หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 61
บ.ประกันภัย...จะใช้ BV ดูได้ ซึ่งแตกต่างกับธุรกิจอื่น
เพราะ สินทรัพย์ของบ.เหล่านี้ คือ ตราสารทางการเงิน ซึ่งมีมูลค่าชัดเจนวัดค่าได้เลยค่อนข้างแม่นยำ
ขณะที่สินทรัพย์ของบ.อสังหาฯ เป็นที่ดิน บ้านกำลังสร้าง ประเมินยากกว่า
แนวโน้มในระยะยาว ผมเชื่อว่า ระดับ PBV ที่เหมาะสมน่าจะอยู่ราว 0.9-1.1 เท่า ประมาณนั้น
SMK เคยยืนที่ 0.6 ตอนนี้มาที 0.95 แล้ว
ส่วน SCSMG เคยยืน 2.5 ตอนนี้เหลือแค่ 1.5 เท่าแล้ว
ซึ่ง B และ SMK นี่วิ่งเข้ามาอยู่ตรงนี้แล้ว
S ยังยืนที่ 1.5 แพงไปหน่อย T นี่แพงมากยืนสูงกว่า 2.5 เท่า
ส่วน A อยูที่ 0.7 เท่า ถือว่าค่อนข้างถูก เมื่อเที่ยบระหว่างรายใหญ่ด้วยกัน
แน่นอนว่า ระยะยาวควรจะดูด้วยว่า บ.ไหนจะมีศักยภาพในการสร้าง BV ได้มากกว่ากัน ... ธุรกิจประกันที่มีเครือข่ายแบงก์ดี และกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวที่ลงในหุ้นเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม จะเป็นตัวชวยสร้าง BV ในอนาคตได้ดีครับ.....
สำหรับ กำไรขาดทุนแต่ละไตรมาส แค่เป็นเกมการสร้างตัวเลขเท่านั้น
เพราะ สินทรัพย์ของบ.เหล่านี้ คือ ตราสารทางการเงิน ซึ่งมีมูลค่าชัดเจนวัดค่าได้เลยค่อนข้างแม่นยำ
ขณะที่สินทรัพย์ของบ.อสังหาฯ เป็นที่ดิน บ้านกำลังสร้าง ประเมินยากกว่า
แนวโน้มในระยะยาว ผมเชื่อว่า ระดับ PBV ที่เหมาะสมน่าจะอยู่ราว 0.9-1.1 เท่า ประมาณนั้น
SMK เคยยืนที่ 0.6 ตอนนี้มาที 0.95 แล้ว
ส่วน SCSMG เคยยืน 2.5 ตอนนี้เหลือแค่ 1.5 เท่าแล้ว
ซึ่ง B และ SMK นี่วิ่งเข้ามาอยู่ตรงนี้แล้ว
S ยังยืนที่ 1.5 แพงไปหน่อย T นี่แพงมากยืนสูงกว่า 2.5 เท่า
ส่วน A อยูที่ 0.7 เท่า ถือว่าค่อนข้างถูก เมื่อเที่ยบระหว่างรายใหญ่ด้วยกัน
แน่นอนว่า ระยะยาวควรจะดูด้วยว่า บ.ไหนจะมีศักยภาพในการสร้าง BV ได้มากกว่ากัน ... ธุรกิจประกันที่มีเครือข่ายแบงก์ดี และกลยุทธ์การลงทุนระยะยาวที่ลงในหุ้นเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม จะเป็นตัวชวยสร้าง BV ในอนาคตได้ดีครับ.....
สำหรับ กำไรขาดทุนแต่ละไตรมาส แค่เป็นเกมการสร้างตัวเลขเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 64
เมือเทียบ BV ของ Q2 ปีนี้ กับ ปลายปี 2007 ก่อนเกิดวิกฤติศก.
ผมเชื่อว่า .... BV ของ S ตกต่ำที่สุดในธุรกิจประกัน คือ ลงมาถึง 25%
ขณะที่มีบางบริษัท BV ยืนสูงกว่าระดับปลายปี 2007 ด้วยซ้ำไป
เหตุผลก็คือ บริษัทนี้ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนขายหุ้นทิ้งทั้งหมด
ขาดศรัทธาต่อการลงทุนในหุ้นที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่าให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในตราสารการเงิน
จึงไม่ได้รับผลตอบแทนที่สวยงามตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาครับ
หลายคนอาจชอบหุ้น S แต่ความจริงก็คือ แม้ราคาหุ้นจะตกลงมาอย่างมาก
PBV ของบริษัทนี้ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น.....
ผมเชื่อว่า .... BV ของ S ตกต่ำที่สุดในธุรกิจประกัน คือ ลงมาถึง 25%
ขณะที่มีบางบริษัท BV ยืนสูงกว่าระดับปลายปี 2007 ด้วยซ้ำไป
เหตุผลก็คือ บริษัทนี้ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนขายหุ้นทิ้งทั้งหมด
ขาดศรัทธาต่อการลงทุนในหุ้นที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่าให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในตราสารการเงิน
จึงไม่ได้รับผลตอบแทนที่สวยงามตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาครับ
หลายคนอาจชอบหุ้น S แต่ความจริงก็คือ แม้ราคาหุ้นจะตกลงมาอย่างมาก
PBV ของบริษัทนี้ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น.....
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 65
ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนล่ะกันว่าบริษัทประกันภัยสามารถลงทุนผ่านอะไรได้บ้าง
1. ลงทุนในตราสารหนี้ กลุ่มใหญ่สุดคือ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน (พวกน้ำประปา การไฟฟ้า ขสมก การรถไฟเป็นต้น) ตั๋วคงคลัง หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน
2. ลงทุนในตราสารแห่งทุน พวกหุ้นสามัญ Warrent อนุพันธ์ต่างๆ
3. ลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ อันนี้แบ่งออกได้ตามประเภทของกองทุนคือ
กองทุนตราสารหนีั้ กองทุนตราสารทุน กองทุนผสม(อันนี้ระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน) กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ
การลงทุนเหล่านี้ แน่นอน มีกฏระเบียบ ข้อกฏหมายบังคับไว้สำหรับบริษัทประกันภัย/ประกันชีวิต ว่าลงทุนในสัดส่วนเท่าไรบ้าง
แต่ยังไม่มีกฏระเบียบที่บังคับในเรื่องการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ
ว่าเอามาคิดเข้ากฏระเบียบอย่าไง ทำให้บ้างครั้ง มองเข้าไปในงบการเงิน เห็นเป็นสินทรัพย์เผื่อขาย ลงเป็นลักษณะกองทุนรวม แต่ต้องไปมองต่ออีกว่า กองทุนรวมที่บริษัทนำไปลงทุนนั้นเป็นกองทุนประเภทไหน
ส่วนเรื่องของ P/BV
คำว่า Book Value ในที่นี้คือ สินทรัพย์ของบริษัท
บริษัทประกันภัย มีกฏหมายและกฏระเบียบข้อบังคับในการถือครองเงินสด สินทรัพย์อื่นๆ ไว้ตามจำนวนที่ผู้ควบคุมกฏบังคับออกมา ทำให้ Book Value ดูสูงเกินไป
อันนี้มองได้สองแง่สามง่ามคือ
1. บริษัทประักันภัย มีความน่าเชื่อถือ เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้่วบริษัทสามารถจ่ายเงินประกันได้ตามที่ผู้เอาประกันเรียกร้อง
2. บริษัทประกันภัย สามารถเอาสินทรัพย์ประเภทนี้ หาผลตอบแทนได้ เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ทางหนึ่ง
3. บริษัทประกันภัย มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ คือ เป็นผู้ซื้อในตลาดทุนและตราสารหนี้รายใหญ่
ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว Book Value ที่มองมันต้องมองถึงคุณภาพที่มีอยู่ด้วยว่า สมเหตุสมผลหรือไม่
ส่วน ROE นี้มองถึงประสิทธิการทำกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ตัวนี้มันฟ้องเรื่อง ศักยภาพของบริษัท ว่าในอดีตบริษัททำได้ขนาดไหน แล้วปัจจุบันทำได้เหมือนในอดีตหรือไม่ มีอะไรผิดปกติไปหรือเปล่า
เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มันวิ่งเข้าหาศักยภาพของตัวมันเอง ของตัวอุตสาหกรรมและของประเทศ
1. ลงทุนในตราสารหนี้ กลุ่มใหญ่สุดคือ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน (พวกน้ำประปา การไฟฟ้า ขสมก การรถไฟเป็นต้น) ตั๋วคงคลัง หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน
2. ลงทุนในตราสารแห่งทุน พวกหุ้นสามัญ Warrent อนุพันธ์ต่างๆ
3. ลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ อันนี้แบ่งออกได้ตามประเภทของกองทุนคือ
กองทุนตราสารหนีั้ กองทุนตราสารทุน กองทุนผสม(อันนี้ระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน) กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ
การลงทุนเหล่านี้ แน่นอน มีกฏระเบียบ ข้อกฏหมายบังคับไว้สำหรับบริษัทประกันภัย/ประกันชีวิต ว่าลงทุนในสัดส่วนเท่าไรบ้าง
แต่ยังไม่มีกฏระเบียบที่บังคับในเรื่องการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ
ว่าเอามาคิดเข้ากฏระเบียบอย่าไง ทำให้บ้างครั้ง มองเข้าไปในงบการเงิน เห็นเป็นสินทรัพย์เผื่อขาย ลงเป็นลักษณะกองทุนรวม แต่ต้องไปมองต่ออีกว่า กองทุนรวมที่บริษัทนำไปลงทุนนั้นเป็นกองทุนประเภทไหน
ส่วนเรื่องของ P/BV
คำว่า Book Value ในที่นี้คือ สินทรัพย์ของบริษัท
บริษัทประกันภัย มีกฏหมายและกฏระเบียบข้อบังคับในการถือครองเงินสด สินทรัพย์อื่นๆ ไว้ตามจำนวนที่ผู้ควบคุมกฏบังคับออกมา ทำให้ Book Value ดูสูงเกินไป
อันนี้มองได้สองแง่สามง่ามคือ
1. บริษัทประักันภัย มีความน่าเชื่อถือ เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้่วบริษัทสามารถจ่ายเงินประกันได้ตามที่ผู้เอาประกันเรียกร้อง
2. บริษัทประกันภัย สามารถเอาสินทรัพย์ประเภทนี้ หาผลตอบแทนได้ เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ทางหนึ่ง
3. บริษัทประกันภัย มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ คือ เป็นผู้ซื้อในตลาดทุนและตราสารหนี้รายใหญ่
ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว Book Value ที่มองมันต้องมองถึงคุณภาพที่มีอยู่ด้วยว่า สมเหตุสมผลหรือไม่
ส่วน ROE นี้มองถึงประสิทธิการทำกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ตัวนี้มันฟ้องเรื่อง ศักยภาพของบริษัท ว่าในอดีตบริษัททำได้ขนาดไหน แล้วปัจจุบันทำได้เหมือนในอดีตหรือไม่ มีอะไรผิดปกติไปหรือเปล่า
เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มันวิ่งเข้าหาศักยภาพของตัวมันเอง ของตัวอุตสาหกรรมและของประเทศ
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 67
ROE ของบ.อื่นๆ อาจใช่.... แต่ไม่ใช่สำหรับธุรกิจประกันภัย
เช่น S ทำได้ ROE ราว 15% มาโดยตลอด
วันดีคืนดี ปีที่แล้ว ขาดทุนแหลกลาญ สุดท้ายแล้ว ROE ติดลบ 18%
อย่างนี้เรียก ROE สูงหรือต่ำ ??
ขณะที่ B นั้นเล่า ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติตลาดหุ้นหรือไม่
ยังทำกำไรได้เพิ่มทุกปี แม้ ROE จะต่ำ
เหตุผลง่ายๆ ก็คือ เขาสามารถกำหนดกำไรของบริษัทแต่ละปีได้เลย ปีไหนดูท่าทางกำไรจะน้อย ก็ขายหุ้นที่มีกำไรออกมาโชว์กำไรเสียบ้าง
ปีไหนกำไรมากอยู่แล้ว ก็เก็บกำไรในพอร์ตต่อไป ...
เรื่องแบบนี้ S กับ T ทำไม่ได้ครับ เพราะ ไม่มีกำไรในพอร์ตแบบนั้นให้ทำ
ผมจึงบอกว่า ROE ไม่ได้บอกอะไรกับหุ้นกลุ่มประกันฯ นี้
ไปดูที PBV ดีกว่า.... "นาคี" นั้นแม้เชืองช้า แต่แกร่งกว่า "แมงป่อง" เยอะ
เช่น S ทำได้ ROE ราว 15% มาโดยตลอด
วันดีคืนดี ปีที่แล้ว ขาดทุนแหลกลาญ สุดท้ายแล้ว ROE ติดลบ 18%
อย่างนี้เรียก ROE สูงหรือต่ำ ??
ขณะที่ B นั้นเล่า ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติตลาดหุ้นหรือไม่
ยังทำกำไรได้เพิ่มทุกปี แม้ ROE จะต่ำ
เหตุผลง่ายๆ ก็คือ เขาสามารถกำหนดกำไรของบริษัทแต่ละปีได้เลย ปีไหนดูท่าทางกำไรจะน้อย ก็ขายหุ้นที่มีกำไรออกมาโชว์กำไรเสียบ้าง
ปีไหนกำไรมากอยู่แล้ว ก็เก็บกำไรในพอร์ตต่อไป ...
