SE-ED/APRINT/B2S
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 31
ส่วนตัวผมเข้า SE-ED บ่อยมากครับ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เนื่องจากอยู่ชานเมือง
และไปเดิน LOTUS เกือบทุกอาทิตย์
ผมคิดว่า SE-ED มีจุดเด่นเรื่องจำนวนสาขา ที่สามารถเข้าถึงง่าย
มีจำนวนมาก และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
แต่ใน กทม. และเมืองใหญ่ ๆ ไม่รู้ว่า B2S จะมีเฉพาะในห้าง Central / Big C หรือเปล่า
ถ้าจะดูเรื่องรายได้หรือกำไร คงต้องดูเปรียบเทียบขนาดพท. และต่อสาขาด้วย
และไปเดิน LOTUS เกือบทุกอาทิตย์
ผมคิดว่า SE-ED มีจุดเด่นเรื่องจำนวนสาขา ที่สามารถเข้าถึงง่าย
มีจำนวนมาก และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
แต่ใน กทม. และเมืองใหญ่ ๆ ไม่รู้ว่า B2S จะมีเฉพาะในห้าง Central / Big C หรือเปล่า
ถ้าจะดูเรื่องรายได้หรือกำไร คงต้องดูเปรียบเทียบขนาดพท. และต่อสาขาด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 32
ทั้ง 3 ร้าน (B2S, SE-ED และนายอินทร์) มี business model ต่างกัน จับลูกค้าคนละกลุ่มเป้าหมายกัน
ขอวิเคราะห์ตามประสบการณ์ของคนที่เคยเดินเข้าทุกร้าน และจากข้อมูลที่เก็บตามหนังสือพิมพ์ และที่เคยได้รับทราบจากผู้บริหารของ SE-ED ในวันพบนักลงทุน
B2S เกิดจากการรวมแผนกหนังสือ แผนกเครื่องเขียน และเพลง ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งระยะหลังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงเอามารวมกันในพื้นที่เดียวกัน และจัดรูปแบบใหม่ตามแนวโน้มของ life style ของคนรุ่นใหม่ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น B2S ซึ่งเป็น Business Unit หนึ่งในกลุ่ม Central Retail Corporation ดังนั้น สินค้าในร้านจึงมีขายหนังสือ เครื่องเขียน เพลง ของที่ระลึก โดยหนังสือมีสัดส่วน 30-40% ของยอดขายทั้งหมด นั่นคือ ภาพพจน์เป็นร้านหนังสือ แต่สินค้าที่ขายมากจริงกลับเป็นเครื่องเขียน ซึ่งจะเห็นได้ว่า สินค้าขายหลักของ B2S ที่เห็นจ่ายเงินที่แคชเชียร์ มักจะเป็นเครื่องเขียน ไม่ใช่หนังสือ
สาขาที่มีเสน่ห์ และประสบความสำเร็จดีของ B2S จะเป็นสาขาขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ระหว่าง 1000-3000 ตารางเมตร โดยจะมีขายกาแฟ และมีที่นั่งอ่านหนังสือด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในห้างเซ็นทรัล และโรบินสัน (เท่าที่ดู ในกรณีโรบินสัน จะประสบความสำเร็จเฉพาะโรบินสันบางสาขาที่ยอดขายเยอะ และมีลูกค้าเป็นกลุ่ม B+) ซึ่งมีค่าพื้นที่ถูกเนื่องจากเป็นห้างของกลุ่มเดียวกัน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ลูกค้าหลัก จะเป็นลูกค้าที่นิยมใช้บริการห้างเซ็นทรัลในกรุงเทพ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า B+ และต้องการ Life Style ที่มากกว่าลูกค้าของ SE-ED และนายอินทร์
แต่ถ้าเป็นการไปลงในพื้นที่ของศูนย์การค้าอื่น รวมทั้งรูปแบบ Standalone โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้างอื่นในต่างจังหวัด B2S จะใช้โมเดลพื้นที่เล็กลงเหลือเพียง 200-300 ตารางเมตร เพื่อให้ค่าเช่าไม่แพงนัก ทำให้ไม่มีมุมกาแฟ ไม่มีที่นั่งอ่านหนังสือ เสน่ห์จะน้อยลงมาก การที่ต้องการค่าเช่าต่ำ ทำให้มักจะต้องขึ้นไปอยู่ชั้นบนๆ ซึ่งถือว่าทำเลไม่ดีนัก จึงเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันมาก และไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าเท่าที่ควร
เคยเห็น B2S เปิดในโลตัส บางกะปิ ชั้น 1 ซึ่งทำเลดีพอสมควร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนต้องลดพื้นที่ลงเรื่อยๆ เข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าในโลตัสไม่ตรงกับสินค้าของ B2S หลังจากนั้น ไม่ได้ข่าวการเปิดในโลตัสอีกเลย แม้แต่การเปิดใน Big C ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน เพราะขนาดเล็กเกินกว่าจะสร้างเสน่ห์ และทำกำไรได้ ขณะเดียวกันลูกค้าก็ไม่ตรงกลุ่มความถนัดของ B2S ทำให้ได้ข่าวว่าในอนาคต B2S จะลดการขยายสาขาในพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ และมาเอาดีในกลุ่มเป้าหมายที่ตนถนัดเท่านั้น
ดังนั้น การเติบโตหลักในอนาคต น่าจะเป็นไปตามการเติบโตของห้างเซ็นทรัลเป็นหลัก (ซึ่งช่วงนี้ทางเซ็นทรัลพัฒนา มีการออกข่าวขยายงานหลายสาขาในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า) ด้วยข้อจำกัดของความเป็นเซ็นทรัล และโมเดลธุรกิจที่ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ (เนื่องจากขายหลายอย่าง) และต้องการกลุ่มลูกค้า B+ ทำให้หาทำเลเพิ่มไม่ง่ายนัก อย่างเป้าหมายในปี 2550 ลดจากเป้าหมายเดิม 10 สาขา ลงเหลือเพียง 5 สาขาเท่านั้น ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า Business Model ขนาดเล็กและกลางยังไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นตัวถ่วงทำให้ B2S ขาดทุน หรือแทบจะไม่สามารถทำกำไรได้เลย จึงชะลอตัวก่อน
