ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
- pornchai_w
- Verified User
- โพสต์: 244
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 2
คิดว่าจะขายเพื่อลดความเสี่ยงบ้าง แต่พอดูปัจจัยต่างๆ เช่น
1. ธุรกิจของบริษัทที่ถือ ไม่ได้ถูกกระทบจากสถานการณ์โดยตรง
2. PEของหุ้นที่ถืออยู่ที่ 4-11 เท่า
3. งบรายไตรมาสดีกว่าปีที่แล้ว
4. หุ้นที่ถือเกือบทุกตัว ต่างชาติไม่น่าจะถือ (ไม่มีโบรกเกอร์ไหน วิเคราะห์บริษัทเลย)
มีเพียงราคาหุ้นเท่านั้นที่ลง ก็เลยไม่รู้ว่าจะขายไปทำไม แล้วจะขายที่ราคาเท่าไร เพราะราคานี้ก็เป็นราคาที่ตั้งใจจะซื้อมากกว่า
หากหุ้นยังปันผลได้เท่ากับที่ได้รับปีนี้ จะได้ปันผล 7-12%
1. ธุรกิจของบริษัทที่ถือ ไม่ได้ถูกกระทบจากสถานการณ์โดยตรง
2. PEของหุ้นที่ถืออยู่ที่ 4-11 เท่า
3. งบรายไตรมาสดีกว่าปีที่แล้ว
4. หุ้นที่ถือเกือบทุกตัว ต่างชาติไม่น่าจะถือ (ไม่มีโบรกเกอร์ไหน วิเคราะห์บริษัทเลย)
มีเพียงราคาหุ้นเท่านั้นที่ลง ก็เลยไม่รู้ว่าจะขายไปทำไม แล้วจะขายที่ราคาเท่าไร เพราะราคานี้ก็เป็นราคาที่ตั้งใจจะซื้อมากกว่า
หากหุ้นยังปันผลได้เท่ากับที่ได้รับปีนี้ จะได้ปันผล 7-12%
Blog ของคนใช้เงินเก่ง ^_^
http://pefinance.wordpress.com/about/
http://pefinance.wordpress.com/about/
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 3
ผมไม่ใช่นักวิเคราะห์และไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ ขอมองแบบบ้าน ๆ ดังนี้
1 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เพิ่งเกิดได้ราว 2 ปีกว่า ผมไม่คิดว่าจะมีวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้
2 วิกฤติเศรษฐกิจมักเกิดในเวลาที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ประเภทฟองสบู่แตก ผมว่าคงไม่ใช่ในเวลานี้
3 วิกฤติเศรษฐกิจมักเกิดในเวลาที่ใคร ๆ ก็ไม่คาดคิด (ประเภทว่าใครตักเตือนอาจมีเจ็บตัว) แต่เวลานี้ทุกสายตาจากทุกมุมโลกจับจ้องยุโรป
และถึงวิกฤติจะเกิดขึ้นจริง ผมว่าเอเซียน่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว
ผมเชื่อว่าใน 5-10 ปีต่อจากนี้เป็นยุคทองขอเอเซีย ถนนทุกสายมุ่งสู่เอเซีย เศรษฐกิจประเทศไทยไม่อยากโตก็ต้องถูกบังคับให้โต
แม้ว่าไทยจะมีปัญหาการเมืองที่คาดว่าจะอยู่กับเราไปอีกนานก็ตาม
..............................................................................
ผมพอร์ตเล็กครับ วิธีที่จะให้ได้รับตอบแทนสูงสุดคืออยู่กับหุ้นตลอดเวลา
1 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เพิ่งเกิดได้ราว 2 ปีกว่า ผมไม่คิดว่าจะมีวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้
2 วิกฤติเศรษฐกิจมักเกิดในเวลาที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู ประเภทฟองสบู่แตก ผมว่าคงไม่ใช่ในเวลานี้
3 วิกฤติเศรษฐกิจมักเกิดในเวลาที่ใคร ๆ ก็ไม่คาดคิด (ประเภทว่าใครตักเตือนอาจมีเจ็บตัว) แต่เวลานี้ทุกสายตาจากทุกมุมโลกจับจ้องยุโรป
และถึงวิกฤติจะเกิดขึ้นจริง ผมว่าเอเซียน่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว
ผมเชื่อว่าใน 5-10 ปีต่อจากนี้เป็นยุคทองขอเอเซีย ถนนทุกสายมุ่งสู่เอเซีย เศรษฐกิจประเทศไทยไม่อยากโตก็ต้องถูกบังคับให้โต
แม้ว่าไทยจะมีปัญหาการเมืองที่คาดว่าจะอยู่กับเราไปอีกนานก็ตาม
..............................................................................
ผมพอร์ตเล็กครับ วิธีที่จะให้ได้รับตอบแทนสูงสุดคืออยู่กับหุ้นตลอดเวลา
- [v]
- Verified User
- โพสต์: 1402
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 4
วันนั้นดูรายการ ทางเนชัน มีการทำกราฟหนี้สินต่อ GDP ในประเทศที่มีปัญหาในยูโร เมื่อเทียบกับระดับที่ยอมรับได้
จำได้ว่าหลุดไปเยอะ ประมาณสองสามประเทศ จำชื่อประเทศไม่ได้ ขอไม่ระบุดีกว่า นอกนั้นก็แย่ๆแบบเกาะกลุ่ม
ที่ต้องถามตอนนี้เพราะจะได้จัดสรรพอร์ตได้ทันการณ์
ส่วนตอน แฮมเบอร์เกอร์ เวลามันตกก็ตกทั้งกระดาน
ส่วนตัว
ผมไม่เห็นหุ้นตัวไหนมันทนได้เลย ไปรอสอยตอนต่ำๆ ทั้งนั้น แล้วปันผลประมาณ 10-20% ขึ้น โผล่รึ่ม เลย
มีแต่สองอย่างลงต่อจัดพอร์ตทันรวย กับไม่ลงลึกจัดพอร์ตไม่ทันแห้ว !!
จำได้ว่าหลุดไปเยอะ ประมาณสองสามประเทศ จำชื่อประเทศไม่ได้ ขอไม่ระบุดีกว่า นอกนั้นก็แย่ๆแบบเกาะกลุ่ม
ที่ต้องถามตอนนี้เพราะจะได้จัดสรรพอร์ตได้ทันการณ์
ส่วนตอน แฮมเบอร์เกอร์ เวลามันตกก็ตกทั้งกระดาน
ส่วนตัว
ผมไม่เห็นหุ้นตัวไหนมันทนได้เลย ไปรอสอยตอนต่ำๆ ทั้งนั้น แล้วปันผลประมาณ 10-20% ขึ้น โผล่รึ่ม เลย
มีแต่สองอย่างลงต่อจัดพอร์ตทันรวย กับไม่ลงลึกจัดพอร์ตไม่ทันแห้ว !!
- kabu
- Verified User
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 5
ประเทศที่ห่วยมากๆก็มี กรีซ อิตาลี สเปน ปอตุเกสครับ
ล่าสุดรัฐบาลสเปนเข้าไปอุ้มธนาคารออมทรัพย์ของตนเองเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาครับ เนื่องจากพลาดจากการควบรวม ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของประเทศในยุโรปลดลงอีก และเงินสกุลยูโรกลับมาอ่อนอีกครั้งหลังจากดีดกลับในวันศุกร์ที่ผ่านมาครับ
สถานการณ์ไม่ค่อยดี ผมมองว่าคงไม่เท่ากับตอนเลห์แมน แต่อาจจะลงต่อเนื่องไปซักระยะ ส่วนตัวยังอยู่กับหุ้นเป็นหลักแต่มีเงินสดประมาณ 35% ครับ ยังรอดูอยู่ห่างๆ (แบบห่วงๆ :roll: ) มีหุ้นในใจอยู่เหมือนกันรอให้ลงมาที่เป้าหมายอยู่ครับ
ล่าสุดรัฐบาลสเปนเข้าไปอุ้มธนาคารออมทรัพย์ของตนเองเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาครับ เนื่องจากพลาดจากการควบรวม ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือของประเทศในยุโรปลดลงอีก และเงินสกุลยูโรกลับมาอ่อนอีกครั้งหลังจากดีดกลับในวันศุกร์ที่ผ่านมาครับ
สถานการณ์ไม่ค่อยดี ผมมองว่าคงไม่เท่ากับตอนเลห์แมน แต่อาจจะลงต่อเนื่องไปซักระยะ ส่วนตัวยังอยู่กับหุ้นเป็นหลักแต่มีเงินสดประมาณ 35% ครับ ยังรอดูอยู่ห่างๆ (แบบห่วงๆ :roll: ) มีหุ้นในใจอยู่เหมือนกันรอให้ลงมาที่เป้าหมายอยู่ครับ
- [v]
- Verified User
- โพสต์: 1402
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 6
เห็นว่า กรีซได้รับเงินไปอุดแล้ว ถ้าเอากรณีดูไบมาเทียบ จำได้ว่าตอนนั้นมีรัฐแม่ มาอุ้มไปพร้อมเคลียร์รอบหนี้ให้ แล้วสุดท้ายเงียบ
ของกรีซเถียงกันไปมา สุดท้ายก็ได้เงิน แต่สเปนกับที่เหลือเหมือน น้ำลดตอเริ่มผุด ยังไงชอบกล แล้วใครจะช่วย ?
เงินระดับ ล้านล้าน เหรียญดอลลาร์ ออกข่าวยังกับซื้อขนมเลยครับ.
แค่จีนลดมาตรการความร้อนแรงก็ ยวบไปทีนึงตอนต้นปี ส่วนตัวก็มีหุ้นเล็งๆไว้ แต่ก็ดูๆอยู่ห่างๆ ผมจะไม่ใช่คนแรกที่ซื้อหุ้นอยู่แล้ว :lol:
ของกรีซเถียงกันไปมา สุดท้ายก็ได้เงิน แต่สเปนกับที่เหลือเหมือน น้ำลดตอเริ่มผุด ยังไงชอบกล แล้วใครจะช่วย ?
เงินระดับ ล้านล้าน เหรียญดอลลาร์ ออกข่าวยังกับซื้อขนมเลยครับ.
แค่จีนลดมาตรการความร้อนแรงก็ ยวบไปทีนึงตอนต้นปี ส่วนตัวก็มีหุ้นเล็งๆไว้ แต่ก็ดูๆอยู่ห่างๆ ผมจะไม่ใช่คนแรกที่ซื้อหุ้นอยู่แล้ว :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 8
รอบต้มยำกุ้ง
เกิดจากที่อินโดนีเซีย -> ไทย->มาเลเซีย->เกาหลีใต->รัสเซีย -> ฟองสบู่อินเตอร์เน็ตแตก
ใช่เวลากี่ปี 1997-2000 โดยประมาณ
ในวิกฤติก็สามารถเกิดวิกฤติได้อีก หลายประเทศไม่แข็งแกร่งจริงๆ
เกิดจากที่อินโดนีเซีย -> ไทย->มาเลเซีย->เกาหลีใต->รัสเซีย -> ฟองสบู่อินเตอร์เน็ตแตก
ใช่เวลากี่ปี 1997-2000 โดยประมาณ
ในวิกฤติก็สามารถเกิดวิกฤติได้อีก หลายประเทศไม่แข็งแกร่งจริงๆ
- super2007
- Verified User
- โพสต์: 88
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 9
สเปน น่าจะรอด / เศรษฐกิจสเปนขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมรถยนต์
ผมเชื่อว่าธุรกิจยานยนต์ตอนนี้เริ่มฟื้นแล้ว และแน่นอนสเปนน่าจะรอดครับ
รอดูไม่เกิน 6 เดือนเหตุการณ์ในยุโรปจะดีขึ้น ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน
ผมเชื่อว่าธุรกิจยานยนต์ตอนนี้เริ่มฟื้นแล้ว และแน่นอนสเปนน่าจะรอดครับ
รอดูไม่เกิน 6 เดือนเหตุการณ์ในยุโรปจะดีขึ้น ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน
- green-orange
- Verified User
- โพสต์: 896
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 10
ผมว่านะ ตอนนี้ต้องเตรียมตัวให้ดี ทุกอย่างเกิดขี้นได้เสมอ ฉนั้นต้องเล็งๆไว้ก่อน เหมือนกับเวลาข้าศึกจะโจมเรา แต่ถ้าเราไม่เตรียมตัวตั้งรับ พอข้าศึกมาแล้วเราจะสู้ไหวเหรอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 12
เค้าว่ากันว่า...กลุ่มที่เกิดวิกฤตครั้งนี้ก็คือกลุ่มPIIGS
ซึ่งก็คือ
โปรตุเกส
ไอร์แลนด์
อิตาลี
กรีซ
และสเปน
โดยกลุ่มประเทศPIIGSนี้ มีการกู้ประเทศอื่นๆอีกด้วย
ได้แก่ เยอรมัน(ประเทศแรกๆที่เต็มใจช่วยกรีซเต็มที่) อังกฤษและฝรั่งเศส
ถ้ากรีซล้ม ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้
ประเทศอื่นๆก็...........................
ซึ่งก็คือ
โปรตุเกส
ไอร์แลนด์
อิตาลี
กรีซ
และสเปน
โดยกลุ่มประเทศPIIGSนี้ มีการกู้ประเทศอื่นๆอีกด้วย
ได้แก่ เยอรมัน(ประเทศแรกๆที่เต็มใจช่วยกรีซเต็มที่) อังกฤษและฝรั่งเศส
ถ้ากรีซล้ม ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้
ประเทศอื่นๆก็...........................
-
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 14
เคยอ่านเจอแว้บๆว่าทุกครั้งที่เกิดวิกฤติหุ้นจะตกแบบไม่ตั้งตัว
แล้วซักพักจะค่อยๆฟื้นขึ้นพร้อมกับการ correction เป็นระยะๆ
เนื่องจากความกลัว แต่ในที่สุดแล้วจะค่อยๆขึ้นไปท่ามกลางข่าวร้ายค่ะ
ไม่รู้จริงรึเปล่าเพราะไม่เคยมีประสบการณ์จริงค่ะ :lol:
แล้วซักพักจะค่อยๆฟื้นขึ้นพร้อมกับการ correction เป็นระยะๆ
เนื่องจากความกลัว แต่ในที่สุดแล้วจะค่อยๆขึ้นไปท่ามกลางข่าวร้ายค่ะ
ไม่รู้จริงรึเปล่าเพราะไม่เคยมีประสบการณ์จริงค่ะ :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินสถานะการณ์ครับจะกลับไปลงลึกแบบเลห์แมนบราเทอร์รึไม่
โพสต์ที่ 15
http://portal.settrade.com/blog/kobsak/2010/05/25/859
Tuesday, 25 May 2010
บทเรียนจาก GREECE
« แผนการแก้วิกฤตของ GREECE | Main
บทเรียนจาก GREECE
ในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมา สถานการณ์เศรษฐกิจของกรีซ ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และลุกลามจนกลายเป็นวิกฤต หลายคนสนใจว่า บทเรียนจากกรีซคืออะไร วันนี้อยากมาเล่าให้ฟังถึงที่มาของปัญหา และสาเหตุที่ทำให้ปัญหาลุกลามขึ้นถึงขนาดนี้
ปัญหาเกิดจากอะไร ถ้าตอบสั้นๆ ก็ต้องบอกว่า มาจาก การใช้จ่ายเกินตัว ใช้ชีวิตสุขสบายเกินไป เกินกำลัง เกินอัตภาพ
คนที่ใช้จ่ายเกินตัวในกรณีนี้ ก็คือ ภาครัฐ ที่แต่ละปีจ่ายออกไปมากกว่าภาษีที่ได้มา ลงไปในโครงการประชานิยม รวมถึงให้สวัสดิการต่างๆ เอาใจประชาชน เพื่อประโยชน์ทางการเมือง จนขาดดุลการคลังต่อเนื่องกันหลายต่อหลายปี
ถ้าจะว่าไป รัฐบาลกรีซไม่น่าสามารถจะกู้เงินมาใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุหร่ายได้มากขนาดนี้ ปัญหาไม่ควรมาไกลถึงเพียงนี้ เมื่อหนี้ภาครัฐกรีซเริ่มเพิ่มขึ้น สูงแซงประเทศอื่นๆ นักลงทุนก็น่าจะเริ่มกังวลใจได้แล้ว และเฉลียวใจว่าถ้ากรีซยังกู้ยืมแบบนี้ ท่าทางจะไปไม่รอด ซึ่งนำไปสู่คิดดอกเบี้ยให้แพงขึ้นเรื่อยๆ หรือลดการให้กู้ยืมแต่เนิ่นๆ ท้ายสุดกรีซก็จะกู้ยืมได้ไม่มากนัก ต้องลดการใช้จ่ายลง หนี้ภาครัฐก็คงจะไม่สามารถสูงไปถึง 115% ของรายได้ประเทศ เช่นที่เกิดขึ้น
แต่กลไกดังกล่าวกลับไม่ทำงาน ส่วนหนึ่งมาจาก 1) การที่กรีซเป็นสมาชิกของกลุ่มยูโร อาศัยเครดิตของเยอรมันมาทำให้กรีซดูดีมากในสายตาของนักลงทุน และในสายตาของสถาบันจัดอันดับเครดิตของโลก ซึ่งเป็นสิ่งมาบังตาของทุกคน ยอมปล่อยเงินให้กรีซยืมต่อไปด้วยดอกเบี้ยที่ไม่แพงนัก ไม่น่าแปลกใจว่ากรีซจึงสามารถใช้เงินแบบสนุกมือ
ยิ่งไปกว่านั้น 2) รัฐบาลกรีซเอง ยังมีการตกแต่งตัวเลขการใช้จ่าย โดยไปซุกซ่อนทำธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนกับบริษัท Goldman Sachs ตั้งแต่ปี 2001 เพื่อลดตัวเลขการขาดดุลการคลัง และหนี้ภาครัฐลง ผลักภาระออกในอนาคต
ทั้งหมดนี้ทำให้ฐานะการคลังของกรีซเปราะบางมาก เป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูงสุดในกลุ่มยูโร ครั้นเกิดวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กรีซต้องใช้จ่ายเงินอีกเป็นจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สถานการณ์ด้านการคลังก็ทรุดลง ครั้นเมื่อความเป็นจริงเรื่องตัวเลขการขาดดุลการคลัง ที่ซุกซ่อนเอาไว้เปิดเผยออกมาซ้ำเติม ทั้งหมดจึงกลายเป็นชนวนนำมาซึ่งวิกฤตความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาลกรีซ และปัญหาในปัจจุบัน
ที่น่าสนใจก็คือ ช่วงแรกที่กรีซเริ่มแสดงอาการของปัญหา กรีซยังพอมีเวลาที่จะปรับปรุงตนเอง โดยลดการใช้จ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อลดการขาดดุลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากลง แสดงถึงวินัยการคลังของตนเอง ซึ่งจะให้เจ้าหนี้และนักลงทุนเชื่อใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ อีกทั้งกรีซก็มีตัวช่วย คือ ประเทศในกลุ่มยูโรที่จะยืนมือเข้ามาหากปัญหาลุกลาม
แต่สิ่งที่น่าเสียใจก็คือ กรีซเลือกที่จะไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหา ไม่ยอมแก้ไขแต่เนิ่นๆ มีปัญหาประท้วงอย่างรุนแรงเกิดขึ้นต่อเนื่องในประเทศ โดยสหภาพแรงงานกรีซไม่ยอมที่จะให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายลง อีกทั้งประเทศในกลุ่มยูโรก็มีปัญหาทางการเมืองภายใน เตะถ่วงไม่ยอมให้ความช่วยเหลือกรีซให้รวดเร็วและเพียงพอแต่เนิ่นๆ ตรงนี้ จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้วิกฤตความเชื่อมั่นลุกลาม และทำให้กรีซกลายเป็นเหยื่อของนักเก็งกำไร โดยเฉพาะการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตรและตลาด CDS ของกรีซ และเมื่อสถาบันจัดอันดับเครดิต S&P ออกมาประกาศซ้ำเติม โดยลดอันดับของกรีซลง 3 ขั้นในครั้งเดียว พันธบัตรกรีซกลายเป็น Junk Bond ไม่เหมาะต่อการลงทุน สถานการณ์ก็ทรุดตัวลง
พอลองกลับมานั่งคิดดู เราเรียนรู้อะไรจากกรีซ 1) ต้องกันไว้ก่อน อย่าทำตัวเปราะบาง รักษาวินัยตลอดเวลา เพราะถ้าเรามีวินัย ฐานะเราไม่เปราะบาง เราก็จะไม่เป็นเหยื่อได้ง่าย 2) ทำอะไรตรงไปตรงมา เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่สร้างมาได้ยาก และตอนที่หายไป หายไปง่าย และ 3) เมื่อเกิดปัญหา ก็ให้แก้แต่เนิ่นๆ อย่ารอช้า เพราะถ้าปล่อยให้สถานการณ์ล่วงเลยมามาก การจะแก้ก็ทำได้ยาก เพราะเมื่อถึงตอนนั้น ก็เป็นเหยื่อของนักเก็งกำไรไปแล้ว อยู่ใต้กงเล็บของเขาแล้ว การจะออกหลุดออกจากตรงนั้น เป็นไปได้ยาก
ก็หวังว่าไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะใช้กรีซเป็นอุทาหรณ์และเร่งที่จะสร้างวินัยทางเศรษฐกิจของตนให้เกิดขึ้น ไม่ตกเป็นเหยื่อรายต่อไป ขอเอาใจช่วยครับ
Tuesday, 25 May 2010
บทเรียนจาก GREECE
« แผนการแก้วิกฤตของ GREECE | Main
บทเรียนจาก GREECE
ในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมา สถานการณ์เศรษฐกิจของกรีซ ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และลุกลามจนกลายเป็นวิกฤต หลายคนสนใจว่า บทเรียนจากกรีซคืออะไร วันนี้อยากมาเล่าให้ฟังถึงที่มาของปัญหา และสาเหตุที่ทำให้ปัญหาลุกลามขึ้นถึงขนาดนี้
ปัญหาเกิดจากอะไร ถ้าตอบสั้นๆ ก็ต้องบอกว่า มาจาก การใช้จ่ายเกินตัว ใช้ชีวิตสุขสบายเกินไป เกินกำลัง เกินอัตภาพ
คนที่ใช้จ่ายเกินตัวในกรณีนี้ ก็คือ ภาครัฐ ที่แต่ละปีจ่ายออกไปมากกว่าภาษีที่ได้มา ลงไปในโครงการประชานิยม รวมถึงให้สวัสดิการต่างๆ เอาใจประชาชน เพื่อประโยชน์ทางการเมือง จนขาดดุลการคลังต่อเนื่องกันหลายต่อหลายปี
ถ้าจะว่าไป รัฐบาลกรีซไม่น่าสามารถจะกู้เงินมาใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุหร่ายได้มากขนาดนี้ ปัญหาไม่ควรมาไกลถึงเพียงนี้ เมื่อหนี้ภาครัฐกรีซเริ่มเพิ่มขึ้น สูงแซงประเทศอื่นๆ นักลงทุนก็น่าจะเริ่มกังวลใจได้แล้ว และเฉลียวใจว่าถ้ากรีซยังกู้ยืมแบบนี้ ท่าทางจะไปไม่รอด ซึ่งนำไปสู่คิดดอกเบี้ยให้แพงขึ้นเรื่อยๆ หรือลดการให้กู้ยืมแต่เนิ่นๆ ท้ายสุดกรีซก็จะกู้ยืมได้ไม่มากนัก ต้องลดการใช้จ่ายลง หนี้ภาครัฐก็คงจะไม่สามารถสูงไปถึง 115% ของรายได้ประเทศ เช่นที่เกิดขึ้น
แต่กลไกดังกล่าวกลับไม่ทำงาน ส่วนหนึ่งมาจาก 1) การที่กรีซเป็นสมาชิกของกลุ่มยูโร อาศัยเครดิตของเยอรมันมาทำให้กรีซดูดีมากในสายตาของนักลงทุน และในสายตาของสถาบันจัดอันดับเครดิตของโลก ซึ่งเป็นสิ่งมาบังตาของทุกคน ยอมปล่อยเงินให้กรีซยืมต่อไปด้วยดอกเบี้ยที่ไม่แพงนัก ไม่น่าแปลกใจว่ากรีซจึงสามารถใช้เงินแบบสนุกมือ
ยิ่งไปกว่านั้น 2) รัฐบาลกรีซเอง ยังมีการตกแต่งตัวเลขการใช้จ่าย โดยไปซุกซ่อนทำธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนกับบริษัท Goldman Sachs ตั้งแต่ปี 2001 เพื่อลดตัวเลขการขาดดุลการคลัง และหนี้ภาครัฐลง ผลักภาระออกในอนาคต
ทั้งหมดนี้ทำให้ฐานะการคลังของกรีซเปราะบางมาก เป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูงสุดในกลุ่มยูโร ครั้นเกิดวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กรีซต้องใช้จ่ายเงินอีกเป็นจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สถานการณ์ด้านการคลังก็ทรุดลง ครั้นเมื่อความเป็นจริงเรื่องตัวเลขการขาดดุลการคลัง ที่ซุกซ่อนเอาไว้เปิดเผยออกมาซ้ำเติม ทั้งหมดจึงกลายเป็นชนวนนำมาซึ่งวิกฤตความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาลกรีซ และปัญหาในปัจจุบัน
ที่น่าสนใจก็คือ ช่วงแรกที่กรีซเริ่มแสดงอาการของปัญหา กรีซยังพอมีเวลาที่จะปรับปรุงตนเอง โดยลดการใช้จ่าย เพิ่มรายได้ เพื่อลดการขาดดุลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากลง แสดงถึงวินัยการคลังของตนเอง ซึ่งจะให้เจ้าหนี้และนักลงทุนเชื่อใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ อีกทั้งกรีซก็มีตัวช่วย คือ ประเทศในกลุ่มยูโรที่จะยืนมือเข้ามาหากปัญหาลุกลาม
แต่สิ่งที่น่าเสียใจก็คือ กรีซเลือกที่จะไม่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหา ไม่ยอมแก้ไขแต่เนิ่นๆ มีปัญหาประท้วงอย่างรุนแรงเกิดขึ้นต่อเนื่องในประเทศ โดยสหภาพแรงงานกรีซไม่ยอมที่จะให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายลง อีกทั้งประเทศในกลุ่มยูโรก็มีปัญหาทางการเมืองภายใน เตะถ่วงไม่ยอมให้ความช่วยเหลือกรีซให้รวดเร็วและเพียงพอแต่เนิ่นๆ ตรงนี้ จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้วิกฤตความเชื่อมั่นลุกลาม และทำให้กรีซกลายเป็นเหยื่อของนักเก็งกำไร โดยเฉพาะการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตรและตลาด CDS ของกรีซ และเมื่อสถาบันจัดอันดับเครดิต S&P ออกมาประกาศซ้ำเติม โดยลดอันดับของกรีซลง 3 ขั้นในครั้งเดียว พันธบัตรกรีซกลายเป็น Junk Bond ไม่เหมาะต่อการลงทุน สถานการณ์ก็ทรุดตัวลง
พอลองกลับมานั่งคิดดู เราเรียนรู้อะไรจากกรีซ 1) ต้องกันไว้ก่อน อย่าทำตัวเปราะบาง รักษาวินัยตลอดเวลา เพราะถ้าเรามีวินัย ฐานะเราไม่เปราะบาง เราก็จะไม่เป็นเหยื่อได้ง่าย 2) ทำอะไรตรงไปตรงมา เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งที่สร้างมาได้ยาก และตอนที่หายไป หายไปง่าย และ 3) เมื่อเกิดปัญหา ก็ให้แก้แต่เนิ่นๆ อย่ารอช้า เพราะถ้าปล่อยให้สถานการณ์ล่วงเลยมามาก การจะแก้ก็ทำได้ยาก เพราะเมื่อถึงตอนนั้น ก็เป็นเหยื่อของนักเก็งกำไรไปแล้ว อยู่ใต้กงเล็บของเขาแล้ว การจะออกหลุดออกจากตรงนั้น เป็นไปได้ยาก
ก็หวังว่าไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะใช้กรีซเป็นอุทาหรณ์และเร่งที่จะสร้างวินัยทางเศรษฐกิจของตนให้เกิดขึ้น ไม่ตกเป็นเหยื่อรายต่อไป ขอเอาใจช่วยครับ
ความดีเล็กๆ จะสร้างความยิ่งใหญ่ในวันหน้า