เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีใครอ่าน ฟัง และ คิดอย่างไรเกี่ยวกับ ทฤษฎีนี้บ้าง
รวมทั้งการทำ QE ของ USA และยุโรปกำลังจะทำ QE ตาม
ผมคิดเล่นๆ และสรุปว่า โลกการเก็งกำไร มีจ้าว
ไม่ว่าจะเป็นระดับ หุ้นแต่ละบริษัท หุ้นทั้งโลก หรือ Commodity ทั้งหมด
เป็นเกมที่เล่นแล้ว จ้าว จะได้ตลอดเวลา
จ้าวมือใหญ่ในเกมเก็งกำไรคือ อเมริกา และยุโรปกำลังจะเล่นเกมนี้ด้วย
เกมนี้เล่นกันทั้งโลก ผู้ชนะก็กำไร ผู้แพ้ก็ขาดทุน คนไม่เล่นก็ขาดทุน
แต่น้อยกว่าพวกที่เล่นแล้วขาดทุน
ลองฟังดู
http://www.chiangmairoom.com/economic/?p=mb&part=4
Blueplanet
guyver
Verified User
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เราเป็นตัวเล็กในสังคมโลก
ยอมเจ็บตัวสักพักเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

ถ้าปล่อยให้เมกาล้มจริงๆ สุดท้ายเราก็เจ็บตัวอยู่ดีเผลอๆมากกว่าน่ะตอนนี้
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ทั้งโลกทำ QE แต่ Bank of Thailand ไม่ทำ QE
ประเทศไทยเรามีผู้บริหารที่ไม่ฉลาด ทำให้ประเทศเสียหาย
สาเหตุที่เกิดต้มยำกุ้ง เพราะ BOT ทำให้ ดอกเบี้ยในประเทศ
สูงมาก 12%-15% สถาบันการเงินและบริษัทใหญ่ก็กู้เงิน ตปท
อัตรดอกเบี้ย 3%-4% เอามาปล่อยต่อกำไร ประมาณ ร่วม 10%
รวยเละ ในขณะนั้นเงินบาท ยืนได้ที่ราคา 26 บาทเพราะอ้ตรดอกเบี้ย
ภายในสูงมาก กู้กันเพลิน กู้ ตปท กันใหญ่ลงทุนกันเละเทะ
พอฝรั่งดึงเงินกลับ ทุกคนเอา บาทมาแลก USD BOT ก็ไม่ทำอะไร
ปล่อยให้แลกแล้วยังไปสว๊อฟ USD มาให้แลกอีกไม่จำกัด
ทำให้คนไทยเสียหาย นับล้านล้านบาท
มาตอนนี้ อเมริกาหมดมุ๊กที่จะแก้ปัญหาประเทศ
ก็เลยทำ QE2 ยุโรปก็จะทำ ถ้าไทยไม่ทำอะไร เงินบาทจะแข็งไปเรื่อยๆ
สิ่งที่ ฝรั่งทำคือ เอา USD มาซื้อทรัพย์สินทุกอย่างในประเทศไทย
กำไรเด้งแรกคือค่าเงิน เด้งที่2 คือราคาทรัพย์สินจะมากขึ้น
เมื่อคนไทยเริ่มเห็นว่า ทรัพย์สินต่างๆราคาเพิ่มขึ้น
คนไทยก็จะกลับมาซื้อ ทรัพย์สินก็ราคาก็จะขึ้นไปอีก
ฝรั่งก็จะเริ่มขายทรัพย์สินกลับ แล้ว เอา USD กลับไป
เอาเข้ามา 1แสนล้านUSD ตอนเอากลับอาจจะเอากลับไป 3-4แสนล้านUSD
เมื่อเริ่มทยอยเอาเงินออก BOT ก็จะยังพยุงค่าเงินบาทให้แข็งอยู่
พยุงจนเงิน USD หมดคลัง ทำเหมือนสมัยต้มยำกุ้ง
Blueplanet
Elessar
Verified User
โพสต์: 177
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เมื่อเริ่มทยอยเอาเงินออก BOT ก็จะยังพยุงค่าเงินบาทให้แข็งอยู่
พยุงจนเงิน USD หมดคลัง ทำเหมือนสมัยต้มยำกุ้ง

