ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ที่กล้าวิจารณ์ ผลประโยชน์ในกลุ่ม shin corp ที่เพิ่มขึ้น 200000 ล้านบาท จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน 2547

อย่างไรก็ตาม หวังว่า หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ไม่ได้แต่งเติม ให้ข้อความรุนแรงเกินกว่า ผลวิจัย เพราะจะทำให้นักวิจัย จะไมกล้าวิจัยอีกต่อไป เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้ หนังสือพิมพ์ขายได้ชั่วคราว ประเทศชาติไม่ได้รับประโยชน์ในระยะยาว

ยกตัวอย่าง คุณหมอท่านหนึ่งในเว็บของเรา เล่าให้ฟังว่า หมอที่ทำงานทางระบาดวิทยา เช่นการไปวิจัย คนเป็นโรคมะเร็งตับในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเป็นแอ่ง และกำลังหาความสัมพันธ์กับยาฆ่าแมลงที่อาจจะไหลลงมาจากที่สูง สู่พื้นที่หมู่บ้านที่เป็นแอ่งแห่งนี้

ถ้าผลวิจัยนำไปสู่ว่า มีความสัมพันธ์กันจริง และอาจจะนำไปสู่ข้อสรุปว่าเพราะย่าฆ่าแมลงนี่แหละ ที่ทำให้คนเป็นมะเร็งตับ ด้วยผลวิจัยนี้แหละ ที่หมอคนนี้โดนบริษัทยาฆ่าแมลงเล่นงานทุกทาง จนกระทั่งต้องออกจากงาน เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงทีอเมริกา

และเหตุการณ์เดียวกันนี้ก็เริ่มเกิดขึ้นที่เมืองไทย คือในพื้นที่ใกล้ๆจังหวัดลำปาง ที่เป็นแอ่ง ถ้าผมจำไม่ผิด ก็มีคนในหมู่บ้านที่เป็นผู้ชาย ซึ่งแปลกมาก คือผู้ชายทุกคนในหมู่บ้านเป็นมะเร็งตับกันหมดเลย แต่ข้อสรุปของการวิจัยยังไม่ออก เพราะคนวิจัย มีน้อย และงบประมาณก็มีน้อย
อยากรู้
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ดร สมเกียรติฯ นี่รุ่นเดี่ยวกับคุณเจงหรือเปล่าครับ หรือรุ่นน้องครับ
Boring Stock Lover
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ใครมีผลวิจัยฉบับสมบูรณ์มั่งครับ น่าสนใจในวิธีการเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมรู้แล้วว่าเขามาเพื่อธุรกิจ แต่ก็หวังให้ทำเพื่อประชาชนด้วย เพราะถ้าประชาชนมีการศึกษาดี รายได้ดี อยู่ดีกินดี ทำมัยจะไม่ดูโทรทัศน์ ทำมัยจะไม่เล่นเน็ต ทำมัยจะไม่ใช้มือถือครับ
Expecto Patronum!!!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 5

โพสต์

**
แก้ไขล่าสุดโดย LOSO เมื่อ พฤหัสฯ. ธ.ค. 30, 2004 2:14 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แล้วทำไมไม่ดู PSL กับ ATC บ้างละครับ

มันมากกว่า SHIN มากถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์

:roll:
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมว่าบริษัทที่ดีหลายบริษัทก็ขึ้นมาเยอะนะครับ อย่าให้เหมือน สว. บางท่านที่ออกมาด่ารัฐบาลทุกเรื่องทั้งๆที่ตัวเองยังไม่มีความรุ้และรายละเอียดเลย

ถ้าวิจารณ์ด้วยใจเป็นกลางและมีข้อมูลครบถ้วนก็จะดีกว่าครับ
Ugly Naughty Madly
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 8

โพสต์

บางคนก็อยากดัง บางคนก็อยากเด่น บางคนก็ต้องการขายหนังสือครับ
Cheng
Verified User
โพสต์: 85
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 9

โพสต์

บริษัทจดทะเบียนกำไรดีเกือบทั่วตลาดทำไมมาดูเฉพาะ Shin แล้วมันจะยุติธรรมได้อย่างไร
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เหรียญทุกเหรียญมีสองด้านครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
edd
Verified User
โพสต์: 325
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เท่าที่ผมติดตามผลงาน รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะด้านโทรคมนาคมจากคุณสมเกียรติ ผมขอยืนยันครับว่าคุณสมเกียรติ เป็นนักวิชาการที่มีอุดมการณ์ ซื่อสัตย์ มาโดยตลอด

