อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 1
ผมพยายามค้นหาหลายที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษครับ
ซึ่งผมไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแปลได้ หรือว่าการวัดมูล
ค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนไทย เห็นในคลังกระทู้คุณ
ค่าก็พูดถึงเรื่องนี้ แต่พีีแต่ละท่านมีความรู้พอสมควรแล้วถึงเข้าใจ
ท่านใดพอจะสอนการวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้ให้มือใหม่อย่างผมได้มั่งครับ
ขอบคุณครับ
ซึ่งผมไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแปลได้ หรือว่าการวัดมูล
ค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนไทย เห็นในคลังกระทู้คุณ
ค่าก็พูดถึงเรื่องนี้ แต่พีีแต่ละท่านมีความรู้พอสมควรแล้วถึงเข้าใจ
ท่านใดพอจะสอนการวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้ให้มือใหม่อย่างผมได้มั่งครับ
ขอบคุณครับ
อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่ อัตตา มิใช่ตัวตน
-
- Verified User
- โพสต์: 353
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 2
ปูเสื่อรอฟัง ต่อยอดจากห้อง สินธร อิอิEND เขียน:ผมพยายามค้นหาหลายที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษครับ
ซึ่งผมไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะแปลได้ หรือว่าการวัดมูล
ค่าด้วยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนไทย เห็นในคลังกระทู้คุณ
ค่าก็พูดถึงเรื่องนี้ แต่พีีแต่ละท่านมีความรู้พอสมควรแล้วถึงเข้าใจ
ท่านใดพอจะสอนการวัดมูลค่าด้วยวิธีนี้ให้มือใหม่อย่างผมได้มั่งครับ
ขอบคุณครับ
- nam
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1434
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 3
อธิบายไม่เป็น
เอานี่ไปอ่านดีกว่า พี่ๆเขาคุยกันเมื่อปี 2004 ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=5307
เอานี่ไปอ่านดีกว่า พี่ๆเขาคุยกันเมื่อปี 2004 ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=5307
ตถตา
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 4
ลองหาหนังสือ หลักสูตรที่มหาลัยโคลัมเบียสอน ที่พี่เวบแปล แต่ผมไม่แน่ใจชื่อเต็ม ๆ มันนะครับ ลองหาดูน่าจะมี อีกอย่างลองดูตัวอย่างที่ MCS รู้สึกมีพี่ท่านหนึ่งให้ตัวอย่างไว้น่าสนใจมาก ตอนนี้ก็มี JAS ของพี่ชินน์อีกตัวอย่างหนึ่งครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 5
ลองแทนค่าสมการดูนะครับ
จาก EBIT = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย ---------------1)
และ EBITDA = EBIT + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย --------------2)
แทนค่า EBIT ในสมการที่ 1) ลงในสมการที่ 2) จะได้
EBITDA = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย ----------3)
จาก EV/EBITDA ,
แทนค่า EV ด้วย Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด และ
แทนค่า EBITDA ด้วยสมการที่ 3)
จะได้ว่า
EV/EBITDA =
(Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด) / (กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย)
ทีนี้เรารู้ว่า EV/EBITDA ได้ผลลัพธ์ออกมาตำๆ ถึงจะแปลว่าหุ้นมีราคาถูก นั่นคือ
ตัวตั้ง หรือ "Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด" รวมออกมาได้น้อยๆ
ตัวหาร หรือ "กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย" รวมออกมาได้มากๆ
จึงจะดี(หรือแปลว่าหุ้นมีราคาถูก)
จึงสรุป ค่าตัวแปร (บางตัวที่น่าสนใจ)ที่ทำให้ EV/EBITDA ออกมามีค่าน้อยได้ดังนี้
ฝั่งตัวตั้ง คือ มีเงินสดมากๆ, มีหนี้สินน้อยๆ
ฝั่งตัวหาร คือ มีกำไรสุทธิมากๆ, หรือ มีภาษีมากๆ, หรือ มีดอกเบี้ยจ่ายมากๆ, หรือ มีค่าเสื่อมมากๆ นั่นเอง
จบครับ ขอคำชึ้แนะด้วย ไม่แน่ใจว่าแทนค่าในสมการถูกหรือเปล่า
จาก EBIT = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย ---------------1)
และ EBITDA = EBIT + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย --------------2)
แทนค่า EBIT ในสมการที่ 1) ลงในสมการที่ 2) จะได้
EBITDA = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย ----------3)
จาก EV/EBITDA ,
แทนค่า EV ด้วย Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด และ
แทนค่า EBITDA ด้วยสมการที่ 3)
จะได้ว่า
EV/EBITDA =
(Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด) / (กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย)
ทีนี้เรารู้ว่า EV/EBITDA ได้ผลลัพธ์ออกมาตำๆ ถึงจะแปลว่าหุ้นมีราคาถูก นั่นคือ
ตัวตั้ง หรือ "Market Cap + หนี้สินทั้งหมด - เงินสด" รวมออกมาได้น้อยๆ
ตัวหาร หรือ "กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย" รวมออกมาได้มากๆ
จึงจะดี(หรือแปลว่าหุ้นมีราคาถูก)
จึงสรุป ค่าตัวแปร (บางตัวที่น่าสนใจ)ที่ทำให้ EV/EBITDA ออกมามีค่าน้อยได้ดังนี้
ฝั่งตัวตั้ง คือ มีเงินสดมากๆ, มีหนี้สินน้อยๆ
ฝั่งตัวหาร คือ มีกำไรสุทธิมากๆ, หรือ มีภาษีมากๆ, หรือ มีดอกเบี้ยจ่ายมากๆ, หรือ มีค่าเสื่อมมากๆ นั่นเอง
จบครับ ขอคำชึ้แนะด้วย ไม่แน่ใจว่าแทนค่าในสมการถูกหรือเปล่า
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 6
ตัวตั้งที่เป็นตัวแปรใน EV/EBITDA ลืม market cap อีกตัว
สรุป ถ้าจะหาหุ้นถูกๆในแง่ EV/EBITDA คือ หุ้นนั้นต้อง
มี market cap ตำๆ, มีเงินสดมากๆ, มีหนี้สินน้อยๆ,
มีกำไรสุทธิมากๆ, หรือ มีภาษีมากๆ, หรือ มีดอกเบี้ยจ่ายมากๆ, หรือ มีค่าเสื่อมมากๆ ครับ
สรุป ถ้าจะหาหุ้นถูกๆในแง่ EV/EBITDA คือ หุ้นนั้นต้อง
มี market cap ตำๆ, มีเงินสดมากๆ, มีหนี้สินน้อยๆ,
มีกำไรสุทธิมากๆ, หรือ มีภาษีมากๆ, หรือ มีดอกเบี้ยจ่ายมากๆ, หรือ มีค่าเสื่อมมากๆ ครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 7
ทีนี้ถ้าผมเหมาเอาว่า ที่ผมเข้าใจข้างบนนั้นถูกต้อง งั้นผมต่อนะครับ
ถ้ามีบริษัทอยู่หนึ่งบริษัท มีเงินสดของเดิมอยู่มาก, มีหนี้น้อย (ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายก็น่าจะน้อยตามไปด้วย), บังเอิญปีนี้บริหารขาดทุน (กำไรสุทธิจะตํ่า เสียภาษีก็จะตํ่าด้วยเช่นกัน) ดังนั้นถ้า
บริษัทนี้จะมี EV/EBITDA ตํ่าๆได้ คงต้องอาศัย market cap ตํ่า และ มีค่าเสื่อมมากๆ
จึงอาจกล่าวได้ว่า บริษัทที่คิดค่าเสื่อมมากเกินไปหรือมากจนทำให้กำไรสุทธิลดลง(หรือขาดทุน) ก็มีแนวโน้มทำให้หุ้นถูกลงได้ (เพราะไม่ได้ขาดทุนจริงแต่ขาดทุนเพราะคิดค่าเสื่อมมากไป)
บริษัทอาจขาดทุนทางบัญชีแต่ยังมีเงินสดเหลืออยู่มาก
ถ้ามีบริษัทอยู่หนึ่งบริษัท มีเงินสดของเดิมอยู่มาก, มีหนี้น้อย (ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายก็น่าจะน้อยตามไปด้วย), บังเอิญปีนี้บริหารขาดทุน (กำไรสุทธิจะตํ่า เสียภาษีก็จะตํ่าด้วยเช่นกัน) ดังนั้นถ้า
บริษัทนี้จะมี EV/EBITDA ตํ่าๆได้ คงต้องอาศัย market cap ตํ่า และ มีค่าเสื่อมมากๆ
จึงอาจกล่าวได้ว่า บริษัทที่คิดค่าเสื่อมมากเกินไปหรือมากจนทำให้กำไรสุทธิลดลง(หรือขาดทุน) ก็มีแนวโน้มทำให้หุ้นถูกลงได้ (เพราะไม่ได้ขาดทุนจริงแต่ขาดทุนเพราะคิดค่าเสื่อมมากไป)
บริษัทอาจขาดทุนทางบัญชีแต่ยังมีเงินสดเหลืออยู่มาก
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 353
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 8
ยกตัวอย่างการคำนวณให้ดูสัก บ.ได้มั้ยครับ
แบบว่า market cap สักไม่เกิน พันล้าน ก้อได้ครับ
เพราะผมกลัวว่าจะ คำนวณแล้วมาโพสให้ดูว่าถูกมั้ย แล้วจะผิดเยอะไปนิส..นึงอ่าครับ
แต่ถ้าไม่ได้ไม่เปนไรครับ คงจะคำนวณมาโพสให้ดูให้ติชม ด้านได้ อาย-อด อิอิ
แบบว่า market cap สักไม่เกิน พันล้าน ก้อได้ครับ
เพราะผมกลัวว่าจะ คำนวณแล้วมาโพสให้ดูว่าถูกมั้ย แล้วจะผิดเยอะไปนิส..นึงอ่าครับ
แต่ถ้าไม่ได้ไม่เปนไรครับ คงจะคำนวณมาโพสให้ดูให้ติชม ด้านได้ อาย-อด อิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 9
Jas (2010 data)
แบบที่-------------------1------------------------2----
Mkt cap-----------23,826.36-------------23,826.36
Debt --------------11,919.51--------------4,087.10 (only long debt)
Cash ---------------1,920.01----------------1,920.01
EBITDA-------------2,776.27----------------2,776.27
EV-------------------33,825.86---------------25,993.45
EV/EBITDA------------12.18392303-------------9.362724087
แบบที่ 1 นำ total liabilities มาคิด ส่วนแบบที่ 2 นำเอาเฉพาะ non-current liabilities โดยใช้หลักการข้างต้น และจากที่คุณ chinn เคย post ในสินธรและห้อง jas คือค่า Ev/Ebitda <= 5 จึงจะ undervalue บนสมมติฐานการคืนทุนไม่เกิน 5 ปี???? ผมเองก็มือใหม่เหมือนกันครับ
แบบที่-------------------1------------------------2----
Mkt cap-----------23,826.36-------------23,826.36
Debt --------------11,919.51--------------4,087.10 (only long debt)
Cash ---------------1,920.01----------------1,920.01
EBITDA-------------2,776.27----------------2,776.27
EV-------------------33,825.86---------------25,993.45
EV/EBITDA------------12.18392303-------------9.362724087
แบบที่ 1 นำ total liabilities มาคิด ส่วนแบบที่ 2 นำเอาเฉพาะ non-current liabilities โดยใช้หลักการข้างต้น และจากที่คุณ chinn เคย post ในสินธรและห้อง jas คือค่า Ev/Ebitda <= 5 จึงจะ undervalue บนสมมติฐานการคืนทุนไม่เกิน 5 ปี???? ผมเองก็มือใหม่เหมือนกันครับ
- laohanant
- Verified User
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 10
ขอเสริมละกันนะครับ เรื่องตัวแปรต่างๆ คืออะไรนั้นถูกแล้ว
EV/EBITDA นั้นอาจเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์บริษัทที่มีผลขาดทุนในช่วงจุดต่ำสุดของวัฎจักร เนื่องผลขาดทุนสุทธิทำให้ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ แต่ก็มีจุดอ่อน ที่เป็นช่องโหว่ สำคัญหลายประการเหมือนกัน
จุดอ่อนสำคัญอย่างแรก EBITDA ไม่ได้คำนึงค่าใช้จ่ายลงทุนที่จำเป็น
การที่จะทำให้ EBITDA นั้น sustainable ธุรกิจต้องมี Maintenace Capex หรือ ค่าใช้จ่ายลงทุนที่จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะรักษากำไรเหล่านั้นไว้ เพราะถ้า Maintenace Capex นั้นมากกว่า DA จะทำให้เกิดภาพที่บิดเบือนไปได้อย่างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีสินทรัพย์ที่มีอายุใช้งานสั้น หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยี่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังรวมผลกระทบของเงินเฟ้อที่ส่งผลให้บริษัทต้องลงทุนใหม่สำหรับสินทรัพย์ตัวเดิมในราคาที่สูงขึ้น การปรับปรุงตัวเลขโดยใช้ (EBITDA - Maintenace Capex) แทน (EBITDA) จึงให้ภาพที่เหมาะสมกว่า
จุดอ่อนสำคัญอย่างที่สอง EBITDA ไม่ได้บ่งชี้ถึงคุณภาพของกำไรที่เป็นเงินสด และการใช้เงินทุนหมุนเวียน
ไม่ว่าจะเนื่องจากนโยบายการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน (เช่น การรับตามความก้าวหน้าของงาน กับ รับรู้ทีเดียวเมื่อส่งงาน) หรือ จากการที่บริษัทใช้นโยบายเร่งรับรู้รายได้ EBITDA นั้นไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ถึงการได้รับเงินสดเข้ามาจริงๆ หากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย และ EBITDA นั้น ส่งผลให้ อายุเฉลี่ยของรายการลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการได้เครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ที่สั้นลง นั้นล้วนส่งผลต่อการใช้เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น ดั้งนั้นการปรับปรุงตัวเลขของการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน(CWC) จึงเป็นเรื่องจำเป็น
การใช้ (EBITDA - Maintenace Capex-CWC) แทน (EBITDA) จึงให้ภาพที่เหมาะสมมากขึ้นไปอีก ซึ่งดูดีๆ มันก็คือ Free Cash Flow (FCF) นั่นเอง
อาจปรับปรุงเรื่องค่าใช้จ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็น (EBITx(1-tax) +DA - Maintenace Capex-CWC) ซึ่งนี่เป็นหัวใจหลักของการประเมิณมูลค่าแบบ Earning Power Value (EPV) ที่กำไรนั้น sustainable นั่นเอง
สรุปแล้วโดยส่วนตัว การใช้ EV/FCF จะให้ภาพที่ถูกต้องมากกว่า EV/EBITDA
นอกจากนี้แล้ว EV/EBITDA ยังมีจุดอ่อนอย่างอื่นอีกเช่น
หากบริษัทไปถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทอื่นๆ EBITDA จะไม่ได้รวมกำไรจากบริษัทเหล่านี้ถ้าใช้นโยบายรู้รายได้จากการจ่ายปัลผลแล้วบริษัทร่วมไม่จ่ายปัลผลออกมาก จะทำให้ภาพ EBITDA ต่ำไป ทำให้ภาพ EV/EBITDA สูงไป เป็นต้น
แม้แต่ตัวของบัฟเฟต์เอง ก็เคยกล่าวถึง EBITDA (อ้างอิงจาก The 5 keys to Value Investing by J.Dennis Jean-Jacques แปรโดยพี่ WEB) ไว้ว่า “ตัวเลขหนึ่งที่เรามองว่าไร้สาระก็คือ EBITDA ธุรกิจใดก็ตามที่ใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีนัยสำคัญจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในระดับเดิมในแง่ของปริมาณการขาย ดั้งนั้นการใช้ตัวเลขที่ไม่ได้พิจารณาถึงเงินสดที่บริษัทจำเป็นต้องนำไปลงทุนเพิ่มเป็นเรื่องเขลาสิ้นดี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากเลิกนำ EBITDA ไปใช้อย่างผิดๆ เพื่อขายสินค้าในรูปแบบต่างๆ ปีแล้วปีเล่า”
(ความเห็นส่วนตัว) คำว่า “ผู้คนจำนวนมาก” น่าจะหมายถึงเหล่านักวิเคราะห์ต่างๆ
สุดท้ายแล้วก็ ลองพิจารณาการใช้เครื่องวัดมูลค่าเหล่านี้กันให้ดีๆ นะครับ
EV/EBITDA นั้นอาจเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์บริษัทที่มีผลขาดทุนในช่วงจุดต่ำสุดของวัฎจักร เนื่องผลขาดทุนสุทธิทำให้ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ แต่ก็มีจุดอ่อน ที่เป็นช่องโหว่ สำคัญหลายประการเหมือนกัน
จุดอ่อนสำคัญอย่างแรก EBITDA ไม่ได้คำนึงค่าใช้จ่ายลงทุนที่จำเป็น
การที่จะทำให้ EBITDA นั้น sustainable ธุรกิจต้องมี Maintenace Capex หรือ ค่าใช้จ่ายลงทุนที่จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะรักษากำไรเหล่านั้นไว้ เพราะถ้า Maintenace Capex นั้นมากกว่า DA จะทำให้เกิดภาพที่บิดเบือนไปได้อย่างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีสินทรัพย์ที่มีอายุใช้งานสั้น หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่เทคโนโลยี่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังรวมผลกระทบของเงินเฟ้อที่ส่งผลให้บริษัทต้องลงทุนใหม่สำหรับสินทรัพย์ตัวเดิมในราคาที่สูงขึ้น การปรับปรุงตัวเลขโดยใช้ (EBITDA - Maintenace Capex) แทน (EBITDA) จึงให้ภาพที่เหมาะสมกว่า
จุดอ่อนสำคัญอย่างที่สอง EBITDA ไม่ได้บ่งชี้ถึงคุณภาพของกำไรที่เป็นเงินสด และการใช้เงินทุนหมุนเวียน
ไม่ว่าจะเนื่องจากนโยบายการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน (เช่น การรับตามความก้าวหน้าของงาน กับ รับรู้ทีเดียวเมื่อส่งงาน) หรือ จากการที่บริษัทใช้นโยบายเร่งรับรู้รายได้ EBITDA นั้นไม่ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ถึงการได้รับเงินสดเข้ามาจริงๆ หากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย และ EBITDA นั้น ส่งผลให้ อายุเฉลี่ยของรายการลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงการได้เครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ที่สั้นลง นั้นล้วนส่งผลต่อการใช้เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น ดั้งนั้นการปรับปรุงตัวเลขของการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน(CWC) จึงเป็นเรื่องจำเป็น
การใช้ (EBITDA - Maintenace Capex-CWC) แทน (EBITDA) จึงให้ภาพที่เหมาะสมมากขึ้นไปอีก ซึ่งดูดีๆ มันก็คือ Free Cash Flow (FCF) นั่นเอง
อาจปรับปรุงเรื่องค่าใช้จ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็น (EBITx(1-tax) +DA - Maintenace Capex-CWC) ซึ่งนี่เป็นหัวใจหลักของการประเมิณมูลค่าแบบ Earning Power Value (EPV) ที่กำไรนั้น sustainable นั่นเอง
สรุปแล้วโดยส่วนตัว การใช้ EV/FCF จะให้ภาพที่ถูกต้องมากกว่า EV/EBITDA
นอกจากนี้แล้ว EV/EBITDA ยังมีจุดอ่อนอย่างอื่นอีกเช่น
หากบริษัทไปถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทอื่นๆ EBITDA จะไม่ได้รวมกำไรจากบริษัทเหล่านี้ถ้าใช้นโยบายรู้รายได้จากการจ่ายปัลผลแล้วบริษัทร่วมไม่จ่ายปัลผลออกมาก จะทำให้ภาพ EBITDA ต่ำไป ทำให้ภาพ EV/EBITDA สูงไป เป็นต้น
แม้แต่ตัวของบัฟเฟต์เอง ก็เคยกล่าวถึง EBITDA (อ้างอิงจาก The 5 keys to Value Investing by J.Dennis Jean-Jacques แปรโดยพี่ WEB) ไว้ว่า “ตัวเลขหนึ่งที่เรามองว่าไร้สาระก็คือ EBITDA ธุรกิจใดก็ตามที่ใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีนัยสำคัญจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในระดับเดิมในแง่ของปริมาณการขาย ดั้งนั้นการใช้ตัวเลขที่ไม่ได้พิจารณาถึงเงินสดที่บริษัทจำเป็นต้องนำไปลงทุนเพิ่มเป็นเรื่องเขลาสิ้นดี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากเลิกนำ EBITDA ไปใช้อย่างผิดๆ เพื่อขายสินค้าในรูปแบบต่างๆ ปีแล้วปีเล่า”
(ความเห็นส่วนตัว) คำว่า “ผู้คนจำนวนมาก” น่าจะหมายถึงเหล่านักวิเคราะห์ต่างๆ
สุดท้ายแล้วก็ ลองพิจารณาการใช้เครื่องวัดมูลค่าเหล่านี้กันให้ดีๆ นะครับ
Detect and Act on the market 's error.
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 11
Concept ของ EV/EBITDA นั่นคล้ายกับ P/E ครับ โดย P/E มาจาก มูลค่าหุ้นสามัญ/กำไรสุทธิ
* กำไรสุทธิคือกำไรที่หักดอกเบี้ยออกไปแล้ว ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นกำไรของผู้ถือหุ้นสามัญนั่นเอง
แต่สำหรับ EV/EBITDA มาจาก มูลค่ากิจการ/EBITDA
* EV ย่อมาจาก Enterpise Value ซึ่งคือมูลค่าของกิจการที่ไม่รวมส่วนของ non operating
* Value of firm = Value of operating + Value of nonoperating
* Value of operating คือ มูลค่าของกิจการทีี่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
* Value of nonoperating คือ มูลค่าของกิจการทีี่ไม่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
เช่น เงินลงทุนในหุ้นระยสั้น,เงินลงทุนในตราสารหนี้
* EBITDA นั้นคือกำไรที่เป็นนักลงทุนทั้งผู้ถือตราสารหนี้(ผู้ให้กู้) และ ผู้ถือหุ้นสามัญ
การคำนวณ EV ในกรณีเพื่อหา อัตราส่วนการเงินนี้
EV = Equity + Debt - Value of non operating
* Equity ที่กล่าวถึงนี้จะใช้มูลค่าตลาดของ Equity ซึ่งเท่ากับ ราคาหุ้นคูณจำนวนหุ้น
* Debt ที่กล่าวถึงนี้จะใช้มูลค่าตลาดของ Debt ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมูลค่าไม่ต่างจาก Book มากนักดังนั้นสามารถใช้ Book แทนได้
* Book หมายถึงมูลค่าที่อยู่ในบัญชี (งบดุล)
EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย
* กำไรสุทธิคือกำไรที่หักดอกเบี้ยออกไปแล้ว ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นกำไรของผู้ถือหุ้นสามัญนั่นเอง
แต่สำหรับ EV/EBITDA มาจาก มูลค่ากิจการ/EBITDA
* EV ย่อมาจาก Enterpise Value ซึ่งคือมูลค่าของกิจการที่ไม่รวมส่วนของ non operating
* Value of firm = Value of operating + Value of nonoperating
* Value of operating คือ มูลค่าของกิจการทีี่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
* Value of nonoperating คือ มูลค่าของกิจการทีี่ไม่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
เช่น เงินลงทุนในหุ้นระยสั้น,เงินลงทุนในตราสารหนี้
* EBITDA นั้นคือกำไรที่เป็นนักลงทุนทั้งผู้ถือตราสารหนี้(ผู้ให้กู้) และ ผู้ถือหุ้นสามัญ
การคำนวณ EV ในกรณีเพื่อหา อัตราส่วนการเงินนี้
EV = Equity + Debt - Value of non operating
* Equity ที่กล่าวถึงนี้จะใช้มูลค่าตลาดของ Equity ซึ่งเท่ากับ ราคาหุ้นคูณจำนวนหุ้น
* Debt ที่กล่าวถึงนี้จะใช้มูลค่าตลาดของ Debt ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมูลค่าไม่ต่างจาก Book มากนักดังนั้นสามารถใช้ Book แทนได้
* Book หมายถึงมูลค่าที่อยู่ในบัญชี (งบดุล)
EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณพี่ navapon มากนะครับ
พอดีกว่าผมเป็นเด็ก ไทย - สังคม
เลยคำนวนไม่เก่ง แต่ก็เห็นภาพรวม
ของสูตรแล้วครับ ขอบคุณนะครับ
สงสัยเดียวมาถามต่อครับ
พอดีกว่าผมเป็นเด็ก ไทย - สังคม
เลยคำนวนไม่เก่ง แต่ก็เห็นภาพรวม
ของสูตรแล้วครับ ขอบคุณนะครับ
สงสัยเดียวมาถามต่อครับ
อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่ อัตตา มิใช่ตัวตน
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณ คุณ send และคุณ laohanant
มากนะครับทำให้เห็นภาพรวมได้ยิ่งขึ้น
รบกวนถามแบบมือใหม่หน่อยนะครับว่า
วิธีการวัดมูลค่ามีกี่แบบ มีข้อดี ข้อเสีย
ยังไงบาง และแต่ละวิธีเหมาะสมกับ
การนำไปคำนวนมูลค่าลักษณะบริษัท
แบบใด ขอบคุณครับ
มากนะครับทำให้เห็นภาพรวมได้ยิ่งขึ้น
รบกวนถามแบบมือใหม่หน่อยนะครับว่า
วิธีการวัดมูลค่ามีกี่แบบ มีข้อดี ข้อเสีย
ยังไงบาง และแต่ละวิธีเหมาะสมกับ
การนำไปคำนวนมูลค่าลักษณะบริษัท
แบบใด ขอบคุณครับ
อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่ อัตตา มิใช่ตัวตน
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 14
laohanant เขียน:
สรุปแล้วโดยส่วนตัว การใช้ EV/FCF จะให้ภาพที่ถูกต้องมากกว่า EV/EBITDA
ขอถามเพิ่มเติมครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น การใช้ EV/FCF จะดีกว่าการใช้ EV/EBITDA แล้วเราควรใช้อัตราส่วน EV/EBITDA ย้อนหลังกี่ปีครับ หรือว่าใช้แค่ปัจจุบันก็พอ หรือต้อง forecast ในอนาคตไปอีก
การคำนวณ FCF = EBIT (1-T) +DA - CapEx - CWC ตรง EBIT ต้องปรับให้เป็น
เฉพาะ EBIT ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติ ตัดรายการพิเศษออกแล้วใช่มั๊ยครับ แล้วในการประมาณมูลค่าหุ้นคุณ laohanant ใช้ค่าที่ว่านี่หรือป่าวครับ
ขอถามเพิ่มเติมนะครับว่าในหนังสือ Essential Buffet ที่ buffet ใช้ owner's earning นี่หมายถึง FCF หรือป่าวครับ
- laohanant
- Verified User
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 15
viim เขียน:
ขอถามเพิ่มเติมครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น การใช้ EV/FCF จะดีกว่าการใช้ EV/EBITDA แล้วเราควรใช้อัตราส่วน EV/EBITDA ย้อนหลังกี่ปีครับ หรือว่าใช้แค่ปัจจุบันก็พอ หรือต้อง forecast ในอนาคตไปอีก
การใช้ Comparison Base Tool หรือเครื่องมือประเมิณมูลค่าแบบเชิงสัดส่วนเปรียบเทียบ (P/E,P/B , P/S , EV/EBITDA และ……นาๆ……….ฯลฯ )นั้น ผมว่ามันก็แล้วแต่ สไตล์ VI แต่ละคนจะหยิบอะไรมาใช้บ้าง กลับแต่ละสถาการณ์ ซึ่งก็คงไม่เหมือนกัน เหมือนเป็นศิลป์ ในส่วนของตัวหาร( E,EBIT, EBITDA ) ก็สามารถปรับใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 12 เดือนย้อนหลัง(หรือมากกว่านั้นแล้วเฉลี่ยเอาก็ไม่ผิด) หรือกำไรเฉพาะงวดปัจจุบัน หรือจะการคาดการณ์กำไรในอนาคต 12 เดือนข้างหน้า หรือ อื่น………ฯลฯ อันนี้แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน กับแต่ละสถาณการณ์ อาจทำในทุกกรณีก็ได้ถ้าขยันมากๆ โดยส่วนตัวผมเอง ผมเลือกใช้เครื่องมือกลุ่มนี้ เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง โดยจะให้น้ำหนักกับ การคาดการณ์ Forward 12 เดือนข้างหน้ามากว่า ซึ่งการคาดการณ์ล่วงนั้น หัวใจสำคัญ ผมว่าเราต้องรู้จักบริษัทที่เราจะลงทุนเป็นอย่างดีในทุกๆมุม ให้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการแกะงบย้อนที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
การคำนวณ FCF = EBIT (1-T) +DA - CapEx - CWC ตรง EBIT ต้องปรับให้เป็น
เฉพาะ EBIT ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติ ตัดรายการพิเศษออกแล้วใช่มั๊ยครับ แล้วในการประมาณมูลค่าหุ้นคุณ laohanant ใช้ค่าที่ว่านี่หรือป่าวครับ
ถูกต้องแล้วต้องปรับปรุงกำไรโดยตัดกำไรพิเศษ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ ทิ้งไป
ส่วนตัวแล้ว โดยปกติ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะใช้ตลอดครับ
ขอถามเพิ่มเติมนะครับว่าในหนังสือ Essential Buffet ที่ buffet ใช้ owner's earning นี่หมายถึง FCF หรือป่าวครับ[/color]
ถูกต้องแล้วครับ
Detect and Act on the market 's error.
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 16
FCFF คือกระแสเงินสดอิสระที่สามารถจะจ่ายให้กับ เจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้น
FCFF = NI+NCC+Int(1-Tax)-WCInv-FCInv
or = EBIT*(1-Tax)+NCC-WCInv-FCInv
or = CFO+Int(1-Tax)-FCInv
or = NOPAT+NCC-WCInv-FCInv
โดย NCC = Non Cash Charge and Non Cash Revenue ซึ่ง ประกอบด้วย Depreciation,Amortization,Impairment, Losses/Gain,Restructuring,Defered Tax เป็นต้น
WCInv คือ เงินลงทุนใร working capital หรือ Change in net operating working capital
WCInv งวด (t) = net operating working capital งวด (t) - net operating working capital งวด (t-1)
net operating working capital = operating current asset - operating current liability
operating current asset คือ current asset ที่ตัด ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการ operating ออก เช่น เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
operating current liability = คือ Current Liability ที่ตัด Current Liability ที่มีดอกเบี้ยออก เช่น Note Payable
FCInv คือเงินลงทุนใน Fix Asset
FCInv = CapEx - Proceeds From sale Long term Asset
Proceeds From sale Long term Asset คือเงินสดที่ได้รับจากการขาย Asset
CFO คือ Cash Flow from Oparation
CFO = NI + NCC - WCInv
* ประเด็นที่อยากให้ระวัง การใช้ DA แทน NCC และ ใช้ CapEx แทน FCInv นั้น อาจทำให้ FCFF ผิดพลาดได้ครับ
FCFF = NI+NCC+Int(1-Tax)-WCInv-FCInv
or = EBIT*(1-Tax)+NCC-WCInv-FCInv
or = CFO+Int(1-Tax)-FCInv
or = NOPAT+NCC-WCInv-FCInv
โดย NCC = Non Cash Charge and Non Cash Revenue ซึ่ง ประกอบด้วย Depreciation,Amortization,Impairment, Losses/Gain,Restructuring,Defered Tax เป็นต้น
WCInv คือ เงินลงทุนใร working capital หรือ Change in net operating working capital
WCInv งวด (t) = net operating working capital งวด (t) - net operating working capital งวด (t-1)
net operating working capital = operating current asset - operating current liability
operating current asset คือ current asset ที่ตัด ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการ operating ออก เช่น เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
operating current liability = คือ Current Liability ที่ตัด Current Liability ที่มีดอกเบี้ยออก เช่น Note Payable
FCInv คือเงินลงทุนใน Fix Asset
FCInv = CapEx - Proceeds From sale Long term Asset
Proceeds From sale Long term Asset คือเงินสดที่ได้รับจากการขาย Asset
CFO คือ Cash Flow from Oparation
CFO = NI + NCC - WCInv
* ประเด็นที่อยากให้ระวัง การใช้ DA แทน NCC และ ใช้ CapEx แทน FCInv นั้น อาจทำให้ FCFF ผิดพลาดได้ครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณครับ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 19
EV/EBITDA กับ EV/fcf ควรต่ำ กว่าที่เท่า ถึงเรียกว่าดีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากรู้วิธีวัดมูลค่าด้วย EV/EBITDA
โพสต์ที่ 20
EV (ล้านบาท)
มูลค่า(ขนาด)กิจการ (Market Cap ของวันที่ซื้อหุ้น + Total Debt - Cash)
หรือ คือการมองว่าถ้าเราจะเทคโอเวอร์บริษัทนี้ที่ราคาตลาดขณะนี้ต้องใช้เงินสดเท่าไหร่ เหตุที่เอา market cap + หนี้สิน - เงินสด เพราะ หากเราจะซื้อกิจการจริงเพื่อให้เป็นของเราคนเดียว เราก็ต้องเอาเงินสดไปเพิ่ม ไปจ่ายหนี้สินของบริษัทให้หมดด้วย บริษัทจะได้เป็นของเรา(ไม่ต้องมีเจ้าหนี้ เป็นเจ้าของบริษัทร่วมด้วย) ส่วนเงินสดที่มาลบออกตอนท้ายเพระหากใช้หนี้หมด แล้วซื้อบริษัทมาแล้ว เงินสดที่บริษัทมีอยู่เดิมก็ต้องเป็นของเราอยู่ดี ตอนเอาเงินไปซื้อ จึงไม่ต้องเผื่อเงินสำหรับก้อนนี้
EBITDA (ล้านบาท)
มองหยาบๆมันก็คือ "กำไร"
(โดย EBITDA = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย)
แต่หากมองให้ลึกขึ้น EBITDA มันคือตัวที่บ่งบอกเราว่า บริษัทผลิตกำไรที่เป็นเงินสดเข้ามาได้ปีละเท่าไรหากเก็บหนี้ได้เป็นตัวเงินครบจริงตามที่แสดงในงบ (เพราะไม่เอาค่าเสื่อมซึ่งเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีไม่มีการเสียเงินออกไปจริงๆมาคิด)
ค่า EV / EBITDA จึงหมายถึง
ขนาดกิจการเมื่อเทียบกับกำไร ดังนั้นบริษัทเล็กแต่ทำกำไรมากจึงจะดี คือ ค่านี้ยิ่งต่ำๆยิ่งดี
เป็นตัววัดความถูกแพงชองหุ้นเช่นเดียวกับ PE ratio
(ไม่ควรซื้อหุ้นที่ EV / EBITDA > 10 เท่า ยิ่งน้อยกว่า 10 เท่ายิ่งดี แสดงว่าหุ้นยิ่งถูก)
ค่า EV / EBITDA นี้อาจมองให้ลึกขึ้น ในอีกความหมายได้ว่า เงินที่เราจะใช้ซื้อกิจการนั้นมีมูลค่าเป็นกี่เท่าของเงินสดที่บริษัทจะผลิตได้ในแต่ละปี หรือก็คือมองว่าใช้ระยะเวลาว่ากี่ปี? กว่าที่เราจะได้"เงินสด" ที่เราซื้อกิจการไปคืนมา
> เป็นการลดข้อจำกัดของ P/E ตรงที่หุ้นหลายตัว earning ติดลบหา P/E ไม่ได้ แต่เนื่องจาก EBITDA คือการนำ earning บวกกลับด้วยค่าเสื่อมฯ ดอกเบี้ย ภาษี
ซึ่งปกติแล้วแม้ว่าบริษัทนั้นๆ จะขาดทุนเละยังไง EBITDA ก็มักจะยังเป็นบวกอยู่ได้ นอกจากนี้ EV/EBITDA ยังขจัดความแตกต่างของนโยบายทางบัญชีที่สำคัญเช่น ค่าเสื่อมราคา และความเหลื่อมล้ำของการจ่ายภาษีได้ รวมทั้งหนี้สิน จึงใช้เปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ (ผิดกับ P/E ratio) เพราะไม่ต้องคำนึงถึงโครงสร้างทุนที่แตกต่างกัน
> นอกจากนี้EV/EBITDA ยังเหมาะใช้กับธุรกิจที่มีค่าเสื่อมเยอะๆ เพราะหุ้นกลุ่มนี้การดูที่ earning จะค่อนข้างหลอกตา เพราะโดนค่าเสื่อมกินไปซะหมด ทำให้ cash flow ดีกว่า earning ค่อนข้างมาก การใช้ EBITDA แทน E จะลดปัญหาเรื่องค่าเสื่อมมาหลอกตาได้ ธุรกิจที่มีค่าเสื่อมเยอะๆ ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ ก่อนที่จะ generate รายได้ออกมา เช่น ห้าง รพ. ระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น (โดยหมอ reiter)
> สรุป บริษัทที่มีค่าเสื่อมมากๆแต่จริงๆแล้วยังมีเงินสดเหลืออยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบค่าความถูก-แพง มักมี EV/EBITDA ต่ำกว่า P/E Ratio เสมอ
นั่นคือมองในแง่ P/E Ratio อาจจะแพง แต่ถ้ามองในแง่ EV / EBITDA อาจจะยังไม่แพงนั่นเอง
(ทั้งนี้ บางคนก็ใช้ค่า EV / Free Cash Flow แทน เนื่องจาก FCF สะท้อนกำไรที่เป็นเงินสดจริงได้ดีกว่า EBITDA ยิ่งขึ้นไปอีก)
ทั้งหมดส่วนใหญ่ให้เครดิต หมอreiter นะครับ บางส่วนผมมาทำความเข้าใจเพิ่มเอาเอง เลยเอามาเผยแพร่เพิ่มเติมครับ
ผิดถูก ผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
มูลค่า(ขนาด)กิจการ (Market Cap ของวันที่ซื้อหุ้น + Total Debt - Cash)
หรือ คือการมองว่าถ้าเราจะเทคโอเวอร์บริษัทนี้ที่ราคาตลาดขณะนี้ต้องใช้เงินสดเท่าไหร่ เหตุที่เอา market cap + หนี้สิน - เงินสด เพราะ หากเราจะซื้อกิจการจริงเพื่อให้เป็นของเราคนเดียว เราก็ต้องเอาเงินสดไปเพิ่ม ไปจ่ายหนี้สินของบริษัทให้หมดด้วย บริษัทจะได้เป็นของเรา(ไม่ต้องมีเจ้าหนี้ เป็นเจ้าของบริษัทร่วมด้วย) ส่วนเงินสดที่มาลบออกตอนท้ายเพระหากใช้หนี้หมด แล้วซื้อบริษัทมาแล้ว เงินสดที่บริษัทมีอยู่เดิมก็ต้องเป็นของเราอยู่ดี ตอนเอาเงินไปซื้อ จึงไม่ต้องเผื่อเงินสำหรับก้อนนี้
EBITDA (ล้านบาท)
มองหยาบๆมันก็คือ "กำไร"
(โดย EBITDA = กำไรสุทธิ + ภาษี + ดอกเบี้ยจ่าย + ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย)
แต่หากมองให้ลึกขึ้น EBITDA มันคือตัวที่บ่งบอกเราว่า บริษัทผลิตกำไรที่เป็นเงินสดเข้ามาได้ปีละเท่าไรหากเก็บหนี้ได้เป็นตัวเงินครบจริงตามที่แสดงในงบ (เพราะไม่เอาค่าเสื่อมซึ่งเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีไม่มีการเสียเงินออกไปจริงๆมาคิด)
ค่า EV / EBITDA จึงหมายถึง
ขนาดกิจการเมื่อเทียบกับกำไร ดังนั้นบริษัทเล็กแต่ทำกำไรมากจึงจะดี คือ ค่านี้ยิ่งต่ำๆยิ่งดี
เป็นตัววัดความถูกแพงชองหุ้นเช่นเดียวกับ PE ratio
(ไม่ควรซื้อหุ้นที่ EV / EBITDA > 10 เท่า ยิ่งน้อยกว่า 10 เท่ายิ่งดี แสดงว่าหุ้นยิ่งถูก)
ค่า EV / EBITDA นี้อาจมองให้ลึกขึ้น ในอีกความหมายได้ว่า เงินที่เราจะใช้ซื้อกิจการนั้นมีมูลค่าเป็นกี่เท่าของเงินสดที่บริษัทจะผลิตได้ในแต่ละปี หรือก็คือมองว่าใช้ระยะเวลาว่ากี่ปี? กว่าที่เราจะได้"เงินสด" ที่เราซื้อกิจการไปคืนมา
> เป็นการลดข้อจำกัดของ P/E ตรงที่หุ้นหลายตัว earning ติดลบหา P/E ไม่ได้ แต่เนื่องจาก EBITDA คือการนำ earning บวกกลับด้วยค่าเสื่อมฯ ดอกเบี้ย ภาษี
ซึ่งปกติแล้วแม้ว่าบริษัทนั้นๆ จะขาดทุนเละยังไง EBITDA ก็มักจะยังเป็นบวกอยู่ได้ นอกจากนี้ EV/EBITDA ยังขจัดความแตกต่างของนโยบายทางบัญชีที่สำคัญเช่น ค่าเสื่อมราคา และความเหลื่อมล้ำของการจ่ายภาษีได้ รวมทั้งหนี้สิน จึงใช้เปรียบเทียบระหว่างบริษัทได้ (ผิดกับ P/E ratio) เพราะไม่ต้องคำนึงถึงโครงสร้างทุนที่แตกต่างกัน
> นอกจากนี้EV/EBITDA ยังเหมาะใช้กับธุรกิจที่มีค่าเสื่อมเยอะๆ เพราะหุ้นกลุ่มนี้การดูที่ earning จะค่อนข้างหลอกตา เพราะโดนค่าเสื่อมกินไปซะหมด ทำให้ cash flow ดีกว่า earning ค่อนข้างมาก การใช้ EBITDA แทน E จะลดปัญหาเรื่องค่าเสื่อมมาหลอกตาได้ ธุรกิจที่มีค่าเสื่อมเยอะๆ ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ ก่อนที่จะ generate รายได้ออกมา เช่น ห้าง รพ. ระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น (โดยหมอ reiter)
> สรุป บริษัทที่มีค่าเสื่อมมากๆแต่จริงๆแล้วยังมีเงินสดเหลืออยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบค่าความถูก-แพง มักมี EV/EBITDA ต่ำกว่า P/E Ratio เสมอ
นั่นคือมองในแง่ P/E Ratio อาจจะแพง แต่ถ้ามองในแง่ EV / EBITDA อาจจะยังไม่แพงนั่นเอง
(ทั้งนี้ บางคนก็ใช้ค่า EV / Free Cash Flow แทน เนื่องจาก FCF สะท้อนกำไรที่เป็นเงินสดจริงได้ดีกว่า EBITDA ยิ่งขึ้นไปอีก)
ทั้งหมดส่วนใหญ่ให้เครดิต หมอreiter นะครับ บางส่วนผมมาทำความเข้าใจเพิ่มเอาเอง เลยเอามาเผยแพร่เพิ่มเติมครับ
ผิดถูก ผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