เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่นๆนะ)
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่นๆนะ)
โพสต์ที่ 1
สืบเนื่องจากกระทู้เรื่อง "ผลประกอบการ ไตรมาส4/2554"
ที่ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50957
ถ้ามองคร่าวๆว่า...ตลาดให้พีอีกับหุ้น 10 เท่า
ดังนั้น ถ้าผมเอา "เลข 10" ไปคูณกับ "ตัวเลขกำไรสุทธิต่อหุ้น(บาท/หุ้น)"
ผลลัพธ์ที่ออกมา...มันควรจะเป็น "ราคาหุ้นที่เหมาะสม" เลย ใช่ไหมครับ???
พอคิดเล่นๆแบบนี้ ก็อ่านกระทู้นั้นเพลินเชียวครับ ^ ^
ที่ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50957
ถ้ามองคร่าวๆว่า...ตลาดให้พีอีกับหุ้น 10 เท่า
ดังนั้น ถ้าผมเอา "เลข 10" ไปคูณกับ "ตัวเลขกำไรสุทธิต่อหุ้น(บาท/หุ้น)"
ผลลัพธ์ที่ออกมา...มันควรจะเป็น "ราคาหุ้นที่เหมาะสม" เลย ใช่ไหมครับ???
พอคิดเล่นๆแบบนี้ ก็อ่านกระทู้นั้นเพลินเชียวครับ ^ ^
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 2
pe หุ้นแต่ละตัว ทำไมต้องไปพ้องกับ pe ตลาดครับ
เอ
เอ่
เอ้
เอ๊
เอ๋..
เอ
เอ่
เอ้
เอ๊
เอ๋..
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 3
บางตัวเห็นผู้คนในตลาดลงความเห็นผ่านราคา ให้ตัวคุณ6-7มานานนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 4
เอออ สนุกดีแฮะ ลองดูในกระทู้นั้น แล้วเอาคูณสิบ แล้วเทียบกับราคาจริง
เจอตัวนึงคูณ10แล้วได้ 0.1 ...ราคาจริง 21 บาท ฮ่าๆๆๆๆ
เจอตัวนึงคูณ10แล้วได้ 0.1 ...ราคาจริง 21 บาท ฮ่าๆๆๆๆ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 5
PE 10 เท่าถือเป็นค่าเฉลี่ยการซื้อขายหุ้นของบริษัท
ของตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยระยะยาวอ่ะคับ (30-50 ปีขึ้นไป ลองหาสถิติดูคับ)
บางหุ้นอาจซื้อขายมากกว่านี้ หรือน้อยกว่านี้ได้ ถ้าเทียบ
กับคุณภาพของกำไร โอกาสเติบโตของกำไรในอนาคต
หรือคือซื้อที่ราคาเป็น 10 เท่าของกำไรสุทธิ
ถ้ากลับค่าเป็น EP (Earnings Yield) 1/10 ก็ได้ 10% ก็เท่ากับผลตอบแทน 10%
ประมาณใกล้เคียงกับผลตอบแทนในการทำธุรกิจเฉลี่ยทั่วไป คือกำไรสุทธิเฉลี่ยที่ตกมาถึงเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น
บางธุรกิจอาจมาก บางธุรกิจอาจน้อยกว่านี้ แต่เฉลี่ยๆกันก็ได้ประมาณ 10%
เทียบกับต้นทุนของผู้ถือหุ้น ก็มาจาก Risk Free Rate + Risk Premium
Risk Free Rate ของไทยก็คงเทียบได้กับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวสิบปีขึ้นไป ประมาณ 3.5-4%
Risk Primium ของตลาดหุ้นไทยตามผลการทำวิจัยจาก...(จำมะได้คับ 55) 6.5-7%
รวมๆกันก็ราวๆ 10%
ยิ่ง PE สูง ผลตอบแทนเมื่อเทียบจะต่ำลง ยิ่ง PE ต่ำ ผลตอบแทนจะมากขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นกับ ตัว P (ราคาที่นักลงทุนในตลาดพอใจ) และ E (ผลประกอบการบริษัทในตลาด)
ว่ามีปัจจัยอะไรมากระทบได้บ้าง เช่น
P มีแนวโน้มสูง อาจมาจากมุมมองที่ดีของนักลงทุน การเก็งกำไร ข่าวลือ ฯลฯ
P มีแนวโน้มต่ำ อาจเกิดจากมุมมองที่แย่ของนักลงทุนจากภาวะต่างๆ ฯลฯ
E มีแนวโน้มสูง จากยอดขายที่ดีขึ้นมาก การลดต้นทุน ขยายตลาด มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขายสินทรัพย์ ฯลฯ
E มีแนวโน้มต่ำ ยอดขายตกต่ำ สินค้าไม่ดี ลูกค้าหาย หนี้เยอะ ตลาดตกต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ
นั่นคือผลตอบแทนของนักลงทุน เมื่อเทียบกับความเสี่ยง และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจ
ที่เหมาะสมที่นักลงทุนยอมรับกันก็จะเฉลี่ยประมาณ 10% หรือราคาซื้อขายเป็น 10 เท่าของกำไรสุทธิ
บางท่านอาจต้องการมากกว่านี้ อันนี้ก็ขึ้นกับมุมมองในการคาดการณ์อนาคตคับ และก็โอกาสในการซื้อหุ้นที่ราคามีส่วนลด (MOS นั่นเอง)
ของตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยระยะยาวอ่ะคับ (30-50 ปีขึ้นไป ลองหาสถิติดูคับ)
บางหุ้นอาจซื้อขายมากกว่านี้ หรือน้อยกว่านี้ได้ ถ้าเทียบ
กับคุณภาพของกำไร โอกาสเติบโตของกำไรในอนาคต
หรือคือซื้อที่ราคาเป็น 10 เท่าของกำไรสุทธิ
ถ้ากลับค่าเป็น EP (Earnings Yield) 1/10 ก็ได้ 10% ก็เท่ากับผลตอบแทน 10%
ประมาณใกล้เคียงกับผลตอบแทนในการทำธุรกิจเฉลี่ยทั่วไป คือกำไรสุทธิเฉลี่ยที่ตกมาถึงเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น
บางธุรกิจอาจมาก บางธุรกิจอาจน้อยกว่านี้ แต่เฉลี่ยๆกันก็ได้ประมาณ 10%
เทียบกับต้นทุนของผู้ถือหุ้น ก็มาจาก Risk Free Rate + Risk Premium
Risk Free Rate ของไทยก็คงเทียบได้กับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวสิบปีขึ้นไป ประมาณ 3.5-4%
Risk Primium ของตลาดหุ้นไทยตามผลการทำวิจัยจาก...(จำมะได้คับ 55) 6.5-7%
รวมๆกันก็ราวๆ 10%
ยิ่ง PE สูง ผลตอบแทนเมื่อเทียบจะต่ำลง ยิ่ง PE ต่ำ ผลตอบแทนจะมากขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นกับ ตัว P (ราคาที่นักลงทุนในตลาดพอใจ) และ E (ผลประกอบการบริษัทในตลาด)
ว่ามีปัจจัยอะไรมากระทบได้บ้าง เช่น
P มีแนวโน้มสูง อาจมาจากมุมมองที่ดีของนักลงทุน การเก็งกำไร ข่าวลือ ฯลฯ
P มีแนวโน้มต่ำ อาจเกิดจากมุมมองที่แย่ของนักลงทุนจากภาวะต่างๆ ฯลฯ
E มีแนวโน้มสูง จากยอดขายที่ดีขึ้นมาก การลดต้นทุน ขยายตลาด มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขายสินทรัพย์ ฯลฯ
E มีแนวโน้มต่ำ ยอดขายตกต่ำ สินค้าไม่ดี ลูกค้าหาย หนี้เยอะ ตลาดตกต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ
นั่นคือผลตอบแทนของนักลงทุน เมื่อเทียบกับความเสี่ยง และเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจ
ที่เหมาะสมที่นักลงทุนยอมรับกันก็จะเฉลี่ยประมาณ 10% หรือราคาซื้อขายเป็น 10 เท่าของกำไรสุทธิ
บางท่านอาจต้องการมากกว่านี้ อันนี้ก็ขึ้นกับมุมมองในการคาดการณ์อนาคตคับ และก็โอกาสในการซื้อหุ้นที่ราคามีส่วนลด (MOS นั่นเอง)
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 6
กระทู้นี้ผมตั้งขึ้นมาเพื่อ 2 จุดประสงค์ คือ...
