ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คอลัมน์หน้าต่าง ก.ล.ต.
ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2548
โดย ณัฐญา นิยมานุสร
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
[email protected]

ความในใจของผู้สอบบัญชี

ในหน้าต่าง ก.ล.ต. ครั้งก่อน ดิฉันได้แนะนำวิธีดูงบการเงินแบบง่าย ๆ ให้ได้สาระอย่างครบถ้วน
กันไปบ้างแล้ว แต่ยังมีรายละเอียดสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่พื้นที่คราวที่แล้วหมดลงเสียก่อน คือ
ส่วนความเห็นของผู้สอบบัญชี ซึ่งสามารถบอกเรื่องราวของงบการเงินนั้นได้อีกหลายอย่างเลย
ทีเดียว  

แล้วเราจะดู ความเห็นของผู้สอบบัญชี ได้จากที่ไหนกันล่ะ? ไม่ยากเลยค่ะ ปกติเมื่อเราเปิด
งบการเงินขึ้นมา ส่วนแรกที่เราจะพบ คือ รายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งความเห็นของผู้สอบบัญชี
จะแสดงอยู่ในส่วนนี้เองค่ะ

ท่านผู้อ่านยังจำคำแนะนำในการดูงบการเงินที่ให้ดูว่าผู้สอบบัญชีมีการแสดงความเห็นต่องบการเงินหรือตั้งข้อสังเกตใด ๆ เกี่ยวกับงบการเงินหรือไม่อย่างไรได้ใช่ไหมคะ ในวันนี้ดิฉันจะมาเล่าสู่
กันฟังต่อ ว่ารูปแบบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ ได้แก่ (1) ไม่มี
เงื่อนไข (2) ไม่มีเงื่อนไขแต่ให้ข้อสังเกต (3) มีเงื่อนไข (4) ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
หรือไม่แสดงความเชื่อมั่น หรือ (5) งบการเงินไม่ถูกต้อง

ประเภทแรก การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข หมายความว่า ผู้สอบบัญชีเห็นว่างบการเงินนั้นได้จัดทำตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไปแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าหากดูแว่บ ๆ แล้ว ในส่วน
ความเห็นของผู้สอบบัญชีเป็นแบบสั้น ๆ และไม่มีเงื่อนไข ก็แสดงว่างบนั้นน่าจะโอเค แต่หากเป็นความเห็นที่ค่อนข้างยาว คุณ ๆ ก็ควรจะอ่านให้ดี ๆ หลาย ๆ รอบนะคะ  

มาดูความเห็นประเภทต่อมากันค่ะ เป็นการแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขแต่มีข้อสังเกต อันนี้หมายความว่าผู้สอบบัญชีเห็นว่ารายการบางอย่างในงบการเงินอาจมีความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจกระทบงบการเงิน เช่น ตัวเลขที่แสดงในงบนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อบริษัทได้ปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยผู้สอบบัญชีจะระบุไว้เลยว่ามีข้อสังเกตในรายการใดบ้าง
- 2 -

ถ้าเจอความเห็นประเภทนี้แล้วล่ะก็ คุณ ๆ จะต้องพิจารณารายการที่ผู้สอบบัญชีตั้งข้อสังเกตไว้
อย่างละเอียดด้วยนะคะ

การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข เป็นการบอกว่าผู้สอบบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการ
ในงบการเงินต่างจากผู้บริหารของบริษัทซึ่งเป็นผู้ทำงบ เช่น บันทึกรายการไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไป หรือถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจงบการเงินจนทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบได้เต็มที่ เช่น ไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทในการตรวจสอบ
งบการเงินของบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม  หรือมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถ
ตรวจสอบได้เต็มที่ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะรายงานว่ามีรายการใดหรือสถานการณ์ที่ผู้สอบบัญชี
ไม่สามารถตรวจสอบได้ อันนี้ก็ต้องดูว่ารายการนั้นมีสาระสำคัญมากน้อยแค่ไหน  