แกมีผลงานมาตั้งแต่ แกวิจัยเรื่องการเติบโตของ Internet ในประเทศไทยเมื่อ 7-8 ปี รวมถึงผลงานวิจัยแนวคิดในการแปรสัญญาของกิจการโทรคมนาคม ซึ่งยังคงเป็นกรอบความคิดและหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
Ugly Naughty Madly
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 12

โพสต์

แต่เอ TDRI นี่มันของใครหว่าและมีอะไรอยู่ข้างในหว่า
ลองคิดดูสิครับสถาบันนี้ และคนๆนี้
เค้าวิจารณ์ทุกเรื่องแต่ไม่ยอมวิจารณ์เรื่องปรส.ครับ
ประเทศชาติเสียหายไปเท่าไหร่ครับ เรื่องมันใหญ่กว่าขนาดไหนครับ
...
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 13

โพสต์

.ตลาดหุ้นไทยกับการเมือง

ต่อประเด็นที่นายกฯปฏิเสธว่า ตลาดหุ้นไทยไม่ได้เกี่ยวกับการเมืองนั้น ข้อสรุปที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวข้องกับการเมืองมากเป็นอันดับสองรองจากรัสเซีย เป็นผลการวิจัยของ Prof. Mara Faccio จากมหาวิทยาลัย Vanderbil ซึ่งทำการศึกษาเปรียบเทียบประเทศต่างๆ จำนวน 47 ประเทศ ผมได้ศึกษาวิธีการวิจัยของนักวิจัยผู้นี้ และเห็นว่า วิธีการให้คำจำกัดความและเก็บข้อมูลเป็นระบบเพียงพอจึงนำมาอ้างอิงต่อ

โดยสรุปแล้ว บริษัทที่มีสายสัมพันธ์ทางการเมืองในการวิจัยดังกล่าวหมายถึง บริษัทที่ผู้ถือหุ้นใหญ่(ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป) หรือผู้บริหารระดับสูงเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภา รัฐมนตรี หรือผู้นำพรรคท่านที่สนใจในประเด็นนี้ กรณีศึกษาจากผลการวิจัยของนักวิจัยดังกล่าวได้จาก http://mba.vanderbilt.edu/faculty/MFACCIO.cfm
...
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 14

โพสต์

2.การมีผลตอบแทนของหุ้นบางตัวในระดับสูง

ประเด็นหลักที่เป็นหัวใจในการถกเถียงที่สำคัญที่สุดก็คือ ประเด็นที่ว่า มีหุ้นบางตัวที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมีผลตอบแทนในการลงทุนสูงเป็นพิเศษหรือไม่นั้น ท่านนายกฯโต้แย้งว่า "หุ้นขึ้นกันทั้งหมด เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นปูนซีเมนต์ หรือหุ้น ปตท. ก็มีราคาสูงขึ้นหมด" และกล่าวว่า การพูดว่ามีเฉพาะหุ้นบางตัวขึ้นนั้นเป็นการ "พูดความจริงครึ่งเดียว" และเป็น "เล่ห์เหลี่ยมที่ใช้กันมานาน"

ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นนี้ ผลขอทบทวนให้ทราบก่อนว่า ผลการวิจัยของผมพบอะไร

ผลการวิจัยชี้ว่า ในปี 2545 ปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้นเกินกว่าค่าเฉลี่ยที่สำคัญคือ การอยู่ในสาขาอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง และการแพทย์ และการเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ส่วนปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้นน้อยกว่าเฉลี่ยที่สำคัญคือ การอยู่ในสาขาเกษตร โทรคมนาคม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน ธนาคารและการเงิน

ส่วนในปี 2546 ที่น่าจะเป็นปีที่มีปัญหาถกเถียงกันนั้น โดยเฉลี่ยหุ้นในตลาดสูงขึ้นร้อยละ 58 และมีหุ้นบางตัวราคาสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยมาก ทั้งนี้ การวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้นสูงกว่าเฉลี่ยที่สำคัญมี 3 ปัจจัยคือ(ดูตารางประกอบ)
...
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 15

