เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
โพสต์ที่ 2
จำได้มั้ยครับ ตอนที่ค่าเงิน US อ่อน ผมเคยบอกไว้ว่า EU จะเป็นคนที่ซวยสุด ...
ในกระทู้เรื่อง สามก๊กสกุลเงินตรา แนวโน้มที่จะเกิดในปี 2548
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... euro#60346
ผมไม่มีความรู้เรื่องค่าเงินมากมายครับ แต่ผมคิดง่ายๆว่า ถ้า EURU แข็ง ... แสดงว่าของที่มาจาก ยุโรป ต้องแพงขึ้น .. ถ้าเทียบกับ USD หรือ เยน หรือ หยวน ...
คำถามก็คือ ยุโรป ทำอะไรได้มั่ง ที่ US ญี่ปุ่น หรือ จีน ทำไม่ได้ ?? ผมยังนึกไม่ออกครับ แล้วไอ้ที่บอกว่า จะค้าขายกันเอง ฝันไปเถอะครับ เหอๆ
บางทีเรื่องค่าเงิน ถ้าจะคิดให้ง่าย มันก็คิดได้นะ บางทีถ้าเราจะคิดให้ยากมันก็ยาก ...
ในกระทู้เรื่อง สามก๊กสกุลเงินตรา แนวโน้มที่จะเกิดในปี 2548
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... euro#60346
ผมไม่มีความรู้เรื่องค่าเงินมากมายครับ แต่ผมคิดง่ายๆว่า ถ้า EURU แข็ง ... แสดงว่าของที่มาจาก ยุโรป ต้องแพงขึ้น .. ถ้าเทียบกับ USD หรือ เยน หรือ หยวน ...
คำถามก็คือ ยุโรป ทำอะไรได้มั่ง ที่ US ญี่ปุ่น หรือ จีน ทำไม่ได้ ?? ผมยังนึกไม่ออกครับ แล้วไอ้ที่บอกว่า จะค้าขายกันเอง ฝันไปเถอะครับ เหอๆ
บางทีเรื่องค่าเงิน ถ้าจะคิดให้ง่าย มันก็คิดได้นะ บางทีถ้าเราจะคิดให้ยากมันก็ยาก ...
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
โพสต์ที่ 3
ส่วนที่จะทำให้เงินเอเซียแข็งค่าขึ้น ... ผมเดาว่า ต้องมองว่าสินค้าทดแทนของสินค้ากลุ่มยูโรปนั้น แข่งกับสินค้าของกลุ้มเงินสกุลไหน ... ผมคิดง่ายๆแบบนี้นะ
คุณ hot ว่าสินค้ายุโรป คล้ายกับสินค้าจากกลุ่มไหนครับ ?
คุณ hot ว่าสินค้ายุโรป คล้ายกับสินค้าจากกลุ่มไหนครับ ?
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
โพสต์ที่ 4
รถยนต์จากยุโรป ผมว่าเป็นอะไรที่กำลังจะล้นตลาด แต่เพราะปัญหาค่าเงิน
ยูโรเมื่อเทียบกับค่าเงินเอเชียทำให้รถยนต์หรืออะไหล่ทางนั้นจะแพงค่อนข้างมาก
ในทางกลับกัน
ถ้าเงินยูโรอ่อนค่าลง มากมากมากมาก จนถึงจุดที่ค่าเงินเอเชียแข็งเกินจริง
ผมว่าสินค้าประเภทนี้จะน่าจะไหลเข้ามาในเอเชียมากขึ้นที่แล้วมามัก
มาในรูปของการลงทุนในประเทศที่จะขายนะ
แต่ระยะสั้นค่าครองชีพของคนยุโรปจะเป็นอย่างไรนี่ซิผมเดาไม่ถูกเลย
ยูโรเมื่อเทียบกับค่าเงินเอเชียทำให้รถยนต์หรืออะไหล่ทางนั้นจะแพงค่อนข้างมาก
ในทางกลับกัน
ถ้าเงินยูโรอ่อนค่าลง มากมากมากมาก จนถึงจุดที่ค่าเงินเอเชียแข็งเกินจริง
ผมว่าสินค้าประเภทนี้จะน่าจะไหลเข้ามาในเอเชียมากขึ้นที่แล้วมามัก
มาในรูปของการลงทุนในประเทศที่จะขายนะ
แต่ระยะสั้นค่าครองชีพของคนยุโรปจะเป็นอย่างไรนี่ซิผมเดาไม่ถูกเลย
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
โพสต์ที่ 5
ผมมองว่าเงินเอเซีย มักจะผูกไว้กับ USD ... ถึงไม่ผูกก็เหมือนมีโซ่ที่มองไม่เห็น คล้องเอาไว้ยังไงบอกไม่ถูกครับ ... EURO อ่อน USD จะเป็นไงมั่งไม่ทราบเหมือนกันนะครับ ...