ตามข่าว (ถ้าจำไม่ผิด) บอกว่า B2S ตั้งเป้าหมายยอดขายปี 2550 ไว้ที่เกือบ 4,000 ล้านบาท โดยจะมีสัดส่วนหนังสือประมาณ 30-40% นั่นคือ ยอดขายสินค้าพวกหนังสือตกประมาณ 1,200-1,600 ล้านบาทในปี 2550
ส่วน SE-ED เน้นการเปิดสาขาในดิสเคาน์สโตร์อย่าง Tesco Lotus, Big C, คาร์ฟูร์ ห้างสรรพสินค้าทั่วไปทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด (รวมเซ็นทรัล เดอะมอลล์ และห้างอื่นๆ) และในสถาบันการศึกษา ขนาดส่วนใหญ่จะป็น 100-200 ตารางเมตร ซึ่งมักจะลงในดิสเคาน์สโตร์ หรือห้างขนาดเล็ก ถ้ามากกว่านั้น เช่น 300-600 ตารางเมตร จะลงในห้างขนาดใหญ่ที่มีคนเยอะ อย่างในห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่
ตามเอกสารของ SE-ED บอกว่าตั้งเป้าหมายปี 2550 ไว้ที่ 4,100 ล้านบาท ข้อมูลเดิมบอกว่ารายได้ของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เป็นประมาณ 85% ของทั้งหมด และถ้าคิดว่าร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ขายสินค้าหนังสือประมาณ 90% ของทั้งหมด นั่นคือ ยอดขายสินค้าพวกหนังสือตกประมาณ 3,137 บาทในปี 2550 ซึ่งมากกว่า B2S ตามสมควร คือ เป็นประมาณ 2-2.6 เท่าของ B2S
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจำนวน transaction ที่ B2S เพิ่งออกข่าวมาว่ามีประมาณ 1.5 ล้านบิลต่อเดือน ส่วนร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เคยชี้แจงว่ามีลูกค้าซื้อประมาณมากกว่า 2.5 ล้านบิลต่อเดือน ขณะที่ยอดขายหลักของ B2S มาจากเครื่องเขียน ดังนั้น ถ้ามองในมุมนี้ ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ก็น่าจะมียอดขายหนังสือมากกว่า B2S อย่างชัดเจน
แต่ถ้าติดเป็นยอดขายเฉลี่ยต่อสาขา B2S คงมากกว่า SE-ED เพราะแม้ SE-ED จะมีจำนวนสาขามากกว่า (B2S คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีสาขาใหญ่และเล็กรวมกัน 135 สาขา ส่วน SE-ED คาดว่าสิ้นปีจะมีสาขาประมาณมากกว่า 271 สาขา โดยไม่นับจุดขายย่อย) แต่มีพื้นที่เฉลี่ยต่อสาขาน้อยกว่าพื้นที่ของ B2S ที่เป็นสาขาใหญ่มากๆ จึงคาดว่าพื้นที่รวมของทั้งสองค่ายนี้คงไม่ทิ้งกันมากนัก แต่ยอดขายดังกล่าวของ B2S มาจากเครื่องเขียนเป็นหลัก
เนื่องจาก SE-ED ผูกปิ่นโตไปกับศูนย์การค้า และพวกดิสเคาน์สโตร์เป็นหลัก การเติบโตของ SE-ED จึงขึ้นกับกฎหมายค้าปลีกว่าจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่อการเปิดสาขาใหม่ของโมเดิร์นเทรดเหล่านั้น
ส่วนร้านนายอินทร์ เน้นการเปิดร้านขนาด 100 ตารางเมตร หรือน้อยกว่า โดยเปิดแฟรนไชส์ในต่างจังหวัด และเปิดเองในกรุงเทพ มีทั้งที่เปิดในศูนย์การค้า ตึกแถว และโรงพยาบาล โดยถ้าเป็นร้านของตนเองจะมีมุมขายเครื่องดื่มสุขภาพยี่ห้อ H&C ด้วย อีกโมเดลนึงเปิดร้านขนาดใหญ่หน่อย น่าจะราว 200-300 ตารางเมตร ในส่วนที่เป็นห้างสรรพสินค้าของเดอะมอลล์ แต่ความที่ร้านนายอินทร์เน้นการขายหนังสือของตนเอง และหนังสือที่ตนเป็นผู้จัดจำหน่ายมากกว่าการขายหนังสือของคนอื่น จึงอาจจะขาดความหลากหลาย และได้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของอมรินทร์เป็นหลัก ยอดขายของนายอินทร์ไม่น่าจะเยอะนัก น่าจะน้อยกว่าพันล้านบาทมาก เพราะสาขามีน้อยกว่า 2 รายแรก และมีพื้นที่โดยเฉลี่ยน้อยกว่า
แนวโน้มในอนาคต นายอินทร์คงไม่สามารถขยายสาขาได้มากนักในศูนย์การค้า แต่คงเน้นทำเลที่ตนมีจุดเด่นชัดเจน อย่างช่นตามโรงพยาบาล ซึ่งเป็นร้านขนาดเล็ก เน้นการขายหนังสือของตนเอง และ H&C ซึ้งทำให้มีกำไรเพียงพอที่จะอยู่รอดได้
ขอวิเคราะห์ตามประสบการณ์ของคนที่เคยเดินเข้าทุกร้าน และจากข้อมูลที่เก็บตามหนังสือพิมพ์ และที่เคยได้รับทราบจากผู้บริหารของ SE-ED ในวันพบนักลงทุน
B2S เกิดจากการรวมแผนกหนังสือ แผนกเครื่องเขียน และเพลง ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งระยะหลังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงเอามารวมกันในพื้นที่เดียวกัน และจัดรูปแบบใหม่ตามแนวโน้มของ life style ของคนรุ่นใหม่ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น B2S ซึ่งเป็น Business Unit หนึ่งในกลุ่ม Central Retail Corporation ดังนั้น สินค้าในร้านจึงมีขายหนังสือ เครื่องเขียน เพลง ของที่ระลึก โดยหนังสือมีสัดส่วน 30-40% ของยอดขายทั้งหมด นั่นคือ ภาพพจน์เป็นร้านหนังสือ แต่สินค้าที่ขายมากจริงกลับเป็นเครื่องเขียน ซึ่งจะเห็นได้ว่า สินค้าขายหลักของ B2S ที่เห็นจ่ายเงินที่แคชเชียร์ มักจะเป็นเครื่องเขียน ไม่ใช่หนังสือ
