อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
-
- Verified User
- โพสต์: 100
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 61
ผมเริ่มยิง ไปบ้างแล้ว แต่ยิ่ง ยิง ยิ่งแดงแฮะ :evil:
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 62
ก.อุตฯรับลูกอุ้ม"รถยนต์-ชิ้นส่วน" ชงลดภาษี-ดึง"มาร์ค"นั่งประธานพัฒนายานยนต์
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเดินหน้าเสนอรัฐออกมาตรการช่วยเหลือด่วน ยื่นขอลดภาษีสรรพสามิตรถทุกชนิดลง 3% พร้อมขอลดหย่อนภาษีเงินได้จากการซื้อรถ 50,000 บาท หวังกระตุ้นกำลังซื้อรถภายในประเทศ ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมรับลูกเตรียมดันขอเสนอเข้า ครม.เศรษฐกิจสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรม อันได้แก่สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย, สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยนายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการหารือทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเอกชนได้นำเสนอมาตรการเร่งด่วนต่อ ภาครัฐ 4 มาตรการ ได้แก่ 1.ขอการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยใช้มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นการชั่วคราว 1 ปี คือขอลดภาษีสรรพสามิตของรถทุกประเภท 3% และสามารถนำเอาเอกสารการซื้อรถมายื่นลดหย่อนภาษีเงินได้ 50,000 บาท
2.บรรเทาปัญหาแรงงาน ด้วยการรักษาแรงงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งระดับล่าง ระดับกลาง จนถึงระดับบน โดยการฝึกอบรม และแผนเพิ่มผลิตภาพของกระทรวงอุตสาหกรรม
3.มาตรการด้านการเงิน ผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่อสำหรับการเช่าซื้อรถยนต์ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรหรือพ่อค้าที่ไม่มีหลักฐานทางการเงิน 4.การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ แห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อดูแลภาพรวมในด้านนโยบาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสีย รายได้ของรัฐจากการลดภาษีสรรพสามิต, การกระตุ้นให้เกิดการซื้อรถมากขึ้น, การชะลอการจ้างงาน เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภาย ในสัปดาห์นี้ และสามารถเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อพิจารณาอนุมัติได้ ในสัปดาห์หน้า
"โดยภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันสามารถเก็บภาษีสรรพสามิตได้ประมาณปีละ 60,000 ล้านบาท ก็ต้องมาศึกษารายละเอียดว่าปัจจุบันรถที่เสียภาษี มีประเภทใดบ้าง, ปริมาณเท่าไหร่, ราคาเท่าใดบ้าง จึงจะได้ข้อสรุปแน่ชัดว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้เท่าใด และการลดภาษีนี้เอกชนก็จะต้องลดราคาจำหน่ายลงด้วย เพื่อเกิดแรงจูงใจในการซื้อเพิ่มขึ้น ผล ต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดการผลิตและการจ้างงานก็จะยังมีอยู่ต่อเนื่อง" นายดำริกล่าว
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ประเภทของรถยนต์ที่เสียภาษีสรรพสามิตอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 1.รถกระบะ ประเภท 2 ประตูเสียภาษีอยู่ 3% รถประเภท 4 ประตู เสียภาษีอยู่ 12% และ 5 ประตู (PPV) เสียภาษีอยู่ 20% 2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ขนาด 2000 ซีซี เสียภาษีอยู่ 30%, ขนาด 2000-2500 ซีซี เสียภาษี 35%, ขนาด 3000 ซีซี เสียภาษี 40% และขนาดเกิน 3000 ซีซี หรือมากกว่า 220 แรงม้า เสียภาษีอยู่ 50%
ทั้งนี้ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มีมูลค่าการส่งออกแต่ละปีมากกว่า 7 แสนล้านบาท เป็นอันดับ 2 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ ซึ่งผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ยอดขายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ของอุตสาหกรรมลดลง 40%
และคาดว่ายอดการผลิตเพื่อการส่งออกในปี 2552 จะลดลงประมาณ 25% ส่งผลให้กำลังการผลิตในปี 2552 ลดลงเหลือ 59.9% ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่จะถูกเลิกจ้างถึง 46,100 คน จากจำนวนการจ้างงานรวม 350,000 คน
ดังนั้นรัฐบาลและภาคเอกชนจะต้องมาร่วมมือแก้ปัญหาให้อุตสาหกรรมอยู่รอดและไม่ให้เกิดการเลิกจ้าง หรือมีการเลิกจ้างให้น้อยที่สุด
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเดินหน้าเสนอรัฐออกมาตรการช่วยเหลือด่วน ยื่นขอลดภาษีสรรพสามิตรถทุกชนิดลง 3% พร้อมขอลดหย่อนภาษีเงินได้จากการซื้อรถ 50,000 บาท หวังกระตุ้นกำลังซื้อรถภายในประเทศ ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมรับลูกเตรียมดันขอเสนอเข้า ครม.เศรษฐกิจสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรม อันได้แก่สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย, สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยนายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการหารือทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเอกชนได้นำเสนอมาตรการเร่งด่วนต่อ ภาครัฐ 4 มาตรการ ได้แก่ 1.ขอการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยใช้มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศเป็นการชั่วคราว 1 ปี คือขอลดภาษีสรรพสามิตของรถทุกประเภท 3% และสามารถนำเอาเอกสารการซื้อรถมายื่นลดหย่อนภาษีเงินได้ 50,000 บาท
2.บรรเทาปัญหาแรงงาน ด้วยการรักษาแรงงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งระดับล่าง ระดับกลาง จนถึงระดับบน โดยการฝึกอบรม และแผนเพิ่มผลิตภาพของกระทรวงอุตสาหกรรม
3.มาตรการด้านการเงิน ผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่อสำหรับการเช่าซื้อรถยนต์ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรหรือพ่อค้าที่ไม่มีหลักฐานทางการเงิน 4.การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ แห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อดูแลภาพรวมในด้านนโยบาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสีย รายได้ของรัฐจากการลดภาษีสรรพสามิต, การกระตุ้นให้เกิดการซื้อรถมากขึ้น, การชะลอการจ้างงาน เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภาย ในสัปดาห์นี้ และสามารถเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเพื่อพิจารณาอนุมัติได้ ในสัปดาห์หน้า
"โดยภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันสามารถเก็บภาษีสรรพสามิตได้ประมาณปีละ 60,000 ล้านบาท ก็ต้องมาศึกษารายละเอียดว่าปัจจุบันรถที่เสียภาษี มีประเภทใดบ้าง, ปริมาณเท่าไหร่, ราคาเท่าใดบ้าง จึงจะได้ข้อสรุปแน่ชัดว่ารัฐบาลจะสูญเสียรายได้เท่าใด และการลดภาษีนี้เอกชนก็จะต้องลดราคาจำหน่ายลงด้วย เพื่อเกิดแรงจูงใจในการซื้อเพิ่มขึ้น ผล ต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดการผลิตและการจ้างงานก็จะยังมีอยู่ต่อเนื่อง" นายดำริกล่าว
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ประเภทของรถยนต์ที่เสียภาษีสรรพสามิตอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย 1.รถกระบะ ประเภท 2 ประตูเสียภาษีอยู่ 3% รถประเภท 4 ประตู เสียภาษีอยู่ 12% และ 5 ประตู (PPV) เสียภาษีอยู่ 20% 2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ขนาด 2000 ซีซี เสียภาษีอยู่ 30%, ขนาด 2000-2500 ซีซี เสียภาษี 35%, ขนาด 3000 ซีซี เสียภาษี 40% และขนาดเกิน 3000 ซีซี หรือมากกว่า 220 แรงม้า เสียภาษีอยู่ 50%
ทั้งนี้ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มีมูลค่าการส่งออกแต่ละปีมากกว่า 7 แสนล้านบาท เป็นอันดับ 2 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ ซึ่งผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ยอดขายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ของอุตสาหกรรมลดลง 40%
และคาดว่ายอดการผลิตเพื่อการส่งออกในปี 2552 จะลดลงประมาณ 25% ส่งผลให้กำลังการผลิตในปี 2552 ลดลงเหลือ 59.9% ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่จะถูกเลิกจ้างถึง 46,100 คน จากจำนวนการจ้างงานรวม 350,000 คน
ดังนั้นรัฐบาลและภาคเอกชนจะต้องมาร่วมมือแก้ปัญหาให้อุตสาหกรรมอยู่รอดและไม่ให้เกิดการเลิกจ้าง หรือมีการเลิกจ้างให้น้อยที่สุด
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 64
มิตซูฯเลื่อนผลิตอีโคคาร์2ปี ลั่นพร้อมหั่นราคารถรับมาตรการภาษีรัฐบาล
"มิตซูบิชิ" ประกาศชัดเศรษฐกิจกระทบ ส่งผลชะลอผลิต"อีโคคาร์" ยืดเวลาออกไปเป็นปี 2555 ลั่นพร้อมลดราคาขายรถยนต์ลงหากรัฐให้การสนับสนุนด้านภาษี
นายมิจิโร่ อิมาอิ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงความคืบหน้า ของแผนการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์ ของบริษัท ว่า ขณะนี้ไม่มั่นใจว่า บริษัทจะสามารถเริ่มดำเนินงานในแผนการผลิตรถอีโคคาร์ ที่เดิมคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2553 ได้หรือไม่ แต่บริษัทขอยืนยันว่า รถอีโคคาร์ของ มิตซูบิชิชิจะเริ่มดำเนินการให้ทันภายในปี 2555
แต่ทั้งนี้บริษัทยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้มากกว่านี้ แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันได้ คือ อนาคตมิตซูบิชิ จะต้องมีรถยนต์ขนาดเล็กอย่างแน่นอน แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน ประกอบกับมีสถานการที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจลงทุน และขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างปรับแผนการดำเนินงานอยู่
ปีนี้ เป็นปีที่ไม่ปกติ ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ ทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก ซึ่งแน่นอนไม่เฉพาะแต่มิตซูบิชิเท่านั้น เราเชื่อว่าค่ายอื่นๆก็น่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะในส่วนของตลาดส่งออกที่วันนี้ลูกค้าเองก็ยังไม่บอกความต้องการ ทำให้คาดการณ์ได้ยากมาก"
ส่วนกรณีที่นายโอซามุ มาสุโกะ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น หรือ เอ็มเอ็มซี เข้าพบกับปลัดกระทรวงอุตสากรรม และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เพื่อชี้แจงใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (เอไอซี) 2.การแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว พร้อมทั้ง มีการเสนอ ให้รัฐบาลไทยช่วยพิจารณาเงื่อนไงบางข้อของการลงทุน ที่ขณะนี้ยังไม่การผลการตอบรับในเรื่องดังกล่าวจากรัฐบาล
และมิตซูบิชิเอง ค่อนข้างเห็นใจ และเชื่อว่าภาครัฐน่าจะมีความลำบากใจหากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขตรงนี้ และ 3.เพื่อแนะนำรถยนต์มิตซูบิชิ ไอมีฟ ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็กและใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย
สำหรับความคืบหน้าที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ใหช่วยเหลือ ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ไม่ได้มีเฉพาะแต่เครื่องของการขอลดภาษีเท่านั้น แต่ยังมีการเสนอในเรื่องอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 20 รายการ เช่น การพิจารณาเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงาน ความไม่ชัดเจนของเจ้าหน้าที่รัฐ การเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับหน่ายงานราชการ เป็นต้น
"วันนี้เรามองประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถปิกอัพที่สำคัญ ซึ่งคงไม่ง่ายหากตะมีการย้ายฐานการผลิต แต่ทั้งนี้มาตรการการช่วยเลือกในอุตสหกรรมยานยนต์นั้น รัฐบาลควรที่จะต้องมองภาพรวมของอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นหลัก เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ และมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลคงจะต้องระมัดระวังในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ"
ส่วนกรณีการขอลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลดเหลือ 3% ซึ่งจะทำให้ราคาจำหน่ายรถยนต์ ลดลงมาอีกประมาณ 15,000 บาท และหากได้รับการช่วยเหลือ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รวมทั้ง มิตซูบิชิเอง พร้อมที่จะปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์ลงมา คันละ 30,000-50,000 บาท เนื่องจากบริษัทมองว่า ขอยืนยันว่า ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีครั้งนี้จะเป็นผู้บริโภค เหมือนเช่นเดียวกับการลดภาษี อี 20 เมื่อช่วงต้นปี
"มิตซูบิชิ" ประกาศชัดเศรษฐกิจกระทบ ส่งผลชะลอผลิต"อีโคคาร์" ยืดเวลาออกไปเป็นปี 2555 ลั่นพร้อมลดราคาขายรถยนต์ลงหากรัฐให้การสนับสนุนด้านภาษี
นายมิจิโร่ อิมาอิ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงความคืบหน้า ของแผนการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กมาตรฐานสากล หรือ อีโคคาร์ ของบริษัท ว่า ขณะนี้ไม่มั่นใจว่า บริษัทจะสามารถเริ่มดำเนินงานในแผนการผลิตรถอีโคคาร์ ที่เดิมคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2553 ได้หรือไม่ แต่บริษัทขอยืนยันว่า รถอีโคคาร์ของ มิตซูบิชิชิจะเริ่มดำเนินการให้ทันภายในปี 2555
แต่ทั้งนี้บริษัทยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้มากกว่านี้ แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันได้ คือ อนาคตมิตซูบิชิ จะต้องมีรถยนต์ขนาดเล็กอย่างแน่นอน แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน ประกอบกับมีสถานการที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจลงทุน และขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างปรับแผนการดำเนินงานอยู่
ปีนี้ เป็นปีที่ไม่ปกติ ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ ทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก ซึ่งแน่นอนไม่เฉพาะแต่มิตซูบิชิเท่านั้น เราเชื่อว่าค่ายอื่นๆก็น่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะในส่วนของตลาดส่งออกที่วันนี้ลูกค้าเองก็ยังไม่บอกความต้องการ ทำให้คาดการณ์ได้ยากมาก"
ส่วนกรณีที่นายโอซามุ มาสุโกะ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น หรือ เอ็มเอ็มซี เข้าพบกับปลัดกระทรวงอุตสากรรม และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เพื่อชี้แจงใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (เอไอซี) 2.การแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว พร้อมทั้ง มีการเสนอ ให้รัฐบาลไทยช่วยพิจารณาเงื่อนไงบางข้อของการลงทุน ที่ขณะนี้ยังไม่การผลการตอบรับในเรื่องดังกล่าวจากรัฐบาล
และมิตซูบิชิเอง ค่อนข้างเห็นใจ และเชื่อว่าภาครัฐน่าจะมีความลำบากใจหากมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขตรงนี้ และ 3.เพื่อแนะนำรถยนต์มิตซูบิชิ ไอมีฟ ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็กและใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย
สำหรับความคืบหน้าที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ใหช่วยเหลือ ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ไม่ได้มีเฉพาะแต่เครื่องของการขอลดภาษีเท่านั้น แต่ยังมีการเสนอในเรื่องอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 20 รายการ เช่น การพิจารณาเพิ่มศักยภาพฝีมือแรงงาน ความไม่ชัดเจนของเจ้าหน้าที่รัฐ การเพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับหน่ายงานราชการ เป็นต้น
"วันนี้เรามองประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถปิกอัพที่สำคัญ ซึ่งคงไม่ง่ายหากตะมีการย้ายฐานการผลิต แต่ทั้งนี้มาตรการการช่วยเลือกในอุตสหกรรมยานยนต์นั้น รัฐบาลควรที่จะต้องมองภาพรวมของอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นหลัก เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ และมีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลคงจะต้องระมัดระวังในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ"
ส่วนกรณีการขอลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลดเหลือ 3% ซึ่งจะทำให้ราคาจำหน่ายรถยนต์ ลดลงมาอีกประมาณ 15,000 บาท และหากได้รับการช่วยเหลือ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รวมทั้ง มิตซูบิชิเอง พร้อมที่จะปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์ลงมา คันละ 30,000-50,000 บาท เนื่องจากบริษัทมองว่า ขอยืนยันว่า ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีครั้งนี้จะเป็นผู้บริโภค เหมือนเช่นเดียวกับการลดภาษี อี 20 เมื่อช่วงต้นปี
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 281
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 66
ยอดขายรถส่อวูบต่ำสุดรอบ7ปี บริษัทลุยจัดทีม-อีเว้นต์พิเศษสู้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มีนาคม 2552 09:06 น.
ความหวังดิบสนิท! เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามคำขอผู้ประกอบการ ทำให้บรรดาค่ายรถต้องดิ้นหนีตาย เริ่มเล็งปรับลดตลาดรถยนต์ปีวัวบ้าลงอีก เหลือเพียง 4.8 แสนคัน ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ยักษ์ใหญ่ นิสสัน-โตโยต้า ตั้งทีมพิเศษรุกเจาะลูกค้าปั้นยอดขาย ขณะที่ อีซูซุ ไม่ง้อรัฐ จัดงานมหกรรมสู้วิกฤต ตลาดนัดสินค้า ลดราคากระหน่ำ ทั้งปิกอัพใหม่ รถมือสอง และสินค้าอุปโภคบริโภคร่วมกับพันธมิตรชื่อดัง ขณะที่รายอื่นๆ ทิ้งไพ่ตาย อัดแคมเปญดอกเบี้ย 0% บางค่ายนานถึง 48 เดือน
หลังจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ในการประชุมของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ซึ่งที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ตัดสินใจตีกลับข้อเสนอให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ตามที่ 4 องค์กรหลักเสนอไป โดยเฉพาะการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลง 3% ทำให้ความหวังของบรรดาผู้ประกอบการรถยนต์ ที่หวังว่าจะผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 50,000 คัน เป็นอันต้องจอดสนิท ดังนั้นจึงน่าจับตาว่าค่ายรถจะหันกลับมาช่วยตัวเองอย่างไร เพื่อดิ้นหนีตายจากสภาวะตลาดรถยนต์ ซึ่งนอกจากจะไม่มีสัญญาณดีขึ้นแล้ว นับวันดูเหมือนว่าจะสาหัสกว่าที่คาดไว้เสียอีก
**เล็งปรับยอดขายต่ำสุดรอบ 7 ปี
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ (TAIA) และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก เอนจิเนียริง แอนด์ แมนูแฟคเจอริง จำกัด เปิดเผย ASTV ผู้จัดการรายวัน ว่า เมื่อรัฐบาลเห็นว่ายังไม่จำเป็น ที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ตามข้อเสนอของ 4 องค์กรหลัก ถือว่าผู้ประกอบการได้ทำดีที่สุดแล้ว และต่อไปจะพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างเต็มความสามารถ
อย่างไรก็ตามหากดูสถานการณ์ปัจจุบัน จากเดิมที่เราประเมินตลาดรถยนต์ตลอดทั้งปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 5.2-5.3 แสนคัน ตอนนี้ได้มีการพูดกันบ้างแล้วว่า อาจจะลดลงมาเหลือ 4.88 แสนคัน จากปีที่ผ่านมาทำได้ 6.2 แสนคัน ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2545 ที่ทำได้ 4.09 แสนคัน
ทั้งนี้จะเห็นยอดขายรถยนต์ในเดือนมกราคมลดลงเกือบ 30% และในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้จะยังรวบรวมตัวเลขไม่เสร็จ แต่ที่แน่ๆ ยอดขายปิกอัพตกลงไม่ต่ำกว่า 40% เพราะตลาดนี้จะมีปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อเป็นอย่างมาก ส่วนตลาดรถยนต์นั่งหรือเก๋งยังไม่ชัดเจน ซึ่งคงจะตกลงต่อเนื่องเช่นกัน จากเดือนมกราคมลดลงเกือบ 10%
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทราบตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการลดลงสูงถึง 40% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง จากยอดขายเดือนมกราคมที่ลดลงเฉลี่ย 30% สาเหตุมาเดือนกุมภาพันธ์มีข่าวว่า จะมีการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และจะมีผลต่อราคาขายให้ลดลง ทำให้ผู้ซื้อมีการชะลอซื้อรถออกไป ดังนั้นเมื่อรัฐบาลไม่รับข้อเสนอของผู้ประกอบการ ทำให้คาดว่าเดือนมีนาคมนี้ยอดขายรถยนต์น่าจะกระเตื้องขึ้น
**นิสสัน-โตโยต้าตั้งทีมพิเศษลุย
แหล่งข่าวจาก บริษัท สยามนิสสันโอโตโมบิล จำกัด เปิดเผย ASTV ผู้จัดการายวัน ว่า ในการรับมือยอดขายที่ตกต่ำลง จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว นิสสันได้มีการปรับกลยุทธ์การทำงานไว้รองรับตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว โดยนอกจากหน่วยงานปกติที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังได้จัดทีมพิเศษขึ้นมาใหม่ เรียกว่า รีเทล มาร์เก็ตติ้ง (Retail Marketing) เพื่อทำงานในเชิงรุกมากขึ้น
ทีมดังกล่าวจะเป็นหน่วยสนับสนุนดีลเลอร์ทั่วประเทศ ที่ต้องการจะจัดกิจกรรมในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องรออีเวนต์ใหญ่ๆ จากบริษัทแม่ โดยดีลเลอร์ไหนที่ต้องการจะดำเนินการเองแบบเล็กๆ เพียงเสนอแผนงานเข้ามาให้พิจารณา และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นอกจากเงินสนับสนุน อุปกรณ์ และหากมีการร้องขอทีมงานเข้าไปช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม บริษัทแม่ก็จะส่งทีมรีเทลมาร์เก็ตติ้งเข้าไปช่วยดูการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดงาน ลักษณะของบูธ และภายในงานจะต้องมีอะไรบ้าง
ดังนั้นการจัดทีมพิเศษรีเทลมาร์เก็ตติ้งขึ้นมา จึงทำให้การจัดกิจกรรมการตลาด หรืออีเว้นต์โชว์รถของนิสสัน สามารถทำได้ถี่ขึ้นแทบจะทุกสัปดาห์ และครอบคลุมทั่วประเทศ ที่สำคัญยังเป็นการใช้งบประมาณที่จำกัด ให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้ดีลเลอร์มียอดขายเพิ่มขึ้นกว่าไม่จัดกิจกรรมพอสมควร
แหล่งข่าวจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย ASTV ผู้จัดการรายวัน จากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัว จนส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยได้ผลกระทบ โดยยอดขายรถยนต์เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตกลงมากถึง 30% และในส่วนของโตโยต้าลดลงกว่า 27%
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่รู้ว่าจะคลี่คลายเมื่อไหร่ และสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในไทยที่ลดลงชัดเจน ทำให้โตโยต้าต้องเตรียมรับมือเป็นพิเศษ ทั้งในส่วนของการลดต้นทุน ปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด รวมถึงลดค่าใช้จ่ายประมาณ 30-35% แต่นั่นเป็นเพียงการตั้งรับเท่านั้น ในสภาวการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องมีกลยุทธ์เชิงรุกด้วย เหตุนี้โตโยต้าจึงได้มีการจัดตั้งทีมงานพิเศษ เพื่อผลักดันให้บรรลุภารกิจ 9 ข้อ ที่สำคัญคือการรักษาและผลักดันยอดขายโตโยต้าให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
สำหรับทีมงานพิเศษนี้ เป็นการรวบรวมบุคลากรของโตโยต้า จากแผนกต่างๆ มาทำงานร่วมกันเฉพาะกิจ โดยเบื้องต้นทีมงานนี้จะมีภารกิจในการดำเนินการประมาณ 2 ปี เพื่อดำเนินงานเชิงรุกไม่ว่าจะเป็นแคมเปญส่งเสริมการขาย หรือกิจกรรมการตลาด ซึ่งเป็นการเสริมกับหน่วยงานปกติที่มีอยู่ เพื่อที่จะทำอย่างไรให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมาย หรือรักษาสถานะธุรกิจให้อยู่รอดได้ จนกว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเริ่มคลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
**อีซูซุไม่ง้อรัฐจัดตลาดนัดรถสู้วิกฤต
นายฮิโรชิ นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อร่วมส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และบรรเทาพิษเศรษฐกิจให้คนไทย จึงได้จัดงาน มหกรรมอีซูซุ...สู้วิกฤติ ตลาดนัดสินค้า ราคาลดกระหน่ำ ในวันที่ 14 มีนาคม 2552 ณ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ ระหว่างเวลา 12.00-21.00 น. ในรูปแบบของตลาดนัดสินค้า คุณภาพดีในราคาลดพิเศษ
ผู้บริโภคจะพบกับตลาดนัดรถยนต์ ผู้ซื้อ...พบผู้ขาย การประมูลรถอีซูซุมือสองคุณภาพเยี่ยม ในราคาสุดคุ้ม จากเต็นท์รถชั้นนำกว่า 100 เต็นท์ ด้วยการเปิดโอกาสให้รถมือสองทุกรุ่น ทุกยี่ห้อเข้าร่วมเจรจาซื้อ-ขาย ต่อรองราคาตามความพอใจ และพบกับแคมเปญสุดพิเศษ รับเงื่อนไขดีๆ เมื่อซื้อปิกอัพ อีซูซุ แพลททินั่ม ใหม่ ทุกรุ่นภายในงาน พร้อมกับอำนวยความสะดวกให้กับท่านที่ต้องการเช่าซื้อรถ โดยมีบริษัทเช่า-ซื้อรถยนต์ชั้นนำหลายแห่ง ร่วมออกบูธกันอย่างคับคั่ง และยังมีกิจกรรมสาระเกี่ยวกับการดูแลรักษารถนต์ และความบันเทิงหลากหลายด้วย
นอกจากนี้อีซูซุยังได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ เครือสหพัฒน์ฯ, ยูนิลีเวอร์, สยามเซ็นทราโกฟาร์ม, ผลิตภัณฑ์อาหารไทย และบริษัทชั้นนำที่ร่วมออกบูธอีกกว่า 100 ร้าน โดยได้รวบรวมกองทัพสินค้านานาชนิด ทั้งอาหารและของใช้ราคาถูกมาให้เลือกสรรกันอย่างจุใจ และช่วงนาทีทอง! กับสินค้าราคาถูกพิเศษทุกๆ 1 ชั่วโมง อาทิ ไข่ไก่โหลละ 10 บาท มาม่า 6 ซอง 20 บาท เงาะกระป๋องตรามาลี 3 กระป๋อง 15 บาท น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี 3 กล่อง 15 บาท ไวไวรสทรงเครื่อง 5 ซอง 15 บาท น้ำมันพืชหยก 1 ลิตร แพ็คคู่ 50 บาท เป็นต้น
**ค่ายรถอัดแคมเปญดอกเบี้ย0%
นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ รองประธาน บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะรองประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม 6 เมษายนที่จะถึงนี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา เปิดเผยว่า ปีนี้แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่บริษัทรถยนต์ยังเข้าร่วมจัดงานแสดงอย่างคับคั่ง 34 ยี่ห้อ โดยนอกจากจะมีรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาเปิดตัวในงานแล้ว ยังได้มีการจัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายกันอย่างคึกคัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแคมเปญดอกเบี้ย 0% ซึ่งถือว่าจูงใจลูกค้าในเวลานี้มากที่สุด
นายอันโตนิโอ ซาร่า รองประธานฝ่ายขาย การตลาด และบริการหลังการขาย บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนรถคันใหม่ เชฟโรเลตจึงได้จัดเปิดแคมเปญ เก่ามา-ใหม่ไป รับแลกรถใช้แล้วทุกรุ่นทุกยี่ห้อ โดยประเมินราคาตามเวบไซต์ประเมินราคารถมือสอง Red Book (www.redbookasiapacific.com/th) พร้อมให้ราคาเพิ่มถึงถึง 20,000 บาท เพื่อซื้อรถยนต์นั่งเชฟโรเลต ออพตร้า ทั้งรุ่นซีดาน และรุ่นเอสเตท CNG ใหม่เอี่ยมป้ายแดง ซึ่งเป็นรถพลังงานทางเลือกสุดประหยัด จึงเหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
โดยผู้ที่นำรถใช้แล้วมาร่วมจับจองรถออพตร้า CNG ในแคมเปญนี้ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษดาวน์เริ่มต้นที่ 15% ดอกเบี้ย 0% นาน 36 เดือน หรือดาวน์ 25% ผ่อนสบายด้วยดอกเบี้ย 0% นาน 48 เดือน พร้อมรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่ง 1 ปีอีกด้วยนายซาร่ากล่าว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มีนาคม 2552 09:06 น.
ความหวังดิบสนิท! เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามคำขอผู้ประกอบการ ทำให้บรรดาค่ายรถต้องดิ้นหนีตาย เริ่มเล็งปรับลดตลาดรถยนต์ปีวัวบ้าลงอีก เหลือเพียง 4.8 แสนคัน ต่ำสุดในรอบ 7 ปี ยักษ์ใหญ่ นิสสัน-โตโยต้า ตั้งทีมพิเศษรุกเจาะลูกค้าปั้นยอดขาย ขณะที่ อีซูซุ ไม่ง้อรัฐ จัดงานมหกรรมสู้วิกฤต ตลาดนัดสินค้า ลดราคากระหน่ำ ทั้งปิกอัพใหม่ รถมือสอง และสินค้าอุปโภคบริโภคร่วมกับพันธมิตรชื่อดัง ขณะที่รายอื่นๆ ทิ้งไพ่ตาย อัดแคมเปญดอกเบี้ย 0% บางค่ายนานถึง 48 เดือน
หลังจากเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ในการประชุมของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ซึ่งที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ตัดสินใจตีกลับข้อเสนอให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ตามที่ 4 องค์กรหลักเสนอไป โดยเฉพาะการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลง 3% ทำให้ความหวังของบรรดาผู้ประกอบการรถยนต์ ที่หวังว่าจะผลักดันให้ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 50,000 คัน เป็นอันต้องจอดสนิท ดังนั้นจึงน่าจับตาว่าค่ายรถจะหันกลับมาช่วยตัวเองอย่างไร เพื่อดิ้นหนีตายจากสภาวะตลาดรถยนต์ ซึ่งนอกจากจะไม่มีสัญญาณดีขึ้นแล้ว นับวันดูเหมือนว่าจะสาหัสกว่าที่คาดไว้เสียอีก
**เล็งปรับยอดขายต่ำสุดรอบ 7 ปี
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ (TAIA) และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิก เอนจิเนียริง แอนด์ แมนูแฟคเจอริง จำกัด เปิดเผย ASTV ผู้จัดการรายวัน ว่า เมื่อรัฐบาลเห็นว่ายังไม่จำเป็น ที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ตามข้อเสนอของ 4 องค์กรหลัก ถือว่าผู้ประกอบการได้ทำดีที่สุดแล้ว และต่อไปจะพยายามช่วยเหลือตัวเองอย่างเต็มความสามารถ
อย่างไรก็ตามหากดูสถานการณ์ปัจจุบัน จากเดิมที่เราประเมินตลาดรถยนต์ตลอดทั้งปีนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 5.2-5.3 แสนคัน ตอนนี้ได้มีการพูดกันบ้างแล้วว่า อาจจะลดลงมาเหลือ 4.88 แสนคัน จากปีที่ผ่านมาทำได้ 6.2 แสนคัน ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2545 ที่ทำได้ 4.09 แสนคัน
ทั้งนี้จะเห็นยอดขายรถยนต์ในเดือนมกราคมลดลงเกือบ 30% และในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้จะยังรวบรวมตัวเลขไม่เสร็จ แต่ที่แน่ๆ ยอดขายปิกอัพตกลงไม่ต่ำกว่า 40% เพราะตลาดนี้จะมีปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อเป็นอย่างมาก ส่วนตลาดรถยนต์นั่งหรือเก๋งยังไม่ชัดเจน ซึ่งคงจะตกลงต่อเนื่องเช่นกัน จากเดือนมกราคมลดลงเกือบ 10%
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทราบตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการลดลงสูงถึง 40% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่อง จากยอดขายเดือนมกราคมที่ลดลงเฉลี่ย 30% สาเหตุมาเดือนกุมภาพันธ์มีข่าวว่า จะมีการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และจะมีผลต่อราคาขายให้ลดลง ทำให้ผู้ซื้อมีการชะลอซื้อรถออกไป ดังนั้นเมื่อรัฐบาลไม่รับข้อเสนอของผู้ประกอบการ ทำให้คาดว่าเดือนมีนาคมนี้ยอดขายรถยนต์น่าจะกระเตื้องขึ้น
**นิสสัน-โตโยต้าตั้งทีมพิเศษลุย
แหล่งข่าวจาก บริษัท สยามนิสสันโอโตโมบิล จำกัด เปิดเผย ASTV ผู้จัดการายวัน ว่า ในการรับมือยอดขายที่ตกต่ำลง จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว นิสสันได้มีการปรับกลยุทธ์การทำงานไว้รองรับตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว โดยนอกจากหน่วยงานปกติที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังได้จัดทีมพิเศษขึ้นมาใหม่ เรียกว่า รีเทล มาร์เก็ตติ้ง (Retail Marketing) เพื่อทำงานในเชิงรุกมากขึ้น
ทีมดังกล่าวจะเป็นหน่วยสนับสนุนดีลเลอร์ทั่วประเทศ ที่ต้องการจะจัดกิจกรรมในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องรออีเวนต์ใหญ่ๆ จากบริษัทแม่ โดยดีลเลอร์ไหนที่ต้องการจะดำเนินการเองแบบเล็กๆ เพียงเสนอแผนงานเข้ามาให้พิจารณา และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว นอกจากเงินสนับสนุน อุปกรณ์ และหากมีการร้องขอทีมงานเข้าไปช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม บริษัทแม่ก็จะส่งทีมรีเทลมาร์เก็ตติ้งเข้าไปช่วยดูการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดงาน ลักษณะของบูธ และภายในงานจะต้องมีอะไรบ้าง
ดังนั้นการจัดทีมพิเศษรีเทลมาร์เก็ตติ้งขึ้นมา จึงทำให้การจัดกิจกรรมการตลาด หรืออีเว้นต์โชว์รถของนิสสัน สามารถทำได้ถี่ขึ้นแทบจะทุกสัปดาห์ และครอบคลุมทั่วประเทศ ที่สำคัญยังเป็นการใช้งบประมาณที่จำกัด ให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้ดีลเลอร์มียอดขายเพิ่มขึ้นกว่าไม่จัดกิจกรรมพอสมควร
แหล่งข่าวจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย ASTV ผู้จัดการรายวัน จากสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัว จนส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไทยได้ผลกระทบ โดยยอดขายรถยนต์เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตกลงมากถึง 30% และในส่วนของโตโยต้าลดลงกว่า 27%
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังไม่รู้ว่าจะคลี่คลายเมื่อไหร่ และสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในไทยที่ลดลงชัดเจน ทำให้โตโยต้าต้องเตรียมรับมือเป็นพิเศษ ทั้งในส่วนของการลดต้นทุน ปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด รวมถึงลดค่าใช้จ่ายประมาณ 30-35% แต่นั่นเป็นเพียงการตั้งรับเท่านั้น ในสภาวการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องมีกลยุทธ์เชิงรุกด้วย เหตุนี้โตโยต้าจึงได้มีการจัดตั้งทีมงานพิเศษ เพื่อผลักดันให้บรรลุภารกิจ 9 ข้อ ที่สำคัญคือการรักษาและผลักดันยอดขายโตโยต้าให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
สำหรับทีมงานพิเศษนี้ เป็นการรวบรวมบุคลากรของโตโยต้า จากแผนกต่างๆ มาทำงานร่วมกันเฉพาะกิจ โดยเบื้องต้นทีมงานนี้จะมีภารกิจในการดำเนินการประมาณ 2 ปี เพื่อดำเนินงานเชิงรุกไม่ว่าจะเป็นแคมเปญส่งเสริมการขาย หรือกิจกรรมการตลาด ซึ่งเป็นการเสริมกับหน่วยงานปกติที่มีอยู่ เพื่อที่จะทำอย่างไรให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าหมาย หรือรักษาสถานะธุรกิจให้อยู่รอดได้ จนกว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเริ่มคลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
**อีซูซุไม่ง้อรัฐจัดตลาดนัดรถสู้วิกฤต
นายฮิโรชิ นาคางาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อร่วมส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และบรรเทาพิษเศรษฐกิจให้คนไทย จึงได้จัดงาน มหกรรมอีซูซุ...สู้วิกฤติ ตลาดนัดสินค้า ราคาลดกระหน่ำ ในวันที่ 14 มีนาคม 2552 ณ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ ระหว่างเวลา 12.00-21.00 น. ในรูปแบบของตลาดนัดสินค้า คุณภาพดีในราคาลดพิเศษ
ผู้บริโภคจะพบกับตลาดนัดรถยนต์ ผู้ซื้อ...พบผู้ขาย การประมูลรถอีซูซุมือสองคุณภาพเยี่ยม ในราคาสุดคุ้ม จากเต็นท์รถชั้นนำกว่า 100 เต็นท์ ด้วยการเปิดโอกาสให้รถมือสองทุกรุ่น ทุกยี่ห้อเข้าร่วมเจรจาซื้อ-ขาย ต่อรองราคาตามความพอใจ และพบกับแคมเปญสุดพิเศษ รับเงื่อนไขดีๆ เมื่อซื้อปิกอัพ อีซูซุ แพลททินั่ม ใหม่ ทุกรุ่นภายในงาน พร้อมกับอำนวยความสะดวกให้กับท่านที่ต้องการเช่าซื้อรถ โดยมีบริษัทเช่า-ซื้อรถยนต์ชั้นนำหลายแห่ง ร่วมออกบูธกันอย่างคับคั่ง และยังมีกิจกรรมสาระเกี่ยวกับการดูแลรักษารถนต์ และความบันเทิงหลากหลายด้วย
นอกจากนี้อีซูซุยังได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ เครือสหพัฒน์ฯ, ยูนิลีเวอร์, สยามเซ็นทราโกฟาร์ม, ผลิตภัณฑ์อาหารไทย และบริษัทชั้นนำที่ร่วมออกบูธอีกกว่า 100 ร้าน โดยได้รวบรวมกองทัพสินค้านานาชนิด ทั้งอาหารและของใช้ราคาถูกมาให้เลือกสรรกันอย่างจุใจ และช่วงนาทีทอง! กับสินค้าราคาถูกพิเศษทุกๆ 1 ชั่วโมง อาทิ ไข่ไก่โหลละ 10 บาท มาม่า 6 ซอง 20 บาท เงาะกระป๋องตรามาลี 3 กระป๋อง 15 บาท น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี 3 กล่อง 15 บาท ไวไวรสทรงเครื่อง 5 ซอง 15 บาท น้ำมันพืชหยก 1 ลิตร แพ็คคู่ 50 บาท เป็นต้น
**ค่ายรถอัดแคมเปญดอกเบี้ย0%
นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ รองประธาน บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะรองประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม 6 เมษายนที่จะถึงนี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา เปิดเผยว่า ปีนี้แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่บริษัทรถยนต์ยังเข้าร่วมจัดงานแสดงอย่างคับคั่ง 34 ยี่ห้อ โดยนอกจากจะมีรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาเปิดตัวในงานแล้ว ยังได้มีการจัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายกันอย่างคึกคัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแคมเปญดอกเบี้ย 0% ซึ่งถือว่าจูงใจลูกค้าในเวลานี้มากที่สุด
นายอันโตนิโอ ซาร่า รองประธานฝ่ายขาย การตลาด และบริการหลังการขาย บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนรถคันใหม่ เชฟโรเลตจึงได้จัดเปิดแคมเปญ เก่ามา-ใหม่ไป รับแลกรถใช้แล้วทุกรุ่นทุกยี่ห้อ โดยประเมินราคาตามเวบไซต์ประเมินราคารถมือสอง Red Book (www.redbookasiapacific.com/th) พร้อมให้ราคาเพิ่มถึงถึง 20,000 บาท เพื่อซื้อรถยนต์นั่งเชฟโรเลต ออพตร้า ทั้งรุ่นซีดาน และรุ่นเอสเตท CNG ใหม่เอี่ยมป้ายแดง ซึ่งเป็นรถพลังงานทางเลือกสุดประหยัด จึงเหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
โดยผู้ที่นำรถใช้แล้วมาร่วมจับจองรถออพตร้า CNG ในแคมเปญนี้ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษดาวน์เริ่มต้นที่ 15% ดอกเบี้ย 0% นาน 36 เดือน หรือดาวน์ 25% ผ่อนสบายด้วยดอกเบี้ย 0% นาน 48 เดือน พร้อมรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่ง 1 ปีอีกด้วยนายซาร่ากล่าว
Money is neutral
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 67
ตอนนี้แถวๆนิคมที่ทำงานอยู่ บริษัทอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่งที่ให้พนักงาน
กลับไปอยู่บ้าน เริ่มเรียกพนักงานกลับมาทำงานอีกครั้ง
ไม่รู้ว่าเป็น order ที่เพิ่มเพียงชั่วคราวหรือเปล่าหรือเพราะก่อนหน้าวิตกกัน
มากจนเกินไป จนปรับลดกำลังการผลิต ไม่สอดคล้องกับความต้องการจริง
ที่มีอยู่
เมื่อต้นเดือน ก็เจอข่าวว่า จะลดภาษีลดรถยนต์ลง ทำให้ประชาชนชลอการ
ซื้อลงเป็นอย่างมาก จนขายได้ลดลงพอสมควร
แต่พอออกมาประกาศว่าไม่ปรับลดภาษี order ก็ไหลกลับมาอย่างท่วมท้น
จนทำให้ลูกค้าหลายรายไม่พอใจที่ได้รับรถช้า บางคนต้องรอถึง 3 เดือนกว่า
จะได้รับรถ
(อันนี้ก็ต้องเห็นใจผู้ประกอบการณ์ด้วยนะครับ ปรับตัวไม่ทันจริงๆ เพราะชิ้น
ส่วนไม่ได้ผลิตในประเทศทั้งหมด ทำให้ต้องใช้เวลาในการนำเข้า)
เฮ้อ เอาแน่เอานอนไม่ได้จริงๆ
:lol:
กลับไปอยู่บ้าน เริ่มเรียกพนักงานกลับมาทำงานอีกครั้ง
ไม่รู้ว่าเป็น order ที่เพิ่มเพียงชั่วคราวหรือเปล่าหรือเพราะก่อนหน้าวิตกกัน
มากจนเกินไป จนปรับลดกำลังการผลิต ไม่สอดคล้องกับความต้องการจริง
ที่มีอยู่
เมื่อต้นเดือน ก็เจอข่าวว่า จะลดภาษีลดรถยนต์ลง ทำให้ประชาชนชลอการ
ซื้อลงเป็นอย่างมาก จนขายได้ลดลงพอสมควร
แต่พอออกมาประกาศว่าไม่ปรับลดภาษี order ก็ไหลกลับมาอย่างท่วมท้น
จนทำให้ลูกค้าหลายรายไม่พอใจที่ได้รับรถช้า บางคนต้องรอถึง 3 เดือนกว่า
จะได้รับรถ
(อันนี้ก็ต้องเห็นใจผู้ประกอบการณ์ด้วยนะครับ ปรับตัวไม่ทันจริงๆ เพราะชิ้น
ส่วนไม่ได้ผลิตในประเทศทั้งหมด ทำให้ต้องใช้เวลาในการนำเข้า)
เฮ้อ เอาแน่เอานอนไม่ได้จริงๆ
:lol:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 68
ข้อมูล เกี่ยวกับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ จากน้อง hansome
(น้องเค้าหล่อมากและใจดีจริงๆครับ) ในห้อง stanly ครับ
สถิติการผลิตและจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
ยอดขายในประเทศ ยอดผลิตรวม
1997 349,033 358,686
1998 140,402 143,250
1999 218,330 321,411
2000 262,189 405,761
2001 297,052 454,797
2002 409,262 564,392
2003 533,176 750,512
2004 628,265 960,371
2005 703,261 1,125,316
2006 682,163 1,193,885
2007 631,251 1,301,149
2008 614,078 1,391,728
2009 66,446 133,523
(น้องเค้าหล่อมากและใจดีจริงๆครับ) ในห้อง stanly ครับ
สถิติการผลิตและจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
ยอดขายในประเทศ ยอดผลิตรวม
1997 349,033 358,686
1998 140,402 143,250
1999 218,330 321,411
2000 262,189 405,761
2001 297,052 454,797
2002 409,262 564,392
2003 533,176 750,512
2004 628,265 960,371
2005 703,261 1,125,316
2006 682,163 1,193,885
2007 631,251 1,301,149
2008 614,078 1,391,728
2009 66,446 133,523
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 71
ยอดจองรถ 3 วันในงานมอเตอร์สูงกว่า 3,000 คัน
Written by SW-Napa
Monday, 30 March 2009 07:35
เมื่อวันที่ 29 มี.ค.52 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประธานจัดงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2009 กล่าวว่า ตลอดงาน 3 วันแรก (26-28 มี.ค.) ยอดสั่งจองรถยนต์ไม่ต่ำกว่า 3,200 คัน เป็นโตโยต้า 752 คัน ฮอนด้า 632 คัน อีซูซุ 296 นิสสัน 324 คัน โปตรอน 215 คัน และที่เหลือเป็นค่ายอื่น ๆ
นายปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานจัดงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2009 กล่าวว่าก่อนจัดงานหวั่นวิตกว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและกำลังซื้อของประชาชนหดหายอาจทำให้การจัดงานเงียบเหงา แต่ในช่วง 3 วันที่ผ่านมางานที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนากลับตรงกันข้าม โดยหากเป็นวันธรรมดาจะมีประชาชนเข้ามาชมงานเฉลี่ย 90,000-100,000 คน ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์ 120,000-150,000 คน และมีการสั่งจองค่อนข้างมากโดยเฉพาะรถยนต์หรู เช่น เบนซ์ ในช่วง 3 วันที่ผ่านมามียอดสั่งจอง 130 คัน บีเอ็มดับเบิลยู 129 คัน โฟคสวาเกน 33 คัน ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาชมงานและสั่งจองรถจะเป็นบุคคลที่ชอบและเป็นแฟนพันธุ์แท้ ประกอบกับขณะนี้อัตราดอกเบี้ยต่ำ และเงินดาวน์ค่อนข้างต่ำ จึงเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสั่งจองรถยนต์ภายในงานค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าก่อนจบงาน 2-3 วันประชาชนที่อยู่ระหว่างตัดสินใจจะตัดสินใจซื้อแน่นอน
สำหรับการจัดงานครั้งนี้กำหนดเป้าหมายว่าจะมียอดสั่งจองไม่น้อยกว่า 15,000 คัน แต่จากการติดตามสถานการณ์ช่วงแรกยอดสั่งจองรถยนต์ในงานน่าจะเกือบ 16,000 คัน และคาดว่าจะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท
ที่มา สำนักข่าวไทย
Written by SW-Napa
Monday, 30 March 2009 07:35
เมื่อวันที่ 29 มี.ค.52 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประธานจัดงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2009 กล่าวว่า ตลอดงาน 3 วันแรก (26-28 มี.ค.) ยอดสั่งจองรถยนต์ไม่ต่ำกว่า 3,200 คัน เป็นโตโยต้า 752 คัน ฮอนด้า 632 คัน อีซูซุ 296 นิสสัน 324 คัน โปตรอน 215 คัน และที่เหลือเป็นค่ายอื่น ๆ
นายปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานจัดงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2009 กล่าวว่าก่อนจัดงานหวั่นวิตกว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและกำลังซื้อของประชาชนหดหายอาจทำให้การจัดงานเงียบเหงา แต่ในช่วง 3 วันที่ผ่านมางานที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนากลับตรงกันข้าม โดยหากเป็นวันธรรมดาจะมีประชาชนเข้ามาชมงานเฉลี่ย 90,000-100,000 คน ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์ 120,000-150,000 คน และมีการสั่งจองค่อนข้างมากโดยเฉพาะรถยนต์หรู เช่น เบนซ์ ในช่วง 3 วันที่ผ่านมามียอดสั่งจอง 130 คัน บีเอ็มดับเบิลยู 129 คัน โฟคสวาเกน 33 คัน ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาชมงานและสั่งจองรถจะเป็นบุคคลที่ชอบและเป็นแฟนพันธุ์แท้ ประกอบกับขณะนี้อัตราดอกเบี้ยต่ำ และเงินดาวน์ค่อนข้างต่ำ จึงเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสั่งจองรถยนต์ภายในงานค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าก่อนจบงาน 2-3 วันประชาชนที่อยู่ระหว่างตัดสินใจจะตัดสินใจซื้อแน่นอน
สำหรับการจัดงานครั้งนี้กำหนดเป้าหมายว่าจะมียอดสั่งจองไม่น้อยกว่า 15,000 คัน แต่จากการติดตามสถานการณ์ช่วงแรกยอดสั่งจองรถยนต์ในงานน่าจะเกือบ 16,000 คัน และคาดว่าจะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท
ที่มา สำนักข่าวไทย
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 281
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 73
คุณ hansome มีข้อมูลก่อนปี1997 ช่วงก่อนวิกฤติย้อนไปอีกสัก 10 ปีไหมครับ จะได้เห็นภาพก่อนวิกฤติ เทียบหลังวิกฤติช่วงนั้นครับขอบคุณครับhansome เขียน: สองเดือนแรกครับพี่ jung_oh
ขอบคุณพี่หมอนุ่นนะครับ
Money is neutral
-
- Verified User
- โพสต์: 1061
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 74
ยอดขายในประเทศ ยอดผลิตรวม
1993 438,634 419,831
1994 462,884 434,001
1995 547,758 525,680
1996 561,523 555,821
ตอนปี96 เราส่งออก CBU 14,020 คันครับ
แต่พอปี2008 ส่งออก CBU 775,652
คิดว่าต้องมองตลาดส่งออกด้วยครับ เท่าที่อ่านเจอ
ตลาดหลักจะส่งออกไปที่ออสเตรเลีย ประมาณ19.48%
ซาอุ 9.53% อินโด7.92% แต่เป็นข้อมูลเก่าแล้วนะครับ
ของปี 2549 ใครมีข้อมูลเพิ่มเอามา share กันนะครับ
1993 438,634 419,831
1994 462,884 434,001
1995 547,758 525,680
1996 561,523 555,821
ตอนปี96 เราส่งออก CBU 14,020 คันครับ
แต่พอปี2008 ส่งออก CBU 775,652
คิดว่าต้องมองตลาดส่งออกด้วยครับ เท่าที่อ่านเจอ
ตลาดหลักจะส่งออกไปที่ออสเตรเลีย ประมาณ19.48%
ซาอุ 9.53% อินโด7.92% แต่เป็นข้อมูลเก่าแล้วนะครับ
ของปี 2549 ใครมีข้อมูลเพิ่มเอามา share กันนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 361
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 75
สวัสดีครับ
คือ ผมต้องการข้อมูลสถิติย้อนหลังของจำนวนรถที่ใช้อยู่ (วิ่งอยู่) ของโลก
ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนหรอครับ ผมหาได้แต่กลุ่มประเทศ EU นะครับที่มีประมาณ 260 ล้านคัน ไม่ทราบว่ามีใครพอจะทราบไหมครับ
ขอบคุณมากครับ
คือ ผมต้องการข้อมูลสถิติย้อนหลังของจำนวนรถที่ใช้อยู่ (วิ่งอยู่) ของโลก
ไม่ทราบว่าจะหาได้จากที่ไหนหรอครับ ผมหาได้แต่กลุ่มประเทศ EU นะครับที่มีประมาณ 260 ล้านคัน ไม่ทราบว่ามีใครพอจะทราบไหมครับ
ขอบคุณมากครับ
- << New >>
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1145
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 77
UOB วิเคราะห์ Automobile sector
http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/ ... -04-09.pdf
http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/ ... -04-09.pdf
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
-
- Verified User
- โพสต์: 281
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 78
Money is neutral
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 79
ตลาดรถ3เดือนยังร่อแร่
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552
ตลาดรถยนต์ 3 เดือนแรก ร่วง 33.36% เอสยูวีเจ็บหนักสุดลดเกือบ 50%
รายงานข่าวจากบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ แจ้งยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทไตรมาสแรกของปี 2552 ว่า มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลง 33.36% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ประเภทของรถยนต์ที่หดตัวสูงสุดคือ ตลาดรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือเอสยูวี หดตัวลง 49.92% ส่วนตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลหดตัวลงน้อยที่สุดคือ 17.42% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ยอดจำหน่ายในไตรมาสแรก โตโยต้ายังมียอดจำหน่ายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่าย 44,444 คัน มีส่วนแบ่ง 41.24% ลดลง 33.68% อีซูซุมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 2 คือ 23,558 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 21.86% ลดลง 34.54% และอันดับ 3 คือ ฮอนด้ามียอดจำหน่าย 18,360 คัน หรือ 17.04% ลดลง 18.17%
สำหรับยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมียอดจำหน่าย 43,968 คัน ลดลง 17.42% โตโยต้าจำหน่ายเป็นอันดับ 1 คือ 20,578 คัน คิดเป็น 46.8% ลดลง 19.4% ฮอนด้ามียอดจำหน่าย 17,250 คัน คิดเป็น 39.23% ลดลง 10.02% นิสสันมียอดจำหน่าย 1,075 คัน มีส่วนแบ่ง 2.44% ลดลง 44.73%
ขณะที่ยอดจำหน่ายรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในไตรมาสแรกมียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 52,912 คัน ลดลง 41.14% อีซูซุจำหน่ายได้สูงสุดคือ 21,986 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 41.55% ลดลง 34.23% โตโยต้ามียอดจำหน่าย 19,945 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 37.96% ลดลง 42.35% นิสสัน 4,109 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 7.77% ลดลง 40.86%
อย่างไรก็ตาม สำหรับยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา มีอัตราการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาในทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดรวมในเดือนมี.ค. มีทั้งสิ้น 41,328 คัน เพิ่มขึ้น 20.28% โตโยต้ามียอดจำหน่าย 16,762 คัน เพิ่มขึ้น 17.82% อีซูซุมียอดจำหน่าย 8,761 คัน เพิ่มขึ้น 14.16% ฮอนด้ามียอดจำหน่าย 7,244 คัน เพิ่มขึ้น 24.64%
ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 13.67% จากเดือนก.พ. โดยมียอดจำหน่ายรวมทุกยี่ห้อ 16,194 คัน โตโยต้าจำหน่ายได้สูงสุด 6,951 คัน เพิ่มขึ้น 0.97% ฮอนด้าจำหน่ายได้ 6,760 คัน เพิ่มขึ้น 22.31% นิสสันจำหน่ายได้ 392 คัน เพิ่มขึ้น 46.27%
http://www.posttoday.com/business.php?id=42289
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552
ตลาดรถยนต์ 3 เดือนแรก ร่วง 33.36% เอสยูวีเจ็บหนักสุดลดเกือบ 50%
รายงานข่าวจากบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ แจ้งยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทไตรมาสแรกของปี 2552 ว่า มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลง 33.36% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ประเภทของรถยนต์ที่หดตัวสูงสุดคือ ตลาดรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือเอสยูวี หดตัวลง 49.92% ส่วนตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลหดตัวลงน้อยที่สุดคือ 17.42% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ยอดจำหน่ายในไตรมาสแรก โตโยต้ายังมียอดจำหน่ายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ด้วยยอดจำหน่าย 44,444 คัน มีส่วนแบ่ง 41.24% ลดลง 33.68% อีซูซุมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 2 คือ 23,558 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 21.86% ลดลง 34.54% และอันดับ 3 คือ ฮอนด้ามียอดจำหน่าย 18,360 คัน หรือ 17.04% ลดลง 18.17%
สำหรับยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมียอดจำหน่าย 43,968 คัน ลดลง 17.42% โตโยต้าจำหน่ายเป็นอันดับ 1 คือ 20,578 คัน คิดเป็น 46.8% ลดลง 19.4% ฮอนด้ามียอดจำหน่าย 17,250 คัน คิดเป็น 39.23% ลดลง 10.02% นิสสันมียอดจำหน่าย 1,075 คัน มีส่วนแบ่ง 2.44% ลดลง 44.73%
ขณะที่ยอดจำหน่ายรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในไตรมาสแรกมียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 52,912 คัน ลดลง 41.14% อีซูซุจำหน่ายได้สูงสุดคือ 21,986 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 41.55% ลดลง 34.23% โตโยต้ามียอดจำหน่าย 19,945 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 37.96% ลดลง 42.35% นิสสัน 4,109 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 7.77% ลดลง 40.86%
อย่างไรก็ตาม สำหรับยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา มีอัตราการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาในทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดรวมในเดือนมี.ค. มีทั้งสิ้น 41,328 คัน เพิ่มขึ้น 20.28% โตโยต้ามียอดจำหน่าย 16,762 คัน เพิ่มขึ้น 17.82% อีซูซุมียอดจำหน่าย 8,761 คัน เพิ่มขึ้น 14.16% ฮอนด้ามียอดจำหน่าย 7,244 คัน เพิ่มขึ้น 24.64%
ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 13.67% จากเดือนก.พ. โดยมียอดจำหน่ายรวมทุกยี่ห้อ 16,194 คัน โตโยต้าจำหน่ายได้สูงสุด 6,951 คัน เพิ่มขึ้น 0.97% ฮอนด้าจำหน่ายได้ 6,760 คัน เพิ่มขึ้น 22.31% นิสสันจำหน่ายได้ 392 คัน เพิ่มขึ้น 46.27%
http://www.posttoday.com/business.php?id=42289
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 80
ภาพรวมยังดูแย่นะครับ แต่ราคาหุ้นบางตัวที่เล็งไว้วิ่งจนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลย (Stanly) นี่กระมังที่เค้าว่ากันไว้ว่าภาพรวมอุตสาหกรรมคาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก แต่ราคาหุ้นมันคาดการณ์ได้ยากกว่ามากมาก แต่ก็รอต่อไปเพราะยังไม่พร้อมรับความเสี่ยงณ.ราคาแถวนี้
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 503
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 82
น่าจะเห็นจุดตำสุดเเถวๆนี้มั้งครับ เลยมีคนเริ่มเก็บของที่ขายไปก่อนหน้านี้กลับ โดยเฉพาะ กลุ่มผุ้ถือหุ้นรายใหญ่ๆ เพราะอัตราส่วนของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายน้อยดูลดลงอย่างมีนัยยะ พอสมควร
NET-NET can save your ass.
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 87
ถูกใจใช่เลยครับsci เขียน:สำหรับผม คิดว่าไม่น่าจะมีข่าวที่ร้ายแรงกว่านี้อีกแล้ว คนเริ่มชินแล้ว
แต่ไม่ชินกับข่าวดี
ข่าวดีเล็กน้อยก็อาจส่งผลที่มากได้
ใครไม่รู้บอกว่า ตลาดหุ้นจะตอบสนองไวกว่าเศรษฐกิจจริงประมาณ 6 เดือน
ถึงเวลานั้นจริง ต่อให้ Q1 แย่ ราคาก็อาจจะไม่ลงเท่ากับที่ขึ้นไปรอก็ได้ครับ
ผมก็กำลังลองพิสูจน์เรื่องนี้เหมือนกัน (มีแนวโน้มว่าจะเศร้า )
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 281
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมรถยนต์ น่าสนใจไหมตอนนี้?
โพสต์ที่ 90
ไครสเลอร์ยื่นล้มละลายแล้ว
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 09:02
ไครสเลอร์ยื่นล้มละลายแลกเงินช่วยจากรัฐบาลสหรัฐ 8,000 ล้านดอลล่าร์ หวังฟื้นกิจการอีกครั้ง
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่า เขาสนับสนุนแผนการของไครสเลอร์ ในการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะล้มละลายในครั้งนี้ รวมถึงข้อตกลงการลงนามเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรกับเฟียต บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอิตาลี เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้ไครสเลอร์สามารถกลับมาฟื้นกิจการทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง แม้จะต้องใช้เวลานานหลายเดือน
การยื่นขอล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้ไครสเลอร์ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 280,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะยังเข้าไปทำหน้าที่ผู้ลงทุนให้กับบริษัท และจะช่วยเลือกผู้บริหารคนใหม่ด้วย แต่จะไม่เข้าไปควบคุมกิจการหรือการบริหารงาน ขณะที่ศาลจะเข้ามาตัดสินว่า บรรดาเจ้าหนี้จะได้รับเงินคืนจากไครสเลอร์จำนวนเท่าใด
สำหรับการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ทำให้ไครสเลอร์ต้องปิดกิจการ เพียงแต่จะต้องยุติการผลิตรถยนต์ลงชั่วคราว เริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้า เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างบริษัทและเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรกับเฟียต
ทั้งนี้ การเจรจาระหว่างกระทรวงคลังสหรัฐและเจ้าหนี้ของไครส์เลอร์ล้มเหลวเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น โดยกระทรวงคลังเสนอให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้ของไครส์เลอร์จาก 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 241,500 ล้านบาท เหลือ 2,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 78,750 ล้านบาท ขยับขึ้นจากเดิมที่เสนอให้ลดเหลือ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 70,000 ล้านบาท แต่เจ้าหนี้ไม่ยินยอม ทำให้ไครสเลอร์ต้องยื่นขอล้มละลายในที่สุด.
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=45188
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 09:02
ไครสเลอร์ยื่นล้มละลายแลกเงินช่วยจากรัฐบาลสหรัฐ 8,000 ล้านดอลล่าร์ หวังฟื้นกิจการอีกครั้ง
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่า เขาสนับสนุนแผนการของไครสเลอร์ ในการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะล้มละลายในครั้งนี้ รวมถึงข้อตกลงการลงนามเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรกับเฟียต บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอิตาลี เพราะเชื่อว่าเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้ไครสเลอร์สามารถกลับมาฟื้นกิจการทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง แม้จะต้องใช้เวลานานหลายเดือน
การยื่นขอล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้ไครสเลอร์ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 280,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะยังเข้าไปทำหน้าที่ผู้ลงทุนให้กับบริษัท และจะช่วยเลือกผู้บริหารคนใหม่ด้วย แต่จะไม่เข้าไปควบคุมกิจการหรือการบริหารงาน ขณะที่ศาลจะเข้ามาตัดสินว่า บรรดาเจ้าหนี้จะได้รับเงินคืนจากไครสเลอร์จำนวนเท่าใด
สำหรับการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ทำให้ไครสเลอร์ต้องปิดกิจการ เพียงแต่จะต้องยุติการผลิตรถยนต์ลงชั่วคราว เริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้า เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างบริษัทและเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรกับเฟียต
ทั้งนี้ การเจรจาระหว่างกระทรวงคลังสหรัฐและเจ้าหนี้ของไครส์เลอร์ล้มเหลวเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น โดยกระทรวงคลังเสนอให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้ของไครส์เลอร์จาก 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 241,500 ล้านบาท เหลือ 2,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 78,750 ล้านบาท ขยับขึ้นจากเดิมที่เสนอให้ลดเหลือ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 70,000 ล้านบาท แต่เจ้าหนี้ไม่ยินยอม ทำให้ไครสเลอร์ต้องยื่นขอล้มละลายในที่สุด.
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=45188
Money is neutral