เรื่องแบบนี้ S กับ T ทำไม่ได้ครับ เพราะ ไม่มีกำไรในพอร์ตแบบนั้นให้ทำ
ผมจึงบอกว่า ROE ไม่ได้บอกอะไรกับหุ้นกลุ่มประกันฯ นี้
ไปดูที PBV ดีกว่า.... "นาคี" นั้นแม้เชืองช้า แต่แกร่งกว่า "แมงป่อง" เยอะ
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 69
จากการอ่านข้อมูลในหนังสือชื่อ ซีอีโอ ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น ผมคิดว่า บัฟเฟท มีการประเมินมูลค่าหุ้นของประกันภัย แตกต่างจากที่เราประเมินกันนะครับ
บัฟเฟท ประเมินมูลค่าหุ้นของประกันภัยจาก
1. ความสามารถในการสร้าง โฟร์ท ในแต่ละปี โดย"โฟร์ท" คือ เงินที่สามารถนำไปลงทุนหาประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นความสามารถในการแข่งขันที่จะสามารถเพิ่มเบี้ยประกันภัย ซึ่งดูจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัยในแต่ละปี
2. ความสามารถในการบริหารเงินโฟร์ท โดยเทียบเคียงระหว่างนำเงินโฟร์ทที่ได้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่มีความเสี่ยง กับความสามารถของบริษัทในการนำเงินโฟร์ทไปลงทุนในช่องทางการลงทุนอื่น ๆ
หากบริษัทสามารถ ระดมเงินโฟร์ท ได้ต้นทุนที่ต่ำ และสามารถไปหาผลตอบแทนของเงินโฟร์ทได้ในอัตราที่สูง แล้วนำเอาผลตอบแทนรวมจากการลงทุน มาเทียบกับ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งบัฟเฟท ใช้อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำประมาณร้อยละ 6
ดังนั้น หากสามารถบริหารได้สูงกว่าจึงจะถือว่าเป็นการบริหารเงินทุนที่สร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง เป็นการวัดประสิทธิภาพในการบริหารงานของบริษัทประกันภัยว่า ใครสร้างมูลค่าหุ้นได้มากกว่ากันครับ
ดังนั้น บัฟเฟทมองศักยภาพของธุรกิจประกันภัย จาก 2 ด้านคือ ศักยภาพในการแข่งขัน เพิ่มเงินโฟร์ทในแต่ละปี และมองผลตอบแทนรวมจากการบริหารเงินทุนดังกล่าว เทียบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประมาณร้อยละ 6
หลังจากนั้น เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง เช่น 4 ปี บริษัทเบิกซ์ไซต์ ที่ได้ลงทุนใน ไกโก บริษัทประกันรถยนต์ในอเมริกา จะพบว่า กำไรสุทธิสะสมก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
เหตุที่เป้นเช่นนี้ แม้บริษัทประกันภัยจะบริหารผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ได้หวือหวามาก เช่น ผลตอบแทนในระดับร้อยละ 20 ขึ้นไป แต่อย่าลืมว่า บริษัทประกันภัยได้ระดมเงินโฟร์ทจากเบี้ยประกันภัยต้นทุนต่ำ จำนวนมากมาลงทุน จึงทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในภาพรวมกลับสูงขึ้นได้ เพราะเงินโฟร์ทที่เป็นตัว เลเวอร์เรท ที่สำคัญนั้นเองครับ
ตัว ไดร์เวอร์ที่สำคัญที่บัฟเฟท ประเมินมูลค่าหุ้นบริษัทประกันภัย จึงมีตัวสำคัญ 2 ส่วนคือ โฟร์ท และการบริหารผลตอบแทนรวมในระยะยาวให้สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลให้ได้ในทุก ๆ ปีครับ ก็เพียงพอที่จะทำให้บริษัทประกันภัยแห่งนั้น มีผลงานที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงได้ครับ
เป็นวิธีคิดที่ต่างกับการมองเฉพาะ มูลค่าหุ้นทางบัญชี หรือ อาร์โอเอ หรือ อาร์โออี เพราะมองไปที่ตัวไดร์เวอร์โดยตรงครับ
:lol:
บัฟเฟท ประเมินมูลค่าหุ้นของประกันภัยจาก
1. ความสามารถในการสร้าง โฟร์ท ในแต่ละปี โดย"โฟร์ท" คือ เงินที่สามารถนำไปลงทุนหาประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นความสามารถในการแข่งขันที่จะสามารถเพิ่มเบี้ยประกันภัย ซึ่งดูจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัยในแต่ละปี
2. ความสามารถในการบริหารเงินโฟร์ท โดยเทียบเคียงระหว่างนำเงินโฟร์ทที่ได้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่มีความเสี่ยง กับความสามารถของบริษัทในการนำเงินโฟร์ทไปลงทุนในช่องทางการลงทุนอื่น ๆ
หากบริษัทสามารถ ระดมเงินโฟร์ท ได้ต้นทุนที่ต่ำ และสามารถไปหาผลตอบแทนของเงินโฟร์ทได้ในอัตราที่สูง แล้วนำเอาผลตอบแทนรวมจากการลงทุน มาเทียบกับ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งบัฟเฟท ใช้อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำประมาณร้อยละ 6
ดังนั้น หากสามารถบริหารได้สูงกว่าจึงจะถือว่าเป็นการบริหารเงินทุนที่สร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง เป็นการวัดประสิทธิภาพในการบริหารงานของบริษัทประกันภัยว่า ใครสร้างมูลค่าหุ้นได้มากกว่ากันครับ
ดังนั้น บัฟเฟทมองศักยภาพของธุรกิจประกันภัย จาก 2 ด้านคือ ศักยภาพในการแข่งขัน เพิ่มเงินโฟร์ทในแต่ละปี และมองผลตอบแทนรวมจากการบริหารเงินทุนดังกล่าว เทียบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลประมาณร้อยละ 6
หลังจากนั้น เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง เช่น 4 ปี บริษัทเบิกซ์ไซต์ ที่ได้ลงทุนใน ไกโก บริษัทประกันรถยนต์ในอเมริกา จะพบว่า กำไรสุทธิสะสมก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
เหตุที่เป้นเช่นนี้ แม้บริษัทประกันภัยจะบริหารผลตอบแทนจากการลงทุนไม่ได้หวือหวามาก เช่น ผลตอบแทนในระดับร้อยละ 20 ขึ้นไป แต่อย่าลืมว่า บริษัทประกันภัยได้ระดมเงินโฟร์ทจากเบี้ยประกันภัยต้นทุนต่ำ จำนวนมากมาลงทุน จึงทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในภาพรวมกลับสูงขึ้นได้ เพราะเงินโฟร์ทที่เป็นตัว เลเวอร์เรท ที่สำคัญนั้นเองครับ
ตัว ไดร์เวอร์ที่สำคัญที่บัฟเฟท ประเมินมูลค่าหุ้นบริษัทประกันภัย จึงมีตัวสำคัญ 2 ส่วนคือ โฟร์ท และการบริหารผลตอบแทนรวมในระยะยาวให้สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลให้ได้ในทุก ๆ ปีครับ ก็เพียงพอที่จะทำให้บริษัทประกันภัยแห่งนั้น มีผลงานที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงได้ครับ
เป็นวิธีคิดที่ต่างกับการมองเฉพาะ มูลค่าหุ้นทางบัญชี หรือ อาร์โอเอ หรือ อาร์โออี เพราะมองไปที่ตัวไดร์เวอร์โดยตรงครับ
:lol:
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 71
คุณอะไรดีละ
เงินโฟร์ท คือ เงินค่าเบี้ยประกันภัยที่รับเข้ามาก่อน แล้วจ่ายเครมคืนทีหลัง ดังนั้น จึงมีส่วนที่เป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้ระยะยาว(กรณีรับค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหลายปี เช่น เบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นต้น) ส่วนพวกนี้ไม่ได้เป็นส่วนของเจ้าของผู้ถือหุ้น แต่เป็นเงินที่บริษัทเก็บไว้ และรอการรับรู้รายได้ในอนาคตครับ
ดูตัวอย่างหุ้น สินมั่นคง นะครับ เป็นหุ้นที่มีโฟร์ทสูงมาก เพราะ ส่วนผู้ถือหุ้นมีอยู่เพียง 1445 ล้านบาท แต่ ส่วนทีเป็น โฟร์ท ที่นำไปลงทุนสูงถึง 3852 ล้านบาท หรือสูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 2.67 เท่า
แต่ของ หุ้นกรุงเทพประกันภัย เป็นหุ้นที่มีโฟร์ทใกล้เคียงกับส่วนผู้ถือหุ้น โดยส่วนผู้ถือหุ้นเท่ากับ11397 ล้านบาท แต่มีโฟร์ทไปลงทุนเท่ากับ 11126 ล้านบาท หรือเท่ากับ 0.97 เท่า
หรือหุ้น กรุงศรีประกันภัย เป็นหุ้นที่มีโฟร์ทใกล้เคียงกับส่วนผู้ถือหุ้นเหมือนกันครับ โดยส่วนผู้ถือหุ้นเท่ากับ 5359 ล้านบาท แต่มีโฟร์ทไปลงทุนเท่ากับ 5464 ล้านบาท หรือเท่ากับ 1.02 เท่าครับ
ดังนั้น โฟร์ท กับ มูลค่าหุ้นทางบัญชี แตกต่างกันครับ ซึ่งนำมาซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกันครับ
คุณอะไรดีละ ลองไปดูข้อมูลทางการเงินดูนะครับ ในส่วนของเงินลงทุนสุทธิ กับส่วนผู้ถือหุ้น จะเห็นข้อมูลตรงนี้อย่างชัดเจนครับ
ทำให้เวลาเราไปดูข้อมูล อาร์โอเอ และอาร์โออี จะเห็นข้อมูลตรงนี้ที่สำคัญ คือ หาก เงินโฟร์ท ใกล้เคียงกับส่วนของผู้ถือหุ้น ค่าอาร์โอเอ และอาร์โออี จะใกล้เคียงกัน
แต่หากมีเงินโฟร์ทค่อนข้างสูง ช่วงขาขึ้นของเงินลงทุน จะเห็นได้ชัดเจนว่า อาร์โออี จะสูงกว่า อาร์โอเอ ค่อนข้างมาก
เช่น หุ้นสินมั่นคง นั้น ปี 2551 อาร์โอเอ อยู่ที่ 3.41 เปอร์เซ้นต์ แต่ อาร์โออี ขึ้นไปเป็น 9.91 เปอร์เซ้นต์ และไตรมาส 2 ปี 2552 อาร์โอเอ อยู่ที่ 3.27 เปอร์เซ้นต์ และอาร์โออีอยู่ที่ร้อยละ 10.20
ในขณะที่ หุ้นกรุงเทพฯ นั้น ปี 2551 อาร์โอเอ อยู่ที่ 6.27 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาร์โออี อยู่ที่ 7.71 เปอร์เซ้นต์ ไตรมาส 2 ปี 2552 อาร์โอเอ อยู่ที่ 5.43 เปอร์เซ้นต์ และ อาร์โออี อยู่ที่ 6.41 เปอร์เซ้นต์
อันนี้เป็นผลของโฟร์ท คือเบี้ยประกันภัยรับมาก่อนล่วงหน้าแล้วไปลงทุนโดยตรง
เป็นโมเดลธุรกิจพิเศษ ของธุรกิจนี้ครับ ที่รับเงินก่อน แล้วคุ้มครองทีหลัง ทำให้มีเงินลงทุนจำนวนมาก มาใช้ลงทุนหาผลประโยชน์ครับ
และนี่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ผลประกอบการของ เบิกซ์ไซต์ กว่าร้อยละ 50 จะมาจากกำไรของประกันภัย เพราะบัฟเฟท เชี่ยวชาญการลงทุนมาก ๆ จึงได้เงินของประกันภัยมาใช้ในการลงทุนหาผลตอบแทนให้สูงกว่าค่าเสียโอกาสหรือต้นทุนของค่าเบี้ยประกันภัยที่ต่ำครับ
ลองศึกษาดูนะครับ บางคนถึงกับพูดว่า กำไรจากประกันภัยนั้น ยังไม่ค่อยน่าสนใจเท่าใด บางครั้ง แม้จะไม่มีกำไรจากประกันภัยจำนวนมาก เช่นกรณีของ ไกโก ที่บัฟเฟท ลงทุนอยู่นั้น แต่บัฟเฟท นำค่าเบี้ยประกันภัยไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรขั้นต่ำร้อยละ 6 เป็นเวลาหลายปี และแถมเงินโฟร์ทก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเดิม ที่มีเงินลงทุนประมาณ 2.3 พันล้าเหรียญ สมัยที่บัฟเฟท ลงทุนตอนเริ่มแรก พอบัฟเฟทเข้ามาซื้อหุ้น ใน 4 ปี เงินโฟร์ทเพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านเหรียญ พร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ตรงนี้คือเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้บัฟเฟท มีเครื่องมือที่ผลิตเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนจำนวนมากครับ
ลองศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมดูนะครับ และเรื่อง โฟร์ท เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เป็นธุรกิจที่มหัศจรรย์ธุรกิจหนึ่งในโลก
แต่ประเทศไทยนั้น เรามีปัญหาในเรื่องการหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่มากพอ ทำให้ยังไม่เห็นการโชว์ศักยภาพตรงนี้เท่าที่ควร
แต่ในอนาคต หากมีช่องทางการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนมากขึ้น จุดนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของธุรกิจประกันภัยอีกเหมือนกันครับ
ในรายละเอียดต่างกันนะครับก็สิ่งที่บัฟเฟต์พูดถึงนั่นแหละ...มันจะสะท้อนมาที่ BV ครับ
Smile
เงินโฟร์ท คือ เงินค่าเบี้ยประกันภัยที่รับเข้ามาก่อน แล้วจ่ายเครมคืนทีหลัง ดังนั้น จึงมีส่วนที่เป็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้ระยะยาว(กรณีรับค่าเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าหลายปี เช่น เบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นต้น) ส่วนพวกนี้ไม่ได้เป็นส่วนของเจ้าของผู้ถือหุ้น แต่เป็นเงินที่บริษัทเก็บไว้ และรอการรับรู้รายได้ในอนาคตครับ
ดูตัวอย่างหุ้น สินมั่นคง นะครับ เป็นหุ้นที่มีโฟร์ทสูงมาก เพราะ ส่วนผู้ถือหุ้นมีอยู่เพียง 1445 ล้านบาท แต่ ส่วนทีเป็น โฟร์ท ที่นำไปลงทุนสูงถึง 3852 ล้านบาท หรือสูงกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 2.67 เท่า
แต่ของ หุ้นกรุงเทพประกันภัย เป็นหุ้นที่มีโฟร์ทใกล้เคียงกับส่วนผู้ถือหุ้น โดยส่วนผู้ถือหุ้นเท่ากับ11397 ล้านบาท แต่มีโฟร์ทไปลงทุนเท่ากับ 11126 ล้านบาท หรือเท่ากับ 0.97 เท่า
หรือหุ้น กรุงศรีประกันภัย เป็นหุ้นที่มีโฟร์ทใกล้เคียงกับส่วนผู้ถือหุ้นเหมือนกันครับ โดยส่วนผู้ถือหุ้นเท่ากับ 5359 ล้านบาท แต่มีโฟร์ทไปลงทุนเท่ากับ 5464 ล้านบาท หรือเท่ากับ 1.02 เท่าครับ
ดังนั้น โฟร์ท กับ มูลค่าหุ้นทางบัญชี แตกต่างกันครับ ซึ่งนำมาซึ่งความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกันครับ
คุณอะไรดีละ ลองไปดูข้อมูลทางการเงินดูนะครับ ในส่วนของเงินลงทุนสุทธิ กับส่วนผู้ถือหุ้น จะเห็นข้อมูลตรงนี้อย่างชัดเจนครับ
ทำให้เวลาเราไปดูข้อมูล อาร์โอเอ และอาร์โออี จะเห็นข้อมูลตรงนี้ที่สำคัญ คือ หาก เงินโฟร์ท ใกล้เคียงกับส่วนของผู้ถือหุ้น ค่าอาร์โอเอ และอาร์โออี จะใกล้เคียงกัน
แต่หากมีเงินโฟร์ทค่อนข้างสูง ช่วงขาขึ้นของเงินลงทุน จะเห็นได้ชัดเจนว่า อาร์โออี จะสูงกว่า อาร์โอเอ ค่อนข้างมาก
เช่น หุ้นสินมั่นคง นั้น ปี 2551 อาร์โอเอ อยู่ที่ 3.41 เปอร์เซ้นต์ แต่ อาร์โออี ขึ้นไปเป็น 9.91 เปอร์เซ้นต์ และไตรมาส 2 ปี 2552 อาร์โอเอ อยู่ที่ 3.27 เปอร์เซ้นต์ และอาร์โออีอยู่ที่ร้อยละ 10.20
ในขณะที่ หุ้นกรุงเทพฯ นั้น ปี 2551 อาร์โอเอ อยู่ที่ 6.27 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาร์โออี อยู่ที่ 7.71 เปอร์เซ้นต์ ไตรมาส 2 ปี 2552 อาร์โอเอ อยู่ที่ 5.43 เปอร์เซ้นต์ และ อาร์โออี อยู่ที่ 6.41 เปอร์เซ้นต์
อันนี้เป็นผลของโฟร์ท คือเบี้ยประกันภัยรับมาก่อนล่วงหน้าแล้วไปลงทุนโดยตรง
เป็นโมเดลธุรกิจพิเศษ ของธุรกิจนี้ครับ ที่รับเงินก่อน แล้วคุ้มครองทีหลัง ทำให้มีเงินลงทุนจำนวนมาก มาใช้ลงทุนหาผลประโยชน์ครับ
และนี่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ผลประกอบการของ เบิกซ์ไซต์ กว่าร้อยละ 50 จะมาจากกำไรของประกันภัย เพราะบัฟเฟท เชี่ยวชาญการลงทุนมาก ๆ จึงได้เงินของประกันภัยมาใช้ในการลงทุนหาผลตอบแทนให้สูงกว่าค่าเสียโอกาสหรือต้นทุนของค่าเบี้ยประกันภัยที่ต่ำครับ
ลองศึกษาดูนะครับ บางคนถึงกับพูดว่า กำไรจากประกันภัยนั้น ยังไม่ค่อยน่าสนใจเท่าใด บางครั้ง แม้จะไม่มีกำไรจากประกันภัยจำนวนมาก เช่นกรณีของ ไกโก ที่บัฟเฟท ลงทุนอยู่นั้น แต่บัฟเฟท นำค่าเบี้ยประกันภัยไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรขั้นต่ำร้อยละ 6 เป็นเวลาหลายปี และแถมเงินโฟร์ทก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเดิม ที่มีเงินลงทุนประมาณ 2.3 พันล้าเหรียญ สมัยที่บัฟเฟท ลงทุนตอนเริ่มแรก พอบัฟเฟทเข้ามาซื้อหุ้น ใน 4 ปี เงินโฟร์ทเพิ่มขึ้นอีก 1 พันล้านเหรียญ พร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ตรงนี้คือเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้บัฟเฟท มีเครื่องมือที่ผลิตเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนจำนวนมากครับ
ลองศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมดูนะครับ และเรื่อง โฟร์ท เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เป็นธุรกิจที่มหัศจรรย์ธุรกิจหนึ่งในโลก
แต่ประเทศไทยนั้น เรามีปัญหาในเรื่องการหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่มากพอ ทำให้ยังไม่เห็นการโชว์ศักยภาพตรงนี้เท่าที่ควร
แต่ในอนาคต หากมีช่องทางการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนมากขึ้น จุดนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของธุรกิจประกันภัยอีกเหมือนกันครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 72
อย่างไรก็ดี การมีโฟร์ทมาก ๆ แต่บริหารผลตอบแทนไม่ดี ก็อาจเป็นดาบ 2 คมได้เหมือนกัน เพราะ หากบริหารผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ผลการดำเนินงานกระทบเป็นจำนวนเท่าที่เลเวอร์เลท เหมือนกัน
ดังนั้น บัฟเฟท จึงประเมินผลการบริหารเงินลงทุน โดยดูจากไดร์เวอร์ที่ผมได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ครับ
ดังนั้น หากมีโฟร์ทมาก จึงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นบริษัทที่ดีและยั่งยืนเสมอไป อยู่ที่การหาผลตอบแทนที่คุ้มกับความเสี่ยงขั้นต่ำได้หรือไม่
ซึ่ง บริษัทแห่งหนึ่งเคยมีผลการดำเนินงาน ที่มีโฟร์ทค่อนข้างสูงเมื่อปีที่แล้ว จากการขยายงานมาก และนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์มาก
แต่เมื่อบริหารงานผิดพลาด ก็ทำให้บริษัทดังกล่าวมีผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ไปเลยครับ
ดังนั้น จึงต้องดูแบบบัฟเฟท จึงจะปลอดภัยครับ
ตรงการบริหารการลงทุน บัฟเฟท จึงใส่ใจกับผู้บริหารตรงนี้อย่างมาก และคัดเลือกผู้บริหารชั้นเยี่ยมเพื่อบริหารเงินทุนตรงนี้ ที่เป็นเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้บัฟเฟท ลงทุนในหุ้นเบิกซ์ไซต์ ร่ำรวยจนถึงปัจจุบันนี้ครับ
ดังนั้น สรุปสุดท้ายคือ ต้องดูโฟร์ท และ อัตราผลตอบแทนของเงินลงทุน เป็นตัวที่สะท้อนผลงานที่สำคัญของบริษัทประกันภัยครับ
ดังนั้น บัฟเฟท จึงประเมินผลการบริหารเงินลงทุน โดยดูจากไดร์เวอร์ที่ผมได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ครับ
ดังนั้น หากมีโฟร์ทมาก จึงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นบริษัทที่ดีและยั่งยืนเสมอไป อยู่ที่การหาผลตอบแทนที่คุ้มกับความเสี่ยงขั้นต่ำได้หรือไม่
ซึ่ง บริษัทแห่งหนึ่งเคยมีผลการดำเนินงาน ที่มีโฟร์ทค่อนข้างสูงเมื่อปีที่แล้ว จากการขยายงานมาก และนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์มาก
แต่เมื่อบริหารงานผิดพลาด ก็ทำให้บริษัทดังกล่าวมีผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ไปเลยครับ
ดังนั้น จึงต้องดูแบบบัฟเฟท จึงจะปลอดภัยครับ
ตรงการบริหารการลงทุน บัฟเฟท จึงใส่ใจกับผู้บริหารตรงนี้อย่างมาก และคัดเลือกผู้บริหารชั้นเยี่ยมเพื่อบริหารเงินทุนตรงนี้ ที่เป็นเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้บัฟเฟท ลงทุนในหุ้นเบิกซ์ไซต์ ร่ำรวยจนถึงปัจจุบันนี้ครับ
ดังนั้น สรุปสุดท้ายคือ ต้องดูโฟร์ท และ อัตราผลตอบแทนของเงินลงทุน เป็นตัวที่สะท้อนผลงานที่สำคัญของบริษัทประกันภัยครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 73
การดูเฉพาะ มูลค่าหุ้นทางบัญชีนั้น อาจจะไปเจอ หุ้นที่เป็นหุ้นก้นบุหรี คือ ราคาต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี ต่ำ แต่การเติบโตก็ต่ำด้วย เพราะคอนเซอร์เวทีฟ จนชะลอการเติบโต
หรือไปเจอหุ้นที่เราคิดว่าจะพลิกฟื้นได้ เพราะมีรายการกำไรพิเศษ จากการปรับโครงสร้างหนี้ หรือ รายการพิเศษจากการขายทรัพย์สิน ทำให้ มูลค่าหุ้นทางบัญชีเพิ่มสูงขึ้นมาก จนพีอีค่อนข้างต่ำมาก เป็นต้น
และอาจจะเป็นหุ้นที่เป็นเพชรแท้ก็ได้ หากดูคู่กับ วิธีการของบัฟเฟท ครับ
ผมกลัวว่าเราจะไปหลงประเด็นเรื่อง ราคาต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี จนไม่ได้ดูใส้ในที่สำคัญที่สะท้อนศักยภาพตามที่บัฟเฟทมองครับ
ขอบคุณคุณอะไรดีละ ที่ช่วยสะกิดให้ผมต้องไปค้นข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อมาแชร์ความเห็นนะครับ
ยิ่งคิด ยิ่งมีมุมมองในเชิงลึกมากขึ้น และเข้าใจแนวคิดของบัฟเฟทมากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
หรือไปเจอหุ้นที่เราคิดว่าจะพลิกฟื้นได้ เพราะมีรายการกำไรพิเศษ จากการปรับโครงสร้างหนี้ หรือ รายการพิเศษจากการขายทรัพย์สิน ทำให้ มูลค่าหุ้นทางบัญชีเพิ่มสูงขึ้นมาก จนพีอีค่อนข้างต่ำมาก เป็นต้น
และอาจจะเป็นหุ้นที่เป็นเพชรแท้ก็ได้ หากดูคู่กับ วิธีการของบัฟเฟท ครับ
ผมกลัวว่าเราจะไปหลงประเด็นเรื่อง ราคาต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี จนไม่ได้ดูใส้ในที่สำคัญที่สะท้อนศักยภาพตามที่บัฟเฟทมองครับ
ขอบคุณคุณอะไรดีละ ที่ช่วยสะกิดให้ผมต้องไปค้นข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อมาแชร์ความเห็นนะครับ
ยิ่งคิด ยิ่งมีมุมมองในเชิงลึกมากขึ้น และเข้าใจแนวคิดของบัฟเฟทมากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 75
ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเิติมล่ะกัน
ROE มันคิดจาก กำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น
E นี้หาเจอปัญหาเรื่อง สินทรัพย์ที่เป็นเืผื่อขาย ขาดทุน
ส่วนขาดทุน บันทึกเข้าที่ส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง เป็นการซ่อนไว้
ทำให้อาจจะทำให้ค่าของ E ต่ำกว่าความเิป็นจริงได้
ส่วน B นี้
หากไปเจอกรณีที่ี
1.Toxic Assets คือสินทรัพย์เป็นพิษ ถือครองอยู่ ดีๆๆ มันก็ลดค่าลดไป แล้วไม่ตั้งสำรอง เพราะความเห็นของผู้บริหารไม่ต้องตั้งสำรอง และสามารถทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชีคล้องตามได้
2. ปัญหาความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีการโยงย้ายเงินออกจากตัวบริษัทอย่างรวดเร็ว คือ เงินสดเข้าวันนี้พรุ่งนี้ก็หายไปแล้ว เช่นแบบนี้
3. ปัญหาสินทรัพย์นั้น อาจจะเป็นสินทรัพย์ที่มีปัญหา แต่ไม่ใส่ค่าเป็น NPL
(บริษัทประกันสามารถปล่อยกู้ได้นักครับ อย่าลืมไปแต่ปล่อยกู้ในปริมาณที่น้อย เมื่อก่อนนี้ บริษัทประกันภัยเป็นขายั้งอันหนึ่งในสามของการเงิน คือธนาคาร บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์)
4. สินทรัพย์บ้างอย่างไม่ตีราคามาเป็นเวลายาวนาน หากตีราคาอาจจะทำให้ ราคาลดลงจากตอนที่ซื้อมา
By the way
ตอนนี้กฏระเบียบของ คปภ ในส่วนของโบรกเกอร์มีการเปลี่ยนแปลง
คือ บริษัทของโบรกเกอร์ต้องมีเงินสดเก็บไว้จำนวนหนึ่ง
และสาขาของโบรกเกอร์ก็ต้องมีเงินสดเก็บไว้ด้วย
จึงไม่รู้ว่าบริษัทประกันภัยโดยกฏข้อนี้หรือเปล่า
เพราะตอนนี้ใช้กฏ Cash before Cover
ROE มันคิดจาก กำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น
E นี้หาเจอปัญหาเรื่อง สินทรัพย์ที่เป็นเืผื่อขาย ขาดทุน
ส่วนขาดทุน บันทึกเข้าที่ส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง เป็นการซ่อนไว้
ทำให้อาจจะทำให้ค่าของ E ต่ำกว่าความเิป็นจริงได้
ส่วน B นี้
หากไปเจอกรณีที่ี
1.Toxic Assets คือสินทรัพย์เป็นพิษ ถือครองอยู่ ดีๆๆ มันก็ลดค่าลดไป แล้วไม่ตั้งสำรอง เพราะความเห็นของผู้บริหารไม่ต้องตั้งสำรอง และสามารถทำให้ผู้ตรวจสอบบัญชีคล้องตามได้
2. ปัญหาความโปร่งใสในการดำเนินงาน มีการโยงย้ายเงินออกจากตัวบริษัทอย่างรวดเร็ว คือ เงินสดเข้าวันนี้พรุ่งนี้ก็หายไปแล้ว เช่นแบบนี้
3. ปัญหาสินทรัพย์นั้น อาจจะเป็นสินทรัพย์ที่มีปัญหา แต่ไม่ใส่ค่าเป็น NPL
(บริษัทประกันสามารถปล่อยกู้ได้นักครับ อย่าลืมไปแต่ปล่อยกู้ในปริมาณที่น้อย เมื่อก่อนนี้ บริษัทประกันภัยเป็นขายั้งอันหนึ่งในสามของการเงิน คือธนาคาร บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์)
4. สินทรัพย์บ้างอย่างไม่ตีราคามาเป็นเวลายาวนาน หากตีราคาอาจจะทำให้ ราคาลดลงจากตอนที่ซื้อมา
By the way
ตอนนี้กฏระเบียบของ คปภ ในส่วนของโบรกเกอร์มีการเปลี่ยนแปลง
คือ บริษัทของโบรกเกอร์ต้องมีเงินสดเก็บไว้จำนวนหนึ่ง
และสาขาของโบรกเกอร์ก็ต้องมีเงินสดเก็บไว้ด้วย
จึงไม่รู้ว่าบริษัทประกันภัยโดยกฏข้อนี้หรือเปล่า
เพราะตอนนี้ใช้กฏ Cash before Cover
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 76
ผมให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อล่ะกัน
ROE กับ ROA หากเจอ กำไรติดลบนั้นค่าของทั้งสองตัวนี้
ไปในทิศทางเดียวกัน คือ ติดลบ
แต่หากไปเจอว่า ROE กับ ROA มันสวนทางกัน
แบบนี้ต้องลงไปดูว่า มันเิิกิดจากอะไร
อาจจะเป็นกับดัก หรือ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้
ส่วนค่า P/BV นี้บอกแค่
เราจ่ายถูกหรือจ่ายแพงกว่า เจ้าของเดิม ที่ลงทุนในกิจการนี้ เท่านั้น
ไม่ไ้ด้บอกอะไรมากกว่านี้มากนัก
สิ่งเหล่านี้เป็น Guide นำทางได้ แต่ไม่ใช่ยึดถือเสียทั้งหมด
อาจจะเป็นกับดัก หรือเส้นทางสวรรค์ก็ได้ มันแล้วแต่ ช่วงเวลาที่เอาไปเทียบ
ROE กับ ROA หากเจอ กำไรติดลบนั้นค่าของทั้งสองตัวนี้
ไปในทิศทางเดียวกัน คือ ติดลบ
แต่หากไปเจอว่า ROE กับ ROA มันสวนทางกัน
แบบนี้ต้องลงไปดูว่า มันเิิกิดจากอะไร
อาจจะเป็นกับดัก หรือ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้
ส่วนค่า P/BV นี้บอกแค่
เราจ่ายถูกหรือจ่ายแพงกว่า เจ้าของเดิม ที่ลงทุนในกิจการนี้ เท่านั้น
ไม่ไ้ด้บอกอะไรมากกว่านี้มากนัก
สิ่งเหล่านี้เป็น Guide นำทางได้ แต่ไม่ใช่ยึดถือเสียทั้งหมด
อาจจะเป็นกับดัก หรือเส้นทางสวรรค์ก็ได้ มันแล้วแต่ ช่วงเวลาที่เอาไปเทียบ
- ดงดิบ
- Verified User
- โพสต์: 23
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 78
ขอบคุณทุกท่านครับ..ในการถกกันแบบนี้ให้ประโยชน์กับผู้ที่ติดตามเป็นอย่างมาก...ทั้งในด้านความรู้เพิ่มเติม และแนวทางการแสดงความคิดเห็น..
แตกต่าง..ไม่แตกแยก...
มองต่างมุม..ค้นคว้าเพิ่ม..มาคุยกันใหม่...
เป็นตัวอย่างการแสดงความคิดที่ดีมาก..ของจริงต้องแบบนี้.
ขอคาราวะครับ.
.
แตกต่าง..ไม่แตกแยก...
มองต่างมุม..ค้นคว้าเพิ่ม..มาคุยกันใหม่...
เป็นตัวอย่างการแสดงความคิดที่ดีมาก..ของจริงต้องแบบนี้.
ขอคาราวะครับ.
.
เหรียญมี 2 ด้าน...
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 79
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413339978
วินาศภัยสอบตกเยอะ/ดึงภาษี5.5พันล.เสริมสภาพคล่อง
นับถอยหลังคปภ.ใช้ RBC ปี 54 วินาศภัยลุ้นระทึกหากใช้เต็มรูปแบบ ตายสถานเดียวเพราะต้องตั้งสำรองเพิ่มเยอะ บีบเพิ่มกองทุนมโหฬาร ชี้แม้ผลทดสอบ 63 บริษัทยังไม่รู้ผลต้องรอปลายตุลาคมนี้ แต่เบื้องต้นสาหัส คาดถ้าคปภ.เห็นผลเทสต์เชื่อสอบตกมากกว่าอาจยืดเวลาอีก 3-5 ปี โดยทยอยใช้แบบขั้นบันได ด้านส.วินาศภัยอ้อนสรรพากรปรับระบบภาษี เงินสำรอง ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยรองรับ RBC เซฟเงินภาษีล่วง หน้ากว่า 5,500 ล้านบาทเสริมสภาพคล่องบริษัท
นางสาวนิตยา พิริยะธรรมวงศ์ เลขาธิการสำนักงานอัตราเบี้ยประกันภัย (IPRB) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะเริ่มใช้กรอบดำรงเงินกอง ทุนแบบใหม่ตามหลักมาตรฐานสากลที่เรียกว่าการดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ในปี 2554 จะส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันภัยดำเนินธุรกิจยากลำบากมากขึ้นเพราะต้องดำรง เงินกองทุนรองรับการตั้งสำรอง ต่างๆ ตามกรอบ RBC ที่ประเมินความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้านทั้งทรัพย์สินและหนี้สินซึ่งเข้มข้นมาก กว่าเกณฑ์ปัจจุบันที่คปภ.กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้อง มีเงินกองทุนขั้นต่ำ 150% หรือเท่ากับ 1.5 เท่าของเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ซึ่งวัดความเสี่ยงจากการรับประกันภัย (Insurance Risk) อย่างเดียวเท่านั้นไม่สะท้อนความเสี่ยงทั้งหมด
ขณะที่ RBC นอกจากความเสี่ยงจากการรับประกันภัยแล้วเพิ่มความเสี่ยงอีก 2 ด้านที่ใช้เงินกองทุนเป็นตัววัดเช่นกันคือ 1.ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เช่น บริษัทประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัยต่อที่บริษัทประกันภัยนั้นๆ ซื้อไว้ได้ หรือลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนสินเชื่อได้ รวมถึงความเสี่ยงจาก การกระจุกตัวของทรัพย์สิน เช่น ลงทุนในหุ้นมากเกินไปหากหุ้นตกมูลค่าเงินลงทุน ลดลงกระทบกับเงินกองทุน 2. ความเสี่ยง ด้านการตลาด (Market Risk) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าและราคาทรัพย์สิน ที่ผันผวนตามภาวะตลาด
ภายใต้ RBC กำหนดให้บริษัทประกันภัยมีกองทุน 2 ระดับรองรับความ เสี่ยงคือกองทุนหลัก (Tier 1) และกองทุน รอง (Tier 2) ซึ่งสินทรัพย์ที่นับเป็นเงินกองทุนต้องเป็นสินทรัพย์ที่แปรสภาพเป็น เงินสดได้ทันทีเท่านั้นและต้องไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งหากมีกองทุนหลักเพียงพอไม่ต้องมีกองทุนรอง โดยกองทุนหลัก อาทิ หุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วเต็มจำนวน, ส่วนเกินมูลค่าหุ้น, หุ้นบุริมสิทธิ์ (ประเภทไม่สะสมเงินปันผล) เป็นต้น โดยคปภ.ได้เพิ่มเครี่องมือทางการเงินอื่นที่บริษัทสามารถออกได้เพื่อระดมทุน ระยะยาว อาทิ หุ้นกู้
อย่างไรก็ดี ภายใต้กรอบ RBC จะมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินใหม่ตามราคา ยุติธรรมหรือราคาตลาดซึ่งจะทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทประกันภัยสูงขึ้น ทำ ให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียว กับหนี้สินซึ่งจะประเมินตามมูลค่ายุติธรรมเช่นกัน อีกทั้งจะนำมาตรฐานการ บัญชีและการรายงานทางการเงินสากลมาใช้ด้วย
“หนี้สินหลักของประกันภัยคือหนี้สินที่มีต่อผู้เอาประกันภัยจากความเสี่ยง กรมธรรม์ยังไม่หมดอายุทั้งกรณีผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญา รวมถึงเคลมที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเอาประกันภัย ดังนั้น บริษัทต้องสำรองเบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้เพียงพอเพราะถ้า ขายเบี้ยประกันภัยต่ำเกินไปหรือตั้งสำรองประมาณการเคลมไว้ต่ำเกินไปจะกระทบ กับผู้เอาประกันการนำ RBC มาใช้จะทำ ให้บริษัทดำรงเงินกองทุนและเงินสำรองได้เพียงพอกับความเสี่ยงและภาระผูกพัน มากขึ้น”
นางสาวนิตยา กล่าวว่า บริษัทประกันวินาศภัยที่สมัครเข้าร่วมทดสอบโมเดล RBC อย่างเป็นทางการ ทั้ง 34 บริษัทจะทดสอบเสร็จปลายเดือนตุลาคมนี้แต่เนื่องจากบริษัทที่ทดสอบส่วนใหญ่ มีเงินกองทุนเกินกว่าเกณฑ์ที่คปภ. กำหนดไว้ขั้นต่ำ 150% บางแห่งมีเงินกอง ทุนถึง 1,000% จึงไม่สะท้อนภาพรวมของ อุตสาหกรรม ดังนั้นทางนายกสมาคมประกันภัยจึงขอความร่วมมือบริษัทที่เหลือ ร่วมทดสอบโมเดล RBC ด้วยซึ่งมีบริษัทสมัครเข้าร่วมเพิ่มอีก 29 บริษัทโดยกลุ่มหลังทดสอบอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อ ให้แต่ละบริษัทรู้สถานภาพของตัวเองและทำให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมประกัน วินาศภัยหากใช้ RBC ผลจะออกมาเป็นอย่างไรสอบตกหรือผ่านกี่บริษัทโดยใช้เกณฑ์ทดสอบแบบเดียวกัน
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะเปิดเผยชื่อรวมถึงผลการทดสอบของทั้ง 34 บริษัทกับทาง คปภ.แต่ละบริษัทอัตราส่วนเงินกองทุนเป็น อย่างไร เพียงพอหรือไม่ ผ่านหรือขาดอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 29 บริษัทไม่ได้เปิดเผยชื่อกับทางคปภ.แต่จะเก็บรวบรวม เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจกับทางคปภ.ประกอบการตัด สินใช้ RBC
“ตามกฎหมายคปภ.จะเริ่มใช้ RBC ในปี 2554 ต้องอยู่ที่ คปภ. จะใช้เต็มรูปแบบหรือไม่ถ้าเข้มข้นอาจจะกระทบกับฐานะ การเงินบริษัทประกันภัยมาก แต่ถ้า ไม่เข้มข้น โดยค่อยๆ ทยอยใช้เป็นแบบขั้นบันไดยืดออกไปอีก 3-5 ปีอาจจะไม่กระทบมาก การที่เราให้บริษัทประกันวินาศภัยเทสต์โมเดล RBC ทำให้คปภ.รู้ข้อมูลทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้นจะใช้ RBC เต็มรูปแบบหรือไม่ ขณะที่บริษัทเองจะรู้ตัวเองจะได้หาวิธีแก้ไข เชื่อว่าถ้าคปภ. เห็นผลการเทสต์อาจจะขยายเวลาการใช้ RBC ออกไปเพราะตัวเลขไม่ค่อยดี”
นางสาวนิตยา กล่าวว่า การใช้ RBC อาจจะทำให้บริษัทประกันภัยต้องปรับการ รับประกันภัยลดการรับประกันภัยที่เสี่ยงสูงลงเช่นเดียวกับการลงทุนต้องลด พอร์ต ที่เสี่ยงสูงเพราะภายใต้ RBC จัดประเภทการลงทุนรวมถึงแบ่งเรตติ้งตามความเสี่ยง หากเสี่ยงสูงหรือเรตติ้งไม่ดีต้องดำรง เงินกองทุน ต้องตั้งสำรองมาก เช่นหุ้นทุน จัดเป็นการลงทุนที่เสี่ยงสูง
นางสาวนิตยา กล่าวว่าเนื่องจาก RBC จะทำให้บริษัทประกันภัยต้องตั้งสำรอง เพิ่มขึ้นมากทำให้ต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่ม ขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงภาษีต้องเสียภาษีล่วงหน้าเพิ่มเพราะขณะนี้บริษัทประกัน วินาศภัยต้องเสียภาษีล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากรจากการตั้งสำรอง ค่าสินไหมต่างๆ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นเงินถึง 5,500 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตั้งสำรองค่าสินไหม ทดแทน ค้างจ่ายที่ต้องสำรองไว้ล่วงหน้ากรณีเกิดเหตุแล้ว รายงานแล้วแต่ยังไม่มีการตกลงค่าสินไหมและยังไม่มีการจ่าย
ซึ่งบริษัทประกันภัยนำมาลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทและนำไปหักออก จากผลกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี ซึ่งค่าสินไหมส่วนนี้เป็นตัวเลขประมาณการ กรมสรรพากรไม่ให้นำมาหักลดภาษีในปีนั้น นอกจากจะเป็นตัวเลขค่าสินไหมที่กำหนดไว้แน่นอนหรือมีการจ่ายจริงแล้ว เท่านั้น รวมถึงการตั้งสำรองค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดเหตุแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรายงาน ยังไม่ได้ตกลงและยังไม่จ่าย หรือ IBNR ที่ทางกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้นำมาบวกเป็นค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน
“การเสียภาษีล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากรทำให้บริษัทต้องเสียโอกาสทางธุรกิจ เสียโอกาสนำเงินไปหาผลตอบแทน จากการลงทุนเพิ่มขึ้น สูญเสียสภาพคล่อง และกระทบเงินสดของบริษัท ซึ่งบริษัทประกันภัยต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด 15 ปีเพื่อเรียกร้องระบบภาษีที่เป็นธรรมเพราะต่างประเทศเขาให้นำการตั้งสำรองมา หักภาษีได้มีประเทศไทยที่เดียวเท่านั้นไม่ยอมหากใช้ระบบเดียวกันจะทำให้การ ตีมูลค่าต่างๆ โปร่งใสสะท้อนมูลค่ายุติธรรมมากขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้ ทางคปภ.และสมาคมวินาศภัยเพิ่งเข้าไปคุยกับกรมสรรพากรไปชี้แจงมาตรฐานทาง บัญชีต่างประเทศ ระบบการตั้งสำรองตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งกรมสรรพากรเข้าใจมากขึ้น ที่ผ่านมากรมสรรพากรกลัวบริษัทตั้งสำรองสูงเพื่อจะได้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งเป็นไปได้ยากเพราะถ้าตั้งค่าใช้จ่ายสูงจะกระทบเงินกองทุน อีกทั้งถ้าใช้ RBC ยิ่งค่าใช้จ่ายมากต้องสำรองมากต้องหาเงินทุนมารองรับมากขึ้น”
วินาศภัยสอบตกเยอะ/ดึงภาษี5.5พันล.เสริมสภาพคล่อง
นับถอยหลังคปภ.ใช้ RBC ปี 54 วินาศภัยลุ้นระทึกหากใช้เต็มรูปแบบ ตายสถานเดียวเพราะต้องตั้งสำรองเพิ่มเยอะ บีบเพิ่มกองทุนมโหฬาร ชี้แม้ผลทดสอบ 63 บริษัทยังไม่รู้ผลต้องรอปลายตุลาคมนี้ แต่เบื้องต้นสาหัส คาดถ้าคปภ.เห็นผลเทสต์เชื่อสอบตกมากกว่าอาจยืดเวลาอีก 3-5 ปี โดยทยอยใช้แบบขั้นบันได ด้านส.วินาศภัยอ้อนสรรพากรปรับระบบภาษี เงินสำรอง ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยรองรับ RBC เซฟเงินภาษีล่วง หน้ากว่า 5,500 ล้านบาทเสริมสภาพคล่องบริษัท
นางสาวนิตยา พิริยะธรรมวงศ์ เลขาธิการสำนักงานอัตราเบี้ยประกันภัย (IPRB) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะเริ่มใช้กรอบดำรงเงินกอง ทุนแบบใหม่ตามหลักมาตรฐานสากลที่เรียกว่าการดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ในปี 2554 จะส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันภัยดำเนินธุรกิจยากลำบากมากขึ้นเพราะต้องดำรง เงินกองทุนรองรับการตั้งสำรอง ต่างๆ ตามกรอบ RBC ที่ประเมินความเสี่ยงครอบคลุมทุกด้านทั้งทรัพย์สินและหนี้สินซึ่งเข้มข้นมาก กว่าเกณฑ์ปัจจุบันที่คปภ.กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้อง มีเงินกองทุนขั้นต่ำ 150% หรือเท่ากับ 1.5 เท่าของเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ซึ่งวัดความเสี่ยงจากการรับประกันภัย (Insurance Risk) อย่างเดียวเท่านั้นไม่สะท้อนความเสี่ยงทั้งหมด
ขณะที่ RBC นอกจากความเสี่ยงจากการรับประกันภัยแล้วเพิ่มความเสี่ยงอีก 2 ด้านที่ใช้เงินกองทุนเป็นตัววัดเช่นกันคือ 1.ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) เช่น บริษัทประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัยต่อที่บริษัทประกันภัยนั้นๆ ซื้อไว้ได้ หรือลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนสินเชื่อได้ รวมถึงความเสี่ยงจาก การกระจุกตัวของทรัพย์สิน เช่น ลงทุนในหุ้นมากเกินไปหากหุ้นตกมูลค่าเงินลงทุน ลดลงกระทบกับเงินกองทุน 2. ความเสี่ยง ด้านการตลาด (Market Risk) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าและราคาทรัพย์สิน ที่ผันผวนตามภาวะตลาด
ภายใต้ RBC กำหนดให้บริษัทประกันภัยมีกองทุน 2 ระดับรองรับความ เสี่ยงคือกองทุนหลัก (Tier 1) และกองทุน รอง (Tier 2) ซึ่งสินทรัพย์ที่นับเป็นเงินกองทุนต้องเป็นสินทรัพย์ที่แปรสภาพเป็น เงินสดได้ทันทีเท่านั้นและต้องไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งหากมีกองทุนหลักเพียงพอไม่ต้องมีกองทุนรอง โดยกองทุนหลัก อาทิ หุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วเต็มจำนวน, ส่วนเกินมูลค่าหุ้น, หุ้นบุริมสิทธิ์ (ประเภทไม่สะสมเงินปันผล) เป็นต้น โดยคปภ.ได้เพิ่มเครี่องมือทางการเงินอื่นที่บริษัทสามารถออกได้เพื่อระดมทุน ระยะยาว อาทิ หุ้นกู้
อย่างไรก็ดี ภายใต้กรอบ RBC จะมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินใหม่ตามราคา ยุติธรรมหรือราคาตลาดซึ่งจะทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทประกันภัยสูงขึ้น ทำ ให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียว กับหนี้สินซึ่งจะประเมินตามมูลค่ายุติธรรมเช่นกัน อีกทั้งจะนำมาตรฐานการ บัญชีและการรายงานทางการเงินสากลมาใช้ด้วย
“หนี้สินหลักของประกันภัยคือหนี้สินที่มีต่อผู้เอาประกันภัยจากความเสี่ยง กรมธรรม์ยังไม่หมดอายุทั้งกรณีผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญา รวมถึงเคลมที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเอาประกันภัย ดังนั้น บริษัทต้องสำรองเบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้เพียงพอเพราะถ้า ขายเบี้ยประกันภัยต่ำเกินไปหรือตั้งสำรองประมาณการเคลมไว้ต่ำเกินไปจะกระทบ กับผู้เอาประกันการนำ RBC มาใช้จะทำ ให้บริษัทดำรงเงินกองทุนและเงินสำรองได้เพียงพอกับความเสี่ยงและภาระผูกพัน มากขึ้น”
นางสาวนิตยา กล่าวว่า บริษัทประกันวินาศภัยที่สมัครเข้าร่วมทดสอบโมเดล RBC อย่างเป็นทางการ ทั้ง 34 บริษัทจะทดสอบเสร็จปลายเดือนตุลาคมนี้แต่เนื่องจากบริษัทที่ทดสอบส่วนใหญ่ มีเงินกองทุนเกินกว่าเกณฑ์ที่คปภ. กำหนดไว้ขั้นต่ำ 150% บางแห่งมีเงินกอง ทุนถึง 1,000% จึงไม่สะท้อนภาพรวมของ อุตสาหกรรม ดังนั้นทางนายกสมาคมประกันภัยจึงขอความร่วมมือบริษัทที่เหลือ ร่วมทดสอบโมเดล RBC ด้วยซึ่งมีบริษัทสมัครเข้าร่วมเพิ่มอีก 29 บริษัทโดยกลุ่มหลังทดสอบอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อ ให้แต่ละบริษัทรู้สถานภาพของตัวเองและทำให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมประกัน วินาศภัยหากใช้ RBC ผลจะออกมาเป็นอย่างไรสอบตกหรือผ่านกี่บริษัทโดยใช้เกณฑ์ทดสอบแบบเดียวกัน
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะเปิดเผยชื่อรวมถึงผลการทดสอบของทั้ง 34 บริษัทกับทาง คปภ.แต่ละบริษัทอัตราส่วนเงินกองทุนเป็น อย่างไร เพียงพอหรือไม่ ผ่านหรือขาดอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 29 บริษัทไม่ได้เปิดเผยชื่อกับทางคปภ.แต่จะเก็บรวบรวม เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจกับทางคปภ.ประกอบการตัด สินใช้ RBC
“ตามกฎหมายคปภ.จะเริ่มใช้ RBC ในปี 2554 ต้องอยู่ที่ คปภ. จะใช้เต็มรูปแบบหรือไม่ถ้าเข้มข้นอาจจะกระทบกับฐานะ การเงินบริษัทประกันภัยมาก แต่ถ้า ไม่เข้มข้น โดยค่อยๆ ทยอยใช้เป็นแบบขั้นบันไดยืดออกไปอีก 3-5 ปีอาจจะไม่กระทบมาก การที่เราให้บริษัทประกันวินาศภัยเทสต์โมเดล RBC ทำให้คปภ.รู้ข้อมูลทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้นจะใช้ RBC เต็มรูปแบบหรือไม่ ขณะที่บริษัทเองจะรู้ตัวเองจะได้หาวิธีแก้ไข เชื่อว่าถ้าคปภ. เห็นผลการเทสต์อาจจะขยายเวลาการใช้ RBC ออกไปเพราะตัวเลขไม่ค่อยดี”
นางสาวนิตยา กล่าวว่า การใช้ RBC อาจจะทำให้บริษัทประกันภัยต้องปรับการ รับประกันภัยลดการรับประกันภัยที่เสี่ยงสูงลงเช่นเดียวกับการลงทุนต้องลด พอร์ต ที่เสี่ยงสูงเพราะภายใต้ RBC จัดประเภทการลงทุนรวมถึงแบ่งเรตติ้งตามความเสี่ยง หากเสี่ยงสูงหรือเรตติ้งไม่ดีต้องดำรง เงินกองทุน ต้องตั้งสำรองมาก เช่นหุ้นทุน จัดเป็นการลงทุนที่เสี่ยงสูง
นางสาวนิตยา กล่าวว่าเนื่องจาก RBC จะทำให้บริษัทประกันภัยต้องตั้งสำรอง เพิ่มขึ้นมากทำให้ต้องดำรงเงินกองทุนเพิ่ม ขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงภาษีต้องเสียภาษีล่วงหน้าเพิ่มเพราะขณะนี้บริษัทประกัน วินาศภัยต้องเสียภาษีล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากรจากการตั้งสำรอง ค่าสินไหมต่างๆ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นเงินถึง 5,500 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตั้งสำรองค่าสินไหม ทดแทน ค้างจ่ายที่ต้องสำรองไว้ล่วงหน้ากรณีเกิดเหตุแล้ว รายงานแล้วแต่ยังไม่มีการตกลงค่าสินไหมและยังไม่มีการจ่าย
ซึ่งบริษัทประกันภัยนำมาลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทและนำไปหักออก จากผลกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี ซึ่งค่าสินไหมส่วนนี้เป็นตัวเลขประมาณการ กรมสรรพากรไม่ให้นำมาหักลดภาษีในปีนั้น นอกจากจะเป็นตัวเลขค่าสินไหมที่กำหนดไว้แน่นอนหรือมีการจ่ายจริงแล้ว เท่านั้น รวมถึงการตั้งสำรองค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดเหตุแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรายงาน ยังไม่ได้ตกลงและยังไม่จ่าย หรือ IBNR ที่ทางกรมสรรพากรไม่อนุมัติให้นำมาบวกเป็นค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน
“การเสียภาษีล่วงหน้าให้กับกรมสรรพากรทำให้บริษัทต้องเสียโอกาสทางธุรกิจ เสียโอกาสนำเงินไปหาผลตอบแทน จากการลงทุนเพิ่มขึ้น สูญเสียสภาพคล่อง และกระทบเงินสดของบริษัท ซึ่งบริษัทประกันภัยต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด 15 ปีเพื่อเรียกร้องระบบภาษีที่เป็นธรรมเพราะต่างประเทศเขาให้นำการตั้งสำรองมา หักภาษีได้มีประเทศไทยที่เดียวเท่านั้นไม่ยอมหากใช้ระบบเดียวกันจะทำให้การ ตีมูลค่าต่างๆ โปร่งใสสะท้อนมูลค่ายุติธรรมมากขึ้น
เมื่อเร็วๆนี้ ทางคปภ.และสมาคมวินาศภัยเพิ่งเข้าไปคุยกับกรมสรรพากรไปชี้แจงมาตรฐานทาง บัญชีต่างประเทศ ระบบการตั้งสำรองตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งกรมสรรพากรเข้าใจมากขึ้น ที่ผ่านมากรมสรรพากรกลัวบริษัทตั้งสำรองสูงเพื่อจะได้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งเป็นไปได้ยากเพราะถ้าตั้งค่าใช้จ่ายสูงจะกระทบเงินกองทุน อีกทั้งถ้าใช้ RBC ยิ่งค่าใช้จ่ายมากต้องสำรองมากต้องหาเงินทุนมารองรับมากขึ้น”
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 80
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413339991
ปลื้ม!สัปดาห์ประกันภัยทะลุเป้า
คปภ.ปลื้ม! สัปดาห์ประกันภัยทะลุเป้า คนแห่ร่วมงานทั้งส่วนกลาง-ภูมิภาคกว่า 200,000 คน ยอดซื้อนับ 10,000 กรมธรรม์ ย้ำ ยอดขายไม่ใช่คำตอบ แต่อยู่ที่ประชาชนสนใจเข้า มาเยี่ยมชมเลือกซื้อสินค้าประกัน เผยประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ขายดีสุด ตามด้วยประกันสุขภาพ-วางแผนเกษียณ ขณะวินาศภัยประกันภัยรถยนต์ยอดพุ่ง เช่นเดียวกับยอดสมัครสอบตัวแทนเกินคาดมากกว่า 10,000 คน ทุกฝ่ายยกมือหนุนจัดต่อเนื่องทุกปี
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาพ รวมของการจัดงาน “สัปดาห์ประกันภัย” ถือว่าประสบความสำเร็จน่าพอใจ เป็นไปตามเป้าหมายของคปภ.ที่มุ่งกำกับและส่งเสริมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้การประกันภัยกระจายไปยังทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่ตลาดยังกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลาง ถึง 60% และมุ่งคุ้มครองดูแลประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงการประกันภัยมากขึ้น
ทั้งนี้ งานดังกล่าวถือว่าได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยดี ทั้ง สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมตัวแทนประกันชีวิต สมาคมนายหน้าประกันภัย สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย และสมาคมอู่กลางประกันภัย รวมทั้งบริษัทประกันภัยต่างๆ ในการจัดงานที่ส่วน กลาง และ 14 จังหวัดในส่วนภูมิภาค โดยมีผู้สนใจมาร่วมชม และซื้อประกันในงาน แบ่งเป็นในส่วนกลางมากถึง 100,000 คน และในส่วนภูมิภาคมากกว่า 150,000 คน เป็นจำนวนกรมธรรม์ตลอด 5 วันที่จัดงานนับ 10,000 กรมธรรม์
สำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมภาย ในงาน ในส่วนของการประกันชีวิต แบบประกันที่ได้รับความสนใจมากจะเป็นประเภทสะสมทรัพย์ (Endowment) ซึ่งประชาชนเริ่มมีความเข้าใจว่าเป็นการออมอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากฝาก เงินแบบ ประกันสุขภาพ โดยเฉพาะความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนเริ่มหันมาสนใจที่จะซื้อประกันชีวิตเพื่อช่วยแบ่งเบา ภาระด้านค่าใช้จ่ายการรักษาพยา บาลที่ปัจจุบันมีราคาแพงกันมากขึ้น และแบบประกันออมเพื่อการเกษียณก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานมา หาซื้อในงานมากขึ้นเช่นกัน
ด้านประกันวินาศภัย ซึ่งได้มีการขออนุญาตเสนอขายประกันในอัตราเบี้ยพิเศษ ซึ่งลดจากปกติสูงสุดถึง 30% ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ การประกันภัยรถ ยนต์ ซึ่งยอดขายเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนั้นเป็นประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) แผนชดเชยรายได้ และการประกันอัคคีภัย
“ยอดขายตลอด 5 วันสูงนับ 10,000 กรมธรรม์ แต่ในแง่ของปริมาณเบี้ยเป็นเรื่องของธุรกิจ เพราะเป้าหมายของเรา คือ อยากให้ประชาชนเข้าใจถึงการประกันภัย ว่านอกเหนือจากคุ้มครองความเสี่ยงแล้ว ยังเป็นการออมด้วย ซึ่งถือว่าการจัดงานครั้งนี้เรามาถูกทางแล้ว และมีการทำงานกันเป็นทีม โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากธุรกิจประกันภัย ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับการจัดงานในครั้งต่อไป”
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขา ธิการคปภ. ซึ่งถือเป็นแม่งานครั้งนี้ กล่าวเสริมว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ คือ การสร้างความตระหนัก และการรับรู้ในเรื่องของการประกันภัยให้กับประชาชน ดังนั้นในเรื่องของยอดขายจึงไม่ใช่คำตอบ แต่อยู่ที่ความสนใจเข้ามาร่วม ชมงานของประชาชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ทั้งบริษัทประกันชีวิตกว่า 70% และบริษัทประกันวินาศภัยราว 50% ที่ร่วมออกบูธในงาน นำผลิตภัณฑ์ประกันใหม่ๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความพิเศษมา นำเสนอ เช่น การประกันด้านทันตกรรม การประกันสุนัข และที่ได้รับความนิยมมาก คือ การประกันโรคร้ายแรง
“ผลตอบรับที่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้เห็นควรต้องจัดงานทุกปี โดยจะมีการ พัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคงต้องดูก่อนว่าจะเป็นช่วงใดของปี และสถานที่จะเป็นที่ใด คงต้องหารือกันก่อน อาจจะไม่ใช่ช่วงกันยายนก็ได้ แต่ปีนี้เรานำมาโปรโมตเนื่องจากเป็นเดือนครบรอบสถาปนาคปภ. เพราะเราก็อยากให้ประชาชนเข้ามาร่วมงานจำนวนมากไม่แพ้งานมหกรรมอื่นๆ”
ด้านนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า พอใจกับผลตอบ รับของการจัดงานในครั้งนี้ เพราะภาคธุรกิจ เอง ทั้งประกันชีวิต และประกันวินาศภัยต่างก็ต้องการได้รับการส่งเสริม ซึ่งงานนี้ทำให้ประชาชนได้เห็นภาพของการประกันภัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าระบบประกันภัยมีอะไรบ้าง รวมไปถึงอาชีพ คือ การเข้ามาสมัครเป็นตัวแทนประกันชีวิต จากโครงการต้นกล้าอาชีพ
“ไม่เฉพาะงานในส่วนกลางเท่านั้น เท่าที่เช็กจากจุดต่างๆ ในต่างจังหวัด ก็ได้รับการตอบรับดีทีเดียว สะท้อนให้เห็นคนไทยเริ่มยอมรับการประกันภัยเป็นการดูแลสวัสดิการด้วยตัวเอง จุดนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก และควรจะต้องมีงานนี้ในครั้งต่อๆ ไป”
เช่นเดียวกับนายสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ในส่วนของประกันวินาศภัย ไม่ได้มองที่ตัวเลขยอดขายตลอด 5 วัน ที่เป็นเบี้ยราว 5.5 ล้านบาท จากจำนวนกรมธรรม์ ทั้งหมดที่ขายได้ 1,150 กรมธรรม์ แต่มองที่ ผลต่อเนื่องจากวันงานมากกว่า เพราะเท่าที่ประเมินจากบริษัทตัวเอง คือ มิตรแท้ประ กันภัยก็เห็นว่ามียอดขายเข้ามามากกว่าปกติ
“ดังนั้นงานครั้งนี้จึงถือเป็นการนำสิ่ง ที่ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการประกันภัยมานำเสนอ และส่งผลต่อเนื่อง ถือเป็นสิ่งที่น่าพอใจมาก”
นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นายกสมาคม ตัวแทนประกันชีวิต กล่าวว่า ในส่วนของการ สมัครสอบตัวแทน จากเป้าที่ตั้งไว้ 10,000 ราย แต่หากประเมินจากจำนวนผู้ที่มานั่งรอคิวสมัครสอบน่าจะเกินเป้า เพราะเต็มทุกรอบ เชื่อว่าหากจัดในครั้งต่อๆ ไป ก็จะทำให้ได้รับความสนใจต่อเนื่อง และจำนวนคนเข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน
ปลื้ม!สัปดาห์ประกันภัยทะลุเป้า
คปภ.ปลื้ม! สัปดาห์ประกันภัยทะลุเป้า คนแห่ร่วมงานทั้งส่วนกลาง-ภูมิภาคกว่า 200,000 คน ยอดซื้อนับ 10,000 กรมธรรม์ ย้ำ ยอดขายไม่ใช่คำตอบ แต่อยู่ที่ประชาชนสนใจเข้า มาเยี่ยมชมเลือกซื้อสินค้าประกัน เผยประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์ขายดีสุด ตามด้วยประกันสุขภาพ-วางแผนเกษียณ ขณะวินาศภัยประกันภัยรถยนต์ยอดพุ่ง เช่นเดียวกับยอดสมัครสอบตัวแทนเกินคาดมากกว่า 10,000 คน ทุกฝ่ายยกมือหนุนจัดต่อเนื่องทุกปี
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาพ รวมของการจัดงาน “สัปดาห์ประกันภัย” ถือว่าประสบความสำเร็จน่าพอใจ เป็นไปตามเป้าหมายของคปภ.ที่มุ่งกำกับและส่งเสริมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้การประกันภัยกระจายไปยังทั่วประเทศ จากปัจจุบันที่ตลาดยังกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลาง ถึง 60% และมุ่งคุ้มครองดูแลประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงการประกันภัยมากขึ้น
ทั้งนี้ งานดังกล่าวถือว่าได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยดี ทั้ง สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัย สมาคมตัวแทนประกันชีวิต สมาคมนายหน้าประกันภัย สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย และสมาคมอู่กลางประกันภัย รวมทั้งบริษัทประกันภัยต่างๆ ในการจัดงานที่ส่วน กลาง และ 14 จังหวัดในส่วนภูมิภาค โดยมีผู้สนใจมาร่วมชม และซื้อประกันในงาน แบ่งเป็นในส่วนกลางมากถึง 100,000 คน และในส่วนภูมิภาคมากกว่า 150,000 คน เป็นจำนวนกรมธรรม์ตลอด 5 วันที่จัดงานนับ 10,000 กรมธรรม์
สำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมภาย ในงาน ในส่วนของการประกันชีวิต แบบประกันที่ได้รับความสนใจมากจะเป็นประเภทสะสมทรัพย์ (Endowment) ซึ่งประชาชนเริ่มมีความเข้าใจว่าเป็นการออมอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากฝาก เงินแบบ ประกันสุขภาพ โดยเฉพาะความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนเริ่มหันมาสนใจที่จะซื้อประกันชีวิตเพื่อช่วยแบ่งเบา ภาระด้านค่าใช้จ่ายการรักษาพยา บาลที่ปัจจุบันมีราคาแพงกันมากขึ้น และแบบประกันออมเพื่อการเกษียณก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานมา หาซื้อในงานมากขึ้นเช่นกัน
ด้านประกันวินาศภัย ซึ่งได้มีการขออนุญาตเสนอขายประกันในอัตราเบี้ยพิเศษ ซึ่งลดจากปกติสูงสุดถึง 30% ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ การประกันภัยรถ ยนต์ ซึ่งยอดขายเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนั้นเป็นประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) แผนชดเชยรายได้ และการประกันอัคคีภัย
“ยอดขายตลอด 5 วันสูงนับ 10,000 กรมธรรม์ แต่ในแง่ของปริมาณเบี้ยเป็นเรื่องของธุรกิจ เพราะเป้าหมายของเรา คือ อยากให้ประชาชนเข้าใจถึงการประกันภัย ว่านอกเหนือจากคุ้มครองความเสี่ยงแล้ว ยังเป็นการออมด้วย ซึ่งถือว่าการจัดงานครั้งนี้เรามาถูกทางแล้ว และมีการทำงานกันเป็นทีม โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ว่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากธุรกิจประกันภัย ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับการจัดงานในครั้งต่อไป”
นายสรศักดิ์ ทันตสุวรรณ รองเลขา ธิการคปภ. ซึ่งถือเป็นแม่งานครั้งนี้ กล่าวเสริมว่า วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ คือ การสร้างความตระหนัก และการรับรู้ในเรื่องของการประกันภัยให้กับประชาชน ดังนั้นในเรื่องของยอดขายจึงไม่ใช่คำตอบ แต่อยู่ที่ความสนใจเข้ามาร่วม ชมงานของประชาชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ทั้งบริษัทประกันชีวิตกว่า 70% และบริษัทประกันวินาศภัยราว 50% ที่ร่วมออกบูธในงาน นำผลิตภัณฑ์ประกันใหม่ๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความพิเศษมา นำเสนอ เช่น การประกันด้านทันตกรรม การประกันสุนัข และที่ได้รับความนิยมมาก คือ การประกันโรคร้ายแรง
“ผลตอบรับที่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้เห็นควรต้องจัดงานทุกปี โดยจะมีการ พัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคงต้องดูก่อนว่าจะเป็นช่วงใดของปี และสถานที่จะเป็นที่ใด คงต้องหารือกันก่อน อาจจะไม่ใช่ช่วงกันยายนก็ได้ แต่ปีนี้เรานำมาโปรโมตเนื่องจากเป็นเดือนครบรอบสถาปนาคปภ. เพราะเราก็อยากให้ประชาชนเข้ามาร่วมงานจำนวนมากไม่แพ้งานมหกรรมอื่นๆ”
ด้านนายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า พอใจกับผลตอบ รับของการจัดงานในครั้งนี้ เพราะภาคธุรกิจ เอง ทั้งประกันชีวิต และประกันวินาศภัยต่างก็ต้องการได้รับการส่งเสริม ซึ่งงานนี้ทำให้ประชาชนได้เห็นภาพของการประกันภัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าระบบประกันภัยมีอะไรบ้าง รวมไปถึงอาชีพ คือ การเข้ามาสมัครเป็นตัวแทนประกันชีวิต จากโครงการต้นกล้าอาชีพ
“ไม่เฉพาะงานในส่วนกลางเท่านั้น เท่าที่เช็กจากจุดต่างๆ ในต่างจังหวัด ก็ได้รับการตอบรับดีทีเดียว สะท้อนให้เห็นคนไทยเริ่มยอมรับการประกันภัยเป็นการดูแลสวัสดิการด้วยตัวเอง จุดนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก และควรจะต้องมีงานนี้ในครั้งต่อๆ ไป”
เช่นเดียวกับนายสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ในส่วนของประกันวินาศภัย ไม่ได้มองที่ตัวเลขยอดขายตลอด 5 วัน ที่เป็นเบี้ยราว 5.5 ล้านบาท จากจำนวนกรมธรรม์ ทั้งหมดที่ขายได้ 1,150 กรมธรรม์ แต่มองที่ ผลต่อเนื่องจากวันงานมากกว่า เพราะเท่าที่ประเมินจากบริษัทตัวเอง คือ มิตรแท้ประ กันภัยก็เห็นว่ามียอดขายเข้ามามากกว่าปกติ
“ดังนั้นงานครั้งนี้จึงถือเป็นการนำสิ่ง ที่ประชาชนจะได้ประโยชน์จากการประกันภัยมานำเสนอ และส่งผลต่อเนื่อง ถือเป็นสิ่งที่น่าพอใจมาก”
นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นายกสมาคม ตัวแทนประกันชีวิต กล่าวว่า ในส่วนของการ สมัครสอบตัวแทน จากเป้าที่ตั้งไว้ 10,000 ราย แต่หากประเมินจากจำนวนผู้ที่มานั่งรอคิวสมัครสอบน่าจะเกินเป้า เพราะเต็มทุกรอบ เชื่อว่าหากจัดในครั้งต่อๆ ไป ก็จะทำให้ได้รับความสนใจต่อเนื่อง และจำนวนคนเข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 81
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413339986
วินาศภัยสอบผ่านกฎเหล็ก
> กองทุนอู้ฟู่ได้เบี้ยค้างรับ 6.5 พันล.จาก Cash before cover
ประเมินผล 8 เดือนกฎใหม่ “จ่ายเบี้ยก่อนคุ้มครอง” Cash before cover สำเร็จเกินคาด คปภ.เผยเบี้ยค้างรับรถยนต์ลดลงครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 13,000 ล้านบาท เท่ากับวินาศภัยได้เงินสดก้อนใหม่เพิ่มอีก 6,500 ล้านบาท ดันสภาพคล่องเพิ่มรองรับจ่ายสินไหมผู้เอาประกันเร็ว แผ่อานิสงส์ถึงเงินกองทุนพุ่งพรวด ชี้บริษัทไซส์ใหญ่ทำตามกฎได้ ส่วนไซส์กลาง-เล็กต้องให้เวลาปรับระบบไอที บัญชีและทำความเข้าใจตัวแทน นายหน้า คาดสิ้นปีนี้ทุกบริษัททำตามกฎได้ 100%
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคปภ.นำกฎจ่ายเบี้ยก่อนคุ้มครอง (Cash before cover : CBC) มาใช้กับการประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทตั้งแต่วันที่ 1 มกรา คม 2552 เป็นต้นมา ทางสำนักงานคปภ.ได้ประเมินผลบริษัทประกันวินาศภัยเกี่ยวกับการใช้กติกาข้อ นี้ ปรากฏว่า บริษัทประกันวินาศภัยที่มีส่วนแบ่งเบี้ยรถยนต์รวมกัน 60% ของเบี้ยรถยนต์ทั้งหมดสามารถปฏิบัติตามกฎนี้ได้ วัดจากเบี้ยประกันภัยค้างรับลดลงมากส่งผลให้บริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน มากขึ้น
“เนื่องจากบริษัทประกันวินาศภัย มีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ ความพร้อมในการใช้กฎ ข้อนี้จะแตกต่างกันเพราะต้องมีการปรับระบบ ไอที ระบบบัญชีรวมถึงช่องทางจำหน่ายทั้งตัวแทน นายหน้า ต้องทำความเข้าใจถึงการนำส่งเบี้ยประกันภัยเข้าบริษัททันทีหลังจากรับค่า เบี้ยจากลูกค้าทำให้บริษัทได้รับเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งกฎข้อนี้บริษัทใหญ่ไม่มีปัญหา แต่บริษัทขนาดกลางและเล็กต้องให้โอกาสปรับตัว กฎนี้ช่วยทำให้ช่องทางขายของบริษัทประกันภัยเป็นระบบมากขึ้น”
นางจันทรากล่าวว่า จุดประสงค์ของ การนำหลัก Cash before cover มาใช้เพื่อลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการทำประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัย ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเร็วที่สุดเนื่องจากที่ผ่านมาการทำประกันภัย รถยนต์มักมีการแจ้งทำประกันภัยทางโทรศัพท์หรือทำประกันภัยผ่านตัวแทนนายหน้า ประกันภัย ผู้เอาประ กันภัยจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบเนื่องจากผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับกรมธรรม์ หรือหลักฐานการทำประกันภัยทันที
เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งในเรื่องระยะเวลาเอาประกันภัย หรือในเรื่องของการชำระเบี้ยประกันภัยซึ่งเมื่อนำระบบ Cash before cover มาใช้ หลังจากตกลงทำให้ประกันภัยและผู้เอาประกันภัยได้จ่ายเบี้ยประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับหลักฐานยืนยันการรับประกันภัยทำให้ข้อขัดแย้งใน เรื่องนี้หมดไป ซึ่งการนำกฎข้อนี้มาใช้เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกับสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจ ประกันภัยนานาชาติ (IAIS) ที่เสนอให้ประเทศสมาชิก ใช้กฎนี้
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รอง เลขาธิการคปภ. เปิดเผยว่า ผลจากการใช้กฎ Cash before cover ทำให้เบี้ยประกันภัยรถยนต์ค้างรับลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดประมาณ 13,000 ล้านบาท ขณะที่เบี้ยค้างรับส่วนที่เหลือให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานวิธีติดตามจัด เก็บจะทำอย่างไรให้คปภ.รับทราบเพื่อให้กระแสเงิน สดไหลเข้าบริษัทประกันภัยมากที่สุดเพียงพอจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอา ประกันภัยได้อย่างรวดเร็ว
“เราได้ตรวจสอบบริษัทประกันวินาศ ภัยส่วนใหญ่ทำตามกฎนี้ได้ เร่งปรับระบบไอที ระบบบัญชีต่างๆ และเร่งติดตามเบี้ยค้างรับที่ตกค้างอยู่กับตัวแทนนายหน้า”
ตามกฎของสำนักงานคปภ. เบี้ยประกันภัยค้างรับที่คปภ.จะประเมินค่าหรือนับเป็นสินทรัพย์ให้กับบริษัท ต้องไม่เกิน 60 วันหากเกินกว่านั้นไม่ประเมินค่าให้ ซึ่งการที่บริษัทประกันภัยเก็บเบี้ยค้างรับประกันภัยรถยนต์ได้เร็วขึ้น เพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะเบี้ยรถยนต์มีสัดส่วนประมาณ 60% มากที่สุดในอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย
ภายใต้หลัก Cash before cover คปภ.กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยรายบุคคลชำระเบี้ยประกันภัยทันทีนับแต่สัญญา ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับ แต่หากผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลขยายเวลาออกไปอีกให้มีสิทธิชำระเบี้ย ประกันภัยภายใน 15 วันนับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มมีผลคุ้มครอง ซึ่งในอนาคตคปภ.จะขยายกฎ Cash before cover ไปยังประกันภัยไม่ใช่รถยนต์ (นอน มอเตอร์)
ด้านนายสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ภาพรวมบริษัทประกันภัยยังปฏิบัติตามกฎ Cash before cover ไม่ได้ 100% บางบริษัทปฏิบัติได้ 90% บางบริษัท 40-50% ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบริษัท ซึ่งทุกบริษัทพยายามทำ อยู่ ขณะที่ทางคปภ.เองให้เวลาบริษัทปรับระบบงานต่างๆ รองรับ
“ปัญหาอยู่ที่ระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทเพราะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อ รองรับการทำงานของตัวแทน นายหน้าด้วย ขณะเดียวกันต้องเผยแพร่ข้อมูลให้ตัวแทน นายหน้าเข้าใจถึงระบบการนำส่งเบี้ยประกันภัยที่เปลี่ยนไป แต่คาดว่าทุกบริษัทน่าจะปฏิบัติตามกฎนี้ได้เต็ม 100% ในสิ้นปีนี้ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่คปภ.คาดหวังไว้”
ในส่วนของบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด ในฐานะที่นายสุขเทพเป็นประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการกล่าวว่า บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรถยนต์ค้างรับที่เก็บไม่ได้น้อยมากประมาณ 4-5% ของเบี้ยรถยนต์ทั้งหมดที่มีสัดส่วนประมาณ 90% ของเบี้ยรับรวมทั้งบริษัทซึ่งปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้ 2,009 ล้านบาท สาเหตุที่เบี้ยค้างรับมีน้อยเพราะช่องทางขายหลักผ่านตัวแทนรายย่อยซึ่งส่วน ใหญ่ส่งเบี้ยประกันภัยเข้าบริษัททันทีอยู่แล้ว
อนึ่ง Cash before cover เป็นกติกาที่บริษัทประกันวินาศภัยสนับสนุนให้สำนักงานคปภ.นำมาใช้ควบคุมการ ชำระเบี้ยประกันภัยของลูกค้าซึ่งจะส่งผลไปถึงการควบคุมการนำส่งเบี้ย ประกันภัยของตัวแทน นายหน้าให้บริษัทประกันภัยด้วย เพราะกติกาข้อนี้ทำให้บริษัทประกันภัยได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยเข้า บริษัทเร็วขึ้นทำให้สภาพคล่องมากขึ้นส่งผลดีไปถึงเงินกองทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังรองรับกฎการดำรง เงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC ) ที่คปภ.จะเริ่มใช้ในปี 2554 เพราะหากเก็บเบี้ยค้างรับได้เร็วภาระในการ หาเงินมาเพิ่มทุนเพื่อให้เงินกองทุนเพียงพอ ตามกฎ RBC จะน้อยลงไปด้วย
วินาศภัยสอบผ่านกฎเหล็ก
> กองทุนอู้ฟู่ได้เบี้ยค้างรับ 6.5 พันล.จาก Cash before cover
ประเมินผล 8 เดือนกฎใหม่ “จ่ายเบี้ยก่อนคุ้มครอง” Cash before cover สำเร็จเกินคาด คปภ.เผยเบี้ยค้างรับรถยนต์ลดลงครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 13,000 ล้านบาท เท่ากับวินาศภัยได้เงินสดก้อนใหม่เพิ่มอีก 6,500 ล้านบาท ดันสภาพคล่องเพิ่มรองรับจ่ายสินไหมผู้เอาประกันเร็ว แผ่อานิสงส์ถึงเงินกองทุนพุ่งพรวด ชี้บริษัทไซส์ใหญ่ทำตามกฎได้ ส่วนไซส์กลาง-เล็กต้องให้เวลาปรับระบบไอที บัญชีและทำความเข้าใจตัวแทน นายหน้า คาดสิ้นปีนี้ทุกบริษัททำตามกฎได้ 100%
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า หลังจากสำนักงานคปภ.นำกฎจ่ายเบี้ยก่อนคุ้มครอง (Cash before cover : CBC) มาใช้กับการประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทตั้งแต่วันที่ 1 มกรา คม 2552 เป็นต้นมา ทางสำนักงานคปภ.ได้ประเมินผลบริษัทประกันวินาศภัยเกี่ยวกับการใช้กติกาข้อ นี้ ปรากฏว่า บริษัทประกันวินาศภัยที่มีส่วนแบ่งเบี้ยรถยนต์รวมกัน 60% ของเบี้ยรถยนต์ทั้งหมดสามารถปฏิบัติตามกฎนี้ได้ วัดจากเบี้ยประกันภัยค้างรับลดลงมากส่งผลให้บริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน มากขึ้น
“เนื่องจากบริษัทประกันวินาศภัย มีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ ความพร้อมในการใช้กฎ ข้อนี้จะแตกต่างกันเพราะต้องมีการปรับระบบ ไอที ระบบบัญชีรวมถึงช่องทางจำหน่ายทั้งตัวแทน นายหน้า ต้องทำความเข้าใจถึงการนำส่งเบี้ยประกันภัยเข้าบริษัททันทีหลังจากรับค่า เบี้ยจากลูกค้าทำให้บริษัทได้รับเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งกฎข้อนี้บริษัทใหญ่ไม่มีปัญหา แต่บริษัทขนาดกลางและเล็กต้องให้โอกาสปรับตัว กฎนี้ช่วยทำให้ช่องทางขายของบริษัทประกันภัยเป็นระบบมากขึ้น”
นางจันทรากล่าวว่า จุดประสงค์ของ การนำหลัก Cash before cover มาใช้เพื่อลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการทำประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัย ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเร็วที่สุดเนื่องจากที่ผ่านมาการทำประกันภัย รถยนต์มักมีการแจ้งทำประกันภัยทางโทรศัพท์หรือทำประกันภัยผ่านตัวแทนนายหน้า ประกันภัย ผู้เอาประ กันภัยจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบเนื่องจากผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับกรมธรรม์ หรือหลักฐานการทำประกันภัยทันที
เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งในเรื่องระยะเวลาเอาประกันภัย หรือในเรื่องของการชำระเบี้ยประกันภัยซึ่งเมื่อนำระบบ Cash before cover มาใช้ หลังจากตกลงทำให้ประกันภัยและผู้เอาประกันภัยได้จ่ายเบี้ยประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับหลักฐานยืนยันการรับประกันภัยทำให้ข้อขัดแย้งใน เรื่องนี้หมดไป ซึ่งการนำกฎข้อนี้มาใช้เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกับสมาคมผู้ควบคุมธุรกิจ ประกันภัยนานาชาติ (IAIS) ที่เสนอให้ประเทศสมาชิก ใช้กฎนี้
นางสาวชำเลือง ชาติสุวรรณ รอง เลขาธิการคปภ. เปิดเผยว่า ผลจากการใช้กฎ Cash before cover ทำให้เบี้ยประกันภัยรถยนต์ค้างรับลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดประมาณ 13,000 ล้านบาท ขณะที่เบี้ยค้างรับส่วนที่เหลือให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานวิธีติดตามจัด เก็บจะทำอย่างไรให้คปภ.รับทราบเพื่อให้กระแสเงิน สดไหลเข้าบริษัทประกันภัยมากที่สุดเพียงพอจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอา ประกันภัยได้อย่างรวดเร็ว
“เราได้ตรวจสอบบริษัทประกันวินาศ ภัยส่วนใหญ่ทำตามกฎนี้ได้ เร่งปรับระบบไอที ระบบบัญชีต่างๆ และเร่งติดตามเบี้ยค้างรับที่ตกค้างอยู่กับตัวแทนนายหน้า”
ตามกฎของสำนักงานคปภ. เบี้ยประกันภัยค้างรับที่คปภ.จะประเมินค่าหรือนับเป็นสินทรัพย์ให้กับบริษัท ต้องไม่เกิน 60 วันหากเกินกว่านั้นไม่ประเมินค่าให้ ซึ่งการที่บริษัทประกันภัยเก็บเบี้ยค้างรับประกันภัยรถยนต์ได้เร็วขึ้น เพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท ทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะเบี้ยรถยนต์มีสัดส่วนประมาณ 60% มากที่สุดในอุตสาหกรรมประกันวินาศภัย
ภายใต้หลัก Cash before cover คปภ.กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยรายบุคคลชำระเบี้ยประกันภัยทันทีนับแต่สัญญา ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับ แต่หากผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลขยายเวลาออกไปอีกให้มีสิทธิชำระเบี้ย ประกันภัยภายใน 15 วันนับแต่วันที่สัญญาประกันภัยเริ่มมีผลคุ้มครอง ซึ่งในอนาคตคปภ.จะขยายกฎ Cash before cover ไปยังประกันภัยไม่ใช่รถยนต์ (นอน มอเตอร์)
ด้านนายสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ภาพรวมบริษัทประกันภัยยังปฏิบัติตามกฎ Cash before cover ไม่ได้ 100% บางบริษัทปฏิบัติได้ 90% บางบริษัท 40-50% ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบริษัท ซึ่งทุกบริษัทพยายามทำ อยู่ ขณะที่ทางคปภ.เองให้เวลาบริษัทปรับระบบงานต่างๆ รองรับ
“ปัญหาอยู่ที่ระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทเพราะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อ รองรับการทำงานของตัวแทน นายหน้าด้วย ขณะเดียวกันต้องเผยแพร่ข้อมูลให้ตัวแทน นายหน้าเข้าใจถึงระบบการนำส่งเบี้ยประกันภัยที่เปลี่ยนไป แต่คาดว่าทุกบริษัทน่าจะปฏิบัติตามกฎนี้ได้เต็ม 100% ในสิ้นปีนี้ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่คปภ.คาดหวังไว้”
ในส่วนของบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด ในฐานะที่นายสุขเทพเป็นประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการกล่าวว่า บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรถยนต์ค้างรับที่เก็บไม่ได้น้อยมากประมาณ 4-5% ของเบี้ยรถยนต์ทั้งหมดที่มีสัดส่วนประมาณ 90% ของเบี้ยรับรวมทั้งบริษัทซึ่งปีนี้ตั้งเป้าหมายไว้ 2,009 ล้านบาท สาเหตุที่เบี้ยค้างรับมีน้อยเพราะช่องทางขายหลักผ่านตัวแทนรายย่อยซึ่งส่วน ใหญ่ส่งเบี้ยประกันภัยเข้าบริษัททันทีอยู่แล้ว
อนึ่ง Cash before cover เป็นกติกาที่บริษัทประกันวินาศภัยสนับสนุนให้สำนักงานคปภ.นำมาใช้ควบคุมการ ชำระเบี้ยประกันภัยของลูกค้าซึ่งจะส่งผลไปถึงการควบคุมการนำส่งเบี้ย ประกันภัยของตัวแทน นายหน้าให้บริษัทประกันภัยด้วย เพราะกติกาข้อนี้ทำให้บริษัทประกันภัยได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยเข้า บริษัทเร็วขึ้นทำให้สภาพคล่องมากขึ้นส่งผลดีไปถึงเงินกองทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังรองรับกฎการดำรง เงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC ) ที่คปภ.จะเริ่มใช้ในปี 2554 เพราะหากเก็บเบี้ยค้างรับได้เร็วภาระในการ หาเงินมาเพิ่มทุนเพื่อให้เงินกองทุนเพียงพอ ตามกฎ RBC จะน้อยลงไปด้วย
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 82
เข้มประกันทำผิดสั่งโชว์ข้อมูล
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552
คปภ. พร้อมลงโทษประจานตัวแทนยันบริษัทประกันทำผิดซ้ำซาก
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งในส่วนของประกันชีวิตและประกันวินาศภัย โดยครอบคลุมไปถึงบริษัท ตัวแทน นายหน้า นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือผู้ประเมินวินาศภัย
ทั้งนี้ หากมีผู้กระทำผิดและถูกคปภ.ลงโทษ ต่อไปจะต้องถูกออกประกาศให้สาธารณชนรับทราบ อย่างกรณีที่มีผู้กระทำผิดและถูกลงโทษเปรียบเทียบปรับแต่ได้มีการชำระค่าปรับแล้ว ก็ให้การประกาศระบุชื่อผู้กระทำผิด ลักษณะกระทำผิด และโทษที่เปรียบเทียบปรับ
สำหรับผู้กระทำผิดที่ไม่ชำระค่าปรับบทลงโทษ ก็ให้คปภ.ประกาศระบุชื่อผู้กระทำผิด ลักษณะกระทำความผิด และโทษที่ได้รับ มีการเปรียบเทียบปรับและระบุด้วยว่าคปภ. จะดำเนินการต่อไปอย่างไร และให้ตามความคืบหน้าของคดีจนถึงที่สุด
ดังนั้น กรณีที่บริษัทประกันดำรงเงินกองทุนไม่ครบตามกฎหมาย ให้คปภ.ประกาศระบุชื่อบริษัท จำนวนเงินกองทุนที่ไม่ครบ และสถานะของบริษัทที่ต้องห้าม มิให้ขยายธุรกิจโดยไม่สามารถรับประกันภัยรายใหม่ได้
อย่างไรก็ตาม ตัวแทน นายหน้า หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่กระทำผิด มีคำสั่งลงโทษ เพิกถอน หรือพักการใช้ใบอนุญาต ก็ให้คปภ.ประกาศคำสั่งนั้น และหากมีการอุทธรณ์คำสั่งก็ให้ประกาศผลการอุทธรณ์นั้นด้วย
http://www.posttoday.com/finance.php?id=68217
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552
คปภ. พร้อมลงโทษประจานตัวแทนยันบริษัทประกันทำผิดซ้ำซาก
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ.ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งในส่วนของประกันชีวิตและประกันวินาศภัย โดยครอบคลุมไปถึงบริษัท ตัวแทน นายหน้า นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือผู้ประเมินวินาศภัย
ทั้งนี้ หากมีผู้กระทำผิดและถูกคปภ.ลงโทษ ต่อไปจะต้องถูกออกประกาศให้สาธารณชนรับทราบ อย่างกรณีที่มีผู้กระทำผิดและถูกลงโทษเปรียบเทียบปรับแต่ได้มีการชำระค่าปรับแล้ว ก็ให้การประกาศระบุชื่อผู้กระทำผิด ลักษณะกระทำผิด และโทษที่เปรียบเทียบปรับ
สำหรับผู้กระทำผิดที่ไม่ชำระค่าปรับบทลงโทษ ก็ให้คปภ.ประกาศระบุชื่อผู้กระทำผิด ลักษณะกระทำความผิด และโทษที่ได้รับ มีการเปรียบเทียบปรับและระบุด้วยว่าคปภ. จะดำเนินการต่อไปอย่างไร และให้ตามความคืบหน้าของคดีจนถึงที่สุด
ดังนั้น กรณีที่บริษัทประกันดำรงเงินกองทุนไม่ครบตามกฎหมาย ให้คปภ.ประกาศระบุชื่อบริษัท จำนวนเงินกองทุนที่ไม่ครบ และสถานะของบริษัทที่ต้องห้าม มิให้ขยายธุรกิจโดยไม่สามารถรับประกันภัยรายใหม่ได้
อย่างไรก็ตาม ตัวแทน นายหน้า หรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่กระทำผิด มีคำสั่งลงโทษ เพิกถอน หรือพักการใช้ใบอนุญาต ก็ให้คปภ.ประกาศคำสั่งนั้น และหากมีการอุทธรณ์คำสั่งก็ให้ประกาศผลการอุทธรณ์นั้นด้วย
http://www.posttoday.com/finance.php?id=68217
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 83
http://www.ryt9.com/s/psum/666786/
คปภ.ผนึก 4 ชาติขาย ประกันภัย รถยนต์ข้ามแดน
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สรุปข่าวหุ้น-การเงิน -- 15 ชั่วโมง 38 นาทีที่แล้ว
นาง จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า วานนี้ (24 ก.ย.) คปภ.ลงนามบันทึกข้อตกลง ในความร่วมมือระหว่างไทย, สปป.ลาว, เวียดนามและกัมพูชา เพื่อจัดทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับสำหรับรถยนต์ข้ามแดน (พ.ร.บ. รถยนต์ข้ามแดน) ซึ่งจะเป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
คปภ.ผนึก 4 ชาติขาย ประกันภัย รถยนต์ข้ามแดน
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สรุปข่าวหุ้น-การเงิน -- 15 ชั่วโมง 38 นาทีที่แล้ว
นาง จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า วานนี้ (24 ก.ย.) คปภ.ลงนามบันทึกข้อตกลง ในความร่วมมือระหว่างไทย, สปป.ลาว, เวียดนามและกัมพูชา เพื่อจัดทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับสำหรับรถยนต์ข้ามแดน (พ.ร.บ. รถยนต์ข้ามแดน) ซึ่งจะเป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 84
ภาวะของหุ้นประกันภัย คงต้องดูโอกาสและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
โอกาสที่มากขึ้น
กฏแคชบีฟอร์คอร์เวอร์ ทำให้บริษัทประกันภัยได้ประโยชน์มากขึ้น ได้รับเงินเข้าในรูปกระแสเงินสดเร็วขึ้นกว่าเดิม
การกระตุ้นของ คปภ. เพื่อให้เห็นถึงความจำเป้นของการทำประกันภัย มีการจัดสัปดาห์ประกันภัยเพื่อให้ความรู้กับประชาชนมากขึ้น รวมถึง มีการสรรจรไปจัดกิจกรรมในต่างจังหวัด
มีการขยายการรับประกันร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
การคาดหมายการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะไตรมาส 4 เป็นต้นไปที่น่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยชัดเจนขึ้น
โครงการไทยเข้มแข็ง ทำให้ต้องมีการทำประกันวินาศภัยมากขึ้น โดยเฉพาะปีหน้า
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
การตั้งกฏสำรองในเรื่องประกันภัยที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ บริษัท ต้องมีเงินสำรองเพิ่มมากขึ้น ทำให้แต่ละบริษัทต้องขยายการเติบโตด้วยความระมัดระวัง และบริษัทเล็ก ๆ ที่มีเงินสำรองน้อย หรือบริษัทกลางและใหญ่ ที่มีพอร์ตมาก ๆ ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น
ทำให้ บางบริษัทอาจต้องแก้ไขปัญหาฐานะการเงิน โดยปรับปรุงเงินกองทุนให้มากขึ้น ต้องปรับอัตราค่าเบี้ยประกันภัยให้คุ้มกับความเสี่ยงมากขึ้น หรืออยู่ระหว่างการต้องหาพันธมิตรใหม่มาเพิ่มทุน ทำให้ระหว่างนี้อาจต้องชะลอการเติบโต
ดังนั้น โอกาสเติบโตของอุตสาหกรรม นำมาซึ่งโอกาสและความเสี่ยงของแต่ละบริษัทที่ต้องวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพของแต่ละบริษัทให้ดี ดูการคาดหวังของตลาดที่สะท้อนถึง เรโชทางการเงินต่าง ๆ
ซึ่งจะลองสรุปภาพของแต่ละบริษัทก็คือ
บางบริษัทอาจต้องชะลอการเติบโตลงบ้างตามกฏใหม่ที่เข้มงวดมากขึ้น เพราะเงินกองทุนใกล้เต็มเพดานแล้ว หากยังเติบโตโดยขยายธุรกิจมาก ๆ และเน้นพอร์ตลงทุนที่เสียงสูงด้วย จะทำให้เงินกองทุนปรับลดลงมากเพราะต้องสำรองทั้งทรัพย์สินที่ลงทุนและการรับประกันภัยที่สูงขึ้นด้วย และอาจมีความเสี่ยงที่จะต้องเพิ่มทุนในอนาคตได้ แม้จะกำไรมากก็ตาม
แต่บางบริษัทอาจได้เปรียบมากขึ้น เพราะเงินกองทุนค่อนข้างสูง ฐานะการเงินมั่นคง กระแสเงินสดดีมาก หนี้น้อย ฐานธุรกิจอาจจะยังเล็กอยู่ มีความระมัดระวังไม่ขยายการเติบโตในช่วงที่ผ่านมาเมื่อภาวะเศรษฐกิจผันผวน
ดังนั้น หากสามารถเพิ่มพันธมิตรที่แข็งแกร่ง หรือสามารถร่วมมือกับพันธมิตรเดิม เช่น ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเช่าซื้อรถยนต์ ผ่อนบ้าน การขยายสินเชื่อรายใหญ่ กลาง ย่อย ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจของธนาคารจากการเติบโตของสินเชื่อในอนาคต โดยเฉพาะสินเชื่อที่มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ในปีหน้ามากขึ้น และการขยายฐานธุรกิจการประกันภัยในอนาคตได้มากขึ้น จะทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น เพราะมาจากฐานธุรกิจที่ค่อนข้างต่ำมาก่อน ซึ่งอาจจะสามารถเพิ่มส่วนครองตลาดเมื่อคู่แข่งขันหลายรายในตลาดเพลี่ยงพล้ำหรือไม่พร้อมที่จะขยายการเติบโตในช่วงนี้
บางบริษัท กำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารภายใน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อพร้อมสร้างการเติบโตในระยะยาวในอนาคต แต่ก็นำมาซึ่งความคาดหวังของนักลงทุนค่อนข้างสูง และราคาก็ปรับตัวค่อนข้างสูงไปแล้ว
บางบริษัทก็เติบโตอย่างสม่ำเสมอ และแข็งแกร่งมาก ๆ พวกนี้ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการเติบโตไปได้เรื่อย ๆ และน่าจะได้ประโยชน์จากโครงการไทยเข้มแข็งอย่างมาก เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ฐานะการเงินมั่นคง และได้รับการสนับสนุนจากธนาคารที่เป็นบริษัทแม่อย่างเต็มที่
สิ่งเหล่านี้จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบระหว่างผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงของธุรกิจที่จะตามมาในอนาคตครับ :lol: :lol:
โอกาสที่มากขึ้น
กฏแคชบีฟอร์คอร์เวอร์ ทำให้บริษัทประกันภัยได้ประโยชน์มากขึ้น ได้รับเงินเข้าในรูปกระแสเงินสดเร็วขึ้นกว่าเดิม
การกระตุ้นของ คปภ. เพื่อให้เห็นถึงความจำเป้นของการทำประกันภัย มีการจัดสัปดาห์ประกันภัยเพื่อให้ความรู้กับประชาชนมากขึ้น รวมถึง มีการสรรจรไปจัดกิจกรรมในต่างจังหวัด
มีการขยายการรับประกันร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
การคาดหมายการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะไตรมาส 4 เป็นต้นไปที่น่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยชัดเจนขึ้น
โครงการไทยเข้มแข็ง ทำให้ต้องมีการทำประกันวินาศภัยมากขึ้น โดยเฉพาะปีหน้า
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
การตั้งกฏสำรองในเรื่องประกันภัยที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ บริษัท ต้องมีเงินสำรองเพิ่มมากขึ้น ทำให้แต่ละบริษัทต้องขยายการเติบโตด้วยความระมัดระวัง และบริษัทเล็ก ๆ ที่มีเงินสำรองน้อย หรือบริษัทกลางและใหญ่ ที่มีพอร์ตมาก ๆ ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น
ทำให้ บางบริษัทอาจต้องแก้ไขปัญหาฐานะการเงิน โดยปรับปรุงเงินกองทุนให้มากขึ้น ต้องปรับอัตราค่าเบี้ยประกันภัยให้คุ้มกับความเสี่ยงมากขึ้น หรืออยู่ระหว่างการต้องหาพันธมิตรใหม่มาเพิ่มทุน ทำให้ระหว่างนี้อาจต้องชะลอการเติบโต
ดังนั้น โอกาสเติบโตของอุตสาหกรรม นำมาซึ่งโอกาสและความเสี่ยงของแต่ละบริษัทที่ต้องวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพของแต่ละบริษัทให้ดี ดูการคาดหวังของตลาดที่สะท้อนถึง เรโชทางการเงินต่าง ๆ
ซึ่งจะลองสรุปภาพของแต่ละบริษัทก็คือ
บางบริษัทอาจต้องชะลอการเติบโตลงบ้างตามกฏใหม่ที่เข้มงวดมากขึ้น เพราะเงินกองทุนใกล้เต็มเพดานแล้ว หากยังเติบโตโดยขยายธุรกิจมาก ๆ และเน้นพอร์ตลงทุนที่เสียงสูงด้วย จะทำให้เงินกองทุนปรับลดลงมากเพราะต้องสำรองทั้งทรัพย์สินที่ลงทุนและการรับประกันภัยที่สูงขึ้นด้วย และอาจมีความเสี่ยงที่จะต้องเพิ่มทุนในอนาคตได้ แม้จะกำไรมากก็ตาม
แต่บางบริษัทอาจได้เปรียบมากขึ้น เพราะเงินกองทุนค่อนข้างสูง ฐานะการเงินมั่นคง กระแสเงินสดดีมาก หนี้น้อย ฐานธุรกิจอาจจะยังเล็กอยู่ มีความระมัดระวังไม่ขยายการเติบโตในช่วงที่ผ่านมาเมื่อภาวะเศรษฐกิจผันผวน
ดังนั้น หากสามารถเพิ่มพันธมิตรที่แข็งแกร่ง หรือสามารถร่วมมือกับพันธมิตรเดิม เช่น ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเช่าซื้อรถยนต์ ผ่อนบ้าน การขยายสินเชื่อรายใหญ่ กลาง ย่อย ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจของธนาคารจากการเติบโตของสินเชื่อในอนาคต โดยเฉพาะสินเชื่อที่มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ในปีหน้ามากขึ้น และการขยายฐานธุรกิจการประกันภัยในอนาคตได้มากขึ้น จะทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น เพราะมาจากฐานธุรกิจที่ค่อนข้างต่ำมาก่อน ซึ่งอาจจะสามารถเพิ่มส่วนครองตลาดเมื่อคู่แข่งขันหลายรายในตลาดเพลี่ยงพล้ำหรือไม่พร้อมที่จะขยายการเติบโตในช่วงนี้
บางบริษัท กำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารภายใน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อพร้อมสร้างการเติบโตในระยะยาวในอนาคต แต่ก็นำมาซึ่งความคาดหวังของนักลงทุนค่อนข้างสูง และราคาก็ปรับตัวค่อนข้างสูงไปแล้ว
บางบริษัทก็เติบโตอย่างสม่ำเสมอ และแข็งแกร่งมาก ๆ พวกนี้ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการเติบโตไปได้เรื่อย ๆ และน่าจะได้ประโยชน์จากโครงการไทยเข้มแข็งอย่างมาก เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ฐานะการเงินมั่นคง และได้รับการสนับสนุนจากธนาคารที่เป็นบริษัทแม่อย่างเต็มที่
สิ่งเหล่านี้จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบระหว่างผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงของธุรกิจที่จะตามมาในอนาคตครับ :lol: :lol:
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 85
จากการรวบรวมและคำนวณตัวเลขของเรโชที่สำคัญของบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 15 แห่ง เฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
1. PB ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 1.04 เท่า โดยต่ำสุดอยู่ที่ 0.27 เท่า และสูงสุดอยู่ที่ 2.73 เท่า
แยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1 เท่า จำนวน 9 แห่ง
สูงกว่า 1 เท่า จำนวน 6 แห่ง
2. PE ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12.8 เท่า (คิดคำนวณเพียง 10 แห่ง) อีก 5 แห่งได้รับผลกระทบจากการขาดทุนเมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขนี้จะเพี้ยนไปบ้างครับ โดยต่ำสุดอยู่ที่ 3 เท่า สูงสุดอยู่ที่ 29 เท่า
แยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 12.8 เท่า จำนวน 7 แห่ง
ตำกว่าหรือเท่ากับ 15 เท่าและสูงกว่า 12.8 เทา จำนวน 2 แห่ง
และสูงถึง 29 เท่า จำนวน 1 แห่ง
3. yield ปัจจุบันอยู่ประมาณร้อยละ 5.80 ตำสุดร้อยละ 3.57 สูงสุดร้อยละ7.75 ซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจประกันภัยที่มีการจ่ายปันผลที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา แต่หลาย ๆ บริษัทก็ยังจ่ายปันผลได้ดี โดยที่คำนวณจะคำนวณเฉพาะบริษัทที่จ่ายปันผลได้ จำนวน 9 แห่งจาก 15 แห่งนะครับ คิดเป็นร้อยละ 60 ของบริษัทประกันภัยที่ยังจ่ายปันผลต่อเนื่องได้ดี ตัวเลขนี้จึงเป็นเฉพาะในบริษัทประกันภัยที่มีความสามารถในการจ่ายปันผลได้เท่านั้นครับ
ส่วนใหญ่จ่าย 1 ปีครั้ง มีจ่าย 2 ครั้งใน 1 ปีบ้าง หรือจ่าย 4 ครั้งใน 1 ปีมีเพียง 1 บริษัท ก็มี พวกนี้จะจ่ายปันผลได้ดีต่อเนื่องต้องไปค้นกันเองครับ
จ่ายปันผลต่ำกว่าร้อยละ 5 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ต่ำกว่าร้อยละ 6 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ตำกว่าร้อยละ 7 จำนวน 3 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 7 จำนวน 1 บริษัท
ข้อมูลนี้เป็น ณ 25 กันยายน 2552 นะครับ ซึ่งเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับราคาล่าสุดแล้ว
ก็เอาข้อมูลเรโชสำคัญมาให้ดูกันครับ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
1. PB ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 1.04 เท่า โดยต่ำสุดอยู่ที่ 0.27 เท่า และสูงสุดอยู่ที่ 2.73 เท่า
แยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1 เท่า จำนวน 9 แห่ง
สูงกว่า 1 เท่า จำนวน 6 แห่ง
2. PE ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12.8 เท่า (คิดคำนวณเพียง 10 แห่ง) อีก 5 แห่งได้รับผลกระทบจากการขาดทุนเมื่อปีที่แล้ว ตัวเลขนี้จะเพี้ยนไปบ้างครับ โดยต่ำสุดอยู่ที่ 3 เท่า สูงสุดอยู่ที่ 29 เท่า
แยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 12.8 เท่า จำนวน 7 แห่ง
ตำกว่าหรือเท่ากับ 15 เท่าและสูงกว่า 12.8 เทา จำนวน 2 แห่ง
และสูงถึง 29 เท่า จำนวน 1 แห่ง
3. yield ปัจจุบันอยู่ประมาณร้อยละ 5.80 ตำสุดร้อยละ 3.57 สูงสุดร้อยละ7.75 ซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจประกันภัยที่มีการจ่ายปันผลที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา แต่หลาย ๆ บริษัทก็ยังจ่ายปันผลได้ดี โดยที่คำนวณจะคำนวณเฉพาะบริษัทที่จ่ายปันผลได้ จำนวน 9 แห่งจาก 15 แห่งนะครับ คิดเป็นร้อยละ 60 ของบริษัทประกันภัยที่ยังจ่ายปันผลต่อเนื่องได้ดี ตัวเลขนี้จึงเป็นเฉพาะในบริษัทประกันภัยที่มีความสามารถในการจ่ายปันผลได้เท่านั้นครับ
ส่วนใหญ่จ่าย 1 ปีครั้ง มีจ่าย 2 ครั้งใน 1 ปีบ้าง หรือจ่าย 4 ครั้งใน 1 ปีมีเพียง 1 บริษัท ก็มี พวกนี้จะจ่ายปันผลได้ดีต่อเนื่องต้องไปค้นกันเองครับ
จ่ายปันผลต่ำกว่าร้อยละ 5 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ต่ำกว่าร้อยละ 6 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ตำกว่าร้อยละ 7 จำนวน 3 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 7 จำนวน 1 บริษัท
ข้อมูลนี้เป็น ณ 25 กันยายน 2552 นะครับ ซึ่งเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับราคาล่าสุดแล้ว
ก็เอาข้อมูลเรโชสำคัญมาให้ดูกันครับ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 86
ขอแก้ไขครับจ่ายปันผลต่ำกว่าร้อยละ 5 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ต่ำกว่าร้อยละ 6 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ตำกว่าร้อยละ 7 จำนวน 3 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 7 จำนวน 1 บริษัท
จ่ายปันผลต่ำกว่าร้อยละ 5 แต่สูงกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 3.57จำนวน 3 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ต่ำกว่าร้อยละ 6 จำนวน 2 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 5 แต่ตำกว่าร้อยละ 7 จำนวน 3 บริษัท
จ่ายปันผลสูงกว่าร้อยละ 7 จำนวน 1 บริษัท
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 87
ขอกราบเรียนถามท่าน chaitorn กับ ท่าน miracle หน่อยครับ
1. persistency rate ที่สูงเช่น 90% หมายถึงความต่อเนื่องของรายได้เบี้ยประกันปีต่อๆไปใช่ไหม ถ้ายิ่งสูง
เราก็ยิ่งประมาณการรายได้ในอนาคตได้ง่ายใช่ไหมครับเพราะเรารู้ว่าแต่ละปีมีเบี้ยเท่าไหร่ที่จ่ายได้ 90%
2.coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
2.2เงินกองทุนก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นใช่ไหม
2.3เงินสำรองประกันชีวิตคือเงินสด 80% ของเบี้ยรับที่กันเอาไว้จ่ายเวลาเกิดอุบัติเหตุใช่ไหม
1. persistency rate ที่สูงเช่น 90% หมายถึงความต่อเนื่องของรายได้เบี้ยประกันปีต่อๆไปใช่ไหม ถ้ายิ่งสูง
เราก็ยิ่งประมาณการรายได้ในอนาคตได้ง่ายใช่ไหมครับเพราะเรารู้ว่าแต่ละปีมีเบี้ยเท่าไหร่ที่จ่ายได้ 90%
2.coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
2.2เงินกองทุนก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นใช่ไหม
2.3เงินสำรองประกันชีวิตคือเงินสด 80% ของเบี้ยรับที่กันเอาไว้จ่ายเวลาเกิดอุบัติเหตุใช่ไหม
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 88
คุณ kewin มีคำถาม
1. persistency rate ที่สูงเช่น 90% หมายถึงความต่อเนื่องของรายได้เบี้ยประกันปีต่อๆไปใช่ไหม ถ้ายิ่งสูง
เราก็ยิ่งประมาณการรายได้ในอนาคตได้ง่ายใช่ไหมครับเพราะเรารู้ว่าแต่ละปีมีเบี้ยเท่าไหร่ที่จ่ายได้ 90%
คำตอบ ใช่ครับ แต่ปกติ persistency rate มักจะใช้กับประกันชีวิต เนื่องจาก มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันในระยะยาวจ่ายทุก ๆ ปี ยิ่งจ่ายต่อเนื่อง ก็หมายถึงมีการต่ออายุการรับประกันมากยิ่งขึ้น ยิ่งอัตราตัวนี้สูงมากเพียงใด ก็จะยิ่งคำนวณรายได้ในอนาคตได้มากตามนั้นครับ
2. coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
คำตอบ เป็นเงินทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตในอนาคต ยิ่งเงินกองทุนสูงมากเพียงใด ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการชำระค่าประกันชีวิตในอนาคตได้มากเท่านั้น แสดงถึงความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตแห่งนั้น ๆ ด้วย ถ้าเปรียบกับธนาคาร ตัวนี้ก็คือ ตัว บีไอเอสเรโช นั้นเองครับ
2.2เงินกองทุนก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นใช่ไหม
คำตอบ ส่วนใหญ่คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นครับ แต่มีเงินบางส่วนขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่จะให้นับเป็นเงินกองทุนได้ด้วย เช่น หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้บางประเภท เป็นต้น
2.3เงินสำรองประกันชีวิตคือเงินสด 80% ของเบี้ยรับที่กันเอาไว้จ่ายเวลาเกิดอุบัติเหตุใช่ไหม
คำตอบ ตรงนี้ไม่แน่ใจครับ แต่ปกติ ให้ลองคิดว่า กรณีมีคนทำประกันชีวิต ก็เหมือนฝากสตางค์กับธนาคารเป็นเงินฝากประจำระยะยาวแต่มีการคุ้มครองความเสี่ยงการเสียชีวิต และภัยอื่น ๆ ให้ด้วย บริษัทประกันชีวิตก็เปรียบไว้คล้ายกับธนาคาร แต่แทนที่เงินรับฝากจะเรียกว่าเป็นเงินฝาก ก็เรียกว่าเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต เพราะเป็นการทำสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับความคุ้มครองระยะยาว และการจ่ายเงินคืนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา แต่เงินฝากนั้น เราสามารถถอนเงินก่อนกำหนดได้ แต่หากถอนก่อนกำหนดสัญญา เราก็ต้องเสียค่าปรับจากผลตอบแทนดอกเบี้ยรับขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการฝากครับ
ดังนั้น การรับค่าเบี้ยประกันชีวิตไว้แต่ละปี ก็ต้องมีการกันสำรองค่าเบี้ยประกันชีวิตไว้บางส่วนเป็นเงินกองทุนไว้ เพื่อให้มีความสามารถในการลองรับความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นในระยะยาวคงไม่สามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตทั้งหมดไปหาผลตอบแทนที่มีความเสี่ยงได้ทั้งหมดครับ
1. persistency rate ที่สูงเช่น 90% หมายถึงความต่อเนื่องของรายได้เบี้ยประกันปีต่อๆไปใช่ไหม ถ้ายิ่งสูง
เราก็ยิ่งประมาณการรายได้ในอนาคตได้ง่ายใช่ไหมครับเพราะเรารู้ว่าแต่ละปีมีเบี้ยเท่าไหร่ที่จ่ายได้ 90%
คำตอบ ใช่ครับ แต่ปกติ persistency rate มักจะใช้กับประกันชีวิต เนื่องจาก มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันในระยะยาวจ่ายทุก ๆ ปี ยิ่งจ่ายต่อเนื่อง ก็หมายถึงมีการต่ออายุการรับประกันมากยิ่งขึ้น ยิ่งอัตราตัวนี้สูงมากเพียงใด ก็จะยิ่งคำนวณรายได้ในอนาคตได้มากตามนั้นครับ
2. coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
คำตอบ เป็นเงินทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตในอนาคต ยิ่งเงินกองทุนสูงมากเพียงใด ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการชำระค่าประกันชีวิตในอนาคตได้มากเท่านั้น แสดงถึงความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตแห่งนั้น ๆ ด้วย ถ้าเปรียบกับธนาคาร ตัวนี้ก็คือ ตัว บีไอเอสเรโช นั้นเองครับ
2.2เงินกองทุนก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นใช่ไหม
คำตอบ ส่วนใหญ่คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นครับ แต่มีเงินบางส่วนขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่จะให้นับเป็นเงินกองทุนได้ด้วย เช่น หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้บางประเภท เป็นต้น
2.3เงินสำรองประกันชีวิตคือเงินสด 80% ของเบี้ยรับที่กันเอาไว้จ่ายเวลาเกิดอุบัติเหตุใช่ไหม
คำตอบ ตรงนี้ไม่แน่ใจครับ แต่ปกติ ให้ลองคิดว่า กรณีมีคนทำประกันชีวิต ก็เหมือนฝากสตางค์กับธนาคารเป็นเงินฝากประจำระยะยาวแต่มีการคุ้มครองความเสี่ยงการเสียชีวิต และภัยอื่น ๆ ให้ด้วย บริษัทประกันชีวิตก็เปรียบไว้คล้ายกับธนาคาร แต่แทนที่เงินรับฝากจะเรียกว่าเป็นเงินฝาก ก็เรียกว่าเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต เพราะเป็นการทำสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับความคุ้มครองระยะยาว และการจ่ายเงินคืนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา แต่เงินฝากนั้น เราสามารถถอนเงินก่อนกำหนดได้ แต่หากถอนก่อนกำหนดสัญญา เราก็ต้องเสียค่าปรับจากผลตอบแทนดอกเบี้ยรับขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการฝากครับ
ดังนั้น การรับค่าเบี้ยประกันชีวิตไว้แต่ละปี ก็ต้องมีการกันสำรองค่าเบี้ยประกันชีวิตไว้บางส่วนเป็นเงินกองทุนไว้ เพื่อให้มีความสามารถในการลองรับความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นในระยะยาวคงไม่สามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตทั้งหมดไปหาผลตอบแทนที่มีความเสี่ยงได้ทั้งหมดครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 89
2. coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
คำตอบ เป็นเงินทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตใน อนาคต ยิ่งเงินกองทุนสูงมากเพียงใด ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการชำระค่าประกันชีวิตในอนาคตได้มากเท่านั้น แสดงถึงความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตแห่งนั้น ๆ ด้วย ถ้าเปรียบกับธนาคาร ตัวนี้ก็คือ ตัว บีไอเอสเรโช นั้นเองครับ
2.2เงินกองทุนก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นใช่ไหม
ขอแก้ไขเป็น
2. coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
คำตอบ เป็นเงินทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต ในการคุ้มครองความเสี่ยงภัยต่อการเสียชีวิตของผู้ประกันชีวิตในอนาคตนั้นเอง ยิ่งเงินกองทุนสูงมากเพียงใด ก็จะทำให้มีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงต่อการประกันชีวิตในอนาคตได้มากเท่านั้น แสดงถึงความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตแห่งนั้น ๆ ด้วย ถ้าเปรียบกับธนาคาร ตัวนี้ก็คล้ายกับ บีไอเอสเรโช นั้นเองครับ
คำตอบ เป็นเงินทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของการชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตใน อนาคต ยิ่งเงินกองทุนสูงมากเพียงใด ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการชำระค่าประกันชีวิตในอนาคตได้มากเท่านั้น แสดงถึงความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตแห่งนั้น ๆ ด้วย ถ้าเปรียบกับธนาคาร ตัวนี้ก็คือ ตัว บีไอเอสเรโช นั้นเองครับ
2.2เงินกองทุนก็คือ ส่วนของผู้ถือหุ้นใช่ไหม
ขอแก้ไขเป็น
2. coverage ratio คือ เงินกองทุนเทียบกับเงินสำรองประกันชีวิตใช่ไหม
คำตอบ เป็นเงินทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต ในการคุ้มครองความเสี่ยงภัยต่อการเสียชีวิตของผู้ประกันชีวิตในอนาคตนั้นเอง ยิ่งเงินกองทุนสูงมากเพียงใด ก็จะทำให้มีเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงต่อการประกันชีวิตในอนาคตได้มากเท่านั้น แสดงถึงความมั่นคงของบริษัทประกันชีวิตแห่งนั้น ๆ ด้วย ถ้าเปรียบกับธนาคาร ตัวนี้ก็คล้ายกับ บีไอเอสเรโช นั้นเองครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์ที่ 90
เงินสำรองประกันชีวิต หมายถึง หนี้สินหรือพันธะผูกพันที่บริษัทประกันชีวิตมีต่อผู้ถือกรมธรรม์เนื่องจากการประกันชีวิตเป็นสัญญาระยะยาวที่บริษัทประกันชีวิตจะต้องมีพันธะผูกพันในการจ่ายผลประโยชน์ ตามกรมธรรม์ให้ แก่ผู้ถือ กรมธรรม์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นสินไหม หรือเงินคืนตามกรมธรรม์ครับ
เงินสำรองไม่ได้เก็บไว้ 80% หรือเป็นอัตราตายตัวจากเบี้ยประกันรับ แต่ใช้ตารางมรณะในการคำนวณหาเงินสำรองที่ต้องมีสำหรับแต่ละกรมธรรม์ครับ
พูดง่ายๆคือคำนวณจาก ความน่าจะเป็นในการจ่ายสินไหมในแต่ละกรมธรรม์ + เงินคืนตามกรมธรรม์ เท่านั้นเองครับ
ขออธิบายเรื่องการถอนเงิน หรือเรียกว่าการเวนคืนกรมธรรม์ บางครั้งผู้เอาประกันได้กำไรนะครับ อันนี้แล้วแต่กรมธรรม์ที่ท่านถืออยู่ว่าเป็นอย่างไร เท่าที่ผมมี บางแบบนั้นลูกค้าทำกำไรพอสมควรเมื่อเวนคืนครับ ให้ดูจากตารางมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ของท่านครับ ตัวแทนของท่านควรจะให้คำแนะนำได้ดีในเรื่องนี้ครับ
เงินสำรองไม่ได้เก็บไว้ 80% หรือเป็นอัตราตายตัวจากเบี้ยประกันรับ แต่ใช้ตารางมรณะในการคำนวณหาเงินสำรองที่ต้องมีสำหรับแต่ละกรมธรรม์ครับ
พูดง่ายๆคือคำนวณจาก ความน่าจะเป็นในการจ่ายสินไหมในแต่ละกรมธรรม์ + เงินคืนตามกรมธรรม์ เท่านั้นเองครับ
ขออธิบายเรื่องการถอนเงิน หรือเรียกว่าการเวนคืนกรมธรรม์ บางครั้งผู้เอาประกันได้กำไรนะครับ อันนี้แล้วแต่กรมธรรม์ที่ท่านถืออยู่ว่าเป็นอย่างไร เท่าที่ผมมี บางแบบนั้นลูกค้าทำกำไรพอสมควรเมื่อเวนคืนครับ ให้ดูจากตารางมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ของท่านครับ ตัวแทนของท่านควรจะให้คำแนะนำได้ดีในเรื่องนี้ครับ