รบกวนพี่ๆหน่อยครับพอดีจะเข้าเศรษฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์
-
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนพี่ๆหน่อยครับพอดีจะเข้าเศรษฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์
โพสต์ที่ 1
คณิตศาสตร์ - แนวข้อสอบจะเน้นเรื่อง แคลคูลัส สถิติ ฟังก์ชัน ล๊อกกาลิทึม เอ็กซ์โปเนนเชียล เมตริกซ์ ส่วนเรื่อง ภาคตัดกรวย ตรรกศาสตร์ ลำดับและอนุกรม ความน่าจะเป็น เซต ข้อสอบก็มีออกแต่อาจจะไม่เยอะ ซึ่งลักษณะข้อสอบจะเอาหลายๆเรื่องมาปะปนกัน คล้ายกับข้อสอบเอ็นทรานซ์และจะมีบ้างข้อที่เอาคณิตศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ เช่น เรื่องต้นทุน ราคา การหาค่าสูงสุดต่ำสุดของการผลิต ซึ่งจะอยู่ในแคลคูลัสครับ ซึ่งส่วนนี้จะมีประมาณ 10% ของข้อสอบ ส่วนข้อสอบมีทั้งแสดงวิธีทำและปรนัยครับ
ภาษาอังกฤษ - ข้อสอบเป็นแนว TU-GETแต่จะเน้นที่ศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ และเน้นในส่วนของ Critical Reading เป็นบทความทางเศรษฐศาสตร์ครับ แนะนำให้อ่าน Bangkok Post ในส่วนของ Business เป็นประจำจะช่วยให้ทำความได้ง่ายขึ้น
ภาษาไทย - ข้อสอบมี 3 ส่วน
มีปรนัยเป็นหลักการใช้ภาษา เช่น การอนุมาน นัยสำคัญแฝงของข้อความ การ paraphrase เป็นต้น
ส่วนที่สองจะเป็นการย่อความ การจับใจความ มีเนื้อเรื่องสั้นๆ ให้อ่าน แล้วเขียนย่อความ สรุปใจความสำคัญ
ส่วนที่สามจะเป็นการเขียนเรียงความครับ มีหัวข้อมาให้เลือก เช่น เหตุใดจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจไทยกับการพัฒนาการศึกษา เป็นต้น
หมายเหตุ : ข้อสอบภาษาไทยจะตรวจก็ต่อเมื่อคะแนน เลข กับ อังกฤษ อยู่ใน
500 อันดับแรก
รบกวนพี่ท่านใดมีประสบการณ์ เคยสอบ หรือว่ามีอะไรจะแนะนำผมบ้างง
ภาษาอังกฤษ - ข้อสอบเป็นแนว TU-GETแต่จะเน้นที่ศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ และเน้นในส่วนของ Critical Reading เป็นบทความทางเศรษฐศาสตร์ครับ แนะนำให้อ่าน Bangkok Post ในส่วนของ Business เป็นประจำจะช่วยให้ทำความได้ง่ายขึ้น
ภาษาไทย - ข้อสอบมี 3 ส่วน
มีปรนัยเป็นหลักการใช้ภาษา เช่น การอนุมาน นัยสำคัญแฝงของข้อความ การ paraphrase เป็นต้น
ส่วนที่สองจะเป็นการย่อความ การจับใจความ มีเนื้อเรื่องสั้นๆ ให้อ่าน แล้วเขียนย่อความ สรุปใจความสำคัญ
ส่วนที่สามจะเป็นการเขียนเรียงความครับ มีหัวข้อมาให้เลือก เช่น เหตุใดจึงเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจไทยกับการพัฒนาการศึกษา เป็นต้น
หมายเหตุ : ข้อสอบภาษาไทยจะตรวจก็ต่อเมื่อคะแนน เลข กับ อังกฤษ อยู่ใน
500 อันดับแรก
รบกวนพี่ท่านใดมีประสบการณ์ เคยสอบ หรือว่ามีอะไรจะแนะนำผมบ้างง
Don't have destiny ,have only intention !
-
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนพี่ๆหน่อยครับพอดีจะเข้าเศรษฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์
โพสต์ที่ 2
คำศัพท์เกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์
การปล่อยเสรี = Liberalization
แนวคิดหรือนโยบายที่เปิดโอกาสให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการค้าเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีการผูกขาดตัดตอนโดยรายหนึ่งรายใด ในแง่ของการปล่อยเสรีภายในประเทศก็ คือ การยกเลิกระบบผูกขาด ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที ในระดับสากล ก็คือการส่งเสริมการค้าเสรี ลด หรือ ขจัดอุปสรรคหรือข้อกีดขวางทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี
หนี้สิน = Liability
โดยปกติมักหมายถึง หนี้ทางการเงิน คือจำนวนเงินที่บุคคลหรือหน่วยธุรกิจมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลอื่น รายการที่ถือว่าเป็นหนี้สินทางบัญชี ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายและภาษีค้างจ่าย หุ้นกู้ เงินกู้ เป็นต้น
เงินเฟ้อขั้นสูง = Hyperinflation
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นในอัตราสูงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติ (สูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ) ถ้าสูงมากๆ เช่น ร้อยละ 100 ต่อปี อาจเรียกว่า เงินเฟ้อย่างรุนแรง
การแปลงหนี้ = Funding
ในความหมายเดิม หมายถึงการเปลี่ยนหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนสถานะจากการก่อหนี้ในระยะสั้นมาเป็นหนี้ในระยะปานกลางหรือระยะยาวเช่น การเปลี่ยนจากการออกตั๋วแลกเงินมาเป็นการออกพันธบัตร เป็นต้น
ตลาดเสรี = Free market
ตลาดสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยให้พลังของอุปสงค์และอุปทานหรือกลไกตลาด เป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขายอย่างเสรี โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมตลาดเสรีเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี
ราคาล่วงหน้า = Forward price
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หลักทรัพย์ หรือเงินตรา ที่กำหนดเอาไว้ในการตกลงซื้อขายล่วงหน้า เป็นราคาที่ผู้ซื้อจะต้องจ่าย ณ วันส่งมอบหรือวันที่ได้ตกลงกัน สำหรับราคาล่วงหน้าของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ราคาล่วงหน้าของสิ่งของชนิดเดียวกันอาจแตกต่างกันตามเวลาที่ส่งมอบและการต่อรองของผู้ซื้อขาย และราคานี้มักจะแตกต่างกับราคาซื้อขายทันที ซึ่งเป็นราคาที่ต้องส่งมอบกันในปัจจุบัน
การเชื่อมโยงไปข้างหน้า = Forward linkage
การที่หน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมหนึ่งมีความสัมพันธ์กับหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่นในลักษณะที่ผลผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมดังกล่าว ถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมทอผ้ามีการเชื่อมโยงไปข้างหน้ายังอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ความสัมพันธ์ในลักษณะตรงกันข้ามนี้เรียกว่า การเชื่อมโยงไปข้างหลัง
อัตราการแลกเปลี่ยนล่วงหน้า = Forward exchange rate
อัตราการแลกเปลี่ยนหรือราคาของเงินตราสกุลหนึ่งๆ กับเงินตราต่างประเทศที่ได้มีการตกลงแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า โดยมีการระบุจำนวนและวันเวลาที่จะส่งมอบกันเป็นที่แน่นอนอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านี้อาจแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่เกิดขึ้น ณ วันซื้อขายเดียวกัน การตกลงซื้อขายเงินตราในอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของนักเก็งกำไรด้วยเช่นกัน
การแปลงสภาพหนี้ = Debt conversion
การออกหุ้นหรือพันธบัตรใหม่เพื่อทดแทนหุ้นหรือพันธบัตรเก่าที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อลดภาระหนี้ให้น้อยลง การแปลงสภาพหนี้ยังหมายถึงการเปลี่ยนหุ้นกู้แปลงสภาพไปเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้ฐานะของผู้ถือเปลี่ยนจากการเป็นเจ้าหนี้บริษัทไปเป็นเจ้าของบริษัท
หนี้ = Debts
จำนวนเงินหรือทรัพย์สินอื่นจำนวนหนึ่งที่บุคคลหนึ่งมีข้อผูกพันว่า จะจ่ายให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง หนี้อาจเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงิน การซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเงินเชื่อหรือเงินผ่อน เราอาจแบ่งประเภทของหนี้ตามประเภทลูกหนี้ เป็นหนี้สาธารณะ และหนี้เอกชน หรือแบ่งตามแหล่งของผู้เป็นเจ้าหนี้ เป็นหนี้ภายในประเทศ และหนี้ต่างประเทศ
หุ้นกู้ = Debenture
พันธบัตรหรือตราสารหนี้ ระยะยาวที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินของบริษัทจากเจ้าของเงินทุน หุ้นกู้นี้มักมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนและอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน ไม่ว่าบริษัทจะมีกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ถือจะได้รับการชำระหนี้คืน การออกหุ้นกู้จึงต้องมีมูลค่ารวมไม่เกินทุนที่ชำระแล้วของบริษัท กรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ออกตราสารชนิดนี้นิยม เรียกว่า พันธบัตร
เงินแพง = Dear money
ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในอดีต เนื่องจากอุปทานของเงินมีน้อยเมื่อเทียบกับอุปสงค์ของความต้องการถือเงิน ภาวะที่ตรงกันข้ามกับเงินแพงเรียกว่า เงินถูก
ต้นทุนค่าเสียหาย = Damage cost
ต้นทุนที่เกิดจากการก่อให้เกิดความเสียหาย โดยปรกติมักใช้จำเพาะกับความเสียหายจากการก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การคิดต้นทุนค่าเสียหายเป็นตัวเงินค่อนข้างจะยุ่งยากในทางปฏิบัติ เพราะยากต่อการตีค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น การตีค่าความตาย การบาดเจ็บ การสูญเสียป่าไม้ สัตว์ป่า หรือแหล่งน้ำ เป็นต้น ต้นทุนค่าเสียหาย
การปรับภาษีที่พรมแดน = Bonder tax adjustment
การเพิ่มหรือลดอัตราภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เรียกเก็บจากสินค้าออกของประเทศภาคีตามกฎของGATT ทั้งนี้ก็เพื่อให้ระบบภาษีที่จัดเก็บภายในประเทศไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าผ่านพรมแดนของประเทศนั้น ๆ
ผลตอบเเทนจากพันธบัตร = Bond yield
