อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 2
หุ้น UBC
มีขาดทุนสะสม 12000 ล้าน
มูลค่าหุ้น พาร์ 10
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น จำนวนหนึ่งผมจำไม่ได้
(เกิดจากขายหุ้นได้ แพงกว่า พาร์)
เอาส่วนเกินนี้ กับ มูลค่าหุ้น (พาร์) หุ้นละ 7 บาท จ่ายหนี้
ขาดทุนสะสมหมด ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหมด จำนวนหุ้นเท่าเดิม แต่เหลือพาร์ 3
มีขาดทุนสะสม 12000 ล้าน
มูลค่าหุ้น พาร์ 10
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น จำนวนหนึ่งผมจำไม่ได้
(เกิดจากขายหุ้นได้ แพงกว่า พาร์)
เอาส่วนเกินนี้ กับ มูลค่าหุ้น (พาร์) หุ้นละ 7 บาท จ่ายหนี้
ขาดทุนสะสมหมด ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหมด จำนวนหุ้นเท่าเดิม แต่เหลือพาร์ 3
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 3
ในงบดุลส่วนของผู้ถือหุ้น โดยทั่วไปจะมี 3 บรรทัด คือ
- หุ้นสามัญ (บันทึกตามราคาพาร์)
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (เกิดในกรณีที่เสนอขายหุ้นในราคาที่สูงกว่าราคาพาร์)
- กำไร/ขาดทุนสะสม
ทั้ง 3 บรรทัดนี้นำมารวมกันทั้งหมดจะเรียกว่า "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ดังนั้นในกรณีที่มีการ "ย้ายบรรทัด" เช่น ลดจำนวนเงินในบรรทัด "หุ้นสามัญ" ลงแล้วนำไปเพิ่มไว้ในบรรทัด "กำไร/ขาดทุนสะสม" เป็นจำนวนเงินเท่าๆ กัน เมื่อดูผลรวมใน "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ก็ยังเท่าเดิม
ตัวอย่าง
- หุ้นสามัญ (ราคาพาร์ 5 บาท) = 1,000 หุ้น x 5 บาท = 5,000 บาท
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (จำหน่ายหุ้นในราคาหุ้นละ 5 บาทพอดี) = 0 บาท
- ขาดทุนสะสม = 3,000 บาท
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น = 5,000+0-3,000 = 2,000 บาท
หลังจากทำการลดพาร์ จาก 5 --> 1 บาท แล้วนำไปล้างขาดทุนสะสม
- หุ้นสามัญ (ราคาพาร์ 1 บาท) = 1,000 หุ้น x 1 บาท = 1,000 บาท <<*จะเห็นว่าจำนวนเงินหายไป 4,000 บาท*>>
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (จำหน่ายหุ้นในราคาหุ้นละ 5 บาทพอดี) = 0 บาท
- กำไรสะสม = 4,000-3,000 = 1,000 บาท <<*นำจำนวนเงิน 4,000 บาทที่ได้จากการลดพาร์มาหักด้วยขาดทุนสะสม*>>
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น = 1,000+0+1,000 = 2,000 บาท <<*จะเห็นว่าส่วนของผู้ถือหุ้นยังเท่าเดิม นั่นคือมูลค่าหุ้นทางบัญชียังเท่าเดิม*>>
- หุ้นสามัญ (บันทึกตามราคาพาร์)
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (เกิดในกรณีที่เสนอขายหุ้นในราคาที่สูงกว่าราคาพาร์)