ถ้าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบในรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญมากหรือเห็นว่า
รายการในงบการเงินที่มีความไม่แน่นอนเป็นรายการที่มีสาระคัญมาก ผู้สอบบัญชีก็จะระบุว่า
ไม่แสดงความเห็นหรือไม่แสดงความเชื่อมั่นต่องบการเงิน นั้น และถ้าผู้สอบบัญชีมีความเห็น
เกี่ยวกับรายการในงบต่างจากผู้บริหารของบริษัทที่มีสาระสำคัญมากจนเห็นว่าไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานการบัญชีแล้ว ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้น ๆ ไม่ถูกต้อง

ในส่วนของ ก.ล.ต. เองก็เข้ามาช่วยดูงบการเงินนี้ด้วยค่ะ หาก ก.ล.ต. เห็นว่างบการเงินใดไม่ถูกต้อง
มีข้อน่าสงสัย หรือไม่ชัดเจน ก็จะสั่งการให้บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการชี้แจงข้อมูล
เพิ่มเติม แก้ไขงบการเงินให้ถูกต้อง สั่งให้จัดให้มี special audit รวมทั้งสั่งให้บริษัทให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี อย่างที่ท่านผู้อ่านคงได้เห็นข่าวคราวในเรื่องนี้จากสื่อต่าง ๆ กันบ้างแล้ว

และนี่ก็คือ ความในใจ ของผู้สอบบัญชีที่ต้องการสื่อสารต่อคุณ ๆ ค่ะ สำหรับในครั้งนี้พื้นที่
ก็หมดลงอีกแล้ว แล้วพบกันใหม่นะคะ

ที่มา :http://www.sec.or.th/investor_edu/info_ ... 020848.doc
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ถอดโจทย์ เกมกล บัญชี บจ. ตุกติกปั้นตัวเลขสร้างกำไรลวง!

ศรันย์ กิจวศิน

       ในอดีต "งบการเงิน" อาจไม่มีความสำคัญ สำหรับผู้ลงทุนเท่าไรนัก แต่ปัจจุบัน "งบการเงิน" ถือเป็นหัวใจสำคัญ และเป็นประตูด่านสุดท้ายที่ผู้ลงทุนใช้ตัดสินใจว่าควรจะเข้าลงทุนในกิจการของบริษัทจดทะเบียนรายนั้นหรือไม่ ดังนั้นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนแต่ละราย คือ การจัดทำงบการเงินของกิจการให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชี

ความสำคัญของงบการเงินนั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ให้คำนิยมในหนังสือ

"บทสรุปมาตรฐานบัญชี" ซึ่งเขียนโดย ดร.อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ไว้ว่า "รายงานทางการเงิน เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในกลไกการจัดสรรทรัพยากรเงินทุนที่มีอยู่จำกัดในตลาดการเงิน รายงานทางการเงินที่ดีต้องจัดทำขึ้นตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป สามารถสะท้อนฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกิจการตามที่เกิดขึ้นจริง ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนได้อย่างเหมาะสม และช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความโปร่งใสของกิจการ"

ว่าไปแล้วงบการเงินไม่ต่างจาก "กระจกที่ใช้สะท้อนความมั่งคั่ง" ของบริษัทจดทะเบียน ถ้ากระจกถูกปั้นเสริมเติมแต่ง เงาที่สะท้อนออกมาย่อมดูดีกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิด สุดท้ายก็เกิดความเสียหายจากการลงทุน ซึ่งอดีตที่ผ่านมาก็มีให้เห็นกันมาก

ว่างบการเงินถูกปั้นแต่งจนตัวเลขในบรรทัดสุดท้ายออกมาดูดีมีกำไร แต่เมื่อสาวลึกลงไปกลับไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น

สำหรับเทคนิคการปั้นกำไรลวงมีสารพัดวิธี มีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานการบัญชีประเทศไทย โดยกลวิธีที่ถูกต้องแต่ดูแล้วไม่เหมาะสมนั้น ดร.อังครัตน์ เคยกล่าวไว้ว่าวิธีหลักๆ มี 10 วิธี แต่วิธีที่นิยมนำมาใช้มากสุดคือ Cookie Jar Reserve หรือ "กลยุทธ์ขวดขนม" ซึ่งจะเปิดรับประทานเมื่อไหร่ก็ได้

วิธีนี้มักจะถูกนำมาใช้เพื่อรักษาระดับการเติบโตของกำไรให้ยั่งยืน มีเสถียรภาพ โดยกระทำผ่านตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ หรือผ่านกระบวนการตั้งสำรองหนี้ เช่น ถ้าผลประกอบการในปีนั้นออกมาดูดีมีกำไรมากเกินไปเมื่อเทียบกับปีก่อน ผู้บริหารเกรงว่าจะกระทบต่อการเติบโตในปีต่อๆ ไป ก็ใช้วิธีตั้งค่าใช้จ่ายส่วนอื่น หรือตั้งสำรองหนี้ให้สูงไว้ เพื่อดึงตัวเลขกำไรลงมาไม่ให้โตสูงเกินไปนัก

ตรงกันข้ามหากผลประกอบการในปีนั้นลดลง ก็ใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายที่เคยตั้งไว้ระดับสูง ลดการตั้งสำรองหนี้หรือแม้กระทั่งดึงเงินที่ตั้งสำรองไว้กลับมา ทำให้ตัวเลขกำไรดูดีขึ้น ผลประกอบการโดยรวมในปีนั้นจึงโชว์ออกมาว่ายังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งวิธีนี้นิยมใช้เพื่อรักษาระดับการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน เปรียบเสมือนการหยิบขนมในขวดซึ่งจะเปิดกินเมื่อไหร่ก็ได้

ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวไว้ว่า จากการวิจัยของ ม.จุฬาฯ พบว่า ปัญหาทางบัญชีที่พบมากสุดคือ การไม่นำบริษัทที่เกี่ยวข้องมาทำงบการเงินรวม และจากการสอบถามผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า หากไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทที่เกี่ยวข้องสูงกว่า 50% ก็ไม่จำเป็นต้องนำงบการเงินของบริษัทดังกล่าวมารวม

ซึ่งในความจริงแล้วแม้ไม่ถือเกิน 50% แต่หากมีอำนาจสั่งการในบริษัทนั้นก็ต้องนำงบการเงินมารวมด้วย
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นอกจากนี้ยังพบว่า หลายบริษัทมีการรับรู้รายได้เร็วกว่ากำหนด เช่น ร้านอาหารแห่งหนึ่งได้เงินสนับสนุนการค้าโดยมีสัญญาเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งตามหลักบัญชีจะต้องทยอยรับรู้ไปในแต่ละปี แต่ร้านอาหารรายนี้กลับรับรู้รายได้ดังกล่าวรวมในปีแรกปีเดียวเลย หรือวิธีการรับรู้รายได้เทียมก็มีให้พบเห็นบ้าง อย่างเมื่อไม่นานมานี้ก็มีให้เห็น

ดร.วรศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนบัญชีที่ดูแล้วส่อเค้าว่าอาจมีการไซฟ่อนเงินเกิดขึ้นนั้น แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ 1.มีการตั้งค่าความนิยม(กู๊ดวิว) สูงเกินจริง 2.มีการลงทุนในสินทรัพย์อื่นสูง 3.มีการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจำนวนมาก และ 4.มีการให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก

"มีข้อสังเกตว่าบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มักดำเนินการคล้ายๆ กัน คือ เช่นที่ดินของผู้ถือหุ้นใหญ่มาทำเป็นโรงงานหรือสำนักงาน

ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องผิดหากเป็นราคายุติธรรม แต่ก็อาจมองได้ว่าทำให้บริษัทนั้นขาดโอกาสที่จะเลือกทำเลในการทำธุรกิจหรือโอกาสที่จะมี Strategic Partner ที่เหมาะสมได้ ส่วนการให้เงินกู้ยืมก็ต้องดูว่ามีการชำระคืนหนี้เป็นปกติหรือไม่" ดร.วรศักดิ์ กล่าว

