เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 1
มาตราการไม่รับประกันเงินฝากของธนาคาร เหลือประกันรวมไม่เกิน1ล้าน จะทำให้เงินฝากคนมีตังค์หาทางลงที่ปลอดภัยกว่า
ได้ยินว่าจะเริ่ม เดือนสิงหานี้ โดยค่อยๆเริ่ม ไปเรื่อยๆ
ถ้าคุณมีตังค์ฝากแบงค์เป็นร้อยล้านขึ้นไป จะทำยังไงดี
เท่าที่ผมคิดได้ มีดังนี้ครับ
1.ซื้อประกันชีวิตเพิ่ม โดยเฉพาะกรมธรรม์ที่ให้ผลตอบแทนปันผลมากกว่าฝากแบงค์
2.ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพิ่ม โดยเฉพาะพวกกองทุนต่างๆ หรือพวกหุ้นดังๆ ประเภท ปตท. , ปูนใหญ่ ฯลฯ
3.ซื้อทอง
4.ซื้ออสังหาริมทรัพย์
ใครมีความคิดเห็นเพิ่มเติมยังไง ช่วยคิดเพิ่มหน่อยครับ
และจะมีผลหรือไม่มี กับหุ้นในตลาดอย่างไรบ้าง ลองคิดกันเล่นๆดูครับ
ได้ยินว่าจะเริ่ม เดือนสิงหานี้ โดยค่อยๆเริ่ม ไปเรื่อยๆ
ถ้าคุณมีตังค์ฝากแบงค์เป็นร้อยล้านขึ้นไป จะทำยังไงดี
เท่าที่ผมคิดได้ มีดังนี้ครับ
1.ซื้อประกันชีวิตเพิ่ม โดยเฉพาะกรมธรรม์ที่ให้ผลตอบแทนปันผลมากกว่าฝากแบงค์
2.ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพิ่ม โดยเฉพาะพวกกองทุนต่างๆ หรือพวกหุ้นดังๆ ประเภท ปตท. , ปูนใหญ่ ฯลฯ
3.ซื้อทอง
4.ซื้ออสังหาริมทรัพย์
ใครมีความคิดเห็นเพิ่มเติมยังไง ช่วยคิดเพิ่มหน่อยครับ
และจะมีผลหรือไม่มี กับหุ้นในตลาดอย่างไรบ้าง ลองคิดกันเล่นๆดูครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 898
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 3
พี่เพื่อนหมายถึง ทุกแบงค์รวมกันแล้ว
สำหรับคนๆเดียวกัน ประกันไม่เกิน 1ล้านบาทเหรอครับ :idea:
เงินฝากจะยังอยู่ที่เดิมเกือบหมดแต่ไปที่3แบงค์ใหญ่แทนที่แบงค์เล็ก
ประกันชีวิตจะได้บ้าง
ทองมีราคาอิงถึงเงินไหลไปมาก แต่ราคาโลกไม่เปลี่ยน
ก็ไม่ได้มีผลอะไรครับ
สำหรับคนๆเดียวกัน ประกันไม่เกิน 1ล้านบาทเหรอครับ :idea:
เงินฝากจะยังอยู่ที่เดิมเกือบหมดแต่ไปที่3แบงค์ใหญ่แทนที่แบงค์เล็ก
ประกันชีวิตจะได้บ้าง
ทองมีราคาอิงถึงเงินไหลไปมาก แต่ราคาโลกไม่เปลี่ยน
ก็ไม่ได้มีผลอะไรครับ
bid please!!
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 5
ผมว่ากรณีนี้อาจจะเป็นประโยชน์กับพวกช่ำชองในเรื่องหุ้นเป็นพิเศษ ที่จะนำเงินเข้ามาดักซื้อตัวที่เก็งไว้ก่อนล่วงหน้า แต่ในที่สุดก็คงขนออกไปอยู่ดีCANNAVARO เขียน:เป็นไปได้ครับ
เงินมหาเศรษฐีไทย ที่ไปฝากไว้ในเมืองนอกมีเพียบ
หลายคน
ถ้าเขารู้วงในว่าตัวไหนจะดีเดี๋ยวก็ขนเงินเข้ามาเองแหละ
และก็น่าจะมีอีกพวกที่จะขนเงินออกไปฝากหรือทำธุรกรรมนอกประเทศ(ที่ปลอดภัยกว่า)มั้งครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 470
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 6
เท่าที่ทราบนะครับ
สมมุติว่ามีทั้งหมด 30 แบงค์
มีเงิน 30 ล้าน สามารถกระจายฝากได้แบงค์ละ 1 ล้าน
โดยที่แต่ละแบงค์จะรับประกันให้ 1 ล้าน/คน
ผมเข้าใจแบบนี้พอดี เคยอ่านที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เขียนใน กรุงเทพธุรกิจ
ใครพอมีข้อมูลอย่างละเอียดไหมครับ
สมมุติว่ามีทั้งหมด 30 แบงค์
มีเงิน 30 ล้าน สามารถกระจายฝากได้แบงค์ละ 1 ล้าน
โดยที่แต่ละแบงค์จะรับประกันให้ 1 ล้าน/คน
ผมเข้าใจแบบนี้พอดี เคยอ่านที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เขียนใน กรุงเทพธุรกิจ
ใครพอมีข้อมูลอย่างละเอียดไหมครับ
- moo
- Verified User
- โพสต์: 1150
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 7
[quote="icque"]เท่าที่ทราบนะครับ
สมมุติว่ามีทั้งหมด 30 แบงค์
มีเงิน 30 ล้าน สามารถกระจายฝากได้แบงค์ละ 1 ล้าน
โดยที่แต่ละแบงค์จะรับประกันให้ 1 ล้าน/คน
ผมเข้าใจแบบนี้พอดี เคยอ่านที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เขียนใน กรุงเทพธุรกิจ
สมมุติว่ามีทั้งหมด 30 แบงค์
มีเงิน 30 ล้าน สามารถกระจายฝากได้แบงค์ละ 1 ล้าน
โดยที่แต่ละแบงค์จะรับประกันให้ 1 ล้าน/คน
ผมเข้าใจแบบนี้พอดี เคยอ่านที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เขียนใน กรุงเทพธุรกิจ
ถ้าคุณหัวเสีย คุณจะเสียหัว
-
- Verified User
- โพสต์: 470
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 8
หาเจอแล้วครับ :D
การบริหารเงินหลังพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 รัฐบาลไทยได้ค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวน แต่ พระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 และจะมีผลบังคับใช้กลางปีนี้ จะทำให้การคุ้มครองวงเงินฝากโดยรัฐบาลลดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด จะคุ้มครองเพียง 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินใน 5 ปีข้างหน้า
ในฐานะผู้ฝากเงิน ท่านจะได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน หาก
1.ท่านมีเงินฝาก 1 ล้านบาทหรือน้อยกว่า
2. ท่านกระจายเงินฝากไปในแต่ละสถาบันการเงินที่มีอยู่ประมาณ 30 แห่งในขณะนี้ โดยมีเงินฝากในแต่ละแห่งไม่เกิน 1 ล้านบาท
ปัจจุบัน จำนวนบัญชีที่มียอดเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาท มีจำนวนประมาณ 8.8 แสนบัญชี โดยมียอดเงินฝากรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาท (หรือประมาณ 74% ของจำนวนเงินฝากทั้งระบบ) แปลว่า บุคคลกลุ่มนี้จะต้องกระจายเงินฝาก ออกไปในสถาบันการเงินอื่นๆ หรือประเมินความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ตนฝากเงินอยู่ นอกเหนือจากที่เคยพิจารณาเพียงดอกเบี้ย ดังนั้น เจ้าของบัญชีเงินฝากจึงควรใช้โอกาสนี้แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจกับทางเลือกอื่นในการออมเงินของตน
นอกจากการกระจายเงินฝากไปตามสถาบันการเงินต่างๆ แล้ว ทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ การพิจารณาลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งมีการเสนอขายอยู่มากมายในปัจจุบัน อาทิเช่น ตราสารหนี้และหุ้นในประเทศไทย ตราสารหนี้และหุ้นในต่างประเทศ หรือตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกลงทุนโดยตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมได้อีกด้วย
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า การลงทุนที่ชาญฉลาด คือ การเลือก "หุ้นเด็ด" หรือลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง เช่น ซื้อหุ้น หรือพันธบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงนั้น หัวใจของการลงทุนที่ถูกต้อง คือการจัดสรรสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะสม หรือ asset allocation ทั้งนี้ เพราะนอกจากผลตอบแทนแล้ว ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความผันผวนของผลตอบแทนด้วย
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรานำเงินออมไปฝากไว้กับธนาคาร ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงเลย จะได้ดอกเบี้ยหลังหักภาษี 2.66% ต่อปีในช่วง 2542-2550 แต่ถ้าหากเรานำเงินจำนวนเดียวกันไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เช่น หุ้น หรือทอง จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 12.4% ซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทน 5.69% เป็นต้น ดูเหมือนว่าลงทุนในหุ้นหรือทองได้รับผลตอบแทนสูงสุด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือทองนั้น ต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยง (ที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาด เพราะราคาจะปรับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา) เช่น การลงทุนในหุ้นในระหว่างปี 2542-2550 ปรากฏว่าผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 12.4% ก็จริง แต่ราคาหุ้นก็มีความผันผวนสูง ทำให้บางปีได้ผลตอบแทนหรือกำไรถึง 40% แต่บางปีขาดทุนถึง 15% ก็ได้ หรือในกรณีของการลงทุนในพันธบัตรก็เช่นกัน บางปีอาจได้กำไรกว่า 10% แต่บางปีก็อาจจะกำไรไม่ถึง 1% ก็ได้ (ดูตารางประกอบ)
ตารางผลตอบแทนสุทธิและความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารการเงิน (เฉลี่ย 2542-2550)
หุ้น พันธบัตร เงินสด/
ตราสารการเงินระยะสั้น ทอง หุ้นต่างประเทศ เงินฝาก
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 12.42% 5.69% 3.78% 12.41% 11.63% 2.66%
ความเสี่ยง
(1 standard deviation) 27.57% 5.24% 0.69% 14.78% 19.41% 0%
ดังนั้น การเลือกลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่สูง และมีความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการลงทุนที่ชาญฉลาด ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนอายุน้อยและมีอายุทำงานอีกหลาย 10 ปี ก็จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนและรับความเสี่ยงสูงได้ แต่หากเป็นผู้สูงอายุที่พึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้จ่ายก็จะต้องการผลตอบแทนที่มีเสถียรภาพมากกว่าผลตอบแทนสูง
กล่าวคือ ผลตอบแทนที่สูงจะนำมาซึ่งความผันผวนที่สูงขึ้น แต่หากจัดสรรสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมแล้ว จะสามารถรักษาผลตอบแทนในระดับสูงโดยความเสี่ยงลดลงได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถที่จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทน เฉลี่ยสูงกว่าการฝากเงิน 2-3 เท่า โดยที่มีระดับความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ถ้าเราเลือกกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น พันธบัตร เงินสด ทอง และหุ้นต่างประเทศ (ตารางประกอบ)
ตารางการจัดสรรเงินลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ (ข้อมูลปี 2542-2550)
หุ้น พันธบัตร เงินสด/ ตราสารการเงินระยะสั้น ทอง หุ้นต่างประเทศ ผลตอบแทนเฉลี่ย ความเสี่ยง
(1 standard
deviation)
แบบที่ 1 3% 18% 65% 12% 2% 5.57% 2.5%
แบบที่ 2 5% 39% 27% 24% 6% 7.43% 5.0%
จากตารางจะเห็นว่า ถ้าเราเลือกกระจายการลงทุนแบบที่ 1 ซึ่งเป็นการลงทุนที่จะถือตราสารการเงินระยะสั้นมากถึง 65% และที่เหลือลงทุนในพันธบัตร หุ้น ทอง และหุ้นต่างประเทศ จะทำให้ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.57% แต่ทั้งนี้ บางปีอาจได้รับผลตอบแทนสูงถึง 8% (5.57+2.5%) และบางปีก็อาจได้รับผลตอบแทนเพียง 3% (5.57-2.5%) อย่างไรก็ตาม ถ้ากระจายเงินลงทุนตามแบบที่ 1 แม้ในปีที่มีความผันผวน ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร (2.66%)