โพสต์

1.การเป็นบริษัทที่มีค่ากู้ดวิลล์(goodwill)สูง ซึ่งวัดได้จากการมีมูลค่าตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี(market-to-book ratio) ค่ากู้ดวิลล์ดังกล่าวสะท้อนถึงการมีตราสินค้าที่ได้รับความนิยม การที่ผู้บริหารมีความสามารถสูงเป็นที่ยอมรับ ฯลฯ

2.การมีสัดส่วนหนี้สูง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นบริษัทที่มีสัดส่วนหนี้สินมาก(หรือมีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย) จะได้อัตราผลตอบแทนสูง เนื่องจากเมื่อมีกำไรมาก กำไรต่อหุ้นก็จะสูง เพราะมีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย

3.การเป็นหุ้นในกลุ่มที่นักลงทุนเรียกกันว่า "หุ้นทักษิณ" ซึ่งหมายถึงหุ้นในกลุ่มที่ครอบครัวของนายกฯ ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่สูง 5 ตัว คือ AIS(ADVANC),Shin Satellite(SATTEL),ไอทีวี (ITV),ธนาคารทหารไทย(TMB) และ Shin Corporation(SHIN)
...
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ส่วนวิธีในการได้ข้อสรุปข้างต้นนั้น คือ การใช้สมการถดถอย(regression analysis) ซึ่งสามารถแยกผลของปัจจัยต่างๆ ออกจากกัน ทั้งนี้ ตัวแปรที่เลือกใช้ได้มาจากการวิจัยของ Johnson and Todd Mitton นักวิชาการที่สังกัด NBER ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจที่ได้รับการยอมรับสูงในสหรัฐ ซึ่งเคยศึกษาความสัมพันธ์ของเส้นสายการเมืองในประเทศมาเลเซียในยุคมหาธีร์ ผู้อ่านที่สนใจกรุณาศึกษาได้จาก www.nber.org/papers/w8521
...
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 17

โพสต์

กล่าวโดยสรุปอย่างง่ายๆ ผลการวิจัยของผมชี้ว่า

1.หุ้นในตลาดโดยรวมมีราคาสูงขึ้นจริง โดยมีค่าเฉลี่ยอย่างง่าย(simple average)ของตลาดสูงขึ้น ร้อยละ 58 ซึ่งก็สอดคล้องกับคำอธิบายของท่านนายกฯ ว่าหุ้นส่วนใหญ่มีราคาเพิ่มขึ้น

2.หุ้นบางตัวมีราคาสูงขึ้นกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นปูนซีเมนต์ หรือหุ้น ปตท. ซึ่งก็เป็นเพราะบริษัทเหล่านี้มีสัดส่วนหนี้สูง เช่น ธนาคารต่างๆ หรือมีค่ากู้ดวิลล์มาก เช่น ปตท.หรือซีเมนต์ไทย ซึ่งก็สอดคล้องกับคำอธิบายของท่านนายกฯอีก

3.หุ้นในกลุ่มที่เรียกว่า "หุ้นทักษิณ" สูงขึ้นกว่าระดับเฉลี่ยของตลาดมาก แม้คิดผลของปัจจัยตามข้อ 2 ข้างต้นแล้ว ซึ่งเป็นประเด็นที่ท่านนายกฯไม่ได้ให้คำอธิบายไว้เลยทั้งที่เป็นหัวใจของการถกเถียงครั้งนี้

จะเห็นได้ว่า คำอธิบายของนายกฯก็มีส่วนถูก แต่ก็ไม่ครบถ้วน หรือถูกเพียงครึ่งเดียวถ้าจะครบถ้วนก็จะต้องกล่าวอย่างข้อสรุปข้างต้น ส่วนเมื่อหุ้นขึ้นแล้ว ใครจะเอาไปขายเอง หรือใช้ชื่อคนอื่นขายก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าคนในวงการรู้กันดี
...
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อ่านต่อที่นี่ครับ
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... 2004/06/29
โหมโรง
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เค้าวิจารณ์ทุกเรื่องแต่ไม่ยอมวิจารณ์เรื่องปรส.ครับ

ท่าทางจะรู้เรื่อง ปรส ดี ก็ลองวิจารณ์ มาหน่อยสิครับ
ช่วยๆกันวิจารณ์ บ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น
อย่าได้แต่ทำท่าว่าฉันรู้ดี แต่ไม่มีเนื้อหาสาระ
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 20