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 583
- ผู้ติดตาม: 0
เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
โพสต์ที่ 6
ที่ผูกค่าเงินไว้กับ USD ตอนนี้มีประมาณ 20 ประเทศ
รวมทั้ง
YUAN............................. ของจีน
Hong Konk Dollar........... ของ ของฮ่องกง
Ringgit .......................... ของ Malaysia
ช่วงที่ผ่านมา USD อ่อนค่า จึงทำให้เงินเหล่านี้อ่อนค่าตามไปด้วย
แท้ที่จริงแล้วเงินเหล่านี้แข็งค่า
โดยเฉพาะจีนมีปัญหากับประเทศต่างๆมาก
นอกจากค่าแรงจะถูกแล้ว ค่าเงินยังอ่อนอีกด้วย..
ทำให้ได้เปรียบในการส่งออกมากขึ้นไปอีก
พวกเขาจึงโวยใส่จีนอย่างไรละ..
รวมทั้ง
YUAN............................. ของจีน
Hong Konk Dollar........... ของ ของฮ่องกง
Ringgit .......................... ของ Malaysia
ช่วงที่ผ่านมา USD อ่อนค่า จึงทำให้เงินเหล่านี้อ่อนค่าตามไปด้วย
แท้ที่จริงแล้วเงินเหล่านี้แข็งค่า
โดยเฉพาะจีนมีปัญหากับประเทศต่างๆมาก
นอกจากค่าแรงจะถูกแล้ว ค่าเงินยังอ่อนอีกด้วย..
ทำให้ได้เปรียบในการส่งออกมากขึ้นไปอีก
พวกเขาจึงโวยใส่จีนอย่างไรละ..
จะมีดัชนีที่เบี่ยงเบนต่ำเท่าใดอยู่ในระบบก็ตาม
หากยังคงมีดัชนีที่เบี่ยงเบนสูงอยู่ในระบบด้วย
ความเสียหายก็จะเกิดกับระบบตลอดไป
หากยังคงมีดัชนีที่เบี่ยงเบนสูงอยู่ในระบบด้วย
ความเสียหายก็จะเกิดกับระบบตลอดไป
-
- Verified User
- โพสต์: 577
- ผู้ติดตาม: 0
เงินยูโรจะทำให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น
โพสต์ที่ 8
อ่านบทความที่คุณคัดท้ายมา Post สนุกดีครับ ได้มุมมองเพิ่มขึ้นอีก
ผมมองเป้าหมายของเรื่องค่าเงิน ก็คือ การพยายามดึงทรัพยากร มาเป็นของตัวเองให้มากที่สุด เหมือนกับสมัยก่อนที่มีการล่าอาณานิคม ก็เพราะ ต้องการทรัพยากร เหมือนกับพยายามให้เงินตัวเองสำคัญเพื่อสามารถดึงทรัพยากรมาใช้ได้มากกว่า
เงินเป็นตัวแปรเพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นทรัพยากร ประเทศไหนที่มีอำนาจทางการเงินสูง ก็เป็นประเทศที่สามารถดึงทรัพยากรมาใช้ได้สูง
ปัจจุบัน เนื่องจาก สงครามเป็นสิ่งที่ คนเกือบทั้งโลกไม่ต้องการ ก็พยายามดึงทรัพยากรโดยใช้อำนาจ ความกลัว และ เงินตรา โดยสร้างระบบทีตัวเองสามารถ control ได้ และ ได้เปรียบกว่า
การที่อเมริกา พยามยามรักษาขั้วอำนาจไว้ขั้วเดียว เพราะ อเมริกาเป็นสังคมที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย จึงต้อง หาทาง supply ทรัพยากรให้กับคนอเมริกาให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็อาศัย การเงิน และ กำลังทางทหาร
สมมติว่า จีนเป็นอีกขั้วอำนาจหนึ่งที่ทัดเทียม อเมริกา เศรษฐกิจโลก ก็จะไม่ต้องพึ่งอเมริกามากนัก เงินดอลล่า ก็คงจะไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนัก ทรัพยากร ก็จะหันเหไปทางจีนมากขึ้น คนอเมริกา ก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในประเทศตัวเอง และ ถ้าอเมริกายังมีนิสัยการบริโภคอย่างนี้ ทรัพยากรที่อเมริกาก็อาจจะ หมดเร็วกว่าที่คิด และอเมริกาก็อาจจะ ไปหาทรัพยากรภายนอก โดยอาศัยสงครามก็เป็นได้
ผมมองเป้าหมายของเรื่องค่าเงิน ก็คือ การพยายามดึงทรัพยากร มาเป็นของตัวเองให้มากที่สุด เหมือนกับสมัยก่อนที่มีการล่าอาณานิคม ก็เพราะ ต้องการทรัพยากร เหมือนกับพยายามให้เงินตัวเองสำคัญเพื่อสามารถดึงทรัพยากรมาใช้ได้มากกว่า
เงินเป็นตัวแปรเพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นทรัพยากร ประเทศไหนที่มีอำนาจทางการเงินสูง ก็เป็นประเทศที่สามารถดึงทรัพยากรมาใช้ได้สูง
ปัจจุบัน เนื่องจาก สงครามเป็นสิ่งที่ คนเกือบทั้งโลกไม่ต้องการ ก็พยายามดึงทรัพยากรโดยใช้อำนาจ ความกลัว และ เงินตรา โดยสร้างระบบทีตัวเองสามารถ control ได้ และ ได้เปรียบกว่า
การที่อเมริกา พยามยามรักษาขั้วอำนาจไว้ขั้วเดียว เพราะ อเมริกาเป็นสังคมที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย จึงต้อง หาทาง supply ทรัพยากรให้กับคนอเมริกาให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็อาศัย การเงิน และ กำลังทางทหาร
สมมติว่า จีนเป็นอีกขั้วอำนาจหนึ่งที่ทัดเทียม อเมริกา เศรษฐกิจโลก ก็จะไม่ต้องพึ่งอเมริกามากนัก เงินดอลล่า ก็คงจะไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนัก ทรัพยากร ก็จะหันเหไปทางจีนมากขึ้น คนอเมริกา ก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในประเทศตัวเอง และ ถ้าอเมริกายังมีนิสัยการบริโภคอย่างนี้ ทรัพยากรที่อเมริกาก็อาจจะ หมดเร็วกว่าที่คิด และอเมริกาก็อาจจะ ไปหาทรัพยากรภายนอก โดยอาศัยสงครามก็เป็นได้
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
หยวน
โพสต์ที่ 11
หยวน จะหยวนเมื่อไร (1)
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2548 14:47 น
โดย มนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผมได้ดูงานวิจัยของบริษัทของผม (บมจ. หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)) ได้พูดถึงปัจจัยปัญหาต่าง ๆ ระดับโลกมากพอสมควร ทั้งเรื่องการที่ไม่สมดุลการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามหาศาลกับประเทศจีนมาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย อุปสงค์ของโลกที่เติบโตสูง จากประเทศที่ประชากรมาก เช่น จีนหรืออินเดีย ฯลฯ
ผมเองก็ตั้งข้อสังเกตหนึ่งว่า ปัญหาหลาย ๆ เรื่อง จะปรับไปตามธรรมชาติ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ โดยกลไกราคา เช่น ถ้าคนต้องการกู้มากขึ้น หรือฝากน้อยลง (เช่น หลังดอกเบี้ยต่ำมาระยะหนึ่ง ก็สามารถกระตุ้นการลงทุนได้มากพอ จนดอกเบี้ยทยอยปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง) ดอกเบี้ยก็สูงขึ้น ถ้าคนต้องการสกุลเงินใดมาก (เช่น ต้องการเงินหยวน เพราะสินค้าถูกน่าซื้อ) สกุลนั้นก็จะแข็งค่าขึ้น
ผมจับตามองปัจจัยเรื่องค่าเงินหยวนมากเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่า ถ้าค่าเงินหยวนแข็งขึ้นได้บ้าง ค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะค่าเงินบาท ก็มีแนวโน้มจะแข็งตัวตามได้ (ไม่เช่นนั้น หากหยวนยืนในระดับนี้ บาทจะแข็งไม่ได้ เพราะจะทำให้ส่งออกแข่งขันกับจีนไม่ได้)
ถ้าบาทแข็งค่าได้ จะนำให้มีเงินลงทุนไหลเข้าประเทศได้ดีขึ้น เพราะนักลงทุนในตลาดทุนโลก จะมองการลงทุนทั้ง 2 ส่วนพร้อมกัน คือศักยภาพของหุ้น และศักยภาพของค่าเงิน ขณะนี้ หุ้นไทยมีราคาถูกอยู่แล้ว คือมีพีอีเรโชประมาณ 9 เท่า (ส่วนกลับพีอีเรโช คือ กำไร (Earning) ต่อ ราคาหุ้น (Price) จะคิดเป็นผลตอบแทนได้ 1/9 = 11% ซึ่งถือว่าถูกและให้ผลตอบแทนดี ในขณะที่ดอกเบี้ย ยังอยู่เพียง 1-2% เท่านั้น) ถ้าปัจจัยเรื่องค่าเงินมีทิศทางที่แข็งขึ้นได้ตามหยวน ตลาดหุ้นจะน่าสนใจมากขึ้น
ผมเองอยากมีโอกาสแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และมุมมองของผม เรื่องค่าเงิน หรืออัตราแลกเปลี่ยน กับท่านผู้อ่าน ดังนี้
1. การปรับค่าเงินให้อ่อนลง หรือแข็งขึ้น มีความหมายอย่างไร ? ผมมองเป็นเรื่องการตั้งราคาสินค้าในประเทศ รวมถึงการ
ตั้งค่าแรง ในปี 1997 ที่ประเทศไทยต้องปรับค่าเงินอ่อนตัว ขอใช้ตัวเลขกลม ๆ จากประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ เป็น 40 บาท/ดอลลาร์ ทำให้คนที่มีรายได้จากปีละ 1 ล้านบาท จะมีค่าแรงลดลงจาก 40,000 เหรียญ/ปี เป็น 25,000 เหรียญ/ปี การซื้อของนำเข้า ต้องแพงขึ้น เช่นที่ราคาน้ำมันเป็นบาทที่แพงมากตอนนี้ เพราะส่วนหนึ่ง มาจากค่าเงินที่อ่อนตัวลง เฉพาะจาก 25 เป็น 40 ก็เท่ากับแพงขึ้นเนื่องจากเรื่องค่าเงินถึง 60%
2. วิกฤตค่าเงินหยวน จะทำให้จีนลำบากเหมือนสมัยประเทศกลุ่มอาเซียนช่วงปี 1997 หรือไม่ ? ไม่ครับ ตอนนั้น ค่าเงิน
ในภูมิภาคแข็งเกินจริง ทำให้แข่งขันยาก โดยเฉพาะกับจีนนี่แหละ ผู้คนก็คิดว่า ฐานะดี ซื้อของนำเข้าอย่างฟุ่มเฟือย จนประเทศขาดดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น ยังกู้เงินต่างประเทศมาก เมื่อค่าเงินอ่อน กิจการต้องหาเงินเป็นบาทมาคืนเงินกู้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 60-100% ทำให้ล้มต่อ ๆ กันเป็นโดมิโน ตอนนี้ จีนเกินดุลการค้ากับทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แรงกดดันตามธรรมชาติ คือเงินทั่วโลกอยากซื้อเงินหยวนมาก เพื่อซื้อสินค้าจีน จนน่าจะทำให้หยวนแข็งขึ้น หากปรับแล้ว ธุรกิจจีนที่เคยพึ่งเงินกู้ต่างชาติจะหาเงินหยวนไปคืนน้อยลง จึงน่าจะทำให้กิจการแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
3. จีนเขาได้เปรียบจนน่ากลัวขนาดนี้ คนไทยเรา ต้องมีชะตาชีวิตขึ้นกับทิศทางนโยบายของจีนหรือ ? คนไทยจะทำอย่างไร
ดี ? ผมเชื่อว่า สิ่งที่เราต้องเตรียมตัวให้มากที่สุดคือ ทัศนคติในชีวิต ของเรา เริ่มจากความรู้สึกดี ที่เราเป็นเรา และพร้อม ร่วมแรงร่วมใจ กันแก้ไขปัญหา
ช่วงกว่า 10-20 ปีที่ผ่านมา ไทยเราพัฒนาก้าวหน้ามามากกว่าจีน เราเคยเป็นแรงงานที่มีคุณภาพดีกว่า ทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่า แต่เดิม จีนก็ลำบาก ปกครองอย่างเศรษฐกิจรวมศูนย์แบบคอมมิวนิสต์ คนทำงานก็เอาผลงานมาแบ่งกันโดยรัฐ คนขี้เกียจมากมาย เพราะคิดว่าอย่างไร รัฐก็ดูแลให้เกิดความเท่าเทียมกัน ต่อมา จีนก็เร่งพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยอมรับความสำคัญของเงินลงทุน และเสรีภาพของประชาชน ในการทำงาน ตลอดจนการตอบแทนแรงงานอย่างเสรี ตามแรงงานที่ทำ ไม่คิดแต่จะพึ่งภาครัฐแต่อย่างเดียวอีกต่อไป...
ฉบับหน้า ผมจะมาต่อความเห็นของผม ว่าจีนได้อดทนผ่านความลำบากมาอย่างไร และไทยเรา จะสู้หรือไม่
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2548 14:47 น
โดย มนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผมได้ดูงานวิจัยของบริษัทของผม (บมจ. หลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)) ได้พูดถึงปัจจัยปัญหาต่าง ๆ ระดับโลกมากพอสมควร ทั้งเรื่องการที่ไม่สมดุลการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามหาศาลกับประเทศจีนมาอย่างต่อเนื่อง ปัญหาราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย อุปสงค์ของโลกที่เติบโตสูง จากประเทศที่ประชากรมาก เช่น จีนหรืออินเดีย ฯลฯ
ผมเองก็ตั้งข้อสังเกตหนึ่งว่า ปัญหาหลาย ๆ เรื่อง จะปรับไปตามธรรมชาติ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ โดยกลไกราคา เช่น ถ้าคนต้องการกู้มากขึ้น หรือฝากน้อยลง (เช่น หลังดอกเบี้ยต่ำมาระยะหนึ่ง ก็สามารถกระตุ้นการลงทุนได้มากพอ จนดอกเบี้ยทยอยปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง) ดอกเบี้ยก็สูงขึ้น ถ้าคนต้องการสกุลเงินใดมาก (เช่น ต้องการเงินหยวน เพราะสินค้าถูกน่าซื้อ) สกุลนั้นก็จะแข็งค่าขึ้น
ผมจับตามองปัจจัยเรื่องค่าเงินหยวนมากเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่า ถ้าค่าเงินหยวนแข็งขึ้นได้บ้าง ค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะค่าเงินบาท ก็มีแนวโน้มจะแข็งตัวตามได้ (ไม่เช่นนั้น หากหยวนยืนในระดับนี้ บาทจะแข็งไม่ได้ เพราะจะทำให้ส่งออกแข่งขันกับจีนไม่ได้)
ถ้าบาทแข็งค่าได้ จะนำให้มีเงินลงทุนไหลเข้าประเทศได้ดีขึ้น เพราะนักลงทุนในตลาดทุนโลก จะมองการลงทุนทั้ง 2 ส่วนพร้อมกัน คือศักยภาพของหุ้น และศักยภาพของค่าเงิน ขณะนี้ หุ้นไทยมีราคาถูกอยู่แล้ว คือมีพีอีเรโชประมาณ 9 เท่า (ส่วนกลับพีอีเรโช คือ กำไร (Earning) ต่อ ราคาหุ้น (Price) จะคิดเป็นผลตอบแทนได้ 1/9 = 11% ซึ่งถือว่าถูกและให้ผลตอบแทนดี ในขณะที่ดอกเบี้ย ยังอยู่เพียง 1-2% เท่านั้น) ถ้าปัจจัยเรื่องค่าเงินมีทิศทางที่แข็งขึ้นได้ตามหยวน ตลาดหุ้นจะน่าสนใจมากขึ้น
ผมเองอยากมีโอกาสแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และมุมมองของผม เรื่องค่าเงิน หรืออัตราแลกเปลี่ยน กับท่านผู้อ่าน ดังนี้
1. การปรับค่าเงินให้อ่อนลง หรือแข็งขึ้น มีความหมายอย่างไร ? ผมมองเป็นเรื่องการตั้งราคาสินค้าในประเทศ รวมถึงการ
ตั้งค่าแรง ในปี 1997 ที่ประเทศไทยต้องปรับค่าเงินอ่อนตัว ขอใช้ตัวเลขกลม ๆ จากประมาณ 25 บาท/ดอลลาร์ เป็น 40 บาท/ดอลลาร์ ทำให้คนที่มีรายได้จากปีละ 1 ล้านบาท จะมีค่าแรงลดลงจาก 40,000 เหรียญ/ปี เป็น 25,000 เหรียญ/ปี การซื้อของนำเข้า ต้องแพงขึ้น เช่นที่ราคาน้ำมันเป็นบาทที่แพงมากตอนนี้ เพราะส่วนหนึ่ง มาจากค่าเงินที่อ่อนตัวลง เฉพาะจาก 25 เป็น 40 ก็เท่ากับแพงขึ้นเนื่องจากเรื่องค่าเงินถึง 60%
2. วิกฤตค่าเงินหยวน จะทำให้จีนลำบากเหมือนสมัยประเทศกลุ่มอาเซียนช่วงปี 1997 หรือไม่ ? ไม่ครับ ตอนนั้น ค่าเงิน
ในภูมิภาคแข็งเกินจริง ทำให้แข่งขันยาก โดยเฉพาะกับจีนนี่แหละ ผู้คนก็คิดว่า ฐานะดี ซื้อของนำเข้าอย่างฟุ่มเฟือย จนประเทศขาดดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น ยังกู้เงินต่างประเทศมาก เมื่อค่าเงินอ่อน กิจการต้องหาเงินเป็นบาทมาคืนเงินกู้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 60-100% ทำให้ล้มต่อ ๆ กันเป็นโดมิโน ตอนนี้ จีนเกินดุลการค้ากับทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แรงกดดันตามธรรมชาติ คือเงินทั่วโลกอยากซื้อเงินหยวนมาก เพื่อซื้อสินค้าจีน จนน่าจะทำให้หยวนแข็งขึ้น หากปรับแล้ว ธุรกิจจีนที่เคยพึ่งเงินกู้ต่างชาติจะหาเงินหยวนไปคืนน้อยลง จึงน่าจะทำให้กิจการแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
3. จีนเขาได้เปรียบจนน่ากลัวขนาดนี้ คนไทยเรา ต้องมีชะตาชีวิตขึ้นกับทิศทางนโยบายของจีนหรือ ? คนไทยจะทำอย่างไร
ดี ? ผมเชื่อว่า สิ่งที่เราต้องเตรียมตัวให้มากที่สุดคือ ทัศนคติในชีวิต ของเรา เริ่มจากความรู้สึกดี ที่เราเป็นเรา และพร้อม ร่วมแรงร่วมใจ กันแก้ไขปัญหา
ช่วงกว่า 10-20 ปีที่ผ่านมา ไทยเราพัฒนาก้าวหน้ามามากกว่าจีน เราเคยเป็นแรงงานที่มีคุณภาพดีกว่า ทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่า แต่เดิม จีนก็ลำบาก ปกครองอย่างเศรษฐกิจรวมศูนย์แบบคอมมิวนิสต์ คนทำงานก็เอาผลงานมาแบ่งกันโดยรัฐ คนขี้เกียจมากมาย เพราะคิดว่าอย่างไร รัฐก็ดูแลให้เกิดความเท่าเทียมกัน ต่อมา จีนก็เร่งพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยอมรับความสำคัญของเงินลงทุน และเสรีภาพของประชาชน ในการทำงาน ตลอดจนการตอบแทนแรงงานอย่างเสรี ตามแรงงานที่ทำ ไม่คิดแต่จะพึ่งภาครัฐแต่อย่างเดียวอีกต่อไป...
ฉบับหน้า ผมจะมาต่อความเห็นของผม ว่าจีนได้อดทนผ่านความลำบากมาอย่างไร และไทยเรา จะสู้หรือไม่