วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
little wing
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

โลกในมุมมองของ Value Investor         11 กุมภาพันธ์ 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

	การวิเคราะห์หุ้นนั้น  เราต้องวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณก่อน  นั่นก็คือ  เขาจะดูตัวเลขผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทว่าเป็นอย่างไร  ถ้าดูไม่ดีโดยเฉพาะในปีล่าสุด  เขาก็อาจจะเลิกสนใจไปเลย  ถ้าดูดีหรือดีมาก  เขาก็จะศึกษาต่อทางด้านคุณภาพ  นั่นก็คือ  ดูว่าบริษัทขายอะไร  สินค้าโดดเด่นไหม  แนวโน้มของราคาของสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร  บริษัทอยู่ในตำแหน่งไหนของอุตสาหกรรม  เป็นต้น   แต่สำหรับผมเองนั้น  ผมมักจะเริ่มต้นวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพก่อน  เริ่มจากการมองด้านการตลาดและต่อเนื่องไปทางด้านต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความได้เปรียบในเชิงแข่งขันของกิจการเทียบกับคู่แข่ง  เมื่อสนใจแล้ว  ผมจึงเริ่มวิเคราะห์ทางด้านปริมาณ  และตัวเลขทางการเงินที่ผมจะดูก่อนเลยก็คือตัวเลขสรุปข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ 4-5 ปี ย้อนหลัง  ที่มีอยู่ในเวบไซ้ต์ของตลาดหลักทรัพย์ set.or.th ของบริษัทจดทะเบียนทุกบริษัท  และต่อไปนี้คือการแนวการวิเคราะห์ของผม
	ตัวเลขตัวแรกที่ผมสนใจมากก็คือ  กำไรสุทธิ  สิ่งที่ผมมองก็คือ  ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมากำไรของบริษัทเป็นอย่างไรบ้าง  ถ้ากำไรของบริษัทนั้น  “ลุ่ม ๆ  ดอน ๆ”  นั่นคือ  บางปีก็กำไร  บางปีก็ขาดทุน  แบบนี้ก็อาจจะบอกได้ว่า  กำไรของบริษัทนั้น  “คาดการณ์ได้ยาก”   ดังนั้น  อนาคตกำไรของบริษัทก็คงไม่แน่นอน  อาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้  ลักษณะแบบนี้ผมก็จะรู้ว่าการหามูลค่าที่แท้จริงทำได้ยากมาก  ดังนั้น  บ่อยครั้งผมก็มักจะปล่อย  “ผ่าน”  ไป   ถ้ากำไรของบริษัทมีความผันผวนพอสมควรทีเดียวแต่ก็ยังกำไรอยู่ทุกปี  แบบนี้ผมก็จะดูว่าปีที่แย่ที่สุดเป็นอย่างไร  ถ้าพบว่าปีที่แย่ก็ยังได้กำไรคิดแล้วเท่ากับ  10%ของ Market Cap. หรือของมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดในปัจจุบัน  แบบนี้  ผมก็คิดว่าหุ้นของบริษัทก็อาจจะยังน่าสนใจ  เพราะถ้าในอนาคตกำไรไม่ต่ำกว่านั้น  การลงทุนซื้อหุ้นของผมในวันนี้ก็ยังทำผลตอบแทนได้ 10%  ต่อปี  ซึ่งถือว่าไม่เลวนัก
	ถ้ากำไร 4-5 ปีย้อนหลังที่ผมเห็นนั้น  มีความ  “สม่ำเสมอ”  คือขึ้นลงในระดับ 10-20 %  แบบนี้  ผมก็จะสรุปว่ากำไรของบริษัทในอนาคตนั้นน่าจะพอ  “คาดการณ์ได้”  ผมก็จะศึกษาต่อไปว่ามูลค่าพื้นฐานของหุ้นน่าจะเป็นเท่าไรโดยอาจจะเทียบกับกำไรล่าสุดที่ผมเห็น     ถ้ากำไรที่สม่ำเสมอนั้น  เป็นกำไรที่ไม่ค่อยจะเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปีแรกสุดจนถึงปีสุดท้ายที่แสดงในตาราง   ผมก็มักจะสรุปว่าเป็นหุ้นของกิจการที่อาจจะ  “โตช้าหรือไม่โต”  แบบนี้มูลค่าพื้นฐานที่ผมจะให้ก็จะต่ำ  เช่น  อาจจะให้มูลค่าพื้นฐานไม่เกิน 10 เท่าของกำไรของปีล่าสุดที่ผมเห็น   แต่ถ้ากำไร 5 ปีย้อนหลังที่ผมเห็นนั้น  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตราที่น่าประทับใจเช่นเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 15-20%  แบบนี้ผมก็อาจจะบอกตัวเองว่ามันอาจจะเป็นบริษัทที่กำลังโตเร็ว  ถ้าเป็นแบบนี้  ผมก็จะให้มูลค่ากับหุ้นสูงกว่าหุ้นที่ไม่โตมาก  อาจจะให้มูลค่าเท่ากับ 15-20 เท่าของกำไรของปีล่าสุดก็ได้
