การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 1
ท่านใดพอทราบเรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ Securitization บ้างครับ แท้จริงมันเป็นอย่างไร ขอความรู้ด้วยครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 2
ผมเคยแต่แปลงหลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์นักดูดาว เขียน:ท่านใดพอทราบเรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ Securitization บ้างครับ แท้จริงมันเป็นอย่างไร ขอความรู้ด้วยครับ
คือ....
ขายหุ้นแล้วไปซื้อที่ดินอ่ะ
แต่ข้างบนที่ว่าก็ไม่เข้าใจครับ จะมาดูความคิดเห็นของท่านอื่นต่อไป
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 3
ผมรู้ไม่จริงครับ
แต่เท่าที่อ่านมา
การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเป็นการออกตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง
โดยใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสิ่งค้ำประกัน
เพราะงั้นตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบธรรมดา
แฮะๆ เท่านั้นแหละครับที่จำได้
แต่ไม่รู้ว่าหลักการออกเป็นยังไง การตีมูลค่าสินทรัพย์ยังไง
ผิดถูกช่วยกันแก้ไขด้วยครับ
แต่เท่าที่อ่านมา
การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเป็นการออกตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง
โดยใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสิ่งค้ำประกัน
เพราะงั้นตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบธรรมดา
แฮะๆ เท่านั้นแหละครับที่จำได้
แต่ไม่รู้ว่าหลักการออกเป็นยังไง การตีมูลค่าสินทรัพย์ยังไง
ผิดถูกช่วยกันแก้ไขด้วยครับ
- วันพีส
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 4
สวัสดีครับ พี่ๆและทุกท่าน
พอดีผมว่าง เลยลอง Search เรื่องนี้ดู แล้วเจอเนื้อหาซึ่งมี 11 หน้า ไม่รู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ แต่ผมขอทำหน้าที่สรุปย่อเนื้อหาที่ได้อ่านจาก เวปไซด์ข้างล่างนี้แล้วกันครับ เอาแบบกว้างๆ นะครับ ผมจะพยายามเลี่ยงคำศัพท์และข้อความที่น่าปวดหัวครับ
อ่านเอาเฉพาะเน้นข้อความ สีเขียวและสีน้ำเงิน ก็ได้ครับ
http://www.sec.or.th/secrgen/pubstat/pu ... zation.doc
1. ลักษณะของธุรกรรม securitization
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ securitization นิยมทำกับ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำโดยนำไปหนุนการออกหลักทรัพย์ (asset backed securities หรือ ABS) ผู้ลงทุนสามารถนำไปขายต่อได้โดยมีสภาพคล่องสูงขึ้น ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์รับความเสี่ยงเฉพาะในสินทรัพย์ที่นำมาหนุนหลังหลักทรัพย์นั้นเท่านั้น
ในทางปฏิบัติ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ สามารถกระทำได้โดยผู้ที่มีสินทรัพย์ (originator หรือ seller) ขายสินทรัพย์ไปให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ (special purpose vehicle : SPV) ที่จัดตั้งขึ้น และ SPV นั้นออกหลักทรัพย์เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระค่าสินทรัพย์ให้แก่ ผู้มีสินทรัพย์(originator)
องค์ประกอบมีดังนี้
1.1 สินทรัพย์ มักเป็นลูกหนี้ประเภทต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ลูกหนี้การค้า ฯลฯ หรือ กระแสรายรับในอนาคต (future flow) โดยเฉพาะจากโครงการสาธารณูปโภค เช่น ค่าผ่านทางด่วน รายได้จากการขายกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
1.2 ผู้มีสินทรัพย์ (originator/seller) ผมเรียกว่า เจ้าของสินทรัพย์ ดีกว่าครับ เจ้าของสินทรัพย์ควรจะมีลูกหนี้ใน port เป็นจำนวนมาก เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บริษัทที่ให้เช่าซื้อ/ลีสซิ่ง บริษัทที่ให้บริการบัตรเครดิต นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงผู้ประกอบกิจการสาธารณูปโภคซึ่งมีกระแสรายได้ในอนาคตที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/นครหลวง บริษัททางด่วน เป็นต้น
บทบาท เจ้าของสินทรัพย์(originator) ในธุรกรรมดังกล่าวนั้น เมื่อ เจ้าของสินทรัพย์(originator) ได้ขายสินทรัพย์ไปแล้ว เจ้าของสินทรัพย์(originator) มักจะยังเป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ (servicer) ให้แก่ นิติบุคคลเฉาะกิจ (SPV) ต่อไป โดยลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องทราบว่าเจ้าหนี้ที่แท้จริงของตนได้เปลี่ยนจาก ผู้มีสินทรัพย์(originator) ไปเป็น นิติบุคคลเฉพาะกิจ(SPV) แล้ว
1.3 SPV เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก เจ้าของสินทรัพย์(originator) เพื่อเข้ามารับโอนสินทรัพย์จาก เจ้าของสินทรัพย์(originator) และทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) แทน SPV ไม่ประกอบธุรกิจอื่นๆ นอกจาก การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จึงไม่มีความเสี่ยงจากภาระผูกพันอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำ securitization
1.4 ตราสาร ABS รูปแบบของตราสาร ABS ขึ้นอยู่กับรูปแบบของ นิติบุคคล(SPV) เช่น หาก SPV เป็น บริษัท ตราสาร ABS มักจะอยู่ในรูปหุ้นกู้ แต่ถ้า SPV เป็นกองทุนรวม ตราสาร ABS ก็จะอยู่ในรูปหน่วยลงทุน เป็นต้น
1.5. ผู้เรียกเก็บหนี้(servicer) เจ้าของสินทรัพย์(originator) และ ผู้เรียกเก็บหนี้(servicer) มักเป็นบุคคลเดียวกันเพื่อความต่อเนื่องในการเรียกเก็บหนี้ อย่างไรก็ดี หาก servicer มีปัญหาทาง
การเงินหรือมีเหตุจำเป็นอื่น อาจมีการเปลี่ยน servicer ได้ โดยต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบด้วย
รายได้ของ servicer (servicing fee) ส่วนมากจะประกอบด้วย ส่วนที่เป็นรายได้คงที่ (เช่น เป็นสัดส่วนต่อมูลหนี้) และส่วนที่เป็นโบนัส สำหรับกรณีที่ servicer สามารถเรียกเก็บหนี้ได้มากกว่าจำนวนที่คาดไว้
พอดีผมว่าง เลยลอง Search เรื่องนี้ดู แล้วเจอเนื้อหาซึ่งมี 11 หน้า ไม่รู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ แต่ผมขอทำหน้าที่สรุปย่อเนื้อหาที่ได้อ่านจาก เวปไซด์ข้างล่างนี้แล้วกันครับ เอาแบบกว้างๆ นะครับ ผมจะพยายามเลี่ยงคำศัพท์และข้อความที่น่าปวดหัวครับ
อ่านเอาเฉพาะเน้นข้อความ สีเขียวและสีน้ำเงิน ก็ได้ครับ
http://www.sec.or.th/secrgen/pubstat/pu ... zation.doc
1. ลักษณะของธุรกรรม securitization
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ securitization นิยมทำกับ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำโดยนำไปหนุนการออกหลักทรัพย์ (asset backed securities หรือ ABS) ผู้ลงทุนสามารถนำไปขายต่อได้โดยมีสภาพคล่องสูงขึ้น ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์รับความเสี่ยงเฉพาะในสินทรัพย์ที่นำมาหนุนหลังหลักทรัพย์นั้นเท่านั้น
ในทางปฏิบัติ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ สามารถกระทำได้โดยผู้ที่มีสินทรัพย์ (originator หรือ seller) ขายสินทรัพย์ไปให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ (special purpose vehicle : SPV) ที่จัดตั้งขึ้น และ SPV นั้นออกหลักทรัพย์เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระค่าสินทรัพย์ให้แก่ ผู้มีสินทรัพย์(originator)
องค์ประกอบมีดังนี้
1.1 สินทรัพย์ มักเป็นลูกหนี้ประเภทต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ลูกหนี้การค้า ฯลฯ หรือ กระแสรายรับในอนาคต (future flow) โดยเฉพาะจากโครงการสาธารณูปโภค เช่น ค่าผ่านทางด่วน รายได้จากการขายกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
1.2 ผู้มีสินทรัพย์ (originator/seller) ผมเรียกว่า เจ้าของสินทรัพย์ ดีกว่าครับ เจ้าของสินทรัพย์ควรจะมีลูกหนี้ใน port เป็นจำนวนมาก เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บริษัทที่ให้เช่าซื้อ/ลีสซิ่ง บริษัทที่ให้บริการบัตรเครดิต นอกจากนี้ ยังอาจรวมถึงผู้ประกอบกิจการสาธารณูปโภคซึ่งมีกระแสรายได้ในอนาคตที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/นครหลวง บริษัททางด่วน เป็นต้น
บทบาท เจ้าของสินทรัพย์(originator) ในธุรกรรมดังกล่าวนั้น เมื่อ เจ้าของสินทรัพย์(originator) ได้ขายสินทรัพย์ไปแล้ว เจ้าของสินทรัพย์(originator) มักจะยังเป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ (servicer) ให้แก่ นิติบุคคลเฉาะกิจ (SPV) ต่อไป โดยลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องทราบว่าเจ้าหนี้ที่แท้จริงของตนได้เปลี่ยนจาก ผู้มีสินทรัพย์(originator) ไปเป็น นิติบุคคลเฉพาะกิจ(SPV) แล้ว