ในขณะที่ ถ้าจัดสัดส่วนการลงทุนแบบที่ 2 คือ เพิ่มสัดส่วนการถือ พันธบัตร ทอง หุ้น และลดการถือตราสารระยะสั้น ผลตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าของการฝากเงิน หรือเท่ากับ 7.43% และถ้ารวมเอาความเสี่ยงหรือความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้ ผลตอบแทนจะอยู่ระหว่าง 2.43% ถึง 12.43% ดังนั้น ถ้าสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้จะเห็นอย่างชัดเจน ว่า ยิ่งสามารถลงทุนระยะยาวมากเท่าไร ผู้ลงทุนก็จะได้ผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน
สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประเภทของตราสารการเงินที่มีให้เลือกลงทุนนั้น รอติดตามอาทิตย์หน้าครับ
การบริหารเงินหลังพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551
สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 รัฐบาลไทยได้ค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวน แต่ พระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 และจะมีผลบังคับใช้กลางปีนี้ จะทำให้การคุ้มครองวงเงินฝากโดยรัฐบาลลดลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด จะคุ้มครองเพียง 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินใน 5 ปีข้างหน้า
ในฐานะผู้ฝากเงิน ท่านจะได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน หาก
1.ท่านมีเงินฝาก 1 ล้านบาทหรือน้อยกว่า
2. ท่านกระจายเงินฝากไปในแต่ละสถาบันการเงินที่มีอยู่ประมาณ 30 แห่งในขณะนี้ โดยมีเงินฝากในแต่ละแห่งไม่เกิน 1 ล้านบาท
ปัจจุบัน จำนวนบัญชีที่มียอดเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาท มีจำนวนประมาณ 8.8 แสนบัญชี โดยมียอดเงินฝากรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาท (หรือประมาณ 74% ของจำนวนเงินฝากทั้งระบบ) แปลว่า บุคคลกลุ่มนี้จะต้องกระจายเงินฝาก ออกไปในสถาบันการเงินอื่นๆ หรือประเมินความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ตนฝากเงินอยู่ นอกเหนือจากที่เคยพิจารณาเพียงดอกเบี้ย ดังนั้น เจ้าของบัญชีเงินฝากจึงควรใช้โอกาสนี้แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจกับทางเลือกอื่นในการออมเงินของตน
นอกจากการกระจายเงินฝากไปตามสถาบันการเงินต่างๆ แล้ว ทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ การพิจารณาลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งมีการเสนอขายอยู่มากมายในปัจจุบัน อาทิเช่น ตราสารหนี้และหุ้นในประเทศไทย ตราสารหนี้และหุ้นในต่างประเทศ หรือตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกลงทุนโดยตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมได้อีกด้วย
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า การลงทุนที่ชาญฉลาด คือ การเลือก "หุ้นเด็ด" หรือลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง เช่น ซื้อหุ้น หรือพันธบัตร อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงนั้น หัวใจของการลงทุนที่ถูกต้อง คือการจัดสรรสัดส่วนสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะสม หรือ asset allocation ทั้งนี้ เพราะนอกจากผลตอบแทนแล้ว ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของสินทรัพย์ และความผันผวนของผลตอบแทนด้วย
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรานำเงินออมไปฝากไว้กับธนาคาร ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงเลย จะได้ดอกเบี้ยหลังหักภาษี 2.66% ต่อปีในช่วง 2542-2550 แต่ถ้าหากเรานำเงินจำนวนเดียวกันไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เช่น หุ้น หรือทอง จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 12.4% ซื้อพันธบัตรได้ผลตอบแทน 5.69% เป็นต้น ดูเหมือนว่าลงทุนในหุ้นหรือทองได้รับผลตอบแทนสูงสุด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือทองนั้น ต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยง (ที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาด เพราะราคาจะปรับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา) เช่น การลงทุนในหุ้นในระหว่างปี 2542-2550 ปรากฏว่าผลตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 12.4% ก็จริง แต่ราคาหุ้นก็มีความผันผวนสูง ทำให้บางปีได้ผลตอบแทนหรือกำไรถึง 40% แต่บางปีขาดทุนถึง 15% ก็ได้ หรือในกรณีของการลงทุนในพันธบัตรก็เช่นกัน บางปีอาจได้กำไรกว่า 10% แต่บางปีก็อาจจะกำไรไม่ถึง 1% ก็ได้ (ดูตารางประกอบ)
ตารางผลตอบแทนสุทธิและความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารการเงิน (เฉลี่ย 2542-2550)
หุ้น พันธบัตร เงินสด/
ตราสารการเงินระยะสั้น ทอง หุ้นต่างประเทศ เงินฝาก
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 12.42% 5.69% 3.78% 12.41% 11.63% 2.66%
ความเสี่ยง
(1 standard deviation) 27.57% 5.24% 0.69% 14.78% 19.41% 0%
ดังนั้น การเลือกลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่สูง และมีความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการลงทุนที่ชาญฉลาด ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนอายุน้อยและมีอายุทำงานอีกหลาย 10 ปี ก็จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนและรับความเสี่ยงสูงได้ แต่หากเป็นผู้สูงอายุที่พึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้จ่ายก็จะต้องการผลตอบแทนที่มีเสถียรภาพมากกว่าผลตอบแทนสูง
กล่าวคือ ผลตอบแทนที่สูงจะนำมาซึ่งความผันผวนที่สูงขึ้น แต่หากจัดสรรสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมแล้ว จะสามารถรักษาผลตอบแทนในระดับสูงโดยความเสี่ยงลดลงได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถที่จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทน เฉลี่ยสูงกว่าการฝากเงิน 2-3 เท่า โดยที่มีระดับความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ถ้าเราเลือกกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น พันธบัตร เงินสด ทอง และหุ้นต่างประเทศ (ตารางประกอบ)
ตารางการจัดสรรเงินลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ (ข้อมูลปี 2542-2550)
หุ้น พันธบัตร เงินสด/ ตราสารการเงินระยะสั้น ทอง หุ้นต่างประเทศ ผลตอบแทนเฉลี่ย ความเสี่ยง
(1 standard
deviation)
แบบที่ 1 3% 18% 65% 12% 2% 5.57% 2.5%
แบบที่ 2 5% 39% 27% 24% 6% 7.43% 5.0%
จากตารางจะเห็นว่า ถ้าเราเลือกกระจายการลงทุนแบบที่ 1 ซึ่งเป็นการลงทุนที่จะถือตราสารการเงินระยะสั้นมากถึง 65% และที่เหลือลงทุนในพันธบัตร หุ้น ทอง และหุ้นต่างประเทศ จะทำให้ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 5.57% แต่ทั้งนี้ บางปีอาจได้รับผลตอบแทนสูงถึง 8% (5.57+2.5%) และบางปีก็อาจได้รับผลตอบแทนเพียง 3% (5.57-2.5%) อย่างไรก็ตาม ถ้ากระจายเงินลงทุนตามแบบที่ 1 แม้ในปีที่มีความผันผวน ก็ยังมีโอกาสสูงที่จะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร (2.66%)
ในขณะที่ ถ้าจัดสัดส่วนการลงทุนแบบที่ 2 คือ เพิ่มสัดส่วนการถือ พันธบัตร ทอง หุ้น และลดการถือตราสารระยะสั้น ผลตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าของการฝากเงิน หรือเท่ากับ 7.43% และถ้ารวมเอาความเสี่ยงหรือความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นได้ ผลตอบแทนจะอยู่ระหว่าง 2.43% ถึง 12.43% ดังนั้น ถ้าสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้จะเห็นอย่างชัดเจน ว่า ยิ่งสามารถลงทุนระยะยาวมากเท่าไร ผู้ลงทุนก็จะได้ผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน
สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประเภทของตราสารการเงินที่มีให้เลือกลงทุนนั้น รอติดตามอาทิตย์หน้าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 898
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 9
ตอนแรกผมก็เข้าใจแบบคุณ icque ครับเพราะที่บ้านผมก็กระจายเงินไป
แบงค์ละ9แสนกว่าๆ
เข้าใจว่าถ้าเป็นแบบนี้ น่าจะยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรนะครับ
คนที่มีเงินขนาดกระจาย 10-20แบงค์ๆละ1ล้านบาทแล้ว ยังไม่พอฝาก
น่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้ในการลงทุนเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว
หุ้นยังคงเป็นการพนันในสายตาคนหมู่มากครับ
ยังต้องใช่เวลาเปลี่ยนมุมมองอีกนาน
แบงค์ละ9แสนกว่าๆ
เข้าใจว่าถ้าเป็นแบบนี้ น่าจะยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรนะครับ
คนที่มีเงินขนาดกระจาย 10-20แบงค์ๆละ1ล้านบาทแล้ว ยังไม่พอฝาก
น่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้ในการลงทุนเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว
หุ้นยังคงเป็นการพนันในสายตาคนหมู่มากครับ
ยังต้องใช่เวลาเปลี่ยนมุมมองอีกนาน
bid please!!
