สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 1
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
จากเงินก้อนแรก 500,000 บาท เล่นหุ้น 4 ปี วันนี้เขามีพอร์ตแล้ว 50 ล้าน ชายหนุ่มวัย32 'โนเนม' แต่ไม่ 'โนวิชั่น' สง่า ตั้งจันสิริ ...
แท้ที่จริงตระกูลตั้งจันสิริ ไม่ใช่โนบอดี้ในวงการธุรกิจ ทายาทหนุ่มวัย 32 ปี อาสาพาไปรู้จักเคล็ดลับความสำเร็จของตัวเอง ที่วันนี้มีพอร์ตเล่นหุ้นเป็นตัวเป็นตนแล้ว 50 ล้านบาท แม้ไม่มากแต่ถ้าดูจากจุดเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทกับระยะเวลาเพียง 4 ปี หนุ่มคนนี้ถือว่าฝีมือ "ไม่ธรรมดา"
สง่า ตั้งจันสิริ มีพื้นฐานครอบครัวอยู่ในระดับเศรษฐีของเมืองไทย บางคนอาจจะคุ้นๆกับนามสกุล "ตั้งจันสิริ" กับ "จันศิริ" ใน บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ ทียูเอฟ ใช่เลย! เขาเป็นหลานชาย ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งทียูเอฟ บริษัทผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ระดับโลก และมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง ธีรพงศ์ จันศิริ ซีอีโอทียูเอฟ ปัจจุบันสง่านั่งแท่นบริหารบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยของตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัว และรักการลงทุนในตลาดหุ้นเป็นชีวิตจิตใจ
"ตกลงครับ..แต่พอร์ตผมไม่ได้ใหญ่มากเท่าไรนะ ไม่รู้จะน่าสนใจหรือเปล่า" ชายหนุ่มวัย 32 ปี ยอมเปิดตัวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เรานัดหมายกับเขาที่ร้านกาแฟใต้อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ย่านสนามเป้า โดยมี "ก๋อย" ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ เซียนหุ้นร้อยล้าน "หลานชาย" ชนะชัย ลีนะบรรจง เป็นคนชักนำ
"นิด" ชื่อเล่นของสง่า เพียงกาแฟแก้วแรกหย่อนวางลงบนโต๊ะนิดก็รีบออกตัวก่อนว่า "หุ้นทุกตัวที่ผมไปลงทุนไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจครอบครัวแม้แต่น้อยเป็นเพียงการลงทุนส่วนตัว"
นิดบอกว่า แม้จะเติบโตมากับธุรกิจอาหารทะเลของครอบครัวตั้งแต่เด็ก แต่ขอเลือกที่จะเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจของตัวเอง หลังจบปริญญาตรีที่เอแบคด้านประกันภัยก็มาเปิดบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยซึ่งบริหารมาแล้ว 8 ปี และยังร่วมลงขันกับเพื่อนขายเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจรับสแกนหนังสือ และมีร้านกาแฟของตัวเอง
ก้าวแรกในตลาดหุ้นของสง่า เพิ่งเริ่มเมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังบูมตอนนั้นคือ "อยากลอง" และได้รู้จักกับผู้ใหญ่ในวงการหลักทรัพย์แนะนำให้ลองลงทุนดูบอกว่าดีกว่าเงินฝาก โดยปัจจุบันมีพอร์ตลงทุนอยู่ที่ บล.เคที ซีมิโก้ เป็นหลัก
สำหรับเงินลงทุนก้อนแรก นิดเล่าว่าเริ่มจากเงิน 500,000 บาท เริ่มนับหนึ่งจากหุ้นบลูชิพพิมพ์นิยมอย่าง BANPU, PTT, PTTEP และแน่นอนต้องมี TUF ด้วยเพราะเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยมี ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ "เพื่อนซี้" ที่เรียนด้วยกันมาตั้งแต่ป.1 เป็นที่ปรึกษา และทุกวันนี้หัวข้อหลักในการสนทนาระหว่างเพื่อนก็คือเรื่องหุ้นที่ฝังอยู่ในสายเลือดโดยไม่รู้ตัว
