ทำไมบราซิล รถยนต์เขาใช้เอทานอลได้100%
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
เอไม่ทราบเหมือนกันคับ
โพสต์ที่ 3
รู้แต่ว่าของไทยเราต้นทุนอยู่แถว 9 บาทเศษ
ถ้าผลิตจากกากน้ำตาล
แต่ถ้าผลิตจากมันสำปะหลัง ก็10 บาท เศษ
ราคาจำหน่าย แถว12 บาท
ถ้าเราสามารถใช้แบบบราซิลได้ก็เจ๋งซิคับ
ต่อให้ น้ำมัน ขึ้นไป แถว 20-23 บาท
ขายเอทานอล แบบ100% ยังพอไหว
แต่ดูเหมือนไทยเรา กำลังผลิตยังไม่เพียงพอจะนำมาแทนน้ำมันเลยนะผมว่า
bcp จำหน่ายดีทางแก็สโซรอล โดยผลสเอทานอล 10%
ptt จำหน่ายดีทาง ก๊าซ lpg
แต่ผมว่าแก็สโซรอลน่าแพร่หลายกว่าเพราะไม่ต้องดัดแปลงอะไร
สามารถเติมได้เลยกับเครื่องยนต์แบบเดิม และมีทีท่าจะเป็นอุตสาหกรรม
ต่อเนื่องได้ รู้สึกว่าจะมีเซ็นสัญญาเพิ่มกับผู้ผลิตอีกสองรายนะคับ
ดูต่อไป
สำหรับเชื้อเพลิง แบบนี้
ถ้าผลิตจากกากน้ำตาล
แต่ถ้าผลิตจากมันสำปะหลัง ก็10 บาท เศษ
ราคาจำหน่าย แถว12 บาท
ถ้าเราสามารถใช้แบบบราซิลได้ก็เจ๋งซิคับ
ต่อให้ น้ำมัน ขึ้นไป แถว 20-23 บาท
ขายเอทานอล แบบ100% ยังพอไหว
แต่ดูเหมือนไทยเรา กำลังผลิตยังไม่เพียงพอจะนำมาแทนน้ำมันเลยนะผมว่า
bcp จำหน่ายดีทางแก็สโซรอล โดยผลสเอทานอล 10%
ptt จำหน่ายดีทาง ก๊าซ lpg
แต่ผมว่าแก็สโซรอลน่าแพร่หลายกว่าเพราะไม่ต้องดัดแปลงอะไร
สามารถเติมได้เลยกับเครื่องยนต์แบบเดิม และมีทีท่าจะเป็นอุตสาหกรรม
ต่อเนื่องได้ รู้สึกว่าจะมีเซ็นสัญญาเพิ่มกับผู้ผลิตอีกสองรายนะคับ
ดูต่อไป
สำหรับเชื้อเพลิง แบบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมบราซิล รถยนต์เขาใช้เอทานอลได้100%
โพสต์ที่ 4
เครื่องยนต์เขาใช้เอทานอล 100% เลยเหรอครับ
ไม่รู้เมืองไทยมีการทดลองกันบ้างหรือยัง เคยได้ยินแต่ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันดีเซลครับ
ไม่รู้เมืองไทยมีการทดลองกันบ้างหรือยัง เคยได้ยินแต่ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันดีเซลครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
ปี2545 เกาหลีใช้เงินกว่า5 พันล้าน
โพสต์ที่ 6
ศูนย์ข่าวภาคอีสาน-ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในภาคอีสานคืบ ล่าสุดนักลงทุนเกาหลีใต้ สนใจลงทุนตั้งโรงงานเอทานอลมูลค่าลงทุนเฉียด 5,000 ล้านบาท เล็งพื้นที่อ.สีคิ้วและอ.โชคชัยของจ.นครราชสีมา ส่งตัวแทนลงสำรวจหาข้อมูลแล้ว มั่นใจคุณภาพหัวมันสดเหมาะต่อการผลิต อีกทั้งระบบสาธารณูปโภครองรับเพียบ แต่หวั่นปริมาณผลผลิตหัวมันสดไม่เพียงพอ เผยทางออกต้องดึงหัวมันสดจังหวัดใกล้เคียงป้อนโรงงาน คาดอีก 6 เดือนรู้ผลแน่
โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศไทยใกล้เป็นจริง หลังจากที่มีการผลักดันมาหลายรัฐบาล เพื่อนำเอทานอลที่ผลิตได้ไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศร้อยละ 10 ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และแก้ปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ล่าสุดเริ่มมีการเคลื่อนไหวของนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจ เข้ามาศึกษาพื้นที่ก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแล้ว
ทั้งนี้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวินยา มกรพงศ์ เลขานุการสำนักงานผู้แทนทางการค้าของไทย ได้นำคณะนักลงทุนประเทศเกาหลีใต้จากบริษัท JINRO Distilled จำกัด เข้ามาศึกษาศักยภาพทางด้านการลงทุนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้เข้าพบนายสุนทร ริ้วเหลือง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อหาข้อมูลด้านการลงทุนตามโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
นายวินยา มกรพงศ์ เลขานุการสำนักงานผู้แทนทางการค้าของไทย ในฐานะหัวหน้าคณะนักลงทุน เปิดเผยว่า การเข้ามาของนักลงทุนของบริษัทจินโรฯ ที่สนใจเข้ามาตั้งโรงงานเอทานอลในประเทศไทย เกิดจากเมื่อปีที่ผ่านมา นายประจวบ ไชยสาส์น ในฐานะตัวแทนของรัฐบาล ที่มีบทบาทการผลักดันโครงการเอทานอลของไทย ได้เชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศ และบริษัทจินโรฯเป็นนักลงทุนต่างประเทศที่ให้ความสนใจในการตั้งโรงงานเอทานอล
สำหรับบริษัท จินโรฯ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์หรือสุรา ของประเทศเกาหลีใต้ มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 45% ของตลาดรวม โดยศักยภาพการผลิตของโรงงาน สามารถผลิตแอลกอฮอล์ 95% ได้ประมาณวันละ 140,000 ลิตร
นายวินยา กล่าวต่อว่า ศักยภาพการผลิตของบริษัทจินโรฯ ที่จะเข้ามาผลิตเอทานอลในจังหวัดนครราชสีมา สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกเท่าตัวหรือประมาณ 3 00,000 ลิตร/วัน โดยไม่ทำให้เอทานอลที่ผลิตได้ด้อยคุณภาพลง ลักษณะการลงทุนอาจจะตั้งโรงงานผลิต 2 แห่งคือที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกจุดคืออำเภอโชคชัยหรืออำเภออื่นที่มีศักยภาพ ในจำนวน 2 โรงงานจะเป็นโรงงานที่นักลงทุนเกาหลีลงทุนเอง 1 โรงงานและนักลงทุนไทยร่วมลงทุนอีก 1 โรงงาน
"บริษัทจินโรฯ มั่นใจในคุณภาพหัวมันสด ที่ปลูกในจังหวัดนครราชสีมา แม้ว่าที่ผ่านมา มีข้อมูลบ่งชี้ว่าคุณภาพมันสำปะหลังของประเทศไทย มีคุณภาพต่ำไม่เหมาะต่อการแปรรูป จนถูกคู่ค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ หันไปซื้อมันสำปะหลังจากประเทศเวียดนามแทน แต่ปัญหาดังกล่าวสถานการณ์ล่าสุด ได้มีการแก้ไขปรับปรุงสายพันธุ์และมีการควบคุมคุณภาพที่ดีขึ้น ทางบริษัทเชื่อมั่นในคุณภาพและตกลงที่จะสั่งซื้อหัวมันสด ในจังหวัดนครราชสีมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต"นายวินยากล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม จุดที่น่าเป็นห่วงคือ วัตถุดิบที่จะนำมาแปรรูปเป็นเอทานอลนั้น หากใช้หัวมันสดจากจังหวัดนครราชสีมาเพียงแห่งเดียว อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานผลิตเอทานอล เพราะในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งโรงงานแปรรูปแป้งมัน โรงงานมันเส้น มันอัดเม็ด ซึ่งปีที่ผ่านมาจังหวัดนครราชสีมามีผลผลิตมันสำปะหลังรวมประมาณ 4.3 ล้านตัน
สำหรับปริมาณความต้องการหัวมันสด ของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา เบื้องต้นมีความต้องการสูงถึง 17,000 ตัน/วัน ขณะที่โรงงานผลิตเอทานอลที่จะตั้งขึ้นใหม่ มีความต้องการหัวมันสดประมาณ 1,700 ตัน/วัน ซึ่งผลผลิตหัวมันสดของจังหวัดนครราชสีมาอาจไม่เพียงพอ ปัญหาดังกล่าวอาจมีการแก้ไขด้วยการรับซื้อหัวมันสดจากจังหวัดใกล้เคียง เพราะเกษตรกรในจังหวัดรอบข้างล้วนปลูกมันสำปะหลังเช่นกัน
ส่วนวงเงินลงทุนในการสร้างโรงงานผลิตเอทานอล ที่จังหวัดนครราชสีมา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้ง 2 โรงงานในวงเงินที่สูงถึง 3,000-5,000 ล้านบาท โดยเทคโนโลยีการแปรรูปเป็นเอทานอล จะใช้เทคโนโลยีการผลิตของประเทศเกาหลีเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตแอลกอฮอล์จากวัตถุดิบมันสำปะหลัง มีเพียงประเทศเกาหลีเท่านั้นที่สามารถทำได้ อีกทั้งบริษัทจินโรฯ มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดังกล่าวมาก่อน จึงต้องนำเอาโนฮาวของจินโรฯมาประยุกต์ใช้ที่เมืองไทยด้วย
ส่วนความชัดเจนในด้านการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม จากการประชุมหารือ พบว่าคณะนักลงทุนของบริษัทจินโรฯ มีความตั้งใจที่จะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานเอทานอลในจังหวัดนครราชสีมาอย่างมาก โดยเฉพาะจุดเด่นของศักยภาพระบบสาธารณูปโภคและจุดศูนย์กลางที่สามารถรวบรวมผลผลิตจังหวัดใกล้เคียง มาใช้ผลิตได้ที่นักลงทุนกลุ่มนี้ให้ความสนใจ คาดว่าภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า จะมีความชัดเจนด้านการลงทุนเกิดขึ้น
ด้านนายสุนทร ริ้วเหลือง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า นักลงทุนจากประเทศเกาหลีใต้ ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ที่จังหวัดนครราชสีมา จึงได้เข้ามาศึกษาหาข้อมูลและความเป็นไปได้ ที่จะตั้งโรงงานในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอโชคชัย หรืออำเภออื่นที่มีศักยภาพในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาค่อนข้างพร้อมทั้งเรื่องโครงข่ายระบบคมนาคม ไฟฟ้า น้ำประปา สามารถรองรับการลงทุนดังกล่าวได้