- Tanasit
- Verified User
- โพสต์: 63
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 10
ผมคิดว่าน่าจะมีการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ หรือกองทุนพันธบัตรมากขึ้นนะครับ
เพราะผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินฝาก และมีความคล่องตัวในการซื้อขายพอสมควร
ซึ่งในช่วงนี้แทบทุกแบงค์ก็มีกองทุนออกมาโดยตลอด
เพราะผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินฝาก และมีความคล่องตัวในการซื้อขายพอสมควร
ซึ่งในช่วงนี้แทบทุกแบงค์ก็มีกองทุนออกมาโดยตลอด
-
- Verified User
- โพสต์: 1817
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 11
เห็นด้วยครับ กองทุนประเภทนี้น่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นTanasit เขียน:ผมคิดว่าน่าจะมีการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ หรือกองทุนพันธบัตรมากขึ้นนะครับ
เพราะผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินฝาก และมีความคล่องตัวในการซื้อขายพอสมควร
ซึ่งในช่วงนี้แทบทุกแบงค์ก็มีกองทุนออกมาโดยตลอด
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 12
คาดว่าคงไม่มีผลอะไรเป็นนัยยะสำคัญกับตลาดหุ้นแน่นอนครับ เพราะหุ้นเป็นของแสลงสำหรับบางคนอ่ะครับ เหมือนแม่ผมให้เป็นตายร้ายดียังไงก็ไม่ยอมลงทุนในหุ้นแน่นอน เว้นแต่เมื่อมาตรการนี้บังคับใช้แล้วมีธนาคารล้มให้เห็นสักครั้ง อาจมีคนเปลี่ยนความคิดได้ครับ เหอเหอ
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 13
พวกพี่ๆกำลังมองกรณีที่เลวร้ายสุดๆอยู่หรือครับ (แบงค์พากันเจ๊ง)ในฐานะผู้ฝากเงิน ท่านจะได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน หาก
1.ท่านมีเงินฝาก 1 ล้านบาทหรือน้อยกว่า
2. ท่านกระจายเงินฝากไปในแต่ละสถาบันการเงินที่มีอยู่ประมาณ 30 แห่งในขณะนี้ โดยมีเงินฝากในแต่ละแห่งไม่เกิน 1 ล้านบาท
ผมเข้าใจว่าหากเหตุการณ์ปกติอาจจะเกิดเหตุการณ์คนแห่ถอนเงินเพื่อกระจายเงินฝากแค่ช่วงเวลาสั้นๆนะครับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก อาจจะพบว่าการฝากเงินหลายธนาคารเกินไปนั้นกลับกลายเป็นปัญหา เพราะสมุดมากเกินไปจนจำไม่ได้ว่าฝากที่ไหนบ้าง (ตอนนี้ผมใช้อยู่ 4-5 แห่งยังสับสนเลย หรือเป็นเฉพาะผม) สุดท้ายก็คงรวมบัญชีเงินฝากให้เหลือไม่น่าเกิน 10 แห่ง
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 14
พระราชบัญญัติ
สถาบันคุมครองเงินฝาก
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ใหไว ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๕๑
ผมมาอ่านตามมาตรา53นี้ ก็ดูแล้วเข้าใจยากเหมือนกันนะครับ ....แต่ในความเห็นผมแล้วก็น่าจะหมายถึงทุกบัญชีในแต่ละสถาบันเท่านั้นมั้งครับ ไม่งั้นคงวุ่นน่าดู ถ้าล้มทีละสถาบัน...
