มาบตาพุด
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 1
มาบตาพุด ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม 76 โครงการ มูลค่าราว 3.3 แสนล้านบาท
ในบริเวณพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อ.บ้านฉาง จ.ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงจ.ระยอง เป็นการชั่วคราว ระหว่างรอคำพิพากษาคดีกรณีที่มีผู้
ฟ้องหน่วยงานรัฐออกคำสั่งไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หลังมีการอนุมัติให้โครงการเหล่านั้นดำเนินกิจกรรมได้ ด้านการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย(กนอ.)ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกฟ้อง เตรียมพิจารณาว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ขณะที่กลุ่มบมจ.ปตท.(PTT) และ
กลุ่มบมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC)มีการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด "ส.อ.ท." ชี้นักลงทุนสับสน เตรียมนำเรื่องถกในที่ประชุม กกร.12 ต.ค.
ทั้งนี้การระงับโครงการดังกล่าว ให้ยกเว้นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญปี 50 โครงการ
หรือกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
สำหรับ 76 โครงการที่ได้รับผลกระทบนอกเหนือจากกลุ่ม PTT และ SCC ยังมีผู้ประกอบการอย่างกลุ่มอินโดรามา ,โรงไฟฟ้าของ
บริษัท โกลว์ เหมราช พลังงาน จำกัด และบมจ.วีนิไทย (VNT) (รอยเตอร์/ผู้จัดการรายวัน)
ความเห็น เราได้รวบรวมบริษัทในตลาดที่น่าจะรวมอยู่ใน 76 โครงการ ที่ได้รับ EIA หลังจากที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับ
ใช้ในวันที่ 24 ส.ค.2550 ก.พ. 2552 แต่จะถูกชะลอการก่อสร้างหรือการผลิต ประกอบด้วย GLOW , PTT , INOX ,
TYCN , PTTCH , SCC , PTTAR, TPC, AMATA, VNT, PTL, GSTEEL , EGCO
ทั้งนี้จำนวนโครงการของบริษัทที่จะถูกระงับการก่อสร้างและการผลิตมากที่สุดที่ 3 บริษัทคือ PTT , PTTCH และ PTTAR
แ ละจะถูกกระทบมากที่สุด
สำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ในจำนวน 76 โครงการนี้ อาทิเช่น
PTT โรงแยกก๊าซ #6
PTTCH โครงการขยายกำลังการผลิต Poly-Ethylene 5 หมื่นตัน/ปี
PTTAR โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 และโครงการควบคุมไอ
น้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประสิทธิภาพไบโอดีเซล
GLOW โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโครงการทั้ง 76 โครงการ ที่จะมีการชะลอออกไปจนกว่าจะมีการผ่าน EIA ตามกฎหมายที่
กำหนดไว้นั้นถือว่ากระทบกับภาครวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นค่อนข้างรุนแรง
แต่ถ้าลงไปในรายบริษัทแล้ว PTT น่าจะถูกกระทบมากที่สุด เพราะมีโครงการของ PTT เองและบริษัทในเครือที่ถูกสั่ง
ให้ชะลอโครงการ ผลกระทบต่อ PTTCH และ PTTAR นั้น ถือว่ารุนแรงไม่น้อยไปกว่า PTT เพราะการที่โรงแยกก๊าซ #6 ถูก
เลื่อนออกไป นั่นหมายความว่า PTTCH ซึ่งเป็นผู้ใช้ผลิตจากโรงแยกก๊าซแห่งนี้จะไม่มีวัตถุดิบในการผลิตสำหรับ Ethane
Cracker ที่กำลังจะทำการ Test run ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ ผลกระทบยังมีไปถึงแผนควบรวม 4 บริษัทในกลุ่ม PTT คือ TOP, PTTCH , IRPC และ PTTAR เนื่องจาก
PTT อาจต้องกลับมาประเมินกันใหม่ว่า ถ้ารวมแล้วไม่สามารถลงทุนเพิ่มได้จะต้องทำอย่างไร และจะทำให้แผนที่ PTT ระบุว่า
จะประกาศการควบรวมให้ได้ภายในปีนี้ ถูกเลื่อนออกไป
สำหรับผลกระทบต่อ GLOW นั้น ถึงจะถูกกระทบในระดับที่ไม่รุนแรงเท่า PTT ,PTTCH และ PTTAR แต่เราคาดว่ามี
ความเสี่ยงที่จะถูกขายด้วยเช่นกัน
โครงการระดับ Mega Project ที่มีการอนุมัติไปก่อนหน้าเดือน ส.ค.50 และจะไม่ถูกระงับการก่อสร้างหรือผลิต มี 2
โครงการ คือ การขยายกำลังการผลิตโอเลฟินส์ของ บ.ระยอง โอเลฟินส์ (SCC) และโครงการ Ethane Cracker ของ PTTCH
ในวันนี้ เราจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นที่ถูกกระทบจากคำตัดสินของศาลปกครองกลางในครั้งนี้ เพราะยังไม่มีการระบุ
เวลาที่ชัดเจนว่า การประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นั้น จะเสร็จสิ้นเมื่อใด แต่น่าจะไม่ต่ำกวา่ 6 เดือน
http://www.cgsec.co.th/resources/resear ... f?broker=1
ในบริเวณพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อ.บ้านฉาง จ.ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงจ.ระยอง เป็นการชั่วคราว ระหว่างรอคำพิพากษาคดีกรณีที่มีผู้
ฟ้องหน่วยงานรัฐออกคำสั่งไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หลังมีการอนุมัติให้โครงการเหล่านั้นดำเนินกิจกรรมได้ ด้านการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย(กนอ.)ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกฟ้อง เตรียมพิจารณาว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ขณะที่กลุ่มบมจ.ปตท.(PTT) และ
กลุ่มบมจ.ปูนซิเมนต์ไทย(SCC)มีการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวมากที่สุด "ส.อ.ท." ชี้นักลงทุนสับสน เตรียมนำเรื่องถกในที่ประชุม กกร.12 ต.ค.
ทั้งนี้การระงับโครงการดังกล่าว ให้ยกเว้นโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญปี 50 โครงการ
หรือกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)
สำหรับ 76 โครงการที่ได้รับผลกระทบนอกเหนือจากกลุ่ม PTT และ SCC ยังมีผู้ประกอบการอย่างกลุ่มอินโดรามา ,โรงไฟฟ้าของ
บริษัท โกลว์ เหมราช พลังงาน จำกัด และบมจ.วีนิไทย (VNT) (รอยเตอร์/ผู้จัดการรายวัน)
ความเห็น เราได้รวบรวมบริษัทในตลาดที่น่าจะรวมอยู่ใน 76 โครงการ ที่ได้รับ EIA หลังจากที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับ
ใช้ในวันที่ 24 ส.ค.2550 ก.พ. 2552 แต่จะถูกชะลอการก่อสร้างหรือการผลิต ประกอบด้วย GLOW , PTT , INOX ,
TYCN , PTTCH , SCC , PTTAR, TPC, AMATA, VNT, PTL, GSTEEL , EGCO
ทั้งนี้จำนวนโครงการของบริษัทที่จะถูกระงับการก่อสร้างและการผลิตมากที่สุดที่ 3 บริษัทคือ PTT , PTTCH และ PTTAR
แ ละจะถูกกระทบมากที่สุด
สำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ในจำนวน 76 โครงการนี้ อาทิเช่น
PTT โรงแยกก๊าซ #6
PTTCH โครงการขยายกำลังการผลิต Poly-Ethylene 5 หมื่นตัน/ปี
PTTAR โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 และโครงการควบคุมไอ
น้ำมันเชื้อเพลิงและเพิ่มประสิทธิภาพไบโอดีเซล
GLOW โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อโครงการทั้ง 76 โครงการ ที่จะมีการชะลอออกไปจนกว่าจะมีการผ่าน EIA ตามกฎหมายที่
กำหนดไว้นั้นถือว่ากระทบกับภาครวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นค่อนข้างรุนแรง
แต่ถ้าลงไปในรายบริษัทแล้ว PTT น่าจะถูกกระทบมากที่สุด เพราะมีโครงการของ PTT เองและบริษัทในเครือที่ถูกสั่ง
ให้ชะลอโครงการ ผลกระทบต่อ PTTCH และ PTTAR นั้น ถือว่ารุนแรงไม่น้อยไปกว่า PTT เพราะการที่โรงแยกก๊าซ #6 ถูก
เลื่อนออกไป นั่นหมายความว่า PTTCH ซึ่งเป็นผู้ใช้ผลิตจากโรงแยกก๊าซแห่งนี้จะไม่มีวัตถุดิบในการผลิตสำหรับ Ethane
Cracker ที่กำลังจะทำการ Test run ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ ผลกระทบยังมีไปถึงแผนควบรวม 4 บริษัทในกลุ่ม PTT คือ TOP, PTTCH , IRPC และ PTTAR เนื่องจาก
PTT อาจต้องกลับมาประเมินกันใหม่ว่า ถ้ารวมแล้วไม่สามารถลงทุนเพิ่มได้จะต้องทำอย่างไร และจะทำให้แผนที่ PTT ระบุว่า
จะประกาศการควบรวมให้ได้ภายในปีนี้ ถูกเลื่อนออกไป
สำหรับผลกระทบต่อ GLOW นั้น ถึงจะถูกกระทบในระดับที่ไม่รุนแรงเท่า PTT ,PTTCH และ PTTAR แต่เราคาดว่ามี
ความเสี่ยงที่จะถูกขายด้วยเช่นกัน
โครงการระดับ Mega Project ที่มีการอนุมัติไปก่อนหน้าเดือน ส.ค.50 และจะไม่ถูกระงับการก่อสร้างหรือผลิต มี 2
โครงการ คือ การขยายกำลังการผลิตโอเลฟินส์ของ บ.ระยอง โอเลฟินส์ (SCC) และโครงการ Ethane Cracker ของ PTTCH
ในวันนี้ เราจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้นที่ถูกกระทบจากคำตัดสินของศาลปกครองกลางในครั้งนี้ เพราะยังไม่มีการระบุ
เวลาที่ชัดเจนว่า การประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นั้น จะเสร็จสิ้นเมื่อใด แต่น่าจะไม่ต่ำกวา่ 6 เดือน
http://www.cgsec.co.th/resources/resear ... f?broker=1
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 2
โผหุ้นดี-เดี้ยง รับ 76 คก.โดนเบรก
SCC- PTTCH - PTTAR -IRP - GLOW- TPC ร้องจ๊าก!! ราคาหุ้นดำดิ่งรับข่าวมาบตาพุดร้อน ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเบรก 76 โครงการลงทุน มูลค่า 4 แสนล้านบาท หลังถูกร้องสร้างปัญหาก่อมลพิษให้ชุมชน นายกฯ ดับร้อน สั่งกระทรวงอุตสาหกรรมยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลฯ ด่วนภายใน 1 - 2 วันนี้ ป้องกันความเชื่อมั่นนักลงทุนกระเจิง จับตาผู้ประกอบการเร่งหารือทางออกลดผลกระทบ ฟากหุ้นกำจัดกากขยะ PRO - GENCO - BWG ยังนำทีมเริงร่ารับอานิสงส์ได้ออเดอร์เพิ่ม
ทันทีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับโครงการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมรวม 76 โครงการ มูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียง จ.ระยอง ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายให้ความสนใจกับประเด็นนี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น โดยเฉพาะการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
โดยกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน, สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ยื่นฟ้องร้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( พม.), นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม, นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.กระทรวง พลังงาน, นายโสภณ ซารัมย์ รมว.กระทรวงคมนาคม, นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.กระทรวงสาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-8 เพราะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมกันเห็นชอบหรืออนุญาตให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ไปดำเนินการก่อสร้างหรือขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉางและใกล้เคียง
ทั้งนี้ ศาลปกครองพิจารณาเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีปัญหาน่าจะไม่ชอบด้วยกฏหมายและสั่งระงับโครงการลงทุน โดยระบุว่าพื้นที่มาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่มีปัญหาด้านมลพิษจากการประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญให้ศึกษาและประเมินผลกระทบ รวมถึงต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน
แน่นอนว่าประเด็นข่าวดังกล่าวมีผลต่อหลายบริษัทฯ ที่เข้าไปลงทุนในโครงการมาบตาพุด และจากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ของธุรกิจพลังงาน ปิโตรเคมี และนิคมอุตสาหกรรม โดยบริษัทฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แก่ บริษัทในเครือ ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC, บริษัทในเครือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT อาทิ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR, บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH, บริษัท โกล์วพลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW รวมถึง บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IRP, บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC และบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือ HEMRAJ
อย่างไรก็ดี แม้มีหลายบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากการชะลอโครงการลงทุนดังกล่าว แต่ฟากของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกำจัดกากขยะ โดยเฉพาะที่มีฐานลูกค้าในแถบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอยู่แล้ว ก็น่าจะได้อานิสงส์ทางบวก ส่งผลให้ยอดรับรู้รายได้จากทั้งฐานลูกค้าเดิมและฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น อาทิ บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) หรือ PRO,บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO และบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG
ย้อนดูราคาหุ้นบนกระดาน พบว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบปรับลดลงอย่างเด่นชัด โดยปิดการซื้อขายวานนี้ (30 กันยายน 2552) ราคาหุ้น SCC อยู่ที่ 222.00 บาท ลดลง 5.00 บาท หรือ 2.20% มูลค่าการซื้อขาย 1,112.38 ล้านบาท, ราคาหุ้น PTTAR อยู่ที่ 24.40 บาท ลดลง 1.10 บาท หรือ 4.31% มูลค่าการซื้อขาย 1,659.05 ล้านบาท, ราคาหุ้น PTTCH อยู่ที่ 73.25 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 5.18% มูลค่าการซื้อขาย 843.87 ล้านบาท, ราคาหุ้น GLOW อยู่ที่ 32.75 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 5.07% มูลค่าการซื้อขาย 135.66 ล้านบาท ส่วนราคาหุ้น HEMRAJ อยู่ที่ 0.83 บาท ลดลง 0.04 บาท หรือ 4.60% มูลค่าการซื้อขาย 28.35 ล้านบาท
ขณะที่ราคาหุ้น PRO ปิดการซื้อขายที่ 0.34 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือ 3.03% มูลค่าการซื้อขาย 8.85 ล้านบาท, ราคาหุ้น GENCO อยู่ที่ 0.67 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือ 1.52% มูลค่าการซื้อขาย 26.70 ล้านบาท และราคาหุ้น BWG อยู่ที่ 1.72 บาท เพิ่มขึ้น 0.02 บาท หรือ 1.18% มูลค่าการซื้อขาย 14.41 ล้านบาท
****ประธานสภาอุตฯ ชี้ ศาลปกครองเบรก76 คก. มาบตาพุด กระทบความเชื่อมั่น - การผลิต นัดประชุม กกร. และ กรอ. กลาง ต.ค.นี้
นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ปัญหามาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับโครงการจำนวน 76 โครงการมูลค่าราว 4 แสนล้านบาทดังกล่าว เป็นเรื่องที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน ซึ่งรัฐบาล ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีการพูดคุยและหาทางออกและแก้ปัญหาดังกล่าวให้เร็วที่สุด ซึ่งประเด็นนี้มีผลต่อการลงทุนระยะยาว โดยอุตสาหกรรมที่ถูกระงับเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำเพื่อทดแทนการนำเข้าอย่างน้อยปีละ 3 แสนล้านบาท
" คาดว่าจะมีการนัดประชุมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. และคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. ให้เร็วที่สุดภายในกลางเดือนต.ค.นี้" นายสันติ กล่าว
****นายกฯ ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ พร้อมแก้ปัญหา 76 คก. ในมาบตาพุดโดนระงับลงทุน หวั่นกระทบความเชื่อมั่น นลท.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมยื่นทธรณ์ต่อศาลปกครอง หลังศาลปกครองกลางรับไต่สวนกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลฯ กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยให้ศาลฯ สั่งระงับ 76 โครงการ ในเขตอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ปฎิบัติตามกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมที่จะเร่งหาข้อยุติ เนื่องจากหากปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อ อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดความไม่แน่นอน และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
'โครงการใดที่ต้องทำผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ต้องระงับโครงการไว้ ยืนยันรัฐบาลได้ทำตามมาตรา 67 อยู่แล้ว ที่ดำเนินการอนุมัติโครงการไปเพราะมองว่าโครงการเหล่านั้นไม่มีผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งคำสั่งศาลปกครองที่ออกมาต้องไปสอบถามถึงความชัดเจนของคำสั่งก่อนว่าใช้เหตุผลใดในการออกคำสั่ง เพราะถ้าหากสั่งให้ผู้ประกอบการชะลอโครงการและไม่ถูกตามคำสั่งของศาลผู้ประกอบการอาจจะฟ้องได้ ซึ่งในเบื่องต้นพบว่ามีประมาณ 14 โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง และมีบางโครงการที่เข้าใจว่าไม่มีปัญหา เพราะผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA จะมีเพียงประมาณ 4 โครงการ ที่อาจเข้าเงื่อนไขต้องลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างรออนุมัติก็ต้องชะลอออกไป'นายอภิสิทธิ์ กล่าว
****ครม.ศก. สั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลปกครอง ชะลอ 76 คก. มาบตาพุดภายใน 1-2 วันนี้
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองภายใน 1-2 วันนี้ หลังศาลปกครองกลางรับไต่สวน กรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลฯ กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยให้ศาลฯ สั่งระงับ 76 โครงการ ในเขตอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ขณะเดียวกันได้ขอความคิดเห็นจากคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ให้คำแนะนำว่าให้กลับไปสอบถามหรือให้ศาลฯ ช่วยตีความคำสั่งว่าจะมีผลต่อโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง
'นายกฯ สั่งให้สร้างความชัดเจนและความเข้าใจกับนักลงทุนเกี่ยวกับโครงการในมาบตาพุด เนื่องจากยอมรับว่ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนมาก' นายวัชระ กล่าว
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ครม.เศรษฐกิจได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กลับไปจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมไทยว่าจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนอกเหนือจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกหรือไม่ และหากมีความจำเป็นต้องเพิ่ม ควรเป็นพื้นที่ใดก่อนที่จะนำกลับมาเสนอครม.ในครั้งต่อไป
****ธปท. เผยการลงทุนระยะสั้นไม่ได้รับผลกระทบ กรณีศาลปกครองสั่งระงับ 76 คก. มาบตาพุด ชี้ช่วยสร้างบรรทัดฐานการลงทุนให้ชัดเจน
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึง กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับโครงการในเขตมาบตาพุด 76 โครงการ ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวยังไม่สามารถประเมินได้ในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม มองว่าภาคการลงทุนเป็นปัญหามาตลอด ซึ่งหากมองในแง่ดีกรณีดังกล่าวหากเสร็จสิ้นกระบวนการจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานในการลงทุนและจะส่งผลให้การลงทุนมีความชัดเจนมากขึ้นจะทำให้มีการลงทุนอื่นๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
****SCC เตรียมหารือ ข้อสรุป-แนวทางปฎิบัติ ให้ 'เอสซีจี เคมิคอลส์' กระทบน้อยสุด
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ระบุว่า ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ 8 หน่วยราชการ ระงับโครงการลงทุน 76 โครงการที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้เป็นการชั่วคราวนั้น คำสั่งดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยเฉพาะกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (เอสซีจี เคมิคอลส์) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์ฯ มีโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น (Naphtha Cracker) และขั้นปลายที่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่มีการก่อสร้างที่ใกล้จะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มทยอยเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2552 - กลางปี 2554
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินการของโครงการของเอสซีจี เคมิคอลส์ฯ สำหรับความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไปเป็นระยะ
****GLOW ยอมรับลูกค้ารายใหญ่กระทบส่งผลกระเทือนต่อบริษัทฯ หลังศาลฯ เบรกโครงการมาบตาพุด
นายสุทธิวงศ์ คงสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW กล่าวยอมรับว่าบริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบทางอ้อม หากโครงการใหม่ในธุรกิจปิโตรเคมี ของลูกค้ากลุ่มบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) มีความล่าช้าเนื่องจาก SCC เป็นลูกค้าหลักของโรงไฟฟ้าใหม่ขนาด 115 เมกะวัตต์ของบริษัทฯ ที่จะก่อสร้างเสร็จในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าขณะนี้บริษัทฯ ยังเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนงาน ทั้งในส่วนโรงไฟฟ้าขนาด 115 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้า IPP เนื่องจากได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว ส่วนโครงการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ 76 โครงการนั้น เป็นโครงการที่บริษัทฯ ได้ยื่นเสนอประมูล IPP ครั้งที่ผ่านมา แต่ไม่ชนะการประมูล
"ศาลปกครองกลาง สั่งให้ระงับการดำเนินกิจกรรมของ 76 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการของลูกค้าของบริษัทฯ นั้น หากโครงการของลูกค้ามีความล่าช้าก็จะมีผลกระทบต่อการรับรู้รายได้จากส่วนดังกล่าว ส่วนกรณีของโรงไฟฟ้า IPP จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพราะหากความล่าช้าเกิดจากหน่วยงานราชการ จะได้รับการชดเชยจาก กฟผ. ตามสัญญาอยู่แล้ว" นายสุทธิวงศ์ กล่าว
**** TPC เร่งหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องหาข้อสรุปร่วมกัน หลังศาลฯ สั่งคุ้มครองชั่วคราว 76 โครงการในนิคมมาบตาพุด
นายคเณศ ขาวจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC กล่าวว่า ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ 8 หน่วยราชการ ระงับโครงการลงทุน 76 โครงการที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้เป็นการชั่วคราวนั้น คำสั่งดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อโครงการปรับปรุงกำลังการผลิต (Debottlenecking) ของบริษัทฯ จำนวน 2 โครงการ
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินการของโครงการของบริษัทฯ สำหรับความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไปเป็นระยะ
****PRO หวังได้งานกำจัดกากมลพิษเพิ่ม หาก 76 คก.มาบตาพุดเริ่มดำเนินการได้
นายวรรณะ พุทธวรรณ กรรมการบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) หรือ PRO กล่าวว่า จากกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับโครงการทางด้านอุตสาหกรรมรวม 76 โครงการ มูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกำลังจะก่อสร้างในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้หากระยะต่อไปมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและอนุญาตให้โครงการทั้งหมดสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เชื่อว่าในระยะยาวน่าจะส่งผลดีต่อการทำธุรกิจกำจัดขยะของบริษัทฯ และมีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นตามทิศทางของปริมาณกากขยะที่มาจากขบวนการผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ทำการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งกลุ่ม ปตท.และกลุ่มเอสซีจีเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมที่ใช้บริการการกำจัดกากขยะของบริษัทฯ อยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี จากประเด็นดังกล่าวในระยะสั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจแต่อย่างใด เนื่องจากโครงการต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้เห็นว่ารัฐบาลควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมจำนวนมาก ที่ยังไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ซึ่งหากสามารถทำได้น่าส่งผลดีต่อส่วนรวม
****GENCO เล็งดอดประมูลงานกำจัดกากมลพิษ 6 นิคมฯ ในมาบตาพุด มูลค่า 250 ลบ.
นายสมยศ แสงสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เสนอแผนเข้ากำจัดกากอุตสาหกรรมและมลพิษ 3 อำเภอ จังหวัดระยอง ซึ่งรวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ เบื้องต้นทางหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่อยู่ระหว่างหารือและกำหนดแผนกำจัดมลพิษในเขตนิคมอุตสากรรมทั้ง 3 อำเภอ
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีความพร้อในการเข้ากำจัดกากมลพิษในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน GENCO ก็รับงานกำจัดกากมลพิษฯในเขตดังกล่าวอยู่แล้ว และจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะมีกากมลพิษใน 6 นิคมฯไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นตัน/เดือน มูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท/เดือน ซึ่งเชื่อว่า น่าจะได้รับงานกำจัดกากมลพิษในเขต 6 นิมคมฯบางส่วน
'หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการมลพิษในเขตอุตสาหกรรมได้ กฎหมายได้ให้สิทธิเอกชนที่ทำธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าวเข้าไปจัดการ ซึ่ง 3 อำเภอที่ถูกควบคุมมีนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 6 นิมคมฯ 300 โรงงาน' นายสมยศ กล่าว
****สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ชี้แตะเบรก 76 คก.มาบตาพุด กระทบ PTT -PTTAR-PTTCH -SCC-GLOW -IRP
บทวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ระบุว่า จากคำตัดสินดังกล่าวในโครงการมาบตาพุดส่งผลให้ผู้ถูกฟ้องจะต้องสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมดำเนินงานจนกว่าศาลปกครองกลางจะพิพากษามีคำสั่งเปลี่ยนแปลง แต่บางโครงการที่ได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 จะได้รับการยกเว้น จากประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ 76 โครงการในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นดังนี้ PTT , PTTAR , PTTCH ,SCC ,GLOW และ IRP
ทั้งนี้ มูลค่าราว 3.3 แสนล้านบาท ในบริเวณพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อ.บ้านฉาง จ.ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงจ.ระยอง โครงการตามที่ระบุข้างต้น ผลกระทบหลักคาดว่าจะอยู่ที่ PTT จากการต้องชะลอออกไปของโครงการโรงแยก 6 และผลกระทบจากการดำเนินการที่ชะลอออกไปของโครงการบริษัทในเครือ
โดยโครงการหลักของ PTTCH คือ Ethylene Cracker 1 ล้านต้น แม้จะไม่อยู่ในข่าย แต่อาจจะได้รับผลกระทบด้วยจากประเด็น Feedstock ซึ่งจะต้องมาจากโรงแยกก๊าซแห่งใหม่ของ PTT ส่วน PTTAR คาดจะได้รับผลกระทบหลายโครงการ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการจากการสร้าง Synergy หลังการควบรวมที่ผ่านมา
ในส่วนของ GLOW โครงการที่กล่าวถึงน่าจะไม่ใช่โครงการใหญ่ที่สุด 600 เมกะวัตต์ที่จะดำเนินการในปี 2555 แต่คาดว่าจะเป็นโครงการ 115 เมกะวัตต์ที่จะดำเนินการในปลายปี 2552
****บล.เคจีไอฯ เชื่อ นลท. แตะเบรกลุยหุ้นเกี่ยวข้อง 76 คก.บาบตาพุด แนะโยกไปลุยหุ้นแบงก์-รับเหมาฯ
นายรักพงศ์ ไชยศุภรากุล ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวถึงกรณีศาลปกครองมีคำสั่งชะลอโครงการในเขตมาบตาพุดจำนวน 76 โครงการนั้น ไม่สร้างประโยชน์ให้กับหุ้นใดๆ เลย เนื่องจากมองว่า นักลงทุนต่างชาติยังให้น้ำหนักการลงทุนไปยังหุ้นที่มีขนาดใกล้เคียงกับกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว อีกทั้งนักลงทุนจะคงชะลอการลงทุนเพื่อประเมินความชัดเจนในกรณีที่เกิดขึ้น
ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ได้แก่หุ้นในกลุ่มพลังงานที่มีความเกี่ยวข้องใน 76 โครงการที่ถูกสั่งระงับ ขณะที่หุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบเพียงทางอ้อมเท่านั้น
ทั้งนี้ แนะนำว่านักลงทุนระยะสั้นควรชะลอการเก็งกำไร ขณะที่นักลงทุนระยะยาวสามารถไปลงทุนในหุ้นธนาคาร และรับเหมาก่อสร้าง
****กูรู ชี้ผู้ประกอบการกำจัดมลพิษได้เฮ เป็นโอกาสคว้างานเพิ่ม
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง กล่าวว่า กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งชะลอโครงการในเขตมาบตาพุดจำนวน 76 โครงการนั้น มองว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ส่วนในมุมของเอกชนคงต้องรอดูสถานการณ์ และอาจจะต้องมาประเมินว่ามีผลกระทบอยางใดบ้าง ส่งผลกดดันต่อราคาหุ้นที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมลพิษนั้น น่าจะเป็นผลบวกระยะยาวมากกว่า เพราะเป็นโอกาสของธุรกิจแบบระยะยาว
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ รอดูผลกระทบจากประเด็นมาบตาพุด แต่เชื่อว่ายังคงมีหุ้นกลุ่มพลังงานบางส่วนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว แต่ราคาหุ้นถูกดันด้วยข่าว อาทิ TOP และ PTTEP รวมถึงมองว่าหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างน่าสนใจ เพราะได้รับประโยชน์จากโครงการไทยเข้มแข็ง ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าน่านักลงทุนจะเข้ามาซื้อ เพื่อรับการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/52 และในปี 2553 ที่เติบโตดี
http://www.efinancethai.com/index.aspx
SCC- PTTCH - PTTAR -IRP - GLOW- TPC ร้องจ๊าก!! ราคาหุ้นดำดิ่งรับข่าวมาบตาพุดร้อน ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเบรก 76 โครงการลงทุน มูลค่า 4 แสนล้านบาท หลังถูกร้องสร้างปัญหาก่อมลพิษให้ชุมชน นายกฯ ดับร้อน สั่งกระทรวงอุตสาหกรรมยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลฯ ด่วนภายใน 1 - 2 วันนี้ ป้องกันความเชื่อมั่นนักลงทุนกระเจิง จับตาผู้ประกอบการเร่งหารือทางออกลดผลกระทบ ฟากหุ้นกำจัดกากขยะ PRO - GENCO - BWG ยังนำทีมเริงร่ารับอานิสงส์ได้ออเดอร์เพิ่ม
ทันทีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับโครงการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมรวม 76 โครงการ มูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียง จ.ระยอง ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายให้ความสนใจกับประเด็นนี้ เนื่องจากมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น โดยเฉพาะการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
โดยกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน, สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ยื่นฟ้องร้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( พม.), นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม, นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.กระทรวง พลังงาน, นายโสภณ ซารัมย์ รมว.กระทรวงคมนาคม, นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.กระทรวงสาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-8 เพราะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมกันเห็นชอบหรืออนุญาตให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ไปดำเนินการก่อสร้างหรือขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉางและใกล้เคียง
ทั้งนี้ ศาลปกครองพิจารณาเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีปัญหาน่าจะไม่ชอบด้วยกฏหมายและสั่งระงับโครงการลงทุน โดยระบุว่าพื้นที่มาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่มีปัญหาด้านมลพิษจากการประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญให้ศึกษาและประเมินผลกระทบ รวมถึงต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน
แน่นอนว่าประเด็นข่าวดังกล่าวมีผลต่อหลายบริษัทฯ ที่เข้าไปลงทุนในโครงการมาบตาพุด และจากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ของธุรกิจพลังงาน ปิโตรเคมี และนิคมอุตสาหกรรม โดยบริษัทฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แก่ บริษัทในเครือ ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC, บริษัทในเครือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT อาทิ บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR, บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH, บริษัท โกล์วพลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW รวมถึง บริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IRP, บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC และบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือ HEMRAJ
อย่างไรก็ดี แม้มีหลายบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากการชะลอโครงการลงทุนดังกล่าว แต่ฟากของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกำจัดกากขยะ โดยเฉพาะที่มีฐานลูกค้าในแถบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอยู่แล้ว ก็น่าจะได้อานิสงส์ทางบวก ส่งผลให้ยอดรับรู้รายได้จากทั้งฐานลูกค้าเดิมและฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น อาทิ บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) หรือ PRO,บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO และบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG
ย้อนดูราคาหุ้นบนกระดาน พบว่าหุ้นที่ได้รับผลกระทบปรับลดลงอย่างเด่นชัด โดยปิดการซื้อขายวานนี้ (30 กันยายน 2552) ราคาหุ้น SCC อยู่ที่ 222.00 บาท ลดลง 5.00 บาท หรือ 2.20% มูลค่าการซื้อขาย 1,112.38 ล้านบาท, ราคาหุ้น PTTAR อยู่ที่ 24.40 บาท ลดลง 1.10 บาท หรือ 4.31% มูลค่าการซื้อขาย 1,659.05 ล้านบาท, ราคาหุ้น PTTCH อยู่ที่ 73.25 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ 5.18% มูลค่าการซื้อขาย 843.87 ล้านบาท, ราคาหุ้น GLOW อยู่ที่ 32.75 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 5.07% มูลค่าการซื้อขาย 135.66 ล้านบาท ส่วนราคาหุ้น HEMRAJ อยู่ที่ 0.83 บาท ลดลง 0.04 บาท หรือ 4.60% มูลค่าการซื้อขาย 28.35 ล้านบาท
ขณะที่ราคาหุ้น PRO ปิดการซื้อขายที่ 0.34 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือ 3.03% มูลค่าการซื้อขาย 8.85 ล้านบาท, ราคาหุ้น GENCO อยู่ที่ 0.67 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท หรือ 1.52% มูลค่าการซื้อขาย 26.70 ล้านบาท และราคาหุ้น BWG อยู่ที่ 1.72 บาท เพิ่มขึ้น 0.02 บาท หรือ 1.18% มูลค่าการซื้อขาย 14.41 ล้านบาท
****ประธานสภาอุตฯ ชี้ ศาลปกครองเบรก76 คก. มาบตาพุด กระทบความเชื่อมั่น - การผลิต นัดประชุม กกร. และ กรอ. กลาง ต.ค.นี้
นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ปัญหามาบตาพุดที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับโครงการจำนวน 76 โครงการมูลค่าราว 4 แสนล้านบาทดังกล่าว เป็นเรื่องที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน ซึ่งรัฐบาล ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีการพูดคุยและหาทางออกและแก้ปัญหาดังกล่าวให้เร็วที่สุด ซึ่งประเด็นนี้มีผลต่อการลงทุนระยะยาว โดยอุตสาหกรรมที่ถูกระงับเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำเพื่อทดแทนการนำเข้าอย่างน้อยปีละ 3 แสนล้านบาท
" คาดว่าจะมีการนัดประชุมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. และคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. ให้เร็วที่สุดภายในกลางเดือนต.ค.นี้" นายสันติ กล่าว
****นายกฯ ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ พร้อมแก้ปัญหา 76 คก. ในมาบตาพุดโดนระงับลงทุน หวั่นกระทบความเชื่อมั่น นลท.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมยื่นทธรณ์ต่อศาลปกครอง หลังศาลปกครองกลางรับไต่สวนกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลฯ กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยให้ศาลฯ สั่งระงับ 76 โครงการ ในเขตอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ปฎิบัติตามกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมที่จะเร่งหาข้อยุติ เนื่องจากหากปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อ อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดความไม่แน่นอน และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
'โครงการใดที่ต้องทำผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ต้องระงับโครงการไว้ ยืนยันรัฐบาลได้ทำตามมาตรา 67 อยู่แล้ว ที่ดำเนินการอนุมัติโครงการไปเพราะมองว่าโครงการเหล่านั้นไม่มีผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งคำสั่งศาลปกครองที่ออกมาต้องไปสอบถามถึงความชัดเจนของคำสั่งก่อนว่าใช้เหตุผลใดในการออกคำสั่ง เพราะถ้าหากสั่งให้ผู้ประกอบการชะลอโครงการและไม่ถูกตามคำสั่งของศาลผู้ประกอบการอาจจะฟ้องได้ ซึ่งในเบื่องต้นพบว่ามีประมาณ 14 โครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง และมีบางโครงการที่เข้าใจว่าไม่มีปัญหา เพราะผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA จะมีเพียงประมาณ 4 โครงการ ที่อาจเข้าเงื่อนไขต้องลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างรออนุมัติก็ต้องชะลอออกไป'นายอภิสิทธิ์ กล่าว
****ครม.ศก. สั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลปกครอง ชะลอ 76 คก. มาบตาพุดภายใน 1-2 วันนี้
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองภายใน 1-2 วันนี้ หลังศาลปกครองกลางรับไต่สวน กรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลฯ กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว โดยให้ศาลฯ สั่งระงับ 76 โครงการ ในเขตอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ขณะเดียวกันได้ขอความคิดเห็นจากคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ให้คำแนะนำว่าให้กลับไปสอบถามหรือให้ศาลฯ ช่วยตีความคำสั่งว่าจะมีผลต่อโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอย่างไรบ้าง
'นายกฯ สั่งให้สร้างความชัดเจนและความเข้าใจกับนักลงทุนเกี่ยวกับโครงการในมาบตาพุด เนื่องจากยอมรับว่ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนมาก' นายวัชระ กล่าว
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ครม.เศรษฐกิจได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กลับไปจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมไทยว่าจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนอกเหนือจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกหรือไม่ และหากมีความจำเป็นต้องเพิ่ม ควรเป็นพื้นที่ใดก่อนที่จะนำกลับมาเสนอครม.ในครั้งต่อไป
****ธปท. เผยการลงทุนระยะสั้นไม่ได้รับผลกระทบ กรณีศาลปกครองสั่งระงับ 76 คก. มาบตาพุด ชี้ช่วยสร้างบรรทัดฐานการลงทุนให้ชัดเจน
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึง กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับโครงการในเขตมาบตาพุด 76 โครงการ ว่าจะไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนในระยะสั้น แต่ในระยะยาวยังไม่สามารถประเมินได้ในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม มองว่าภาคการลงทุนเป็นปัญหามาตลอด ซึ่งหากมองในแง่ดีกรณีดังกล่าวหากเสร็จสิ้นกระบวนการจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานในการลงทุนและจะส่งผลให้การลงทุนมีความชัดเจนมากขึ้นจะทำให้มีการลงทุนอื่นๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
****SCC เตรียมหารือ ข้อสรุป-แนวทางปฎิบัติ ให้ 'เอสซีจี เคมิคอลส์' กระทบน้อยสุด
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ระบุว่า ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ 8 หน่วยราชการ ระงับโครงการลงทุน 76 โครงการที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้เป็นการชั่วคราวนั้น คำสั่งดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยเฉพาะกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (เอสซีจี เคมิคอลส์) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์ฯ มีโครงการปิโตรเคมีขั้นต้น (Naphtha Cracker) และขั้นปลายที่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่มีการก่อสร้างที่ใกล้จะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มทยอยเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2552 - กลางปี 2554
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินการของโครงการของเอสซีจี เคมิคอลส์ฯ สำหรับความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไปเป็นระยะ
****GLOW ยอมรับลูกค้ารายใหญ่กระทบส่งผลกระเทือนต่อบริษัทฯ หลังศาลฯ เบรกโครงการมาบตาพุด
นายสุทธิวงศ์ คงสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW กล่าวยอมรับว่าบริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบทางอ้อม หากโครงการใหม่ในธุรกิจปิโตรเคมี ของลูกค้ากลุ่มบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) มีความล่าช้าเนื่องจาก SCC เป็นลูกค้าหลักของโรงไฟฟ้าใหม่ขนาด 115 เมกะวัตต์ของบริษัทฯ ที่จะก่อสร้างเสร็จในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าขณะนี้บริษัทฯ ยังเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนงาน ทั้งในส่วนโรงไฟฟ้าขนาด 115 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้า IPP เนื่องจากได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว ส่วนโครงการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ 76 โครงการนั้น เป็นโครงการที่บริษัทฯ ได้ยื่นเสนอประมูล IPP ครั้งที่ผ่านมา แต่ไม่ชนะการประมูล
"ศาลปกครองกลาง สั่งให้ระงับการดำเนินกิจกรรมของ 76 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการของลูกค้าของบริษัทฯ นั้น หากโครงการของลูกค้ามีความล่าช้าก็จะมีผลกระทบต่อการรับรู้รายได้จากส่วนดังกล่าว ส่วนกรณีของโรงไฟฟ้า IPP จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เพราะหากความล่าช้าเกิดจากหน่วยงานราชการ จะได้รับการชดเชยจาก กฟผ. ตามสัญญาอยู่แล้ว" นายสุทธิวงศ์ กล่าว
**** TPC เร่งหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องหาข้อสรุปร่วมกัน หลังศาลฯ สั่งคุ้มครองชั่วคราว 76 โครงการในนิคมมาบตาพุด
นายคเณศ ขาวจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPC กล่าวว่า ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ 8 หน่วยราชการ ระงับโครงการลงทุน 76 โครงการที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้เป็นการชั่วคราวนั้น คำสั่งดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อโครงการปรับปรุงกำลังการผลิต (Debottlenecking) ของบริษัทฯ จำนวน 2 โครงการ
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินการของโครงการของบริษัทฯ สำหรับความคืบหน้าในกรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไปเป็นระยะ
****PRO หวังได้งานกำจัดกากมลพิษเพิ่ม หาก 76 คก.มาบตาพุดเริ่มดำเนินการได้
นายวรรณะ พุทธวรรณ กรรมการบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) หรือ PRO กล่าวว่า จากกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับโครงการทางด้านอุตสาหกรรมรวม 76 โครงการ มูลค่าลงทุน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกำลังจะก่อสร้างในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้หากระยะต่อไปมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและอนุญาตให้โครงการทั้งหมดสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เชื่อว่าในระยะยาวน่าจะส่งผลดีต่อการทำธุรกิจกำจัดขยะของบริษัทฯ และมีโอกาสที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นตามทิศทางของปริมาณกากขยะที่มาจากขบวนการผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ทำการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งกลุ่ม ปตท.และกลุ่มเอสซีจีเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมที่ใช้บริการการกำจัดกากขยะของบริษัทฯ อยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี จากประเด็นดังกล่าวในระยะสั้นยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจแต่อย่างใด เนื่องจากโครงการต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้เห็นว่ารัฐบาลควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมจำนวนมาก ที่ยังไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ซึ่งหากสามารถทำได้น่าส่งผลดีต่อส่วนรวม
****GENCO เล็งดอดประมูลงานกำจัดกากมลพิษ 6 นิคมฯ ในมาบตาพุด มูลค่า 250 ลบ.
นายสมยศ แสงสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ GENCO กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เสนอแผนเข้ากำจัดกากอุตสาหกรรมและมลพิษ 3 อำเภอ จังหวัดระยอง ซึ่งรวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ เบื้องต้นทางหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่อยู่ระหว่างหารือและกำหนดแผนกำจัดมลพิษในเขตนิคมอุตสากรรมทั้ง 3 อำเภอ
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีความพร้อในการเข้ากำจัดกากมลพิษในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน GENCO ก็รับงานกำจัดกากมลพิษฯในเขตดังกล่าวอยู่แล้ว และจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะมีกากมลพิษใน 6 นิคมฯไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นตัน/เดือน มูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท/เดือน ซึ่งเชื่อว่า น่าจะได้รับงานกำจัดกากมลพิษในเขต 6 นิมคมฯบางส่วน
'หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการมลพิษในเขตอุตสาหกรรมได้ กฎหมายได้ให้สิทธิเอกชนที่ทำธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าวเข้าไปจัดการ ซึ่ง 3 อำเภอที่ถูกควบคุมมีนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 6 นิมคมฯ 300 โรงงาน' นายสมยศ กล่าว
****สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ชี้แตะเบรก 76 คก.มาบตาพุด กระทบ PTT -PTTAR-PTTCH -SCC-GLOW -IRP
บทวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ระบุว่า จากคำตัดสินดังกล่าวในโครงการมาบตาพุดส่งผลให้ผู้ถูกฟ้องจะต้องสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมดำเนินงานจนกว่าศาลปกครองกลางจะพิพากษามีคำสั่งเปลี่ยนแปลง แต่บางโครงการที่ได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2550 จะได้รับการยกเว้น จากประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ 76 โครงการในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นดังนี้ PTT , PTTAR , PTTCH ,SCC ,GLOW และ IRP
ทั้งนี้ มูลค่าราว 3.3 แสนล้านบาท ในบริเวณพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อ.บ้านฉาง จ.ระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงจ.ระยอง โครงการตามที่ระบุข้างต้น ผลกระทบหลักคาดว่าจะอยู่ที่ PTT จากการต้องชะลอออกไปของโครงการโรงแยก 6 และผลกระทบจากการดำเนินการที่ชะลอออกไปของโครงการบริษัทในเครือ
โดยโครงการหลักของ PTTCH คือ Ethylene Cracker 1 ล้านต้น แม้จะไม่อยู่ในข่าย แต่อาจจะได้รับผลกระทบด้วยจากประเด็น Feedstock ซึ่งจะต้องมาจากโรงแยกก๊าซแห่งใหม่ของ PTT ส่วน PTTAR คาดจะได้รับผลกระทบหลายโครงการ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการจากการสร้าง Synergy หลังการควบรวมที่ผ่านมา
ในส่วนของ GLOW โครงการที่กล่าวถึงน่าจะไม่ใช่โครงการใหญ่ที่สุด 600 เมกะวัตต์ที่จะดำเนินการในปี 2555 แต่คาดว่าจะเป็นโครงการ 115 เมกะวัตต์ที่จะดำเนินการในปลายปี 2552
****บล.เคจีไอฯ เชื่อ นลท. แตะเบรกลุยหุ้นเกี่ยวข้อง 76 คก.บาบตาพุด แนะโยกไปลุยหุ้นแบงก์-รับเหมาฯ
นายรักพงศ์ ไชยศุภรากุล ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวถึงกรณีศาลปกครองมีคำสั่งชะลอโครงการในเขตมาบตาพุดจำนวน 76 โครงการนั้น ไม่สร้างประโยชน์ให้กับหุ้นใดๆ เลย เนื่องจากมองว่า นักลงทุนต่างชาติยังให้น้ำหนักการลงทุนไปยังหุ้นที่มีขนาดใกล้เคียงกับกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว อีกทั้งนักลงทุนจะคงชะลอการลงทุนเพื่อประเมินความชัดเจนในกรณีที่เกิดขึ้น
ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ได้แก่หุ้นในกลุ่มพลังงานที่มีความเกี่ยวข้องใน 76 โครงการที่ถูกสั่งระงับ ขณะที่หุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบเพียงทางอ้อมเท่านั้น
ทั้งนี้ แนะนำว่านักลงทุนระยะสั้นควรชะลอการเก็งกำไร ขณะที่นักลงทุนระยะยาวสามารถไปลงทุนในหุ้นธนาคาร และรับเหมาก่อสร้าง
****กูรู ชี้ผู้ประกอบการกำจัดมลพิษได้เฮ เป็นโอกาสคว้างานเพิ่ม
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง กล่าวว่า กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งชะลอโครงการในเขตมาบตาพุดจำนวน 76 โครงการนั้น มองว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ส่วนในมุมของเอกชนคงต้องรอดูสถานการณ์ และอาจจะต้องมาประเมินว่ามีผลกระทบอยางใดบ้าง ส่งผลกดดันต่อราคาหุ้นที่เกี่ยวข้อง ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมลพิษนั้น น่าจะเป็นผลบวกระยะยาวมากกว่า เพราะเป็นโอกาสของธุรกิจแบบระยะยาว
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ รอดูผลกระทบจากประเด็นมาบตาพุด แต่เชื่อว่ายังคงมีหุ้นกลุ่มพลังงานบางส่วนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว แต่ราคาหุ้นถูกดันด้วยข่าว อาทิ TOP และ PTTEP รวมถึงมองว่าหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างน่าสนใจ เพราะได้รับประโยชน์จากโครงการไทยเข้มแข็ง ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าน่านักลงทุนจะเข้ามาซื้อ เพื่อรับการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/52 และในปี 2553 ที่เติบโตดี
http://www.efinancethai.com/index.aspx
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 3
หุ้นเครือPTTทรุด มาบตาพุดอัมพาต ศาลห้ามก่อสร้าง
หุ้นเครือปตท.ทั้ง PTT-PTTCH-PTTAR ซวยซ้ำซ้อน ศาลมีคำสั่งระงับก่อสร้าง 76 โครงการบนพี้นที่มาบตาพุดทันที "ปตท.เคมิคอลและปตท.อะโรเมติกส์ฯ"หนักสุด เจอเบรกทันที3 โครงการ ส่วนโรงแยกก๊าซปตท.หน่วยที่ 6 โดนหางเลขด้วย
วานนี้(29ก.ย.)ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับก่อสร้างโรงงาน76 โครงการพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา สำหรับโครงการตามบัญชีรายชื่อ 76โครงการ ที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ระงับการก่อสร้างประกอบด้วยโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ตั้งที่ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)หรือ PTT,โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน 50,000 ตันต่อปีตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัทปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ PTTCH ,โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน (การติดตั้งหน่วยผลิต Compound Production Unit)ตั้งที่นิคมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยองของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)หรือ PTTCH
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)หรือ PTTAR,โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง และเพิ่มประสิทธิภาพไบโอดีเซล ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดของบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)หรือ PTTAR,โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือและคลังผลิตภัณฑ์ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)หรือPTTCH
โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) ส่วนขยาย ตั้งที่ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของการนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัท อิสเทิร์น อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด,โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด(มหาชน) หรือ GLOW,โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีทียูทิลิตี้ จำกัด บริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด ของบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ทั้งนี้จากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเห็นชอบหรืออนุญาตให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ไปดำเนินการก่อสร้าง หรือขยายโรงงานพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉางและใกล้เคียง ผิดไปจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 และกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หรือกระทำการโดยไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติ 3 ประการ คือไม่มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน,กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งคือ จ.ระยอง รวมทั้งต้องจัดให้มีองค์กรอิสระด้วยสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นประกอบก่อนการดำเนินการ
ประเด็นดังกล่าวศาลปกครอง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นยกเว้น โครงการหรือกิจกรรม ที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ และโครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมลงวันที่ 16 มิ.ย 52 ทั้งนี้ไม่รวมถึงการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ
--------------------------------
วันที่ 30 ก.ย. 2552 แสดงข่าวมาแล้ว 1ช.ม. 4นาที
http://www.kaohoon.com/pg.newspaper/fir ... ?cid=31865
หุ้นเครือปตท.ทั้ง PTT-PTTCH-PTTAR ซวยซ้ำซ้อน ศาลมีคำสั่งระงับก่อสร้าง 76 โครงการบนพี้นที่มาบตาพุดทันที "ปตท.เคมิคอลและปตท.อะโรเมติกส์ฯ"หนักสุด เจอเบรกทันที3 โครงการ ส่วนโรงแยกก๊าซปตท.หน่วยที่ 6 โดนหางเลขด้วย
วานนี้(29ก.ย.)ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับก่อสร้างโรงงาน76 โครงการพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา สำหรับโครงการตามบัญชีรายชื่อ 76โครงการ ที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ระงับการก่อสร้างประกอบด้วยโครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ตั้งที่ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)หรือ PTT,โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน 50,000 ตันต่อปีตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัทปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ PTTCH ,โครงการขยายกำลังการผลิตโพลิเอทิลีน (การติดตั้งหน่วยผลิต Compound Production Unit)ตั้งที่นิคมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยองของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)หรือ PTTCH
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 ระยะที่ 3 ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ของบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)หรือ PTTAR,โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง และเพิ่มประสิทธิภาพไบโอดีเซล ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดของบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)หรือ PTTAR,โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการท่าเทียบเรือและคลังผลิตภัณฑ์ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน)หรือPTTCH
โครงการนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) ส่วนขยาย ตั้งที่ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ของการนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัท อิสเทิร์น อินดัสเตรียลเอสเตท จำกัด,โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ตั้งที่นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด(มหาชน) หรือ GLOW,โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไปยังบริษัท พีทีทียูทิลิตี้ จำกัด บริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด ของบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ทั้งนี้จากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเห็นชอบหรืออนุญาตให้เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ไปดำเนินการก่อสร้าง หรือขยายโรงงานพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉางและใกล้เคียง ผิดไปจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 และกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หรือกระทำการโดยไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติ 3 ประการ คือไม่มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน,กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งคือ จ.ระยอง รวมทั้งต้องจัดให้มีองค์กรอิสระด้วยสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นประกอบก่อนการดำเนินการ
ประเด็นดังกล่าวศาลปกครอง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นยกเว้น โครงการหรือกิจกรรม ที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ และโครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมลงวันที่ 16 มิ.ย 52 ทั้งนี้ไม่รวมถึงการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ
--------------------------------
วันที่ 30 ก.ย. 2552 แสดงข่าวมาแล้ว 1ช.ม. 4นาที
http://www.kaohoon.com/pg.newspaper/fir ... ?cid=31865
- กาวตราช้าง
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 6
แปลกมาก กล้าซอตหุ้นขาขึ้นขนาดนี้
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 80702.html
เดี๋ยวนี้มีไรแปลกๆเยอะเนอะ :shock:
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 80702.html
เดี๋ยวนี้มีไรแปลกๆเยอะเนอะ :shock:
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 7
รายงานพิเศษ: จำมาบตาพุดเป็นบทเรียน ก่อนเห็นโศกนาฎกรรมการลงทุน
มาบตาพุดกลายเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายต้องหันมาให้ความสนใจ หลังศาล
ปกครองกลางรับไต่สวนกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการ
คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลฯ กำหนดมาตรการ
คุ้มครองชั่วคราว โดยศาลปกครองสั่งระงับดำเนินการ 76 โครงการ มูลค่าประมาณ 4 แสนล้าน
บาท ในเขตอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ทั้งนี้ แม้ยังไม่ถึงขั้นเกิดโศกนาฎกรรมทางเศรษฐกิจ หลังกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบ
หมายให้ สำนักงานอัยการ เป็นตัวแทนในการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม เพื่อขอให้ยก
เลิกคำสั่งของศาลปกครองกลาง ที่สั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับ 76 โครงการลงทุนในมาบตาพุด ซึ่ง
ศาลปกครองสูงสุดได้รับเรื่องไว้ และจะพิจารณาหรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมต่อไป
อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ ได้สร้างความกังวลใจต่อหลายฝ่าย เพราะหวั่นจะ
กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 4 แสนล้านบาท ซึ่งสถานการณ์
ที่ยืดเยื้อ ความไม่แน่นอนต่างๆอาจทำนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนใจโยกฐานลงทุนไปประเทศอื่นที่
ให้สิทธิประโยชน์ดีกว่าได้ ซึ่งแน่นอนย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโครงการที่
ถูกสั่งระงับการลงทุนไป ส่วนใหญ่เป็นโครงการอุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ และเกือบทั้ง
หมดจะเป็นอุตสหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และรองรับการส่งออก อีกทั้งยังมีแรงงานนับ
แสนคนเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งหากการคลายปมในเรื่องนี้ ยังคงยืดเยื้อออกไปผลกระทบทาง
เศรษฐกิจที่จะตามมาคงจะมหาศาล
รัฐบาลโดยการนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงท่าทีที่
ชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าที่ผ่านมารัฐบาลพยายาม
หาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนาและการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน และรัฐบาลยึดปฏิบัติตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ส่วนสาเหตุที่ยื่นอุธรณ์คำสั่งศาลปกครองนั้น ก็เพราะเห็นว่าใน 76
โครงการ น่าจะมีบางโครงการที่เมื่อลงทุนไปแล้วไม่กระทบต่อชุมชน
แต่อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีร ยอมรับว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการย้ายฐานการ
ผลิตออกจากพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดของภาคเอกชน หลังศาลปกครอง มีคำสั่งให้ระงับ
โครงการลงทุน 76 โครงการ ทั้งนี้ รัฐบาลพยายามเร่งทำความเข้าใจกับภาคเอกชน พร้อมทั้ง
อยากให้ศาลปกครองเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว หลังมีการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เพื่อจะได้มีแนวทาง
ปฏิบัติต่อไป
สำหรับ ประเด็นสำคัญที่ระบุไว้รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 คือ โครงการหรือกิจกรรมที่อาจ
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะกระทำไม่ได้ (คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร
ธรรมชาติ และสุขภาพ) เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมิน EIA และ HIA ในชุมชนต้องจัดให้มี
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน (ระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรีว่าด้วยว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548)ต้องให้องค์การอิสระ ให้
ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ ถ้าไม่ทำ ชุมชนมีสิทธิฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของ
รัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้ปฏิบัติตามมาตรานี้
ได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี เขียนบทความเสนอทางออกกรณีดัง
กล่าวว่า มีเรื่องที่รัฐบาลยังไม่ได้ทำ และจำเป็นต้องทำเพื่อให้เรื่องนี้จบลงในลักษณะที่เป็น
ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายโดยไม่ต้องเผชิญหน้ากันต่อไป นั่นคือ มาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญ 2550
กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของโรงงานที่จะสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเสนอต่อผู้ที่มี
อำนาจอนุมัติ โดยต้องให้องค์กรอิสระให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ
(เอชไอเอ) แต่ถึงวันนี้ยังไม่มีการกำหนดอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหลักและขอบเขตของการ
ศึกษาเอชไอเอ คุณสมบัติของผู้ศึกษา องค์กรอิสระ บุคคลในองค์กรอิสระ หรือแม้กระทั่งคณะบุคคลผู้มีอำนาจอนุมัติในเรื่องนี้
'สาเหตุที่ยังไม่ได้มีการกำหนด เป็นเพราะมาตรา 67 มิได้กำหนดไว้ว่าหน่วยราชการ
ใดเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้เป็นไปตามมาตรานี้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเป็นผู้กำหนด
หน่วยงานรับผิดชอบ แต่ยังไม่มีข่าวใดๆ ระบุว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันได้กำหนดให้กระทรวงใดหรือ
กรมใดเป็นผู้รับผิดชอบ ตลอดจนจัดตั้งองค์กรอิสระเลย เมื่อไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การดำเนินการ
ตามความต้องการของมาตรา 67 จึงเดินต่อไปไม่ได้'ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวผ่านวิดีโอ คอน
เฟอร์เรนท์ ในการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและรัฐมนตรีคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
ณ ประเทศตุรกี ว่า หลังจากที่ศาลปกครองได้สั่งระงับโครงการมาบตาพุดในจังหวัดระยอง รวมทั้ง
สิ้น 76 โครงการ มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท คาดว่าหากประเด็นดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนภาย
ในระยะเวลา 1 ปี เชื่อว่าจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 ประมาณ 0.4%
ถึงเกือบ 1% ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลลงทุนผ่านรัฐวิสาหกิจในโครงการดังกล่าวประมาณ 2.4 แสน
ล้านบาท ในปี 2553-2554 ซึ่งขณะนี้ประเมินว่าบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะได้รับผลกระทบ
ประมาณ 1 แสนล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะกระทบมากน้อยเพียงใด
'หลังศาลปกครองได้สั่งระงับโครงการมาบตาพุดทั้ง 76 โครงการ หากยังไม่มีความ
ชัดเจนภายใน 1 ปี จะกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.4- เกือบ 1% ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาต่อไปว่ารัฐ
วิสาหกิจแห่งใดจะได้รับผลกระทบบ้างจากโครงการดังกล่าว' รมว.คลัง กล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนด้วยเม็ดเงินจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก)เงินกู้ 4 แสนล้าน
บาทและพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ)กู้เงิน อีก 4แสนล้านบาทจะไม่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย(ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ธปท.มีความกังวล ถึงกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับ
โครงการด้านอุตสาหกรรม ตำบล มาบตาพุด 76 โครงการ ว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนัก
ลงทุนโดยตรง ทั้งไทยและต่างประเทศให้ชะงักลงหรือหายไป และอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้น
ตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้ธปท.อยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ เพื่อ
เตรียมนำข้อมูลมาประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยว่ามีมากน้อย
เพียงใด
'การระงับโครงการลงทุนในโครงการมาบตาพุดมีผลกระทบต่อการลงทุนแน่นอน โดย
เฉพาะในโครงการที่ได้มีการลงทุนไปแล้ว โดยขณะนี้ธปท.อยู่ระหว่างดูข้อมูล เพื่อเตรียมนำมา
ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจว่ามีมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการประเมินการ
เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการนำปัจจัยบวกจากการกระตุ้นการลงทุนในโครงการต่างๆ
ของรัฐรวมในประเมินด้วย ซึ่งก็รวมโครงการเหล่านี้ด้วย'นายไพบูลย์กล่าว
อย่างไรก็ตามขณะนี้ธปท.ต้องใช้เวลาติดตามดูสถานการณ์อีกสักระยะหนึ่ง ว่าจะเกิดผล
กระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงเท่าใด และโครงการดังกล่าวจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้หรือ
ไม่ จึงจะสามารถประเมินผลกระทบที่ชัดเจนได้ รวมทั้งจะต้องสำรวจผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อ
มั่นของนักลงทุนด้วย ซึ่งการสำรวจดังกล่าวเป็นเรื่องที่ธปท.สำรวจทุกเดือน
ด้านผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และ
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
หากกระบวนการตัดสินเป็นไปด้วยความยืดเยื้อและยังขาดความชัดเจนภายใน 3-6 เดือน มองว่า
จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติรวมถึงนักลงทุนในประเทศ
โดยเฉพาะหากโครงการที่ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการแล้ว และต้องกลับไปสู่ขั้น
ตอนการทำประชามติหรือทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ใหม่อีกครั้ง อาจทำให้
นักลงทุนต่างชาติเกิดความลังเลใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และอาจย้ายฐานการผลิตไป
ยังประเทศอื่นแทน ซึ่งย่อมส่งผลให้ประเทศสูญเสียเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการจ้างงาน
ที่จะมาจากโครงการลงทุนต่างๆ อย่างไรก็ตามยังคงเร็วเกินที่จะประเมินมูลค่าของผลกระทบที่
จะเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจขณะนี้
ฟากภาคเอกชน โดยเฉพาะ 2 ยักษ์ใหญ่ อย่าง PTT กับ SCC ต่างออกมายอมรับว่า
คำตัดสินของศาลปกครองกลางสั่งระงับโครงการมาบตาพุดมีผลกระทบต่อแผนการลงทุนของ
บริษัท
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.
ปตท.(PTT) กล่าวว่ากรณีดังกล่าวว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรฐานยูโร 4 ให้ล่าช้าออกไป และคงไม่ทันกำหนดของภาครัฐบาลที่จะให้ใช้มาตรฐานใน
เดือน ม.ค.55
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน PTT เปิดเผยว่า จากผล
กระทบดังกล่าว อาจทำให้แผนควบรวมกิจการของกลุ่มโรงกลั่นในเครือ PTT ต้องล่าช้าออกไป
โดยต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติม จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.นี้
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อโครงการโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ที่จะต้องล่าช้าออกไปจาก
เดิมที่คาดว่าจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ต้นปีหน้า และที่สำคัญโรงแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน
ของ บมจ.ปตท.เคมิคอล(PTTCH) จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจากโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ก็ต้องล่าช้า
ตามไปด้วย
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
(SCC) แจ้งว่า คำสั่งศาลปกครองกลางที่ออกมาอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยเฉพาะกับบริษัท
เอสซีจี เคมิคอลส์จำกัด (เอสซีจี เคมิคอลส์) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์ มีโครง
การปิโตรเคมีขั้นต้น (Naphtha Cracker) และขั้นปลายที่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่
มีการก่อสร้างที่ใกล้จะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มทยอยเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2552 - กลางปี
2554
ทั้งนี้ บริษัทฯจะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปและ
แนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินการของโครงการของ เอสซีจี
เคมิคอลส์
อย่างไรก็ดีกรณีมาบตาพุดส่งผลให้ภาครัฐมีความตื่นตัวในการแก้ปัญหามากขึ้น โดย
นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) กลับไปทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศใหม่ว่ามีความจำเป็นต้อง
เพิ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนอกเหนือจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกหรือไม่ และหากมีความจำเป็นต้อง
เพิ่มพื้นที่ ควรเป็นพื้นที่ใดก่อนที่จะนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจรณาต่อไป
จากปมปัญหามาบตาพุดครั้งนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาในการวางกรอบแผนพัฒนาอุตสห
กรรมระยะยาวเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป ซึ่งจากนี้ไป รัฐบาลคงจะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง
การพัตนาควบคู่ไปกับการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนมากขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นเฉพาะการ
พัฒนาอุตสหกรรมลงทุนเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก ยุคสมัยนี้ประชาชนพร้อมที่จะเรียกร้องสิทธิ
ตามที่กฎหมายรองรับ อีกทั้ง การกำหนดนโยบายภาครัฐที่มีความชัดเจนก่อนจะลงมือให้การสนับ
สนุนภาคอุตสหกรรมใดๆไปก็จะช่วยย้ำความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้
กล้าที่จะลงทุนมากขึ้น รวมไปถึงจะเป็นมาตรฐานให้เอกชนเตรียมความพร้อมในการหานวัต
กรรมใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและถูกต้องตามเกณฑ์เพื่อมารองรับการผลิตที่อยู่ร่วมกับ
สังคมได้
By วรารัตน์ วีระคงสุวรรณ
eFinanceThai.com
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 06/10/09 เวลา 9:47:02
มาบตาพุดกลายเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายต้องหันมาให้ความสนใจ หลังศาล
ปกครองกลางรับไต่สวนกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน สมาคมสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการ
คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลฯ กำหนดมาตรการ
คุ้มครองชั่วคราว โดยศาลปกครองสั่งระงับดำเนินการ 76 โครงการ มูลค่าประมาณ 4 แสนล้าน
บาท ในเขตอำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ทั้งนี้ แม้ยังไม่ถึงขั้นเกิดโศกนาฎกรรมทางเศรษฐกิจ หลังกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบ
หมายให้ สำนักงานอัยการ เป็นตัวแทนในการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม เพื่อขอให้ยก
เลิกคำสั่งของศาลปกครองกลาง ที่สั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับ 76 โครงการลงทุนในมาบตาพุด ซึ่ง
ศาลปกครองสูงสุดได้รับเรื่องไว้ และจะพิจารณาหรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมต่อไป
อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ ได้สร้างความกังวลใจต่อหลายฝ่าย เพราะหวั่นจะ
กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 4 แสนล้านบาท ซึ่งสถานการณ์
ที่ยืดเยื้อ ความไม่แน่นอนต่างๆอาจทำนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนใจโยกฐานลงทุนไปประเทศอื่นที่
ให้สิทธิประโยชน์ดีกว่าได้ ซึ่งแน่นอนย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโครงการที่
ถูกสั่งระงับการลงทุนไป ส่วนใหญ่เป็นโครงการอุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่มีขนาดใหญ่ และเกือบทั้ง
หมดจะเป็นอุตสหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และรองรับการส่งออก อีกทั้งยังมีแรงงานนับ
แสนคนเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งหากการคลายปมในเรื่องนี้ ยังคงยืดเยื้อออกไปผลกระทบทาง
เศรษฐกิจที่จะตามมาคงจะมหาศาล
รัฐบาลโดยการนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงท่าทีที่
ชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมยืนยันว่าที่ผ่านมารัฐบาลพยายาม
หาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนาและการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชน และรัฐบาลยึดปฏิบัติตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ส่วนสาเหตุที่ยื่นอุธรณ์คำสั่งศาลปกครองนั้น ก็เพราะเห็นว่าใน 76
โครงการ น่าจะมีบางโครงการที่เมื่อลงทุนไปแล้วไม่กระทบต่อชุมชน
แต่อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีร ยอมรับว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการย้ายฐานการ
ผลิตออกจากพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดของภาคเอกชน หลังศาลปกครอง มีคำสั่งให้ระงับ
โครงการลงทุน 76 โครงการ ทั้งนี้ รัฐบาลพยายามเร่งทำความเข้าใจกับภาคเอกชน พร้อมทั้ง
อยากให้ศาลปกครองเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว หลังมีการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว เพื่อจะได้มีแนวทาง
ปฏิบัติต่อไป
สำหรับ ประเด็นสำคัญที่ระบุไว้รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 คือ โครงการหรือกิจกรรมที่อาจ
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะกระทำไม่ได้ (คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร
ธรรมชาติ และสุขภาพ) เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมิน EIA และ HIA ในชุมชนต้องจัดให้มี
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน (ระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรีว่าด้วยว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548)ต้องให้องค์การอิสระ ให้
ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการ ถ้าไม่ทำ ชุมชนมีสิทธิฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของ
รัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้ปฏิบัติตามมาตรานี้
ได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี เขียนบทความเสนอทางออกกรณีดัง
กล่าวว่า มีเรื่องที่รัฐบาลยังไม่ได้ทำ และจำเป็นต้องทำเพื่อให้เรื่องนี้จบลงในลักษณะที่เป็น
ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายโดยไม่ต้องเผชิญหน้ากันต่อไป นั่นคือ มาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญ 2550
กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของโรงงานที่จะสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเสนอต่อผู้ที่มี
อำนาจอนุมัติ โดยต้องให้องค์กรอิสระให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ
(เอชไอเอ) แต่ถึงวันนี้ยังไม่มีการกำหนดอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหลักและขอบเขตของการ
ศึกษาเอชไอเอ คุณสมบัติของผู้ศึกษา องค์กรอิสระ บุคคลในองค์กรอิสระ หรือแม้กระทั่งคณะบุคคลผู้มีอำนาจอนุมัติในเรื่องนี้
'สาเหตุที่ยังไม่ได้มีการกำหนด เป็นเพราะมาตรา 67 มิได้กำหนดไว้ว่าหน่วยราชการ
ใดเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้เป็นไปตามมาตรานี้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเป็นผู้กำหนด
หน่วยงานรับผิดชอบ แต่ยังไม่มีข่าวใดๆ ระบุว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันได้กำหนดให้กระทรวงใดหรือ
กรมใดเป็นผู้รับผิดชอบ ตลอดจนจัดตั้งองค์กรอิสระเลย เมื่อไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การดำเนินการ
ตามความต้องการของมาตรา 67 จึงเดินต่อไปไม่ได้'ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวผ่านวิดีโอ คอน
เฟอร์เรนท์ ในการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและรัฐมนตรีคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
ณ ประเทศตุรกี ว่า หลังจากที่ศาลปกครองได้สั่งระงับโครงการมาบตาพุดในจังหวัดระยอง รวมทั้ง
สิ้น 76 โครงการ มูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท คาดว่าหากประเด็นดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนภาย
ในระยะเวลา 1 ปี เชื่อว่าจะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2553 ประมาณ 0.4%
ถึงเกือบ 1% ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลลงทุนผ่านรัฐวิสาหกิจในโครงการดังกล่าวประมาณ 2.4 แสน
ล้านบาท ในปี 2553-2554 ซึ่งขณะนี้ประเมินว่าบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะได้รับผลกระทบ
ประมาณ 1 แสนล้านบาท แต่จะต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะกระทบมากน้อยเพียงใด
'หลังศาลปกครองได้สั่งระงับโครงการมาบตาพุดทั้ง 76 โครงการ หากยังไม่มีความ
ชัดเจนภายใน 1 ปี จะกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.4- เกือบ 1% ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาต่อไปว่ารัฐ
วิสาหกิจแห่งใดจะได้รับผลกระทบบ้างจากโครงการดังกล่าว' รมว.คลัง กล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนด้วยเม็ดเงินจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก)เงินกู้ 4 แสนล้าน
บาทและพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ)กู้เงิน อีก 4แสนล้านบาทจะไม่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย(ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ธปท.มีความกังวล ถึงกรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับ
โครงการด้านอุตสาหกรรม ตำบล มาบตาพุด 76 โครงการ ว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนของนัก
ลงทุนโดยตรง ทั้งไทยและต่างประเทศให้ชะงักลงหรือหายไป และอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้น
ตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้ธปท.อยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ เพื่อ
เตรียมนำข้อมูลมาประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยว่ามีมากน้อย
เพียงใด
'การระงับโครงการลงทุนในโครงการมาบตาพุดมีผลกระทบต่อการลงทุนแน่นอน โดย
เฉพาะในโครงการที่ได้มีการลงทุนไปแล้ว โดยขณะนี้ธปท.อยู่ระหว่างดูข้อมูล เพื่อเตรียมนำมา
ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจว่ามีมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากการประเมินการ
เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้มีการนำปัจจัยบวกจากการกระตุ้นการลงทุนในโครงการต่างๆ
ของรัฐรวมในประเมินด้วย ซึ่งก็รวมโครงการเหล่านี้ด้วย'นายไพบูลย์กล่าว
อย่างไรก็ตามขณะนี้ธปท.ต้องใช้เวลาติดตามดูสถานการณ์อีกสักระยะหนึ่ง ว่าจะเกิดผล
กระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงเท่าใด และโครงการดังกล่าวจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้หรือ
ไม่ จึงจะสามารถประเมินผลกระทบที่ชัดเจนได้ รวมทั้งจะต้องสำรวจผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อ
มั่นของนักลงทุนด้วย ซึ่งการสำรวจดังกล่าวเป็นเรื่องที่ธปท.สำรวจทุกเดือน
ด้านผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และ
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
หากกระบวนการตัดสินเป็นไปด้วยความยืดเยื้อและยังขาดความชัดเจนภายใน 3-6 เดือน มองว่า
จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติรวมถึงนักลงทุนในประเทศ
โดยเฉพาะหากโครงการที่ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการแล้ว และต้องกลับไปสู่ขั้น
ตอนการทำประชามติหรือทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ใหม่อีกครั้ง อาจทำให้
นักลงทุนต่างชาติเกิดความลังเลใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และอาจย้ายฐานการผลิตไป
ยังประเทศอื่นแทน ซึ่งย่อมส่งผลให้ประเทศสูญเสียเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการจ้างงาน
ที่จะมาจากโครงการลงทุนต่างๆ อย่างไรก็ตามยังคงเร็วเกินที่จะประเมินมูลค่าของผลกระทบที่
จะเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจขณะนี้
ฟากภาคเอกชน โดยเฉพาะ 2 ยักษ์ใหญ่ อย่าง PTT กับ SCC ต่างออกมายอมรับว่า
คำตัดสินของศาลปกครองกลางสั่งระงับโครงการมาบตาพุดมีผลกระทบต่อแผนการลงทุนของ
บริษัท
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.
ปตท.(PTT) กล่าวว่ากรณีดังกล่าวว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรฐานยูโร 4 ให้ล่าช้าออกไป และคงไม่ทันกำหนดของภาครัฐบาลที่จะให้ใช้มาตรฐานใน
เดือน ม.ค.55
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน PTT เปิดเผยว่า จากผล
กระทบดังกล่าว อาจทำให้แผนควบรวมกิจการของกลุ่มโรงกลั่นในเครือ PTT ต้องล่าช้าออกไป
โดยต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติม จากเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.นี้
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อโครงการโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ที่จะต้องล่าช้าออกไปจาก
เดิมที่คาดว่าจะเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ต้นปีหน้า และที่สำคัญโรงแครกเกอร์ขนาด 1 ล้านตัน
ของ บมจ.ปตท.เคมิคอล(PTTCH) จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจากโรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 ก็ต้องล่าช้า
ตามไปด้วย
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
(SCC) แจ้งว่า คำสั่งศาลปกครองกลางที่ออกมาอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยเฉพาะกับบริษัท
เอสซีจี เคมิคอลส์จำกัด (เอสซีจี เคมิคอลส์) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เนื่องจากเอสซีจี เคมิคอลส์ มีโครง
การปิโตรเคมีขั้นต้น (Naphtha Cracker) และขั้นปลายที่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่
มีการก่อสร้างที่ใกล้จะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มทยอยเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2552 - กลางปี
2554
ทั้งนี้ บริษัทฯจะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปและ
แนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการดำเนินการของโครงการของ เอสซีจี
เคมิคอลส์
อย่างไรก็ดีกรณีมาบตาพุดส่งผลให้ภาครัฐมีความตื่นตัวในการแก้ปัญหามากขึ้น โดย
นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) กลับไปทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศใหม่ว่ามีความจำเป็นต้อง
เพิ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนอกเหนือจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกหรือไม่ และหากมีความจำเป็นต้อง
เพิ่มพื้นที่ ควรเป็นพื้นที่ใดก่อนที่จะนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจรณาต่อไป
จากปมปัญหามาบตาพุดครั้งนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาในการวางกรอบแผนพัฒนาอุตสห
กรรมระยะยาวเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป ซึ่งจากนี้ไป รัฐบาลคงจะต้องสร้างความสมดุลระหว่าง
การพัตนาควบคู่ไปกับการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนมากขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นเฉพาะการ
พัฒนาอุตสหกรรมลงทุนเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก ยุคสมัยนี้ประชาชนพร้อมที่จะเรียกร้องสิทธิ
ตามที่กฎหมายรองรับ อีกทั้ง การกำหนดนโยบายภาครัฐที่มีความชัดเจนก่อนจะลงมือให้การสนับ
สนุนภาคอุตสหกรรมใดๆไปก็จะช่วยย้ำความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้
กล้าที่จะลงทุนมากขึ้น รวมไปถึงจะเป็นมาตรฐานให้เอกชนเตรียมความพร้อมในการหานวัต
กรรมใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและถูกต้องตามเกณฑ์เพื่อมารองรับการผลิตที่อยู่ร่วมกับ
สังคมได้
By วรารัตน์ วีระคงสุวรรณ
eFinanceThai.com
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 06/10/09 เวลา 9:47:02
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 9
ลุ้น!!แก้ปมมาบตาพุดวันนี้
Wednesday, 07 October 2009 02:30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เวลา 9.30 น. คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) จะเดินทางเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือถึงการแก้ปัญหาหลังศาลปกครองกลางสั่งให้ระงับ 76 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยทางกกร.จะยื่นข้อเสนอ 5 แนวทางแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย
1.ภาครัฐควรหาข้อสรุปที่ชัดเจนกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกาและศาลปกครองตีความตามมาตรา 67 วรรค 2 ต่างกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการไปได้ในแนวทางเดียวกัน
2.ให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบกระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่ามีสิ่งใดต้องดำเนินการเพิ่มเติม โดยรัฐบาลควรเร่งดำเนินการให้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงมีผลบังคับใช้ทันที หลังจาก รมว.อุตสาหกรรม ได้ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา
3.เมื่อมีการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวแล้วทุกหน่วยงานต้องดำเนินตามกฎหมายครบถ้วนต่อไป เพราะจะทราบชัดเจนว่า 76 โครงการไม่ใช่ทั้งหมดที่จะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็จะสามารถพิจารณาออกใบอนุญาตหรืออนุญาตให้ผู้ประกอบการเดินหน้าโครงการต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพร้อมปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ที่จะกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศเขตควบคุมมลพิษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมจะช่วยให้ศาลสามารถพิจารณาได้ว่าใน 76 โครงการที่ถูกศาลปกครองกลางระงับนั้นเข้าข่าย 8
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชนรุนแรงหรือไม่
4.ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งออกกฎหมายลูกตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 เพื่อให้มีความชัดเจนในเรื่องการทำผลการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ(HIA)โดยไม่ต้องรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จต้องเร่งเรื่องนี้ให้ออกมาเร็วที่สุดก่อน
5.การอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานภาครัฐควรมีการตรวจสอบและทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน อีกทั้งไม่ให้เกิดตื่นตระหนกเกินข้อเท็จจริง
Wednesday, 07 October 2009 02:30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เวลา 9.30 น. คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) จะเดินทางเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือถึงการแก้ปัญหาหลังศาลปกครองกลางสั่งให้ระงับ 76 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยทางกกร.จะยื่นข้อเสนอ 5 แนวทางแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย
1.ภาครัฐควรหาข้อสรุปที่ชัดเจนกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกาและศาลปกครองตีความตามมาตรา 67 วรรค 2 ต่างกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการไปได้ในแนวทางเดียวกัน
2.ให้นายกรัฐมนตรีตรวจสอบกระบวนการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่ามีสิ่งใดต้องดำเนินการเพิ่มเติม โดยรัฐบาลควรเร่งดำเนินการให้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงมีผลบังคับใช้ทันที หลังจาก รมว.อุตสาหกรรม ได้ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา
3.เมื่อมีการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวแล้วทุกหน่วยงานต้องดำเนินตามกฎหมายครบถ้วนต่อไป เพราะจะทราบชัดเจนว่า 76 โครงการไม่ใช่ทั้งหมดที่จะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็จะสามารถพิจารณาออกใบอนุญาตหรืออนุญาตให้ผู้ประกอบการเดินหน้าโครงการต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพร้อมปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ที่จะกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศเขตควบคุมมลพิษและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมจะช่วยให้ศาลสามารถพิจารณาได้ว่าใน 76 โครงการที่ถูกศาลปกครองกลางระงับนั้นเข้าข่าย 8
ประเภทอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชนรุนแรงหรือไม่
4.ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งออกกฎหมายลูกตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 เพื่อให้มีความชัดเจนในเรื่องการทำผลการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ(HIA)โดยไม่ต้องรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จต้องเร่งเรื่องนี้ให้ออกมาเร็วที่สุดก่อน
5.การอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานภาครัฐควรมีการตรวจสอบและทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน อีกทั้งไม่ให้เกิดตื่นตระหนกเกินข้อเท็จจริง
Small Details Make a Big Difference
- ROGER
- Verified User
- โพสต์: 605
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 10
คนที่อยู่มาบตาพุดนี่น่าสงสารนะครับ ขนาดเมื่อปี36-38 ผมไปทำงานที่นั้นยังรู้ได้เลยว่าสภาพแวดล้อมมันแปลกๆๆ พอขับรถเข้าตัวเมืองระยองมันเหมือนกับอยู่คนละสภาวะแวดล้อม ผ่านมา 14-15 ปีมันคงยิ่งแย่กว่าเดิม คนเขาอยู่ไม่ได้ จำเป็นต้องเรียกร้อง รัฐต้องแก้ไขด่วน มันไม่น่าอยู่อาศัยจริงๆๆๆ
- ROGER
- Verified User
- โพสต์: 605
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 13
อย่างที่ว่าละครับ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษากฎหมายของประเทศนั้นๆๆก่อนเข้าลงทุน
ตัวอย่างมลภาวะนี่ผมแสดงง่ายๆๆนะเอาง่ายๆๆ โรงเหล็ก 2 โรงของเครือปูนเดิมนี่ เวลาหลอมเหล็กโดยเตาอาร์คนี่ถ้าคุณหลงเดินเข้าไปบริเวณข้างในโรงงาน โดยห่างจากตัวเตา 100 เมตร ออกมาคุณตัวแดงไปด้วยฝุ่นเหล็กเต็มไปหมด เสียงนี่แทบไม่ต้องพูดถึง ดังขนาดเกือบถึงหน้าโรงงาน แล้วผมถามหน่อยคุณจะป้องกันแก้ไขปัญหามลภาวะนี่ยังไง อีกตัวอย่างโรงงานผาแดง บ่อทรีทเมนต์น้ำถลุงแร่นี่ ลองไปดมดูครับ กลิ่นนี่ โคตรๆๆๆๆ อือ
นี่ขนาดโรงงานเกรดเอของประเทศนะครับ โรงอื่นๆๆไม่ต้องพูดถึง
ตัวอย่างมลภาวะนี่ผมแสดงง่ายๆๆนะเอาง่ายๆๆ โรงเหล็ก 2 โรงของเครือปูนเดิมนี่ เวลาหลอมเหล็กโดยเตาอาร์คนี่ถ้าคุณหลงเดินเข้าไปบริเวณข้างในโรงงาน โดยห่างจากตัวเตา 100 เมตร ออกมาคุณตัวแดงไปด้วยฝุ่นเหล็กเต็มไปหมด เสียงนี่แทบไม่ต้องพูดถึง ดังขนาดเกือบถึงหน้าโรงงาน แล้วผมถามหน่อยคุณจะป้องกันแก้ไขปัญหามลภาวะนี่ยังไง อีกตัวอย่างโรงงานผาแดง บ่อทรีทเมนต์น้ำถลุงแร่นี่ ลองไปดมดูครับ กลิ่นนี่ โคตรๆๆๆๆ อือ
นี่ขนาดโรงงานเกรดเอของประเทศนะครับ โรงอื่นๆๆไม่ต้องพูดถึง
-
- Verified User
- โพสต์: 58
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 14
ในโรงงานคุณไม่มีใครสนหรอกครับ ว่าจะช้างม้าวัวควาย ยังไง
แต่อากาศ น้ำ เสียงทุกอย่างที่คุณปล่อยออกมาจากโรงงานสู่โลกภายนอก
เขาให้คุณควบคุมให้อยู่ในระดับที่คนอยู่แถวนั้น ไม่เป็นอันตราย ครับ
ไอ้พวกที่บ่นๆ บอกกระทบลงทุน บางทีอ่านแล้วก็เซ็งเหมือนกัน
เห็นแต่เรื่องบางเรื่องจนลืมเรื่องบางเรื่อง
ถ้าควบคุมไม่ได้ก็ไม่ต้องตั้งหรอกโรงงานหน่ะ ราคาของสิ่งแวดล้อม แพงกว่าเศษเงินของโรงงานมากครับ
แต่อากาศ น้ำ เสียงทุกอย่างที่คุณปล่อยออกมาจากโรงงานสู่โลกภายนอก
เขาให้คุณควบคุมให้อยู่ในระดับที่คนอยู่แถวนั้น ไม่เป็นอันตราย ครับ
ไอ้พวกที่บ่นๆ บอกกระทบลงทุน บางทีอ่านแล้วก็เซ็งเหมือนกัน
เห็นแต่เรื่องบางเรื่องจนลืมเรื่องบางเรื่อง
ถ้าควบคุมไม่ได้ก็ไม่ต้องตั้งหรอกโรงงานหน่ะ ราคาของสิ่งแวดล้อม แพงกว่าเศษเงินของโรงงานมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 17
[quote="ROGER"]อย่างที่ว่าละครับ
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 18
เครือข่ายมาบตาพุดฮือต้านอุทธรณ์
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552
โพสต์ทูเดย์ เครือข่ายประชาชนเตรียมยื่นคัดค้านการอุทธรณ์ มาบตาพุด 13 ต.ค.นี้
นายสุทธิ อัชาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ต.ค.นี้ จะไปศาลปกครองสูงสุด ยื่นคัดค้านการอุทธรณ์คดีมาบตาพุด
นอกจากนี้ เตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ 3 เรื่อง คือ 1.ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
2.ตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาห กรรม ไม่แจ้งผู้ประกอบการให้ระงับ 76 โครงการ และ 3.ตรวจสอบนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช หนึ่งในกรรมการกฤษฎีกาที่ตีความให้กระทรวงอุตสาหกรรมให้ใบอนุญาตประกอบกิจการในนิคมมาบตาพุดได้ ซึ่งนายจักรมณฑ์เป็นกรรมการบริษัท ปตท. อาจเอื้อประโยชน์กัน
หลังจากนี้จะยื่นเรื่องให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน 2,000 ล้านบาท จัดทำแผนปรับลดมลพิษปี 2550-2554 ซึ่งไม่คืบหน้า
นายสุทธิ กล่าวว่า ในวันที่ 24 ต.ค.นี้ จะนำประชาชนในมาบตาพุดกว่า 200 คน เดินเท้าไปยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรีคัดค้านการดำเนินงานสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะ ใช้เวลา 5 วันถึงกรุงเทพฯ ระหว่างเดินทางใครป่วยหรือตาย รัฐต้องรับผิดชอบ
นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้หารือกับหน่วยงานในสังกัด พิจารณาการใช้มาตรา 46 ของพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 ให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าสามารถทำได้ และยังเตรียมเสนอปรับแก้ไขร่างพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม มาตรา 51 ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 13 ต.ค.นี้
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552
โพสต์ทูเดย์ เครือข่ายประชาชนเตรียมยื่นคัดค้านการอุทธรณ์ มาบตาพุด 13 ต.ค.นี้
นายสุทธิ อัชาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ต.ค.นี้ จะไปศาลปกครองสูงสุด ยื่นคัดค้านการอุทธรณ์คดีมาบตาพุด
นอกจากนี้ เตรียมยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ 3 เรื่อง คือ 1.ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
2.ตรวจสอบการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาห กรรม ไม่แจ้งผู้ประกอบการให้ระงับ 76 โครงการ และ 3.ตรวจสอบนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช หนึ่งในกรรมการกฤษฎีกาที่ตีความให้กระทรวงอุตสาหกรรมให้ใบอนุญาตประกอบกิจการในนิคมมาบตาพุดได้ ซึ่งนายจักรมณฑ์เป็นกรรมการบริษัท ปตท. อาจเอื้อประโยชน์กัน
หลังจากนี้จะยื่นเรื่องให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน 2,000 ล้านบาท จัดทำแผนปรับลดมลพิษปี 2550-2554 ซึ่งไม่คืบหน้า
นายสุทธิ กล่าวว่า ในวันที่ 24 ต.ค.นี้ จะนำประชาชนในมาบตาพุดกว่า 200 คน เดินเท้าไปยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรีคัดค้านการดำเนินงานสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะ ใช้เวลา 5 วันถึงกรุงเทพฯ ระหว่างเดินทางใครป่วยหรือตาย รัฐต้องรับผิดชอบ
นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้หารือกับหน่วยงานในสังกัด พิจารณาการใช้มาตรา 46 ของพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 ให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าสามารถทำได้ และยังเตรียมเสนอปรับแก้ไขร่างพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม มาตรา 51 ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 13 ต.ค.นี้
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 20
[quote="sai"]
tndt และ qlt เป็นการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยครับ แต่ตัว iso 14000 เป็นมาตรฐานเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมครับผม
tndt และ qlt เป็นการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยครับ แต่ตัว iso 14000 เป็นมาตรฐานเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมครับผม
- siwaman
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 22
เคยคุยกับพี่ (อยู่สายวิจัยและตรวจสอบสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทย์) เค้าบอกว่าตอนไปตรวจโรงงานแถบนั้น เค้าบอกว่า จะเจออยู่ 2 เรื่อง ประมาณว่าตอนไปตรวจในโรงงานก็ได้มาตรฐาน แต่พอแอบไปตรวจข้างโรงงานก็นะ (แกบอกว่า สนง แก ไม่มีอำนาจ ต้องกระทรวงอุตสาหกรรม)
แต่นั่นไม่เท่าไหร่ แกบอกว่า ถึงทุกโรงงานจะปล่อยตามมาตรฐาน แต่เนื่องจากพื้นที่เต็มไปด้วยโรงงานแล้ว ฉะนั้นความเข้มข้นมันจึงสูงกว่าความสามารถของธรรมชาติที่จะจัดการได้ แกบอกเล่น ๆ ว่า ต้องกระจายอุตสาหกรรม (กระจายมลพิษนั่นเอง)
แต่มองอีกแง่หนึ่ง เราใช้โอกาศนี้เลือกอุตสาหกรรมที่สะอาดไม่ดีกว่าเหรอ ที่พร้อมรับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
อย่างเมื่อไม่นานมีการสำรวจ 60% เห็นด้วยกับการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ 59% ไม่ต้องการให้มีในจังหวัดตัวเอง .... มันเหมือนเห็นแก่ตัวไปหน่อยนะ
แต่นั่นไม่เท่าไหร่ แกบอกว่า ถึงทุกโรงงานจะปล่อยตามมาตรฐาน แต่เนื่องจากพื้นที่เต็มไปด้วยโรงงานแล้ว ฉะนั้นความเข้มข้นมันจึงสูงกว่าความสามารถของธรรมชาติที่จะจัดการได้ แกบอกเล่น ๆ ว่า ต้องกระจายอุตสาหกรรม (กระจายมลพิษนั่นเอง)
แต่มองอีกแง่หนึ่ง เราใช้โอกาศนี้เลือกอุตสาหกรรมที่สะอาดไม่ดีกว่าเหรอ ที่พร้อมรับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
อย่างเมื่อไม่นานมีการสำรวจ 60% เห็นด้วยกับการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ 59% ไม่ต้องการให้มีในจังหวัดตัวเอง .... มันเหมือนเห็นแก่ตัวไปหน่อยนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 328
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 23
เหตุการณ์ครั้งนี้ มันสะท้อนหลายอย่างนะคะ
1. ผู้บริหารของประเทศ โดยเฉพาะเจ้ากระทรวงอุตสาหกรรมสมัยนั้นไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ หรือข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ปล่อยให้มีการตั้ง รง.อุตสาหกรรม โดยไม่มีการศึกษา หรือวางแผนการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมเลยหรือ ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ระบบผังเมืองของประเทศเรามันแย่มานานแล้ว และยังคงแย่ต่อไปโดยไม่ใครคิดจะพัฒนาให้เป็นรูปธรรมเลย
2. มันส่อให้เห็นถึงภาครัฐไม่มีความจริงใจต่อสวัสดิภาพของประชาชนอย่างแท้จริง ผิดกับประเทศที่เจริญแล้วซึ่งเขาคำนึงถึงเรื่องนี้มาก
3. ส่อให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้มีมาตรการณ์รองรับในการวางแผนให้รอบคอบรอบด้าน ทำให้นักธุรกิจต่างชาติขาดความเชื่อมั่นที่จะมาลงทุนในประเทศ มันแสดงให้เห็นว่า "ก็นี่แหละประเทศไทย"
4. และที่อ้างว่าเหตุการณ์นี้กระทบต่อการลงทุนอย่างมากนั้น ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าไม่เห็นหัว "ประชาชน" ที่ทนทุกข์มานาน แต่ไปให้ความสำคัญกับภาคการลงทุนมากกว่า ซึ่งต้องถามกลับไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นผลพวงที่ผิดพลาดของภาครัฐมิใช่หรือ ?
5. แนวทางแก้ไขของภาครัฐที่จะออกมาคงจะสะท้อนอะไร ๆ อีกหลายอย่างของรัฐบาลที่คงต้องติดตามกันต่อไป
1. ผู้บริหารของประเทศ โดยเฉพาะเจ้ากระทรวงอุตสาหกรรมสมัยนั้นไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ หรือข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ปล่อยให้มีการตั้ง รง.อุตสาหกรรม โดยไม่มีการศึกษา หรือวางแผนการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมเลยหรือ ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ระบบผังเมืองของประเทศเรามันแย่มานานแล้ว และยังคงแย่ต่อไปโดยไม่ใครคิดจะพัฒนาให้เป็นรูปธรรมเลย
2. มันส่อให้เห็นถึงภาครัฐไม่มีความจริงใจต่อสวัสดิภาพของประชาชนอย่างแท้จริง ผิดกับประเทศที่เจริญแล้วซึ่งเขาคำนึงถึงเรื่องนี้มาก
3. ส่อให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้มีมาตรการณ์รองรับในการวางแผนให้รอบคอบรอบด้าน ทำให้นักธุรกิจต่างชาติขาดความเชื่อมั่นที่จะมาลงทุนในประเทศ มันแสดงให้เห็นว่า "ก็นี่แหละประเทศไทย"
4. และที่อ้างว่าเหตุการณ์นี้กระทบต่อการลงทุนอย่างมากนั้น ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าไม่เห็นหัว "ประชาชน" ที่ทนทุกข์มานาน แต่ไปให้ความสำคัญกับภาคการลงทุนมากกว่า ซึ่งต้องถามกลับไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นผลพวงที่ผิดพลาดของภาครัฐมิใช่หรือ ?
5. แนวทางแก้ไขของภาครัฐที่จะออกมาคงจะสะท้อนอะไร ๆ อีกหลายอย่างของรัฐบาลที่คงต้องติดตามกันต่อไป
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 24
ครม.ผ่านร่างกม. รับปัญหามาบตาพุด
คณะรัฐมนตรีมิมติอนุมิตผ่านร่างแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม รองรับกรณีปัญหามาบตาพุด เล็งจัดตั้งองค์กรอิสระ มีทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เข้ามาอยู่ร่วม ด้าน"กรณ์"เชื่อมั่นจะช่วยให้ภาคธุรกิจดำเนินการต่อไปได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติแก้ไขร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ โดยจะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ขณะเดียวกัน ระหว่างที่รอการแก้ไขกฎหมาย ในการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งหน้า จะมีการประชุมเพื่อออกระเบียบเพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตรา 67 วรรคสองได้ เพื่อรองรับอุปสรรคการลงทุน หลังมีเหตุกรณีมาบตาพุด
"ที่ประชุมครม.ให้แก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ได้มอบให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ประสานภาคประชาชน คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชน ทำความเข้าใจแนวทางรัฐบาลที่จะทำตามมาตรา 67 วรรคสอง"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทางด้านคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ร่างแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมดังกล่าว มีสาระสำคัญในการตั้งองค์กรอิสระ ที่จะมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาอยู่ร่วม
ขณะที่โครงการใด ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรง ก็จะให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศว่าเป็นโครงการที่มีผลกระทบรุนแรง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสอง และให้องค์กรอิสระดังกล่าวพิจารณาต่อไป
สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ไปแล้วนั้น ถือว่าหลายโครงการ ก็ไม่ได้มีผลกระทบที่รุนแรงมากนัก
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ครม.มีแนวทางที่ชัดเจนในวันนี้(13 ต.ค.)เชื่อว่าจะสามารถทำให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ก็ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคงจะกระทบกับความเชื่อมั่นในการลงทุนของประเทศ เพราะว่าโครงการที่ได้รบผลกระทบส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าสังคมมีเรื่องอื่นที่ต้องให้ความสำคัญด้วย โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่เข้าข่ายมาตรา 67 คงต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ โดยให้ระงับการดำเนินกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม 76 โครงการ
มูลค่า 3-4 แสนล้านบาท ในพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงจ.ระยองเป็นการชั่วคราว หลังมีผู้ฟ้องหน่วยงานรัฐกรณีออกคำสั่งให้โรงงานทำกิจกรรมไม่ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมาย มาตรา 67
และล่าสุดศาลปกครองสูงสุด ได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งบรรเทาทุกข์จากหน่วยงานภาครัฐแล้ว และอยู่ระหว่างรอคำสั่งที่จะออกมา
วันที่ 14 ต.ค. 2552 แสดงข่าวมาแล้ว 13ช.ม. 14นาที
คณะรัฐมนตรีมิมติอนุมิตผ่านร่างแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม รองรับกรณีปัญหามาบตาพุด เล็งจัดตั้งองค์กรอิสระ มีทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เข้ามาอยู่ร่วม ด้าน"กรณ์"เชื่อมั่นจะช่วยให้ภาคธุรกิจดำเนินการต่อไปได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติแก้ไขร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ โดยจะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ขณะเดียวกัน ระหว่างที่รอการแก้ไขกฎหมาย ในการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติครั้งหน้า จะมีการประชุมเพื่อออกระเบียบเพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตรา 67 วรรคสองได้ เพื่อรองรับอุปสรรคการลงทุน หลังมีเหตุกรณีมาบตาพุด
"ที่ประชุมครม.ให้แก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ได้มอบให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ประสานภาคประชาชน คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชน ทำความเข้าใจแนวทางรัฐบาลที่จะทำตามมาตรา 67 วรรคสอง"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทางด้านคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ร่างแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมดังกล่าว มีสาระสำคัญในการตั้งองค์กรอิสระ ที่จะมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาอยู่ร่วม
ขณะที่โครงการใด ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรง ก็จะให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศว่าเป็นโครงการที่มีผลกระทบรุนแรง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 67 วรรคสอง และให้องค์กรอิสระดังกล่าวพิจารณาต่อไป
สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ไปแล้วนั้น ถือว่าหลายโครงการ ก็ไม่ได้มีผลกระทบที่รุนแรงมากนัก
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ครม.มีแนวทางที่ชัดเจนในวันนี้(13 ต.ค.)เชื่อว่าจะสามารถทำให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ก็ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคงจะกระทบกับความเชื่อมั่นในการลงทุนของประเทศ เพราะว่าโครงการที่ได้รบผลกระทบส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าสังคมมีเรื่องอื่นที่ต้องให้ความสำคัญด้วย โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่เข้าข่ายมาตรา 67 คงต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
สำหรับเรื่องดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ โดยให้ระงับการดำเนินกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม 76 โครงการ
มูลค่า 3-4 แสนล้านบาท ในพื้นที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่ใกล้เคียงจ.ระยองเป็นการชั่วคราว หลังมีผู้ฟ้องหน่วยงานรัฐกรณีออกคำสั่งให้โรงงานทำกิจกรรมไม่ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมาย มาตรา 67
และล่าสุดศาลปกครองสูงสุด ได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งบรรเทาทุกข์จากหน่วยงานภาครัฐแล้ว และอยู่ระหว่างรอคำสั่งที่จะออกมา
วันที่ 14 ต.ค. 2552 แสดงข่าวมาแล้ว 13ช.ม. 14นาที
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 25
แนะนำให้รีบแก้ไขปัญหานี้โดยด่วนครับ
ผมเสนอให้ย้ายประชาชนออกจากพท.เสี่ยงภัย จากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้โดยด่วนภายใน 1 เดือน
รัฐมีหน้าที่ต้องเข้าไปซื้อ พท.พวกนั้น แล้วจัดการสร้างเป็นพท.สีเขียว จ่ายแพงกว่าราคาประเมิน หรือ ราคาตลาด ก็ต้องจ่าย
สร้าง พท.สีเขียวขี้นมา เป็น บัฟเฟอร์โซน ขยายวงออก กันประชาชนออกจาก พท.อันตรายก่อนเป็นสิ่งที่รีบทำครับ
เมื่อไม่มีคนอยู่โดยรอบ และได้รับเงินจนพอใจกันแล้ว ผมเชื่อว่าจะคุยกันง่ายขึ้นนะครับ
ผมเสนอให้ย้ายประชาชนออกจากพท.เสี่ยงภัย จากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้โดยด่วนภายใน 1 เดือน
รัฐมีหน้าที่ต้องเข้าไปซื้อ พท.พวกนั้น แล้วจัดการสร้างเป็นพท.สีเขียว จ่ายแพงกว่าราคาประเมิน หรือ ราคาตลาด ก็ต้องจ่าย
สร้าง พท.สีเขียวขี้นมา เป็น บัฟเฟอร์โซน ขยายวงออก กันประชาชนออกจาก พท.อันตรายก่อนเป็นสิ่งที่รีบทำครับ
เมื่อไม่มีคนอยู่โดยรอบ และได้รับเงินจนพอใจกันแล้ว ผมเชื่อว่าจะคุยกันง่ายขึ้นนะครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 46
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 26
ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพีอะไรดีละทั้งหมดนะครับ
ผมมองว่าทำไมรัฐจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยบริษัทเหล่านั้น
100% ด้วย อย่างน้อยถ้าจะทำตามที่พี่เสนอก็ควรเรียกเก็บจากบริษัทเหล่า
นั้นด้วย โดยใครปล่อยมากเก็บมาก ใครทำโครงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวด
ล้อมเช่น CDM หรือ RO ก็เก็บน้อยลง ซึ่งวิธีการตรวจวัดของเสียที่ปล่อยออก
มาแต่ละโรงงาน ถ้าจะทำกันอย่างจริงจัง ผมว่าค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้มากเลย
ผมมองว่าทำไมรัฐจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยบริษัทเหล่านั้น
100% ด้วย อย่างน้อยถ้าจะทำตามที่พี่เสนอก็ควรเรียกเก็บจากบริษัทเหล่า
นั้นด้วย โดยใครปล่อยมากเก็บมาก ใครทำโครงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวด
ล้อมเช่น CDM หรือ RO ก็เก็บน้อยลง ซึ่งวิธีการตรวจวัดของเสียที่ปล่อยออก
มาแต่ละโรงงาน ถ้าจะทำกันอย่างจริงจัง ผมว่าค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้มากเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 175
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 27
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ
เนื่องจากผมเองมีภูมิลำเนาอยู่ที่ระยอง จึงได้รับรู้สภาพจริง
ทุกวันนี้อากาศเปลี่ยนไปมากครับ เวลาหายใจรู้สึกได้ไม่เต็มที่เหมือนแต่ก่อน
แต่นี่ก็เป็นแค่ความรู้สึกนะครับ..คงไม่มีใครสนใจเนื่องจากนักวิชาการส่วนใหญ่สนใจเรื่องตัวเลข หากไม่สามารถวัดค่าออกมาได้ก็ไม่สน :twisted:
ทีนี้ถ้าจะเอาประชาชนออกไปคงยากครับ
1. การกำหนดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หากกำหนดแค่เพียงบริเวณมาบตาพุดจะเป็นการไม่เหมาะสมนะครับ
เพราะตอนนี้โดยกันทั้งจังหวัดทั้งมาบตาพุด แถมยังมีโรงงาน IRPC ขนาบอีกข้าง
2. ยังไม่มีการพูดคุยแล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังอันนี้สงสัยแก้ยาก
สำหรับผมยังไม่มีคำตอบครับ
คงต้องทนต่อไป หวังว่าเงินลงทุนจะทำให้ผมได้ไปอยู่ที่ที่สะอาดและปลอดภัยกว่านี้ครับ :lol:
เนื่องจากผมเองมีภูมิลำเนาอยู่ที่ระยอง จึงได้รับรู้สภาพจริง
ทุกวันนี้อากาศเปลี่ยนไปมากครับ เวลาหายใจรู้สึกได้ไม่เต็มที่เหมือนแต่ก่อน
แต่นี่ก็เป็นแค่ความรู้สึกนะครับ..คงไม่มีใครสนใจเนื่องจากนักวิชาการส่วนใหญ่สนใจเรื่องตัวเลข หากไม่สามารถวัดค่าออกมาได้ก็ไม่สน :twisted:
ทีนี้ถ้าจะเอาประชาชนออกไปคงยากครับ
1. การกำหนดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หากกำหนดแค่เพียงบริเวณมาบตาพุดจะเป็นการไม่เหมาะสมนะครับ
เพราะตอนนี้โดยกันทั้งจังหวัดทั้งมาบตาพุด แถมยังมีโรงงาน IRPC ขนาบอีกข้าง
2. ยังไม่มีการพูดคุยแล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังอันนี้สงสัยแก้ยาก
สำหรับผมยังไม่มีคำตอบครับ
คงต้องทนต่อไป หวังว่าเงินลงทุนจะทำให้ผมได้ไปอยู่ที่ที่สะอาดและปลอดภัยกว่านี้ครับ :lol:
เงินต้นอยู่ครบ ผลตอบแทนทบต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 28
[quote="ant_vi"]ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของพีอะไรดีละทั้งหมดนะครับ
ผมมองว่าทำไมรัฐจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยบริษัทเหล่านั้น
100% ด้วย อย่างน้อยถ้าจะทำตามที่พี่เสนอก็ควรเรียกเก็บจากบริษัทเหล่า
นั้นด้วย โดยใครปล่อยมากเก็บมาก ใครทำโครงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวด
ล้อมเช่น CDM หรือ RO ก็เก็บน้อยลง
ผมมองว่าทำไมรัฐจะต้องนำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยบริษัทเหล่านั้น
100% ด้วย อย่างน้อยถ้าจะทำตามที่พี่เสนอก็ควรเรียกเก็บจากบริษัทเหล่า
นั้นด้วย โดยใครปล่อยมากเก็บมาก ใครทำโครงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวด
ล้อมเช่น CDM หรือ RO ก็เก็บน้อยลง
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
มาบตาพุด
โพสต์ที่ 30
[quote="ปรัชญา"]คงไม่ง่ายอย่างที่ท่านๆเราๆคิด
สุวรรณภูมิ
สุวรรณภูมิ