สำหรับผู้ลงทุนแล้วการเข้าไปอ่านหรือวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่มีกว่า 400 บริษัทนั้น คงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งเรื่องนี้ นายสมบัติ นราวุฒิชัย อุปนายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ให้ทริกในการดมกลิ่นงบการเงินที่ส่อเค้าว่าอาจมีอะไรแปลกปลอมซ่อนไว้อยู่ว่า ก่อนอื่นให้ดูรายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งจัดเป็นด่านแรกที่สำคัญ เพราะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่างบการเงินนั้นผิดปกติหรือไม่

เนื่องจากผู้สอบบัญชีต้องแสดงความเห็นเอาไว้ในรายงานทุกครั้งอยู่แล้ว

เขาบอกด้วยว่า นอกจากนี้ควรดูหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วยว่า วิธีการรับรู้รายได้ของบริษัทนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ และเป็นไปตามหลักมาตรฐานทางบัญชีหรือเปล่า ขณะเดียวกันควรดูในส่วนค่าใช้จ่ายว่ามีส่วนไหนเพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษหรือไม่

โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านที่ปรึกษาต่างๆ ซึ่งดูแล้วผิดปกติหรือเปล่า ในส่วนของลูกหนี้การค้าก็ควรสังเกตด้วยว่าระยะเวลาการชำระหนี้เป็นไปตามปกติหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นทริกหนึ่งในการสังเกตงบการเงิน

นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)

ได้แนะนำวิธีดูงบการเงินบริษัทจดทะเบียนว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด โดยให้ดูจาก 7 ปัจจัยหลัก คือ 1.ฝ่ายจัดการของบริษัท

เนื่องจากฝ่ายจัดการถือเป็นคนทำงบการเงิน มีหน้าที่ทำงบการเงินให้ถูกต้อง จึงต้องดูว่าฝ่ายจัดการจริงจังกับเรื่องงบการเงินมากน้อยแค่ไหน

2.ผู้ทำบัญชี ซึ่งถือว่ามีความสำคัญ ในอดีตผู้ทำบัญชีถือว่าน่าเห็นใจเพราะมักถูกใช้ให้มีส่วนรู้เห็นในการแต่งงบการเงิน หากไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกไล่ออกได้ แต่ปัจจุบันมี พ.ร.บ.การบัญชี ออกมาก็ทำให้ผู้ทำบัญชีนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามได้หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง

3.ตัวระบบบัญชี ต้องดูว่าใครเป็นผู้วางระบบและดูว่าระบบนั้นเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน 4.ระบบควบคุมภายใน ตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญมากและจัดเป็นเรื่องใหม่ของบริษัทจดทะเบียนในไทย ดังนั้นจึงมีน้อยรายมากที่มีระบบควบคุมภายในดี ซึ่งเมื่อระบบไม่ดีหรือไม่มีระบบดังกล่าวมักจะเกิดปัญหาได้ง่าย

5.ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ถ้ามีฝ่ายนี้ช่วยตรวจสอบผู้ลงทุนเองก็น่าจะสบายใจขึ้น 6.ผู้สอบบัญชี ตรงนี้เปรียบเสมือนคนนอกบริษัทที่จะคอยดูแลตรวจสอบว่างบการเงินถูกต้องหรือไม่ และ 7.กรรมการตรวจสอบ ซึ่งต้องดูว่ากรรมการเหล่านี้เก่งแค่ไหน

เข้าใจเรื่องงบการเงิน และกล้าที่จะซักถามผู้บริหารบริษัทกรณีเกิดปัญหาหรือไม่

สำหรับแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการตบแต่งงบบัญชีนั้น เขากล่าวว่า จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต.มักจะพบ 3 ประเด็น คือ