	ตัวเลขตัวสำคัญต่อมาที่ผมจะดูก็คือ  ค่า  ROE  หรือกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น  ถ้าตัวเลขนี้ในทั้ง 4-5 ปีที่ผ่านมาต่ำกว่า 10%  ต่อปี    ผมก็จะบอกตัวเองว่าบริษัทนี้กำไรไม่ดี  เป็นบริษัทที่มีคุณค่าค่อนข้างน้อยในเชิงธุรกิจ  บริษัทไม่ควรลงทุนขยายงานเพิ่มเพราะทำไปก็ไม่คุ้ม  ถ้ามีเงินสดเหลือควรจะจ่ายเป็นปันผลให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่า  แต่ถ้าค่า ROE ของบริษัทสูงเกิน 15%  ทุกปี  หรืออาจจะสูงเกิน 20%  ทุกปี  แบบนี้ก็แสดงว่าเป็นธุรกิจที่ดีมากเพราะทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นสูงกว่าการลงทุนอื่นของผู้ถือหุ้นเอง  และสูงกว่าต้นทุนการเงินของบริษัท   อย่างไรก็ตาม  ผมก็จะต้องดูเพิ่มว่า  ROE ที่สูงนี้  ไม่ได้เป็นเพราะบริษัทมีหนี้เงินกู้จากธนาคารสูงเกินไปด้วย
	ตัวเลขสำคัญตัวที่สามก็คืออัตรากำไรสุทธิคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย  ตัวเลขนี้ในแต่ละอุตสาหกรรมจะแตกต่างกัน  เช่น  ถ้าเป็นผู้ค้าปลีก  ตัวเลขอาจจะอยู่ที่เพียง 3-5%   แต่ธุรกิจเช่น โรงแรม อาจจะสูงถึง 20%  เหตุผลสำคัญก็คือ  ผู้ค้าปลีกมักมียอดขายสูงดังนั้น  กำไรเพียง 3%  ก็ได้กำไรมากแล้ว  ในขณะที่โรงแรมนั้น  ยอดขายมักจะต่ำเมื่อเทียบกับเงินลงทุนที่ใช้สร้างโรงแรม  ดังนั้น  Profit Margin ก็จะต้องสูงจึงจะคุ้ม  ประเด็นสำคัญของตัวเลขนี้ก็คือ  ถ้าอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว  บริษัทที่มี Margin สูงกว่าก็มักจะแสดงว่าเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติหรือคุณภาพที่สูงกว่า  พูดง่าย ๆ  มี Value สูงกว่า   นอกจากตัวเลขรายปีแล้ว  แนวโน้มของตัวเลขนี้ก็มีความสำคัญมาก  ถ้า  Profit Margin  ค่อย ๆ  เพิ่มขึ้นทุกปี  เช่น  ปีแรกเป็น 4%  ต่อมาเป็น 4.2%  และถึงปีสุดท้ายหรือปีล่าสุดกลายเป็น 5%  แบบนี้ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า  คุณภาพของบริษัทนั้นดีขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งจะทำให้ Value หรือมูลค่าของบริษัทสูงขึ้นเรื่อย ๆ 
	ตัวเลขที่สี่ที่ผมสนใจก็คือ    มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือ  Market Cap.  นี่คือตัวเลขที่บอกว่าอดีต 4-5 ปีที่ผ่านมาตลาดให้มูลค่าบริษัทเท่าไร  และปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าเท่าไร  ประเด็นที่ต้องระวังก็คือ   บริษัทมีวอแร้นต์หรือสิทธิที่จะเพิ่มจำนวนหุ้นอยู่หรือไม่และมีมากเท่าไร   เพราะถ้ามีมากและจะออกขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก  ตัวเลข Market Cap. ที่เห็นล่าสุดก็อาจจะไม่จริง  เราอาจจะต้องซื้อในราคาที่แพงกว่าสิ่งที่เห็น  ข้อมูลมูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นนี้เป็นตัวที่บอกว่าเราจะต้องจ่ายเท่าไรถ้าเราจะเป็นเจ้าของบริษัททั้งหมด ลองเอาไปเปรียบเทียบกับตัวเลขหลาย ๆ  ตัวเราก็จะพอมีไอเดียว่ามันถูกหรือแพง