1.3 SPV เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก เจ้าของสินทรัพย์(originator) เพื่อเข้ามารับโอนสินทรัพย์จาก เจ้าของสินทรัพย์(originator) และทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization) แทน SPV ไม่ประกอบธุรกิจอื่นๆ นอกจาก การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ จึงไม่มีความเสี่ยงจากภาระผูกพันอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำ securitization
1.4 ตราสาร ABS รูปแบบของตราสาร ABS ขึ้นอยู่กับรูปแบบของ นิติบุคคล(SPV) เช่น หาก SPV เป็น บริษัท ตราสาร ABS มักจะอยู่ในรูปหุ้นกู้ แต่ถ้า SPV เป็นกองทุนรวม ตราสาร ABS ก็จะอยู่ในรูปหน่วยลงทุน เป็นต้น
1.5. ผู้เรียกเก็บหนี้(servicer) เจ้าของสินทรัพย์(originator) และ ผู้เรียกเก็บหนี้(servicer) มักเป็นบุคคลเดียวกันเพื่อความต่อเนื่องในการเรียกเก็บหนี้ อย่างไรก็ดี หาก servicer มีปัญหาทาง
การเงินหรือมีเหตุจำเป็นอื่น อาจมีการเปลี่ยน servicer ได้ โดยต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบด้วย
รายได้ของ servicer (servicing fee) ส่วนมากจะประกอบด้วย ส่วนที่เป็นรายได้คงที่ (เช่น เป็นสัดส่วนต่อมูลหนี้) และส่วนที่เป็นโบนัส สำหรับกรณีที่ servicer สามารถเรียกเก็บหนี้ได้มากกว่าจำนวนที่คาดไว้
แก้ไขล่าสุดโดย วันพีส เมื่อ จันทร์ มิ.ย. 14, 2004 8:40 pm, แก้ไขไปแล้ว 2 ครั้ง.
ผมรู้น้อย แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจครับ
- วันพีส
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 5
2. ความเป็นมาของกฎหมาย securitization ในประเทศไทย
ปี 2536 กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานที่มีความรับผิดชอบหลักในการพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย การดำเนินการศึกษาการออกตราสารการเงินที่จะรองรับการพัฒนาตลาดรองดังกล่าว รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคในตลาด ปี 2540 ได้มีการตราพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ขึ้น เพื่อเป็นการให้สิทธิประโยชน์ในขั้นตอนของการโอนสินทรัพย์ระหว่าง เจ้าของสินทรัพย์(originator) และ นิติบุคคล(SPV)
3. รูปแบบของกฎหมายที่ใช้ในการทำ securitization
ปัจจุบันการทำ securitization สามารถเลือกทำตามกรอบกฎหมายที่รองรับได้ใน 3 รูปแบบ คือ (1) ออกหุ้นกู้ตาม พ.ร.ก.นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ ประกอบ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ (2) ออกหุ้นกู้ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ และ (3) ทำตามเกณฑ์กองทุนรวมที่ซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของสถาบันการเงิน
เลือกทำตามข้อ 1 ผลประโยชน์ที่เหลือทั้งหมดของโครงการ (ภายหลังจากหักชำระหนี้ตามหุ้นกู้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในโครงการ) จะต้องถูกโอนกลับไปยัง เจ้าของสินทรัพย์(originator) เพื่อเป็นการสะท้อนว่า การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้างต้นเป็นการระดมทุนของ originator โดยแท้จริง เพียงแต่อาศัยบริษัทตัวกลางในการออกหลักทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์จะแยกทรัพย์สินของ originator ออกมาเพื่อประโยชน์ในการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่เท่านั้น
หากไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขข้างต้นได้ ก็จะต้อง แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามเกณฑ์การออกหุ้นกู้ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ตาม (2) ซึ่งถือเป็นการออกหุ้นกู้รูปแบบหนึ่งที่ทำได้อยู่แล้วตามเกณฑ์ปกติ
สำหรับการทำ securitization โดยจัดตั้งกองทุนรวมที่ซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของสถาบันการเงินตาม (3) นั้น เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมกันในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ โดยมีเกณฑ์รองรับการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทดังกล่าว (กอง 2 กอง 3 และกอง 4) ไว้ตั้งแต่ช่วงปี 2541 ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป (เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) รวมทั้งยังได้รับ
ยกเว้นภาษีการโอนอสังหาริมทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสำนักงานได้ปิดรับการขออนุญาตจัดตั้งกองทุนรวมในลักษณะดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ สำหรับการทำ securitization โดยจัดตั้งกองทุนรวมภายใต้ พ.ร.ก.นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ นั้นยังไม่สามารถทำได้ (ปัจจุบันมีกฎเกณฑ์รองรับเฉพาะ SPV ที่อยู่ในรูปบริษัทเท่านั้น)
ปี 2536 กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานที่มีความรับผิดชอบหลักในการพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย การดำเนินการศึกษาการออกตราสารการเงินที่จะรองรับการพัฒนาตลาดรองดังกล่าว รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคในตลาด ปี 2540 ได้มีการตราพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ขึ้น เพื่อเป็นการให้สิทธิประโยชน์ในขั้นตอนของการโอนสินทรัพย์ระหว่าง เจ้าของสินทรัพย์(originator) และ นิติบุคคล(SPV)
3. รูปแบบของกฎหมายที่ใช้ในการทำ securitization
ปัจจุบันการทำ securitization สามารถเลือกทำตามกรอบกฎหมายที่รองรับได้ใน 3 รูปแบบ คือ (1) ออกหุ้นกู้ตาม พ.ร.ก.นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ ประกอบ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ (2) ออกหุ้นกู้ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ และ (3) ทำตามเกณฑ์กองทุนรวมที่ซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของสถาบันการเงิน
เลือกทำตามข้อ 1 ผลประโยชน์ที่เหลือทั้งหมดของโครงการ (ภายหลังจากหักชำระหนี้ตามหุ้นกู้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในโครงการ) จะต้องถูกโอนกลับไปยัง เจ้าของสินทรัพย์(originator) เพื่อเป็นการสะท้อนว่า การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ข้างต้นเป็นการระดมทุนของ originator โดยแท้จริง เพียงแต่อาศัยบริษัทตัวกลางในการออกหลักทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์จะแยกทรัพย์สินของ originator ออกมาเพื่อประโยชน์ในการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่เท่านั้น
หากไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขข้างต้นได้ ก็จะต้อง แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามเกณฑ์การออกหุ้นกู้ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ตาม (2) ซึ่งถือเป็นการออกหุ้นกู้รูปแบบหนึ่งที่ทำได้อยู่แล้วตามเกณฑ์ปกติ
สำหรับการทำ securitization โดยจัดตั้งกองทุนรวมที่ซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของสถาบันการเงินตาม (3) นั้น เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมกันในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ โดยมีเกณฑ์รองรับการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทดังกล่าว (กอง 2 กอง 3 และกอง 4) ไว้ตั้งแต่ช่วงปี 2541 ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป (เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) รวมทั้งยังได้รับ
ยกเว้นภาษีการโอนอสังหาริมทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันสำนักงานได้ปิดรับการขออนุญาตจัดตั้งกองทุนรวมในลักษณะดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ สำหรับการทำ securitization โดยจัดตั้งกองทุนรวมภายใต้ พ.ร.ก.นิติบุคคลเฉพาะกิจฯ นั้นยังไม่สามารถทำได้ (ปัจจุบันมีกฎเกณฑ์รองรับเฉพาะ SPV ที่อยู่ในรูปบริษัทเท่านั้น)
ผมรู้น้อย แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจครับ
- วันพีส
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 6
ข้ามหัวข้อที่ 4 เรื่อง การเปรียบเทียบกฎเกณฑ์การออกหุ้นกู้เพื่อทำ securitization ครับ
5. ประสบการณ์ในการทำ securitization ในประเทศไทย
5.1 การทำ securitization กรณีที่ไม่ผ่าน พ.ร.ก.
(1) ช่วงปี 2536-2541มีการทำ securitization สำหรับสินทรัพย์ประเภทลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์และลูกหนี้การค้าของธุรกิจส่งออก (export receivables)ซึ่งเป็นกรณีที่ไปออกหุ้นกู้ในต่างประเทศ โดยการโอนลูกหนี้ไปยัง SPV ในต่างประเทศเพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม ได้แก่ กรณีของธนาคารเอเซีย ไทยคาร์ ซิทก้าลีสซิ่ง นิธิภัทรลีสซิ่ง และวงศ์ไพฑูรย์
(2) ปี 2542 มีการทำ securitization ในประเทศ โดยการออกหุ้นกู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในกระแสรายรับเป็นหลักประกันเสนอขาย บุคคลในวงจำกัดภายในประเทศ (PP) ได้แก่ สิทธิเรียกร้องในสินค้าคงคลังของกลุ่มบริษัทแสงโสม 3 issues มูลค่ารวมหุ้นกู้ 11,070 ล้านบาท โดยมีแอลเอสพีวีเป็นตัวกลางในการออกหุ้นกู้ และสิทธิเรียกร้องในหน่วยลงทุนและเงินกู้จำนองของกลุ่ม Lehman Brothers โดยมีจีที สตาร์ส เป็นตัวกลางในการออกหุ้นกู้ และในปี 2545 มีจีที สตาร์ส ทู เป็นตัวกลางในการออกหุ้นกู้ในลักษณะเดียวกับจีทีสตาร์ส มูลค่ารวมหุ้นกู้ทั้ง 2 issues คิดเป็น 8,670 ล้านบาท
5.2 การทำ securitization กรณีที่ผ่าน พ.ร.ก.
ปี 2545 เริ่มมีการทำ securitization ที่ผ่าน พ.ร.ก. โดยมีสินทรัพย์เป็นลูกหนี้เช่าซื้อบ้านของการเคหะแห่งชาติ 2 โครงการคือ โครงการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีนิติบุคคลเฉพาะกิจ บตท.เป็นตัวกลางออกหุ้นกู้ (เสนอขายบุคคลในวงจำกัดภายในประเทศ(PP)) มูลค่ารวม 345.93 ล้านบาท และโครงการของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งมีเอ็นเอ็ชเอ เอสพีวี และออสเปรย์ ซีรี่ส์ วัน เป็นตัวกลางออกหุ้นกู้ระยะสั้น (เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (PO)) มูลค่ารวม 607.9 ล้านบาท
5.3 การจัดตั้งกองทุนรวมที่ซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของสถาบันการเงิน
จากข้อมูล ณ มกราคม 2546 ได้มีการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทพิเศษดังกล่าว โดยมีมูลค่าการเสนอขายสำหรับแต่ละประเภทกองทุนดังนี้
1. กองทุนรวมอสังหาฯ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) 29 กอง มูลค่ารวม 42,141 ล้านบาท
2. กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) 20 กอง มูลค่ารวม 218,918 ล้านบาท
3. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) 33 กอง มูลค่ารวม 31,203 ล้านบาท
ข้ามหัวข้อที่ 6 เรื่อง อุปสรรคที่ทำให้การทำ securitization ภายใต้ พ.ร.ก. ไม่ได้รับความสนใจในช่วงที่ผ่านมา ครับ
7. แนวโน้มในอนาคต
ปัจจุบันจากการที่ได้เริ่มมีการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(securitization) ผ่าน พ.ร.ก. โดยโครงการของภาครัฐไปบ้างแล้ว คาดว่าในอนาคตน่าจะมีความนิยมเพิ่มขึ้นในภาคเอกชนที่จะทำ securitization ผ่าน พ.ร.ก. เนื่องจากเป็นทางเลือกหนึ่งในการระดมทุนที่มีต้นทุนต่ำ และเป็นช่องทางการลงทุนใหม่ของผู้ลงทุนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดตกต่ำ
----------------------------------------------------------------------------------
จบสรุปความครับ
5. ประสบการณ์ในการทำ securitization ในประเทศไทย
5.1 การทำ securitization กรณีที่ไม่ผ่าน พ.ร.ก.
(1) ช่วงปี 2536-2541มีการทำ securitization สำหรับสินทรัพย์ประเภทลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์และลูกหนี้การค้าของธุรกิจส่งออก (export receivables)ซึ่งเป็นกรณีที่ไปออกหุ้นกู้ในต่างประเทศ โดยการโอนลูกหนี้ไปยัง SPV ในต่างประเทศเพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม ได้แก่ กรณีของธนาคารเอเซีย ไทยคาร์ ซิทก้าลีสซิ่ง นิธิภัทรลีสซิ่ง และวงศ์ไพฑูรย์
(2) ปี 2542 มีการทำ securitization ในประเทศ โดยการออกหุ้นกู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในกระแสรายรับเป็นหลักประกันเสนอขาย บุคคลในวงจำกัดภายในประเทศ (PP) ได้แก่ สิทธิเรียกร้องในสินค้าคงคลังของกลุ่มบริษัทแสงโสม 3 issues มูลค่ารวมหุ้นกู้ 11,070 ล้านบาท โดยมีแอลเอสพีวีเป็นตัวกลางในการออกหุ้นกู้ และสิทธิเรียกร้องในหน่วยลงทุนและเงินกู้จำนองของกลุ่ม Lehman Brothers โดยมีจีที สตาร์ส เป็นตัวกลางในการออกหุ้นกู้ และในปี 2545 มีจีที สตาร์ส ทู เป็นตัวกลางในการออกหุ้นกู้ในลักษณะเดียวกับจีทีสตาร์ส มูลค่ารวมหุ้นกู้ทั้ง 2 issues คิดเป็น 8,670 ล้านบาท
5.2 การทำ securitization กรณีที่ผ่าน พ.ร.ก.
ปี 2545 เริ่มมีการทำ securitization ที่ผ่าน พ.ร.ก. โดยมีสินทรัพย์เป็นลูกหนี้เช่าซื้อบ้านของการเคหะแห่งชาติ 2 โครงการคือ โครงการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีนิติบุคคลเฉพาะกิจ บตท.เป็นตัวกลางออกหุ้นกู้ (เสนอขายบุคคลในวงจำกัดภายในประเทศ(PP)) มูลค่ารวม 345.93 ล้านบาท และโครงการของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งมีเอ็นเอ็ชเอ เอสพีวี และออสเปรย์ ซีรี่ส์ วัน เป็นตัวกลางออกหุ้นกู้ระยะสั้น (เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (PO)) มูลค่ารวม 607.9 ล้านบาท
5.3 การจัดตั้งกองทุนรวมที่ซื้อสินทรัพย์ที่มีปัญหาของสถาบันการเงิน
จากข้อมูล ณ มกราคม 2546 ได้มีการจัดตั้งกองทุนรวมประเภทพิเศษดังกล่าว โดยมีมูลค่าการเสนอขายสำหรับแต่ละประเภทกองทุนดังนี้
1. กองทุนรวมอสังหาฯ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) 29 กอง มูลค่ารวม 42,141 ล้านบาท
2. กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) 20 กอง มูลค่ารวม 218,918 ล้านบาท
3. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) 33 กอง มูลค่ารวม 31,203 ล้านบาท
ข้ามหัวข้อที่ 6 เรื่อง อุปสรรคที่ทำให้การทำ securitization ภายใต้ พ.ร.ก. ไม่ได้รับความสนใจในช่วงที่ผ่านมา ครับ
7. แนวโน้มในอนาคต
ปัจจุบันจากการที่ได้เริ่มมีการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(securitization) ผ่าน พ.ร.ก. โดยโครงการของภาครัฐไปบ้างแล้ว คาดว่าในอนาคตน่าจะมีความนิยมเพิ่มขึ้นในภาคเอกชนที่จะทำ securitization ผ่าน พ.ร.ก. เนื่องจากเป็นทางเลือกหนึ่งในการระดมทุนที่มีต้นทุนต่ำ และเป็นช่องทางการลงทุนใหม่ของผู้ลงทุนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดตกต่ำ
----------------------------------------------------------------------------------
จบสรุปความครับ
ผมรู้น้อย แต่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจครับ