อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
-
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 2
LH ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 3
บ้านท่านวิบูลย์ไง ประหยัดพลังงานทั้งหลังเลย กระจกนี่ใช้ก๊าซเฉื่อย รอบบ้าน รวมทั้งประตูเข้าบ้าน
ใช้แอร์ตัวเดียว เย็นทั้ง 2 ชั้น เย็นทั้งหลังเลย
อืม กระจกแบบนี้ เห็นที่โรงแรมที่ลาสเวกัส คงไว้กันทั้งความร้อนและความเย็น ส่วนที่นอรเว ก็กระจกก๊าซเฉื่อยแบบนี้ เหมือนกัน แต่คงเป็นการกันความเย็นเท่านั้น
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า บ้านประหยัดพลังงานน่าจะเป็นบ้านทรงไทย ที่ไม่ต้องติดแอร์ อยู่แล้ว สุขภาพจะดีมากๆ
อายุมากแล้ว อยู่แอร์มากๆ ไม่ดี ไม่ธรรมชาติ แถมเปลืองพลังงาน
ใช้แอร์ตัวเดียว เย็นทั้ง 2 ชั้น เย็นทั้งหลังเลย
อืม กระจกแบบนี้ เห็นที่โรงแรมที่ลาสเวกัส คงไว้กันทั้งความร้อนและความเย็น ส่วนที่นอรเว ก็กระจกก๊าซเฉื่อยแบบนี้ เหมือนกัน แต่คงเป็นการกันความเย็นเท่านั้น
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า บ้านประหยัดพลังงานน่าจะเป็นบ้านทรงไทย ที่ไม่ต้องติดแอร์ อยู่แล้ว สุขภาพจะดีมากๆ
อายุมากแล้ว อยู่แอร์มากๆ ไม่ดี ไม่ธรรมชาติ แถมเปลืองพลังงาน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 5
โป๊ะเช๊ะ เย็นมากครับ เด็กๆ ผมชอบไปวิ่งเล่นบ้านญาติซึ่งเป็นบ้านไม้ทรงไทยJeng เขียน:โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า บ้านประหยัดพลังงานน่าจะเป็นบ้านทรงไทย ที่ไม่ต้องติดแอร์
ใต้ถุนสูง ปลูกต้นไม้รอบบ้าน และมีบ่อน้ำใหญ่อยู่ข้างบ้าน เย็นร่มรื่นมาก
ไม่ต้องเปิดแอร์แม้วันร้อนจัด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 6
บ้านทั่วไปเป็นบ้านประหยัดพลังงานบางส่วน ไม่ใช่แบบบูรณาการ (ใช้ศัพท์ทันสมัย)Jeng เขียน:บ้านท่านวิบูลย์ไง ประหยัดพลังงานทั้งหลังเลย กระจกนี่ใช้ก๊าซเฉื่อย รอบบ้าน รวมทั้งประตูเข้าบ้าน
ใช้แอร์ตัวเดียว เย็นทั้ง 2 ชั้น เย็นทั้งหลังเลยอืม กระจกแบบนี้ เห็นที่โรงแรมที่ลาสเวกัส คงไว้กันทั้งความร้อนและความเย็น ส่วนที่นอรเว ก็กระจกก๊าซเฉื่อยแบบนี้ เหมือนกัน แต่คงเป็นการกันความเย็นเท่านั้น
การออกแบบบ้านประหยัดพลังงานต้องคิดถึงภาพรวมทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะบางส่วน
อย่างแลนด์แอนด์เฮาส์บอกว่าบ้านประหยัดพลังงานนั้น
เพียงแค่ใช้วัสดุบางส่วน เช่น ผนังมวลเบา และ กระจกสีชา เท่าน้นเอง
แต่ไม่ได้คำนึงถึงทิศทางแดดลม และการออกแบบตัวอาคารให้สมบูรณ์
เป็นเพียงแค่"จุดขาย"ทางการตลาดเท่านั้น
อาจจะประหยัดไฟได้เพิ่มขึ้น 5-10% เท่านั้นเอง
ใครสนใจหนังสือเกี่ยวกับบ้านประหยัดพลังงาน
หาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬา
เขียนโดย ศร.ดร.สุนทร บุญญาธิการ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านผม
พื้นที่ใช้สอย 300 ตร.ม. ใช้แอร์ตัวเดียวขนาด 1.5 ตัน
ประหยัดกว่าอาคารและบ้านทั่วไป 10 เท่า หรือ 1000%
พูดไปไม่มีใครเชื่อ แม้แต่วิศวกรเพื่อนผมยังบอกเป็นไปไม่ได้
แต่ท่าน ดร.บอกว่า บ้านผมล้าสมัยแล้วครับ
ท่าน ดร.สุนทรบอกว่าJeng เขียน:โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า บ้านประหยัดพลังงานน่าจะเป็นบ้านทรงไทย ที่ไม่ต้องติดแอร์ อยู่แล้ว สุขภาพจะดีมากๆ
อายุมากแล้ว อยู่แอร์มากๆ ไม่ดี ไม่ธรรมชาติ แถมเปลืองพลังงาน
บ้านทรงไทยเหมาะกับเมืองไทยมากที่สุดครับ
แต่สภาพแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนไป
เช่น ร้อนมากขึ้น มลพิษมากขึ้น ทั้งเสียง ฝุ่น ฯลฯ
ทำให้การอาศัยอยู่ในบ้านทรงไทยไม่เหมาะสมในปัจจุบันครับ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 7
เอามาจาก
http://board.dserver.org/s/senateCU/
หัวข้อ : จุฬาฯทำสำเร็จ บ้านชีวาทิตย์ ประหยัดพลังงาน
ข้อความ : อาจารย์-นิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สุดเจ๋ง จับมือรวมทีมวิจัยสร้างบ้าน "ชีวาทิตย์" ผลิตพลังงานใช้โซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าป้อนอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพไว้ใช้หุงต้มในครัวเรือน แถมมีไฟฟ้าเหลือใช้ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ 1 ครั้ง วิ่งได้ 50 กิโลเมตร หากขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงทำเงินได้เดือนละ 1 พันบาท บ้านตัวอย่างจริงสร้างแล้ว ที่ อ.คลองหก จ.ปทุมธานี คาดต้นปีหน้าเสร็จสมบูรณ์
ในงานจุฬาฯ วิชาการปีนี้ ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค.2545 เวลา 09.00-19.00 น. ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันและคณะต่างๆ ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ "บ้านชีวาทิตย์" ผลิตพลังงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นบ้านที่ผลิตไฟฟ้าและก๊าซชีวภาพไว้ใช้ประโยชน์ได้เอง
ผศ.ดร.วรสัณฑ บูรณากาญจน์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า บ้านชีวาทิตย์ผลิตพลังงาน ได้เริ่มตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2537 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2545 จึงเสร็จสมบูรณ์ บ้านหลังนี้เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาตรี-โท-เอก ในกลุ่มวิชาเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ การดำเนินโครงงานระยะแรก ได้นำความรู้ดังกล่าวก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน บ้านที่ไม่ใช้พลังงาน จนกระทั่งมาถึงบ้านผลิตพลังงาน หัวหน้าทีมวิจัยโครงงานนี้ คือ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมวิจัย ประมาณ 50 คน ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ได้รับงบสนับสนุนจากจุฬาฯ และบริษัทเอกชน
บ้านหลังนี้มีส่วนประกอบสำคัญคือ แผงโซลาเซลล์ ประมาณ 60 แผง ติดตั้งอยู่บริเวณหลังคาและโรงจอดรถ, วัสดุตัวอาคารทำจากฉนวนกันความร้อน และวัสดุกันความชื้น กระจกฮีตตอบ มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน กรองแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสมกับการมองเห็น ส่วนหลังคาทำจากโลหะ ซึ่งช่วงเช้าจะมีความเย็นมาก ทำให้เกิดน้ำค้างขึ้นทุกวัน มีระบบเครื่องปรับอากาศไม่ใช้พัดลมเป่าระบายอากาศเช่น แอร์ปกติทั่วไป แต่ใช้วิธีปรับอุณหภูมิภายในบ้าน, มีถุงหมักก๊าซชีวภาพอยู่ใต้บ้าน เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน นำของเสีย เช่น น้ำในห้องน้ำ เศษอาหาร เศษหญ้า มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพใช้ในครัวเรือน มีบ่อพักน้ำใต้โรงจอดรถ เพื่อนำน้ำจากฝนที่ตกลงมาและน้ำจากเครื่องปรับอากาศ และน้ำค้างจากหลังคามารวมกันที่บ่อนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ในบ้าน สำหรับคน 6 คน เฉลี่ยคนละ 200 ลิตรต่อวัน
"ประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น การก่อสร้างบ้านหลังนี้จึงมีลักษณะพิเศษ คือ สร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้สบายด้วยการใช้วัสดุก่อสร้างที่ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์และความชื้นจากอากาศ มีการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50% ทำให้ลดความร้อนได้ถึง 80% อีกทั้งยังได้ใช้โซลาเซลล์นำพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าในบ้าน ภายในบ้านจะไม่มีฝุ่นละอองเข้ามาเพราะเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ตลอด 24 ชม."ผศ.ดร.วรสัณฑ กล่าว
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่บ้านหลังนี้สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศได้ตลอดเวลา เพราะทีมวิจัยได้ออกแบบเครื่องปรับอากาศ ให้สามารถถ่ายเทความร้อนไปยังถังน้ำร้อนที่ติดตั้งไว้ในบ้าน สามารถผลิตน้ำร้อนมาใช้ประโยชน์ และระบายความร้อนไปยังสระว่ายน้ำและน้ำพุบริเวณรอบบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมระบายอากาศ เช่น แอร์ทั่วๆ ไป ประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 70%
นอกจากนี้ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด จะนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น แอร์ ตู้เย็น หากมีไฟฟ้าเหลือจะนำไปชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ได้ การใช้ไฟฟ้านี้ 1 ครั้ง รถยนต์จะวิ่งได้ 50 กม. หรือถ้าขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวงก็จะขายได้ กิโลวัตต์ละ 2.50 บาท ทำให้มีรายได้เดือนละ 1,000 บาท
"ตอนนี้อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้สร้างต้นแบบบ้านชีวาทิตย์ผลิตพลังงานไว้ที่ อ.คลองหก จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้า ใช้งบก่อสร้างตัวบ้านประมาณ 2 ล้านบาท ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ 60 แผง เป็นเงิน 1 ล้านบาท และสร้างสระว่ายน้ำประมาณ 5 แสนบาท รวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านบาท คาดว่าต้นปีหน้าจะเสร็จสมบูรณ์ ขณะนี้เหลือแค่เพียงการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านเท่านั้น" ผศ.ดร.วรสัณฑ กล่าว
ผู้ที่สนใจจะสร้างบ้านแบบนี้ ทางคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือเพราะถือเป็นงานการศึกษาและสร้างรายได้ให้แก่จุฬาฯ แต่ราคาบ้านคงไม่ตายตัวแล้วแต่แบบที่เจ้าของบ้านเสนอมาให้ก่อสร้าง ติดต่อได้ที่โทร. 0-2218-4370-1
http://board.dserver.org/s/senateCU/
หัวข้อ : จุฬาฯทำสำเร็จ บ้านชีวาทิตย์ ประหยัดพลังงาน
ข้อความ : อาจารย์-นิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สุดเจ๋ง จับมือรวมทีมวิจัยสร้างบ้าน "ชีวาทิตย์" ผลิตพลังงานใช้โซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าป้อนอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพไว้ใช้หุงต้มในครัวเรือน แถมมีไฟฟ้าเหลือใช้ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ 1 ครั้ง วิ่งได้ 50 กิโลเมตร หากขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงทำเงินได้เดือนละ 1 พันบาท บ้านตัวอย่างจริงสร้างแล้ว ที่ อ.คลองหก จ.ปทุมธานี คาดต้นปีหน้าเสร็จสมบูรณ์
ในงานจุฬาฯ วิชาการปีนี้ ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค.2545 เวลา 09.00-19.00 น. ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันและคณะต่างๆ ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ "บ้านชีวาทิตย์" ผลิตพลังงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นบ้านที่ผลิตไฟฟ้าและก๊าซชีวภาพไว้ใช้ประโยชน์ได้เอง
ผศ.ดร.วรสัณฑ บูรณากาญจน์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า บ้านชีวาทิตย์ผลิตพลังงาน ได้เริ่มตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2537 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2545 จึงเสร็จสมบูรณ์ บ้านหลังนี้เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาตรี-โท-เอก ในกลุ่มวิชาเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ การดำเนินโครงงานระยะแรก ได้นำความรู้ดังกล่าวก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน บ้านที่ไม่ใช้พลังงาน จนกระทั่งมาถึงบ้านผลิตพลังงาน หัวหน้าทีมวิจัยโครงงานนี้ คือ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมวิจัย ประมาณ 50 คน ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ได้รับงบสนับสนุนจากจุฬาฯ และบริษัทเอกชน
บ้านหลังนี้มีส่วนประกอบสำคัญคือ แผงโซลาเซลล์ ประมาณ 60 แผง ติดตั้งอยู่บริเวณหลังคาและโรงจอดรถ, วัสดุตัวอาคารทำจากฉนวนกันความร้อน และวัสดุกันความชื้น กระจกฮีตตอบ มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน กรองแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสมกับการมองเห็น ส่วนหลังคาทำจากโลหะ ซึ่งช่วงเช้าจะมีความเย็นมาก ทำให้เกิดน้ำค้างขึ้นทุกวัน มีระบบเครื่องปรับอากาศไม่ใช้พัดลมเป่าระบายอากาศเช่น แอร์ปกติทั่วไป แต่ใช้วิธีปรับอุณหภูมิภายในบ้าน, มีถุงหมักก๊าซชีวภาพอยู่ใต้บ้าน เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน นำของเสีย เช่น น้ำในห้องน้ำ เศษอาหาร เศษหญ้า มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพใช้ในครัวเรือน มีบ่อพักน้ำใต้โรงจอดรถ เพื่อนำน้ำจากฝนที่ตกลงมาและน้ำจากเครื่องปรับอากาศ และน้ำค้างจากหลังคามารวมกันที่บ่อนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ในบ้าน สำหรับคน 6 คน เฉลี่ยคนละ 200 ลิตรต่อวัน
"ประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น การก่อสร้างบ้านหลังนี้จึงมีลักษณะพิเศษ คือ สร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้สบายด้วยการใช้วัสดุก่อสร้างที่ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์และความชื้นจากอากาศ มีการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50% ทำให้ลดความร้อนได้ถึง 80% อีกทั้งยังได้ใช้โซลาเซลล์นำพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าในบ้าน ภายในบ้านจะไม่มีฝุ่นละอองเข้ามาเพราะเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ตลอด 24 ชม."ผศ.ดร.วรสัณฑ กล่าว
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่บ้านหลังนี้สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศได้ตลอดเวลา เพราะทีมวิจัยได้ออกแบบเครื่องปรับอากาศ ให้สามารถถ่ายเทความร้อนไปยังถังน้ำร้อนที่ติดตั้งไว้ในบ้าน สามารถผลิตน้ำร้อนมาใช้ประโยชน์ และระบายความร้อนไปยังสระว่ายน้ำและน้ำพุบริเวณรอบบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมระบายอากาศ เช่น แอร์ทั่วๆ ไป ประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 70%
นอกจากนี้ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด จะนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น แอร์ ตู้เย็น หากมีไฟฟ้าเหลือจะนำไปชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ได้ การใช้ไฟฟ้านี้ 1 ครั้ง รถยนต์จะวิ่งได้ 50 กม. หรือถ้าขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวงก็จะขายได้ กิโลวัตต์ละ 2.50 บาท ทำให้มีรายได้เดือนละ 1,000 บาท
"ตอนนี้อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้สร้างต้นแบบบ้านชีวาทิตย์ผลิตพลังงานไว้ที่ อ.คลองหก จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้า ใช้งบก่อสร้างตัวบ้านประมาณ 2 ล้านบาท ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ 60 แผง เป็นเงิน 1 ล้านบาท และสร้างสระว่ายน้ำประมาณ 5 แสนบาท รวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านบาท คาดว่าต้นปีหน้าจะเสร็จสมบูรณ์ ขณะนี้เหลือแค่เพียงการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านเท่านั้น" ผศ.ดร.วรสัณฑ กล่าว
ผู้ที่สนใจจะสร้างบ้านแบบนี้ ทางคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือเพราะถือเป็นงานการศึกษาและสร้างรายได้ให้แก่จุฬาฯ แต่ราคาบ้านคงไม่ตายตัวแล้วแต่แบบที่เจ้าของบ้านเสนอมาให้ก่อสร้าง ติดต่อได้ที่โทร. 0-2218-4370-1
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 9
บางคนไปดูบ้านของจริงก็ไม่ได้สร้างนะครับLOSO เขียน:
fact & report ที่ออกมาจากหน่วยงานรัฐบาลอย่างในอเมริกา แคนาดา หรือจากประชาชนที่นั่นที่เขาใช้ผนังแบบนี้แล้วเกิดปัญหาขึ้น ..............
ผมคิดว่า น่ากลัวและน่าห่วงเป็นอย่างยิ่ง .................
และหนังสือของ ดร.สุนทร เกี่ยวกับเรื่อง EIFS เท่าที่ผมอ่าน ตอบประัเด็นเหล่านั้นไม่ clear ..............
ผมจึง "ไม่กล้า" ที่จะเลือกใช้ EIFS เป็นผนังบ้านครับ ................
เพราะเขาคิดกันว่าไม่แข็งแรงมีปญหา
ก็เลยไปสร้าง"บ้านปูน"กันตามปกติ
แต่สุดท้ายบ้านปูนก็มีปัญหาครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความร้อนและความชื้น
อยู่ไม่สบายอย่างที่โฆษณาไว้
ส่วนเรื่องปัญหา ไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างครับ
ถ้าตอบได้จะช่วยตอบให้จากประสบการณ์การใช้งานจริงๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 10
ยังไม่มีหนังสืออาจารย์สุนทรค่ะ แต่ก็สนใจเรื่องบ้านประหยัดพลังงาน
เพราะปีหน้าจะแยกบ้านไปปลูกเองแล้ว(ตอนนี้เกาะแม่อยู่) ยังหาแบบถูกใจไม่ได้เลยค่ะ
อยากทราบว่าผนังEIFSนี้คืออะไรคะ แตกต่างจากผนังทั่วไปยังไงบ้าง
รบกวนคุณวิบูลย์ผู้มีประสบการณ์ตรงช่วยตอบหน่อยค่ะ
ขอบคุณมาก
เพราะปีหน้าจะแยกบ้านไปปลูกเองแล้ว(ตอนนี้เกาะแม่อยู่) ยังหาแบบถูกใจไม่ได้เลยค่ะ
อยากทราบว่าผนังEIFSนี้คืออะไรคะ แตกต่างจากผนังทั่วไปยังไงบ้าง
รบกวนคุณวิบูลย์ผู้มีประสบการณ์ตรงช่วยตอบหน่อยค่ะ
ขอบคุณมาก

-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 12
พื้นที่น้อยค่ะ 300ตารางวาเอง
แถมยังต้องกันไว้ทำเรือนเพาะชำอีก เนื่องจากดันฮิตต้นไม้ตามพี่สาว
โป๊ยเซียน ชวนชม ลั่นทมเอ๊ยลีลาวดี เต็มบ้านแล้วค่ะ
ถ้ามีสระว่ายน้ำ สงสัยต้องเป่าขนเจ้าโก้ทั้งวัน ไม่ไหวจ้า

แถมยังต้องกันไว้ทำเรือนเพาะชำอีก เนื่องจากดันฮิตต้นไม้ตามพี่สาว
โป๊ยเซียน ชวนชม ลั่นทมเอ๊ยลีลาวดี เต็มบ้านแล้วค่ะ
ถ้ามีสระว่ายน้ำ สงสัยต้องเป่าขนเจ้าโก้ทั้งวัน ไม่ไหวจ้า

-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 13
ผนังทั่วไปจะเป็นคอนกรีต หรือ คอนกรีตมวลเบาอ-ริน เขียน: ยังไม่มีหนังสืออาจารย์สุนทรค่ะ แต่ก็สนใจเรื่องบ้านประหยัดพลังงาน
เพราะปีหน้าจะแยกบ้านไปปลูกเองแล้ว(ตอนนี้เกาะแม่อยู่) ยังหาแบบถูกใจไม่ได้เลยค่ะ
อยากทราบว่าผนังEIFSนี้คืออะไรคะ แตกต่างจากผนังทั่วไปยังไงบ้าง
รบกวนคุณวิบูลย์ผู้มีประสบการณ์ตรงช่วยตอบหน่อยค่ะ
ขอบคุณมาก
ซึ่งใช้เสาและคานเป็นจุดรับน้ำหนัก
ทำให้มีโครงสร้างเยอะและหนัก
ข้อเสียของผนังคอนกรีตคืออมความร้อนและไม่กันความชื้น
ทำให้พลังงานสำหรับทำให้ห้องเย็นด้วยเครื่องปรับอากาศมาก
บ้านคอนกรีตทั่วไปจะใช้พลังงานของแอร์ประมาณ 18,000 BTU ต่อ 30 ตร.เมตร (สามสิบ)
ขณะที่บ้านที่ออกแบบโดย ดร.สุนทรจะใช้ผนังแบบ EIFS
ซึ่งเป็นโครงสร้างผนังเบาใช้โครงเหล็กเป็นตัวรับน้ำหนัก
ด้านในเป็นยิบซั่ม ด้านนอกเป็นฉนวนกันความร้อนและความชื้น
ทำให้ใช้แอร์น้อยกว่าบ้านคอนกรีตทั่วไป 10 เท่า
คือใช้พลังงานของแอร์ประมาณ 18,000 BTU ต่อ 300 ตร.เมตร (สามร้อย)
นอกเหนือจากจะประหยัดพลังงานแล้ว
ยังทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เช่น
ควบคุมอุณหภูมิให้เท่ากันทุกจุดในบ้าน
อากาศไม่ร้อนไม่หาวจนเกินไป
ใช้พลังงานจากแอร์มาทำน้ำร้อนฟรี
แสงสว่างพอเหมาะ ลดการเปิดไฟในตอนกลางวัน
ฯลฯ
ถ้าสนใจก็ติดต่อได้ที่ บ.วีดาร์ (ดร.สุนทรเป็นผู้ถือหุ้น) โทร 02-645-0588
เป็นบริษัทที่ออกแบบบ้านชีวาทิตย์ด้วยครับ พี่CK
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 14
บ้านชีวาทิตย์พร้อมสระว่ายน้ำใช้พื้นที่ประมาณ 100 ตร.วาครับอ-ริน เขียน:พื้นที่น้อยค่ะ 300ตารางวาเอง![]()
แถมยังต้องกันไว้ทำเรือนเพาะชำอีก เนื่องจากดันฮิตต้นไม้ตามพี่สาว
โป๊ยเซียน ชวนชม ลั่นทมเอ๊ยลีลาวดี เต็มบ้านแล้วค่ะ
ถ้ามีสระว่ายน้ำ สงสัยต้องเป่าขนเจ้าโก้ทั้งวัน ไม่ไหวจ้า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้บ้านจัดสรรเมืองไทยเน้นสร้างบ้านที่ประหยัดพลังงาน
โพสต์ที่ 15
ผนัง EIFS คือ Exterior Insulation & Finish Systems ครับ
หน้าตาแบบนี้

ข้อดี
ปัญหาทั้งหมดที่พบเกี่ยวกับ EIFS คือติดตั้งไม่ดี หรือขั้นตอนการ
ผลิตไม่ได้คุณภาพ แต่เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง
อ่าน research เกี่ยวกับปัญหาของ EIFS และวิธีแก้ไขได้ที่นี่
http://www.cmhc-schl.gc.ca/publications ... 00-120.htm
ไม่รู้ครอบคลุมทุก case หรือเปล่านะครับ ขี้เกียจหาต่อแล้ว
หน้าตาแบบนี้

ข้อดี
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (คุมอุณหภูมิ)
- จัดรูปบ้านได้อย่างยืดหยุ่น (ปรับขนาดง่าย)
ปัญหาทั้งหมดที่พบเกี่ยวกับ EIFS คือติดตั้งไม่ดี หรือขั้นตอนการ
ผลิตไม่ได้คุณภาพ แต่เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง
อ่าน research เกี่ยวกับปัญหาของ EIFS และวิธีแก้ไขได้ที่นี่
http://www.cmhc-schl.gc.ca/publications ... 00-120.htm
ไม่รู้ครอบคลุมทุก case หรือเปล่านะครับ ขี้เกียจหาต่อแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
อืม
โพสต์ที่ 17
หลายปีก่อนผมเคยดูหนังสารคดีเกี่ยวกับบ้านที่สร้างลักษณะเป็นถ้ำหลายแบบ
แบบหนึ่งใช้วิธีเจาะหินเข้าไปเป็นถ้ำ ตกแต่งสวยหรู และยังสามารถอยู่อย่างเย็นสบาย
กับอีกแบบหนึ่งใช้เหมือนพียูโพม ขึ้นรูปเป็นถ้ำขึ้นมา สามารถทนต่อแสง
อาทิตย์ และทรงรูป
แต่นั่นมันเมื่อหลายปีก่อนนะ
ปัจจุบันอาจมีวิธีที่ดีกว่า
แบบหนึ่งใช้วิธีเจาะหินเข้าไปเป็นถ้ำ ตกแต่งสวยหรู และยังสามารถอยู่อย่างเย็นสบาย
กับอีกแบบหนึ่งใช้เหมือนพียูโพม ขึ้นรูปเป็นถ้ำขึ้นมา สามารถทนต่อแสง
อาทิตย์ และทรงรูป
แต่นั่นมันเมื่อหลายปีก่อนนะ
ปัจจุบันอาจมีวิธีที่ดีกว่า