โดยสำนักงานผู้แทนทางการค้าของไทยได้ขออนุญาต นำคณะนักลงทุนจากสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมประชุมหารือในรายละเอียดร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นโครงการแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อ เพลิง 10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะเป็นการประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่ผ่านมามันสำปะหลังประสบปัญหาราคาขายตกต่ำ จนภาครัฐต้องออกมาประกันราคารับซื้อ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมันสำปะหลัง สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของจังหวัดนครราชสีมาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างถาวร
อนึ่ง ภาคอีสาน ถือเป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของการลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ตามนโยบายของภาครัฐ เนื่องจากพืชเกษตรหลักที่เกษตรกรอีสานปลูก ล้วนเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้ทั้งสิ้น อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ขณะเดียวกันหลังจากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ประกาศเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศไทย มีนักลงทุนยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการฯแล้ว 20 ราย โดยพื้นที่ภาคอีสานเป็นพื้นที่หลัก ที่นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาตั้งโรงงานมากที่สุด
นอกจากโครงการลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของนักลงทุนแล้ว คณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันผลักดันโครงการโรงงานต้นแบบ เพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเอทานอลจากพืชผลการเกษตรขึ้น โดยโครงการโรงงานต้นแบบ ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากนายกรัฐมนตรีแล้ว ที่จะให้มีการจัดสรรงบประมาณในวงเงินไม่เกิน 390 ล้านบาท ในลักษณะงบฯต่อเนื่อง 5 ปีเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 - 2549
โรงงานต้นแบบเอทานอลมีกำลังผลิตเอทานอลได้วันละ 30,000 ลิตร วัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ตามโครงการวิจัย ผลผลิตส่วนที่เหลือจะส่งจำหน่ายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันในประเทศ เพื่อผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป โดยสถานที่ตั้งโรงงานอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานน้ำตาลราชสีมา อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศไทยใกล้เป็นจริง หลังจากที่มีการผลักดันมาหลายรัฐบาล เพื่อนำเอทานอลที่ผลิตได้ไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศร้อยละ 10 ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และแก้ปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ล่าสุดเริ่มมีการเคลื่อนไหวของนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจ เข้ามาศึกษาพื้นที่ก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแล้ว
ทั้งนี้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวินยา มกรพงศ์ เลขานุการสำนักงานผู้แทนทางการค้าของไทย ได้นำคณะนักลงทุนประเทศเกาหลีใต้จากบริษัท JINRO Distilled จำกัด เข้ามาศึกษาศักยภาพทางด้านการลงทุนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้เข้าพบนายสุนทร ริ้วเหลือง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อหาข้อมูลด้านการลงทุนตามโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
นายวินยา มกรพงศ์ เลขานุการสำนักงานผู้แทนทางการค้าของไทย ในฐานะหัวหน้าคณะนักลงทุน เปิดเผยว่า การเข้ามาของนักลงทุนของบริษัทจินโรฯ ที่สนใจเข้ามาตั้งโรงงานเอทานอลในประเทศไทย เกิดจากเมื่อปีที่ผ่านมา นายประจวบ ไชยสาส์น ในฐานะตัวแทนของรัฐบาล ที่มีบทบาทการผลักดันโครงการเอทานอลของไทย ได้เชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศ และบริษัทจินโรฯเป็นนักลงทุนต่างประเทศที่ให้ความสนใจในการตั้งโรงงานเอทานอล
สำหรับบริษัท จินโรฯ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมผลิตแอลกอฮอล์หรือสุรา ของประเทศเกาหลีใต้ มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 45% ของตลาดรวม โดยศักยภาพการผลิตของโรงงาน สามารถผลิตแอลกอฮอล์ 95% ได้ประมาณวันละ 140,000 ลิตร
นายวินยา กล่าวต่อว่า ศักยภาพการผลิตของบริษัทจินโรฯ ที่จะเข้ามาผลิตเอทานอลในจังหวัดนครราชสีมา สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกเท่าตัวหรือประมาณ 3 00,000 ลิตร/วัน โดยไม่ทำให้เอทานอลที่ผลิตได้ด้อยคุณภาพลง ลักษณะการลงทุนอาจจะตั้งโรงงานผลิต 2 แห่งคือที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกจุดคืออำเภอโชคชัยหรืออำเภออื่นที่มีศักยภาพ ในจำนวน 2 โรงงานจะเป็นโรงงานที่นักลงทุนเกาหลีลงทุนเอง 1 โรงงานและนักลงทุนไทยร่วมลงทุนอีก 1 โรงงาน
"บริษัทจินโรฯ มั่นใจในคุณภาพหัวมันสด ที่ปลูกในจังหวัดนครราชสีมา แม้ว่าที่ผ่านมา มีข้อมูลบ่งชี้ว่าคุณภาพมันสำปะหลังของประเทศไทย มีคุณภาพต่ำไม่เหมาะต่อการแปรรูป จนถูกคู่ค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ หันไปซื้อมันสำปะหลังจากประเทศเวียดนามแทน แต่ปัญหาดังกล่าวสถานการณ์ล่าสุด ได้มีการแก้ไขปรับปรุงสายพันธุ์และมีการควบคุมคุณภาพที่ดีขึ้น ทางบริษัทเชื่อมั่นในคุณภาพและตกลงที่จะสั่งซื้อหัวมันสด ในจังหวัดนครราชสีมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต"นายวินยากล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม จุดที่น่าเป็นห่วงคือ วัตถุดิบที่จะนำมาแปรรูปเป็นเอทานอลนั้น หากใช้หัวมันสดจากจังหวัดนครราชสีมาเพียงแห่งเดียว อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานผลิตเอทานอล เพราะในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งโรงงานแปรรูปแป้งมัน โรงงานมันเส้น มันอัดเม็ด ซึ่งปีที่ผ่านมาจังหวัดนครราชสีมามีผลผลิตมันสำปะหลังรวมประมาณ 4.3 ล้านตัน
สำหรับปริมาณความต้องการหัวมันสด ของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา เบื้องต้นมีความต้องการสูงถึง 17,000 ตัน/วัน ขณะที่โรงงานผลิตเอทานอลที่จะตั้งขึ้นใหม่ มีความต้องการหัวมันสดประมาณ 1,700 ตัน/วัน ซึ่งผลผลิตหัวมันสดของจังหวัดนครราชสีมาอาจไม่เพียงพอ ปัญหาดังกล่าวอาจมีการแก้ไขด้วยการรับซื้อหัวมันสดจากจังหวัดใกล้เคียง เพราะเกษตรกรในจังหวัดรอบข้างล้วนปลูกมันสำปะหลังเช่นกัน
ส่วนวงเงินลงทุนในการสร้างโรงงานผลิตเอทานอล ที่จังหวัดนครราชสีมา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้ง 2 โรงงานในวงเงินที่สูงถึง 3,000-5,000 ล้านบาท โดยเทคโนโลยีการแปรรูปเป็นเอทานอล จะใช้เทคโนโลยีการผลิตของประเทศเกาหลีเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตแอลกอฮอล์จากวัตถุดิบมันสำปะหลัง มีเพียงประเทศเกาหลีเท่านั้นที่สามารถทำได้ อีกทั้งบริษัทจินโรฯ มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดังกล่าวมาก่อน จึงต้องนำเอาโนฮาวของจินโรฯมาประยุกต์ใช้ที่เมืองไทยด้วย
ส่วนความชัดเจนในด้านการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม จากการประชุมหารือ พบว่าคณะนักลงทุนของบริษัทจินโรฯ มีความตั้งใจที่จะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานเอทานอลในจังหวัดนครราชสีมาอย่างมาก โดยเฉพาะจุดเด่นของศักยภาพระบบสาธารณูปโภคและจุดศูนย์กลางที่สามารถรวบรวมผลผลิตจังหวัดใกล้เคียง มาใช้ผลิตได้ที่นักลงทุนกลุ่มนี้ให้ความสนใจ คาดว่าภายในระยะเวลา 6 เดือนข้างหน้า จะมีความชัดเจนด้านการลงทุนเกิดขึ้น
ด้านนายสุนทร ริ้วเหลือง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า นักลงทุนจากประเทศเกาหลีใต้ ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ที่จังหวัดนครราชสีมา จึงได้เข้ามาศึกษาหาข้อมูลและความเป็นไปได้ ที่จะตั้งโรงงานในเขตอำเภอสีคิ้วและอำเภอโชคชัย หรืออำเภออื่นที่มีศักยภาพในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจังหวัดนครราชสีมาค่อนข้างพร้อมทั้งเรื่องโครงข่ายระบบคมนาคม ไฟฟ้า น้ำประปา สามารถรองรับการลงทุนดังกล่าวได้
โดยสำนักงานผู้แทนทางการค้าของไทยได้ขออนุญาต นำคณะนักลงทุนจากสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมประชุมหารือในรายละเอียดร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นโครงการแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อ เพลิง 10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะเป็นการประหยัดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่ผ่านมามันสำปะหลังประสบปัญหาราคาขายตกต่ำ จนภาครัฐต้องออกมาประกันราคารับซื้อ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมันสำปะหลัง สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของจังหวัดนครราชสีมาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างถาวร
อนึ่ง ภาคอีสาน ถือเป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของการลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ตามนโยบายของภาครัฐ เนื่องจากพืชเกษตรหลักที่เกษตรกรอีสานปลูก ล้วนเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้ทั้งสิ้น อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ขณะเดียวกันหลังจากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ประกาศเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศไทย มีนักลงทุนยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการฯแล้ว 20 ราย โดยพื้นที่ภาคอีสานเป็นพื้นที่หลัก ที่นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาตั้งโรงงานมากที่สุด
นอกจากโครงการลงทุนตั้งโรงงานผลิตเอทานอลของนักลงทุนแล้ว คณะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันผลักดันโครงการโรงงานต้นแบบ เพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตเอทานอลจากพืชผลการเกษตรขึ้น โดยโครงการโรงงานต้นแบบ ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากนายกรัฐมนตรีแล้ว ที่จะให้มีการจัดสรรงบประมาณในวงเงินไม่เกิน 390 ล้านบาท ในลักษณะงบฯต่อเนื่อง 5 ปีเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 - 2549
โรงงานต้นแบบเอทานอลมีกำลังผลิตเอทานอลได้วันละ 30,000 ลิตร วัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ตามโครงการวิจัย ผลผลิตส่วนที่เหลือจะส่งจำหน่ายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมันในประเทศ เพื่อผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป โดยสถานที่ตั้งโรงงานอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานน้ำตาลราชสีมา อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
-
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมบราซิล รถยนต์เขาใช้เอทานอลได้100%
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับที่ให้ข้อมูล ดูเหมือนบ้านเราเร่งทำกันเพรียบ
ข้างล่างนี้ copy มาจากหนังสือพิมพ์เมื่อเดือนก่อน
________________________________________________
ปีที่ 24 ฉบับที่ 1,894 วันที่ 8-10 เมษายน 2547 ......
. เอธานอลปีหน้าผลิตล้นตลาดจี้รัฐขึ้นภาษีนำเข้าสาร MTBE
--------------------------------------------------------------------------------
กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้เอธา- นอลล้นตลาดในปีหน้า หวั่นบริษัทน้ำ มันต่างชาติไม่เข้าร่วมส่งผลปริมาณ การผลิตเกินความต้องการจี้กระทรวงพลังงานหามาตรการรองรับ ขึ้นภาษีเอ็มทีบีอี เพื่อจูงใจให้โรงกลั่นหันมาใช้เอธานอลผสมเป็นสารเพิ่มคุณภาพน้ำมันแทน
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ เอธานอลแห่งชาติ กระทรวงอุตสาห- กรรม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโรงงานผลิตเอธานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงว่า หลังจากที่บริษัทพรวิไล อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป เทรดดิ้ง จำกัด ได้ผลิตเอธานอลออกมาจำหน่าย 25,000 ลิตรต่อวันแล้ว เมื่อช่วงปลายปี 2546 ที่ผ่านมานั้น โดยในเดือนพฤษภาคมนี้ บริษัทไทยแอลกอฮอล์ฯ ในเครือของบริษัทแสงโสมฯ กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน ที่นครปฐม จะเริ่มผลิตเอธา นอลเพิ่มขึ้นมาอีกแห่ง และหลังจากนั้นจะตามมาด้วย บริษัทไทยง้วนเอทานอล จำกัด กำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน จะเริ่มผลิตในเดือนกันยายน 2547 เป็นอย่างช้า และบริษัทอินเตอร์เนชั่น แนล แก๊สโซฮอล์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กำลังการผลิตระยะแรก 100,000 ลิตรต่อวัน และบริษัทไทยอะโกร เอ็นเนอยี่ จำกัด กำลังการผลิต 150,000 ลิตรต่อ วัน จะเริ่มผลิตประมาณปลายปีนี้ ส่วน อีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์ จำกัด กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน และบริษัทขอนแก่น แอลกอ ฮอล์ฯ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ภายในปีหน้า
ในขณะที่ปริมาณความต้องการของตลาดนั้น มองว่าเอธานอลที่ผลิต ขึ้นมาได้ภายในปีนี้ จะมีตลาดรองรับที่แน่นอน เนื่องจากทางกระทรวงพลังงานได้มีการการันตีการรับซื้อไว้แล้ว โดยให้บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหา ชน) และบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับซื้อทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม มองว่า เมื่อการผลิตเอธานอลในปีหน้ามีปริมาณที่มากขึ้น การรับซื้อเอธา- นอลภายในประเทศจะเริ่มมีปัญหา เพราะมีปริมาณมากเกินที่ตลาดจะรับ ได้ อีกทั้งไม่ทราบว่าทางบริษัทน้ำมันต่างชาติจะเข้ามาร่วมในการรับซื้อเอ- ธานอลนี้หรือไม่ ซึ่งหากไม่เข้ามาร่วมหรือทำการจำหน่ายก๊าซโซฮอล์ด้วย แล้ว เอธานอลที่ผลิตได้จะเหลืออย่างแน่นอน เนื่องจากประมาณปลายปี 2548 จะมีโรงน้ำตาลอีกประมาณ 10 แห่ง เข้ามาทำการผลิตเอธานอลร่วมด้วย
ประกอบกับการส่งออกเอธานอลไปต่างชาติ ไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์หลักในการตั้งโรงงานผลิตเอธานอลขึ้นมา ดังนั้น ทางกระทรวงพลังงาน จะต้องไปหามาตรการต่างๆ ที่จะมารองรับเอธานอลที่ผลิตขึ้นมานี้ ซึ่งมาตรการหนึ่งที่เห็น ว่ามีความเป็นไปได้ คือการประกาศให้เอธานอลเป็นสารทดแทนเอ็มทีบีอี ที่ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซินอยู่ในขณะนี้แทน หรือการปรับภาษีนำเข้าสารเอ็มทีบีอี ให้สูงขึ้นไป เพื่อจูงใจให้โรงกลั่นน้ำมันหันมาใช้เอธานอลแทน ทั้งนี้ เพื่อให้มีตลาดรองรับเอธานอลให้มากขึ้น
นายณัฐพลกล่าวอีกว่า ส่วนการกำหนดคุณสมบัติของก๊าซโซฮอล์ 95 ให้มีความแตกต่างจากน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในบางประการ ทำให้ไม่สามารถ รับประกันการใช้ก๊าซโซฮอล์กับรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้ แม้ว่าจะมีการยืนยันจากหลายหน่วยงานว่ารถยนต์รุ่นต่างๆ สา- มารถใช้ก๊าซโซฮอล์โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดนั้น ในส่วนนี้ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วที่จะให้มีการผสมเอธานอลในน้ำมันเบนซินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 9 และไม่สูงกว่าร้อยละ 10 จากเดิมที่จะกำหนดระหว่างร้อยละ 10-12 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการผสมที่แน่นอน และการเก็บภาษีสรรพสามิตให้สอดคล้องกับปริมาณเอธานอลที่นำมาผสมด้วย อีกทั้งสารอะโรมาติกในก๊าซโซฮอล์ ต้องไม่เกินร้อยละ 42 ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับยูโร ทรี จากเดิมที่มีการกำหนดต้องไม่เกินร้อยละ 35 ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตรถยนต์เกิดความมั่นใจในมาตรฐานของก๊าซโซฮอล์ และสามารถการันตีกับผู้ใช้รถยนต์ได้
.