1. คุยกันและแลกเปลี่ยน
2. เป็นมุมมองให้กับนักลงทุนมือใหม่อ่ะนะครับ ^ ^
เราลองมายกตัวอย่าง หุ้น Hot สักตัวดีไหมครับ กับตัวนี้
v
v
วันที่/เวลา 23 ก.พ. 2555 19:59:00
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3)
หลักทรัพย์ KAMART
แหล่งข่าว KAMART
รายละเอียดแบบเต็ม
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย (F45-3)
บริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม
ประจำปี
ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
ปี 2554 2553
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 112,105 52,573
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.19 0.09
ต่อหุ้น (บาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ประจำปี
ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
ปี 2554 2553
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 124,526 22,604
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.21 0.04
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต
หมายเหตุ
โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบ
งบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน ก.ล.ต.
เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นายวิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล )
กรรมการผู้จัดการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
=============================================================
และด้วยหลักการง่ายๆ ราคาที่เหมาะสมของหุ้น = 0.19 x 10 = 1.90 บาท!!!
คำถามว่า...
ใช่หรือ??? ราคาที่ 5.60 บาทแถวๆนี้ แพงไปแล้วหรือ???
คำตอบคือ...
อาจจะใช่ แล้วก็อาจจะไม่ใช่ครับ!!!
นั่นเป็นเพราะ...
"หุ้นเค้าซื้อขายกันที่อนาคตครับ ไม่ใช่อดีต!!!"
แต่ตัวเลขกำไรสุทธิที่ 0.19 บาท/หุ้นนั้น มันคือตัวเลขของปีที่แล้ว จริงไหมครับ???
...มันเป็นอดีตไปหมดแล้วครับ
ดังนั้น ถ้าปี 2555 นั้น
ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.20 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.20 x 10 = 2.00 บาท!!!
แต่ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.40 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.40 x 10 = 4.00 บาท
แต่ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.60 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.60 x 10 = 6.00 บาท
แต่ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.80 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.80 x 10 = 8.00 บาท!!!
ดังนั้น ความสนใจทั้งหมด จึงถูกพุ่งไปที่ว่า...
แล้วปี 2555 ทั้งปี เอ็งจะกำไรเท่าไหร่กันแน่???
...ซึ่งเราไม่รู้ไงครับ!!! เราจึงต้องทำการประมาณการ ทั้งในส่วนของรายได้ และรายจ่าย
รวมทั้งพิจารณา การขยายสาขา, แผนธุรกิจ และเป้าหมายการขายและการลงทุนต่างๆ
เพื่อจะมองอนาคตให้เห็นว่า ตัวเลขกำไรสุทธิในอนาคต น่าจะเป็นเช่นไร
นี่แหล่ะครับ...เสน่ห์เรียบง่ายของตลาดหุ้นแห่งนี้
ผมคิดแบบนี้นะ (^_^)
1. คุยกันและแลกเปลี่ยน
2. เป็นมุมมองให้กับนักลงทุนมือใหม่อ่ะนะครับ ^ ^
เราลองมายกตัวอย่าง หุ้น Hot สักตัวดีไหมครับ กับตัวนี้
v
v
วันที่/เวลา 23 ก.พ. 2555 19:59:00
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3)
หลักทรัพย์ KAMART
แหล่งข่าว KAMART
รายละเอียดแบบเต็ม
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย (F45-3)
บริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน)
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินรวม
ประจำปี
ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
ปี 2554 2553
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 112,105 52,573
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.19 0.09
ต่อหุ้น (บาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ประจำปี
ตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
ปี 2554 2553
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 124,526 22,604
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.21 0.04
ต่อหุ้น (บาท)
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต
หมายเหตุ
โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบ
งบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน
ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน ก.ล.ต.
เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ ___________________________
( นายวิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล )
กรรมการผู้จัดการ
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
=============================================================
และด้วยหลักการง่ายๆ ราคาที่เหมาะสมของหุ้น = 0.19 x 10 = 1.90 บาท!!!
คำถามว่า...
ใช่หรือ??? ราคาที่ 5.60 บาทแถวๆนี้ แพงไปแล้วหรือ???
คำตอบคือ...
อาจจะใช่ แล้วก็อาจจะไม่ใช่ครับ!!!
นั่นเป็นเพราะ...
"หุ้นเค้าซื้อขายกันที่อนาคตครับ ไม่ใช่อดีต!!!"
แต่ตัวเลขกำไรสุทธิที่ 0.19 บาท/หุ้นนั้น มันคือตัวเลขของปีที่แล้ว จริงไหมครับ???
...มันเป็นอดีตไปหมดแล้วครับ
ดังนั้น ถ้าปี 2555 นั้น
ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.20 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.20 x 10 = 2.00 บาท!!!
แต่ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.40 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.40 x 10 = 4.00 บาท
แต่ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.60 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.60 x 10 = 6.00 บาท
แต่ถ้าบริษัทฯทำกำไรได้ 0.80 บาท หุ้นก็ควรมีราคา = 0.80 x 10 = 8.00 บาท!!!
ดังนั้น ความสนใจทั้งหมด จึงถูกพุ่งไปที่ว่า...
แล้วปี 2555 ทั้งปี เอ็งจะกำไรเท่าไหร่กันแน่???
...ซึ่งเราไม่รู้ไงครับ!!! เราจึงต้องทำการประมาณการ ทั้งในส่วนของรายได้ และรายจ่าย
รวมทั้งพิจารณา การขยายสาขา, แผนธุรกิจ และเป้าหมายการขายและการลงทุนต่างๆ
เพื่อจะมองอนาคตให้เห็นว่า ตัวเลขกำไรสุทธิในอนาคต น่าจะเป็นเช่นไร
นี่แหล่ะครับ...เสน่ห์เรียบง่ายของตลาดหุ้นแห่งนี้
ผมคิดแบบนี้นะ (^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 7
นั่นเป็นเพราะ...
"หุ้นเค้าซื้อขายกันที่อนาคตครับ ไม่ใช่อดีต!!!"
+1ครับ
ถ้าเทรดกันโดยมองแค่อดีต ราคาหุ้นก้ถอยหลังลงคลองหมดครับ
อดีตที่รุ่งโรจน์ไม่ได้รับประกันอนาคตว่าจะต้องรุ่งเรือง
เช่นเดียวกับโกดักเมื่อสิบ-ยี่สิบปีที่แล้ว กับตอนนี้
เฉกเช่นกับงบที่ออกมา กับราคาที่ขึ้นไปก่อนหน้าแล้วหรือลงไปก่อนหน้าแล้ว
เล่นหุ้นไม่มองอนาคต จะมองอะไรครับ
"หุ้นเค้าซื้อขายกันที่อนาคตครับ ไม่ใช่อดีต!!!"
+1ครับ
ถ้าเทรดกันโดยมองแค่อดีต ราคาหุ้นก้ถอยหลังลงคลองหมดครับ
อดีตที่รุ่งโรจน์ไม่ได้รับประกันอนาคตว่าจะต้องรุ่งเรือง
เช่นเดียวกับโกดักเมื่อสิบ-ยี่สิบปีที่แล้ว กับตอนนี้
เฉกเช่นกับงบที่ออกมา กับราคาที่ขึ้นไปก่อนหน้าแล้วหรือลงไปก่อนหน้าแล้ว
เล่นหุ้นไม่มองอนาคต จะมองอะไรครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 8
อนาคตดูดี สภาพคล่องต่ำ ราคาพุ่ง
ที่น่ากลัวคือ ราคาส่วนใหญ่ที่เห็นในกระดานสะท้อนความหวัง ความกลัวไปแล้ว
ถ้าอนาคตจริงไม่เป็นดังหวัง ถึงราคาลดลงแค่ไหน ก็ขายยาก
(หมายถึงหุ้นทั่วไปนะ ไม่ใช่เฉพาะKAMART )
ที่น่ากลัวคือ ราคาส่วนใหญ่ที่เห็นในกระดานสะท้อนความหวัง ความกลัวไปแล้ว
ถ้าอนาคตจริงไม่เป็นดังหวัง ถึงราคาลดลงแค่ไหน ก็ขายยาก
(หมายถึงหุ้นทั่วไปนะ ไม่ใช่เฉพาะKAMART )
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 9
ราคาที่ประเมินผ่านแบบจำลองจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อสมมติฐานเป็นจริงpak เขียน: "หุ้นเค้าซื้อขายกันที่อนาคตครับ ไม่ใช่อดีต!!!"
ถ้าอนาคตมาถึงจริงๆแล้วกำไรไม่เป็นตามที่คาดไว้
ก็ตัวใครตัวมันละครับ
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 16
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 11
มันยากตรงประเมินอนาคตนี่แหละครับ
แต่ราคาหุ้นหลาย ๆ ตัวมักจะวิ่งตอบรับความคาดหวังในอนาคตไปแล้ว
แล้วทำไมเราต้องไปเสี่ยงกับหุ้นเหล่านี้ด้วย เพราะถ้าผลออกมาตามที่คาดก็เสมอตัว หรืออาจจะได้นิดหน่อย แต่ถ้าตรงกันข้ามจะเสียหายมาก
แต่ราคาหุ้นหลาย ๆ ตัวมักจะวิ่งตอบรับความคาดหวังในอนาคตไปแล้ว
แล้วทำไมเราต้องไปเสี่ยงกับหุ้นเหล่านี้ด้วย เพราะถ้าผลออกมาตามที่คาดก็เสมอตัว หรืออาจจะได้นิดหน่อย แต่ถ้าตรงกันข้ามจะเสียหายมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 61
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 12
ไม่เสมอไปหลอกครับ การเอา10 คูณผมก็ชอบใช้เหมือนกัน มันหมายความว่า บริษัททำงานแบบเดิม ยอดขายเท่าเดิม และต้นทุนเท่าเดิม คุณจะต้องถือหุ้นนี้ไป 10ปีจะเท่าทุน ถ้ารวมอัตราเงินเฟอคุณจขขาดทุน ต้องถือนานกว่านั้น คงไม่มีใครเล่นหุ้นแล้วครับ การที่ PE สูงแล้วยังมีคนซื้อ ผมมองว่ามี2ประเด็นครับpak เขียน:สืบเนื่องจากกระทู้เรื่อง "ผลประกอบการ ไตรมาส4/2554"
ที่ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50957
ถ้ามองคร่าวๆว่า...ตลาดให้พีอีกับหุ้น 10 เท่า
ดังนั้น ถ้าผมเอา "เลข 10" ไปคูณกับ "ตัวเลขกำไรสุทธิต่อหุ้น(บาท/หุ้น)"
ผลลัพธ์ที่ออกมา...มันควรจะเป็น "ราคาหุ้นที่เหมาะสม" เลย ใช่ไหมครับ???
พอคิดเล่นๆแบบนี้ ก็อ่านกระทู้นั้นเพลินเชียวครับ ^ ^
1บริษัทกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องครับ มีรายได้และกำไรสูงขึนครับ
2 ปันราคาเก็งกำไรครับ
การใช้peเท่าไรในการมองราคาหุ้น ขึ้นอยู่กับกลุ่มอุสาหกรรม และลักษณะของรายได้ครับ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 13
ถ้ามองอนาคตไม่ผิดเลย แทงบอลคู่ละสิบล้านง่ายกว่าครับkoh เขียน:อนาคตดูดี สภาพคล่องต่ำ ราคาพุ่ง
ที่น่ากลัวคือ ราคาส่วนใหญ่ที่เห็นในกระดานสะท้อนความหวัง ความกลัวไปแล้ว
ถ้าอนาคตจริงไม่เป็นดังหวัง ถึงราคาลดลงแค่ไหน ก็ขายยาก
(หมายถึงหุ้นทั่วไปนะ ไม่ใช่เฉพาะKAMART )
มันไม่ใช่กิจการที่บริหารโดยเรา 100เปอ โอกาศพลาดพลั้งก้มี
อยากจะแทงถูกเต็ม100 ก้ทำกิจการตัวเองแล้วเอาเข้าตลาดหุ้นสิครับ รู้แน่นอน
ไตรมาสไหนกำไรเท่าไหร่
ประโยคนึงของสุภาพสตรีอันดับ1 ในใจผมคือ เหนือกว่าเจ้ามือ(ก้คือเจ้าของ)
one up on MM
เจ้าของไม่ให้ ใครหน้าไหนจุดพลุมั่วซั่ว เจอถีบลงข้างทางหมดครับ ถามพวกไวไวดูได้
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 17
ปกติ จะหาหุ้นโดยการ เอา มาร์เก็ตแคป ปัจจุบันแล้ว คูณ 2 แล้วมาดูว่า อีก 3-4 ปี ข้างหน้าจะเป็นไปได้มั้ย
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 18
ขอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์นะคับ
มูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ
และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าเงินสดในปัจจุบัน
เขียนเป็นสมการทางการเงินได้คือ
P = E/k + PVG
P = มูลค่าหุ้น
E = กำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนั้นๆ
k = ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน
PVG = มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตต่อหุ้น
เราเอา E หรือกำไรต่อหุ้นเข้ามาหาร ก็ได้เป็น P/E Ratio
P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราไม่เห็นการเติบโตค่า P/E จะเท่ากับ 1/k คือไม่มีส่วน PVG/E มาบวก
ราคาหุ้นจะมีมูลค่าเพียงกำไรสุทธิต่อหุ้นหารด้วยต้นทุนเงินลงทุนของนักลงทุน P = E/k
ถ้ามีการเติบโตก็เป็น P = E/k + PVG
จัดรูปใหม่เป็น (ดึงตัว E ออกมา) ถ้าไม่เห็นการเติบโตคือ P = 1/k * E
ถ้ามีการเติบโตก็ได้เป็น P = 1/k * E + PVG
อันนี้เองที่เราๆใช้กันโดยทั่วไปในการหามูลค่าหุ้น
P/E = 10 นี้มีที่มาจากไหน ถ้าให้ชัดเจนว่าตัวเลข 10
มันก็คือตัวคูณซึ่งมาจากต้นทุนผู้ถือหุ้น (P/E = 1/k)
ค่า 1/k ก็คือ 1/ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน (Risk Free Rate + Risk Primium นั่นเอง)
ทีนี้ต้นทุนที่ใช้กันโดยเฉลี่ยก็ขึ้นกับผลตอบแทนพันธบัตร กับผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาดหุ้น
ในไทยประมาณ 3.5-4.0% ณ.เวลานี้ บวกกับของตลาด 6.5-7.0% ได้ประมาณ 10-11%
ซึ่งเป็นผลตอบแทนของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่คุ้มกับความเสี่ยงที่เอาเงินมาลงทุน
ก็ได้ออกมาเป็น 1/0.10 หรือ 1/0.11 ได้ P/E 10 หรือ 11 เท่า
เวลาคิดง่ายๆก็เอา กำไรสุทธิปัจจุบันต่อหุ้น มาคูณกับค่า P/E จะได้ออกมาเป็นมูลค่าหุ้นนั่นเอง
เช่น P/E 10 เท่า กำไรได้ 10 บาทต่อหุ้น ได้ราคาที่ควรจะเป็น 10 * 10 = 100 บาทกันไป
(จาก P = 1/k * E เป็น P = 10 (มาจาก 1/0.10) * E )
ซึ่งค่า P/E เฉลี่ยที่เหมาะสมเราต้องตรวจสอบสถานการณ์ขณะนั้นๆด้วย
ว่าต้นทุนเงินทุนของนักลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่ง Risk Free Rate ก็ขึ้นกับอัตราผลตอนแทนพันธบัตร
ซึ่งก็ขึ้นกับความน่าเชื่อถือด้านการคลังของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยของตลาด อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ
และผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาด Risk Premium ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลายาวนานด้วย
P/E = 10 ก็เลยเป็นค่ามาตรฐานในการให้มูลค่าหุ้นตอนนี้ แต่มันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต
หุ้นที่ P/E ต่ำอาจเป็นเพราะมันไม่เติบโต หรือมีความเสี่ยงที่ทำให้นักลงทุนต้องการผลตอบแทนมากขึ้น
หรือไม่มีมูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตมารวม (PVG) ด้วย
เช่น เป็นหุ้นวัฏจักรที่คาดการณ์กำไรลำบาก หรืออุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนสูงตลอดเวลาทำให้ใช้เงินเยอะ
ทำให้ผลตอบแทนต่ำ หุ้นที่ยอดขายเริ่มตกลงอย่างถาวร กำไรลดดลง หุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมตะวันตกดิน ฯลฯ
ซึ่งจะสะท้อนจากต้นทุนเงินทุนที่มากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย (P/E = 1/k เช่น P/E = 1/0.15 เหลือ P/E = 6.67 เท่า ต่ำใช้ได้ VI ชอบ?)
หรือหุ้นที่ P/E ต่ำเพราะกำไรสุทธิต่อหุ้นโตมากในขณะที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมุมมองของนักลงทุน
เพราะเป็นหุ้นที่ไม่มีเสน่ห์ ทำธุรกิจไม่น่าสนใจ แถมอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ
ซึ่งหุ้นพวกนี้ ปีเตอร์ ลินซ์ จะชอบมากเพราะไม่มีคนสนใจ ทำให้มีราคาถูก และมีโอกาสทำกำไรถ้านักลงทุนอื่นๆเห็นว่ามันดี
ทีนี้ หุ้นที่ P/E สูง มาจากไหน มันก็มาจาก มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG) มารวมด้วย
จาก P/E = 1/k + PVG/E
เจ้า "มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG)" นี่แหละ ที่เหล่านักลงทุนต้องหาออกมาให้ได้
พอได้แล้วมาหารด้วยค่า E ก็จะได้ PVG/E มันคือ P/E ในอนาคต ถ้านำมารวมกับ P/E ปัจจุบัน 1/k ซึ่ง k คือต้นทุน
เงินทุนของนักลงทุนก็จะได้ ค่า P/E ที่ดูสูงเลย แต่มันอาจจะไม่แพงก็ได้ ถ้ากิจการยังเติบโตได้อย่างดี
เช่น หุ้นค้าปลีกสุดฮอทตัวนึง มีค่า P/E 30 เท่า ถ้าเรามองในแง่ที่ว่า P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราคิดต้นทุนเงินทุนของเรา (1/k ได้ 10) ได้เป็น P/E = 10 + PVG/E ได้เจ้า PVG/E นี่จะต้องเป็น 20
เพื่อให้ P/E เท่ากับ 30 โอ้ว!!! ไอ้เจ้า PVG/E = 20 ที่เพิ่มขึ้นมานี่แหละ เรียกได้ว่าคือ P/E ในอนาคต มันมาจากอนาคตที่สดใสของกิจการ
ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพของธุรกิจ การเติบโตของกำไร และการคาดการณ์ของเหล่านักลงทุนมือฉมัง
บางท่านอาจใช้ต้นทุนเงินทุนที่ถึงจุดอิ่มตัวแต่มีการเติบโตคงที่ตามเงินเฟ้อ (2.5-3.5%) หรือการเติบโตของเศรษฐกิจ (3.5-5.5%)
ต้นทุนเงินทุนจะลดลงไปอีก จากสูตร 1/k-r ให้ r คืออัตราเติบโตคงที่ในอนาคตตลอดไป
(1/0.10-0.03 = 1/0.07 ทำให้ P/E เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 14 เท่าเลยทีเดียว บวกกับเรื่องราวการเติบโต
ในอนาคตที่อาจเกินขึ้นได้อีก (PVG) ทำให้ P/E หุ้นค้าปลีกตัวนี้ต้องมากกว่า 30 เท่าแน่ๆ
หลายๆคนแหยงมากๆกับราคาที่เป็น 30 เท่าของกำไร)
โอ้ว!!! ดูเหมือนถ้ากิจการไปได้ดี ราคาหุ้นก็ไปได้ดีด้วย เหมือนแทบไม่มีที่สิ้นสุด
แต่... ในความเป็นจริงมีเรื่องเช่นนั้นหรือไม่? บางกิจการตั้งอยู่นานแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว
บางกิจการถูกควบรวม บางกิจการหันไปทำธุรกิจใหม่ๆเหลือไว้แต่ชื่อเดิม ฯลฯ
เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น
ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล
ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด
มูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ
และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าเงินสดในปัจจุบัน
เขียนเป็นสมการทางการเงินได้คือ
P = E/k + PVG
P = มูลค่าหุ้น
E = กำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนั้นๆ
k = ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน
PVG = มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตต่อหุ้น
เราเอา E หรือกำไรต่อหุ้นเข้ามาหาร ก็ได้เป็น P/E Ratio
P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราไม่เห็นการเติบโตค่า P/E จะเท่ากับ 1/k คือไม่มีส่วน PVG/E มาบวก
ราคาหุ้นจะมีมูลค่าเพียงกำไรสุทธิต่อหุ้นหารด้วยต้นทุนเงินลงทุนของนักลงทุน P = E/k
ถ้ามีการเติบโตก็เป็น P = E/k + PVG
จัดรูปใหม่เป็น (ดึงตัว E ออกมา) ถ้าไม่เห็นการเติบโตคือ P = 1/k * E
ถ้ามีการเติบโตก็ได้เป็น P = 1/k * E + PVG
อันนี้เองที่เราๆใช้กันโดยทั่วไปในการหามูลค่าหุ้น
P/E = 10 นี้มีที่มาจากไหน ถ้าให้ชัดเจนว่าตัวเลข 10
มันก็คือตัวคูณซึ่งมาจากต้นทุนผู้ถือหุ้น (P/E = 1/k)
ค่า 1/k ก็คือ 1/ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน (Risk Free Rate + Risk Primium นั่นเอง)
ทีนี้ต้นทุนที่ใช้กันโดยเฉลี่ยก็ขึ้นกับผลตอบแทนพันธบัตร กับผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาดหุ้น
ในไทยประมาณ 3.5-4.0% ณ.เวลานี้ บวกกับของตลาด 6.5-7.0% ได้ประมาณ 10-11%
ซึ่งเป็นผลตอบแทนของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่คุ้มกับความเสี่ยงที่เอาเงินมาลงทุน
ก็ได้ออกมาเป็น 1/0.10 หรือ 1/0.11 ได้ P/E 10 หรือ 11 เท่า
เวลาคิดง่ายๆก็เอา กำไรสุทธิปัจจุบันต่อหุ้น มาคูณกับค่า P/E จะได้ออกมาเป็นมูลค่าหุ้นนั่นเอง
เช่น P/E 10 เท่า กำไรได้ 10 บาทต่อหุ้น ได้ราคาที่ควรจะเป็น 10 * 10 = 100 บาทกันไป
(จาก P = 1/k * E เป็น P = 10 (มาจาก 1/0.10) * E )
ซึ่งค่า P/E เฉลี่ยที่เหมาะสมเราต้องตรวจสอบสถานการณ์ขณะนั้นๆด้วย
ว่าต้นทุนเงินทุนของนักลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่ง Risk Free Rate ก็ขึ้นกับอัตราผลตอนแทนพันธบัตร
ซึ่งก็ขึ้นกับความน่าเชื่อถือด้านการคลังของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยของตลาด อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ
และผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาด Risk Premium ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลายาวนานด้วย
P/E = 10 ก็เลยเป็นค่ามาตรฐานในการให้มูลค่าหุ้นตอนนี้ แต่มันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต
หุ้นที่ P/E ต่ำอาจเป็นเพราะมันไม่เติบโต หรือมีความเสี่ยงที่ทำให้นักลงทุนต้องการผลตอบแทนมากขึ้น
หรือไม่มีมูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตมารวม (PVG) ด้วย
เช่น เป็นหุ้นวัฏจักรที่คาดการณ์กำไรลำบาก หรืออุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนสูงตลอดเวลาทำให้ใช้เงินเยอะ
ทำให้ผลตอบแทนต่ำ หุ้นที่ยอดขายเริ่มตกลงอย่างถาวร กำไรลดดลง หุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมตะวันตกดิน ฯลฯ
ซึ่งจะสะท้อนจากต้นทุนเงินทุนที่มากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย (P/E = 1/k เช่น P/E = 1/0.15 เหลือ P/E = 6.67 เท่า ต่ำใช้ได้ VI ชอบ?)
หรือหุ้นที่ P/E ต่ำเพราะกำไรสุทธิต่อหุ้นโตมากในขณะที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมุมมองของนักลงทุน
เพราะเป็นหุ้นที่ไม่มีเสน่ห์ ทำธุรกิจไม่น่าสนใจ แถมอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ
ซึ่งหุ้นพวกนี้ ปีเตอร์ ลินซ์ จะชอบมากเพราะไม่มีคนสนใจ ทำให้มีราคาถูก และมีโอกาสทำกำไรถ้านักลงทุนอื่นๆเห็นว่ามันดี
ทีนี้ หุ้นที่ P/E สูง มาจากไหน มันก็มาจาก มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG) มารวมด้วย
จาก P/E = 1/k + PVG/E
เจ้า "มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG)" นี่แหละ ที่เหล่านักลงทุนต้องหาออกมาให้ได้
พอได้แล้วมาหารด้วยค่า E ก็จะได้ PVG/E มันคือ P/E ในอนาคต ถ้านำมารวมกับ P/E ปัจจุบัน 1/k ซึ่ง k คือต้นทุน
เงินทุนของนักลงทุนก็จะได้ ค่า P/E ที่ดูสูงเลย แต่มันอาจจะไม่แพงก็ได้ ถ้ากิจการยังเติบโตได้อย่างดี
เช่น หุ้นค้าปลีกสุดฮอทตัวนึง มีค่า P/E 30 เท่า ถ้าเรามองในแง่ที่ว่า P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราคิดต้นทุนเงินทุนของเรา (1/k ได้ 10) ได้เป็น P/E = 10 + PVG/E ได้เจ้า PVG/E นี่จะต้องเป็น 20
เพื่อให้ P/E เท่ากับ 30 โอ้ว!!! ไอ้เจ้า PVG/E = 20 ที่เพิ่มขึ้นมานี่แหละ เรียกได้ว่าคือ P/E ในอนาคต มันมาจากอนาคตที่สดใสของกิจการ
ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพของธุรกิจ การเติบโตของกำไร และการคาดการณ์ของเหล่านักลงทุนมือฉมัง
บางท่านอาจใช้ต้นทุนเงินทุนที่ถึงจุดอิ่มตัวแต่มีการเติบโตคงที่ตามเงินเฟ้อ (2.5-3.5%) หรือการเติบโตของเศรษฐกิจ (3.5-5.5%)
ต้นทุนเงินทุนจะลดลงไปอีก จากสูตร 1/k-r ให้ r คืออัตราเติบโตคงที่ในอนาคตตลอดไป
(1/0.10-0.03 = 1/0.07 ทำให้ P/E เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 14 เท่าเลยทีเดียว บวกกับเรื่องราวการเติบโต
ในอนาคตที่อาจเกินขึ้นได้อีก (PVG) ทำให้ P/E หุ้นค้าปลีกตัวนี้ต้องมากกว่า 30 เท่าแน่ๆ
หลายๆคนแหยงมากๆกับราคาที่เป็น 30 เท่าของกำไร)
โอ้ว!!! ดูเหมือนถ้ากิจการไปได้ดี ราคาหุ้นก็ไปได้ดีด้วย เหมือนแทบไม่มีที่สิ้นสุด
แต่... ในความเป็นจริงมีเรื่องเช่นนั้นหรือไม่? บางกิจการตั้งอยู่นานแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว
บางกิจการถูกควบรวม บางกิจการหันไปทำธุรกิจใหม่ๆเหลือไว้แต่ชื่อเดิม ฯลฯ
เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น
ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล
ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 19
PAE กำไรทั้งปี 0.06pak เขียน:สืบเนื่องจากกระทู้เรื่อง "ผลประกอบการ ไตรมาส4/2554"
ที่ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=50957
ถ้ามองคร่าวๆว่า...ตลาดให้พีอีกับหุ้น 10 เท่า
ดังนั้น ถ้าผมเอา "เลข 10" ไปคูณกับ "ตัวเลขกำไรสุทธิต่อหุ้น(บาท/หุ้น)"
ผลลัพธ์ที่ออกมา...มันควรจะเป็น "ราคาหุ้นที่เหมาะสม" เลย ใช่ไหมครับ???
พอคิดเล่นๆแบบนี้ ก็อ่านกระทู้นั้นเพลินเชียวครับ ^ ^
x10 ได้ 0.60
ตอนนี้ อยู่ที่ 1.5
เพลินเลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 20
ชอบมากครับคุณ Tibular ที่สามารถโยงความสัมพันธ์ระหว่าง PE และ DCF ของกิจการ พร้อมยกตัวอย่าง สุดยอดและขอคาระวะครับ มาให้ความรู้บ่อยๆนะครับ
เพราะหุ้นจะขึ้นได้มันก็อยู่ที่ E และ PVG อย่างที่ท่านว่าจริงๆ PVG เป็นตัวทำให้ PE มี premium
เพราะหุ้นจะขึ้นได้มันก็อยู่ที่ E และ PVG อย่างที่ท่านว่าจริงๆ PVG เป็นตัวทำให้ PE มี premium
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 22
ใช้ได้คับ อยู่ที่เราเข้าใจคอนเซ็ป PE และตัวธุรกิจของกิจการแค่ไหนviim เขียน:PE น่าจะใช้ได้ดีกับหุ้นเติบโต หุ้นแข็งแกร่งหรือป่าวครับ หุ้น turn around และ cyclical น่าจะดูที่อย่างอื่น เช่น PBV หรือ วัฎจักรของธุรกิจ ไม่แน่ใจ
หุ้น turn around นั้น PE จะดูสูงมาก เพราะมันขาดทุนมาก่อน หรือวัด PE ไม่ได้เลย
มองไปในอนาคตแทบไม่เห็นอะไรก่อนที่มันจะ turn around แต่เด๋วก่อน ถ้าเราลอง
ติดตามเรื่องราวไปเรื่อยๆจะพบว่าหุ้นที่จะ turn around มันจะมีเรื่องเข้ามาทำให้ตัวธุรกิจ
ของบริษัทดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนธุรกิจ การล้างหนี้ การควบรวม ทำสินค้าใหม่
ขยายตลาดใหม่ ฯลฯ หุ้น turn around ที่ให้ภาพอนาคตที่เป็นไปได้ดี นักลงทุนมือฉมัง
ที่ติดตามข่าวสาร ข้อมูลของกิจการ จะทำการประมาณการกันแล้ว ว่าถ้าแผนการของ
บริษัทเป็นไปได้มากกว่า 70% จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นเท่าใด และค่า PE จะลดลงเท่าใด
ทำให้หุ้นถูกในสายตาเค้า และจะเข้าไปเก็บสะสมไว้ ณ.ราคาที่ยังไม่มีคนสนใจ ซึ่ง ณ.ระดับ
ราคาที่เค้าไปเก็บไว้นั้น เค้าต้องมั่นใจว่า ตัว P หุ้น หรือราคาของหุ้นจะสะท้อนพื้นฐานหุ้นแล้ว (คือถูกมาก เพราะกิจการไม่ดีนี่นา)
ต่อมาเมื่อกิจการทำตามแผนของตัวเองได้ กำไรพุ่งมา ทำให้ PE ต่ำลงเรื่อยๆ เพราะค่า E มากขึ้นเรื่อยๆ
นักลงทุนอื่นๆจะเริ่มเข้ามาสนใจ อย่างที่เรารู้ๆกัน ก็จะเริ่มมีข่าว มีบทวิเคราะห์ มีนั่น มีนี่ เข้ามาเต็มไปหมด
ทำให้เป็นหุ้นที่น่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ ราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นเรื่อยๆ จน PE เริ่มกลับไปสูงขึ้นอีกเพราะอนาคตยังดูดี
นักลงทุนมือฉมังที่คาดการณ์ไว้แล้ว จะได้กำไรถึงสองสามสี่เด้ง
จากตอนแรกที่เค้าเก็บตอนราคาต่ำ
เด้งแรก จากการที่นักลงทุนเริ่มสนใจเข้ามาไล่ราคา
เด้งสอง จาก PE หุ้นที่เพิ่มขึ้น เพราะดูดีมีอนาคต (การเติบโต) ดึงดูดคนมาซื้ออีก
เด้งสาม จากกำไรในอนาคต ถ้าหุ้น turn around ทำได้ตามแผนการ (กำไรเพิ่ม*PEที่สูง) ราคาจะสูงขึ้นไปอีก
เด้งสี่ จากการตามๆกันอย่างไม่ลืมหูลืมตาของนักลงทุนลำดับถัดมา
เป็นเหตุให้นักลงทุนมือฉมังที่ลงทุนในหุ้น หุ้น turn around ทำกำไรได้มหาศาล
ส่วนหุ้น cyclical ก็จะคล้ายๆกันแต่จะเป็นว่า ณ. PE ต่ำสุดของมัน ว่าต่ำเพราะอะไร
ดูก่อนว่าต่ำเพราะมันมีกำไรเยอะ หรือว่าต่ำแต่กำไรอยู่ในช่วงปกติ ณ.ราคาปกติ (ราคาปกติที่ตลาดให้ราคา)
ถ้าต่ำเพราะกำไรเยอะ ก็ต้องมาดูอีกว่า ระดับปริมาณ และราคาของสินค้าของกิจการ เหมาะ
สมกับดีมานด์ ซัพพลายในตลาดหรือเปล่า ยังมีดีมานด์อีก หรือเริ่มอิ่มตัว ยังมีการผลิตจากที่อื่นเข้ามาเพิ่ม
หรือทรงตัว จุดสำคัญเราต้องคาดการณ์ว่า ถ้าความต้องการเริ่มลดลง จะด้วยสาเหตุว่า ราคาสินค้าแพงขึ้นมากเกิน
กว่าจะแบกรับต้นทุนไหว หรือมีการผลิตมากขึ้นจากฝั่งผู้ผลิตเพราะเห็นว่าราคาสินค้าดี ณ.จุดตรงนี้
จะทำให้ราคาสินค้าเริ่มลดเพราะความต้องการน้อยลง กับทางฝั่งผลิตต้องการระบายสินค้าที่ผลิตมากเกินไป