????
ถ้าเกิดจริงจะ พยุงทำไม
เราไม่ได้ใช้ fixed exchange rate แล้ว  
และเงินบาทอ่อนก็ดีต่อส่งออกสิ
jojo_s
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้าเมกา พิมพ์แบงค์ออกมาเรื่อยๆ เพื่อซื้อสินทรัพย์ประเทศอื่น
ในขณะที่ประเทศในเอเชีย พยายามอุ้มค่าเงินดอลลาร์ไว้
ไม่ให้อ่อนตัวลง ถ้าอย่างนี้ยิ่งเอเชียซื้อดอลล์ มากเท่าไร
เมกาก็ยิ่งผลิตออกมาเท่านั้น แถมได้ซื้อสินทรัพย์ในราคาถูกอีก
เกมนี้มีแต่เมกา ที่ได้กับได้
ccc111
Verified User
โพสต์: 464
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ถ้าเขาพิมพ์แบงค์เองได้โดยไม่มีข้อจำกัดจริงๆ

ป่านนี้เขาคงพิมพ์แบงค์ออกมาซื้อโลกไปทั้งใบแล้วมั้งครับ

แต่เขาไม่ได้ทำอย่างนั้น   ซึ่งก็แปลว่าทำไม่ได้   เพราะมีข้อจำกัด
james_6
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 7

โพสต์

http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=440

6วิธีเอเชียดูดซับทุนไหลเข้า

... เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปเปรียบเทียบในบริบทของสงครามค่าเงิน (Currency War) และการประชุมจี- 20 เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ไม่พอใจที่ธนาคารกลางเอเชียเข้าไปแทรกแซงตลาดเงิน เพื่อปกป้องการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เช่นเดียวกับธนาคารกลางในเอเชียที่ไม่พอใจต่อการใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารของกลุ่มประเทศจี -3 ทำให้ตลาดเกิดสภาพคล่องจนเกินไป  จนบีบให้ธนาคารกลางในเอเชียต้องเข้าไปกว้านซื้อด้วยมูลค่าถึง 8% ของจีดีพี
  โดยประเทศเอเชียเวลานี้กำลังเจอกับเงินไหลเข้าเป็นมูลค่า 12% ของจีดีพี ซึ่งนับเป็นมูลค่ามหาศาล แล้วจะมีวิธีดูดซับเงินเหล่านั้นอย่างไร  
* 6 วิธีคือ ...

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,578  28-30  ตุลาคม พ.ศ. 2553
james_6
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 8

โพสต์

http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-11-01

QE2 จ่อทะลัก แบงก์ชาติเอเชียตื่นตั้งรับ โสมขู่ใช้ 'โทบินแท็กซ์' สกัดเงินทุนไหลเข้า
วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4258  ประชาชาติธุรกิจ

แม้ตลาดคาดการณ์ว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing : QE) ระยะที่สองในช่วงปลายสัปดาห์นี้จะไม่หวือหวาและน่ากลัวเหมือนในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว แต่หากจับอาการของธนาคารกลางหลายแห่งในเอเชีย กลับสะท้อนถึงความไม่ไว้วางใจ และบางรายมาพร้อมคำขู่ ที่อาจนำมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของกระแสเงินทุนมาใช้

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีกำหนดประชุมตามวาระ ในวันที่ 2-3 พฤศจิกายน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เฟดจะประกาศแผนซื้อสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ โดยเฉพาะพันธบัตรและตั๋วเงินคลังของสหรัฐอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้กระแสคาดการณ์เกี่ยวกับวงเงินของมาตรการ QE2 เริ่ม แตกต่างเป็น 2 แนวทาง

โดยแนวทางแรกคาดว่าเฟดคงจะประกาศแผนซื้อสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ ระหว่าง 5 แสนล้านดอลลาร์-2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขหลังมาจากการประเมินของนักเศรษฐศาสตร์ของ โกลด์แมน แซกส์ ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคาดการณ์ว่าแผนซื้อสินทรัพย์ของเฟดจะออกมาเป็นตัวเลขจำนวนมาก ที่ทำให้ตลาดช็อกและน่ากลัว มีความเป็นไปได้ว่าเฟดจะเลือกแนวทางการซื้อสินทรัพย์ในลักษณะของการเข้าซื้อรายเดือน ระหว่าง 8 หมื่นล้านดอลลาร์-แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยไม่กำหนดกรอบเวลาและวงเงินที่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ต่างเตือนให้ประเทศในเอเชียระมัดระวังกระแสเงินทุนต่างประเทศที่จะไหลทะลักเข้าสู่ภูมิภาคต่อเนื่องไปถึงปี 2554 โดยเฉพาะในช่วงอัตราดอกเบี้ยในประเทศพัฒนาแล้วอยู่ในระยะต่ำต่อไป บวกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจดาวรุ่งเอเชียยังมีแนวโน้มที่สดใสมากอยู่ ทั้งนี้ หลายสำนักประเมินว่าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉลี่ยในเศรษฐกิจดาวรุ่งจะสูงกว่าจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 4.4%

ทั้งนี้ สถาบันการเงินระหว่างประเทศคาดว่ากระแสเงินทุนภาคเอกชนโดยรวมจะไหลเข้าสู่เศรษฐกิจดาวรุ่งสูงถึง 8.25 แสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งมากกว่า 5.81 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2552

ความวิตกต่อผลกระทบของกระแสเงินทุนไหลเข้าเริ่มเด่นชัด เมื่อธนาคารกลางในเอเชียอย่างน้อย 3 แห่งออกมาแสดงความวิตกต่อสถานการณ์ดังกล่าว

รายแรกคือธนาคารกลางเกาหลีใต้

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้างสุนทรพจน์ของ คิม ชุง ซู ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้ ซึ่งระบุชัดว่าเกาหลีใต้อาจพิจารณานำมาตรการควบคุมกระแสเงินทุน มาใช้ เพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุน ต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักให้ค่าเงินวอนแข็งขึ้น แม้ว่ามาตรการเหล่านี้จะก่อให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาด และสร้างต้นทุนทางการเงินให้กับประเทศ

ก่อนหน้านี้ ยิม จอง ยอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า รัฐบาลได้พิจารณาทางเลือกมาตรการที่เป็นไปได้หลายมาตรการ อาทิ ภาษีโทบิน (Tobin tax) การจัดเก็บภาษีจากธนาคาร เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 14% จากกำไรลงทุนพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ จนถึงมาตรการควบคุมการก่อหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง หลังจากที่ได้นำมาตรการจำกัดการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ในเดือนมิถุนายน

ขณะที่ หนังสือพิมพ์สเตรตส์ไทมส์ ของสิงคโปร์รายงานอ้างแถลงการณ์ของธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ซึ่งมีเนื้อหาแสดงความเป็นห่วงต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นอย่างมากว่า อาจนำความเสี่ยงมาสู่หลายประเทศในเอเชีย หากหลายประเทศไม่สามารถควบคุมกระแสเงินทุนเหล่านี้ได้ อาจเผชิญกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ปะทุขึ้นอย่างฉับพลัน และอาจนำไปสู่การตีกลับอย่างไร้ระบบของเงินทุน

ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้เรียกร้องให้เอเชียจับตามองพัฒนาการในตลาดสินทรัพย์และสินเชื่ออย่างใกล้ชิด แม้ว่าธนาคาร บริษัทเอกชน และครัวเรือนในภูมิภาคจะมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งก็ตาม

นอกจากนี้ เซติ อัคตาร์ อาซิซ ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย เคยให้สัมภาษณ์ดาวโจนส์ว่า หากสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนเริ่มควบคุมไม่ได้ และหากมีการเคลื่อนไหวใด ๆ ที่มากเกินไปเกิดขึ้นในระยะเวลาที่สั้นมาก ๆ มาเลเซียก็พร้อมจะแทรกแซง แต่จนถึงขณะนี้แนวโน้มของเงินริงกิตยังสะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ในเดือนกรกฎาคม ธนาคารกลางมาเลเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นครั้งที่สามในรอบปี 2553 แต่ก็เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75% มาตั้งแต่เดือนกันยายน เนื่องจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมากขึ้น
guyver
Verified User
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ที่เมืองไทยไม่ทำเพราะinflation rate เราอยู่ที่สามกว่าน่ะครับ ในขณะที่อเมริกาอยู่ต่ำและเศรษฐกิจไม่ร้อนแรง

ถ้าเราใช้จะเร่งบับเบิล แต่อเมริกาใช้เพื่อต้องการไม่ให้เกิด deflation

ตอนนี้ผมมองตัวเลขทางเศรษฐกิจของอเมริกาดูไม่น่าเกลียดยกเว้นอัตราการว่างงานซึ่งถ้าได้รับการกระตุ้นอีกทีจาก QE ก็อาจจะได้รับผลลัพท์ที่ดีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
keeti
Verified User
โพสต์: 224
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 10

โพสต์

[quote="ccc111"]ถ้าเขาพิมพ์แบงค์เองได้โดยไม่มีข้อจำกัดจริงๆ

ป่านนี้เขาคงพิมพ์แบงค์ออกมาซื้อโลกไปทั้งใบแล้วมั้งครับ

แต่เขาไม่ได้ทำอย่างนั้น
โตขึ้นอยากเป็นเหาฉลาม...
dantedragon007
Verified User
โพสต์: 99
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 11

โพสต์

นึกภาพน้ำท่วมตอนนี้เอาไว้นะเพราะเงินจะท่วมโลก(ฝั่งเอเชียนะตลาดเกิดใหม่ยิ่งดีใหญ่เลย :lol: )แบบเดียวกันเลยนะ  :P
icegrefis
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re:

โพสต์ที่ 12

โพสต์

blueplanet เขียน:ทั้งโลกทำ QE แต่ Bank of Thailand ไม่ทำ QE
ประเทศไทยเรามีผู้บริหารที่ไม่ฉลาด ทำให้ประเทศเสียหาย
สาเหตุที่เกิดต้มยำกุ้ง เพราะ BOT ทำให้ ดอกเบี้ยในประเทศ
สูงมาก 12%-15% สถาบันการเงินและบริษัทใหญ่ก็กู้เงิน ตปท
อัตรดอกเบี้ย 3%-4% เอามาปล่อยต่อกำไร ประมาณ ร่วม 10%
รวยเละ ในขณะนั้นเงินบาท ยืนได้ที่ราคา 26 บาทเพราะอ้ตรดอกเบี้ย
ภายในสูงมาก กู้กันเพลิน กู้ ตปท กันใหญ่ลงทุนกันเละเทะ
พอฝรั่งดึงเงินกลับ ทุกคนเอา บาทมาแลก USD BOT ก็ไม่ทำอะไร
ปล่อยให้แลกแล้วยังไปสว๊อฟ USD มาให้แลกอีกไม่จำกัด
ทำให้คนไทยเสียหาย นับล้านล้านบาท
มาตอนนี้ อเมริกาหมดมุ๊กที่จะแก้ปัญหาประเทศ
ก็เลยทำ QE2 ยุโรปก็จะทำ ถ้าไทยไม่ทำอะไร เงินบาทจะแข็งไปเรื่อยๆ
สิ่งที่ ฝรั่งทำคือ เอา USD มาซื้อทรัพย์สินทุกอย่างในประเทศไทย
กำไรเด้งแรกคือค่าเงิน เด้งที่2 คือราคาทรัพย์สินจะมากขึ้น
เมื่อคนไทยเริ่มเห็นว่า ทรัพย์สินต่างๆราคาเพิ่มขึ้น
คนไทยก็จะกลับมาซื้อ ทรัพย์สินก็ราคาก็จะขึ้นไปอีก
ฝรั่งก็จะเริ่มขายทรัพย์สินกลับ แล้ว เอา USD กลับไป
เอาเข้ามา 1แสนล้านUSD ตอนเอากลับอาจจะเอากลับไป 3-4แสนล้านUSD
เมื่อเริ่มทยอยเอาเงินออก BOT ก็จะยังพยุงค่าเงินบาทให้แข็งอยู่
พยุงจนเงิน USD หมดคลัง ทำเหมือนสมัยต้มยำกุ้ง
สุดยอดมากครับ !!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

Re: เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หลัง ww2 เป็นต้นมา ชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษครองโลก และกำหนดอนาคตโลกจริงๆครับ
ชาติที่ก่อเรื่องทั้ง เยอรมัน ญี่ปุ่นก็โดน เล่นทั้งคู่
ถึงกับจะทำให้เยอรมันเป็นชาติเกษตรกรรม ทำไร่ไถนากินก็เคยจะทำมาแล้ว
และด้วยยยุทธศาสตร์ที่ล้ำลึก ทำให้ญี่ปุ่นต้องเป็นเช่นปัจจุบันนี้
คือเป็นชาติที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจ ทำงานหาสิ่งของไปซื้อเงินดอลล่าร์มาเก็บไว้ แล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา

ในโลกนี้ผมเชื่อว่า ชาติที่เป็น native English speaking กลัว จีน และไทยเรานี่เองครับ
ทั้งเยอรมัน ญี่ปุ่น และอิตาลี่ที่ร่วมก่อสงครามก็ไม่มีน้ำยาแล้ว

ก็เหลือจีนและไทย ที่เขาต้องเล่นให้น่วม ก่อนที่ไทยเราจะร่วมกับจีนเป็นใหญ่ในโลกใบนี้
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เป็นแนวคิดที่ดีมากเลยครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 15

โพสต์

จับตา QE2
by Dr.KOB
on Friday, April 22, 2011 at 7:17am

ในช่วง 2 เดือนข้างหน้า ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนทั่วโลกกำลังจับตามองก็คือ การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับมาตราการอัดฉีดสภาพคล่องรอบที่สอง (QE2) ว่าจะดำเนินต่อไปหรือไม่

ตรงนี้ ถ้ายังพอจำกันได้ เมื่อประมาณ 6-7 เดือนที่แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐตัดสินใจที่จะอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่เข้าสู่เศรษฐกิจ จากสาเหตุหลายประการ คือ

(1) เศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ดี

(2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังของสหรัฐน่าจะทำได้จำกัด เพราะช่วงนั้น พรรคของโอบามา กำลังจะแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้รัฐสภาของสหรัฐไม่สามารถออกมาตรการอะไรใหม่มาช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจ

และที่สำคัญที่สุด

(3) ธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายของการดูแลไม่ให้เกิดเงินเฟ้อ เงินฝืด และดูแลให้มีการจ้างงานสูงสุด กำลังสอบตกทั้งสองเรื่อง เพราะสหรัฐดูเหมือนกับว่าจะมีปัญหาเงินฝืด อีกทั้งคนกำลังตกงานเป็นจำนวนมาก โดยจะตกงานกันอีกนาน

ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางสหรัฐจึงคิดว่า “คงไม่มีใครแล้วที่จะช่วยได้ ตนจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐไปต่อได้” แต่ด้วยดอกเบี้ยนโยบายในขณะนั้นก็อยู่ในระดับต่ำมากๆ แล้ว คือประมาณ 0 – 0.25% สิ่ง ที่พอที่จะทำได้ก็คือ การอัดฉีดสภาพคล่องรอบใหม่เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบ กระตุ้นให้มีการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ และรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐให้อยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะ

แล้ว QE2 ประสบความสำเร็จหรือไม่

ตรงนี้ หลายคนฟันธงไว้แต่ต้นแล้วว่า QE2 ไม่น่าจะประสบผลสำเร็จ เพราะแก้ไม่ถูกจุด ปัญหาของสหรัฐไม่ได้เป็นเพราะการขาดสภาพคล่องหรือดอกเบี้ยไม่ต่ำพอ แต่มาจากปัญหาหนี้เสียในระบบที่ยังคลี่คลายไม่หมด และจากแรงกระตุ้นด้านการคลังที่ไม่มากพอ สหรัฐจึงฟื้นแบบซึมๆ ฟื้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยสำหรับดอกเบี้ยระยะยาว หลายคนคิดว่าอย่างมากก็ช่วยให้ลงได้อีกแค่ 0.25 – 0.5% เท่านั้น

ในประเด็นนี้ ถ้าไปวัดผลสำเร็จกับดอกเบี้ยระยะยาว ก็จะเห็นว่าดอกเบี้ยไม่ได้ลดลง ในทางตรงกันข้าม ดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐกลับเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำไปจาก 2.5% เป็น 3.5% ในช่วง 6-7 เดือนที่ผ่านมา

ที่ QE2 ช่วยจริงๆ กลับเป็นผลพลอยได้ข้างเคียง ก็คือ การเป่าลูกโป่งฟองสบู่สินทรัพย์ของสหรัฐและโลกให้เพิ่มขึ้นอีกรอบ ถ้าย้อนกลับไปดูจะพบว่า หลังเริ่ม QE2 หุ้นสหรัฐปรับตัวดีขึ้นมากประมาณ 25% ดอลลาร์อ่อนลงต่อเนื่อง รวมประมาณ 8% (ยกเว้นช่วงที่เกิดวิกฤตในยุโรป) ทองคำขึ้นประมาณ 16% ส่วนราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ปรับขึ้นมาประมาณ 80% ซึ่งได้ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้กับคนในอเมริกา และช่วยสถาบันการเงินทั่วโลกให้มีกำไรมากขึ้น นอกจากนี้ในทางเศรษฐกิจ ได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่น และพยุงเศรษฐกิจไว้ในระดับหนึ่ง

จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

ถ้าเราเริ่มกันจากเป้าหมายการดำเนินงานของธนาคารกลางสหรัฐ จะเห็นว่า ล่าสุดราคาวัตถุดิบต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น อาทิ อาหาร โลหะ น้ำมัน ทำให้สหรัฐไม่ได้กังวลใจเรื่องเงินฝืดเหมือนเมื่อ 6-7 เดือนที่แล้ว (สหรัฐขณะนี้ดูเหมือนกับว่าจะกังวลปัญหาเงินเฟ้อมากกว่าด้วยซ้ำไป) ความจำเป็นในการอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมจึงลดลงไป นอกจากนี้ข้อมูลก็เริ่มส่งสัญญาณว่าปัญหาการว่างงานในสหรัฐกำลังปรับตัวดี ขึ้น เริ่มมีการจ้างงานมากขึ้น ซึ่งเศรษฐกิจที่เริ่มดูดีขึ้น ทำให้ความจำเป็นที่จะกระตุ้นเพิ่มเติมหมดไปเช่นกัน

ไม่น่าแปลกใจว่า กรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐหลายท่าน จึงทยอยออกมาให้ความเห็นกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อาจจะต้องทบทวนเรื่อง QE2 ซึ่งมี 3 ทางเลือกคือ (1) หยุดการอัดฉีดก่อนกำหนดที่เดิมจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน เพราะว่าน่าจะพอแล้ว (2) หยุดตามกำหนด โดยไม่มีอะไรเพิ่มเติม และรักษาสภาพคล่องที่ออกไปไว้ในระดับนั้น หรือ (3) มี QE3 อีกรอบ

แต่เท่าที่ฟังมา ท้ายสุดก็คงจบด้วยทางเลือกที่ 2 ซึ่งนักลงทุนกำลังคิดกันหนักว่า หลังจาก QE2 จบลง แต่ไม่มี QE3 จะเกิดอะไรขึ้นกับการเก็งกำไรและราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เพราะสภาพคล่องของสหรัฐได้เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการเพิ่มขึ้นของราคา สินทรัพย์ต่างๆ เหล่านี้ ดังนั้น กลางปีนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่เราจะต้องจับตากันอย่างไม่กระพริบ

ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 16

โพสต์

7. FED เตรียมแถลงผลการประชุมครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 26 เม.ย.นี้
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เตรียมแถลงผลการประชุมกำหนดนโยบายการเงินครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 26 เมษายนนี้ หวังส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่ชัดเจน – สร้างความโปร่งใส Posted on Friday, April 22, 2011
money channel
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: เศรษฐศาสตร์ แห่งความจริง และ QE

โพสต์ที่ 17

โพสต์

การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ
วันที่ 28 เมษายน 2554 06:16เฟดสงวนท่าทีกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


วอชิงตัน - เฟดระบุ เศรษฐกิจและการสร้างงานแข็งแกร่งพอให้ยุติโครงการซื้อพันธบัตรได้ตามเป้าหมายเดือนมิ.ย. พร้อมสงวนท่าทีกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม


ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เสร็จสิ้นการประชุม 2 วัน พร้อมระบุว่าโครงการซื้อพันธบัตรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 600,000 ล้านดอลลาร์ จะสิ้นสุดลงในเดือนมิ.ย.ตามแผนการที่วางไว้ แต่โครงการช่วยเหลืออีกโครงการหนึ่งจะเดินหน้าต่อไป นั่นคือการนำรายได้จากพอร์ทหลักทรัพย์เพื่อการจำนองไปลงทุนซื้อตราสารหนี้เดือนละ 17 ล้านดอลลาร์ อันจะทำให้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อการจดจำนองและสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคตัวอื่นๆ อยู่ในระดับต่ำต่อไป

เฟดคาดหมายว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.3% ปีนี้ ต่ำกว่าการคาดหมายเมื่อเดือนม.ค.เล็กน้อย ขณะที่อัตราว่างงานจะลดเหลือ 8.4% ซึ่งน้อยกว่าคาดการณ์ไว้ อัตราเงินเฟ้ออาจสูงที่ 2.8% ปีนี้ หรือมากกว่าปีที่แล้วเกือบ 2 เท่า แต่ยังต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 30 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่นายเบน เบอร์นันเก ประธานเฟด แถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 98 ปีของเฟด ด้วยการระบุว่าเจ้าหน้าที่เฟดคาดว่าการฟื้นตัวในระดับปานกลางจะดำเนินต่อไปหลังจากเศรษฐกิจขยายตัวในระดับอ่อนแอในไตรมาสแรกของปีนี้

ทั้งนี้ นับจากเฟดใช้โครงการซื้อพันธบัตรเมื่อต้นเดือนพ.ย. เศรษฐกิจก็เข้มแข็งขึ้น อัตราว่างงานลดลง 1% เหลือ 8.8% ซึ่งต่ำสุดรอบ 2 ปี บริษัทต่างๆ สร้างงานเพิ่ม 200,000 ตำแหน่งเป็นเวลา 2 เดือนติดกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี และดัชนีเอสแอนด์พี 500 พุ่งขึ้น 28% ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ส่วนดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อการจดจำนองระยะ 30 ปีลดลงเหลือ 4.8%

แม้อัตราว่างงานลดลง แต่เบอร์นันเกกล่าวว่าการว่างงานยังสูงอยู่เมื่อเทียบกับมาตรฐานตามประวัติศาสตร์ กระนั้นเฟดไม่มีแนวโน้มจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดการว่างงาน เพราะอาจนำไปสู่เงินเฟ้อที่สูงขึ้น พร้อมคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้นจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นชั่วคราวเท่านั้น และคาดว่าราคาน้ำมันจะลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ปัจจุบันเฟดมองว่าความเสี่ยงเงินเฟ้อยังมีไม่มากนัก และคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 0.25% พร้อมรับปากจะคงไว้ที่ระดับนี้อีกระยะหนึ่ง

นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
โพสต์โพสต์