[ ฐานเศรษฐกิจ ] [ บริการทอง ] [ Company Profiles ]
--------------------------------------------------------------------------------
For more information, contact [email protected]
Copyright 1997-2001 Thansettakij Newspaper, All rights reserved.
ข้างล่างนี้ copy มาจากหนังสือพิมพ์เมื่อเดือนก่อน
________________________________________________
ปีที่ 24 ฉบับที่ 1,894 วันที่ 8-10 เมษายน 2547 ......
. เอธานอลปีหน้าผลิตล้นตลาดจี้รัฐขึ้นภาษีนำเข้าสาร MTBE
--------------------------------------------------------------------------------
กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้เอธา- นอลล้นตลาดในปีหน้า หวั่นบริษัทน้ำ มันต่างชาติไม่เข้าร่วมส่งผลปริมาณ การผลิตเกินความต้องการจี้กระทรวงพลังงานหามาตรการรองรับ ขึ้นภาษีเอ็มทีบีอี เพื่อจูงใจให้โรงกลั่นหันมาใช้เอธานอลผสมเป็นสารเพิ่มคุณภาพน้ำมันแทน
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ เอธานอลแห่งชาติ กระทรวงอุตสาห- กรรม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโรงงานผลิตเอธานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงว่า หลังจากที่บริษัทพรวิไล อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป เทรดดิ้ง จำกัด ได้ผลิตเอธานอลออกมาจำหน่าย 25,000 ลิตรต่อวันแล้ว เมื่อช่วงปลายปี 2546 ที่ผ่านมานั้น โดยในเดือนพฤษภาคมนี้ บริษัทไทยแอลกอฮอล์ฯ ในเครือของบริษัทแสงโสมฯ กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน ที่นครปฐม จะเริ่มผลิตเอธา นอลเพิ่มขึ้นมาอีกแห่ง และหลังจากนั้นจะตามมาด้วย บริษัทไทยง้วนเอทานอล จำกัด กำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน จะเริ่มผลิตในเดือนกันยายน 2547 เป็นอย่างช้า และบริษัทอินเตอร์เนชั่น แนล แก๊สโซฮอล์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กำลังการผลิตระยะแรก 100,000 ลิตรต่อวัน และบริษัทไทยอะโกร เอ็นเนอยี่ จำกัด กำลังการผลิต 150,000 ลิตรต่อ วัน จะเริ่มผลิตประมาณปลายปีนี้ ส่วน อีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์ จำกัด กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน และบริษัทขอนแก่น แอลกอ ฮอล์ฯ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ภายในปีหน้า
ในขณะที่ปริมาณความต้องการของตลาดนั้น มองว่าเอธานอลที่ผลิต ขึ้นมาได้ภายในปีนี้ จะมีตลาดรองรับที่แน่นอน เนื่องจากทางกระทรวงพลังงานได้มีการการันตีการรับซื้อไว้แล้ว โดยให้บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหา ชน) และบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับซื้อทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม มองว่า เมื่อการผลิตเอธานอลในปีหน้ามีปริมาณที่มากขึ้น การรับซื้อเอธา- นอลภายในประเทศจะเริ่มมีปัญหา เพราะมีปริมาณมากเกินที่ตลาดจะรับ ได้ อีกทั้งไม่ทราบว่าทางบริษัทน้ำมันต่างชาติจะเข้ามาร่วมในการรับซื้อเอ- ธานอลนี้หรือไม่ ซึ่งหากไม่เข้ามาร่วมหรือทำการจำหน่ายก๊าซโซฮอล์ด้วย แล้ว เอธานอลที่ผลิตได้จะเหลืออย่างแน่นอน เนื่องจากประมาณปลายปี 2548 จะมีโรงน้ำตาลอีกประมาณ 10 แห่ง เข้ามาทำการผลิตเอธานอลร่วมด้วย
ประกอบกับการส่งออกเอธานอลไปต่างชาติ ไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์หลักในการตั้งโรงงานผลิตเอธานอลขึ้นมา ดังนั้น ทางกระทรวงพลังงาน จะต้องไปหามาตรการต่างๆ ที่จะมารองรับเอธานอลที่ผลิตขึ้นมานี้ ซึ่งมาตรการหนึ่งที่เห็น ว่ามีความเป็นไปได้ คือการประกาศให้เอธานอลเป็นสารทดแทนเอ็มทีบีอี ที่ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซินอยู่ในขณะนี้แทน หรือการปรับภาษีนำเข้าสารเอ็มทีบีอี ให้สูงขึ้นไป เพื่อจูงใจให้โรงกลั่นน้ำมันหันมาใช้เอธานอลแทน ทั้งนี้ เพื่อให้มีตลาดรองรับเอธานอลให้มากขึ้น
นายณัฐพลกล่าวอีกว่า ส่วนการกำหนดคุณสมบัติของก๊าซโซฮอล์ 95 ให้มีความแตกต่างจากน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในบางประการ ทำให้ไม่สามารถ รับประกันการใช้ก๊าซโซฮอล์กับรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้ แม้ว่าจะมีการยืนยันจากหลายหน่วยงานว่ารถยนต์รุ่นต่างๆ สา- มารถใช้ก๊าซโซฮอล์โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดนั้น ในส่วนนี้ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วที่จะให้มีการผสมเอธานอลในน้ำมันเบนซินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 9 และไม่สูงกว่าร้อยละ 10 จากเดิมที่จะกำหนดระหว่างร้อยละ 10-12 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการผสมที่แน่นอน และการเก็บภาษีสรรพสามิตให้สอดคล้องกับปริมาณเอธานอลที่นำมาผสมด้วย อีกทั้งสารอะโรมาติกในก๊าซโซฮอล์ ต้องไม่เกินร้อยละ 42 ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับยูโร ทรี จากเดิมที่มีการกำหนดต้องไม่เกินร้อยละ 35 ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตรถยนต์เกิดความมั่นใจในมาตรฐานของก๊าซโซฮอล์ และสามารถการันตีกับผู้ใช้รถยนต์ได้
.
[ ฐานเศรษฐกิจ ] [ บริการทอง ] [ Company Profiles ]
--------------------------------------------------------------------------------
For more information, contact [email protected]
Copyright 1997-2001 Thansettakij Newspaper, All rights reserved.
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
บริษัทที่ผลิตเอทานอล
โพสต์ที่ 8
อนุมัติให้ผู้ประกอบการ 8 ราย สามารถก่อสร้างผลิตเอทานอล กำลังผลิตรวม 1.5 ล้านลิตร ทำให้มีปริมาณเอทานอลผสมในน้ำมันเบนซิน 95 ในอัตราส่วน 10% เพิ่มมากขึ้น ซึ่งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เตรียมแผนปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน 100 แห่งทั่วประเทศ ภายใน 1-2 ปี
ส่วนดีโซฮอล์นั้น ศูนย์วิจัยของ ปตท.กำลังศึกษาการผสมเอทานอลในน้ำมันดีเซล สัดส่วน 7% จากการใช้น้ำมันดีเซล 50 ล้านลิตร/วัน แต่ใช้เอทานอล 3.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งคณะกรรมการเอทานอลฯ คงต้องอนุมัติก่อสร้างโรงานผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น อาจทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่เห็นด้วย เพราะยอดขายน้ำมันดีเซลจะลดลง ทั้งนี้ มีเอกชนยื่นขอจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลอีก 12 ราย แต่ส่งเอกสารครบถ้วนเพียง 7 ราย คาดจะมีการพิจารณาในการประชุมบอร์ด กพช.ครั้งหน้า
รายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท พรวิไล อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป เทรดดิ้ง ได้ขอให้ที่ประชุมช่วยประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพราะยังไม่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งบริษัทวางแผนเริ่มผลิตวันที่ 5 ธ.ค.นี้ กำลังผลิต 25,000 ลิตร/วัน ใช้กากน้ำตาลและมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเอทานอลแห่งชาติ กล่าวว่า การผลิตเอทานอลเป็นไปตามเกณฑ์ของบีโอไอในฐานะกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยได้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ไม่ว่าอยู่ในเขตใด และสิทธิและประโยชน์อื่นๆ ซึ่งมีหลายบริษัทเตรียมขอสิทธิ เช่น พรวิไลฯ และแสงโสม
ส่วนดีโซฮอล์นั้น ศูนย์วิจัยของ ปตท.กำลังศึกษาการผสมเอทานอลในน้ำมันดีเซล สัดส่วน 7% จากการใช้น้ำมันดีเซล 50 ล้านลิตร/วัน แต่ใช้เอทานอล 3.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งคณะกรรมการเอทานอลฯ คงต้องอนุมัติก่อสร้างโรงานผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น อาจทำให้ผู้ค้าน้ำมันไม่เห็นด้วย เพราะยอดขายน้ำมันดีเซลจะลดลง ทั้งนี้ มีเอกชนยื่นขอจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลอีก 12 ราย แต่ส่งเอกสารครบถ้วนเพียง 7 ราย คาดจะมีการพิจารณาในการประชุมบอร์ด กพช.ครั้งหน้า
รายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท พรวิไล อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป เทรดดิ้ง ได้ขอให้ที่ประชุมช่วยประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพราะยังไม่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งบริษัทวางแผนเริ่มผลิตวันที่ 5 ธ.ค.นี้ กำลังผลิต 25,000 ลิตร/วัน ใช้กากน้ำตาลและมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ
นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเอทานอลแห่งชาติ กล่าวว่า การผลิตเอทานอลเป็นไปตามเกณฑ์ของบีโอไอในฐานะกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยได้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ไม่ว่าอยู่ในเขตใด และสิทธิและประโยชน์อื่นๆ ซึ่งมีหลายบริษัทเตรียมขอสิทธิ เช่น พรวิไลฯ และแสงโสม
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
-
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมบราซิล รถยนต์เขาใช้เอทานอลได้100%
โพสต์ที่ 13
ลองหาข้อเสียมาบอกบ้างหน่อย เพื่อเป็นความรู้
จริงๆน้ำมันสังเคราะห์หรือน้ำมันทดแทนก็ได้ยินมาหลายปีมาก แต่ก็ไม่เคยเห็นการใช้ในเชิงพาณิชย์ มันก็คงต้องมีอะไรที่ทำให้มันไม่เกิด
บางคนก็ว่าเป็นเพราะอุตสาหกรรมน้ำมันพยายามทำไม่ให้เกิด แบบว่า Conspiracy Thoery
บางคนก็ว่าต้นทุนที่ผลิตน้ำมันทดแทนนั้นไม่ต่ำอย่างที่บอก และเมื่อบวกต้นทุนกระจายสินค้า ก็แพงกว่าน้ำมันจริงมาก
บางคนก็บอกใช้ไปแล้วมีผลต่อเครื่องยนตร์รถ
ผมเองไม่มีความรู้และก็อยากเห็นเรามีทางเลือกทางด้านอื่นแทนน้ำมัน ก็เลยอยากรบกวนผู้รู้ว่าจริงๆมันน่าจะมีบางประการที่ทำให้ไม่เกิดการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง
ก็แค่รู้สึกว่า Too Good to be True
จริงๆน้ำมันสังเคราะห์หรือน้ำมันทดแทนก็ได้ยินมาหลายปีมาก แต่ก็ไม่เคยเห็นการใช้ในเชิงพาณิชย์ มันก็คงต้องมีอะไรที่ทำให้มันไม่เกิด
บางคนก็ว่าเป็นเพราะอุตสาหกรรมน้ำมันพยายามทำไม่ให้เกิด แบบว่า Conspiracy Thoery
บางคนก็ว่าต้นทุนที่ผลิตน้ำมันทดแทนนั้นไม่ต่ำอย่างที่บอก และเมื่อบวกต้นทุนกระจายสินค้า ก็แพงกว่าน้ำมันจริงมาก
บางคนก็บอกใช้ไปแล้วมีผลต่อเครื่องยนตร์รถ
ผมเองไม่มีความรู้และก็อยากเห็นเรามีทางเลือกทางด้านอื่นแทนน้ำมัน ก็เลยอยากรบกวนผู้รู้ว่าจริงๆมันน่าจะมีบางประการที่ทำให้ไม่เกิดการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง
ก็แค่รู้สึกว่า Too Good to be True
-
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมบราซิล รถยนต์เขาใช้เอทานอลได้100%
โพสต์ที่ 14
ข้อเสียมาแล้วครับ ทางผู้ผลิตรถยนต์ยังไม่ได้ศึกษาและพัฒนามารับกับส่วนผสมของน้ำมันที่เปลียนไป
จาก ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 พฤษภาคม 2547
___________________________________________________
สอดไส้แจ้งเกิดโครงการเอทานอล
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติให้ความเห็นชอบ "ยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์" ตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ด้วยการเห็นควรให้มีการยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 ภายในปี 2549 เพื่อให้บริษัทน้ำมันหันมาใช้เอทานอลทดแทนสาร MTBE ไม่เกินร้อยละ 10 ผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่หากเกิดการขาดแคลนเอทานอล หรือราคาเอทานอลสูงเกินกว่าที่บริษัทน้ำมันจะยอมรับได้ ก็อนุญาตให้มีการนำเข้าสาร oxygenate จากต่างประเทศเข้ามาใช้ทดแทนได้ แต่ในขณะที่ยังไม่มีการยกเลิกการใช้สาร MTBE เห็นควรให้มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสาร MTBE เพิ่มขึ้น เพื่อบังคับให้บริษัทน้ำมันมีการใช้ เอทานอลเพิ่มขึ้น
ส่วนกระทรวงพลังงานจะศึกษาการ "ยกเว้น" เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊ส โซฮอล์เป็นการชั่วคราว เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มากขึ้น โดยการกำหนดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ให้ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินมากกว่าปัจจุบันที่ต่ำอยู่แค่ 50 สตางค์/ลิตร นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีการนำเอาเอทานอลไปใช้ทดแทนเนื้อน้ำมันเบนซิน 91 โดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ของกระทรวงอุตสาหกรรมว่า กำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเอทานอลขายไม่ออกโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมาคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล (บริษัทพรวิไล อินเตอร์เนชั่นแนล-บริษัทไทยแอลกอฮอล์-บริษัทไทยง้วนเอทานอล-บริษัทไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่-บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แก๊สโซฮอล์ฯ-บริษัทขอนแก่นแอลกอฮอล์-บริษัทไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์) เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมแล้วคิดเป็นกำลังการผลิตเอทานอลที่เพิ่มขึ้นถึง 850,000 ลิตร/วันภายในปี 2548
"ประเด็นก็คือ ในปัจจุบันมีผู้รับซื้อเอทานอลไปผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (เอทานอลร้อยละ 10 บวกเบนซินร้อยละ 90) เพียง 2 บริษัทคือ บริษัท ปตท.กับบริษัทบางจากฯ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทรับซื้อเอทานอลเพียงวันละ 33,000-38,000 ลิตร/วัน หรือเต็มที่ไม่เกิน 130,000 ลิตร/วันในปี 2548 เนื่องจากผู้บริโภคไม่สนใจที่จะใช้น้ำมันแก๊ส โซฮอล์จากปัญหา 2 ประการคือ ไม่มั่นใจว่าเครื่องยนต์ในรถยนต์ถูกออกแบบมาให้ใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์หรือไม่ กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์มีการเพิ่มอะโรมาติก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ส่งผลให้ค่ามลพิษในอากาศสูงตามมา ดังนั้น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ปัจจุบันจึงขายไม่ออก ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงหันมาใช้วิธีบังคับให้บริษัทน้ำมันต้องผลิตแต่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายเอทานอลให้สูงขึ้นให้ได้" แหล่งข่าวกล่าว
ค่ายรถแบ่งรับแบ่งสู้
ผสมเกิน 10% ไม่รับประกัน
ทางด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดซื้อ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันนี้ใช้สาร MTBE ผสมในน้ำมันเบนซิน 91 ให้กลายเป็นเบนซิน 95 ดังนั้น ถ้าจะเลิก MTBE ก็ต้องหาสารอื่นมาแทน โดยเอทานอลน่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด สามารถช่วยเพิ่มค่าออกเทน แต่การใช้น้ำมันตัวนี้จะต้องมีการปรับแต่งอุปกรณ์บางอย่างในรถ เช่น ท่อยาง โอริง หรืออะลูมินั่มบางตัวก่อน ซึ่งโตโยต้าพยายามปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลมากขึ้น
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า ปัญหาเอทานอลที่นำมาเติมกับน้ำมันเพื่อใช้กับรถยนต์ในบ้านเราถ้าไม่เกิน 10% ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าเกินค่ายรถยนต์คงจะไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่
เช่นเดียวกับ นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวยานยนต์และรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญและคว่ำหวอดในวงการรถยนต์ กล่าวว่า ในความเป็นจริงแม้ว่าเอทานอลจะสามารถนำมาผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง และเติมลงไปในเครื่องยนต์ได้ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องยนต์เป็นหลัก และเป็นที่ทราบกันดีว่า ในบรรดาเครื่องยนต์ทั้งหลายนั้น เครื่องยนต์ที่มีการจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดและมีระบบอิเล็กทรอนิกส์คอยควบคุมปริมาณเชื้อเพลิง เป็นเครื่องยนต์ที่ปรับปรุงให้รับเชื้อเพลิงที่แปลกปลอมได้ยากที่สุด ไม่เหมือนเครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บิวเรเตอร์เป็นตัวจ่ายเชื้อเพลิงเหมือนยุคเก่า สำหรับเอทานอล แก๊สโซฮอล หรือ เชื้อเพลิงอื่นใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดีราคาถูกเพียงใด หากผู้ผลิตเครื่อง ยนต์ไม่ออกมารับประกันว่า สามารถใช้ได้ เชื้อเพลิงนั้นๆ ก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จไปได้
โรงกลั่นกังวลเอทานอลขาด
นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานกลุ่มธุรกิจโรงกลั่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนมาใช้เอทานอลทดแทนสารเพิ่มค่าออกเทน MTBE นั้น โรงกลั่นต่างๆ พร้อมที่จะเดินตามนโยบายรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาโรงกลั่นทั่วประเทศคาดการณ์ว่าจะเกิดนโยบายอย่างนี้ จึงเตรียมความพร้อม โดยจะลงทุนเครื่องมือต่างๆ เพื่อรองรับการผสมเอทานอลในเบนซิน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โรงกลั่นต้องการความมั่นใจจากภาครัฐก็คือ ปริมาณเอทานอลจะมีเพียงพอต่อความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอลอยู่เพียง 7 แห่งเท่านั้น และรัฐควรจะมีความชัดเจนในข้อกำหนดคุณสมบัติ การเก็บภาษีของแก๊สโซฮอล์ทั้งเบนซิน 95 และ 91 รวมถึงน้ำมันดีเซลที่จะถูกผลักดันในอนาคตเช่นกัน
"วันนี้เอทานอลอาจจะมีเพียงพอเพื่อป้อนโรงกลั่น แต่ในอนาคตรัฐต้องให้ความมั่นใจว่าจะมีเพียงพอตลอดไป เพราะหากโรงกลั่นลงทุนเครื่องมือเพื่อผสมเป็นแก๊สโซฮอล์แล้วจะไม่มีวิกฤตเกิดขึ้นจนต้องนำเข้าสาร MTBE อีก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐต้องหาแนวทางที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจว่า เอทานอลจะไม่ขาดแคลน" นายบวรกล่าว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.พร้อมที่จะเดินตามนโยบายรัฐ ปัจจุบันบริษัทรับซื้อเอทานอลอยู่ 10,000 ลิตร/วัน ผสมแล้วได้แก๊สโซฮอล์ 100,000 ลิตร/วัน โดยเป้าหมายในปี 2549 จะสามารถรับซื้อเอทานอลได้ 200,000 ลิตร/วัน ทั้งนี้ บริษัท ปตท.อาจจะต้องลงทุนเพิ่มในส่วนของถังแก๊สโซฮอล์เพื่อแยกจำหน่ายตามสถานีบริการต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสถานีบริการทั่วประเทศจำนวน 1,400 แห่ง แบ่งเป็นสถานีที่สามารถจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ได้ 50 แห่ง และภายในปีนี้คาดว่าจะขยายเพิ่มเป็น 150 แห่ง โดยวางเป้าหมายในปี 2548 จะเพิ่มเป็น 600 แห่ง รวมถึงในปี 2549 ที่จะสามารถเพิ่มเป็น 1,400 แห่งทั่วประเทศเพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวได้อย่างทั่วถึง
นายศุภพงษ์ กฤษณกาญจน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระยองเพียวรีไฟน์เออร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเช่นเดียวกันว่า บริษัทเตรียมความพร้อมโดยกำลังเจรจากับบริษัทผู้ผลิตเอทานอล 3-4 บริษัท เพื่อร่วมจัดตั้งบริษัทกลางขึ้นมาเพื่อผลิตไว้ใช้ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายเอทานอลให้กับโรงกลั่นอื่นๆ ด้วย โดยโรงกลั่นของบริษัทไม่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินแทนสาร MTBE เพราะสามารถผสมได้ทันที
ด้านนายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ภายในปีนี้จะมีมาตรการด้านภาษี โดยจะปรับเพิ่มอัตราภาษีสำหรับการนำเข้าสาร MTBE จากปัจจุบันเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าการนำเข้า อาจจะเริ่มต้นที่ร้อยละ 20 ไปจนกระทั่งถึงร้อยละ 30 เพื่อไม่ให้มีการนำเข้าในที่สุด
แหล่งข่าวจากโรงกลั่นน้ำมันกล่าวกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า การที่รัฐบาลมีมาตรการยกเลิกใช้สาร MTBE อาจจะทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติ อาทิ เชลล์-เอสโซ่-คาลเท็คซ์ สนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนกับผู้ผลิตเอทานอลภายในประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำมันได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็มีผู้ประกอบการอยู่อีก 11 รายที่กำลัง "รอ" ขอรับอนุมัติตั้งโรงงาน เอทานอล ซึ่งบริษัทน้ำมันข้ามชาติดังกล่าวอาจจะเข้าขอร่วมทุน ประกอบไปด้วยบริษัท เอ.ที.ซี.เอฟ. อุตสาหกรรม, บริษัทฟ้าขวัญทิพย์, บริษัทน้ำตาลสระบุรี, บริษัทไทยรุ่งเรือง อุตสาหกรรม, บริษัทรุ่งสยาม เคมเทรดดิ้ง, บริษัทสยาม เอทานอล อุตสาหกรรม, บมจ.จัดการและทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก, บริษัทน้ำตาลตะวันออก, บริษัทสุรินทร์ เอทานอล, บริษัทไทยพีค่อน อุตสาหกรรม และบริษัทอีแวม เอจี
จาก ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 พฤษภาคม 2547
___________________________________________________
สอดไส้แจ้งเกิดโครงการเอทานอล
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติให้ความเห็นชอบ "ยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์" ตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงพลังงาน ด้วยการเห็นควรให้มีการยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 ภายในปี 2549 เพื่อให้บริษัทน้ำมันหันมาใช้เอทานอลทดแทนสาร MTBE ไม่เกินร้อยละ 10 ผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่หากเกิดการขาดแคลนเอทานอล หรือราคาเอทานอลสูงเกินกว่าที่บริษัทน้ำมันจะยอมรับได้ ก็อนุญาตให้มีการนำเข้าสาร oxygenate จากต่างประเทศเข้ามาใช้ทดแทนได้ แต่ในขณะที่ยังไม่มีการยกเลิกการใช้สาร MTBE เห็นควรให้มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสาร MTBE เพิ่มขึ้น เพื่อบังคับให้บริษัทน้ำมันมีการใช้ เอทานอลเพิ่มขึ้น
ส่วนกระทรวงพลังงานจะศึกษาการ "ยกเว้น" เงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันแก๊ส โซฮอล์เป็นการชั่วคราว เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มากขึ้น โดยการกำหนดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ให้ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินมากกว่าปัจจุบันที่ต่ำอยู่แค่ 50 สตางค์/ลิตร นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีการนำเอาเอทานอลไปใช้ทดแทนเนื้อน้ำมันเบนซิน 91 โดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ของกระทรวงอุตสาหกรรมว่า กำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเอทานอลขายไม่ออกโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมาคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล (บริษัทพรวิไล อินเตอร์เนชั่นแนล-บริษัทไทยแอลกอฮอล์-บริษัทไทยง้วนเอทานอล-บริษัทไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่-บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แก๊สโซฮอล์ฯ-บริษัทขอนแก่นแอลกอฮอล์-บริษัทไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์) เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมแล้วคิดเป็นกำลังการผลิตเอทานอลที่เพิ่มขึ้นถึง 850,000 ลิตร/วันภายในปี 2548
"ประเด็นก็คือ ในปัจจุบันมีผู้รับซื้อเอทานอลไปผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (เอทานอลร้อยละ 10 บวกเบนซินร้อยละ 90) เพียง 2 บริษัทคือ บริษัท ปตท.กับบริษัทบางจากฯ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทรับซื้อเอทานอลเพียงวันละ 33,000-38,000 ลิตร/วัน หรือเต็มที่ไม่เกิน 130,000 ลิตร/วันในปี 2548 เนื่องจากผู้บริโภคไม่สนใจที่จะใช้น้ำมันแก๊ส โซฮอล์จากปัญหา 2 ประการคือ ไม่มั่นใจว่าเครื่องยนต์ในรถยนต์ถูกออกแบบมาให้ใช้กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์หรือไม่ กับน้ำมันแก๊สโซฮอล์มีการเพิ่มอะโรมาติก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ส่งผลให้ค่ามลพิษในอากาศสูงตามมา ดังนั้น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ปัจจุบันจึงขายไม่ออก ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงหันมาใช้วิธีบังคับให้บริษัทน้ำมันต้องผลิตแต่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายเอทานอลให้สูงขึ้นให้ได้" แหล่งข่าวกล่าว
ค่ายรถแบ่งรับแบ่งสู้
ผสมเกิน 10% ไม่รับประกัน
ทางด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดซื้อ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันนี้ใช้สาร MTBE ผสมในน้ำมันเบนซิน 91 ให้กลายเป็นเบนซิน 95 ดังนั้น ถ้าจะเลิก MTBE ก็ต้องหาสารอื่นมาแทน โดยเอทานอลน่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด สามารถช่วยเพิ่มค่าออกเทน แต่การใช้น้ำมันตัวนี้จะต้องมีการปรับแต่งอุปกรณ์บางอย่างในรถ เช่น ท่อยาง โอริง หรืออะลูมินั่มบางตัวก่อน ซึ่งโตโยต้าพยายามปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลมากขึ้น
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า ปัญหาเอทานอลที่นำมาเติมกับน้ำมันเพื่อใช้กับรถยนต์ในบ้านเราถ้าไม่เกิน 10% ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ถ้าเกินค่ายรถยนต์คงจะไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่
เช่นเดียวกับ นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวยานยนต์และรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญและคว่ำหวอดในวงการรถยนต์ กล่าวว่า ในความเป็นจริงแม้ว่าเอทานอลจะสามารถนำมาผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง และเติมลงไปในเครื่องยนต์ได้ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องยนต์เป็นหลัก และเป็นที่ทราบกันดีว่า ในบรรดาเครื่องยนต์ทั้งหลายนั้น เครื่องยนต์ที่มีการจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดและมีระบบอิเล็กทรอนิกส์คอยควบคุมปริมาณเชื้อเพลิง เป็นเครื่องยนต์ที่ปรับปรุงให้รับเชื้อเพลิงที่แปลกปลอมได้ยากที่สุด ไม่เหมือนเครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บิวเรเตอร์เป็นตัวจ่ายเชื้อเพลิงเหมือนยุคเก่า สำหรับเอทานอล แก๊สโซฮอล หรือ เชื้อเพลิงอื่นใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดีราคาถูกเพียงใด หากผู้ผลิตเครื่อง ยนต์ไม่ออกมารับประกันว่า สามารถใช้ได้ เชื้อเพลิงนั้นๆ ก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จไปได้
โรงกลั่นกังวลเอทานอลขาด
นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานกลุ่มธุรกิจโรงกลั่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนมาใช้เอทานอลทดแทนสารเพิ่มค่าออกเทน MTBE นั้น โรงกลั่นต่างๆ พร้อมที่จะเดินตามนโยบายรัฐบาล เนื่องจากที่ผ่านมาโรงกลั่นทั่วประเทศคาดการณ์ว่าจะเกิดนโยบายอย่างนี้ จึงเตรียมความพร้อม โดยจะลงทุนเครื่องมือต่างๆ เพื่อรองรับการผสมเอทานอลในเบนซิน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่โรงกลั่นต้องการความมั่นใจจากภาครัฐก็คือ ปริมาณเอทานอลจะมีเพียงพอต่อความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอลอยู่เพียง 7 แห่งเท่านั้น และรัฐควรจะมีความชัดเจนในข้อกำหนดคุณสมบัติ การเก็บภาษีของแก๊สโซฮอล์ทั้งเบนซิน 95 และ 91 รวมถึงน้ำมันดีเซลที่จะถูกผลักดันในอนาคตเช่นกัน
"วันนี้เอทานอลอาจจะมีเพียงพอเพื่อป้อนโรงกลั่น แต่ในอนาคตรัฐต้องให้ความมั่นใจว่าจะมีเพียงพอตลอดไป เพราะหากโรงกลั่นลงทุนเครื่องมือเพื่อผสมเป็นแก๊สโซฮอล์แล้วจะไม่มีวิกฤตเกิดขึ้นจนต้องนำเข้าสาร MTBE อีก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐต้องหาแนวทางที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจว่า เอทานอลจะไม่ขาดแคลน" นายบวรกล่าว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.พร้อมที่จะเดินตามนโยบายรัฐ ปัจจุบันบริษัทรับซื้อเอทานอลอยู่ 10,000 ลิตร/วัน ผสมแล้วได้แก๊สโซฮอล์ 100,000 ลิตร/วัน โดยเป้าหมายในปี 2549 จะสามารถรับซื้อเอทานอลได้ 200,000 ลิตร/วัน ทั้งนี้ บริษัท ปตท.อาจจะต้องลงทุนเพิ่มในส่วนของถังแก๊สโซฮอล์เพื่อแยกจำหน่ายตามสถานีบริการต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสถานีบริการทั่วประเทศจำนวน 1,400 แห่ง แบ่งเป็นสถานีที่สามารถจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ได้ 50 แห่ง และภายในปีนี้คาดว่าจะขยายเพิ่มเป็น 150 แห่ง โดยวางเป้าหมายในปี 2548 จะเพิ่มเป็น 600 แห่ง รวมถึงในปี 2549 ที่จะสามารถเพิ่มเป็น 1,400 แห่งทั่วประเทศเพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวได้อย่างทั่วถึง
นายศุภพงษ์ กฤษณกาญจน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระยองเพียวรีไฟน์เออร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเช่นเดียวกันว่า บริษัทเตรียมความพร้อมโดยกำลังเจรจากับบริษัทผู้ผลิตเอทานอล 3-4 บริษัท เพื่อร่วมจัดตั้งบริษัทกลางขึ้นมาเพื่อผลิตไว้ใช้ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายเอทานอลให้กับโรงกลั่นอื่นๆ ด้วย โดยโรงกลั่นของบริษัทไม่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินแทนสาร MTBE เพราะสามารถผสมได้ทันที
ด้านนายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ภายในปีนี้จะมีมาตรการด้านภาษี โดยจะปรับเพิ่มอัตราภาษีสำหรับการนำเข้าสาร MTBE จากปัจจุบันเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าการนำเข้า อาจจะเริ่มต้นที่ร้อยละ 20 ไปจนกระทั่งถึงร้อยละ 30 เพื่อไม่ให้มีการนำเข้าในที่สุด
แหล่งข่าวจากโรงกลั่นน้ำมันกล่าวกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า การที่รัฐบาลมีมาตรการยกเลิกใช้สาร MTBE อาจจะทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติ อาทิ เชลล์-เอสโซ่-คาลเท็คซ์ สนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนกับผู้ผลิตเอทานอลภายในประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิตน้ำมันได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็มีผู้ประกอบการอยู่อีก 11 รายที่กำลัง "รอ" ขอรับอนุมัติตั้งโรงงาน เอทานอล ซึ่งบริษัทน้ำมันข้ามชาติดังกล่าวอาจจะเข้าขอร่วมทุน ประกอบไปด้วยบริษัท เอ.ที.ซี.เอฟ. อุตสาหกรรม, บริษัทฟ้าขวัญทิพย์, บริษัทน้ำตาลสระบุรี, บริษัทไทยรุ่งเรือง อุตสาหกรรม, บริษัทรุ่งสยาม เคมเทรดดิ้ง, บริษัทสยาม เอทานอล อุตสาหกรรม, บมจ.จัดการและทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก, บริษัทน้ำตาลตะวันออก, บริษัทสุรินทร์ เอทานอล, บริษัทไทยพีค่อน อุตสาหกรรม และบริษัทอีแวม เอจี
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
ดูเหมือนว่าจะเริ่ม
โพสต์ที่ 15
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกจะอยู่เหนือเพดานราคาที่รัฐบาลตั้งเอาไว้จนถึงสิ้นปี ดังนั้นสิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายจะต้องเร่งกันประหยัด โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาตลาดโลกสูงคือ ความต้องการบริโภคน้ำมันของทุกภูมิภาคทั่วโลก เพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ออกมากว้านซื้อน้ำมันดิบจากทุกตลาดเข้าสำรองในประเทศ จนทำให้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ จีนก็ยังไม่มั่นใจว่าจะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงได้เพียงใด จึงต้องกว้านซื้อน้ำมันเข้าสำรองเหมือนสหรัฐฯ ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยนอกตลาดคือ การก่อการร้ายที่ลุกลามไปทุกภูมิภาค ได้ส่งผลให้เกือบทุกประเทศ ออกมากว้านซื้อน้ำมันตาม2 ประเทศยักษ์ใหญ่ จึงมั่นใจว่าตลอดสิ้นปีนี้ ราคาน้ำมันตลาดโลกจะยังไม่ปรับตัวลดลงจากราคาในปัจจุบันอย่างแน่นอน แม้ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปกจะเร่งผลิตน้ำมันออกมาก็ตาม
"สถานการณ์ที่ทำให้รัฐบาลจะต้องขึ้นราคาเบนซินขึ้นอีกมี 2 กรณี คือ มีความแตกต่างระหว่างราคาจริงกับราคาเพดานที่ตั้งไว้มากเพียงไร และจำนวนเงินที่รัฐจ่ายตรึงราคาจะพุ่งสูงเร็วเกินไปหรือไม่ ถ้าสูงเกินไป ก็จะต้องชะลอเอาไว้ด้วยการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน"
นายเมตตากล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์พลังงานแห่งชาติ ประเทศไทยจะต้องลดการใช้น้ำมัน หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินทดแทน เพราะน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มั่นคง
นอกจากนี้ จีนก็ยังไม่มั่นใจว่าจะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจลงได้เพียงใด จึงต้องกว้านซื้อน้ำมันเข้าสำรองเหมือนสหรัฐฯ ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยนอกตลาดคือ การก่อการร้ายที่ลุกลามไปทุกภูมิภาค ได้ส่งผลให้เกือบทุกประเทศ ออกมากว้านซื้อน้ำมันตาม2 ประเทศยักษ์ใหญ่ จึงมั่นใจว่าตลอดสิ้นปีนี้ ราคาน้ำมันตลาดโลกจะยังไม่ปรับตัวลดลงจากราคาในปัจจุบันอย่างแน่นอน แม้ว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปกจะเร่งผลิตน้ำมันออกมาก็ตาม
"สถานการณ์ที่ทำให้รัฐบาลจะต้องขึ้นราคาเบนซินขึ้นอีกมี 2 กรณี คือ มีความแตกต่างระหว่างราคาจริงกับราคาเพดานที่ตั้งไว้มากเพียงไร และจำนวนเงินที่รัฐจ่ายตรึงราคาจะพุ่งสูงเร็วเกินไปหรือไม่ ถ้าสูงเกินไป ก็จะต้องชะลอเอาไว้ด้วยการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน"
นายเมตตากล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์พลังงานแห่งชาติ ประเทศไทยจะต้องลดการใช้น้ำมัน หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินทดแทน เพราะน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มั่นคง
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
ปัญหาวัตถุดิบเพียงพอหรือเปล่า
โพสต์ที่ 16
อย่างไรก็ตาม หากครม. อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมแะลกระทรวงพลังงานแล้ว จะมีผลกระทบกับโรงกลั่นน้ำมันมาก เพราะได้ลงทุนเกี่ยวกับการกระบวนการนำน้ำมันที่ผ่านกระบวนการกลั่นขั้นแรก (แนฟทา) ไปกลั่นซ้ำเพื่อเพิ่มค่าออกเทนเป็น 91 และ 95 ไปแล้ว เว้นบางจากที่ลงทุนในระบบเก่าที่ใช้เงินไม่มากนัก นอกจากนั้น ยังมีปัญหาว่า วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเอทานอล โดยเฉพาะอ้อยและมันสำปะหลังจะเพียงพอหรือไม่ เนื่องจาก ไม่เคยมีการวางแผนการผลิตเพื่อนำมาผลิตเอทานอลโดยเฉพาะเลย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมบราซิล รถยนต์เขาใช้เอทานอลได้100%
โพสต์ที่ 17
ไม่เห็นด้วยกับการเอาหัวมันสัมปะหลังมาทำครับ เพราะการปลูกมันจะ
ทำลายแร่ธาตุในดินอย่างมาก ถ้าต้องปลูกเพิ่มเป็นจำนวนมากจะไม่ดี
ในระยะยาว อาจจะต้องปลูกถั่วสลับอีกนาน
ถ้าประเทศไทยใช้เอธานอลถึง 10% ผมว่าวัตถุดิบก็ขาดแคลนแย่แล้ว
ครับ เพราะจะไปแย่งกับสินค้าอุปโภค รถกินจุกว่าคนเป็นไหนๆ
ทำลายแร่ธาตุในดินอย่างมาก ถ้าต้องปลูกเพิ่มเป็นจำนวนมากจะไม่ดี
ในระยะยาว อาจจะต้องปลูกถั่วสลับอีกนาน
ถ้าประเทศไทยใช้เอธานอลถึง 10% ผมว่าวัตถุดิบก็ขาดแคลนแย่แล้ว
ครับ เพราะจะไปแย่งกับสินค้าอุปโภค รถกินจุกว่าคนเป็นไหนๆ