ผลตอบแทนที่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับจากพันธบัตรนั้น ผลตอบแทนที่ได้อาจจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด หรือผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายในกรณีที่ผู้ถือขายพันธบัตรนั้นให้แก่บุคคลอื่น ผลตอบแทนส่วนหลังนี้เรียกว่า ผลกำไรจากมูลค่าทุน
ตลาดพันธบัตร = Bond market
สถานที่หรือช่องทางในการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพันธบัตร อาจจะมีการตกลงซื้อขายพันธบัตรนั้นเฉพาะภายในประเทศโดยผ่านตัวแทนนายหน้า ที่ทำหน้าที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรืออาจมีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงคือ ตลาดพันธบัตรยูโร
คลังสินค้าทัณฑ์บน = Bonded warehouse
สถานที่ที่ใช้เก็บสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยที่ยังไม่มีการชำระภาษีนำเข้า ทั้งนี้ก็เพื่อรอให้มีการชำระภาษีให้เสร็จสิ้นเสียก่อน หรือในกรณีที่ผู้ผลิตได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อการส่งออก ในช่วงที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บนนี้เสียก่อนเช่นกัน
พันธบัตร , ตราสารหนี้ = Bond
ตราสารทางการเงินที่ออกโดย รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น โดยวิธีนำตราสารดังกล่าวออกขาย ผู้ออกพันธบัตรนั้น สัญญาว่าจะจ่ายเงินกลับคืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือเมื่อกำหนด พันธบัตรเป็นตราสารที่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือกันได้ พันธบัตรที่ออกโดยเอกชนนิยมเรียกว่า หุ้นกู้ ซึ่งหุ้นกู้บางประเภทสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในภายหลัง ตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้
ตลาดมืด = Black market
ตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าในราคาที่ผิดกฎหมาย เกิดจากผลการควบคุมราคาสินค้าโดยรัฐบาล เช่น การกำหนดราคาขั้นสูงของสินค้า อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น ในกรณีนี้จะก่อให้เกิดการขาดแคลนหรือเกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้น หากไม่สามารถควบคุมหรือควบคุมได้ไม่ทั่วถึงจะทำให้มีการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกันในราคาหรืออัตราที่สูงกว่ารัฐบาลกำหนดไว้
เงินเฟ้อคืบคลาน = Creeping inflation
การสูงขึ้นของระดับราคาโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ซึ่งดูจะไม่รุ่นแรงในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว อาจจะทำให้ระดับราคาทั่วไปเพิ่มขึ้นมากจนอาจจะมีผลให้การลดอำนาจซื้อของเงินลงเรื่อยๆ
ประเทศเจ้าหนี้ = Creditor nation
ประเทศที่มีการลงทุนและให้กู้ยืมเงินแก่ต่างประเทศมากกว่าที่ต่างประเทศมาลงทุน หรือให้กู้ยืมแก่ประเทศนั้น นั่นก็คือ ประเทศที่การกู้ยืมสุทธิหรือเจ้าหนี้สุทธิมีค่าเป็นบวก ตัวอย่างเช่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก
การจำกัดสินเชื่อ = Credit restriction
มาตรการที่ใช้จำกัดหรือลดปริมาณการขยายสินเชื่อของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหรือนโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยปราศจากการแทรกแซงโดยตรงใดๆ
การปันส่วนสินเชื่อ = Credit rationing
การจัดสรรการให้สินเชื่อโดยใช้มาตรการที่ไม่ใช่ราคา ในกรณีที่เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดสินเชื่อเมื่ออุปสงค์สำหรับสินเชื่อมากกว่าอุปทานของสินเชื่อจะทำให้ขาดแคลนสินเชื่อ แต่แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามกลไกราคา กลับมีการใช้มาตรการอย่างอื่นผ่านสื่อกลางทางการเงินเพื่อให้สินเชื่อตกแก่บุคคลต่างๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งอาจจะอาศัยการออกพระราชบัญญัติหรือกฏระเบียบอื่นๆ โดยหน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุด
พฤติกรรมผู้บริโภค = Consumer behavior
การตัดสินใจและกระทำการใด ๆ ของผู้บริโภคซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจมูลฐาน เกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่เพื่อการผลิตหรือนำไปขายต่อ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นการศึกษาในแขนงของเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพื่อให้ทราบว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้อหรือบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ อย่างไรภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ
ผู้บริโภค = Consumer
ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการขั้นสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการโดยตรงของบุคคลผู้นั้นโดยทั่วไป ผลที่ได้รับจากการบริโภคคือ อรรถประโยชน์หรือความพอใจ ผู้บริโภคอาจจะเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล ครัวเรือน และอาจหมายถึงรัฐบาลด้วยก็ได้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า การซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจะต้องไม่ใช่เป็นการนำไปผลิตหรือขายต่อ
เกมที่ผลรวมคงที่ = Constant -sum game
การแข่งขันด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ระหว่างคู่แข่งขันที่ทำให้ผลรวมของผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับ มีจำนวนคงที่เสมอไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะใช้กลยุทธ์ใดหรือมีผลได้หรือเสียเท่ากันหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับรวมกันแล้วไม่คงที่ ก็เรียกเกมประเภทนี้ว่าเกมส์ที่ผลรวมไม่คงที่
ตลาดแข่งขัน = Competitive market
ตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อยๆ จำนวนมาก แต่ละรายจะทำการผลิตและขายสินค้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายรายใดมีอิทธิพลเหนือตลาด หรือไม่มีการสมรู้ร่วมคิด เพื่อกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาดได้
กระแสเงินสด = Cash ratio
ปริมาณสุทธิของเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในมือของหน่วยธุรกิจหนึ่งๆ ซึ่งก็คือ จำนวนเงินสดที่ได้รับ ลบด้วยจำนวนเงินสดที่จ่ายไปจากการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง กระแสเงินสดนี้จะแสดงถึงงบรายจ่าย ที่เป็นเงินสดจริงๆ ของกิจการ
การไหลออกของเงินทุน = Capital outflow
การที่เงินทุนของประเทศหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศอื่น เช่น การนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ การลงทุนในหลักทรัพย์ของต่างประเทศ การให้กู้ยืมแก่ต่างประเทศ เมื่อมีการไหลออกของเงินทุนจะมีการบันทึกในด้านรายจ่ายในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ คำที่ตรงกันข้ามกับคำนี้ คือ การไหลเข้าของเงินทุน
การเคลื่อนย้ายทุน = Capital movement
การไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในส่วนของภาคเอกชนและรัฐบาล ทั้งที่เป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม การไหลเข้าออกของเงินทุนนี้มีการบันทึกไว้ในบัญชีเงินทุน ซึ่งเป็นบัญชีย่อยของบัญชีดุลการชำระเงิน
ผลขาดทุนจากมูลค่าทุน = Capital loss
การที่ทรัพย์สินประเภททุนอันได้แก่ บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ มีราคาลดลง ทำให้ราคาที่ขายได้น้อยกว่าราคาที่ซื้อมา ซึ่งเป็นกรณีตรงกันข้ามกับผลกำไรจากมูลค่าทุน
บัญชีการเงิน = Capital and finance account
รายการแสดงการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศของประเทศหนึ่งๆ ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งเงินทุนดังกล่าวอาจเป็นการลงทุนทางตรง หรือทางอ้อม เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้น การฝากเงินกับธนาคารหรือการให้กู้ยืม เป็นต้น บัญชีเงินทุนนี้เป็นบัญชีย่อยบัญชีหนึ่งในบัญชีดุลการชำระเงิน
การสะสมทุน = Capital accumulation
มีความหมายเดียวกันกับคำว่า การสร้างทุน หมายถึงการเพิ่มปริมาณ สินค้าทุน เช่น อาคารโรงงาน เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งเท่ากับการลงทุนมวลรวม ในสินทรัพย์ประเภททุนหักด้วยค่าเสื่อมราคา หรือที่เรียกว่าการลงทุนสุทธิ การสะสมทุนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงความสามารถที่หน่วยผลิตหรือประเทศนั้นจะผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้นในอนาคต
การขาดดุลงบประมาณ = Budget deficit
ภาวะที่รายจ่ายในปีหนึ่งๆ มากกว่ารายได้ในปีนั้น โดยทั่วไปมักจะนำมาใช้อธิบายสถานการณ์ที่รายได้ของรัฐบาลอันได้แก่ รายรับจากภาษี และรายรับอื่นที่รัฐบาลหามาได้มีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ของรัฐบาล ภาวะที่ตรงกันข้ามเรียกว่า การเกินดุลงบประมาณ
นายหน้า = Broker
ผู้เป็นตัวกลางให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน หรือเป็นตัวแทนให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ขายในการซื้อขายสินค้าเงินตรา หรือหลักทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทนจากการทำหน้าที่ดังกล่าวตามสัดส่วนของมูลค่าซื้อขาย การซื้อขายสินค้าบางประเภทหรือบริการบางประเภท กฎหมายกำหนดให้กระทำผ่านนายหน้าเท่านั้น เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น ในกรณีของตลาดหลักทรัพย์ เมื่อพูดถึง "นายหน้า" มักหมายถึง บริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
อุดมภาพแบบพาเรโต = Pareto opimal
ภาวะที่เกิดการจัดสรรทรัพยากรหรือผลผลิตได้ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุดแล้ว เมื่อบรรลุภาวะนี้แล้ว จะไม่สามารถทำให้บุคคลหนึ่งดีขึ้นโดยมิทำให้อีกบุคคลหนึ่งเลวลงได้อีก การจัดสรรทรัพยากรดังกล่าว จึงมีประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวคิดของวิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยกลไกตลาดโดยมีโครงสร้างตลาดแบบแข่งขันสมบูรณ์เท่านั้น
ไม่มีของฟรี = No free lunch
เป็นสำนวนที่บ่งบอกให้ทราบว่า ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่เราได้มาฟรีๆ โดยไม่มีต้นทุนหรือไม่ต้องแลกกับสิ่งอื่น เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด การได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งจะต้องสูญเสียอีกสิ่งหนึ่ง หรือ ได้อย่าง ก็ต้องเสียอย่าง ทุกครั้งที่ตัดสินใจใช้ทรัพยากรจึงต้องมีการ แลกได้แลกเสีย เกิดขึ้นเสมอ
ตลาดผู้ขายน้อยราย = Oligopoly
เป็นรูปแบบหนึ่งของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. จำนวนผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย โดยที่สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด
2. สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้
3. ผู้ผลิตรายใหม่อาจถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด หากมีการแข่งขันในตลาดประเภทนี้ก็มักจะเป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา แต่ก็มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด แบบจำลองที่อธิบายพฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาดประเภทนี้จึงมีหลายแบบ
การตลาด = Marketing
การดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับการนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ จนถึงขั้นการนำสินค้าหรือบริการนั้นไปถึงมือของผู้บริโภค เช่น การสร้างภาพลักษณ์ด้วยมาตรฐานสินค้าและหีบห่อ การโฆษณาชวนเชื่อ การขายและการส่งเสริมการขาย การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ความล้มเหลวตลาด = Market failure
การที่ระบบตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรชนิดหนึ่ง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือบรรลุซึ่งสวัสดิการสูงสุดได้ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. โครงสร้างตลาดเป็นแบบผูกขาด
2. สารสนเทศไม่สมบูรณ์
3. สินค้านั้นเป็นสินค้าสาธารณะ
4.เกิดผลกระทบภายนอก จากการผลิตหรือการบริโภคสินค้าในกรณีที่เกิดความล้มเหลวของตลาด มักมีข้อเสนอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการจัดสรรทรัพยากรนั้นๆ
พลังตลาด = Market forces
แรงผลักดันของอุปทานตลาดที่เกิดจากฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้ขาย และแรงผลักดันของอุปสงค์ตลาด ที่เกิดจากฝ่ายผู้บริโภคหรือผู้ซื้อในตลาดหนึ่งๆ โดยที่แรงผลักดันทั้งสองนี้ ส่งผลให้มีการปรับตัวของระดับราคาและ /หรือปริมาณการซื้อขายจนสมดุลกัน นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกมีความเชื่อว่าในระยะยาวพลังตลาดจะช่วยผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะสมดุลและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการแทรกแซงรัฐบาล
ความพึงใจในสภาพคล่อง = Liquidity preference
ความพอใจที่ปัจเจกบุคคลหรือประชาชนมีต่อปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ในมือ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของความต้องการถือเงินนั้นไว้เพื่อใช้จ่ายในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนั้น คำนี้จึงมีความหมายเดียวกันกับคำว่า อุปสงค์สำหรับเงิน
เศรษฐศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน = Normotive economics
หมายถึงการศึกษาวิเคราะห์และแสดงทัศนะทางเศรษฐศาสตร์ที่อิงอยู่กับบรรทัดฐานหรือวิจารณญาณส่วนบุคคล ดังนั้น สิ่งที่นำเสนอหรืออธิบายจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินว่าปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ ดีหรือไม่ดี และ ควรหรือไม่ควร
เศรษฐศาสตร์เชิงสัจจะ = Positive economics
หมายถึง เศรษฐศาสตร์ที่ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือข้อความที่อธิบายถึงปรากฎการณ์ใดๆ ที่เคยเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ หรือจะเป็นในอนาคต ซึ่งสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของเนื้อหาหรือข้อความนั้นได้โดยอาศัยประจักษ์พยานจากข้อเท็จจริง โดยหลักแล้วเนื้อหาหรือข้อความที่เป็นเศรษศาสตร์เชิงสัจจะจะต้องปราศจากซึ่งวิจารณญาณส่วนบุคคล
ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้าย = Marginal propensity to consume : MPC
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อระดับรายได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหนึ่งหน่วย เช่น ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท การบริโภคเพิ่มขึ้น 80 บาท ค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้ายในที่นี้เท่ากับ 0.8
การแปรรูปกิจการเป็นของรัฐ = Nationalization
การที่รัฐบาลเข้าไปถือครองและควบคุมกิจการที่แต่เดิมเป็นของเอกชนให้มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานโดยรัฐ เหตุผลการแปรรูปกิจการเป็นของรัฐมีหลายประการ เช่น เพื่อป้องกันการผูกขาดในธุรกิจขนาดใหญ่ของเอกชน หรือเข้าไปประคับประคองธุรกิจที่เอกชนดำเนินการแล้วล้มเหลวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้หรือเป็นนโยบายทางการเมืองที่ต้องการให้กิจการต่างๆตกมาเป็นของรัฐ เช่น นโยบายของรัฐบาลในประเทศที่เป็นสังคมนิยม การแปรรูปในอีกลักษณะหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับวิธีนี้ คือ การแปรรูปเป็นของเอกชน
เศรษฐศาสตร์การพัฒนา = Development economics
เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่นำเอาทฤษฎีทางด้านเศรษฐศาสตร์มาอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่างๆ กัน โดยพิจารณาที่ลักษณะและสาเหตุและยังเป็นการศึกษาถึงแนวคิดและปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งนำเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับประเทศด้อยพัฒนาอีกด้วย
การหนีภาษี = Tax evasion
การที่ผู้เสียภาษีพยายามหลบหนีหรือละเว้นหน้าที่ในการเสียภาษีตามข้อบัญญัติของกฎหมาย เพื่อตนเองจะได้ไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน โดยความพยายามนี้ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
การเลี่ยงภาษี = Tax avoidance
วิธีการที่ผู้เสียภาษีพยายามทำให้ตนเองเสียภาษีให้น้อยลงหรือจ่ายภาษีเฉพาะที่จำเป็นโดยไม่ผิดกฎหมายเนื่องจากผู้เสียภาษีได้อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายที่อาจจะยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อกำหนดที่ชัดเจน หรือมีข้อยกเว้นไว้ให้ ต่างจากการหนีภาษีซึ่งมีเจตนาที่จะไม่เสียภาษีทั้งที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมายทุกประการ
Last Updated ( Monday, 09 July 2007 )
การเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป = Tender offer
หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง แจ้งแก่บรรดาผู้ถือหุ้นโดยทั่วไปหรือผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ทราบถึงความประสงค์ที่จะซื้อหุ้นของกิจการหรือบริษัทหนึ่งๆ โดยระบุจำนวนหุ้น ราคาและระยะเวลาที่ต้องการจะรับซื้อไว้อย่างขัดเจน การเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปมักถูกนำมาใช้เมื่อผู้เสนอซื้อต้องการถือหุ้นเพิ่มเติมให้ครบตามสัดส่วนที่ต้องการ หรือเมื่อต้องการจะเข้าไปมีอำนาจควบคุมการบริหาร หรือ การครอบงำกิจการ ในบริษัทหนึ่งๆ โดยปกติแล้วราคาที่เสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปมักจะสูกกว่าราคาตลาด ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้ผู้ถือหุ้นทั่วไปยินดีขายหุ้น นั้นให้แก่ผู้เสนอซื้อ
ตัวแทนถือทรัพย์ = Nominee
บุคคลหรือสถาบันผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในการถือและดูแลหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องมีการโอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องมีการโอนหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนถือหลักทรัพย์ แต่ตัวแทนจะไม่ได้รับประโยชน์ในรูปของดอกเบี้ย จากหลักทรัพย์นั้นเพียงแต่จะได้รับค่าธรรมเนียมในการดูแลตามอัตราที่ได้ตกลงกัน ผู้ดูแลและรักษาทรัพย์สิน (Custodian) เป็นตัวอย่างหนึ่งของตัวแทนถือหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ลงความเห็นว่า ตัวแทนถือหลักทรัพย์อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ส่อในทางทุจริตได้ เช่น การผ่องถ่ายทรัพย์สิน การซุกหุ้น การถือหุ้นเกินกำหนด และการปั่นหุ้น เป็นอาทิ
ความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ = Conflict of interest
ผลประโยชน์ทับซ้อนหมายถึง ความขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ขององค์กรหรือส่วนรวม ตัวอย่างเช่น นักธุรกิจที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจมีความขัดแย้งกันระหว่างผลกำไรของบริษัทที่ตนเองเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ จากการตัดสินใจดำเนินมาตรการบางอย่างผ่านกลไกของรัฐ
หุ้นสามัญ = Common Stock
คือตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทเป็นรายสุดท้ายหลังจากเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นประเภทอื่น ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับอยู่ในรูปเงินปันผล เฉพาะกรณีที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผล ซึ่งได้มาจากกำไรจากการประกอบการ
หุ้นบุริมสิทธิ์ = Preferred Stock
คือตราสารที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของ (Hybrid) ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นอื่นและมีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญแต่หลังเจ้าหนี้
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ = Subordinated Debenture
คือหุ้นกู้ที่มีสิทธิในการได้รับชำระหนี้คืนเป็นอันดับรองจากหุ้นกู้
หุ้นกู้ = Corporate Debenture
คือตราสารทางการเงินที่บริษัททั่วไปออกเพื่อกู้เงินระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) โดยบริษัทผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนดและปกติเป็นการกู้เงินที่ไม่มีหลักประกันแต่บางครั้งก็มีผู้ออกเงินกู้ชนิดมีหลักประกัน
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ = State Enterprise Bond
คือตราสารทางการเงินที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออกเพื่อนกู้ยืมเงินระยะยาว (มากกว่า 1 ปี)
พันธบัตรรัฐบาล = Government Bond
คือตราสารทางการเงินที่รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อนเป็นการกู้เงินระยะยาวมากกว่า 1 ปี มีอายุการชำระเงิน งวดการจ่ายดอกเบี้ย และอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้แน่นอน
บัตรเงินฝาก = Certificate of Deposits: CDs
คือตราสารที่ธนาคารออกให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝาก เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยทั่วไปสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้
ตั๋วสัญญาใช้เงิน = Promissory Note
คือ ตราสารทางการเงิน ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้ ผู้รับเงิน ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศคือ ตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิแอร์เป็นผู้ออกเพื่อนระดมเงินจากประชาชนทั่วไป
ตั๋วแลกเงิน = bill of exchange
คือ ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิแห่งหนี้ มักใช้ในการซื้อสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารโดยทั่วไปสามารุซื้อขายเปลี่ยนมือได้
ตั๋วเงินคลัง = Treasury bill
คือ หลักทรัพย์ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังออกมาเพื่อกู้ยืมระยะสั้น อายุไม่เกิน 1 ปี ในการขายตั๋วเงินคลังการะทรวงการคลังได้มองหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแทน โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อตั๋วเงินคลังได้โดยการประมูลซื้อหรือโดยการเสนอซื้อจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ตราสารหนี้ = Fixed Income Security
คือ ตราสารเพื่อการกู้ยืมเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยผู้กู้หรือผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและมีกำหนดการจ่ายชำระคืนเงินต้นที่แน่นอน ผู้ถือตราสารจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการที่ออกตราสารนั้น
หามาได้แต่ไม่รู้ ผมโง่อังกฤษ มากกกก
การปล่อยเสรี = Liberalization
แนวคิดหรือนโยบายที่เปิดโอกาสให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและการค้าเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีการผูกขาดตัดตอนโดยรายหนึ่งรายใด ในแง่ของการปล่อยเสรีภายในประเทศก็ คือ การยกเลิกระบบผูกขาด ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที ในระดับสากล ก็คือการส่งเสริมการค้าเสรี ลด หรือ ขจัดอุปสรรคหรือข้อกีดขวางทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและไม่ใช่ภาษี
หนี้สิน = Liability
โดยปกติมักหมายถึง หนี้ทางการเงิน คือจำนวนเงินที่บุคคลหรือหน่วยธุรกิจมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลอื่น รายการที่ถือว่าเป็นหนี้สินทางบัญชี ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายและภาษีค้างจ่าย หุ้นกู้ เงินกู้ เป็นต้น
เงินเฟ้อขั้นสูง = Hyperinflation
ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นในอัตราสูงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติ (สูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี ) ถ้าสูงมากๆ เช่น ร้อยละ 100 ต่อปี อาจเรียกว่า เงินเฟ้อย่างรุนแรง
การแปลงหนี้ = Funding
ในความหมายเดิม หมายถึงการเปลี่ยนหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ในปัจจุบันใช้ในความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนสถานะจากการก่อหนี้ในระยะสั้นมาเป็นหนี้ในระยะปานกลางหรือระยะยาวเช่น การเปลี่ยนจากการออกตั๋วแลกเงินมาเป็นการออกพันธบัตร เป็นต้น
ตลาดเสรี = Free market
ตลาดสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยให้พลังของอุปสงค์และอุปทานหรือกลไกตลาด เป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขายอย่างเสรี โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมตลาดเสรีเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี
ราคาล่วงหน้า = Forward price
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ หลักทรัพย์ หรือเงินตรา ที่กำหนดเอาไว้ในการตกลงซื้อขายล่วงหน้า เป็นราคาที่ผู้ซื้อจะต้องจ่าย ณ วันส่งมอบหรือวันที่ได้ตกลงกัน สำหรับราคาล่วงหน้าของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ราคาล่วงหน้าของสิ่งของชนิดเดียวกันอาจแตกต่างกันตามเวลาที่ส่งมอบและการต่อรองของผู้ซื้อขาย และราคานี้มักจะแตกต่างกับราคาซื้อขายทันที ซึ่งเป็นราคาที่ต้องส่งมอบกันในปัจจุบัน
การเชื่อมโยงไปข้างหน้า = Forward linkage
การที่หน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมหนึ่งมีความสัมพันธ์กับหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่นในลักษณะที่ผลผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมดังกล่าว ถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยผลิตหรืออุตสาหกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมทอผ้ามีการเชื่อมโยงไปข้างหน้ายังอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ความสัมพันธ์ในลักษณะตรงกันข้ามนี้เรียกว่า การเชื่อมโยงไปข้างหลัง
อัตราการแลกเปลี่ยนล่วงหน้า = Forward exchange rate
อัตราการแลกเปลี่ยนหรือราคาของเงินตราสกุลหนึ่งๆ กับเงินตราต่างประเทศที่ได้มีการตกลงแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า โดยมีการระบุจำนวนและวันเวลาที่จะส่งมอบกันเป็นที่แน่นอนอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านี้อาจแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่เกิดขึ้น ณ วันซื้อขายเดียวกัน การตกลงซื้อขายเงินตราในอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของนักเก็งกำไรด้วยเช่นกัน
การแปลงสภาพหนี้ = Debt conversion
การออกหุ้นหรือพันธบัตรใหม่เพื่อทดแทนหุ้นหรือพันธบัตรเก่าที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อลดภาระหนี้ให้น้อยลง การแปลงสภาพหนี้ยังหมายถึงการเปลี่ยนหุ้นกู้แปลงสภาพไปเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งทำให้ฐานะของผู้ถือเปลี่ยนจากการเป็นเจ้าหนี้บริษัทไปเป็นเจ้าของบริษัท
หนี้ = Debts
จำนวนเงินหรือทรัพย์สินอื่นจำนวนหนึ่งที่บุคคลหนึ่งมีข้อผูกพันว่า จะจ่ายให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง หนี้อาจเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงิน การซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเงินเชื่อหรือเงินผ่อน เราอาจแบ่งประเภทของหนี้ตามประเภทลูกหนี้ เป็นหนี้สาธารณะ และหนี้เอกชน หรือแบ่งตามแหล่งของผู้เป็นเจ้าหนี้ เป็นหนี้ภายในประเทศ และหนี้ต่างประเทศ
หุ้นกู้ = Debenture
พันธบัตรหรือตราสารหนี้ ระยะยาวที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงินของบริษัทจากเจ้าของเงินทุน หุ้นกู้นี้มักมีการกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนและอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน ไม่ว่าบริษัทจะมีกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ถือจะได้รับการชำระหนี้คืน การออกหุ้นกู้จึงต้องมีมูลค่ารวมไม่เกินทุนที่ชำระแล้วของบริษัท กรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ออกตราสารชนิดนี้นิยม เรียกว่า พันธบัตร
เงินแพง = Dear money
ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยในอดีต เนื่องจากอุปทานของเงินมีน้อยเมื่อเทียบกับอุปสงค์ของความต้องการถือเงิน ภาวะที่ตรงกันข้ามกับเงินแพงเรียกว่า เงินถูก
ต้นทุนค่าเสียหาย = Damage cost
ต้นทุนที่เกิดจากการก่อให้เกิดความเสียหาย โดยปรกติมักใช้จำเพาะกับความเสียหายจากการก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การคิดต้นทุนค่าเสียหายเป็นตัวเงินค่อนข้างจะยุ่งยากในทางปฏิบัติ เพราะยากต่อการตีค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น การตีค่าความตาย การบาดเจ็บ การสูญเสียป่าไม้ สัตว์ป่า หรือแหล่งน้ำ เป็นต้น ต้นทุนค่าเสียหาย
การปรับภาษีที่พรมแดน = Bonder tax adjustment
การเพิ่มหรือลดอัตราภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เรียกเก็บจากสินค้าออกของประเทศภาคีตามกฎของGATT ทั้งนี้ก็เพื่อให้ระบบภาษีที่จัดเก็บภายในประเทศไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าผ่านพรมแดนของประเทศนั้น ๆ
ผลตอบเเทนจากพันธบัตร = Bond yield
ผลตอบแทนที่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับจากพันธบัตรนั้น ผลตอบแทนที่ได้อาจจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด หรือผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขายในกรณีที่ผู้ถือขายพันธบัตรนั้นให้แก่บุคคลอื่น ผลตอบแทนส่วนหลังนี้เรียกว่า ผลกำไรจากมูลค่าทุน
ตลาดพันธบัตร = Bond market
สถานที่หรือช่องทางในการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนพันธบัตร อาจจะมีการตกลงซื้อขายพันธบัตรนั้นเฉพาะภายในประเทศโดยผ่านตัวแทนนายหน้า ที่ทำหน้าที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรืออาจมีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ ตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงคือ ตลาดพันธบัตรยูโร
คลังสินค้าทัณฑ์บน = Bonded warehouse
สถานที่ที่ใช้เก็บสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยที่ยังไม่มีการชำระภาษีนำเข้า ทั้งนี้ก็เพื่อรอให้มีการชำระภาษีให้เสร็จสิ้นเสียก่อน หรือในกรณีที่ผู้ผลิตได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อการส่งออก ในช่วงที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านคลังสินค้าทัณฑ์บนนี้เสียก่อนเช่นกัน
พันธบัตร , ตราสารหนี้ = Bond
ตราสารทางการเงินที่ออกโดย รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น โดยวิธีนำตราสารดังกล่าวออกขาย ผู้ออกพันธบัตรนั้น สัญญาว่าจะจ่ายเงินกลับคืนพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือเมื่อกำหนด พันธบัตรเป็นตราสารที่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือกันได้ พันธบัตรที่ออกโดยเอกชนนิยมเรียกว่า หุ้นกู้ ซึ่งหุ้นกู้บางประเภทสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในภายหลัง ตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้
ตลาดมืด = Black market
ตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าในราคาที่ผิดกฎหมาย เกิดจากผลการควบคุมราคาสินค้าโดยรัฐบาล เช่น การกำหนดราคาขั้นสูงของสินค้า อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นต้น ในกรณีนี้จะก่อให้เกิดการขาดแคลนหรือเกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้น หากไม่สามารถควบคุมหรือควบคุมได้ไม่ทั่วถึงจะทำให้มีการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกันในราคาหรืออัตราที่สูงกว่ารัฐบาลกำหนดไว้
เงินเฟ้อคืบคลาน = Creeping inflation
การสูงขึ้นของระดับราคาโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ซึ่งดูจะไม่รุ่นแรงในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว อาจจะทำให้ระดับราคาทั่วไปเพิ่มขึ้นมากจนอาจจะมีผลให้การลดอำนาจซื้อของเงินลงเรื่อยๆ
ประเทศเจ้าหนี้ = Creditor nation
ประเทศที่มีการลงทุนและให้กู้ยืมเงินแก่ต่างประเทศมากกว่าที่ต่างประเทศมาลงทุน หรือให้กู้ยืมแก่ประเทศนั้น นั่นก็คือ ประเทศที่การกู้ยืมสุทธิหรือเจ้าหนี้สุทธิมีค่าเป็นบวก ตัวอย่างเช่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก
การจำกัดสินเชื่อ = Credit restriction
มาตรการที่ใช้จำกัดหรือลดปริมาณการขยายสินเชื่อของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านตลาดหรือนโยบายอัตราดอกเบี้ย โดยปราศจากการแทรกแซงโดยตรงใดๆ
การปันส่วนสินเชื่อ = Credit rationing
การจัดสรรการให้สินเชื่อโดยใช้มาตรการที่ไม่ใช่ราคา ในกรณีที่เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดสินเชื่อเมื่ออุปสงค์สำหรับสินเชื่อมากกว่าอุปทานของสินเชื่อจะทำให้ขาดแคลนสินเชื่อ แต่แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามกลไกราคา กลับมีการใช้มาตรการอย่างอื่นผ่านสื่อกลางทางการเงินเพื่อให้สินเชื่อตกแก่บุคคลต่างๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งอาจจะอาศัยการออกพระราชบัญญัติหรือกฏระเบียบอื่นๆ โดยหน่วยงานที่มีอำนาจสูงสุด
พฤติกรรมผู้บริโภค = Consumer behavior
การตัดสินใจและกระทำการใด ๆ ของผู้บริโภคซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจมูลฐาน เกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่เพื่อการผลิตหรือนำไปขายต่อ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นการศึกษาในแขนงของเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพื่อให้ทราบว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้อหรือบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ อย่างไรภายใต้สภาวการณ์ต่างๆ
ผู้บริโภค = Consumer
ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการขั้นสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการโดยตรงของบุคคลผู้นั้นโดยทั่วไป ผลที่ได้รับจากการบริโภคคือ อรรถประโยชน์หรือความพอใจ ผู้บริโภคอาจจะเป็นปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล ครัวเรือน และอาจหมายถึงรัฐบาลด้วยก็ได้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า การซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจะต้องไม่ใช่เป็นการนำไปผลิตหรือขายต่อ
เกมที่ผลรวมคงที่ = Constant -sum game
การแข่งขันด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ระหว่างคู่แข่งขันที่ทำให้ผลรวมของผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับ มีจำนวนคงที่เสมอไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะใช้กลยุทธ์ใดหรือมีผลได้หรือเสียเท่ากันหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าผลตอบแทนที่คู่แข่งขันได้รับรวมกันแล้วไม่คงที่ ก็เรียกเกมประเภทนี้ว่าเกมส์ที่ผลรวมไม่คงที่
ตลาดแข่งขัน = Competitive market
ตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายรายย่อยๆ จำนวนมาก แต่ละรายจะทำการผลิตและขายสินค้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายรายใดมีอิทธิพลเหนือตลาด หรือไม่มีการสมรู้ร่วมคิด เพื่อกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาดได้
กระแสเงินสด = Cash ratio
ปริมาณสุทธิของเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในมือของหน่วยธุรกิจหนึ่งๆ ซึ่งก็คือ จำนวนเงินสดที่ได้รับ ลบด้วยจำนวนเงินสดที่จ่ายไปจากการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง กระแสเงินสดนี้จะแสดงถึงงบรายจ่าย ที่เป็นเงินสดจริงๆ ของกิจการ
การไหลออกของเงินทุน = Capital outflow
การที่เงินทุนของประเทศหนึ่งมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศอื่น เช่น การนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ การลงทุนในหลักทรัพย์ของต่างประเทศ การให้กู้ยืมแก่ต่างประเทศ เมื่อมีการไหลออกของเงินทุนจะมีการบันทึกในด้านรายจ่ายในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ คำที่ตรงกันข้ามกับคำนี้ คือ การไหลเข้าของเงินทุน
การเคลื่อนย้ายทุน = Capital movement
การไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในส่วนของภาคเอกชนและรัฐบาล ทั้งที่เป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม การไหลเข้าออกของเงินทุนนี้มีการบันทึกไว้ในบัญชีเงินทุน ซึ่งเป็นบัญชีย่อยของบัญชีดุลการชำระเงิน
ผลขาดทุนจากมูลค่าทุน = Capital loss
การที่ทรัพย์สินประเภททุนอันได้แก่ บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ มีราคาลดลง ทำให้ราคาที่ขายได้น้อยกว่าราคาที่ซื้อมา ซึ่งเป็นกรณีตรงกันข้ามกับผลกำไรจากมูลค่าทุน
บัญชีการเงิน = Capital and finance account
รายการแสดงการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศของประเทศหนึ่งๆ ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งเงินทุนดังกล่าวอาจเป็นการลงทุนทางตรง หรือทางอ้อม เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้น การฝากเงินกับธนาคารหรือการให้กู้ยืม เป็นต้น บัญชีเงินทุนนี้เป็นบัญชีย่อยบัญชีหนึ่งในบัญชีดุลการชำระเงิน
การสะสมทุน = Capital accumulation
มีความหมายเดียวกันกับคำว่า การสร้างทุน หมายถึงการเพิ่มปริมาณ สินค้าทุน เช่น อาคารโรงงาน เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งเท่ากับการลงทุนมวลรวม ในสินทรัพย์ประเภททุนหักด้วยค่าเสื่อมราคา หรือที่เรียกว่าการลงทุนสุทธิ การสะสมทุนที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงความสามารถที่หน่วยผลิตหรือประเทศนั้นจะผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้นในอนาคต
การขาดดุลงบประมาณ = Budget deficit
ภาวะที่รายจ่ายในปีหนึ่งๆ มากกว่ารายได้ในปีนั้น โดยทั่วไปมักจะนำมาใช้อธิบายสถานการณ์ที่รายได้ของรัฐบาลอันได้แก่ รายรับจากภาษี และรายรับอื่นที่รัฐบาลหามาได้มีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ของรัฐบาล ภาวะที่ตรงกันข้ามเรียกว่า การเกินดุลงบประมาณ
นายหน้า = Broker
ผู้เป็นตัวกลางให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน หรือเป็นตัวแทนให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ขายในการซื้อขายสินค้าเงินตรา หรือหลักทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทนจากการทำหน้าที่ดังกล่าวตามสัดส่วนของมูลค่าซื้อขาย การซื้อขายสินค้าบางประเภทหรือบริการบางประเภท กฎหมายกำหนดให้กระทำผ่านนายหน้าเท่านั้น เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น ในกรณีของตลาดหลักทรัพย์ เมื่อพูดถึง "นายหน้า" มักหมายถึง บริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์
อุดมภาพแบบพาเรโต = Pareto opimal
ภาวะที่เกิดการจัดสรรทรัพยากรหรือผลผลิตได้ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุดแล้ว เมื่อบรรลุภาวะนี้แล้ว จะไม่สามารถทำให้บุคคลหนึ่งดีขึ้นโดยมิทำให้อีกบุคคลหนึ่งเลวลงได้อีก การจัดสรรทรัพยากรดังกล่าว จึงมีประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวคิดของวิลเฟรโด พาเรโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียน ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยกลไกตลาดโดยมีโครงสร้างตลาดแบบแข่งขันสมบูรณ์เท่านั้น
ไม่มีของฟรี = No free lunch
เป็นสำนวนที่บ่งบอกให้ทราบว่า ในโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดที่เราได้มาฟรีๆ โดยไม่มีต้นทุนหรือไม่ต้องแลกกับสิ่งอื่น เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด การได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งจะต้องสูญเสียอีกสิ่งหนึ่ง หรือ ได้อย่าง ก็ต้องเสียอย่าง ทุกครั้งที่ตัดสินใจใช้ทรัพยากรจึงต้องมีการ แลกได้แลกเสีย เกิดขึ้นเสมอ
ตลาดผู้ขายน้อยราย = Oligopoly
เป็นรูปแบบหนึ่งของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยรายมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. จำนวนผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย โดยที่สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด
2. สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้
3. ผู้ผลิตรายใหม่อาจถูกกีดกันหรือมีอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาด หากมีการแข่งขันในตลาดประเภทนี้ก็มักจะเป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา แต่ก็มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายแต่ละรายร่วมมือกัน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาหรือปริมาณสินค้าในตลาด แบบจำลองที่อธิบายพฤติกรรมของหน่วยผลิตในตลาดประเภทนี้จึงมีหลายแบบ
การตลาด = Marketing
การดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับการนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ จนถึงขั้นการนำสินค้าหรือบริการนั้นไปถึงมือของผู้บริโภค เช่น การสร้างภาพลักษณ์ด้วยมาตรฐานสินค้าและหีบห่อ การโฆษณาชวนเชื่อ การขายและการส่งเสริมการขาย การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์
ความล้มเหลวตลาด = Market failure
การที่ระบบตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรชนิดหนึ่ง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดหรือบรรลุซึ่งสวัสดิการสูงสุดได้ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1. โครงสร้างตลาดเป็นแบบผูกขาด
2. สารสนเทศไม่สมบูรณ์
3. สินค้านั้นเป็นสินค้าสาธารณะ
4.เกิดผลกระทบภายนอก จากการผลิตหรือการบริโภคสินค้าในกรณีที่เกิดความล้มเหลวของตลาด มักมีข้อเสนอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการจัดสรรทรัพยากรนั้นๆ
พลังตลาด = Market forces
แรงผลักดันของอุปทานตลาดที่เกิดจากฝ่ายผู้ผลิตหรือผู้ขาย และแรงผลักดันของอุปสงค์ตลาด ที่เกิดจากฝ่ายผู้บริโภคหรือผู้ซื้อในตลาดหนึ่งๆ โดยที่แรงผลักดันทั้งสองนี้ ส่งผลให้มีการปรับตัวของระดับราคาและ /หรือปริมาณการซื้อขายจนสมดุลกัน นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกมีความเชื่อว่าในระยะยาวพลังตลาดจะช่วยผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะสมดุลและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการแทรกแซงรัฐบาล
ความพึงใจในสภาพคล่อง = Liquidity preference
ความพอใจที่ปัจเจกบุคคลหรือประชาชนมีต่อปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ในมือ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของความต้องการถือเงินนั้นไว้เพื่อใช้จ่ายในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนั้น คำนี้จึงมีความหมายเดียวกันกับคำว่า อุปสงค์สำหรับเงิน
เศรษฐศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน = Normotive economics
หมายถึงการศึกษาวิเคราะห์และแสดงทัศนะทางเศรษฐศาสตร์ที่อิงอยู่กับบรรทัดฐานหรือวิจารณญาณส่วนบุคคล ดังนั้น สิ่งที่นำเสนอหรืออธิบายจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินว่าปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ ดีหรือไม่ดี และ ควรหรือไม่ควร
เศรษฐศาสตร์เชิงสัจจะ = Positive economics
หมายถึง เศรษฐศาสตร์ที่ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือข้อความที่อธิบายถึงปรากฎการณ์ใดๆ ที่เคยเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ หรือจะเป็นในอนาคต ซึ่งสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของเนื้อหาหรือข้อความนั้นได้โดยอาศัยประจักษ์พยานจากข้อเท็จจริง โดยหลักแล้วเนื้อหาหรือข้อความที่เป็นเศรษศาสตร์เชิงสัจจะจะต้องปราศจากซึ่งวิจารณญาณส่วนบุคคล
ความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้าย = Marginal propensity to consume : MPC
หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อระดับรายได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหนึ่งหน่วย เช่น ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท การบริโภคเพิ่มขึ้น 80 บาท ค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้ายในที่นี้เท่ากับ 0.8
การแปรรูปกิจการเป็นของรัฐ = Nationalization
การที่รัฐบาลเข้าไปถือครองและควบคุมกิจการที่แต่เดิมเป็นของเอกชนให้มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานโดยรัฐ เหตุผลการแปรรูปกิจการเป็นของรัฐมีหลายประการ เช่น เพื่อป้องกันการผูกขาดในธุรกิจขนาดใหญ่ของเอกชน หรือเข้าไปประคับประคองธุรกิจที่เอกชนดำเนินการแล้วล้มเหลวให้สามารถดำเนินการต่อไปได้หรือเป็นนโยบายทางการเมืองที่ต้องการให้กิจการต่างๆตกมาเป็นของรัฐ เช่น นโยบายของรัฐบาลในประเทศที่เป็นสังคมนิยม การแปรรูปในอีกลักษณะหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับวิธีนี้ คือ การแปรรูปเป็นของเอกชน
เศรษฐศาสตร์การพัฒนา = Development economics
เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่นำเอาทฤษฎีทางด้านเศรษฐศาสตร์มาอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่างๆ กัน โดยพิจารณาที่ลักษณะและสาเหตุและยังเป็นการศึกษาถึงแนวคิดและปัจจัยที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งนำเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับประเทศด้อยพัฒนาอีกด้วย
การหนีภาษี = Tax evasion
การที่ผู้เสียภาษีพยายามหลบหนีหรือละเว้นหน้าที่ในการเสียภาษีตามข้อบัญญัติของกฎหมาย เพื่อตนเองจะได้ไม่ต้องเสียภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน โดยความพยายามนี้ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
การเลี่ยงภาษี = Tax avoidance
วิธีการที่ผู้เสียภาษีพยายามทำให้ตนเองเสียภาษีให้น้อยลงหรือจ่ายภาษีเฉพาะที่จำเป็นโดยไม่ผิดกฎหมายเนื่องจากผู้เสียภาษีได้อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายที่อาจจะยังไม่มีข้อห้ามหรือข้อกำหนดที่ชัดเจน หรือมีข้อยกเว้นไว้ให้ ต่างจากการหนีภาษีซึ่งมีเจตนาที่จะไม่เสียภาษีทั้งที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามข้อกำหนดของกฎหมายทุกประการ
Last Updated ( Monday, 09 July 2007 )
การเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป = Tender offer
หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง แจ้งแก่บรรดาผู้ถือหุ้นโดยทั่วไปหรือผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ทราบถึงความประสงค์ที่จะซื้อหุ้นของกิจการหรือบริษัทหนึ่งๆ โดยระบุจำนวนหุ้น ราคาและระยะเวลาที่ต้องการจะรับซื้อไว้อย่างขัดเจน การเสนอซื้อต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปมักถูกนำมาใช้เมื่อผู้เสนอซื้อต้องการถือหุ้นเพิ่มเติมให้ครบตามสัดส่วนที่ต้องการ หรือเมื่อต้องการจะเข้าไปมีอำนาจควบคุมการบริหาร หรือ การครอบงำกิจการ ในบริษัทหนึ่งๆ โดยปกติแล้วราคาที่เสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไปมักจะสูกกว่าราคาตลาด ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้ผู้ถือหุ้นทั่วไปยินดีขายหุ้น นั้นให้แก่ผู้เสนอซื้อ
ตัวแทนถือทรัพย์ = Nominee
บุคคลหรือสถาบันผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนในการถือและดูแลหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องมีการโอนหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นใดแทนผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องมีการโอนหลักทรัพย์ให้แก่ตัวแทนถือหลักทรัพย์ แต่ตัวแทนจะไม่ได้รับประโยชน์ในรูปของดอกเบี้ย จากหลักทรัพย์นั้นเพียงแต่จะได้รับค่าธรรมเนียมในการดูแลตามอัตราที่ได้ตกลงกัน ผู้ดูแลและรักษาทรัพย์สิน (Custodian) เป็นตัวอย่างหนึ่งของตัวแทนถือหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ลงความเห็นว่า ตัวแทนถือหลักทรัพย์อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ส่อในทางทุจริตได้ เช่น การผ่องถ่ายทรัพย์สิน การซุกหุ้น การถือหุ้นเกินกำหนด และการปั่นหุ้น เป็นอาทิ
ความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ = Conflict of interest
ผลประโยชน์ทับซ้อนหมายถึง ความขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ขององค์กรหรือส่วนรวม ตัวอย่างเช่น นักธุรกิจที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจมีความขัดแย้งกันระหว่างผลกำไรของบริษัทที่ตนเองเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติ จากการตัดสินใจดำเนินมาตรการบางอย่างผ่านกลไกของรัฐ
หุ้นสามัญ = Common Stock
คือตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทเป็นรายสุดท้ายหลังจากเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นประเภทอื่น ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญได้รับอยู่ในรูปเงินปันผล เฉพาะกรณีที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผล ซึ่งได้มาจากกำไรจากการประกอบการ
หุ้นบุริมสิทธิ์ = Preferred Stock
คือตราสารที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของ (Hybrid) ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นอื่นและมีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญแต่หลังเจ้าหนี้
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ = Subordinated Debenture
คือหุ้นกู้ที่มีสิทธิในการได้รับชำระหนี้คืนเป็นอันดับรองจากหุ้นกู้
หุ้นกู้ = Corporate Debenture
คือตราสารทางการเงินที่บริษัททั่วไปออกเพื่อกู้เงินระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) โดยบริษัทผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนดและปกติเป็นการกู้เงินที่ไม่มีหลักประกันแต่บางครั้งก็มีผู้ออกเงินกู้ชนิดมีหลักประกัน
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ = State Enterprise Bond
คือตราสารทางการเงินที่รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออกเพื่อนกู้ยืมเงินระยะยาว (มากกว่า 1 ปี)
พันธบัตรรัฐบาล = Government Bond
คือตราสารทางการเงินที่รัฐบาล โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเพื่อนเป็นการกู้เงินระยะยาวมากกว่า 1 ปี มีอายุการชำระเงิน งวดการจ่ายดอกเบี้ย และอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้แน่นอน
บัตรเงินฝาก = Certificate of Deposits: CDs
คือตราสารที่ธนาคารออกให้แก่ผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงินและเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝาก เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยทั่วไปสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้
ตั๋วสัญญาใช้เงิน = Promissory Note
คือ ตราสารทางการเงิน ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้ ผู้รับเงิน ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศคือ ตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิแอร์เป็นผู้ออกเพื่อนระดมเงินจากประชาชนทั่วไป
ตั๋วแลกเงิน = bill of exchange
คือ ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิแห่งหนี้ มักใช้ในการซื้อสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารโดยทั่วไปสามารุซื้อขายเปลี่ยนมือได้
ตั๋วเงินคลัง = Treasury bill
คือ หลักทรัพย์ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังออกมาเพื่อกู้ยืมระยะสั้น อายุไม่เกิน 1 ปี ในการขายตั๋วเงินคลังการะทรวงการคลังได้มองหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการแทน โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อตั๋วเงินคลังได้โดยการประมูลซื้อหรือโดยการเสนอซื้อจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ตราสารหนี้ = Fixed Income Security
คือ ตราสารเพื่อการกู้ยืมเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวโดยผู้กู้หรือผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยและมีกำหนดการจ่ายชำระคืนเงินต้นที่แน่นอน ผู้ถือตราสารจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการที่ออกตราสารนั้น
หามาได้แต่ไม่รู้ ผมโง่อังกฤษ มากกกก
Don't have destiny ,have only intention !
- Flashy
- Verified User
- โพสต์: 295
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนพี่ๆหน่อยครับพอดีจะเข้าเศรษฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์
โพสต์ที่ 5
โอ้ววว นานๆจะเจอเศรษฐศาสตร์ มธ.
พี่ติดสอบตรงเข้ามาครับ แต่ตอนนี้อยู่ปี4 แล้ว (แก่)
แต่ดูเหมือนว่าน้องจะเตรียมตัวดีกว่าพี่ตอนนั้นซะอีก
คณิตศาสตร์ = เข้าใจแนวข้อสอบถูกต้องแล้วครับ ตอนนั้นพี่เตรียมตัว คือ ทำข้อสอบเอนทรานย้อนหลัง หลายๆปี เอาง่ายๆว่า ความรู้คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ถ้าปึ้ก ก็ทำได้
ข้อสอบเป็นอัตนัย เขียนแสดงวิธีทำ ลายมืออ่านออกง่าย และต้องเคลียร์นะ (คิดซะว่าคนตรวจไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์มาก่อน)
จำได้ว่ามีข้อนึง เป็นข้อปราบเซียน ยากมากๆ ทำไม่ได้ ต้องปล่อยโล่ง
คณิตศาสตร์สำคัญมาก ต้องทำให้ได้มากที่สุด เค้าวัดกันตรงนี้
อังกฤษ = จายากไปไหน เกินความรู้เด็กม.ปลาย อย่างพี่ (ทำได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่ต้องซีเรียสมาก คนอื่นทำไม่ได้เยอะ) พี่ก็ทำไม่ค่อยได้ อาศัยเอาศัพท์ง่ายๆที่รู้ มาปะติดปะต่อ ให้พอเป็นเรื่องราว ก็พอไปได้บ้าง
ไทย = ย่อความ - เค้าจามีโจทย์มาให้ 3 บรรทัด แล้วเว้นที่ว่างให้เราย่อ ประมาณ 2 บรรทัด ...จำได้ว่าตอนนั้นยังย่อความไม่เป็นเลย ไม่รู้ผ่านมาได้ไง
ส่วนเรียงความ จำได้ว่า หัวข้อเป็นเรื่องทั่วไปนะ (เป็นประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับสังคม ช่วงก่อนสอบ) ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์
เค้าแค่อยากวัดลำดับความคิด การใช้เหตุผลของเรา
ส่วนคำศัพท์เศรษฐศาสตร์ พี่คิดว่า เค้าน่าจะเอาแค่คำที่เราเรียนช่วง ม.ปลาย นะ
แต่พี่ก็ไม่รับประกัน ว่าเค้าจะเปลี่ยนแนวข้อสอบยังไงรึเปล่า (ผ่านมา4ปีแล้ว)
เอาเป็นว่า ทำให้เต็มที่ ดีที่สุด แบ่งเวลากับข้อสอบให้ดี
ได้ข่าวว่า อีกไม่กี่วันจะสอบแล้ว (พี่ก็สอบ final ช่วงนี้เหมือนกัน)
โชคดีนะครับ ^^
พี่ติดสอบตรงเข้ามาครับ แต่ตอนนี้อยู่ปี4 แล้ว (แก่)
แต่ดูเหมือนว่าน้องจะเตรียมตัวดีกว่าพี่ตอนนั้นซะอีก
คณิตศาสตร์ = เข้าใจแนวข้อสอบถูกต้องแล้วครับ ตอนนั้นพี่เตรียมตัว คือ ทำข้อสอบเอนทรานย้อนหลัง หลายๆปี เอาง่ายๆว่า ความรู้คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ถ้าปึ้ก ก็ทำได้
ข้อสอบเป็นอัตนัย เขียนแสดงวิธีทำ ลายมืออ่านออกง่าย และต้องเคลียร์นะ (คิดซะว่าคนตรวจไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์มาก่อน)
จำได้ว่ามีข้อนึง เป็นข้อปราบเซียน ยากมากๆ ทำไม่ได้ ต้องปล่อยโล่ง
คณิตศาสตร์สำคัญมาก ต้องทำให้ได้มากที่สุด เค้าวัดกันตรงนี้
อังกฤษ = จายากไปไหน เกินความรู้เด็กม.ปลาย อย่างพี่ (ทำได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่ต้องซีเรียสมาก คนอื่นทำไม่ได้เยอะ) พี่ก็ทำไม่ค่อยได้ อาศัยเอาศัพท์ง่ายๆที่รู้ มาปะติดปะต่อ ให้พอเป็นเรื่องราว ก็พอไปได้บ้าง
ไทย = ย่อความ - เค้าจามีโจทย์มาให้ 3 บรรทัด แล้วเว้นที่ว่างให้เราย่อ ประมาณ 2 บรรทัด ...จำได้ว่าตอนนั้นยังย่อความไม่เป็นเลย ไม่รู้ผ่านมาได้ไง
ส่วนเรียงความ จำได้ว่า หัวข้อเป็นเรื่องทั่วไปนะ (เป็นประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับสังคม ช่วงก่อนสอบ) ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์
เค้าแค่อยากวัดลำดับความคิด การใช้เหตุผลของเรา
ส่วนคำศัพท์เศรษฐศาสตร์ พี่คิดว่า เค้าน่าจะเอาแค่คำที่เราเรียนช่วง ม.ปลาย นะ
แต่พี่ก็ไม่รับประกัน ว่าเค้าจะเปลี่ยนแนวข้อสอบยังไงรึเปล่า (ผ่านมา4ปีแล้ว)
เอาเป็นว่า ทำให้เต็มที่ ดีที่สุด แบ่งเวลากับข้อสอบให้ดี
ได้ข่าวว่า อีกไม่กี่วันจะสอบแล้ว (พี่ก็สอบ final ช่วงนี้เหมือนกัน)
โชคดีนะครับ ^^
-
- Verified User
- โพสต์: 30
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนพี่ๆหน่อยครับพอดีจะเข้าเศรษฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณณ ครับบFlashy เขียน:โอ้ววว นานๆจะเจอเศรษฐศาสตร์ มธ.
พี่ติดสอบตรงเข้ามาครับ แต่ตอนนี้อยู่ปี4 แล้ว (แก่)
แต่ดูเหมือนว่าน้องจะเตรียมตัวดีกว่าพี่ตอนนั้นซะอีก
คณิตศาสตร์ = เข้าใจแนวข้อสอบถูกต้องแล้วครับ ตอนนั้นพี่เตรียมตัว คือ ทำข้อสอบเอนทรานย้อนหลัง หลายๆปี เอาง่ายๆว่า ความรู้คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ถ้าปึ้ก ก็ทำได้
ข้อสอบเป็นอัตนัย เขียนแสดงวิธีทำ ลายมืออ่านออกง่าย และต้องเคลียร์นะ (คิดซะว่าคนตรวจไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์มาก่อน)
จำได้ว่ามีข้อนึง เป็นข้อปราบเซียน ยากมากๆ ทำไม่ได้ ต้องปล่อยโล่ง
คณิตศาสตร์สำคัญมาก ต้องทำให้ได้มากที่สุด เค้าวัดกันตรงนี้
อังกฤษ = จายากไปไหน เกินความรู้เด็กม.ปลาย อย่างพี่ (ทำได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่ต้องซีเรียสมาก คนอื่นทำไม่ได้เยอะ) พี่ก็ทำไม่ค่อยได้ อาศัยเอาศัพท์ง่ายๆที่รู้ มาปะติดปะต่อ ให้พอเป็นเรื่องราว ก็พอไปได้บ้าง
ไทย = ย่อความ - เค้าจามีโจทย์มาให้ 3 บรรทัด แล้วเว้นที่ว่างให้เราย่อ ประมาณ 2 บรรทัด ...จำได้ว่าตอนนั้นยังย่อความไม่เป็นเลย ไม่รู้ผ่านมาได้ไง
ส่วนเรียงความ จำได้ว่า หัวข้อเป็นเรื่องทั่วไปนะ (เป็นประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับสังคม ช่วงก่อนสอบ) ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์
เค้าแค่อยากวัดลำดับความคิด การใช้เหตุผลของเรา
ส่วนคำศัพท์เศรษฐศาสตร์ พี่คิดว่า เค้าน่าจะเอาแค่คำที่เราเรียนช่วง ม.ปลาย นะ
แต่พี่ก็ไม่รับประกัน ว่าเค้าจะเปลี่ยนแนวข้อสอบยังไงรึเปล่า (ผ่านมา4ปีแล้ว)
เอาเป็นว่า ทำให้เต็มที่ ดีที่สุด แบ่งเวลากับข้อสอบให้ดี
ได้ข่าวว่า อีกไม่กี่วันจะสอบแล้ว (พี่ก็สอบ final ช่วงนี้เหมือนกัน)
โชคดีนะครับ ^^
Don't have destiny ,have only intention !
-
- Verified User
- โพสต์: 45
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนพี่ๆหน่อยครับพอดีจะเข้าเศรษฐศาสตร์ม.ธรรมศาสตร์
โพสต์ที่ 7
ครับ มาตอบช้าไปป่าวหว่า.. เอาหน่า น้องยังไม่สอบตรง ฮ่าๆ
ปีอยู่ปี 1 สอบตรงเข้าปีที่แล้วเลย
คณิตศาสตร์นะ ตอนพี่สอบ ก็กล้าบอกเลยว่า เน้นแคลคูลัส อินทิเกรต สถิติเป็นสำคัญเลย เลขมันจะมี 2 ส่วนนะ ที่เป็นช้อยกับที่เป็นเขียนแสดงวิธีทำ
ช้อย นั้น ก็เป็นเลขทั่วไปออกรวมๆมา แต่ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ที่จำได้ คือ เซต log ฟังก์ชั่น ความน่าจะเป็น สถิติ บลาๆๆ ประมาณนี้ครับเป็นเนื้อหารวมๆ แต่จะออกพวกเวกเตอร์หรือตรีโกณน้อย อาจจะมีสถิติ ที่หลายข้อ รวมทั้งความน่าจะเป็นและก็เซต มี 30 ข้อ ถ้าน้องอ่านจะเห็นว่า มันตอบถูกได้ 3 ตอบ ผิดลบ 1 คะแนน เท่ากับ 90 คะแนน
ส่วนปรนัยนั้น พี่ขอให้น้องเน้น part นี้มากๆครับ เพราะ มันมี 6 ข้อ แต่ข้อละ 20 คะแนน มันมีคะแนนถึง 120 คะแนนเลย ปีที่แล้ว พี่เน้นแสดงวิธีทำมากๆ ส่วนเนื้อหาที่ออก ก็จะเป็น สถิติ แคล แล้วที่ต้องไปเตรียมมาซึ่งพี่ว่าออกชัวๆ คือ metric เรื่องกฏเคลเมอร์ นั่นแหละ ประมานนั้นนะ
ส่วนอังกฤษก็แนวๆ tu get แต่จะออก article ที่เน้นไปด้านเศรษฐกิจนะ
ส่วนไทยก็เขียนย่อความ สรุปความธรรมดา
ดังนั้นทำเลขครับ ทำเลขให้ได้ โอกาสติดสูงมากๆ
ปล. พี่กล้าบอกว่าเลขมันไม่ยากขนาด PAT1 ครับ
ขอให้เนื้อหาพื้นฐานแ่น่นๆ ก็ทำได้แล้ว ทำโจทย์แหละเนอะ
ขอให้โชคดีนะคร้าบบ
ปีอยู่ปี 1 สอบตรงเข้าปีที่แล้วเลย
คณิตศาสตร์นะ ตอนพี่สอบ ก็กล้าบอกเลยว่า เน้นแคลคูลัส อินทิเกรต สถิติเป็นสำคัญเลย เลขมันจะมี 2 ส่วนนะ ที่เป็นช้อยกับที่เป็นเขียนแสดงวิธีทำ
ช้อย นั้น ก็เป็นเลขทั่วไปออกรวมๆมา แต่ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ที่จำได้ คือ เซต log ฟังก์ชั่น ความน่าจะเป็น สถิติ บลาๆๆ ประมาณนี้ครับเป็นเนื้อหารวมๆ แต่จะออกพวกเวกเตอร์หรือตรีโกณน้อย อาจจะมีสถิติ ที่หลายข้อ รวมทั้งความน่าจะเป็นและก็เซต มี 30 ข้อ ถ้าน้องอ่านจะเห็นว่า มันตอบถูกได้ 3 ตอบ ผิดลบ 1 คะแนน เท่ากับ 90 คะแนน
ส่วนปรนัยนั้น พี่ขอให้น้องเน้น part นี้มากๆครับ เพราะ มันมี 6 ข้อ แต่ข้อละ 20 คะแนน มันมีคะแนนถึง 120 คะแนนเลย ปีที่แล้ว พี่เน้นแสดงวิธีทำมากๆ ส่วนเนื้อหาที่ออก ก็จะเป็น สถิติ แคล แล้วที่ต้องไปเตรียมมาซึ่งพี่ว่าออกชัวๆ คือ metric เรื่องกฏเคลเมอร์ นั่นแหละ ประมานนั้นนะ
ส่วนอังกฤษก็แนวๆ tu get แต่จะออก article ที่เน้นไปด้านเศรษฐกิจนะ
ส่วนไทยก็เขียนย่อความ สรุปความธรรมดา
ดังนั้นทำเลขครับ ทำเลขให้ได้ โอกาสติดสูงมากๆ
ปล. พี่กล้าบอกว่าเลขมันไม่ยากขนาด PAT1 ครับ
ขอให้เนื้อหาพื้นฐานแ่น่นๆ ก็ทำได้แล้ว ทำโจทย์แหละเนอะ
ขอให้โชคดีนะคร้าบบ