พยายามทำให้ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ดังนั้นเมื่อตัวเลขออกมาไม่ถึงก็จำเป็นต้องแต่งบัญชี อีกประเด็นคือ เพื่อให้ตัวเลขงบการเงินออกมาดี ซึ่งนำมาช่วยในการปั่นราคาหุ้น และสุดท้ายคือ กรณีบริษัทที่ต้องการออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการ(รีฮาฟโก้)

แต่ผลประกอบการยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ ก็ต้องทำการแต่งงบบัญชีกัน

ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานั้น สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะมองแค่บรรทัดสุดท้ายในงบการเงินไม่ได้อีกแล้ว เพราะตัวเลขที่โชว์ออกมาแม้จะเป็นกำไรสุทธิ แต่กำไรดังกล่าวอาจเกิดจากการ ปั้น เสริม เติม แต่ง นำจุดอ่อนที่มีมาตรฐานบัญชียังครอบคลุมไม่ถึงมาปรับใช้ก็เป็นได้!

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  5/9/48
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ตัวผมเองก็มีความรู้ทางด้านงบการเงินแบบ งูๆปลาๆ

ก็เลยอยากหาวิธีเรียนรู้ให้ได้มากกว่านี้ครับ
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ในกรณีของการตกแต่งกำไรนั้นจะเป็นผลมาจากการสร้างรายได้เกินจริงหรือการชะลอค่าใช้จ่าย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลต่องบดุลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็สามารถหาความผิดปกติได้ดังนี้

การสร้างรายได้เกินจริง
จะสังเกตได้จากยอดลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เช่นในอดีตลูกหนี้การค้าอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายแต่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30% เป็นต้นโดยส่วนที่เพิ่มขึ้นแทบจะทั้งหมดเพิ่มมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเป็นเพราะยอดขายที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่มีการชำระราคากันจริง

การชะลอค่าใช้จ่าย
จะสังเกตได้จากหลายรายการในงบดุล เริ่มต้นจากรายการค่าใช่จ่ายล่วงหน้า รายการสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน หากรายการเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ควรจะพิจารณาดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเหล่านี้อาจต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่บริษัทได้ชะลอการตัดเป็นค่าใช้จ่ายจึงตั้งเป็นทรัพย์สินไว้ก่อน อีกรายการหนึ่งที่ควรดูก็คือสินค้าคงคลัง เพราะมีกรณีที่สินค้าของบริษัทล้าสมัยหรือมีข้อบกพร่องจนไม่สามารถขายได้ แต่บริษัทอาจไม่ยอมตัดเป็นค่าใช้จ่าย และอีกกรณีหนึ่งคือการตั้งสำรองหนี้สูญที่ต่ำเกินไป อาจต้องดูนโยบายและสถิติในอดีตประกอบกันไป

สำหรับกรณีของการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมนั้นงบดุลก็สามารถให้ข้อมูลความผิดปกติได้เช่นกัน โดยทั่วไปการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมจะเกิดจากการที่ผู้บริหารพยายามที่จะโยกย้ายทรัพย์สินออกจากบริษัท ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปเงินสดหรือทรัพย์สินถาวรก็ได้ สิ่งที่อาจพบได้ในงบสำหรับกรณีของการโยกย้ายเงินสดได้แก่ รายการให้กู้ยืมแก่ผู้บริหารหรือกรรมการ หรืออาจอยู่ในรูปของการซื้อทรัพย์สินถาวรจากผู้บริหารและกรรมการในราคาสูงกว่าราคาตลาดมาก และในบางกรณีอาจถึงขั้นที่มีการจ่ายเงินค่าทรัพย์สินแต่ไม่ได้รับโอนทรัพย์สินเหล่านั้นมาให้บริษัทอย่างถูกต้อง ส่วนของการโยกย้ายทรัพย์สินก็อาจอยู่ในรูปของการขายทรัพย์สินถาวรของบริษัทให้กับผู้บริหารหรือกรรมการในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก สำหรับผู้อ่านหากเห็นทรัพย์สินถาวรของบริษัทเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก ผมขอแนะนำให้อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากหมายเหตุประกอบงบว่าทรัพย์สินถาวรเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุใด และเป็นประโยชน์จริงต่อการทำธุรกิจหรือไม่

งบสุดท้ายที่จะแนะนำให้พิจารณาเพื่อหาสัญญาณความผิดปกติก็คืองบกระแสเงินสด หากบริษัทแสดงผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากแต่กระแสเงินสดจากการปฏิบัติงานกลับติดลบ ก็เริ่มเป็นสัญญาณที่ไม่ดี ต้องดูในรายละเอียดต่อว่า กระแสเงินสดที่ติดลบนั้นมาจากอะไร เช่นอาจเป็นเพราะลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือในส่วนของกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนก็จะบอกให้ผู้อ่านงบทราบได้ว่าในรอบบัญชีที่ผ่านมาบริษัทมีการซื้อหรือจำหน่ายทรัพย์สินถาวรหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จากลักษณะของข้อมูลที่ได้จากงบกระแสเงินสดจึงทำให้ผู้อ่านบางท่านเริ่มการพิจารณางบการเงินจากงบกระแสเงินสดก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงเข้าไปดูรายละเอียดต่อในงบดุลและงบกำไรขาดทุน ทั้งนี้ การจะเริ่มจากงบฉบับใดก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละท่าน ไม่มีลำดับก่อนหลังตายตัว

ที่มา :http://www.businessthai.co.th/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

พี่สมพงษ์กลับมาจากเมืองนอกแล้วครับ

แหะ แหะ แซวเล่นนะครับ  :lol:  ขอบคุณมากครับกับเรื่องดีๆ  :o
IWILLBEVI
Verified User
โพสต์: 363
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ ไม่ทราบหาอ่านฉบับรวมเล่ม หรือมีหนังสือดีๆที่แนะนำการดูงบการเงินได้ที่ไหนครับ  :lol:
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เมื่อก่อนดูงบการเงินไม่ค่อยเป็นก็เปิด www.settrade.com ก็เข้าไปดูหน้า

"ภาพรวมบริษัท" ก็ดูหนี้สินต่อทุน

ยกตัวอย่าง IT มีหนี้สินต่อทุนยังไม่ถึง 1 เท่า แค่นี้พอ

พอมีความรู้มาบ้าง ก็ต้องเข้าไปดู งบการเงินรายไตรมาศ  รายปี

ดูหนี้สินให้ระเอียด ก็รู้ว่า บ้างบริษัทไม่มีหนี้สิน หรือ เงินกู้

แต่เป็นเจ้าหนี้การค้า  ซึ้ง เจ้าหนี้การค้า ก็ถือเป็นหนี้สิน ที่แสดงในภาพรวม

บริษัท แต่ลืมไปว่า  "ไม่เสียภาระดอกเบี้ย"
สนุกกับการลงทุน
สมพงษ์
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

พี่ลูกอิสาน
ตัวเลขที่เราใช้ดูว่าธุรกิจมีแนวโน้มต้องเพิ่มทุนหรือเปล่าก็คือหนี้สิน/ทุนหรือ D/E นั่นเอง ถ้าเอากันง่ายๆธุรกิจทั่วไปถ้าตัวเลขมากกว่า 1.5 เท่า แบงค์ก็เริ่มจับตาแล้ว ถ้า 2 เท่าแบงค์อาจจะไม่ให้กู้แล้วครับ  แต่อีกประเด็นขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจด้วย อย่างธุรกิจการเงินทั้งหลาย แบงค์ เงินทุน ลิซซิ่ง บัตรเครดิต แฟคตอริ่ง ประกัน พวกนี้ D/E จะสูงเป็นปกติ หรือธุรกิจเทรดดิ้งก็อาจจะสูงได้หน่อย แต่จะต่ำกว่าธุรกิจการเงินครับ
สนุกกับการลงทุน
โพสต์โพสต์