สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 1
3 กูรูด้านการลงทุน แนะวิธีส่งต่อความมั่งคั่งสู่ทายาท พร้อมวิธีสอนลูกใช้เงินอย่างคุ้มค่าและเป็นสุข
คนฟุ่มเฟือยชอบทำอะไรเกินตัว แม้จะร่ำรวยสุดท้ายก็มักขัดสน คนนิสัยประหยัด แม้จะยากจนก็มักมีเหลือเก็บ ความสำคัญของ "เงิน" อยู่ที่คุณค่าการใช้ ไม่ใช่ "ปริมาณ" สามดอกเตอร์สอนลูกเรื่องเงิน ส่งต่อ "ความรวย" ด้วยศาสตร์และศิลป์ เพราะพวกเขามองว่า..ชีวิตของลูกอยู่ในกำมือของพ่อแม่
ตลอดชีวิตการลงทุนที่ผ่านมา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จะเลือกเฟ้นแต่เฉพาะหุ้น "เฟิร์สคลาส" (ชั้นหนึ่ง) ตรงกันข้ามกับวิถีการใช้ชีวิตจะใช้แบบ Economy (คุ้มค่า) โดยมองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น "การใช้จ่าย" เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
กูรูด้านการลงทุนหุ้นคุณค่าหมายเลขหนึ่งของเมืองไทย เล่าว่า วิธีสอนเรื่องการใช้เงินกับ "น้องแจน" น.ส.พิสชา เหมวชิรวรากร (นักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ สาขาการจัดการการสื่อสารคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ) ลูกสาวคนเดียว ในฐานะพ่อจะทำตัวให้เป็นตัวอย่างมากกว่าบอกว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
ส่วนตัวคิดว่าเด็กสมัยใหม่บางคนไม่ถูกกดดันให้ต้องหาเงินเองทำให้มีคำถามกลับมาว่าทำไมต้องประหยัดด้วย อย่างเช่นน้องแจนไปเที่ยวบ้านเพื่อนก็จะกลับมาถามว่าทำไมเราไม่สร้างบ้านให้ใหญ่เหมือนเขา (ทั้งๆ ที่รู้ว่าพ่อรวย) คนเป็นพ่อแม่จะต้องอธิบายให้เขาฟังด้วยเหตุผลว่าอะไรที่จำเป็นอะไรไม่จำเป็น
ดร.นิเวศน์ เคยเล่าว่า ทุกวันนี้ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง บ้านของดอกเตอร์เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากไออุ่นของทุกคน
"บ้านผมมีห้องเดียวนะ เป็นบ้านที่อยู่ตั้งแต่สมัยที่ไม่มีตังค์เลย ตอนแต่งงานใหม่ๆ ชีวิตทำงานกินเงินเดือน ก็ไม่ได้มีตังค์มาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม...ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆ มีน้อย บ้านหลังเล็กมาก แต่ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆ โตๆ ได้มั้ย มันก็ได้ แต่บ้านใหญ่โตไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน"
หลักการเรื่องความคุ้มค่าของเงินจะต้องมาพร้อมกับ "ความสุข" เสมอ เรื่องนี้ ดร.นิเวศน์ เชื่อว่า สิ่งใดที่ต้องจ่ายแพงๆ แล้วจะต้องกลายเป็น "ทาส" ของสิ่งนั้น ตัวเอง "จะไม่ทำ" ยกตัวอย่างการซื้อรถยนต์ หรือซื้อบ้านราคาแพงๆ แล้วต้องเป็นทุกข์กับการทำความสะอาดบ่อยๆ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นความสุขจริง
ตรงกันข้ามกับของบางอย่างถ้าต้อง "จ่ายแพง" แลกกับประโยชน์ที่คุ้มค่าระยะยาวก็จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง "การศึกษาบุตร" สมัยเมื่อ 20 ปีก่อนยังไม่มีเงินมากเท่าตอนนี้ ตอนนั้นตัดสินใจส่งน้องแจนเรียนหลักสูตรอินเตอร์แม้ราคาจะแพงแต่มองว่านี่คือการลงทุน ที่จะออกดอกผลในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเรื่องหนังสือดีๆ และอาหารการกินที่ไม่ควรจะประหยัดเกินไป แต่ถ้าของอย่างอื่นที่จำเป็นจริงๆ ก็ต้องซื้อ เช่น ล่าสุดเพิ่งซื้อมือถือ BlackBerry ให้ลูกไปเพราะอีกหน่อยไปเรียนเมืองนอกจะใช้คุยกับคนที่เมืองไทยได้
ส่วนเรื่องของ "มรดก" ดร.นิเวศน์ เปิดเผยว่า น้องแจนเพิ่งจะรู้ไม่นานเองว่าพ่อมีพอร์ตหุ้นระดับ (เกิน) พันล้านบาท แล้วเขารู้จากเพื่อน ที่จริงไม่คิดที่จะปกปิดมีแผนที่จะค่อยๆ สอนเรื่องหุ้นให้กับลูกอยู่แล้ว แต่ขอแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะเด็กรุ่นใหม่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องหุ้น อาจจะตีความหมายผิดไปได้ว่าพ่อเป็น "คนรวย" (ไม่เห็นต้องดิ้นรน) ไม่อยากให้ลูกคิดแบบนี้
"อีกไม่นานเขาจะต้องเป็นผู้รับช่วงต่อพอร์ตหุ้นของผมทั้งหมดไปอย่างแน่นอน จากนี้ไปเป็นงานของผมที่ต้องค่อยๆ อธิบายแนวคิดการลงทุนให้เขารู้ ไม่ว่าในอนาคตเขาจะทำงานประจำหรือแต่งงานออกไปเป็นแม่บ้านอย่างเดียว"
ในฐานะพ่อที่ทะนุถนอมพอร์ตหุ้นจนเติบใหญ่เลี้ยงมาไม่ต่างจากลูกรักอีกคน ดร.นิเวศน์ยังจะประคับประคองขอให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันว่าควรจะขายหุ้นออกไปเมื่อไร คงไม่ให้ลูกตัดสินใจเพียงลำพัง แม้พ่อจะหาสมบัติไว้เป็นมรดกให้ลูกมากมายนับพันล้านบาท แต่พ่อคนนี้ก็ย้ำสอนกับลูกสาวคนเดียวของเขาว่า...
