มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
- T50
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 1
เนื้อความระหว่าง หน้า 134 - 140
ผมไม่เข้าว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลในการลงทุนกับวัฒนธรรมที่อุปโภคได้โดยไม่สึกหรอ (ผู้เขียนใช้คำว่าเท่ แต่กินไมไ่ด้) กับการสร้างลงทุนของชนชั้นโชว์ห่วย เช่น มอเตอร์เวย์ สนามบินนานาชาติ นั้นต่างกันตรงไหน เพราะสุดท้ายมันก็คือการหางานให้ประชาชนทำเพื่อที่ให้เกิดรายได้เหมือนกัน
ใครที่เข้าใจช่วยอธิบายทีครับ
ผมไม่เข้าว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลในการลงทุนกับวัฒนธรรมที่อุปโภคได้โดยไม่สึกหรอ (ผู้เขียนใช้คำว่าเท่ แต่กินไมไ่ด้) กับการสร้างลงทุนของชนชั้นโชว์ห่วย เช่น มอเตอร์เวย์ สนามบินนานาชาติ นั้นต่างกันตรงไหน เพราะสุดท้ายมันก็คือการหางานให้ประชาชนทำเพื่อที่ให้เกิดรายได้เหมือนกัน
ใครที่เข้าใจช่วยอธิบายทีครับ
อย่าไปพนันกับการฟื้นตัวในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกำลังเสื่อมลง
- erickiros
- Verified User
- โพสต์: 415
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 2
พวกสนามบินมันสร้างงานสร้างรายได้ในระยะยาวค่ะ
แต่เท่แล้วกินไม่ได้มันสร้างรายได้แค่หนเดียว
แต่เท่แล้วกินไม่ได้มันสร้างรายได้แค่หนเดียว
ว่างๆแวะไปเยี่ยมชม blog ของซันได้นะคะ Economics Blog
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
- T50
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 3
ผมคัดบางตอนในหนังสือ ที่ผมสงสัยมาให้อ่านนะครับ เผื่อท่านที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้ข่วยผมตีความ (หน้า 132 - 136)
แนวคิดเรื่องตัวคูณในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งถือกำเนิดจากการจ้าง (ไม่ใช่เกิดจากการเงิน) เคนส์ได้นำมาปรับใช้กับ การลงทุน
โดยเคนส์บอกว่า "ตัวคูณ" ในด้านการลงทุนนั้น เป็นสัมประสิทธ์ที่ผูกสัมพันธ์ การลงทุน เข้ากับ การก่อเงินได้ ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐบาลใช้จ่ายเงินไป 1 ล้านบาท เพื่อสร้างเม็กกะโปรเจ็ค สมมติว่าการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ ได้ไปก่อให้เกิดรายได้ทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจ
ขึ้นมาอีก 4 ล้านบาท ก็แปลว่า "ตัวคูณ" ในกรณีนี้ เท่ากับ 4
แล้วตัวคูณมาจากไหน ? เราจะคำนวณตัวคูณในระบบเศรษฐกิจประเทศหนึ่ง ๆ ได้อย่างไร ? และเหตุผลในการทำงานของตัวคูณเป็นอย่างไร ?
เมื่อนายทุนลงทุน เงินลงทุนก็จะกลายเป็นเงินจ่ายซื้อหาเครื่องจักรอุปกรณ์และจ่ายเป็นค่าจ้างค่าแรง เงินจำนวนดังกล่าวถูกปล่อยเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
จะผ่านมือคน มือแล้วมือเล่าไปเรื่อย ๆ รายจายของคนหัวแถวจะเป็นรายได้ของคนถัดไป รายจ่ายของคนถัดไปคนที่สอง กลายเป็นรายได้ของคนถัดไปคนที่สาม รายจ่ายของคนที่สาม
กลายเป็นรายได้ของคนถัดไปคนที่สี่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ รายได้ก็จะถูกก่อขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจเป็นระลอกต่อเนื่องกันไป แต่ลูกคลื่นที่กระเพื่อทเป็นทอด ๆ ไปนี้ มีสิ้นสุด ของมัน
เหมือนกัน จะอ่อนแรงหมดแรงลงทีละน้อย กระทั้งหมดฤทธิ์ไปในที่สุด
สิ้นฤทธิ์ เพราะอะไร ?
จากเรื่อง propensity to consume (ความโน้มเอียงที่จะบริโภค) ที่เราทราบกันแล้ว เรารู้ว่าเงินได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา เราจะไม่จ่าย
ไปเป็นค่าใช้จ่ายทีเดียวทั้งก้อน เราจะจัดสรรไว้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งและเป็นเงินออมส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ระลอกคลื่นแห่งรายได้ที่เราพูดถึงจึงจะอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เพราะจะ
ถูกกันไว้เป็นเงินออมเป็นทอด ๆ ไป เงินจากการลงทุนจะสร้างเงินได้ขึ้นมาเท่าใดในระบบเศรษฐกิจ จึงขึนอยู่กับแรงส่ง ของ propensity to consume
ดังกล่าวแล้ว หาก propensity to consume แรง เช่นได้มา 20 บาท จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในอัตรา 90% ก็เท่ากับว่า คนถัดไปจะมีเงินได้ 18 บาท
คนที่สองนี้จ่ายไปอีก 90% ก็เท่ากับว่าคนที่สามจะมีเงินได้ 16.2 บาท คนที่สามจ่ายไป 90% ก็เท่ากับว่า คนที่สี่จะมีเงินได้ 14.58 บาท ฯลฯ
เงินได้ทั้งหมด ที่เราเห็นเริ่มแรกจำนวน 20 บาท สร้างขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจจะ เท่ากับ 20+18+16.2+14.58 + ฯลฯ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า
เงิยลงทุน 20 บาท สร้างเงินได้ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ มากกว่า 20 บาท นี่คือ ฤทธิ์ของสิ่งที่เคนส์เรียกว่า investment multiplier
แล้วก็โดยอาศัยระบบการให้เหตุผลแบบนี้ เคนส์ สรุปว่า การใช้จ่ายของรัฐบาล แม้จะมาจากการกู้ยืมเงิน และแม้จะใช้จ่ายไปในการลงทุนทางวัฒนธรรมที่อุปโภคได้
โดยไม่สึกหรอ และเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะ "ไร้ประโยชน์" ก็จะยังสามารถสร้างความมั่งคั้งขึ้นมาในประเทศขาติได้ โดยเคนส์ยกตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเขาขึ้นมาประกอบคำอธิบาย
ซึ่งท่านผู้อ่านที่เคารพพินิจ พิเคราะห์แล้วอาจจะเห็นจริงเห็นจังตามเคนส์ เขาบอกว่า
"สังคมอีจิปต์โบราณเป็นสังคมที่โชคดีสองชั้น อันเป็นข้ออธิบายว่าทำไมสังคมน้น จึงมั่งคั้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะสังคมอีจิปต์ มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญยู่สองประการ
คือ สร้างปิรามิด กับ ขุดหาสินแร่มีค่า ทั้งสองอย่างสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ได้ สิ้นเปลือง ไป อีกนัยหนึ่งเป็นของ มีค่าและเท่ห์ แต่กินไม่หมด เพราะเราอุปโภคบริโภคได้โดย
ที่สิ่งนั้น ไม่สิ้นเปลืองร่อยหรอลงไป ในยุโรปยุคกลาง เราสร้างโบสถ์ วิหารใหญ่โต แล้วเราก็เข้าไปสวดมนต์ ทำพิธี กันข้างใน เป็นการลงทุนที่บริโภคกันโดยไม่สิ้นเปลือง เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น สร้างปิรามิดสองลูก มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากกว่าสร้างปิรามิดเดียว สร้างวิหารสองหลัง มีประโยชน์กว่าที่จะสร้างเพียงหลังเดียว แต่การให้เหตุผลลักษณะนี้ ใช้ไม่ได้
กับการสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มขึ้นมาอีกเส้นหนึ่งเพื่อเชื่อมกรุงลอนดอน กับ เมืองยอร์ค"
การสร้างและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานกรุงเทพและต่างจังหวัด การพัฒนาภูมิสถานและอนุรักษ์โบราณสถาน ปรับปรุงโรงละครแห่งชาติและลงทุนในกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ยามเศรษฐกิจตกต่ำ จะช่วยฉีดคลื่นเงินในเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ คนงานจะนำเงินได้นั้นไปใช้จ่ายซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภค วิธีก่อให้เกิดระลอกคลื่นกระแสรายได้วิธีนี้ ทำได้ไม่สิ้นสุด เพราะ
มหาวิหารในยุโรปก็ดี การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในปารีสก็ดี ล้วยเป็นการสร้างสิ่งกินไม่ได้ แต่เท่ห์ ด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งที่กินไม่ได้แต่เท่ห์ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้คนทั้งปวงสามารถอุปโภคบริโภคได้
โดยไม่เกิดความสิ้นเปลือง หรือสีกหรอ
แต่จะเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ตามความเห็นของชนชั้นโชห่วยด้อยพัฒนาและด้อยวัฒนธรรมในประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง ๆ ที่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น มีประโยชน์อยุ่ในตัวเอง
เดี่ยว ๆ โดด ๆ มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแบบ "Stand Alone" โดยไม่ต้องพิจารณาประโยชน์เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นใด ของประเภทนี้สร้างเท่าไรก็ได้ ไม่มีปัญหา ผิดกับสิ่งที่
มีประโยชน์ใช้สอยที่ต้องเกี่ยวเนื่องกับสิ่งอื่น ๆ มิได้จบอยู่ในตัวเอง หรือ มีประโยชน์ ตามความคิดปกติของเราท่าน ชนชั้นโชว์ห่วยทั้งหลาย เช่น มอเตอร์เวย์สาย กทม. - ชลบุรี
รัฐบาลท่านสร้างขึ้นมาเส้นเดียวก็พอแล้ว อย่างเก่งอาจสร้างได้สักสองเส้น แต่คงไม่มีใครบ้าจะสร้างมอเตอร์เวย์ กทม.-ชลบุรี 10 เส้น หรือสร้างสนามบินนานาชาติ 4 มุมเมือง
ส่วนการสร้างเมกโปรเจค...สร้างตอม่อมหึมาเรียงรายไว้กลาง กทม. ตอม่อเหล่านั้นไม่สามารถจะมีประโยชน์ได้ด้วยการ Stand Alone ต้องทำรางรถไฟ
ถนนลอดฟ้าพาดไว้ข้างบน จึงมีประโยชน์ใช้สอย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ชนชั้นโชห่วย เช่นเราท่านทั้งหลาย เห็นว่า มีประโยชน์ นั้น จริงๆ แล้วอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและมีขีดจำกัดที่จะนำไปใช้
เป็นเครื่องมือในการทำนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อการก่อให้เกิดการว่าจ้าง แต่ว่าอนุสาวรีย์ ปิรามิด ฯลฯ นั้นต่างเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่งคั้งได้ไม่รู้จบ ประเทศที่เข้าใจในเศรษฐกิจ
ประเด็นนี้ดีกว่าใคร ๆ และนำไปปฎิบัติมากกว่าใคร ๆ คือ ฝรั่งเศส
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แนวคิดเรื่องตัวคูณในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งถือกำเนิดจากการจ้าง (ไม่ใช่เกิดจากการเงิน) เคนส์ได้นำมาปรับใช้กับ การลงทุน
โดยเคนส์บอกว่า "ตัวคูณ" ในด้านการลงทุนนั้น เป็นสัมประสิทธ์ที่ผูกสัมพันธ์ การลงทุน เข้ากับ การก่อเงินได้ ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐบาลใช้จ่ายเงินไป 1 ล้านบาท เพื่อสร้างเม็กกะโปรเจ็ค สมมติว่าการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ ได้ไปก่อให้เกิดรายได้ทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจ
ขึ้นมาอีก 4 ล้านบาท ก็แปลว่า "ตัวคูณ" ในกรณีนี้ เท่ากับ 4
แล้วตัวคูณมาจากไหน ? เราจะคำนวณตัวคูณในระบบเศรษฐกิจประเทศหนึ่ง ๆ ได้อย่างไร ? และเหตุผลในการทำงานของตัวคูณเป็นอย่างไร ?
เมื่อนายทุนลงทุน เงินลงทุนก็จะกลายเป็นเงินจ่ายซื้อหาเครื่องจักรอุปกรณ์และจ่ายเป็นค่าจ้างค่าแรง เงินจำนวนดังกล่าวถูกปล่อยเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
จะผ่านมือคน มือแล้วมือเล่าไปเรื่อย ๆ รายจายของคนหัวแถวจะเป็นรายได้ของคนถัดไป รายจ่ายของคนถัดไปคนที่สอง กลายเป็นรายได้ของคนถัดไปคนที่สาม รายจ่ายของคนที่สาม
กลายเป็นรายได้ของคนถัดไปคนที่สี่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ รายได้ก็จะถูกก่อขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจเป็นระลอกต่อเนื่องกันไป แต่ลูกคลื่นที่กระเพื่อทเป็นทอด ๆ ไปนี้ มีสิ้นสุด ของมัน
เหมือนกัน จะอ่อนแรงหมดแรงลงทีละน้อย กระทั้งหมดฤทธิ์ไปในที่สุด
สิ้นฤทธิ์ เพราะอะไร ?
จากเรื่อง propensity to consume (ความโน้มเอียงที่จะบริโภค) ที่เราทราบกันแล้ว เรารู้ว่าเงินได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา เราจะไม่จ่าย
ไปเป็นค่าใช้จ่ายทีเดียวทั้งก้อน เราจะจัดสรรไว้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งและเป็นเงินออมส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ระลอกคลื่นแห่งรายได้ที่เราพูดถึงจึงจะอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เพราะจะ
ถูกกันไว้เป็นเงินออมเป็นทอด ๆ ไป เงินจากการลงทุนจะสร้างเงินได้ขึ้นมาเท่าใดในระบบเศรษฐกิจ จึงขึนอยู่กับแรงส่ง ของ propensity to consume
ดังกล่าวแล้ว หาก propensity to consume แรง เช่นได้มา 20 บาท จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในอัตรา 90% ก็เท่ากับว่า คนถัดไปจะมีเงินได้ 18 บาท
คนที่สองนี้จ่ายไปอีก 90% ก็เท่ากับว่าคนที่สามจะมีเงินได้ 16.2 บาท คนที่สามจ่ายไป 90% ก็เท่ากับว่า คนที่สี่จะมีเงินได้ 14.58 บาท ฯลฯ
เงินได้ทั้งหมด ที่เราเห็นเริ่มแรกจำนวน 20 บาท สร้างขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจจะ เท่ากับ 20+18+16.2+14.58 + ฯลฯ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า
เงิยลงทุน 20 บาท สร้างเงินได้ขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ มากกว่า 20 บาท นี่คือ ฤทธิ์ของสิ่งที่เคนส์เรียกว่า investment multiplier
แล้วก็โดยอาศัยระบบการให้เหตุผลแบบนี้ เคนส์ สรุปว่า การใช้จ่ายของรัฐบาล แม้จะมาจากการกู้ยืมเงิน และแม้จะใช้จ่ายไปในการลงทุนทางวัฒนธรรมที่อุปโภคได้
โดยไม่สึกหรอ และเป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะ "ไร้ประโยชน์" ก็จะยังสามารถสร้างความมั่งคั้งขึ้นมาในประเทศขาติได้ โดยเคนส์ยกตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเขาขึ้นมาประกอบคำอธิบาย
ซึ่งท่านผู้อ่านที่เคารพพินิจ พิเคราะห์แล้วอาจจะเห็นจริงเห็นจังตามเคนส์ เขาบอกว่า
"สังคมอีจิปต์โบราณเป็นสังคมที่โชคดีสองชั้น อันเป็นข้ออธิบายว่าทำไมสังคมน้น จึงมั่งคั้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะสังคมอีจิปต์ มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญยู่สองประการ
คือ สร้างปิรามิด กับ ขุดหาสินแร่มีค่า ทั้งสองอย่างสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ได้ สิ้นเปลือง ไป อีกนัยหนึ่งเป็นของ มีค่าและเท่ห์ แต่กินไม่หมด เพราะเราอุปโภคบริโภคได้โดย
ที่สิ่งนั้น ไม่สิ้นเปลืองร่อยหรอลงไป ในยุโรปยุคกลาง เราสร้างโบสถ์ วิหารใหญ่โต แล้วเราก็เข้าไปสวดมนต์ ทำพิธี กันข้างใน เป็นการลงทุนที่บริโภคกันโดยไม่สิ้นเปลือง เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น สร้างปิรามิดสองลูก มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากกว่าสร้างปิรามิดเดียว สร้างวิหารสองหลัง มีประโยชน์กว่าที่จะสร้างเพียงหลังเดียว แต่การให้เหตุผลลักษณะนี้ ใช้ไม่ได้
กับการสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มขึ้นมาอีกเส้นหนึ่งเพื่อเชื่อมกรุงลอนดอน กับ เมืองยอร์ค"
การสร้างและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานกรุงเทพและต่างจังหวัด การพัฒนาภูมิสถานและอนุรักษ์โบราณสถาน ปรับปรุงโรงละครแห่งชาติและลงทุนในกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ยามเศรษฐกิจตกต่ำ จะช่วยฉีดคลื่นเงินในเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ คนงานจะนำเงินได้นั้นไปใช้จ่ายซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภค วิธีก่อให้เกิดระลอกคลื่นกระแสรายได้วิธีนี้ ทำได้ไม่สิ้นสุด เพราะ
มหาวิหารในยุโรปก็ดี การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในปารีสก็ดี ล้วยเป็นการสร้างสิ่งกินไม่ได้ แต่เท่ห์ ด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งที่กินไม่ได้แต่เท่ห์ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้คนทั้งปวงสามารถอุปโภคบริโภคได้
โดยไม่เกิดความสิ้นเปลือง หรือสีกหรอ
แต่จะเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ตามความเห็นของชนชั้นโชห่วยด้อยพัฒนาและด้อยวัฒนธรรมในประเทศตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง ๆ ที่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น มีประโยชน์อยุ่ในตัวเอง
เดี่ยว ๆ โดด ๆ มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแบบ "Stand Alone" โดยไม่ต้องพิจารณาประโยชน์เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นใด ของประเภทนี้สร้างเท่าไรก็ได้ ไม่มีปัญหา ผิดกับสิ่งที่
มีประโยชน์ใช้สอยที่ต้องเกี่ยวเนื่องกับสิ่งอื่น ๆ มิได้จบอยู่ในตัวเอง หรือ มีประโยชน์ ตามความคิดปกติของเราท่าน ชนชั้นโชว์ห่วยทั้งหลาย เช่น มอเตอร์เวย์สาย กทม. - ชลบุรี
รัฐบาลท่านสร้างขึ้นมาเส้นเดียวก็พอแล้ว อย่างเก่งอาจสร้างได้สักสองเส้น แต่คงไม่มีใครบ้าจะสร้างมอเตอร์เวย์ กทม.-ชลบุรี 10 เส้น หรือสร้างสนามบินนานาชาติ 4 มุมเมือง
ส่วนการสร้างเมกโปรเจค...สร้างตอม่อมหึมาเรียงรายไว้กลาง กทม. ตอม่อเหล่านั้นไม่สามารถจะมีประโยชน์ได้ด้วยการ Stand Alone ต้องทำรางรถไฟ
ถนนลอดฟ้าพาดไว้ข้างบน จึงมีประโยชน์ใช้สอย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ชนชั้นโชห่วย เช่นเราท่านทั้งหลาย เห็นว่า มีประโยชน์ นั้น จริงๆ แล้วอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและมีขีดจำกัดที่จะนำไปใช้
เป็นเครื่องมือในการทำนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อการก่อให้เกิดการว่าจ้าง แต่ว่าอนุสาวรีย์ ปิรามิด ฯลฯ นั้นต่างเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่งคั้งได้ไม่รู้จบ ประเทศที่เข้าใจในเศรษฐกิจ
ประเด็นนี้ดีกว่าใคร ๆ และนำไปปฎิบัติมากกว่าใคร ๆ คือ ฝรั่งเศส
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อย่าไปพนันกับการฟื้นตัวในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกำลังเสื่อมลง
- erickiros
- Verified User
- โพสต์: 415
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 4
การลงทุนทางศิลปวัฒนธรรมสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายในประเทศ
การที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะใช้จ่ายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยทำให้ค่าตัวทวีสูงค่ะ
การที่นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจะใช้จ่ายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยทำให้ค่าตัวทวีสูงค่ะ
ว่างๆแวะไปเยี่ยมชม blog ของซันได้นะคะ Economics Blog
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
- erickiros
- Verified User
- โพสต์: 415
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 5
อีกประการกลุ่มรับเหมาในประเทศเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง
ซึ่งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกว่า ถ้ารายได้สูงจะเก็บออมมากขึ้นทำให้การบริโภคจึงลดลง
ดังนั้น marginal propensity to consume จึงลดลง ดังนั้นค่าตัวทวีจึงน้อยค่ะ
ซึ่งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกว่า ถ้ารายได้สูงจะเก็บออมมากขึ้นทำให้การบริโภคจึงลดลง
ดังนั้น marginal propensity to consume จึงลดลง ดังนั้นค่าตัวทวีจึงน้อยค่ะ
ว่างๆแวะไปเยี่ยมชม blog ของซันได้นะคะ Economics Blog
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
- T50
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 6
ผมกลับมองว่าที่ผู้เขียนพยายามจะสือนั้น หมายถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยการลงทุนของรัฐ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน แล้วเหตุผลที่มองว่าการลงทุนทางวัฒนธรรมนั้นดีกว่า
อาจเป็นเพราะว่า วัฒนธรรมสามารถลงทุนได้ทั่วไป ไปทุกที่ทุกแห่ง ทำให้ประชาชนใน ต่างจังหวัดก็มีโอกาสได้รับการจ้างงานจากรัฐ ไม่ใช่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเน้นหนักไปทางเมก
โปรเจค ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานแบบกระจุกตัวรายได้ไม่กระจาย
แต่มันมีประเด็นที่น่าสังเกตคือ ทำไมไม่มองว่ารัฐบาลสามารถกระจายการจ้างงานได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น เรื่องวัฒนธรรม อาจจะจ้างทำถนนหมู่บ้าน ซ่อมทางที่ชำรุดตามต่างจังหวัด ก็เป็นการกระจายการจ้างงานเหมือนกัน แถมมีประโยชน์ต่อประเทศที่กำลังพัฒนาด้วย
ผมเข้าใจแบบนี้ไม่แน่ใจว่าถูกหรือป่าว หรือว่า ผมหลงประเด็นของผู้เขียน รบกวนช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
อาจเป็นเพราะว่า วัฒนธรรมสามารถลงทุนได้ทั่วไป ไปทุกที่ทุกแห่ง ทำให้ประชาชนใน ต่างจังหวัดก็มีโอกาสได้รับการจ้างงานจากรัฐ ไม่ใช่เฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเน้นหนักไปทางเมก
โปรเจค ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานแบบกระจุกตัวรายได้ไม่กระจาย
แต่มันมีประเด็นที่น่าสังเกตคือ ทำไมไม่มองว่ารัฐบาลสามารถกระจายการจ้างงานได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น เรื่องวัฒนธรรม อาจจะจ้างทำถนนหมู่บ้าน ซ่อมทางที่ชำรุดตามต่างจังหวัด ก็เป็นการกระจายการจ้างงานเหมือนกัน แถมมีประโยชน์ต่อประเทศที่กำลังพัฒนาด้วย
ผมเข้าใจแบบนี้ไม่แน่ใจว่าถูกหรือป่าว หรือว่า ผมหลงประเด็นของผู้เขียน รบกวนช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
อย่าไปพนันกับการฟื้นตัวในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกำลังเสื่อมลง
- erickiros
- Verified User
- โพสต์: 415
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 7
จากแนวคิดของเคนส์ การลงทุนโดยภาครัฐท้ายที่สุดจะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนจากเอกชนลดลง
การลงทุนแบบเท่แต่กินไม่ได้เป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่สร้างรายได้ระยะยาว
แต่การขุดคลองทำถนนทำครั้งเดียวจบ หากทำครั้งต่อๆไปอัตราดอกเบี้ยก็จะปรับสูงขึ้นเรื่อยๆค่ะ
การลงทุนแบบเท่แต่กินไม่ได้เป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่สร้างรายได้ระยะยาว
แต่การขุดคลองทำถนนทำครั้งเดียวจบ หากทำครั้งต่อๆไปอัตราดอกเบี้ยก็จะปรับสูงขึ้นเรื่อยๆค่ะ
ว่างๆแวะไปเยี่ยมชม blog ของซันได้นะคะ Economics Blog
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 374
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีข้อซักถามจากหนังสือ kensian Economics ของ ปรีา ทิวะหุต
โพสต์ที่ 8
ถ้าลงทุนในวัฒนธรรมคนก็จะโตไปทันกับ ศก. ไงครับ
เรารับเคนเซี่ยนเข้ามา แต่ว่าลืมมองไปว่ารูปแบบ ศก.เรายังไม่มีการพัฒนาทางด้านทุนทางวัฒนธรรม
ทุนทางวัฒนธรรมไม่ใช่นางอัปสรนะครับ แต่คือ การศึกษา ความคิด และการเปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
แค่นี้ก็พอเห็นได้แล้วว่าสำคัญแค่ไหน
ถ้าเรามีพื้นฐานด้านความคิดเห็นที่แตกต่างมากกว่านี้ เราก็คงไม่อยู่ที่จุดนี้หรอกครับ
เรารับเคนเซี่ยนเข้ามา แต่ว่าลืมมองไปว่ารูปแบบ ศก.เรายังไม่มีการพัฒนาทางด้านทุนทางวัฒนธรรม
ทุนทางวัฒนธรรมไม่ใช่นางอัปสรนะครับ แต่คือ การศึกษา ความคิด และการเปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
แค่นี้ก็พอเห็นได้แล้วว่าสำคัญแค่ไหน
ถ้าเรามีพื้นฐานด้านความคิดเห็นที่แตกต่างมากกว่านี้ เราก็คงไม่อยู่ที่จุดนี้หรอกครับ