สาขาที่มีเสน่ห์ และประสบความสำเร็จดีของ B2S จะเป็นสาขาขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ระหว่าง 1000-3000 ตารางเมตร โดยจะมีขายกาแฟ และมีที่นั่งอ่านหนังสือด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในห้างเซ็นทรัล และโรบินสัน (เท่าที่ดู ในกรณีโรบินสัน จะประสบความสำเร็จเฉพาะโรบินสันบางสาขาที่ยอดขายเยอะ และมีลูกค้าเป็นกลุ่ม B+) ซึ่งมีค่าพื้นที่ถูกเนื่องจากเป็นห้างของกลุ่มเดียวกัน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ลูกค้าหลัก จะเป็นลูกค้าที่นิยมใช้บริการห้างเซ็นทรัลในกรุงเทพ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า B+ และต้องการ Life Style ที่มากกว่าลูกค้าของ SE-ED และนายอินทร์
แต่ถ้าเป็นการไปลงในพื้นที่ของศูนย์การค้าอื่น รวมทั้งรูปแบบ Standalone โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้างอื่นในต่างจังหวัด B2S จะใช้โมเดลพื้นที่เล็กลงเหลือเพียง 200-300 ตารางเมตร เพื่อให้ค่าเช่าไม่แพงนัก ทำให้ไม่มีมุมกาแฟ ไม่มีที่นั่งอ่านหนังสือ เสน่ห์จะน้อยลงมาก การที่ต้องการค่าเช่าต่ำ ทำให้มักจะต้องขึ้นไปอยู่ชั้นบนๆ ซึ่งถือว่าทำเลไม่ดีนัก จึงเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันมาก และไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าเท่าที่ควร
เคยเห็น B2S เปิดในโลตัส บางกะปิ ชั้น 1 ซึ่งทำเลดีพอสมควร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนต้องลดพื้นที่ลงเรื่อยๆ เข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าในโลตัสไม่ตรงกับสินค้าของ B2S หลังจากนั้น ไม่ได้ข่าวการเปิดในโลตัสอีกเลย แม้แต่การเปิดใน Big C ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน เพราะขนาดเล็กเกินกว่าจะสร้างเสน่ห์ และทำกำไรได้ ขณะเดียวกันลูกค้าก็ไม่ตรงกลุ่มความถนัดของ B2S ทำให้ได้ข่าวว่าในอนาคต B2S จะลดการขยายสาขาในพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ และมาเอาดีในกลุ่มเป้าหมายที่ตนถนัดเท่านั้น
ดังนั้น การเติบโตหลักในอนาคต น่าจะเป็นไปตามการเติบโตของห้างเซ็นทรัลเป็นหลัก (ซึ่งช่วงนี้ทางเซ็นทรัลพัฒนา มีการออกข่าวขยายงานหลายสาขาในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า) ด้วยข้อจำกัดของความเป็นเซ็นทรัล และโมเดลธุรกิจที่ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ (เนื่องจากขายหลายอย่าง) และต้องการกลุ่มลูกค้า B+ ทำให้หาทำเลเพิ่มไม่ง่ายนัก อย่างเป้าหมายในปี 2550 ลดจากเป้าหมายเดิม 10 สาขา ลงเหลือเพียง 5 สาขาเท่านั้น ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า Business Model ขนาดเล็กและกลางยังไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นตัวถ่วงทำให้ B2S ขาดทุน หรือแทบจะไม่สามารถทำกำไรได้เลย จึงชะลอตัวก่อน
ตามข่าว (ถ้าจำไม่ผิด) บอกว่า B2S ตั้งเป้าหมายยอดขายปี 2550 ไว้ที่เกือบ 4,000 ล้านบาท โดยจะมีสัดส่วนหนังสือประมาณ 30-40% นั่นคือ ยอดขายสินค้าพวกหนังสือตกประมาณ 1,200-1,600 ล้านบาทในปี 2550
ส่วน SE-ED เน้นการเปิดสาขาในดิสเคาน์สโตร์อย่าง Tesco Lotus, Big C, คาร์ฟูร์ ห้างสรรพสินค้าทั่วไปทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด (รวมเซ็นทรัล เดอะมอลล์ และห้างอื่นๆ) และในสถาบันการศึกษา ขนาดส่วนใหญ่จะป็น 100-200 ตารางเมตร ซึ่งมักจะลงในดิสเคาน์สโตร์ หรือห้างขนาดเล็ก ถ้ามากกว่านั้น เช่น 300-600 ตารางเมตร จะลงในห้างขนาดใหญ่ที่มีคนเยอะ อย่างในห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่
ตามเอกสารของ SE-ED บอกว่าตั้งเป้าหมายปี 2550 ไว้ที่ 4,100 ล้านบาท ข้อมูลเดิมบอกว่ารายได้ของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เป็นประมาณ 85% ของทั้งหมด และถ้าคิดว่าร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ขายสินค้าหนังสือประมาณ 90% ของทั้งหมด นั่นคือ ยอดขายสินค้าพวกหนังสือตกประมาณ 3,137 บาทในปี 2550 ซึ่งมากกว่า B2S ตามสมควร คือ เป็นประมาณ 2-2.6 เท่าของ B2S
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจำนวน transaction ที่ B2S เพิ่งออกข่าวมาว่ามีประมาณ 1.5 ล้านบิลต่อเดือน ส่วนร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เคยชี้แจงว่ามีลูกค้าซื้อประมาณมากกว่า 2.5 ล้านบิลต่อเดือน ขณะที่ยอดขายหลักของ B2S มาจากเครื่องเขียน ดังนั้น ถ้ามองในมุมนี้ ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ก็น่าจะมียอดขายหนังสือมากกว่า B2S อย่างชัดเจน
แต่ถ้าติดเป็นยอดขายเฉลี่ยต่อสาขา B2S คงมากกว่า SE-ED เพราะแม้ SE-ED จะมีจำนวนสาขามากกว่า (B2S คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีสาขาใหญ่และเล็กรวมกัน 135 สาขา ส่วน SE-ED คาดว่าสิ้นปีจะมีสาขาประมาณมากกว่า 271 สาขา โดยไม่นับจุดขายย่อย) แต่มีพื้นที่เฉลี่ยต่อสาขาน้อยกว่าพื้นที่ของ B2S ที่เป็นสาขาใหญ่มากๆ จึงคาดว่าพื้นที่รวมของทั้งสองค่ายนี้คงไม่ทิ้งกันมากนัก แต่ยอดขายดังกล่าวของ B2S มาจากเครื่องเขียนเป็นหลัก
เนื่องจาก SE-ED ผูกปิ่นโตไปกับศูนย์การค้า และพวกดิสเคาน์สโตร์เป็นหลัก การเติบโตของ SE-ED จึงขึ้นกับกฎหมายค้าปลีกว่าจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่อการเปิดสาขาใหม่ของโมเดิร์นเทรดเหล่านั้น
ส่วนร้านนายอินทร์ เน้นการเปิดร้านขนาด 100 ตารางเมตร หรือน้อยกว่า โดยเปิดแฟรนไชส์ในต่างจังหวัด และเปิดเองในกรุงเทพ มีทั้งที่เปิดในศูนย์การค้า ตึกแถว และโรงพยาบาล โดยถ้าเป็นร้านของตนเองจะมีมุมขายเครื่องดื่มสุขภาพยี่ห้อ H&C ด้วย อีกโมเดลนึงเปิดร้านขนาดใหญ่หน่อย น่าจะราว 200-300 ตารางเมตร ในส่วนที่เป็นห้างสรรพสินค้าของเดอะมอลล์ แต่ความที่ร้านนายอินทร์เน้นการขายหนังสือของตนเอง และหนังสือที่ตนเป็นผู้จัดจำหน่ายมากกว่าการขายหนังสือของคนอื่น จึงอาจจะขาดความหลากหลาย และได้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของอมรินทร์เป็นหลัก ยอดขายของนายอินทร์ไม่น่าจะเยอะนัก น่าจะน้อยกว่าพันล้านบาทมาก เพราะสาขามีน้อยกว่า 2 รายแรก และมีพื้นที่โดยเฉลี่ยน้อยกว่า
แนวโน้มในอนาคต นายอินทร์คงไม่สามารถขยายสาขาได้มากนักในศูนย์การค้า แต่คงเน้นทำเลที่ตนมีจุดเด่นชัดเจน อย่างช่นตามโรงพยาบาล ซึ่งเป็นร้านขนาดเล็ก เน้นการขายหนังสือของตนเอง และ H&C ซึ้งทำให้มีกำไรเพียงพอที่จะอยู่รอดได้
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 33
ขอขอบพระคุณสำหรับมุมมองของคุณ New Analyst เป็นอย่างสูงครับ ทำให้ได้ Insight ของธุรกิจนี้ได้อีกมากทีเดียว อย่างไรก็ตามไหนๆ ก็พูดถึงร้านหนังสือกันแล้วผมขอรบกวนให้คุณ New Analyst ให้ความเห็นเกี่ยวกับการขยายของร้าน Book Smile ควบคู่กันไปด้วยเลยพอจะเป็นไปได้ไหมครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 34
ร้าน Book Smile เป็นร้านหนังสืออีกร้านหนึ่งที่มี Business Model ที่น่าสนใจและน่าติดตาม เพราะน่าจะเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทมากขึ้นในอนาคตอย่างเด่นชัด ในฐานะที่เน้นการเปิดปูพรมทั่วประเทศ และเป็นรายใหญ่สุดของธุรกิจสะดวกซื้อ ที่มีฐานธุรกิจเดิมแข็งแรงมาก และกระโดดเข้ามาในธุรกิจหนังสือ ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุดค่ายหนึ่ง เพราะมีกำลังเงิน กำลังคน ประสบการณ์การจัดการ การจัดซื้อ ศูนย์กระจายสินค้า และมีทำเลในมือเป็นของตนเอง ถือว่าครบเครื่องที่สุด
ผู้บริหารของ 7-11 เคยให้สัมภาษณ์เมื่อต่อนก่อนเริ่มทำ Book Smile (รวมทั้งในภายหลัง) ว่า ทิศทางของ 7-11 จะเริ่มปรับตัวเองใหม่ไปเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าธุรกิจที่มีอนาคตการเติบโตที่ดีจะเป็นอาหารพร้อมทาน และหนังสือ และคงเลี่ยงธุรกิจที่อาจสร้างปัญหาแรงต้านในอนาคตเพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน ซึ่งถ้าจะเดาจากตอนนี้ ก็คือ ลดการขายสินค้าที่ไปซ้ำซ้อนกับพวกโชห่วยเพื่อลดแรงต้านในอนาคต โดยไปเน้นสัดส่วนอาหารซึ่งมีกำไรและมีช่องว่างทางการตลาดดีกว่ามากแทน ลดบทบาทการขายสุราและบุหรี่ลงเพื่อลดแรงต้านจากสังคม เพิ่มน้ำหนักการขายหนังสือซึ่งเป็นภาพพจน์ที่ดีขึ้นแทน
เริ่มต้น 7-11 เปิดมุมขายนิตยสารและหนังสือพิมพ์ในร้านของ 7-11 ตามทิศทางของ 7-11 ทั่วโลก โดยเน้นสาขาที่มีศักยภาพในกรุงเทพเป็นหลักก่อน และจังหวัดใหญ่ โดยปูพรมไปเกือบพันสาขา แต่ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จนัก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องการความเร็วในการจัดส่งรายวัน ซึ่ง 7-11 หาสายส่งหนังสือพิมพ์ที่มีศักยภาพมารองรับไม่ได้ ขณะเดียวกันศูนย์กระจายสินค้าของ 7-11 ก็ไม่ถนัดในสินค้าสดรายวันประเภทนี้
ต่อมาเมื่อต้นปี 2544 ผู้บริหารของ 7-11 จึงมีความคิดจะทำเป็นร้านใหญ่ขนาด 2 คูหา ตั้งในทำเลใกล้กับโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ใช้ชื่อว่า "เซเว่นทูเดย์" โดยจะขายหนังสนือ หนังสือพิมพ์ เครื่องเขียน เพลง และสินค้าไอที รวมทั้งจะทำหน้าที่แก้ปัญหาระบบลอจิสติกส์ของมุมหนังสือใน 7-11 โดยจะใช้ร้านเซเว่นทูเดย์ เป็นศูนย์กระจายย่อยให้แก่มุมหนังสือของ 7-11 ที่อยู่รายรอบแทน แต่ไม่รู้ว่าแนวคิดนี้ยังใช้อยู่หรือไม่
แต่ 7-11 ประสบปัญหาว่า Business Model ของการเปิดร้านหนังสือลักษณะ Standalone ตามตึกแถว ไม่ประสบความสำเร็จในการทำกำไร ส่วนผสมของสินค้าไม่เหมาะสมเพียงพอ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถใช้ชื่อ "เซเว่นทูเดย์" ได้อีกต่อไป เพราะ 7-11 ตัวแม่ ไม่พอใจที่ 7-11 ในไทยใช้ชื่อส่วนหนึ่งของ 7-11 มาใช้
ดังนั้น เซเว่นทูเดย์ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Book Smile และปิดสาขา Standalone ส่วนใหญ่ และปิดสาขาทดสอบในศูนย์การค้าลง เปลี่ยน Business Model ใหม่ เป็นห้องที่ 3 ของ 7-11 เพื่อลดค่าใช้จ่ายการจัดการลง และให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นจากลูกค้าเดิมที่เข้ามาในร้าน 7-11 มาอยู่แล้ว ปรับสินค้าไอทีออก เน้นการขายหนังสือมากขึ้น และเพิ่มภาพพจน์ด้วยการจัดประกวดหนังสือ
เนื่องจากพื้นที่ขายของ Book Smile มีเพียง 1 คูหา จึงใช้นโยบายหลักของ 7-11 ไนไทย ที่จะเน้นการขายสินค้าที่เดินเร็ว มีการผลิตโดยเฉพาะซึ่งหาซื้อที่ไหนไม่ได้ หรือจนกว่าจะผ่านไประยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ได้ส่วนลดสูงขึ้น และได้ความแตกต่าง เชื่อว่า Business Model นี้น่าจะลงตัวสำหรับ 7-11 และคงเป็นทิศทางการขยายตัวระยะยาวต่อไป โดยเป็นห้องที่ 3 ของ 7-11 ในสาขาที่มียอดขายดี ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าน่าจะหาทำเลดังกล่าวได้อย่างน้อยเกือบพันสาขาได้ และคงมีบทบาทการกระตุ้นการอ่านหนังสือของคนไทยให้เพิ่มขึ้นได้มากในฐานะที่เป็น "ร้านหนังสือสะดวกซื้อ" เพราะลงไปในระดับชุมชนย่อยได้
ผมเคยถามผู้บริหารของ SE-ED ว่าการเปิด Book Smile มีผลกระทบต่อ SE-ED ไหม ได้คำตอบทำนองว่า SE-ED ได้รับประโยชน์ 2 ทาง
ทางแรกจากกการเป็น supplier รายใหญ่ของ Book Smile ซึ่งทำให้เติบโตไปพร้อมกันในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ
ทางที่สอง คือ เชื่อว่า Book Smile จะมีส่วนช่วยสร้างฐานคนอ่านให้กว้างขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการหนังสือโดยรวม และ SE-ED ด้วย ที่จะได้ประโยชน์จากฐานคนอ่านที่เพิ่มขึ้นนี้ เพราะเชื่อว่า เมื่อคนเริ่มอ่านหนังสือระดับหนึ่งแล้ว จะอ่านหนังสือตลอดไป และคงต้องการหนังสือที่หลากหลายเพิ่มขึ้น หรือต่อยอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น SE-ED ก็จะขยายตัวไปรับลูกค้าของ Book Smile อีกต่อหนึ่ง ในฐานะที่ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ก็วางตัวเป็น "ร้านหนังสือสะดวกซื้อ" มาตั้งแต่แรกด้วยเช่นกัน แต่มีขนาดพื้นที่มากกว่า สินค้าหลากหลายกว่า
ผู้บริหารของ 7-11 เคยให้สัมภาษณ์เมื่อต่อนก่อนเริ่มทำ Book Smile (รวมทั้งในภายหลัง) ว่า ทิศทางของ 7-11 จะเริ่มปรับตัวเองใหม่ไปเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าธุรกิจที่มีอนาคตการเติบโตที่ดีจะเป็นอาหารพร้อมทาน และหนังสือ และคงเลี่ยงธุรกิจที่อาจสร้างปัญหาแรงต้านในอนาคตเพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน ซึ่งถ้าจะเดาจากตอนนี้ ก็คือ ลดการขายสินค้าที่ไปซ้ำซ้อนกับพวกโชห่วยเพื่อลดแรงต้านในอนาคต โดยไปเน้นสัดส่วนอาหารซึ่งมีกำไรและมีช่องว่างทางการตลาดดีกว่ามากแทน ลดบทบาทการขายสุราและบุหรี่ลงเพื่อลดแรงต้านจากสังคม เพิ่มน้ำหนักการขายหนังสือซึ่งเป็นภาพพจน์ที่ดีขึ้นแทน
เริ่มต้น 7-11 เปิดมุมขายนิตยสารและหนังสือพิมพ์ในร้านของ 7-11 ตามทิศทางของ 7-11 ทั่วโลก โดยเน้นสาขาที่มีศักยภาพในกรุงเทพเป็นหลักก่อน และจังหวัดใหญ่ โดยปูพรมไปเกือบพันสาขา แต่ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จนัก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องการความเร็วในการจัดส่งรายวัน ซึ่ง 7-11 หาสายส่งหนังสือพิมพ์ที่มีศักยภาพมารองรับไม่ได้ ขณะเดียวกันศูนย์กระจายสินค้าของ 7-11 ก็ไม่ถนัดในสินค้าสดรายวันประเภทนี้
ต่อมาเมื่อต้นปี 2544 ผู้บริหารของ 7-11 จึงมีความคิดจะทำเป็นร้านใหญ่ขนาด 2 คูหา ตั้งในทำเลใกล้กับโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ใช้ชื่อว่า "เซเว่นทูเดย์" โดยจะขายหนังสนือ หนังสือพิมพ์ เครื่องเขียน เพลง และสินค้าไอที รวมทั้งจะทำหน้าที่แก้ปัญหาระบบลอจิสติกส์ของมุมหนังสือใน 7-11 โดยจะใช้ร้านเซเว่นทูเดย์ เป็นศูนย์กระจายย่อยให้แก่มุมหนังสือของ 7-11 ที่อยู่รายรอบแทน แต่ไม่รู้ว่าแนวคิดนี้ยังใช้อยู่หรือไม่
แต่ 7-11 ประสบปัญหาว่า Business Model ของการเปิดร้านหนังสือลักษณะ Standalone ตามตึกแถว ไม่ประสบความสำเร็จในการทำกำไร ส่วนผสมของสินค้าไม่เหมาะสมเพียงพอ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถใช้ชื่อ "เซเว่นทูเดย์" ได้อีกต่อไป เพราะ 7-11 ตัวแม่ ไม่พอใจที่ 7-11 ในไทยใช้ชื่อส่วนหนึ่งของ 7-11 มาใช้
ดังนั้น เซเว่นทูเดย์ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Book Smile และปิดสาขา Standalone ส่วนใหญ่ และปิดสาขาทดสอบในศูนย์การค้าลง เปลี่ยน Business Model ใหม่ เป็นห้องที่ 3 ของ 7-11 เพื่อลดค่าใช้จ่ายการจัดการลง และให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นจากลูกค้าเดิมที่เข้ามาในร้าน 7-11 มาอยู่แล้ว ปรับสินค้าไอทีออก เน้นการขายหนังสือมากขึ้น และเพิ่มภาพพจน์ด้วยการจัดประกวดหนังสือ
เนื่องจากพื้นที่ขายของ Book Smile มีเพียง 1 คูหา จึงใช้นโยบายหลักของ 7-11 ไนไทย ที่จะเน้นการขายสินค้าที่เดินเร็ว มีการผลิตโดยเฉพาะซึ่งหาซื้อที่ไหนไม่ได้ หรือจนกว่าจะผ่านไประยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ได้ส่วนลดสูงขึ้น และได้ความแตกต่าง เชื่อว่า Business Model นี้น่าจะลงตัวสำหรับ 7-11 และคงเป็นทิศทางการขยายตัวระยะยาวต่อไป โดยเป็นห้องที่ 3 ของ 7-11 ในสาขาที่มียอดขายดี ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าน่าจะหาทำเลดังกล่าวได้อย่างน้อยเกือบพันสาขาได้ และคงมีบทบาทการกระตุ้นการอ่านหนังสือของคนไทยให้เพิ่มขึ้นได้มากในฐานะที่เป็น "ร้านหนังสือสะดวกซื้อ" เพราะลงไปในระดับชุมชนย่อยได้
ผมเคยถามผู้บริหารของ SE-ED ว่าการเปิด Book Smile มีผลกระทบต่อ SE-ED ไหม ได้คำตอบทำนองว่า SE-ED ได้รับประโยชน์ 2 ทาง
ทางแรกจากกการเป็น supplier รายใหญ่ของ Book Smile ซึ่งทำให้เติบโตไปพร้อมกันในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ
ทางที่สอง คือ เชื่อว่า Book Smile จะมีส่วนช่วยสร้างฐานคนอ่านให้กว้างขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการหนังสือโดยรวม และ SE-ED ด้วย ที่จะได้ประโยชน์จากฐานคนอ่านที่เพิ่มขึ้นนี้ เพราะเชื่อว่า เมื่อคนเริ่มอ่านหนังสือระดับหนึ่งแล้ว จะอ่านหนังสือตลอดไป และคงต้องการหนังสือที่หลากหลายเพิ่มขึ้น หรือต่อยอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น SE-ED ก็จะขยายตัวไปรับลูกค้าของ Book Smile อีกต่อหนึ่ง ในฐานะที่ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ก็วางตัวเป็น "ร้านหนังสือสะดวกซื้อ" มาตั้งแต่แรกด้วยเช่นกัน แต่มีขนาดพื้นที่มากกว่า สินค้าหลากหลายกว่า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 35
ผมเพิ่งไปใช้บริหารร้านหนังสือ เส้งโห ครับ
ตกแต่งแบบแนวสมัยไหม่ จัดร้านได้สวยงาม แสงสี ดี หนังสือเยอะมาก พื้นที่กว้างขวาง สอบถามพนักงานของร้าน ทราบว่าปัจจุบันมี 4 สาขาคือกรุงเทพ ภูเก็ต หาดใหญ่ และกระบี่ โดยที่เจ้าของเป็นชาวภูเก็ต น่าติดตามครับว่าจะขยายไปได้เรื่อยหรือเปล่า ดูมีศักยภาพดีทีเดียว
ตกแต่งแบบแนวสมัยไหม่ จัดร้านได้สวยงาม แสงสี ดี หนังสือเยอะมาก พื้นที่กว้างขวาง สอบถามพนักงานของร้าน ทราบว่าปัจจุบันมี 4 สาขาคือกรุงเทพ ภูเก็ต หาดใหญ่ และกระบี่ โดยที่เจ้าของเป็นชาวภูเก็ต น่าติดตามครับว่าจะขยายไปได้เรื่อยหรือเปล่า ดูมีศักยภาพดีทีเดียว
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 37
ชักแตกหน่อไปยังร้านอื่นเพิ่มขึ้นกว่าในหัวข้อกระทู้ จนมาถึง ร้านเส้งโห อีกร้านหนึ่ง
พอดีผมเคยไปพักร้อนที่ภูเก็ตมาหลายหน และมีเพื่อนเป็นคนภูเก็ต จึงเคยไปเดินร้านนี้มาหลายหน คุยกับคนขายก็หลายหน จนพอจะมาเล่าเป็นเรื่องได้
ร้านเส้งโห เป็นร้านดั้งเดิมของภูเก็ต เมื่อก่อนเป็นเอเย่นต์ขายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร และเปิดหน้าร้านด้วย
ต่อมาเมื่อราวสิบ หรือยี่สิบปีก่อน รุ่นลูกได้ขยายมาเปิดร้านหนังสือจริงจัง จนถือว่าเป็นร้านหนังสือที่ดีที่สุดของจังหวัดภูเก็ต ฟังมาว่าในยุคที่ร้านดอกหญ้าเข้ามาเปิดที่ภูเก็ต ร้านเส้งโหได้เปิดร้านหนังสืออีกสาขาหนึ่งในอีกชื่อหนึ่ง เยื้องกับร้านดอกหญ้า เพื่อรับมือกับการเข้ามาของดอกหญ้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่แน่ใจในการเปิดสาขาเพิ่มอีก
ต่อมาเมื่อ SE-ED ขยายตัวไปตามโลตัส และมีแนวโน้มไปทั่วประเทศ ร้านเส้งโหได้ขอเข้ามาเป็นร้านเครือข่ายของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์แบบไม่เต็มรูปแบบ (คือ สั่งสินค้าจาก supplier โดยตรงได้เอง) โดยขอใช้ชื่อซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ที่โลตัส ภูเก็ต ซึ่ง SE-ED อนุญาตให้ เพราะต้องการเป็นตัวอย่างที่จะกระตุ้นให้ร้านหนังสือที่มีศักยภาพได้ปรับปรุงร้านให้ดีขึ้นทั้งประเทศ (ตรงนี้เป็นเหตุผลที่ผู้บริหารของ SE-ED เคยเล่าให้ฟังว่าทำไมจึงเปิดร้านเครือข่าย โดยช่วยร้านอื่น เข้าใจว่าร้านเครือข่ายลักษณะนี้มีอีกที่หนึ่ง คือ ที่ชลบุรี ซึ่งอยู่ในโลตัสเช่นเดียวกัน) โดยซีเอ็ดจะออกแบบร้าน ตกแต่ง จัดสินค้า และช่วยฝึกอบรมพนักงานทั้งหมดให้ตามมาตรฐานของซีเอ็ดบุ๊ตเซ็นเตอร์ นอกจากนั้น ยังช่วยปรับปรุงออกแบบ และตกแต่งร้านเดิม ให้ทันสมัยและเหมาะสมขึ้น จึงทำให้ร้านเส้งโหแข็งแรงขึ้นอีก และได้แนวคิดการเติบโตจาก SE-ED
ตรงนี้ทำให้ร้านเส้งโห มีความมั่นใจที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และขยายสาขาเพิ่มไปที่กระบี่ (ผมเคยไปมาหนนึง) และที่หาดใหญ่ (ตามข่าวหนังสือพิมพ์บอกว่าไปซื้อร้านเดิมที่เจ้าของเลิกทำแล้ว) ตอนนี้ก็มาลองเปิดที่กรุงเทพ เป็นสาขาที่ 4 ซึ่งถ้าดูจากชื่อของผู้บริหารร้านเส้งโหที่ให้ข่าวลงในหนังสือพิมพ์ เข้าใจว่าจะเป็นรุ่นหลานมาทำแล้ว
พอดีผมเคยไปพักร้อนที่ภูเก็ตมาหลายหน และมีเพื่อนเป็นคนภูเก็ต จึงเคยไปเดินร้านนี้มาหลายหน คุยกับคนขายก็หลายหน จนพอจะมาเล่าเป็นเรื่องได้
ร้านเส้งโห เป็นร้านดั้งเดิมของภูเก็ต เมื่อก่อนเป็นเอเย่นต์ขายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร และเปิดหน้าร้านด้วย
ต่อมาเมื่อราวสิบ หรือยี่สิบปีก่อน รุ่นลูกได้ขยายมาเปิดร้านหนังสือจริงจัง จนถือว่าเป็นร้านหนังสือที่ดีที่สุดของจังหวัดภูเก็ต ฟังมาว่าในยุคที่ร้านดอกหญ้าเข้ามาเปิดที่ภูเก็ต ร้านเส้งโหได้เปิดร้านหนังสืออีกสาขาหนึ่งในอีกชื่อหนึ่ง เยื้องกับร้านดอกหญ้า เพื่อรับมือกับการเข้ามาของดอกหญ้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่แน่ใจในการเปิดสาขาเพิ่มอีก
ต่อมาเมื่อ SE-ED ขยายตัวไปตามโลตัส และมีแนวโน้มไปทั่วประเทศ ร้านเส้งโหได้ขอเข้ามาเป็นร้านเครือข่ายของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์แบบไม่เต็มรูปแบบ (คือ สั่งสินค้าจาก supplier โดยตรงได้เอง) โดยขอใช้ชื่อซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ที่โลตัส ภูเก็ต ซึ่ง SE-ED อนุญาตให้ เพราะต้องการเป็นตัวอย่างที่จะกระตุ้นให้ร้านหนังสือที่มีศักยภาพได้ปรับปรุงร้านให้ดีขึ้นทั้งประเทศ (ตรงนี้เป็นเหตุผลที่ผู้บริหารของ SE-ED เคยเล่าให้ฟังว่าทำไมจึงเปิดร้านเครือข่าย โดยช่วยร้านอื่น เข้าใจว่าร้านเครือข่ายลักษณะนี้มีอีกที่หนึ่ง คือ ที่ชลบุรี ซึ่งอยู่ในโลตัสเช่นเดียวกัน) โดยซีเอ็ดจะออกแบบร้าน ตกแต่ง จัดสินค้า และช่วยฝึกอบรมพนักงานทั้งหมดให้ตามมาตรฐานของซีเอ็ดบุ๊ตเซ็นเตอร์ นอกจากนั้น ยังช่วยปรับปรุงออกแบบ และตกแต่งร้านเดิม ให้ทันสมัยและเหมาะสมขึ้น จึงทำให้ร้านเส้งโหแข็งแรงขึ้นอีก และได้แนวคิดการเติบโตจาก SE-ED
ตรงนี้ทำให้ร้านเส้งโห มีความมั่นใจที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และขยายสาขาเพิ่มไปที่กระบี่ (ผมเคยไปมาหนนึง) และที่หาดใหญ่ (ตามข่าวหนังสือพิมพ์บอกว่าไปซื้อร้านเดิมที่เจ้าของเลิกทำแล้ว) ตอนนี้ก็มาลองเปิดที่กรุงเทพ เป็นสาขาที่ 4 ซึ่งถ้าดูจากชื่อของผู้บริหารร้านเส้งโหที่ให้ข่าวลงในหนังสือพิมพ์ เข้าใจว่าจะเป็นรุ่นหลานมาทำแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 42
ไม่รู้สิอันนี้ ผมว่าก็ทรงคุณค่า
Aprint กะ นายอินทร์เอาคู่กันดีนะครับ
ช่วงนี้ผมอุดหนุนแต่ของเขา
เพราะเขามีบัตรลด 30% มาให้ด้วยนะครับ
แถมช่วงนี้มีสะสมแสตป์ เหมือน 7 ด้วยนะครับ
สงสัยต้องห่างจาก se-ed ไปอีกนาน
Aprint กะ นายอินทร์เอาคู่กันดีนะครับ
ช่วงนี้ผมอุดหนุนแต่ของเขา
เพราะเขามีบัตรลด 30% มาให้ด้วยนะครับ
แถมช่วงนี้มีสะสมแสตป์ เหมือน 7 ด้วยนะครับ
สงสัยต้องห่างจาก se-ed ไปอีกนาน
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- zolomon
- Verified User
- โพสต์: 352
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 43
กระทู้ที่ดีจริง ๆ ครับ ไม่ทราบว่าสามารถเอาไปลงต่อกระทู้ 100 คน 100 หุ้นได้รึเปล่าครับ
คงลงต่อที่ se-ed มั๊งเพราะร้านอื่นไม่มีในตลาดยกเว้น APRINT
คงลงต่อที่ se-ed มั๊งเพราะร้านอื่นไม่มีในตลาดยกเว้น APRINT
“If we wait for the moment when everything, absolutely everything is ready, we shall never begin.”
Ivan Turgenev
Ivan Turgenev
-
- Verified User
- โพสต์: 478
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 44
ผมเป็นคนภูเก็ตครับ ยอมรับเลยว่าร้านเส้งโหเป็นร้านหนังสือที่ดีที่สุดในภูเก็ต ผมว่าse-edสู้ไม่ได้นะครับ เนื่องจากการที่เส้งโหเป็นร้านเก่าแก่และปัจจุบันมีขนาดใหญ่มากประมาณ4-5คูหา 2ชั้น มีหนังสือครบถ้วนมากที่สุดด้วยครับ ตอนเย็นจะกลายเป็นที่ชุมนุมของเด็กมัธยมหลังเลิกเรียนเพราะอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งภูเก็ตวิทยาลัยและสตรีภูเก็ต เสียอย่างเดียวคือมีที่จอดรถยนต์น้อย ส่วนสาขาอื่นๆผมไม่เคยไปครับ ถ้าเส้งโหเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็อยากจะซื้อเก็บไว้ครับ เป็นความภูมิใจของคนท้องถิ่น
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 47
นายอินทร์ มีนิยายหลากหลาย ทั้งเกาหลีจีนยี่ปุ่น แถมมีบ้านและสวน
ซีเอ็ด มีด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการ
บีทูเอส มีหลากหลายทั้งเทศ(แต่หาเล่มที่ต้องการไม่ได้) แล้วมุมกาแฟไม่มีแล้วหรือครับ
***ช่วงนี้ทำไมผมโพสได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่รู้จะติดต่อกับมาสเตอร์ได้อย่างไรครับ รบกวนช่วยผมที****
ซีเอ็ด มีด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการ
บีทูเอส มีหลากหลายทั้งเทศ(แต่หาเล่มที่ต้องการไม่ได้) แล้วมุมกาแฟไม่มีแล้วหรือครับ
***ช่วงนี้ทำไมผมโพสได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่รู้จะติดต่อกับมาสเตอร์ได้อย่างไรครับ รบกวนช่วยผมที****
- jack5515566
- Verified User
- โพสต์: 114
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 50
ในหัวหิน SE-ED คนก็ถือว่าใช้ได้ครับ
ผ่านทีไรมีคนตลอด....
ผ่านทีไรมีคนตลอด....
-
- Verified User
- โพสต์: 189
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 53
เอาข่าวมาให้ดูนะครับpicatos เขียน: อันนี้นี่เป็นยอดขายของปีล่าสุดรึเปล่าครับ?
โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 00:10 น.
นายดีน ทอมป์สัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีทูเอส จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้ยอดขายของบีทูเอสน่าจะเติบโตเพียง 3-5% จากเดิมตั้งเป้าหมายเติบโตประมาณ 10% จากปีที่ผ่านมามียอดขาย 3,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและการเมือง
ยอดขาย 2550 ~ 3,000Mb
ยอดขาย 2551 คาด +3-5%
ปกติแล้วผู้บริหารมักจะให้ข่าวเกินความจริงเสมอ 5-10%
จึงสรุปได้ว่ายอดจริงอยู่ประมาณนี้
ยอดขาย 2550 ~ 2,600-2,900Mb
ยอดขาย 2551 ~ 3,000-3,300Mb
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 54
แนวโน้มอีกตัวที่น่าจับตาคือ
e-book กระแสนี้เกิดในต่างประเทศแต่ยังคงพัฒนาอยู่
เพราะยังทดแทนตัวกระดาษจริงๆไม่ได้
แต่อย่างไงถึงจุดๆหนึ่งมันทดแทนได้
ร้านพวกนี้ปรับเปลี่ยนอย่างไง
ตอนนี้ Internet ทำให้ธุรกิจ หนังสือพิมพ์ที่ US มีปัญหาขาดทุน
จนต้องออกหนังสือพิมพ์ฉบับ internet เพื่อรักษาลูกค้า
เมืองไทยก็ทำกันหลายเจ้าแล้ว มีทั้งฟรีและเสียเงิน
e-book กระแสนี้เกิดในต่างประเทศแต่ยังคงพัฒนาอยู่
เพราะยังทดแทนตัวกระดาษจริงๆไม่ได้
แต่อย่างไงถึงจุดๆหนึ่งมันทดแทนได้
ร้านพวกนี้ปรับเปลี่ยนอย่างไง
ตอนนี้ Internet ทำให้ธุรกิจ หนังสือพิมพ์ที่ US มีปัญหาขาดทุน
จนต้องออกหนังสือพิมพ์ฉบับ internet เพื่อรักษาลูกค้า
เมืองไทยก็ทำกันหลายเจ้าแล้ว มีทั้งฟรีและเสียเงิน
- longlife
- Verified User
- โพสต์: 245
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 55
ปี 2550 สามพันล้านจริงๆครับ ตามข้อมูลที่แจ้งกระทรวงพาณิชย์ แต่บริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มักจะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ รายได้จะโตทุกปี แต่จะทำให้กำไรลดลงตลอดเวลาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษี หรือจ่ายภาษีให้น้อยที่สุดครับ
บริษัท บีทูเอส จำกัด
เปรียบเทียบงบดุล(โดยย่อ)
จำนวนเงิน (บาท)
ปีงบ 2550 ปีงบ 2549 ปีงบ 2548
สินทรัพย์
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ 27,428,098 26,206,199 16,195,696
สินค้าคงเหลือ 711,997,841 1,193,715,315 1,007,439,093
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,011,189,860 1,491,405,029 1,311,410,994
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์(สุทธิ) 190,551,832 285,692,549 249,984,817
รวมสินทรัพย์ 1,231,579,654 1,802,155,349 1,584,327,971
หนี้สินและทุน
รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,050,093,174 1,557,458,139 1,016,105,427
รวมหนี้สิน 1,050,093,174 1,557,458,139 1,016,105,427
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 181,486,480 244,697,210 568,222,544
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,231,579,654 1,802,155,349 1,584,327,971
ทุนจดทะเบียน 640,000,000 640,000,000 640,000,000
ทุนชำระแล้ว 640,000,000 640,000,000 640,000,000
จำนวนหุ้น 64,000,000 64,000,000 64,000,000
เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุน(โดยย่อ)
จำนวนเงิน (บาท)
ปีงบ 2550 ปีงบ 2549 ปีงบ 2548
รายได้หลัก 3,089,595,085 2,758,500,399 2,614,659,659
รวมรายได้ 3,212,634,553 2,876,776,449 2,689,861,150
ต้นทุนขาย 2,406,175,841 2,243,867,492 1,991,725,905
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 859,710,268 951,121,506 686,283,185
ดอกเบี้ยจ่าย 9,959,174 5,312,785 200,808
ภาษีเงินได้ 0 0 4,795,834
< รวมรายจ่าย 3,275,845,283 3,200,301,783 2,683,005,732 -->
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (63,210,730) (323,525,334) 6,855,418
กำไรต่อหุ้น (บาท) (1) (5) 0
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าครับ เพื่อนๆสามารถเข้าไปเข็คได้ที่เวบ www.dbd.go.th ในส่วนของ e-service
บริษัท บีทูเอส จำกัด
เปรียบเทียบงบดุล(โดยย่อ)
จำนวนเงิน (บาท)
ปีงบ 2550 ปีงบ 2549 ปีงบ 2548
สินทรัพย์
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ 27,428,098 26,206,199 16,195,696
สินค้าคงเหลือ 711,997,841 1,193,715,315 1,007,439,093
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,011,189,860 1,491,405,029 1,311,410,994
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์(สุทธิ) 190,551,832 285,692,549 249,984,817
รวมสินทรัพย์ 1,231,579,654 1,802,155,349 1,584,327,971
หนี้สินและทุน
รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,050,093,174 1,557,458,139 1,016,105,427
รวมหนี้สิน 1,050,093,174 1,557,458,139 1,016,105,427
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 181,486,480 244,697,210 568,222,544
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,231,579,654 1,802,155,349 1,584,327,971
ทุนจดทะเบียน 640,000,000 640,000,000 640,000,000
ทุนชำระแล้ว 640,000,000 640,000,000 640,000,000
จำนวนหุ้น 64,000,000 64,000,000 64,000,000
เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุน(โดยย่อ)
จำนวนเงิน (บาท)
ปีงบ 2550 ปีงบ 2549 ปีงบ 2548
รายได้หลัก 3,089,595,085 2,758,500,399 2,614,659,659
รวมรายได้ 3,212,634,553 2,876,776,449 2,689,861,150
ต้นทุนขาย 2,406,175,841 2,243,867,492 1,991,725,905
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 859,710,268 951,121,506 686,283,185
ดอกเบี้ยจ่าย 9,959,174 5,312,785 200,808
ภาษีเงินได้ 0 0 4,795,834
< รวมรายจ่าย 3,275,845,283 3,200,301,783 2,683,005,732 -->
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (63,210,730) (323,525,334) 6,855,418
กำไรต่อหุ้น (บาท) (1) (5) 0
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าครับ เพื่อนๆสามารถเข้าไปเข็คได้ที่เวบ www.dbd.go.th ในส่วนของ e-service
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 57
มิน่า B2S เร่งยอดหนังสือ ซื้อ 3 ลดเล่มถูกที่สุด 50% บ่อยจัง
ไม่งั้นนานๆไปจะกลายเป็นห้องสมุดได้ :lol:
ไม่งั้นนานๆไปจะกลายเป็นห้องสมุดได้ :lol:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
- tingku
- Verified User
- โพสต์: 330
- ผู้ติดตาม: 0
SE-ED/APRINT/B2S
โพสต์ที่ 59
อ่านชื่อกระทู้แล้ว งง ว่ามันจะเอามาเทียบกันยังไง แต่พอเข้ามาอ่านพอจะจับประเด็นได้ว่่า เป็นการเปรียบเทียบ"ร้านขายของ"สามร้าน ที่บังเอินมีหนังสือขายทั้งสามร้าน
ถ้าผมเข้าใจประเด็นถูกต้อง ผมขอตอบว่า ผมชอบ B2S มาก เข้าร้านเขาสัปดาห์ละหลายครั้ง บางครั้งเข้าไปซื้อ CD บางทีก็พวกกระดาษสี โฟม กระดาษลูกฟูก
ถ้าผมจะหาซื้อนิตยสารผมเลือกร้านใกล้บ้าน (ส่วนมากเป็นแผง)
ถ้าผมเข้าใจประเด็นถูกต้อง ผมขอตอบว่า ผมชอบ B2S มาก เข้าร้านเขาสัปดาห์ละหลายครั้ง บางครั้งเข้าไปซื้อ CD บางทีก็พวกกระดาษสี โฟม กระดาษลูกฟูก
ถ้าผมจะหาซื้อนิตยสารผมเลือกร้านใกล้บ้าน (ส่วนมากเป็นแผง)