ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 121
GREECE:เจรจาหนี้กรีซส่อเค้ายื้อ หลังรมว.คลังยูโรปัดข้อเสนอเจ้าหนี้
บรัสเซลส์/เบอร์ลิน--24 ม.ค.--รอยเตอร์
รมว.คลังยูโรโซนปฏิเสธข้อเสนอของเจ้าหนี้ภาคเอกชนในการปรับ
โครงสร้างหนี้ของกรีซ โดยระบุว่าไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ต้องกลับไปเริ่มเจรจาใหม่
และส่งสัญญาณอันตรายของการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ
ทั้งนี้ ในการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์วานนี้ บรรดารมว.คลังยูโรโซน
เปิดเผยว่า พวกเขาไม่สามารถยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายเจ้าหนี้ภาคเอกชน
ที่ต้องการอัตราผลตอบแทน 4% สำหรับพันธบัตรระยะยาวที่จะมีการออกใหม่
เพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรปัจจุบันของกรีซ โดยกลุ่มธนาคารและสถาบันเอกชน
อื่นๆ ซึ่งมีสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เป็นตัวแทน เปิดเผยว่า
อัตราผลตอบแทนที่ 4.0% เป็นระดับต่ำสุดที่พวกเขาสามารถยอมรับได้ ถ้าจะ
มีการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีของพันธบัตรที่พวกเขาถือครองอยู่ลง 50%
ทางด้านกรีซระบุว่ายังไม่ได้เตรียมที่จะจ่ายผลตอบแทนสูงกว่า 3.5%
และรมว.คลังยูโรโซนก็สนับสนุนจุดยืนดังกล่าวของรัฐบาลกรีซในการประชุม
ซึ่งเป็นจุดยืนที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ให้การสนับสนุน
ด้วย
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ปเปิดเผยว่า กรีซจำเป็น
ต้องหาทางบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ภาคเอกชนในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
พันธบัตรใหม่ให้อยู่ต่ำกว่า 4.0%
"รัฐมนตรียูโรโซนได้เรียกร้องให้รัฐมนตรีกรีซเจรจาต่อไปเพื่อทำให้
อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรใหม่ลดลงต่ำกว่า 4% สำหรับช่วงอายุทั้งหมด ซึ่งหมายความ
ว่า อัตราดอกเบี้ยจะลดลงต่ำกว่า 3.5% ก่อนปี 2020"
การปรับโครงสร้างพันธบัตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหนี้ของกรีซ
ลงราว 1.00 แสนล้านยูโร ซึ่งจะทำให้หนี้ลดลงจาก 160% ของจีดีพี สู่ระดับ
120% ภายในปี 2020 ซึ่งเป็นระดับที่เจ้าหน้าที่ของอียูและไอเอ็มเอฟมองว่า
จะสามารถทำให้กรีซบริหารจัดการได้มากขึ้น
ความขัดแย้งในการเจรจาดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อการบรรลุข้อตกลง
ปรับโครงสร้างโดยสมัครใจระหว่างเจ้าหนี้ของกรีซและรัฐบาลกรีซ ซึ่งผลการ
เจรจาอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตลาดการเงิน
การเจรจาเรื่อง "การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน" (PSI) ได้ดำเนิน
มาเป็นเวลาเกือบ 7 เดือนแล้วโดยไม่มีการบรรลุมาตรการที่เป็นรูปธรรม และ
หากกรีซและฝ่ายเจ้าหนี้ประสบความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงภายในวันที่
20 มี.ค. ซึ่งกรีซต้องไถ่ถอนพันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโรนั้น ก็อาจจะทำให้
กรีซผิดนัดชำระหนี้ได้--จบ--
บรัสเซลส์/เบอร์ลิน--24 ม.ค.--รอยเตอร์
รมว.คลังยูโรโซนปฏิเสธข้อเสนอของเจ้าหนี้ภาคเอกชนในการปรับ
โครงสร้างหนี้ของกรีซ โดยระบุว่าไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ต้องกลับไปเริ่มเจรจาใหม่
และส่งสัญญาณอันตรายของการผิดนัดชำระหนี้ของกรีซ
ทั้งนี้ ในการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์วานนี้ บรรดารมว.คลังยูโรโซน
เปิดเผยว่า พวกเขาไม่สามารถยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายเจ้าหนี้ภาคเอกชน
ที่ต้องการอัตราผลตอบแทน 4% สำหรับพันธบัตรระยะยาวที่จะมีการออกใหม่
เพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรปัจจุบันของกรีซ โดยกลุ่มธนาคารและสถาบันเอกชน
อื่นๆ ซึ่งมีสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เป็นตัวแทน เปิดเผยว่า
อัตราผลตอบแทนที่ 4.0% เป็นระดับต่ำสุดที่พวกเขาสามารถยอมรับได้ ถ้าจะ
มีการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีของพันธบัตรที่พวกเขาถือครองอยู่ลง 50%
ทางด้านกรีซระบุว่ายังไม่ได้เตรียมที่จะจ่ายผลตอบแทนสูงกว่า 3.5%
และรมว.คลังยูโรโซนก็สนับสนุนจุดยืนดังกล่าวของรัฐบาลกรีซในการประชุม
ซึ่งเป็นจุดยืนที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็ให้การสนับสนุน
ด้วย
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ปเปิดเผยว่า กรีซจำเป็น
ต้องหาทางบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ภาคเอกชนในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย
พันธบัตรใหม่ให้อยู่ต่ำกว่า 4.0%
"รัฐมนตรียูโรโซนได้เรียกร้องให้รัฐมนตรีกรีซเจรจาต่อไปเพื่อทำให้
อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรใหม่ลดลงต่ำกว่า 4% สำหรับช่วงอายุทั้งหมด ซึ่งหมายความ
ว่า อัตราดอกเบี้ยจะลดลงต่ำกว่า 3.5% ก่อนปี 2020"
การปรับโครงสร้างพันธบัตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหนี้ของกรีซ
ลงราว 1.00 แสนล้านยูโร ซึ่งจะทำให้หนี้ลดลงจาก 160% ของจีดีพี สู่ระดับ
120% ภายในปี 2020 ซึ่งเป็นระดับที่เจ้าหน้าที่ของอียูและไอเอ็มเอฟมองว่า
จะสามารถทำให้กรีซบริหารจัดการได้มากขึ้น
ความขัดแย้งในการเจรจาดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อการบรรลุข้อตกลง
ปรับโครงสร้างโดยสมัครใจระหว่างเจ้าหนี้ของกรีซและรัฐบาลกรีซ ซึ่งผลการ
เจรจาอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตลาดการเงิน
การเจรจาเรื่อง "การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน" (PSI) ได้ดำเนิน
มาเป็นเวลาเกือบ 7 เดือนแล้วโดยไม่มีการบรรลุมาตรการที่เป็นรูปธรรม และ
หากกรีซและฝ่ายเจ้าหนี้ประสบความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงภายในวันที่
20 มี.ค. ซึ่งกรีซต้องไถ่ถอนพันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโรนั้น ก็อาจจะทำให้
กรีซผิดนัดชำระหนี้ได้--จบ--
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 122
Greek default is essentially a given: S&P
Greece is facing an increasing likelihood of default, even if creditors reach an agreement on a deal aimed at reducing the nation's massive debt load.
Speaking at a Bloomberg sovereign debt conference in New York Tuesday, John Chambers, head of sovereign ratings at S&P, said Greece's debt burden is still "very high" and the nation's credit rating will remain "very low."
Even with the writedowns being discussed, any deal between Greece and private sector investors would "in all likelihood" qualify as a default, Chambers said.
The aim of the deal is to slash the nation's debt load to 120% of gross domestic product by 2020 from its current 160%. Last week, officials from the European Union, International Monetary Fund and European Central Bank were in Athens to review Greece's finances and start negotiating a second bailout.
Greece is facing a €14.5 billion bond payment in March that it may not be able to make without another injection of emergency financing.
However, a downgrade may not come for several months. Chambers said the ratings agency isn't expected to lower Greece to a "selective default" rating until the fall.
Greek debt deal hinges on interest rate impasse
A default could force Greece out of the euro currency union, which would most likely cause the Greek banking system to collapse and plunge the nation's economy deeper into recession.
Economists worry that could start the spread of deeper debt contagion in the eurozone but Chambers disagreed.
"It's not a given that Greece's default would have a domino effect in the eurozone," he said.
Jose Manuel Gonazalez-Paramo, a member of the ECB executive board, downplayed concerns about a default. He said simply "a default should not happen."
On the restructuring, Gonzalez-Paramo said "my impression is that we are close to the end of theses negotiations." He added that the ECB is not directly involved in the talks, but said he's hopeful "that common sense will prevail."
http://finance.yahoo.com/news/greek-def ... 00698.html
Greece is facing an increasing likelihood of default, even if creditors reach an agreement on a deal aimed at reducing the nation's massive debt load.
Speaking at a Bloomberg sovereign debt conference in New York Tuesday, John Chambers, head of sovereign ratings at S&P, said Greece's debt burden is still "very high" and the nation's credit rating will remain "very low."
Even with the writedowns being discussed, any deal between Greece and private sector investors would "in all likelihood" qualify as a default, Chambers said.
The aim of the deal is to slash the nation's debt load to 120% of gross domestic product by 2020 from its current 160%. Last week, officials from the European Union, International Monetary Fund and European Central Bank were in Athens to review Greece's finances and start negotiating a second bailout.
Greece is facing a €14.5 billion bond payment in March that it may not be able to make without another injection of emergency financing.
However, a downgrade may not come for several months. Chambers said the ratings agency isn't expected to lower Greece to a "selective default" rating until the fall.
Greek debt deal hinges on interest rate impasse
A default could force Greece out of the euro currency union, which would most likely cause the Greek banking system to collapse and plunge the nation's economy deeper into recession.
Economists worry that could start the spread of deeper debt contagion in the eurozone but Chambers disagreed.
"It's not a given that Greece's default would have a domino effect in the eurozone," he said.
Jose Manuel Gonazalez-Paramo, a member of the ECB executive board, downplayed concerns about a default. He said simply "a default should not happen."
On the restructuring, Gonzalez-Paramo said "my impression is that we are close to the end of theses negotiations." He added that the ECB is not directly involved in the talks, but said he's hopeful "that common sense will prevail."
http://finance.yahoo.com/news/greek-def ... 00698.html
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 123
EUROPE:เวิลด์แบงก์อัดเงินเพิ่มอุ้มประเทศที่ถูกกระทบจากวิกฤติหนี้ยุโรป
ลอนดอน--26 ม.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารโลกเปิดเผยว่า จะจัดสรรเงินกู้ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง
2 ปีข้างหน้าให้กับประเทศในแถบยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางซึ่งกำลังได้รับ
ผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติในยูโรโซน โดยเพิ่มขึ้น 7 พันล้านดอลลาร์จากระดับ
ในปี 2011
ธนาคารโลกระบุในแถลงการณ์ว่า วิกฤตการณ์ในยูโรโซนกำลังส่งผลกระทบ
ต่อประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคผ่านทางการค้า, การเงินและการโอนเงิน
กลับประเทศ ซึ่งทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง
นายโรเบิร์ต โซลลิค ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า การเพิ่มวงเงินกู้
มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆในการรับมือกับวิกฤตการณ์
นายโซลลิคระบุในแถลงการณ์ว่า "ขณะที่ผลกระทบของวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ต่อประเทศใหญ่ที่สุดของยุโรปตะวันตกได้รับความสนใจมากที่สุดในโลกนั้น วิกฤติ
ดังกล่าวก็กำลังส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก
ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
เฉียงใต้"
เงินทุนช่วยเหลือสำหรับปี 2012-2013 จะประกอบด้วยเงินกู้ของธนาคารโลก
1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4 พันล้านดอลลาร์จากปีที่ผ่านมา ส่วนบรรษัทการเงิน
ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนของธนาคารโลก จะจัดสรรเงินกู้
1 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว 2 พันล้านดอลลาร์ และสำนักงานรับประกัน
การลงทุนพหุภาคี ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารโลก จะจัดสรรเงินกู้เพิ่มอีก
1 พันล้านดอลลาร์
เงินกู้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการปฏิรูปโครงสร้างสำหรับภาคเอกชน
รวมถึงการสนับสนุนภาคธนาคารและเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม--จบ--
ลอนดอน--26 ม.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารโลกเปิดเผยว่า จะจัดสรรเงินกู้ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง
2 ปีข้างหน้าให้กับประเทศในแถบยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางซึ่งกำลังได้รับ
ผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติในยูโรโซน โดยเพิ่มขึ้น 7 พันล้านดอลลาร์จากระดับ
ในปี 2011
ธนาคารโลกระบุในแถลงการณ์ว่า วิกฤตการณ์ในยูโรโซนกำลังส่งผลกระทบ
ต่อประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคผ่านทางการค้า, การเงินและการโอนเงิน
กลับประเทศ ซึ่งทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง
นายโรเบิร์ต โซลลิค ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า การเพิ่มวงเงินกู้
มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆในการรับมือกับวิกฤตการณ์
นายโซลลิคระบุในแถลงการณ์ว่า "ขณะที่ผลกระทบของวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ต่อประเทศใหญ่ที่สุดของยุโรปตะวันตกได้รับความสนใจมากที่สุดในโลกนั้น วิกฤติ
ดังกล่าวก็กำลังส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก
ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
เฉียงใต้"
เงินทุนช่วยเหลือสำหรับปี 2012-2013 จะประกอบด้วยเงินกู้ของธนาคารโลก
1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4 พันล้านดอลลาร์จากปีที่ผ่านมา ส่วนบรรษัทการเงิน
ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนของธนาคารโลก จะจัดสรรเงินกู้
1 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว 2 พันล้านดอลลาร์ และสำนักงานรับประกัน
การลงทุนพหุภาคี ซึ่งเป็นหน่วยงานของธนาคารโลก จะจัดสรรเงินกู้เพิ่มอีก
1 พันล้านดอลลาร์
เงินกู้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการปฏิรูปโครงสร้างสำหรับภาคเอกชน
รวมถึงการสนับสนุนภาคธนาคารและเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 124
GREECE:จับตากรีซ-เจ้าหนี้เอกชนตั้งโต๊ะเจรจาปรับโครงสร้างหนี้รอบใหม่วันนี้
เอเธนส์--26 ม.ค.--รอยเตอร์
กรีซหวังว่าจะสามารถสรุปการเจรจาเรื่องการสว็อปหนี้ได้อย่างเร็วที่สุด
ในสัปดาห์นี้ เมื่อเจ้าหนี้ภาคเอกชนกลับมาเจรจารอบใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัด
ชำระหนี้
ทั้งนี้ หลังการเจรจาต่อรอง, ภาวะชะงักงัน และการแทรกแซงของ
รมว.ยูโรโซนนานหลายสัปดาห์ กรีซและผู้ถือพันธบัตรก็ต้องกลับไปเริ่มต้นเจรจาใหม่
เพื่อหาทางประนีประนอมซึ่งมีความจำเป็นต่อการขอรับเงินช่วยเหลือก่อนที่เงินทุน
ของกรีซจะหมดลง
รัฐบาลกรีซเปิดเผยว่า ขณะที่เวลาใกล้หมดลงก่อนครบกำหนดเส้นตาย
ในการไถ่ถอนพันธบัตรครั้งใหญ่ในเดือนมี.ค.นั้น นายชาร์ล ดัลลารา หัวหน้าผู้เจรจา
สำหรับเจ้าหนี้เอกชนจะเดินทางกลับไปยังกรีซในวันนี้เพื่อเริ่มการเจรจาครั้งใหม่
กับบรรดาเจ้าหน้าที่
จุดสนใจของการเจรจาในวันนี้จะอยู่ที่ว่า นายดัลลาราจะเปลี่ยนแปลง
ข้อเสนอสุดท้ายสำหรับการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ 4% สำหรับพันธบัตรใหม่
ที่กรีซจะแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรที่มีอยู่หรือไม่ หลังจากที่รมว.คลังยูโรโซนปฏิเสธ
ข้อเสนอดังกล่าว--จบ--
เอเธนส์--26 ม.ค.--รอยเตอร์
กรีซหวังว่าจะสามารถสรุปการเจรจาเรื่องการสว็อปหนี้ได้อย่างเร็วที่สุด
ในสัปดาห์นี้ เมื่อเจ้าหนี้ภาคเอกชนกลับมาเจรจารอบใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัด
ชำระหนี้
ทั้งนี้ หลังการเจรจาต่อรอง, ภาวะชะงักงัน และการแทรกแซงของ
รมว.ยูโรโซนนานหลายสัปดาห์ กรีซและผู้ถือพันธบัตรก็ต้องกลับไปเริ่มต้นเจรจาใหม่
เพื่อหาทางประนีประนอมซึ่งมีความจำเป็นต่อการขอรับเงินช่วยเหลือก่อนที่เงินทุน
ของกรีซจะหมดลง
รัฐบาลกรีซเปิดเผยว่า ขณะที่เวลาใกล้หมดลงก่อนครบกำหนดเส้นตาย
ในการไถ่ถอนพันธบัตรครั้งใหญ่ในเดือนมี.ค.นั้น นายชาร์ล ดัลลารา หัวหน้าผู้เจรจา
สำหรับเจ้าหนี้เอกชนจะเดินทางกลับไปยังกรีซในวันนี้เพื่อเริ่มการเจรจาครั้งใหม่
กับบรรดาเจ้าหน้าที่
จุดสนใจของการเจรจาในวันนี้จะอยู่ที่ว่า นายดัลลาราจะเปลี่ยนแปลง
ข้อเสนอสุดท้ายสำหรับการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ 4% สำหรับพันธบัตรใหม่
ที่กรีซจะแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรที่มีอยู่หรือไม่ หลังจากที่รมว.คลังยูโรโซนปฏิเสธ
ข้อเสนอดังกล่าว--จบ--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 125
ฟิทช์ประกาศลดเครดิตอิตาลี-สเปนลง 2 ขั้น หวั่นไม่สามารถรับมือวิกฤตหนี้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 มกราคม 2555 09:19:54 น.
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี สเปน และอีก 3 ประเทศในยูโรโซนเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีความยืดหยุ่นทางการเงินมากพอที่จะสามารถรับมือกับวิกฤตหนี้ยุโรปได้
ทั้งนี้ ฟิทช์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดในยูโรโซน ลง 2 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A- จากระดับ A+ พร้อมกับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง 2 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A จากระดับ AA-
นอกจากนี้ ฟิทช์ยังได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเบลเยี่ยม สโลเวเนีย และไซปรัส พร้อมกับให้แนวโน้มความน่าเชื่อถือของทั้ง 5 ประเทศเป็น "เชิงลบ" ซึ่งบ่งชี่ว่า มีโอกาสอย่างน้อย 1 ใน 2 ที่ประเทศเหล่านี้จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีกในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า
"แนวโน้มความน่าเชื่อถือเชิงลบ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศเหล่านี้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ และฟิทช์คาดว่า วิกฤตหนี้ยุโรปจะยืดเยื้อต่อไปอีก และจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินมากขึ้นด้วย" ฟิทช์กล่าวในแถลงการณ์
อย่างไรก็ตาม สกุลเงินยูโรได้รับแรงกดดันเพียงเล็กน้อยจากข่าวดังกล่าว เนื่องจากนักลงทุนในตลาดปริวรรตเงินตราคาดหวังว่าผลการเจรจาเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซจะออกมาเป็นบวกและจะช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับข่าวรัฐบาลอิตาลีที่ประสบความสำเร็จในการประมูลตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้ ในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับตัวลดลงด้วย
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 มกราคม 2555 09:19:54 น.
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี สเปน และอีก 3 ประเทศในยูโรโซนเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีความยืดหยุ่นทางการเงินมากพอที่จะสามารถรับมือกับวิกฤตหนี้ยุโรปได้
ทั้งนี้ ฟิทช์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดในยูโรโซน ลง 2 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A- จากระดับ A+ พร้อมกับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง 2 ขั้น มาอยู่ที่ระดับ A จากระดับ AA-
นอกจากนี้ ฟิทช์ยังได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเบลเยี่ยม สโลเวเนีย และไซปรัส พร้อมกับให้แนวโน้มความน่าเชื่อถือของทั้ง 5 ประเทศเป็น "เชิงลบ" ซึ่งบ่งชี่ว่า มีโอกาสอย่างน้อย 1 ใน 2 ที่ประเทศเหล่านี้จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีกในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า
"แนวโน้มความน่าเชื่อถือเชิงลบ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศเหล่านี้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ และฟิทช์คาดว่า วิกฤตหนี้ยุโรปจะยืดเยื้อต่อไปอีก และจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินมากขึ้นด้วย" ฟิทช์กล่าวในแถลงการณ์
อย่างไรก็ตาม สกุลเงินยูโรได้รับแรงกดดันเพียงเล็กน้อยจากข่าวดังกล่าว เนื่องจากนักลงทุนในตลาดปริวรรตเงินตราคาดหวังว่าผลการเจรจาเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซจะออกมาเป็นบวกและจะช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับข่าวรัฐบาลอิตาลีที่ประสบความสำเร็จในการประมูลตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้ ในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับตัวลดลงด้วย
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 126
EUROPE:จับตาประชุมสุดยอดอียูคืนนี้หนุนตั้งกองทุนช่วยเหลือยูโรโซนถาวร
บรัสเซลส์--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) เตรียมลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนช่วยเหลือ
ยูโรโซนแบบถาวรในการประชุมสุดยอดในวันนี้ และเป็นที่คาดกันว่าบรรดาผู้นำอียูจะ
บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณสมดุลในร่างกฎหมายระดับประเทศด้วย
แต่ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลายในกรีซอาจบดบังการประชุมในครั้งนี้
การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 17 ของอียูในระยะเวลา 2 ปี
ขณะที่อียูรีบเร่งแก้ไขวิกฤติหนี้ โดยการประชุมในครั้งนี้จะมุ่งความสนใจไปที่การ
สร้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป็นที่คาดกันว่าที่ประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะประกาศเรื่องการนำเงินทุนราว
2 หมื่นล้านยูโรจากงบประมาณประจำปี 2007-2013 ของอียูมาใช้ในการสร้างงาน
โดยเฉพาะการสร้างงานสำหรับประชากรวัยหนุ่มสาว และที่ประชุมจะประกาศการ
สนับสนุนให้ภาคธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย
อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญในการเจรจาครั้งนี้จะเป็นเรื่องกองทุนช่วยเหลือ
ยูโรโซนแบบถาวร, สนธิสัญญาทางการคลังฉบับใหม่ และกรีซ--จบ--
บรัสเซลส์--30 ม.ค.--รอยเตอร์
ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) เตรียมลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนช่วยเหลือ
ยูโรโซนแบบถาวรในการประชุมสุดยอดในวันนี้ และเป็นที่คาดกันว่าบรรดาผู้นำอียูจะ
บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณสมดุลในร่างกฎหมายระดับประเทศด้วย
แต่ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลายในกรีซอาจบดบังการประชุมในครั้งนี้
การประชุมสุดยอดในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 17 ของอียูในระยะเวลา 2 ปี
ขณะที่อียูรีบเร่งแก้ไขวิกฤติหนี้ โดยการประชุมในครั้งนี้จะมุ่งความสนใจไปที่การ
สร้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เป็นที่คาดกันว่าที่ประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะประกาศเรื่องการนำเงินทุนราว
2 หมื่นล้านยูโรจากงบประมาณประจำปี 2007-2013 ของอียูมาใช้ในการสร้างงาน
โดยเฉพาะการสร้างงานสำหรับประชากรวัยหนุ่มสาว และที่ประชุมจะประกาศการ
สนับสนุนให้ภาคธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย
อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญในการเจรจาครั้งนี้จะเป็นเรื่องกองทุนช่วยเหลือ
ยูโรโซนแบบถาวร, สนธิสัญญาทางการคลังฉบับใหม่ และกรีซ--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 127
> GREECE:นายกฯกรีซล็อบบี้พรรคการเมืองหวังได้แรงหนุนมาตรการรัดเข็มขัด
เอเธนส์--2 ก.พ.--รอยเตอร์
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอสของกรีซจะหารือกับบรรดาผู้นำทางการเมือง
ของกรีซในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า เพื่อหาเสียงสนับสนุนสำหรับการดำเนินมาตรการ
รัดเข็มขัดเพิ่มเติม หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุ
เตือนว่า สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน
รอบสอง
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า นายปาปาเดมอสจะประชุมกับผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยม,
พรรคสังคมนิยม และพรรคขวาจัดของกรีซในช่วงไม่กี่วันข้างหน้าเพื่อขอให้ผู้นำทั้งสาม
พรรคให้การสนับสนุนการทำข้อตกลงใดๆของรัฐบาลกรีซ
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า "การประชุมผู้นำทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
โดยเราจำเป็นต้องจัดประชุมผู้นำทางการเมืองก่อนในขั้นแรก เพื่อจะได้มีการบรรลุ
ข้อตกลงในขั้นสุดท้าย"
กรีซใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้เอกชนแล้วในเรื่องการปรับลดหนี้สิน
ของกรีซลงราว 1 แสนล้านยูโร และขณะนี้รัฐบาลกรีซก็พยายามเร่งรัดการเจรจา
เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง ซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสน
ล้านยูโร (1.7018 แสนล้านดอลลาร์) ให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้
ในการที่กรีซจะทำเช่นนั้นได้นั้น ในขั้นแรกรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องทำให้
สหภาพยุโรป (อียู) และไอเอ็มเอฟเชื่อมั่นก่อนว่า กรีซจะดำเนินการปฏิรูปประเทศ
หลังจากประสบความล่าช้ามานาน และรัฐบาลกรีซจะปรับลดงบใช้จ่ายลงต่อไป
นักการธนาคารกล่าวว่า การทำข้อตกลงสว็อปพันธบัตรเสร็จสิ้นลงแล้ว
ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ถือครองพันธบัตรกรีซต้องยอมรับผลขาดทุน
ราว 70 % ของมูลค่าพันธบัตร อย่างไรก็ดี กรีซจำเป็นต้องบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ
เงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบสอง และการมีส่วนร่วมของภาครัฐบาล
ก่อนที่จะประกาศข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตรออกมา เนื่องจากองค์ประกอบทั้งหมด
มีความเชื่อมโยงกัน
นักการธนาคารรายหนึ่งกล่าวว่า "มีการตกลงกันในเรื่องการมีส่วนร่วม
ของภาคเอกชน (PSI) แล้ว แต่เรากำลงรอให้มีการตกลงกันเรื่องมาตรการให้
ความช่วยเหลือรอบสอง และเราคาดว่าจะไม่มีการประกาศเรื่องใดออกมาก่อน
วันที่ 6 ก.พ. โดยอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วในพันธบัตรใหม่จะอยู่ต่ำกว่า 4 %"
เป็นที่คาดกันว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จำเป็นต้องดำเนินมาตรการ
เพื่อช่วยลดภาระหนี้ของกรีซลงไปอีก
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคธนาคาร
และบริษัทประกันในการเจรจาเรื่องการสว็อปพันธบัตร ระบุว่า "การหารือกันในทาง
สร้างสรรค์" ยังคงดำเนินต่อไป และ IIF คาดว่าองค์ประกอบต่างๆในมาตรการ
ให้ความช่วยเหลือกรีซจะได้รับการตกลงกันในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า
กรีซอาจจัดการเลือกตั้งในเดือนเม.ย. และประเด็นนี้สร้างความยุ่งยาก
ให้กับการเจรจา เพราะทำให้ผู้นำพรรคการเมืองในกรีซไม่ต้องการที่จะมีส่วนร่วม
ในมาตรการปรับลดงบรายจ่ายใดๆที่จะสร้างความยากลำบากให้แก่ประชาชนชาวกรีซ
ในช่วงนี้
นายอันโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมของกรีซ คัดค้านการดำเนิน
มาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม โดยให้เหตุผลว่ามาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจ
กรีซถดถอยลงไปอีก นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาบางคนจากพรรคการเมืองใหญ่ทั้ง
3 พรรคของกรีซก็แสดงความเห็นเช่นเดียวกัน
ปัจจัยนี้สร้างความกังวลให้แก่หน่วยงานผู้ให้เงินช่วยเหลือกรีซ โดยนาย
พูล ธอมเสน หัวหน้าคณะผู้แทนของไอเอ็มเอฟสำหรับกรีซ กล่าวต่อหนังสือพิมพ์
คาธิเมรินีเมื่อวานนี้ว่า "เราต้องการการรับประกันว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่จะก้าว
ขึ้นมามีอำนาจในกรีซหลังการเลือกตั้งและต้องการปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ
จะสร้างความมั่นใจว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะสอดคล้องกับเป้าหมายและ
กรอบการทำงานพื้นฐานของข้อตกลง"
นายธอมเสนกล่าวว่า กรีซอาจจำเป็นต้องปรับลดระดับค่าจ้างขั้นต่ำลง
และปรับลดโบนัสวันหยุดเพื่อช่วยให้บริษัทของกรีซมีประสิทธิภาพทางการแข่งขัน
มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลกรีซอาจจำเป็นต้องปลดข้าราชการออกด้วย
อย่างไรก็ดี การออมเงินส่วนใหญ่ในส่วนของค่าจ้างในภาครัฐบาลจะมาจาก
การปลดเกษียณ
ข้อเรียกร้องเช่นนี้ได้ถูกโจมตีเป็นอย่างมากในกรีซ โดยสหภาพ
แรงงานคัดค้านมาตรการปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำและมาตรการปรับลดโบนัสวันหยุด
นายธอมเสนเรียกร้องให้มีการนำนโยบายที่หลากหลายมาใช้รวมกัน
โดยวิธีการนี้อาจช่วยจูงใจให้พรรคการเมืองต่างๆให้การสนับสนุนนโยบาย
นายธอมเสนกล่าวว่า "เราจำเป็นต้องชะลอมาตรการทางการคลัง
ลงบ้างเล็กน้อย แต่ต้องเร่งรัดการปฏิรูปให้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก"
การเร่งรัดมาตรการปฏิรูปและการชะลอการปรับลดยอดขาดดุล
งบประมาณจะถือเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายไปจากเดิมเมื่อเทียบกับนโยบาย
ที่กรีซเคยใช้เมื่อได้รับความช่วยเหลือรอบแรกที่มีวงเงิน 1.10 แสนล้านยูโร
โดยนโยบายในช่วงนั้นมุ่งเน้นไปที่การปรับขึ้นภาษี แต่ไม่ได้เน้นไปที่การปรับลด
งบรายจ่าย
เศรษฐกิจกรีซถดถอยลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นนับตั้งแต่กรีซไดัรับความ
ช่วยเหลือรอบแรกจากอียูและไอเอ็มเอฟในเดือนพ.ค. 2010
เศรษฐกิจกรีซมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างน้อย 3 % ในปีนี้ ถึงแม้กลุ่ม
ผู้ให้เงินช่วยเหลือกรีซเคยคาดว่าเศรษฐกิจกรีซอาจเติบโต 1.1 % เมื่อทาง
กลุ่มร่างมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบแรก ขณะที่รัฐบาลกรีซ
ระบุว่า ความล้มเหลวของกรีซในการบรรลุเป้าหมายเรื่องยอดขาดดุลงบประมาณ
เกิดจากการที่เศรษฐกิจกรีซถดถอยลงอย่างรุนแรงเกินคาด แต่กลุ่มผู้ให้ความ
ช่วยเหลือระบุว่าสาเหตุเกิดจากความล่าช้าในการปฏิรูปประเทศ
มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกรีซยังคงได้รับแรงกดดันต่อไป โดยผล
สำรวจที่ออกมาเมื่อวานนี้ระบุว่า ภาคการผลิตของกรีซยังคงอยู่ในภาวะถดถอย
อย่างรุนแรงในเดือนม.ค. ในขณะที่ตัวเลขการผลิตดิ่งลงหนักเป็นประวัติการณ์
และยอดสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลให้การจ้างงานปรับลดลงด้วย
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ข้อเสนอของนายธอมเสนจะไม่ประสบ
ความสำเร็จ นอกจากว่าไอเอ็มเอฟและผู้ให้เงินช่วยเหลือกรีซรายอื่นๆจะปรับ
เพิ่มขนาดของมาตรการช่วยเหลือขึ้นจาก 1.30 แสนล้านยูโร--จบ--
เอเธนส์--2 ก.พ.--รอยเตอร์
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอสของกรีซจะหารือกับบรรดาผู้นำทางการเมือง
ของกรีซในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า เพื่อหาเสียงสนับสนุนสำหรับการดำเนินมาตรการ
รัดเข็มขัดเพิ่มเติม หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุ
เตือนว่า สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้กรีซได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน
รอบสอง
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า นายปาปาเดมอสจะประชุมกับผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยม,
พรรคสังคมนิยม และพรรคขวาจัดของกรีซในช่วงไม่กี่วันข้างหน้าเพื่อขอให้ผู้นำทั้งสาม
พรรคให้การสนับสนุนการทำข้อตกลงใดๆของรัฐบาลกรีซ
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า "การประชุมผู้นำทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
โดยเราจำเป็นต้องจัดประชุมผู้นำทางการเมืองก่อนในขั้นแรก เพื่อจะได้มีการบรรลุ
ข้อตกลงในขั้นสุดท้าย"
กรีซใกล้ที่จะบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้เอกชนแล้วในเรื่องการปรับลดหนี้สิน
ของกรีซลงราว 1 แสนล้านยูโร และขณะนี้รัฐบาลกรีซก็พยายามเร่งรัดการเจรจา
เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบสอง ซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสน
ล้านยูโร (1.7018 แสนล้านดอลลาร์) ให้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้
ในการที่กรีซจะทำเช่นนั้นได้นั้น ในขั้นแรกรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องทำให้
สหภาพยุโรป (อียู) และไอเอ็มเอฟเชื่อมั่นก่อนว่า กรีซจะดำเนินการปฏิรูปประเทศ
หลังจากประสบความล่าช้ามานาน และรัฐบาลกรีซจะปรับลดงบใช้จ่ายลงต่อไป
นักการธนาคารกล่าวว่า การทำข้อตกลงสว็อปพันธบัตรเสร็จสิ้นลงแล้ว
ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ถือครองพันธบัตรกรีซต้องยอมรับผลขาดทุน
ราว 70 % ของมูลค่าพันธบัตร อย่างไรก็ดี กรีซจำเป็นต้องบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ
เงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบสอง และการมีส่วนร่วมของภาครัฐบาล
ก่อนที่จะประกาศข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตรออกมา เนื่องจากองค์ประกอบทั้งหมด
มีความเชื่อมโยงกัน
นักการธนาคารรายหนึ่งกล่าวว่า "มีการตกลงกันในเรื่องการมีส่วนร่วม
ของภาคเอกชน (PSI) แล้ว แต่เรากำลงรอให้มีการตกลงกันเรื่องมาตรการให้
ความช่วยเหลือรอบสอง และเราคาดว่าจะไม่มีการประกาศเรื่องใดออกมาก่อน
วันที่ 6 ก.พ. โดยอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วในพันธบัตรใหม่จะอยู่ต่ำกว่า 4 %"
เป็นที่คาดกันว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จำเป็นต้องดำเนินมาตรการ
เพื่อช่วยลดภาระหนี้ของกรีซลงไปอีก
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคธนาคาร
และบริษัทประกันในการเจรจาเรื่องการสว็อปพันธบัตร ระบุว่า "การหารือกันในทาง
สร้างสรรค์" ยังคงดำเนินต่อไป และ IIF คาดว่าองค์ประกอบต่างๆในมาตรการ
ให้ความช่วยเหลือกรีซจะได้รับการตกลงกันในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า
กรีซอาจจัดการเลือกตั้งในเดือนเม.ย. และประเด็นนี้สร้างความยุ่งยาก
ให้กับการเจรจา เพราะทำให้ผู้นำพรรคการเมืองในกรีซไม่ต้องการที่จะมีส่วนร่วม
ในมาตรการปรับลดงบรายจ่ายใดๆที่จะสร้างความยากลำบากให้แก่ประชาชนชาวกรีซ
ในช่วงนี้
นายอันโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมของกรีซ คัดค้านการดำเนิน
มาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติม โดยให้เหตุผลว่ามาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจ
กรีซถดถอยลงไปอีก นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาบางคนจากพรรคการเมืองใหญ่ทั้ง
3 พรรคของกรีซก็แสดงความเห็นเช่นเดียวกัน
ปัจจัยนี้สร้างความกังวลให้แก่หน่วยงานผู้ให้เงินช่วยเหลือกรีซ โดยนาย
พูล ธอมเสน หัวหน้าคณะผู้แทนของไอเอ็มเอฟสำหรับกรีซ กล่าวต่อหนังสือพิมพ์
คาธิเมรินีเมื่อวานนี้ว่า "เราต้องการการรับประกันว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่จะก้าว
ขึ้นมามีอำนาจในกรีซหลังการเลือกตั้งและต้องการปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ
จะสร้างความมั่นใจว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะสอดคล้องกับเป้าหมายและ
กรอบการทำงานพื้นฐานของข้อตกลง"
นายธอมเสนกล่าวว่า กรีซอาจจำเป็นต้องปรับลดระดับค่าจ้างขั้นต่ำลง
และปรับลดโบนัสวันหยุดเพื่อช่วยให้บริษัทของกรีซมีประสิทธิภาพทางการแข่งขัน
มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลกรีซอาจจำเป็นต้องปลดข้าราชการออกด้วย
อย่างไรก็ดี การออมเงินส่วนใหญ่ในส่วนของค่าจ้างในภาครัฐบาลจะมาจาก
การปลดเกษียณ
ข้อเรียกร้องเช่นนี้ได้ถูกโจมตีเป็นอย่างมากในกรีซ โดยสหภาพ
แรงงานคัดค้านมาตรการปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำและมาตรการปรับลดโบนัสวันหยุด
นายธอมเสนเรียกร้องให้มีการนำนโยบายที่หลากหลายมาใช้รวมกัน
โดยวิธีการนี้อาจช่วยจูงใจให้พรรคการเมืองต่างๆให้การสนับสนุนนโยบาย
นายธอมเสนกล่าวว่า "เราจำเป็นต้องชะลอมาตรการทางการคลัง
ลงบ้างเล็กน้อย แต่ต้องเร่งรัดการปฏิรูปให้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก"
การเร่งรัดมาตรการปฏิรูปและการชะลอการปรับลดยอดขาดดุล
งบประมาณจะถือเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายไปจากเดิมเมื่อเทียบกับนโยบาย
ที่กรีซเคยใช้เมื่อได้รับความช่วยเหลือรอบแรกที่มีวงเงิน 1.10 แสนล้านยูโร
โดยนโยบายในช่วงนั้นมุ่งเน้นไปที่การปรับขึ้นภาษี แต่ไม่ได้เน้นไปที่การปรับลด
งบรายจ่าย
เศรษฐกิจกรีซถดถอยลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้นนับตั้งแต่กรีซไดัรับความ
ช่วยเหลือรอบแรกจากอียูและไอเอ็มเอฟในเดือนพ.ค. 2010
เศรษฐกิจกรีซมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างน้อย 3 % ในปีนี้ ถึงแม้กลุ่ม
ผู้ให้เงินช่วยเหลือกรีซเคยคาดว่าเศรษฐกิจกรีซอาจเติบโต 1.1 % เมื่อทาง
กลุ่มร่างมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบแรก ขณะที่รัฐบาลกรีซ
ระบุว่า ความล้มเหลวของกรีซในการบรรลุเป้าหมายเรื่องยอดขาดดุลงบประมาณ
เกิดจากการที่เศรษฐกิจกรีซถดถอยลงอย่างรุนแรงเกินคาด แต่กลุ่มผู้ให้ความ
ช่วยเหลือระบุว่าสาเหตุเกิดจากความล่าช้าในการปฏิรูปประเทศ
มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกรีซยังคงได้รับแรงกดดันต่อไป โดยผล
สำรวจที่ออกมาเมื่อวานนี้ระบุว่า ภาคการผลิตของกรีซยังคงอยู่ในภาวะถดถอย
อย่างรุนแรงในเดือนม.ค. ในขณะที่ตัวเลขการผลิตดิ่งลงหนักเป็นประวัติการณ์
และยอดสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งส่งผลให้การจ้างงานปรับลดลงด้วย
นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ข้อเสนอของนายธอมเสนจะไม่ประสบ
ความสำเร็จ นอกจากว่าไอเอ็มเอฟและผู้ให้เงินช่วยเหลือกรีซรายอื่นๆจะปรับ
เพิ่มขนาดของมาตรการช่วยเหลือขึ้นจาก 1.30 แสนล้านยูโร--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 128
EUROPE:จับตายูโรโซนประชุมจันทร์หน้าชี้ชะตามาตรการช่วยเหลือกรีซรอบ 2
บรัสเซลส์--3 ก.พ.--รอยเตอร์
รัฐมนตรีคลังยูโรโซนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซในวันจันทร์ที่ 6 ก.พ. โดยพวกเขาหวังว่า
การตัดสินใจในเรื่องนี้จะช่วยให้ตลาดมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นในฐานะการเงินของ
รัฐบาลยูโรโซน และจะช่วยสกัดวิกฤติหนี้ที่ดำเนินมานาน 2 ปี
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูโรโซนจะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่
6 ก.พ.ระหว่างเวลา 15.00-21.00 น.ตามเวลาไทย เพื่อจัดเตรียมรายละเอียด
เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือกรีซ และจะมีการยื่นมาตรการดังกล่าวต่อรัฐมนตรีคลัง
ยูโรโซนเพื่อทำการอนุมัติในการประชุมนัดพิเศษเวลา 23.00 น.ตามเวลาไทย
ข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือกรีซในครั้งนี้จะครอบคลุมถึงเงิน
ช่วยเหลือรอบใหม่จากทางการยูโรโซน, ขนาดของผลขาดทุนที่ภาคธนาคารและ
เอกชนรายอื่นๆที่ถือครองพันธบัตรกรีซเต็มใจจะยอมรับ รวมทั้งมาตรการปฏิรูป
ที่รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องปฏิบัติตาม
การบรรลุข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยยุติภาวะไม่แน่นอนที่ดำเนินมานาน
หลายเดือนเกี่ยวกับความเสียหายที่ภาคเอกชนจะยินยอมแบกรับ และความ
ไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืนของรัฐบาลกรีซ
โดยขณะนี้กรีซมีหนี้สินในสัดส่วน 160 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) และความไม่แน่นอนในเรื่องนี้ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของหลายประเทศ
ในยูโรโซนพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา--จบ--
บรัสเซลส์--3 ก.พ.--รอยเตอร์
รัฐมนตรีคลังยูโรโซนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซในวันจันทร์ที่ 6 ก.พ. โดยพวกเขาหวังว่า
การตัดสินใจในเรื่องนี้จะช่วยให้ตลาดมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นในฐานะการเงินของ
รัฐบาลยูโรโซน และจะช่วยสกัดวิกฤติหนี้ที่ดำเนินมานาน 2 ปี
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูโรโซนจะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่
6 ก.พ.ระหว่างเวลา 15.00-21.00 น.ตามเวลาไทย เพื่อจัดเตรียมรายละเอียด
เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือกรีซ และจะมีการยื่นมาตรการดังกล่าวต่อรัฐมนตรีคลัง
ยูโรโซนเพื่อทำการอนุมัติในการประชุมนัดพิเศษเวลา 23.00 น.ตามเวลาไทย
ข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือกรีซในครั้งนี้จะครอบคลุมถึงเงิน
ช่วยเหลือรอบใหม่จากทางการยูโรโซน, ขนาดของผลขาดทุนที่ภาคธนาคารและ
เอกชนรายอื่นๆที่ถือครองพันธบัตรกรีซเต็มใจจะยอมรับ รวมทั้งมาตรการปฏิรูป
ที่รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องปฏิบัติตาม
การบรรลุข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยยุติภาวะไม่แน่นอนที่ดำเนินมานาน
หลายเดือนเกี่ยวกับความเสียหายที่ภาคเอกชนจะยินยอมแบกรับ และความ
ไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืนของรัฐบาลกรีซ
โดยขณะนี้กรีซมีหนี้สินในสัดส่วน 160 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) และความไม่แน่นอนในเรื่องนี้ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของหลายประเทศ
ในยูโรโซนพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 129
GREECE:สหภาพแรงงานกรีซเตรียมสไตรค์ประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดพรุ่งนี้
เอเธนส์--6 ก.พ.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานเปิดเผยว่า สหภาพแรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง
ของกรีซวางแผนที่จะทำการผละงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในวันพรุ่งนี้ เพื่อประท้วง
มาตรการรัดเข็มขัดและการปฏิรูปที่กำหนดในเงื่อนไขของบรรดาผู้ปล่อยกู้ระหว่าง
ประเทศเพื่อแลกกับมาตรการช่วยเหลือครั้งใหม่
"เรากำลังวางแผนที่จะทำการสไตรค์ 1 วันในวันพรุ่งนี้" นายอิลิแอส
อิลิโอโปลอส เลขาธิการของสหภาพแรงงานภาครัฐ ADEDY เปิดเผยกับรอยเตอร์
"แม้พวกเรายอมเสียสละแล้ว และพวกเขายอมรับว่ามีการใช้นโยบายผิดพลาด
แต่พวกเขาก็ยังคงเรียกร้องให้มีการรัดเข็มขัดมากขึ้น"
สหภาพ ADEDY และสหภาพ GSEE เป็นตัวแทนของคนงานราว 2 ล้าน
คนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานทั้งประเทศ โดยพวกเขาได้ทำการประท้วง
หลายครั้งนับตั้งแต่กรีซเริ่มรับความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ต่างชาติในปี 2010
เจ้าหน้าที่ของ GSEE กล่าวว่า ทั้งสองสหภาพจะสรุปแผนการสไตรค์ในวันนี้
--จบ--
เอเธนส์--6 ก.พ.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานเปิดเผยว่า สหภาพแรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง
ของกรีซวางแผนที่จะทำการผละงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในวันพรุ่งนี้ เพื่อประท้วง
มาตรการรัดเข็มขัดและการปฏิรูปที่กำหนดในเงื่อนไขของบรรดาผู้ปล่อยกู้ระหว่าง
ประเทศเพื่อแลกกับมาตรการช่วยเหลือครั้งใหม่
"เรากำลังวางแผนที่จะทำการสไตรค์ 1 วันในวันพรุ่งนี้" นายอิลิแอส
อิลิโอโปลอส เลขาธิการของสหภาพแรงงานภาครัฐ ADEDY เปิดเผยกับรอยเตอร์
"แม้พวกเรายอมเสียสละแล้ว และพวกเขายอมรับว่ามีการใช้นโยบายผิดพลาด
แต่พวกเขาก็ยังคงเรียกร้องให้มีการรัดเข็มขัดมากขึ้น"
สหภาพ ADEDY และสหภาพ GSEE เป็นตัวแทนของคนงานราว 2 ล้าน
คนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานทั้งประเทศ โดยพวกเขาได้ทำการประท้วง
หลายครั้งนับตั้งแต่กรีซเริ่มรับความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ต่างชาติในปี 2010
เจ้าหน้าที่ของ GSEE กล่าวว่า ทั้งสองสหภาพจะสรุปแผนการสไตรค์ในวันนี้
--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 130
GREECE:เยอรมนีเร่งกรีซตัดสินใจ หลังขอเลื่อนให้คำตอบยอมรับเงื่อนไขเป็นวันนี้
บรัสเซลส์--7 ก.พ.--รอยเตอร์
นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี เตือนกรีซ
ให้ตัดสินใจโดยเร็วในการยอมรับเงื่อนไขสำหรับการให้เงินช่วยเหลืองวดใหม่
ของอียู/ไอเอ็มเอฟ แต่ผู้นำทางการเมืองของกรีซขอเลื่อนการตัดสินใจเป็น
วันนี้ จากที่มีกำหนดต้องให้คำตอบวานนี้
ทั้งนี้ สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องเห็นชอบกับเงื่อนไข
ของข้อตกลงก่อนการประชุมรมว.คลังยูโรโซนในการประชุมครั้งต่อไป
ขณะที่กรีซจะต้องได้รับเงินช่วยเหลือภายในเดือนมี.ค.เพื่อชำระหนี้พันธบัตร
ก้อนใหญ่
ความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ 1.30
แสนล้านยูโร (1.70 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินช่วยเหลือจาก
เยอรมนีนั้น เสี่ยงต่อการทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนาคต
ของกรีซในยูโรโซน
เจ้าหน้าที่อียูกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวต้องได้รับการเห็นชอบจากกรีซ
และได้รับการอนุมัติโดยยูโรโซน, ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ
ก่อนวันที่ 15 ก.พ. เพื่อให้มีเวลาสำหรับกระบวนการทางกฏหมายที่ซับซ้อน
ที่เกี่ยวข้องกับการสว็อปพันธบัตรให้ทันการไถ่ถอนพันธบัตรในวันที่ 20 มี.ค.
โดยในบางประเทศของยูโรโซนรวมถึงเยอรมนีและฟินแลนด์นั้น การเพิ่มเงิน
ช่วยเหลือจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา
ด้านสำนักงานของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอสของกรีซระบุว่า
การประชุมผู้นำจากพรรคอนุรักษ์นิยม, สังคมนิยมและพรรคขวาจัดที่กำหนดขึ้น
เมื่อวานนี้นั้นได้ถูกเลื่อนมาเป็นวันนี้
แถลงการณ์ที่ออกมาทันทีหลังนางเมอร์เคลกล่าวนั้นไม่ได้ให้เหตุผล
สำหรับความล่าช้าในครั้งนี้ แต่ระบุว่า นายปาปาเดมอสจะจัดการเจรจาต่อไป
กับกลุ่มผู้ปล่อยกู้ "ทรอยกา" ซึ่งได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป, ธนาคารกลาง
ยุโรปและไอเอ็มเอฟ
ผู้นำพรรคการเมืองซึ่งเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน
เม.ย.นั้น ได้คัดค้านการยอมรับมาตรการปรับลดค่าจ้างและเงินบำเหน็จบำนาญ,
การลดตำแหน่งงานและมาตรการด้านภาษีที่เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากวิตกว่า
จะกระทบคะแนนเสียงของตน--จบ--
บรัสเซลส์--7 ก.พ.--รอยเตอร์
นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี เตือนกรีซ
ให้ตัดสินใจโดยเร็วในการยอมรับเงื่อนไขสำหรับการให้เงินช่วยเหลืองวดใหม่
ของอียู/ไอเอ็มเอฟ แต่ผู้นำทางการเมืองของกรีซขอเลื่อนการตัดสินใจเป็น
วันนี้ จากที่มีกำหนดต้องให้คำตอบวานนี้
ทั้งนี้ สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องเห็นชอบกับเงื่อนไข
ของข้อตกลงก่อนการประชุมรมว.คลังยูโรโซนในการประชุมครั้งต่อไป
ขณะที่กรีซจะต้องได้รับเงินช่วยเหลือภายในเดือนมี.ค.เพื่อชำระหนี้พันธบัตร
ก้อนใหญ่
ความล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ 1.30
แสนล้านยูโร (1.70 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินช่วยเหลือจาก
เยอรมนีนั้น เสี่ยงต่อการทำให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนาคต
ของกรีซในยูโรโซน
เจ้าหน้าที่อียูกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวต้องได้รับการเห็นชอบจากกรีซ
และได้รับการอนุมัติโดยยูโรโซน, ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ
ก่อนวันที่ 15 ก.พ. เพื่อให้มีเวลาสำหรับกระบวนการทางกฏหมายที่ซับซ้อน
ที่เกี่ยวข้องกับการสว็อปพันธบัตรให้ทันการไถ่ถอนพันธบัตรในวันที่ 20 มี.ค.
โดยในบางประเทศของยูโรโซนรวมถึงเยอรมนีและฟินแลนด์นั้น การเพิ่มเงิน
ช่วยเหลือจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา
ด้านสำนักงานของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอสของกรีซระบุว่า
การประชุมผู้นำจากพรรคอนุรักษ์นิยม, สังคมนิยมและพรรคขวาจัดที่กำหนดขึ้น
เมื่อวานนี้นั้นได้ถูกเลื่อนมาเป็นวันนี้
แถลงการณ์ที่ออกมาทันทีหลังนางเมอร์เคลกล่าวนั้นไม่ได้ให้เหตุผล
สำหรับความล่าช้าในครั้งนี้ แต่ระบุว่า นายปาปาเดมอสจะจัดการเจรจาต่อไป
กับกลุ่มผู้ปล่อยกู้ "ทรอยกา" ซึ่งได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป, ธนาคารกลาง
ยุโรปและไอเอ็มเอฟ
ผู้นำพรรคการเมืองซึ่งเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน
เม.ย.นั้น ได้คัดค้านการยอมรับมาตรการปรับลดค่าจ้างและเงินบำเหน็จบำนาญ,
การลดตำแหน่งงานและมาตรการด้านภาษีที่เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากวิตกว่า
จะกระทบคะแนนเสียงของตน--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 131
GREECE:IMF ชี้กรีซเล็งหั่นมูลค่าพันธบัตรลงอย่างมาก ขณะเจรจายังคงยืดเยื้อ
วอชิงตัน--7 ก.พ.--รอยเตอร์
นายโอลิเวียร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า มีแนวโน้มว่าจะมีการปรับลดมูลค่า
พันธบัตรกรีซที่ภาคเอกชนถือครองลงอย่างมาก ขณะที่การเจรจาระหว่าง
ผู้ถือพันธบัตรและรัฐบาลเพื่อลดภาระหนี้ของกรีซ ยังคงยืดเยื้อต่อไป
"ในส่วนของเจ้าหนี้ภาคเอกชนในขั้นตอนนี้ ดูเหมือนว่าจะมีการ
ปรับลดมูลค่าพันธบัตรลงเป็นจำนวนมาก" นายบลองชาร์ดกล่าว "แต่นั่นเป็น
แค่ครึ่งหนึ่งของสิ่งที่กรีซต้องการ ส่วนอีกครึ่งก็คือปรับปรุงขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน"
เขากล่าวว่า กรีซจำเป็นต้องลดหนี้สาธารณะลง "ในทันที" ขณะที่
ไอเอ็มเอฟเปิดเผยว่า กรีซจำเป็นต้องลดหนี้ลงสู่ระดับ 120% ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2020 จากเกือบ 160% ในขณะนี้
เพื่อทำให้เศรษฐกิจยั่งยืน
เขาระบุว่า ทางเดียวที่กรีซจะรอดพ้นจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ
ได้ในที่สุดก็คือรัฐบาลจะต้องลดหนี้สาธารณะ และลดต้นทุนแรงงานลง และชาว
ยุโรปต้องให้พันธะสัญญาว่าจะช่วยเหลือกรีซ "ตราบเท่าที่มีความจำเป็น"
เขาเสริมว่า "ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นจริง เรื่องนี้จะต้องใช้เวลา
นานมาก และกรีซจะไม่สามารถกลับเข้าตลาดไปอีกนาน"
นายบลองชาร์ดยังระบุว่า เขาประทับใจกับความคืบหน้าของยูโรโซน
ในการสร้างระบบป้องกันการลุกลามของปัญหาทางการเงิน "ดูเหมือนว่า ยูโรโซน
จะสามารถหลีกเลี่ยงหายนะที่อาจเกิดขึ้น โดยผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะหลีกเลี่ยง
ภัยหายนะได้"
เขากล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าวิกฤติยูโรโซนส่งผลกระทบอย่างมาก
ต่อสหรัฐ ขณะที่ไอเอ็มเอฟประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอาจขยายตัว
เกือบ 2% ในปีนี้ แทนที่จะเป็น 1.8% ที่ไอเอ็มเอฟเคยคาดไว้เมื่อวันที่ 24
ม.ค.--จบ--
วอชิงตัน--7 ก.พ.--รอยเตอร์
นายโอลิเวียร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า มีแนวโน้มว่าจะมีการปรับลดมูลค่า
พันธบัตรกรีซที่ภาคเอกชนถือครองลงอย่างมาก ขณะที่การเจรจาระหว่าง
ผู้ถือพันธบัตรและรัฐบาลเพื่อลดภาระหนี้ของกรีซ ยังคงยืดเยื้อต่อไป
"ในส่วนของเจ้าหนี้ภาคเอกชนในขั้นตอนนี้ ดูเหมือนว่าจะมีการ
ปรับลดมูลค่าพันธบัตรลงเป็นจำนวนมาก" นายบลองชาร์ดกล่าว "แต่นั่นเป็น
แค่ครึ่งหนึ่งของสิ่งที่กรีซต้องการ ส่วนอีกครึ่งก็คือปรับปรุงขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน"
เขากล่าวว่า กรีซจำเป็นต้องลดหนี้สาธารณะลง "ในทันที" ขณะที่
ไอเอ็มเอฟเปิดเผยว่า กรีซจำเป็นต้องลดหนี้ลงสู่ระดับ 120% ของผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2020 จากเกือบ 160% ในขณะนี้
เพื่อทำให้เศรษฐกิจยั่งยืน
เขาระบุว่า ทางเดียวที่กรีซจะรอดพ้นจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ
ได้ในที่สุดก็คือรัฐบาลจะต้องลดหนี้สาธารณะ และลดต้นทุนแรงงานลง และชาว
ยุโรปต้องให้พันธะสัญญาว่าจะช่วยเหลือกรีซ "ตราบเท่าที่มีความจำเป็น"
เขาเสริมว่า "ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นจริง เรื่องนี้จะต้องใช้เวลา
นานมาก และกรีซจะไม่สามารถกลับเข้าตลาดไปอีกนาน"
นายบลองชาร์ดยังระบุว่า เขาประทับใจกับความคืบหน้าของยูโรโซน
ในการสร้างระบบป้องกันการลุกลามของปัญหาทางการเงิน "ดูเหมือนว่า ยูโรโซน
จะสามารถหลีกเลี่ยงหายนะที่อาจเกิดขึ้น โดยผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะหลีกเลี่ยง
ภัยหายนะได้"
เขากล่าวว่า ยังไม่ชัดเจนว่าวิกฤติยูโรโซนส่งผลกระทบอย่างมาก
ต่อสหรัฐ ขณะที่ไอเอ็มเอฟประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอาจขยายตัว
เกือบ 2% ในปีนี้ แทนที่จะเป็น 1.8% ที่ไอเอ็มเอฟเคยคาดไว้เมื่อวันที่ 24
ม.ค.--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 132
GREECE:โฆษก IIF เผยเจรจาสว็อปพันธบัตร,ปฏิรูปกรีซมีความคืบหน้า
เอเธนส์--8 ก.พ.--รอยเตอร์
โฆษกสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยว่า การเจรจา
ระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ภาคเอกชนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนพันธบัตร และการปฏิรูป
เพื่อทำให้เศรษฐกิจของกรีซมีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นนั้น ได้เป็นไป
อย่างสร้างสรรค์
เมื่อวานนี้ นายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีของกรีซ และนาย
อีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลัง ได้ประชุมหารือกับนายชาร์ลส์ ดัลลารา,
นายฌอง เลอมิแอร์ และนายโจเซฟ แอคเคอร์แมน ผู้แทนจาก IIF ซึ่งเป็น
ตัวแทนของฝ่ายเจ้าหนี้ภาคเอกชน
"พวกเขาได้หารือกันอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับการสว็อปพันธบัตร
และโครงการปฏิรูป" โฆษกของ IIF กล่าว
เขากล่าวอีกว่า นายดัลลารา และนายเลอมิแอร์จะเดินทางไปกรุง
ปารีสในวันนี้ และจะปรึกษาหารือกับนักลงทุนและเจ้าหนี้ต่อไป--จบ--
เอเธนส์--8 ก.พ.--รอยเตอร์
โฆษกสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยว่า การเจรจา
ระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ภาคเอกชนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนพันธบัตร และการปฏิรูป
เพื่อทำให้เศรษฐกิจของกรีซมีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นนั้น ได้เป็นไป
อย่างสร้างสรรค์
เมื่อวานนี้ นายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีของกรีซ และนาย
อีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลัง ได้ประชุมหารือกับนายชาร์ลส์ ดัลลารา,
นายฌอง เลอมิแอร์ และนายโจเซฟ แอคเคอร์แมน ผู้แทนจาก IIF ซึ่งเป็น
ตัวแทนของฝ่ายเจ้าหนี้ภาคเอกชน
"พวกเขาได้หารือกันอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับการสว็อปพันธบัตร
และโครงการปฏิรูป" โฆษกของ IIF กล่าว
เขากล่าวอีกว่า นายดัลลารา และนายเลอมิแอร์จะเดินทางไปกรุง
ปารีสในวันนี้ และจะปรึกษาหารือกับนักลงทุนและเจ้าหนี้ต่อไป--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 133
> GREECE:รมว.คลังกรีซบินเข้าร่วมประชุมยูโรกรุ๊ป แม้ข้อตกลงยังไม่สมบูรณ์
เอเธนส์--9 ก.พ.--รอยเตอร์
บรรดาผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลของกรีซไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่อง
มาตรการปฏิรูปและรัดเข็มขัดในวันนี้ ถึงแม้มาตรการดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็น
เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ส่งผลให้นายอีวาน
เจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซ ต้องเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมกับ
กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินของกรีซในวันนี้ถึงแม้ข้อตกลงยังไม่สมบูรณ์
ทั้งนี้ นายเวนิเซลอสจะเดินทางไปกรุงบรัสเซลส์ในวันนี้เพื่อเข้าร่วม
การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) โดยก่อนหน้านี้รัฐมนตรีคลังคนอื่นๆ
ในยูโรโซนเคยตั้งความหวังไว้ว่า ผู้นำกรีซจะสามารถตกลงกันได้ในเรื่อง
มาตรการประหยัดงบประมาณ 3.3 พันล้านยูโร (4.4 พันล้านดอลลาร์)
ในปีนี้ และนายเวนิเซลอสจะสามารถนำเสนอสัญญาดังกล่าวของผู้นำกรีซ
ในการประชุมวันนี้
อย่างไรก็ดี หลังจากการหารือกันตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาระหว่าง
ผู้นำพรรคการเมือง 3 พรรคในพรรคร่วมรัฐบาล และการหารือกับเจ้าหน้าที่
สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
นายเวนิเซลอสก็ได้ออกจากการประชุมดังกล่าวในช่วงเช้าวันนี้ และกล่าวว่า
ยังคงมีประเด็นหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย
นายเวนิเซลอสกล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า "ผมจะเดินทางไปกรุงบรัสเซลส์
พร้อมกับความหวังที่ว่าจะมีการจัดประชุมยูโรกรุ๊ป และมีการตัดสินใจในทางบวก
ต่อโครงการช่วยเหลือกรีซครั้งใหม่"
"ความอยู่รอดทางการเงินของกรีซในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้าขึ้นอยู่กับ
โครงการใหม่ และนี่คือช่วงเวลาแห่งความรับผิดชอบสำหรับทุกๆคน" นาย
เวนิเซลอสกล่าว
นายเวนิเซลอสไม่ได้กล่าวว่าปัญหาที่ค้างคาอยู่คือประเด็นใด
อย่างไรก็ดี โฆษกของพรรค PASOK ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม ระบุว่า
อุปสรรคขัดขวางการทำข้อตกลงในครั้งนี้คือเรื่องการปฏิรูปเงินบำนาญ
เจ้าหน้าที่รัฐบาลกรีซรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้นำพรรคการเมือง
ของกรีซสามารถตกลงกันได้แล้วในเรื่องมาตรการประหยัดงบประมาณ
ราว 90 % ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยยังเหลือจำนวนเงินอีก 300 ล้าน
ยูโรถึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
เจ้าหน้าที่ที่ไม่ประสงค์จะออกนามรายนี้กล่าวว่า "กรีซมีเวลา
อีก 15 วัน ในการกำหนดวิธีการประหยัดงบประมาณ 300 ล้านยูโร"
--จบ--
เอเธนส์--9 ก.พ.--รอยเตอร์
บรรดาผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลของกรีซไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่อง
มาตรการปฏิรูปและรัดเข็มขัดในวันนี้ ถึงแม้มาตรการดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็น
เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ส่งผลให้นายอีวาน
เจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซ ต้องเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมกับ
กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินของกรีซในวันนี้ถึงแม้ข้อตกลงยังไม่สมบูรณ์
ทั้งนี้ นายเวนิเซลอสจะเดินทางไปกรุงบรัสเซลส์ในวันนี้เพื่อเข้าร่วม
การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) โดยก่อนหน้านี้รัฐมนตรีคลังคนอื่นๆ
ในยูโรโซนเคยตั้งความหวังไว้ว่า ผู้นำกรีซจะสามารถตกลงกันได้ในเรื่อง
มาตรการประหยัดงบประมาณ 3.3 พันล้านยูโร (4.4 พันล้านดอลลาร์)
ในปีนี้ และนายเวนิเซลอสจะสามารถนำเสนอสัญญาดังกล่าวของผู้นำกรีซ
ในการประชุมวันนี้
อย่างไรก็ดี หลังจากการหารือกันตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาระหว่าง
ผู้นำพรรคการเมือง 3 พรรคในพรรคร่วมรัฐบาล และการหารือกับเจ้าหน้าที่
สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
นายเวนิเซลอสก็ได้ออกจากการประชุมดังกล่าวในช่วงเช้าวันนี้ และกล่าวว่า
ยังคงมีประเด็นหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย
นายเวนิเซลอสกล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า "ผมจะเดินทางไปกรุงบรัสเซลส์
พร้อมกับความหวังที่ว่าจะมีการจัดประชุมยูโรกรุ๊ป และมีการตัดสินใจในทางบวก
ต่อโครงการช่วยเหลือกรีซครั้งใหม่"
"ความอยู่รอดทางการเงินของกรีซในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้าขึ้นอยู่กับ
โครงการใหม่ และนี่คือช่วงเวลาแห่งความรับผิดชอบสำหรับทุกๆคน" นาย
เวนิเซลอสกล่าว
นายเวนิเซลอสไม่ได้กล่าวว่าปัญหาที่ค้างคาอยู่คือประเด็นใด
อย่างไรก็ดี โฆษกของพรรค PASOK ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม ระบุว่า
อุปสรรคขัดขวางการทำข้อตกลงในครั้งนี้คือเรื่องการปฏิรูปเงินบำนาญ
เจ้าหน้าที่รัฐบาลกรีซรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้นำพรรคการเมือง
ของกรีซสามารถตกลงกันได้แล้วในเรื่องมาตรการประหยัดงบประมาณ
ราว 90 % ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยยังเหลือจำนวนเงินอีก 300 ล้าน
ยูโรถึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
เจ้าหน้าที่ที่ไม่ประสงค์จะออกนามรายนี้กล่าวว่า "กรีซมีเวลา
อีก 15 วัน ในการกำหนดวิธีการประหยัดงบประมาณ 300 ล้านยูโร"
--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 134
GREECE:เปิดโผรายละเอียดมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซบรรลุข้อตลงกับ EU/IMF แล้ว
เอเธนส์--9 ก.พ.--รอยเตอร์
ผู้นำทางการเมืองของกรีซสามารถตกลงกันได้แล้วในเนื้อหา 90 %
ของเงื่อนไขตามมาตรการรัดเข็มขัดและปฏิรูปประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อแลก
กับการช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุน
การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า ยังคงเหลือ
เพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่ยังตกลงกันไม่ได้ ซึ่งได้แก่ การปรับลดเงินบำเหน็จ
บำนาญ
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของสิ่งที่ได้รับการตกลงกันแล้วระหว่างผู้นำ
พรรคการเมืองของกรีซ, เจ้าหน้าที่อียู และไอเอ็มเอฟ โดยข้อมูลทั้งหมด
มาจากพรรคการเมืองกรีซและเจ้าหน้าที่รัฐบาล:-
*การปรับลดงบประมาณ
--ผู้นำกรีซตกลงกันว่าจะปรับลดงบประมาณรายจ่ายลงราว 1.5 %
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ หรือราว 3.3 พันล้านยูโร
(4.37 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งในขณะนี้ พรรคร่วมรัฐบาลของกรีซสามารถตกลง
กันได้แล้วเกี่ยวกับมาตรการต่างๆในการประหยัดงบประมาณ แต่ยังขาดจำนวน
เงินอีก 300 ล้านยูโรถึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
--งบประมาณที่จะถูกปรับลดลงนั้น รวมถึงงบลงทุนภาครัฐที่จะลดลง
400 ล้านยูโร, งบประมาณด้านกลาโหมที่จะลดลง 300 ล้านยูโร และระบบ
เงินบำเหน็จบำนาญที่จะลดลง 300 ล้านยูโร
--ในเดือนมิ.ย.ปีนี้ รัฐบาลใหม่ของกรีซที่จะถูกจัดตั้งขึ้นหลังการ
เลือกตั้งในเดือนเม.ย.จำเป็นต้องกำหนดมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมวงเงิน
1 หมื่นล้านยูโรสำหรับบังคับใช้ในปี 2013-2015
--กรีซจะได้รับเวลาเพิ่มขึ้น 1 ปีจนถึงช่วงสิ้นปี 2015 ในการ
บรรลุเป้าหมายยอดเกินดุลการคลังเบื้องต้น (ไม่รวมการจ่ายดอกเบี้ย)
*การเพิ่มทุนธนาคาร
--ธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาอย่างหนักจะได้รับการเพิ่มทุน
ด้วยหุ้นสามัญที่มีสิทธิออกเสียง ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาไม่มากนัก
จะได้รับการเพิ่มทุนด้วยหุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง
ในวงจำกัด
*การปฏิรูปแรงงาน
--จะมีการปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำ 22 % อย่างไรก็ดี มาตรการนี้
จะไม่ทำให้ระดับค่าจ้างทั้งหมดปรับลดลง เนื่องจากจะบังคับใช้กับพนักงาน
ใหม่เท่านั้น โดยผู้ที่เพิ่งเข้ามาทำงานครั้งแรกจะได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าค่าจ้าง
ขั้นต่ำในปัจจุบัน 30 % ในขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ราว 750 ยูโรในปัจจุบัน
โดยมาตรการนี้จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี
--พนักงานภาครัฐราว 15,000 คนจะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "แรงงาน
สำรอง" ซึ่งหมายความว่าพนักงานกลุ่มนี้จะได้รับค่าจ้างเพียงบางส่วน และ
จะถูกปลดออกหลังจากเวลาผ่านไป 1 ปี
--รัฐบาลกรีซตั้งเป้าที่จะปลดพนักงานงานภาครัฐราว 150,000 คน
ภายในปี 2015--จบ--
เอเธนส์--9 ก.พ.--รอยเตอร์
ผู้นำทางการเมืองของกรีซสามารถตกลงกันได้แล้วในเนื้อหา 90 %
ของเงื่อนไขตามมาตรการรัดเข็มขัดและปฏิรูปประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อแลก
กับการช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่จากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุน
การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า ยังคงเหลือ
เพียงประเด็นเดียวเท่านั้นที่ยังตกลงกันไม่ได้ ซึ่งได้แก่ การปรับลดเงินบำเหน็จ
บำนาญ
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของสิ่งที่ได้รับการตกลงกันแล้วระหว่างผู้นำ
พรรคการเมืองของกรีซ, เจ้าหน้าที่อียู และไอเอ็มเอฟ โดยข้อมูลทั้งหมด
มาจากพรรคการเมืองกรีซและเจ้าหน้าที่รัฐบาล:-
*การปรับลดงบประมาณ
--ผู้นำกรีซตกลงกันว่าจะปรับลดงบประมาณรายจ่ายลงราว 1.5 %
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ หรือราว 3.3 พันล้านยูโร
(4.37 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งในขณะนี้ พรรคร่วมรัฐบาลของกรีซสามารถตกลง
กันได้แล้วเกี่ยวกับมาตรการต่างๆในการประหยัดงบประมาณ แต่ยังขาดจำนวน
เงินอีก 300 ล้านยูโรถึงจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
--งบประมาณที่จะถูกปรับลดลงนั้น รวมถึงงบลงทุนภาครัฐที่จะลดลง
400 ล้านยูโร, งบประมาณด้านกลาโหมที่จะลดลง 300 ล้านยูโร และระบบ
เงินบำเหน็จบำนาญที่จะลดลง 300 ล้านยูโร
--ในเดือนมิ.ย.ปีนี้ รัฐบาลใหม่ของกรีซที่จะถูกจัดตั้งขึ้นหลังการ
เลือกตั้งในเดือนเม.ย.จำเป็นต้องกำหนดมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมวงเงิน
1 หมื่นล้านยูโรสำหรับบังคับใช้ในปี 2013-2015
--กรีซจะได้รับเวลาเพิ่มขึ้น 1 ปีจนถึงช่วงสิ้นปี 2015 ในการ
บรรลุเป้าหมายยอดเกินดุลการคลังเบื้องต้น (ไม่รวมการจ่ายดอกเบี้ย)
*การเพิ่มทุนธนาคาร
--ธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาอย่างหนักจะได้รับการเพิ่มทุน
ด้วยหุ้นสามัญที่มีสิทธิออกเสียง ส่วนธนาคารพาณิชย์ที่ประสบปัญหาไม่มากนัก
จะได้รับการเพิ่มทุนด้วยหุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง
ในวงจำกัด
*การปฏิรูปแรงงาน
--จะมีการปรับลดค่าจ้างขั้นต่ำ 22 % อย่างไรก็ดี มาตรการนี้
จะไม่ทำให้ระดับค่าจ้างทั้งหมดปรับลดลง เนื่องจากจะบังคับใช้กับพนักงาน
ใหม่เท่านั้น โดยผู้ที่เพิ่งเข้ามาทำงานครั้งแรกจะได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าค่าจ้าง
ขั้นต่ำในปัจจุบัน 30 % ในขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ราว 750 ยูโรในปัจจุบัน
โดยมาตรการนี้จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี
--พนักงานภาครัฐราว 15,000 คนจะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "แรงงาน
สำรอง" ซึ่งหมายความว่าพนักงานกลุ่มนี้จะได้รับค่าจ้างเพียงบางส่วน และ
จะถูกปลดออกหลังจากเวลาผ่านไป 1 ปี
--รัฐบาลกรีซตั้งเป้าที่จะปลดพนักงานงานภาครัฐราว 150,000 คน
ภายในปี 2015--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 135
UPDATE/GREECE:ยุโรปตั้งเงื่อนไขก่อนให้เงินกรีซ แม้พรรคการเมืองตกลงปฏิรูป
บรัสเซลส์/เอเธนส์--10 ก.พ.--รอยเตอร์
ผู้นำทางการเมืองของกรีซกล่าวว่า พวกเขาสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ
การปฏิรูปเศรษฐกิจที่จำเป็นเพื่อแลกกับมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบ 2 ของสหภาพ
ยุโรป (อียู) แล้ว แต่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนเรียกร้องให้กรีซดำเนินมาตรการเพิ่มเติม
และให้รัฐสภากรีซอนุมัติมาตรการปฏิรูปดังกล่าว ก่อนที่ยูโรโซนจะให้ความช่วยเหลือ
แก่กรีซ
ทั้งนี้ สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
รู้สึกผิดหวังต่อรัฐบาลกรีซที่เคยทำผิดสัญญามาแล้วหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา และ
ผิดหวังกับการที่ผู้นำทางการเมืองของกรีซไม่สามารถตกลงกันได้ในช่วงหลายสัปดาห์
ที่ผ่านมาในเรื่องเงื่อนไขของมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินวงเงิน 1.30
แสนล้านยูโร (1.72 แสนล้านดอลลาร์) ถึงแม้กรีซใกล้ที่จะผิดนัดชำระหนี้
รัฐมนตรีคลังของประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศประชุมกันที่กรุง
บรัสเซลส์เมื่อวานนี้ และกล่าวเตือนว่ายูโรโซนจะยังไม่มีการอนุมัติมาตรการ
ช่วยเหลือกรีซในทันที โดยรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องพิสูจน์ตนเองก่อน
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป)
กำหนดเงื่อนไข 3 ประการสำหรับกรีซ โดยประการแรกนั้น รัฐสภากรีซจำเป็น
ต้องให้สัตยาบันต่อมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจในการประชุมรัฐสภาวันอาทิตย์นี้
ส่วนประการที่สองนั้น กรีซจำเป็นต้องกำหนดมาตรการปรับลดงบรายจ่ายอีก
325 ล้านยูโรภายในวันพุธที่ 15 ก.พ. และหลังจากนั้นรัฐมนตรีคลังยูโรโซน
จะประชุมกันอีกครั้ง
"ส่วนเงื่อนไขประการที่สามก็คือว่า เราจำเป็นต้องได้รับการรับประกัน
ทางการเมืองอย่างหนักแน่นจากผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลกรีซว่าจะปฏิบัติตามมาตรการ
ปฏิรูป โดยกรีซจำเป็นต้องทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ก่อนที่เราจะสามารถตัดสินใจ"
นายยุงเกอร์กล่าว
"หากจะกล่าวอย่างสั้นๆก็คือว่า จะไม่มีการจ่ายเงินก่อนการปฏิบัติตามสิ่งนี้"
นายเจอร์รี ไรซ์ โฆษกไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า การเจรจาจะยังคงดำเนิน
ต่อไปเพื่อกำหนดรายละเอียดให้แล้วเสร็จ โดยถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่า ยังไม่มีการสรุป
ข้อตกลงในขณะนี้ นอกจากนี้ นายไรซ์ยังกล่าวเสริมว่า นางคริสติน ลาการ์ด
ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ ต้องการการรับประกันว่า กรีซจะปฏิบัติตามนโยบาย
ที่ตกลงกันไว้ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นเช่นใดก็ตาม
ไอเอ็มเอฟระบุว่า สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
ของกรีซจำเป็นต้องปรับลดลงสู่ 120 % ภายในปี 2020 แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า
มาตรการที่รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องปฏิบัติตามจะสามารถทำให้ตัวเลขหนี้สินปรับลดลง
สู่ระดับดังกล่าวได้หรือไม่
กรีซกำลังจะจัดการเลือกตั้งในช่วงราวเดือนเม.ย. ดังนั้นผู้นำพรรคการเมือง
ของกรีซจึงไม่ต้องการยอมรับเงื่อนไขที่เข้มงวดจากกลุ่มผู้ให้เงินช่วยเหลือ เพราะการ
ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวจะสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนชาวกรีซ
นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซ กล่าวหลังการประชุมที่กรุง
บรัสเซลส์ว่า กรีซเผชิญกับทางเลือกว่าจะอยู่ในยูโรโซนต่อไปหรือว่าจะถอนตัวออก
จากยูโรโซน
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า "จนกว่าจะถึงการประชุมยูโรกรุ๊ปครั้งถัดไป
ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าจะมีขึ้นในวันพุธหน้า ประเทศของเราและประชาชนของเรา
ควรจะคิดถึงทางเลือกทางกลยุทธ์ขั้นสุดท้ายและตัดสินใจเลือก"
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า "ถ้าหากเรามองว่าอนาคตของประเทศ
ของเราจะอยู่ภายในยูโรโซน หรืออยู่ภายในยุโรป เราก็ควรจะทำในสิ่งที่
เราจำเป็นต้องทำเพื่อให้มีการอนุมัติโครงการนี้ และเพื่อให้มีการสรุปเรื่อง
PSI (การยอมรับผลขาดทุนสำหรับเอกชนผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ)
ได้ทันเวลาก่อนที่พันธบัตรจำนวนมากจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมี.ค."
ทั้งนี้ กรีซมีกำหนดจะต้องไถ่ถอนพันธบัตรวงเงิน 1.45 หมื่นล้านยูโรในวันที่
20 มี.ค.
รัฐบาลกรีซเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลสนับสนุนข้อตกลงปฏิรูป
เศรษฐกิจเมื่อเข้าสู่รัฐสภา โดยนายพานเทลิส แคปซิส โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า
"ขั้นตอนแรกคือการที่รัฐสภากรีซอนุมัติข้อตกลงนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพรรค
การเมืองต่างๆมีภาระผูกพันในการทำตามเป้าหมายและปฏิบัติตามนโยบาย
ในโครงการเศรษฐกิจใหม่ นี่คือช่วงเวลาที่เราทุกคนจะต้องทำตามความ
รับผิดชอบ เราต้องการการดำเนินงาน ไม่ใช่แค่คำพูด"
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า รัฐบาลกรีซได้ทำร่างข้อตกลงกับเจ้าหนี้เอกชน
แล้วในเรื่องการสว็อปพันธบัตร โดยเจ้าหนี้เอกชนจะปรับลดมูลค่าการถือครอง
พันธบัตรกรีซลง 70 % ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สินของรัฐบาลกรีซที่ระดับ 3.50 แสนล้าน
ยูโร ลดลงราว 1 แสนล้านยูโร
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของอียู กล่าวว่า
"การจัดทำร่างข้อตกลงเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อปรับลดภาระหนี้ของ
กรีซได้เสร็จสิ้นลงในทางปฏิบัติแล้ว โดยผมคาดว่าข้อตกลงนี้จะได้รับการอนุมัติ
อย่างเป็นทางการในฐานะส่วนหนึ่งของมาตรการทั้งหมดในสัปดาห์หน้า"
นายเรห์นกล่าวว่า รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมด
ซึ่งรวมถึงเรื่องการอนุมัติของรัฐสภา ภายในเวลา 6 วัน และการวิเคราะห์
ความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืนของกรีซจะเสร็จสิ้นลงภายในเวลานั้น
นอกจากนี้ อียูอาจจำเป็นต้องกำกับดูแลกรีซอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
ทางด้านนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
กล่าวว่า เขามี "ความเชื่อมั่น" ว่า องค์ประกอบทั้งหมดของข้อตกลงหนี้กรีซ
จะเป็นไปด้วยดี และส่งสัญญาณว่าอีซีบีอาจจะให้ความช่วยเหลือในทางอ้อม
แก่กรีซโดยไม่เป็นการละเมิดสนธิสัญญาที่ห้ามอีซีบีจากการให้เงินช่วยเหลือ
รัฐบาลต่างๆ
รัฐบาลกรีซได้เรียกร้องให้อีซีบีสละสิทธิในผลกำไรที่ได้รับจากการ
ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ โดยมาตรการนี้อาจช่วยระดมทุนให้กรีซได้ไม่ต่ำกว่า
1.2 หมื่นล้านยูโร
สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบี ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก
23 ราย ได้หารือกันเกี่ยวกับประเด็นนี้เมื่อวานนี้ โดยนายดรากีส่งสัญญาณว่า
มีทางเป็นไปได้ในการทำเช่นนั้น แต่ตัดความเป็นไปได้ที่อีซีบีจะแบกรับผลขาดทุน
ที่จะเกิดขึ้น
นายดรากีส่งสัญญาณว่าอีซีบีอาจจะโอนผลกำไรที่ได้รับจากการถือครอง
พันธบัตรกรีซไปให้แก่รัฐบาลประเทศต่างๆ โดยเขากล่าวว่า "ถ้าหากอีซีบีกระจาย
ผลกำไรบางส่วนไปให้แก่ประเทศสมาชิกของอีซีบีโดยเป็นส่วนหนึ่งของทุนหลัก
การกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการให้ทุนสนับสนุนทางการเงิน"
มาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซจะนำมาใช้ในครั้งนี้จะส่งผลให้มาตรฐาน
การครองชีพของชาวกรีซจำนวนมากตกต่ำลงอย่างรุนแรง โดยนายยานนิส คูทซูคอส
รมช.แรงงานกรีซ ประกาศลาออกจากตำแหน่งอันเนื่องจากมาตรการปฏิรูปดังกล่าว
โดยเขากล่าวว่า มาตรการนี้ "จะสร้างความยากลำบากให้แก่คนทำงาน"
สหภาพแรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่งของกรีซประกาศผละงานประท้วงเป็นเวลา
48 ชั่วโมงในวันนี้และวันพรุ่งนี้เพื่อต่อต้านมาตรการปฏิรูป
นายพานอส เบกลิทิส โฆษกพรรค PASOK หรือพรรคสังคมนิยมของกรีซ กล่าวว่า
จะมีการปรับลดค่าแรงขั้นต่ำลง 22 %
ก่อนหน้านี้ผู้นำทางการเมืองของกรีซไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการปรับลด
เงินบำนาญ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวถามเจ้าหน้าที่รัฐบาลกรีซว่า ความขัดแย้งดังกล่าว
ได้รับการคลี่คลายอย่างไร เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ตอบว่า "จะมีการปรับลดงบรายจ่ายของ
ภาครัฐในส่วนอื่นๆ และเราจะพิจารณาว่าเราจะทำให้การปรับลดเงินบำนาญอยู่ในระดับ
ที่น้อยที่สุดได้ด้วยวิธีการใด"
นายอันโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรคนิว เดโมเครซี ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคร่วม
รัฐบาลกรีซ กล่าวปกป้องการที่พรรคการเมืองกรีซไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัด
อย่างเข้มงวด โดยถ้อยแถลงของเขาอาจสร้างความกังวลให้แก่ประเทศอื่นๆในยุโรป
ในเรื่องที่ว่า เขาจะปฏิบัติตามโครงการที่ตกลงกันไว้หรือไม่
นายซามาราสกล่าวว่า "เมื่อประเทศของคุณตกต่ำลงและเกิดความขัดแย้ง
ทางสังคม วิธีการแก้ไขวิกฤตการณ์เพียงวิธีเดียวก็คือการทำให้อัตราการว่างงาน
เพิ่มสูงขึ้นไปอีก และทำให้เศรษฐกิจถดถอยต่อไปอีกสองปีเช่นนั้นหรือ"
"เราควรจะแสดงให้ชาวยุโรปได้เห็นว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกรีซจะลุกลาม
ออกไปอย่างรวดเร็วสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป ถ้าหากเราไม่แก้ไขนโยบายในการรัดเข็มขัด
อย่างไม่มีขอบเขต" นายซามาราสกล่าว
อัตราการว่างงานในกรีซพุ่งขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ 20.9 % ในเดือนพ.ย.
ขณะที่อัตราการว่างงานในประชากรวัยหนุ่มสาวอยู่สูงถึง 48 %--จบ--
บรัสเซลส์/เอเธนส์--10 ก.พ.--รอยเตอร์
ผู้นำทางการเมืองของกรีซกล่าวว่า พวกเขาสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ
การปฏิรูปเศรษฐกิจที่จำเป็นเพื่อแลกกับมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบ 2 ของสหภาพ
ยุโรป (อียู) แล้ว แต่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนเรียกร้องให้กรีซดำเนินมาตรการเพิ่มเติม
และให้รัฐสภากรีซอนุมัติมาตรการปฏิรูปดังกล่าว ก่อนที่ยูโรโซนจะให้ความช่วยเหลือ
แก่กรีซ
ทั้งนี้ สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
รู้สึกผิดหวังต่อรัฐบาลกรีซที่เคยทำผิดสัญญามาแล้วหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา และ
ผิดหวังกับการที่ผู้นำทางการเมืองของกรีซไม่สามารถตกลงกันได้ในช่วงหลายสัปดาห์
ที่ผ่านมาในเรื่องเงื่อนไขของมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินวงเงิน 1.30
แสนล้านยูโร (1.72 แสนล้านดอลลาร์) ถึงแม้กรีซใกล้ที่จะผิดนัดชำระหนี้
รัฐมนตรีคลังของประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศประชุมกันที่กรุง
บรัสเซลส์เมื่อวานนี้ และกล่าวเตือนว่ายูโรโซนจะยังไม่มีการอนุมัติมาตรการ
ช่วยเหลือกรีซในทันที โดยรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องพิสูจน์ตนเองก่อน
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป)
กำหนดเงื่อนไข 3 ประการสำหรับกรีซ โดยประการแรกนั้น รัฐสภากรีซจำเป็น
ต้องให้สัตยาบันต่อมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจในการประชุมรัฐสภาวันอาทิตย์นี้
ส่วนประการที่สองนั้น กรีซจำเป็นต้องกำหนดมาตรการปรับลดงบรายจ่ายอีก
325 ล้านยูโรภายในวันพุธที่ 15 ก.พ. และหลังจากนั้นรัฐมนตรีคลังยูโรโซน
จะประชุมกันอีกครั้ง
"ส่วนเงื่อนไขประการที่สามก็คือว่า เราจำเป็นต้องได้รับการรับประกัน
ทางการเมืองอย่างหนักแน่นจากผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลกรีซว่าจะปฏิบัติตามมาตรการ
ปฏิรูป โดยกรีซจำเป็นต้องทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ก่อนที่เราจะสามารถตัดสินใจ"
นายยุงเกอร์กล่าว
"หากจะกล่าวอย่างสั้นๆก็คือว่า จะไม่มีการจ่ายเงินก่อนการปฏิบัติตามสิ่งนี้"
นายเจอร์รี ไรซ์ โฆษกไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า การเจรจาจะยังคงดำเนิน
ต่อไปเพื่อกำหนดรายละเอียดให้แล้วเสร็จ โดยถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่า ยังไม่มีการสรุป
ข้อตกลงในขณะนี้ นอกจากนี้ นายไรซ์ยังกล่าวเสริมว่า นางคริสติน ลาการ์ด
ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ ต้องการการรับประกันว่า กรีซจะปฏิบัติตามนโยบาย
ที่ตกลงกันไว้ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นเช่นใดก็ตาม
ไอเอ็มเอฟระบุว่า สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
ของกรีซจำเป็นต้องปรับลดลงสู่ 120 % ภายในปี 2020 แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า
มาตรการที่รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องปฏิบัติตามจะสามารถทำให้ตัวเลขหนี้สินปรับลดลง
สู่ระดับดังกล่าวได้หรือไม่
กรีซกำลังจะจัดการเลือกตั้งในช่วงราวเดือนเม.ย. ดังนั้นผู้นำพรรคการเมือง
ของกรีซจึงไม่ต้องการยอมรับเงื่อนไขที่เข้มงวดจากกลุ่มผู้ให้เงินช่วยเหลือ เพราะการ
ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวจะสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนชาวกรีซ
นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซ กล่าวหลังการประชุมที่กรุง
บรัสเซลส์ว่า กรีซเผชิญกับทางเลือกว่าจะอยู่ในยูโรโซนต่อไปหรือว่าจะถอนตัวออก
จากยูโรโซน
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า "จนกว่าจะถึงการประชุมยูโรกรุ๊ปครั้งถัดไป
ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าจะมีขึ้นในวันพุธหน้า ประเทศของเราและประชาชนของเรา
ควรจะคิดถึงทางเลือกทางกลยุทธ์ขั้นสุดท้ายและตัดสินใจเลือก"
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า "ถ้าหากเรามองว่าอนาคตของประเทศ
ของเราจะอยู่ภายในยูโรโซน หรืออยู่ภายในยุโรป เราก็ควรจะทำในสิ่งที่
เราจำเป็นต้องทำเพื่อให้มีการอนุมัติโครงการนี้ และเพื่อให้มีการสรุปเรื่อง
PSI (การยอมรับผลขาดทุนสำหรับเอกชนผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ)
ได้ทันเวลาก่อนที่พันธบัตรจำนวนมากจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมี.ค."
ทั้งนี้ กรีซมีกำหนดจะต้องไถ่ถอนพันธบัตรวงเงิน 1.45 หมื่นล้านยูโรในวันที่
20 มี.ค.
รัฐบาลกรีซเรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาลสนับสนุนข้อตกลงปฏิรูป
เศรษฐกิจเมื่อเข้าสู่รัฐสภา โดยนายพานเทลิส แคปซิส โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า
"ขั้นตอนแรกคือการที่รัฐสภากรีซอนุมัติข้อตกลงนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพรรค
การเมืองต่างๆมีภาระผูกพันในการทำตามเป้าหมายและปฏิบัติตามนโยบาย
ในโครงการเศรษฐกิจใหม่ นี่คือช่วงเวลาที่เราทุกคนจะต้องทำตามความ
รับผิดชอบ เราต้องการการดำเนินงาน ไม่ใช่แค่คำพูด"
นายเวนิเซลอสกล่าวว่า รัฐบาลกรีซได้ทำร่างข้อตกลงกับเจ้าหนี้เอกชน
แล้วในเรื่องการสว็อปพันธบัตร โดยเจ้าหนี้เอกชนจะปรับลดมูลค่าการถือครอง
พันธบัตรกรีซลง 70 % ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สินของรัฐบาลกรีซที่ระดับ 3.50 แสนล้าน
ยูโร ลดลงราว 1 แสนล้านยูโร
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของอียู กล่าวว่า
"การจัดทำร่างข้อตกลงเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อปรับลดภาระหนี้ของ
กรีซได้เสร็จสิ้นลงในทางปฏิบัติแล้ว โดยผมคาดว่าข้อตกลงนี้จะได้รับการอนุมัติ
อย่างเป็นทางการในฐานะส่วนหนึ่งของมาตรการทั้งหมดในสัปดาห์หน้า"
นายเรห์นกล่าวว่า รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมด
ซึ่งรวมถึงเรื่องการอนุมัติของรัฐสภา ภายในเวลา 6 วัน และการวิเคราะห์
ความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืนของกรีซจะเสร็จสิ้นลงภายในเวลานั้น
นอกจากนี้ อียูอาจจำเป็นต้องกำกับดูแลกรีซอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
ทางด้านนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
กล่าวว่า เขามี "ความเชื่อมั่น" ว่า องค์ประกอบทั้งหมดของข้อตกลงหนี้กรีซ
จะเป็นไปด้วยดี และส่งสัญญาณว่าอีซีบีอาจจะให้ความช่วยเหลือในทางอ้อม
แก่กรีซโดยไม่เป็นการละเมิดสนธิสัญญาที่ห้ามอีซีบีจากการให้เงินช่วยเหลือ
รัฐบาลต่างๆ
รัฐบาลกรีซได้เรียกร้องให้อีซีบีสละสิทธิในผลกำไรที่ได้รับจากการ
ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ โดยมาตรการนี้อาจช่วยระดมทุนให้กรีซได้ไม่ต่ำกว่า
1.2 หมื่นล้านยูโร
สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบี ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก
23 ราย ได้หารือกันเกี่ยวกับประเด็นนี้เมื่อวานนี้ โดยนายดรากีส่งสัญญาณว่า
มีทางเป็นไปได้ในการทำเช่นนั้น แต่ตัดความเป็นไปได้ที่อีซีบีจะแบกรับผลขาดทุน
ที่จะเกิดขึ้น
นายดรากีส่งสัญญาณว่าอีซีบีอาจจะโอนผลกำไรที่ได้รับจากการถือครอง
พันธบัตรกรีซไปให้แก่รัฐบาลประเทศต่างๆ โดยเขากล่าวว่า "ถ้าหากอีซีบีกระจาย
ผลกำไรบางส่วนไปให้แก่ประเทศสมาชิกของอีซีบีโดยเป็นส่วนหนึ่งของทุนหลัก
การกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการให้ทุนสนับสนุนทางการเงิน"
มาตรการปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซจะนำมาใช้ในครั้งนี้จะส่งผลให้มาตรฐาน
การครองชีพของชาวกรีซจำนวนมากตกต่ำลงอย่างรุนแรง โดยนายยานนิส คูทซูคอส
รมช.แรงงานกรีซ ประกาศลาออกจากตำแหน่งอันเนื่องจากมาตรการปฏิรูปดังกล่าว
โดยเขากล่าวว่า มาตรการนี้ "จะสร้างความยากลำบากให้แก่คนทำงาน"
สหภาพแรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่งของกรีซประกาศผละงานประท้วงเป็นเวลา
48 ชั่วโมงในวันนี้และวันพรุ่งนี้เพื่อต่อต้านมาตรการปฏิรูป
นายพานอส เบกลิทิส โฆษกพรรค PASOK หรือพรรคสังคมนิยมของกรีซ กล่าวว่า
จะมีการปรับลดค่าแรงขั้นต่ำลง 22 %
ก่อนหน้านี้ผู้นำทางการเมืองของกรีซไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการปรับลด
เงินบำนาญ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวถามเจ้าหน้าที่รัฐบาลกรีซว่า ความขัดแย้งดังกล่าว
ได้รับการคลี่คลายอย่างไร เจ้าหน้าที่รัฐบาลได้ตอบว่า "จะมีการปรับลดงบรายจ่ายของ
ภาครัฐในส่วนอื่นๆ และเราจะพิจารณาว่าเราจะทำให้การปรับลดเงินบำนาญอยู่ในระดับ
ที่น้อยที่สุดได้ด้วยวิธีการใด"
นายอันโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรคนิว เดโมเครซี ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคร่วม
รัฐบาลกรีซ กล่าวปกป้องการที่พรรคการเมืองกรีซไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัด
อย่างเข้มงวด โดยถ้อยแถลงของเขาอาจสร้างความกังวลให้แก่ประเทศอื่นๆในยุโรป
ในเรื่องที่ว่า เขาจะปฏิบัติตามโครงการที่ตกลงกันไว้หรือไม่
นายซามาราสกล่าวว่า "เมื่อประเทศของคุณตกต่ำลงและเกิดความขัดแย้ง
ทางสังคม วิธีการแก้ไขวิกฤตการณ์เพียงวิธีเดียวก็คือการทำให้อัตราการว่างงาน
เพิ่มสูงขึ้นไปอีก และทำให้เศรษฐกิจถดถอยต่อไปอีกสองปีเช่นนั้นหรือ"
"เราควรจะแสดงให้ชาวยุโรปได้เห็นว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกรีซจะลุกลาม
ออกไปอย่างรวดเร็วสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป ถ้าหากเราไม่แก้ไขนโยบายในการรัดเข็มขัด
อย่างไม่มีขอบเขต" นายซามาราสกล่าว
อัตราการว่างงานในกรีซพุ่งขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ 20.9 % ในเดือนพ.ย.
ขณะที่อัตราการว่างงานในประชากรวัยหนุ่มสาวอยู่สูงถึง 48 %--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 136
EUROPE:ธ.กลางยุโรปส่งสัญญาณช่วยกรีซทางอ้อม ขณะเล็งคืนกำไรจากการถือบอนด์
แฟรงค์เฟิร์ต--10 ก.พ.--รอยเตอร์
นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณ
เมื่อวานนี้ว่า อีซีบีอาจจะให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลกรีซในทางอ้อม หลังจาก
นักการเมืองกรีซลงนามในมาตรการรัดเข็มขัดเมื่อวานนี้
กรีซได้เรียกร้องให้อีซีบีสละสิทธิในผลกำไรที่ได้รับจากการถือครอง
พันธบัตรรัฐบาลกรีซในช่วงที่ผ่านมา โดยมาตรการนี้อาจช่วยให้กรีซระดมทุน
ได้ไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านยูโร ซึ่งจะช่วยอุดช่องโหว่ทางการระดมทุนของกรีซได้
นายดรากีกล่าวว่า กรีซใกล้จะบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้เอกชนในเรื่อง
การปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซแล้ว โดยกรีซตั้งเป้าที่จะปรับลดหนี้สินลงจาก
ระดับ 160 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลงสู่ 120 % ของ
จีดีพีภายในปี 2020 โดยผ่านทางมาตรการรัดเข็มขัด, การปรับลดมูลค่าพันธบัตร
กรีซที่ภาคเอกชนถือครอง และการรับความช่วยเหลือจากอีซีบี
หลังจากอีซีบีประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 1.0 % เมื่อวานนี้ นายดรากีได้กล่าวในการแถลงข่าวว่า อีซีบีอาจจะโอน
ผลกำไรที่ได้รับจากพันธบัตรกรีซไปให้แก่ประเทศสมาชิกยูโรโซน ซึ่งหลังจากนั้น
ประเทศสมาชิกยูโรโซนก็จะสามารถโอนเงินดังกล่าวไปให้แก่กรีซได้ ขณะที่อีซีบี
ไม่ได้รับอนุญาตให้จ่ายเงินอุดหนุนรัฐบาลประเทศต่างๆโดยตรง
นายดรากีกล่าวว่า "ถ้าหากอีซีบีมอบเงินให้แก่รัฐบาลประเทศต่างๆ
การกระทำดังกล่าวก็ถือเป็นการให้ทุนสนับสนุนทางการเงิน แต่ถ้าหากอีซีบี
กระจายผลกำไรบางส่วนไปให้แก่ประเทศสมาชิกในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ
capital key การกระทำนี้ก็ไม่ถือเป็นการให้ทุนสนับสนุนทางการเงิน"
คำว่า capital key ในที่นี้หมายถึงมาตรวัดของอีซีบีสำหรับ
ส่วนแบ่งของประเทศสมาชิกในเงินทุนของอีซีบี โดยตั้งอยู่บนขนาดเศรษฐกิจ
และจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ
หลังจากอีซีบีกระจายผลกำไรไปให้แก่ประเทศสมาชิกแล้ว
ประเทศสมาชิกยูโรโซนก็จะตัดสินใจว่าจะโอนผลกำไรดังกล่าวไปให้แก่
กรีซหรือไม่
อีซีบีได้ใช้เงินราว 3.8 หมื่นล้านยูโรในการเข้าซื้อพันธบัตร
รัฐบาลกรีซในช่วงที่ผ่านมา โดยซื้อในราคาส่วนลดจากราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว
ที่ราว 5 หมื่นล้านยูโร นอกจากนี้ อีซีบียังได้รับดอกเบี้ยจากพันธบัตรกรีซ
บางส่วนด้วย
นายดรากียังกล่าวว่า อีซีบียังคงมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน
เผชิญ "ความเสี่ยงช่วงขาลง" แต่เขาตัดคำว่า "อย่างมาก" ออกจากการ
บรรยายถึงความเสี่ยงดังกล่าว และถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่า มีโอกาสน้อยลงที่อีซีบี
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.
นายคาร์สเตน เบรสกี นักเศรษฐศาสตร์ของ ING กล่าวว่า
การปรับเปลี่ยนถ้อยคำในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า "แนวโน้มในการผ่อนคลาย
ทางการเงินได้ลดลงเล็กน้อย"
ผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่จัดทำขึ้นหลังการประชุมอีซีบีเมื่อวานนี้
แสดงให้เห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอีซีบีจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.
และอาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมตลอดทั้งปีนี้
คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 23 ราย
ไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งในเดือนนี้และในเดือนมี.ค.
นายดรากีกล่าวว่า "เราไม่ได้หารือกันเรื่องการปรับเปลี่ยนอัตรา
ดอกเบี้ยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยผลสำรวจที่ออกมายืนยันว่า มีสัญญาณ
ชั่วคราวบางประการที่บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับต่ำอย่างมีเสถียร
ภาพในช่วงเข้าสู่ปีนี้"
ผลสำรวจทางธุรกิจบางฉบับที่ออกมาในปีนี้ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่า
เศรษฐกิจยูโรโซนอาจกระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ดี นายดรากีกล่าวว่าสัญญาณเหล่านี้
ยังไม่มีความแน่นอน และถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่าอีซีบีอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ
ต่ำกว่า 1.0 % ในอนาคต ซึ่งจะถือเป็นการทำสถิติต่ำสุดครั้งใหม่
นักวิเคราะห์กล่าวว่าอีซีบีจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 8 มี.ค.
หลังจากที่เพิ่งดำเนินมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องครั้งใหญ่ในวันที่ 29 ก.พ. ดังนั้น
อีซีบีจึงมีแนวโน้มที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 8 มี.ค.เพื่อรอดูสถานการณ์ต่อไป
ก่อน
อีซีบีได้ปล่อยเงินกู้ระยะ 3 ปีเป็นจำนวนเงิน 4.89 แสนล้านยูโร
ในเดือนธ.ค. และจะปล่อยกู้แบบนี้อีกครั้งในวันที่ 29 ก.พ. โดยนายดรากี
ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะมีผู้ขอกู้ในปริมาณใกล้เคียงกันในเดือนนี้
นายฟรานเซสโก ปาปาเดีย เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของอีซีบี
กล่าวว่า ความกังวลเกี่ยวกับ สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ได้เบาบาง
ไปเกือบหมดแล้ว และเขาต้องการจะประกาศว่า 'ภารกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว'"
--จบ--
แฟรงค์เฟิร์ต--10 ก.พ.--รอยเตอร์
นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณ
เมื่อวานนี้ว่า อีซีบีอาจจะให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลกรีซในทางอ้อม หลังจาก
นักการเมืองกรีซลงนามในมาตรการรัดเข็มขัดเมื่อวานนี้
กรีซได้เรียกร้องให้อีซีบีสละสิทธิในผลกำไรที่ได้รับจากการถือครอง
พันธบัตรรัฐบาลกรีซในช่วงที่ผ่านมา โดยมาตรการนี้อาจช่วยให้กรีซระดมทุน
ได้ไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านยูโร ซึ่งจะช่วยอุดช่องโหว่ทางการระดมทุนของกรีซได้
นายดรากีกล่าวว่า กรีซใกล้จะบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้เอกชนในเรื่อง
การปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซแล้ว โดยกรีซตั้งเป้าที่จะปรับลดหนี้สินลงจาก
ระดับ 160 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลงสู่ 120 % ของ
จีดีพีภายในปี 2020 โดยผ่านทางมาตรการรัดเข็มขัด, การปรับลดมูลค่าพันธบัตร
กรีซที่ภาคเอกชนถือครอง และการรับความช่วยเหลือจากอีซีบี
หลังจากอีซีบีประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ที่ 1.0 % เมื่อวานนี้ นายดรากีได้กล่าวในการแถลงข่าวว่า อีซีบีอาจจะโอน
ผลกำไรที่ได้รับจากพันธบัตรกรีซไปให้แก่ประเทศสมาชิกยูโรโซน ซึ่งหลังจากนั้น
ประเทศสมาชิกยูโรโซนก็จะสามารถโอนเงินดังกล่าวไปให้แก่กรีซได้ ขณะที่อีซีบี
ไม่ได้รับอนุญาตให้จ่ายเงินอุดหนุนรัฐบาลประเทศต่างๆโดยตรง
นายดรากีกล่าวว่า "ถ้าหากอีซีบีมอบเงินให้แก่รัฐบาลประเทศต่างๆ
การกระทำดังกล่าวก็ถือเป็นการให้ทุนสนับสนุนทางการเงิน แต่ถ้าหากอีซีบี
กระจายผลกำไรบางส่วนไปให้แก่ประเทศสมาชิกในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ
capital key การกระทำนี้ก็ไม่ถือเป็นการให้ทุนสนับสนุนทางการเงิน"
คำว่า capital key ในที่นี้หมายถึงมาตรวัดของอีซีบีสำหรับ
ส่วนแบ่งของประเทศสมาชิกในเงินทุนของอีซีบี โดยตั้งอยู่บนขนาดเศรษฐกิจ
และจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ
หลังจากอีซีบีกระจายผลกำไรไปให้แก่ประเทศสมาชิกแล้ว
ประเทศสมาชิกยูโรโซนก็จะตัดสินใจว่าจะโอนผลกำไรดังกล่าวไปให้แก่
กรีซหรือไม่
อีซีบีได้ใช้เงินราว 3.8 หมื่นล้านยูโรในการเข้าซื้อพันธบัตร
รัฐบาลกรีซในช่วงที่ผ่านมา โดยซื้อในราคาส่วนลดจากราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว
ที่ราว 5 หมื่นล้านยูโร นอกจากนี้ อีซีบียังได้รับดอกเบี้ยจากพันธบัตรกรีซ
บางส่วนด้วย
นายดรากียังกล่าวว่า อีซีบียังคงมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน
เผชิญ "ความเสี่ยงช่วงขาลง" แต่เขาตัดคำว่า "อย่างมาก" ออกจากการ
บรรยายถึงความเสี่ยงดังกล่าว และถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่า มีโอกาสน้อยลงที่อีซีบี
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.
นายคาร์สเตน เบรสกี นักเศรษฐศาสตร์ของ ING กล่าวว่า
การปรับเปลี่ยนถ้อยคำในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า "แนวโน้มในการผ่อนคลาย
ทางการเงินได้ลดลงเล็กน้อย"
ผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่จัดทำขึ้นหลังการประชุมอีซีบีเมื่อวานนี้
แสดงให้เห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอีซีบีจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.
และอาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมตลอดทั้งปีนี้
คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 23 ราย
ไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งในเดือนนี้และในเดือนมี.ค.
นายดรากีกล่าวว่า "เราไม่ได้หารือกันเรื่องการปรับเปลี่ยนอัตรา
ดอกเบี้ยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยผลสำรวจที่ออกมายืนยันว่า มีสัญญาณ
ชั่วคราวบางประการที่บ่งชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับต่ำอย่างมีเสถียร
ภาพในช่วงเข้าสู่ปีนี้"
ผลสำรวจทางธุรกิจบางฉบับที่ออกมาในปีนี้ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่า
เศรษฐกิจยูโรโซนอาจกระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ดี นายดรากีกล่าวว่าสัญญาณเหล่านี้
ยังไม่มีความแน่นอน และถ้อยแถลงนี้บ่งชี้ว่าอีซีบีอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ
ต่ำกว่า 1.0 % ในอนาคต ซึ่งจะถือเป็นการทำสถิติต่ำสุดครั้งใหม่
นักวิเคราะห์กล่าวว่าอีซีบีจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 8 มี.ค.
หลังจากที่เพิ่งดำเนินมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องครั้งใหญ่ในวันที่ 29 ก.พ. ดังนั้น
อีซีบีจึงมีแนวโน้มที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 8 มี.ค.เพื่อรอดูสถานการณ์ต่อไป
ก่อน
อีซีบีได้ปล่อยเงินกู้ระยะ 3 ปีเป็นจำนวนเงิน 4.89 แสนล้านยูโร
ในเดือนธ.ค. และจะปล่อยกู้แบบนี้อีกครั้งในวันที่ 29 ก.พ. โดยนายดรากี
ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะมีผู้ขอกู้ในปริมาณใกล้เคียงกันในเดือนนี้
นายฟรานเซสโก ปาปาเดีย เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของอีซีบี
กล่าวว่า ความกังวลเกี่ยวกับ สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ได้เบาบาง
ไปเกือบหมดแล้ว และเขาต้องการจะประกาศว่า 'ภารกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว'"
--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 137
GREECE:จับตาอียูพิจารณา 3 เงื่อนไขชี้ชะตาเงินกู้กรีซ 1.30 แสนล้านยูโรพุธนี้
เอเธนส์--13 ก.พ.--รอยเตอร์
รัฐสภากรีซให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายมาตรการรัดเข็มขัดแล้วในวันนี้
เพื่อแลกกับความช่วยเหลือรอบ 2 จากสหภาพยุโรป (อียู)/กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) วงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลาย
ทั้งนี้ การเห็นชอบของรัฐสภาต่อมาตรการรัดเข็มขัดนี้ ถือเป็น 1 ใน
เงื่อนไข 3 ข้อที่กลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) กำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการ
อนุมัติเงินช่วยเหลือครั้งใหม่ต่อกรีซ ขณะที่เงื่อนไขที่ 2 และ 3 คือ กรีซจำเป็น
ต้องกำหนดมาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายลงอีก 325 ล้านยูโร และผู้นำ
พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องให้การรับประกันว่าจะปฏิบัติตามมาตรการปฏิรูป
อียูจะประชุมกันในวันพุธนี้เพื่อหารือว่าจะมีการอนุมัติความช่วยเหลือรอบ 2
วงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรให้แก่กรีซหรือไม่ ขณะที่กรีซต้องการเงินดังกล่าวก่อนถึง
กำหนดไถ่ถอนพันธบัตรมูลค่า 1.45 หมื่นล้านยูโรในวันที่ 20 มี.ค.นี้
สมาชิกสภานิติบัญญัติ 199 จาก 300 คนลงคะแนนเสียงเห็นชอบร่างกฏหมาย
รัดเข็มขัดในเช้าวันนี้ ที่กำหนดให้มีการลดการจ้างงาน, ค่าจ้าง และเงินบำเหน็จบำนาญ
ลงอย่างมาก ขณะที่ 43 คนจากพรรคสังคมนิยมและพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรคร่วม
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ลงมติคัดค้าน ทำให้พวกเขาถูกขับออกจาก
พรรคในทันที
ร่างกฎหมายดังกล่าวระบุถึงการปรับลดงบประมาณพิเศษวงเงิน 3.3 พันล้าน
ยูโร (4.35 พันล้านดอลลาร์) สำหรับปีนี้
นอกจากนี้ ยังระบุถึงการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเพื่อผ่อนคลายภาระหนี้ของกรีซ
ลงด้วย โดยจะมีการปรับลดมูลค่าพันธบัตรกรีซที่นักลงทุนเอกชนถือครองอยู่ลง 70%
หากร่างกฎหมายนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา กรีซก็จะไม่สามารถ
ยื่นข้อเสนอเรื่องการปรับลดหนี้ให้แก่เอกชนผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซได้ทันกำหนด
เส้นตายในวันศุกร์นี้--จบ--
เอเธนส์--13 ก.พ.--รอยเตอร์
รัฐสภากรีซให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายมาตรการรัดเข็มขัดแล้วในวันนี้
เพื่อแลกกับความช่วยเหลือรอบ 2 จากสหภาพยุโรป (อียู)/กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) วงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และหลีกเลี่ยงภาวะล้มละลาย
ทั้งนี้ การเห็นชอบของรัฐสภาต่อมาตรการรัดเข็มขัดนี้ ถือเป็น 1 ใน
เงื่อนไข 3 ข้อที่กลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) กำหนดขึ้นก่อนที่จะมีการ
อนุมัติเงินช่วยเหลือครั้งใหม่ต่อกรีซ ขณะที่เงื่อนไขที่ 2 และ 3 คือ กรีซจำเป็น
ต้องกำหนดมาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายลงอีก 325 ล้านยูโร และผู้นำ
พรรคร่วมรัฐบาลจะต้องให้การรับประกันว่าจะปฏิบัติตามมาตรการปฏิรูป
อียูจะประชุมกันในวันพุธนี้เพื่อหารือว่าจะมีการอนุมัติความช่วยเหลือรอบ 2
วงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรให้แก่กรีซหรือไม่ ขณะที่กรีซต้องการเงินดังกล่าวก่อนถึง
กำหนดไถ่ถอนพันธบัตรมูลค่า 1.45 หมื่นล้านยูโรในวันที่ 20 มี.ค.นี้
สมาชิกสภานิติบัญญัติ 199 จาก 300 คนลงคะแนนเสียงเห็นชอบร่างกฏหมาย
รัดเข็มขัดในเช้าวันนี้ ที่กำหนดให้มีการลดการจ้างงาน, ค่าจ้าง และเงินบำเหน็จบำนาญ
ลงอย่างมาก ขณะที่ 43 คนจากพรรคสังคมนิยมและพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรคร่วม
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ลงมติคัดค้าน ทำให้พวกเขาถูกขับออกจาก
พรรคในทันที
ร่างกฎหมายดังกล่าวระบุถึงการปรับลดงบประมาณพิเศษวงเงิน 3.3 พันล้าน
ยูโร (4.35 พันล้านดอลลาร์) สำหรับปีนี้
นอกจากนี้ ยังระบุถึงการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเพื่อผ่อนคลายภาระหนี้ของกรีซ
ลงด้วย โดยจะมีการปรับลดมูลค่าพันธบัตรกรีซที่นักลงทุนเอกชนถือครองอยู่ลง 70%
หากร่างกฎหมายนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา กรีซก็จะไม่สามารถ
ยื่นข้อเสนอเรื่องการปรับลดหนี้ให้แก่เอกชนผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซได้ทันกำหนด
เส้นตายในวันศุกร์นี้--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 138
GREECE:ยูโรโซนเลื่อนให้เงินช่วยเหลือกรีซวันนี้ เหตุยังไม่คืบหน้าตามเงื่อนไข
บรัสเซลส์/เอเธนส์--15 ก.พ.--รอยเตอร์
กลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (หรือยูโรกรุ๊ป) ยกเลิกแผนการจัดการประชุม
นัดพิเศษในวันนี้แบบ face to face หรือการประชุมที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วยตนเอง
โดยระบุว่า ผู้นำพรรคการเมืองของกรีซยังไม่ได้แสดงพันธกรณีเกี่ยวกับการปฏิรูป
ประเทศตามที่ยูโรกรุ๊ปเรียกร้อง
ทั้งนี้ ในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) กำลังจะหมดความอดทนกับกรีซนั้น
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ปก็ได้ลดระดับการประชุมยูโรกรุ๊ปในวันนี้
ลงเป็นเพียงแค่การประชุมทางโทรศัพท์ แทนที่จะเป็นการประชุมแบบ face to face
ส่งผลให้ไม่มีความเป็นไปได้ที่ยูโรกรุ๊ปจะอนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
รอบ 2 สำหรับกรีซในวันนี้ ขณะที่มีกำหนดจัดการประชุมรอบปกติในวันจันทร์ที่ 20 ก.พ.
ก่อนหน้านี้ยูโรกรุ๊ปวางแผนจะจัดการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้เพื่อพิจารณา
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซ อย่างไรก็ดี นายอันโตนิส ซามาราส
ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมของกรีซ ซึ่งเป็นตัวเก็งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกรีซคนใหม่
ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาว่าจะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดตามที่อียูและกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตั้งเงื่อนไขไว้ก่อนที่จะให้เงินช่วยเหลือ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้ตั้งเงื่อนไข 3 ประการสำหรับกรีซก่อนที่จะ
มีการตัดสินใจว่าจะอนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 1.30 แสนล้านยูโร
หรือไม่ โดยกรีซจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนำมาชำระหนี้ 1.45 หมื่นล้านยูโร
เมื่อพันธบัตรกรีซครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 มี.ค. ไม่เช่นนั้นกรีซจะผิดนัดชำระหนี้
เงื่อนไขที่กลุ่มยูโรกรุ๊ปตั้งไว้นั้น ได้แก่ 1.รัฐสภากรีซต้องให้การรับรอง
มาตรการรัดเข็มขัด 2.รัฐบาลกรีซต้องชี้แจงว่า ทางรัฐบาลจะใช้วิธีการใดในการ
ตัดงบรายจ่ายลงอีก 325 ล้านยูโร (427 ล้านดอลลาร์) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ
แผนการตัดงบประมาณ 3.3 พันล้านยูโรสำหรับปีนี้ 3.ผู้นำพรรคการเมืองของกรีซ
จะต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด
สำหรับเงื่อนไขข้อที่ 1 นั้น รัฐสภากรีซได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมาย
เกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดแล้วในวันที่ 13 ก.พ. ขณะที่ยังไม่มีความคืบหน้าในเงื่อนไข
ที่ 2 และ 3 โดยคณะรัฐมนตรีกรีซยังไม่ได้กำหนดมาตรการปรับลดงบประมาณเพิ่มเติม
อีก 325 ล้านยูโร และบรรดาผู้นำพรรคการเมืองยังไม่ได้ลงนามในสัญญาเป็นลายลักษณ์
อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด--จบ--
บรัสเซลส์/เอเธนส์--15 ก.พ.--รอยเตอร์
กลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (หรือยูโรกรุ๊ป) ยกเลิกแผนการจัดการประชุม
นัดพิเศษในวันนี้แบบ face to face หรือการประชุมที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วยตนเอง
โดยระบุว่า ผู้นำพรรคการเมืองของกรีซยังไม่ได้แสดงพันธกรณีเกี่ยวกับการปฏิรูป
ประเทศตามที่ยูโรกรุ๊ปเรียกร้อง
ทั้งนี้ ในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) กำลังจะหมดความอดทนกับกรีซนั้น
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ปก็ได้ลดระดับการประชุมยูโรกรุ๊ปในวันนี้
ลงเป็นเพียงแค่การประชุมทางโทรศัพท์ แทนที่จะเป็นการประชุมแบบ face to face
ส่งผลให้ไม่มีความเป็นไปได้ที่ยูโรกรุ๊ปจะอนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
รอบ 2 สำหรับกรีซในวันนี้ ขณะที่มีกำหนดจัดการประชุมรอบปกติในวันจันทร์ที่ 20 ก.พ.
ก่อนหน้านี้ยูโรกรุ๊ปวางแผนจะจัดการประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้เพื่อพิจารณา
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซ อย่างไรก็ดี นายอันโตนิส ซามาราส
ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมของกรีซ ซึ่งเป็นตัวเก็งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกรีซคนใหม่
ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาว่าจะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดตามที่อียูและกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตั้งเงื่อนไขไว้ก่อนที่จะให้เงินช่วยเหลือ
ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้ตั้งเงื่อนไข 3 ประการสำหรับกรีซก่อนที่จะ
มีการตัดสินใจว่าจะอนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน 1.30 แสนล้านยูโร
หรือไม่ โดยกรีซจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อนำมาชำระหนี้ 1.45 หมื่นล้านยูโร
เมื่อพันธบัตรกรีซครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 มี.ค. ไม่เช่นนั้นกรีซจะผิดนัดชำระหนี้
เงื่อนไขที่กลุ่มยูโรกรุ๊ปตั้งไว้นั้น ได้แก่ 1.รัฐสภากรีซต้องให้การรับรอง
มาตรการรัดเข็มขัด 2.รัฐบาลกรีซต้องชี้แจงว่า ทางรัฐบาลจะใช้วิธีการใดในการ
ตัดงบรายจ่ายลงอีก 325 ล้านยูโร (427 ล้านดอลลาร์) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ
แผนการตัดงบประมาณ 3.3 พันล้านยูโรสำหรับปีนี้ 3.ผู้นำพรรคการเมืองของกรีซ
จะต้องทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด
สำหรับเงื่อนไขข้อที่ 1 นั้น รัฐสภากรีซได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมาย
เกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดแล้วในวันที่ 13 ก.พ. ขณะที่ยังไม่มีความคืบหน้าในเงื่อนไข
ที่ 2 และ 3 โดยคณะรัฐมนตรีกรีซยังไม่ได้กำหนดมาตรการปรับลดงบประมาณเพิ่มเติม
อีก 325 ล้านยูโร และบรรดาผู้นำพรรคการเมืองยังไม่ได้ลงนามในสัญญาเป็นลายลักษณ์
อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 139
EUROPE:ธ.กลางยุโรปตัดสินใจคืนกำไรจากการถือบอนด์ให้รบ.ต่างๆนำไปอุ้มกรีซ
บรัสเซลส์--15 ก.พ.--รอยเตอร์
นายลุค เคิน สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลาง
ยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อีซีบีได้ตัดสินใจแล้วว่าจะนำผลกำไรที่ได้รับจากการ
ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซมาแบ่งปันให้แก่ประเทศสมาชิกยูโรโซน ซึ่งแต่ละ
ประเทศจะสามารถตัดสินใจได้เองว่าจะมอบเงินดังกล่าวให้แก่รัฐบาลกรีซหรือไม่
โดยเรื่องนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้กรีซ
ทั้งนี้ อีซีบีถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซเป็นมูลค่าราว 5 หมื่นล้านยูโร
(6.61 หมื่นล้านดอลลาร์) ในปัจจุบัน โดยเป็นผลจากโครงการให้ความช่วยเหลือ
ฉุกเฉินที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนพ.ค. 2010
อย่างไรก็ดี อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรดังกล่าวโดยใช้เงินต่ำกว่า 4 หมื่นล้าน
ยูโร ดังนั้นอีซีบีจึงมีตัวเลขกำไรทางบัญชีราว 1.0-1.5 หมื่นล้านยูโรในขณะนี้
และสามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการช่วยเหลือกรีซในทางอ้อม
อีซีบีได้รับแรงกดดันทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาให้เข้ามามีบทบาท
โดยตรงมากยิ่งขึ้นในการช่วยเหลือกรีซให้รักษาเสถียรภาพทางการเงิน
นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี กล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า ถึงแม้อีซีบี
ไม่สามารถให้เงินทุนอุดหนุนรัฐบาลประเทศต่างๆได้โดยตรง แต่อีซีบีก็สามารถ
แบ่งปันผลกำไรให้แก่ประเทศสมาชิก ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้อีซีบีสามารถ
ให้ความช่วยเหลือทางอ้อมแก่กรีซ
นายเคินกล่าวถึงเรื่องนี้ในวันจันทร์ แต่ความเห็นของเขาได้รับการ
เผยแพร่ในวันนี้ โดยนายเคินกล่าวว่าอีซีบีได้เลือกที่จะดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว
นายเคินกล่าวว่า "เราได้ตกลงกันในยูโรซิสเต็มว่า เราไม่ต้องการ
จะทำกำไรจากการทำธุรกรรมกับกรีซ และเมื่อเราแจกจ่ายผลกำไรที่ได้รับจาก
ปีก่อนๆออกไป รัฐบาลแต่ละประเทศก็จะตัดสินใจเองว่าควรมอบเงินให้กรีซใน
สัดส่วนเท่าใด"
"เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลต่างๆที่ต้องตัดสินใจ" นายเคินกล่าว
โดยเขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางเบลเยียมอีกตำแหน่ง--จบ--
บรัสเซลส์--15 ก.พ.--รอยเตอร์
นายลุค เคิน สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลาง
ยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อีซีบีได้ตัดสินใจแล้วว่าจะนำผลกำไรที่ได้รับจากการ
ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซมาแบ่งปันให้แก่ประเทศสมาชิกยูโรโซน ซึ่งแต่ละ
ประเทศจะสามารถตัดสินใจได้เองว่าจะมอบเงินดังกล่าวให้แก่รัฐบาลกรีซหรือไม่
โดยเรื่องนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงแก้ปัญหาหนี้กรีซ
ทั้งนี้ อีซีบีถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซเป็นมูลค่าราว 5 หมื่นล้านยูโร
(6.61 หมื่นล้านดอลลาร์) ในปัจจุบัน โดยเป็นผลจากโครงการให้ความช่วยเหลือ
ฉุกเฉินที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนพ.ค. 2010
อย่างไรก็ดี อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรดังกล่าวโดยใช้เงินต่ำกว่า 4 หมื่นล้าน
ยูโร ดังนั้นอีซีบีจึงมีตัวเลขกำไรทางบัญชีราว 1.0-1.5 หมื่นล้านยูโรในขณะนี้
และสามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการช่วยเหลือกรีซในทางอ้อม
อีซีบีได้รับแรงกดดันทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาให้เข้ามามีบทบาท
โดยตรงมากยิ่งขึ้นในการช่วยเหลือกรีซให้รักษาเสถียรภาพทางการเงิน
นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี กล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า ถึงแม้อีซีบี
ไม่สามารถให้เงินทุนอุดหนุนรัฐบาลประเทศต่างๆได้โดยตรง แต่อีซีบีก็สามารถ
แบ่งปันผลกำไรให้แก่ประเทศสมาชิก ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้อีซีบีสามารถ
ให้ความช่วยเหลือทางอ้อมแก่กรีซ
นายเคินกล่าวถึงเรื่องนี้ในวันจันทร์ แต่ความเห็นของเขาได้รับการ
เผยแพร่ในวันนี้ โดยนายเคินกล่าวว่าอีซีบีได้เลือกที่จะดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว
นายเคินกล่าวว่า "เราได้ตกลงกันในยูโรซิสเต็มว่า เราไม่ต้องการ
จะทำกำไรจากการทำธุรกรรมกับกรีซ และเมื่อเราแจกจ่ายผลกำไรที่ได้รับจาก
ปีก่อนๆออกไป รัฐบาลแต่ละประเทศก็จะตัดสินใจเองว่าควรมอบเงินให้กรีซใน
สัดส่วนเท่าใด"
"เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลต่างๆที่ต้องตัดสินใจ" นายเคินกล่าว
โดยเขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางเบลเยียมอีกตำแหน่ง--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 140
GREECE:เจ้าหน้าที่ยูโรโซนคาดที่ประชุมไฟเขียวเงินช่วยเหลือกรีซจันทร์หน้า
เอเธนส์/บรัสเซลส์--17 ก.พ.--รอยเตอร์
มีการคาดการณ์ในทางบวกมากยิ่งขึ้นว่า รัฐบาลกรีซได้ดำเนินการ
อย่างมากแล้วในการที่จะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 จากสหภาพ
ยุโรป (อียู)/กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หลังจากกรีซ
แจกแจงแนวทางการปรับลดงบประมาณเพิ่มเติม และผู้นำทางการเมืองลงนาม
เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรีซคาดหวังว่า รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (หรือยูโรกรุ๊ป)
จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.30
แสนล้านยูโร (1.70 แสนล้านดอลลาร์) ในวันที่ 20 ก.พ. ไม่เช่นนั้นกรีซจะ
ประสบภาวะล้มละลาย โดยรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องนำเงินช่วยเหลือดังกล่าว
มาใช้ในการชำระหนี้พันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโรในวันที่ 20 มี.ค.
เจ้าหน้าที่ยูโรโซนคนหนึ่งกล่าวว่า "เราใกล้จะบรรลุข้อตกลงแล้ว"
โดยเขาคาดหวังว่าการทำข้อตกลงจะแล้วเสร็จเมื่อรัฐมนตรีคลังยูโรโซน
ประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 20 ก.พ.
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "ข้อตกลงนี้น่าจะได้รับการอนุมัติในวันจันทร์
นอกจากว่าจะมีใครบางคนเสนอแนวคิดในการทำลายข้อตกลงนี้"--จบ--
เอเธนส์/บรัสเซลส์--17 ก.พ.--รอยเตอร์
มีการคาดการณ์ในทางบวกมากยิ่งขึ้นว่า รัฐบาลกรีซได้ดำเนินการ
อย่างมากแล้วในการที่จะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 จากสหภาพ
ยุโรป (อียู)/กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หลังจากกรีซ
แจกแจงแนวทางการปรับลดงบประมาณเพิ่มเติม และผู้นำทางการเมืองลงนาม
เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัด
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรีซคาดหวังว่า รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (หรือยูโรกรุ๊ป)
จะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.30
แสนล้านยูโร (1.70 แสนล้านดอลลาร์) ในวันที่ 20 ก.พ. ไม่เช่นนั้นกรีซจะ
ประสบภาวะล้มละลาย โดยรัฐบาลกรีซจำเป็นต้องนำเงินช่วยเหลือดังกล่าว
มาใช้ในการชำระหนี้พันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโรในวันที่ 20 มี.ค.
เจ้าหน้าที่ยูโรโซนคนหนึ่งกล่าวว่า "เราใกล้จะบรรลุข้อตกลงแล้ว"
โดยเขาคาดหวังว่าการทำข้อตกลงจะแล้วเสร็จเมื่อรัฐมนตรีคลังยูโรโซน
ประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 20 ก.พ.
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "ข้อตกลงนี้น่าจะได้รับการอนุมัติในวันจันทร์
นอกจากว่าจะมีใครบางคนเสนอแนวคิดในการทำลายข้อตกลงนี้"--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 141
> EUROPE:จีน-ญี่ปุ่นตกลงจับมือผนึกกำลังเพิ่มทุน IMF แก้วิกฤติหนี้ยุโรป
ปักกิ่ง--20 ก.พ.--รอยเตอร์
ทางการจีนและญี่ปุ่นบรรลุข้อตกลงที่จะร่วมมือกันในการขานรับข้อเรียกร้อง
ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยไอเอ็มเอฟ
ต้องการเพิ่มขนาดทุนทรัพย์ให้สูงขึ้นกว่าสองเท่าเพื่อนำไปแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน
นายจุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่นได้ประชุมกับนายหวัง ฉีซาน รองนายกรัฐมนตรี
จีน และนายซี ซูเหริน รมว.คลังจีน โดยนายอาซูมิได้กล่าวหลังการประชุมว่า จีนและ
ญี่ปุ่นพร้อมที่จะสนับสนุนไอเอ็มเอฟ
นายอาซูมิกล่าวว่า "เราคาดการณ์ว่าไอเอ็มเอฟจะร้องขอบางสิ่งจากบาง
ประเทศซึ่งรวมถึงสหรัฐ, ญี่ปุ่น และจีน และเราตกลงกันว่าญี่ปุ่นและจีนจะร่วมมือกัน
อย่างใกล้ชิด และจะตอบรับต่อไอเอ็มเอฟร่วมกัน"
นายอาซูมิกล่าวว่า จีนและญี่ปุ่นไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับขนาดเงินทุนที่เฉพาะ
เจาะจงที่จะมอบให้แก่ไอเอ็มเอฟ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่น
เต็มใจจะให้เงินจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า "แนวคิดก็คือญี่ปุ่นและจีนจะร่วมมือกันแทนที่จะ
แข่งขันกันในการดำเนินมาตรการใดๆของไอเอ็มเอฟ" และกล่าวว่าทั้งสอง
ประเทศนี้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในการแก้ไขวิกฤติ
จีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศราว 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้น
ตลาดจึงมองว่าจีนมีความสามารถทางการเงินในระดับที่มากพอที่จะช่วยเหลือบาง
ประเทศในยุโรป
ไอเอ็มเอฟต้องการเพิ่มทุนทรัพย์ราว 6 แสนล้านดอลลาร์เพื่อใช้แก้ไข
วิกฤติหนี้ยูโรโซน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ อย่างไรก็ดี ประเทศนอก
ยูโรโซนต้องการจะเห็นประเทศในยูโรโซนเพิ่มเงินในการแก้ไขปัญหา ก่อนที่
ประเทศนอกยูโรโซนจะให้สัญญาว่าจะปรับเพิ่มทุนทรัพย์ของไอเอ็มเอฟ
นายอาซูมิกล่าวต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงปักกิ่งว่า "เราได้ตกลงกันว่า ประเทศใน
ยุโรปจำเป็นต้องดำเนินการมากกว่านี้ ถึงแม้สถานการณ์ในยุโรปและกรีซกำลังดำเนิน
ไปในทิศทางที่ดี"
นอกจากนี้ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนยังรายงานว่า นายหวัง ฉีซาน
กล่าวต่อนายอาซูมิว่า จีนและญี่ปุ่นจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการชำระบัญชีการค้าและ
การลงทุนโดยใช้สกุลเงินภายในประเทศ และควรจะส่งเสริมความร่วมมือทาง
การเงินกันต่อไป
จีนกลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 1 ของญี่ปุ่น และเป็นประเทศ
ที่รองรับสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นมากที่สุดในโลก โดยสามารถก้าวขึ้นมาครองอันดับ 1
แทนที่สหรัฐ โดยองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นระบุว่า ปริมาณการค้าระหว่าง
จีนและญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 14 % ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.4491 แสนล้านดอลลาร์
ในปี 2011 โดยได้รับแรงหนุนจากยอดส่งออกของจีนสู่ญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี การค้าส่วนใหญ่ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้รับการชำระบัญชีในรูป
สกุลเงินดอลลาร์ โดยเป็นผลจากกฎเกณฑ์ทางการเงินและธรรมเนียมในตลาด
มีความพยายามที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนกับหยวน
โดยตรง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงด้านสกุลเงินและลดต้นทุนในการชำระบัญชี
โดยญี่ปุ่นวางแผนว่าจะจัดตั้งศูนย์ชำระบัญชีสกุลเงินหยวนในต่างประเทศในกรุง
โตเกียว หลังจากที่อังกฤษและสิงคโปร์ได้จัดตั้งศูนย์แบบเดียวกันนี้ไปแล้ว โดย
มีจุดประสงค์เพื่อครอบครองส่วนแบ่งในธุรกิจหยวนนอกประเทศจีน
นายอาซูมิกล่าวว่า "ในการที่เยนและหยวนจะได้รับการชำระบัญชี
โดยตรงนั้น สกุลเงินหยวนต้องมีความเป็นสากลและต้องมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้"
"เนื่องจากจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก ผมจึงคาดหวังว่า
จีนจะนำเรื่องนี้มาพิจารณา และจะเพิ่มความยืดหยุ่นในนโยบายสกุลเงินหยวน"
นายอาซูมิกล่าว--จบ--
ปักกิ่ง--20 ก.พ.--รอยเตอร์
ทางการจีนและญี่ปุ่นบรรลุข้อตกลงที่จะร่วมมือกันในการขานรับข้อเรียกร้อง
ในการเพิ่มเงินทุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยไอเอ็มเอฟ
ต้องการเพิ่มขนาดทุนทรัพย์ให้สูงขึ้นกว่าสองเท่าเพื่อนำไปแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน
นายจุน อาซูมิ รมว.คลังญี่ปุ่นได้ประชุมกับนายหวัง ฉีซาน รองนายกรัฐมนตรี
จีน และนายซี ซูเหริน รมว.คลังจีน โดยนายอาซูมิได้กล่าวหลังการประชุมว่า จีนและ
ญี่ปุ่นพร้อมที่จะสนับสนุนไอเอ็มเอฟ
นายอาซูมิกล่าวว่า "เราคาดการณ์ว่าไอเอ็มเอฟจะร้องขอบางสิ่งจากบาง
ประเทศซึ่งรวมถึงสหรัฐ, ญี่ปุ่น และจีน และเราตกลงกันว่าญี่ปุ่นและจีนจะร่วมมือกัน
อย่างใกล้ชิด และจะตอบรับต่อไอเอ็มเอฟร่วมกัน"
นายอาซูมิกล่าวว่า จีนและญี่ปุ่นไม่ได้หารือกันเกี่ยวกับขนาดเงินทุนที่เฉพาะ
เจาะจงที่จะมอบให้แก่ไอเอ็มเอฟ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่น
เต็มใจจะให้เงินจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่า "แนวคิดก็คือญี่ปุ่นและจีนจะร่วมมือกันแทนที่จะ
แข่งขันกันในการดำเนินมาตรการใดๆของไอเอ็มเอฟ" และกล่าวว่าทั้งสอง
ประเทศนี้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในการแก้ไขวิกฤติ
จีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศราว 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้น
ตลาดจึงมองว่าจีนมีความสามารถทางการเงินในระดับที่มากพอที่จะช่วยเหลือบาง
ประเทศในยุโรป
ไอเอ็มเอฟต้องการเพิ่มทุนทรัพย์ราว 6 แสนล้านดอลลาร์เพื่อใช้แก้ไข
วิกฤติหนี้ยูโรโซน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ อย่างไรก็ดี ประเทศนอก
ยูโรโซนต้องการจะเห็นประเทศในยูโรโซนเพิ่มเงินในการแก้ไขปัญหา ก่อนที่
ประเทศนอกยูโรโซนจะให้สัญญาว่าจะปรับเพิ่มทุนทรัพย์ของไอเอ็มเอฟ
นายอาซูมิกล่าวต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงปักกิ่งว่า "เราได้ตกลงกันว่า ประเทศใน
ยุโรปจำเป็นต้องดำเนินการมากกว่านี้ ถึงแม้สถานการณ์ในยุโรปและกรีซกำลังดำเนิน
ไปในทิศทางที่ดี"
นอกจากนี้ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนยังรายงานว่า นายหวัง ฉีซาน
กล่าวต่อนายอาซูมิว่า จีนและญี่ปุ่นจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการชำระบัญชีการค้าและ
การลงทุนโดยใช้สกุลเงินภายในประเทศ และควรจะส่งเสริมความร่วมมือทาง
การเงินกันต่อไป
จีนกลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 1 ของญี่ปุ่น และเป็นประเทศ
ที่รองรับสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นมากที่สุดในโลก โดยสามารถก้าวขึ้นมาครองอันดับ 1
แทนที่สหรัฐ โดยองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นระบุว่า ปริมาณการค้าระหว่าง
จีนและญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 14 % ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.4491 แสนล้านดอลลาร์
ในปี 2011 โดยได้รับแรงหนุนจากยอดส่งออกของจีนสู่ญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี การค้าส่วนใหญ่ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นได้รับการชำระบัญชีในรูป
สกุลเงินดอลลาร์ โดยเป็นผลจากกฎเกณฑ์ทางการเงินและธรรมเนียมในตลาด
มีความพยายามที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนกับหยวน
โดยตรง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงด้านสกุลเงินและลดต้นทุนในการชำระบัญชี
โดยญี่ปุ่นวางแผนว่าจะจัดตั้งศูนย์ชำระบัญชีสกุลเงินหยวนในต่างประเทศในกรุง
โตเกียว หลังจากที่อังกฤษและสิงคโปร์ได้จัดตั้งศูนย์แบบเดียวกันนี้ไปแล้ว โดย
มีจุดประสงค์เพื่อครอบครองส่วนแบ่งในธุรกิจหยวนนอกประเทศจีน
นายอาซูมิกล่าวว่า "ในการที่เยนและหยวนจะได้รับการชำระบัญชี
โดยตรงนั้น สกุลเงินหยวนต้องมีความเป็นสากลและต้องมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้"
"เนื่องจากจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก ผมจึงคาดหวังว่า
จีนจะนำเรื่องนี้มาพิจารณา และจะเพิ่มความยืดหยุ่นในนโยบายสกุลเงินหยวน"
นายอาซูมิกล่าว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 142
*GREECE:ยูโรโซนยังเจรจาหลังประชุมมาราธอน 7 ชม. แต่ใกล้อนุมัติแผนแล้ว
บรัสเซลส์--21 ก.พ.--รอยเตอร์
การประชุมรมว.คลังยูโรโซนยังคงดำเนินไปในเวลาเช้านี้
ตามเวลาประเทศไทย หลังเริ่มการประชุมเวลา 23.00 น.เมื่อคืนนี้
โดยที่ประชุมใกล้ที่จะอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซวงเงิน
1.30 แสนล้านยูโรแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความต้องการเม็ดเงินในการ
ไถ่ถอนพันธบัตรมูลค่า 1.45 หมื่นล้านยูโรในเดือนหน้า
ทั้งนี้ หลังการเจรจายาวนานถึง 7 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ระดับสูง
ในที่ประชุมได้ระบุว่า บรรดารัฐมนตรีได้พบแนวทางที่จะลดหนี้กรีซลงสู่ระดับ
123-124% ของจีดีพีภายในปี 2020 แต่กำลังผลักดันให้มีการปรับลดหนี้
มากกว่านั้น ขณะที่ตัวแทนเจรจาสำหรับผู้ถือพันธบัตรกรีซของภาคเอกชน
ได้เสนอที่จะยอมรับผลขาดทุนมากขึ้นเพื่อช่วยลดหนี้กรีซ
การทำข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.30 แสนล้าน
ยูโรพร้อมกับเงื่อนไขที่เข้มงวด จะช่วยยุติความไม่แน่นอนในยูโรโซนที่ได้ดำเนิน
มานานหลายเดือน และช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะล้มละลาย--จบ--
บรัสเซลส์--21 ก.พ.--รอยเตอร์
การประชุมรมว.คลังยูโรโซนยังคงดำเนินไปในเวลาเช้านี้
ตามเวลาประเทศไทย หลังเริ่มการประชุมเวลา 23.00 น.เมื่อคืนนี้
โดยที่ประชุมใกล้ที่จะอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซวงเงิน
1.30 แสนล้านยูโรแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาความต้องการเม็ดเงินในการ
ไถ่ถอนพันธบัตรมูลค่า 1.45 หมื่นล้านยูโรในเดือนหน้า
ทั้งนี้ หลังการเจรจายาวนานถึง 7 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ระดับสูง
ในที่ประชุมได้ระบุว่า บรรดารัฐมนตรีได้พบแนวทางที่จะลดหนี้กรีซลงสู่ระดับ
123-124% ของจีดีพีภายในปี 2020 แต่กำลังผลักดันให้มีการปรับลดหนี้
มากกว่านั้น ขณะที่ตัวแทนเจรจาสำหรับผู้ถือพันธบัตรกรีซของภาคเอกชน
ได้เสนอที่จะยอมรับผลขาดทุนมากขึ้นเพื่อช่วยลดหนี้กรีซ
การทำข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่า 1.30 แสนล้าน
ยูโรพร้อมกับเงื่อนไขที่เข้มงวด จะช่วยยุติความไม่แน่นอนในยูโรโซนที่ได้ดำเนิน
มานานหลายเดือน และช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงจากภาวะล้มละลาย--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 143
UPDATE2/GREECE:รมว.คลังยูโรโซนบรรลุข้อตกลงอนุมัติแผนช่วยเหลือกรีซรอบ 2 แล้ว
บรัสเซลส์--21 ก.พ.--รอยเตอร์
รมว.คลังยูโรโซนบรรลุข้อตกลงในการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2
สำหรับกรีซวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปเปิดเผยว่า มาตรการช่วยเหลือในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อลดหนี้ของกรีซลงสู่ระดับ 121% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2020
"วงเงินตามมาตรการช่วยเหลือกรีซคือ 1.30 แสนล้านยูโร และสัดส่วน
หนี้ต่อจีดีพีของกรีซจะอยู่ที่ 121% โดยขณะนี้เรากำลังดำเนินการร่างแถลงการณ์"
เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจรจา กล่าวกับรอยเตอร์
เจ้าหน้าที่อีกรายยืนยันว่า การให้ความช่วยเหลือทางการเงินจะมีมูลค่า
ทั้งสิ้น 1.30 แสนล้านยูโร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหนี้ของกรีซลงจากระดับ 160%
ของจีดีพีในขณะนี้ สู่ระดับ 121% ภายในปี 2020
คาดว่านักลงทุนในภาคเอกชนที่ถือครองพันธบัตรกรีซจะแบกรับผลขาดทุน
53.5% จากมูลค่าที่ตราไว้บนพันธบัตรตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตร ซึ่งจะทำให้
หนี้ของกรีซลดลงราว 1 แสนล้านยูโร
ก่อนหน้านี้ คาดว่านักลงทุนในภาคเอกชนจะยอมรับการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์
ทางบัญชีของพันธบัตรกรีซลง 50% ซึ่งเท่ากับการขาดทุนราว 70% จากมูลค่าสุทธิ
ในปัจจุบันของพันธบัตร
โครงการแลกเปลี่ยนพันธบัตรนี้จะได้รับเงินทุนสนับสนุนบางส่วนผ่านทาง
"sweeteners" หรือเงินจูงใจที่จะจ่ายให้แก่เอกชนผู้ถือพันธบัตรกรีซ โดยเจ้าหนี้
เอกชนกลุ่มนี้จะได้รับพันธบัตรอายุ 30 ปีเพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรเก่าที่ตนเอง
ถือครองอยู่ด้วย
มาตรการนี้ถือเป็นมาตรการปล่อยกู้ฉุกเฉินรอบ 2 สำหรับกรีซ ส่วนมาตรการ
ปล่อยกู้รอบแรกนั้นมีมูลค่า 1.10 แสนล้านยูโร และมีการอนุมัติในเดือนพ.ค.2010
โดยประกอบด้วยสินเชื่อระดับทวิภาคีที่ปล่อยกู้โดยรัฐบาลยูโรโซนและกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)--จบ--
บรัสเซลส์--21 ก.พ.--รอยเตอร์
รมว.คลังยูโรโซนบรรลุข้อตกลงในการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2
สำหรับกรีซวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปเปิดเผยว่า มาตรการช่วยเหลือในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อลดหนี้ของกรีซลงสู่ระดับ 121% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2020
"วงเงินตามมาตรการช่วยเหลือกรีซคือ 1.30 แสนล้านยูโร และสัดส่วน
หนี้ต่อจีดีพีของกรีซจะอยู่ที่ 121% โดยขณะนี้เรากำลังดำเนินการร่างแถลงการณ์"
เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจรจา กล่าวกับรอยเตอร์
เจ้าหน้าที่อีกรายยืนยันว่า การให้ความช่วยเหลือทางการเงินจะมีมูลค่า
ทั้งสิ้น 1.30 แสนล้านยูโร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดหนี้ของกรีซลงจากระดับ 160%
ของจีดีพีในขณะนี้ สู่ระดับ 121% ภายในปี 2020
คาดว่านักลงทุนในภาคเอกชนที่ถือครองพันธบัตรกรีซจะแบกรับผลขาดทุน
53.5% จากมูลค่าที่ตราไว้บนพันธบัตรตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตร ซึ่งจะทำให้
หนี้ของกรีซลดลงราว 1 แสนล้านยูโร
ก่อนหน้านี้ คาดว่านักลงทุนในภาคเอกชนจะยอมรับการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์
ทางบัญชีของพันธบัตรกรีซลง 50% ซึ่งเท่ากับการขาดทุนราว 70% จากมูลค่าสุทธิ
ในปัจจุบันของพันธบัตร
โครงการแลกเปลี่ยนพันธบัตรนี้จะได้รับเงินทุนสนับสนุนบางส่วนผ่านทาง
"sweeteners" หรือเงินจูงใจที่จะจ่ายให้แก่เอกชนผู้ถือพันธบัตรกรีซ โดยเจ้าหนี้
เอกชนกลุ่มนี้จะได้รับพันธบัตรอายุ 30 ปีเพื่อแลกเปลี่ยนกับพันธบัตรเก่าที่ตนเอง
ถือครองอยู่ด้วย
มาตรการนี้ถือเป็นมาตรการปล่อยกู้ฉุกเฉินรอบ 2 สำหรับกรีซ ส่วนมาตรการ
ปล่อยกู้รอบแรกนั้นมีมูลค่า 1.10 แสนล้านยูโร และมีการอนุมัติในเดือนพ.ค.2010
โดยประกอบด้วยสินเชื่อระดับทวิภาคีที่ปล่อยกู้โดยรัฐบาลยูโรโซนและกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 144
EUROPE:จับตาพุธหน้าธ.กลางยุโรปอัดฉีดเงิน 5 แสนล้านยูโรทำ QE รอบใหม่
ลอนดอน--24 ก.พ.--รอยเตอร์
รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจปล่อยกู้
เกือบ 5 แสนล้านยูโรแก่ธนาคารพาณิชย์ในอัตราดอกเบี้ยต่ำในวันพุธที่ 29 ก.พ. โดย
ผ่านทางปฏิบัติการรีไฟแนนซ์ระยะ 3 ปี ถึงแม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าสถาบันการเงินมีสภาพ
คล่องมากพอแล้ว
รอยเตอร์สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์กว่า 60 รายในการสำรวจครั้งนี้
โดยค่ากลางของผลสำรวจระบุว่า อีซีบีอาจจัดสรรเงินราว 4.92 แสนล้านยูโร (6.476
แสนล้านดอลลาร์) ในการปล่อยกู้ระยะ 3 ปีด้วยอัตราดอกเบี้ย 1 % ในวันที่ 29 ก.พ.
โดยตัวเลขคาดการณ์อยู่ในระดับตั้งแต่ 2 แสนล้านยูโร จนถึง 1 ล้านล้านยูโร
มีการจัดทำผลสำรวจอีกฉบับหนึ่งซึ่งสำรวจความเห็นเทรดเดอร์ในตลาดเงิน
29 ราย โดยค่ากลางในโพลล์นี้คาดว่าอีซีบีอาจปล่อยกู้ราว 4.70 แสนล้านยูโร และ
ตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์นี้อยู่ในระดับ 2.0-7.5 แสนล้านยูโร
ตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์สองฉบับนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับขนาดการปล่อยกู้
รอบแรก ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.89 แสนล้านยูโรในเดือนธ.ค.2011
การปล่อยกู้ระยะยาวรอบแรกของอีซีบีช่วยลดแรงกดดันในตลาดพันธบัตรรัฐบาล
ยูโรโซน และช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสเปนและอิตาลีลงด้วย
นักวิเคราะห์และเทรดเดอร์แสดงความเห็นตรงกันว่า การกู้เงินจากอีซีบี
ในเดือนนี้จะถือเป็นการทำประกันและเป็นการฉวยโอกาสทำประโยชน์จากข้อเสนอ
ที่ดีมาก โดยมีนักวิเคราะห์เพียงแค่ 15 จาก 63 รายในโพลล์ที่กล่าวว่า ธนาคาร
พาณิชย์จะขอกู้เงินจากอีซีบีในเดือนนี้เพราะมีความจำเป็นต้องใช้เงินดังกล่าว
ในบรรดานักวิเคราะห์ 63 รายที่ตอบโพลล์ครั้งนี้ มีอยู่ 27 ราย
ที่กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์จะขอกู้เงินเพื่อใช้เป็นกันชนความปลอดภัย ถึงแม้ว่า
สภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับที่มากพอแล้ว และมีนักวิเคราะห์ 25 รายที่กล่าวว่า
ธนาคารพาณิชย์จะขอกู้เงินจากอีซีบีเพราะข้อเสนอของอีซีบีในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดี
จนไม่อาจปฏิเสธได้
นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี กล่าวสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์
ใช้ประโยชน์จากปฏิบัติการปล่อยกู้ในครั้งนี้ โดยเขากล่าวว่า "ไม่ใช่เรื่องที่
น่าเสื่อมเสียแต่อย่างใดในการใช้วงเงินสินเชื่อระยะ 3 ปี"
นับตั้งแต่อีซีบีปล่อยกู้ระยะยาวในเดือนธ.ค.เป็นต้นมา อีซีบีได้ผ่อนคลาย
เงื่อนไขเรื่องหลักทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ในการค้ำประกันการกู้ยืมจากอีซีบีด้วย
ธนาคารยูบีเอสได้สำรวจความเห็นลูกค้า 317 ราย และได้เปิดเผย
ผลสำรวจระบุว่า ธนาคารพาณิชย์อาจกู้เงินจากอีซีบีราว 6.29 แสนล้านยูโร
ในวันที่ 29 ก.พ. โดยยูบีเอสเองนั้นคาดว่าอีซีบีจะปล่อยกู้ราว 4.92 แสนล้าน
ยูโร ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งคาดว่าอีซีบีอาจปล่อยกู้ราว 1.5 ล้านล้านยูโร
ผลสำรวจความเห็นของเทรดเดอร์คาดว่า อีซีบีจะปล่อยกู้ราว 1.35 แสน
ล้านยูโรในปฏิบัติการรีไฟแนนซ์ระยะ 7 วัน โดยตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์นี้อยู่ในระดับ
0.5-1.5 แสนล้านยูโร และเทียบกับปริมาณการปล่อยกู้รายสัปดาห์ครั้งก่อนที่ระดับ
1.43 แสนล้านยูโร
โพลล์ของเทรดเดอร์ยังคาดว่า อีซีบีมีแนวโน้มใช้เงิน 500 ล้านยูโรในการ
เข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซนภายใต้โครงการตลาด
หลักทรัพย์ (SMP) ในสัปดาห์ที่แล้ว เทียบกับระดับ 59 ล้านยูโรในช่วงสัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 10 ก.พ.
อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในระดับเพียงเล็กน้อย
ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศกลุ่มนี้ดิ่งลง
อย่างรุนแรง โดยปริมาณการใช้เงินในโครงการ SMP จนถึงปัจจุบันนี้อยู่ที่ระดับ
2.195 แสนล้านยูโร
อัตราดอกเบี้ยในโครงการปล่อยกู้ระยะยาวครั้งนี้จะปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้หลักของอีซีบี โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลักของอีซีบีอาจ
ร่วงลงสู่สถิติต่ำสุดที่ 0.75 % ภายในช่วงกลางปีนี้--จบ--
ลอนดอน--24 ก.พ.--รอยเตอร์
รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจปล่อยกู้
เกือบ 5 แสนล้านยูโรแก่ธนาคารพาณิชย์ในอัตราดอกเบี้ยต่ำในวันพุธที่ 29 ก.พ. โดย
ผ่านทางปฏิบัติการรีไฟแนนซ์ระยะ 3 ปี ถึงแม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าสถาบันการเงินมีสภาพ
คล่องมากพอแล้ว
รอยเตอร์สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์กว่า 60 รายในการสำรวจครั้งนี้
โดยค่ากลางของผลสำรวจระบุว่า อีซีบีอาจจัดสรรเงินราว 4.92 แสนล้านยูโร (6.476
แสนล้านดอลลาร์) ในการปล่อยกู้ระยะ 3 ปีด้วยอัตราดอกเบี้ย 1 % ในวันที่ 29 ก.พ.
โดยตัวเลขคาดการณ์อยู่ในระดับตั้งแต่ 2 แสนล้านยูโร จนถึง 1 ล้านล้านยูโร
มีการจัดทำผลสำรวจอีกฉบับหนึ่งซึ่งสำรวจความเห็นเทรดเดอร์ในตลาดเงิน
29 ราย โดยค่ากลางในโพลล์นี้คาดว่าอีซีบีอาจปล่อยกู้ราว 4.70 แสนล้านยูโร และ
ตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์นี้อยู่ในระดับ 2.0-7.5 แสนล้านยูโร
ตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์สองฉบับนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับขนาดการปล่อยกู้
รอบแรก ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.89 แสนล้านยูโรในเดือนธ.ค.2011
การปล่อยกู้ระยะยาวรอบแรกของอีซีบีช่วยลดแรงกดดันในตลาดพันธบัตรรัฐบาล
ยูโรโซน และช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลสเปนและอิตาลีลงด้วย
นักวิเคราะห์และเทรดเดอร์แสดงความเห็นตรงกันว่า การกู้เงินจากอีซีบี
ในเดือนนี้จะถือเป็นการทำประกันและเป็นการฉวยโอกาสทำประโยชน์จากข้อเสนอ
ที่ดีมาก โดยมีนักวิเคราะห์เพียงแค่ 15 จาก 63 รายในโพลล์ที่กล่าวว่า ธนาคาร
พาณิชย์จะขอกู้เงินจากอีซีบีในเดือนนี้เพราะมีความจำเป็นต้องใช้เงินดังกล่าว
ในบรรดานักวิเคราะห์ 63 รายที่ตอบโพลล์ครั้งนี้ มีอยู่ 27 ราย
ที่กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์จะขอกู้เงินเพื่อใช้เป็นกันชนความปลอดภัย ถึงแม้ว่า
สภาพคล่องในระบบอยู่ในระดับที่มากพอแล้ว และมีนักวิเคราะห์ 25 รายที่กล่าวว่า
ธนาคารพาณิชย์จะขอกู้เงินจากอีซีบีเพราะข้อเสนอของอีซีบีในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดี
จนไม่อาจปฏิเสธได้
นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี กล่าวสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์
ใช้ประโยชน์จากปฏิบัติการปล่อยกู้ในครั้งนี้ โดยเขากล่าวว่า "ไม่ใช่เรื่องที่
น่าเสื่อมเสียแต่อย่างใดในการใช้วงเงินสินเชื่อระยะ 3 ปี"
นับตั้งแต่อีซีบีปล่อยกู้ระยะยาวในเดือนธ.ค.เป็นต้นมา อีซีบีได้ผ่อนคลาย
เงื่อนไขเรื่องหลักทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ในการค้ำประกันการกู้ยืมจากอีซีบีด้วย
ธนาคารยูบีเอสได้สำรวจความเห็นลูกค้า 317 ราย และได้เปิดเผย
ผลสำรวจระบุว่า ธนาคารพาณิชย์อาจกู้เงินจากอีซีบีราว 6.29 แสนล้านยูโร
ในวันที่ 29 ก.พ. โดยยูบีเอสเองนั้นคาดว่าอีซีบีจะปล่อยกู้ราว 4.92 แสนล้าน
ยูโร ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งคาดว่าอีซีบีอาจปล่อยกู้ราว 1.5 ล้านล้านยูโร
ผลสำรวจความเห็นของเทรดเดอร์คาดว่า อีซีบีจะปล่อยกู้ราว 1.35 แสน
ล้านยูโรในปฏิบัติการรีไฟแนนซ์ระยะ 7 วัน โดยตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์นี้อยู่ในระดับ
0.5-1.5 แสนล้านยูโร และเทียบกับปริมาณการปล่อยกู้รายสัปดาห์ครั้งก่อนที่ระดับ
1.43 แสนล้านยูโร
โพลล์ของเทรดเดอร์ยังคาดว่า อีซีบีมีแนวโน้มใช้เงิน 500 ล้านยูโรในการ
เข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซนภายใต้โครงการตลาด
หลักทรัพย์ (SMP) ในสัปดาห์ที่แล้ว เทียบกับระดับ 59 ล้านยูโรในช่วงสัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 10 ก.พ.
อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในระดับเพียงเล็กน้อย
ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศกลุ่มนี้ดิ่งลง
อย่างรุนแรง โดยปริมาณการใช้เงินในโครงการ SMP จนถึงปัจจุบันนี้อยู่ที่ระดับ
2.195 แสนล้านยูโร
อัตราดอกเบี้ยในโครงการปล่อยกู้ระยะยาวครั้งนี้จะปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้หลักของอีซีบี โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หลักของอีซีบีอาจ
ร่วงลงสู่สถิติต่ำสุดที่ 0.75 % ภายในช่วงกลางปีนี้--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 145
GREECE:ไอเอ็มเอฟเตรียมหารือมาตรการช่วยเหลือกรีซรอบ 2 ในวันที่ 13 มี.ค.
วอชิงตัน--27 ก.พ.--รอยเตอร์
แหล่งข่าวในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า
ไอเอ็มเอฟจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซในการประชุมที่กำหนด
จัดขึ้นในวันที่ 13 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้าน
ยูโรสำหรับกรีซ และการให้เงินทุนสนับสนุนของไอเอ็มเอฟต่อมาตรการช่วยเหลือ
ดังกล่าว
ขณะที่ไอเอ็มเอฟเปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟยังคงหารือกันว่าจะสมทบเงิน
เป็นจำนวนเท่าใดนั้น แต่แหล่งข่าวในไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า
การหารือครั้งนี้อาจจะรวมถึงการให้เม็ดเงินใหม่ 1.3 หมื่นล้านยูโรแก่กรีซ
นอกเหนือไปจากเงิน 9.9 พันล้านยูโรที่ไอเอ็มเอฟยังไม่ได้เบิกจ่ายจากมาตรการ
ช่วยเหลือรอบแรก
กรีซได้เริ่มยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรกับผู้ถือพันธบัตรในภาคเอกชน
อย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาตามมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 แล้ว--จบ--
วอชิงตัน--27 ก.พ.--รอยเตอร์
แหล่งข่าวในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า
ไอเอ็มเอฟจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซในการประชุมที่กำหนด
จัดขึ้นในวันที่ 13 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ ที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้าน
ยูโรสำหรับกรีซ และการให้เงินทุนสนับสนุนของไอเอ็มเอฟต่อมาตรการช่วยเหลือ
ดังกล่าว
ขณะที่ไอเอ็มเอฟเปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟยังคงหารือกันว่าจะสมทบเงิน
เป็นจำนวนเท่าใดนั้น แต่แหล่งข่าวในไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า
การหารือครั้งนี้อาจจะรวมถึงการให้เม็ดเงินใหม่ 1.3 หมื่นล้านยูโรแก่กรีซ
นอกเหนือไปจากเงิน 9.9 พันล้านยูโรที่ไอเอ็มเอฟยังไม่ได้เบิกจ่ายจากมาตรการ
ช่วยเหลือรอบแรก
กรีซได้เริ่มยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรกับผู้ถือพันธบัตรในภาคเอกชน
อย่างเป็นทางการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาตามมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 แล้ว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 146
GREECE:S&P ประกาศหั่นเครดิตกรีซลงสู่ "ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน"
เอเธนส์--28 ก.พ.--รอยเตอร์
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกรีซลงสู่ "ผิดนัดชำระหนี้
บางส่วน" (selective default) เมื่อวานนี้ และส่งผลให้ S&P เป็นสถาบัน
จัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งที่ 2 ที่ปรับลดอันดับของกรีซลง หลังจากกรีซประกาศ
แผนแลกเปลี่ยนพันธบัตรเพื่อลดภาระหนี้ของประเทศ
S&P ระบุว่าหลังจากการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเสร็จสิ้นแล้ว ก็มีแนวโน้ม
ที่ S&P จะปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซสู่ CCC ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือ
ขั้นเก็งกำไร--จบ--
เอเธนส์--28 ก.พ.--รอยเตอร์
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกรีซลงสู่ "ผิดนัดชำระหนี้
บางส่วน" (selective default) เมื่อวานนี้ และส่งผลให้ S&P เป็นสถาบัน
จัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งที่ 2 ที่ปรับลดอันดับของกรีซลง หลังจากกรีซประกาศ
แผนแลกเปลี่ยนพันธบัตรเพื่อลดภาระหนี้ของประเทศ
S&P ระบุว่าหลังจากการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเสร็จสิ้นแล้ว ก็มีแนวโน้ม
ที่ S&P จะปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซสู่ CCC ซึ่งเป็นอันดับความน่าเชื่อถือ
ขั้นเก็งกำไร--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 147
GREECE:กรีซเผยเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ตอบรับแผนสว็อปบอนด์ก่อนเส้นตาย 03.00 น.คืนนี้
เอเธนส์--8 มี.ค.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของรัฐบาลกรีซกล่าวในวันนี้ว่า นักลงทุนในภาคเอกชน
จำนวนมาก ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ ได้เข้าร่วมมาตรการแลกเปลี่ยนพันธบัตร
กับรัฐบาลกรีซก่อนกำหนดเส้นตายในคืนนี้เวลา 03.00 น.ตามเวลาไทย
"การตอบรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรเป็นไปด้วยดี โดยอัตราเปอร์เซนต์
การเข้าร่วมโดยสมัครใจของผู้ถือพันธบัตรอยู่ในระดับสูงมาก" เจ้าหน้าที่รายนี้กล่าว
"สิ่งนี้ดำเนินไปด้วยดี ซึ่งเรามีความเชื่อมั่น" เขากล่าว แต่ปฏิเสธที่จะ
เปิดเผยจำนวนเปอร์เซนต์ของพันธบัตรที่มีการเสนอแลกเปลี่ยนจากจำนวนทั้งหมด
ที่มีมูลค่า 2.06 แสนล้านยูโร
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้
รายใหญ่ของกรีซ ประกาศวานนี้ว่าจะสนับสนุนข้อเสนอของรัฐบาลกรีซในการแลกเปลี่ยน
พันธบัตรกับเจ้าหนี้เอกชน ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่โครงการแลกเปลี่ยน
พันธบัตรจะประสบความสำเร็จ และเปิดโอกาสให้กรีซได้รับเงินจากมาตรการ
ให้ความช่วยเหลือรอบ 2 ที่มีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร
กลุ่มกองทุนและธนาคาร 30 แห่งประกาศว่าจะเข้าร่วมในมาตรการ
แลกเปลี่ยนพันธบัตร โดยกลุ่มดังกล่าวถือครองพันธบัตรกรีซราว 39.3 % ของมูลค่า
พันธบัตรคงค้างของกรีซที่ระดับ 2.06 แสนล้านยูโร ขณะที่ก่อนหน้านี้ กองทุนบำเหน็จ
บำนาญและธนาคารพาณิชย์ของกรีซก็ได้ให้สัญญาว่าจะยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลกรีซ
ด้วยเช่นกัน
รัฐบาลกรีซได้เรียกร้องให้เจ้าหนี้เอกชนยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตร
ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคาร, บริษัทประกัน, กองทุนบำเหน็จบำนาญ และนักลงทุนเอกชน
ต้องแบกรับผลขาดทุนที่แท้จริงราว 73-74 % ในการนำพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่ถือครอง
ไว้มาแลกกับพันธบัตรรัฐบาลกรีซชุดใหม่ แต่ถ้าหากเจ้าหนี้เอกชนไม่ยอมรับข้อเสนอนี้
รัฐบาลกรีซก็ขู่ที่จะไม่ชำระหนี้ทั้งหมดแก่เจ้าหนี้
ทั้งนี้ ผู้ถือพันธบัตรกรีซมีกำหนดเส้นตายในวันนี้เวลา 2000 GMT ซึ่งตรงกับ
คืนนี้เวลา 03.00 น.ตามเวลาไทย ในการตกลงยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตร
ของรัฐบาลกรีซ โดยข้อเสนอนี้จะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้เอกชนอย่างน้อย
2 ใน 3 ยอมรับข้อเสนอนี้ และจากประกาศล่าสุดของกลุ่มเจ้าหนี้ 30 รายก็ได้
ส่งผลให้สัดส่วนของเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอนี้เข้าใกล้เกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว
กรีซจำเป็นต้องประสบความสำเร็จในการดำเนินมาตรการแลกเปลี่ยน
พันธบัตรในครั้งนี้ เพื่อให้สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) ลงนามในมาตรการให้ความช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร
(1.70 แสนล้านดอลลาร์) สำหรับกรีซ
รัฐมนตรีคลังยูโรโซนมีกำหนดที่จะตัดสินใจว่าจะจัดสรรเงินให้แก่กรีซ
ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบ 2 หรือไม่ในการประชุมทางโทรศัพท์วันศุกร์นี้
รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือภายในวันอังคารที่ 20 มี.ค.
เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องชำระหนี้พันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโรที่ครบกำหนด
ส่งมอบในวันดังกล่าว--จบ--
เอเธนส์--8 มี.ค.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของรัฐบาลกรีซกล่าวในวันนี้ว่า นักลงทุนในภาคเอกชน
จำนวนมาก ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ ได้เข้าร่วมมาตรการแลกเปลี่ยนพันธบัตร
กับรัฐบาลกรีซก่อนกำหนดเส้นตายในคืนนี้เวลา 03.00 น.ตามเวลาไทย
"การตอบรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรเป็นไปด้วยดี โดยอัตราเปอร์เซนต์
การเข้าร่วมโดยสมัครใจของผู้ถือพันธบัตรอยู่ในระดับสูงมาก" เจ้าหน้าที่รายนี้กล่าว
"สิ่งนี้ดำเนินไปด้วยดี ซึ่งเรามีความเชื่อมั่น" เขากล่าว แต่ปฏิเสธที่จะ
เปิดเผยจำนวนเปอร์เซนต์ของพันธบัตรที่มีการเสนอแลกเปลี่ยนจากจำนวนทั้งหมด
ที่มีมูลค่า 2.06 แสนล้านยูโร
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้
รายใหญ่ของกรีซ ประกาศวานนี้ว่าจะสนับสนุนข้อเสนอของรัฐบาลกรีซในการแลกเปลี่ยน
พันธบัตรกับเจ้าหนี้เอกชน ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่โครงการแลกเปลี่ยน
พันธบัตรจะประสบความสำเร็จ และเปิดโอกาสให้กรีซได้รับเงินจากมาตรการ
ให้ความช่วยเหลือรอบ 2 ที่มีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร
กลุ่มกองทุนและธนาคาร 30 แห่งประกาศว่าจะเข้าร่วมในมาตรการ
แลกเปลี่ยนพันธบัตร โดยกลุ่มดังกล่าวถือครองพันธบัตรกรีซราว 39.3 % ของมูลค่า
พันธบัตรคงค้างของกรีซที่ระดับ 2.06 แสนล้านยูโร ขณะที่ก่อนหน้านี้ กองทุนบำเหน็จ
บำนาญและธนาคารพาณิชย์ของกรีซก็ได้ให้สัญญาว่าจะยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลกรีซ
ด้วยเช่นกัน
รัฐบาลกรีซได้เรียกร้องให้เจ้าหนี้เอกชนยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตร
ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคาร, บริษัทประกัน, กองทุนบำเหน็จบำนาญ และนักลงทุนเอกชน
ต้องแบกรับผลขาดทุนที่แท้จริงราว 73-74 % ในการนำพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่ถือครอง
ไว้มาแลกกับพันธบัตรรัฐบาลกรีซชุดใหม่ แต่ถ้าหากเจ้าหนี้เอกชนไม่ยอมรับข้อเสนอนี้
รัฐบาลกรีซก็ขู่ที่จะไม่ชำระหนี้ทั้งหมดแก่เจ้าหนี้
ทั้งนี้ ผู้ถือพันธบัตรกรีซมีกำหนดเส้นตายในวันนี้เวลา 2000 GMT ซึ่งตรงกับ
คืนนี้เวลา 03.00 น.ตามเวลาไทย ในการตกลงยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตร
ของรัฐบาลกรีซ โดยข้อเสนอนี้จะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้เอกชนอย่างน้อย
2 ใน 3 ยอมรับข้อเสนอนี้ และจากประกาศล่าสุดของกลุ่มเจ้าหนี้ 30 รายก็ได้
ส่งผลให้สัดส่วนของเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอนี้เข้าใกล้เกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้ว
กรีซจำเป็นต้องประสบความสำเร็จในการดำเนินมาตรการแลกเปลี่ยน
พันธบัตรในครั้งนี้ เพื่อให้สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) ลงนามในมาตรการให้ความช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร
(1.70 แสนล้านดอลลาร์) สำหรับกรีซ
รัฐมนตรีคลังยูโรโซนมีกำหนดที่จะตัดสินใจว่าจะจัดสรรเงินให้แก่กรีซ
ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือรอบ 2 หรือไม่ในการประชุมทางโทรศัพท์วันศุกร์นี้
รัฐบาลกรีซจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือภายในวันอังคารที่ 20 มี.ค.
เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องชำระหนี้พันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโรที่ครบกำหนด
ส่งมอบในวันดังกล่าว--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 149
GREECE:กรีซเผยเจ้าหนี้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนพันธบัตรจำนวน 85.8%
เอเธนส์--9 มี.ค.--รอยเตอร์
ทางการกรีซแถลงในวันนี้ว่า เจ้าหนี้ในภาคเอกชนจำนวน 85.8%
ได้ยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรแล้ว และอัตราการยอมรับดังกล่าว
จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 95.7 % หากกรีซนำกฎ collective action clauses
(CAC) เพื่อบังคับใช้ข้อตกลงในครั้งนี้
ทั้งนี้ หลังจากกรีซปิดข้อเสนอเมื่อวานนี้ กระทรวงการคลังกรีซ
ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พันธบัตรกรีซมูลค่าราว 1.72 แสนล้านยูโรได้
เข้าร่วมในข้อตกลงนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับให้นักลงทุนต้องแบกรับ
ผลขาดทุนราว 74 % ของพันธบัตรที่ถือครอง
แถลงการณ์ระบุว่า กรีซได้แจ้งให้หุ้นส่วนในต่างประเทศได้รับ
ทราบแล้วว่า กรีซตั้งใจจะบังคับใช้กฎ CAC ต่อเจ้าหนี้ทุกรายที่ถือครอง
พันธบัตรภายในวงเงิน 1.77 แสนล้านยูโรที่อยู่ภายใต้กฎหมายกรีซ
แต่ไม่ได้ยอมรับข้อเสนอนี้
นอกจากนี้ กรีซได้ขยายเส้นตายออกไปจนถึงวันศุกร์ที่ 23 มี.ค.
ในการยอมรับข้อเสนอสำหรับพันธบัตรที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
และสำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทมหาชน และได้รับการค้ำประกันจาก
รัฐบาล--จบ--
เอเธนส์--9 มี.ค.--รอยเตอร์
ทางการกรีซแถลงในวันนี้ว่า เจ้าหนี้ในภาคเอกชนจำนวน 85.8%
ได้ยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรแล้ว และอัตราการยอมรับดังกล่าว
จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 95.7 % หากกรีซนำกฎ collective action clauses
(CAC) เพื่อบังคับใช้ข้อตกลงในครั้งนี้
ทั้งนี้ หลังจากกรีซปิดข้อเสนอเมื่อวานนี้ กระทรวงการคลังกรีซ
ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พันธบัตรกรีซมูลค่าราว 1.72 แสนล้านยูโรได้
เข้าร่วมในข้อตกลงนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับให้นักลงทุนต้องแบกรับ
ผลขาดทุนราว 74 % ของพันธบัตรที่ถือครอง
แถลงการณ์ระบุว่า กรีซได้แจ้งให้หุ้นส่วนในต่างประเทศได้รับ
ทราบแล้วว่า กรีซตั้งใจจะบังคับใช้กฎ CAC ต่อเจ้าหนี้ทุกรายที่ถือครอง
พันธบัตรภายในวงเงิน 1.77 แสนล้านยูโรที่อยู่ภายใต้กฎหมายกรีซ
แต่ไม่ได้ยอมรับข้อเสนอนี้
นอกจากนี้ กรีซได้ขยายเส้นตายออกไปจนถึงวันศุกร์ที่ 23 มี.ค.
ในการยอมรับข้อเสนอสำหรับพันธบัตรที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
และสำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทมหาชน และได้รับการค้ำประกันจาก
รัฐบาล--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์ที่ 150
GREECE:ความเห็นนักวิเคราะห์หลังกรีซปิดโครงการสว็อปบอนด์
เอเธนส์--9 มี.ค.--รอยเตอร์
ทางการกรีซแถลงในวันนี้ว่า เจ้าหนี้ในภาคเอกชนจำนวน 85.8%
ได้ยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรแล้ว และอัตราการยอมรับดังกล่าว
จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 95.7 % หากกรีซนำกฎ collective action clauses
(CAC) เพื่อบังคับใช้ข้อตกลงในครั้งนี้
ทั้งนี้ หลังจากกรีซปิดข้อเสนอเมื่อวานนี้ กระทรวงการคลังกรีซ
ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พันธบัตรกรีซมูลค่าราว 1.72 แสนล้านยูโรได้
เข้าร่วมในข้อตกลงนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับให้นักลงทุนต้องแบกรับ
ผลขาดทุนราว 74 % ของพันธบัตรที่ถือครอง
แถลงการณ์ระบุว่า กรีซได้แจ้งให้หุ้นส่วนในต่างประเทศได้รับ
ทราบแล้วว่า กรีซตั้งใจจะบังคับใช้กฎ CAC ต่อเจ้าหนี้ทุกรายที่ถือครอง
พันธบัตรภายในวงเงิน 1.77 แสนล้านยูโรที่อยู่ภายใต้กฎหมายกรีซ
แต่ไม่ได้ยอมรับข้อเสนอนี้
นอกจากนี้ กรีซได้ขยายเส้นตายออกไปจนถึงวันศุกร์ที่ 23 มี.ค.
ในการยอมรับข้อเสนอสำหรับพันธบัตรที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
และสำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทมหาชน และได้รับการค้ำประกันจาก
รัฐบาล
ข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตรของกรีซมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระหนี้
จำนวนมากของกรีซ และเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่จะทำให้ยูโรโซน
เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหม่
ทางด้านนักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นดังต่อไปนี้:
นายยูจิ ไซโตะ ผู้อำนวยการแผนกปริวรรตเงินตรา เครดิต อะกริโคล
โตเกียว
"ข่าวจากกรีซสอดคล้องกับที่คาดไว้ และตลาดก็มีปฏิกริยาด้วยการขาย
ยูโรออกมา ซึ่งเป็นไปตามหลัก 'ซื้อจากข่าวลือ ขายจากข่าวจริง' (buy the
rumour, sell the fact)
"จำนวนเจ้าหนี้ภาคเอกชนที่ยอมรับข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตร
ตรงตามจำนวนที่มีการรายงานไปก่อนหน้านี้ และการใช้กฎ Collective
Action Clause (CAC) ก็เป็นไปตามที่คาดไว้เช่นกัน คำถามจริงๆก็คือ
กรีซจะเลือกผู้นำในการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในเดือนหน้า ซึ่งจะปฏิบัติตาม
ข้อตกลงที่ทำไว้กับเจ้าหนี้ตามมาตรการรัดเข็มขัดหรือไม่"
นายสุเรช กุมาร รามานาธาน นักวางแผนกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน
และอัตราปริวรรตเงินตราระดับภูมิภาค ซีไอเอ็มบี อินเวสเมนต์ แบงก์ กัวลาลัมเปอร์
"เราได้เตือนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาแล้วว่า กรีซจะล้มละลาย และ
การล้มละลายจะเริ่มแสดงออกมาให้เห็นในขณะนี้ ถ้าสมาคมสัญญาสว็อปและตราสาร
อนุพันธ์ระหว่างประเทศ (ISDA) มองว่าการใช้กฎ CAC เป็นเหตุการณ์ที่มีผลต่อ
ความสามารถในการชำระหนี้ (credit event) เราก็จะเห็นสัญญาณอย่างเป็น
ทางการที่แสดงถึงการผิดนัดชำระหนี้ในกรีซ
"สำหรับตลาดอื่นๆนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะประเมินว่าจะมีตราสาร CDS
จำนวนเท่าใดที่จะถูกขายออกมา หลังการใช้กฎ CAC ซึ่งเราอาจะเห็นหุ้น, สกุลเงิน
ในรูปยูโร/ดอลลาร์ และพันธบัตรของประเทศที่มีสถานะอ่อนแอในยูโรโซน และ CDS
ถูกเทขายออกมา"--จบ--
เอเธนส์--9 มี.ค.--รอยเตอร์
ทางการกรีซแถลงในวันนี้ว่า เจ้าหนี้ในภาคเอกชนจำนวน 85.8%
ได้ยอมรับข้อเสนอแลกเปลี่ยนพันธบัตรแล้ว และอัตราการยอมรับดังกล่าว
จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 95.7 % หากกรีซนำกฎ collective action clauses
(CAC) เพื่อบังคับใช้ข้อตกลงในครั้งนี้
ทั้งนี้ หลังจากกรีซปิดข้อเสนอเมื่อวานนี้ กระทรวงการคลังกรีซ
ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พันธบัตรกรีซมูลค่าราว 1.72 แสนล้านยูโรได้
เข้าร่วมในข้อตกลงนี้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับให้นักลงทุนต้องแบกรับ
ผลขาดทุนราว 74 % ของพันธบัตรที่ถือครอง
แถลงการณ์ระบุว่า กรีซได้แจ้งให้หุ้นส่วนในต่างประเทศได้รับ
ทราบแล้วว่า กรีซตั้งใจจะบังคับใช้กฎ CAC ต่อเจ้าหนี้ทุกรายที่ถือครอง
พันธบัตรภายในวงเงิน 1.77 แสนล้านยูโรที่อยู่ภายใต้กฎหมายกรีซ
แต่ไม่ได้ยอมรับข้อเสนอนี้
นอกจากนี้ กรีซได้ขยายเส้นตายออกไปจนถึงวันศุกร์ที่ 23 มี.ค.
ในการยอมรับข้อเสนอสำหรับพันธบัตรที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
และสำหรับตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทมหาชน และได้รับการค้ำประกันจาก
รัฐบาล
ข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตรของกรีซมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระหนี้
จำนวนมากของกรีซ และเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่จะทำให้ยูโรโซน
เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหม่
ทางด้านนักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นดังต่อไปนี้:
นายยูจิ ไซโตะ ผู้อำนวยการแผนกปริวรรตเงินตรา เครดิต อะกริโคล
โตเกียว
"ข่าวจากกรีซสอดคล้องกับที่คาดไว้ และตลาดก็มีปฏิกริยาด้วยการขาย
ยูโรออกมา ซึ่งเป็นไปตามหลัก 'ซื้อจากข่าวลือ ขายจากข่าวจริง' (buy the
rumour, sell the fact)
"จำนวนเจ้าหนี้ภาคเอกชนที่ยอมรับข้อตกลงแลกเปลี่ยนพันธบัตร
ตรงตามจำนวนที่มีการรายงานไปก่อนหน้านี้ และการใช้กฎ Collective
Action Clause (CAC) ก็เป็นไปตามที่คาดไว้เช่นกัน คำถามจริงๆก็คือ
กรีซจะเลือกผู้นำในการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในเดือนหน้า ซึ่งจะปฏิบัติตาม
ข้อตกลงที่ทำไว้กับเจ้าหนี้ตามมาตรการรัดเข็มขัดหรือไม่"
นายสุเรช กุมาร รามานาธาน นักวางแผนกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน
และอัตราปริวรรตเงินตราระดับภูมิภาค ซีไอเอ็มบี อินเวสเมนต์ แบงก์ กัวลาลัมเปอร์
"เราได้เตือนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาแล้วว่า กรีซจะล้มละลาย และ
การล้มละลายจะเริ่มแสดงออกมาให้เห็นในขณะนี้ ถ้าสมาคมสัญญาสว็อปและตราสาร
อนุพันธ์ระหว่างประเทศ (ISDA) มองว่าการใช้กฎ CAC เป็นเหตุการณ์ที่มีผลต่อ
ความสามารถในการชำระหนี้ (credit event) เราก็จะเห็นสัญญาณอย่างเป็น
ทางการที่แสดงถึงการผิดนัดชำระหนี้ในกรีซ
"สำหรับตลาดอื่นๆนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะประเมินว่าจะมีตราสาร CDS
จำนวนเท่าใดที่จะถูกขายออกมา หลังการใช้กฎ CAC ซึ่งเราอาจะเห็นหุ้น, สกุลเงิน
ในรูปยูโร/ดอลลาร์ และพันธบัตรของประเทศที่มีสถานะอ่อนแอในยูโรโซน และ CDS
ถูกเทขายออกมา"--จบ--