กลัวขายไม่ออก ก็จะลดราคาสินค้าไปอีก นี่เป็นขาลงของ หุ้น cyclical แล้วซึ่งมักเป็นตอน PE ต่ำๆ กำไรดี (ที่น้องโบชอบเชียร์ 555)
ใครซื้อก็ติดดอยประจำพวกปิโตรเคมีทั้งหลาย ถ้ามันแย่มากๆ ก็จะให้กิจการถึงกับกำไรหดหาย กลายเป็น PE สูงขึ้นมาอีก
E น้อยลงเมื่อเทียบกับ P (ราคาที่มี่ชาวไล่มานานแล้วเพราะน้องโบบอกว่าเติบโตอีกๆ) กลายเป็นหุ้นราคาแพงไปเสียฉิบ
ที่นี้ถ้าเรามั่นใจว่าจะมีดีมานด์อีก (สินค้าเริ่มขาด) และซัพพลายยังน้อย(เพราะเข็ดไม่ผลิต) จะด้วยเหตุอะไร
และเราอยากจะทำการเกร็งกำไร หุ้น cyclical เราต้อง
มั่นใจว่า PE ขณะนั้นที่ยังสูงมาจาก (E ลดน้อยหรือขาดทุน P ราคาปรับลงมาเหมาะสมจากการที่ตลาดรับรู้พื้นฐานไปแล้วหรือยัง)
แล้วจึงทำการเก็บ แล้วรอรอบวัฏจักรใหม่ต่อไป แล้วไปขายโน่นตอน หุ้น cyclical PE ต่ำลง
หมายเหตุ ขออภัยน้องโบที่อ้างถึง แต่ถึงยังไงน้องโบก็เป็นมิตรกับนักลงทุนเสมอมา
เราควรดูเรโชอื่นๆประกอบด้วยเสมอ PE PB PS ฯลฯ งบการเงิน ข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 23
แสดงว่าทั้งหุ้น turn around และ cyclical ก็ต้องดูที่ตัว E ในอนาคตว่าจะเพิ่มได้อย่างไร โดยที่ PE ไม่ได้บอกอะไรมากนัก แต่ดูประกอบว่า P ได้สะท้อนความตกต่ำของการดำเนินธุรกิจหรือยัง ถ้าในอนาคตเรามั่นใจว่าธุรกิจจะกลับมาฟื้นใหม่ เราก็ซื้อได้ อย่างนี้ใช่มั๊ยครับ
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 24
viim เขียน:แสดงว่าทั้งหุ้น turn around และ cyclical ก็ต้องดูที่ตัว E ในอนาคตว่าจะเพิ่มได้อย่างไร โดยที่ PE ไม่ได้บอกอะไรมากนัก แต่ดูประกอบว่า P ได้สะท้อนความตกต่ำของการดำเนินธุรกิจหรือยัง ถ้าในอนาคตเรามั่นใจว่าธุรกิจจะกลับมาฟื้นใหม่ เราก็ซื้อได้ อย่างนี้ใช่มั๊ยครับ
ช่ายคับ ขึ้นกับการคาดการณ์ E ที่กิจการจะทำได้อย่างสมเหตุสมผล แล้วตัว PE ก็สำคัญนะคับ เพราะเอาไว้ดูว่าตอนนั้นๆ
กิจการอยู่ในสภาพแบบไหน เป็นตัวกรองตัวแรก ประกอบกันไปกับตัว P คับ รวมกับสตอรี่ของกิจการด้วย
การใช้ค่า PE บอกอะไรได้หลายอย่างคับ อย่าลืมดูเทียบๆกับปีที่ผ่านมาด้วยนะคับ ถ้าติดตามยาวนานพอ
ก็จะเห็นความสัมพันธ์ของสตอรี่ของกิจการ ณ.ช่วงเวลานั้นๆ กับค่า PE ด้วย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 26
ถ้าจะบอกว่ามูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสด แต่ EPS ไม่ใช่เงินสด แล้วทำไมถึงนำมาคำนวณละครับTibular เขียน:ขอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์นะคับ
มูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ
และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าเงินสดในปัจจุบัน
เขียนเป็นสมการทางการเงินได้คือ
P = E/k + PVG
P = มูลค่าหุ้น
E = กำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนั้นๆ
k = ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน
PVG = มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตต่อหุ้น
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 27
chatchai เขียน:ถ้าจะบอกว่ามูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสด แต่ EPS ไม่ใช่เงินสด แล้วทำไมถึงนำมาคำนวณละครับTibular เขียน:ขอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์นะคับ
มูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ
และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าเงินสดในปัจจุบัน
เขียนเป็นสมการทางการเงินได้คือ
P = E/k + PVG
P = มูลค่าหุ้น
E = กำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนั้นๆ
k = ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน
PVG = มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตต่อหุ้น
ขอบคุณพี่ Chatchai คับที่คอมเม้นไว้ ขอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีกนะคับ
เพื่อให้เข้าใจในคอนเซ็ปการหามูลค่าหุ้นน่ะคับ จะเปลี่ยนมาใช้เป็นกระแสเงินสดอิสระก็ได้
ก็จะละเอียดถูกต้องกันขึ้นไปอีก
ขอนิยามเงินสดในความหมายทางบัญชี ก็คือเงินสดในมือ ที่ถือไว้สำหรับสภาพคล่องในระยะสั้น
อาจมีเงินสดในมือ เงินฝาก ตั๋วเงิน เงินลงทุนระยะสั้นที่ไม่มีพันธะ เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า
EPS ไม่ใช่เงินสด?
จริงๆควรจะเรียกว่า กำไรสุทธิต่อหุ้น กับ กำไรเงินสดต่อหุ้น ซึ่งทั้งสองอย่าง อาจไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นกับการประกอบธุรกิจ
เช่น กิจการขายเงินสด หรือขายเงินเชื่อ เมื่อได้รับรายได้ได้เป็นเงินสดเลย หรือต้องให้เครดิตลูกหนี้การค้าไว้ก่อน (มีกำไรแต่ไม่มีกำไรเงินสด
เพราะต้องบันทึกไว้ตามหลักบัญชี)
ในการประเมินมูลค่าหุ้นจากกระแสเงินสด เอาเน้นๆจริงๆตามหลัก เราให้ความสนใจกับกำไรเงินสดมากกว่า
(กำไรเงินสด พอมาในงบกระแสเงินสด มีชื่อเรียกเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ปกติถ้าอยากรู้ เราดูได้จากงบกระแสเงินสด)
ถ้าเราต้องการเงินสดที่เป็นของผู้ถือหุ้นจริงๆ ก็จะต้องมีการปรับปรุงนิดหน่อย เค้าเรียกกว่า Free Cash Flows
ก็ได้มาจาก กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด (ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ฯลฯ เพราะไม่ได้จ่ายเงินออกไปจริง)
หักลบเงินทุนหมุนเวียน หักเงินลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวที่ทำประโยชน์ให้แก่กิจการ อย่าลืมหักภาษีด้วย
ที่ยกตัวอย่างการหามูลค่าจากสมการนี้ P = E/k + PVG ก็เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
และที่ใช้กำไรสุทธิก็เพราะว่ามันสมเหตุสมผลในการวัดรายได้
ที่จับคู่กับค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้นๆ ทำให้กำไรดูสม่ำเสมอ ง่ายในการทำความเข้าใจ
เพราะบางทีกำไรเงินสดอาจจะมากปีบัญชีนั้น น้อยลงในปีบัญชีนี้
ทีนี้เพื่อให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้นเราต้องมีการปรับปรุงกำไรสุทธิด้วย
เพราะฉะนั้นเราต้องดูธุรกิจประกอบเสมอ ดูได้จากไหน สำหรับนักลงทุนวงนอกก็คงดูได้จากงบการเงินนั่นเอง
ถ้าเป็นกลุ่มที่มีรายรับเป็นเงินสดสม่ำเสมอก็เป็นอันได้ว่า กำไรสุทธิก็เป็นกำไรเงินสดจริงๆ (ใกล้เคียงหน่อย)
ถ้าเป็นกลุ่มที่มีรายรับจากการขายเชื่อ ก็ต้องมาดูว่ารายรับที่ทำให้เกิดกำไรเงินสดที่ตามมาจะสม่ำเสมอไหม
ก็ต้องอาศัยการตรวจสอบรายละเอียดอีกทีต่อไป
อาจจะเรียกได้ว่าเราสามารถเจาะลึกลงไปในการหามูลค่าหุ้นให้ละเอียดตามที่เราต้องการได้
ขอให้เราเข้าใจคอนเซ็ปต่างๆ
ก็ขออภัยคับ บางทีอาจตกหล่นไปบางประเด็น อยากเขียนให้มือใหม่เข้าใจง่ายๆ
มือใหม่ก็ทำการบ้านด้วยนะคับเวลาอ่าน
มือเก่าก็ท้วงติงได้คับถ้าเขียนไว้ไม่ถูกต้อง