"ลูกไม่จำเป็นต้องมี(หา)สามีรวยเพื่อให้ทัดเทียมกับเรา แต่ขอให้เลือกคนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอันดับแรก แม้เขาจะจนกว่าเรา ขอให้มีความขยันอยู่ในตัวก็พอ" นัยหนึ่งพ่อต้องการสอน...ลูกต้องเป็น "นาย" ของเงิน อย่าเป็น "ทาส" ของเงิน มองคนที่ "คุณค่า" ไม่ใช่มองคนที่ "ราคา" เช่นเดียวกับหุ้นที่พ่อซื้อ
ด้านคุณพ่อลูก(ชาย)สอง ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร แม้จะมีฐานะค่อนข้างมั่นคงมาตั้งแต่ลูกยังเล็ก มีรายได้จากค่าที่ปรึกษากฎหมายภาษีเป็นรายนาที แต่มักสอนให้ลูกใช้เงินอย่างประหยัด "จ่าย" ให้น้อยกว่า "รับ" เป็นวิธีเดียวที่จะเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้
ดร.สุวรรณ เคยเล่าว่าได้ตกลงกับภรรยาตั้งกองทุนให้ลูกทั้ง 2 คนๆ ละ 10 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกว่าจะใช้สำหรับการไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือจะใช้เป็นทุนสำหรับเริ่มต้นชีวิต และสิ่งที่ครอบครัวนี้เลือกก็คือเก็บเงิน 10 ล้านบาท เป็นเงินก้นถุงของลูกแต่ละคน
"ถ้าส่งลูกไปเรียนที่อังกฤษเสียค่าใช้จ่ายปีละ 1.6 ล้านบาท ส่งไปเรียนอเมริกาเสียปีละ 1.2 ล้านบาท ออสเตรเลียปีละ 8 แสนบาท นิวซีแลนด์ปีละ 6 แสนบาท ถ้าเราส่งพวกเขาไปเรียน 10 ปี ก็ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าคนละ 10 ล้านบาท เราจึงตกลงกันว่าจะเก็บเงินส่วนนี้ให้พวกเขา"
เหตุผล 3 ข้อของการไม่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอกของครอบครัววลัยเสถียร หนึ่ง. ลูกโตขึ้นโดยที่เราไม่ได้ดูแล ไม่ได้อบรมบ่มนิสัยตั้งแต่เด็ก สอง. เรียนเมืองนอกเสียค่าใช้จ่ายมาก เงินส่วนนี้ควรเก็บเอาไว้ให้ลูกๆ ได้ตั้งตัว และสาม. ลูกกลับมาจะกลายเป็นคนที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีรุ่น
ในช่วงวัยเรียน (วัยรุ่น) ขณะปิดภาคการศึกษา ดร.สุวรรณได้ส่งลูกชายไปฝึกงานเป็นพนักงานรับจองตั๋วที่โรงหนัง EGV เป็นการฝึกให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตัดโอกาสเที่ยวเตร่ รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่งาน รู้คุณค่าและความยากลำบากของการหาเงิน และรู้รสชาติของการเป็นลูกจ้าง
ช่วงปิดภาคเรียนถัดๆ มา ได้ส่งลูกชายไปฝึกงานในแผนกบริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง เพราะลูกชายเป็นคนชอบรถยนต์ ประสบการณ์ที่ได้คือความอดทนต่อการถูกตำหนิของลูกค้า รู้จักแก้ปัญหาในสถานการณ์คับขัน เหล่านี้เป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่เป็น "วิชาเสริม" ให้ลูกได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง
ประธานชมรมคนออมเงิน ในฐานะนักกฎหมายภาษีชั้นเซียน ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีแต่บุตรสาวและต้องการรักษาทรัพย์สินในรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ไม่ให้ผู้ที่จะมาเป็น "ลูกเขย" ในอนาคตนำไปขาย ให้ใช้วิธี "จดสิทธิเก็บกิน" หรือผู้ทรงสิทธิอาศัยในชื่อพ่อแม่แทนที่จะใช้วิธีโอนที่ดินให้ลูกโดยตรง นอกจากมีค่าใช้จ่ายถูกเพียงแค่หลักร้อยบาทแล้วผลประโยชน์ในสินทรัพย์ยังตกอยู่กับผู้ทรงสิทธิคือพ่อแม่ไม่ตกกับเจ้าของ แต่พอเราเสียชีวิตอสังหาริมทรัพย์นั่นก็ยังเป็นมรดกตกทอดให้ลูกๆ อยู่ดี
"ผมจะพูดกับลูกเสมอว่าเรียนไม่เก่งไม่เป็นไรแต่ขอให้เรียนจบขั้นต่ำต้องปริญญาตรี และสำคัญมากห้ามไปเซ็นค้ำประกันให้กับใคร แม้ส่วนตัวจะเป็นที่ปรึกษาภาษีให้เศรษฐีหลายคน แต่ก็สอนลูกๆ ทุกคนว่าโตขึ้นต้องไม่เลี่ยงภาษี"
สำหรับแผนการถ่ายโอนมรดกให้ลูกจะไม่นิยมเก็บในรูปของเงินสด แต่นิยมซื้อที่ดินเก็บไว้ ปัจจุบันมีที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งเป็นบ้านพักในปัจจุบันอยู่ที่สุขุมวิทซอย 8 (ซอยปรีดา) พื้นที่ 100 ตารางวา ที่เตรียมจะส่งต่อให้กับลูก ส่วนตัวคิดต่างจาก ดร.นิเวศน์ตรงที่ ถ้ามีเงินมากพอก็ควรจะ "ซื้อความสุข" ให้กับชีวิต อย่างบ้านก็จะทำใหญ่ๆ เพราะชอบอยู่สบายกว่าหลังเล็ก
นอกจากนี้ ยังชอบเก็บ "ทองคำ" ในระยะยาวมีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตรรัฐบาล เห็นได้ว่า 10 ปีย้อนหลังทองคำให้ผลตอบแทน 10% ทุกปี นอกจากนี้ยังลงทุนหุ้น TISCO ในชื่อลูกชาย ชาลี วลัยเสถียร ถืออยู่ 3,937,220 หุ้น สัดส่วน 0.54% (ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 115 ล้านบาท) รอรับเงินปันผลปีละ 2 บาทต่อหุ้น แค่นี้ก็พอใช้ทั้งปีแล้ว
จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังพบว่า ดร.สุวรรณ ลงทุนหุ้น S&P ในชื่อชาลี 786,900 หุ้น ราคาตลาดเกือบ 32 ล้านบาท ลงทุนหุ้น TNDT ในชื่อ ดวงใจ วลัยเสถียร ภรรยา 600,000 หุ้น มูลค่า 3 ล้านบาท และลงทุนหุ้น SVI ในชื่อลูกชาย 10,087,284 หุ้น มูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท และเก็บหุ้น SVI ในนามส่วนตัวอีกเกือบ 5.58 ล้านหุ้น เป็นต้น
ดร.สุวรรณ บอกด้วยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้ซื้อหุ้น SVI จำนวน 4 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 2 บาท (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัท) เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตสามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ เพราะบริษัทยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ส่วนแนวโน้มราคาทองคำคาดว่าจะผันผวนสูงเพราะวิกฤติหนี้ที่ยุโรปยังไม่น่าไว้วางใจ แต่สิ้นปีน่าจะได้เห็นที่ระดับ 1,350 ดอลลาร์ต่ออออนซ์ ครึ่งปีหลังหุ้นกับอสังหาริมทรัพย์ยังน่าลงทุนกว่าพันธบัตร
คนสุดท้ายนักลงทุนหุ้นคุณค่าพอร์ตระดับร้อยล้านบาท นพ.บำรุง ศรีงาน ประธานชมรมไทยวีไอ บอกว่า เงินเป็นทาสที่ดีของเรา แต่เป็นนายที่แย่ เท่ากับว่าเงินเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ก่อนจะใช้ต้องระวังไว้เสมอ ปัจจุบันคุณหมอมีลูก 3 คนยังเล็กอยู่จะใช้วิธีสอนเรื่องเงินสามขั้นตอนคือ หนึ่ง ให้รู้จักว่าเงินสำคัญอย่างไร สอง สอนวิธีการหาเงิน และ สาม สอนวิธีการใช้เงิน ถ้าปลูกฝังแนวคิดนี้ลูกๆ จะเห็นว่าเงินหายากก็จะใช้ยากด้วย
ถ้าลูกๆ อยากจะได้สิ่งของอะไร จะต้องมีผลงานมาโชว์ด้วยเช่น ผลการสอบ เวลาที่จะซื้อของอะไรก็ตามจะสอนลูกด้วยว่าสิ่งที่ต้องจ่ายมากขึ้น คุ้มค่า หรือไม่ อย่างทุกวันนี้ยังขับรถโตโยต้า คัมรี่ และไม่มีการแต่งรถเลย เพราะมองว่าออปชั่นต่างๆ ที่ต้องซื้อเพิ่มมันแพงเกินควร
ตอนนี้ลูกๆ ทั้งสามของคุณหมอยังเล็กอยู่ แต่อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ เตรียมแผนการปลูกฝังเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ให้ลูกๆ แล้ว คิดว่าจะเริ่มหลังจากมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น อาจจะหลังจบปริญญาตรีสัก 2-3 ปี
แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น คุณหมอวางแผนจะลงทุนหุ้นให้กับลูกเพื่อรับประกันความมั่งคั่งในอนาคต ทำไมต้องเป็นหุ้น? เขาบอกว่าหุ้นเป็นสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญพอสมควร และยิ่งลงทุนนานจะให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างอื่น จะให้ลงทุนทองคำก็ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก
ส่วนตัวมองว่าการวิเคราะห์หุ้นมันลึกกว่าทองคำที่มีปัจจัยแค่ดีมานด์-ซัพพลาย แต่หุ้นต้องคำนึงถึงผู้บริหารด้วย เหมือนอย่างที่เข้าซื้อหุ้น SAT ตั้งแต่ราคา 5-6 บาท ปัจจุบันอยู่ที่ 20 บาท นอกจากเห็นว่าตลาดรถยนต์ของไทยจะโตแล้วยังเชื่อว่าผู้บริหารมีความสามารถด้วย ก่อนจะมากำไรหุ้น SAT คุณหมอก็กำไรหุ้น STPI มาก่อน "หลายเท่าตัว" รวมถึงหุ้น STANLY ด้วย
Source:bizweek
คนฟุ่มเฟือยชอบทำอะไรเกินตัว แม้จะร่ำรวยสุดท้ายก็มักขัดสน คนนิสัยประหยัด แม้จะยากจนก็มักมีเหลือเก็บ ความสำคัญของ "เงิน" อยู่ที่คุณค่าการใช้ ไม่ใช่ "ปริมาณ" สามดอกเตอร์สอนลูกเรื่องเงิน ส่งต่อ "ความรวย" ด้วยศาสตร์และศิลป์ เพราะพวกเขามองว่า..ชีวิตของลูกอยู่ในกำมือของพ่อแม่
ตลอดชีวิตการลงทุนที่ผ่านมา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จะเลือกเฟ้นแต่เฉพาะหุ้น "เฟิร์สคลาส" (ชั้นหนึ่ง) ตรงกันข้ามกับวิถีการใช้ชีวิตจะใช้แบบ Economy (คุ้มค่า) โดยมองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น "การใช้จ่าย" เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
กูรูด้านการลงทุนหุ้นคุณค่าหมายเลขหนึ่งของเมืองไทย เล่าว่า วิธีสอนเรื่องการใช้เงินกับ "น้องแจน" น.ส.พิสชา เหมวชิรวรากร (นักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ สาขาการจัดการการสื่อสารคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ) ลูกสาวคนเดียว ในฐานะพ่อจะทำตัวให้เป็นตัวอย่างมากกว่าบอกว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
ส่วนตัวคิดว่าเด็กสมัยใหม่บางคนไม่ถูกกดดันให้ต้องหาเงินเองทำให้มีคำถามกลับมาว่าทำไมต้องประหยัดด้วย อย่างเช่นน้องแจนไปเที่ยวบ้านเพื่อนก็จะกลับมาถามว่าทำไมเราไม่สร้างบ้านให้ใหญ่เหมือนเขา (ทั้งๆ ที่รู้ว่าพ่อรวย) คนเป็นพ่อแม่จะต้องอธิบายให้เขาฟังด้วยเหตุผลว่าอะไรที่จำเป็นอะไรไม่จำเป็น
ดร.นิเวศน์ เคยเล่าว่า ทุกวันนี้ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง บ้านของดอกเตอร์เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากไออุ่นของทุกคน
"บ้านผมมีห้องเดียวนะ เป็นบ้านที่อยู่ตั้งแต่สมัยที่ไม่มีตังค์เลย ตอนแต่งงานใหม่ๆ ชีวิตทำงานกินเงินเดือน ก็ไม่ได้มีตังค์มาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม...ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆ มีน้อย บ้านหลังเล็กมาก แต่ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆ โตๆ ได้มั้ย มันก็ได้ แต่บ้านใหญ่โตไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน"
หลักการเรื่องความคุ้มค่าของเงินจะต้องมาพร้อมกับ "ความสุข" เสมอ เรื่องนี้ ดร.นิเวศน์ เชื่อว่า สิ่งใดที่ต้องจ่ายแพงๆ แล้วจะต้องกลายเป็น "ทาส" ของสิ่งนั้น ตัวเอง "จะไม่ทำ" ยกตัวอย่างการซื้อรถยนต์ หรือซื้อบ้านราคาแพงๆ แล้วต้องเป็นทุกข์กับการทำความสะอาดบ่อยๆ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นความสุขจริง
ตรงกันข้ามกับของบางอย่างถ้าต้อง "จ่ายแพง" แลกกับประโยชน์ที่คุ้มค่าระยะยาวก็จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง "การศึกษาบุตร" สมัยเมื่อ 20 ปีก่อนยังไม่มีเงินมากเท่าตอนนี้ ตอนนั้นตัดสินใจส่งน้องแจนเรียนหลักสูตรอินเตอร์แม้ราคาจะแพงแต่มองว่านี่คือการลงทุน ที่จะออกดอกผลในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเรื่องหนังสือดีๆ และอาหารการกินที่ไม่ควรจะประหยัดเกินไป แต่ถ้าของอย่างอื่นที่จำเป็นจริงๆ ก็ต้องซื้อ เช่น ล่าสุดเพิ่งซื้อมือถือ BlackBerry ให้ลูกไปเพราะอีกหน่อยไปเรียนเมืองนอกจะใช้คุยกับคนที่เมืองไทยได้
ส่วนเรื่องของ "มรดก" ดร.นิเวศน์ เปิดเผยว่า น้องแจนเพิ่งจะรู้ไม่นานเองว่าพ่อมีพอร์ตหุ้นระดับ (เกิน) พันล้านบาท แล้วเขารู้จากเพื่อน ที่จริงไม่คิดที่จะปกปิดมีแผนที่จะค่อยๆ สอนเรื่องหุ้นให้กับลูกอยู่แล้ว แต่ขอแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะเด็กรุ่นใหม่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องหุ้น อาจจะตีความหมายผิดไปได้ว่าพ่อเป็น "คนรวย" (ไม่เห็นต้องดิ้นรน) ไม่อยากให้ลูกคิดแบบนี้
"อีกไม่นานเขาจะต้องเป็นผู้รับช่วงต่อพอร์ตหุ้นของผมทั้งหมดไปอย่างแน่นอน จากนี้ไปเป็นงานของผมที่ต้องค่อยๆ อธิบายแนวคิดการลงทุนให้เขารู้ ไม่ว่าในอนาคตเขาจะทำงานประจำหรือแต่งงานออกไปเป็นแม่บ้านอย่างเดียว"
ในฐานะพ่อที่ทะนุถนอมพอร์ตหุ้นจนเติบใหญ่เลี้ยงมาไม่ต่างจากลูกรักอีกคน ดร.นิเวศน์ยังจะประคับประคองขอให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันว่าควรจะขายหุ้นออกไปเมื่อไร คงไม่ให้ลูกตัดสินใจเพียงลำพัง แม้พ่อจะหาสมบัติไว้เป็นมรดกให้ลูกมากมายนับพันล้านบาท แต่พ่อคนนี้ก็ย้ำสอนกับลูกสาวคนเดียวของเขาว่า...
"ลูกไม่จำเป็นต้องมี(หา)สามีรวยเพื่อให้ทัดเทียมกับเรา แต่ขอให้เลือกคนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอันดับแรก แม้เขาจะจนกว่าเรา ขอให้มีความขยันอยู่ในตัวก็พอ" นัยหนึ่งพ่อต้องการสอน...ลูกต้องเป็น "นาย" ของเงิน อย่าเป็น "ทาส" ของเงิน มองคนที่ "คุณค่า" ไม่ใช่มองคนที่ "ราคา" เช่นเดียวกับหุ้นที่พ่อซื้อ
ด้านคุณพ่อลูก(ชาย)สอง ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร แม้จะมีฐานะค่อนข้างมั่นคงมาตั้งแต่ลูกยังเล็ก มีรายได้จากค่าที่ปรึกษากฎหมายภาษีเป็นรายนาที แต่มักสอนให้ลูกใช้เงินอย่างประหยัด "จ่าย" ให้น้อยกว่า "รับ" เป็นวิธีเดียวที่จะเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้
ดร.สุวรรณ เคยเล่าว่าได้ตกลงกับภรรยาตั้งกองทุนให้ลูกทั้ง 2 คนๆ ละ 10 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกว่าจะใช้สำหรับการไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือจะใช้เป็นทุนสำหรับเริ่มต้นชีวิต และสิ่งที่ครอบครัวนี้เลือกก็คือเก็บเงิน 10 ล้านบาท เป็นเงินก้นถุงของลูกแต่ละคน
"ถ้าส่งลูกไปเรียนที่อังกฤษเสียค่าใช้จ่ายปีละ 1.6 ล้านบาท ส่งไปเรียนอเมริกาเสียปีละ 1.2 ล้านบาท ออสเตรเลียปีละ 8 แสนบาท นิวซีแลนด์ปีละ 6 แสนบาท ถ้าเราส่งพวกเขาไปเรียน 10 ปี ก็ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าคนละ 10 ล้านบาท เราจึงตกลงกันว่าจะเก็บเงินส่วนนี้ให้พวกเขา"
เหตุผล 3 ข้อของการไม่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอกของครอบครัววลัยเสถียร หนึ่ง. ลูกโตขึ้นโดยที่เราไม่ได้ดูแล ไม่ได้อบรมบ่มนิสัยตั้งแต่เด็ก สอง. เรียนเมืองนอกเสียค่าใช้จ่ายมาก เงินส่วนนี้ควรเก็บเอาไว้ให้ลูกๆ ได้ตั้งตัว และสาม. ลูกกลับมาจะกลายเป็นคนที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีรุ่น
ในช่วงวัยเรียน (วัยรุ่น) ขณะปิดภาคการศึกษา ดร.สุวรรณได้ส่งลูกชายไปฝึกงานเป็นพนักงานรับจองตั๋วที่โรงหนัง EGV เป็นการฝึกให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตัดโอกาสเที่ยวเตร่ รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่งาน รู้คุณค่าและความยากลำบากของการหาเงิน และรู้รสชาติของการเป็นลูกจ้าง
ช่วงปิดภาคเรียนถัดๆ มา ได้ส่งลูกชายไปฝึกงานในแผนกบริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง เพราะลูกชายเป็นคนชอบรถยนต์ ประสบการณ์ที่ได้คือความอดทนต่อการถูกตำหนิของลูกค้า รู้จักแก้ปัญหาในสถานการณ์คับขัน เหล่านี้เป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่เป็น "วิชาเสริม" ให้ลูกได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง
ประธานชมรมคนออมเงิน ในฐานะนักกฎหมายภาษีชั้นเซียน ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีแต่บุตรสาวและต้องการรักษาทรัพย์สินในรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ไม่ให้ผู้ที่จะมาเป็น "ลูกเขย" ในอนาคตนำไปขาย ให้ใช้วิธี "จดสิทธิเก็บกิน" หรือผู้ทรงสิทธิอาศัยในชื่อพ่อแม่แทนที่จะใช้วิธีโอนที่ดินให้ลูกโดยตรง นอกจากมีค่าใช้จ่ายถูกเพียงแค่หลักร้อยบาทแล้วผลประโยชน์ในสินทรัพย์ยังตกอยู่กับผู้ทรงสิทธิคือพ่อแม่ไม่ตกกับเจ้าของ แต่พอเราเสียชีวิตอสังหาริมทรัพย์นั่นก็ยังเป็นมรดกตกทอดให้ลูกๆ อยู่ดี
"ผมจะพูดกับลูกเสมอว่าเรียนไม่เก่งไม่เป็นไรแต่ขอให้เรียนจบขั้นต่ำต้องปริญญาตรี และสำคัญมากห้ามไปเซ็นค้ำประกันให้กับใคร แม้ส่วนตัวจะเป็นที่ปรึกษาภาษีให้เศรษฐีหลายคน แต่ก็สอนลูกๆ ทุกคนว่าโตขึ้นต้องไม่เลี่ยงภาษี"
สำหรับแผนการถ่ายโอนมรดกให้ลูกจะไม่นิยมเก็บในรูปของเงินสด แต่นิยมซื้อที่ดินเก็บไว้ ปัจจุบันมีที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งเป็นบ้านพักในปัจจุบันอยู่ที่สุขุมวิทซอย 8 (ซอยปรีดา) พื้นที่ 100 ตารางวา ที่เตรียมจะส่งต่อให้กับลูก ส่วนตัวคิดต่างจาก ดร.นิเวศน์ตรงที่ ถ้ามีเงินมากพอก็ควรจะ "ซื้อความสุข" ให้กับชีวิต อย่างบ้านก็จะทำใหญ่ๆ เพราะชอบอยู่สบายกว่าหลังเล็ก
นอกจากนี้ ยังชอบเก็บ "ทองคำ" ในระยะยาวมีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตรรัฐบาล เห็นได้ว่า 10 ปีย้อนหลังทองคำให้ผลตอบแทน 10% ทุกปี นอกจากนี้ยังลงทุนหุ้น TISCO ในชื่อลูกชาย ชาลี วลัยเสถียร ถืออยู่ 3,937,220 หุ้น สัดส่วน 0.54% (ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 115 ล้านบาท) รอรับเงินปันผลปีละ 2 บาทต่อหุ้น แค่นี้ก็พอใช้ทั้งปีแล้ว
จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังพบว่า ดร.สุวรรณ ลงทุนหุ้น S&P ในชื่อชาลี 786,900 หุ้น ราคาตลาดเกือบ 32 ล้านบาท ลงทุนหุ้น TNDT ในชื่อ ดวงใจ วลัยเสถียร ภรรยา 600,000 หุ้น มูลค่า 3 ล้านบาท และลงทุนหุ้น SVI ในชื่อลูกชาย 10,087,284 หุ้น มูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท และเก็บหุ้น SVI ในนามส่วนตัวอีกเกือบ 5.58 ล้านหุ้น เป็นต้น
ดร.สุวรรณ บอกด้วยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้ซื้อหุ้น SVI จำนวน 4 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 2 บาท (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัท) เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตสามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ เพราะบริษัทยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ส่วนแนวโน้มราคาทองคำคาดว่าจะผันผวนสูงเพราะวิกฤติหนี้ที่ยุโรปยังไม่น่าไว้วางใจ แต่สิ้นปีน่าจะได้เห็นที่ระดับ 1,350 ดอลลาร์ต่ออออนซ์ ครึ่งปีหลังหุ้นกับอสังหาริมทรัพย์ยังน่าลงทุนกว่าพันธบัตร
คนสุดท้ายนักลงทุนหุ้นคุณค่าพอร์ตระดับร้อยล้านบาท นพ.บำรุง ศรีงาน ประธานชมรมไทยวีไอ บอกว่า เงินเป็นทาสที่ดีของเรา แต่เป็นนายที่แย่ เท่ากับว่าเงินเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ก่อนจะใช้ต้องระวังไว้เสมอ ปัจจุบันคุณหมอมีลูก 3 คนยังเล็กอยู่จะใช้วิธีสอนเรื่องเงินสามขั้นตอนคือ หนึ่ง ให้รู้จักว่าเงินสำคัญอย่างไร สอง สอนวิธีการหาเงิน และ สาม สอนวิธีการใช้เงิน ถ้าปลูกฝังแนวคิดนี้ลูกๆ จะเห็นว่าเงินหายากก็จะใช้ยากด้วย
ถ้าลูกๆ อยากจะได้สิ่งของอะไร จะต้องมีผลงานมาโชว์ด้วยเช่น ผลการสอบ เวลาที่จะซื้อของอะไรก็ตามจะสอนลูกด้วยว่าสิ่งที่ต้องจ่ายมากขึ้น คุ้มค่า หรือไม่ อย่างทุกวันนี้ยังขับรถโตโยต้า คัมรี่ และไม่มีการแต่งรถเลย เพราะมองว่าออปชั่นต่างๆ ที่ต้องซื้อเพิ่มมันแพงเกินควร
ตอนนี้ลูกๆ ทั้งสามของคุณหมอยังเล็กอยู่ แต่อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ เตรียมแผนการปลูกฝังเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ให้ลูกๆ แล้ว คิดว่าจะเริ่มหลังจากมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น อาจจะหลังจบปริญญาตรีสัก 2-3 ปี
แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น คุณหมอวางแผนจะลงทุนหุ้นให้กับลูกเพื่อรับประกันความมั่งคั่งในอนาคต ทำไมต้องเป็นหุ้น? เขาบอกว่าหุ้นเป็นสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญพอสมควร และยิ่งลงทุนนานจะให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างอื่น จะให้ลงทุนทองคำก็ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก
ส่วนตัวมองว่าการวิเคราะห์หุ้นมันลึกกว่าทองคำที่มีปัจจัยแค่ดีมานด์-ซัพพลาย แต่หุ้นต้องคำนึงถึงผู้บริหารด้วย เหมือนอย่างที่เข้าซื้อหุ้น SAT ตั้งแต่ราคา 5-6 บาท ปัจจุบันอยู่ที่ 20 บาท นอกจากเห็นว่าตลาดรถยนต์ของไทยจะโตแล้วยังเชื่อว่าผู้บริหารมีความสามารถด้วย ก่อนจะมากำไรหุ้น SAT คุณหมอก็กำไรหุ้น STPI มาก่อน "หลายเท่าตัว" รวมถึงหุ้น STANLY ด้วย
Source:bizweek
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 2
ขอแก้ข่าวหน่อยครับทุกวันนี้ยังขับรถโตโยต้า คัมรี่ และไม่มีการแต่งรถเลย เพราะมองว่าออปชั่นต่างๆ ที่ต้องซื้อเพิ่มมันแพงเกินควร
ตอนนี้ลูกๆ ทั้งสามของคุณหมอยังเล็กอยู่ แต่อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์
คัมรี่เป็นของดร.นิเวศน์ครับ
และผมก็ไม่เคยเป็นผอ.รพ.สุรินทร์ ซึ่งเป็นรพ.จังหวัด
ผมเคยเป็นแต่ผอ.รพ.อำเภอ :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- RookieVI
- Verified User
- โพสต์: 162
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 5
อันนี้ไม่แก้ข่าว แสดงว่าข้อมูลถูกต้องแล้วใช่ไหมครับพี่หมอ :8)Rocker เขียน: ...
คนสุดท้ายนักลงทุนหุ้นคุณค่าพอร์ตระดับร้อยล้านบาท นพ.บำรุง ศรีงาน ประธานชมรมไทยวีไอ บอกว่า เงินเป็นทาสที่ดีของเรา แต่เป็นนายที่แย่ เท่ากับว่าเงินเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ก่อนจะใช้ต้องระวังไว้เสมอ
...
ขอบคุณสำหรับแนวคิดของท่านอาจารย์ทั้งสามครับ
ขอบคุณคุณ Rocker ที่เอามาให้อ่านครับ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 7
ยืนยันอีกเสียงครับ พี่หมอของเราขับ bmw
-
- Verified User
- โพสต์: 558
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 8
"ลูกไม่จำเป็นต้องมี(หา)สามีรวยเพื่อให้ทัดเทียมกับเรา แต่ขอให้เลือกคนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอันดับแรก แม้เขาจะจนกว่าเรา ขอให้มีความขยันอยู่ในตัวก็พอ" นัยหนึ่งพ่อต้องการสอน...ลูกต้องเป็น "นาย" ของเงิน อย่าเป็น "ทาส" ของเงิน มองคนที่ "คุณค่า" ไม่ใช่มองคนที่ "ราคา" เช่นเดียวกับหุ้นที่พ่อ
ซื้อ
-
- Verified User
- โพสต์: 115
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 10
ทำไมอ่านแล้วรู้สึกโรแมนติกจังเลย"ลูกไม่จำเป็นต้องมี(หา)สามีรวยเพื่อให้ทัดเทียมกับเรา แต่ขอให้เลือกคนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอันดับแรก แม้เขาจะจนกว่าเรา ขอให้มีความขยันอยู่ในตัวก็พอ" นัยหนึ่งพ่อต้องการสอน...ลูกต้องเป็น "นาย" ของเงิน อย่าเป็น "ทาส" ของเงิน มองคนที่ "คุณค่า" ไม่ใช่มองคนที่ "ราคา" เช่นเดียวกับหุ้นที่พ่อซื้อ
ความสำเร็จคือการลงมือทำ
ความฝันคือการนั่งเฉยๆ
ความฝันคือการนั่งเฉยๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 19
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 11
เอถ้าคนเรารวยเป็นพันล้าน แล้วอยู่แบบคนเงินเดือน 20,000 - 30,000 บาท แล้วจะมีเงินเป็นพันล้านไปทำไมอะครับ ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจที
ถ้าผมมีเงินขนาดนั้น ผมก็คงนำเงินส่วนใหญ่ไปช่วยเหลือสังคมและคนยากจนที่ขาดโอกาส ไม่เก็บไว้ลงทุนอย่างเดียวหรอกครับ ตั้งมูลนิธิ ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและขาดโอกาส มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ สำหรับคนที่มั่งคั่งทั้งหลาย
ผมไม่ได้อยากโจมตีใครแต่ทุกครั้งที่ฟังเกี่ยวกับวิถีชีวิตของดร.นิเวศน์ ผมว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะทำตัวติดดินได้ขนาดนั้น
ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลกทำแบบ ดร.นิเวศน์ คือเป็นนักลงทุนกันหมด
แล้วจะมีหุ้นให้เล่นไหม เพราะทุกคนเลิกทำงาน แล้วก็มาเป็นนักลงทุน แล้วก็อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร รอเงินปันผล พนักงาน คนงาน ผู้บริหาร ลาออกไม่ทำงานแล้ว ไปเป็นนักลงทุนเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ดีกว่า อะไรมันจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยและโลก ผมแค่สงสัยนะครับ ไม่ได้มีอคติอะไรกับใคร
ถ้าผมมีเงินขนาดนั้น ผมก็คงนำเงินส่วนใหญ่ไปช่วยเหลือสังคมและคนยากจนที่ขาดโอกาส ไม่เก็บไว้ลงทุนอย่างเดียวหรอกครับ ตั้งมูลนิธิ ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและขาดโอกาส มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ สำหรับคนที่มั่งคั่งทั้งหลาย
ผมไม่ได้อยากโจมตีใครแต่ทุกครั้งที่ฟังเกี่ยวกับวิถีชีวิตของดร.นิเวศน์ ผมว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะทำตัวติดดินได้ขนาดนั้น
ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลกทำแบบ ดร.นิเวศน์ คือเป็นนักลงทุนกันหมด
แล้วจะมีหุ้นให้เล่นไหม เพราะทุกคนเลิกทำงาน แล้วก็มาเป็นนักลงทุน แล้วก็อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร รอเงินปันผล พนักงาน คนงาน ผู้บริหาร ลาออกไม่ทำงานแล้ว ไปเป็นนักลงทุนเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ดีกว่า อะไรมันจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยและโลก ผมแค่สงสัยนะครับ ไม่ได้มีอคติอะไรกับใคร
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 13
เงินของเขาครับ จะไปห่วงแทนเขาทำไม โลกเสรีนิยมมันก็เป็นแบบนี้ ใครมีความสามารถมากกว่าพยายามมากกว่าก็ได้รับผลตอบแทนดีกว่า หลังจากเขาได้ผลตอบแทนมาแล้วเขาจะเอาไปทำอะไรมันก็ไม่ใช่เรืองของเราครับ ถ้าเขาลงทุนแล้วสุดท้ายได้เงินขึ้นมาเป็นกอบเป็นกำ แล้วเอาไปใช้หมด เอาไปสร้างทัชมาฮาลมันก็ไม่ใช่เรื่องของเราครับ ที่สำคัญคนที่มีเงินระดับนั้นหลายๆคนเอาไปบริจาคไปตั้งมูลนิธิตอนเขาอายุเยอะๆแล้วกันมากกว่าอีก Warren Buffett ก็เพิ่งจะทำไม่กี่ปีนี้ ตอนนั้นรวยหลักหมื่นล้านเหรียญเหลนขุนไกร เขียน:เอถ้าคนเรารวยเป็นพันล้าน แล้วอยู่แบบคนเงินเดือน 20,000 - 30,000 บาท แล้วจะมีเงินเป็นพันล้านไปทำไมอะครับ ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจที
ถ้าผมมีเงินขนาดนั้น ผมก็คงนำเงินส่วนใหญ่ไปช่วยเหลือสังคมและคนยากจนที่ขาดโอกาส ไม่เก็บไว้ลงทุนอย่างเดียวหรอกครับ ตั้งมูลนิธิ ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและขาดโอกาส มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ สำหรับคนที่มั่งคั่งทั้งหลาย
ทำไมเป็นไปไม่ได้ สงสัย ผมรู้จักหลายๆคน ถึงไม่มีเป็นพันล้านแต่ก็มีเงินเก็บมาก ก็ไม่เห็นต้องใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ เขาก็คงจะจ่ายในเรื่องที่เขาอยากจะจ่าย จะซื้อของอะไรก็เพราะเพียงแค่ว่าต้องการใช้ของเหล่านั้นจริงๆมากกว่า ไม่เห็นต้องซื้อของอะไรเพียงเพราะตัวเองอยากให้คนอื่นเขารู้ว่ามีตังค์จ่าย ไม่ต้องซื้อเสื้อผ้า มือถือหรือรถ เพียงเพราะต้องการ social status ซื้อมาแล้วอวดกับเพื่อนไม่ได้ก็เอามาโพสอวดตามเว็บตาม facebook ครับเหลนขุนไกร เขียน:ผมไม่ได้อยากโจมตีใครแต่ทุกครั้งที่ฟังเกี่ยวกับวิถีชีวิตของดร.นิเวศน์ ผมว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะทำตัวติดดินได้ขนาดนั้น
เหลนขุนไกร เขียน:ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลกทำแบบ ดร.นิเวศน์ คือเป็นนักลงทุนกันหมด
แล้วจะมีหุ้นให้เล่นไหม เพราะทุกคนเลิกทำงาน แล้วก็มาเป็นนักลงทุน แล้วก็อยู่เฉยๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 14
เงินซื้อความสุขไม่ได้หรอกครับ ความสุขอยู่ที่วิธีการใช้ชีวิตเหลนขุนไกร เขียน:เอถ้าคนเรารวยเป็นพันล้าน แล้วอยู่แบบคนเงินเดือน 20,000 - 30,000 บาท แล้วจะมีเงินเป็นพันล้านไปทำไมอะครับ
การทำประโยชน์ไม่ได้มีแต่ต้องใช้เงินนะครับ ความรู้ด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ ดร.เผยแพร่สร้างเศรษฐีเงินล้านมาตั้งกี่คนแล้วครับ นับแค่ในเว็บก็ได้เอ้า ถ้าผมรวยแบบ ดร. ผมคงอยู่เงียบๆ ไม่บอกใครหรอกว่าผมทำไงถึงได้รวยเหลนขุนไกร เขียน:ถ้าผมมีเงินขนาดนั้น ผมก็คงนำเงินส่วนใหญ่ไปช่วยเหลือสังคมและคนยากจนที่ขาดโอกาส ไม่เก็บไว้ลงทุนอย่างเดียวหรอกครับ ตั้งมูลนิธิ ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากจนและขาดโอกาส มันก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ สำหรับคนที่มั่งคั่งทั้งหลาย
ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลกเป็นคนดีหมด แล้วจะมีตำรวจไหมครับเหลนขุนไกร เขียน:ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลกทำแบบ ดร.นิเวศน์ คือเป็นนักลงทุนกันหมด แล้วจะมีหุ้นให้เล่นไหม
อย่ายอมแพ้
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 15
ทำไมเป็นไปไม่ได้ สงสัย ผมรู้จักหลายๆคน ถึงไม่มีเป็นพันล้านแต่ก็มีเงินเก็บมาก ก็ไม่เห็นต้องใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ เขาก็คงจะจ่ายในเรื่องที่เขาอยากจะจ่าย จะซื้อของอะไรก็เพราะเพียงแค่ว่าต้องการใช้ของเหล่านั้นจริงๆมากกว่า ไม่เห็นต้องซื้อของอะไรเพียงเพราะตัวเองอยากให้คนอื่นเขารู้ว่ามีตังค์จ่าย ไม่ต้องซื้อเสื้อผ้า มือถือหรือรถ เพียงเพราะต้องการ social statussimplelife เขียน: เงินของเขาครับ จะไปห่วงแทนเขาทำไม โลกเสรีนิยมมันก็เป็นแบบนี้ ใครมีความสามารถมากกว่าพยายามมากกว่าก็ได้รับผลตอบแทนดีกว่า หลังจากเขาได้ผลตอบแทนมาแล้วเขาจะเอาไปทำอะไรมันก็ไม่ใช่เรืองของเราครับ ถ้าเขาลงทุนแล้วสุดท้ายได้เงินขึ้นมาเป็นกอบเป็นกำ แล้วเอาไปใช้หมด เอาไปสร้างทัชมาฮาลมันก็ไม่ใช่เรื่องของเราครับ ที่สำคัญคนที่มีเงินระดับนั้นหลายๆคนเอาไปบริจาคไปตั้งมูลนิธิตอนเขาอายุเยอะๆแล้วกันมากกว่าอีก Warren Buffett ก็เพิ่งจะทำไม่กี่ปีนี้ ตอนนั้นรวยหลักหมื่นล้านเหรียญ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 16
+10 ด้วย วาทะคมเช่นกันAnti-Aircraft เขียน:เงินซื้อความสุขไม่ได้หรอกครับ ความสุขอยู่ที่วิธีการใช้ชีวิต
การทำประโยชน์ไม่ได้มีแต่ต้องใช้เงินนะครับ ความรู้ด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ ดร.เผยแพร่สร้างเศรษฐีเงินล้านมาตั้งกี่คนแล้วครับ นับแค่ในเว็บก็ได้เอ้า ถ้าผมรวยแบบ ดร. ผมคงอยู่เงียบๆ ไม่บอกใครหรอกว่าผมทำไงถึงได้รวย
ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลกเป็นคนดีหมด แล้วจะมีตำรวจไหมครับ
- canuseeme
- Verified User
- โพสต์: 302
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 17
ปัญหามันอยู่ตรงที่ท่านสมมุตินะครับเหลนขุนไกร เขียน:
ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคนทั้งโลก
สมมุติผมมีเงิน ล้านล้านบาทนะ ผมจะเอามาเผาให้หมดเลย
เพราะผมสมมุติ หรือจะให้สาบานก็ได้เอา จะเผาให้หมดล้านๆบาทเลย
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 19
ผมว่าคนเราใช้จ่ายให้สมฐานะจะดีกว่า เป็นการเดินสายกลาง
ผมจึงเห็นด้วยกับการใช้ชีวิตของ อ.สุวรรณ วลัยเสถียร
และ คุณหมอบำรุง ศรีงาน แต่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินชีวิต
ของ อ. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ท่านอาจจะมีความสุขแบบนั้น
แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนรอบๆท่านจะมีความสุขที่ต้องใช้ชีวิตแบบ
จะซื้ออะไรสักชิ้นต้องมาคิดถึงคุณค่าของสินค้าชิ้นนั้นทุกครั้ง
ผมว่ามันเครียด
อีกประการหนึ่ง เราต้องอยู่ในสังคมเราต้องคิดว่าสังคมมองเรา
ว่าเป็นอย่างไรด้วย จะไม่แคร์เลยก็ไม่ได้
ผมจึงเห็นด้วยกับการใช้ชีวิตของ อ.สุวรรณ วลัยเสถียร
และ คุณหมอบำรุง ศรีงาน แต่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินชีวิต
ของ อ. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ท่านอาจจะมีความสุขแบบนั้น
แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนรอบๆท่านจะมีความสุขที่ต้องใช้ชีวิตแบบ
จะซื้ออะไรสักชิ้นต้องมาคิดถึงคุณค่าของสินค้าชิ้นนั้นทุกครั้ง
ผมว่ามันเครียด
อีกประการหนึ่ง เราต้องอยู่ในสังคมเราต้องคิดว่าสังคมมองเรา
ว่าเป็นอย่างไรด้วย จะไม่แคร์เลยก็ไม่ได้
- canuseeme
- Verified User
- โพสต์: 302
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 20
[quote="Radio"]
จะซื้ออะไรสักชิ้นต้องมาคิดถึงคุณค่าของสินค้าชิ้นนั้นทุกครั้ง
ผมว่ามันเครียด
จะซื้ออะไรสักชิ้นต้องมาคิดถึงคุณค่าของสินค้าชิ้นนั้นทุกครั้ง
ผมว่ามันเครียด
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 22
ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆ จากเซียนทั้งสามท่านครับ :8)
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 23
นิสัยที่ไม่ดี ข้อหนึ่งของคนไทยคือ
ขี้อิจฉา
ปล. เงินเขาหามาได้ด้วย มันสมอง ไม่ได้โกงใครมา
ไม่ได้ไปหากินแล้วให้ใครเดือดร้อน
คนที่มาบอกว่า ดร. ใช้เงินไม่คุ้ม เลย มีเงินตั้งพันล้าน
ผมว่าคุณกำลังอิจฉาดร. อยู่รึเปล่า
ถ้ามัวแต่อิจฉาชีวิตมันก็ไม่ไปไหนหรอกครับ คุณมัวแต่คิดว่าดร.มีเงินเป็นพันล้าน แต่คุณไม่สนใจเลยเหรอ ว่าแกใช้ชีวิตยังไง ให้มีเงินพันล้าน และดร.เก็บยังไง สนใจวิถีชิวิต ดร.ในตอนนี้ จะดีกว่านะครับ........
รวยล้นฟ้า ก็ต้องนอนที่นอนเตียงเดียว
เข้าห้องน้ำ ก็ต้องมีห้องเดียว
และ ชีวิตเราสุดท้ายก็ไม่ใหญ่ไปกว่า โลงศพ
และอย่าลืม ว่า สุดๆ แล้วอายุเราก้แค่ ร้อยปี (ถ้า รอดจากสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุมาได้ )
คิดว่าหุ้นหาเงินง่าย โดยไม่ต้องใช้สมอง ไม่รับความเสี่ยง มันก็จะวนไปวิกฤต 40 ให้เราได้เห็นอีกรอบ
ขี้อิจฉา
ปล. เงินเขาหามาได้ด้วย มันสมอง ไม่ได้โกงใครมา
ไม่ได้ไปหากินแล้วให้ใครเดือดร้อน
คนที่มาบอกว่า ดร. ใช้เงินไม่คุ้ม เลย มีเงินตั้งพันล้าน
ผมว่าคุณกำลังอิจฉาดร. อยู่รึเปล่า
ถ้ามัวแต่อิจฉาชีวิตมันก็ไม่ไปไหนหรอกครับ คุณมัวแต่คิดว่าดร.มีเงินเป็นพันล้าน แต่คุณไม่สนใจเลยเหรอ ว่าแกใช้ชีวิตยังไง ให้มีเงินพันล้าน และดร.เก็บยังไง สนใจวิถีชิวิต ดร.ในตอนนี้ จะดีกว่านะครับ........
รวยล้นฟ้า ก็ต้องนอนที่นอนเตียงเดียว
เข้าห้องน้ำ ก็ต้องมีห้องเดียว
และ ชีวิตเราสุดท้ายก็ไม่ใหญ่ไปกว่า โลงศพ
และอย่าลืม ว่า สุดๆ แล้วอายุเราก้แค่ ร้อยปี (ถ้า รอดจากสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุมาได้ )
คิดว่าหุ้นหาเงินง่าย โดยไม่ต้องใช้สมอง ไม่รับความเสี่ยง มันก็จะวนไปวิกฤต 40 ให้เราได้เห็นอีกรอบ
ชีวิตนี้สั้นนัก ทำความดีไว้เถิด
- canuseeme
- Verified User
- โพสต์: 302
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 24
น่าจะเป็น ความคิดต่างกันมากกว่า ครับ ท่านlemongreen เขียน:นิสัยที่ไม่ดี ข้อหนึ่งของคนไทยคือ
ขี้อิจฉา
ความแตกต่าง ทำให้เกิดบุุคคลขึ้นมาแต่ละคน
มันเป็นงานศิลป์นะผมว่า หากทุกคนคิดเหมือนกัน คงน่าเบื่อ โคดๆ
:P
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
There is no fate but what we make
https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 25
Radio เขียน:ผมว่าคนเราใช้จ่ายให้สมฐานะจะดีกว่า เป็นการเดินสายกลาง
ผมจึงเห็นด้วยกับการใช้ชีวิตของ อ.สุวรรณ วลัยเสถียร
และ คุณหมอบำรุง ศรีงาน แต่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินชีวิต
ของ อ. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ท่านอาจจะมีความสุขแบบนั้น
แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนรอบๆท่านจะมีความสุขที่ต้องใช้ชีวิตแบบ
จะซื้ออะไรสักชิ้นต้องมาคิดถึงคุณค่าของสินค้าชิ้นนั้นทุกครั้ง
ผมว่ามันเครียด
อีกประการหนึ่ง เราต้องอยู่ในสังคมเราต้องคิดว่าสังคมมองเรา
ว่าเป็นอย่างไรด้วย จะไม่แคร์เลยก็ไม่ได้
แต่ผมว่าดร.นิเวศน์แกไม่เครียด
มันก็เหมือนที่เราเคยชิน กับการเห็นจมูกอยู่ทุกวัน เราไม่รู้สึกรำคาญว่ามันขวางลูกนัยน์ตาเลย ถ้าแกจะสอยให้ลูกรู้สึกแบบนั้น ผมว่าก็มีสิทธิ์ทำได้
กรณีการใช้ชีวิตแบบดร.นิเวศน์
คนที่เคยจนมาก่อนจะรู้ ว่ามันก็งั้นๆ
ผมเคยใช้ชีวิตแบบจนสุดๆ ตอนที่เรียน แต่ที่จริงก็พอมีใช้ (จากการขอพี่ แหะๆ)
แต่จะลดการใช้จ่ายลงระดับหนึ่งเสมอ ถ้ามีความสามารถจ่าย 100 จะพยายามบังคับให้จ่ายสัก 30%-40% โดยที่ไม่ลดคุณค่า
อย่างเช่น หลายมือ้กอนแต่มาม่าว่าถูกแล้ว แต่ผมจะไม่ยอมเป็นโรคขาดสารอาหารเป็นอันขาด ผมซื้อผักบุ้งกำละไม่กี่กะตังค์มาต้มใส่มาม่าด้วย หุงข้าว ผมจะเอาไข่ใส่ไปในหม้อหุงข้าวด้วย เพราะจะได้ไม่เปลืองไฟ เพื่อต้มน้ำแยกต่างหาก
ตอนเรียนจบมาเงินเดือนหลายหมื่น แต่ก็ยังเช่าหอแบบนักศึกษาอยู่ราคาไม่กี่พัน เมื่อเพื่อนๆ เริ่มซื้อคอนโด ผ่อนรถกันแล้ว (แต่พวกมันกินมาม่าเป็นอาหารหลัก เพราะเอาเงินไปผ่อนรถกันหมด)
ตอนนี้เงินเดือน 6 หลักมานานโขแล้ว การใช้ชีวิต ก็ต่างจากเดิมไม่เืท่าไหร่ แต่งตัวให้สามฐานะ แต่ก็ไม่ได้พราวพรายเกินไป
เวลาผมซื้อของ อย่างนมข้นหวาน 2 กระป๋อง ผมเปรียบเทียบต่อหน่วยก่อน ว่าอันไหนให้ปริมาณเยอะสุด เมื่อดูแล้วว่าคุณภาพมันไม่ต่างกัน
ผมกลับไม่รู้สึกเครียดเลย เพราะมันเคยชิน และรู้สึกว่า เรารอบคอบ เสียเวลาแค่ 1 นาที เล็กน้อย เผาเวลาไปกับเรื่องอื่นไร้สาระเยอะแยะยังทำได้
แต่เวลาผมจะตัดสินใจจ่ายอะไรที่เป็นราคาหลายหมื่น หรือหลายแสน ที่ได้รับผลกลับมาคุ้มค่า ผมพร้อมจะจ่ายไม่ลังเล
ผมเป็นคนแรกในกลุ่มเพื่อนๆ ที่ซื้อ Electronic Dict และ Talking Dict ที่ตอนนั้น เมื่อสิบกว่าปีก่อน ราคามันสูงกว่าเงินเดือนตอนที่เพิ่งเริ่มทำงาน แต่เพราะมันคือเครื่องมือพัฒนาภาษา ทำให้ผมได้ accent ฝรั่งมากกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน โดยที่ตอนนั้น ยังไม่ได้ไปต่างประเทศเลย
แต่พวกเพื่อนๆ คอยดักซื้อมือถือรุ่นใหม่ ที่ features สารพัด แต่จุดประสงค์หลัก เอาไว้โชว์สาว จุดประสงค์รอง เอาไว้โทรฯ สื่อสาร
แต่ผมก็ไม่ได้ตำหนิอะไรมาก เพราะถือว่าเป็นวิถีชีวิตแต่ละคน ที่จะเลือกแบบนั้น
ผมเคยบอกกับเพื่อนๆ ว่าผมจะซื้อรถ เมื่อผมมีเงินสดซื้อรถได้ทันทีเท่านั้น วันนี้ผมก็ทำได้ แต่ผมก็ยังไม่ได้ซื้อเลย
ตอนนี้ ผมยังไม่อาจเรียกตัวเองได้ว่าเป็น VI แต่ผมฝึกตัวเองให้เป็น
แต่ก็เชื่อมั่นว่า วิถี่ชีวิตแบบนี้ พอจะเป็น VI มือสมัครเล่นได้ โดยไม่ต้องฝืน
ถ้าซักวันมันจะรวยก็ช่วยไม่ได้ แต่ถ้ามันจนลงไป มันก็ไม่จนไปกว่านี้
ผมเคยได้ยินหลายคนพูดว่าอย่างดร.นิเวศน์ทำตัวจน "เกินกว่าเหตุ" นั้น ผมเข้าใจว่าไม่ใช่เลย
ไปฟังดร.นิเวศน์ เล่าใน money talk ย้อนหลังจะรู้ ว่าครอบครัวจนขนาดไปที่บอกว่าอาหารมือพิเศษสมัยเด็ก เป็นอย่างไร
ไม่อยากเล่า แต่อยากให้ลองไปฟังด้วยตนเอง จะได้รู้จักมากกว่า
แต่ผมก็ไม่คาดหวังว่า คนที่ไม่เคยผ่านชืวิตแบบนี้ จะเข้าใจ เพราะยากที่ผู้หญิงจะสอนให้ผู้ชายรู้จักว่าปวดท้องตอนคลอดลูกเป็นอย่างไร ก็ได้แต่อธิบาย จริงๆ ก็ไม่รู้ซึ้ง
ปล. จำได้ว่้าปู่บัฟฟ์ เคยมีคนค่อนขอดเยอะ ว่าขี้เหนียว คงกอดเงินไปจนตาย ผมไม่คิดว่าแกจะต้องฝืน ที่จะขับรถเก่าแบบนั้น เพราะแกชินของแกแบบนั้น
ตอนนี้ คือผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในโลก
เพราะเหตุผลที่แกคิดคือ ถ้าไม่มีใครทำเงินแกให้งอกเงยดีกว่านี้แล้ว แกเก็บเอาไว้กับตัวแกดีกว่า
แต่เเมื่อพบคนที่สามารถเอาเงินไปใช้ประโยชน์ได้ดีแล้ว แกเทให้ทันที
และเราก็ไม่เคยได้ยิน ปู่ตำหนิที่บิล เกตต์สร้างคฤหาสน์ส่วนตัวหรูหราขนาดนั้น ซึ่งผมเข้าใจว่า แกมองว่า มันเงินกระจึ๋งเดียว ที่เกตต์หามาได้
มีแต่ชื่นชม และไว้ใจบิลเกตต์ ว่าจะเอาเงินที่แกทำให้พอกพูนมาได้ ไปใช้ อย่าง "คุ้มค่า" เพราะการ "ใช้จ่าย" ในมูลนิธิเกตต์-เมลินดา ก็ถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง
VI จริงๆ ต้องใจกว้างพร้อมที่จะเข้าใจ ความแตกต่างของเพื่อนร่วมโลก ที่เลือกทางเดินชีวิตต่างจากตนเอง
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 28
ผมว่าลองกลับไปอ่านบทความอีกครั้งก็ดีนะครับ
คำตอบ ก็เห็นอยู่ที่แกพูดอยู่แล้ว
คนที่ไม่เข้าใจ จะรู้สึกว่า "ขี้เหนียว" หรือจินตนาการว่า "ทนลำบาก ไร้ความสุข" แต่ผมยืนยันอย่างคนที่เคยชินกับการใช้ชีวิตแบบนี้ ว่าคนมีความสุขกับชีวิตแค่นี้มีจริงๆ และมีอีกเยอะมาก
เพราะรู้สึกว่า ทำำไมต้องสร้างบ้านใหญ่โต เสียค่าบำรุงรักษาโดยใช่เหตุ เป็นการไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อยู่บ้านเล็กๆ ก็มีความสุขแล้ว
ในเมื่อรู้สึกว่า ทำบ้านเล็ก กับทำบ้านใหญ่โต ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกสุขเพิ่มตามความใหญ่ของบ้าน เลยไม่เห็นความจำเป็น
คนที่รู้สึกพอ ก็กลับจะถามด้วยซ้ำ ว่าจะสร้างบ้านใหญ่ไปทำไม นอนอยู่แค่ห้อง 2 ห้อง
รู้สึกว่าพอ รถเล็กๆแค่นี้ก็ได้แล้ว ไม่ต้องไปโชว์ใคร ตอนนี้คนก็รู้แล้วว่ารวย แถมรวยจริงไร้ข้อกังขา
คำตอบ เช่น
ผมว่า แกก็พูดตรงๆแล้ว ไม่ได้มีความหมายยอกย้อนอะไรเลย
ทุกประโยค ผมเชื่อสนิทใจ ว่าแกพูดจริง (เพราะทำจริงให้คนเห็นแล้ว)
คิดว่าเป็นความหมายเดียวกัน แต่ในมุมกลับ
คำถามยอดฮิตของคนไทยคือ "ตายไปก็เอาไปไม่ได้ ไม่รู้จะรวยหลายพันล้าน เพื่ออะไร" เพราะตายไป เอาไปใช้ก็ไม่ได้ จะไปหาทำไม มันใช้ไม่ไหมดแล้ว
สำหรับคนที่ไม่รู้จักพอ
เพียงแต่กรณีปู่บัฟฟ์และ'จารย์นิเวศน์ คือ
คนที่รู้สึกว่ามันเกินพอ เกินความจำเป็น แต่รู้สึกภูมิใจที่ทำได้ จึงทำต่อ จนกว่าจะทำไม่ไหว ถ้าหยุดทำ จะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
นี่ไม่ได้ตอบเอาเท่ หรือทฤษฎี
Buffett ไม่ใช่กับแค่ตัวเอง บริจาคเงินมหาศาล แต่ให้เงินลูกเป็นจำนวนไม่มาก บอกว่าเอาแค่พอใช้ก็พอ
แต่ก็เป็นจำนวนที่สมเหตุสมผลมุ,ีชีวิตสบายไม่อดตาย
กรณีดร.นิเวศน์ผมว่านิสัยคนไทย คงให้ลูก ผมยังเป็นห่วงลูกแกแทน ว่า ยิ่งมีลูกสาวคนเดียวอยู่ด้วย ว่าที่ลูกเขยที่จะมาจีบชอบลูกสาวแก จะเจอข้อครหาอยากตกถังข้าวสารรึเปล่า
คำตอบ ก็เห็นอยู่ที่แกพูดอยู่แล้ว
คนที่ไม่เข้าใจ จะรู้สึกว่า "ขี้เหนียว" หรือจินตนาการว่า "ทนลำบาก ไร้ความสุข" แต่ผมยืนยันอย่างคนที่เคยชินกับการใช้ชีวิตแบบนี้ ว่าคนมีความสุขกับชีวิตแค่นี้มีจริงๆ และมีอีกเยอะมาก
เพราะรู้สึกว่า ทำำไมต้องสร้างบ้านใหญ่โต เสียค่าบำรุงรักษาโดยใช่เหตุ เป็นการไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อยู่บ้านเล็กๆ ก็มีความสุขแล้ว
ในเมื่อรู้สึกว่า ทำบ้านเล็ก กับทำบ้านใหญ่โต ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกสุขเพิ่มตามความใหญ่ของบ้าน เลยไม่เห็นความจำเป็น
คนที่รู้สึกพอ ก็กลับจะถามด้วยซ้ำ ว่าจะสร้างบ้านใหญ่ไปทำไม นอนอยู่แค่ห้อง 2 ห้อง
รู้สึกว่าพอ รถเล็กๆแค่นี้ก็ได้แล้ว ไม่ต้องไปโชว์ใคร ตอนนี้คนก็รู้แล้วว่ารวย แถมรวยจริงไร้ข้อกังขา
คำตอบ เช่น
เช่นหลักการเรื่องความคุ้มค่าของเงินจะต้องมาพร้อมกับ "ความสุข" เสมอ เรื่องนี้ ดร.นิเวศน์ เชื่อว่า สิ่งใดที่ต้องจ่ายแพงๆ แล้วจะต้องกลายเป็น "ทาส" ของสิ่งนั้น ตัวเอง "จะไม่ทำ" ยกตัวอย่างการซื้อรถยนต์ หรือซื้อบ้านราคาแพงๆ แล้วต้องเป็นทุกข์กับการทำความสะอาดบ่อยๆ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นความสุขจริง
ตรงกันข้ามกับของบางอย่างถ้าต้อง "จ่ายแพง" แลกกับประโยชน์ที่คุ้มค่าระยะยาวก็จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง "การศึกษาบุตร" สมัยเมื่อ 20 ปีก่อนยังไม่มีเงินมากเท่าตอนนี้ ตอนนั้นตัดสินใจส่งน้องแจนเรียนหลักสูตรอินเตอร์แม้ราคาจะแพงแต่มองว่านี่ คือการลงทุน ที่จะออกดอกผลในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเรื่องหนังสือดีๆ และอาหารการกินที่ไม่ควรจะประหยัดเกินไป แต่ถ้าของอย่างอื่นที่จำเป็นจริงๆ ก็ต้องซื้อ เช่น ล่าสุดเพิ่งซื้อมือถือ BlackBerry ให้ลูกไปเพราะอีกหน่อยไปเรียนเมืองนอกจะใช้คุยกับคนที่เมืองไทยได้
ผมว่า แกก็พูดตรงๆแล้ว ไม่ได้มีความหมายยอกย้อนอะไรเลย
ทุกประโยค ผมเชื่อสนิทใจ ว่าแกพูดจริง (เพราะทำจริงให้คนเห็นแล้ว)
คิดว่าเป็นความหมายเดียวกัน แต่ในมุมกลับ
คำถามยอดฮิตของคนไทยคือ "ตายไปก็เอาไปไม่ได้ ไม่รู้จะรวยหลายพันล้าน เพื่ออะไร" เพราะตายไป เอาไปใช้ก็ไม่ได้ จะไปหาทำไม มันใช้ไม่ไหมดแล้ว
สำหรับคนที่ไม่รู้จักพอ
เพียงแต่กรณีปู่บัฟฟ์และ'จารย์นิเวศน์ คือ
คนที่รู้สึกว่ามันเกินพอ เกินความจำเป็น แต่รู้สึกภูมิใจที่ทำได้ จึงทำต่อ จนกว่าจะทำไม่ไหว ถ้าหยุดทำ จะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
นี่ไม่ได้ตอบเอาเท่ หรือทฤษฎี
Buffett ไม่ใช่กับแค่ตัวเอง บริจาคเงินมหาศาล แต่ให้เงินลูกเป็นจำนวนไม่มาก บอกว่าเอาแค่พอใช้ก็พอ
แต่ก็เป็นจำนวนที่สมเหตุสมผลมุ,ีชีวิตสบายไม่อดตาย
กรณีดร.นิเวศน์ผมว่านิสัยคนไทย คงให้ลูก ผมยังเป็นห่วงลูกแกแทน ว่า ยิ่งมีลูกสาวคนเดียวอยู่ด้วย ว่าที่ลูกเขยที่จะมาจีบชอบลูกสาวแก จะเจอข้อครหาอยากตกถังข้าวสารรึเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 29
ผมไม่ได้บอกว่า ท่าน นิเวศน์ ไม่มีความสุข ผมว่าท่านมีความสุข
มากกับการได้ปฎิบัติตัวแบบนั้น แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนรอบข้าง
ของท่านจะไม่รู้สึกอึดอัด เพราะท่านเคยบอกว่าลูกสาวไม่กล้า
พาเพื่อนมาที่บ้านเพราะอาย
ถ้าพูดถึงความลำบากในวัยเด็ก ผมคิดว่าผมก็ติดโผด้วย
ทั้งพับถุงขายร้อยละสองบาท ต่อคิวซื้อข้าวสารราคาถูก ไปรับ
ของงานทิ้งกระจาด
บัดนี้ผมอยู่ในฐานะ Milionair คนหนึ่ง ก็ยังเห็นว่าท่านนิเวศน์
ใช้เงินต่ำกว่าฐานะมากเกินไป
มากกับการได้ปฎิบัติตัวแบบนั้น แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนรอบข้าง
ของท่านจะไม่รู้สึกอึดอัด เพราะท่านเคยบอกว่าลูกสาวไม่กล้า
พาเพื่อนมาที่บ้านเพราะอาย
ถ้าพูดถึงความลำบากในวัยเด็ก ผมคิดว่าผมก็ติดโผด้วย
ทั้งพับถุงขายร้อยละสองบาท ต่อคิวซื้อข้าวสารราคาถูก ไปรับ
ของงานทิ้งกระจาด
บัดนี้ผมอยู่ในฐานะ Milionair คนหนึ่ง ก็ยังเห็นว่าท่านนิเวศน์
ใช้เงินต่ำกว่าฐานะมากเกินไป
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย'
โพสต์ที่ 30
ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ถ้ามีเงินพันล้านแล้วต้องมานั่งแคร์ว่าคนรอบข้างจะคิดยังไง จะมีเงินพันล้านไปทำไม 55+
อย่ายอมแพ้