วิธีการลงทุนของเซียนหุ้นรายนี้ เขาจะแบ่งพอร์ตลงทุนออกเป็น "สามส่วน" คือ สั้น-กลาง-ยาว ถ้าเป็นหุ้นบลูชิพชั้นดี "เกรดเอ" ถ้าถือต้นทุนต่ำก็จะถือยาว 2-3 ปี โดยจะดูที่ Dividend Yield ถ้าอยู่ประมาณ 5-6% ก็จะถือไว้กินปันผล ส่วนหุ้น TUF จะไม่แตะ (ขาย) เลยเพราะปันผลดีมาก อีกตัวที่ชอบคือ CSL ที่ทำธุรกิจเป็นเงินสดแถมจ่ายปันผลดีปีละ 2-3 ครั้ง
ส่วนพอร์ต "ระยะกลาง" จะเน้นหุ้นกลุ่มแบงก์กับอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเป็นพอร์ต "ระยะสั้น" จะเน้นเล่นหุ้นหวือหวาโดยจะ "เล่นตามข่าว" (หุ้นมีสตอรี่) ถ้าเล่นสั้นจะ "ไม่ถือนาน" แต่บางครั้งจะสลับตัวเล่น "กลาง-สั้น" ตามความเหมาะสม
สำหรับหุ้นกลุ่มที่เล่นเป็นประจำ ยังคงเป็น "พลังงาน" กับ "แบงก์" ที่ผ่านมาได้กำไรมาตลอด ส่วนหุ้นที่โปรดปรานเป็นพิเศษอันดับหนึ่งคือ TUF เพราะโตมากับธุรกิจนี้ ปัจจุบันถือ TUF อยู่ในพอร์ต "มากที่สุด" โดยหุ้นบางส่วนได้รับโอนมาจาก "คุณพ่อ" ตอนก่อนแต่งงาน มีต้นทุนที่ 10 บาทแต่ไม่เคยขายและไม่คิดจะขายด้วย
อีกตัวที่ชื่นชอบเป็นพิเศษคือ PS เพราะเป็นบริษัทที่ตอบโจทย์ชนชั้นกลางที่อยากมีบ้านได้ดีที่สุด และมั่นใจในตัว "เจ้าของ" ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ที่ถือหุ้นไว้จำนวนมากถ้าหุ้นตกเขาย่อมเจ็บกว่าแน่นอน ทำให้มั่นใจเต็มร้อยว่าเลือกหุ้นไม่ผิด
"ปี 2551 ผมเล่นหุ้นพฤกษา เรียลเอสเตทถึง 20 รอบ แต่พอปีนี้ราคาเริ่มสูงก็ขายออกไปรอเล่นรอบใหม่"
ผ่านมา 4 ปี พอร์ตลงทุนของสง่าโตขึ้นมาอยู่ในระดับ 50 ล้านบาท สิ่งที่เซียนหุ้นรุ่นใหม่ต้องท่องเป็นประจำคือ "อย่าโลภมาก" หุ้นทุกตัวที่เข้าไปลงทุนเขาจะตั้ง "เป้าหมายกำไร" เมื่อถึงเป้าก็ต้อง "ขาย" โดยปกติจะตั้งไว้ที่ 20% และตั้งจุด Stop Loss (หยุดขาดทุน) ไว้ที่ลง 10% ต้องตัดขายทันที
"ที่เล่นมาเคย Cut Loss หนักสุด 3 ล้านบาทไม่งั้นขาดทุนแน่ๆ 6-7 ล้านบาทแต่ถ้ารีบขายก่อนอาทิตย์หนึ่งจะขาดทุนแค่ล้านเดียว ประสบการณ์เลยสอนผมว่าต้องกล้าตัดสินใจ(ถึงขาดทุนก็ต้องกล้าขาย)"
เซียนนิดที่มีพอร์ตไม่นิดบอกว่า จากประสบการณ์ถ้าอยากได้กำไรเยอะๆ ต้องเล่นหุ้นขนาดกลางหรือเล็กที่มี "พื้นฐานดี" (ไม่ใช่หุ้นปั่น) และจะได้แรงบวกต้องเป็นธุรกิจกำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" หุ้นพวกนี้เวลาขึ้นมีโอกาสได้กำไรเกิน 20% แต่ถ้าเป็นหุ้นขนาดใหญ่จะมีโอกาสแบบนี้ไม่บ่อย สำหรับรอบนี้ที่ได้กำไรเป็นเนื้อเป็นหนังคือหุ้น BCP และ THCOM กำไรประมาณ 50% แต่ตอนนี้ขายไปหมดแล้ว
"การลงทุนในตลาดหุ้นคือการอยู่กับอนาคต อย่าดูแต่ปัจจุบัน ต้องมองไปข้างหน้า" เซียนนิดย้ำ
ที่สำคัญในตลาดหุ้นอะไรก็ไม่แน่นอนทั้งนั้น จึงต้องมี "เงินสดติดกระเป๋า" ไว้ตลอดเวลา ถ้ามีเงิน 100 บาท ส่วนตัวจะพยายามเก็บเงินสดไว้ 40% เสมอๆ เพราะโอกาสซื้อ ของถูก ไม่ได้มีมาบ่อยๆ เขายกสัจธรรมที่สุดแสนจะเบสิคแต่ใช้ได้ดีเสมอว่า จงเข้าซื้อเมื่อหุ้นตก และจงขายเมื่อหุ้นขึ้น ง่ายๆ อย่างงี้แหละ!