ขอให้ลงทุนกันอย่างมีความสุขคับ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 28
ขุดมาให้อ่านกันสนุกๆ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 29
Tibular เขียน:ขอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์นะคับ
มูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ
และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าเงินสดในปัจจุบัน
เขียนเป็นสมการทางการเงินได้คือ
P = E/k + PVG
P = มูลค่าหุ้น
E = กำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนั้นๆ
k = ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน
PVG = มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตต่อหุ้น
เราเอา E หรือกำไรต่อหุ้นเข้ามาหาร ก็ได้เป็น P/E Ratio
P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราไม่เห็นการเติบโตค่า P/E จะเท่ากับ 1/k คือไม่มีส่วน PVG/E มาบวก
ราคาหุ้นจะมีมูลค่าเพียงกำไรสุทธิต่อหุ้นหารด้วยต้นทุนเงินลงทุนของนักลงทุน P = E/k
ถ้ามีการเติบโตก็เป็น P = E/k + PVG
จัดรูปใหม่เป็น (ดึงตัว E ออกมา) ถ้าไม่เห็นการเติบโตคือ P = 1/k * E
ถ้ามีการเติบโตก็ได้เป็น P = 1/k * E + PVG
อันนี้เองที่เราๆใช้กันโดยทั่วไปในการหามูลค่าหุ้น
P/E = 10 นี้มีที่มาจากไหน ถ้าให้ชัดเจนว่าตัวเลข 10
มันก็คือตัวคูณซึ่งมาจากต้นทุนผู้ถือหุ้น (P/E = 1/k)
ค่า 1/k ก็คือ 1/ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน (Risk Free Rate + Risk Primium นั่นเอง)
ทีนี้ต้นทุนที่ใช้กันโดยเฉลี่ยก็ขึ้นกับผลตอบแทนพันธบัตร กับผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาดหุ้น
ในไทยประมาณ 3.5-4.0% ณ.เวลานี้ บวกกับของตลาด 6.5-7.0% ได้ประมาณ 10-11%
ซึ่งเป็นผลตอบแทนของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่คุ้มกับความเสี่ยงที่เอาเงินมาลงทุน
ก็ได้ออกมาเป็น 1/0.10 หรือ 1/0.11 ได้ P/E 10 หรือ 11 เท่า
เวลาคิดง่ายๆก็เอา กำไรสุทธิปัจจุบันต่อหุ้น มาคูณกับค่า P/E จะได้ออกมาเป็นมูลค่าหุ้นนั่นเอง
เช่น P/E 10 เท่า กำไรได้ 10 บาทต่อหุ้น ได้ราคาที่ควรจะเป็น 10 * 10 = 100 บาทกันไป
(จาก P = 1/k * E เป็น P = 10 (มาจาก 1/0.10) * E )
ซึ่งค่า P/E เฉลี่ยที่เหมาะสมเราต้องตรวจสอบสถานการณ์ขณะนั้นๆด้วย
ว่าต้นทุนเงินทุนของนักลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่ง Risk Free Rate ก็ขึ้นกับอัตราผลตอนแทนพันธบัตร
ซึ่งก็ขึ้นกับความน่าเชื่อถือด้านการคลังของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยของตลาด อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ
และผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาด Risk Premium ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลายาวนานด้วย
P/E = 10 ก็เลยเป็นค่ามาตรฐานในการให้มูลค่าหุ้นตอนนี้ แต่มันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต
หุ้นที่ P/E ต่ำอาจเป็นเพราะมันไม่เติบโต หรือมีความเสี่ยงที่ทำให้นักลงทุนต้องการผลตอบแทนมากขึ้น
หรือไม่มีมูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตมารวม (PVG) ด้วย
เช่น เป็นหุ้นวัฏจักรที่คาดการณ์กำไรลำบาก หรืออุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนสูงตลอดเวลาทำให้ใช้เงินเยอะ
ทำให้ผลตอบแทนต่ำ หุ้นที่ยอดขายเริ่มตกลงอย่างถาวร กำไรลดดลง หุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมตะวันตกดิน ฯลฯ
ซึ่งจะสะท้อนจากต้นทุนเงินทุนที่มากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย (P/E = 1/k เช่น P/E = 1/0.15 เหลือ P/E = 6.67 เท่า ต่ำใช้ได้ VI ชอบ?)
หรือหุ้นที่ P/E ต่ำเพราะกำไรสุทธิต่อหุ้นโตมากในขณะที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมุมมองของนักลงทุน
เพราะเป็นหุ้นที่ไม่มีเสน่ห์ ทำธุรกิจไม่น่าสนใจ แถมอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ
ซึ่งหุ้นพวกนี้ ปีเตอร์ ลินซ์ จะชอบมากเพราะไม่มีคนสนใจ ทำให้มีราคาถูก และมีโอกาสทำกำไรถ้านักลงทุนอื่นๆเห็นว่ามันดี
ทีนี้ หุ้นที่ P/E สูง มาจากไหน มันก็มาจาก มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG) มารวมด้วย
จาก P/E = 1/k + PVG/E
เจ้า "มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG)" นี่แหละ ที่เหล่านักลงทุนต้องหาออกมาให้ได้
พอได้แล้วมาหารด้วยค่า E ก็จะได้ PVG/E มันคือ P/E ในอนาคต ถ้านำมารวมกับ P/E ปัจจุบัน 1/k ซึ่ง k คือต้นทุน
เงินทุนของนักลงทุนก็จะได้ ค่า P/E ที่ดูสูงเลย แต่มันอาจจะไม่แพงก็ได้ ถ้ากิจการยังเติบโตได้อย่างดี
เช่น หุ้นค้าปลีกสุดฮอทตัวนึง มีค่า P/E 30 เท่า ถ้าเรามองในแง่ที่ว่า P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราคิดต้นทุนเงินทุนของเรา (1/k ได้ 10) ได้เป็น P/E = 10 + PVG/E ได้เจ้า PVG/E นี่จะต้องเป็น 20
เพื่อให้ P/E เท่ากับ 30 โอ้ว!!! ไอ้เจ้า PVG/E = 20 ที่เพิ่มขึ้นมานี่แหละ เรียกได้ว่าคือ P/E ในอนาคต มันมาจากอนาคตที่สดใสของกิจการ
ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพของธุรกิจ การเติบโตของกำไร และการคาดการณ์ของเหล่านักลงทุนมือฉมัง
บางท่านอาจใช้ต้นทุนเงินทุนที่ถึงจุดอิ่มตัวแต่มีการเติบโตคงที่ตามเงินเฟ้อ (2.5-3.5%) หรือการเติบโตของเศรษฐกิจ (3.5-5.5%)
ต้นทุนเงินทุนจะลดลงไปอีก จากสูตร 1/k-r ให้ r คืออัตราเติบโตคงที่ในอนาคตตลอดไป
(1/0.10-0.03 = 1/0.07 ทำให้ P/E เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 14 เท่าเลยทีเดียว บวกกับเรื่องราวการเติบโต
ในอนาคตที่อาจเกินขึ้นได้อีก (PVG) ทำให้ P/E หุ้นค้าปลีกตัวนี้ต้องมากกว่า 30 เท่าแน่ๆ
หลายๆคนแหยงมากๆกับราคาที่เป็น 30 เท่าของกำไร)
โอ้ว!!! ดูเหมือนถ้ากิจการไปได้ดี ราคาหุ้นก็ไปได้ดีด้วย เหมือนแทบไม่มีที่สิ้นสุด
แต่... ในความเป็นจริงมีเรื่องเช่นนั้นหรือไม่? บางกิจการตั้งอยู่นานแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว
บางกิจการถูกควบรวม บางกิจการหันไปทำธุรกิจใหม่ๆเหลือไว้แต่ชื่อเดิม ฯลฯ
เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น
ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล
ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด
นั่งอ่านไป อ่านมา งงๆ นิดหน่อย
แต่ เหมือนในชีวิตจริง
มันจะใช้แค่
P = PVG
e/k น่าจะตี เท่ากับ 0 หรือเปล่าคับ
คือมานั่งคิดวีธีส่วนตัว เทียบกับ สูตร อะคับ
เข้าใจ ว่า พี่ tibular อยากแค่ชี้แจงที่มาที่ไป ใช่ป่าวคับ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 1109
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาสิบคูณ...แล้วเป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมเลยหรือ???(คิดเล่น
