The essays of warren buffett
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
The essays of warren buffett
โพสต์ที่ 1
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (1)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
เป็น เวลาหลายปีที่ชื่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ปรากฏใกล้กับของบิลล์ เกตส์ เมื่อนิตยสาร Forbes เสนอรายชื่ออภิมหาเศรษฐีประจำปีของนิตยสาร แต่บัฟเฟตต์ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์เป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้าง ความร่ำรวยในยุคโลกไร้พรมแดน เช่น บิลล์ เกตส์ หากเป็นนักลงทุนและถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Berkshire Hathaway (BH) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมากว่าร้อยปีแล้วเพื่อทำธุรกิจด้านสิ่งทอ บัฟเฟตต์ใช้ BH ซึ่งเขากับหุ้นส่วนร่วมกันซื้อและเป็นประธานผู้บริหารเมื่อปี 2508 เป็นทางผ่านของการลงทุนจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มจาก 4 ดอลลาร์ เมื่อปี 2508 เป็น 75,000 ดอลลาร์ เมื่อปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นปีละ 28% แม้การลงทุนโดยการซื้อหุ้นในบริษัทอื่นจะมีกำไรดี แต่ BH จ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2510 ในจำนวนหุ้นละ 10 เซนต์
บัฟเฟตต์ ตั้งค่าตอบแทนให้ตัวเองต่ำมาก หากเทียบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ที่มีค่าตอบแทนปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ ข้อมูลล่าสุดบ่งว่าค่าตอบแทนของเขาเมื่อปี 2549 เท่ากับ 100,000 ดอลลาร์ ฉะนั้นความเป็นอภิมหาเศรษฐีของเขาส่วนใหญ่จึงวัดจากค่าหุ้นที่เขาถืออยู่ใน BH ซึ่งเมื่อต้นปี 2551 มีค่าเกินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เขาเข้าไปแทนที่บิลล์ เกตส์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก หลังจากเกตส์ครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 13 ปี จากปี 2513 บัฟเฟตต์เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นใน BH เป็นประจำ จดหมายเหล่านั้นพูดถึงปรัชญาและแนวคิดด้านการทำธุรกิจของเขาเมื่อปี 2539 Lawrence A. Cunningham ได้นำจดหมายเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett : Lessons for Corporate America ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 เป็นหนังสือขนาด 291 หน้า โดยแยกนำเสนอเป็น 7 ภาค เสริมด้วยบทส่งท้าย
ภาคแรกพูดถึงหลักธรรมาภิ บาลของการทำธุรกิจ (corporate governance) บัฟเฟตต์มองว่าผู้บริหารคือผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้น และผู้บริหารที่ดีที่สุดต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร แต่บางครั้งผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของเจ้าของบริษัทก็อาจขัดกันได้ บัฟเฟตต์จึงเน้นการมองหาทางเพื่อลดการขัดกัน พร้อมกับทางที่จะเอื้อให้ผู้บริหารทำงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยแรกได้แก่ความตรงไปตรงมาของผู้บริหารในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น ตามหลักข้อนี้ รายงานประจำปีของเขาจึงไม่ใช่จำพวกใช้กระดาษเงาวับพิมพ์ออกมาอย่างงดงาม หากเน้นข้อมูลและคำอธิบายง่ายๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อได้ทันที นอกจากนั้นบัฟเฟตต์ยังเลี่ยงการคาดการณ์อนาคต ซึ่งเขาเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข
อีกปัจจัยหนึ่งบัฟเฟตต์ ไม่เน้นเรื่องโครงสร้างของการบริหารตามตำรา ซึ่งเขามองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ สำหรับเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่การเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และทุ่มเท โดยเฉพาะตัวประธานผู้บริหาร หรือ CEO เนื่องจากเขามองว่าประธานผู้บริหารต่างจากพนักงานทั่วไป 3 ข้อ คือ ข้อแรก ผลงานของประธานผู้บริหารวัดยาก เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้กันขาดประสิทธิภาพและง่ายต่อการปรุงแต่ง ข้อที่ 2 ไม่มีใครอยู่เหนือประธานผู้บริหาร ฉะนั้นผลงานของผู้อยู่เหนือนั้นก็วัดไม่ได้ และข้อที่ 3 คณะกรรมการก็ไม่มีบทบาทของผู้อยู่เหนือผู้บริหาร เนื่องจากตามปกติความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายจะเป็นแบบกันเอง
โดย ทั่วไปการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารและของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกัน มักอาศัยมาตรการ เช่นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้น การแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เช่นด้านตรวจบัญชีและด้านค่าตอบแทน นอกจากนั้นสิ่งที่มักนิยมทำกันมาก ได้แก่การเชิญคนนอกมาเป็นกรรมการ แต่บัฟเฟตต์มองว่า วิธีการเหล่านั้นแก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงเสียอีก ทางออกของเขาคือการเลือกเฟ้นประธานผู้บริหารที่สามารถทำงานได้ดี แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่อ่อนแอและต้องมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อ ประเมินการทำงานของประธานผู้บริหารบ่อยๆ โดยที่เขาไม่เข้าร่วมประชุมด้วย
สำหรับ การบริหารบรรดาบริษัทลูก หรือบริษัทที่ BH เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ประธานผู้บริหารได้รับคำสั่งให้ยึดหลักการ 3 อย่าง คือทำตัวเสมือนเขาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว บริษัทนั้นเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยู่ และเขาไม่สามารถขายหรือควบรวมกับใครได้ภายในเวลา 100 ปี บัฟเฟตต์มองว่า หลักการเหล่านี้แก้ปัญหาอันเกิดจากผู้บริหารยึดเฉพาะตัวเลขผลกำไรในระยะสั้น เป็นเกณฑ์โดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยในระยะยาว ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการหาความสมดุลระหว่างผลกำไรในระยะสั้น กับผลที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว บัฟเฟตต์เองก็เคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องเลือกตัดสินใจในสภาพที่ผลกำไรในระยะ สั้นขัดกับวิวัฒนาการในระยะยาวเมื่อเขาต้องปิดกิจการด้านสิ่งทอเมื่อปี 2525 เนื่องจากเขามองว่ากิจการด้านสิ่งทอในอเมริกาหมดอนาคตแล้ว เขาเน้นย้ำเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งกับธุรกิจที่ไม่มีความสามารถแข่งขันได้ อย่างยั่งยืน
บางครั้งการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริหารกับ ของผู้ถือหุ้นยากแก่การมองเห็น เช่นเรื่องการกุศล โดยทั่วไปผู้บริหารจะจัดผลกำไรส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกุศลและเลือกองค์กรที่จะ ได้รับผลนั้น แต่การเลือกองค์กรของผู้บริหารมักไม่ตรงกับผลประโยชน์ของกิจการและของผู้ถือ หุ้น BH เองไม่ทำเช่นนั้น หากจะให้บริษัทลูกทำตามที่เคยทำมาก่อนที่ BH จะเข้าไปซื้อกิจการ นอกจากนั้นจะให้ผู้ถือหุ้นของ BH บอกว่าจะให้บริษัททำการกุศลกับองค์กรใดและในจำนวนเท่าไร
สำหรับ เรื่องการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร บัฟเฟตต์มองว่า นอกจากมันจะไม่มีผลในด้านการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้น เป็นไปในแนวเดียวกันแล้ว มันยังจะปกปิดความแตกต่างระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนี้อีกด้วย เช่นบางบริษัทวัดผลงานและให้รางวัลสิทธิการซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร ซึ่งค่าของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บผลกำไรเอาไว้ในบริษัท ไม่ใช่เพราะการนำเงินไปใช้ให้เกิดผลกำไรสูงขึ้นเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่า การให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในขณะที่ผู้บริหาร ได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนั้นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกไม่ได้ และไม่วางอยู่บนผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารเลย ฉะนั้นเขาแนะนำให้ผู้ถือหุ้นตรวจตราเรื่องการให้สิทธิการซื้อหุ้นอย่างถี่ ถ้วน
บัฟเฟตต์เน้นเรื่องผลปฏิบัติงานควรเป็นฐานของการคำนวณค่าตอบแทน ให้แก่ผู้บริหารซึ่งวัดโดยผลกำไรสุทธิ หากจะใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นต้องคำนวณจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารไม่ใช่ผล งานของบริษัท ทางที่ดีที่สุดคือไม่ใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นเลยเช่นเดียวกับ BH เพราะผู้บริหารที่เก่งกาจสามารถซื้อหุ้นได้จากเงินโบนัส ซึ่งจะทำให้เขาทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของจริงๆ
สำหรับกรรมการซึ่งมี หน้าที่ด้านการตรวจบัญชีต้องทำให้ผู้ตรวจบัญชีภายนอกตระหนักว่าเขาทำงาน เพื่อกรรมการ ไม่ใช่ทำเพื่อผู้บริหาร และต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์ คือ (1) หากผู้ตรวจบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบรายงานโดยลำพัง เขาจะรายงานอะไรแตกต่างออกไปหรือไม่ (2) หากเขาเป็นผู้ลงทุน รายงานนั้นให้ข้อมูลสำคัญๆ เพื่อการเข้าใจในผลงานของบริษัทหรือไม่ (3) หากเขาเป็นประธานผู้บริหาร เขาจะเปลี่ยนกระบวนการตรวจบัญชีภายในหรือไม่ และ (4) เขารู้ไหมว่ามีการโยกย้ายรายได้หรือรายจ่ายจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วง เวลาหนึ่งหรือไม่ การทำเช่นนี้จะทำให้ความใกล้ชิดระหว่างประธานผู้บริหารกับผู้ตรวจบัญชี ซึ่งไม่มีผลดีต่อผู้ถือหุ้นยุติลง
หน้า 34
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
เป็น เวลาหลายปีที่ชื่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ปรากฏใกล้กับของบิลล์ เกตส์ เมื่อนิตยสาร Forbes เสนอรายชื่ออภิมหาเศรษฐีประจำปีของนิตยสาร แต่บัฟเฟตต์ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์เป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้าง ความร่ำรวยในยุคโลกไร้พรมแดน เช่น บิลล์ เกตส์ หากเป็นนักลงทุนและถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Berkshire Hathaway (BH) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมากว่าร้อยปีแล้วเพื่อทำธุรกิจด้านสิ่งทอ บัฟเฟตต์ใช้ BH ซึ่งเขากับหุ้นส่วนร่วมกันซื้อและเป็นประธานผู้บริหารเมื่อปี 2508 เป็นทางผ่านของการลงทุนจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มจาก 4 ดอลลาร์ เมื่อปี 2508 เป็น 75,000 ดอลลาร์ เมื่อปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นปีละ 28% แม้การลงทุนโดยการซื้อหุ้นในบริษัทอื่นจะมีกำไรดี แต่ BH จ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2510 ในจำนวนหุ้นละ 10 เซนต์
บัฟเฟตต์ ตั้งค่าตอบแทนให้ตัวเองต่ำมาก หากเทียบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ที่มีค่าตอบแทนปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ ข้อมูลล่าสุดบ่งว่าค่าตอบแทนของเขาเมื่อปี 2549 เท่ากับ 100,000 ดอลลาร์ ฉะนั้นความเป็นอภิมหาเศรษฐีของเขาส่วนใหญ่จึงวัดจากค่าหุ้นที่เขาถืออยู่ใน BH ซึ่งเมื่อต้นปี 2551 มีค่าเกินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เขาเข้าไปแทนที่บิลล์ เกตส์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก หลังจากเกตส์ครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 13 ปี จากปี 2513 บัฟเฟตต์เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นใน BH เป็นประจำ จดหมายเหล่านั้นพูดถึงปรัชญาและแนวคิดด้านการทำธุรกิจของเขาเมื่อปี 2539 Lawrence A. Cunningham ได้นำจดหมายเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett : Lessons for Corporate America ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 เป็นหนังสือขนาด 291 หน้า โดยแยกนำเสนอเป็น 7 ภาค เสริมด้วยบทส่งท้าย
ภาคแรกพูดถึงหลักธรรมาภิ บาลของการทำธุรกิจ (corporate governance) บัฟเฟตต์มองว่าผู้บริหารคือผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้น และผู้บริหารที่ดีที่สุดต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร แต่บางครั้งผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของเจ้าของบริษัทก็อาจขัดกันได้ บัฟเฟตต์จึงเน้นการมองหาทางเพื่อลดการขัดกัน พร้อมกับทางที่จะเอื้อให้ผู้บริหารทำงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยแรกได้แก่ความตรงไปตรงมาของผู้บริหารในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น ตามหลักข้อนี้ รายงานประจำปีของเขาจึงไม่ใช่จำพวกใช้กระดาษเงาวับพิมพ์ออกมาอย่างงดงาม หากเน้นข้อมูลและคำอธิบายง่ายๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อได้ทันที นอกจากนั้นบัฟเฟตต์ยังเลี่ยงการคาดการณ์อนาคต ซึ่งเขาเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข
อีกปัจจัยหนึ่งบัฟเฟตต์ ไม่เน้นเรื่องโครงสร้างของการบริหารตามตำรา ซึ่งเขามองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ สำหรับเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่การเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และทุ่มเท โดยเฉพาะตัวประธานผู้บริหาร หรือ CEO เนื่องจากเขามองว่าประธานผู้บริหารต่างจากพนักงานทั่วไป 3 ข้อ คือ ข้อแรก ผลงานของประธานผู้บริหารวัดยาก เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้กันขาดประสิทธิภาพและง่ายต่อการปรุงแต่ง ข้อที่ 2 ไม่มีใครอยู่เหนือประธานผู้บริหาร ฉะนั้นผลงานของผู้อยู่เหนือนั้นก็วัดไม่ได้ และข้อที่ 3 คณะกรรมการก็ไม่มีบทบาทของผู้อยู่เหนือผู้บริหาร เนื่องจากตามปกติความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายจะเป็นแบบกันเอง
โดย ทั่วไปการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารและของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกัน มักอาศัยมาตรการ เช่นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้น การแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เช่นด้านตรวจบัญชีและด้านค่าตอบแทน นอกจากนั้นสิ่งที่มักนิยมทำกันมาก ได้แก่การเชิญคนนอกมาเป็นกรรมการ แต่บัฟเฟตต์มองว่า วิธีการเหล่านั้นแก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงเสียอีก ทางออกของเขาคือการเลือกเฟ้นประธานผู้บริหารที่สามารถทำงานได้ดี แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่อ่อนแอและต้องมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อ ประเมินการทำงานของประธานผู้บริหารบ่อยๆ โดยที่เขาไม่เข้าร่วมประชุมด้วย
สำหรับ การบริหารบรรดาบริษัทลูก หรือบริษัทที่ BH เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ประธานผู้บริหารได้รับคำสั่งให้ยึดหลักการ 3 อย่าง คือทำตัวเสมือนเขาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว บริษัทนั้นเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยู่ และเขาไม่สามารถขายหรือควบรวมกับใครได้ภายในเวลา 100 ปี บัฟเฟตต์มองว่า หลักการเหล่านี้แก้ปัญหาอันเกิดจากผู้บริหารยึดเฉพาะตัวเลขผลกำไรในระยะสั้น เป็นเกณฑ์โดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยในระยะยาว ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการหาความสมดุลระหว่างผลกำไรในระยะสั้น กับผลที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว บัฟเฟตต์เองก็เคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องเลือกตัดสินใจในสภาพที่ผลกำไรในระยะ สั้นขัดกับวิวัฒนาการในระยะยาวเมื่อเขาต้องปิดกิจการด้านสิ่งทอเมื่อปี 2525 เนื่องจากเขามองว่ากิจการด้านสิ่งทอในอเมริกาหมดอนาคตแล้ว เขาเน้นย้ำเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งกับธุรกิจที่ไม่มีความสามารถแข่งขันได้ อย่างยั่งยืน
บางครั้งการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริหารกับ ของผู้ถือหุ้นยากแก่การมองเห็น เช่นเรื่องการกุศล โดยทั่วไปผู้บริหารจะจัดผลกำไรส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกุศลและเลือกองค์กรที่จะ ได้รับผลนั้น แต่การเลือกองค์กรของผู้บริหารมักไม่ตรงกับผลประโยชน์ของกิจการและของผู้ถือ หุ้น BH เองไม่ทำเช่นนั้น หากจะให้บริษัทลูกทำตามที่เคยทำมาก่อนที่ BH จะเข้าไปซื้อกิจการ นอกจากนั้นจะให้ผู้ถือหุ้นของ BH บอกว่าจะให้บริษัททำการกุศลกับองค์กรใดและในจำนวนเท่าไร
สำหรับ เรื่องการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร บัฟเฟตต์มองว่า นอกจากมันจะไม่มีผลในด้านการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้น เป็นไปในแนวเดียวกันแล้ว มันยังจะปกปิดความแตกต่างระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนี้อีกด้วย เช่นบางบริษัทวัดผลงานและให้รางวัลสิทธิการซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร ซึ่งค่าของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บผลกำไรเอาไว้ในบริษัท ไม่ใช่เพราะการนำเงินไปใช้ให้เกิดผลกำไรสูงขึ้นเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่า การให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในขณะที่ผู้บริหาร ได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนั้นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกไม่ได้ และไม่วางอยู่บนผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารเลย ฉะนั้นเขาแนะนำให้ผู้ถือหุ้นตรวจตราเรื่องการให้สิทธิการซื้อหุ้นอย่างถี่ ถ้วน
บัฟเฟตต์เน้นเรื่องผลปฏิบัติงานควรเป็นฐานของการคำนวณค่าตอบแทน ให้แก่ผู้บริหารซึ่งวัดโดยผลกำไรสุทธิ หากจะใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นต้องคำนวณจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารไม่ใช่ผล งานของบริษัท ทางที่ดีที่สุดคือไม่ใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นเลยเช่นเดียวกับ BH เพราะผู้บริหารที่เก่งกาจสามารถซื้อหุ้นได้จากเงินโบนัส ซึ่งจะทำให้เขาทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของจริงๆ
สำหรับกรรมการซึ่งมี หน้าที่ด้านการตรวจบัญชีต้องทำให้ผู้ตรวจบัญชีภายนอกตระหนักว่าเขาทำงาน เพื่อกรรมการ ไม่ใช่ทำเพื่อผู้บริหาร และต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์ คือ (1) หากผู้ตรวจบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบรายงานโดยลำพัง เขาจะรายงานอะไรแตกต่างออกไปหรือไม่ (2) หากเขาเป็นผู้ลงทุน รายงานนั้นให้ข้อมูลสำคัญๆ เพื่อการเข้าใจในผลงานของบริษัทหรือไม่ (3) หากเขาเป็นประธานผู้บริหาร เขาจะเปลี่ยนกระบวนการตรวจบัญชีภายในหรือไม่ และ (4) เขารู้ไหมว่ามีการโยกย้ายรายได้หรือรายจ่ายจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วง เวลาหนึ่งหรือไม่ การทำเช่นนี้จะทำให้ความใกล้ชิดระหว่างประธานผู้บริหารกับผู้ตรวจบัญชี ซึ่งไม่มีผลดีต่อผู้ถือหุ้นยุติลง
หน้า 34
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
The essays of warren buffett
โพสต์ที่ 2
วันที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4085
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (2)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
ภาค สอง พูดถึงการเงินและการลงทุนของบริษัท (corporate finance and investing) แนวคิดของบัฟเฟตต์ในด้านนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากอาจารย์ของเขาตั้งแต่ครั้งที่ ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และอยู่คนละขั้วกับแนวคิดกระแสหลักซึ่งนักลงทุนโดยทั่วไปมักใช้เป็นฐานของ การลงทุน แนวคิดกระแสหลักมักอ้างถึงทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ซึ่งเสนอว่า อย่าเสียเวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมองหาโอกาสลงทุนเลย การทำเช่นนั้นสู้กระทั่งการสุ่มเลือกซื้อหุ้นก็ไม่ได้ แนวคิดนี้นำไปสู่ทฤษฎีการจัดกลุ่มหลักทรัพย์สมัยใหม่ซึ่งวางอยู่บนฐานของ ความเชื่อที่ว่า ตลาดมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลัก ทรัพย์ถูกถ่ายทอดและนำไปสู่การปรับราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราคาหุ้นสะท้อนค่ามูลฐานของหุ้นนั้นอย่างแม่นยำและการแยกถือหุ้นใน หลายบริษัทเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกิดจากการขึ้นๆ ลงๆ ของราคาได้เป็นอย่างดี
บัฟเฟตต์มองว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพมากตามที่ทฤษฎีนั้นเชื่อและการคิดว่าความเสี่ยงหลักมา จากการขึ้นๆ ลงๆ ของราคานั้นผิดถนัด ในช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา ทฤษฎีนั้นไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ก่อให้เกิดการถก เถียงกันอย่างกว้างขวาง การถกเถียงกันนั้นนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตเรื่องความสำเร็จของบัฟเฟตต์ ซึ่งสามารถทำกำไรได้ในอัตราสูงถึงสองเท่าของตลาดติดต่อกันมาเป็นเวลาถึง 40 ปี ทั้งที่ยึดหลักการลงทุนและการทำธุรกิจแบบเก่าที่เขาร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัย อยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และหากย้อนกลับไปดูผู้ใช้หลักเก่าแก่นั้นก็จะพบว่า เขาประสบความสำเร็จมาก่อนบัฟเฟตต์แล้วถึง 20 ปีด้วย แต่นักลงทุนรุ่นใหม่ยังพากันเชื่อว่าบัฟเฟตต์เพียงโชคดี หรือไม่ก็มีข้อมูลภายในซึ่งไม่มีใครรู้ ส่วนบัฟเฟตต์เพียงแต่หัวเราะและเสนอให้นักลงทุนทั่วไปพิจารณาลงทุนเป็น 2 แนว คือลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวม ซึ่งแยกซื้อหุ้นของบริษัทที่เป็นฐานของการสร้างดัชนีชี้วัดภาวะของตลาด (index funds) และซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วนว่าน่าซื้อ นั่นคือวิเคราะห์ทั้งการบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ คู่แข่ง ระดับของหนี้สิน ผลประกอบการและระดับของภาษีทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตามหลักและการปฏิบัติของเขา แทนที่จะใช้วิธีกระจายการถือหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้พิจารณาการกระจุกตัวของเงินทุนส่วนใหญ่ไว้ในหุ้นของสองถึง สามบริษัท ซึ่งผู้ลงทุนมีความรู้อยู่บ้างและแน่ใจว่ามีการบริหารจัดการชั้นเยี่ยม
บัฟเฟตต์ เรียนการลงทุนจากอาจารย์ชื่อ เบน แกรม และจากการทำงานกับบริษัทที่อาจารย์ผู้นั้นเป็นหุ้นส่วน ซึ่งมีแนวคิดหลักๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ข้อแรก ต้องแยกให้ออกระหว่าง "ราคา" กับ "ค่า" ของหุ้น ราคาเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาด ส่วนค่าเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อได้ไป แต่คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นและคิดว่าสองสิ่งนั้นเท่ากัน ข้อสอง ซื้อเฉพาะหุ้นที่มี "ส่วนเผื่อความปลอดภัย" (margin of safety) สูงมากๆ เท่านั้น ส่วนเผื่อความปลอดภัยหมายถึงค่าหุ้นที่สูงกว่าราคาหุ้นซึ่งซื้อขายกันอยู่ใน ตลาด บัฟเฟตต์ชี้ว่าการลงทุนที่ไม่ยึดความแตกต่างของสองอย่างนี้มีค่าเท่ากับการ เก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุน เขาหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร แต่อาจใช้เงินสดที่มีอยู่ในมือซื้อขายในต่างตลาด เมื่อพบว่าราคาของสิ่งนั้นต่างกัน (arbitrage) หลักของการตัดสินใจว่าจะใช้เงินสดแบบนั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 อย่าง ซึ่งวางอยู่บนฐานของข้อมูล ไม่ใช่ข่าวลือ นั่นคือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ ระยะเวลาที่จะใช้เงินนั้นทำอย่างอื่นไม่ได้ ค่าเสียโอกาสของเงิน และความเสียหายในกรณีที่เหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ข้อสาม ลงทุนเฉพาะในกิจการที่ผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเท่านั้น อย่าลงทุนตามกระแสในตลาด
ภาคสาม พูดถึงการลงทุนทางเลือกนอกเหนือจากหุ้นสามัญ (alternatives to common stock) บัฟเฟตต์นำหลักของเขาไปประยุกต์ใช้ในด้านนี้ใน 4 ทางเลือกด้วยกัน คือหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือพันธบัตรขยะ (junk bonds) หุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (zero-coupon bonds) อนุพันธ์ และเงินตราต่างประเทศ
นักลงทุนที่เชื่อในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยง สูงมักอ้างถึงภาวะพื้นฐานเรื่องการมีกริชจี้อกอยู่ นั่นคือผู้ขับรถจะใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษในภาวะที่มีกริชผูกอยู่ กับพวงมาลัยโดยให้ปลายชี้ไปที่หน้าอกของเขา ฉะนั้นการมีหนี้สินมากจะทำให้ผู้บริหารมีความระมัดระวังมากขึ้น นักลงทุนเหล่านี้อ้างถึงผลการวิจัยที่ยืนยันว่า ดอกเบี้ยสูงที่ได้จากหุ้นกู้จำพวกนี้ให้ผลตอบแทนเกินกว่าอัตราการเบี้ยวหนี้ ที่เกิดขึ้นสูงกว่าอัตราทั่วไป แต่บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นความผิดพลาดของพวกเขาทั้งจากทางปฏิบัติและทางทฤษฎี โดยอ้างถึงการล้มละลายในอัตราสูงมากของบริษัทที่มีหนี้สินสูงในช่วงเศรษฐกิจ ถดถอยเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับในด้านทฤษฎีที่นักลงทุนอ้างถึงซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าภาวะรอบ ด้านที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นอีกนั้น บัฟเฟตต์แย้งว่ามันเป็นไปไม่ได้
สำหรับ ด้านหุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นว่า ในประวัติศาสตร์ของหุ้นกู้ชนิดนี้ ผู้ซื้อสามารถกำหนดอัตราค่าตอบแทนได้ในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยของหุ้นกู้ ปกติ ในขณะเดียวกันมันก็เอื้อให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถกู้เงินได้มากกว่าในกรณีที่ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยเงินสดเป็นระยะๆ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อกิจการที่ออกหุ้นกู้เป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางการเงิน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ถึงผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งชำระหนี้ไม่ได้
อนุพันธ์ เป็นตราสารใหม่ที่สร้างขึ้นจากความเคลื่อนไหวของดัชนีต่างๆ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ามันเป็นวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ทั้งที่ BH ซื้ออนุพันธ์บ้างเป็นครั้งคราวในจำนวนไม่มากนัก เมื่อเห็นว่าการตั้งราคาต่างไปจากค่าที่แท้จริงของมันอย่างแจ้งชัด แต่บัฟเฟตต์ต่อต้านเพราะโดยพื้นฐานแล้ว เขาเชื่อว่าไม่มีใครสามารถประเมินความเสี่ยงของมันได้ และซ้ำร้ายมันอาจก่อให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยง เนื่องจากมันโยงไปถึงหลายสิ่งหลายอย่างและสถาบันการเงินจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคส่วนเดียวอาจแพร่ขยายไปสู่ภาคส่วนอื่น อย่างรวดเร็ว ยังผลให้ทั้งระบบประสบปัญหาร้ายแรงถึงขั้นวิกฤต จริงอยู่บัฟเฟตต์ยอมรับว่า ทัศนคติของเขาเกี่ยวกับความเสี่ยงของอนุพันธ์อาจเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงแบบขนานใหญ่ที่จะทำให้บริษัทของเขาสูญสถานะของผู้มี ประวัติแห่งความมั่นคงสูง แต่เขามีประสบการณ์ตรงจากการซื้อบริษัทประกันภัยมาแล้ว บริษัทนั้นขายยากเนื่องจากมันมีหนี้สินระยะยาวที่สลับซับซ้อนจำนวนมากที่ใช้ เวลานานกว่าจะสะสางสำเร็จ
ในด้านเงินตราต่างประเทศ ต้นตอของปัญหามาจากการขาดดุลชำระเงินจำนวนมากอย่างต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา จนทำให้ค่าของเงินดอลลาร์ตกต่ำเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น บัฟเฟตต์มองว่า การขาดดุลเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการโยกย้ายความมั่งคั่งของสหรัฐไปให้ชาวต่าง ประเทศ ร้ายยิ่งกว่านั้น นักลงทุนจากต่างประเทศที่ลงทุนในสหรัฐเริ่มได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าการ ลงทุนในต่างประเทศของชาวอเมริกันแล้ว และที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ การขาดดุลนี้เกิดจากการบริโภคเกินพอดีของชาวอเมริกัน ซึ่งรังแต่จะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจจนนำไปสู่วิกฤตการเมืองในสหรัฐได้ สภาพเช่นนี้มีผลต่อการลงทุนของ BH ซึ่งมีทรัพย์สินที่ถือไว้หลายหมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการตกต่ำของค่าเงินสกุลดอลลาร์ บัฟเฟตต์เริ่มเข้าไปทำธุรกรรมในตลาดเงินตราเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2545 นอกจากนั้น BH ยังซื้อหุ้นที่ตีค่าเป็นเงินตราสกุลอื่นนอกจากดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (2)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
ภาค สอง พูดถึงการเงินและการลงทุนของบริษัท (corporate finance and investing) แนวคิดของบัฟเฟตต์ในด้านนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากอาจารย์ของเขาตั้งแต่ครั้งที่ ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และอยู่คนละขั้วกับแนวคิดกระแสหลักซึ่งนักลงทุนโดยทั่วไปมักใช้เป็นฐานของ การลงทุน แนวคิดกระแสหลักมักอ้างถึงทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ซึ่งเสนอว่า อย่าเสียเวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมองหาโอกาสลงทุนเลย การทำเช่นนั้นสู้กระทั่งการสุ่มเลือกซื้อหุ้นก็ไม่ได้ แนวคิดนี้นำไปสู่ทฤษฎีการจัดกลุ่มหลักทรัพย์สมัยใหม่ซึ่งวางอยู่บนฐานของ ความเชื่อที่ว่า ตลาดมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลัก ทรัพย์ถูกถ่ายทอดและนำไปสู่การปรับราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราคาหุ้นสะท้อนค่ามูลฐานของหุ้นนั้นอย่างแม่นยำและการแยกถือหุ้นใน หลายบริษัทเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกิดจากการขึ้นๆ ลงๆ ของราคาได้เป็นอย่างดี
บัฟเฟตต์มองว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพมากตามที่ทฤษฎีนั้นเชื่อและการคิดว่าความเสี่ยงหลักมา จากการขึ้นๆ ลงๆ ของราคานั้นผิดถนัด ในช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา ทฤษฎีนั้นไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ก่อให้เกิดการถก เถียงกันอย่างกว้างขวาง การถกเถียงกันนั้นนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตเรื่องความสำเร็จของบัฟเฟตต์ ซึ่งสามารถทำกำไรได้ในอัตราสูงถึงสองเท่าของตลาดติดต่อกันมาเป็นเวลาถึง 40 ปี ทั้งที่ยึดหลักการลงทุนและการทำธุรกิจแบบเก่าที่เขาร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัย อยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และหากย้อนกลับไปดูผู้ใช้หลักเก่าแก่นั้นก็จะพบว่า เขาประสบความสำเร็จมาก่อนบัฟเฟตต์แล้วถึง 20 ปีด้วย แต่นักลงทุนรุ่นใหม่ยังพากันเชื่อว่าบัฟเฟตต์เพียงโชคดี หรือไม่ก็มีข้อมูลภายในซึ่งไม่มีใครรู้ ส่วนบัฟเฟตต์เพียงแต่หัวเราะและเสนอให้นักลงทุนทั่วไปพิจารณาลงทุนเป็น 2 แนว คือลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวม ซึ่งแยกซื้อหุ้นของบริษัทที่เป็นฐานของการสร้างดัชนีชี้วัดภาวะของตลาด (index funds) และซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วนว่าน่าซื้อ นั่นคือวิเคราะห์ทั้งการบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ คู่แข่ง ระดับของหนี้สิน ผลประกอบการและระดับของภาษีทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตามหลักและการปฏิบัติของเขา แทนที่จะใช้วิธีกระจายการถือหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้พิจารณาการกระจุกตัวของเงินทุนส่วนใหญ่ไว้ในหุ้นของสองถึง สามบริษัท ซึ่งผู้ลงทุนมีความรู้อยู่บ้างและแน่ใจว่ามีการบริหารจัดการชั้นเยี่ยม
บัฟเฟตต์ เรียนการลงทุนจากอาจารย์ชื่อ เบน แกรม และจากการทำงานกับบริษัทที่อาจารย์ผู้นั้นเป็นหุ้นส่วน ซึ่งมีแนวคิดหลักๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ข้อแรก ต้องแยกให้ออกระหว่าง "ราคา" กับ "ค่า" ของหุ้น ราคาเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาด ส่วนค่าเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อได้ไป แต่คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นและคิดว่าสองสิ่งนั้นเท่ากัน ข้อสอง ซื้อเฉพาะหุ้นที่มี "ส่วนเผื่อความปลอดภัย" (margin of safety) สูงมากๆ เท่านั้น ส่วนเผื่อความปลอดภัยหมายถึงค่าหุ้นที่สูงกว่าราคาหุ้นซึ่งซื้อขายกันอยู่ใน ตลาด บัฟเฟตต์ชี้ว่าการลงทุนที่ไม่ยึดความแตกต่างของสองอย่างนี้มีค่าเท่ากับการ เก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุน เขาหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร แต่อาจใช้เงินสดที่มีอยู่ในมือซื้อขายในต่างตลาด เมื่อพบว่าราคาของสิ่งนั้นต่างกัน (arbitrage) หลักของการตัดสินใจว่าจะใช้เงินสดแบบนั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 อย่าง ซึ่งวางอยู่บนฐานของข้อมูล ไม่ใช่ข่าวลือ นั่นคือความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ ระยะเวลาที่จะใช้เงินนั้นทำอย่างอื่นไม่ได้ ค่าเสียโอกาสของเงิน และความเสียหายในกรณีที่เหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ข้อสาม ลงทุนเฉพาะในกิจการที่ผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเท่านั้น อย่าลงทุนตามกระแสในตลาด
ภาคสาม พูดถึงการลงทุนทางเลือกนอกเหนือจากหุ้นสามัญ (alternatives to common stock) บัฟเฟตต์นำหลักของเขาไปประยุกต์ใช้ในด้านนี้ใน 4 ทางเลือกด้วยกัน คือหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือพันธบัตรขยะ (junk bonds) หุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (zero-coupon bonds) อนุพันธ์ และเงินตราต่างประเทศ
นักลงทุนที่เชื่อในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยง สูงมักอ้างถึงภาวะพื้นฐานเรื่องการมีกริชจี้อกอยู่ นั่นคือผู้ขับรถจะใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษในภาวะที่มีกริชผูกอยู่ กับพวงมาลัยโดยให้ปลายชี้ไปที่หน้าอกของเขา ฉะนั้นการมีหนี้สินมากจะทำให้ผู้บริหารมีความระมัดระวังมากขึ้น นักลงทุนเหล่านี้อ้างถึงผลการวิจัยที่ยืนยันว่า ดอกเบี้ยสูงที่ได้จากหุ้นกู้จำพวกนี้ให้ผลตอบแทนเกินกว่าอัตราการเบี้ยวหนี้ ที่เกิดขึ้นสูงกว่าอัตราทั่วไป แต่บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นความผิดพลาดของพวกเขาทั้งจากทางปฏิบัติและทางทฤษฎี โดยอ้างถึงการล้มละลายในอัตราสูงมากของบริษัทที่มีหนี้สินสูงในช่วงเศรษฐกิจ ถดถอยเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับในด้านทฤษฎีที่นักลงทุนอ้างถึงซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าภาวะรอบ ด้านที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นอีกนั้น บัฟเฟตต์แย้งว่ามันเป็นไปไม่ได้
สำหรับ ด้านหุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นว่า ในประวัติศาสตร์ของหุ้นกู้ชนิดนี้ ผู้ซื้อสามารถกำหนดอัตราค่าตอบแทนได้ในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยของหุ้นกู้ ปกติ ในขณะเดียวกันมันก็เอื้อให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถกู้เงินได้มากกว่าในกรณีที่ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยเงินสดเป็นระยะๆ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อกิจการที่ออกหุ้นกู้เป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางการเงิน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ถึงผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งชำระหนี้ไม่ได้
อนุพันธ์ เป็นตราสารใหม่ที่สร้างขึ้นจากความเคลื่อนไหวของดัชนีต่างๆ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ามันเป็นวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ทั้งที่ BH ซื้ออนุพันธ์บ้างเป็นครั้งคราวในจำนวนไม่มากนัก เมื่อเห็นว่าการตั้งราคาต่างไปจากค่าที่แท้จริงของมันอย่างแจ้งชัด แต่บัฟเฟตต์ต่อต้านเพราะโดยพื้นฐานแล้ว เขาเชื่อว่าไม่มีใครสามารถประเมินความเสี่ยงของมันได้ และซ้ำร้ายมันอาจก่อให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยง เนื่องจากมันโยงไปถึงหลายสิ่งหลายอย่างและสถาบันการเงินจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคส่วนเดียวอาจแพร่ขยายไปสู่ภาคส่วนอื่น อย่างรวดเร็ว ยังผลให้ทั้งระบบประสบปัญหาร้ายแรงถึงขั้นวิกฤต จริงอยู่บัฟเฟตต์ยอมรับว่า ทัศนคติของเขาเกี่ยวกับความเสี่ยงของอนุพันธ์อาจเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงแบบขนานใหญ่ที่จะทำให้บริษัทของเขาสูญสถานะของผู้มี ประวัติแห่งความมั่นคงสูง แต่เขามีประสบการณ์ตรงจากการซื้อบริษัทประกันภัยมาแล้ว บริษัทนั้นขายยากเนื่องจากมันมีหนี้สินระยะยาวที่สลับซับซ้อนจำนวนมากที่ใช้ เวลานานกว่าจะสะสางสำเร็จ
ในด้านเงินตราต่างประเทศ ต้นตอของปัญหามาจากการขาดดุลชำระเงินจำนวนมากอย่างต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา จนทำให้ค่าของเงินดอลลาร์ตกต่ำเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น บัฟเฟตต์มองว่า การขาดดุลเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการโยกย้ายความมั่งคั่งของสหรัฐไปให้ชาวต่าง ประเทศ ร้ายยิ่งกว่านั้น นักลงทุนจากต่างประเทศที่ลงทุนในสหรัฐเริ่มได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าการ ลงทุนในต่างประเทศของชาวอเมริกันแล้ว และที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ การขาดดุลนี้เกิดจากการบริโภคเกินพอดีของชาวอเมริกัน ซึ่งรังแต่จะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจจนนำไปสู่วิกฤตการเมืองในสหรัฐได้ สภาพเช่นนี้มีผลต่อการลงทุนของ BH ซึ่งมีทรัพย์สินที่ถือไว้หลายหมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการตกต่ำของค่าเงินสกุลดอลลาร์ บัฟเฟตต์เริ่มเข้าไปทำธุรกรรมในตลาดเงินตราเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2545 นอกจากนั้น BH ยังซื้อหุ้นที่ตีค่าเป็นเงินตราสกุลอื่นนอกจากดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
- py106
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
The essays of warren buffett
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณสำหรับบทความครับ... แต่แปะลิงค์ไว้หน่อยก็ดีนะครับ... เป็นเครดิต...
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
http://py106travel.blogspot.com
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
The essays of warren buffett
โพสต์ที่ 4
วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4086
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (3)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา [email protected]
ภาค 4 พูดถึงหุ้นสามัญ (common stock) ซึ่งเริ่มด้วยคำพูดที่บัฟเฟตต์ใช้กระเซ้านายหน้าค้าหุ้นผู้ติดตามเรื่องราว ของ Berkshire Hathaway (BH) เมื่อวันที่หุ้นของ BH เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรกในปี 2531 ว่า เขาจะคิดว่านายหน้าประสบความสำเร็จใหญ่หลวงถ้าเขาสามารถขายหุ้นของ BH ครั้งต่อไปได้ในเวลาอีก 2 ปี คำพูดนั้นสะท้อนปรัชญาพื้นฐานในการซื้อขายหุ้นของบัฟเฟตต์นั่นคือ ซื้อเพื่อเก็บไว้ มิใช่ซื้อเพื่อขายต่อ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่าสูงมากในรูปของค่านายหน้า ค่าบริหาร และค่าคำแนะนำของนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาทางธุรกิจ ในระยะหลังๆ นี้ยังมีค่าบริหารจัดการของอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มเข้าไปในรูปของกองทุนเพื่อ ซื้อหุ้นเอกชนและกองทุนเพื่อเก็งกำไร ซึ่งรวมกันแล้วเท่ากับราว 20% ของผลกำไรทั้งหมดที่บริษัทในสหรัฐอเมริกาทำได้ปีละประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์
ในขณะที่ประธานผู้บริหารคนอื่นๆ มักต้องการให้หุ้นในบริษัทของตนซื้อขายในราคาที่สูงกว่าค่าจริงของหุ้นมาก ที่สุด บัฟเฟตต์ต้องการเห็นหุ้นของ BH ซื้อขายกันในราคาเท่าๆ กับค่าจริงของมัน การซื้อขายกันในราคาที่เท่าๆ กับค่าหุ้นจริงแบบนั้นหมายถึงผลประกอบการในช่วงหนึ่งตกกับผู้ถือหุ้นในช่วง นั้น ซึ่งสะท้อนปรัชญาที่ว่า ผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่เพื่อมองหากำไรในระยะสั้น บัฟเฟตต์เชื่อว่าการซื้อขายเพื่อหวังผลในระยะสั้นสร้างปัญหาต่อผลประกอบการ ในระยะยาว ฉะนั้นเขาจะหลีกเลี่ยง
ดังที่กล่าวถึงในตอน (1) ราคาหุ้นของ BH ขึ้นจาก 4 ดอลลาร์ เป็น 75,000 ดอลลาร์ แต่ BH จ่ายเงินปันผลครั้งเดียวเพียง 10 เซนต์ต่อหุ้น และไม่เคยแตกหุ้นแม้แต่ครั้งเดียว นั่นเป็นการสะท้อนแนวคิดด้านการใช้ผลกำไรของบัฟเฟตต์ กฎเกณฑ์ในการตัดสินใจของเขาว่าจะจ่ายเงินปันผลหรือจะเก็บผลกำไรไว้เพื่อนำไป ลงทุนต่อมีอยู่ข้อเดียว คือ เงินทุนที่เก็บไว้จะต้องทำผลกำไรได้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่นักลงทุนทั่วไปสามารถ ทำได้ ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่ทำตามกฎข้อนี้และเก็บผลกำไรไว้เพื่อจุดมุ่งหมายอื่น ที่ไม่สะท้อนผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น การสร้างอาณาจักรของตัวเองและเพื่อความสะดวกสบายในการหยิบมาใช้
สำหรับ ในด้านการซื้อหุ้นคืน เขาเห็นด้วยถ้าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่าค่าจริงของหุ้นมากๆ ในอดีตการซื้อหุ้นคืนไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากโดยผู้บริหารบางคนซึ่งมองเห็นว่า ถ้าค่าหุ้นสูงกว่าราคาหุ้นในราว 2 เท่าจริงๆ ไม่ว่าจะใช้เงินทำอะไรจะไม่ได้ค่าตอบแทนสูงกว่าการซื้อหุ้นคืน แต่ในระยะหลังนี้ผู้บริหารมักซื้อหุ้นคืนด้วยราคาที่สูงกว่าค่าหุ้นจริงเสีย อีก เพื่อหวังจะอุ้มราคาหุ้นที่ซบเซา หรือไม่ก็เพื่อให้ได้หุ้นมาแทนหุ้นที่ออกไปในการออกตราสารสิทธิซื้อหุ้นซึ่ง ผู้บริหารใช้ซื้อหุ้นด้วยราคาต่ำกว่าตลาดมาก
ในด้านการแตกหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้ผู้ถือหุ้นติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะการแตกหุ้นมีผล 3 อย่าง คือ มันทำให้เกิดความสูญเปล่ามากขึ้น เนื่องจากมันกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายบ่อยขึ้น มันดึงดูดนักซื้อหุ้นเพื่อหวังผลกำไรในระยะสั้น ซึ่งเน้นเรื่องราคาหุ้นเกินความจำเป็น และ 2 ปัจจัยที่กล่าวมานำไปสู่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างราคาและค่าจริง ของหุ้น หากไม่มีผลประโยชน์อย่างอื่นเข้ามาแทนอย่างคุ้มค่า การแตกหุ้นเป็นการกระทำที่สะท้อนความเขลา สำหรับ BH การกระทำเช่นนั้นจะเป็นการรื้อฐานของปรัชญาที่บริษัทใช้มาตลอดเพื่อดึงดูด นักลงทุนที่ซื้อหุ้นเก็บไว้ในระยะยาว
นโยบายเกี่ยวกับการปันผลและ ราคาหุ้นที่สูงมากของ BH มีผลพวง 2 อย่าง ได้แก่ ผู้ถือหุ้นยกหุ้นให้ผู้อื่นได้ยากมาก และมีนักธุรกิจหัวใสใช้ผลประกอบการของ BH ออกหลักทรัพย์เทียมมาขายในตลาดเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อตอนกลางปี 2539 BH ปรับโครงสร้างทุนด้วยการขายหุ้นชั้น B ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ใน 30 หุ้นชั้น A ที่บริษัทมีอยู่แล้ว แต่ในด้านการออกเสียงมีค่าเพียง 1 ใน 200 ของชั้น A เนื่องจากหุ้นชั้น A สามารถเปลี่ยนเป็นชั้น B ได้ ผู้ที่ต้องการแยกยกหุ้นให้ผู้อื่นสามารถแตกหุ้นด้วยตัวเองจากชั้น A เป็นชั้น B เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นได้ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ มันทำให้นักสร้างหลักทรัพย์เทียมหัวใสหมดโอกาสทำเงินได้จากผู้ไม่ค่อยรู้ เรื่องราวของ BH อย่างลึกซึ้ง และก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาและค่าจริงของหุ้น
เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นในตลาดและเพื่อแสดงว่าการออกหุ้นชั้น B นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ต้องการถือหุ้นไว้ในระยะยาวเป็นผู้ซื้อ บัฟเฟตต์เองประกาศว่าเขาจะไม่ซื้อทั้งหุ้นชั้น A ตามราคาในตลาด และหุ้นชั้น B ตามราคาที่เสนอขายอย่างเด็ดขาด การประกาศเช่นนั้นมีผลตามที่เขาต้องการ เนื่องจากต่อมาการซื้อขายหุ้นของ BH ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก นักวิจารณ์พากันสงสัยว่าเพราะอะไรบัฟเฟตต์จึงทำเช่นนั้น เพราะโดยทั่วไปผู้บริหารจะประกาศว่าบริษัทขายหุ้นใหม่ในราคาน่าซื้อมาก แต่เนื่องจากการประกาศเช่นนั้นส่งสัญญาณว่าหุ้นออกใหม่ขายในราคาต่ำกว่าค่า จริงของมัน และการขายหุ้นเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการปล้นผู้ที่มีหุ้นอยู่แล้ว บัฟเฟตต์จึงถือว่ามันเป็นอาชญากรรม
ภาค 5 พูดถึงการควบรวม (mergers and acquisitions) นโยบายในด้านนี้ของ BH มีชื่อว่า วิธีการ "ลูกซองแฝด" นั่นคือจะซื้อบริษัทส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด เมื่อบริษัทนั้นมีทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดี และมีผู้บริหารที่บัฟเฟตต์ชอบ เชื่อใจและเลื่อมใส บัฟเฟตต์เชื่อว่าการซื้อบริษัทไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยราคาสูงเป็นพิเศษ ยกเว้นในสองกรณีซึ่งไม่มีโอกาสให้ซื้อบ่อยนัก นั่นคือกรณีที่บริษัทมีธุรกิจชนิดผูกขาดซึ่งสามารถขึ้นราคาได้โดยไม่กระทบ ต่อการขายสินค้า และกรณีที่มีผู้จัดการซึ่งมีความสามารถเป็นพิเศษที่จะทำกำไรได้อย่างงดงาม เกินธรรมดา แต่เนื่องจากโอกาสเช่นนี้มีเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก การซื้อกิจการมาควบรวมด้วยราคาแพงๆ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจึงมักเกิดจากปัจจัยที่อยู่ในหัวของผู้บริหาร 3 ด้านด้วยกัน คือ ความตื่นเต้นจากการได้ควบรวม ความตื่นเต้นจากการมีขนาดใหญ่ขึ้น และการสร้างวิมานในอากาศ
ในการ ซื้อบริษัทอื่น BH จะออกหุ้นใหม่ในกรณีเดียว คือ เมื่อแน่ใจว่าสิ่งที่ได้รับกับสิ่งที่ให้มีค่าเท่ากัน แต่เรื่องนี้นับวันจะทำยากขึ้นเนื่องจาก BH ซื้อบริษัทไว้มากมาย การจะให้กิจการใหม่เพิ่มค่าให้แก่สิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นยากมาก นอกจากนั้นการออกหุ้นใหม่ก็เปรียบเสมือนการตัดส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีอยู่ แล้วให้ผู้อื่นไป โดยทั่วไปแล้วบัฟเฟตต์มองว่าการควบรวมแบบออกหุ้นใหม่ทำได้ยากมาก เนื่องจากการตีค่าหุ้นให้ตรงกับค่าจริงของกิจการของฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายทำ ได้ยาก
บัฟเฟตต์ต่อต้านพฤติกรรมสำคัญในวงการธุรกิจที่มีค่าเท่ากับ การกรรโชกทรัพย์ (green-mail) นั่นคือ ผู้บริหารถูกกดดันให้ซื้อคืนหุ้นของบริษัทที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นบางคน ด้วยราคาแพงเป็นพิเศษ และถูกขู่ว่าถ้าไม่ซื้อผู้ถือหุ้นนั้นจะซื้อบริษัททั้งหมดแล้วตะเพิดผู้ บริหารออกไป จริงอยู่พฤติกรรมชนิดนี้มีผลทำให้ราคาหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่บัฟเฟตต์ถือว่ามันเป็นการปล้นกันชัดๆ ในทำนองเดียวกันเขาต่อต้านการเข้ายึดครองบริษัทด้วยการใช้เงินกู้ที่มีชื่อ เรียกว่า leveraged buy-out ซึ่งมีผลทำให้บริษัทอ่อนแอลง ต้องดิ้นรนเป็นพิเศษเพื่อหาเงินสดมาชำระหนี้ และทำให้การควบรวมมีต้นทุนสูงเกินความจำเป็น
บัฟเฟตต์มองว่า การหากิจการมาควบรวมเพื่อให้บริษัทของตนมีค่าสูงขึ้นนั้นทำได้ยากมาก และส่วนใหญ่การควบรวมทำให้ค่าจริงของบริษัทลดลง ในการพิจารณาซื้อกิจการมาควบรวม ผู้ซื้อจะต้องคำนวณเปรียบเทียบด้วยว่า ถ้าจะใช้เงินทุนนั้นทำอย่างอื่นจะได้ผลสูงกว่าหรือไม่ โดยเฉพาะการแยกทุนไปซื้อหุ้นของบริษัทดีๆ ที่มีขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หลายๆ บริษัท ในการแสวงหากิจการมาควบรวม BH มักได้เปรียบผู้อื่นเนื่องจากมีหุ้นที่มีค่าสูงและมีประวัติในการให้อิสระ สูงแก่ผู้บริหารจัดการของบริษัทที่ BH ซื้อมาควบรวม
หน้า 38
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (3)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา [email protected]
ภาค 4 พูดถึงหุ้นสามัญ (common stock) ซึ่งเริ่มด้วยคำพูดที่บัฟเฟตต์ใช้กระเซ้านายหน้าค้าหุ้นผู้ติดตามเรื่องราว ของ Berkshire Hathaway (BH) เมื่อวันที่หุ้นของ BH เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรกในปี 2531 ว่า เขาจะคิดว่านายหน้าประสบความสำเร็จใหญ่หลวงถ้าเขาสามารถขายหุ้นของ BH ครั้งต่อไปได้ในเวลาอีก 2 ปี คำพูดนั้นสะท้อนปรัชญาพื้นฐานในการซื้อขายหุ้นของบัฟเฟตต์นั่นคือ ซื้อเพื่อเก็บไว้ มิใช่ซื้อเพื่อขายต่อ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่าสูงมากในรูปของค่านายหน้า ค่าบริหาร และค่าคำแนะนำของนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาทางธุรกิจ ในระยะหลังๆ นี้ยังมีค่าบริหารจัดการของอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มเข้าไปในรูปของกองทุนเพื่อ ซื้อหุ้นเอกชนและกองทุนเพื่อเก็งกำไร ซึ่งรวมกันแล้วเท่ากับราว 20% ของผลกำไรทั้งหมดที่บริษัทในสหรัฐอเมริกาทำได้ปีละประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์
ในขณะที่ประธานผู้บริหารคนอื่นๆ มักต้องการให้หุ้นในบริษัทของตนซื้อขายในราคาที่สูงกว่าค่าจริงของหุ้นมาก ที่สุด บัฟเฟตต์ต้องการเห็นหุ้นของ BH ซื้อขายกันในราคาเท่าๆ กับค่าจริงของมัน การซื้อขายกันในราคาที่เท่าๆ กับค่าหุ้นจริงแบบนั้นหมายถึงผลประกอบการในช่วงหนึ่งตกกับผู้ถือหุ้นในช่วง นั้น ซึ่งสะท้อนปรัชญาที่ว่า ผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่เพื่อมองหากำไรในระยะสั้น บัฟเฟตต์เชื่อว่าการซื้อขายเพื่อหวังผลในระยะสั้นสร้างปัญหาต่อผลประกอบการ ในระยะยาว ฉะนั้นเขาจะหลีกเลี่ยง
ดังที่กล่าวถึงในตอน (1) ราคาหุ้นของ BH ขึ้นจาก 4 ดอลลาร์ เป็น 75,000 ดอลลาร์ แต่ BH จ่ายเงินปันผลครั้งเดียวเพียง 10 เซนต์ต่อหุ้น และไม่เคยแตกหุ้นแม้แต่ครั้งเดียว นั่นเป็นการสะท้อนแนวคิดด้านการใช้ผลกำไรของบัฟเฟตต์ กฎเกณฑ์ในการตัดสินใจของเขาว่าจะจ่ายเงินปันผลหรือจะเก็บผลกำไรไว้เพื่อนำไป ลงทุนต่อมีอยู่ข้อเดียว คือ เงินทุนที่เก็บไว้จะต้องทำผลกำไรได้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่นักลงทุนทั่วไปสามารถ ทำได้ ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่ทำตามกฎข้อนี้และเก็บผลกำไรไว้เพื่อจุดมุ่งหมายอื่น ที่ไม่สะท้อนผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น การสร้างอาณาจักรของตัวเองและเพื่อความสะดวกสบายในการหยิบมาใช้
สำหรับ ในด้านการซื้อหุ้นคืน เขาเห็นด้วยถ้าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่าค่าจริงของหุ้นมากๆ ในอดีตการซื้อหุ้นคืนไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากโดยผู้บริหารบางคนซึ่งมองเห็นว่า ถ้าค่าหุ้นสูงกว่าราคาหุ้นในราว 2 เท่าจริงๆ ไม่ว่าจะใช้เงินทำอะไรจะไม่ได้ค่าตอบแทนสูงกว่าการซื้อหุ้นคืน แต่ในระยะหลังนี้ผู้บริหารมักซื้อหุ้นคืนด้วยราคาที่สูงกว่าค่าหุ้นจริงเสีย อีก เพื่อหวังจะอุ้มราคาหุ้นที่ซบเซา หรือไม่ก็เพื่อให้ได้หุ้นมาแทนหุ้นที่ออกไปในการออกตราสารสิทธิซื้อหุ้นซึ่ง ผู้บริหารใช้ซื้อหุ้นด้วยราคาต่ำกว่าตลาดมาก
ในด้านการแตกหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้ผู้ถือหุ้นติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะการแตกหุ้นมีผล 3 อย่าง คือ มันทำให้เกิดความสูญเปล่ามากขึ้น เนื่องจากมันกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายบ่อยขึ้น มันดึงดูดนักซื้อหุ้นเพื่อหวังผลกำไรในระยะสั้น ซึ่งเน้นเรื่องราคาหุ้นเกินความจำเป็น และ 2 ปัจจัยที่กล่าวมานำไปสู่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างราคาและค่าจริง ของหุ้น หากไม่มีผลประโยชน์อย่างอื่นเข้ามาแทนอย่างคุ้มค่า การแตกหุ้นเป็นการกระทำที่สะท้อนความเขลา สำหรับ BH การกระทำเช่นนั้นจะเป็นการรื้อฐานของปรัชญาที่บริษัทใช้มาตลอดเพื่อดึงดูด นักลงทุนที่ซื้อหุ้นเก็บไว้ในระยะยาว
นโยบายเกี่ยวกับการปันผลและ ราคาหุ้นที่สูงมากของ BH มีผลพวง 2 อย่าง ได้แก่ ผู้ถือหุ้นยกหุ้นให้ผู้อื่นได้ยากมาก และมีนักธุรกิจหัวใสใช้ผลประกอบการของ BH ออกหลักทรัพย์เทียมมาขายในตลาดเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อตอนกลางปี 2539 BH ปรับโครงสร้างทุนด้วยการขายหุ้นชั้น B ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ใน 30 หุ้นชั้น A ที่บริษัทมีอยู่แล้ว แต่ในด้านการออกเสียงมีค่าเพียง 1 ใน 200 ของชั้น A เนื่องจากหุ้นชั้น A สามารถเปลี่ยนเป็นชั้น B ได้ ผู้ที่ต้องการแยกยกหุ้นให้ผู้อื่นสามารถแตกหุ้นด้วยตัวเองจากชั้น A เป็นชั้น B เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นได้ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ มันทำให้นักสร้างหลักทรัพย์เทียมหัวใสหมดโอกาสทำเงินได้จากผู้ไม่ค่อยรู้ เรื่องราวของ BH อย่างลึกซึ้ง และก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาและค่าจริงของหุ้น
เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นในตลาดและเพื่อแสดงว่าการออกหุ้นชั้น B นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ต้องการถือหุ้นไว้ในระยะยาวเป็นผู้ซื้อ บัฟเฟตต์เองประกาศว่าเขาจะไม่ซื้อทั้งหุ้นชั้น A ตามราคาในตลาด และหุ้นชั้น B ตามราคาที่เสนอขายอย่างเด็ดขาด การประกาศเช่นนั้นมีผลตามที่เขาต้องการ เนื่องจากต่อมาการซื้อขายหุ้นของ BH ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก นักวิจารณ์พากันสงสัยว่าเพราะอะไรบัฟเฟตต์จึงทำเช่นนั้น เพราะโดยทั่วไปผู้บริหารจะประกาศว่าบริษัทขายหุ้นใหม่ในราคาน่าซื้อมาก แต่เนื่องจากการประกาศเช่นนั้นส่งสัญญาณว่าหุ้นออกใหม่ขายในราคาต่ำกว่าค่า จริงของมัน และการขายหุ้นเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการปล้นผู้ที่มีหุ้นอยู่แล้ว บัฟเฟตต์จึงถือว่ามันเป็นอาชญากรรม
ภาค 5 พูดถึงการควบรวม (mergers and acquisitions) นโยบายในด้านนี้ของ BH มีชื่อว่า วิธีการ "ลูกซองแฝด" นั่นคือจะซื้อบริษัทส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด เมื่อบริษัทนั้นมีทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดี และมีผู้บริหารที่บัฟเฟตต์ชอบ เชื่อใจและเลื่อมใส บัฟเฟตต์เชื่อว่าการซื้อบริษัทไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยราคาสูงเป็นพิเศษ ยกเว้นในสองกรณีซึ่งไม่มีโอกาสให้ซื้อบ่อยนัก นั่นคือกรณีที่บริษัทมีธุรกิจชนิดผูกขาดซึ่งสามารถขึ้นราคาได้โดยไม่กระทบ ต่อการขายสินค้า และกรณีที่มีผู้จัดการซึ่งมีความสามารถเป็นพิเศษที่จะทำกำไรได้อย่างงดงาม เกินธรรมดา แต่เนื่องจากโอกาสเช่นนี้มีเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก การซื้อกิจการมาควบรวมด้วยราคาแพงๆ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจึงมักเกิดจากปัจจัยที่อยู่ในหัวของผู้บริหาร 3 ด้านด้วยกัน คือ ความตื่นเต้นจากการได้ควบรวม ความตื่นเต้นจากการมีขนาดใหญ่ขึ้น และการสร้างวิมานในอากาศ
ในการ ซื้อบริษัทอื่น BH จะออกหุ้นใหม่ในกรณีเดียว คือ เมื่อแน่ใจว่าสิ่งที่ได้รับกับสิ่งที่ให้มีค่าเท่ากัน แต่เรื่องนี้นับวันจะทำยากขึ้นเนื่องจาก BH ซื้อบริษัทไว้มากมาย การจะให้กิจการใหม่เพิ่มค่าให้แก่สิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นยากมาก นอกจากนั้นการออกหุ้นใหม่ก็เปรียบเสมือนการตัดส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีอยู่ แล้วให้ผู้อื่นไป โดยทั่วไปแล้วบัฟเฟตต์มองว่าการควบรวมแบบออกหุ้นใหม่ทำได้ยากมาก เนื่องจากการตีค่าหุ้นให้ตรงกับค่าจริงของกิจการของฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายทำ ได้ยาก
บัฟเฟตต์ต่อต้านพฤติกรรมสำคัญในวงการธุรกิจที่มีค่าเท่ากับ การกรรโชกทรัพย์ (green-mail) นั่นคือ ผู้บริหารถูกกดดันให้ซื้อคืนหุ้นของบริษัทที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นบางคน ด้วยราคาแพงเป็นพิเศษ และถูกขู่ว่าถ้าไม่ซื้อผู้ถือหุ้นนั้นจะซื้อบริษัททั้งหมดแล้วตะเพิดผู้ บริหารออกไป จริงอยู่พฤติกรรมชนิดนี้มีผลทำให้ราคาหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่บัฟเฟตต์ถือว่ามันเป็นการปล้นกันชัดๆ ในทำนองเดียวกันเขาต่อต้านการเข้ายึดครองบริษัทด้วยการใช้เงินกู้ที่มีชื่อ เรียกว่า leveraged buy-out ซึ่งมีผลทำให้บริษัทอ่อนแอลง ต้องดิ้นรนเป็นพิเศษเพื่อหาเงินสดมาชำระหนี้ และทำให้การควบรวมมีต้นทุนสูงเกินความจำเป็น
บัฟเฟตต์มองว่า การหากิจการมาควบรวมเพื่อให้บริษัทของตนมีค่าสูงขึ้นนั้นทำได้ยากมาก และส่วนใหญ่การควบรวมทำให้ค่าจริงของบริษัทลดลง ในการพิจารณาซื้อกิจการมาควบรวม ผู้ซื้อจะต้องคำนวณเปรียบเทียบด้วยว่า ถ้าจะใช้เงินทุนนั้นทำอย่างอื่นจะได้ผลสูงกว่าหรือไม่ โดยเฉพาะการแยกทุนไปซื้อหุ้นของบริษัทดีๆ ที่มีขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หลายๆ บริษัท ในการแสวงหากิจการมาควบรวม BH มักได้เปรียบผู้อื่นเนื่องจากมีหุ้นที่มีค่าสูงและมีประวัติในการให้อิสระ สูงแก่ผู้บริหารจัดการของบริษัทที่ BH ซื้อมาควบรวม
หน้า 38
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
The essays of warren buffett
โพสต์ที่ 6
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4087
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (จบ)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
ภาค 6 พูดถึงการบัญชีและการประเมินค่า (accounting and valuation) ซึ่งบัฟเฟตต์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและข้อจำกัดของหลักการบัญชีที่ ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ในการสร้างความเข้าใจและการประเมินค่าของกิจการและการลงทุน เขาให้ความกระจ่างด้านความแตกต่างระหว่างค่าทางบัญชีกับค่าทางเศรษฐกิจและ แนวคิดต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ซึ่งทุกคนควรเข้าใจเกี่ยวกับบัญชีนั่นคือ มันเป็นรูปแบบ ฉะนั้นมันอาจถูกตกแต่งได้เขานำข้อเขียนของอาจารย์ของเขาที่เขียนเมื่อราว 70 ปีก่อนมาเสนอเพื่อชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งบัญชีแบบร้ายแรงนั้นทำกันมานานแล้ว และในสมัยนี้ก็ยังมีบริษัทต่างๆ ทำกันอยู่ บัฟเฟตต์ย้ำว่า รายงานทางการเงินที่ดีจะต้องให้ความกระจ่างใน 3 เรื่อง คือ มูลค่าของบริษัท ความสามารถในการรักษาพันธสัญญาในอนาคตของบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร บัฟเฟตต์เสนอแนวคิดหลายอย่างเพื่อทำให้รายงานทางการเงินมีประโยชน์อย่างแท้ จริงต่อนักลงทุนและผู้บริหาร โดยเฉพาะการให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับผลกำไรที่เก็บไว้ในบริษัทที่ถูก ซื้อไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นของผู้ซื้อ
บัฟเฟตต์พูดถึงความแตกต่าง ระหว่างค่าความนิยมทางบัญชี (accounting goodwill) และค่าความนิยมทางเศรษฐกิจ (economic goodwill) อย่างละเอียดทั้งที่เรื่องนี้มักเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้ว ค่าความนิยมทางบัญชีหมายถึงส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกิจการกับสินทรัพย์สุทธิ ของกิจการนั้น ส่วนต่างนี้ถูกลงบัญชีงบดุลไว้เป็นสินทรัพย์ซึ่งจะค่อยๆ ทยอยตัดค่าเสื่อมสิ้นออกตามช่วงเวลาที่กำหนด ฉะนั้นค่าความนิยมทางบัญชีจะค่อยๆ ลดลงตามสัดส่วนที่ถูกตัดออก ส่วนค่าความนิยมทางเศรษฐกิจหมายถึงสินทรัพย์ที่เป็นนามธรรม เช่น เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าบ่งบอกถึงคุณภาพสูง สินทรัพย์ชนิดนี้มีบทบาททำให้บริษัทสร้างกำไรได้เกินอัตราเฉลี่ย ปริมาณของค่าความนิยมได้มาจากการประเมินส่วนเกินนั้น ซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ กิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจสูงจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อน้อย กว่ากิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจต่ำ
การวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างค่าความนิยม 2 ชนิดนี้นำไปสู่ข้อเสนอเรื่องการปรับเปลี่ยนการทำบัญชีที่มีการโต้เถียงกันมา เวลานานนั่นคือ การควบรวมของบริษัทอาจทำบัญชีได้ใน 2 รูปแบบ จะทำแบบไหนขึ้นอยู่กับการมองว่าบริษัทหนึ่งซื้ออีกบริษัทหนึ่ง หรือมองว่าทั้งสองเข้ามารวมตัวกัน หากมองว่าเป็นการซื้อผลประกอบการจะต้องถูกหักออกด้วยค่าเสื่อมสิ้นเป็นเวลา นาน ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงนิยมมองว่ามันเป็นการรวมตัวกันซึ่งจะไม่ทำให้ผล ประกอบการถูกลด แต่นักการบัญชีที่แท้จริงเห็นว่าไม่น่าให้ทำได้ บัฟเฟตต์เสนอทางออกว่า ให้บันทึกค่าความนิยมไว้ในบัญชี แต่ไม่ต้องบังคับให้หักค่าเสื่อมสิ้นออกจากผลประกอบการในอนาคตโดยอัตโนมัติ ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้สองฝ่ายพอใจ มันยังจะทำให้เกิดบัญชีที่ตรงกับความเป็นจริงอีกด้วย ข้อเสนอนี้ในที่สุดได้รับการยอมรับในวงการบัญชี
บัฟเฟตต์ให้ความ สำคัญต่อมูลค่าในตัว (intrinsic value) ซึ่งต่างกับมูลค่าตามบัญชีและราคาซื้อขายในตลาด ความแตกต่างนี้ยากแก่การคำนวณ ทั้งนี้เพราะการคำนวณหาค่าในตัวนั้นยากมากทั้งที่มันมีคำจำกัดความแน่นอนว่า "ค่าปัจจุบันของเงินสดที่จะนำออกไปจากกิจการได้ในช่วงเวลาที่กิจการนั้นยัง ดำรงอยู่" ความยากเกิดจากการประเมินเงินสดที่จะได้มาในอนาคตและความเปลี่ยนแปลง ของดอกเบี้ย ในการประเมินค่าบัฟเฟตต์ยึดหลักที่อีสปสอนไว้ตั้งแต่สมัยโบราณกาลที่ว่า "นก 1 ตัวในมือมีค่าเท่ากับนก 2 ตัวในป่า" นั่นคือ การประเมินเป็นการนับเงินสด ไม่ใช่นับความหวังหรือความฝัน ซึ่งคนในยุคนี้มักนิยมทำกันจนนำไปสู่การเกิดฟองสบู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามดูจะยังไม่มีใครได้บทเรียนในเรื่องนี้
ภาค 7 พูดถึงนโยบายทางการบัญชีและเรื่องภาษี (accounting policy and tax matters) ตามธรรมดาหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการตั้งใจโกงด้วย ฉะนั้นข้อเสนอที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำบัญชีที่จะนำไปสู่ความซื่อตรงจึง เกิดขึ้นตลอดเวลา ล่าสุดมีข้อเสนอที่ชื่อว่า "การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง" ซึ่งรวมหลายสิ่งหลายอย่างไว้โดยเฉพาะการทำสิ่งที่มีค่าเท่ากับการตกแต่ง บัญชี ด้วยเหตุนี้บางทีผู้ที่มีความซื่อตรงต้องให้ข้อมูลนอกเหนือจากส่วนที่ถูก บังคับ ซึ่งบัฟเฟตต์เองทำเป็นประจำ เช่น การแยกแยะข้อมูลอย่างละเอียดซึ่งตามหลักการไม่จำเป็นต้องทำ แต่เขาทำเพราะถ้าเขาเป็นผู้ดูบัญชีของผู้อื่น เขาต้องการเห็นข้อมูลเหล่านั้น บัญชีที่แนบกับการจ่ายภาษีของเขาเมื่อปี 2546 จึงมีเกือบ 9,000 หน้า การปฏิบัติเกินเช่นนี้บางทีก็นำไปสู่การยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น การบันทึกพันธสัญญาที่จะให้ผลประโยชน์แก่พนักงานเกษียณซึ่งไม่เคยต้องทำมา ก่อน เกี่ยวกับประเด็นนี้บัฟเฟตต์เล่าว่า เขาพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีพันธสัญญามาก แม้พันธสัญญานั้นจะไม่ปรากฏในบัญชีก็ตาม ครั้งหนึ่งเขาเกือบจะซื้อบริษัทหนึ่งซึ่งมีพันธสัญญาที่จะต้องจ่ายในอนาคต จำนวนมาก เขาโชคดีที่การซื้อบริษัทนั้นประสบอุปสรรคเสียก่อน ต่อมามีบริษัทอื่นยื่นมือเข้ามาซื้อและเพียงไม่นานก็พบว่าสิ่งที่ซื้อไปไม่ มีค่าเพราะต้องล้มละลาย ด้วยเหตุผลเดียวกันเขาต่อต้านการประกันตัวเองเนื่องจากผลประกอบการในบัญชี วันนี้อาจดูดี หากเมื่อถึงวันต้องจ่ายความเสียหายอาจใหญ่หลวงเกินคาด ทั้งที่บัญชีมีข้อจำกัดแต่บัฟเฟตต์เชื่อว่ามันมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและ ข้อมูลทางการเงินมีประโยชน์ต่อนักลงทุนสูง
ในตอนสุดท้ายบัฟเฟตต์ พูดถึงประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากการลงทุนระยะยาว เนื่องจากภาษีกำไรส่วนทุนจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อเขาขายกิจการที่ซื้อมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากกิจการของเขามักทำกำไรได้อย่างงดงาม ในปี 2546 บริษัทของเขาจ่ายภาษีถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นราว 2.5% ของภาษีเงินได้ที่บริษัทในสหรัฐทั้งหมดจ่าย นั่นเป็นการจ่ายในอัตราสูงกว่าบริษัทอื่นๆ แต่เขาเต็มใจเพราะเขามองว่าเขามีโอกาสทำเงินได้มากกว่าผู้อื่นทั้งที่ใช้ ความพยายามพอๆ กัน
ในบทส่งท้ายบัฟเฟตต์บอกว่า เขาจะทำสิ่งที่เขาทำมาแล้วต่อไปนั่นคือ ถือครองทุกอย่างไว้เพื่อผลในระยะยาว แต่เขาบอกผู้ถือหุ้นใน BH ว่า ในอนาคตโอกาสที่จะเติบโตต่อไปในอัตราของอดีตย่อมเป็นไปไม่ได้เนื่องจากมัน ผิดธรรมชาติที่บริษัทเดียวจะขยายตัวสูงกว่าผู้อื่นตลอดกาล เขายกตัวอย่างว่า ตามอัตราการขยายตัวของแบคทีเรียหากมันไม่ตายภายใน 2 วันน้ำหนักของพวกมันรวมกันจะเท่ากับน้ำหนักดวงอาทิตย์ ฉะนั้นหากมันไม่ตายด้วยตัวเองจะต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้พวกมันตาย เขาจะรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ไว้ในรูปของหุ้นใน BH ต่อไป และได้ระบุไว้ในพินัยกรรมของเขาว่า หลังเขาตายให้นำทรัพย์สินของเขาทั้งหมดไปใช้ในการกุศลภายใน 10 ปี
ข้อ สังเกต - จดหมายที่นำมารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนวันที่บัฟเฟตต์จะตกลงให้ มูลนิธิของบิลล์ เกตส์ เป็นผู้นำทรัพย์สินของเขาไปใช้เพื่อการกุศล บิลล์ เกตส์ เคยพูดว่า การใช้เงินให้เกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายนั้นยากกว่าการทำเงิน ต้องดูต่อไปว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังบัฟเฟตต์จากโลกนี้ไป เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มาจากคำพูดของบัฟเฟตต์เอง ผู้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและแนวคิดของเขาเพิ่มขึ้นอาจไปอ่านเรื่อง The Snowball : Warren Buffett and the Business of Life โดย Alice Schroeder ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2551 และมีความยาวสมกับความร่ำรวยของเขา คือ เกือบ 1,000 หน้า นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมข้อคิดของเขาออกมาในรูป "บัญญัติ 10 ประการ" โดย Michael Brush เผยแพร่ไปตามสื่อต่างๆ เมื่อต้นเดือนมกราคม 2552 แม้บริบทของเนื้อหาจะเป็นวงการธุรกิจในสหรัฐอเมริกา แต่แนวคิดของบัฟเฟตต์ส่วนใหญ่น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสังคม
นสพ ประชาชาติ 12/3/2552
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (จบ)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
ภาค 6 พูดถึงการบัญชีและการประเมินค่า (accounting and valuation) ซึ่งบัฟเฟตต์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและข้อจำกัดของหลักการบัญชีที่ ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ในการสร้างความเข้าใจและการประเมินค่าของกิจการและการลงทุน เขาให้ความกระจ่างด้านความแตกต่างระหว่างค่าทางบัญชีกับค่าทางเศรษฐกิจและ แนวคิดต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ซึ่งทุกคนควรเข้าใจเกี่ยวกับบัญชีนั่นคือ มันเป็นรูปแบบ ฉะนั้นมันอาจถูกตกแต่งได้เขานำข้อเขียนของอาจารย์ของเขาที่เขียนเมื่อราว 70 ปีก่อนมาเสนอเพื่อชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งบัญชีแบบร้ายแรงนั้นทำกันมานานแล้ว และในสมัยนี้ก็ยังมีบริษัทต่างๆ ทำกันอยู่ บัฟเฟตต์ย้ำว่า รายงานทางการเงินที่ดีจะต้องให้ความกระจ่างใน 3 เรื่อง คือ มูลค่าของบริษัท ความสามารถในการรักษาพันธสัญญาในอนาคตของบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร บัฟเฟตต์เสนอแนวคิดหลายอย่างเพื่อทำให้รายงานทางการเงินมีประโยชน์อย่างแท้ จริงต่อนักลงทุนและผู้บริหาร โดยเฉพาะการให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับผลกำไรที่เก็บไว้ในบริษัทที่ถูก ซื้อไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นของผู้ซื้อ
บัฟเฟตต์พูดถึงความแตกต่าง ระหว่างค่าความนิยมทางบัญชี (accounting goodwill) และค่าความนิยมทางเศรษฐกิจ (economic goodwill) อย่างละเอียดทั้งที่เรื่องนี้มักเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้ว ค่าความนิยมทางบัญชีหมายถึงส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกิจการกับสินทรัพย์สุทธิ ของกิจการนั้น ส่วนต่างนี้ถูกลงบัญชีงบดุลไว้เป็นสินทรัพย์ซึ่งจะค่อยๆ ทยอยตัดค่าเสื่อมสิ้นออกตามช่วงเวลาที่กำหนด ฉะนั้นค่าความนิยมทางบัญชีจะค่อยๆ ลดลงตามสัดส่วนที่ถูกตัดออก ส่วนค่าความนิยมทางเศรษฐกิจหมายถึงสินทรัพย์ที่เป็นนามธรรม เช่น เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าบ่งบอกถึงคุณภาพสูง สินทรัพย์ชนิดนี้มีบทบาททำให้บริษัทสร้างกำไรได้เกินอัตราเฉลี่ย ปริมาณของค่าความนิยมได้มาจากการประเมินส่วนเกินนั้น ซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ กิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจสูงจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อน้อย กว่ากิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจต่ำ
การวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างค่าความนิยม 2 ชนิดนี้นำไปสู่ข้อเสนอเรื่องการปรับเปลี่ยนการทำบัญชีที่มีการโต้เถียงกันมา เวลานานนั่นคือ การควบรวมของบริษัทอาจทำบัญชีได้ใน 2 รูปแบบ จะทำแบบไหนขึ้นอยู่กับการมองว่าบริษัทหนึ่งซื้ออีกบริษัทหนึ่ง หรือมองว่าทั้งสองเข้ามารวมตัวกัน หากมองว่าเป็นการซื้อผลประกอบการจะต้องถูกหักออกด้วยค่าเสื่อมสิ้นเป็นเวลา นาน ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงนิยมมองว่ามันเป็นการรวมตัวกันซึ่งจะไม่ทำให้ผล ประกอบการถูกลด แต่นักการบัญชีที่แท้จริงเห็นว่าไม่น่าให้ทำได้ บัฟเฟตต์เสนอทางออกว่า ให้บันทึกค่าความนิยมไว้ในบัญชี แต่ไม่ต้องบังคับให้หักค่าเสื่อมสิ้นออกจากผลประกอบการในอนาคตโดยอัตโนมัติ ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้สองฝ่ายพอใจ มันยังจะทำให้เกิดบัญชีที่ตรงกับความเป็นจริงอีกด้วย ข้อเสนอนี้ในที่สุดได้รับการยอมรับในวงการบัญชี
บัฟเฟตต์ให้ความ สำคัญต่อมูลค่าในตัว (intrinsic value) ซึ่งต่างกับมูลค่าตามบัญชีและราคาซื้อขายในตลาด ความแตกต่างนี้ยากแก่การคำนวณ ทั้งนี้เพราะการคำนวณหาค่าในตัวนั้นยากมากทั้งที่มันมีคำจำกัดความแน่นอนว่า "ค่าปัจจุบันของเงินสดที่จะนำออกไปจากกิจการได้ในช่วงเวลาที่กิจการนั้นยัง ดำรงอยู่" ความยากเกิดจากการประเมินเงินสดที่จะได้มาในอนาคตและความเปลี่ยนแปลง ของดอกเบี้ย ในการประเมินค่าบัฟเฟตต์ยึดหลักที่อีสปสอนไว้ตั้งแต่สมัยโบราณกาลที่ว่า "นก 1 ตัวในมือมีค่าเท่ากับนก 2 ตัวในป่า" นั่นคือ การประเมินเป็นการนับเงินสด ไม่ใช่นับความหวังหรือความฝัน ซึ่งคนในยุคนี้มักนิยมทำกันจนนำไปสู่การเกิดฟองสบู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามดูจะยังไม่มีใครได้บทเรียนในเรื่องนี้
ภาค 7 พูดถึงนโยบายทางการบัญชีและเรื่องภาษี (accounting policy and tax matters) ตามธรรมดาหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการตั้งใจโกงด้วย ฉะนั้นข้อเสนอที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำบัญชีที่จะนำไปสู่ความซื่อตรงจึง เกิดขึ้นตลอดเวลา ล่าสุดมีข้อเสนอที่ชื่อว่า "การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง" ซึ่งรวมหลายสิ่งหลายอย่างไว้โดยเฉพาะการทำสิ่งที่มีค่าเท่ากับการตกแต่ง บัญชี ด้วยเหตุนี้บางทีผู้ที่มีความซื่อตรงต้องให้ข้อมูลนอกเหนือจากส่วนที่ถูก บังคับ ซึ่งบัฟเฟตต์เองทำเป็นประจำ เช่น การแยกแยะข้อมูลอย่างละเอียดซึ่งตามหลักการไม่จำเป็นต้องทำ แต่เขาทำเพราะถ้าเขาเป็นผู้ดูบัญชีของผู้อื่น เขาต้องการเห็นข้อมูลเหล่านั้น บัญชีที่แนบกับการจ่ายภาษีของเขาเมื่อปี 2546 จึงมีเกือบ 9,000 หน้า การปฏิบัติเกินเช่นนี้บางทีก็นำไปสู่การยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น การบันทึกพันธสัญญาที่จะให้ผลประโยชน์แก่พนักงานเกษียณซึ่งไม่เคยต้องทำมา ก่อน เกี่ยวกับประเด็นนี้บัฟเฟตต์เล่าว่า เขาพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีพันธสัญญามาก แม้พันธสัญญานั้นจะไม่ปรากฏในบัญชีก็ตาม ครั้งหนึ่งเขาเกือบจะซื้อบริษัทหนึ่งซึ่งมีพันธสัญญาที่จะต้องจ่ายในอนาคต จำนวนมาก เขาโชคดีที่การซื้อบริษัทนั้นประสบอุปสรรคเสียก่อน ต่อมามีบริษัทอื่นยื่นมือเข้ามาซื้อและเพียงไม่นานก็พบว่าสิ่งที่ซื้อไปไม่ มีค่าเพราะต้องล้มละลาย ด้วยเหตุผลเดียวกันเขาต่อต้านการประกันตัวเองเนื่องจากผลประกอบการในบัญชี วันนี้อาจดูดี หากเมื่อถึงวันต้องจ่ายความเสียหายอาจใหญ่หลวงเกินคาด ทั้งที่บัญชีมีข้อจำกัดแต่บัฟเฟตต์เชื่อว่ามันมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและ ข้อมูลทางการเงินมีประโยชน์ต่อนักลงทุนสูง
ในตอนสุดท้ายบัฟเฟตต์ พูดถึงประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากการลงทุนระยะยาว เนื่องจากภาษีกำไรส่วนทุนจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อเขาขายกิจการที่ซื้อมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากกิจการของเขามักทำกำไรได้อย่างงดงาม ในปี 2546 บริษัทของเขาจ่ายภาษีถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นราว 2.5% ของภาษีเงินได้ที่บริษัทในสหรัฐทั้งหมดจ่าย นั่นเป็นการจ่ายในอัตราสูงกว่าบริษัทอื่นๆ แต่เขาเต็มใจเพราะเขามองว่าเขามีโอกาสทำเงินได้มากกว่าผู้อื่นทั้งที่ใช้ ความพยายามพอๆ กัน
ในบทส่งท้ายบัฟเฟตต์บอกว่า เขาจะทำสิ่งที่เขาทำมาแล้วต่อไปนั่นคือ ถือครองทุกอย่างไว้เพื่อผลในระยะยาว แต่เขาบอกผู้ถือหุ้นใน BH ว่า ในอนาคตโอกาสที่จะเติบโตต่อไปในอัตราของอดีตย่อมเป็นไปไม่ได้เนื่องจากมัน ผิดธรรมชาติที่บริษัทเดียวจะขยายตัวสูงกว่าผู้อื่นตลอดกาล เขายกตัวอย่างว่า ตามอัตราการขยายตัวของแบคทีเรียหากมันไม่ตายภายใน 2 วันน้ำหนักของพวกมันรวมกันจะเท่ากับน้ำหนักดวงอาทิตย์ ฉะนั้นหากมันไม่ตายด้วยตัวเองจะต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้พวกมันตาย เขาจะรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ไว้ในรูปของหุ้นใน BH ต่อไป และได้ระบุไว้ในพินัยกรรมของเขาว่า หลังเขาตายให้นำทรัพย์สินของเขาทั้งหมดไปใช้ในการกุศลภายใน 10 ปี
ข้อ สังเกต - จดหมายที่นำมารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนวันที่บัฟเฟตต์จะตกลงให้ มูลนิธิของบิลล์ เกตส์ เป็นผู้นำทรัพย์สินของเขาไปใช้เพื่อการกุศล บิลล์ เกตส์ เคยพูดว่า การใช้เงินให้เกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายนั้นยากกว่าการทำเงิน ต้องดูต่อไปว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังบัฟเฟตต์จากโลกนี้ไป เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มาจากคำพูดของบัฟเฟตต์เอง ผู้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและแนวคิดของเขาเพิ่มขึ้นอาจไปอ่านเรื่อง The Snowball : Warren Buffett and the Business of Life โดย Alice Schroeder ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2551 และมีความยาวสมกับความร่ำรวยของเขา คือ เกือบ 1,000 หน้า นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมข้อคิดของเขาออกมาในรูป "บัญญัติ 10 ประการ" โดย Michael Brush เผยแพร่ไปตามสื่อต่างๆ เมื่อต้นเดือนมกราคม 2552 แม้บริบทของเนื้อหาจะเป็นวงการธุรกิจในสหรัฐอเมริกา แต่แนวคิดของบัฟเฟตต์ส่วนใหญ่น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสังคม
นสพ ประชาชาติ 12/3/2552