บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่งเอเ
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่งเอเ
โพสต์ที่ 1
บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่งเอเชีย
10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 06:51 น. |
เปิดอ่าน 2,991 |
comment ความคิดเห็น 9
โดย......ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์
กลายเป็นข่าวที่คนไทยต้องจับตาไม่กะพริบ เมื่อบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฟอร์ด เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และทาทา มอเตอร์ส ต่างพร้อมใจกันตบเท้าเดินหน้าบุกตลาดที่ขึ้นชื่อว่าร้อนแรงและกำลังเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอย่าง “อินโดนีเซีย”
เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าเย้ายวนใจมากที่สุดสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน จากศักยภาพการเติบโตที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งก็ว่าได้
ปัจจัยแรก คือ ขนาดของตลาดอินโดนีเซียซึ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยจำนวนผู้บริโภคภายในที่สูงถึง 240 ล้านคน นั่นหมายถึงแรงซื้อที่ใหญ่กว่าไทยมากกว่า 3 เท่าตัว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีจำนวนประชากรที่สูง ทว่าชาวอินโดนีเซียส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของรถยนต์ โดยหนังสือพิมพ์วอลสตรีตเจอร์นัลของสหรัฐเปิดเผยว่า หนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียเพียง 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่ครอบครองรถยนต์
แต่ทว่าในอีกมุมมองหนึ่ง สัดส่วนดังกล่าวสามารถตีความหมายได้ว่า สำหรับผู้ผลิตยานยนต์ต่างชาตินั้น ผู้ที่ยังไม่มีรถ ก็คือกำลังซื้อใหม่ที่ไม่ควรจะมองข้าม
อีกทั้งต้องไม่ลืมว่า ตลาดรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ จีน และอินเดีย นั้นเริ่มอิ่มตัวมากขึ้นแล้ว ตลาดสหรัฐกำลังเจอกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง ยาวนาน และต่อเนื่อง ส่วนตลาดจีนและอินเดียที่เคยเป็นที่หมายปองของบรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติ ก็กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
ตรงกันข้ามกับอินโดนีเซีย ถือเป็นตลาดใหม่ที่มี “ความสด” โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ในอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยยอดจำหน่ายรถยนต์อาจพุ่งสูงถึง 3 ล้านคันต่อปีภายในหนึ่งทศวรรษ จากเดิมที่ 1 ล้านคันต่อปี
ปัจจัยต่อมา คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอินโดนีเซีย โดยล่าสุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554 มีอัตราการเติบโตถึง 6.5% อันเป็นผลพวงจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด และการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 15 ปี โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า และในปีนี้ เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงโตในระดับสูงที่ 6-6.5%
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดาค่ายรถยนต์ชื่อดังจะเริ่มส่งสัญญาณที่จะผลักดันอินโดนีเซียให้กลายเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์” แห่งใหม่ของอาเซียน ขึ้นมาเทียบชั้น หรืออาจจะแทนที่ประเทศไทยที่กำลังงมกับปัญหา “น้ำท่วม” อย่างแทบโงหัวไม่ขึ้น
“ด้วยอัตราการครอบครองรถยนต์ที่ต่ำ และเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรง จึงเรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย” ปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ดอาเซียน ย้ำ
ไล่เรียงมาตั้งแต่ โตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกจากแดนปลาดิบที่คนไทยมักคุ้นกันดี ได้ประกาศทุ่มเงินลงทุนถึง 1.94 แสนล้านเหรียญสหรัฐในอินโดนีเซียเพื่อเพิ่มยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจากปัจจุบันที่ผลิตได้ปีละ 1.1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 แสนคัน ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
โตโยต้ายังเล็งที่จะใช้อินโดนีเซียเป็นฐานส่งออกรถยนต์ที่สำคัญอีกด้วย โดยได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการส่งออก 30% โดยมุ่งเน้นตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และทวีปแอฟริกาเป็นสำคัญ
หรือจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอย่าง จีเอ็ม ที่เพิ่งรอดตัวมาจากการปรับโครงสร้างบริษัทหลังการยื่นล้มละลายเมื่อปี 2009 และสามารถกลับมาผงาดเป็นค่ายรถอันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้งนั้น ก็เปิดเผยแผนที่จะเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่งภายหลังยุติปฏิบัติการไปเมื่อปี 2548
จีเอ็มเตรียมทุ่มเงินราว 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงโรงงานรถยนต์ โดยทางบริษัทตั้งเป้าที่จะผลิตให้ได้ปีละ 4 หมื่นคัน เลยทีเดียว
ฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งแม้จะไม่มีโรงงานรถยนต์ในอินโดนีเซีย ก็เริ่มส่งสัญญาณแล้วว่าจะไม่ยอมพลาดโอกาสในการกอบโกยผลประโยชน์ในอินโดนีเซีย โดยทางบริษัทเผยว่า อาจจะเนรมิตโรงงานพร้อมขยายเครือข่ายตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์ของฟอร์ดอีก 20%
ขณะที่ ซูซูกิ ประกาศว่าเตรียมลงทุนกว่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตยานยนต์ในอินโดนีเซียถึงสองเท่า และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลเรื่องการงดเว้นภาษีเพื่อปูทางให้บริษัทสามารถเดินหน้าผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ได้
ทั้งนี้ ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังผงาดในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งใหม่ของโลก นักวิเคราะห์ได้ออกโรงเตือนว่า อดีตดาวรุ่งอย่างไทยอาจต้องกลายสภาพเป็นดาวตกก็เป็นได้
เพราะต้องไม่ลืมว่า เป็นระยะเวลานานแล้วที่บรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติต่างยกให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ขนาดใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ความเพียบพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงานฝีมือดีที่ราคาถูก จึงทำให้ไทยกลายเป็นที่หมายปองของธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของการลงทุนในไทยก็ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความต่อเนื่องไม่จบสิ้นง่ายๆ อีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในภาคการเมือง และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาน้องใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้ง ทำเอาค่ายรถยนต์ต่างชาติต้องประสบกับวิกฤตในการผลิตรถยนต์อย่างรุนแรงที่สุดเมื่อปีที่แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลไทยเองยังทำให้นักลงทุนส่ายหน้า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนกำลังเติบโตและกลายมาเป็นคู่แข่งขันมากขึ้นนั้น กำลังทำให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และอาจจะถูกแซงหน้าแบบก้าวกระโดดในที่สุด
จากข้อมูลล่าสุดจะเห็นได้ว่า แม้ว่าค่ายรถยนต์ต่างๆ จะไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยเสียทีเดียว แต่การลงทุนใหม่ๆ ก็แทบจะไม่เห็น โดยที่ค่ายรถยนต์ต่างชาติเริ่มที่จะสตาร์ตเครื่องในโครงการใหม่ๆ ในอินโดนีเซียแทนบ้างแล้ว
อย่างเช่น โตโยต้าเตรียมดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ “อิติออส”
ส่วนทาทา มอเตอร์ส ซึ่งซื้อกิจการยานยนต์สุดหรูอย่างจากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ ไว้ในมือก็ได้เผยแผนสร้างโรงงานใหม่ในอินโดนีเซียพร้อมเปิดตัวรถยนต์ประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสูญเสียโอกาสของไทยทั้งสิ้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้วอินโดนีเซียยังสามารถล้มยักษ์ใหญ่อย่างไทย ขึ้นแท่นกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซียนได้ด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์ที่สูงถึง 8.94 แสนคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายของไทยนั้นอยู่ที่ 8.03 แสนคัน โดยอัมมาร์ มาสเตอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัท เจดี พาวเวอร์ มองว่า ภายในปี 2556 ไทยจะเสียตำแหน่งตลาดรถยนต์ขนาดเล็กให้กับอินโดนีเซีย
“มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะต้องเผชิญกับการสูญเสียความได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางยานยนต์อาเซียน เพราะขณะนี้เพื่อนบ้านกำลังไล่ตามทันแล้ว” มาสเตอร์ กล่าว
ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ กิทา วิร์จาวัน รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซีย ซึ่งได้แสดงความมั่นใจว่า อินโดนีเซียจะสามารถแซงไทยได้อย่างแน่นอน
“ผมมั่นใจว่าเราจะไล่ตามทันไทยได้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามผลักดันมาตรการต่างๆ อาทิ มาตรการด้านภาษี และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการต่างชาติมากยิ่งขึ้น” วิร์จาวัน ระบุ
ส่วน “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” อย่างไทยก็ต้องก้มหน้าก้มตารับสภาพกับความเสี่ยงที่ก่อขึ้นมาเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง ปัญหาการจัดการน้ำที่สุดย่ำแย่ ตลอดจนปัญหาจากนโยบายขึ้นค่าแรงไล่นักลงทุนกันต่อไป !
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 5%E0%B8%A2
10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 06:51 น. |
เปิดอ่าน 2,991 |
comment ความคิดเห็น 9
โดย......ณัฐสุดา จิตตปาลพงศ์
กลายเป็นข่าวที่คนไทยต้องจับตาไม่กะพริบ เมื่อบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฟอร์ด เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และทาทา มอเตอร์ส ต่างพร้อมใจกันตบเท้าเดินหน้าบุกตลาดที่ขึ้นชื่อว่าร้อนแรงและกำลังเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคอาเซียนอย่าง “อินโดนีเซีย”
เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าอินโดนีเซียในวันนี้ ถือได้ว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าเย้ายวนใจมากที่สุดสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน จากศักยภาพการเติบโตที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งก็ว่าได้
ปัจจัยแรก คือ ขนาดของตลาดอินโดนีเซียซึ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยจำนวนผู้บริโภคภายในที่สูงถึง 240 ล้านคน นั่นหมายถึงแรงซื้อที่ใหญ่กว่าไทยมากกว่า 3 เท่าตัว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีจำนวนประชากรที่สูง ทว่าชาวอินโดนีเซียส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นเจ้าของรถยนต์ โดยหนังสือพิมพ์วอลสตรีตเจอร์นัลของสหรัฐเปิดเผยว่า หนุ่มสาวชาวอินโดนีเซียเพียง 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่ครอบครองรถยนต์
แต่ทว่าในอีกมุมมองหนึ่ง สัดส่วนดังกล่าวสามารถตีความหมายได้ว่า สำหรับผู้ผลิตยานยนต์ต่างชาตินั้น ผู้ที่ยังไม่มีรถ ก็คือกำลังซื้อใหม่ที่ไม่ควรจะมองข้าม
อีกทั้งต้องไม่ลืมว่า ตลาดรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ จีน และอินเดีย นั้นเริ่มอิ่มตัวมากขึ้นแล้ว ตลาดสหรัฐกำลังเจอกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง ยาวนาน และต่อเนื่อง ส่วนตลาดจีนและอินเดียที่เคยเป็นที่หมายปองของบรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติ ก็กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
ตรงกันข้ามกับอินโดนีเซีย ถือเป็นตลาดใหม่ที่มี “ความสด” โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ในอินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยยอดจำหน่ายรถยนต์อาจพุ่งสูงถึง 3 ล้านคันต่อปีภายในหนึ่งทศวรรษ จากเดิมที่ 1 ล้านคันต่อปี
ปัจจัยต่อมา คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอินโดนีเซีย โดยล่าสุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2554 มีอัตราการเติบโตถึง 6.5% อันเป็นผลพวงจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด และการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 15 ปี โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า และในปีนี้ เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงโตในระดับสูงที่ 6-6.5%
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดาค่ายรถยนต์ชื่อดังจะเริ่มส่งสัญญาณที่จะผลักดันอินโดนีเซียให้กลายเป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์” แห่งใหม่ของอาเซียน ขึ้นมาเทียบชั้น หรืออาจจะแทนที่ประเทศไทยที่กำลังงมกับปัญหา “น้ำท่วม” อย่างแทบโงหัวไม่ขึ้น
“ด้วยอัตราการครอบครองรถยนต์ที่ต่ำ และเศรษฐกิจที่กำลังร้อนแรง จึงเรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซีย” ปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ดอาเซียน ย้ำ
ไล่เรียงมาตั้งแต่ โตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกจากแดนปลาดิบที่คนไทยมักคุ้นกันดี ได้ประกาศทุ่มเงินลงทุนถึง 1.94 แสนล้านเหรียญสหรัฐในอินโดนีเซียเพื่อเพิ่มยอดผลิตรถยนต์ในประเทศจากปัจจุบันที่ผลิตได้ปีละ 1.1 แสนคัน เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 แสนคัน ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า
โตโยต้ายังเล็งที่จะใช้อินโดนีเซียเป็นฐานส่งออกรถยนต์ที่สำคัญอีกด้วย โดยได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มการส่งออก 30% โดยมุ่งเน้นตลาดออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และทวีปแอฟริกาเป็นสำคัญ
หรือจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอย่าง จีเอ็ม ที่เพิ่งรอดตัวมาจากการปรับโครงสร้างบริษัทหลังการยื่นล้มละลายเมื่อปี 2009 และสามารถกลับมาผงาดเป็นค่ายรถอันดับ 1 ของโลกได้อีกครั้งนั้น ก็เปิดเผยแผนที่จะเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียอีกครั้งหนึ่งภายหลังยุติปฏิบัติการไปเมื่อปี 2548