"ผมมองว่านักลงทุนไทยส่วนใหญ่ใจไม่เย็นพอ และบางคนเอาเงินร้อนมาเล่นด้วยของผมจะใช้เงินเย็นมาลงทุน และไม่เคยซี้ซั้วจะค่อยๆ ดูทีละตัว"
ส่วนหลักการจำกัดความเสี่ยง ง่ายๆ คือ อย่าไปลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ หรือรู้น้อยกว่าคนอื่น จะต้องรู้ให้มากกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ ข้อจำกัดของตลาดหุ้นไทยคือตลาดเล็กและคนมีเงินเยอะๆ สามารถคุมหุ้นได้ นักลงทุนที่รู้ทีหลังค่อนข้างเสียเปรียบ ก่อนลงทุนจำเป็นต้อง "เช็คข่าว" ต่อสายคุยกับนักวิเคราะห์คุยกับคนในวงการหาข่าวก่อนลงทุนจะปลอดภัย เราไม่จำเป็นต้องรู้มากที่สุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าคนอื่น
สง่าบอกว่าพอร์ตของเขาโตมากช่วงปลายปี 2551 ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์ม ก่อนหุ้นจะตกใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม 2551 นักลงทุนที่ตามข่าวจะได้กลิ่นไม่ดีมาก่อนแล้วอยู่ที่ว่าใครจะตัดสินใจอย่างไร ส่วนตัวเองเลือกที่จะ "เผ่น"
"ผมคุยกับรุ่นพี่ที่เล่นหุ้นมา 20 ปีเขาบอกว่าถ้าเป็นเขาจะขายหุ้นทิ้ง ผมก็ฟังข่าววิเคราะห์ต่อแล้วจึงตัดสินใจ Cut Loss ยอมขายขาดทุนตอนนั้นเจ็บหนักที่สุด 3 ล้านบาทแล้วถือเงินสดรอ จากนั้นก็นั่งดูหุ้นตัวใหญ่ๆ อย่าง PTT, BANPU ราคาตกเอาๆ ผมเอาเงินสดที่มีอยู่มารับไว้ หลังจากนั้นไม่นานหุ้นที่ซื้อไว้บางตัวราคาขึ้นเป็นเท่าตัว ช่วงนั้นถือว่าทำให้พอร์ตโตมากที่สุด"
นอกจากลงทุนหุ้นไทยแล้ว สง่ายังแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนผ่านกองทุนผสมสัญญาประกันชีวิต บริหารโดย เอไอจี ที่ประเทศฮ่องกง มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ไม่ใช่หุ้น เช่น น้ำมัน ทองคำ ฯลฯ จุดประสงค์เพื่อเก็บออมเงินระยะยาวเอาไว้ให้ "ไกลมือ"
นอกจากนี้ยังนำกำไรไปซื้อสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ซื้อที่ดิน และซื้อคอนโดมิเนียมให้เช่า สง่าตั้งเป้าหมายชีวิตว่า พอถึงอายุ 55 ปี ก็จะเกษียณตัวเองจากงานประจำ หลังจากนั้นจะใช้เงินเก็บที่สะสมมาจากการทำธุรกิจส่วนตัวและการลงทุนใช้ชีวิตอย่างสบายๆ
อย่างไรก็ตามความสำเร็จในตลาดหุ้นต้องมีทั้งสีขาวและสีดำ มีขึ้นและมีลง แต่คนที่จะยืนบนเวทีนี้ได้ในระยะยาวสำคัญที่สุด "ต้องมีวินัย"
"ถ้าขาดทุนต้องรับกับมันได้ ถ้ากำไรก็อย่าดีใจกับมันมาก เห็นหุ้นวิ่งอย่าแหกกฎของตัวเอง เหมือนกฎหมายถ้าใครไม่ทำตามมันก็มีบทลงโทษรออยู่ ถ้าคิดว่าทำตามไม่ได้ก็อย่าตั้งกฎให้ตัวเอง" ง่ายๆ แต่ไม่ง่าย สง่า ตั้งจันสิริ เซียนรุ่นใหม่ที่กำลังไต่ระดับมาพร้อมกับวิกฤติ..ลูกไม่ไกลต้นของครอบครัวทียูเอฟ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ัย-32.html
อิจฉาครับ เขาทำได้อย่างไรนะ คิดไปคิดมา ผมทำตามเขาไม่ได้หรอก เอาแบบเดิมที่เป็นอยู่นี่แหระดีแล้ว รวยช้า แต่ชัวร์หรือป่าว ผมเองก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ
จากเงินก้อนแรก 500,000 บาท เล่นหุ้น 4 ปี วันนี้เขามีพอร์ตแล้ว 50 ล้าน ชายหนุ่มวัย32 'โนเนม' แต่ไม่ 'โนวิชั่น' สง่า ตั้งจันสิริ ...
แท้ที่จริงตระกูลตั้งจันสิริ ไม่ใช่โนบอดี้ในวงการธุรกิจ ทายาทหนุ่มวัย 32 ปี อาสาพาไปรู้จักเคล็ดลับความสำเร็จของตัวเอง ที่วันนี้มีพอร์ตเล่นหุ้นเป็นตัวเป็นตนแล้ว 50 ล้านบาท แม้ไม่มากแต่ถ้าดูจากจุดเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทกับระยะเวลาเพียง 4 ปี หนุ่มคนนี้ถือว่าฝีมือ "ไม่ธรรมดา"
สง่า ตั้งจันสิริ มีพื้นฐานครอบครัวอยู่ในระดับเศรษฐีของเมืองไทย บางคนอาจจะคุ้นๆกับนามสกุล "ตั้งจันสิริ" กับ "จันศิริ" ใน บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ ทียูเอฟ ใช่เลย! เขาเป็นหลานชาย ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งทียูเอฟ บริษัทผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ระดับโลก และมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง ธีรพงศ์ จันศิริ ซีอีโอทียูเอฟ ปัจจุบันสง่านั่งแท่นบริหารบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยของตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัว และรักการลงทุนในตลาดหุ้นเป็นชีวิตจิตใจ
"ตกลงครับ..แต่พอร์ตผมไม่ได้ใหญ่มากเท่าไรนะ ไม่รู้จะน่าสนใจหรือเปล่า" ชายหนุ่มวัย 32 ปี ยอมเปิดตัวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เรานัดหมายกับเขาที่ร้านกาแฟใต้อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ย่านสนามเป้า โดยมี "ก๋อย" ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ เซียนหุ้นร้อยล้าน "หลานชาย" ชนะชัย ลีนะบรรจง เป็นคนชักนำ
"นิด" ชื่อเล่นของสง่า เพียงกาแฟแก้วแรกหย่อนวางลงบนโต๊ะนิดก็รีบออกตัวก่อนว่า "หุ้นทุกตัวที่ผมไปลงทุนไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจครอบครัวแม้แต่น้อยเป็นเพียงการลงทุนส่วนตัว"
นิดบอกว่า แม้จะเติบโตมากับธุรกิจอาหารทะเลของครอบครัวตั้งแต่เด็ก แต่ขอเลือกที่จะเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจของตัวเอง หลังจบปริญญาตรีที่เอแบคด้านประกันภัยก็มาเปิดบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยซึ่งบริหารมาแล้ว 8 ปี และยังร่วมลงขันกับเพื่อนขายเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจรับสแกนหนังสือ และมีร้านกาแฟของตัวเอง
ก้าวแรกในตลาดหุ้นของสง่า เพิ่งเริ่มเมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังบูมตอนนั้นคือ "อยากลอง" และได้รู้จักกับผู้ใหญ่ในวงการหลักทรัพย์แนะนำให้ลองลงทุนดูบอกว่าดีกว่าเงินฝาก โดยปัจจุบันมีพอร์ตลงทุนอยู่ที่ บล.เคที ซีมิโก้ เป็นหลัก
สำหรับเงินลงทุนก้อนแรก นิดเล่าว่าเริ่มจากเงิน 500,000 บาท เริ่มนับหนึ่งจากหุ้นบลูชิพพิมพ์นิยมอย่าง BANPU, PTT, PTTEP และแน่นอนต้องมี TUF ด้วยเพราะเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยมี ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ "เพื่อนซี้" ที่เรียนด้วยกันมาตั้งแต่ป.1 เป็นที่ปรึกษา และทุกวันนี้หัวข้อหลักในการสนทนาระหว่างเพื่อนก็คือเรื่องหุ้นที่ฝังอยู่ในสายเลือดโดยไม่รู้ตัว
วิธีการลงทุนของเซียนหุ้นรายนี้ เขาจะแบ่งพอร์ตลงทุนออกเป็น "สามส่วน" คือ สั้น-กลาง-ยาว ถ้าเป็นหุ้นบลูชิพชั้นดี "เกรดเอ" ถ้าถือต้นทุนต่ำก็จะถือยาว 2-3 ปี โดยจะดูที่ Dividend Yield ถ้าอยู่ประมาณ 5-6% ก็จะถือไว้กินปันผล ส่วนหุ้น TUF จะไม่แตะ (ขาย) เลยเพราะปันผลดีมาก อีกตัวที่ชอบคือ CSL ที่ทำธุรกิจเป็นเงินสดแถมจ่ายปันผลดีปีละ 2-3 ครั้ง
ส่วนพอร์ต "ระยะกลาง" จะเน้นหุ้นกลุ่มแบงก์กับอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเป็นพอร์ต "ระยะสั้น" จะเน้นเล่นหุ้นหวือหวาโดยจะ "เล่นตามข่าว" (หุ้นมีสตอรี่) ถ้าเล่นสั้นจะ "ไม่ถือนาน" แต่บางครั้งจะสลับตัวเล่น "กลาง-สั้น" ตามความเหมาะสม
สำหรับหุ้นกลุ่มที่เล่นเป็นประจำ ยังคงเป็น "พลังงาน" กับ "แบงก์" ที่ผ่านมาได้กำไรมาตลอด ส่วนหุ้นที่โปรดปรานเป็นพิเศษอันดับหนึ่งคือ TUF เพราะโตมากับธุรกิจนี้ ปัจจุบันถือ TUF อยู่ในพอร์ต "มากที่สุด" โดยหุ้นบางส่วนได้รับโอนมาจาก "คุณพ่อ" ตอนก่อนแต่งงาน มีต้นทุนที่ 10 บาทแต่ไม่เคยขายและไม่คิดจะขายด้วย
อีกตัวที่ชื่นชอบเป็นพิเศษคือ PS เพราะเป็นบริษัทที่ตอบโจทย์ชนชั้นกลางที่อยากมีบ้านได้ดีที่สุด และมั่นใจในตัว "เจ้าของ" ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ที่ถือหุ้นไว้จำนวนมากถ้าหุ้นตกเขาย่อมเจ็บกว่าแน่นอน ทำให้มั่นใจเต็มร้อยว่าเลือกหุ้นไม่ผิด
"ปี 2551 ผมเล่นหุ้นพฤกษา เรียลเอสเตทถึง 20 รอบ แต่พอปีนี้ราคาเริ่มสูงก็ขายออกไปรอเล่นรอบใหม่"
ผ่านมา 4 ปี พอร์ตลงทุนของสง่าโตขึ้นมาอยู่ในระดับ 50 ล้านบาท สิ่งที่เซียนหุ้นรุ่นใหม่ต้องท่องเป็นประจำคือ "อย่าโลภมาก" หุ้นทุกตัวที่เข้าไปลงทุนเขาจะตั้ง "เป้าหมายกำไร" เมื่อถึงเป้าก็ต้อง "ขาย" โดยปกติจะตั้งไว้ที่ 20% และตั้งจุด Stop Loss (หยุดขาดทุน) ไว้ที่ลง 10% ต้องตัดขายทันที
"ที่เล่นมาเคย Cut Loss หนักสุด 3 ล้านบาทไม่งั้นขาดทุนแน่ๆ 6-7 ล้านบาทแต่ถ้ารีบขายก่อนอาทิตย์หนึ่งจะขาดทุนแค่ล้านเดียว ประสบการณ์เลยสอนผมว่าต้องกล้าตัดสินใจ(ถึงขาดทุนก็ต้องกล้าขาย)"
เซียนนิดที่มีพอร์ตไม่นิดบอกว่า จากประสบการณ์ถ้าอยากได้กำไรเยอะๆ ต้องเล่นหุ้นขนาดกลางหรือเล็กที่มี "พื้นฐานดี" (ไม่ใช่หุ้นปั่น) และจะได้แรงบวกต้องเป็นธุรกิจกำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" หุ้นพวกนี้เวลาขึ้นมีโอกาสได้กำไรเกิน 20% แต่ถ้าเป็นหุ้นขนาดใหญ่จะมีโอกาสแบบนี้ไม่บ่อย สำหรับรอบนี้ที่ได้กำไรเป็นเนื้อเป็นหนังคือหุ้น BCP และ THCOM กำไรประมาณ 50% แต่ตอนนี้ขายไปหมดแล้ว
"การลงทุนในตลาดหุ้นคือการอยู่กับอนาคต อย่าดูแต่ปัจจุบัน ต้องมองไปข้างหน้า" เซียนนิดย้ำ
ที่สำคัญในตลาดหุ้นอะไรก็ไม่แน่นอนทั้งนั้น จึงต้องมี "เงินสดติดกระเป๋า" ไว้ตลอดเวลา ถ้ามีเงิน 100 บาท ส่วนตัวจะพยายามเก็บเงินสดไว้ 40% เสมอๆ เพราะโอกาสซื้อ ของถูก ไม่ได้มีมาบ่อยๆ เขายกสัจธรรมที่สุดแสนจะเบสิคแต่ใช้ได้ดีเสมอว่า จงเข้าซื้อเมื่อหุ้นตก และจงขายเมื่อหุ้นขึ้น ง่ายๆ อย่างงี้แหละ!
"ผมมองว่านักลงทุนไทยส่วนใหญ่ใจไม่เย็นพอ และบางคนเอาเงินร้อนมาเล่นด้วยของผมจะใช้เงินเย็นมาลงทุน และไม่เคยซี้ซั้วจะค่อยๆ ดูทีละตัว"
ส่วนหลักการจำกัดความเสี่ยง ง่ายๆ คือ อย่าไปลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ หรือรู้น้อยกว่าคนอื่น จะต้องรู้ให้มากกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ ข้อจำกัดของตลาดหุ้นไทยคือตลาดเล็กและคนมีเงินเยอะๆ สามารถคุมหุ้นได้ นักลงทุนที่รู้ทีหลังค่อนข้างเสียเปรียบ ก่อนลงทุนจำเป็นต้อง "เช็คข่าว" ต่อสายคุยกับนักวิเคราะห์คุยกับคนในวงการหาข่าวก่อนลงทุนจะปลอดภัย เราไม่จำเป็นต้องรู้มากที่สุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าคนอื่น
สง่าบอกว่าพอร์ตของเขาโตมากช่วงปลายปี 2551 ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์ม ก่อนหุ้นจะตกใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม 2551 นักลงทุนที่ตามข่าวจะได้กลิ่นไม่ดีมาก่อนแล้วอยู่ที่ว่าใครจะตัดสินใจอย่างไร ส่วนตัวเองเลือกที่จะ "เผ่น"
"ผมคุยกับรุ่นพี่ที่เล่นหุ้นมา 20 ปีเขาบอกว่าถ้าเป็นเขาจะขายหุ้นทิ้ง ผมก็ฟังข่าววิเคราะห์ต่อแล้วจึงตัดสินใจ Cut Loss ยอมขายขาดทุนตอนนั้นเจ็บหนักที่สุด 3 ล้านบาทแล้วถือเงินสดรอ จากนั้นก็นั่งดูหุ้นตัวใหญ่ๆ อย่าง PTT, BANPU ราคาตกเอาๆ ผมเอาเงินสดที่มีอยู่มารับไว้ หลังจากนั้นไม่นานหุ้นที่ซื้อไว้บางตัวราคาขึ้นเป็นเท่าตัว ช่วงนั้นถือว่าทำให้พอร์ตโตมากที่สุด"
นอกจากลงทุนหุ้นไทยแล้ว สง่ายังแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนผ่านกองทุนผสมสัญญาประกันชีวิต บริหารโดย เอไอจี ที่ประเทศฮ่องกง มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ไม่ใช่หุ้น เช่น น้ำมัน ทองคำ ฯลฯ จุดประสงค์เพื่อเก็บออมเงินระยะยาวเอาไว้ให้ "ไกลมือ"
นอกจากนี้ยังนำกำไรไปซื้อสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ซื้อที่ดิน และซื้อคอนโดมิเนียมให้เช่า สง่าตั้งเป้าหมายชีวิตว่า พอถึงอายุ 55 ปี ก็จะเกษียณตัวเองจากงานประจำ หลังจากนั้นจะใช้เงินเก็บที่สะสมมาจากการทำธุรกิจส่วนตัวและการลงทุนใช้ชีวิตอย่างสบายๆ
อย่างไรก็ตามความสำเร็จในตลาดหุ้นต้องมีทั้งสีขาวและสีดำ มีขึ้นและมีลง แต่คนที่จะยืนบนเวทีนี้ได้ในระยะยาวสำคัญที่สุด "ต้องมีวินัย"
"ถ้าขาดทุนต้องรับกับมันได้ ถ้ากำไรก็อย่าดีใจกับมันมาก เห็นหุ้นวิ่งอย่าแหกกฎของตัวเอง เหมือนกฎหมายถ้าใครไม่ทำตามมันก็มีบทลงโทษรออยู่ ถ้าคิดว่าทำตามไม่ได้ก็อย่าตั้งกฎให้ตัวเอง" ง่ายๆ แต่ไม่ง่าย สง่า ตั้งจันสิริ เซียนรุ่นใหม่ที่กำลังไต่ระดับมาพร้อมกับวิกฤติ..ลูกไม่ไกลต้นของครอบครัวทียูเอฟ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ัย-32.html
อิจฉาครับ เขาทำได้อย่างไรนะ คิดไปคิดมา ผมทำตามเขาไม่ได้หรอก เอาแบบเดิมที่เป็นอยู่นี่แหระดีแล้ว รวยช้า แต่ชัวร์หรือป่าว ผมเองก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
news
โพสต์ที่ 2
ความคิดเห็นที่ 7
dd , 14 กันยายน 2552 16:35
สวัสดีครับ ผมสง่าเองครับ ก่อนที่จะอธิบายอะไร ต้องขอบอกก่อนว่าตกใจเหมือนกันตอนที่เห็นหัวข้อข่าวนี้ ผมจะบอกว่า หลังจากมาอ่านแล้ว เนื้อหาดูจะคลาดเคลื่อนอยู่หลายตัว ผมขออนุญาตชี้แจงดีกว่า
1. ข้อแรกเลย คือ คุณพ่อผมยังสบายดีนะครับ ยังไม่เสียชีวิต เป็นหุ้นที่โอนให้ตอนแต่งงานครับ
2. เงินเริ่มต้น จริงๆแล้วต้องบอกว่า เงินสด500,000 บาท + หุ้นมูลค่า 5,000,000 บาท= 5,500,000 บาทครับ
3. เรื่องที่บอกว่าเกินจริงเนี่ย ลองอ่านซักนิดนึงนะครับ ผมจะบอกว่า ใครที่เริ่มต้นเล่นหุ้นพร้อมๆกับผม (และโดนไม่หนักเมื่อปีที่แล้ว) ก็น่าจะบวกมากโขอยู่ ผมให้หลักคำนวนแบบง่ายๆนะครับ ว่าถ้าผมเริ่มต้น 4 ปีที่แล้วด้วยเงิน 5,500,000 บาท และผมสามารถเพิ่มมูลค่าได้เฉลี่ยซัก 3-5% ต่อเดือน ลองกดบวก 3-5% ไป 48 เดือนดูสิครับ ผมว่า ไม่ไกลความจริงนะครับ ซึ่งในความเป็นจริง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหุ้นหลายตัวมากกกก ที่ให้กำไรเกิน 100% คิดเล่นๆว่า ถ้าบังเอิญผมโชคดี ใช้เงินครึ่งนึงในพอร์ต ซื้อตัวนั้นล่ะ
4. เรื่องคุณพ่อเป็นเจ้าของบริษัทจดทะเบียนแล้วผมจะสบายเนี่ย ผมคงต้องบอกว่า มันช่วยผมแค่ทุนเริ่มต้นครับ และผมก็ไม่เคยทำงานเฉียดกับกิจการของที่บ้านเลย เพราะผมหัวแข็งเกินกว่าจะทำได้ อีกอย่างก็คือ คุณพ่อผมเข้มงวดมากเรื่องการใช้จ่าย เพราะครอบครัวผมเคยลำบากมาก่อน ดังนั้น ผมไม่ได้รวยอย่างที่ทุกคนคิดหรอกครับ จริงๆผมเองรู้สึกไม่สบายใจตั้งแต่เห็ยหัวข้อ "สมการความรวย" แล้ว ว่ามันดูน่าหมั่นไส้มาก เพราะในความเป็นจริง ผมมีแค่ใบหุ้น ไม่มีเงินมากมายหรอกครับ
อย่างไรก็ดี ผมแค่หวังว่า คอลัมท์นี้จะมีประโยชน์กับท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย และขอให้โชคดีกับการลงทุนทุกท่านครับ
สง่า ตั้งจันสิริ
อ๋อ.... เจ้าตัวออกมาชี้แจ้งแล้ว
dd , 14 กันยายน 2552 16:35
สวัสดีครับ ผมสง่าเองครับ ก่อนที่จะอธิบายอะไร ต้องขอบอกก่อนว่าตกใจเหมือนกันตอนที่เห็นหัวข้อข่าวนี้ ผมจะบอกว่า หลังจากมาอ่านแล้ว เนื้อหาดูจะคลาดเคลื่อนอยู่หลายตัว ผมขออนุญาตชี้แจงดีกว่า
1. ข้อแรกเลย คือ คุณพ่อผมยังสบายดีนะครับ ยังไม่เสียชีวิต เป็นหุ้นที่โอนให้ตอนแต่งงานครับ
2. เงินเริ่มต้น จริงๆแล้วต้องบอกว่า เงินสด500,000 บาท + หุ้นมูลค่า 5,000,000 บาท= 5,500,000 บาทครับ
3. เรื่องที่บอกว่าเกินจริงเนี่ย ลองอ่านซักนิดนึงนะครับ ผมจะบอกว่า ใครที่เริ่มต้นเล่นหุ้นพร้อมๆกับผม (และโดนไม่หนักเมื่อปีที่แล้ว) ก็น่าจะบวกมากโขอยู่ ผมให้หลักคำนวนแบบง่ายๆนะครับ ว่าถ้าผมเริ่มต้น 4 ปีที่แล้วด้วยเงิน 5,500,000 บาท และผมสามารถเพิ่มมูลค่าได้เฉลี่ยซัก 3-5% ต่อเดือน ลองกดบวก 3-5% ไป 48 เดือนดูสิครับ ผมว่า ไม่ไกลความจริงนะครับ ซึ่งในความเป็นจริง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหุ้นหลายตัวมากกกก ที่ให้กำไรเกิน 100% คิดเล่นๆว่า ถ้าบังเอิญผมโชคดี ใช้เงินครึ่งนึงในพอร์ต ซื้อตัวนั้นล่ะ
4. เรื่องคุณพ่อเป็นเจ้าของบริษัทจดทะเบียนแล้วผมจะสบายเนี่ย ผมคงต้องบอกว่า มันช่วยผมแค่ทุนเริ่มต้นครับ และผมก็ไม่เคยทำงานเฉียดกับกิจการของที่บ้านเลย เพราะผมหัวแข็งเกินกว่าจะทำได้ อีกอย่างก็คือ คุณพ่อผมเข้มงวดมากเรื่องการใช้จ่าย เพราะครอบครัวผมเคยลำบากมาก่อน ดังนั้น ผมไม่ได้รวยอย่างที่ทุกคนคิดหรอกครับ จริงๆผมเองรู้สึกไม่สบายใจตั้งแต่เห็ยหัวข้อ "สมการความรวย" แล้ว ว่ามันดูน่าหมั่นไส้มาก เพราะในความเป็นจริง ผมมีแค่ใบหุ้น ไม่มีเงินมากมายหรอกครับ
อย่างไรก็ดี ผมแค่หวังว่า คอลัมท์นี้จะมีประโยชน์กับท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย และขอให้โชคดีกับการลงทุนทุกท่านครับ
สง่า ตั้งจันสิริ
อ๋อ.... เจ้าตัวออกมาชี้แจ้งแล้ว
- pongo
- Verified User
- โพสต์: 1075
- ผู้ติดตาม: 0
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 4
เงินเริ่มต้น จริงๆแล้วต้องบอกว่า เงินสด500,000 บาท + หุ้นมูลค่า 5,000,000 บาท= 5,500,000 บาทครับ
ก็ว่าอยู่ตั้งกะอ่านฉบับ hard copy ตอนเช้าแล้ว
5 แสนบาท (เฉพาะเงินสด) เป็น 50 ลบ. ภายใน 4 ปี โอกาสแทบไม่น่าเป็นไปได้ (โดยไม่มี insider)
นสพ. นี่ ใส่สีตีไข่จริงๆ
ก็ว่าอยู่ตั้งกะอ่านฉบับ hard copy ตอนเช้าแล้ว
5 แสนบาท (เฉพาะเงินสด) เป็น 50 ลบ. ภายใน 4 ปี โอกาสแทบไม่น่าเป็นไปได้ (โดยไม่มี insider)
นสพ. นี่ ใส่สีตีไข่จริงๆ
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 6
3-5% ต่อเดือน ชนะ 48 เดือน
ผมอ่านบทความตอนเช้าบนหนังสือพิมพ์อึ้งแล้ว เจอคำตอบนี้อึ้งกว่าอีก
คารวะในฝีมือเทรดจริง ๆ
ผมอ่านบทความตอนเช้าบนหนังสือพิมพ์อึ้งแล้ว เจอคำตอบนี้อึ้งกว่าอีก
คารวะในฝีมือเทรดจริง ๆ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- kubo
- Verified User
- โพสต์: 249
- ผู้ติดตาม: 0
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 7
2. เงินเริ่มต้น จริงๆแล้วต้องบอกว่า เงินสด500,000 บาท + หุ้นมูลค่า 5,000,000 บาท= 5,500,000 บาทครับ
โดยหุ้นบางส่วนได้รับโอนมาจาก "คุณพ่อ" ตอนก่อนแต่งงาน มีต้นทุนที่ 10 บาท
แสดงว่าได้ หุ้นมา 500,000 หุ้นสิครับ
TUF
งบปี 48
31/12/2548
ราคาล่าสุด(บาท) 30.50
500,000+(30.50*500,000) ประมาณ สามสิบล้าน น่าจะเป็นทุนเริ่มแรกของเขาถูกไหมครับ?
โดยหุ้นบางส่วนได้รับโอนมาจาก "คุณพ่อ" ตอนก่อนแต่งงาน มีต้นทุนที่ 10 บาท
แสดงว่าได้ หุ้นมา 500,000 หุ้นสิครับ
TUF
งบปี 48
31/12/2548
ราคาล่าสุด(บาท) 30.50
500,000+(30.50*500,000) ประมาณ สามสิบล้าน น่าจะเป็นทุนเริ่มแรกของเขาถูกไหมครับ?
“It is only with the heart that one can see rightly; what is essential is invisible to the eye.”
~ Antoine de Saint-Exupery, "The Little Prince"
~ Antoine de Saint-Exupery, "The Little Prince"
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 9
คุณสง่าเค้าชี้แจงไว้ที่ไหนครับ.. อ่านที่แรกนึกว่าเจ้าตัวมาโพสต์ชี้แจงที่ไทยวีไอ..
เห็นว่าเป็นก๊วนเสี่ยก๋อยแห่งเพิ่มสินสตีลเวิร์กซะด้วย... น่าจะได้กะอินไซต์เดอร์ ไปเยอะอยู่นะ...
เห็นว่าเป็นก๊วนเสี่ยก๋อยแห่งเพิ่มสินสตีลเวิร์กซะด้วย... น่าจะได้กะอินไซต์เดอร์ ไปเยอะอยู่นะ...
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 11
ผมว่าที่ถูกต้อง ที่ว่า Port โตเป็นกี่เท่า ควรคำนวณจากเงินในPort/เงินทุน
ในเวลานั้นมากกว่า เพราะคนที่ลงทุนในหุ้นก็ลงทุนน้อยๆก่อนทั้งนั้น
จากนั้นก็ค่อยๆเติมเงินใหม่เข้าไป (เงินใหม่คือเงินทุนใหม่จริงๆ ไม่ใช่เงิน
ปันผล หรือเงินกำไรจากมูลค่าหุ้น)
เช่น นาย ก เริ่มจากเงิน 1 แสน บาท ในระหว่าง 4 ปีนี้เติมเงินเข้าไป
อีก 9 แสนบาท ปัจจุบัน Port = 5 ล้านบาท ก็แสดงว่า Port โตขึ้น
5 เท่า(โดยคิดจากเงินต้น 1 ล้านบาท) ไม่ใช่ Port โตขึ้น 50 เท่าจากเงินต้น
1 แสนบาท
ในเวลานั้นมากกว่า เพราะคนที่ลงทุนในหุ้นก็ลงทุนน้อยๆก่อนทั้งนั้น
จากนั้นก็ค่อยๆเติมเงินใหม่เข้าไป (เงินใหม่คือเงินทุนใหม่จริงๆ ไม่ใช่เงิน
ปันผล หรือเงินกำไรจากมูลค่าหุ้น)
เช่น นาย ก เริ่มจากเงิน 1 แสน บาท ในระหว่าง 4 ปีนี้เติมเงินเข้าไป
อีก 9 แสนบาท ปัจจุบัน Port = 5 ล้านบาท ก็แสดงว่า Port โตขึ้น
5 เท่า(โดยคิดจากเงินต้น 1 ล้านบาท) ไม่ใช่ Port โตขึ้น 50 เท่าจากเงินต้น
1 แสนบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์ที่ 13
ใช่แล้ว ใน Thai VI มีเทพอยู่มากหลาย คุณ Beammy ก็เป็นหนึ่งในนั้น
555 ยอกันเองดีกว่า แต่คุณ Beammy ก็เทพจริงๆ อ่านตลาดออกตั้งแต่
เริ่มมีวิกฤต สามารถหนีออกทัน (ซึ่งมีน้อยคนนักที่ทำได้) จนถึงการซื้อ
และ shift ระหว่าง STPI และ SVI ทำได้ระดับเซียนจริงๆ
555 ยอกันเองดีกว่า แต่คุณ Beammy ก็เทพจริงๆ อ่านตลาดออกตั้งแต่
เริ่มมีวิกฤต สามารถหนีออกทัน (ซึ่งมีน้อยคนนักที่ทำได้) จนถึงการซื้อ
และ shift ระหว่าง STPI และ SVI ทำได้ระดับเซียนจริงๆ