	ตัวเลขที่ห้าที่สำคัญมากก็คือ ค่า PE ซึ่งบอกถึงความถูกหรือแพงของหุ้นในกรณีที่บริษัท  “มีกำไรที่สม่ำเสมอ”  ค่า PE  ที่ปานกลางก็คือค่า PE ที่เท่า ๆ  กับค่า PE  ของตลาดโดยรวมซึ่งในช่วงนี้มีค่าประมาณ 12 -13 เท่า  ถ้าหุ้นที่เราดูอยู่มีค่า PE ต่ำกว่านี้ก็ถือว่าถูกและถ้าสูงกว่านี้ก็ถือว่าแพง  แต่หุ้นจะน่าซื้อหรือไม่นั้นต้องดูราคาเปรียบเทียบกับคุณภาพด้วย  ถ้ากิจการดี  ค่า PE จะสูงบ้างก็อาจจะคุ้ม  ตรงกันข้าม  ถ้าบริษัทไม่ดีเลย  ค่า PE แม้ว่าจะต่ำก็อาจจะไม่คุ้มค่า
	ตัวเลขที่หกก็คือค่า PB ซึ่งบอกถึงราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าของทรัพย์สินสุทธิของบริษัท  ค่าเฉลี่ยของตลาดในช่วงนี้ก็ประมาณเท่ากับ 2 เท่าเศษ ๆ ดังนั้น  หุ้นที่มีค่า PB สูงกว่า  2 เท่าก็ถือว่าแพงกว่าค่าเฉลี่ย  อย่างไรก็ตาม  ค่า PB นั้นก็มักจะใช้ได้เฉพาะในกรณีที่สินทรัพย์มีราคาตลาดใกล้เคียงกับมูลค่าทางบัญชีอย่างเช่นในกรณีของสถาบันการเงิน  ส่วนบริษัทอีกจำนวนมากนั้น  ค่า PB  ก็บอกอะไรได้ไม่มากนัก
	และสุดท้ายก็คือ  อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน  นี่คือตัวเลขที่บอกว่ามันเป็น  “หุ้นปันผล”หรือเปล่า  ถ้าตัวเลขนี้อยู่ในขั้น 5-6%  เกือบทุกปี  นี่ก็อาจจะบอกได้ว่าหุ้นตัวนี้น่าจะเป็นแนวหุ้นปันผลดี  ความเสี่ยงก็น่าจะต่ำหน่อยและก็อาจจะเหมาะสำหรับบางคนหรือเหมาะสำหรับการเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตหุ้นที่ไม่เสี่ยงมาก  
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
Verified User
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีดีทุกอาทิตย์ครับ ^^
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
ohmmairoo
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สุดยอดครับ การประเมินคุณภาพของบริษัททั้งในแง่ของ (quality & quantity) ถือว่าเป็นแก่นของ vi ส่วนหนึ่ง
ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆครับ :bow: :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณท่านอาจารย์ครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
medtang
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ ที่ให้แนวคิดเข้าใจง่ายดี ชัดครับ
ใจ เย็นๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณ อาจารย์ และคุณ little wing มากๆ ครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
lengmanutd
Verified User
โพสต์: 125
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับอ. :)
ลงทุนในบริษัทที่ดี ราคาหุ้นมี MOS (Downside = Limited) และแนวโน้มกำไรมี Growth (Upside = Infinity)
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3653
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
panda_power
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ
เหมือนท่านจะบอกเป็นนัยว่าหุ้นบางตัวช่วงนี้ PE สูงเกินความเป็นจริงแล้วนะ หรือว่าผมคิดไปเอง :roll:
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

"การวิเคราะห์หุ้นนั้น เราต้องวิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ"

ที่ทำผ่านมา ผมเรียงลำดับไม่ได้เรื่องนี่เอง ว่าแล้ว คงต้องฝึกต่อไป

แต่สงสัยคืนนี้ จะต้องไปนอนฝันตรวจเลขหวย(หุ้นในพอร์ต)ต่อ ว่าแต่ละตัวที่ถืออยู๋ ตัวไหนเข้าหลักเลขของท่านดร.มากที่สุด

ขอบคุณท่านดร.มากๆ ครับ และคุณlittle wing ด้วย ครับ

:bow: :bow: :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
meditate
Verified User
โพสต์: 179
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
สุดท้ายคือ"ไม่มี"
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4549
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

สำคัญมากนะครับ

NPM ROE PE PB

เครื่องมือทุกอย่าง นั้น ใช้ต่างกรรมต่างวาระ

หลายครั้ง ที่เราเข้าใจว่า มักจะใช้ในเกณฑ์เดียวกันตลอด เช่น PE PB ถูก ,ROE NPM สูง

แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่ควรจะเทียบ คือ บริษัทอื่นๆที่อยู่ ใน อุตสาหกรรมเดียวกันต่างหาก

ผมว่า VI ที่ดี ควรตรวจสอบความคิดของตัวเองตลอด ว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้น ผิดหรือถูก

ซึ่งหลายๆครั้ง การศึกษาวิธีคิดจากเซียนตัวจริง ว่า เขามองหุ้นตัวนั้นถูก เพราะอย่างไร

น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เขาซื้อตัวอะไร และ จะขายเมื่อไหร่....


ขอบคุณ ดร. นิเวศน์ครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
warrant_buffer
Verified User
โพสต์: 235
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ :D
Good investing habits lead to Great return opportunities
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
rayvi
Verified User
โพสต์: 581
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอบคุณครับ ^^
charonp
Verified User
โพสต์: 408
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

บทความแบบนี้ล่ะครับ เครื่องมือจับปลาจริง ๆ

ขอบคุณ ดร. และท่านที่เอามาโพสต์มากครับ
wut33
Verified User
โพสต์: 20
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่คอยชี้แนะการลงทุนให้ครับ :P
caffeol
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ระยะแรกตอนที่ผมเข้ามาลงทุนแนว vi ใหม่ ๆ ก็ใช้แนวตัวเลขเป็นตัวนำ และคัดกรองเช่นกันครับ

แต่มาค้นพบว่า การใช้การวิเคราะห์แนวคุณภาพ เป็นอะไรที่ถูกจริตผมส่วนตัวมากกว่า

แต่ก็ยังใช้ตัวเลข ต่างๆเป็นตัวช่วยไม่น้อย

แล้วก็ยอมรับว่าบางครั้งเวลาดูตื้อๆ ตันๆ ในการหาหุ้นบางครั้ง

ผมก็ใช้ตัวเลขมาเป็นตัวคัดกรองเบื้องต้น

ผมว่า การลงทุนในหุ้น ก็เป็นศิลปะ อย่างหนึ่ง ที่เราคงต้องไม่ fix idea อะไรบางอย่างในการลงทุนมากเกินไปนักครับ


ขอบคุณดร. นิเวศน์สำหรับ แนวความคิด

ขอบคุณ คุณ Littlewing ครับ
kku59
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 20

โพสต์

:bow: :bow: ขอบคุณมากๆเลยครับ
trap
Verified User
โพสต์: 42
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
นักลงทุนส่วนมากมักดู PE ก่อนเลย (ผมก็เป็นส่วนนึงในนั้น) บทความนี้ทำให้กลับมาคิดว่า เราควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของบริษัทให้มากกว่านี้
"Don't look for profits; look for sources of profits" Rakesh Jhunjhunwala
Vassili Zaitsev
Verified User
โพสต์: 286
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิเคราะห์หุ้นจากตัวเลข/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 22

โพสต์

แต่สำหรับผมเองนั้น ผมมักจะเริ่มต้นวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพก่อน เริ่มจากการมองด้านการตลาดและต่อเนื่องไปทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความได้เปรียบในเชิงแข่งขันของกิจการเทียบกับคู่แข่ง เมื่อสนใจแล้ว ผมจึงเริ่มวิเคราะห์ทางด้านปริมาณ
ตะแกรงแรกของอาจารย์ คือ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ทำให้สามารถร่อนหุ้นที่ไม่มีคุณภาพออกไปก่อน จากนั้น จึงนำหุ้นที่ผ่านตะแกรงแรกมาวิเคราะห์เชิงปริมาณ
อยากให้อาจารย์เขียนหลักการและขั้นตอนในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจังเลยครับ
ขอบคุณครับ
ในที่สุด ราคาจะวิ่งเข้าหา มูลค่าที่แท้จริง
โพสต์โพสต์