จีเอ็มเตรียมทุ่มเงินราว 150 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงโรงงานรถยนต์ โดยทางบริษัทตั้งเป้าที่จะผลิตให้ได้ปีละ 4 หมื่นคัน เลยทีเดียว
ฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งแม้จะไม่มีโรงงานรถยนต์ในอินโดนีเซีย ก็เริ่มส่งสัญญาณแล้วว่าจะไม่ยอมพลาดโอกาสในการกอบโกยผลประโยชน์ในอินโดนีเซีย โดยทางบริษัทเผยว่า อาจจะเนรมิตโรงงานพร้อมขยายเครือข่ายตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์ของฟอร์ดอีก 20%
ขณะที่ ซูซูกิ ประกาศว่าเตรียมลงทุนกว่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตยานยนต์ในอินโดนีเซียถึงสองเท่า และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลเรื่องการงดเว้นภาษีเพื่อปูทางให้บริษัทสามารถเดินหน้าผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ได้
ทั้งนี้ ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังผงาดในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งใหม่ของโลก นักวิเคราะห์ได้ออกโรงเตือนว่า อดีตดาวรุ่งอย่างไทยอาจต้องกลายสภาพเป็นดาวตกก็เป็นได้
เพราะต้องไม่ลืมว่า เป็นระยะเวลานานแล้วที่บรรดาค่ายรถยนต์ต่างชาติต่างยกให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ขนาดใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ความเพียบพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และแรงงานฝีมือดีที่ราคาถูก จึงทำให้ไทยกลายเป็นที่หมายปองของธุรกิจต่างชาติ โดยเฉพาะธุรกิจยานยนต์มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของการลงทุนในไทยก็ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความต่อเนื่องไม่จบสิ้นง่ายๆ อีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในภาคการเมือง และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอย่างวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาน้องใหม่ที่มาแรงแซงทางโค้ง ทำเอาค่ายรถยนต์ต่างชาติต้องประสบกับวิกฤตในการผลิตรถยนต์อย่างรุนแรงที่สุดเมื่อปีที่แล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลไทยเองยังทำให้นักลงทุนส่ายหน้า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนกำลังเติบโตและกลายมาเป็นคู่แข่งขันมากขึ้นนั้น กำลังทำให้ไทยต้องเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และอาจจะถูกแซงหน้าแบบก้าวกระโดดในที่สุด
จากข้อมูลล่าสุดจะเห็นได้ว่า แม้ว่าค่ายรถยนต์ต่างๆ จะไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยเสียทีเดียว แต่การลงทุนใหม่ๆ ก็แทบจะไม่เห็น โดยที่ค่ายรถยนต์ต่างชาติเริ่มที่จะสตาร์ตเครื่องในโครงการใหม่ๆ ในอินโดนีเซียแทนบ้างแล้ว
อย่างเช่น โตโยต้าเตรียมดันให้อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ “อิติออส”
ส่วนทาทา มอเตอร์ส ซึ่งซื้อกิจการยานยนต์สุดหรูอย่างจากัวร์ และแลนด์โรเวอร์ ไว้ในมือก็ได้เผยแผนสร้างโรงงานใหม่ในอินโดนีเซียพร้อมเปิดตัวรถยนต์ประหยัดพลังงานรุ่นใหม่ ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความสูญเสียโอกาสของไทยทั้งสิ้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้วอินโดนีเซียยังสามารถล้มยักษ์ใหญ่อย่างไทย ขึ้นแท่นกลายเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซียนได้ด้วยยอดจำหน่ายรถยนต์ที่สูงถึง 8.94 แสนคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายของไทยนั้นอยู่ที่ 8.03 แสนคัน โดยอัมมาร์ มาสเตอร์ นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัท เจดี พาวเวอร์ มองว่า ภายในปี 2556 ไทยจะเสียตำแหน่งตลาดรถยนต์ขนาดเล็กให้กับอินโดนีเซีย
“มีความเป็นไปได้สูงที่ไทยจะต้องเผชิญกับการสูญเสียความได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางยานยนต์อาเซียน เพราะขณะนี้เพื่อนบ้านกำลังไล่ตามทันแล้ว” มาสเตอร์ กล่าว
ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของ กิทา วิร์จาวัน รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซีย ซึ่งได้แสดงความมั่นใจว่า อินโดนีเซียจะสามารถแซงไทยได้อย่างแน่นอน
“ผมมั่นใจว่าเราจะไล่ตามทันไทยได้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามผลักดันมาตรการต่างๆ อาทิ มาตรการด้านภาษี และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการต่างชาติมากยิ่งขึ้น” วิร์จาวัน ระบุ
ส่วน “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” อย่างไทยก็ต้องก้มหน้าก้มตารับสภาพกับความเสี่ยงที่ก่อขึ้นมาเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง ปัญหาการจัดการน้ำที่สุดย่ำแย่ ตลอดจนปัญหาจากนโยบายขึ้นค่าแรงไล่นักลงทุนกันต่อไป !