- กำไร/ขาดทุนสะสม
ทั้ง 3 บรรทัดนี้นำมารวมกันทั้งหมดจะเรียกว่า "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ดังนั้นในกรณีที่มีการ "ย้ายบรรทัด" เช่น ลดจำนวนเงินในบรรทัด "หุ้นสามัญ" ลงแล้วนำไปเพิ่มไว้ในบรรทัด "กำไร/ขาดทุนสะสม" เป็นจำนวนเงินเท่าๆ กัน เมื่อดูผลรวมใน "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ก็ยังเท่าเดิม
ตัวอย่าง
- หุ้นสามัญ (ราคาพาร์ 5 บาท) = 1,000 หุ้น x 5 บาท = 5,000 บาท
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (จำหน่ายหุ้นในราคาหุ้นละ 5 บาทพอดี) = 0 บาท
- ขาดทุนสะสม = 3,000 บาท
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น = 5,000+0-3,000 = 2,000 บาท
หลังจากทำการลดพาร์ จาก 5 --> 1 บาท แล้วนำไปล้างขาดทุนสะสม
- หุ้นสามัญ (ราคาพาร์ 1 บาท) = 1,000 หุ้น x 1 บาท = 1,000 บาท <<*จะเห็นว่าจำนวนเงินหายไป 4,000 บาท*>>
- ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (จำหน่ายหุ้นในราคาหุ้นละ 5 บาทพอดี) = 0 บาท
- กำไรสะสม = 4,000-3,000 = 1,000 บาท <<*นำจำนวนเงิน 4,000 บาทที่ได้จากการลดพาร์มาหักด้วยขาดทุนสะสม*>>
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น = 1,000+0+1,000 = 2,000 บาท <<*จะเห็นว่าส่วนของผู้ถือหุ้นยังเท่าเดิม นั่นคือมูลค่าหุ้นทางบัญชียังเท่าเดิม*>>
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 5
เท่าที่เห็นในช่วง 2-3 ปีหลังนี่ส่วนใหญ่ก็ทำเพื่อล้างขาดทุนสะสมนี่แหละครับ
เพราะหากยังแสดงยอดขาดทุนสะสมในงบดุล บริษัทจะไม่สามารถจ่ายปันผลได้ครับ
เพราะหากยังแสดงยอดขาดทุนสะสมในงบดุล บริษัทจะไม่สามารถจ่ายปันผลได้ครับ
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 6
อืมม์
บางทีอาจล้างขาดทุนสะสมแล้วเพิ่มทุนน่ะครับ
จริงๆผมก็สงสัยเหมือนกันครับ
ยกตัวอย่าง
case UBC
พอดีเป็นการบ้าน ป.โท ครับ เขาให้แนะนำว่าควรลงทุนหรือไม่
ก็เลยได้คุยกับเพื่อนๆเรื่องการลดทุนเหมือนกันว่ามันจะลดทำไม
ตอนแรกผมคิดว่า ถ้าฝั่งทุนลด ฝั่ง asset ก็ต้องลด
แต่เพื่อนก็อธิบายว่าไม่ใช่ คิดตามมันก็จริง
ก็เลยบอกว่างั้นราคาก็ต้องลด เพื่อนก็ว่าไม่ลดเพราะมันไม่กระทบ eps
ไม่มี dilution effect P/E ก็เท่าเดิม ทำให้น่าซื้อขึ้น
ซึ่งตรงนี้ผมก็งงครับ เพราะก็ไม่ลงจริงๆ
อย่าง case อื่นก็ไม่ลง เช่น n-park
แล้วถ้าดูตาม trend eps ก็ดูจะมี growth ดีด้วย
กระแสเงินสดที่ไหลออกจากกิจกรรมลงทุนก็ลดลงเยอะ หลังจากปี2000
ตอนแรกก็เริ่มคล้อยตาม กะตอบว่าให้ซื้อบ้าง
แต่คิดไปคิดมา ขาดทุนมาตลอด 9 ปี เพิ่งกำไรแค่ 2 ปี
แถมลดทุน แสดงว่าผู้ถือหุ้นเดิม ขาดทุนเพราะซื้อมาแพง
แล้วราคาไม่ลดจะให้มั่นใจซื้อไงไหว
แล้วสัญญาก็เหลืออีก 14 ปี ซึ่งถ้าไม่ล้างขาดทุนสะสมออก
เท่ากับต้องทำกำไร ปีละ เกือบพันล้านถึงจะเสมอตัวกับราคาเดิมที่ไม่ลดลง
แล้วจะซื้อทำไม
ก็เลย ตอบโจทย์อาจารย์ไปว่า ให้รอ
อืม ตกลงลดทุนแล้วทำไมไม่กระทบราคาหุ้น
แล้วราคาหุ้นเท่าเดิม หนี้หมด แต่ลดพาร์ลง มันทำให้น่าซื้อขึ้นตรงไหนเนี่ย
เอ นี่ผมไม่ได้ตอบ แถมยังเพิ่มคำถามนี่หว่า
:lovl: :lovl:
บางทีอาจล้างขาดทุนสะสมแล้วเพิ่มทุนน่ะครับ
จริงๆผมก็สงสัยเหมือนกันครับ
ยกตัวอย่าง
case UBC
พอดีเป็นการบ้าน ป.โท ครับ เขาให้แนะนำว่าควรลงทุนหรือไม่
ก็เลยได้คุยกับเพื่อนๆเรื่องการลดทุนเหมือนกันว่ามันจะลดทำไม
ตอนแรกผมคิดว่า ถ้าฝั่งทุนลด ฝั่ง asset ก็ต้องลด
แต่เพื่อนก็อธิบายว่าไม่ใช่ คิดตามมันก็จริง
ก็เลยบอกว่างั้นราคาก็ต้องลด เพื่อนก็ว่าไม่ลดเพราะมันไม่กระทบ eps
ไม่มี dilution effect P/E ก็เท่าเดิม ทำให้น่าซื้อขึ้น
ซึ่งตรงนี้ผมก็งงครับ เพราะก็ไม่ลงจริงๆ
อย่าง case อื่นก็ไม่ลง เช่น n-park
แล้วถ้าดูตาม trend eps ก็ดูจะมี growth ดีด้วย
กระแสเงินสดที่ไหลออกจากกิจกรรมลงทุนก็ลดลงเยอะ หลังจากปี2000
ตอนแรกก็เริ่มคล้อยตาม กะตอบว่าให้ซื้อบ้าง
แต่คิดไปคิดมา ขาดทุนมาตลอด 9 ปี เพิ่งกำไรแค่ 2 ปี
แถมลดทุน แสดงว่าผู้ถือหุ้นเดิม ขาดทุนเพราะซื้อมาแพง
แล้วราคาไม่ลดจะให้มั่นใจซื้อไงไหว
แล้วสัญญาก็เหลืออีก 14 ปี ซึ่งถ้าไม่ล้างขาดทุนสะสมออก
เท่ากับต้องทำกำไร ปีละ เกือบพันล้านถึงจะเสมอตัวกับราคาเดิมที่ไม่ลดลง
แล้วจะซื้อทำไม
ก็เลย ตอบโจทย์อาจารย์ไปว่า ให้รอ
อืม ตกลงลดทุนแล้วทำไมไม่กระทบราคาหุ้น
แล้วราคาหุ้นเท่าเดิม หนี้หมด แต่ลดพาร์ลง มันทำให้น่าซื้อขึ้นตรงไหนเนี่ย
เอ นี่ผมไม่ได้ตอบ แถมยังเพิ่มคำถามนี่หว่า
:lovl: :lovl:
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 7
หนี้ไม่ได้หมดนี่ครับ แค่ตัวเลขทางบัญชีนั่นคือขาดทุนสะสมหายไปแล้วราคาหุ้นเท่าเดิม หนี้หมด
ผมว่าอดีตก็เป็นตัวหนึ่งที่น่านำมาคิดในการเข้าไปลงทุน แต่การลงทุนมันคือเรื่องของการมองอนาคตนะครับ ....อย่างไรก็ดีสิ่งที่ผมกลัวที่สุดสำหรับ UBC คือ การเพิ่มขึ้นของ Cable ท้องถิ่นครับ ผมเคยอ่านเจอแต่จำได้ไม่แน่ชัด แต่ถ้าลองนำจำนวนสมาชิกเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศไทยมารวมกันดูซึ่งเป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้ทันทีเลยว่า จำนวนสมาชิกของ UBC นั้นน้อยไปถนัดตาเลยครับตอนแรกก็เริ่มคล้อยตาม กะตอบว่าให้ซื้อบ้าง
แต่คิดไปคิดมา ขาดทุนมาตลอด 9 ปี เพิ่งกำไรแค่ 2 ปี
แถมลดทุน แสดงว่าผู้ถือหุ้นเดิม ขาดทุนเพราะซื้อมาแพง
แล้วราคาไม่ลดจะให้มั่นใจซื้อไงไหว
อย่างไรก็ตามถ้าพี่ Tongue ได้คำตอบจากอาจารย์แล้วอย่าลืมช่วยมาโพสต์ลงให้ความรู้ผมหน่อยนะครับ ผมอยากฟังคำตอบด้วยเหมือนกัน

Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 9
อันนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ต่อเนื่องจากการล้างขาดทุนสะสมเพื่อจ่ายปันผลTongue เขียน:อืมม์
บางทีอาจล้างขาดทุนสะสมแล้วเพิ่มทุนน่ะครับ
ลองสมมติเหตุการณ์ดูครับ สมมติมีเพื่อนมาชวนเข้าหุ้นแล้วเค้าบอกว่าถ้าเข้ามาลงทุนแล้วแม้ว่ากิจการมีกำไรก็จะยังไม่จ่ายปันผลจนกว่าจะนำกำไร (ที่ได้มาใหม่เรื่อยๆ) ไปหักยอดขาดทุนที่กิจการสะสมไว้ก่อนหน้านี้ให้หมดเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยจ่ายปันผล เป็นเราก็คงไม่อยากไปหุ้นกับเพื่อนคนนั้น เพราะรู้สึกว่าทำไมเราต้องเอาเงินของเราไปช่วยยอดขาดทุนที่กิจการเค้าทำเอาไว้ก่อนหน้านี้ (ซึ่งไม่เกี่ยวกับเราด้วย)
ดังนั้นทางออกก็คือกิจการต้องทำการลดพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสมก่อน จึงจะทำให้งบ "สะอาด" ขึ้นและเป็นที่น่าสนใจในการระดมทุนเพิ่ม
เรียกว่าไม่กระทบมูลค่าหุ้นทางบัญชีจะตรงกว่าครับ ลองกลับไปดูตัวอย่างในคำตอบข้างบนนะครับ จะเห็นว่า "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ทั้งก่อนและหลังลดพาร์เป็นตัวเลขเดียวกันTongue เขียน: อืม ตกลงลดทุนแล้วทำไมไม่กระทบราคาหุ้น
แล้วราคาหุ้นเท่าเดิม หนี้หมด แต่ลดพาร์ลง มันทำให้น่าซื้อขึ้นตรงไหนเนี่ย
:lovl: :lovl:
หนี้หมด?? หนี้ไม่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ตรงไหนเลยครับ การลดพาร์กระทบเฉพาะรายการย่อยใน "ส่วนของผู้ถือหุ้น" เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับรายการ "หนี้สิน" ตรงไหนเลย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 10
ผมว่าน้อง Tongue คงสับสนครับ
ตัวอย่างนะครับ
บริษัท A มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ( 10 ล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาท ) กู้เพิ่มอีก 100 ล้านบาท
งบดุลก็จะเป็น
สินทรัพย์รวม 200 ล้านบาท
หนี้สิน 100 ล้านบาท
และส่วนผู้ถือหุ้น (ทุน) 100 ล้านบาท
ปีแรกบริษัท A มีผลการดำเนินงานขาดทุน 20 ล้านบาท
งบดุลสิ้นปีก็จะเป็น
สินทรัพย์รวม 180 ล้านบาท
หนี้สิน 100 ล้านบาท
และส่วนผู้ถือหุ้น 80 ล้านบาท ( ทุน 100 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 20 ล้านบาท )
หลังล้างขาดทุนสะสม ลดจากมูลค่าหุ้นที่ 10 บาท เหลือ 8 บาท
งบดุลจะเป็น
สินทรัพย์รวม 180 ล้านบาท
หนี้สิน 100 ล้านบาท
และส่วนของผู้ถือหุ้น 80 ล้านบาท ( ทุน 80 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 0 ล้านบาท)
จำนวนหุ้นก็จะเท่าเดิม 10 ล้านหุ้น แต่มูลค่าหุ้นเปลี่ยนจาก 10 บาทเหลือ 8 บาท
จะเห็นได้ว่า
สินทรัพย์รวมไม่เปลี่ยน หนี้สินไม่เปลี่ยน ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยน จำนวนหุ้นไม่เปลี่ยน ผลการดำเนินงานกำไรขาดทุนไม่เปลี่ยน Book Value ก็ไม่เปลี่ยน EPS ก็ไม่เปลี่ยน เงินปันผลต่อหุ้นก็ไม่เปลี่ยน กระแสเงินสดก็ไม่เปลี่ยน
ดังนั้นราคาหุ้นก็ไม่ควรเปลี่ยน ถ้าจะเปลี่ยนอาจจะดีขึ้น เนื่องจาก ก่อนล้างขาดทุนสะสม บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ แต่หลังล้างแล้ว ถ้ามีกำไร ก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้
ตัวอย่างนะครับ
บริษัท A มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ( 10 ล้านหุ้น หุ้นละ 10 บาท ) กู้เพิ่มอีก 100 ล้านบาท
งบดุลก็จะเป็น
สินทรัพย์รวม 200 ล้านบาท
หนี้สิน 100 ล้านบาท
และส่วนผู้ถือหุ้น (ทุน) 100 ล้านบาท
ปีแรกบริษัท A มีผลการดำเนินงานขาดทุน 20 ล้านบาท
งบดุลสิ้นปีก็จะเป็น
สินทรัพย์รวม 180 ล้านบาท
หนี้สิน 100 ล้านบาท
และส่วนผู้ถือหุ้น 80 ล้านบาท ( ทุน 100 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 20 ล้านบาท )
หลังล้างขาดทุนสะสม ลดจากมูลค่าหุ้นที่ 10 บาท เหลือ 8 บาท
งบดุลจะเป็น
สินทรัพย์รวม 180 ล้านบาท
หนี้สิน 100 ล้านบาท
และส่วนของผู้ถือหุ้น 80 ล้านบาท ( ทุน 80 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 0 ล้านบาท)
จำนวนหุ้นก็จะเท่าเดิม 10 ล้านหุ้น แต่มูลค่าหุ้นเปลี่ยนจาก 10 บาทเหลือ 8 บาท
จะเห็นได้ว่า
สินทรัพย์รวมไม่เปลี่ยน หนี้สินไม่เปลี่ยน ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยน จำนวนหุ้นไม่เปลี่ยน ผลการดำเนินงานกำไรขาดทุนไม่เปลี่ยน Book Value ก็ไม่เปลี่ยน EPS ก็ไม่เปลี่ยน เงินปันผลต่อหุ้นก็ไม่เปลี่ยน กระแสเงินสดก็ไม่เปลี่ยน
ดังนั้นราคาหุ้นก็ไม่ควรเปลี่ยน ถ้าจะเปลี่ยนอาจจะดีขึ้น เนื่องจาก ก่อนล้างขาดทุนสะสม บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ แต่หลังล้างแล้ว ถ้ามีกำไร ก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 12
แล้วเวลาได้ยินเพิ่มทุนชอบมั้ยล่ะครับTongue เขียน: อืมม์ อย่างนี้ผมต้องมอง เคส การลดทุนใหม่แล้ว ตอนแรกมองเป็นแง่ลบ
ถ้าได้ยินลดทุนปุ๊บจะไม่ค่อยชอบ
แต่ดูๆแล้ว ก็ไม่ขนาดนั้น คงต้องดูให้กว้างขึ้น
ตลาดบ้านเราหลายเคสที่เพิ่มทุนยังน่ากลัวกว่าเยอะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 15

สรุปแล้วยังงงอยู่ดีครับ
เข้าใจครับว่า บจ. มักจะ ลดทุนจดทะเบียน เพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อจะได้จ่ายปันผลได้
แต่ ???
การมีทุนจดทะเบียน 5000 บาท ( พาร์ 5 บาท )
กับ
การมีทุนจดทะเบียน 1000 บาท ( ลดทุนจากพาร์ 5 เป็น พาร์ 1 บาท )
มันมีความแตกต่างกันอย่างอื่นอีกหรือไม่ครับ ทั้งในด้านบัญชี และในด้านกฎหมาย ????
ถ้าไม่มี แล้วทำไมเค้าไม่ลดพาร์ ล้างขาดทุนสะสมกันมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว ทำไมเพิ่งมาทำกันช่วยหลัง ๆ นี้????
ที่ผมเข้าใจคือ ทุนจดทะเบียน แสดงถึง ต้นทุนเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการของเจ้าของเดิม ดังนั้นเมื่อ บริษัทยังมีขาดทุนสะสมอยู่ 3000 บาท โดยมีทุนจดทะเบียน 5000 บาท( ที่พาร์เดิมคือ 5 บาท/หุ้น ) แสดงว่า เจ้าของเดิมยังขาดทุนอยู่ ( -3000 บาท ) นั่นเพราะการบริหารไม่ดี ไม่มีฝีมือ ฯลฯ จนเหลือส่วนของเจ้าของเพียง 2000 บาท
แต่ถ้ามีการลดทุนจดทะเบียนเหลือ 1000 บาท ( ลดพาร์เหลือ 1 บาท ) จะกลายเป็นว่ามีกำไรสะสม 1000 บาท บริษัทจะสามารถจ่ายปันผลได้ ทำให้ดูเหมือนว่า ต้นทุนของเจ้าของเดิมเป็น 1000 บาท ( 1บาท/หุ้น ) และสามารถบริหารได้ดีจนมีกำไรเพิ่มขึ้นอีก 1000 บาท ทำให้มีส่วนของเจ้าของเป็น 2000 บาท ( ทั้งๆ ที่จริง ๆ แล้ว บริหารแย่จนขาดทุนต่างหาก )
เจ้าของเดิมจึงมักไม่ happy ที่จะต้องลดทุน เพราะกิจการตัวเองยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนเดิมเลย ( เงินอั๊วยังได้คืนไม่ครบเลย ) แต่ต้องเอาเงินสดออกมาจ่ายเป็นปันผล ( แล้วเมื่อไหร่บริษัทอั๊วจะได้เงินคืนจนครบเท่าต้นทุนเดิมฟะ )
นี่ยังไม่รวม side effect จากการเพิ่มทุนหลังจากการลดทุน
??? แล้วทำไมตอน ATC ลดทุน เมื่อกลางปี 47 ไม่ค่อยมีใครกลัวกัน ( ดูเหมือนตลาดจะเข้าใจ ) แต่ตอน TPI มีข่าวจะลดทุน ตั้งแต่เมื่อ มค.-กพ. 47 ตอนนั้นคนกลัวกันมาก เทขายทิ้งกันอย่างเดียว --> Double standard???
ขอรบกวนพี่ ๆ ช่วยไขข้อข้องใจด้วยครับ ( งงเรื่องนี้มานานแล้ว เคยถามน้องที่ทำด้านบัญชี ก็ยังไม่ค่อยเคลียร์ )
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 17
การลดพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสมนั้น เพิ่งสามารถทำได้ช่วงหลังเกิดวิกฤตครับ
เป็นการช่วยให้การปรับโครงสร้างหนี้ ทำได้ง่ายขึ้น
ลองคิดดูซิครับ ว่าถ้าบริษัทต่างๆมีขาดทุนสะสมจำนวนมาก ต้องใช้เวลาในการทำกำไรนานมากๆจึงจะล้างขาดทุนสะสมหมด แล้วใครจะมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ละครับ สถาบันการเงินก็คงไม่อยากจะแปลงหนี้เป็นทุนซักเท่าไร
สิ่งที่น่ากลัวสำหรับรายย่อยก็คือ เมื่อบริษัทขาดทุนมากๆ จนเรียกได้ว่าไม่เหลือส่วนผู้ถือหุ้นเลย ดังเช่น กรณีสถาบันการเงินต่างๆในอดีต ที่ต้องลดทุนจาก 10 บาท เหลือเพียง 0.01 บาท แล้วค่อยเพิ่มทุนใหม่เข้าไป ผู้ถือหุ้นเดิมก็แทบหมดเลยครับ
เป็นการช่วยให้การปรับโครงสร้างหนี้ ทำได้ง่ายขึ้น
ลองคิดดูซิครับ ว่าถ้าบริษัทต่างๆมีขาดทุนสะสมจำนวนมาก ต้องใช้เวลาในการทำกำไรนานมากๆจึงจะล้างขาดทุนสะสมหมด แล้วใครจะมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ละครับ สถาบันการเงินก็คงไม่อยากจะแปลงหนี้เป็นทุนซักเท่าไร
สิ่งที่น่ากลัวสำหรับรายย่อยก็คือ เมื่อบริษัทขาดทุนมากๆ จนเรียกได้ว่าไม่เหลือส่วนผู้ถือหุ้นเลย ดังเช่น กรณีสถาบันการเงินต่างๆในอดีต ที่ต้องลดทุนจาก 10 บาท เหลือเพียง 0.01 บาท แล้วค่อยเพิ่มทุนใหม่เข้าไป ผู้ถือหุ้นเดิมก็แทบหมดเลยครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
อธิบายการ "ลดพาร์" หน่อยครับ
โพสต์ที่ 19
ตามจริงแล้ว ถ้าบริษัทที่ขาดทุนมากขนาดที่ต้องลดทุนจาก 10 บาทจนเหลือเพียง 0.01 บาท เป็นบริษัทเอกชนธรรมดา ก็คงปล่อยล้มละลายไปแล้วครับ
แต่ที่มีการลดทุนเหลือขนาดนั้น จะเป็นสถาบันการเงิน ที่มีการค้ำประกันเงินฝากครับ ทางการก็เลยต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนั้นถ้าลดแล้วไม่พอ ทางการก็คงต้องเพิ่มทุนเข้าไปละครับ จนทางการคงถือหุ้นทั้งหมด 99.99% ครับ
แต่ในอนาคต เมื่อไม่มีการค้ำประกันเงินฝาก สถาบันการเงินก็ล้มได้ คิดว่าคงไม่มีการลดทุนจนเหลือ 0.01 บาทแล้วมั๊งครับ
แต่ที่มีการลดทุนเหลือขนาดนั้น จะเป็นสถาบันการเงิน ที่มีการค้ำประกันเงินฝากครับ ทางการก็เลยต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนั้นถ้าลดแล้วไม่พอ ทางการก็คงต้องเพิ่มทุนเข้าไปละครับ จนทางการคงถือหุ้นทั้งหมด 99.99% ครับ
แต่ในอนาคต เมื่อไม่มีการค้ำประกันเงินฝาก สถาบันการเงินก็ล้มได้ คิดว่าคงไม่มีการลดทุนจนเหลือ 0.01 บาทแล้วมั๊งครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี