'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
-
- Verified User
- โพสต์: 200
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 1
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 2551 ฉบับ 'หนูอยู่ตึก'
Bizweek 4 ม.ค. 51
ปีชวด (ปีหนู)..เล่นหุ้นอย่างไรไม่ให้ "ชวด" (ผิดหวัง) แหม!! ตั้งคำถามง่าย แต่จะเอาตัวรอดอย่างไรดีล่ะ การเมืองก็ง่อนแง่น ปตท.ก็โงกเงก เศรษฐกิจก็ง่วงเหงา ภาวะอย่างนี้ "เซียน" ต่างก็ลงรู "หมู" กลับบ้านเก่า ลงกองไฟไปนานแล้วครับ เอ้า! แล้ว "หนู" ปีนี้จะอยู่ยังไง ต้องไปถามเซียน Value..อยากอยู่ตึกจะทำยังไงดี! อาจารย์นิเวศน์ช่วยข้าน้อยด้วย!!!
---------------------------------------------------------
มีโอกาสที่แนวโน้มหุ้นในปี 2551 หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคจะเริ่มกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง และมุมมองส่วนตัวคิดว่า รอบของธุรกิจพลังงานที่ขึ้นมาหลายปี อาจจะเริ่มชะลอตัวลง
----------------------------------------------------------
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ต้นตำรับการลงทุน "เซียนหุ้นมูลค่า" ของเมืองไทย มองย้อนผลตอบแทนการลงทุนรอบปี 2550 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ว่า..
"สำหรับผมถือเป็นปีที่ "เสมอตัว" หรือเรียกได้ว่าเป็นปีที่ "เกียร์ว่าง" ในแง่ผลตอบแทนการลงทุน ทั้งที่ผลตอบแทนตลาดหุ้นโดยรวมนับว่าค่อนข้างดี คือ มีผลตอบแทนประมาณ 20% แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ ปตท. หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มบริษัทใหญ่ราวๆ สิบตัว ซึ่งผมเองไม่ได้สนใจลงทุนในหุ้นกลุ่มพวกนี้เท่าไหร่"
เป็นที่รู้กันว่า หุ้นในพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ ส่วนใหญ่จะเทน้ำหนักให้กับ "กลุ่มโมเดิร์นเทรด" หรือกลุ่มค้าปลีกภายในประเทศ ซึ่งดร.ได้วิเคราะห์ว่า ปีที่ผ่านมา เป็นปีที่เศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศซบเซามาก เลยทำให้หุ้นที่ถืออยู่เหล่านี้กลายเป็น "เกียร์ว่าง" ไป เพราะผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา ค่อนข้าง "ทรงๆ"
"แต่ก็ไม่ได้เสียหาย หรือเป็นกลยุทธ์ที่ผิดอะไร เพียงแต่ว่าเราต้องรอเวลาของมัน หมายความว่าปีนี้เกียร์ว่างไปหนึ่งปี แต่ปีต่อไป มันควรจะเร่งสปีด เป็นเกียร์สูงๆ ที่วิ่งเร็วหน่อย ซึ่งอันนี้เกิดได้เสมอ"
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2550 ดร.นิเวศน์ เคยประเมินไว้ว่า เป็นปีที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง และแนวทางการลงทุนควรต้องเน้นความปลอดภัย เลือกหุ้นประเภท Defensive Stock
แต่สำหรับปี 2551 เซียนหุ้นมูลค่ารายนี้ วิเคราะห์ทิศทางการลงทุนน่าจะดีขึ้น หลังจากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเข้ามาเร่งอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะทำให้การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น
ดังนั้น มีโอกาสที่แนวโน้มในปี 2551 หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคจะเริ่มกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง รวมทั้งมีมุมมองส่วนตัวว่า รอบของธุรกิจพลังงานที่ขึ้นมาหลายปี อาจจะเริ่มชะลอตัวลง
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การบริโภคก็จะต้องดีขึ้น โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จะปรับตัวดีขึ้นทุกครั้งที่ราคาน้ำมันลดลง
สำหรับหุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคที่ว่า นอกจากจะครอบคลุมหุ้นกลุ่มค้าปลีกและโมเดิร์นเทรดแล้ว ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า หุ้นกลุ่มนี้ยังครอบคลุมธุรกิจเยอะมาก เอาเป็นว่า ถ้าคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น การจับจ่ายใช้สอยก็จะดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ก็ถือเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการบริโภค เป็นต้น
โดยมองว่า รอบนี้ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคแบบสิ้นเปลือง หรือใช้แล้วหมดไป จะได้รับอานิสงส์ก่อน และถ้าเมื่อไหร่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขึ้นถึงจุดๆ หนึ่ง คนก็จะเริ่มขยับไปซื้อของแพง หรือสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมาก็เงียบเหงามาพักใหญ่
เซียนหุ้นรายนี้บอกว่า ก่อนหน้านี้ หุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และแบงก์ จะเป็นหุ้นกลุ่มที่นำตลาดมาตลอด ในขณะที่ 1-2 ปีที่ผ่านมา หุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคไม่ค่อยดี ดังนั้น ถ้ารู้จักซื้อหุ้นที่ Downside ในภาวะที่กำลังซบเซา ซึ่งถ้าลองไปค้นดูจะพบบริษัทดีๆ หลายบริษัทที่ราคาตกลงมา ซื้อแล้วค่อนข้างปลอดภัย และถ้าปี 2551 ยอดขายและกำไรเริ่มกลับมาดีขึ้น ก็จะเป็นโอกาสในการลงทุน
"จริงๆ ปีที่มีปัญหา มันก็อาจจะเป็นปีแห่งการซื้อ อย่างพวกหุ้นที่เป็นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ราคาหุ้นก็ไม่ได้ไปไหน เหมือนเราซื้อในช่วงที่มีเหตุการณ์ด้านลบชั่วคราวที่ทำให้ราคาหุ้นตกลงมา แล้วรอไว้ว่าเหตุการณ์ตรงนั้นมันต้องเปลี่ยนแปลง ต้องแก้ไขได้...หุ้นพวกนี้จะดีอย่าง ก็คือ ถึงแม้จะเลวร้ายยังไง แต่ก็ยังมีกำไรพออยู่ได้ ถึงจะบอกว่าแย่มากๆ นั่นก็คือ โตแค่ 5%"
คำถามคือ ราคาหุ้นเพื่อการบริโภคทั้งหลายเหล่านี้ ตอนนี้แพงเกินไปที่จะลงทุนหรือยัง กูรูหุ้นรายนี้ตอบว่า ราคามันยังไม่ได้ขึ้นเลย เพราะสิ่งที่ผมพูดมันกำลังจะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง
แต่สำหรับ ดร.นิเวศน์ ได้ชิงปรับกลยุทธ์การลงทุน และปรับพอร์ตขนานใหญ่ไปตั้งแต่ปี 2550 นำร่องไปก่อนแล้ว
ดังนั้น สำหรับปี 2551 เจ้าตัวบอกว่า คงจะเป็นปีที่อยู่นิ่งๆ หรืออาจจะเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร รอว่าถ้าผลการดำเนินงานและกำไรเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจริงอย่างที่คิด เดี๋ยวราคาหุ้นมันก็ต้องขึ้นตาม
"ปกติผมจะปรับพอร์ตไม่ค่อยบ่อย ปรับครั้งหนึ่งก็จะอยู่ไปหลายปี ดังนั้น ปี 2551 เป็นปีที่ต้องรอเวลา พูดง่ายๆ เพิ่งจะหว่านเมล็ดลงไป ถ้าบอกจะรีบเก็บเกี่ยวเลย มันไม่ใช่วิสัยของเรา"
ดร.นิเวศน์ บอกว่า พอร์ตที่ปรับไปในปี 2550 ส่วนใหญ่ยังเน้นน้ำหนักไปที่หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นหุ้นที่ลงทุนแล้วนอนหลับสบาย เพราะเป็นกิจการที่ Predictable หรือสามารถคาดการณ์ได้สูงมาก ผลการดำเนินงานไม่ค่อยหวือหวา รายได้และมาร์จินค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยพอร์ตการลงทุนที่ปรับใหม่ มีทั้งเพิ่มตัวหุ้นบ้าง และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรดบางตัว
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek สืบทราบมาว่า หุ้น CPALL เจ้าของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ยังครองตำแหน่งหุ้นในดวงใจที่ "ใช่เลย" ของดร.นิเวศน์ และนี่อาจจะเป็นคำเฉลย สำหรับบรรดาสาวก VI ที่สงสัยกันว่า ดร.นิเวศน์ หายไปไหนจากหุ้น SE-ED
"ไม่ใช่ว่าเพราะหุ้น SE-ED ไม่ดี จริงๆ ก็ยังดีมาก เพียงแต่อาจจะมีหุ้นตัวเองที่เรามองว่ามีโอกาสได้ผลตอบแทนดีกว่า ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราก็ปรับพอร์ตไป เพราะเงินของผมร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว เวลาจะซื้อหุ้นตัวใหม่ ก็ต้องขายหุ้นตัวเก่าเอาเงินมาซื้อ แต่วันหนึ่งถ้าเรามีเงิน เราก็อาจจะกลับไปซื้อ SE-ED ใหม่"
ดร.นิเวศน์ บอกว่า พอร์ตใหม่ที่ปรับไปจริงๆ แล้วไม่ได้มองแค่เฉพาะทิศทางปี 2551 แต่มองภาพระยะยาวกว่านั้น โดยเฉพาะเลือกลงทุนในหุ้นที่คิดว่า "ปลอดภัย" ไม่ว่าเกิดภาวะอะไรต่างๆ ยังคงเติบโตยืนหยัดได้ในระยะยาว หรือ Defensive Stock
"จริงๆ มันก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อนทุกปี สำหรับผมถ้าหุ้นไม่ปลอดภัย จะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะถ้ามันไม่ Defensive เหมือนคุณเล่นฟุตบอลแล้วบอกว่ากองหลังไม่ต้อง คือ ลุยไปข้างหน้าหมด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะทำการสู้รบหรือทำสงครามกับใคร มันก็ต้องมี Defensive ที่ดีทั้งนั้นแหละ
ดังนั้น สำหรับผมแล้ว เล่นหุ้นต้อง Defensive ตลอดเวลา ไม่มีคำว่า "ไม่ Defensive" แต่คนชอบไปคิดกันว่าของบางอย่าง เช่น พลังงาน เป็น Defensive เพราะเป็นสินค้าที่ทุกคนต้องใช้ แต่จริงๆ แล้วคำว่า Defensive ในแง่ของธุรกิจ คือ ต้องสามารถควบคุมยอดขาย และรักษาอัตรากำไรโดยมีความเป็นไปได้ที่สูง"
ควรเข้าลงทุนตลาดหุ้นจังหวะไหนดี ดร.นิเวศน์ บอกว่า การลงทุนของผมจะไม่อิงกับตลาด หรือว่าดัชนีเลยนะ คือ จะเข้าไปลงทุนก็ต่อเมื่อเจอบริษัทที่เข้าข่าย คือ เป็น Defensive Stock และปลอดภัย
"คือ ถ้าเราเลือกหุ้นถูกแล้ว โอกาสที่จะขาดทุนมันจะน้อยลงไปมาก ไม่ควรเกิน 20%"
หุ้นกลุ่มพลังงานในปีหน้า จะยังครองบท "พระเอก" หุ้นค้ำตลาดอยู่หรือไม่ ดร.นิเวศน์ บอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีใครตอบได้ มันอาจจะขึ้นหรืออาจจะลงก็ได้ เพราะอิงกับตลาดโลก และปัจจัยภายนอกเยอะมาก ยกตัวอย่าง ใครจะคาดคิดว่าน้ำมันจะขึ้นไปถึง 100 ดอลลาร์ ดังนั้น พวกนี้มันก็คือการเก็งกำไร โอกาสขึ้นหรือลง มัน 50:50 ธรรมชาติของหุ้นแบบนี้ คนที่จะลงทุนก็ต้องมีหัวใจที่แข็งแรง
"แต่สำหรับเรา เราก็ไม่อยากไปเล่นกับอะไรที่โอกาสขึ้นลงมัน 50: 50 เพราะผมอยากให้โอกาสของผมมัน 70-80% มากกว่า"
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ดร.นิเวศน์ รักปักใจกับหุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรดเป็นพิเศษ โดยยอมรับว่า เลือกที่จะทุ่มน้ำหนักลงทุน "เกินครึ่ง" ของพอร์ตในหุ้นกลุ่มนี้
ถามว่า เทน้ำหนักมากๆ ไว้ในหุ้นกลุ่มเดียวขนาดนี้ ไม่เสี่ยงไปหรือ ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า การลงทุนเราต้องเข้าใจตัวธุรกิจ ลักษณะหุ้นที่ผมถือ ผลกระทบที่แรงก็คือภาวะเศรษฐกิจ ที่อาจทำให้ธุรกิจมันชะลอ หรือกำไรโตน้อยลง หรือไม่โต แต่โอกาสมันไม่ได้อยู่ระหว่างกำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ กับขาดทุนร้อยเปอร์เซ็นต์
นั่นคือดูแล้วว่าปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อกำไรและยอดขายของบริษัท มันมี Range หรือตัวแปรที่แคบ ดังนั้น เราถึงไม่กลัวไง ยกตัวอย่าง โอกาสดีกับไม่ดี มันจะระหว่างโตบวก 5% กับบวก 15% อย่างนี้คุณจะไปกลัวอะไร มันไม่ใช่ธุรกิจที่ถ้าดี คือ โตบวก 20% แต่ถ้าแย่ คือ ติดลบ 20%
นอกจากนี้ ดร.นิเวศน์ ยังมองว่า หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด น่าจะถือว่าเป็น "เวฟ" หรือคลื่น ที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการของโมเดิร์นเทรด ซึ่งจะเห็นเส้นทางชัดเจนว่า การเติบโตของธุรกิจกลุ่มนี้ค่อนข้างสม่ำเสมอ และมั่นคงมาก
"ภายใน 5 ปีจากนี้ หรือถึงปี 2555 โอกาสที่ธุรกิจนี้จะเติบโตปีละ 10% มันชัดเจน ไม่มีอะไรมาขวางได้ ยกเว้นกฎหมายพ.ร.บ.ค้าปลีก แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายออกมา ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจะขยายไม่ได้ ขณะที่อีกด้านหนึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ได้ มันเลยจุดที่จะมีคู่แข่งใหม่เข้ามาแข่งขันแล้ว การเติบโตอาจไม่ถึงขั้นเร็วมาก แต่ก็เร็วพอประมาณ พอใช้ได้ แต่ความมั่นคงมันสูงมาก ซึ่งมันตรงกับพฤติกรรมหรือสไตล์การลงทุนของผม" ดร.นิเวศน์กล่าวทิ้งท้าย
----------------------------------
Bizweek 4 ม.ค. 51
ปีชวด (ปีหนู)..เล่นหุ้นอย่างไรไม่ให้ "ชวด" (ผิดหวัง) แหม!! ตั้งคำถามง่าย แต่จะเอาตัวรอดอย่างไรดีล่ะ การเมืองก็ง่อนแง่น ปตท.ก็โงกเงก เศรษฐกิจก็ง่วงเหงา ภาวะอย่างนี้ "เซียน" ต่างก็ลงรู "หมู" กลับบ้านเก่า ลงกองไฟไปนานแล้วครับ เอ้า! แล้ว "หนู" ปีนี้จะอยู่ยังไง ต้องไปถามเซียน Value..อยากอยู่ตึกจะทำยังไงดี! อาจารย์นิเวศน์ช่วยข้าน้อยด้วย!!!
---------------------------------------------------------
มีโอกาสที่แนวโน้มหุ้นในปี 2551 หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคจะเริ่มกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง และมุมมองส่วนตัวคิดว่า รอบของธุรกิจพลังงานที่ขึ้นมาหลายปี อาจจะเริ่มชะลอตัวลง
----------------------------------------------------------
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ต้นตำรับการลงทุน "เซียนหุ้นมูลค่า" ของเมืองไทย มองย้อนผลตอบแทนการลงทุนรอบปี 2550 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ว่า..
"สำหรับผมถือเป็นปีที่ "เสมอตัว" หรือเรียกได้ว่าเป็นปีที่ "เกียร์ว่าง" ในแง่ผลตอบแทนการลงทุน ทั้งที่ผลตอบแทนตลาดหุ้นโดยรวมนับว่าค่อนข้างดี คือ มีผลตอบแทนประมาณ 20% แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ ปตท. หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มบริษัทใหญ่ราวๆ สิบตัว ซึ่งผมเองไม่ได้สนใจลงทุนในหุ้นกลุ่มพวกนี้เท่าไหร่"
เป็นที่รู้กันว่า หุ้นในพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ ส่วนใหญ่จะเทน้ำหนักให้กับ "กลุ่มโมเดิร์นเทรด" หรือกลุ่มค้าปลีกภายในประเทศ ซึ่งดร.ได้วิเคราะห์ว่า ปีที่ผ่านมา เป็นปีที่เศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศซบเซามาก เลยทำให้หุ้นที่ถืออยู่เหล่านี้กลายเป็น "เกียร์ว่าง" ไป เพราะผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา ค่อนข้าง "ทรงๆ"
"แต่ก็ไม่ได้เสียหาย หรือเป็นกลยุทธ์ที่ผิดอะไร เพียงแต่ว่าเราต้องรอเวลาของมัน หมายความว่าปีนี้เกียร์ว่างไปหนึ่งปี แต่ปีต่อไป มันควรจะเร่งสปีด เป็นเกียร์สูงๆ ที่วิ่งเร็วหน่อย ซึ่งอันนี้เกิดได้เสมอ"
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2550 ดร.นิเวศน์ เคยประเมินไว้ว่า เป็นปีที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง และแนวทางการลงทุนควรต้องเน้นความปลอดภัย เลือกหุ้นประเภท Defensive Stock
แต่สำหรับปี 2551 เซียนหุ้นมูลค่ารายนี้ วิเคราะห์ทิศทางการลงทุนน่าจะดีขึ้น หลังจากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเข้ามาเร่งอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะทำให้การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น
ดังนั้น มีโอกาสที่แนวโน้มในปี 2551 หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคจะเริ่มกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง รวมทั้งมีมุมมองส่วนตัวว่า รอบของธุรกิจพลังงานที่ขึ้นมาหลายปี อาจจะเริ่มชะลอตัวลง
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การบริโภคก็จะต้องดีขึ้น โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จะปรับตัวดีขึ้นทุกครั้งที่ราคาน้ำมันลดลง
สำหรับหุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคที่ว่า นอกจากจะครอบคลุมหุ้นกลุ่มค้าปลีกและโมเดิร์นเทรดแล้ว ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า หุ้นกลุ่มนี้ยังครอบคลุมธุรกิจเยอะมาก เอาเป็นว่า ถ้าคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น การจับจ่ายใช้สอยก็จะดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ก็ถือเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการบริโภค เป็นต้น
โดยมองว่า รอบนี้ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคแบบสิ้นเปลือง หรือใช้แล้วหมดไป จะได้รับอานิสงส์ก่อน และถ้าเมื่อไหร่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขึ้นถึงจุดๆ หนึ่ง คนก็จะเริ่มขยับไปซื้อของแพง หรือสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมาก็เงียบเหงามาพักใหญ่
เซียนหุ้นรายนี้บอกว่า ก่อนหน้านี้ หุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และแบงก์ จะเป็นหุ้นกลุ่มที่นำตลาดมาตลอด ในขณะที่ 1-2 ปีที่ผ่านมา หุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคไม่ค่อยดี ดังนั้น ถ้ารู้จักซื้อหุ้นที่ Downside ในภาวะที่กำลังซบเซา ซึ่งถ้าลองไปค้นดูจะพบบริษัทดีๆ หลายบริษัทที่ราคาตกลงมา ซื้อแล้วค่อนข้างปลอดภัย และถ้าปี 2551 ยอดขายและกำไรเริ่มกลับมาดีขึ้น ก็จะเป็นโอกาสในการลงทุน
"จริงๆ ปีที่มีปัญหา มันก็อาจจะเป็นปีแห่งการซื้อ อย่างพวกหุ้นที่เป็นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ราคาหุ้นก็ไม่ได้ไปไหน เหมือนเราซื้อในช่วงที่มีเหตุการณ์ด้านลบชั่วคราวที่ทำให้ราคาหุ้นตกลงมา แล้วรอไว้ว่าเหตุการณ์ตรงนั้นมันต้องเปลี่ยนแปลง ต้องแก้ไขได้...หุ้นพวกนี้จะดีอย่าง ก็คือ ถึงแม้จะเลวร้ายยังไง แต่ก็ยังมีกำไรพออยู่ได้ ถึงจะบอกว่าแย่มากๆ นั่นก็คือ โตแค่ 5%"
คำถามคือ ราคาหุ้นเพื่อการบริโภคทั้งหลายเหล่านี้ ตอนนี้แพงเกินไปที่จะลงทุนหรือยัง กูรูหุ้นรายนี้ตอบว่า ราคามันยังไม่ได้ขึ้นเลย เพราะสิ่งที่ผมพูดมันกำลังจะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง
แต่สำหรับ ดร.นิเวศน์ ได้ชิงปรับกลยุทธ์การลงทุน และปรับพอร์ตขนานใหญ่ไปตั้งแต่ปี 2550 นำร่องไปก่อนแล้ว
ดังนั้น สำหรับปี 2551 เจ้าตัวบอกว่า คงจะเป็นปีที่อยู่นิ่งๆ หรืออาจจะเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร รอว่าถ้าผลการดำเนินงานและกำไรเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจริงอย่างที่คิด เดี๋ยวราคาหุ้นมันก็ต้องขึ้นตาม
"ปกติผมจะปรับพอร์ตไม่ค่อยบ่อย ปรับครั้งหนึ่งก็จะอยู่ไปหลายปี ดังนั้น ปี 2551 เป็นปีที่ต้องรอเวลา พูดง่ายๆ เพิ่งจะหว่านเมล็ดลงไป ถ้าบอกจะรีบเก็บเกี่ยวเลย มันไม่ใช่วิสัยของเรา"
ดร.นิเวศน์ บอกว่า พอร์ตที่ปรับไปในปี 2550 ส่วนใหญ่ยังเน้นน้ำหนักไปที่หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นหุ้นที่ลงทุนแล้วนอนหลับสบาย เพราะเป็นกิจการที่ Predictable หรือสามารถคาดการณ์ได้สูงมาก ผลการดำเนินงานไม่ค่อยหวือหวา รายได้และมาร์จินค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยพอร์ตการลงทุนที่ปรับใหม่ มีทั้งเพิ่มตัวหุ้นบ้าง และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรดบางตัว
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek สืบทราบมาว่า หุ้น CPALL เจ้าของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ยังครองตำแหน่งหุ้นในดวงใจที่ "ใช่เลย" ของดร.นิเวศน์ และนี่อาจจะเป็นคำเฉลย สำหรับบรรดาสาวก VI ที่สงสัยกันว่า ดร.นิเวศน์ หายไปไหนจากหุ้น SE-ED
"ไม่ใช่ว่าเพราะหุ้น SE-ED ไม่ดี จริงๆ ก็ยังดีมาก เพียงแต่อาจจะมีหุ้นตัวเองที่เรามองว่ามีโอกาสได้ผลตอบแทนดีกว่า ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราก็ปรับพอร์ตไป เพราะเงินของผมร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว เวลาจะซื้อหุ้นตัวใหม่ ก็ต้องขายหุ้นตัวเก่าเอาเงินมาซื้อ แต่วันหนึ่งถ้าเรามีเงิน เราก็อาจจะกลับไปซื้อ SE-ED ใหม่"
ดร.นิเวศน์ บอกว่า พอร์ตใหม่ที่ปรับไปจริงๆ แล้วไม่ได้มองแค่เฉพาะทิศทางปี 2551 แต่มองภาพระยะยาวกว่านั้น โดยเฉพาะเลือกลงทุนในหุ้นที่คิดว่า "ปลอดภัย" ไม่ว่าเกิดภาวะอะไรต่างๆ ยังคงเติบโตยืนหยัดได้ในระยะยาว หรือ Defensive Stock
"จริงๆ มันก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อนทุกปี สำหรับผมถ้าหุ้นไม่ปลอดภัย จะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะถ้ามันไม่ Defensive เหมือนคุณเล่นฟุตบอลแล้วบอกว่ากองหลังไม่ต้อง คือ ลุยไปข้างหน้าหมด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะทำการสู้รบหรือทำสงครามกับใคร มันก็ต้องมี Defensive ที่ดีทั้งนั้นแหละ
ดังนั้น สำหรับผมแล้ว เล่นหุ้นต้อง Defensive ตลอดเวลา ไม่มีคำว่า "ไม่ Defensive" แต่คนชอบไปคิดกันว่าของบางอย่าง เช่น พลังงาน เป็น Defensive เพราะเป็นสินค้าที่ทุกคนต้องใช้ แต่จริงๆ แล้วคำว่า Defensive ในแง่ของธุรกิจ คือ ต้องสามารถควบคุมยอดขาย และรักษาอัตรากำไรโดยมีความเป็นไปได้ที่สูง"
ควรเข้าลงทุนตลาดหุ้นจังหวะไหนดี ดร.นิเวศน์ บอกว่า การลงทุนของผมจะไม่อิงกับตลาด หรือว่าดัชนีเลยนะ คือ จะเข้าไปลงทุนก็ต่อเมื่อเจอบริษัทที่เข้าข่าย คือ เป็น Defensive Stock และปลอดภัย
"คือ ถ้าเราเลือกหุ้นถูกแล้ว โอกาสที่จะขาดทุนมันจะน้อยลงไปมาก ไม่ควรเกิน 20%"
หุ้นกลุ่มพลังงานในปีหน้า จะยังครองบท "พระเอก" หุ้นค้ำตลาดอยู่หรือไม่ ดร.นิเวศน์ บอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีใครตอบได้ มันอาจจะขึ้นหรืออาจจะลงก็ได้ เพราะอิงกับตลาดโลก และปัจจัยภายนอกเยอะมาก ยกตัวอย่าง ใครจะคาดคิดว่าน้ำมันจะขึ้นไปถึง 100 ดอลลาร์ ดังนั้น พวกนี้มันก็คือการเก็งกำไร โอกาสขึ้นหรือลง มัน 50:50 ธรรมชาติของหุ้นแบบนี้ คนที่จะลงทุนก็ต้องมีหัวใจที่แข็งแรง
"แต่สำหรับเรา เราก็ไม่อยากไปเล่นกับอะไรที่โอกาสขึ้นลงมัน 50: 50 เพราะผมอยากให้โอกาสของผมมัน 70-80% มากกว่า"
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ดร.นิเวศน์ รักปักใจกับหุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรดเป็นพิเศษ โดยยอมรับว่า เลือกที่จะทุ่มน้ำหนักลงทุน "เกินครึ่ง" ของพอร์ตในหุ้นกลุ่มนี้
ถามว่า เทน้ำหนักมากๆ ไว้ในหุ้นกลุ่มเดียวขนาดนี้ ไม่เสี่ยงไปหรือ ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า การลงทุนเราต้องเข้าใจตัวธุรกิจ ลักษณะหุ้นที่ผมถือ ผลกระทบที่แรงก็คือภาวะเศรษฐกิจ ที่อาจทำให้ธุรกิจมันชะลอ หรือกำไรโตน้อยลง หรือไม่โต แต่โอกาสมันไม่ได้อยู่ระหว่างกำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ กับขาดทุนร้อยเปอร์เซ็นต์
นั่นคือดูแล้วว่าปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อกำไรและยอดขายของบริษัท มันมี Range หรือตัวแปรที่แคบ ดังนั้น เราถึงไม่กลัวไง ยกตัวอย่าง โอกาสดีกับไม่ดี มันจะระหว่างโตบวก 5% กับบวก 15% อย่างนี้คุณจะไปกลัวอะไร มันไม่ใช่ธุรกิจที่ถ้าดี คือ โตบวก 20% แต่ถ้าแย่ คือ ติดลบ 20%
นอกจากนี้ ดร.นิเวศน์ ยังมองว่า หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด น่าจะถือว่าเป็น "เวฟ" หรือคลื่น ที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการของโมเดิร์นเทรด ซึ่งจะเห็นเส้นทางชัดเจนว่า การเติบโตของธุรกิจกลุ่มนี้ค่อนข้างสม่ำเสมอ และมั่นคงมาก
"ภายใน 5 ปีจากนี้ หรือถึงปี 2555 โอกาสที่ธุรกิจนี้จะเติบโตปีละ 10% มันชัดเจน ไม่มีอะไรมาขวางได้ ยกเว้นกฎหมายพ.ร.บ.ค้าปลีก แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายออกมา ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจะขยายไม่ได้ ขณะที่อีกด้านหนึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ได้ มันเลยจุดที่จะมีคู่แข่งใหม่เข้ามาแข่งขันแล้ว การเติบโตอาจไม่ถึงขั้นเร็วมาก แต่ก็เร็วพอประมาณ พอใช้ได้ แต่ความมั่นคงมันสูงมาก ซึ่งมันตรงกับพฤติกรรมหรือสไตล์การลงทุนของผม" ดร.นิเวศน์กล่าวทิ้งท้าย
----------------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 4337
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 2
ค่าสถิติสำคัญ (ณ วันที่ 04 ม.ค. 2551)cpall
P/E (เท่า) 40.33 อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) 2.33
P/BV(เท่า) 5.43 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) 47,831.41
ราคา10.70บาท ไม่ใช่ราคาที่น่าลนใจ
P/E (เท่า) 40.33 อัตราเงินปันผลตอบแทน (%) 2.33
P/BV(เท่า) 5.43 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) 47,831.41
ราคา10.70บาท ไม่ใช่ราคาที่น่าลนใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 493
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 3
ค่า PE ที่คุณ Yoko บอกมาเป็น trailing PE ครับ... (ใช้ E historical), แต่ถ้าใช้ E อนาคตจะเหลือ PE ถูกกว่านี้พอสมควรครับ
สาเหตุเพราะว่า cpall ขาดทุน lotus จีนมากมาย แต่ตอนนี้ออกข่าวมาว่าจะขายเสร็จภายในกลางปีหน้า (จริงๆบอกจะขายตั้งแต่ Q1 ปีที่แล้วมั้ง แต่ยืดมาเรื่อยๆ)..... หากเอา ค่า PE โดยที่ไม่มีจีนอยู่เนี่ย ณ ราคานี้ PE ไม่ถึง 40 แน่นอนคร้บ เพราะกำไรหายไปเกือบครึ่งจาก lotus จีน แต่จะถูกหรือแพงก็อีกเรื่องนึง
สาเหตุเพราะว่า cpall ขาดทุน lotus จีนมากมาย แต่ตอนนี้ออกข่าวมาว่าจะขายเสร็จภายในกลางปีหน้า (จริงๆบอกจะขายตั้งแต่ Q1 ปีที่แล้วมั้ง แต่ยืดมาเรื่อยๆ)..... หากเอา ค่า PE โดยที่ไม่มีจีนอยู่เนี่ย ณ ราคานี้ PE ไม่ถึง 40 แน่นอนคร้บ เพราะกำไรหายไปเกือบครึ่งจาก lotus จีน แต่จะถูกหรือแพงก็อีกเรื่องนึง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 4
PE ไม่ถึง 40 แน่นอนคร้บ เพราะกำไรหายไปเกือบครึ่งจาก lotus จีน แต่จะถูกหรือแพงก็อีกเรื่องนึง
ปีนี้ cpall กำไร หัก โลตัส ก็คงได้ 2700 ล้าน คำนวณแล้ว pe เท่าไรหว่า
แพงสุดๆ
ผมก็รอต่อไป รอซื้อ cpall มา 4-5 ปีแล้วครับ
ปีนี้ cpall กำไร หัก โลตัส ก็คงได้ 2700 ล้าน คำนวณแล้ว pe เท่าไรหว่า
แพงสุดๆ
ผมก็รอต่อไป รอซื้อ cpall มา 4-5 ปีแล้วครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 413
- ผู้ติดตาม: 0
g
โพสต์ที่ 7
por_jai เขียน: พี่นิวบี ตั้งใจจะเขียนว่าหุ้นหลุมนี้ อ่ะเปล่าครับ
Even Sir Isaac Newton loss in stock market
"You can't predict the future, because the future depends on how you react to it."
ซื้อหุ้นเมื่อคนส่วนใหญ่หมดศรัทธาในหุ้นและเทขายอยู่ นั่นคือเวลาตี5ในการจ่ายตลาด....จาก สอง ว. ผู้ยิ่งใหญ่
"You can't predict the future, because the future depends on how you react to it."
ซื้อหุ้นเมื่อคนส่วนใหญ่หมดศรัทธาในหุ้นและเทขายอยู่ นั่นคือเวลาตี5ในการจ่ายตลาด....จาก สอง ว. ผู้ยิ่งใหญ่
-
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
ความเสี่ยงของ CPALL
โพสต์ที่ 8
เท่าที่ตามข่าว ผมว่ามีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของ CPALL อยู่เรื่องหนึ่งครับ คือ ร้าน 7 ที่อยู่ใน PTT จำนวนประมาณ 600 สาขา
เนื่องจาก PTT take JET ไปเมื่อปีที่แล้ว โดย knowhow สำคัญที่ PTT ต้องการได้ คือการจัดการร้าน JIFFY ที่เป็นแม่เหล็กในการดึงคนเข้าปั้ม และช่วยเพิ่ม margin ของธุรกิจอีกทางหนึ่ง (margin สูงกว่าธุรกิจน้ำมันพอสมควร)
ผมว่าใครจะลงทุนใน CPALL คงต้องตามข่าวอย่างใกล้ชิดนะครับ
หากเพื่อนๆ สังเกตดี ๆ ตอนนี้ 7 เริ่มกระจายความเสี่ยงตรงจุดนี้โดยเริ่มเปิดร้าน ขายยา ร้านเบเกอรรี่ มากขึ้นแทน แต่ผมว่าการกระจายไปใสนธุรกิจที่ไม่ถนัด ก็อาจเป็นความเสี่ยงมากกว่านะครับ ถ้าไงก็ลองตามดูนะครับ
เนื่องจาก PTT take JET ไปเมื่อปีที่แล้ว โดย knowhow สำคัญที่ PTT ต้องการได้ คือการจัดการร้าน JIFFY ที่เป็นแม่เหล็กในการดึงคนเข้าปั้ม และช่วยเพิ่ม margin ของธุรกิจอีกทางหนึ่ง (margin สูงกว่าธุรกิจน้ำมันพอสมควร)
ผมว่าใครจะลงทุนใน CPALL คงต้องตามข่าวอย่างใกล้ชิดนะครับ
หากเพื่อนๆ สังเกตดี ๆ ตอนนี้ 7 เริ่มกระจายความเสี่ยงตรงจุดนี้โดยเริ่มเปิดร้าน ขายยา ร้านเบเกอรรี่ มากขึ้นแทน แต่ผมว่าการกระจายไปใสนธุรกิจที่ไม่ถนัด ก็อาจเป็นความเสี่ยงมากกว่านะครับ ถ้าไงก็ลองตามดูนะครับ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1766
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 10
ทำตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบจริงๆ ครับบริษัทนี้Solomon เขียน:หากเพื่อนๆ สังเกตดี ๆ ตอนนี้ 7 เริ่มกระจายความเสี่ยงตรงจุดนี้โดยเริ่มเปิดร้าน ขายยา ร้านเบเกอรรี่ มากขึ้นแทน แต่ผมว่าการกระจายไปใสนธุรกิจที่ไม่ถนัด ก็อาจเป็นความเสี่ยงมากกว่านะครับ ถ้าไงก็ลองตามดูนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของ CPALL
โพสต์ที่ 12
ร้าน 7-11 ในปั๊มน้ำมัน มากขนาดนั้นเลยหรือครับ ไม่คิดมากก่อนเลยSolomon เขียน:เท่าที่ตามข่าว ผมว่ามีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของ CPALL อยู่เรื่องหนึ่งครับ คือ ร้าน 7 ที่อยู่ใน PTT จำนวนประมาณ 600 สาขา
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 590
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 15
การบริหารสไตล์CP
บริษัทมหาชนในเครือ CP
จะเน้นการขยายรายได้ซึ่งทำได้สำเร็จทุกบริษัททั้ง
CPF ,TRUE และ CPALL รายได้เติบโตอบ่งาต่อเนื่อง
แต่กำไรไม่เติบโตเลยซักบริษัท
กำไรกลับไปเติบโตในบริษัทที่ไม่อยู่ในตลาด
นับเป็นการบริหารที่คงเส้นคงวาจริงๆ
บริษัทมหาชนในเครือ CP
จะเน้นการขยายรายได้ซึ่งทำได้สำเร็จทุกบริษัททั้ง
CPF ,TRUE และ CPALL รายได้เติบโตอบ่งาต่อเนื่อง
แต่กำไรไม่เติบโตเลยซักบริษัท
กำไรกลับไปเติบโตในบริษัทที่ไม่อยู่ในตลาด
นับเป็นการบริหารที่คงเส้นคงวาจริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 4337
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 16
CPALL
ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2550
มีผลกำไรสุทธิ 262.84 ล้านบาท
ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2549 จำนวน 119.56 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 31 เนื่องจาก
- ผลการดำเนินงานจากส่วนงานธุรกิจอื่น มีกำไรสุทธิลดลง 79 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 56
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นจำนวน 997 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2550
มีผลกำไรสุทธิ 262.84 ล้านบาท
ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2549 จำนวน 119.56 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 31 เนื่องจาก
- ผลการดำเนินงานจากส่วนงานธุรกิจอื่น มีกำไรสุทธิลดลง 79 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 56
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นจำนวน 997 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
- BOONPARUEY
- Verified User
- โพสต์: 184
- ผู้ติดตาม: 0
'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 51 ฉบับ หนูอยู่ตึก
โพสต์ที่ 22
... เส้นทาง เครือเจริญโภคภัณท์ กับ เส้นทางเครือสหพัฒน์ มีมิติแตกต่าง ...
... เครือหนึ่่งเติบโตด้วยคุณลักษณะ ( ปัจจัยเชิงคุณภาพ ) ...
... เครือหนึ่งเติบโตด้วยบุคคลิกภาพ ( ปัจจัยเชิงปริมาณ ) ...
... เครือหนึ่งต้องดิ้นรนใช้การเมืองช่วย ...
... เครือหนึ่งเติบโตด้วยการค้าต่างตอบแทน ( เพื่อพนักงาน - เพื่อลูกค้า -เพื่อคู่ค้า ) ...
... เครือหนึ่งเน้นสร้างผู้ประกอบการรายย่อย(เพื่อเป็นฐานตัวเองระยะยาว ) ...
... เครือหนึ่งเน้น WIN - WIN กับทุกภาคส่วนที่เกียวข้องกับธุรกิจ ...
... เครือหนึ่งนักลงทุนได้น้อย แต่โตร่วมไปด้วยยาวนาน ...
... เครือหนึ่งนักลงทุนจะต้องรอเวลา และ ลุ้นระทึกยาวนาน ...
... ศึกษารากฐานความเป็นมาของสองเครือแล้วจะเห็นความแตกต่าง ...
... หลุมพลางความล้มเหลวของธุรกิจ และ การค้าของพ่อค้าไทย คือ ปัจจัยเชิงปริมาณ ...
... นักลงทุนแนว VI ต้องระวัง ปัจจัยเชิงปริมาณ ...
... นักลงทุนที่เกาะเกี่ยวไปกับคุณลักษณะ ( ปัจจัยเขิงคุณภาพ ) นอนหลับสบาย ...
... เครือหนึ่่งเติบโตด้วยคุณลักษณะ ( ปัจจัยเชิงคุณภาพ ) ...
... เครือหนึ่งเติบโตด้วยบุคคลิกภาพ ( ปัจจัยเชิงปริมาณ ) ...
... เครือหนึ่งต้องดิ้นรนใช้การเมืองช่วย ...
... เครือหนึ่งเติบโตด้วยการค้าต่างตอบแทน ( เพื่อพนักงาน - เพื่อลูกค้า -เพื่อคู่ค้า ) ...
... เครือหนึ่งเน้นสร้างผู้ประกอบการรายย่อย(เพื่อเป็นฐานตัวเองระยะยาว ) ...
... เครือหนึ่งเน้น WIN - WIN กับทุกภาคส่วนที่เกียวข้องกับธุรกิจ ...
... เครือหนึ่งนักลงทุนได้น้อย แต่โตร่วมไปด้วยยาวนาน ...
... เครือหนึ่งนักลงทุนจะต้องรอเวลา และ ลุ้นระทึกยาวนาน ...
... ศึกษารากฐานความเป็นมาของสองเครือแล้วจะเห็นความแตกต่าง ...
... หลุมพลางความล้มเหลวของธุรกิจ และ การค้าของพ่อค้าไทย คือ ปัจจัยเชิงปริมาณ ...
... นักลงทุนแนว VI ต้องระวัง ปัจจัยเชิงปริมาณ ...
... นักลงทุนที่เกาะเกี่ยวไปกับคุณลักษณะ ( ปัจจัยเขิงคุณภาพ ) นอนหลับสบาย ...
... " บุญ คือ เสบียงของคนไม่ประมาท " พุทธตรัส ...