โพสต์

จาก http://www.nber.org/papers/w8521

Recent experience in Malaysia offers an opportunity to assess the extent to which capital controls are linked with cronyism. There are two testable implications at the firm level from the Rajan and Zingales view. Firms with stronger political connections should

(1) suffer more when a macroeconomic shock reduces the governments ability to provide privileges and subsidies and

(2) benefit more when the imposition of capital controls allows a higher level of subsidies.
ลุงเอง
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ย้อนรอยอัปยศโจรเสื้อนอก ปรส. อภิมหายุทธการปล้นชาติ 6 แสนล้าน! (ตอนที่ 1)
( 19 พ.ย. 2546 )

เป็นที่ยอมรับกันว่าวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย หรืออุบัติการณ์ ฟองสบู่แตก ที่เกิดขึ้นในปี 2540 ถือเป็นหายนะครั้งใหญ่ของชาติที่เปรียบเสมือนการ เสียกรุงครั้งที่ 3 โดยคนไทยทั้งแผ่นดินต้องเผชิญกับสภาพการสูญเสียเอกราชอธิปไตยทางเศรษฐกิจด้วยความขมขื่น สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนที่ต้องแบกรับภาระหนี้สินสาธารณะหลาย ล้านล้านบาท

รากเหง้าของวิกฤตชาติดังกล่าวเกิดจากการความความอ่อนด้อยบวกกับความละโมบของ รัฐบาลนายแบงก์ ที่ติดบ่วงมายาโลกาภิวัตน์ จนตัดสินใจผิดอย่างใหญ่หลวงในการผลักดันนโยบายเสรีทางการเงินสุดขั้ว โดยการเปิดกิจการวิเทศน์ธนกิจ หรือ บีไอบีเอฟ (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ในปี 2537 โดยไม่มีมาตรการรองรับ เช่น จงใจปล่อยให้เกิดช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยภายใน (12%) และภายนอกประเทศ (7%) และยังคงปล่อยให้เงินบาทผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือระบบ ตระกร้าเงิน (Basket of Currencies) แทนที่จะ ลอยตัวค่าเงินบาท (Managed Float) เพื่อให้วิถีค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาดเสรีอย่างแท้จริง

นโยบายที่แฝงด้วย วาระซ่อนเร้น ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดสภาพ เงินนอกไหลท่วม เนื่องจากทุกฝ่ายต่างมุ่งตักตวงโอกาสในการแสวงหาประโยชน์หรือกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย จนเมื่อสถานการณ์สุกงอม ค่าเงินบาท ก็เกิดความผันผวนอย่างต่อเนื่องเมื่อถูกโจมตีจากกองทุนค้าเงินข้ามชาติ (Hedge Fund) โดยเฉพาะ ปีศาจการเงิน อย่าง จอร์ส โซรอส ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ต้องทุ่มทุนปกป้องค่าเงินบาทอย่างถมไม่เต็ม แต่ก็ต้องยอมยกธงขาวก่อนที่เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะหมดเกลี้ยง และจำต้องประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 พร้อมทั้งขอรับความช่วยเหลือจาก ไอเอ็มเอฟ หลังจากที่เกิดความเสียหายจากความ บกพร่องและบ้าบิ่น ในการปกป้องค่าเงินบาทเป็นจำนวนมหาศาล

เฉพาะเพียงแค่วันที่ 15 พฤษภาคม 2540 วันเดียว ที่ประชุมผู้บริหารแบงก์ชาติได้มีมติให้ผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการปกป้องค่าเงินบาทได้โดยไม่จำกัดวงเงิน ส่งผลให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองฯ ในการปกป้องค่าเงินบาทไปอีกกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2 แสน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นการป้องกันค่าเงินที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย และอาจจะแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม ความเสียหายดังกล่าวยังไม่เทียบเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังวิกฤติชาติ จากน้ำมือขององค์กรที่มีชื่อว่า ปรส. หรือ องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ที่สร้างความเสียหายแก่สินทรัพย์ของชาติรวมมูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท จนมีผู้ประณามวีรกรรมของ ปรส.ว่าเปรียบเสมือนการ ปล้นรอบสอง

มูลเหตุกำเนิดของ ปรส.สืบเนื่องมาจากภายหลังจากที่มีการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวรในปี 2540 รัฐบาลจึงได้ออกพระราชกำหนดจัดตั้ง ปรส. เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิด ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของชาติ รวมมูลค่าราว 823,000 ล้านบาท (อาจสูงถึง 1 ล้านล้านบาท)