โพสต์ที่ 30
งงครับว่า กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน มันบวกกลับด้วยค่าเสื่อมแล้วไม่ใช่หรอครับ ทำไมต้องบวกกลับอีกnut776 เขียน:Tibular เขียน:ขอเพิ่มเติมให้สมบูรณ์นะคับ
มูลค่าหุ้นมาจากกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ
และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าเงินสดในปัจจุบัน
เขียนเป็นสมการทางการเงินได้คือ
P = E/k + PVG
P = มูลค่าหุ้น
E = กำไรสุทธิต่อหุ้นในปีนั้นๆ
k = ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน
PVG = มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตต่อหุ้น
เราเอา E หรือกำไรต่อหุ้นเข้ามาหาร ก็ได้เป็น P/E Ratio
P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราไม่เห็นการเติบโตค่า P/E จะเท่ากับ 1/k คือไม่มีส่วน PVG/E มาบวก
ราคาหุ้นจะมีมูลค่าเพียงกำไรสุทธิต่อหุ้นหารด้วยต้นทุนเงินลงทุนของนักลงทุน P = E/k
ถ้ามีการเติบโตก็เป็น P = E/k + PVG
จัดรูปใหม่เป็น (ดึงตัว E ออกมา) ถ้าไม่เห็นการเติบโตคือ P = 1/k * E
ถ้ามีการเติบโตก็ได้เป็น P = 1/k * E + PVG
อันนี้เองที่เราๆใช้กันโดยทั่วไปในการหามูลค่าหุ้น
P/E = 10 นี้มีที่มาจากไหน ถ้าให้ชัดเจนว่าตัวเลข 10
มันก็คือตัวคูณซึ่งมาจากต้นทุนผู้ถือหุ้น (P/E = 1/k)
ค่า 1/k ก็คือ 1/ต้นทุนเงินทุนของนักลงทุน (Risk Free Rate + Risk Primium นั่นเอง)
ทีนี้ต้นทุนที่ใช้กันโดยเฉลี่ยก็ขึ้นกับผลตอบแทนพันธบัตร กับผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาดหุ้น
ในไทยประมาณ 3.5-4.0% ณ.เวลานี้ บวกกับของตลาด 6.5-7.0% ได้ประมาณ 10-11%
ซึ่งเป็นผลตอบแทนของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่คุ้มกับความเสี่ยงที่เอาเงินมาลงทุน
ก็ได้ออกมาเป็น 1/0.10 หรือ 1/0.11 ได้ P/E 10 หรือ 11 เท่า
เวลาคิดง่ายๆก็เอา กำไรสุทธิปัจจุบันต่อหุ้น มาคูณกับค่า P/E จะได้ออกมาเป็นมูลค่าหุ้นนั่นเอง
เช่น P/E 10 เท่า กำไรได้ 10 บาทต่อหุ้น ได้ราคาที่ควรจะเป็น 10 * 10 = 100 บาทกันไป
(จาก P = 1/k * E เป็น P = 10 (มาจาก 1/0.10) * E )
ซึ่งค่า P/E เฉลี่ยที่เหมาะสมเราต้องตรวจสอบสถานการณ์ขณะนั้นๆด้วย
ว่าต้นทุนเงินทุนของนักลงทุนเป็นอย่างไร ซึ่ง Risk Free Rate ก็ขึ้นกับอัตราผลตอนแทนพันธบัตร
ซึ่งก็ขึ้นกับความน่าเชื่อถือด้านการคลังของรัฐบาล อัตราดอกเบี้ยของตลาด อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ
และผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นของตลาด Risk Premium ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลายาวนานด้วย
P/E = 10 ก็เลยเป็นค่ามาตรฐานในการให้มูลค่าหุ้นตอนนี้ แต่มันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต
หุ้นที่ P/E ต่ำอาจเป็นเพราะมันไม่เติบโต หรือมีความเสี่ยงที่ทำให้นักลงทุนต้องการผลตอบแทนมากขึ้น
หรือไม่มีมูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโตมารวม (PVG) ด้วย
เช่น เป็นหุ้นวัฏจักรที่คาดการณ์กำไรลำบาก หรืออุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนสูงตลอดเวลาทำให้ใช้เงินเยอะ
ทำให้ผลตอบแทนต่ำ หุ้นที่ยอดขายเริ่มตกลงอย่างถาวร กำไรลดดลง หุ้นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมตะวันตกดิน ฯลฯ
ซึ่งจะสะท้อนจากต้นทุนเงินทุนที่มากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย (P/E = 1/k เช่น P/E = 1/0.15 เหลือ P/E = 6.67 เท่า ต่ำใช้ได้ VI ชอบ?)
หรือหุ้นที่ P/E ต่ำเพราะกำไรสุทธิต่อหุ้นโตมากในขณะที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมุมมองของนักลงทุน
เพราะเป็นหุ้นที่ไม่มีเสน่ห์ ทำธุรกิจไม่น่าสนใจ แถมอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่น่าสนใจ
ซึ่งหุ้นพวกนี้ ปีเตอร์ ลินซ์ จะชอบมากเพราะไม่มีคนสนใจ ทำให้มีราคาถูก และมีโอกาสทำกำไรถ้านักลงทุนอื่นๆเห็นว่ามันดี
ทีนี้ หุ้นที่ P/E สูง มาจากไหน มันก็มาจาก มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG) มารวมด้วย
จาก P/E = 1/k + PVG/E
เจ้า "มูลค่าปัจจุบันของโอกาสในการเติบโต (PVG)" นี่แหละ ที่เหล่านักลงทุนต้องหาออกมาให้ได้
พอได้แล้วมาหารด้วยค่า E ก็จะได้ PVG/E มันคือ P/E ในอนาคต ถ้านำมารวมกับ P/E ปัจจุบัน 1/k ซึ่ง k คือต้นทุน
เงินทุนของนักลงทุนก็จะได้ ค่า P/E ที่ดูสูงเลย แต่มันอาจจะไม่แพงก็ได้ ถ้ากิจการยังเติบโตได้อย่างดี
เช่น หุ้นค้าปลีกสุดฮอทตัวนึง มีค่า P/E 30 เท่า ถ้าเรามองในแง่ที่ว่า P/E = 1/k + PVG/E
ถ้าเราคิดต้นทุนเงินทุนของเรา (1/k ได้ 10) ได้เป็น P/E = 10 + PVG/E ได้เจ้า PVG/E นี่จะต้องเป็น 20
เพื่อให้ P/E เท่ากับ 30 โอ้ว!!! ไอ้เจ้า PVG/E = 20 ที่เพิ่มขึ้นมานี่แหละ เรียกได้ว่าคือ P/E ในอนาคต มันมาจากอนาคตที่สดใสของกิจการ
ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพของธุรกิจ การเติบโตของกำไร และการคาดการณ์ของเหล่านักลงทุนมือฉมัง
บางท่านอาจใช้ต้นทุนเงินทุนที่ถึงจุดอิ่มตัวแต่มีการเติบโตคงที่ตามเงินเฟ้อ (2.5-3.5%) หรือการเติบโตของเศรษฐกิจ (3.5-5.5%)
ต้นทุนเงินทุนจะลดลงไปอีก จากสูตร 1/k-r ให้ r คืออัตราเติบโตคงที่ในอนาคตตลอดไป
(1/0.10-0.03 = 1/0.07 ทำให้ P/E เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 14 เท่าเลยทีเดียว บวกกับเรื่องราวการเติบโต
ในอนาคตที่อาจเกินขึ้นได้อีก (PVG) ทำให้ P/E หุ้นค้าปลีกตัวนี้ต้องมากกว่า 30 เท่าแน่ๆ
หลายๆคนแหยงมากๆกับราคาที่เป็น 30 เท่าของกำไร)
โอ้ว!!! ดูเหมือนถ้ากิจการไปได้ดี ราคาหุ้นก็ไปได้ดีด้วย เหมือนแทบไม่มีที่สิ้นสุด
แต่... ในความเป็นจริงมีเรื่องเช่นนั้นหรือไม่? บางกิจการตั้งอยู่นานแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว
บางกิจการถูกควบรวม บางกิจการหันไปทำธุรกิจใหม่ๆเหลือไว้แต่ชื่อเดิม ฯลฯ
เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น
ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล
ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด
นั่งอ่านไป อ่านมา งงๆ นิดหน่อย
แต่ เหมือนในชีวิตจริง
มันจะใช้แค่
P = PVG
e/k น่าจะตี เท่ากับ 0 หรือเปล่าคับ
คือมานั่งคิดวีธีส่วนตัว เทียบกับ สูตร อะคับ
เข้าใจ ว่า พี่ tibular อยากแค่ชี้แจงที่มาที่ไป ใช่ป่าวคับ
และก็เวลาอ่านบทวิเคราะห์ free cash flow เค้าใช้ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ลบ กระแสเงินสดจากการลงทุน รึป่าวครับ รบกวนอธิบายครับ
มีกระแสน้ำสายหนึ่งในกิจกรรมของคน ซึ่งเมื่อมันไหลบ่าท่วมท้น จะนำไปสู่ความมั่งคั่งมหาศาล :Philip A. Fisher