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B ... 5%E0%B8%A2
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 2
ผมว่าปัจจัยหลักๆ เลยที่ทำให้ พื้นฐานของประเทศเปลี่ยนไปมาก คือ
1) เรื่องความเสี่ยงจาก อุทุกภัย และที่สำคัญกว่านั้น ทางต่างชาติได้เรียนรู้แล้วว่า
การจัดการของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีข้อมูลจริง (จะเห็นได้ว่าทางญี่ปุ่น
ให้ข่าวหลายครั้งในเรื่องนี้ การมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทำให้ หลายๆ บริษัทฯ ตัดสินใจ
ผิดพลาด)
2) การขึ้นเงินเดือนและค่าแรง แบบก้าวกระโดด แทนที่จะเป็น "step by step"
เกิดภาวะ "Shock and Awe" ผลกระทบรุนแรง และเป็น "Chain Reaction"
ค่าแรงแพง --> ของขึ้นราคา --> ต้องขึ้นค่าแรง --> ของขึ้นราคา
โดยที่ ประสิทธิภาพของแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย --> ส่งผลให้ ประเทศคู่แข่ง
ได้เปรียบโดยไม่ต้องทำอะไรมาก
ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องพยายามปรับตัวให้ได้อย่างรวดเร็ว
จะเห็นได้ว่า บริษัทที่มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และมีกำลังพอทั้งคนและเงิน อย่างเช่น SCC
ได้เข้าไปลงทุนใน อินโดนิเซีย ในช่วงปีสองปีนี้ เป็นเงินจำนวนมาก
เปิด AEC ไทยเราอาจเสียเปรียบกว่าเพื่อนบ้าน สิงคโปร์ มาเลยเซีย ฟิลิปปินส์ เรื่องภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลักและใช้เป็นภาษาราชการหรือกึ่งราชการ ส่วนอินโดฯ มีคนจำนวนมาก
ใช้ภาษาถิ่นเดียว (หรือใกล้เคียง) กับมาเลยเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและต่อเนื่องมาหลายปี พม่าเพิ่งเปิดประเทศใหม่ มีทรัพยากรธรรมชาติเพียบ
1) เรื่องความเสี่ยงจาก อุทุกภัย และที่สำคัญกว่านั้น ทางต่างชาติได้เรียนรู้แล้วว่า
การจัดการของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีข้อมูลจริง (จะเห็นได้ว่าทางญี่ปุ่น
ให้ข่าวหลายครั้งในเรื่องนี้ การมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทำให้ หลายๆ บริษัทฯ ตัดสินใจ
ผิดพลาด)
2) การขึ้นเงินเดือนและค่าแรง แบบก้าวกระโดด แทนที่จะเป็น "step by step"
เกิดภาวะ "Shock and Awe" ผลกระทบรุนแรง และเป็น "Chain Reaction"
ค่าแรงแพง --> ของขึ้นราคา --> ต้องขึ้นค่าแรง --> ของขึ้นราคา
โดยที่ ประสิทธิภาพของแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย --> ส่งผลให้ ประเทศคู่แข่ง
ได้เปรียบโดยไม่ต้องทำอะไรมาก
ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องพยายามปรับตัวให้ได้อย่างรวดเร็ว
จะเห็นได้ว่า บริษัทที่มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และมีกำลังพอทั้งคนและเงิน อย่างเช่น SCC
ได้เข้าไปลงทุนใน อินโดนิเซีย ในช่วงปีสองปีนี้ เป็นเงินจำนวนมาก
เปิด AEC ไทยเราอาจเสียเปรียบกว่าเพื่อนบ้าน สิงคโปร์ มาเลยเซีย ฟิลิปปินส์ เรื่องภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลักและใช้เป็นภาษาราชการหรือกึ่งราชการ ส่วนอินโดฯ มีคนจำนวนมาก
ใช้ภาษาถิ่นเดียว (หรือใกล้เคียง) กับมาเลยเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตสูงและต่อเนื่องมาหลายปี พม่าเพิ่งเปิดประเทศใหม่ มีทรัพยากรธรรมชาติเพียบ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 3
Feb. 12, 2012, 7:03 p.m. EST
Japan's economy shrinks more than expected in Q4
Stories You Might Like
LOS ANGELES (MarketWatch) -- Japan's economy shrank by more than expected in the October-December quarter, as a strong yen and collateral economic damage from flooding in Thailand took their toll. Real gross domestic product contracted by 0.6% during the quarter, the Cabinet Office reported Monday. The result was deeper than expected falls of 0.3% and 0.4% in separate economist surveys by Reuters and Dow Jones Newswires, respectively. On an annualized basis, the economy contracted 2.3% in the final quarter of 2011. In the July-September quarter, Japan's GDP had grown by 1.4% quarter-on-quarter.
http://www.marketwatch.com/story/japans ... 2012-02-12
Japan's economy shrinks more than expected in Q4
Stories You Might Like
LOS ANGELES (MarketWatch) -- Japan's economy shrank by more than expected in the October-December quarter, as a strong yen and collateral economic damage from flooding in Thailand took their toll. Real gross domestic product contracted by 0.6% during the quarter, the Cabinet Office reported Monday. The result was deeper than expected falls of 0.3% and 0.4% in separate economist surveys by Reuters and Dow Jones Newswires, respectively. On an annualized basis, the economy contracted 2.3% in the final quarter of 2011. In the July-September quarter, Japan's GDP had grown by 1.4% quarter-on-quarter.
http://www.marketwatch.com/story/japans ... 2012-02-12
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- kabu
- Verified User
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 4
ข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยลงในหนังสือพิมพ์ที่นี่ทุกวันเลยครับ เพราะว่าช่วงนี้เป็นช่วงประกาศผลประกอบการของบางบริษัทที่นี่ด้วย นับว่าน้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลรุนแรงกับบริษัทในญี่ป่นเยอะมากๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิต อย่างเช่น Panasonic นี่ขาดทุนไปกว่า 700,000 ล้านเยน ทำไปได้ไงsyj เขียน:Feb. 12, 2012, 7:03 p.m. EST
Japan's economy shrinks more than expected in Q4
Stories You Might Like
LOS ANGELES (MarketWatch) -- Japan's economy shrank by more than expected in the October-December quarter, as a strong yen and collateral economic damage from flooding in Thailand took their toll. Real gross domestic product contracted by 0.6% during the quarter, the Cabinet Office reported Monday. The result was deeper than expected falls of 0.3% and 0.4% in separate economist surveys by Reuters and Dow Jones Newswires, respectively. On an annualized basis, the economy contracted 2.3% in the final quarter of 2011. In the July-September quarter, Japan's GDP had grown by 1.4% quarter-on-quarter.
http://www.marketwatch.com/story/japans ... 2012-02-12
แต่ Trading Company ยักษ์ใหญ่ทุกบริษัทล่าสุดประกาศผลประกอบการ กำไรท่วมท้นกันทุกบริษัทครับ มากที่สุดเท่าที่เคยตั้งบริษัทมา ^^
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 6
ผมเคยได้ฟังความเห็นจากผู้บริหาร TSC ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของไทย
แน่นอนว่า อินโดนีเซียมีความได้เปรียบไทยมากในเรื่อง จำนวนประชากร อัตราการครอบครองรถที่ยังต่ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไทยทำอะไรไม่ได้ ยังไงอินโดก็ได้เปรียบไทยในด้านนี้
แต่ไทยเราก็มีข้อได้เปรียบอินโด หรือแม้แต่ จีน อินเดีย ในเรื่อง ฝีมือแรงงาน คุณภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วน นิสัยน้ำใจของคนไทย สภาพบ้านเมือง
เราลองดูคุณภาพรถยนต์ที่ผลิตจากอินโดที่นำเข้ามาขายในไทย ทั้ง TOYOTA รุ่น AVANZA INOVA ยี่ห้อ HONDA รุ่น Stream ในขณะที่ไทยผลิต CAMRY Accord
แน่นอนว่า อินโดนีเซียมีความได้เปรียบไทยมากในเรื่อง จำนวนประชากร อัตราการครอบครองรถที่ยังต่ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไทยทำอะไรไม่ได้ ยังไงอินโดก็ได้เปรียบไทยในด้านนี้
แต่ไทยเราก็มีข้อได้เปรียบอินโด หรือแม้แต่ จีน อินเดีย ในเรื่อง ฝีมือแรงงาน คุณภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วน นิสัยน้ำใจของคนไทย สภาพบ้านเมือง
เราลองดูคุณภาพรถยนต์ที่ผลิตจากอินโดที่นำเข้ามาขายในไทย ทั้ง TOYOTA รุ่น AVANZA INOVA ยี่ห้อ HONDA รุ่น Stream ในขณะที่ไทยผลิต CAMRY Accord
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 467
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 7
ผมคิดว่าอุตรถยนต์ของไทยไม่ควรประมาทครับ เพราะ ทั้งคุณภาพและฝีมือแรงงานสามารถไล่ตามกันทัน เราควรมองคู่แข่งแล้วปรับตัวให้ดียิ่งขี้นเพื่อให้ช่วงห่างไม่แคบเร็วเกินไป รวมถึงรัฐบาลไทยก็ควรติดตามใกล้ชิดเพื่อสามารถออกนโยบายที่ส่งเสริมให้เรามีปัจจัยที่ดีพอสำหรับการเติบโตในระยะยาวเหนือคู่แข่ง
The miracle of compounding,
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 8
ความเห็นผม นะครับ ผมอยากให้เขานำหน้าเราไปครับ เราต้องเจ็บบ้างเพื่อจะได้รู้สึกว่าเรากำลังตามหลังเขาอยู่
บางทีตอนนี้ในประเทศเราสบายเกินไปเลยไม่ได้รับรู้ถึงการคลืบคลานเข้ามาจะแซงเราของประเทศเพื่อนบ้าน
ถ้าประเทศเราเจ็บเยอะๆ พอที่จะทำให้คนในประเทศทุกคิดได้แล้วจับมือกันกลับมาสู้ผมอยากเห็นตอนนั้นมากกว่าครับ
บางทีอาจจะมีโอกาสในธุรกิจอื่นๆที่มองยังไม่เห็นอยู่ก็ได้ครับ
แต่ไม่รู้จะเกิดขึ้นได้รึเปล่าที่คนในประเทศเราจะจับมือกันสู้ เพราะทุกอย่างผู้ใหญ่ยังหวังผลประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้นเลยครับ
บางทีตอนนี้ในประเทศเราสบายเกินไปเลยไม่ได้รับรู้ถึงการคลืบคลานเข้ามาจะแซงเราของประเทศเพื่อนบ้าน
ถ้าประเทศเราเจ็บเยอะๆ พอที่จะทำให้คนในประเทศทุกคิดได้แล้วจับมือกันกลับมาสู้ผมอยากเห็นตอนนั้นมากกว่าครับ
บางทีอาจจะมีโอกาสในธุรกิจอื่นๆที่มองยังไม่เห็นอยู่ก็ได้ครับ
แต่ไม่รู้จะเกิดขึ้นได้รึเปล่าที่คนในประเทศเราจะจับมือกันสู้ เพราะทุกอย่างผู้ใหญ่ยังหวังผลประโยชน์ของตัวเองทั้งนั้นเลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 9
ตั้งแต่มีเรื่องน้ำท่วมก็ต้องมาคิดเรื่อง supply chain risk มากขึ้นมีโรงงาน หรือ DC ที่เดียวก็เสียวหน่อย
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
- Energy_eak
- Verified User
- โพสต์: 925
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 11
ผมไม่ได้เข้าข้างประเทศไทยนะ...แต่ผมว่า เกิน10ปีกว่าจะทันเราอะ...เอาแค่เรื่องรายได้ต่อหัว ห่างกะเราเป็นครึ่งๆ...ถึงมีประชากรเยอะก็จริง แต่จะเอาอะไรผ่อน@_@...นอกจากนี้..สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือตัวproduct. อย่าง Ecocar...ที่ยังไงก็ต้องทำบ้านเรา...ถึงรัฐบาลเขาไปทำก็ทำไม่ได้ง่ายๆ...ยื่งพูดก็ยิ่งยาว....แต่เพิ่งกดเข้ามาในหมวดนี้เป็นครั้งแรกๆเพิ่งรู้ว่าหมวดvalue investing สาระเพียบ!!
อย่างไรผมเชื่อว่าในระยะ10ปีนี้...ถ้าจะมีอะไรเปลี่ยน เต็มที่ก็คือ รถlowๆไปทำบ้านเขา รถhighๆมาทำบ้านเรา
อย่างไรผมเชื่อว่าในระยะ10ปีนี้...ถ้าจะมีอะไรเปลี่ยน เต็มที่ก็คือ รถlowๆไปทำบ้านเขา รถhighๆมาทำบ้านเรา
-
- Verified User
- โพสต์: 226
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 12
ผมว่าเป็นไปไม่ได้ครับ แต่ถ้าเป็น hub ที่สองก็พอเป็นไปได้ การที่ค่ายรถทั้งหลายมาตั้งในไทย เพราะเขาขายรถในไทยได้เยอะจนคุ้มค่าพอที่จะตั้ง และเมื่อตั้งแล้วก็ใช้เป็นฐานผลิตส่งไปที่อื่นด้วย ถ้าสนแต่เรื่องค่าแรงอย่างเดียวพวก Ford,GM ก็คงต้องเลิกโรงงานในอเมริกาให้หมดแล้วไปผลิตแถว เม็กซิโก แทนดีกว่า Product ของไทยที่ชัดเจนคือรถกระบะและ ECO Car ซึ่งขายได้ดีมากๆ ในไทย คงไม่มีค่ายไหนบ้าจี้ไปเอากระบะไปผลิตที่อินโดแทนแล้วส่งเข้ามาในไทยเพราะไม่คุ้ม อย่างที่อินโดเขาก็มีรถบาง Segment ที่คนที่นั่นเขานิยมซึ่งไม่เหมือนกับไทย ซึ่งค่ายรถที่ไปตั้งที่อินโดก็เน้นผลิตรุ่นพวกนี้ เพราะผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปอินโดนีเซียอย่างเดียวคงไม่คุ้ม
ข่าวล่าสุดทั้ง Ford,Honda ก็เลิกผลิตโรงงานใน ฟิลิปปินส์แล้วยก line มาทำที่ไทยแทน และการเปิดประเทศของพม่าและ ประชาคม Asean ยิ่งจะช่วยให้ค่ายรถทั้งหลายยิ่งลงทุนเพิ่มในไทย เพราะคุ้มสุดแล้วในการผลิตและส่งไปขายในประเทศรอบๆนี้ ผลิตเสร็จก็ส่งขึ้นไปขายได้ทันที ไม่ต้องมาลงเรือให้เสียเวลา ที่ผมกังวลจะมีก็คือคนไทยบางส่วนชอบมองคนไทยและประเทศไทยเองในแง่ลบ ชอบทะเลาะกันเองบ้าง ถ้าเราหยุดเรื่องพวกนี้ได้และหันกลับมาคิดว่าจะทำยังไงให้ที่นำเขาอยู่แล้วนำมากๆ ขึ้นไปอีกคงจะดีกว่านี้เยอะครับ
ข่าวล่าสุดทั้ง Ford,Honda ก็เลิกผลิตโรงงานใน ฟิลิปปินส์แล้วยก line มาทำที่ไทยแทน และการเปิดประเทศของพม่าและ ประชาคม Asean ยิ่งจะช่วยให้ค่ายรถทั้งหลายยิ่งลงทุนเพิ่มในไทย เพราะคุ้มสุดแล้วในการผลิตและส่งไปขายในประเทศรอบๆนี้ ผลิตเสร็จก็ส่งขึ้นไปขายได้ทันที ไม่ต้องมาลงเรือให้เสียเวลา ที่ผมกังวลจะมีก็คือคนไทยบางส่วนชอบมองคนไทยและประเทศไทยเองในแง่ลบ ชอบทะเลาะกันเองบ้าง ถ้าเราหยุดเรื่องพวกนี้ได้และหันกลับมาคิดว่าจะทำยังไงให้ที่นำเขาอยู่แล้วนำมากๆ ขึ้นไปอีกคงจะดีกว่านี้เยอะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บ๊าย บาย ...ไทยแลนด์ 'อิเหนา'เนื้อหอม อนาคตฮับยานยนต์แห่
โพสต์ที่ 13
เมื่อเช้าดูรายการเรื่องเล่าเช้านี้ พี่สรยุทธแกบอกว่าญี่ปุ่นยังอยากอยู่ในไทยครับ"ถ้า" มีแผนป้องกันน้ำท่วมที่ชัดเจน และที่นายกจะroadshow พวกยุ่นบอกว่าไม่ต้องเตรียมเรื่องอื่นไปหรอกนอกจากเรื่องแผนป้องกันน้ำท่วม
นักเลงคีย์บอร์ด4.0