สถาบันคุมครองเงินฝาก
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ใหไว ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๕๑
ทีแรกผมก็เข้าใจตามที่คุณicqueโพสต์ แต่มีเจ้าสัวคนหนึ่งเค้าบอกผมว่า ไม่ใช่ ต้องรวมทุกบัญชี เค้าก็เลยรู้สึกไม่ค่อยมั่นคงกับรูปแบบการออมเงินของเค้ามาตรา ๕๓ ภายในระยะเวลาไมเกิ นสามสิ บวันนั บแต วันที่ยื่ นคําขอ ใหสถาบันจายเงิน
ใหแกผูฝากเงินที่ยื่นคําขอแตละรายในแต ละสถาบั นการเงินตามจํ านวนเงินฝากที่ปรากฏในบั ญชีของ
ผู ฝากทุ กบั ญชี รวมกั น หากเงิ นฝากทุกบัญชี รวมกั นมี จํานวนเกินกว าหนึ่ งลานบาท ให จ ายเงิ น
เปนจํานวนหนึ่งลานบาท
ในกรณีที่ผูฝากเงินมีหนี้คางชํ าระสถาบั นการเงินใดเปนจํานวนเงิ นแน นอนให สถาบันหั กเงิน
ที่คางชําระดังกลาวออกจากจํานวนยอดเงินฝากทุกบัญชีรวมกันทั้งหมดในสถาบันการเงินนั้นกอน
ใหสถาบันจายเงินใหแกผูฝากเงินผูมีชื่อเปนเจาของบัญชีหรือทายาทเท านั้นในกรณีมีชื่ อบุคคล
หลายคนรวมกันเปนเจ าของบัญชี ใหสถาบั นจายเงินใหแกผู มีชื่ อเป นเจาของบัญชีแตละคนตามสวน
ที่ บุ คคลนั้นมีสิทธิ ในบัญชีเงินฝากตามหลั กฐานการฝากเงิ นที่ สถาบันการเงิ นนั้นมีอยู อยางชั ดแจ ง
หากไมอาจทราบจํานวนเงินฝากที่แตละคนมีสวนในบัญชีนั้น ใหถือวาผูฝากเงินดังกลาวมีสวนเทากัน
การจายเงินตามมาตรานี้ ใหเปนไปตามหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
ผมมาอ่านตามมาตรา53นี้ ก็ดูแล้วเข้าใจยากเหมือนกันนะครับ ....แต่ในความเห็นผมแล้วก็น่าจะหมายถึงทุกบัญชีในแต่ละสถาบันเท่านั้นมั้งครับ ไม่งั้นคงวุ่นน่าดู ถ้าล้มทีละสถาบัน...
- เพื่อน
- Verified User
- โพสต์: 1826
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 16
สถิติการฝากเงิน จากที่มาข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550
เงินในบัญชีเงินฝากทั้งระบบ รวมประมาณ 6.6ล้านล้านบาท อยู่ในบัญชีประมาณ 77.3ล้านบัญชี
เงินฝากต่อบัญชีที่มีจำนวนมากกว่า1ล้านขึ้นไป มีอยู่แค่ 879,684บัญชีเท่านั้น หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 1.23%ของบัญชีทั้งหมด
แต่ๆๆๆ...ไอ้ 1.23%นี้ มีมูลค่าถึง 4.9ล้านๆบาทเลยนะครับ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ 74.04% ของเงินฝากทั้งหมด
พวกเราอาจคิดว่าไม่น่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ผมคิดว่า บรรดาคนมีตังค์ เจ้าสัว รวมไปถึง บริษัทฯ หรือสถาบันต่างๆ ก็คงต้องเริ่มขยับตัวกันบ้างหละครับ ทั้งๆที่จริงแล้วความปลอดภัยในการฝากเงินอาจจะไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก แต่ข่าวคราวออกมา มันสามารถกระตุ้นความรู้สึกได้พอสมควรครับ
เงินในบัญชีเงินฝากทั้งระบบ รวมประมาณ 6.6ล้านล้านบาท อยู่ในบัญชีประมาณ 77.3ล้านบัญชี
เงินฝากต่อบัญชีที่มีจำนวนมากกว่า1ล้านขึ้นไป มีอยู่แค่ 879,684บัญชีเท่านั้น หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 1.23%ของบัญชีทั้งหมด
แต่ๆๆๆ...ไอ้ 1.23%นี้ มีมูลค่าถึง 4.9ล้านๆบาทเลยนะครับ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ 74.04% ของเงินฝากทั้งหมด
พวกเราอาจคิดว่าไม่น่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ผมคิดว่า บรรดาคนมีตังค์ เจ้าสัว รวมไปถึง บริษัทฯ หรือสถาบันต่างๆ ก็คงต้องเริ่มขยับตัวกันบ้างหละครับ ทั้งๆที่จริงแล้วความปลอดภัยในการฝากเงินอาจจะไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก แต่ข่าวคราวออกมา มันสามารถกระตุ้นความรู้สึกได้พอสมควรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1289
- ผู้ติดตาม: 0
เป็นไปได้มั้ยครับ ที่เงินจะไหลเข้าตลาดหุ้นมากขึ้น เร็วๆนี้
โพสต์ที่ 17
เม็ดเงินส่วนมาก คงไปตลาด fixed income พันธบัตร อะไรพวกนี้
ฝั่งตลาดทุนคงมาบ้าง(หุ้น,ฟิวเจอร์) แต่อย่าตั้งความหวังมากครับ
ฝั่งตลาดทุนคงมาบ้าง(หุ้น,ฟิวเจอร์) แต่อย่าตั้งความหวังมากครับ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง