และคาดว่าสามารถทำกำไรกลับออกไปจำนวนไม่
น้อยทีเดียว..ในรายงานของก.ล.ต.เมื่อ 2 พ.ย.2547 ยีฮิง เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน
BLAND จำนวน 911.31 ล้านหุ้น ที่ราคา 0.68 บาท/หุ้น รวมกับหุ้นเดิมอีก 546.26
ล้านหุ้นจะมีหุ้นรวมกันมากถึง 1,457.56 ล้านหุ้น หรือ 13.95%

จังหวะที่ 'ยีฮิง' เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ราคา 0.68 บาท/หุ้นนั้น สิ่งที่น่าสังเกต ก็คือ
หลังจากนั้นราคาหุ้น BLAND ก็ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดไปอยู่ที่ 0.80 บาท/หุ้นช่วง
ปลายม.ค.-ต้นก.พ.2548 เมื่อตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นล่าสุด ณ 18 เม.ย.2548
ปรากฏว่า 'ยีฮิง' เหลือหุ้นใน BLAND เพียง 943.98 ล้านหุ้นเท่านั้น

แสดงว่าช่วงที่หุ้น BLAND ปรับขึ้น 'ยีฮิง' ขายหุ้นออกไปประมาณ 513.58 ล้านหุ้น
คาดว่าทำเงินกลับออกไปราว 400 ล้านบาท..นี่เป็นข้อมูลชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ว่า
ตระกูล 'กาญจนพาสน์' อาจเข้ามาหาประโยชน์ และทำกำไรจากหุ้น BLAND และ
อาจรวมถึงใช้บริษัทแห่งนี้เป็นเครื่องมือในการสร้างสภาพคล่องให้กับหุ้นของตัวเอง
ด้วย

นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหุ้น BLAND ที่ถือในชื่อของ บริษัท บางกอกแลนด์ เคย์แมน
(BLAND ถือหุ้นในบริษัทนี้ 100%) จำนวน 237.81 ล้านหุ้น ก็กลายไปเป็นกรรมสิทธิ์
ของ 'ยีฮิง' ด้วยเช่นเดียวกัน

จากการตรวจสอบเส้นทาง 'เข้า-ออก' หุ้น BLAND ของ 'ยีฮิง' ยิ่งน่าสนใจบริษัทแห่ง
นี้มีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ปลายปี 2546 ช่วงนั้นราคาหุ้น BLAND
เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1.60-1.80 บาท พบว่า 'ยีฮิง' ขายหุ้นออกมาอย่างมากจากใน
พอร์ต 533.26 ล้านหุ้น เหลือเพียง 88.20 ล้านหุ้น..ทิ้งหุ้น BLAND ออกมาจำนวน
445.06 ล้านหุ้น คาดว่าทำเงินกลับออกไปในช่วงนั้นไม่น้อยกว่า 700-800 ล้านบาท

ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะได้เห็น 'รายใหญ่' เต็มใจเข้ามาติดร่างแหหุ้น BLAND
และ 'เสียเหลี่ยม' แบบหมดฟอร์มให้กับ 'มังกรฮ่องกง' (อนันต์ กาญจนพาสน์)

ประวัติการเพิ่มทุนของหุ้น 'BLAND' ตั้งแต่เดือนพ.ย.46-มิ.ย.48

วันที่ จัดสรรให้แก่ จำนวนที่ซื้อรวม ราคาขาย มูลค่าระดมทุน

(หุ้น) (บาท/หุ้น) (บาท)

13-14 พ.ย.46 นักลงทุนในวงจำกัด(1) 1,250,000,000 1.6 2,000,000,000

20-21 พ.ย.46 นักลงทุนในวงจำกัด(2) 1,096,000,000 1.7 1,863,200,000

31 ธ.ค.46 ผู้ถือตราสารหนี้ใช้สิทธิ 114,375,000 2 228,750,000

26 ม.ค.47 ผู้ถือตราสารหนี้ใช้สิทธิ 124,702,204 2 249,404,408

11-15 ต.ค.47 ผู้ถือหุ้นเดิม 1,100,000,000 0.68 748,000,000

31 พ.ค.47-25 เม.ย.48 นักลงทุนในวงจำกัด 10 ครั้ง 2,395,909,313 0.7-0.82
1,677,136,519

24-30 พ.ค.48 ผู้ถือหุ้นเดิม 10,366,683 0.68 7,049,344

1 มิ.ย.48 นักลงทุนในวงจำกัด 142,389,808 0.7 99,672,866

พ.ย.46-มิ.ย.48 6,233,743,008 1.10 6,873,213,137
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
nano
Verified User
โพสต์: 447
ผู้ติดตาม: 0

เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณ คุณpor_jai มากครับที่ได้เห็นใบอันแท้จริงของนายคนนี้
ผมเคยซื้อตั้งแต่ราคา 180- โดนบังคับขายที่ 18 บาท แล้วไม่เคยไปสน
อีกเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

เรียนท่านผู้รู้ช่วยวิเคราะห์ Bland หน่อยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมไม่เคยสนใจเพราะ ขนาดขายทาวน์เฮาส์,คอนโด ยังโกงลูกค้าของตัวเอง(ในการวัดพื้นที่ใช้สอย)แล้วผู้ถือหุ้นเขาจะไปสนใจอะไรด้วย :evil:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ล็อคหัวข้อ