โซล่าเซล
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 5
ผมไม่ได้หุ้นจองเลยmoo เขียน:ตามรอยเซียนมาครับ
เจ้าโกเบ่ก อันตราย(อันเดอร์ไร้ท์)
ถ้ามีกรีนชูก็คงไม่หลุดจอง
แต่ไม่มี คงลำบาก
บอกปันผลไม่ต่ำกว่า40% ของกำไร
พรุ่งนี้ดูทางลมก่อน วันศุกร์ค่อยพิจารณาเพือการลงทุนอีกครับ
ไม่เข้าใจธุรกิจ การดำเนินงาน
แต่อนาคตคงส่งออกได้ เยอะ
แต่เดย์เทรด นักเก็งกำไร มันแน่ๆ
หาของเล่นแก้เหงาได้แล้ว
ต้นทุนไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ
มีแต่ใครจะใจถึงกว่าใคร ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 10
ผมยังสงสัยในเชิงพาณิชย์อยู่นะครับ คือ ถ้าเราลงทุนเจ้าแผ่นโซล่าเพื่อทดแทนค่าไฟที่จะจ่ายในอนาคต ลองคำนวนเล่นๆล่อเอาตั้งกว่า10ปีถึงคืนทุน 

- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 12
SOLAR : เริ่มทำการซื้อขาย 30 มี.ค. 2548 - บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส
Source - บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (Th)
Tuesday, March 29, 2005 15:11
36506 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFF SOLAR V%COMMENT P%DBSV
NEW LISTING : บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) [SOLAR] : เริ่มทำการซื้อขาย 30 มี.ค. 2548
ธุรกิจของบริษัท : ดำเนินธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และให้บริการออกแบบและติดตั้ง
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย IPO : หุ้นเพิ่มทุนใหม่ 60,000,000 หุ้น หุ้นสามัญเดิม 20,000,000 หุ้น
จำนวนหุ้นเรียกชำระแล้ว (หลัง IPO) : 300,000,000 หุ้น
ราคาพาร์ : 1.00 บาท
ราคาจองซื้อ : 8.00 บาท
ตลาดที่เข้าจดทะเบียน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
หมวด : กลุ่มทรัพยากร หมวดพลังงาน
วันที่จองซื้อ : 22-23 มีนาคม 2548
ผู้จัดการการรับประกันการจัดจำหน่าย
และจัดจำหน่าย : บริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด (มหาชน)
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : 40% ของกำไรสุทธิ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และ สำรองตามกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ณ 24 มี.ค.2548) : นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ 24.33%, นางสาวสมปอง กุญชรยาคง 14.47%,
นางสาววันดี กุญชรยาคง 8.60%, นางประคอง กุญชรยาคง 6.67%,
บริษัท โบนันซ่า รีสอร์ท โฮเต็ล จำกัด 1.67%, นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง 1.67%
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)
รายได้จากการขาย กำไร (ขาดทุน) กำไร (ขาดทุน)เงินปันผล มูลค่าหุ้น** เงินปันผล
(พันบาท) สุทธิ(พันบาท) สุทธิต่อหุ้น (บาทต่อหุ้น) ตามบัญชี ต่อกำไร
(บาท) (บาทต่อหุ้น) (%)
2544 (ตรวจสอบแล้ว) 78,796.76 681.69 0.03 - 1.11
2545 (ตรวจสอบแล้ว) 187,148.00 7,967.37 0.39 - 1.51
2546 (ตรวจสอบแล้ว) 127,626.75 4,864.20 0.2 - 1.83
2547 (ตรวจสอบแล้ว) 10,548,645.88 135,524,177 0.82 0.07 2.28 9.08
หมายเหตุ : มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
** หุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้คำนวณสำหรับปี 2544 2545 2546 และ 2547 เท่ากับ 200,000 หุ้น
200,000 หุ้น 246,520 หุ้น และ 165,594,563 หุ้น ตามลำดับ
ที่มา : สรุปข้อสนเทศจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2548
Source - บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (Th)
Tuesday, March 29, 2005 15:11
36506 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFF SOLAR V%COMMENT P%DBSV
NEW LISTING : บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) [SOLAR] : เริ่มทำการซื้อขาย 30 มี.ค. 2548
ธุรกิจของบริษัท : ดำเนินธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และให้บริการออกแบบและติดตั้ง
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง
จำนวนหุ้นที่เสนอขาย IPO : หุ้นเพิ่มทุนใหม่ 60,000,000 หุ้น หุ้นสามัญเดิม 20,000,000 หุ้น
จำนวนหุ้นเรียกชำระแล้ว (หลัง IPO) : 300,000,000 หุ้น
ราคาพาร์ : 1.00 บาท
ราคาจองซื้อ : 8.00 บาท
ตลาดที่เข้าจดทะเบียน : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
หมวด : กลุ่มทรัพยากร หมวดพลังงาน
วันที่จองซื้อ : 22-23 มีนาคม 2548
ผู้จัดการการรับประกันการจัดจำหน่าย
และจัดจำหน่าย : บริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด (มหาชน)
นโยบายการจ่ายเงินปันผล : 40% ของกำไรสุทธิ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล และ สำรองตามกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ณ 24 มี.ค.2548) : นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ 24.33%, นางสาวสมปอง กุญชรยาคง 14.47%,
นางสาววันดี กุญชรยาคง 8.60%, นางประคอง กุญชรยาคง 6.67%,
บริษัท โบนันซ่า รีสอร์ท โฮเต็ล จำกัด 1.67%, นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง 1.67%
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)
รายได้จากการขาย กำไร (ขาดทุน) กำไร (ขาดทุน)เงินปันผล มูลค่าหุ้น** เงินปันผล
(พันบาท) สุทธิ(พันบาท) สุทธิต่อหุ้น (บาทต่อหุ้น) ตามบัญชี ต่อกำไร
(บาท) (บาทต่อหุ้น) (%)
2544 (ตรวจสอบแล้ว) 78,796.76 681.69 0.03 - 1.11
2545 (ตรวจสอบแล้ว) 187,148.00 7,967.37 0.39 - 1.51
2546 (ตรวจสอบแล้ว) 127,626.75 4,864.20 0.2 - 1.83
2547 (ตรวจสอบแล้ว) 10,548,645.88 135,524,177 0.82 0.07 2.28 9.08
หมายเหตุ : มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
** หุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้คำนวณสำหรับปี 2544 2545 2546 และ 2547 เท่ากับ 200,000 หุ้น
200,000 หุ้น 246,520 หุ้น และ 165,594,563 หุ้น ตามลำดับ
ที่มา : สรุปข้อสนเทศจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2548
-
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 18
ข้อกังวล
ขายสินค้าให้ภาครัฐเป็นหลักนี่น่าเป็นห่วง ดูยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านพลังงานก็ยังกระท่อนกระแท่น เป็นตัวจิ๋ว ๆ แทบไม่มีความสำคัญ คบกับภาครัฐต้องเผื่อไว้เยอะ ๆ
หลายท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ก็ปฏิเสธที่จะให้ติดตั้ง อ้างว่าติดโซล่าเซลแล้วจะไม่มีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้าระบบพื้นฐาน (ปักเสา-ลากสาย) กลัวว่าจะได้แค่นั้นไปทั้งปีทั้งชาติ โซล่าเซลมีข้อจำกัดในการใช้งานและไม่สะดวกเหมือนไฟฟ้าพื้นฐาน
ข้อเบาใจ
มีการวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง (แม้จะเชื่องช้าบ้างก็ตาม) ประสิทธิภาพของแผงและต้นทุนการผลิตดีกว่าก่อนมากอย่างมีนัยยะ ไม่รู้ว่าเป็นเทคโนโลยีตัวเดียวกันกับที่โซล่าตรอนใช้อยู่หรือเปล่าลองอ่านดูครับ http://www.mtec.or.th/th/research/sense ... /index.htm
หรือไปตามหาผลงานวิจัยในมหา'ลัย ต่าง ๆ ก็มีครับ
มีการพูดคุยเรื่องให้ผู้ใช้โซล่าเซลขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ให้ กฟผ.เพื่อเป็นการจูงใจให้ใช้เหมือน ๆ กับมีสภาพเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เผลอ ๆ ใช้ไฟฟ้าฟรียังงั้นแหละ อันนี้ไม่ได้ตามว่าคุย-ทำกันไปถึงไหน ถ้า ok โอกาสก็ดีขึ้น
คำเตือน : โปรดใช้ดุลยพินิจในการนำไปใช้ ผู้เขียนสงวนสิทธิ์ยกเลิกความรับผิดชอบข้อมูลนี้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า :lol: :lol: :lol:
ขายสินค้าให้ภาครัฐเป็นหลักนี่น่าเป็นห่วง ดูยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านพลังงานก็ยังกระท่อนกระแท่น เป็นตัวจิ๋ว ๆ แทบไม่มีความสำคัญ คบกับภาครัฐต้องเผื่อไว้เยอะ ๆ
หลายท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ก็ปฏิเสธที่จะให้ติดตั้ง อ้างว่าติดโซล่าเซลแล้วจะไม่มีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้าระบบพื้นฐาน (ปักเสา-ลากสาย) กลัวว่าจะได้แค่นั้นไปทั้งปีทั้งชาติ โซล่าเซลมีข้อจำกัดในการใช้งานและไม่สะดวกเหมือนไฟฟ้าพื้นฐาน
ข้อเบาใจ
มีการวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง (แม้จะเชื่องช้าบ้างก็ตาม) ประสิทธิภาพของแผงและต้นทุนการผลิตดีกว่าก่อนมากอย่างมีนัยยะ ไม่รู้ว่าเป็นเทคโนโลยีตัวเดียวกันกับที่โซล่าตรอนใช้อยู่หรือเปล่าลองอ่านดูครับ http://www.mtec.or.th/th/research/sense ... /index.htm
หรือไปตามหาผลงานวิจัยในมหา'ลัย ต่าง ๆ ก็มีครับ
มีการพูดคุยเรื่องให้ผู้ใช้โซล่าเซลขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ให้ กฟผ.เพื่อเป็นการจูงใจให้ใช้เหมือน ๆ กับมีสภาพเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เผลอ ๆ ใช้ไฟฟ้าฟรียังงั้นแหละ อันนี้ไม่ได้ตามว่าคุย-ทำกันไปถึงไหน ถ้า ok โอกาสก็ดีขึ้น
คำเตือน : โปรดใช้ดุลยพินิจในการนำไปใช้ ผู้เขียนสงวนสิทธิ์ยกเลิกความรับผิดชอบข้อมูลนี้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า :lol: :lol: :lol:
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 19
ผมไม่ค่อยเชื่อในอนาคตของ solar cell ในแง่ของ alternate power source สักเท่าไหร่ครับ
เท่าที่รู้มา ต้นทุนในการผลิตต่อ Watt ยังไม่ได้ถูกมากนัก ถึงจะเป็น silicon solar cell
ก็เถอะ
มีขีดจำกัดด้านพื้นที่ติดตั้ง และการบำรุงรักษา
STMicroelectronics เคยประกาศว่าน่าจะผลิต solar cell ที่ทำจากสารอินทรีย์แทน
ที่จะเป็น silicon ราคาแพงได้ (คือใช้พลาสติกนั่นแหละ) ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
ต่อ watt ต่ออายุการใช้งาน (20 ปี) ลดลงเหลือเพียง 20 cent (จาก $4.0 ถ้าเป็น
silicon)
ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2003 จนป่านนี้ยังไม่เห็นมีอะไรคืบหน้า
ตอนนี้ต้นทุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันน่าจะตกอยู่ที่ประมาณ $1.00 / watt
ซึ่งก็ยังถูกกว่า solar cell อยู่ดี
แต่ถ้า SOLAR สามารถคิดค้นและผลิต solar cell ที่ใช้ plastic ราคาถูกมาดักแสง
ก็จะรวยไม่รู้เรื่องไปเลย
ราคาหุ้นอาจจะขึ้นไป 20 ceiling ติดๆ กัน
หรือถ้าสามารถผลิต solar cell ที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่า 50%
(จากปัจจุบัน 20%) ก็จะรวยไม่รู้เรื่องเหมือนกัน หุ้นน่าจะขึ้นสัก 20 ceiling เหมือนกัน
แต่ผมว่าน่าจะยากนะ สำหรับบริษัทเล็กขนาดนี้ แต่ก็แอบเชียร์อยู่ครับ
เท่าที่รู้มา ต้นทุนในการผลิตต่อ Watt ยังไม่ได้ถูกมากนัก ถึงจะเป็น silicon solar cell
ก็เถอะ
มีขีดจำกัดด้านพื้นที่ติดตั้ง และการบำรุงรักษา
STMicroelectronics เคยประกาศว่าน่าจะผลิต solar cell ที่ทำจากสารอินทรีย์แทน
ที่จะเป็น silicon ราคาแพงได้ (คือใช้พลาสติกนั่นแหละ) ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
ต่อ watt ต่ออายุการใช้งาน (20 ปี) ลดลงเหลือเพียง 20 cent (จาก $4.0 ถ้าเป็น
silicon)
ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2003 จนป่านนี้ยังไม่เห็นมีอะไรคืบหน้า
ตอนนี้ต้นทุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันน่าจะตกอยู่ที่ประมาณ $1.00 / watt
ซึ่งก็ยังถูกกว่า solar cell อยู่ดี
แต่ถ้า SOLAR สามารถคิดค้นและผลิต solar cell ที่ใช้ plastic ราคาถูกมาดักแสง
ก็จะรวยไม่รู้เรื่องไปเลย

หรือถ้าสามารถผลิต solar cell ที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่า 50%
(จากปัจจุบัน 20%) ก็จะรวยไม่รู้เรื่องเหมือนกัน หุ้นน่าจะขึ้นสัก 20 ceiling เหมือนกัน
แต่ผมว่าน่าจะยากนะ สำหรับบริษัทเล็กขนาดนี้ แต่ก็แอบเชียร์อยู่ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 160
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 20
If I am not wrong, this company was mentioned by a member of Opposition Party on last no-confidential debate against a Minister of Government Party.
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 22
เจ้าของเค้ายังม่าบอกเองเลยนี่ครับ ว่ากิจการไม่ได้โตอะไรมากมาย ...
ทำไมซื้อกัน pe แพงจัง
ทำไมซื้อกัน pe แพงจัง

การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 485
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 24
ถ้ามีกรีนชูก็คงไม่หลุดจอง
กรีนชู คืออะไรคะ
สงสัยมาตั้งนานแล้ว
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 25
กรีนชู
หุ้น super กำลังจะเข้าเทรด มี กรีนชู 13.5 ล้านหุ้น ที่4.9 บาท
หมายความว่า ที่ 4.9 บาทจะมี bid 13.5 ล้านหุ้น ในระยะเวลาที่กำหนด
ทำให้ผู้จองซื้อ อุ่นใจได้ระดับหนึ่ง
แต่ถ้าหมดก็หมด เป็นไปตาม แรงซื้อ แรงขาย
หุ้น super กำลังจะเข้าเทรด มี กรีนชู 13.5 ล้านหุ้น ที่4.9 บาท
หมายความว่า ที่ 4.9 บาทจะมี bid 13.5 ล้านหุ้น ในระยะเวลาที่กำหนด
ทำให้ผู้จองซื้อ อุ่นใจได้ระดับหนึ่ง
แต่ถ้าหมดก็หมด เป็นไปตาม แรงซื้อ แรงขาย
-
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 26
ลองตาม link ไปนะครับ save ไว้ด้วยก็ดีjanelovehoon เขียน:
กรีนชู คืออะไรคะ
สงสัยมาตั้งนานแล้ว
คำศัพท์เฉพาะในวงการหาได้จากที่นี่ครับ
http://www.set.or.th/th/isc/tools/glossary_pg.html
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 27
ผลประกอบการก็ดูดีครับ
แต่ลากขึ้น-ทุบลง เลยดูไม่ดีเลย
------------------------------------------------------------------------------------
Symbol: SOLAR
Headline: ขอแจ้งมติประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2548
Time: 05 เม.ย. 2005 14:06:33
แจ้งมติการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2548
ของ
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน)
วันที่ 5 เมษายน 2548
เรื่อง ขอแจ้งมติการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2548
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่
2/2548 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2548 เวลา 09.00 น. ได้มีมติที่ประชุมดังต่อไปนี้
1. มีมติรับทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่ประธานฯ แจ้งให้ทราบ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1.1
รายงานผลการขายหลักทรัพย์ของบริษัทเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นของบริษัทให้กับผู้มีอุปการะคุณไม่มีผู้ใดได้รับการจัดสรรหุ้นที่
มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป จากส่วนที่แบ่งไว้สำหรับผู้มีอุปการคุณ
1.2
รายงานความคืบหน้าในการเจรจากับธนาคารกรุงไทยในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้ผู้ถือหุ้นหลักคือนายไพวงษ์
เตชะณรงค์ และ นางสาววันดี กุญชรยาคง ดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
โดยขออนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทของผู้ถือหุ้นหลักคือกลุ่มกุญชรยาคง
และกลุ่มเตชะณรงค์ ให้ดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 26 ซึ่งจะมีผลอนุมัติต้น เดือนเมษายน
2548 โดยในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของธนาคารกรุงไทยเสนอต่อคณะกรรมการตามที่บริษัทขอมา
2. มีมติอนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3 ของบริษัท เรื่องวัตถุประสงค์
โดยให้เพิ่มวัตถุประสงค์อีก 4 ข้อ ดังนี้
"(46) ผลิตและจำหน่ายวัสดุที่ใช้ในการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึง ก้อนซิลิคอน ผลึกซิลิคอน แผ่นเวเฟอร์
แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ วัสดุกันความชื้น วัสดุปิดด้านหลังแผงเซลล์แสงอาทิตย์ กรอบ และวัสดุทุกประเภท
(47) ให้บริการรับจ้างเหมาออกแบบ ก่อสร้าง จำหน่าย
ติดตั้งควบคุมการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนทุกประเภท โดยรวมถึงเครื่องจักร
อุปกรณ์ทุกประเภทที่ใช้ในการผลิตระบบไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
(48) ให้บริการจัดการด้านพลังงาน (Energy Service)
(49) ให้บริการเป็นที่ปรึกษา วิจัย และพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนทุกประเภท"
และให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
3. มีมติให้อนุมัติเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ นางสาววันดี กุญชรยาคง ในหนังสือรับรอง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับบริษัท ข้อ 30 และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจกรรมการบริษัทในหนังสือรับรอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ นางสาววันดี กุญชรยาคง ในหนังสือรับรองบริษัทจากตำแหน่ง
"กรรมการผู้จัดการ" เป็น "ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร"
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับบริษัท ข้อ 30 ดังนี้
ข้อบังคับ ข้อ 30 เดิม
"จำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้นั้น
ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้จัดการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท
หรือกรรมการอื่นสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้"
ข้อบังคับ ข้อ 30 ที่เสนอแก้ไข
"จำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้นั้นคือ
กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้"
(3) การแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจกรรมการบริษัทในหนังสือรับรองเป็นดังนี้
"นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ ประธานกรรมการ หรือ นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ
นายอัครเดช โรจน์เมธา กรรมการบริหาร หรือ นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง กรรมการบริหาร หรือ นางพรรณี
เตชะณรงค์ กรรมการ โดยกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท "
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
4. มีมติรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2548 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2548
5. มีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นายประเทือง ศรีรอดบาง และ ศ.ดร.ดุสิต เครืองาม เป็นกรรมการใหม่ของบริษัท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
6. มีมติอนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารและควบคุมความเสี่ยงของบริษัท
และแต่งตั้งบุคคลดังมีรายนามข้างท้ายนี้เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการดังกล่าว
(1) นายสุธรรม มลิลา ประธานคณะอนุกรรมการ
(2) นางปัทมา วงษ์ถ้วยทอง กรรมการ
(3) นางสาวพรทิพย์ อาวะกุลพาณิชย์ กรรมการ
และกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารและควบคุมความเสี่ยงดังนี้
ประธานคณะอนุกรรมการ ค่าตอบแทน 5,000 บาท/ครั้ง
กรรมการ ค่าตอบแทน 3,000 บาท/ครั้ง
7. มีมติอนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และแต่งตั้งบุคคลดังมีรายนาม
ข้างท้ายนี้เป็นกรรมการ
(1) นายประเทือง ศรีรอดบาง ประธานคณะอนุกรรมการ
(2) พลโทชาตรี ทัตติ กรรมการ
(3) นายสุชาติ ไตรศิริเวทวัฒน์ กรรมการ
และกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการนี้ ดังนี้
ประธานคณะอนุกรรมการ ค่าตอบแทน 5,000 บาท/ครั้ง
กรรมการ ค่าตอบแทน 3,000 บาท/ครั้ง
8. มีมติรับทราบในหลักการเบื้องต้นของการทำประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
9. มีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นายสุธรรม มลิลา นางสาววันดี กุญชรยาคง และนายสุชาติ ไตรศิริเวทวัฒน์
กรรมการที่ต้องออกจากตำแหน่งตามวาระกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทอีกวาระหนึ่ง
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
10. มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2548 ดังนี้
ค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2548 ในวงเงิน 2,000,000 บาท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
11. มีมติอนุมัติงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัท สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทแล้ว
รวมทั้งข้อสังเกตุและข้อเสนอแนะทางการบัญชีและการควบคุมภายในด้านบัญชี
และการตรวจสอบบัญชีเงินทดรองจ่ายของบริษัทตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน สำหรับระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2548 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2548 โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
12. มีมติอนุมัติให้จัดสรรกำไรเพื่อการจ่ายเงินปันผล เงินสำรองตามกฎหมายประจำปี 2547 และเงินสำรองอื่น
ๆ ของบริษัท ดังนี้
(ก) จัดสรรกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 12
พฤษภาคม 2548 เวลา 12.00 น ในอัตรา 0.11 บาท ต่อหุ้น รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 33,000,000.- บาท
(ข) จัดสรรกำไรประจำปี 2547 จำนวน 23.50 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 17 ของกำไรสุทธิประจำปี)
เพื่อเป็นเงินสำรองตามกฎหมาย
(ค) จัดสรรเงินกำไรส่วนที่เหลือจำนวน 112.02 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน
เป็นเงินทุนเพื่อการขยายงานและเงินสำรองอื่น ๆ ของบริษัท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
13. มีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นางสาวทิพย์สุดา ชำนาญวนิชกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3377 แห่งบริษัท
เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประจำปี 2548 โดยกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีไม่เกิน
970,000 บาทต่อปี
14. มีมติอนุมัติผลการดำเนินงานของคณะกรรมการและบริษัทประจำปี 2547
15. มีมติอนุมัติการจัดทำร่างรายงานประจำปีของบริษัท ประจำปี 2547 (แบบ 56-2)
16. มีมติอนุมัติให้กำหนดวันวันประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 ในวันที่ 29 เมษายน 2548 เวลา
14.00 น. ณ ห้อง ประชุมใหญ่ โรงแรมเรดิสัน ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
โดยมีระเบียบวาระการประชุมดังนี้
วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 4/2547 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน
2547
วาระที่ 2
พิจารณารับรองและอนุมัติผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมาและร
ายงานประจำปี 2547
วาระที่ 3 พิจารณาและอนุมัติงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
วาระที่ 4 พิจารณาและอนุมัติการจัดสรรเงินกำไรเพื่อการจ่ายเงินปันผล
จัดสรรเงินสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่นของบริษัทสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2547
โดยกำหนดจ่ายเงินปันผล
วาระที่ 5 พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ
วาระที่ 6 พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งกรรมการใหม่จำนวน 2 ท่าน เป็นกรรมการบริษัท
วาระที่ 7 พิจารณาและอนุมัติกำหนดค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2548
วาระที่ 8 พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี 2548 และกำหนดค่าตอบแทน
วาระที่ 9 พิจารณาและอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ข้อ 3
เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มวัตถุประสงค์ของบริษัท
วาระที่ 10 พิจารณาและอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับบริษัท ข้อ 30
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ นางสาววันดี กุญชรยาคง
จากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
วาระที่ 11
พิจารณาและอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจกรรมการบริษัทในหนังสือรับรองบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตำ
แหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
วาระที่ 12 พิจารณาและอนุมัติการจัดทำประกันภัยทางธุรกิจให้แก่ผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท
วาระที่ 13 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
17. มีมติอนุมัติให้กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นพักการโอนหุ้น ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2548 เวลา 12.00
น. จนกว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 จะแล้วเสร็จ
เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
( นางปัทมา วงษ์ถ้วยทอง )
เลขานุการคณะกรรมการบริษัท
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน)
แต่ลากขึ้น-ทุบลง เลยดูไม่ดีเลย

------------------------------------------------------------------------------------
Symbol: SOLAR
Headline: ขอแจ้งมติประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2548
Time: 05 เม.ย. 2005 14:06:33
แจ้งมติการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2548
ของ
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน)
วันที่ 5 เมษายน 2548
เรื่อง ขอแจ้งมติการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2548
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่
2/2548 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2548 เวลา 09.00 น. ได้มีมติที่ประชุมดังต่อไปนี้
1. มีมติรับทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่ประธานฯ แจ้งให้ทราบ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1.1
รายงานผลการขายหลักทรัพย์ของบริษัทเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นของบริษัทให้กับผู้มีอุปการะคุณไม่มีผู้ใดได้รับการจัดสรรหุ้นที่
มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป จากส่วนที่แบ่งไว้สำหรับผู้มีอุปการคุณ
1.2
รายงานความคืบหน้าในการเจรจากับธนาคารกรุงไทยในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้ผู้ถือหุ้นหลักคือนายไพวงษ์
เตชะณรงค์ และ นางสาววันดี กุญชรยาคง ดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
โดยขออนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทของผู้ถือหุ้นหลักคือกลุ่มกุญชรยาคง
และกลุ่มเตชะณรงค์ ให้ดำรงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 26 ซึ่งจะมีผลอนุมัติต้น เดือนเมษายน
2548 โดยในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของธนาคารกรุงไทยเสนอต่อคณะกรรมการตามที่บริษัทขอมา
2. มีมติอนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3 ของบริษัท เรื่องวัตถุประสงค์
โดยให้เพิ่มวัตถุประสงค์อีก 4 ข้อ ดังนี้
"(46) ผลิตและจำหน่ายวัสดุที่ใช้ในการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึง ก้อนซิลิคอน ผลึกซิลิคอน แผ่นเวเฟอร์
แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ วัสดุกันความชื้น วัสดุปิดด้านหลังแผงเซลล์แสงอาทิตย์ กรอบ และวัสดุทุกประเภท
(47) ให้บริการรับจ้างเหมาออกแบบ ก่อสร้าง จำหน่าย
ติดตั้งควบคุมการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนทุกประเภท โดยรวมถึงเครื่องจักร
อุปกรณ์ทุกประเภทที่ใช้ในการผลิตระบบไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
(48) ให้บริการจัดการด้านพลังงาน (Energy Service)
(49) ให้บริการเป็นที่ปรึกษา วิจัย และพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนทุกประเภท"
และให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
3. มีมติให้อนุมัติเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ นางสาววันดี กุญชรยาคง ในหนังสือรับรอง
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับบริษัท ข้อ 30 และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจกรรมการบริษัทในหนังสือรับรอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ นางสาววันดี กุญชรยาคง ในหนังสือรับรองบริษัทจากตำแหน่ง
"กรรมการผู้จัดการ" เป็น "ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร"
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับบริษัท ข้อ 30 ดังนี้
ข้อบังคับ ข้อ 30 เดิม
"จำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้นั้น
ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้จัดการคนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท
หรือกรรมการอื่นสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้"
ข้อบังคับ ข้อ 30 ที่เสนอแก้ไข
"จำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้นั้นคือ
กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการมีอำนาจกำหนดรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้"
(3) การแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจกรรมการบริษัทในหนังสือรับรองเป็นดังนี้
"นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ ประธานกรรมการ หรือ นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ
นายอัครเดช โรจน์เมธา กรรมการบริหาร หรือ นายสมศักดิ์ กุญชรยาคง กรรมการบริหาร หรือ นางพรรณี
เตชะณรงค์ กรรมการ โดยกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท "
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
4. มีมติรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2548 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2548
5. มีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นายประเทือง ศรีรอดบาง และ ศ.ดร.ดุสิต เครืองาม เป็นกรรมการใหม่ของบริษัท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
6. มีมติอนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารและควบคุมความเสี่ยงของบริษัท
และแต่งตั้งบุคคลดังมีรายนามข้างท้ายนี้เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการดังกล่าว
(1) นายสุธรรม มลิลา ประธานคณะอนุกรรมการ
(2) นางปัทมา วงษ์ถ้วยทอง กรรมการ
(3) นางสาวพรทิพย์ อาวะกุลพาณิชย์ กรรมการ
และกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารและควบคุมความเสี่ยงดังนี้
ประธานคณะอนุกรรมการ ค่าตอบแทน 5,000 บาท/ครั้ง
กรรมการ ค่าตอบแทน 3,000 บาท/ครั้ง
7. มีมติอนุมัติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และแต่งตั้งบุคคลดังมีรายนาม
ข้างท้ายนี้เป็นกรรมการ
(1) นายประเทือง ศรีรอดบาง ประธานคณะอนุกรรมการ
(2) พลโทชาตรี ทัตติ กรรมการ
(3) นายสุชาติ ไตรศิริเวทวัฒน์ กรรมการ
และกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการนี้ ดังนี้
ประธานคณะอนุกรรมการ ค่าตอบแทน 5,000 บาท/ครั้ง
กรรมการ ค่าตอบแทน 3,000 บาท/ครั้ง
8. มีมติรับทราบในหลักการเบื้องต้นของการทำประกันภัยทางธุรกิจสำหรับผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
9. มีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นายสุธรรม มลิลา นางสาววันดี กุญชรยาคง และนายสุชาติ ไตรศิริเวทวัฒน์
กรรมการที่ต้องออกจากตำแหน่งตามวาระกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทอีกวาระหนึ่ง
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
10. มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2548 ดังนี้
ค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2548 ในวงเงิน 2,000,000 บาท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
11. มีมติอนุมัติงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัท สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทแล้ว
รวมทั้งข้อสังเกตุและข้อเสนอแนะทางการบัญชีและการควบคุมภายในด้านบัญชี
และการตรวจสอบบัญชีเงินทดรองจ่ายของบริษัทตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน สำหรับระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม
2548 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2548 โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
12. มีมติอนุมัติให้จัดสรรกำไรเพื่อการจ่ายเงินปันผล เงินสำรองตามกฎหมายประจำปี 2547 และเงินสำรองอื่น
ๆ ของบริษัท ดังนี้
(ก) จัดสรรกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 12
พฤษภาคม 2548 เวลา 12.00 น ในอัตรา 0.11 บาท ต่อหุ้น รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 33,000,000.- บาท
(ข) จัดสรรกำไรประจำปี 2547 จำนวน 23.50 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 17 ของกำไรสุทธิประจำปี)
เพื่อเป็นเงินสำรองตามกฎหมาย
(ค) จัดสรรเงินกำไรส่วนที่เหลือจำนวน 112.02 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียน
เป็นเงินทุนเพื่อการขยายงานและเงินสำรองอื่น ๆ ของบริษัท
โดยให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
13. มีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นางสาวทิพย์สุดา ชำนาญวนิชกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3377 แห่งบริษัท
เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทประจำปี 2548 โดยกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีไม่เกิน
970,000 บาทต่อปี
14. มีมติอนุมัติผลการดำเนินงานของคณะกรรมการและบริษัทประจำปี 2547
15. มีมติอนุมัติการจัดทำร่างรายงานประจำปีของบริษัท ประจำปี 2547 (แบบ 56-2)
16. มีมติอนุมัติให้กำหนดวันวันประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 ในวันที่ 29 เมษายน 2548 เวลา
14.00 น. ณ ห้อง ประชุมใหญ่ โรงแรมเรดิสัน ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ
โดยมีระเบียบวาระการประชุมดังนี้
วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 4/2547 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน
2547
วาระที่ 2
พิจารณารับรองและอนุมัติผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมาและร
ายงานประจำปี 2547
วาระที่ 3 พิจารณาและอนุมัติงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
วาระที่ 4 พิจารณาและอนุมัติการจัดสรรเงินกำไรเพื่อการจ่ายเงินปันผล
จัดสรรเงินสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่นของบริษัทสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2547
โดยกำหนดจ่ายเงินปันผล
วาระที่ 5 พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ
วาระที่ 6 พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งกรรมการใหม่จำนวน 2 ท่าน เป็นกรรมการบริษัท
วาระที่ 7 พิจารณาและอนุมัติกำหนดค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2548
วาระที่ 8 พิจารณาและอนุมัติการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีประจำปี 2548 และกำหนดค่าตอบแทน
วาระที่ 9 พิจารณาและอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ข้อ 3
เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มวัตถุประสงค์ของบริษัท
วาระที่ 10 พิจารณาและอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับบริษัท ข้อ 30
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ นางสาววันดี กุญชรยาคง
จากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
วาระที่ 11
พิจารณาและอนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจกรรมการบริษัทในหนังสือรับรองบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตำ
แหน่งกรรมการผู้จัดการเป็นตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
วาระที่ 12 พิจารณาและอนุมัติการจัดทำประกันภัยทางธุรกิจให้แก่ผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท
วาระที่ 13 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
17. มีมติอนุมัติให้กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นพักการโอนหุ้น ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2548 เวลา 12.00
น. จนกว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 จะแล้วเสร็จ
เพื่อกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
( นางปัทมา วงษ์ถ้วยทอง )
เลขานุการคณะกรรมการบริษัท
บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน)
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
โซล่าเซล
โพสต์ที่ 28
เชลเลนเนียมเปิดนวัตกรรมใหม่
เบียดแผงโซลาร์เซลล์ลงปลายแถว
เปิดตัววาเนเดียมเครื่องกักเก็บไฟฟ้าและสร้างพลังงานไฟฟ้าจากอ้อยและมันสำปะหลัง เผยอายุการใช้งานนานกว่าแผงโซลาร์เซลล์
นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เยี่ยมชมความสำเร็จของการผลิตเครื่องกักเก็บและสร้างพลังงานไฟฟ้า ของบริษัท เซลเลนเนี่ยม (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นวิจัยเครื่องกักเก็บพลังงานไฟฟ้าวาเนเดียม และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากอ้อยและมันสำปะหลัง โดย นายกฤษดา กัมปนาทแสนยากร ประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ กล่าวรายงานว่า บริษัทได้ใช้เวลาในการวิจัยเครื่องกักเก็บไฟฟ้าที่เรียกว่า วาเนเดียม แบตเตอรี่ เกือบ 15 ปี เป็นระบบที่เก็บพลังงานทั้งจากแสงอาทิตย์ และลม ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบเดิม มีต้นทุนต่ำสามารถทดแทนการนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและไฟฟ้าจากต่างประเทศได้ ติดตั้งได้ทั้งสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านเรือน ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ได้ใช้แพร่หลายในเร็ว ๆ นี้
นายกฤษดา กล่าวว่าเครื่องกักเก็บไฟฟ้าและสร้างพลังงานไฟฟ้าจากอ้อยและมันสำปะหลัง นี้ยังสามารถแก้ปัญหาไฟตกหรือไฟดับได้ และยังประยุกต์ใช้กับพลังงานลม และพลังงานไฟฟ้าจากพืชด้วย และในอีก 3-5 ปี จะพัฒนาใช้กับระบบขนส่ง เช่น รถ เรือ เป็นต้น หากเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีจุดอ่อนที่แบตเตอรี่จะเสื่อมในระยะ 2 ปี แต่เครื่องวาเนเดียมจะมีอายุการใช้งาน 15-20 ปี เครื่องนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรใน 49 ประเทศทั่วโลก
นายกร กล่าวว่า สำหรับการต่อยอดผลิตไฟฟ้าจากพืชนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงพลังงานได้ประสานเรื่องนี้ โดยตนได้สั่งการ สวทช. และสำนักงานนวัตกรรมฯ ร่วมวิจัยกับภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางในการนำไฟฟ้ามาใช้จริงในราว 5 ปีข้างหน้า คาดว่าเร็ว ๆ นี้ก็จะนำมาใช้ในสำนักงานหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ จากนั้นจะผลิตเครื่องเล็กลง เพื่อใช้ในบ้านเรือนประชาชนต่อไป.-สำนักข่าวไทย
เบียดแผงโซลาร์เซลล์ลงปลายแถว
เปิดตัววาเนเดียมเครื่องกักเก็บไฟฟ้าและสร้างพลังงานไฟฟ้าจากอ้อยและมันสำปะหลัง เผยอายุการใช้งานนานกว่าแผงโซลาร์เซลล์
นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้บริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เยี่ยมชมความสำเร็จของการผลิตเครื่องกักเก็บและสร้างพลังงานไฟฟ้า ของบริษัท เซลเลนเนี่ยม (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นวิจัยเครื่องกักเก็บพลังงานไฟฟ้าวาเนเดียม และผลิตพลังงานไฟฟ้าจากอ้อยและมันสำปะหลัง โดย นายกฤษดา กัมปนาทแสนยากร ประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ กล่าวรายงานว่า บริษัทได้ใช้เวลาในการวิจัยเครื่องกักเก็บไฟฟ้าที่เรียกว่า วาเนเดียม แบตเตอรี่ เกือบ 15 ปี เป็นระบบที่เก็บพลังงานทั้งจากแสงอาทิตย์ และลม ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบเดิม มีต้นทุนต่ำสามารถทดแทนการนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและไฟฟ้าจากต่างประเทศได้ ติดตั้งได้ทั้งสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านเรือน ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ได้ใช้แพร่หลายในเร็ว ๆ นี้
นายกฤษดา กล่าวว่าเครื่องกักเก็บไฟฟ้าและสร้างพลังงานไฟฟ้าจากอ้อยและมันสำปะหลัง นี้ยังสามารถแก้ปัญหาไฟตกหรือไฟดับได้ และยังประยุกต์ใช้กับพลังงานลม และพลังงานไฟฟ้าจากพืชด้วย และในอีก 3-5 ปี จะพัฒนาใช้กับระบบขนส่ง เช่น รถ เรือ เป็นต้น หากเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีจุดอ่อนที่แบตเตอรี่จะเสื่อมในระยะ 2 ปี แต่เครื่องวาเนเดียมจะมีอายุการใช้งาน 15-20 ปี เครื่องนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรใน 49 ประเทศทั่วโลก
นายกร กล่าวว่า สำหรับการต่อยอดผลิตไฟฟ้าจากพืชนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงพลังงานได้ประสานเรื่องนี้ โดยตนได้สั่งการ สวทช. และสำนักงานนวัตกรรมฯ ร่วมวิจัยกับภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางในการนำไฟฟ้ามาใช้จริงในราว 5 ปีข้างหน้า คาดว่าเร็ว ๆ นี้ก็จะนำมาใช้ในสำนักงานหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ จากนั้นจะผลิตเครื่องเล็กลง เพื่อใช้ในบ้านเรือนประชาชนต่อไป.-สำนักข่าวไทย