แต่ปรากฏว่า ปรส.กลับนำสินทรัพย์ทั้งหมดมากองรวมกันโดยไม่ได้แยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากกัน และทำการประมูลแบบ ยกเข่ง สร้างความสูญเสียแก่ประเทศอย่างใหญ่หลวง ถือเป็นความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากสินทรัพย์มูลค่ารวมกว่า 8 แสนล้านบาท ปรส.เปิดประมูลได้กว่า 2 แสนล้านบาทเท่านั้น มูลค่าสินทรัพย์ของประเทศสูญหายไปถึง 6 แสนล้านบาท

จนถึงวันนี้ประชาชนยังไม่ได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าการดำเนินการของ ปรส.ผิดพลาดอย่างไร และยังไม่ทราบว่าความเสียหายทั้งหมดนี้ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่ามูลเหตุที่อาจทำให้ ปรส.ตัดสินใจรวม หนี้ดี-หนี้เสีย กองไว้ด้วยกันและเปิดประมูลแบบยกเข่งนั้น อาจเป็นเพราะการที่ แบงก์ชาติ ไม่ต้องการเปิดเผยถึงความผิดพลาดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน จึงไม่ต้องการให้มีการแบ่งเป็นกองหนี้ดีและกองหนี้เสีย

ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ปรส.ตามพระราชกำหนดการปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ไม่ได้มุ่งให้ ปรส.ดำเนินการขายสินทรัพย์แบบ ขายทอดตลาด แต่ต้องการให้ ปรส. ปฏิรูป หรือ ฟื้นฟูหนี้เสีย ให้กลายเป็นหนี้ดีขึ้นหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้มากที่สุด เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อหนี้สาธารณะ ซึ่งประชาชนทุกคนต้องเป็นผู้แบกรับความเสียหายทั้งหมดในที่สุด

อาจกล่าวได้ว่ามูลเหตุสำคัญในความผิดพลาดของ ปรส.เกิดจากการที่มี ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) เนื่องจากหลายสาเหตุ แม้ข้อเท็จจริงตามกฎหมายอาจดูไม่เข้าข่ายมูลฐานความผิด แต่ในแง่ของจรรยาบรรณถือเป็นความไม่ชอบธรรมอย่างชัดเจน ดังนั้น ถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถเอาผิดคนบางกลุ่มไม่ได้ แต่สังคมควรได้รับรู้ว่าใครบ้างที่มีความผิดด้านจรรยาบรรณ และจะต้องลงโทษคนที่ร่วมกันสร้างความเสียหายแก่ประเทศ

พฤติการณ์ที่น่าสงสัยของผู้บริหาร ปรส.เริ่มตั้งแต่การว่าจ้าง บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นที่ปรึกษาวาณิชธนกิจ โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการจัดการสินทรัพย์ของ ปรส.ทั้งหมด โดยบริษัทดังกล่าวได้ทำเกินหน้าที่ด้วยการให้ข้อเสนอในการตั้งเงื่อนไขต่างๆ ให้ข้อมูลในด้านตัวเลขและราคาแก่ผู้เข้าร่วมประมูล และเมื่อ ปรส.เปิดการประมูลสินทรัพย์ก็ปรากฏว่าเงื่อนไขต่างๆ เป็นที่น่าเคลือบแคลงอย่างยิ่ง เช่น

1. การไม่ยอมให้ลูกหนี้ร่วมประมูลหนี้ของตนเอง อันเป็นการตัดสิทธิผู้รู้ข้อมูลของสินทรัพย์ที่แท้จริง

2. ตั้งสินทรัพย์เป็นกองใหญ่ๆ ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาที่รู้ว่าหากตั้งเป็นกองใหญ่ๆ ในขณะนั้นคนไทยย่อมขาดเงินทุนหรือไม่มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะเข้าร่วมแข่งขันในการประมูล

ดังนั้นจึงเปิดช่องให้กลุ่มบริษัทต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากการประมูลครั้งนี้ โดยข้อน่าสังเกตุก็คือผลการประมูลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกันอย่างชัดเจน (เรียกกันว่ามีครีมอยู่ข้างบน) วงเงินจำนวนมากแต่ผลการประมูลได้กว่า 19,000 ล้านบาท โดยผู้ที่ชนะการประมูลก็คือ บริษัท เลห์แมนบราเดร์สโฮลอิ้ง อิงค์ ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ปรึกษาของ ปรส.(เลห์แมนบราเดอร์สฯ) 99.99%

จึงกล่าวได้ว่าผู้ชนะการประมูล รู้ไส้ ปรส. ก่อนคู่แข่ง แต่ผู้บริหาร ปรส.กลับอ้างว่า ทั้ง 2 บริษัทไม่มีการเปิดเผยข้อมูลถึงกัน เพราะมี Chinese Wall หรือ กำแพงเมืองจีน

หากแต่ในความเป็นจริงไม่มีประเทศใดในโลกที่จะยอมให้บริษัทปรึกษาวาณิชธนกิจซึ่งเป็น บริษัทลูก เป็นผู้วางกรอบและกำหนดเกณฑ์ในการประมูล จนกระทั่ง บริษัทแม่ เป็นผู้ชนะการประมูลในที่สุด

นี่เป็นเพียงปฐมบทของ อภิมหายุทธการปล้นชาติ 6 แสนล้าน ที่ควรจะต้องมีผู้รับผิดชอบ



โดย ทัดดอกไม้
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 22

โพสต์

อยากรู้เรื่อง ปรส
แนะนำ

รายการทีวึ ทาง ubc 7 หนี้แผ่นดิน

รายการวิทยุ
อรุณสวัสดิ์ FM102 เวลา 5.00-7.00 น.
ช่วยกันคิดกับดุสิต ศิริวรรณ FM97.5 เวลา 16.00-17.00 น.
* รู้สึก 2 รายการนี้โทรไปขอข้อมูลได้ครับ

หนังสือ ทาสทุน ทาสความคิด
หนังสือ ปอกเปือก อานันท์ ปันยารชุน

และ search ใน yahoo คำว่า ปรส
ลุงเอง
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 23

โพสต์

แนะนำ
http://www.nchokwatana.com/article/Question.asp?GID=1
http://www.nchokwatana.com/article/Question.asp?GID=2
.
.
.
.
http://www.nchokwatana.com/article/Question.asp?GID=12
เปลี่ยนตัวเลข link ไปเรื่อยๆ จนถึงเลข 12
จากเว็ป http://www.nchokwatana.com/
มีความสุขกับการค้นหาข้อมูลนะครับ
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 24

โพสต์

คิดระหว่างวัน
++หนี้เน่าจากปรส.
++โดย ดุสิต ศิริวรรณ

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล บอกกับสื่อมวลชนถึงการออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อชดเชยภาระความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยได้เน้นว่า ในปีพ.ศ.2547 ธปท.กับกระทรวงการคลังได้ตั้งเป้าหมายว่า จะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนฟื้นฟูฯรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 แสนล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นพันธบัตรเพื่อการลงทุน (อินเวสเตอร์ บอนด์) กับอีกส่วนหนึ่งจะออกเป็นพันธบัตรขายในสมาชิกกองทุนพันธบัตรเอเชีย (เอเชีย บอนด์) โดยพันธบัตรทั้งสองประเภทนี้จะมีมูลค่ารวมกัน 120,000 ล้านบาท

พันธบัตรรัฐบาลอีกส่วนหนึ่งจะออกพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้กับประชาชนเป็นการทั่วไปมีมูลค่า 80,000 ล้านบาท และคาดว่าพันธบัตรดังกล่าวจะจำหน่ายให้กับประชาชนได้ภายในเดือนสิงหาคมหรือกันยายนปีนี้

พันธบัตรประเภทหลังนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับภาระจ่ายเงินต้น และกระทรวงการคลังจะรับภาระจ่ายดอกเบี้ย

ท่านผู้อ่านคงยังจำกันได้แม่นยำว่า ภาระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่ปรากฏว่า มีความพยายามที่จะไม่พูดถึงสาเหตุของการเกิดหนี้สินดังกล่าวนี้อย่างตรงไปตรงมา เพราะมันไปกระเทือนซางนักการเมืองในอดีตบางกลุ่มบางพวก และยังไปกระเทือนซางพวกกลุ่มนายทุนผูกขาดธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยอีกหลายกลุ่มหลายพวก

นอกจากนั้น ยังไปกระเทือนซางรัฐบาลเผด็จการในอดีต เช่น รัฐบาลเผด็จการนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ลุกลี้ลุกลนเปิดเสรีทางการค้า โดยไม่มีมาตรการใดๆ รองรับและยังไม่มีความพร้อมในทุกด้าน

ภาระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯที่เห็นได้ชัดเจนประการสำคัญก็คือ การใส่เม็ดเงินเข้าไปพยุงฐานะของสถาบันการเงินทั้ง 58 แห่งที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินก่อนเกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจการเงินในปีพ.ศ.2540

สิ่งที่ประชาชนควรจะต้องถามไถ่เอากับผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯในขณะนั้นว่า การเข้าไปพยุงฐานะสถาบันการเงินเหล่านั้น ทำกันอย่างตรงไปตรงมาหรือเปล่า ? หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงทำมาหากินร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงินเหล่านั้นบางแห่งหรือไม่ ?

เป็นคำถามของประชาชนที่ยังไม่มีคำตอบใดๆ จากผู้บริหารกองทุนฟื้นฟูฯมาจนกระทั่งบัดนี้

ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯจะไม่บานปลายมากยิ่งขึ้น หากรัฐบาลนายชวน หลีกภัยชุดที่ 2 ที่เข้ารับหน้าที่ต่อจากรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไม่ลุกลี้ลุกลนผลีผลามปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งไปเป็นการถาวร จากที่ได้เคยมีการปิดสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราวไปแล้ว 58 แห่งก่อนหน้านี้

การปิดสถาบันการเงินอย่างเป็นการถาวรโดยไม่มีมาตรการรองรับ เช่น การแยกหนี้ดีหนี้เสียหรือการบริหารหนี้ที่ยังไม่ใช่เป็นหนี้เน่าอย่างแท้จริง ความผิดพลาดทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ จึงเป็นการซ้ำเติมให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯขาดทุนบักโกรกมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึงเข้าขั้นอาการโคม่าเมื่อองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ขายทรัพย์สินของสถาบันการเงิน 56 แห่ง อย่างอีลุ่ยฉุยแฉก โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชนทั้งประเทศ

การออกพันธบัตรของรัฐบาลในเวลาต่อมา จึงเท่าเป็นการโยนความรับผิดชอบทั้งหมดให้ประชาชน 63 ล้านคนร่วมกันรับผิดชอบ

โดยนักการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในอดีต หดหัวเอาตัวรอดกันจ้าละหวั่น มันเป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ? เป็นสิ่งที่นักการเมืองปัจจุบันต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเหมือนอย่างนักการเมืองในอดีตที่ผ่านมา
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ที่ผมว่าน่าจะทำงานวิจัยต่อว่า เมื่อก่อนที่ไทยรักไทยเป็นรัฐบาลนั้น หุ้นกลุ่มชินวัตรมีการเปลี่ยนแปลงราคาเป็นอย่างไรครับ มากกว่าดัชนีหรือไม่

เพราะการที่กลุ่มชินวัตรมีราคาเพิ่มขึ้นในช่วงที่ไทยรักไทยเป็นรัฐบาลนั้น อาจจะมีหลายเหตุผล เช่น ทำธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เติบโต ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ หรือบริษัทมี Goodwill ที่ดี

ถ้าทำการวิจัยแล้วพบว่าในอดีต หุ้นกลุ่มชินนั้นไม่ได้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าตลาด แต่เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดในช่วงไทยรักไทยเป็นรัฐบาล ก็ค่อยน่าจะสรุปได้ครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 26

โพสต์

จริงๆแล้ว ราคาหุ้นหรือมูลค่าตลาดของแต่ละบริษัทนั้นสำคัญและยั่งยืนขนาดไหนครับ
โหมโรง
ผู้ติดตาม: 0

ขอชื่นชมนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ปรส.มีการวิจารณ์กันค่อนข้างมาก
คงใช้เวลาพอสมควรสำหรับคนที่สนใจจะศึกษา
ฟังความรอบด้าน ทั้งสองฝ่ายเพื่อหาข้อสรุปที่เป็นประโยชน์

... บาง link
http://www.manager.co.th/daily/ViewNews ... 0000059757

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q ... an19p1.htm

http://www.gotomanager.com/app/guide.as ... &id=011582


อ่านข้อมูลหลายๆด้าน หาที่ google พิมพ์ ปรส...
ล็อคหัวข้อ