ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 31
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ยุติการคาดการณ์นโยบายการเงินการคลังชั่วคราว
19 มีนาคม 2550
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผมจะต้องขอแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้ขอให้ผมระงับการคาดการณ์นโยบายการเงินการคลังเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องมาจากการที่ผมได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นไป ทั้งนี้ คุณถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จะเป็นผู้ทำการวิเคราะห์นโยบายการเงินการคลังแทนไปจนกว่าภารกิจของผมต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนจะสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ เพราะฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานและตรวจสอบภายใน (compliance) ของภัทร เห็นว่าการเข้าไปร่วมกิจกรรมของคณะกรรมการของรัฐดังกล่าว อาจทำให้ผมได้รับข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ ดังนั้น ผมควรยุติการเขียนบทวิเคราะห์หรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลดังกล่าวรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
นอกจากนั้น การเป็นนักวิเคราะห์ที่ทำประโยชน์ได้สูงสุดนั้น ย่อมต้องมีความอิสระและเป็นกลาง แต่หากเข้าไปร่วมงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนแล้ว ความเป็นกลางดังกล่าวจะถูกกระทบหรือพูดง่ายๆ คืออาจวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่เข้าข้างรัฐบาล และท่าทีของคณะกรรมการขับเคลื่อน ดังนั้น จึงควรให้ยุติการเขียนบทวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินการคลังไปก่อน
ทั้งนี้ ผมจะยังสามารถเขียนถึงตัวเลขเศรษฐกิจ (หรือข้อเท็จจริง) ต่างๆ เช่น ภาวการณ์ส่งออกหรือการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้ และผมได้ขอให้สามารถนำเอาบทความต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาในอดีต (ก่อนวันที่ 12 มี.ค.) มากล่าวถึงได้ ซึ่งพอสรุปแนวคิดของผมในอดีตได้ดังนี้
1. ผมเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างมากในปัจจุบัน (เงินเฟ้อทั่วไป 2.4% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1.4%) ประกอบกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อในอนาคตต่ำ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการการเงินสามารถลดดอกเบี้ยลงได้ประมาณ 1.00-1.50% นอกจากนั้น ความโน้มเอียงของเศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการชะลอตัวลง ทำให้การปรับลดดอกเบี้ยนั้น ควรกระทำด้วยความรีบเร่ง
แต่ทั้งนี้ การนำมาซึ่งความไม่มั่นใจของนักลงทุน และการขับเคลื่อนการลงทุนนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัย เช่น ความไม่แน่นอนทางการเมือง ท่าทีของรัฐบาลต่อการแก้กฎหมายการลงทุนของคนต่างด้าว และการบังคับให้สิทธิบัตรยา เป็นต้น
2. การบังคับสำรอง 30% นั้น เป็นมาตรการที่สมควรยกเลิก เพราะบั่นทอนความมั่นใจของนักลงทุน การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนที่เข้มงวดเช่นนี้ เป็นการปฏิเสธการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งที่เป็นเงินทุนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาว ส่วนหนึ่ง ทั้งๆ ที่ประเทศไทยในขณะนี้ กำลังประสบปัญหาการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของการลงทุนที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องกว่า 4 ปี และล่าสุดดัชนีการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มติดลบ
3. การสนับสนุนผู้ส่งออกไทยในระยะยาวนั้น ทำผ่านการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ ตรงกันข้าม หากไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนให้ฟื้นตัวได้ในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยก็จะไม่มีกำลังการผลิต ที่จะไปผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้ มีการใช้กำลังการผลิตถึง 75% ของกำลังการผลิตที่มีอยู่แล้ว ในระยะยาวนั้น ไทยคงจะต้องลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและผลิตภาพ (productivity) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่ามากกว่านี้ 10-15%
4. ขณะนี้ การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไม่มากนั้น มิได้เป็นผลมาจากมาตรการกันสำรอง 30% เป็นหลัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
หากไม่แทรกแซงเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้ การแทรกแซงดังกล่าวกระตุ้นให้คนที่มีเงินดอลลาร์รีบขายออกเพื่อซื้อบาท เพราะทราบดีว่าเงินบาทควรแข็งค่ากว่านี้ ทำให้เกิดสภาวะ one-way bet ขึ้น ไม่แตกต่างจากการที่รัฐบาลที่แล้ว พยายามตรึงราคาดีเซลต่ำกว่าราคาจริง 20-30% ทำให้เกิดการใช้และกักตุนดีเซลมากเกินควร และต้องเลิกการแทรกแซงราคาดีเซล จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร
5. การที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่านั้น มีสาเหตุมาจากการส่งออกของไทยที่มีมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ เพราะเงินดอลลาร์ที่ได้จากการส่งออก จะถูกนำไปใช้ 3 ทาง คือ 1) คืนหนี้ต่างประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ 2) เพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ (ขณะนี้ก็มีอยู่เกินพอแล้ว) และ 3) เพื่อนำเข้าสินค้าและบริการ
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผมเห็นว่า การกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุน จึงจะเป็นการใช้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะการนำเข้าสินค้าทุนจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตนั่นเอง
19 มีนาคม 2550
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ผมจะต้องขอแจ้งให้ท่านผู้อ่านทราบว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) ได้ขอให้ผมระงับการคาดการณ์นโยบายการเงินการคลังเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องมาจากการที่ผมได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นไป ทั้งนี้ คุณถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จะเป็นผู้ทำการวิเคราะห์นโยบายการเงินการคลังแทนไปจนกว่าภารกิจของผมต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนจะสิ้นสุดลง
ทั้งนี้ เพราะฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานและตรวจสอบภายใน (compliance) ของภัทร เห็นว่าการเข้าไปร่วมกิจกรรมของคณะกรรมการของรัฐดังกล่าว อาจทำให้ผมได้รับข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ ดังนั้น ผมควรยุติการเขียนบทวิเคราะห์หรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลดังกล่าวรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
นอกจากนั้น การเป็นนักวิเคราะห์ที่ทำประโยชน์ได้สูงสุดนั้น ย่อมต้องมีความอิสระและเป็นกลาง แต่หากเข้าไปร่วมงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนแล้ว ความเป็นกลางดังกล่าวจะถูกกระทบหรือพูดง่ายๆ คืออาจวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่เข้าข้างรัฐบาล และท่าทีของคณะกรรมการขับเคลื่อน ดังนั้น จึงควรให้ยุติการเขียนบทวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงินการคลังไปก่อน
ทั้งนี้ ผมจะยังสามารถเขียนถึงตัวเลขเศรษฐกิจ (หรือข้อเท็จจริง) ต่างๆ เช่น ภาวการณ์ส่งออกหรือการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้ และผมได้ขอให้สามารถนำเอาบทความต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาในอดีต (ก่อนวันที่ 12 มี.ค.) มากล่าวถึงได้ ซึ่งพอสรุปแนวคิดของผมในอดีตได้ดังนี้
1. ผมเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างมากในปัจจุบัน (เงินเฟ้อทั่วไป 2.4% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1.4%) ประกอบกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อในอนาคตต่ำ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการการเงินสามารถลดดอกเบี้ยลงได้ประมาณ 1.00-1.50% นอกจากนั้น ความโน้มเอียงของเศรษฐกิจที่เสี่ยงต่อการชะลอตัวลง ทำให้การปรับลดดอกเบี้ยนั้น ควรกระทำด้วยความรีบเร่ง
แต่ทั้งนี้ การนำมาซึ่งความไม่มั่นใจของนักลงทุน และการขับเคลื่อนการลงทุนนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัย เช่น ความไม่แน่นอนทางการเมือง ท่าทีของรัฐบาลต่อการแก้กฎหมายการลงทุนของคนต่างด้าว และการบังคับให้สิทธิบัตรยา เป็นต้น
2. การบังคับสำรอง 30% นั้น เป็นมาตรการที่สมควรยกเลิก เพราะบั่นทอนความมั่นใจของนักลงทุน การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนที่เข้มงวดเช่นนี้ เป็นการปฏิเสธการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งที่เป็นเงินทุนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาว ส่วนหนึ่ง ทั้งๆ ที่ประเทศไทยในขณะนี้ กำลังประสบปัญหาการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของการลงทุนที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องกว่า 4 ปี และล่าสุดดัชนีการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เริ่มติดลบ
3. การสนับสนุนผู้ส่งออกไทยในระยะยาวนั้น ทำผ่านการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ ตรงกันข้าม หากไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนให้ฟื้นตัวได้ในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยก็จะไม่มีกำลังการผลิต ที่จะไปผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้ มีการใช้กำลังการผลิตถึง 75% ของกำลังการผลิตที่มีอยู่แล้ว ในระยะยาวนั้น ไทยคงจะต้องลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตและผลิตภาพ (productivity) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ แม้ว่าเงินบาทจะแข็งค่ามากกว่านี้ 10-15%
4. ขณะนี้ การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไม่มากนั้น มิได้เป็นผลมาจากมาตรการกันสำรอง 30% เป็นหลัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
หากไม่แทรกแซงเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้ การแทรกแซงดังกล่าวกระตุ้นให้คนที่มีเงินดอลลาร์รีบขายออกเพื่อซื้อบาท เพราะทราบดีว่าเงินบาทควรแข็งค่ากว่านี้ ทำให้เกิดสภาวะ one-way bet ขึ้น ไม่แตกต่างจากการที่รัฐบาลที่แล้ว พยายามตรึงราคาดีเซลต่ำกว่าราคาจริง 20-30% ทำให้เกิดการใช้และกักตุนดีเซลมากเกินควร และต้องเลิกการแทรกแซงราคาดีเซล จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร
5. การที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่านั้น มีสาเหตุมาจากการส่งออกของไทยที่มีมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ เพราะเงินดอลลาร์ที่ได้จากการส่งออก จะถูกนำไปใช้ 3 ทาง คือ 1) คืนหนี้ต่างประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ 2) เพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ (ขณะนี้ก็มีอยู่เกินพอแล้ว) และ 3) เพื่อนำเข้าสินค้าและบริการ
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผมเห็นว่า การกระตุ้นการลงทุนให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุน จึงจะเป็นการใช้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะการนำเข้าสินค้าทุนจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตและประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตนั่นเอง
It's earnings that count
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 32
ที่มาครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/1 ... d=23114389
เห็นท่านมหาชนหายไปเลยขอทำหน้าที่แทนคงไม่ว่ากันนะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/1 ... d=23114389
เห็นท่านมหาชนหายไปเลยขอทำหน้าที่แทนคงไม่ว่ากันนะครับ
It's earnings that count
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 33
ขอบคุณคับท่าน Blueblood ผู้มั่งคั่งท่ามกลางวิกฤติ :)
-----------------------------------------------------------------
เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ค่าเงินบาท
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมาก โดยเหมือนว่าเป็นเพราะเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเป็นสาเหตุหลัก ผู้ส่งออกแสดงความกังวลอย่างมาก ทำให้รัฐบาลออกมากำชับ และมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลให้เงินบาทมีเสถียรภาพ
ผมเคยแสดงความเห็นมาก่อนหน้าแล้วว่า เงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมาก ซึ่งเดิมนั้นก็นำเงินเกินดุลไปใช้คืนหนี้ต่างประเทศ แต่เมื่อใช้คืนหนี้ต่างประเทศจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว และทุนสำรองระหว่างประเทศก็มีสูงเกินพอแล้ว ประเทศไทยก็ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปีนี้จะเกินดุลได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อบวกกับทุนไหลเข้าจากต่างประเทศสุทธิอีก 5,000-6,000 ล้านดอลลาร์ ก็จะทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์ หรือเฉลี่ยกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน
จริงอยู่ในบางครั้งเงินทุนจะไม่ได้ไหลเข้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เข้ามาเป็นก้อนใหญ่ๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่โดยภาพรวมแล้วต้องสรุปว่า "ปัญหา" ของประเทศไทยคือ การมีเงินดอลลาร์มากเกินความต้องการ และเราก็ทราบดีจากประสบการณ์ว่า เมื่อผลผลิตสินค้าเกษตรออกมาเกินความต้องการ ราคาสินค้าเกษตรก็จะต้องปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
ในทำนองเดียวกัน เมื่อประเทศไทย "ผลิต" ดอลลาร์ออกมาเกินความต้องการ ราคาดอลลาร์ก็จะต้องตกต่ำ (หรือเงินบาทก็จะต้องแข็งค่า) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เว้นแต่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องเข้ามาแทรกแซง โดยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์เพื่อพยุงราคาดอลลาร์ไม่ให้ตกต่ำลงไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกเรียกร้องเช่นเดียวกับที่เกษตรกรมักจะเรียกร้องให้มีการแทรกแซงราคาพืชผล
แต่ดอลลาร์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะเสื่อมค่า เพราะชาวอเมริกันใช้จ่ายเกินตัว จึงต้องสร้างหนี้ไปทั่วโลก โดยเฉพาะกับประเทศเอเชีย จีนประเทศเดียวขณะนี้มีทุนสำรองถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 25% ของทุนสำรองทั้งหมดในโลกซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก เพราะจีดีพีของจีนนั้นมีสัดส่วนเพียง 5-6% ของโลกเท่านั้น นอกจากนั้น จีนก็ยังเก็บเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นในอัตราที่น่ากลัว คือเพิ่มขึ้นไตรมาสละกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ประเทศเอเชียอื่นๆ ก็เก็บดอลลาร์เพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน โดยทุกประเทศกลัวค่าเงินของตนแข็งค่า และจะขายสินค้าออกไม่ได้
สำหรับประเทศไทยนั้นมีทางเลือกที่จะไม่เข้าไปซื้อดอลลาร์มาเก็บเพิ่ม เพราะไทยเป็นประเทศเล็ก หากประเทศเอเชียขนาดใหญ่เช่นจีนหยุดซื้อดอลลาร์เมื่อไร เงินดอลลาร์คงจะอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ปัญหาคือยิ่งจีนมีดอลลาร์มากก็ยิ่งจะมีโอกาสที่จะไม่ต้องการดอลลาร์เพิ่มอีก แต่หากไม่เก็บดอลลาร์เพิ่ม ดอลลาร์ที่ถืออยู่ก่อนก็จะเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว
สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นสภาวการณ์ที่สร้างความไม่มั่นใจกับระบบการเงินของโลกมากนัก ในกรณีของจีนนั้นได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการแยกเอาทุนสำรองบางส่วนของธนาคารกลางออกมาตั้งกองทุน เพื่อนำไปลงทุนและซื้อสินค้าทุนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอที่จะชะลอการเพิ่มของทุนสำรองของจีนมากนัก
กล่าวโดยสรุป คือธนาคารกลางต่างๆ ของเอเชียรวมทั้งไทย ต้องเผชิญกับปัญหาเงินดอลลาร์ล้นตลาด และยิ่งซื้อมาเก็บเอาไว้มาก ก็จะต้องเสียหายมากในอนาคตเมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่าก็จะกระทบกับผู้ส่งออก ซึ่งนำไปสู่ความเป็นห่วงว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวโดยการส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลัก
ในความเห็นของผมนั้น การมอบหมายให้ธปท.ต้องดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพนั้นไม่ใช่ทางออกของประเทศไทยในระยะยาว แนวทางที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวคือ การที่เงินบาทแข็งค่าจนถึงจุดที่การเกินดุลการค้าและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ (ในภาวะปกตินั้นประเทศกำลังพัฒนาจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการไหลเข้าของเงินทุนสุทธิทำให้ดุลชำระเงินอยู่ในภาวะสมดุลเป็นผลให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ) หมายความว่า หากธปท.จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ก็ควรจะต้องดูแลการไหลเข้าของเงินทุนเป็นหลัก (ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาไหลเข้าปีละ 10,000 ล้านดอลลาร์) แต่หากต้องเผชิญกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีละ 10,000 ล้านดอลลาร์เช่นปัจจุบัน ก็จะประสบปัญหาดังที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ประเด็นของผม คือปัญหาพื้นฐานนั้นมิใช่การไหลเข้าของเงินทุน แต่ปัญหาพื้นฐานคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
การกำกับดูแลการไหลเข้าของเงินทุนก็ยังต้องกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะเงินทุนก็คือปัจจัยที่จะทำให้การลงทุนฟื้นตัวหรือไม่ฟื้นตัว แต่เราก็ทราบดีอยู่ว่าในขณะนี้ จุดอ่อนแอที่สุดของเศรษฐกิจไทยคือ การชะลอตัวลงของการลงทุน และหากไม่สามารถฟื้นการลงทุนภาคเอกชนได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
ที่สำคัญ คือยิ่งเราฟื้นการลงทุนไม่ได้นานเท่าไร เราก็จะล้าหลังประเทศอื่นๆ มากขึ้นเท่านั้นเพราะความเจริญทางเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น ถูกกำหนดโดยการลงทุนเป็นหลัก (เพราะการลงทุนคือการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ) ไม่ใช่การส่งออก เพราะการส่งออกคือการใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่เพื่อหามาซึ่งเงินดอลลาร์ แต่หากเงินดอลลาร์มีอยู่เกินพอแล้ว จะพยายามหาเงินดอลลาร์มาเพิ่มอีกทำไม?
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
-----------------------------------------------------------------
เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ค่าเงินบาท
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมาก โดยเหมือนว่าเป็นเพราะเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเป็นสาเหตุหลัก ผู้ส่งออกแสดงความกังวลอย่างมาก ทำให้รัฐบาลออกมากำชับ และมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลให้เงินบาทมีเสถียรภาพ
ผมเคยแสดงความเห็นมาก่อนหน้าแล้วว่า เงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมาก ซึ่งเดิมนั้นก็นำเงินเกินดุลไปใช้คืนหนี้ต่างประเทศ แต่เมื่อใช้คืนหนี้ต่างประเทศจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว และทุนสำรองระหว่างประเทศก็มีสูงเกินพอแล้ว ประเทศไทยก็ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปีนี้จะเกินดุลได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อบวกกับทุนไหลเข้าจากต่างประเทศสุทธิอีก 5,000-6,000 ล้านดอลลาร์ ก็จะทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์ หรือเฉลี่ยกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน
จริงอยู่ในบางครั้งเงินทุนจะไม่ได้ไหลเข้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เข้ามาเป็นก้อนใหญ่ๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่โดยภาพรวมแล้วต้องสรุปว่า "ปัญหา" ของประเทศไทยคือ การมีเงินดอลลาร์มากเกินความต้องการ และเราก็ทราบดีจากประสบการณ์ว่า เมื่อผลผลิตสินค้าเกษตรออกมาเกินความต้องการ ราคาสินค้าเกษตรก็จะต้องปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
ในทำนองเดียวกัน เมื่อประเทศไทย "ผลิต" ดอลลาร์ออกมาเกินความต้องการ ราคาดอลลาร์ก็จะต้องตกต่ำ (หรือเงินบาทก็จะต้องแข็งค่า) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เว้นแต่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องเข้ามาแทรกแซง โดยการเข้าซื้อเงินดอลลาร์เพื่อพยุงราคาดอลลาร์ไม่ให้ตกต่ำลงไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกเรียกร้องเช่นเดียวกับที่เกษตรกรมักจะเรียกร้องให้มีการแทรกแซงราคาพืชผล
แต่ดอลลาร์นั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะเสื่อมค่า เพราะชาวอเมริกันใช้จ่ายเกินตัว จึงต้องสร้างหนี้ไปทั่วโลก โดยเฉพาะกับประเทศเอเชีย จีนประเทศเดียวขณะนี้มีทุนสำรองถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 25% ของทุนสำรองทั้งหมดในโลกซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก เพราะจีดีพีของจีนนั้นมีสัดส่วนเพียง 5-6% ของโลกเท่านั้น นอกจากนั้น จีนก็ยังเก็บเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นในอัตราที่น่ากลัว คือเพิ่มขึ้นไตรมาสละกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ประเทศเอเชียอื่นๆ ก็เก็บดอลลาร์เพิ่มขึ้นในลักษณะเดียวกัน โดยทุกประเทศกลัวค่าเงินของตนแข็งค่า และจะขายสินค้าออกไม่ได้
สำหรับประเทศไทยนั้นมีทางเลือกที่จะไม่เข้าไปซื้อดอลลาร์มาเก็บเพิ่ม เพราะไทยเป็นประเทศเล็ก หากประเทศเอเชียขนาดใหญ่เช่นจีนหยุดซื้อดอลลาร์เมื่อไร เงินดอลลาร์คงจะอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ปัญหาคือยิ่งจีนมีดอลลาร์มากก็ยิ่งจะมีโอกาสที่จะไม่ต้องการดอลลาร์เพิ่มอีก แต่หากไม่เก็บดอลลาร์เพิ่ม ดอลลาร์ที่ถืออยู่ก่อนก็จะเสื่อมค่าลงอย่างรวดเร็ว
สถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นสภาวการณ์ที่สร้างความไม่มั่นใจกับระบบการเงินของโลกมากนัก ในกรณีของจีนนั้นได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการแยกเอาทุนสำรองบางส่วนของธนาคารกลางออกมาตั้งกองทุน เพื่อนำไปลงทุนและซื้อสินค้าทุนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่มาตรการดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอที่จะชะลอการเพิ่มของทุนสำรองของจีนมากนัก
กล่าวโดยสรุป คือธนาคารกลางต่างๆ ของเอเชียรวมทั้งไทย ต้องเผชิญกับปัญหาเงินดอลลาร์ล้นตลาด และยิ่งซื้อมาเก็บเอาไว้มาก ก็จะต้องเสียหายมากในอนาคตเมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่าก็จะกระทบกับผู้ส่งออก ซึ่งนำไปสู่ความเป็นห่วงว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวโดยการส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลัก
ในความเห็นของผมนั้น การมอบหมายให้ธปท.ต้องดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพนั้นไม่ใช่ทางออกของประเทศไทยในระยะยาว แนวทางที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวคือ การที่เงินบาทแข็งค่าจนถึงจุดที่การเกินดุลการค้าและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ (ในภาวะปกตินั้นประเทศกำลังพัฒนาจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการไหลเข้าของเงินทุนสุทธิทำให้ดุลชำระเงินอยู่ในภาวะสมดุลเป็นผลให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ) หมายความว่า หากธปท.จะรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ก็ควรจะต้องดูแลการไหลเข้าของเงินทุนเป็นหลัก (ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาไหลเข้าปีละ 10,000 ล้านดอลลาร์) แต่หากต้องเผชิญกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีละ 10,000 ล้านดอลลาร์เช่นปัจจุบัน ก็จะประสบปัญหาดังที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ประเด็นของผม คือปัญหาพื้นฐานนั้นมิใช่การไหลเข้าของเงินทุน แต่ปัญหาพื้นฐานคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
การกำกับดูแลการไหลเข้าของเงินทุนก็ยังต้องกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะเงินทุนก็คือปัจจัยที่จะทำให้การลงทุนฟื้นตัวหรือไม่ฟื้นตัว แต่เราก็ทราบดีอยู่ว่าในขณะนี้ จุดอ่อนแอที่สุดของเศรษฐกิจไทยคือ การชะลอตัวลงของการลงทุน และหากไม่สามารถฟื้นการลงทุนภาคเอกชนได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
ที่สำคัญ คือยิ่งเราฟื้นการลงทุนไม่ได้นานเท่าไร เราก็จะล้าหลังประเทศอื่นๆ มากขึ้นเท่านั้นเพราะความเจริญทางเศรษฐกิจในระยะยาวนั้น ถูกกำหนดโดยการลงทุนเป็นหลัก (เพราะการลงทุนคือการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ) ไม่ใช่การส่งออก เพราะการส่งออกคือการใช้กำลังการผลิตที่มีอยู่เพื่อหามาซึ่งเงินดอลลาร์ แต่หากเงินดอลลาร์มีอยู่เกินพอแล้ว จะพยายามหาเงินดอลลาร์มาเพิ่มอีกทำไม?
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 34
ค่าเงินบาทกับหน้าที่ของเงิน
พอเพียงภิวัตน์ : พิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สถานการณ์ของค่าเงินบาทในปัจจุบัน ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการบริหารจัดการเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่หากดำเนินการอย่างไม่รอบคอบ จะสามารถส่งผลต่อสภาวการณ์ทางสังคมและการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
ค่าเงินบาทที่แข็ง เป็นทั้ง "เหตุ" ที่ก่อให้เกิดผลต่างๆ ติดตามมา เช่น ส่งออกได้ยากขึ้น กำไรจากการค้าขายกับเมืองนอกลดลง ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็ง ก็เป็น "ผล" มาจากเหตุการณ์อื่นๆ เช่น เงินนอกไหลเข้ามามากด้วยเช่นกัน
เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมมีค่าขึ้นมาทันที คือ สัจธรรมของเรื่องทั้งหมด การมองย้อนกลับไปพิจารณาว่า หน้าที่ของเงินแต่ดั้งเดิมนั้น เป็นเพียงสื่อในการแลกเปลี่ยน เพื่อให้การค้าขายมีความสะดวกคล่องตัว แทนการนำสินค้าต่อสินค้า หรือบริการต่อบริการมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง และเพื่อขจัดปัญหาของความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการที่ไม่ตรงกัน
แต่ด้วยความสะดวกคล่องตัวในการถือเงินไว้ เพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนนี้เอง ทำให้เงินกลายเป็นเครื่องมือในการสะสมมูลค่าขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครที่ต้องการเงินเพื่อไปลงทุนหรือใช้จ่าย ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนมือในรูปของดอกเบี้ยกู้ยืม ทำให้เงินกลายสภาพมาเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินอีกสกุลหนึ่งในการซื้อขาย โดยมีการกำหนดราคาในรูปของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน
เมื่อเงินบาทเป็นที่ต้องการมาก ราคาย่อมสูงขึ้น ในทางการเงินเรียกว่า ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เช่น เดิมทีเงิน 1 ดอลลาร์ สามารถซื้อสินค้าเงินบาทได้ 38 บาท แต่เมื่อเงินบาทแข็ง เงินดอลลาร์เดียวกันสามารถซื้อเงินบาทได้เพียง 33 บาท หากคิดในแบบชั้นเดียวว่า ถ้าอยากให้เงินบาทอ่อนลง ก็ผลิตเงินบาทออกมาให้มากขึ้น เหมือนสินค้าที่หากผลิตออกมาสู่ตลาดมากๆ ราคาก็ย่อมลดลง วิธีการนี้ส่งผลให้เงินบาทอ่อนตัวลงจริง แต่ก็มีผลอย่างอื่นเกิดขึ้นด้วย นั่นคือ ทำให้ค่าของเงินบาทลดลง เมื่อต้องนำเงินบาทไปซื้อสินค้าจริงๆ จะต้องใช้เงินบาทเพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า เงินเฟ้อ
วิธีการที่ควรจะเป็นคือ การสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณเงินนอกที่ไหลเข้าและเงินบาทที่อยู่ในตลาด โดยทำได้สองทาง ทางแรก มี 2 กรณีคือ การลดเงินนอกที่ไหลเข้า ซึ่งแน่นอนว่า ในระบบตลาดเสรี จะไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดได้โดยตรง แต่สามารถที่จะสร้างเหตุปัจจัยในการลดแรงจูงใจต่อการนำเข้าของเงินนอก โดยหากเป็นการไหลเข้าชั่วครั้งชั่วคราว หรือเข้ามาแสวงหาผลกำไรระยะสั้น การสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม ก็ต้องเป็นมาตรการในระยะสั้น เช่น การใช้วิธีส่งสัญญาณด้วยข้อมูลข่าวสาร แต่หากเป็นการไหลเข้าเพื่อการลงทุนระยะยาว ก็สมควรที่จะพิจารณามาตรการในระยะยาว เช่น การปรับโครงสร้างภาษี หรือโครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ
กรณีที่สอง คือ การนำเงินนอกที่ไหลเข้าไปลงทุนนอกประเทศ ทั้งนี้ เพื่อลดปริมาณของเงินนอกที่อยู่ในลิ้นชักให้มีปริมาณที่พอเหมาะ โดยรัฐอาจไปลงทุนเอง หรือการอนุญาตให้เอกชนนำเงินไปลงทุนนอกประเทศได้เสรีมากขึ้น แต่วิธีนี้ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมและบ่มเพาะความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม เนื่องจากการลงทุนมีความสุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนเสมอ
ในอีกทางหนึ่ง คือ การเพิ่มปริมาณเงินบาทที่อยู่ในตลาด ด้วยวิธีกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ทำให้มีเงินบาทหมุนเวียนอยู่ในตลาดเพิ่มขึ้น แทนที่ต่างคนต่างเก็บเงินบาทไว้อยู่กับบ้านหรือในธนาคาร โดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนมือ การกระตุ้นให้ใช้จ่ายมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ซึ่งต้องมีความระมัดระวัง เพราะจะสัมพันธ์กับภาวะการมีภูมิคุ้มกันของประชาชนในทางเศรษฐกิจยามที่ประสบปัญหา กับการใช้จ่ายเพื่อการสร้างและพัฒนาอาชีพของตัว หรือเพื่อการลงทุน ซึ่งประเภทหลังนี้ จะเป็นการใช้จ่ายเพื่อศักยภาพในการสร้างรายได้ในอนาคต ที่พึงส่งเสริมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
นอกเหนือจากสองแนวทางข้างต้น สำหรับปัจเจกชนคนธรรมดาที่เป็นทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ ก็สามารถนำสัจธรรมที่ว่า เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมมีค่าขึ้นมาทันที มาพิจารณาเพื่อค้นหาว่า จะมีหนทางใดหรือไม่ที่สามารถนำไปสู่การลดความสำคัญของเงินในฐานะที่เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ยังคงบทบาทของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและการรักษาคุณค่า โดยไม่เลยไปถึงขั้นที่สะสมมูลค่า จนทำให้เกิดความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันเป็นจุดกำเนิดของลัทธิการถือเงินเป็นใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบทุนนิยม
คำตอบของหนทางนี้ มีปรากฏอยู่แล้วอย่างชัดเจนในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ซึ่งมิได้ปฏิเสธความสำคัญหรือคุณค่าของเงิน แต่ต้องประกอบด้วยความพอประมาณในการให้ความสำคัญหรือคุณค่าของเงิน เช่น การไม่เห็นเงินเป็นนายเหนือชีวิต ความมีเหตุผลในการแสวงหาและการใช้จ่ายเงินไปในทางที่ถูกต้องและดีงาม การหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเงินไปกับอบายมุข รวมถึงการใช้คุณค่าของเงินเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีในรูปแบบต่างๆ เช่น การออม การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับชีวิตในด้านจิตใจ นอกเหนือจากด้านวัตถุ ด้วยหนทางนี้ เงินจึงจะมีบทบาทสมกับหน้าที่ของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง
พอเพียงภิวัตน์ : พิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สถานการณ์ของค่าเงินบาทในปัจจุบัน ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการบริหารจัดการเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่หากดำเนินการอย่างไม่รอบคอบ จะสามารถส่งผลต่อสภาวการณ์ทางสังคมและการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
ค่าเงินบาทที่แข็ง เป็นทั้ง "เหตุ" ที่ก่อให้เกิดผลต่างๆ ติดตามมา เช่น ส่งออกได้ยากขึ้น กำไรจากการค้าขายกับเมืองนอกลดลง ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็ง ก็เป็น "ผล" มาจากเหตุการณ์อื่นๆ เช่น เงินนอกไหลเข้ามามากด้วยเช่นกัน
เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมมีค่าขึ้นมาทันที คือ สัจธรรมของเรื่องทั้งหมด การมองย้อนกลับไปพิจารณาว่า หน้าที่ของเงินแต่ดั้งเดิมนั้น เป็นเพียงสื่อในการแลกเปลี่ยน เพื่อให้การค้าขายมีความสะดวกคล่องตัว แทนการนำสินค้าต่อสินค้า หรือบริการต่อบริการมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง และเพื่อขจัดปัญหาของความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการที่ไม่ตรงกัน
แต่ด้วยความสะดวกคล่องตัวในการถือเงินไว้ เพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนนี้เอง ทำให้เงินกลายเป็นเครื่องมือในการสะสมมูลค่าขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครที่ต้องการเงินเพื่อไปลงทุนหรือใช้จ่าย ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนมือในรูปของดอกเบี้ยกู้ยืม ทำให้เงินกลายสภาพมาเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินอีกสกุลหนึ่งในการซื้อขาย โดยมีการกำหนดราคาในรูปของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน
เมื่อเงินบาทเป็นที่ต้องการมาก ราคาย่อมสูงขึ้น ในทางการเงินเรียกว่า ค่าเงินบาทแข็งขึ้น เช่น เดิมทีเงิน 1 ดอลลาร์ สามารถซื้อสินค้าเงินบาทได้ 38 บาท แต่เมื่อเงินบาทแข็ง เงินดอลลาร์เดียวกันสามารถซื้อเงินบาทได้เพียง 33 บาท หากคิดในแบบชั้นเดียวว่า ถ้าอยากให้เงินบาทอ่อนลง ก็ผลิตเงินบาทออกมาให้มากขึ้น เหมือนสินค้าที่หากผลิตออกมาสู่ตลาดมากๆ ราคาก็ย่อมลดลง วิธีการนี้ส่งผลให้เงินบาทอ่อนตัวลงจริง แต่ก็มีผลอย่างอื่นเกิดขึ้นด้วย นั่นคือ ทำให้ค่าของเงินบาทลดลง เมื่อต้องนำเงินบาทไปซื้อสินค้าจริงๆ จะต้องใช้เงินบาทเพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า เงินเฟ้อ
วิธีการที่ควรจะเป็นคือ การสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณเงินนอกที่ไหลเข้าและเงินบาทที่อยู่ในตลาด โดยทำได้สองทาง ทางแรก มี 2 กรณีคือ การลดเงินนอกที่ไหลเข้า ซึ่งแน่นอนว่า ในระบบตลาดเสรี จะไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดได้โดยตรง แต่สามารถที่จะสร้างเหตุปัจจัยในการลดแรงจูงใจต่อการนำเข้าของเงินนอก โดยหากเป็นการไหลเข้าชั่วครั้งชั่วคราว หรือเข้ามาแสวงหาผลกำไรระยะสั้น การสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม ก็ต้องเป็นมาตรการในระยะสั้น เช่น การใช้วิธีส่งสัญญาณด้วยข้อมูลข่าวสาร แต่หากเป็นการไหลเข้าเพื่อการลงทุนระยะยาว ก็สมควรที่จะพิจารณามาตรการในระยะยาว เช่น การปรับโครงสร้างภาษี หรือโครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ
กรณีที่สอง คือ การนำเงินนอกที่ไหลเข้าไปลงทุนนอกประเทศ ทั้งนี้ เพื่อลดปริมาณของเงินนอกที่อยู่ในลิ้นชักให้มีปริมาณที่พอเหมาะ โดยรัฐอาจไปลงทุนเอง หรือการอนุญาตให้เอกชนนำเงินไปลงทุนนอกประเทศได้เสรีมากขึ้น แต่วิธีนี้ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมและบ่มเพาะความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม เนื่องจากการลงทุนมีความสุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนเสมอ
ในอีกทางหนึ่ง คือ การเพิ่มปริมาณเงินบาทที่อยู่ในตลาด ด้วยวิธีกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ทำให้มีเงินบาทหมุนเวียนอยู่ในตลาดเพิ่มขึ้น แทนที่ต่างคนต่างเก็บเงินบาทไว้อยู่กับบ้านหรือในธนาคาร โดยที่ไม่เกิดการเปลี่ยนมือ การกระตุ้นให้ใช้จ่ายมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ซึ่งต้องมีความระมัดระวัง เพราะจะสัมพันธ์กับภาวะการมีภูมิคุ้มกันของประชาชนในทางเศรษฐกิจยามที่ประสบปัญหา กับการใช้จ่ายเพื่อการสร้างและพัฒนาอาชีพของตัว หรือเพื่อการลงทุน ซึ่งประเภทหลังนี้ จะเป็นการใช้จ่ายเพื่อศักยภาพในการสร้างรายได้ในอนาคต ที่พึงส่งเสริมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
นอกเหนือจากสองแนวทางข้างต้น สำหรับปัจเจกชนคนธรรมดาที่เป็นทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ ก็สามารถนำสัจธรรมที่ว่า เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมมีค่าขึ้นมาทันที มาพิจารณาเพื่อค้นหาว่า จะมีหนทางใดหรือไม่ที่สามารถนำไปสู่การลดความสำคัญของเงินในฐานะที่เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ยังคงบทบาทของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและการรักษาคุณค่า โดยไม่เลยไปถึงขั้นที่สะสมมูลค่า จนทำให้เกิดความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันเป็นจุดกำเนิดของลัทธิการถือเงินเป็นใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบทุนนิยม
คำตอบของหนทางนี้ มีปรากฏอยู่แล้วอย่างชัดเจนในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ซึ่งมิได้ปฏิเสธความสำคัญหรือคุณค่าของเงิน แต่ต้องประกอบด้วยความพอประมาณในการให้ความสำคัญหรือคุณค่าของเงิน เช่น การไม่เห็นเงินเป็นนายเหนือชีวิต ความมีเหตุผลในการแสวงหาและการใช้จ่ายเงินไปในทางที่ถูกต้องและดีงาม การหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเงินไปกับอบายมุข รวมถึงการใช้คุณค่าของเงินเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีในรูปแบบต่างๆ เช่น การออม การประกันชีวิต การประกันสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับชีวิตในด้านจิตใจ นอกเหนือจากด้านวัตถุ ด้วยหนทางนี้ เงินจึงจะมีบทบาทสมกับหน้าที่ของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 35
วิกฤตการณ์เงินบาทแข็ง
คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3916 (3116)
ผมหายหน้าหายตาไปนานเนื่องจากเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ไม่อยากออกความคิดความเห็น เพราะอาจจะไปกระทบเพื่อนที่ทำงานอยู่ในรัฐบาลนี้ และทำให้พวกเขาเสียสมาธิได้
แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกำลังเลื่อนไหลไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วง ก็เลยตัดสินใจออกมาพูดเป็นครั้งแรก ในเรื่องเศรษฐกิจการเงินที่กำลังน่าเป็นห่วง โดยมิได้ตั้งใจจะให้กระทบกระเทือนถึงใคร
เรื่องแรกอยากจะพูดมานานแล้วว่า การส่งออกและการท่องเที่ยวนั้นมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศเราเป็นประเทศเล็ก ตลาดเราก็เป็นตลาดเล็ก จะผลิตอะไรถ้าไม่ส่งออกก็ล้นตลาดเสียแล้ว อุตสาหกรรมการส่งออกและการท่องเที่ยวนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างกิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจมากมาย ประเทศเราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าประเทศอื่นๆ มีความจำเป็นต้องนำเข้าของที่เราไม่มีมากมาย นับตั้งแต่น้ำมัน ถ่านหิน และพลังงานอื่นๆ วัตถุดิบ เครื่องจักร เรื่อยไปถึงเทคโนโลยี ยิ่งต้องนำเข้ามากเท่าไหร่ ความสำคัญของ การส่งออกและการท่องเที่ยวในฐานะเป็น แหล่งหาเงินตราต่างประเทศมาใช้ในการนำเข้า ก็ยิ่งมีความสำคัญ
หลายคนคิดว่า การที่สัดส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวของเราต่อรายได้ประชาชาติของเรา ซึ่งมีประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์นั้นสูงเกินไป ทำให้เราต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากเกินไป ผมกลับเห็นว่าไม่เป็นไร และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศที่เล็ก และมีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก สัดส่วนทางการส่งออก ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ก็ยิ่งสูงขึ้น บางประเทศมูลค่าการส่งออก มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเสียอีก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และหลายๆ ประเทศที่เจริญกว่าเรา ดังนั้นสัดส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวสูงหรือต่ำไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ และทรัพยากรของประเทศนั้นๆ
ในระยะ 2 ปีมานี้ ค่าเงินบาทของเราแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันของเรา กล่าวคือนับจากต้นปี 2549 บาทเราแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เงินวอนเกาหลีใต้ แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ริงกิตมาเลเซียและดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 9-10 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงตรึงค่าไว้กับดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่นมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
เมื่อเป็นอย่างนี้ การส่งออกและการท่องเที่ยวของเราก็ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก ประสบกับการขาดทุน และแข่งขันกับต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งไม่ได้ เมื่อขาดทุนและแข่งขันไม่ได้ก็ต้องทยอยปิดโรงงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้นเรื่อยๆ อุตสาหกรรมหรือการส่งออกใดที่มีสัดส่วนใช้ของในประเทศมากกว่า คือใช้วัตถุดิบในประเทศมากก็ยิ่งขาดทุนมาก วิธีปรับตัวก็คือกดราคาวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศลง เช่น กดราคายางพาราลง กดราคากุ้งลง กดราคาธัญพืช เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว รำข้าว รวมทั้งราคาข้าวลง เพราะราคาที่ผู้ส่งออกได้รับเมื่อนำมาแตกเป็นเงินบาทลดลง
ผลเสียจึงไม่ได้ตกอยู่กับผู้ส่งออกเท่านั้น แต่มีผลไปถึงทุกส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่ผู้ส่งออก ผู้ผลิตชิ้นส่วน และวัตถุดิบของผู้ส่งออก เรื่อยไปถึงชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนยาง
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้น คนในเมืองเสียหายย่ำแย่ แต่เมื่อค่าเงินบาทตก คนในชนบท ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนยางดีขึ้น เพราะราคาพืชผลดีขึ้น แต่เที่ยวนี้ที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบตกอยู่กับทั้งคนในเมือง ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ในชนบทหมดทุกส่วน จะดีขึ้น ก็เฉพาะผู้นำเข้า หรือผู้ที่ใช้ของที่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือผู้ที่จะไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือผู้ที่มีลูกเรียนหนังสืออยู่ในต่างประเทศเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงของ ค่าเงินบาทจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องรักษาไว้ให้มีเสถียรภาพ และให้อยู่ในระดับที่ ไม่เสียเปรียบคู่แข่งของเรา เช่น จีน และประเทศอื่นๆ แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้ดูแลผู้ส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวของเรา ซึ่งถูกกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้และความผันผวนทางการเมืองของเราเอง
ที่ต้องถือว่าค่าเงินบาทเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะเกิดการคาดการณ์ทั้งในตลาดในและนอกประเทศแล้วว่า ทางการไทยไม่มีความสามารถ ที่จะทำอะไรได้ เพราะมีทัศนคติที่แปลก ที่ไม่อยากจะทำอะไรที่ตนต้องรับผิดชอบ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาสู้อยู่เฉยๆ ดีกว่า ดังจะเห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ที่ขัดกับเหตุผลทางเศรษฐกิจ หรือบางครั้งก็ออกมา "แก้ตัว" มากกว่าที่อยากจะ "แก้ไข" จนกลายเป็นการให้ท้ายนักเก็งกำไร ตัวอย่างเช่น
- อัตราแลกเปลี่ยนไม่กระทบกับการส่งออก ไม่กระทบกับเศรษฐกิจ ซึ่งไม่จริง ผู้พูดก็รู้ว่าไม่จริง
- ผู้ส่งออกต้องรู้จักปรับตัว เป็นการพูดที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ผู้ส่งออกหรือเอกชนนั้นปกติปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ถ้าเขาทำได้ไม่ต้องรอให้ทางการมาบอกหรอก
- ทางการทำอะไรไม่ได้แล้ว ทำหมดพุงแล้ว ทำดีที่สุดแล้ว ทำได้เพียงแค่นี้ซึ่งไม่จริง มีเรื่องที่จะทำได้อีกมากแต่ไม่ยอมทำ เพราะยึดติดกับสิ่งที่สร้างขึ้นมา อย่างเมื่อปี 2540 ที่ไม่ยอมลดค่าเงินบาทเพราะยึดติดกับตะกร้าเงินที่ตนสร้างขึ้นมา คราวนี้ก็ยึดติดกับ "สูตรเป้าหมายเงินเฟ้อ" ดอกเบี้ยซึ่งควรจะต้องใช้เป็นเครื่องมือร่วมกับเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ พร้อมๆ กัน ก็เลย ทำไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยก็ต้องรอกำหนด วันเวลาที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้น การยึดติดเช่นว่าเท่ากับเป็นการมัดมือมัดเท้าตัวเอง ทำให้ขาดความคล่องตัว นโยบายดอกเบี้ยไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้ว่าการ ธปท. แต่เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ว่าการก็รอดตัวไปจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งไม่น่าจะถูก ทั้งผู้ว่าการ รัฐมนตรีคลัง และนายกรัฐมนตรียังต้องรับผิดชอบอยู่ดี เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประเทศชาติและประชาชน
- พูดให้ท้ายนักเก็งกำไร เช่น ทางการ จะทำให้เงินอ่อนลงเป็น 36 บาทต่อดอลลาร์ไม่ได้ แต่เงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์ได้ การพูดเช่นนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดการ คาดการณ์ว่า เงินบาทจะแข็งต่อเป็น 28 บาท ต่อดอลาร์ ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวลง ไม่พูดเสียดีกว่า
- การให้ข่าวว่าอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยนไม่เกี่ยวข้องกัน ก็เป็นการพูดที่ไม่ตรง ความจริง อย่างไรก็เกี่ยวข้องกันเพียงแต่จะช้า หรือเร็ว เพราะอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยน เหมือนด้านหัวกับด้านก้อยของเหรียญอันเดียวกัน เงินเยนอ่อนลงเพราะดอกเบี้ยเงินเยนต่ำทั้งที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว ทำให้มี "carry trade" คนกู้เงินเยนมาเล่นดอลลาร์แล้วมาเล่นเงินบาท ต่อการพูดไม่ตรงความจริงทำให้เกียรติภูมิของสถาบันเสียหาย
- การที่ตลาดเงินบาทแยกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดภายในประเทศกับตลาดต่างประเทศ และมีค่าของเงินที่ต่างกันมาก เป็นเครื่องชี้ถึงความผิดปกติของตลาดเงินบาท และมีคนทำกำไรจากความแตกต่างนี้ได้โดยวิธี "โพยก๊วน" คือ จ่ายเงินที่กรุงเทพฯแล้วไปรับเงินที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกง โดยไม่ผ่านธนาคาร และยังมีผลต่อการคาดการณ์ของตลาด ว่าอัตราแลกเปลี่ยน ในประเทศจะวิ่งเข้าหาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากมาตรการให้ผู้นำเข้าดอลลาร์ต้องกันสำรองไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องซื้อประกันความเสี่ยงเต็มตามจำนวน แต่เมื่อต้องยกเว้นให้นำเงินเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ มาตรการที่ไม่ได้ผลก็ควรเลิกเสียดีกว่า
ถ้าจะหยุดยั้งการแข็งค่าของเงินบาท โดยไม่ทำให้ตลาดถูกบิดเบือน ก็ต้องทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน เพราะปัญหาหนักมากแล้ว
อย่างแรกก็คือลดดอกเบี้ยลงสัก 1.0 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายและควรจะลดทีเดียวไม่ควรจะลดทีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เพราะการค่อยๆ ลดจะทำให้ไม่เกิดผล และเกิดการคาดการณ์ต่อไปและต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงอัตราเป้าหมาย เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว
พร้อมๆ กับการลดดอกเบี้ย ทางการก็เข้าแทรกแซงตลาด อาจจะต้องขัดใจกับไอเอ็มเอฟหน่อย และต้องทำให้พอจนเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ เงินบาทแข็งต่อไป ธปท.ก็จะขาดทุน ถ้าทำจนบาทอ่อนตัวลงได้ ธปท.ก็จะกำไร ถ้าอ่อนตัวลงได้ถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะล้างขาดทุนเก่าออกได้หมด ใครก็จะมาต่อว่าไม่ได้
เมื่อออกมาแทรกแซงตลาด เงินบาทในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นมากเกิน ธปท.ก็ดูดซับเงินบาทกลับไปโดยการออกพันธบัตร ถ้าดอกเบี้ยเงินบาทต่ำ กว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ ธปท.ก็ไม่ขาดทุน ดอกเบี้ยเท่ากัน ธปท.เปลี่ยนดอลลาร์ในทุนสำรองเป็นพันธบัตรซึ่งตลาดยังรับได้ แล้วถ้าตลาดพันธบัตรเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นผลดีกับการพัฒนาการลงทุนอีกโสตหนึ่งด้วย
การลดดอกเบี้ยอย่างแรงคงจะทำให้ราคาพันธบัตรในท้องตลาดที่มีอยู่แล้วขึ้นราคา แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วง
การดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะพาบ้านเมืองเข้าไปเสี่ยงกับอะไร เพราะเป็นการซื้อดอลลาร์ เอามาเก็บไว้ ทำให้ทุนสำรองเพิ่ม
ขณะเดียวกันก็จัดการบริหารหนี้ต่างประเทศของภาครัฐ อันได้แก่หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยออกพันธบัตรเอาเงินบาท ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์แล้วไปใช้หนี้คืนก่อนกำหนดอย่างน้อยสักครึ่งหนึ่ง
ในส่วนของเอกชน ถ้าผ่อนคลายกฎของ ธปท.ที่จะทำให้ภาคเอกชนสามารถยืมเงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้คืนหนี้ดอลลาร์ได้ เพราะหนี้เงินต่างประเทศเป็นหนี้ของเอกชนเสียตั้งกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้า ธปท.ผ่อนคลายได้ เอกชนคงรีบเปลี่ยนหนี้ดอลลลาร์มาเป็นหนี้เงินบาทแทน เพราะจะได้กำไร เพราะตอนได้มาเงินบาทมีราคากว่า 40 บาทต่อเหรียญ ถ้าคืนหนี้ตอนนี้เงินบาทมีราคา 33 บาทต่อเหรียญ เป็นการช่วยธุรกิจเอกชนด้วย ส่วนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยเงินที่เหลือกองอยู่ในธนาคารด้วย เพราะ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้มีอยู่เพียง 85 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากเท่านั้น ที่เอกชนถูกบังคับให้ไปกู้ต่างประเทศ เพราะกฎ ธปท.ที่ให้นับสินเชื่อของบริษัทในกลุ่มเดียวกันเป็นสินเชื่อที่ต้องจำกัดปริมาณเพื่อความมั่นคงของธนาคาร ให้สินเชื่อไม่กระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป
สุดท้ายเร่งโครงการพัฒนาต่างๆ ให้เร็วขึ้น โดยใช้เงินกู้เป็นเงินบาทในประเทศให้มากขึ้น แม้จะไม่เกิดผลทันที แต่ก็น่าจะมีผลทางจิตวิทยาว่า ประเทศยังต้องใช้เงินดอลลาร์อย่างมาก
ที่สำคัญนโยบายให้คนไทยเก็บเงินดอลลาร์ได้ ให้เอาเงินออกไปซื้อหุ้นเมืองนอกได้ ไม่ควรทำตอนนี้ ไม่มีผล เพราะผู้คนกำลังคาดการณ์ว่า เงินบาทกำลังจะแข็งต่อไป มีแต่คนอยากเก็บเงินบาท จะมีผลก็ตอนที่คนคาดว่าเงินบาทจะอ่อน คนก็จะเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ต้องสั่งยกเลิกอีก กลายเป็นตัวทำให้บาทไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต ถึงตอนสถานการณ์พลิกกลับอาจจะมีปัญหาได้
ข้อสำคัญต้องตัดสินใจ จะอยู่เฉยๆ นอนรอความตายไม่ได้ ถ้าทำผิดก็เลิกแก้ไขใหม่ ไม่มีใครว่า แต่ถ้าไม่ทำอะไรเกิดความเสียหาย ผู้คนจะต่อว่าอย่างหนัก
ขอให้กำลังใจ ธปท.และรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จ
หน้า 49
คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3916 (3116)
ผมหายหน้าหายตาไปนานเนื่องจากเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ไม่อยากออกความคิดความเห็น เพราะอาจจะไปกระทบเพื่อนที่ทำงานอยู่ในรัฐบาลนี้ และทำให้พวกเขาเสียสมาธิได้
แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกำลังเลื่อนไหลไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วง ก็เลยตัดสินใจออกมาพูดเป็นครั้งแรก ในเรื่องเศรษฐกิจการเงินที่กำลังน่าเป็นห่วง โดยมิได้ตั้งใจจะให้กระทบกระเทือนถึงใคร
เรื่องแรกอยากจะพูดมานานแล้วว่า การส่งออกและการท่องเที่ยวนั้นมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศเราเป็นประเทศเล็ก ตลาดเราก็เป็นตลาดเล็ก จะผลิตอะไรถ้าไม่ส่งออกก็ล้นตลาดเสียแล้ว อุตสาหกรรมการส่งออกและการท่องเที่ยวนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างกิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจมากมาย ประเทศเราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าประเทศอื่นๆ มีความจำเป็นต้องนำเข้าของที่เราไม่มีมากมาย นับตั้งแต่น้ำมัน ถ่านหิน และพลังงานอื่นๆ วัตถุดิบ เครื่องจักร เรื่อยไปถึงเทคโนโลยี ยิ่งต้องนำเข้ามากเท่าไหร่ ความสำคัญของ การส่งออกและการท่องเที่ยวในฐานะเป็น แหล่งหาเงินตราต่างประเทศมาใช้ในการนำเข้า ก็ยิ่งมีความสำคัญ
หลายคนคิดว่า การที่สัดส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวของเราต่อรายได้ประชาชาติของเรา ซึ่งมีประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์นั้นสูงเกินไป ทำให้เราต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากเกินไป ผมกลับเห็นว่าไม่เป็นไร และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศที่เล็ก และมีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก สัดส่วนทางการส่งออก ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ก็ยิ่งสูงขึ้น บางประเทศมูลค่าการส่งออก มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเสียอีก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และหลายๆ ประเทศที่เจริญกว่าเรา ดังนั้นสัดส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวสูงหรือต่ำไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ และทรัพยากรของประเทศนั้นๆ
ในระยะ 2 ปีมานี้ ค่าเงินบาทของเราแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันของเรา กล่าวคือนับจากต้นปี 2549 บาทเราแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เงินวอนเกาหลีใต้ แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ริงกิตมาเลเซียและดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 9-10 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงตรึงค่าไว้กับดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่นมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
เมื่อเป็นอย่างนี้ การส่งออกและการท่องเที่ยวของเราก็ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก ประสบกับการขาดทุน และแข่งขันกับต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งไม่ได้ เมื่อขาดทุนและแข่งขันไม่ได้ก็ต้องทยอยปิดโรงงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้นเรื่อยๆ อุตสาหกรรมหรือการส่งออกใดที่มีสัดส่วนใช้ของในประเทศมากกว่า คือใช้วัตถุดิบในประเทศมากก็ยิ่งขาดทุนมาก วิธีปรับตัวก็คือกดราคาวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศลง เช่น กดราคายางพาราลง กดราคากุ้งลง กดราคาธัญพืช เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว รำข้าว รวมทั้งราคาข้าวลง เพราะราคาที่ผู้ส่งออกได้รับเมื่อนำมาแตกเป็นเงินบาทลดลง
ผลเสียจึงไม่ได้ตกอยู่กับผู้ส่งออกเท่านั้น แต่มีผลไปถึงทุกส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่ผู้ส่งออก ผู้ผลิตชิ้นส่วน และวัตถุดิบของผู้ส่งออก เรื่อยไปถึงชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนยาง
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้น คนในเมืองเสียหายย่ำแย่ แต่เมื่อค่าเงินบาทตก คนในชนบท ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนยางดีขึ้น เพราะราคาพืชผลดีขึ้น แต่เที่ยวนี้ที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบตกอยู่กับทั้งคนในเมือง ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ในชนบทหมดทุกส่วน จะดีขึ้น ก็เฉพาะผู้นำเข้า หรือผู้ที่ใช้ของที่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือผู้ที่จะไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือผู้ที่มีลูกเรียนหนังสืออยู่ในต่างประเทศเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงของ ค่าเงินบาทจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องรักษาไว้ให้มีเสถียรภาพ และให้อยู่ในระดับที่ ไม่เสียเปรียบคู่แข่งของเรา เช่น จีน และประเทศอื่นๆ แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้ดูแลผู้ส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวของเรา ซึ่งถูกกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้และความผันผวนทางการเมืองของเราเอง
ที่ต้องถือว่าค่าเงินบาทเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะเกิดการคาดการณ์ทั้งในตลาดในและนอกประเทศแล้วว่า ทางการไทยไม่มีความสามารถ ที่จะทำอะไรได้ เพราะมีทัศนคติที่แปลก ที่ไม่อยากจะทำอะไรที่ตนต้องรับผิดชอบ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาสู้อยู่เฉยๆ ดีกว่า ดังจะเห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ที่ขัดกับเหตุผลทางเศรษฐกิจ หรือบางครั้งก็ออกมา "แก้ตัว" มากกว่าที่อยากจะ "แก้ไข" จนกลายเป็นการให้ท้ายนักเก็งกำไร ตัวอย่างเช่น
- อัตราแลกเปลี่ยนไม่กระทบกับการส่งออก ไม่กระทบกับเศรษฐกิจ ซึ่งไม่จริง ผู้พูดก็รู้ว่าไม่จริง
- ผู้ส่งออกต้องรู้จักปรับตัว เป็นการพูดที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ผู้ส่งออกหรือเอกชนนั้นปกติปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ถ้าเขาทำได้ไม่ต้องรอให้ทางการมาบอกหรอก
- ทางการทำอะไรไม่ได้แล้ว ทำหมดพุงแล้ว ทำดีที่สุดแล้ว ทำได้เพียงแค่นี้ซึ่งไม่จริง มีเรื่องที่จะทำได้อีกมากแต่ไม่ยอมทำ เพราะยึดติดกับสิ่งที่สร้างขึ้นมา อย่างเมื่อปี 2540 ที่ไม่ยอมลดค่าเงินบาทเพราะยึดติดกับตะกร้าเงินที่ตนสร้างขึ้นมา คราวนี้ก็ยึดติดกับ "สูตรเป้าหมายเงินเฟ้อ" ดอกเบี้ยซึ่งควรจะต้องใช้เป็นเครื่องมือร่วมกับเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ พร้อมๆ กัน ก็เลย ทำไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยก็ต้องรอกำหนด วันเวลาที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้น การยึดติดเช่นว่าเท่ากับเป็นการมัดมือมัดเท้าตัวเอง ทำให้ขาดความคล่องตัว นโยบายดอกเบี้ยไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้ว่าการ ธปท. แต่เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ว่าการก็รอดตัวไปจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งไม่น่าจะถูก ทั้งผู้ว่าการ รัฐมนตรีคลัง และนายกรัฐมนตรียังต้องรับผิดชอบอยู่ดี เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประเทศชาติและประชาชน
- พูดให้ท้ายนักเก็งกำไร เช่น ทางการ จะทำให้เงินอ่อนลงเป็น 36 บาทต่อดอลลาร์ไม่ได้ แต่เงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์ได้ การพูดเช่นนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดการ คาดการณ์ว่า เงินบาทจะแข็งต่อเป็น 28 บาท ต่อดอลาร์ ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวลง ไม่พูดเสียดีกว่า
- การให้ข่าวว่าอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยนไม่เกี่ยวข้องกัน ก็เป็นการพูดที่ไม่ตรง ความจริง อย่างไรก็เกี่ยวข้องกันเพียงแต่จะช้า หรือเร็ว เพราะอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยน เหมือนด้านหัวกับด้านก้อยของเหรียญอันเดียวกัน เงินเยนอ่อนลงเพราะดอกเบี้ยเงินเยนต่ำทั้งที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว ทำให้มี "carry trade" คนกู้เงินเยนมาเล่นดอลลาร์แล้วมาเล่นเงินบาท ต่อการพูดไม่ตรงความจริงทำให้เกียรติภูมิของสถาบันเสียหาย
- การที่ตลาดเงินบาทแยกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดภายในประเทศกับตลาดต่างประเทศ และมีค่าของเงินที่ต่างกันมาก เป็นเครื่องชี้ถึงความผิดปกติของตลาดเงินบาท และมีคนทำกำไรจากความแตกต่างนี้ได้โดยวิธี "โพยก๊วน" คือ จ่ายเงินที่กรุงเทพฯแล้วไปรับเงินที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกง โดยไม่ผ่านธนาคาร และยังมีผลต่อการคาดการณ์ของตลาด ว่าอัตราแลกเปลี่ยน ในประเทศจะวิ่งเข้าหาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากมาตรการให้ผู้นำเข้าดอลลาร์ต้องกันสำรองไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องซื้อประกันความเสี่ยงเต็มตามจำนวน แต่เมื่อต้องยกเว้นให้นำเงินเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ มาตรการที่ไม่ได้ผลก็ควรเลิกเสียดีกว่า
ถ้าจะหยุดยั้งการแข็งค่าของเงินบาท โดยไม่ทำให้ตลาดถูกบิดเบือน ก็ต้องทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน เพราะปัญหาหนักมากแล้ว
อย่างแรกก็คือลดดอกเบี้ยลงสัก 1.0 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายและควรจะลดทีเดียวไม่ควรจะลดทีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เพราะการค่อยๆ ลดจะทำให้ไม่เกิดผล และเกิดการคาดการณ์ต่อไปและต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงอัตราเป้าหมาย เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว
พร้อมๆ กับการลดดอกเบี้ย ทางการก็เข้าแทรกแซงตลาด อาจจะต้องขัดใจกับไอเอ็มเอฟหน่อย และต้องทำให้พอจนเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ เงินบาทแข็งต่อไป ธปท.ก็จะขาดทุน ถ้าทำจนบาทอ่อนตัวลงได้ ธปท.ก็จะกำไร ถ้าอ่อนตัวลงได้ถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะล้างขาดทุนเก่าออกได้หมด ใครก็จะมาต่อว่าไม่ได้
เมื่อออกมาแทรกแซงตลาด เงินบาทในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นมากเกิน ธปท.ก็ดูดซับเงินบาทกลับไปโดยการออกพันธบัตร ถ้าดอกเบี้ยเงินบาทต่ำ กว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ ธปท.ก็ไม่ขาดทุน ดอกเบี้ยเท่ากัน ธปท.เปลี่ยนดอลลาร์ในทุนสำรองเป็นพันธบัตรซึ่งตลาดยังรับได้ แล้วถ้าตลาดพันธบัตรเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นผลดีกับการพัฒนาการลงทุนอีกโสตหนึ่งด้วย
การลดดอกเบี้ยอย่างแรงคงจะทำให้ราคาพันธบัตรในท้องตลาดที่มีอยู่แล้วขึ้นราคา แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วง
การดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะพาบ้านเมืองเข้าไปเสี่ยงกับอะไร เพราะเป็นการซื้อดอลลาร์ เอามาเก็บไว้ ทำให้ทุนสำรองเพิ่ม
ขณะเดียวกันก็จัดการบริหารหนี้ต่างประเทศของภาครัฐ อันได้แก่หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยออกพันธบัตรเอาเงินบาท ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์แล้วไปใช้หนี้คืนก่อนกำหนดอย่างน้อยสักครึ่งหนึ่ง
ในส่วนของเอกชน ถ้าผ่อนคลายกฎของ ธปท.ที่จะทำให้ภาคเอกชนสามารถยืมเงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้คืนหนี้ดอลลาร์ได้ เพราะหนี้เงินต่างประเทศเป็นหนี้ของเอกชนเสียตั้งกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้า ธปท.ผ่อนคลายได้ เอกชนคงรีบเปลี่ยนหนี้ดอลลลาร์มาเป็นหนี้เงินบาทแทน เพราะจะได้กำไร เพราะตอนได้มาเงินบาทมีราคากว่า 40 บาทต่อเหรียญ ถ้าคืนหนี้ตอนนี้เงินบาทมีราคา 33 บาทต่อเหรียญ เป็นการช่วยธุรกิจเอกชนด้วย ส่วนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยเงินที่เหลือกองอยู่ในธนาคารด้วย เพราะ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้มีอยู่เพียง 85 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากเท่านั้น ที่เอกชนถูกบังคับให้ไปกู้ต่างประเทศ เพราะกฎ ธปท.ที่ให้นับสินเชื่อของบริษัทในกลุ่มเดียวกันเป็นสินเชื่อที่ต้องจำกัดปริมาณเพื่อความมั่นคงของธนาคาร ให้สินเชื่อไม่กระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป
สุดท้ายเร่งโครงการพัฒนาต่างๆ ให้เร็วขึ้น โดยใช้เงินกู้เป็นเงินบาทในประเทศให้มากขึ้น แม้จะไม่เกิดผลทันที แต่ก็น่าจะมีผลทางจิตวิทยาว่า ประเทศยังต้องใช้เงินดอลลาร์อย่างมาก
ที่สำคัญนโยบายให้คนไทยเก็บเงินดอลลาร์ได้ ให้เอาเงินออกไปซื้อหุ้นเมืองนอกได้ ไม่ควรทำตอนนี้ ไม่มีผล เพราะผู้คนกำลังคาดการณ์ว่า เงินบาทกำลังจะแข็งต่อไป มีแต่คนอยากเก็บเงินบาท จะมีผลก็ตอนที่คนคาดว่าเงินบาทจะอ่อน คนก็จะเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ต้องสั่งยกเลิกอีก กลายเป็นตัวทำให้บาทไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต ถึงตอนสถานการณ์พลิกกลับอาจจะมีปัญหาได้
ข้อสำคัญต้องตัดสินใจ จะอยู่เฉยๆ นอนรอความตายไม่ได้ ถ้าทำผิดก็เลิกแก้ไขใหม่ ไม่มีใครว่า แต่ถ้าไม่ทำอะไรเกิดความเสียหาย ผู้คนจะต่อว่าอย่างหนัก
ขอให้กำลังใจ ธปท.และรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จ
หน้า 49
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 36
การแก้ไขค่าเงินแข็งของมาเลเซีย
มติชนรายวัน วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10727
หมายเหตุ - บทความชิ้นนี้เป็นผลงานของ "โชติชัย สุวรรณาภรณ์" ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ชี้ให้เห็นถึงมาตรการของประเทศมาเลเซีย ในการสกัดปัญหาการแข็งค่าของเงินริงกิต ซึ่งถือว่าค่อนข้างได้ผล ในขณะที่บ้านเราก็กำลังพยายามหาทางออกในเรื่องเดียวกัน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ "มติชน" เห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจ จึงขอนำรายละเอียดมาเสนอ ดังนี้
ในช่วงนี้มีแต่คนเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่า ถ้าใครไม่พูดเรื่องนี้จะถูกหาว่าเชย ในประเทศมาเลเซีย ก็ประสบปัญหาริงกิตแข็ง เราลองมาดูซิว่าเขาใช้มาตรการอะไรบ้าง เพื่อมาสกัดการแข็งค่าของเงิน ซึ่งน่าจะมีผลให้หลังจากประกาศมาตรการต่างๆ ออกไปในวันที่ 21 มีนาคม 2550 ทำให้ค่าเงินริงกิตไม่ค่อยแข็งค่ามากนัก มาตรการที่มาเลเซียออกมามีดังนี้
1.อนุญาตให้คนที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศ (Foreign Currency Account (FCA)) โดยไม่จำกัดจำนวน ในกรณีที่บุคคลนั้นไม่มีวงเงินสินเชื่อเป็นเงินริงกิตภายในประเทศ แต่หากคนนั้นๆ มีวงเงินสินเชื่อเป็นเงินริงกิตภายในประเทศ จะสามารถเปิดบัญชีและมีเงินฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้ไม่เกิน 1 ล้านริงกิต (หรือประมาณ 10 ล้านบาทไทย) ต่อปี
สำหรับในกรณีบริษัทที่มีถิ่นที่อยู่ในมาเลเซียก็สามารถฝากเงินตราต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน แต่หากมีวงเงินสินเชื่อเป็นเงินริงกิต บริษัทนั้นจะสามารถฝากเงินตราต่างประเทศได้เพียง 50 ล้านริงกิต (หรือประมาณ 500 ล้านบาท)
สำหรับคนต่างชาติที่อาศัยในมาเลเซียสามารถฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด และสำหรับทุกกรณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การฝากเงินในบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศจะใช้วิธีการแลกเงินริงกิต เป็นเงินสกุลต่างประเทศเพื่อนำมาฝากในบัญชี FCA ก็ได้
2.อนุญาตให้บริษัทและคนที่อยู่อาศัยในมาเลเซีย ลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในรูปการให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศแก่บุคคลและบริษัททั้งที่อยู่ในและนอกมาเลเซีย และการลงทุนโดยซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ ในกรณีลงทุนโดยใช้แหล่งเงินจากวงเงินสินเชื่อต่างประเทศ ในกรณีนี้บริษัทจะลงทุนได้ไม่เกิน 100 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนในกรณีบุคคลจะลงทุนได้ไม่เกิน 10 ล้านริงกิต หรือประมาณ 100 ล้านบาท
แต่หากเป็นกรณีการลงทุนในต่างประเทศ โดยใช้วิธีแลกเงินริงกิตเป็นเงินตราต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นของบุคคล หรือบริษัทที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อเงินริงกิตภายในประเทศ จะสามารถนำเงินต่างประเทศไปลงทุนโดยไม่จำกัดจำนวน แต่หากเป็นบุคคลที่มีวงเงินสินเชื่อเงินริงกิตในประเทศจะลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 1 ล้านริงกิตต่อปี และหากเป็นบริษัทที่มีวงเงินสินเชื่อริงกิตในประเทศ จะสามารถนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านริงกิตต่อปี
3.อนุญาตให้นักลงทุนสถาบันลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้ถึง 50% ของสินทรัพย์รวม เช่น บริษัทจัดการสินทรัพย์กองทุนรวม และบริษัทประกันให้สามารถนำเงินตราต่างประเทศไปลงทุนต่างประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหรือเงินที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ (Net Asset Value)
4.อนุญาตให้บุคคลและบริษัทในประเทศสามารถจ่ายชำระเงินกันเป็นเงินตราต่างประเทศได้ ในกรณีที่มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ
5.ยกเลิกข้อจำกัดในการดำรงสถานะเปิดของหนี้สินและทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (Net Open Position Limit) ของธนาคารพาณิชย์ จากเดิมที่กำหนดเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เป็นไม่มีเพดานข้อจำกัด
6.อนุญาตให้บุคคลในมาเลเซียเปิดบัญชีและมีบัญชีร่วมที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ (Joint Foreign Currency) เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อจำกัด จากเดิมที่อนุญาตเฉพาะการนำเงินต่างประเทศไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์เรื่อง การศึกษาและการทำงานในต่างประเทศ
วิธีการของมาเลเซียในการชะลอการแข็งค่าของเงินริงกิตค่อนข้างได้ผล ดูจากค่าเงินของเขาที่แข็งไปเพียงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เขาทำในตอนที่สถานการณ์และจังหวะเหมาะสม จึงมีส่วนให้มาตรการได้ผลดี เราจึงอาจเรียนรู้จากบทเรียนของเขาได้ ไม่ทราบว่ามาตรการของไทยที่กำลังจะออกมา จะมีความใกล้เคียงหรือแตกต่างอย่างไร แต่คงเดาได้ว่า น่าจะเป็นมาตรการที่จะเพิ่มอุปสงค์ในเงินตราต่างประเทศ และลดอุปสงค์ในเงินบาทและช่วยให้คนไทยมีความรู้เพิ่มขึ้นในการลงทุนในเงินตราต่างประเทศ มีการกระจายความเสี่ยงและรู้จักบริหารจัดการการลงทุนมากขึ้น
หน้า 20
มติชนรายวัน วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10727
หมายเหตุ - บทความชิ้นนี้เป็นผลงานของ "โชติชัย สุวรรณาภรณ์" ผู้อำนวยการส่วนนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ชี้ให้เห็นถึงมาตรการของประเทศมาเลเซีย ในการสกัดปัญหาการแข็งค่าของเงินริงกิต ซึ่งถือว่าค่อนข้างได้ผล ในขณะที่บ้านเราก็กำลังพยายามหาทางออกในเรื่องเดียวกัน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ "มติชน" เห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจ จึงขอนำรายละเอียดมาเสนอ ดังนี้
ในช่วงนี้มีแต่คนเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่า ถ้าใครไม่พูดเรื่องนี้จะถูกหาว่าเชย ในประเทศมาเลเซีย ก็ประสบปัญหาริงกิตแข็ง เราลองมาดูซิว่าเขาใช้มาตรการอะไรบ้าง เพื่อมาสกัดการแข็งค่าของเงิน ซึ่งน่าจะมีผลให้หลังจากประกาศมาตรการต่างๆ ออกไปในวันที่ 21 มีนาคม 2550 ทำให้ค่าเงินริงกิตไม่ค่อยแข็งค่ามากนัก มาตรการที่มาเลเซียออกมามีดังนี้
1.อนุญาตให้คนที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศ (Foreign Currency Account (FCA)) โดยไม่จำกัดจำนวน ในกรณีที่บุคคลนั้นไม่มีวงเงินสินเชื่อเป็นเงินริงกิตภายในประเทศ แต่หากคนนั้นๆ มีวงเงินสินเชื่อเป็นเงินริงกิตภายในประเทศ จะสามารถเปิดบัญชีและมีเงินฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้ไม่เกิน 1 ล้านริงกิต (หรือประมาณ 10 ล้านบาทไทย) ต่อปี
สำหรับในกรณีบริษัทที่มีถิ่นที่อยู่ในมาเลเซียก็สามารถฝากเงินตราต่างประเทศได้ไม่จำกัดจำนวน แต่หากมีวงเงินสินเชื่อเป็นเงินริงกิต บริษัทนั้นจะสามารถฝากเงินตราต่างประเทศได้เพียง 50 ล้านริงกิต (หรือประมาณ 500 ล้านบาท)
สำหรับคนต่างชาติที่อาศัยในมาเลเซียสามารถฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด และสำหรับทุกกรณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การฝากเงินในบัญชีเงินฝากสกุลต่างประเทศจะใช้วิธีการแลกเงินริงกิต เป็นเงินสกุลต่างประเทศเพื่อนำมาฝากในบัญชี FCA ก็ได้
2.อนุญาตให้บริษัทและคนที่อยู่อาศัยในมาเลเซีย ลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในรูปการให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศแก่บุคคลและบริษัททั้งที่อยู่ในและนอกมาเลเซีย และการลงทุนโดยซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ ในกรณีลงทุนโดยใช้แหล่งเงินจากวงเงินสินเชื่อต่างประเทศ ในกรณีนี้บริษัทจะลงทุนได้ไม่เกิน 100 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนในกรณีบุคคลจะลงทุนได้ไม่เกิน 10 ล้านริงกิต หรือประมาณ 100 ล้านบาท
แต่หากเป็นกรณีการลงทุนในต่างประเทศ โดยใช้วิธีแลกเงินริงกิตเป็นเงินตราต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นของบุคคล หรือบริษัทที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อเงินริงกิตภายในประเทศ จะสามารถนำเงินต่างประเทศไปลงทุนโดยไม่จำกัดจำนวน แต่หากเป็นบุคคลที่มีวงเงินสินเชื่อเงินริงกิตในประเทศจะลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 1 ล้านริงกิตต่อปี และหากเป็นบริษัทที่มีวงเงินสินเชื่อริงกิตในประเทศ จะสามารถนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านริงกิตต่อปี
3.อนุญาตให้นักลงทุนสถาบันลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้ถึง 50% ของสินทรัพย์รวม เช่น บริษัทจัดการสินทรัพย์กองทุนรวม และบริษัทประกันให้สามารถนำเงินตราต่างประเทศไปลงทุนต่างประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหรือเงินที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ (Net Asset Value)
4.อนุญาตให้บุคคลและบริษัทในประเทศสามารถจ่ายชำระเงินกันเป็นเงินตราต่างประเทศได้ ในกรณีที่มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ
5.ยกเลิกข้อจำกัดในการดำรงสถานะเปิดของหนี้สินและทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (Net Open Position Limit) ของธนาคารพาณิชย์ จากเดิมที่กำหนดเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์เป็นไม่มีเพดานข้อจำกัด
6.อนุญาตให้บุคคลในมาเลเซียเปิดบัญชีและมีบัญชีร่วมที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ (Joint Foreign Currency) เป็นการทั่วไปโดยไม่มีข้อจำกัด จากเดิมที่อนุญาตเฉพาะการนำเงินต่างประเทศไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์เรื่อง การศึกษาและการทำงานในต่างประเทศ
วิธีการของมาเลเซียในการชะลอการแข็งค่าของเงินริงกิตค่อนข้างได้ผล ดูจากค่าเงินของเขาที่แข็งไปเพียงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เขาทำในตอนที่สถานการณ์และจังหวะเหมาะสม จึงมีส่วนให้มาตรการได้ผลดี เราจึงอาจเรียนรู้จากบทเรียนของเขาได้ ไม่ทราบว่ามาตรการของไทยที่กำลังจะออกมา จะมีความใกล้เคียงหรือแตกต่างอย่างไร แต่คงเดาได้ว่า น่าจะเป็นมาตรการที่จะเพิ่มอุปสงค์ในเงินตราต่างประเทศ และลดอุปสงค์ในเงินบาทและช่วยให้คนไทยมีความรู้เพิ่มขึ้นในการลงทุนในเงินตราต่างประเทศ มีการกระจายความเสี่ยงและรู้จักบริหารจัดการการลงทุนมากขึ้น
หน้า 20
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 37
ส่วนนี้ต่อจากหมายเหตุของบทความข้างต้น
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 38
ย้อนรอยวิกฤติเศรษฐกิจและค่าเงิน (1)
พลวัตเศรษฐกิจ : อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ดูเหมือนว่า มาตรการชะลอการแข็งค่าเงินบาทยังไม่ได้ผลมากนัก เพราะกระแสเม็ดเงินระยะสั้นยังคงไหลเข้าเอเชีย และไทยอย่างต่อเนื่อง มาตรการหลายอย่างที่ออกมาโดยรัฐบาลจะเกิดผลสร้างแรงจูงใจให้เงินไหลออกก็ต่อเมื่อ ระดับของอัตราดอกเบี้ยจะต้องต่ำมากพอ
อย่างการมีนโยบายให้รัฐวิสาหกิจเร่งการชำระหนี้ต่างประเทศจะไม่เกิดขึ้นเลย เพราะจะไม่มีใครปฏิบัติตาม หากเงินกู้ต่างประเทศมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศ ฉะนั้นต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำมาก พอที่สร้างแรงจูงใจ ให้รัฐวิสาหกิจ Refinance จ่ายหนี้นอก
แม้จะเกิดปัญหาการแข็งค่าเงินบาทอย่างรวดเร็วจนภาคส่งออกปรับตัวไม่ทัน แต่ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจภายนอก ที่ยังคงสดใส ทำให้ความเป็นไปได้ของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 ต่ำลง
ปัญหาค่าเงินจะยังไม่นำมาสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด
เพราะหากเราย้อนรอยดูวิกฤติปี 2540 แล้ว ก็จะพบว่า ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจจะปะทุขึ้นในปี 2540 นั้น เศรษฐกิจไทยได้สะสมปัญหามาหลายปี ปัจจัยภายนอกหรือเศรษฐกิจโลกนั้นอยู่ในสภาพที่ซ้ำเติมสถานการณ์ในประเทศ ให้หนักหนาสาหัสมากขึ้นด้วย
แต่วันนี้ไม่ใช่ เอเชียกำลังอยู่ในช่วงเวลาของความรุ่งเรืองรอบใหม่ และฟองสบู่ไม่ได้แตกในระยะเวลาอันใกล้นี้
นับจากกลางปี พ.ศ.2540 จุดปะทุของวิกฤติเริ่มต้นในไทยจากการลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย และก่อคลื่นวิกฤติลุกลามไปยังรัสเซีย และเศรษฐกิจเกิดใหม่อีกหลายๆ ประเทศ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของระบบเศรษฐกิจภายใต้โลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี
ช่วงเวลาดังกล่าว เศรษฐกิจโลกก็ตกอยู่ในความเปราะบางมาโดยตลอด กระแสการเก็งกำไรค่าเงิน และตลาดการเงินโดยเฮดจ์ฟันด์ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพของระบบการเงินโลก จนนำไปสู่การเรียกร้อง ให้มีการจัดระเบียบการเงินโลกใหม่ และการลุกขึ้นต่อต้านการจัดการ วิกฤตการณ์เงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศว่า ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับวิกฤตการณ์ใหม่ๆ ที่โลกเผชิญอยู่
นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการจำนวนหนึ่งวิจารณ์ว่า ไอเอ็มเอฟตั้งใจให้ยาผิด บางท่านพัฒนาเป็น ทฤษฎีสมคบกัน เป็นการสมคบกันระหว่างองค์กรระหว่างประเทศอย่างไอเอ็มเอฟ สถาบันการเงินข้ามชาติ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ รัฐบาลตะวันตก สมคบเพื่อเอาประโยชน์หรือปล้นประเทศดาวรุ่งเอเชียด้วยเกมการเงินอันซับซ้อน
และเราถูกสอนให้ยอมรับมันและถูกทำให้เชื่อว่า การแสวงหากำไรอย่างไร้ขอบเขตเป็นสิ่งที่ถูกต้องในระบบทุนนิยมโลก ทั้งที่บิดาแห่งสำนักทุนนิยมให้ความสำคัญกับจริยธรรมในการกำกับกลไกของระบบทุนนิยม
วิกฤติเอเชียยังไม่ทันจางหายดีนัก เศรษฐกิจตะวันตกต้องเผชิญกับการแตกสลายของฟองสบู่อินเทอร์เน็ต โดยฟองสบู่อินเทอร์เน็ตที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในสหรัฐและชาติตะวันตก
มูลค่าของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทดอทคอมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสูงเกินความเป็นจริงมากโดยคลื่นแห่งการเก็งกำไร
มีการจัดตั้งกองทุนประเภทเวนเจอร์แคปปิตอลเป็นจำนวนมากขึ้นมาลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั้งตั้งใหม่และมีพื้นฐานดี ในช่วงเวลานั้นใครๆ ก็มองการลงทุนในยุคฟองสบู่อินเทอร์เน็ตเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ ซึ่งอีกแนวไปตามโมเดลธุรกิจทั่วๆ ไป โดยให้ความสำคัญต่อราคาหุ้นที่พุ่งทะยานขึ้น มากกว่าจะมองที่ผลกำไรขาดทุนของธุรกิจ
มีกรณีอื้อฉาวของการตกแต่งบัญชีเพื่อปั่นราคาหุ้นเกิดขึ้นมากมาย เริ่มตั้งแต่กรณีของเอ็นรอน ก็มีกรณีตกแต่งบัญชีคล้ายๆ กัน ถูกเปิดโปงออกมาเป็นทิวแถว ในจำนวนนั้นรวมถึงเวิลด์คอมและโกลบอล ครอสซิง ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอนาคตไกล ที่ต้องเผชิญหายนะตามหลังเอ็นรอนไปในเวลาไม่นานนัก
ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤติศรัทธาทุนนิยมยิ่งปะทุหนัก เมื่อมีการค้นพบปัญหาการตกแต่งบัญชีคล้ายๆ กันในบริษัทยักษ์ใหญ่ของยุโรป ตั้งแต่ปามาลัต โรยัล ดัทช์ เชลล์ และเอโฮลด์ แม้แต่ในญี่ปุ่นก็ไม่อยู่ในข่ายยกเว้น โดยคดีที่กำลังดังสุดขีด ได้แก่ ยักษ์ใหญ่เครื่องสำอาง "คาเนโบ" และ "ไลฟ์ดอร์" บริษัทอินเทอร์เน็ตชื่อดัง
นับจากนั้น กระแสเรียกร้องเรื่องการปฏิรูประบบการเงินของโลก จึงพ่วงด้วยข้อเสนอของการจัดระเบียบโลกใหม่ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบธรรมาภิบาลทั้งในระดับภาครัฐและธุรกิจเอกชน
หลังเกิดวิกฤติครั้งล่าสุดทุนนิยมโลกและทุนนิยมไทย ก็หันมาให้ความสำคัญต่อประเด็นธรรมาภิบาล และความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
เอ็นรอนยักษ์ใหญ่แห่งวงการพลังงานที่มีพนักงานและมีธุรกิจกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก พร้อมตัวเลขรายได้รวมในปี 2000 สูงถึง 101 พันล้านดอลลาร์ ต้องเผชิญกับปัญหาอื้อฉาวของการตกแต่งบัญชี และต้องล้มละลายตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลาย เมื่อปลายปี 2001 กรณีเอ็นรอนเกิดขึ้นในเวลาไล่เรียงกับสถานการณ์ฟองสบู่อินเทอร์เน็ตแตก
นี่คือ รอยด่างครั้งสำคัญของระบบทุนนิยมแบบอเมริกัน
ศุกร์หน้า เราจะมาสำรวจถึงรอยด่างของระบบทุนนิยมไทยกันบ้าง
พลวัตเศรษฐกิจ : อนุสรณ์ ธรรมใจ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ดูเหมือนว่า มาตรการชะลอการแข็งค่าเงินบาทยังไม่ได้ผลมากนัก เพราะกระแสเม็ดเงินระยะสั้นยังคงไหลเข้าเอเชีย และไทยอย่างต่อเนื่อง มาตรการหลายอย่างที่ออกมาโดยรัฐบาลจะเกิดผลสร้างแรงจูงใจให้เงินไหลออกก็ต่อเมื่อ ระดับของอัตราดอกเบี้ยจะต้องต่ำมากพอ
อย่างการมีนโยบายให้รัฐวิสาหกิจเร่งการชำระหนี้ต่างประเทศจะไม่เกิดขึ้นเลย เพราะจะไม่มีใครปฏิบัติตาม หากเงินกู้ต่างประเทศมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศ ฉะนั้นต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำมาก พอที่สร้างแรงจูงใจ ให้รัฐวิสาหกิจ Refinance จ่ายหนี้นอก
แม้จะเกิดปัญหาการแข็งค่าเงินบาทอย่างรวดเร็วจนภาคส่งออกปรับตัวไม่ทัน แต่ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจภายนอก ที่ยังคงสดใส ทำให้ความเป็นไปได้ของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 ต่ำลง
ปัญหาค่าเงินจะยังไม่นำมาสู่วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด
เพราะหากเราย้อนรอยดูวิกฤติปี 2540 แล้ว ก็จะพบว่า ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจจะปะทุขึ้นในปี 2540 นั้น เศรษฐกิจไทยได้สะสมปัญหามาหลายปี ปัจจัยภายนอกหรือเศรษฐกิจโลกนั้นอยู่ในสภาพที่ซ้ำเติมสถานการณ์ในประเทศ ให้หนักหนาสาหัสมากขึ้นด้วย
แต่วันนี้ไม่ใช่ เอเชียกำลังอยู่ในช่วงเวลาของความรุ่งเรืองรอบใหม่ และฟองสบู่ไม่ได้แตกในระยะเวลาอันใกล้นี้
นับจากกลางปี พ.ศ.2540 จุดปะทุของวิกฤติเริ่มต้นในไทยจากการลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย และก่อคลื่นวิกฤติลุกลามไปยังรัสเซีย และเศรษฐกิจเกิดใหม่อีกหลายๆ ประเทศ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของระบบเศรษฐกิจภายใต้โลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี
ช่วงเวลาดังกล่าว เศรษฐกิจโลกก็ตกอยู่ในความเปราะบางมาโดยตลอด กระแสการเก็งกำไรค่าเงิน และตลาดการเงินโดยเฮดจ์ฟันด์ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพของระบบการเงินโลก จนนำไปสู่การเรียกร้อง ให้มีการจัดระเบียบการเงินโลกใหม่ และการลุกขึ้นต่อต้านการจัดการ วิกฤตการณ์เงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศว่า ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับวิกฤตการณ์ใหม่ๆ ที่โลกเผชิญอยู่
นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการจำนวนหนึ่งวิจารณ์ว่า ไอเอ็มเอฟตั้งใจให้ยาผิด บางท่านพัฒนาเป็น ทฤษฎีสมคบกัน เป็นการสมคบกันระหว่างองค์กรระหว่างประเทศอย่างไอเอ็มเอฟ สถาบันการเงินข้ามชาติ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ รัฐบาลตะวันตก สมคบเพื่อเอาประโยชน์หรือปล้นประเทศดาวรุ่งเอเชียด้วยเกมการเงินอันซับซ้อน
และเราถูกสอนให้ยอมรับมันและถูกทำให้เชื่อว่า การแสวงหากำไรอย่างไร้ขอบเขตเป็นสิ่งที่ถูกต้องในระบบทุนนิยมโลก ทั้งที่บิดาแห่งสำนักทุนนิยมให้ความสำคัญกับจริยธรรมในการกำกับกลไกของระบบทุนนิยม
วิกฤติเอเชียยังไม่ทันจางหายดีนัก เศรษฐกิจตะวันตกต้องเผชิญกับการแตกสลายของฟองสบู่อินเทอร์เน็ต โดยฟองสบู่อินเทอร์เน็ตที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในสหรัฐและชาติตะวันตก
มูลค่าของหุ้นบริษัทเทคโนโลยีและบริษัทดอทคอมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสูงเกินความเป็นจริงมากโดยคลื่นแห่งการเก็งกำไร
มีการจัดตั้งกองทุนประเภทเวนเจอร์แคปปิตอลเป็นจำนวนมากขึ้นมาลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั้งตั้งใหม่และมีพื้นฐานดี ในช่วงเวลานั้นใครๆ ก็มองการลงทุนในยุคฟองสบู่อินเทอร์เน็ตเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ ซึ่งอีกแนวไปตามโมเดลธุรกิจทั่วๆ ไป โดยให้ความสำคัญต่อราคาหุ้นที่พุ่งทะยานขึ้น มากกว่าจะมองที่ผลกำไรขาดทุนของธุรกิจ
มีกรณีอื้อฉาวของการตกแต่งบัญชีเพื่อปั่นราคาหุ้นเกิดขึ้นมากมาย เริ่มตั้งแต่กรณีของเอ็นรอน ก็มีกรณีตกแต่งบัญชีคล้ายๆ กัน ถูกเปิดโปงออกมาเป็นทิวแถว ในจำนวนนั้นรวมถึงเวิลด์คอมและโกลบอล ครอสซิง ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมอนาคตไกล ที่ต้องเผชิญหายนะตามหลังเอ็นรอนไปในเวลาไม่นานนัก
ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤติศรัทธาทุนนิยมยิ่งปะทุหนัก เมื่อมีการค้นพบปัญหาการตกแต่งบัญชีคล้ายๆ กันในบริษัทยักษ์ใหญ่ของยุโรป ตั้งแต่ปามาลัต โรยัล ดัทช์ เชลล์ และเอโฮลด์ แม้แต่ในญี่ปุ่นก็ไม่อยู่ในข่ายยกเว้น โดยคดีที่กำลังดังสุดขีด ได้แก่ ยักษ์ใหญ่เครื่องสำอาง "คาเนโบ" และ "ไลฟ์ดอร์" บริษัทอินเทอร์เน็ตชื่อดัง
นับจากนั้น กระแสเรียกร้องเรื่องการปฏิรูประบบการเงินของโลก จึงพ่วงด้วยข้อเสนอของการจัดระเบียบโลกใหม่ ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบธรรมาภิบาลทั้งในระดับภาครัฐและธุรกิจเอกชน
หลังเกิดวิกฤติครั้งล่าสุดทุนนิยมโลกและทุนนิยมไทย ก็หันมาให้ความสำคัญต่อประเด็นธรรมาภิบาล และความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
เอ็นรอนยักษ์ใหญ่แห่งวงการพลังงานที่มีพนักงานและมีธุรกิจกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก พร้อมตัวเลขรายได้รวมในปี 2000 สูงถึง 101 พันล้านดอลลาร์ ต้องเผชิญกับปัญหาอื้อฉาวของการตกแต่งบัญชี และต้องล้มละลายตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลาย เมื่อปลายปี 2001 กรณีเอ็นรอนเกิดขึ้นในเวลาไล่เรียงกับสถานการณ์ฟองสบู่อินเทอร์เน็ตแตก
นี่คือ รอยด่างครั้งสำคัญของระบบทุนนิยมแบบอเมริกัน
ศุกร์หน้า เราจะมาสำรวจถึงรอยด่างของระบบทุนนิยมไทยกันบ้าง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 39
การบริหารจัดการค่าเงินบาท
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ
กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ผู้รับผิดชอบด้านนโยบายกำหนดเป้าหมายของค่าเงินบาทที่ชัดเจน (เปิดเผยหรือไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนก็ได้) โดยเทียบกับ ANCHOR และ INTERVENTION CURRENCY คือ ดอลลาร์สหรัฐไม่ให้แข็งเกินกว่าระดับใดระดับหนึ่งในแต่ละปี (เช่นไม่ให้แข็งกว่า 34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นเดือนธันวาคม ปี 2550) โดยพิจารณาจาก
1) เป้าหมายนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่แข่งในเอเชีย เทียบกับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เช่น จีน (ประกาศค่อนข้างชัด) สิงคโปร์ มาเลเซีย (ไม่ประกาศชัดเจน แต่เปิดเผยโดยพฤติกรรมการบริหารจัดการของธนาคารกลาง) และเกาหลีใต้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในประเทศเป็นจำนวนมาก และ
2) รูปแบบกับจำนวนเงินทุนที่เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าไหลออกประเทศไทยตามธรรมชาติในแต่ละเดือน โดยระหว่างวัน ธปท.จะต้องติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด และพร้อมที่จะเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยจ่ายเป็นเงินบาทที่ได้จากการขายพันธบัตร ธปท. ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (RP 3.25%) และนำเอาเงินดอลลาร์สหรัฐไปฝากที่ต่างประเทศเป็นเงินสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าคือ 5% ต่อปี ในกรณีที่ค่าเงินบาทในตลาดเปลี่ยนแปลงตามแรงกดดันของตลาดมากเกินไปจนเกือบจะหลุดเป้าหมาย เพื่อดึงให้ค่าเงินกลับมาอยู่ในช่วงเป้าหมาย และมีมาตรการระยะสั้นและระยะกลางถึงยาว ตามมาดังนี้
มาตรการบริหารจัดการค่าเงินบาทระยะสั้นที่ควรทำเป็นอย่างน้อยคือ
1.ยกเลิกมาตรการปริวรรตเงินตราที่ผู้ส่งออกจะต้องขายเงินตราต่างประเทศแก่ธนาคารพาณิชย์ภายใน 14 วัน เพื่อยืดระยะเวลาในการถือครองเงินสกุลดอลลาร์ของผู้ส่งออก พร้อมกับอนุญาตให้ผู้ส่งออก หรือผู้ที่มีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ในอนาคตสามารถมีบัญชีเงินฝากในรูปเงินตราต่างประเทศ กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้เป็นการทั่วไป
2.ตั้งและขยายกองทุนเพื่อบริหารจัดการ OUTWARD CAPITAL FLOWS ของไทยไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น กบข. กองทุนรวมเอกชนต่างๆ และกองทุนจัดตั้งใหม่ของรัฐ โดยในส่วนของ ธปท.จะต้องมีหน้าที่บริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศที่เหลืออยู่ ซึ่งควรมีการทำ RISK MANAGEMENT โดยการกระจายการถือครองทุนสำรองเป็นเงินสกุลอื่นนอกจากเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้ ธปท.ขาดทุนมากนักเมื่อเงินบาทต้องแข็งค่าขึ้นบ้าง (เช่น ปีละไม่เกิน 5%) เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ต้องมีการฝึกอบรมผู้จัดการกองทุนของทุกหน่วยงานให้มีความรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะบริหารความเสี่ยงจากค่าเงินผันแปร ของเงินลงทุนต่างประเทศ ภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น
3.คืนเงินกู้ต่างประเทศของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ โดยกู้เงินบาทในประเทศมา REFINANCE อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้เงินบาทต่ำเพื่อสนับสนุน รวมทั้ง ธปท.จะต้องยกเลิกหรือเพิ่ม SINGLE LENDING LIMIT ของการให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งแก่กลุ่มบริษัทรัฐวิสาหกิจและเอกชนรายใหญ่ เช่น ปตท. การบินไทย (ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ทุกบริษัทในเครือรวมกันของแต่ละกลุ่มได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของแต่ละธนาคารนั้นๆ) เป็นต้น
อนึ่ง พฤติกรรมที่ผ่านมาของผู้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาด ON-SHORE รวมทั้งพฤติกรรมการบริหารจัดการ หรือไม่บริหารจัดการค่าเงินบาทของ ธปท. ทางสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ของกระทรวงการคลัง ได้ติดตามมาทุกวันและทุกชั่วโมงตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 พร้อมทั้งได้ประมาณการล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ว่า การไหลเข้าไหลออกของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทุกประเภทจะเป็นเท่าไรและจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่าไรในสัปดาห์ต่อไป
หาก ธปท.เข้าหรือไม่เข้าบริหารจัดการค่าเงิน และถ้า ธปท.ต้องเข้าจัดการค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะต้องเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยออกพันธบัตร ธปท.เพื่อระดมเงินบาทเป็นจำนวนเท่าไรจึงจะไม่หลุดเป้า (คือไม่ให้บาทแข็งเกินระดับเป้าหมายที่ควรกำหนดในแต่ละเดือน) กรอบการติดตามและข้อเสนอแนะ TIMING, AMOUNT และ INTERVENTION BEHAVIOR ของ ธปท.ถูกนำเสนอในคณะกรรมการติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงินการคลังประจำเดือนของ สศค.โดยมีตัวแทนของกระทรวงเศรษฐกิจ รวมทั้ง ธปท.เข้าร่วมด้วยทุกครั้ง ซึ่งทำมาแล้วกว่า 4 ปี
เพียงแต่ว่าข้อเสนอด้านการบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และเรื่องการเงินการธนาคารต่างๆ คงไม่เข้าถึงหูผู้บริหารระดับสูง หรือสูงสุดของ ธปท. ซึ่งถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุดของ ธปท. จะใช้ประโยชน์จากกลไกและความสามารถที่พัฒนาขึ้นมาร่วมกันในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก็คงจะยังไม่สายจนเกินไป และควรติดต่อกับผู้อำนวยการ สศค. และ/หรือ ผู้อำนวยการ สวค. เพื่อประสานงานเอาผลการวิเคราะห์ไปใช้ ประกอบการกำหนดนโยบายค่าเงินบาท ก็จะอำนวยความสะดวกด้วยความยินดี และเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง
มาตรการบริหารจัดการค่าเงินบาทระยะปานกลางถึงยาว
1.ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และเอกชนต้องป้องกันความเสี่ยงจากการส่งออก-นำเข้า ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยการกระจายความเสี่ยงโดยใช้เงินสกุลอื่นเพิ่มเติมบ้าง เช่น ทำการค้าขายในรูปของเงินยูโร และเงินเยนเสริมกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
2.ใช้โอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ขยายการลงทุน เช่น การซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องจักรเก่า เพื่อประหยัดพลังงาน ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตสินค้า
3.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยซึ่งผลิตเพื่อส่งออกโดยใช้แรงงานไร้ฝีมือ ขยายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศ โดยให้กู้เงินบาทในอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก (LABOR INTENSIVE) เหล่านี้
4.พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกที่ด้วยเหตุผลต่างๆ ยังจะต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่เฉพาะในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกไทย องค์กรนี้ควรเป็นองค์กรอิสระร่วมระหว่างรัฐกับเอกชน (NATIONAL COMPETITIVENESS PROMOTION AGENCY) เช่นเดียวกับหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ
กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ผู้รับผิดชอบด้านนโยบายกำหนดเป้าหมายของค่าเงินบาทที่ชัดเจน (เปิดเผยหรือไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนก็ได้) โดยเทียบกับ ANCHOR และ INTERVENTION CURRENCY คือ ดอลลาร์สหรัฐไม่ให้แข็งเกินกว่าระดับใดระดับหนึ่งในแต่ละปี (เช่นไม่ให้แข็งกว่า 34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นเดือนธันวาคม ปี 2550) โดยพิจารณาจาก
1) เป้าหมายนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่แข่งในเอเชีย เทียบกับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เช่น จีน (ประกาศค่อนข้างชัด) สิงคโปร์ มาเลเซีย (ไม่ประกาศชัดเจน แต่เปิดเผยโดยพฤติกรรมการบริหารจัดการของธนาคารกลาง) และเกาหลีใต้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในประเทศเป็นจำนวนมาก และ
2) รูปแบบกับจำนวนเงินทุนที่เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าไหลออกประเทศไทยตามธรรมชาติในแต่ละเดือน โดยระหว่างวัน ธปท.จะต้องติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด และพร้อมที่จะเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยจ่ายเป็นเงินบาทที่ได้จากการขายพันธบัตร ธปท. ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (RP 3.25%) และนำเอาเงินดอลลาร์สหรัฐไปฝากที่ต่างประเทศเป็นเงินสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าคือ 5% ต่อปี ในกรณีที่ค่าเงินบาทในตลาดเปลี่ยนแปลงตามแรงกดดันของตลาดมากเกินไปจนเกือบจะหลุดเป้าหมาย เพื่อดึงให้ค่าเงินกลับมาอยู่ในช่วงเป้าหมาย และมีมาตรการระยะสั้นและระยะกลางถึงยาว ตามมาดังนี้
มาตรการบริหารจัดการค่าเงินบาทระยะสั้นที่ควรทำเป็นอย่างน้อยคือ
1.ยกเลิกมาตรการปริวรรตเงินตราที่ผู้ส่งออกจะต้องขายเงินตราต่างประเทศแก่ธนาคารพาณิชย์ภายใน 14 วัน เพื่อยืดระยะเวลาในการถือครองเงินสกุลดอลลาร์ของผู้ส่งออก พร้อมกับอนุญาตให้ผู้ส่งออก หรือผู้ที่มีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ในอนาคตสามารถมีบัญชีเงินฝากในรูปเงินตราต่างประเทศ กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศได้เป็นการทั่วไป
2.ตั้งและขยายกองทุนเพื่อบริหารจัดการ OUTWARD CAPITAL FLOWS ของไทยไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น กบข. กองทุนรวมเอกชนต่างๆ และกองทุนจัดตั้งใหม่ของรัฐ โดยในส่วนของ ธปท.จะต้องมีหน้าที่บริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศที่เหลืออยู่ ซึ่งควรมีการทำ RISK MANAGEMENT โดยการกระจายการถือครองทุนสำรองเป็นเงินสกุลอื่นนอกจากเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้ ธปท.ขาดทุนมากนักเมื่อเงินบาทต้องแข็งค่าขึ้นบ้าง (เช่น ปีละไม่เกิน 5%) เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ต้องมีการฝึกอบรมผู้จัดการกองทุนของทุกหน่วยงานให้มีความรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะบริหารความเสี่ยงจากค่าเงินผันแปร ของเงินลงทุนต่างประเทศ ภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น
3.คืนเงินกู้ต่างประเทศของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ โดยกู้เงินบาทในประเทศมา REFINANCE อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้เงินบาทต่ำเพื่อสนับสนุน รวมทั้ง ธปท.จะต้องยกเลิกหรือเพิ่ม SINGLE LENDING LIMIT ของการให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งแก่กลุ่มบริษัทรัฐวิสาหกิจและเอกชนรายใหญ่ เช่น ปตท. การบินไทย (ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ทุกบริษัทในเครือรวมกันของแต่ละกลุ่มได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนของแต่ละธนาคารนั้นๆ) เป็นต้น
อนึ่ง พฤติกรรมที่ผ่านมาของผู้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาด ON-SHORE รวมทั้งพฤติกรรมการบริหารจัดการ หรือไม่บริหารจัดการค่าเงินบาทของ ธปท. ทางสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ของกระทรวงการคลัง ได้ติดตามมาทุกวันและทุกชั่วโมงตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 พร้อมทั้งได้ประมาณการล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ว่า การไหลเข้าไหลออกของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทุกประเภทจะเป็นเท่าไรและจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่าไรในสัปดาห์ต่อไป
หาก ธปท.เข้าหรือไม่เข้าบริหารจัดการค่าเงิน และถ้า ธปท.ต้องเข้าจัดการค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ จะต้องเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยออกพันธบัตร ธปท.เพื่อระดมเงินบาทเป็นจำนวนเท่าไรจึงจะไม่หลุดเป้า (คือไม่ให้บาทแข็งเกินระดับเป้าหมายที่ควรกำหนดในแต่ละเดือน) กรอบการติดตามและข้อเสนอแนะ TIMING, AMOUNT และ INTERVENTION BEHAVIOR ของ ธปท.ถูกนำเสนอในคณะกรรมการติดตามภาวะเศรษฐกิจการเงินการคลังประจำเดือนของ สศค.โดยมีตัวแทนของกระทรวงเศรษฐกิจ รวมทั้ง ธปท.เข้าร่วมด้วยทุกครั้ง ซึ่งทำมาแล้วกว่า 4 ปี
เพียงแต่ว่าข้อเสนอด้านการบริหารนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และเรื่องการเงินการธนาคารต่างๆ คงไม่เข้าถึงหูผู้บริหารระดับสูง หรือสูงสุดของ ธปท. ซึ่งถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุดของ ธปท. จะใช้ประโยชน์จากกลไกและความสามารถที่พัฒนาขึ้นมาร่วมกันในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก็คงจะยังไม่สายจนเกินไป และควรติดต่อกับผู้อำนวยการ สศค. และ/หรือ ผู้อำนวยการ สวค. เพื่อประสานงานเอาผลการวิเคราะห์ไปใช้ ประกอบการกำหนดนโยบายค่าเงินบาท ก็จะอำนวยความสะดวกด้วยความยินดี และเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง
มาตรการบริหารจัดการค่าเงินบาทระยะปานกลางถึงยาว
1.ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และเอกชนต้องป้องกันความเสี่ยงจากการส่งออก-นำเข้า ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยการกระจายความเสี่ยงโดยใช้เงินสกุลอื่นเพิ่มเติมบ้าง เช่น ทำการค้าขายในรูปของเงินยูโร และเงินเยนเสริมกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
2.ใช้โอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ขยายการลงทุน เช่น การซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องจักรเก่า เพื่อประหยัดพลังงาน ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตสินค้า
3.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยซึ่งผลิตเพื่อส่งออกโดยใช้แรงงานไร้ฝีมือ ขยายฐานการผลิตไปสู่ต่างประเทศ โดยให้กู้เงินบาทในอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก (LABOR INTENSIVE) เหล่านี้
4.พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกที่ด้วยเหตุผลต่างๆ ยังจะต้องตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่เฉพาะในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกไทย องค์กรนี้ควรเป็นองค์กรอิสระร่วมระหว่างรัฐกับเอกชน (NATIONAL COMPETITIVENESS PROMOTION AGENCY) เช่นเดียวกับหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 40
ถ้าเราเลิกนโยบายเงินบาทอ่อนอย่างจริงจัง
โดย มีพาศน์ โปตระนันทน์
มติชนรายวัน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10734
ตลอดเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ผู้คุมนโยบายทางการเงินของประเทศไทยมักจะพยายามดำเนินนโยบายค่าเงินบาทอ่อน เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกโดยได้ลดหรือกดค่าเงินบาทจากดอลลาร์ละ 18 บาท ในปี 2516 จนกลายเป็นดอลลาร์ละเกือบ 40 บาท เมื่อไม่นานมานี้
แต่ยังดีที่ ธปท.ปล่อยเงินบาทให้ลอยตัวค่าสูงขึ้นเป็น 33 บาทเศษในปัจจุบัน
ผู้ที่นิยมค่าเงินบาทอ่อนมากดูเหมือนจะเป็น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ซึ่งเคยประกาศลดค่าเงินบาทเป็นทางการโดยไม่จำเป็น เมื่อ 3 พ.ย.2527 จาก 23 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนโยบายค่าเงินบาทอ่อนและเคยคัดค้านมาตลอด
เพราะนโยบายนี้ถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วจะพบว่าไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะมีผลทำให้ของแพง น้ำมันแพง ค่าไฟฟ้าแพง ค่าครองชีพสูง ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน หรือเท่ากับเก็บภาษีจากคนยากจนหรือเอาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ ไปอุดหนุนการส่งออกและความร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีของผู้ส่งออกส่วนมาก
นโยบายค่าเงินบาทอ่อนจึงเป็นเหตุที่ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมากยิ่งขึ้น (โดยไม่มีใครรู้สึกจึงปฏิบัติมาได้เรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้นปัจจุบันผู้ส่งออกส่วนมากก็เป็นบริษัทข้ามชาติ
แต่ขณะนี้ ดร.วีรพงษ์ได้แสดงความเห็นว่า ธปท.ควรแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนลง โดยใช้วงเงินที่ ธปท.ขอออกพันธบัตรไป 400,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าไม่พอก็ต้องขออนุมัติเงินเพิ่มเติมโดยทันทีจนเพียงพอ และต้องลดดอกเบี้ยโดยควรให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มิฉะนั้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
ผู้เขียนยืนยันได้ว่าถ้ามองปัญหาด้วยใจเป็นกลาง โดยเปรียบเทียบกับในต่างประเทศจะพบว่า นโยบายเงินบาทอ่อนผิดพลาดอย่างมหันต์
เพราะความจริงโดยปกติแล้ว ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจดีพอควร เนื่องจากเราอยู่ในระบบแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการของเราค่อนข้างแข็งแรง และเจริญก้าวหน้าพอควร
ประเทศที่เศรษฐกิจค่อนข้างดีเช่นนี้ มักจะได้เปรียบดุลบัญชีเงินสะพัดและดุลชำระเงิน ค่าเงินมักจะค่อยๆ ลอยตัวสูงขึ้นเองเป็นธรรมดา
เช่น ค่าเงิน เยอรมนี สวิส ฮอลแลนด์ และสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น ค่าเงินฟรังก์สวิสขึ้นจากฟรังก์ละ 6 บาท เป็นฟรังก์ละ 28 บาท เป็นต้น (ทั้งนี้เพราะเขาไม่ใช้นโยบายค่าเงินอ่อน) ส่งผลให้น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าและบริการที่ซื้อจากต่างประเทศ รวมทั้งค่าจ้างต่างประเทศวิจัยและพัฒนา R&D and outsourcing) ฯลฯ ถูกลงหลายเท่าตัว, ทำให้ประชาชนของเขา (ซึ่งมีรายได้สูงขึ้นตามความเจริญของประเทศมีค่าครองชีพต่ำลงตาม มีกำลังซื้อสูงขึ้นมาก และภาคส่งออกของเขาก็มีต้นทุนต่ำลง และพลอยได้ประโยชน์จากการขายภายในประเทศ ได้มากขึ้นอย่างมหาศาล ตามกำลังซื้อที่สูงขึ้นมาก (เช่น ในเยอรมนี ชาวเยอรมันนีฐานะและกำลังซื้อสูงก็ซื้อรถยนต์เบนซ์ใช้เองมากมายทั่วเยอรมนี ฯลฯ เยอรมนีก็กลายเป็นประเทศที่รวยมาก) นโยบายนี้จึงอยู่มาได้ตลอดเพราะประชาชนของเขาเข้าใจและสนับสนุน
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยพยายามทำให้เงินบาทอ่อนจึงเป็นการพยายามฝ่าฝืนความจริง ฝ่าฝืนกลไกตลาดและไม่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และไม่เป็นธรรมด้วย ซึ่งยากที่จะเกิดผลดีแก่เศรษฐกิจโดยรวมได้
เราจึงจำเป็นจะต้องปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินให้สมดุลและเป็นธรรมโดยให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น โดยเราจะต้องปล่อยเงินบาทให้แข็งค่าสูงขึ้นได้โดยเสรี ซึ่งในระยะนี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทจะค่อยๆ แข็งคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ผู้ว่าการ ธปท.เองก็ยังเคยกล่าวว่า ถ้า ธปท.ไม่เข้าแทรกแซง ค่าเงินบาทคงจะแข็งขึ้นไปถึง 29 บาทในคราวนี้) จนเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง (ซึ่งคงจะยังบอกแน่นอนยังไม่ได้ว่าอีกนานเท่าใด เพราะขึ้นอยู่กับว่านโยบาย และการปฏิบัติในอนาคตเราจะทำได้ดีแค่ไหน) ก็น่าจะแข็งถึงดอลลาร์ละไม่เกิน 16 บาทหรือแข็งกว่านั้น (ถึงแม้ในบางช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีอาจมีการชะงักหรืออ่อนค่าต่ำลงได้บ้างเป็นธรรมดา) ทำนองเดียวกับที่เงินเยอรมนี สวิส ฮอลแลนด์ และสิงคโปร์ได้ขึ้นค่ามาหลายเท่าตัวดังกล่าวแล้ว
เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเองโดยเสรีนี้จะเป็นผลดีต่อประชาชนและต่อผู้ส่งออกส่วนใหญ่ด้วย เพราะจะทำให้น้ำมันถูกลงได้ ถึงหนึ่งเท่าตัว ค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย ของจะถูกลงเนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนลดต่ำลง จึงต้องตัดราคากันเอง เพื่อแย่งส่วนแบ่งของตลาด ปริมาณสินค้าที่ขายได้จะเพิ่มขึ้น
การผลิตและความต้องการแรงงานก็จะเพิ่มขึ้นตาม อัตราค่าแรงงานจะเพิ่มสูงขึ้น แต่สินค้าและบริการที่ซื้อจากต่างประเทศ จะถูกลงหนึ่งเท่าตัว ค่าครองชีพจะต่ำลงอัตราเงินเฟ้อต่ำลง เครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิต วัตถุดิบ ฯลฯ จะถูกลง
หนี้สินเงินตราต่างประเทศของเราจะลดลงหลายแสนล้านบาท เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะเป็นเงินบาทที่มีอำนาจซื้อมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งดีที่สุด ประชาชนทั้งประเทศรวมทั้งผู้ที่ยากจนข้นแค้นแสนสาหัสที่ไม่มีใครห่วงใย ที่มีรายได้เป็นเงินบาท จะมีฐานะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาล สินค้าและบริการขายได้มากขึ้น ผู้ผลิตเจ้าของโรงงานต่างๆ ก็ย่อมจะผลิตสินค้าขายได้มากขึ้น (มิฉะนั้นจะเอาที่ไหนมาขาย) จีดีพีจะเพิ่มขึ้น
สินค้าที่เราผลิตได้จะจำหน่ายในประเทศได้มากกว่าปัจจุบันเป็นทวีคูณ ซึ่งจะกลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่โตมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เราไม่ต้องการพึ่งภาคส่งออกมากเกินไปจนถึงกับต้องส่งสินค้าออกไปขายในราคาต่ำกว่าความจริง โดยวิธีพยายามกดค่าเงินบาทให้อ่อนกว่าความจริง ประเทศไทยก็จะมีภาคการผลิตเพื่อให้ประชาชนอุปโภค และบริโภคที่ใหญ่โตมาก ทำนองเดียวกันกับการผลิตในประเทศที่ร่ำรวย (เช่นญี่ปุ่น ซึ่งมีการผลิตเพื่อใช้เองภายในประเทศประมาณ 3 ใน 4 และสหรัฐก็ผลิตเพื่อใช้เองเกือบทั้งหมด ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกมีเพียงสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น)
ความเจริญทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเพราะผลิตสินค้าขายให้ประชาชนอุปโภคบริโภคภายในประเทศได้มากนี้ จะมีอัตราสูงและจะทำให้ประชาชนมีระดับการครอบชีพสูงขึ้นมากจึงจะมีเสถียรภาพมากกว่าความเจริญ เพราะการส่งออกเพียงอย่างเดียวอย่างที่แล้วมา
ความเจริญที่เกิดจากภาคการผลิตที่สำคัญทั้งสองภาคนี้รวมกันแล้ว จะถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ ของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างพอเพียง พึ่งตนเอง และส่งผลโดยตรงถึงประชาชนผู้ยากจนที่ไม่เคยมีใครเป็นปากเสียงให้ สมดุลและเป็นธรรม ลดช่องว่างระหว่างมหาเศรษฐี และคนยากจนที่จะมีผลจริงจังที่สุด ยิ่งกว่าวิธีการสังคมนิยมใดๆ (การเก็บภาษีมรดก, ภาษีทรัพย์สิน ฯลฯ แม้จะดูน่าสนใจแต่ถ้าจะนำไปช่วยคนยากจนได้บ้างก็จะมีผลเล็กน้อยมาก)
ถ้าประชาชนร่ำรวยประเทศก็ย่อมจะร่ำรวย จะเป็นประเทศที่ยากจนย่อมจะเป็นไปไม่ได้ เพราะประเทศก็คือประชาชนโดยรวม
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มการผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทยมีผลผลิตหลากหลายมากขึ้น ชาวโลกจะเลื่อมใสยกย่องประเทศไทยและคนไทยมากขึ้น สินค้าส่งออกจะมีระดับสูงขึ้น ได้ราคาสูงขึ้น การส่งออกจะยิ่งขยายตัวรวดเร็วขึ้น
ผู้ส่งออกเอง ซึ่งดูเผินๆ เหมือนกับจะเสียหาย จากการที่เงินบาทแข็งค่าสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเงินบาทขึ้นค่าสูงขึ้น ผู้ส่งออกก็จะสามารถจะขายในประเทศได้มากขึ้นตามกำลังซื้อ ทำนองเดียวกับผู้ส่งออกในสวิส ฮอลแลนด์ เยอรมนี และ สิงคโปร์ ดังกล่าวข้างต้นและสามารถจะลงทุนผลิตสินค้าอย่างอื่นขายภายในประเทศและส่งออกได้อีกมาก
นอกจากนี้ถ้าเราปล่อยให้เมืองไทยมีการลงทุนและการแข่งขันโดยเสรีมากๆ เลิกการเข้มงวดกับต่างชาติ (ซึ่งเป็นเพียงมาตรการหลงชาติ ซึ่งกำลังทำให้การลงทุนโดยรวมลดต่ำลงและเป็นผลเสียต่อคนไทยผู้ยากจน ซึ่งจะไม่มีวิธีสังคมนิยมใดชดเชยให้เขาได้) และถ้าเราเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ถึง 75% ในตลาดหลักทรัพย์ทำนองเดียวกับในเกาหลี และในอินเดียในธุรกิจส่วนมาก) และถ้าเราปล่อยให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างแท้จริง ในเรื่องการลงทุน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าออก และในการตัดราคากันเองของผู้ส่งออก และความหลากหลายของสินค้าออก ก็จะทำให้ภาคการส่งออกของไทยใหญ่โตขึ้น สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยเราก็จะมีเศรษฐกิจที่โตเร็วมากอาจถึง 9% ต่อปีแข็งแรง และมีเสถียรภาพสมดุลหมดทุกส่วน
ประชาชนไทยทั้งประเทศก็จะพ้นจากความยากจน และจะมีความเป็นอยู่และรายได้สูงใกล้เคียงกับไต้หวัน และยุโปรตะวันตกภายใน 10 กว่าปีซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการ
อนึ่ง การที่ค่าเงินบาทแข็งตามธรรมชาติไม่เป็นผลเสียกับชาวนา เพราะปีนี้เราส่งข้าวออกมากเป็นประวัติการณ์ (แปดล้านกว่าตัน) และยังคงมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปี
การที่ข้าวจะมีราคาดีหรือไม่ดีนั้นไม่เกี่ยวกับค่าเงินบาท เพราะราคาข้าวภายในประเทศ จะขึ้นอยู่กับการที่มีจำนวนข้าวเหลืออยู่ภายในประเทศ มากหรือน้อยเป็นส่วนสำคัญ (พืชผลอื่นก็มักจะเป็นอย่างเดียวกัน)
จริงอยู่ การที่ค่าเงินบาทแข็งอาจจะเป็นผลไม่ค่อยดีกับผู้ส่งออกส่วนน้อยบางกลุ่มอยู่บ้าง ซึ่งรัฐบาลน่าจะต้องหาวิธีช่วยในรูปแบบอื่นเช่น ลดภาษีรูปแบบต่างๆ หรือให้สินเชื่อต่ำ ฯลฯ ไม่ใช่คอยแต่ถ่วงความเจริญของเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนส่วนใหญ่โดยหาทางทำให้ค่าเงินบาทอ่อน (เช่นกันสำรอง 30%) จนเศรษฐกิจเสียหายไปแล้วเป็นล้านล้านบาท
ยิ่งกว่านั้นผู้ส่งออกที่ไม่สามารถพอ รัฐบาลก็อาจจะต้องปล่อยให้ล้มไปบ้าง ทำนองเดียวกับที่รัฐบาลจีน ก็ได้ปล่อยให้กิจการที่ไม่แข็งแกร่ง ขาดทุนล้มลงไปมากมาย (จนคนงานในกิจการเหล่านั้นว่างงานหลายสิบล้านคน) จนเหลือแต่กิจการที่แข็งแกร่งและมีกำไร จนประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่แข็งแกร่ง GDP โดยรวมโตสูงถึงกว่า 10% ต่อปี ส่วนคนว่างงานเหล่านั้นรัฐบาลก็ต้องช่วยเหลือโดยวิธีอื่นที่ไม่มีผลเสียหายแก่เศรษฐกิจ เช่นจัดให้ไปทำงานกับบริษัทที่แข็งแกร่งและมีกำไรดังกล่าวแล้ว
การปล่อยให้กิจการที่ขาดทุนล้มลงไป เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเพราะถ้าไม่ปล่อยให้ล้มเลิกกิจการ (หรือเปลี่ยนเป็นกิจการอย่างอื่นที่มีกำไร) ก็จะทำให้ประเทศมีกิจการที่อ่อนแอและขาดทุน ซึ่งถ้ามีอยู่มากเท่าใดหน่วยการผลิตที่แข็งแกร่งและมีกำไรก็จะมีน้อย นั่นคือจะทำให้ประเทศอ่อนแอและยากจนมั่นคง
ข้อเสนอทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ปฏิบัติได้อย่างจริงจังที่สุด และจะส่งผลยอดเยี่ยมชนิดพลิกแผ่นดินกันทีเดียว และเศรษฐกิจไทยมีทางที่จะโตปีละ 9% ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีฐานะและรายได้สูงใกล้เคียงกับไต้หวันและยุโรปตะวันตกภายใน 10 กว่าปี
อย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้นโยบายขัดแย้งกับ ธปท.จะต้องปรับปรุงให้เงินไหลเข้าออกได้โดยเสรี และเลิกจำกัดการถือครองดอลลาร์เสียด้วย
หน้า 6
โดย มีพาศน์ โปตระนันทน์
มติชนรายวัน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10734
ตลอดเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ผู้คุมนโยบายทางการเงินของประเทศไทยมักจะพยายามดำเนินนโยบายค่าเงินบาทอ่อน เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกโดยได้ลดหรือกดค่าเงินบาทจากดอลลาร์ละ 18 บาท ในปี 2516 จนกลายเป็นดอลลาร์ละเกือบ 40 บาท เมื่อไม่นานมานี้
แต่ยังดีที่ ธปท.ปล่อยเงินบาทให้ลอยตัวค่าสูงขึ้นเป็น 33 บาทเศษในปัจจุบัน
ผู้ที่นิยมค่าเงินบาทอ่อนมากดูเหมือนจะเป็น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ซึ่งเคยประกาศลดค่าเงินบาทเป็นทางการโดยไม่จำเป็น เมื่อ 3 พ.ย.2527 จาก 23 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนโยบายค่าเงินบาทอ่อนและเคยคัดค้านมาตลอด
เพราะนโยบายนี้ถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วจะพบว่าไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะมีผลทำให้ของแพง น้ำมันแพง ค่าไฟฟ้าแพง ค่าครองชีพสูง ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน หรือเท่ากับเก็บภาษีจากคนยากจนหรือเอาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ ไปอุดหนุนการส่งออกและความร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีของผู้ส่งออกส่วนมาก
นโยบายค่าเงินบาทอ่อนจึงเป็นเหตุที่ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมากยิ่งขึ้น (โดยไม่มีใครรู้สึกจึงปฏิบัติมาได้เรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้นปัจจุบันผู้ส่งออกส่วนมากก็เป็นบริษัทข้ามชาติ
แต่ขณะนี้ ดร.วีรพงษ์ได้แสดงความเห็นว่า ธปท.ควรแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนลง โดยใช้วงเงินที่ ธปท.ขอออกพันธบัตรไป 400,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าไม่พอก็ต้องขออนุมัติเงินเพิ่มเติมโดยทันทีจนเพียงพอ และต้องลดดอกเบี้ยโดยควรให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มิฉะนั้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
ผู้เขียนยืนยันได้ว่าถ้ามองปัญหาด้วยใจเป็นกลาง โดยเปรียบเทียบกับในต่างประเทศจะพบว่า นโยบายเงินบาทอ่อนผิดพลาดอย่างมหันต์
เพราะความจริงโดยปกติแล้ว ประเทศไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจดีพอควร เนื่องจากเราอยู่ในระบบแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการของเราค่อนข้างแข็งแรง และเจริญก้าวหน้าพอควร
ประเทศที่เศรษฐกิจค่อนข้างดีเช่นนี้ มักจะได้เปรียบดุลบัญชีเงินสะพัดและดุลชำระเงิน ค่าเงินมักจะค่อยๆ ลอยตัวสูงขึ้นเองเป็นธรรมดา
เช่น ค่าเงิน เยอรมนี สวิส ฮอลแลนด์ และสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น ค่าเงินฟรังก์สวิสขึ้นจากฟรังก์ละ 6 บาท เป็นฟรังก์ละ 28 บาท เป็นต้น (ทั้งนี้เพราะเขาไม่ใช้นโยบายค่าเงินอ่อน) ส่งผลให้น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าและบริการที่ซื้อจากต่างประเทศ รวมทั้งค่าจ้างต่างประเทศวิจัยและพัฒนา R&D and outsourcing) ฯลฯ ถูกลงหลายเท่าตัว, ทำให้ประชาชนของเขา (ซึ่งมีรายได้สูงขึ้นตามความเจริญของประเทศมีค่าครองชีพต่ำลงตาม มีกำลังซื้อสูงขึ้นมาก และภาคส่งออกของเขาก็มีต้นทุนต่ำลง และพลอยได้ประโยชน์จากการขายภายในประเทศ ได้มากขึ้นอย่างมหาศาล ตามกำลังซื้อที่สูงขึ้นมาก (เช่น ในเยอรมนี ชาวเยอรมันนีฐานะและกำลังซื้อสูงก็ซื้อรถยนต์เบนซ์ใช้เองมากมายทั่วเยอรมนี ฯลฯ เยอรมนีก็กลายเป็นประเทศที่รวยมาก) นโยบายนี้จึงอยู่มาได้ตลอดเพราะประชาชนของเขาเข้าใจและสนับสนุน
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยพยายามทำให้เงินบาทอ่อนจึงเป็นการพยายามฝ่าฝืนความจริง ฝ่าฝืนกลไกตลาดและไม่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และไม่เป็นธรรมด้วย ซึ่งยากที่จะเกิดผลดีแก่เศรษฐกิจโดยรวมได้
เราจึงจำเป็นจะต้องปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินให้สมดุลและเป็นธรรมโดยให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น โดยเราจะต้องปล่อยเงินบาทให้แข็งค่าสูงขึ้นได้โดยเสรี ซึ่งในระยะนี้จะส่งผลให้ค่าเงินบาทจะค่อยๆ แข็งคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ผู้ว่าการ ธปท.เองก็ยังเคยกล่าวว่า ถ้า ธปท.ไม่เข้าแทรกแซง ค่าเงินบาทคงจะแข็งขึ้นไปถึง 29 บาทในคราวนี้) จนเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง (ซึ่งคงจะยังบอกแน่นอนยังไม่ได้ว่าอีกนานเท่าใด เพราะขึ้นอยู่กับว่านโยบาย และการปฏิบัติในอนาคตเราจะทำได้ดีแค่ไหน) ก็น่าจะแข็งถึงดอลลาร์ละไม่เกิน 16 บาทหรือแข็งกว่านั้น (ถึงแม้ในบางช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีอาจมีการชะงักหรืออ่อนค่าต่ำลงได้บ้างเป็นธรรมดา) ทำนองเดียวกับที่เงินเยอรมนี สวิส ฮอลแลนด์ และสิงคโปร์ได้ขึ้นค่ามาหลายเท่าตัวดังกล่าวแล้ว
เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเองโดยเสรีนี้จะเป็นผลดีต่อประชาชนและต่อผู้ส่งออกส่วนใหญ่ด้วย เพราะจะทำให้น้ำมันถูกลงได้ ถึงหนึ่งเท่าตัว ค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย ของจะถูกลงเนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนลดต่ำลง จึงต้องตัดราคากันเอง เพื่อแย่งส่วนแบ่งของตลาด ปริมาณสินค้าที่ขายได้จะเพิ่มขึ้น
การผลิตและความต้องการแรงงานก็จะเพิ่มขึ้นตาม อัตราค่าแรงงานจะเพิ่มสูงขึ้น แต่สินค้าและบริการที่ซื้อจากต่างประเทศ จะถูกลงหนึ่งเท่าตัว ค่าครองชีพจะต่ำลงอัตราเงินเฟ้อต่ำลง เครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิต วัตถุดิบ ฯลฯ จะถูกลง
หนี้สินเงินตราต่างประเทศของเราจะลดลงหลายแสนล้านบาท เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะเป็นเงินบาทที่มีอำนาจซื้อมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งดีที่สุด ประชาชนทั้งประเทศรวมทั้งผู้ที่ยากจนข้นแค้นแสนสาหัสที่ไม่มีใครห่วงใย ที่มีรายได้เป็นเงินบาท จะมีฐานะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาล สินค้าและบริการขายได้มากขึ้น ผู้ผลิตเจ้าของโรงงานต่างๆ ก็ย่อมจะผลิตสินค้าขายได้มากขึ้น (มิฉะนั้นจะเอาที่ไหนมาขาย) จีดีพีจะเพิ่มขึ้น
สินค้าที่เราผลิตได้จะจำหน่ายในประเทศได้มากกว่าปัจจุบันเป็นทวีคูณ ซึ่งจะกลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่โตมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เราไม่ต้องการพึ่งภาคส่งออกมากเกินไปจนถึงกับต้องส่งสินค้าออกไปขายในราคาต่ำกว่าความจริง โดยวิธีพยายามกดค่าเงินบาทให้อ่อนกว่าความจริง ประเทศไทยก็จะมีภาคการผลิตเพื่อให้ประชาชนอุปโภค และบริโภคที่ใหญ่โตมาก ทำนองเดียวกันกับการผลิตในประเทศที่ร่ำรวย (เช่นญี่ปุ่น ซึ่งมีการผลิตเพื่อใช้เองภายในประเทศประมาณ 3 ใน 4 และสหรัฐก็ผลิตเพื่อใช้เองเกือบทั้งหมด ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกมีเพียงสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น)
ความเจริญทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเพราะผลิตสินค้าขายให้ประชาชนอุปโภคบริโภคภายในประเทศได้มากนี้ จะมีอัตราสูงและจะทำให้ประชาชนมีระดับการครอบชีพสูงขึ้นมากจึงจะมีเสถียรภาพมากกว่าความเจริญ เพราะการส่งออกเพียงอย่างเดียวอย่างที่แล้วมา
ความเจริญที่เกิดจากภาคการผลิตที่สำคัญทั้งสองภาคนี้รวมกันแล้ว จะถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ ของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างพอเพียง พึ่งตนเอง และส่งผลโดยตรงถึงประชาชนผู้ยากจนที่ไม่เคยมีใครเป็นปากเสียงให้ สมดุลและเป็นธรรม ลดช่องว่างระหว่างมหาเศรษฐี และคนยากจนที่จะมีผลจริงจังที่สุด ยิ่งกว่าวิธีการสังคมนิยมใดๆ (การเก็บภาษีมรดก, ภาษีทรัพย์สิน ฯลฯ แม้จะดูน่าสนใจแต่ถ้าจะนำไปช่วยคนยากจนได้บ้างก็จะมีผลเล็กน้อยมาก)
ถ้าประชาชนร่ำรวยประเทศก็ย่อมจะร่ำรวย จะเป็นประเทศที่ยากจนย่อมจะเป็นไปไม่ได้ เพราะประเทศก็คือประชาชนโดยรวม
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มการผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ดังกล่าวแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทยมีผลผลิตหลากหลายมากขึ้น ชาวโลกจะเลื่อมใสยกย่องประเทศไทยและคนไทยมากขึ้น สินค้าส่งออกจะมีระดับสูงขึ้น ได้ราคาสูงขึ้น การส่งออกจะยิ่งขยายตัวรวดเร็วขึ้น
ผู้ส่งออกเอง ซึ่งดูเผินๆ เหมือนกับจะเสียหาย จากการที่เงินบาทแข็งค่าสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเงินบาทขึ้นค่าสูงขึ้น ผู้ส่งออกก็จะสามารถจะขายในประเทศได้มากขึ้นตามกำลังซื้อ ทำนองเดียวกับผู้ส่งออกในสวิส ฮอลแลนด์ เยอรมนี และ สิงคโปร์ ดังกล่าวข้างต้นและสามารถจะลงทุนผลิตสินค้าอย่างอื่นขายภายในประเทศและส่งออกได้อีกมาก
นอกจากนี้ถ้าเราปล่อยให้เมืองไทยมีการลงทุนและการแข่งขันโดยเสรีมากๆ เลิกการเข้มงวดกับต่างชาติ (ซึ่งเป็นเพียงมาตรการหลงชาติ ซึ่งกำลังทำให้การลงทุนโดยรวมลดต่ำลงและเป็นผลเสียต่อคนไทยผู้ยากจน ซึ่งจะไม่มีวิธีสังคมนิยมใดชดเชยให้เขาได้) และถ้าเราเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ถึง 75% ในตลาดหลักทรัพย์ทำนองเดียวกับในเกาหลี และในอินเดียในธุรกิจส่วนมาก) และถ้าเราปล่อยให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างแท้จริง ในเรื่องการลงทุน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าออก และในการตัดราคากันเองของผู้ส่งออก และความหลากหลายของสินค้าออก ก็จะทำให้ภาคการส่งออกของไทยใหญ่โตขึ้น สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยเราก็จะมีเศรษฐกิจที่โตเร็วมากอาจถึง 9% ต่อปีแข็งแรง และมีเสถียรภาพสมดุลหมดทุกส่วน
ประชาชนไทยทั้งประเทศก็จะพ้นจากความยากจน และจะมีความเป็นอยู่และรายได้สูงใกล้เคียงกับไต้หวัน และยุโปรตะวันตกภายใน 10 กว่าปีซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการ
อนึ่ง การที่ค่าเงินบาทแข็งตามธรรมชาติไม่เป็นผลเสียกับชาวนา เพราะปีนี้เราส่งข้าวออกมากเป็นประวัติการณ์ (แปดล้านกว่าตัน) และยังคงมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปี
การที่ข้าวจะมีราคาดีหรือไม่ดีนั้นไม่เกี่ยวกับค่าเงินบาท เพราะราคาข้าวภายในประเทศ จะขึ้นอยู่กับการที่มีจำนวนข้าวเหลืออยู่ภายในประเทศ มากหรือน้อยเป็นส่วนสำคัญ (พืชผลอื่นก็มักจะเป็นอย่างเดียวกัน)
จริงอยู่ การที่ค่าเงินบาทแข็งอาจจะเป็นผลไม่ค่อยดีกับผู้ส่งออกส่วนน้อยบางกลุ่มอยู่บ้าง ซึ่งรัฐบาลน่าจะต้องหาวิธีช่วยในรูปแบบอื่นเช่น ลดภาษีรูปแบบต่างๆ หรือให้สินเชื่อต่ำ ฯลฯ ไม่ใช่คอยแต่ถ่วงความเจริญของเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนส่วนใหญ่โดยหาทางทำให้ค่าเงินบาทอ่อน (เช่นกันสำรอง 30%) จนเศรษฐกิจเสียหายไปแล้วเป็นล้านล้านบาท
ยิ่งกว่านั้นผู้ส่งออกที่ไม่สามารถพอ รัฐบาลก็อาจจะต้องปล่อยให้ล้มไปบ้าง ทำนองเดียวกับที่รัฐบาลจีน ก็ได้ปล่อยให้กิจการที่ไม่แข็งแกร่ง ขาดทุนล้มลงไปมากมาย (จนคนงานในกิจการเหล่านั้นว่างงานหลายสิบล้านคน) จนเหลือแต่กิจการที่แข็งแกร่งและมีกำไร จนประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่แข็งแกร่ง GDP โดยรวมโตสูงถึงกว่า 10% ต่อปี ส่วนคนว่างงานเหล่านั้นรัฐบาลก็ต้องช่วยเหลือโดยวิธีอื่นที่ไม่มีผลเสียหายแก่เศรษฐกิจ เช่นจัดให้ไปทำงานกับบริษัทที่แข็งแกร่งและมีกำไรดังกล่าวแล้ว
การปล่อยให้กิจการที่ขาดทุนล้มลงไป เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเพราะถ้าไม่ปล่อยให้ล้มเลิกกิจการ (หรือเปลี่ยนเป็นกิจการอย่างอื่นที่มีกำไร) ก็จะทำให้ประเทศมีกิจการที่อ่อนแอและขาดทุน ซึ่งถ้ามีอยู่มากเท่าใดหน่วยการผลิตที่แข็งแกร่งและมีกำไรก็จะมีน้อย นั่นคือจะทำให้ประเทศอ่อนแอและยากจนมั่นคง
ข้อเสนอทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ปฏิบัติได้อย่างจริงจังที่สุด และจะส่งผลยอดเยี่ยมชนิดพลิกแผ่นดินกันทีเดียว และเศรษฐกิจไทยมีทางที่จะโตปีละ 9% ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีฐานะและรายได้สูงใกล้เคียงกับไต้หวันและยุโรปตะวันตกภายใน 10 กว่าปี
อย่างไรก็ตาม เพื่อมิให้นโยบายขัดแย้งกับ ธปท.จะต้องปรับปรุงให้เงินไหลเข้าออกได้โดยเสรี และเลิกจำกัดการถือครองดอลลาร์เสียด้วย
หน้า 6
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 41
เงินบาทแข็ง วิวาทะกับข้อเท็จจริง
แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ความตั้งใจแรกว่าจะเขียนเรื่องเงินสำรองระหว่างประเทศต่อให้จบ แต่ตอนนี้มีประเด็นน่าสนใจเรื่องค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งกระผมเห็นว่าน่าจะใช้โอกาสที่ประชาชนตื่นตัวอธิบายหลักการและมุมมองทางวิชาการในช่วงนี้ ซึ่งจะทำให้การทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวง่ายขึ้น
ข้อเท็จจริงแรก เงินบาทคือราคาของอย่างหนึ่ง จึงถูกหรือแพงได้ตามกลไกตลาด เฉกเช่นเดียวกับราคาน้ำมัน ราคาเสื้อผ้า ถ้าจะให้เงินบาทไม่แพง (แข็ง) ตามกลไกตลาด รัฐบาลโดย ธปท.ก็ต้องเข้าไปขายเงินบาทแลกกับดอลลาร์ ให้เพียงพอกับความต้องการ ถ้าทำอย่างนี้เงินบาทจะท่วมตลาด อัตราดอกเบี้ย จะต่ำลง และคนก็จะใช้เงินมากขึ้นส่งผลต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ถ้าไม่ต้องการให้เงินบาทท่วมตลาดก็ต้องดูดเงินบาทกลับ อาทิเช่น โดยออกพันธบัตรขายให้กับเอกชน
การเข้าไปแทรกแซงดังกล่าว อาจก่อให้เกิดต้นทุนคือ (1) อัตราผลตอบแทนสุทธิ (อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร หักด้วยอัตราผลตอบแทนเงินดอลลาร์ ที่ ธปท.จะไปลงทุนหาประโยชน์ได้) (2) การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น เมื่อตีราคาออกมาเป็นบาทเราก็ต้องขาดทุน (ที่เรียกว่าขาดทุนทางบัญชี)
ข้อเท็จจริงที่ 2 เงินบาทแข็งจริงไหม ถ้าคิดบาทต่อดอลลาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.ค. 50) ตั้งแต่ปี 2549 เราแข็งขึ้นประมาณ 18% แต่ถ้าคิดตั้งแต่ต้นปี 2548 ถึงปัจจุบันประมาณ 2 ปีครึ่ง เราแข็งค่าขึ้น 16% หรือแข็งขึ้นประมาณปีละ 6.4 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับประเทศอื่นๆ อาทิเช่น ค่าเงินวอนของเกาหลีที่แข็งค่าขึ้น 14% ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้น 25% ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียที่แข็งค่าขึ้น 10% ส่วนดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น 8%
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ปี 2548 มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง (จากการนำเข้าที่มากผิดปกติทั้งจากเหล็ก ทองคำ เครื่องบิน) ปัญหาภัยแล้ง และสึนามิ จนทำให้เงินบาทยังไม่ปรับตัว เมื่อถึงจุดหนึ่งจึงต้องเร่งตัวมากกว่าคู่แข่ง ข้อสรุปก็คือในภาพรวมเงินบาทแข็งค่าขึ้นจริง แต่ก็เป็นไปทั้งภูมิภาคจากผลพวงของความไม่สมดุลในเศรษฐกิจประเทศยักษ์ใหญ่ดังที่ทราบกัน
ข้อเท็จจริงที่ 3 มีข้อเสนอแนะที่หลากหลายต่อผู้กำหนดนโยบาย บางท่านเห็นว่าควรเป็นไปตามกลไกตลาด บางท่านเห็นว่ามาตรการสำรองร้อยละ 30 ควรขยายถึงตลาดหลักทรัพย์เพื่อความเท่าเทียม และอาจใช้มาตรการทางภาษี เพื่อควบคุมเงินทุน ที่สำคัญเช่น แนะธปท.ให้พยายามกำหนดค่าเงินบาทเป็นเป้าหมาย อาทิเช่น 35-36 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งทำได้โดยเข้าไปแทรกแซงโดยซื้อดอลลาร์ เข้ามาแบบไม่อั้น และเพื่อลดต้นทุนในการออกพันธบัตร เพื่อดูดสภาพคล่องก็ให้ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง (1.00-1.50 บาท) เช่นกัน
ซึ่งถ้าทำได้จริงๆ รัฐก็จะไม่มีต้นทุนในการดูดสภาพคล่อง เพราะธปท. สามารถนำเงินดอลลาร์ ไปลงทุนในต่างประเทศได้สูงกว่าต้นทุน ซึ่งถ้าลดลง 1.50 จริง ก็จะเหลือเพียงร้อยละ 2 เป็นต้น และเนื่องจากสมมติให้ธปท. แทรกแซงอย่างรุนแรงให้เงินบาทสามารถตรึงอยู่ที่ 35-36 บาท/ดอลลาร์ ได้นั่นก็หมายความว่า เงินบาทที่ซื้อมา 33-34 บาทจะไม่ขาดทุนทางบัญชี
ในส่วนตัวของผมก็เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวถ้าทำได้จริงภาคส่งออกก็จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้ามองกลับกันอีกด้านหนึ่ง คือ เราต้องใช้เงินไปแทรกแซงจำนวนเท่าใด จึงทำให้เงินบาทอ่อนลงเป็น 35-36 บาท และต้องใช้เงินมากขึ้นอีกเท่าใด ที่จะรักษาเงินบาทให้อ่อนค่าอยู่อย่างนั้น ภายใต้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผนวกการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุลอยู่ต่อเนื่องจากค่าเงินที่เราพยายามทำให้อ่อน
และถ้าถึงวันหนึ่งเราทนกระแสไหลบ่าของดอลลาร์ ไม่ไหวและต้องปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้นมาจริงๆ แล้วธปท. จะขาดทุนอีกมหาศาลจำนวนเท่าใด ถึงเวลานั้นคงต้องถามหาผู้รับผิดชอบที่เราไม่เคยเรียนรู้จากวิกฤติ ที่พยายามฝืนพลังของตลาดอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต
ข้อเท็จจริงที่ 4 เงินบาทแข็งถูกมองแต่ในด้านที่เสียประโยชน์ แต่อีกด้านหนึ่ง เงินของเรามีค่ามากขึ้น สินค้าต่างประเทศจะราคาถูกลง (ปัจจุบันเรานำเข้าสินค้าคิดเป็นร้อยละ 54 ของ GDP) แรงกดดันเงินเฟ้อจะต่ำ เปิดโอกาสให้ทางการใช้นโยบายการเงินการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนในประเทศที่ยังอ่อนแอ รวมถึงเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องปรับเทคโนโลยีในการผลิตที่จะซื้อสินค้าทุนได้ถูกลง รัฐบาลและเอกชนที่มีหนี้ต่างประเทศ ก็จะได้เร่งคืนหนี้ด้วยเงินบาทที่น้อยลง และจะได้ใช้โอกาสนี้ในการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ปัญหาเงินบาทถูกมองด้านเดียวเสมอ ทั้งๆ ที่เงินบาทก็คือราคาสินค้าที่จะถูก-แพงก็มีคนได้-คนเสีย ตลอด 10 ปีช่วงหลังวิกฤติเป็นต้นมา เงินบาทอ่อนค่า ช่วยส่งเสริมการส่งออกมาโดยตลอด เมื่อถึงจุดหนึ่งการแข็งค่าของเงินบาท เปิดโอกาสให้เราได้ขยายการลงทุนอย่างจริงจัง กระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศให้กลับมาแข็งแกร่ง เพื่อสร้างสมดุลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไม่ให้พึ่งพาการส่งออกมากเกินไป การเข้าแทรกแซงอยู่ตลอด ทำให้เป็นการยากที่เราจะรู้ได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมอยู่ที่ใด จึงจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด
การทำให้เงินบาทอ่อน อาจทำให้การส่งออกขยายตัว 2 หลักได้ แต่ทำไมคนที่ต้องการลงทุนต้องนำเข้าสินค้าทุนราคาแพง ทำไมคนไทยที่กู้เงินจากต่างประเทศต้องใช้คืนหนี้ในรูปเงินบาทมากขึ้น ทำไมเราต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันแพง จากค่าเงินบาทที่ทำให้อ่อน นี่เป็นเหตุผลว่าประเทศส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ มาเป็นแบบลอยตัวตามราคาตลาดมากขึ้น เพื่อให้กลไกตลาดหาดุลยภาพที่เหมาะสม
สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาดูแล ผ่านมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อแรงงาน และสังคม และนโยบายที่ดูแลไม่ให้การปรับตัวนั้นรุนแรงเกินไป และเอื้อต่อการปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่ต้องแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีและคุณภาพ แนวทางนี้ถึงแม้จะยากลำบากในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ดอกผลในระยะยาวเชื่อว่าคุ้มกับความเหนื่อยยากที่ต้องเสียไป
** บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย **
แจงสี่เบี้ย : ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วน ส่วนดุลการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ความตั้งใจแรกว่าจะเขียนเรื่องเงินสำรองระหว่างประเทศต่อให้จบ แต่ตอนนี้มีประเด็นน่าสนใจเรื่องค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งกระผมเห็นว่าน่าจะใช้โอกาสที่ประชาชนตื่นตัวอธิบายหลักการและมุมมองทางวิชาการในช่วงนี้ ซึ่งจะทำให้การทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวง่ายขึ้น
ข้อเท็จจริงแรก เงินบาทคือราคาของอย่างหนึ่ง จึงถูกหรือแพงได้ตามกลไกตลาด เฉกเช่นเดียวกับราคาน้ำมัน ราคาเสื้อผ้า ถ้าจะให้เงินบาทไม่แพง (แข็ง) ตามกลไกตลาด รัฐบาลโดย ธปท.ก็ต้องเข้าไปขายเงินบาทแลกกับดอลลาร์ ให้เพียงพอกับความต้องการ ถ้าทำอย่างนี้เงินบาทจะท่วมตลาด อัตราดอกเบี้ย จะต่ำลง และคนก็จะใช้เงินมากขึ้นส่งผลต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ถ้าไม่ต้องการให้เงินบาทท่วมตลาดก็ต้องดูดเงินบาทกลับ อาทิเช่น โดยออกพันธบัตรขายให้กับเอกชน
การเข้าไปแทรกแซงดังกล่าว อาจก่อให้เกิดต้นทุนคือ (1) อัตราผลตอบแทนสุทธิ (อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร หักด้วยอัตราผลตอบแทนเงินดอลลาร์ ที่ ธปท.จะไปลงทุนหาประโยชน์ได้) (2) การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น เมื่อตีราคาออกมาเป็นบาทเราก็ต้องขาดทุน (ที่เรียกว่าขาดทุนทางบัญชี)
ข้อเท็จจริงที่ 2 เงินบาทแข็งจริงไหม ถ้าคิดบาทต่อดอลลาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.ค. 50) ตั้งแต่ปี 2549 เราแข็งขึ้นประมาณ 18% แต่ถ้าคิดตั้งแต่ต้นปี 2548 ถึงปัจจุบันประมาณ 2 ปีครึ่ง เราแข็งค่าขึ้น 16% หรือแข็งขึ้นประมาณปีละ 6.4 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับประเทศอื่นๆ อาทิเช่น ค่าเงินวอนของเกาหลีที่แข็งค่าขึ้น 14% ค่าเงินเปโซของฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้น 25% ค่าเงินริงกิตของมาเลเซียที่แข็งค่าขึ้น 10% ส่วนดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น 8%
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ปี 2548 มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง (จากการนำเข้าที่มากผิดปกติทั้งจากเหล็ก ทองคำ เครื่องบิน) ปัญหาภัยแล้ง และสึนามิ จนทำให้เงินบาทยังไม่ปรับตัว เมื่อถึงจุดหนึ่งจึงต้องเร่งตัวมากกว่าคู่แข่ง ข้อสรุปก็คือในภาพรวมเงินบาทแข็งค่าขึ้นจริง แต่ก็เป็นไปทั้งภูมิภาคจากผลพวงของความไม่สมดุลในเศรษฐกิจประเทศยักษ์ใหญ่ดังที่ทราบกัน
ข้อเท็จจริงที่ 3 มีข้อเสนอแนะที่หลากหลายต่อผู้กำหนดนโยบาย บางท่านเห็นว่าควรเป็นไปตามกลไกตลาด บางท่านเห็นว่ามาตรการสำรองร้อยละ 30 ควรขยายถึงตลาดหลักทรัพย์เพื่อความเท่าเทียม และอาจใช้มาตรการทางภาษี เพื่อควบคุมเงินทุน ที่สำคัญเช่น แนะธปท.ให้พยายามกำหนดค่าเงินบาทเป็นเป้าหมาย อาทิเช่น 35-36 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งทำได้โดยเข้าไปแทรกแซงโดยซื้อดอลลาร์ เข้ามาแบบไม่อั้น และเพื่อลดต้นทุนในการออกพันธบัตร เพื่อดูดสภาพคล่องก็ให้ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง (1.00-1.50 บาท) เช่นกัน
ซึ่งถ้าทำได้จริงๆ รัฐก็จะไม่มีต้นทุนในการดูดสภาพคล่อง เพราะธปท. สามารถนำเงินดอลลาร์ ไปลงทุนในต่างประเทศได้สูงกว่าต้นทุน ซึ่งถ้าลดลง 1.50 จริง ก็จะเหลือเพียงร้อยละ 2 เป็นต้น และเนื่องจากสมมติให้ธปท. แทรกแซงอย่างรุนแรงให้เงินบาทสามารถตรึงอยู่ที่ 35-36 บาท/ดอลลาร์ ได้นั่นก็หมายความว่า เงินบาทที่ซื้อมา 33-34 บาทจะไม่ขาดทุนทางบัญชี
ในส่วนตัวของผมก็เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวถ้าทำได้จริงภาคส่งออกก็จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้ามองกลับกันอีกด้านหนึ่ง คือ เราต้องใช้เงินไปแทรกแซงจำนวนเท่าใด จึงทำให้เงินบาทอ่อนลงเป็น 35-36 บาท และต้องใช้เงินมากขึ้นอีกเท่าใด ที่จะรักษาเงินบาทให้อ่อนค่าอยู่อย่างนั้น ภายใต้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผนวกการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุลอยู่ต่อเนื่องจากค่าเงินที่เราพยายามทำให้อ่อน
และถ้าถึงวันหนึ่งเราทนกระแสไหลบ่าของดอลลาร์ ไม่ไหวและต้องปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้นมาจริงๆ แล้วธปท. จะขาดทุนอีกมหาศาลจำนวนเท่าใด ถึงเวลานั้นคงต้องถามหาผู้รับผิดชอบที่เราไม่เคยเรียนรู้จากวิกฤติ ที่พยายามฝืนพลังของตลาดอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต
ข้อเท็จจริงที่ 4 เงินบาทแข็งถูกมองแต่ในด้านที่เสียประโยชน์ แต่อีกด้านหนึ่ง เงินของเรามีค่ามากขึ้น สินค้าต่างประเทศจะราคาถูกลง (ปัจจุบันเรานำเข้าสินค้าคิดเป็นร้อยละ 54 ของ GDP) แรงกดดันเงินเฟ้อจะต่ำ เปิดโอกาสให้ทางการใช้นโยบายการเงินการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการลงทุนในประเทศที่ยังอ่อนแอ รวมถึงเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องปรับเทคโนโลยีในการผลิตที่จะซื้อสินค้าทุนได้ถูกลง รัฐบาลและเอกชนที่มีหนี้ต่างประเทศ ก็จะได้เร่งคืนหนี้ด้วยเงินบาทที่น้อยลง และจะได้ใช้โอกาสนี้ในการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ปัญหาเงินบาทถูกมองด้านเดียวเสมอ ทั้งๆ ที่เงินบาทก็คือราคาสินค้าที่จะถูก-แพงก็มีคนได้-คนเสีย ตลอด 10 ปีช่วงหลังวิกฤติเป็นต้นมา เงินบาทอ่อนค่า ช่วยส่งเสริมการส่งออกมาโดยตลอด เมื่อถึงจุดหนึ่งการแข็งค่าของเงินบาท เปิดโอกาสให้เราได้ขยายการลงทุนอย่างจริงจัง กระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศให้กลับมาแข็งแกร่ง เพื่อสร้างสมดุลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไม่ให้พึ่งพาการส่งออกมากเกินไป การเข้าแทรกแซงอยู่ตลอด ทำให้เป็นการยากที่เราจะรู้ได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมอยู่ที่ใด จึงจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุด
การทำให้เงินบาทอ่อน อาจทำให้การส่งออกขยายตัว 2 หลักได้ แต่ทำไมคนที่ต้องการลงทุนต้องนำเข้าสินค้าทุนราคาแพง ทำไมคนไทยที่กู้เงินจากต่างประเทศต้องใช้คืนหนี้ในรูปเงินบาทมากขึ้น ทำไมเราต้องจ่ายเงินค่าน้ำมันแพง จากค่าเงินบาทที่ทำให้อ่อน นี่เป็นเหตุผลว่าประเทศส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ มาเป็นแบบลอยตัวตามราคาตลาดมากขึ้น เพื่อให้กลไกตลาดหาดุลยภาพที่เหมาะสม
สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาดูแล ผ่านมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อแรงงาน และสังคม และนโยบายที่ดูแลไม่ให้การปรับตัวนั้นรุนแรงเกินไป และเอื้อต่อการปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่ต้องแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีและคุณภาพ แนวทางนี้ถึงแม้จะยากลำบากในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ดอกผลในระยะยาวเชื่อว่าคุ้มกับความเหนื่อยยากที่ต้องเสียไป
** บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย **
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 43
ต้องผ่าตัดธปท.ด้วยครับ เพราะระบบราชการไม่เอื้อต่อการกล้าตัดสินใจ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 44
บาททะลุ 30 จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือไม่
พลวัตเศรษฐกิจ : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ระยะหนึ่งถึงสองสัปดาห์ข้างหน้านี้ เงินบาทน่าจะมีทิศทางอ่อนตัวลงเล็กน้อยถือเป็นการปรับฐาน และเป็นผลมาจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการลดแรงกดดันของการแข็งค่าของเงินบาท
โอกาสที่ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 30-32 บาทต่อดอลลาร์นั้น มีความเป็นไปได้ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะหากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะทำให้ค่าเงินบาทในประเทศ และต่างประเทศ เคลื่อนไหวเข้าสู่จุดดุลยภาพใหม่ และสภาพที่เงินบาทมีการซื้อขายแยกออกเป็นสองตลาดจะหายไป โดยมีความเป็นไปได้ว่าเงินบาทจะเคลื่อนตัวมาอยู่ที่ระดับ 30-32 บาท
เงินบาทในประเทศยังคงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 33-34 บาทต่อดอลลาร์ ไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่เงินบาทต่างประเทศจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ก็ทะลุ 30 บาทต่อดอลลาร์ไปแล้ว หากไม่ยกเลิกกันสำรอง 30% ก็จะเกิดการแสวงหากำไรจากส่วนต่างของราคาระหว่างสองตลาด เงินนอกจะไหลเข้ามาลงทุนตลาดหุ้น เมื่อมีกำไรก็เทขายแล้วได้เงินบาทขนออกนอกประเทศแลกเป็นดอลลาร์ ได้มากขึ้น
กระแสการเก็งกำไรค่าเงินบาททำให้เงินบาทแข็งผิดธรรมชาติ ผู้เล่นในตลาดการเงินก็กระโจมเข้าเล่นในเกมการเงินนี้ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อแสวงผลตอบแทนและบริหารความเสี่ยงให้กับตัวเอง เนื่องจากทุกคนคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า เงินบาทจะยังแข็งค่าต่อเนื่อง การเก็งกำไรจะเกิดขึ้นได้อย่างได้ผลก็ต่อเมื่อต้องเป็นเก็งกำไรที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจรองรับอยู่บ้าง
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 1-1.50% ในช่วงครึ่งปีหลังจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ และวิธีนี้จะมีผลกระทบข้างเคียงต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด
หากเงินบาทแข็งค่าทะลุ 30 บาท ก็จะยังไม่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจการเงินในทันที แต่จะส่งผลให้มีการทยอยย้ายฐานการผลิต เพื่อการส่งออกไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีค่าเงินที่อ่อนกว่า ภาคส่งออกอันเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรกจะอ่อนกำลังลง
ขณะที่เงินบาทแข็งค่าจะก่อให้เกิดการปรับตัวและปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจไหนแข่งขันไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการกันไป หรือต้องย้ายไปทำอย่างอื่นที่เรายังมีความสามารถในการแข่งขันดีอยู่ และไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินแข็งค่ามากนัก
ธุรกิจอุตสาหกรรมส่งออกจะหันมาให้ความสนใจปรับปรุงประสิทธิภาพและการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น กระบวนการปรับตัวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ช้าหรือเร็วก็ต้องทำ การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วจะกดดันให้กระบวนการปรับตัวเร็วขึ้นแต่เจ็บปวดและอาจเป็นสาเหตุแห่งวิกฤติได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ต้องทำให้กระบวนการปรับตัวนี้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่เร็วหรือไม่ช้าเกินไป
การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไร ทำให้กระบวนการปรับตัวของระบบเศรษฐกิจไม่ราบรื่น และอาจนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ แต่จะไม่เป็นเหมือนวิกฤติปี 40 เพราะคราวนั้นเป็นเรื่องของการก่อหนี้และลงทุนเกินตัวของภาคเอกชน เป็นภาวะฟองสบู่แตก คราวนี้เป็นเรื่องปัญหาความสามารถในการแข่งขันและวิกฤตการณ์ทางการคลัง เป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและอาจนำมาสู่ภาวะเงินฝืดได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม กว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมานั้น อาจจะใช้เวลาสะสมปัญหาอีก 2-3 ปี และต้องเป็นสภาวะที่เราไม่ทำอะไรเลยเพื่อแก้ปัญหา หรือดำเนินการผิดผลาดในการแก้ไขปัญหา หรือทำไม่เพียงพอ หรือเกิดปัจจัยลบที่เข้ามากระทบอย่างรุนแรง
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังด้วยความไม่ประมาท ก็คือ ความผันผวนของค่าเงินอย่างรุนแรง จากกระแสเงินไหลเข้าพลิกกลับเป็นการไหลออกอย่างรวดเร็วและรุนแรง และนี่คือจุดปะทุของวิกฤติครั้งใหม่ ตัวที่จะทำให้จุดปะทุเกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด คือ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อสถานการณ์พลิกกลับผู้เล่นในตลาดไม่ว่าจะเป็น เฮดจ์ฟันด์ นักเก็งกำไร หรือ สถาบันการเงิน ก็หันกลับมาเก็งกำไรอีกด้าน และกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง
สิ่งที่ผมคาดการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ นั่นหมายความว่า ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจบริหารความเสี่ยง ธุรกิจบริหารปริวรรตเงินตรา หรือธุรกิจเก็งกำไร ควรหลีกเลี่ยงไม่กระโจมเข้าสู่พฤติกรรมเก็งกำไร ควรจะตั้งหน้าตั้งตาทำธุรกิจหลักของตัวเอง และบริหารความเสี่ยงความผันผวนของค่าเงินด้วยการซื้อเครื่องมือประกันความเสี่ยง อย่าปล่อย OPEN POSITION เอาไว้
การเก็งกำไรค่าเงิน การเก็งกำไรหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เรามักนึกถึง เฮดจ์ฟันด์ วิธีการลงทุนของคนพวกนี้เหมือนเซียนพนันในบ่อนไม่มีผิด ผิดแต่ว่าพวกเขาเล่นพนันโดยใช้เครื่องมือการเงินสมัยใหม่บวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความซับซ้อนมากกว่าเท่านั้นเอง
และตลาดการเงินทั่วโลกคือสถานที่ในการเล่นเกมการเงินของเขา พวกนี้จะเล่นกับทิศทางของตลาด วิเคราะห์ว่าราคาหุ้นหรือค่าเงินจะเคลื่อนไหวในทิศทางไหน แล้วก็วางเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกดดันให้ตลาดการเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตัวเองวางเดิมพันเอาไว้ อิทธิพลและเม็ดเงินของพวกเขาสามารถกำหนดทิศทางตลาด MOVE THE MARKET ได้
การออกกฎหมายเพื่อให้บรรดากองทุนบริหารความเสี่ยงเปิดเผยการลงทุนน่าจะช่วยลดชะตากรรมไม่พึงประสงค์ในโลกการเงินได้ นอกจากนี้ควรจะเปิดเผยการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินระหว่างประเทศให้แก่บรรดาเฮดจ์ฟันด์ จะได้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้
การเคลื่อนย้ายทุนระยะสั้นอย่างรวดเร็วจากธุรกรรมของเฮดจ์ฟันด์ นักลงทุนและสถาบันการเงิน การเคลื่อนย้ายเม็ดเงินยิ่งถูกขับเคลื่อนให้เข้มข้นจนผันผวนเพื่อหาประโยชน์จาก ARBITRAGE OPPORTUNITIES จากส่วนต่างของดอกเบี้ยภายในประเทศและต่างประเทศ
พลวัตของโลกเศรษฐกิจการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา พร้อมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การรับรู้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การตอบโต้หรือกระบวนการตัดสินใจต่อข้อมูลข่าวสารบางครั้งจึงขาดความรอบคอบนำมาสู่ภาวะไร้เสถียรภาพ นอกจากนี้ยังทำให้การทำนายภาวะเศรษฐกิจในอนาคตเป็นเรื่องยากลำบากมากขึ้น
การแข็งค่าของเงินบาทอาจเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวล แต่ทางการไม่ควรดำเนินนโยบายฝืนกระแสตลาดมากเกินไป เราต้องไม่ลืมบทเรียนอันเจ็บปวดจากวิกฤตการณ์ปี 40 ครับ
พลวัตเศรษฐกิจ : ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ระยะหนึ่งถึงสองสัปดาห์ข้างหน้านี้ เงินบาทน่าจะมีทิศทางอ่อนตัวลงเล็กน้อยถือเป็นการปรับฐาน และเป็นผลมาจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการลดแรงกดดันของการแข็งค่าของเงินบาท
โอกาสที่ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 30-32 บาทต่อดอลลาร์นั้น มีความเป็นไปได้ในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะหากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะทำให้ค่าเงินบาทในประเทศ และต่างประเทศ เคลื่อนไหวเข้าสู่จุดดุลยภาพใหม่ และสภาพที่เงินบาทมีการซื้อขายแยกออกเป็นสองตลาดจะหายไป โดยมีความเป็นไปได้ว่าเงินบาทจะเคลื่อนตัวมาอยู่ที่ระดับ 30-32 บาท
เงินบาทในประเทศยังคงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 33-34 บาทต่อดอลลาร์ ไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่เงินบาทต่างประเทศจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ก็ทะลุ 30 บาทต่อดอลลาร์ไปแล้ว หากไม่ยกเลิกกันสำรอง 30% ก็จะเกิดการแสวงหากำไรจากส่วนต่างของราคาระหว่างสองตลาด เงินนอกจะไหลเข้ามาลงทุนตลาดหุ้น เมื่อมีกำไรก็เทขายแล้วได้เงินบาทขนออกนอกประเทศแลกเป็นดอลลาร์ ได้มากขึ้น
กระแสการเก็งกำไรค่าเงินบาททำให้เงินบาทแข็งผิดธรรมชาติ ผู้เล่นในตลาดการเงินก็กระโจมเข้าเล่นในเกมการเงินนี้ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อแสวงผลตอบแทนและบริหารความเสี่ยงให้กับตัวเอง เนื่องจากทุกคนคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า เงินบาทจะยังแข็งค่าต่อเนื่อง การเก็งกำไรจะเกิดขึ้นได้อย่างได้ผลก็ต่อเมื่อต้องเป็นเก็งกำไรที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจรองรับอยู่บ้าง
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 1-1.50% ในช่วงครึ่งปีหลังจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้ และวิธีนี้จะมีผลกระทบข้างเคียงต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด
หากเงินบาทแข็งค่าทะลุ 30 บาท ก็จะยังไม่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจการเงินในทันที แต่จะส่งผลให้มีการทยอยย้ายฐานการผลิต เพื่อการส่งออกไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีค่าเงินที่อ่อนกว่า ภาคส่งออกอันเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรกจะอ่อนกำลังลง
ขณะที่เงินบาทแข็งค่าจะก่อให้เกิดการปรับตัวและปรับโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจไหนแข่งขันไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการกันไป หรือต้องย้ายไปทำอย่างอื่นที่เรายังมีความสามารถในการแข่งขันดีอยู่ และไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินแข็งค่ามากนัก
ธุรกิจอุตสาหกรรมส่งออกจะหันมาให้ความสนใจปรับปรุงประสิทธิภาพและการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น กระบวนการปรับตัวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ช้าหรือเร็วก็ต้องทำ การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วจะกดดันให้กระบวนการปรับตัวเร็วขึ้นแต่เจ็บปวดและอาจเป็นสาเหตุแห่งวิกฤติได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ ต้องทำให้กระบวนการปรับตัวนี้เป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่เร็วหรือไม่ช้าเกินไป
การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไร ทำให้กระบวนการปรับตัวของระบบเศรษฐกิจไม่ราบรื่น และอาจนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ แต่จะไม่เป็นเหมือนวิกฤติปี 40 เพราะคราวนั้นเป็นเรื่องของการก่อหนี้และลงทุนเกินตัวของภาคเอกชน เป็นภาวะฟองสบู่แตก คราวนี้เป็นเรื่องปัญหาความสามารถในการแข่งขันและวิกฤตการณ์ทางการคลัง เป็นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและอาจนำมาสู่ภาวะเงินฝืดได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม กว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมานั้น อาจจะใช้เวลาสะสมปัญหาอีก 2-3 ปี และต้องเป็นสภาวะที่เราไม่ทำอะไรเลยเพื่อแก้ปัญหา หรือดำเนินการผิดผลาดในการแก้ไขปัญหา หรือทำไม่เพียงพอ หรือเกิดปัจจัยลบที่เข้ามากระทบอย่างรุนแรง
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังด้วยความไม่ประมาท ก็คือ ความผันผวนของค่าเงินอย่างรุนแรง จากกระแสเงินไหลเข้าพลิกกลับเป็นการไหลออกอย่างรวดเร็วและรุนแรง และนี่คือจุดปะทุของวิกฤติครั้งใหม่ ตัวที่จะทำให้จุดปะทุเกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด คือ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อสถานการณ์พลิกกลับผู้เล่นในตลาดไม่ว่าจะเป็น เฮดจ์ฟันด์ นักเก็งกำไร หรือ สถาบันการเงิน ก็หันกลับมาเก็งกำไรอีกด้าน และกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง
สิ่งที่ผมคาดการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ นั่นหมายความว่า ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจบริหารความเสี่ยง ธุรกิจบริหารปริวรรตเงินตรา หรือธุรกิจเก็งกำไร ควรหลีกเลี่ยงไม่กระโจมเข้าสู่พฤติกรรมเก็งกำไร ควรจะตั้งหน้าตั้งตาทำธุรกิจหลักของตัวเอง และบริหารความเสี่ยงความผันผวนของค่าเงินด้วยการซื้อเครื่องมือประกันความเสี่ยง อย่าปล่อย OPEN POSITION เอาไว้
การเก็งกำไรค่าเงิน การเก็งกำไรหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เรามักนึกถึง เฮดจ์ฟันด์ วิธีการลงทุนของคนพวกนี้เหมือนเซียนพนันในบ่อนไม่มีผิด ผิดแต่ว่าพวกเขาเล่นพนันโดยใช้เครื่องมือการเงินสมัยใหม่บวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความซับซ้อนมากกว่าเท่านั้นเอง
และตลาดการเงินทั่วโลกคือสถานที่ในการเล่นเกมการเงินของเขา พวกนี้จะเล่นกับทิศทางของตลาด วิเคราะห์ว่าราคาหุ้นหรือค่าเงินจะเคลื่อนไหวในทิศทางไหน แล้วก็วางเงินจำนวนมหาศาลเพื่อกดดันให้ตลาดการเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ตัวเองวางเดิมพันเอาไว้ อิทธิพลและเม็ดเงินของพวกเขาสามารถกำหนดทิศทางตลาด MOVE THE MARKET ได้
การออกกฎหมายเพื่อให้บรรดากองทุนบริหารความเสี่ยงเปิดเผยการลงทุนน่าจะช่วยลดชะตากรรมไม่พึงประสงค์ในโลกการเงินได้ นอกจากนี้ควรจะเปิดเผยการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินระหว่างประเทศให้แก่บรรดาเฮดจ์ฟันด์ จะได้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้
การเคลื่อนย้ายทุนระยะสั้นอย่างรวดเร็วจากธุรกรรมของเฮดจ์ฟันด์ นักลงทุนและสถาบันการเงิน การเคลื่อนย้ายเม็ดเงินยิ่งถูกขับเคลื่อนให้เข้มข้นจนผันผวนเพื่อหาประโยชน์จาก ARBITRAGE OPPORTUNITIES จากส่วนต่างของดอกเบี้ยภายในประเทศและต่างประเทศ
พลวัตของโลกเศรษฐกิจการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา พร้อมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การรับรู้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การตอบโต้หรือกระบวนการตัดสินใจต่อข้อมูลข่าวสารบางครั้งจึงขาดความรอบคอบนำมาสู่ภาวะไร้เสถียรภาพ นอกจากนี้ยังทำให้การทำนายภาวะเศรษฐกิจในอนาคตเป็นเรื่องยากลำบากมากขึ้น
การแข็งค่าของเงินบาทอาจเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวล แต่ทางการไม่ควรดำเนินนโยบายฝืนกระแสตลาดมากเกินไป เราต้องไม่ลืมบทเรียนอันเจ็บปวดจากวิกฤตการณ์ปี 40 ครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 45
ปัญหาค่าเงินบาท การปรับดุลยภาพสองแนวทาง
คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ โดย ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
มติชนรายวัน วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10728
การขยับตัวของค่าเงินเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยาก สาเหตุหลักเป็นเพราะ เกี่ยวข้องกับตัวแปรและข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย รวมทั้งพฤติกรรมการคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดซึ่งกำหนดชัดไม่ได้ก็มีบทบาทมาก ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจพื้นฐาน เช่น ภาวะการผลิต อัตราดอกเบี้ย และราคาสินค้า มิได้มีการเปลี่ยนแปลงมากหรือรวดเร็ว ทำให้มองเห็นผลกระทบได้ไม่ชัด
อย่างไรก็ตาม เมื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของโลกเกิดขึ้นในลักษณะที่กระทบต่อทิศทางของค่าเงิน ความสามารถในการทำนายของนักเศรษฐศาสตร์ย่อมมากขึ้น เหมือนดังเช่นที่กำหลังปรากฏให้เห็นในปัจจุบันว่า ค่าเงินเหรียญสหรัฐมีทิศทางไหลลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเพียงบางประการ
การประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักหมายความว่าการค้าโลกต้องการเงินเหรียญสหรัฐไม่มากนัก และดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐต้องลดต่ำลงตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เริ่มในปี 2544 สัญญาณที่เงินตราสกุลนี้จะมีค่าลดต่ำลงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงได้เริ่มต้นขึ้น
ภายใต้แรงกดดันจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ การปรับดุลยภาพใหม่ย่อมต้องเกิดขึ้น ประเทศที่มีความยืดหยุ่นทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน จะมีการปรับค่าเงินของตนรวดเร็วกว่าประเทศที่มุ่งรักษาค่าเงินตามสหรัฐ
ทว่า เราจะเห็นได้ว่าประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เช่น สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย กลับมีเสถียรภาพค่าเงินสูงตลอดช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา
ประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียต่างแทรกแซงค่าเงินของตนให้อ่อนตามค่าเงินสหรัฐ แต่ในที่สุดก็ต้องปรับค่าแข็งขึ้นอย่างรุนแรง
ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นตัวอย่างของประเทศที่ไม่สามารถรักษาอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ยกเว้นค่าเงินของเกาหลีใต้ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปก่อนหน้านั้น
การปรับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ของประเทศทั้งสองกลุ่มนี้มีทิศทางที่แตกต่างกัน
แนวทางแรกเป็นการปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนความเป็นจริงของตลาดเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนความแปรปรวนของปัจจัยต่างๆ ได้ง่ายเช่นเดียวกัน เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐตกต่ำลง การปล่อยให้ค่าเงินภายในประเทศแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์จะทำให้ภาคส่งออกที่แข่งขันทางราคามีความได้เปรียบมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์รวมได้รับผลกระทบในทางลบ การนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะมีราคาถูกลง ส่งผลดีต่อการเติบโตทางด้านอุปทานและการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
สำหรับแนวทางที่สองที่ทางการมีนโยบายรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเดิมไว้ ทางการต้องปล่อยสภาพคล่องเงินบาทออกมา เพื่อซื้อสินทรัพย์ดอลลาร์สะสมไว้ในบัญชีทุนสำรองระหว่างประทศ อัตราดอกเบี้ยจะลดลงตามสภาพคล่องเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่องกลับบางส่วน เพื่อป้องกันมิให้อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างรุนแรง การปรับดุลยภาพระยะสั้นตามแนวทางนี้ ภาคส่งออกจะได้ประโยชน์จากค่าเงินที่ยังคงอ่อนอยู่ ส่วนผู้กู้จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยหากปล่อยให้ต่ำลง
ผลดีของแนวทางนี้คือ ทุนสำรองระหว่างประเทศทำหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทก (shock absorber) จากปัจจัยค่าเงินดอลลาร์ และสร้างแรงบวกต่ออุปสงค์รวม ผลเสียคือทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบ สูงขึ้นอันเป็นผลลบต่ออุปทาน และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ผู้บริโภคโดยทั่วไปเป็นผู้แบกรับภาระของนโยบายการแทรกแซงค่าเงิน และถ้าอัตราดอกเบี้ยถูกใช้เป็นแนวทางผ่อนคลายตามสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น ผู้ออมจะเป็นผู้เสียประโยชน์ ซึ่งในระยะยาว การออมที่ต่ำจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุน ทำให้ต้องพึ่งเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต
เมื่อพิจารณาผลกระทบในระยะสั้น แนวทางทั้งสองต่างมีเหตุผลรองรับ ซึ่งถ้าแรงกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน มีลักษณะชั่วคราวกล่าวคือเกิดขึ้นเพียงในระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่รุนแรงนัก การสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดีได้ ทว่าจะมีผลเสียมากในระยะปานกลางหรือยาวถ้าแรงกระทบนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหรือมิได้มีลักษณะชั่วคราวดังเช่นในปัจจุบัน
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐในขณะนี้มีขนาดสูงถึงกว่าร้อยละ 6 ของจีดีพี จึงย่อมสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ ต้องลดต่ำลงซึ่งอาจต้องอ่อนลงถึงอีกร้อยละ 20-40 เพื่อให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงสู่ระดับไม่เกินร้อยละ 4 ของจีดีพี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ซึ่งเป็นแรงกดดันระยะสั้น ก็ยังไม่มีปัจจัยที่จะทำให้พุ่งสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันคือร้อยละ 5.25 มากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังมีความเป็นไปได้ที่อาจชะลอตัวในอนาคต ยกเว้นภาวะราคาน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งก็จะกระทบทุกประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศที่มีการแทรกแชงค่าเงินให้ต่ำเป็นเวลานานๆ เช่นไทย ย่อมจะฝืนมิให้ค่าเงินปรับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ไม่ได้ และการคาดคะเนทิศทางค่าเงินเหรียญสหรัฐนี่เอง ที่ส่งผลให้แรงกดดันมีความรุนแรงสูงเกินกว่าที่การลดอัตราดอกเบี้ย จะหยุดยั้งทิศทางของมันได้
ความรุนแรงของทิศทางค่าเงินจึงหมายถึงข้อจำกัดของมาตรการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศ และมาตรการอัตราดอกเบี้ยที่ในไม่ช้าจะประสบทางตัน ความจริงแล้ว การส่งสัญญาณที่ป้องกันความเลวร้ายของสถานการณ์ต่างหากที่จะช่วยให้ภาคเอกชนเร่งการปรับตัว เข้าใจความเสี่ยงที่เป็นจริงและมีความจริงจังกับภาวะต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ว่าจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้หรือไม่และอย่างไร
ตลาดทุนโลกในปัจจุบันมีขนาดและความเร็วแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในยุคอดีต มีวิกฤตการณ์ทางการเงินเกิดบ่อยครั้งขึ้น ถี่ขึ้น รุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ไม่อาจคาดหวังได้ว่าจะมีการควบคุมกำกับในระดับโลก
นี่เป็นความรุนแรงใหม่ที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมปรับระบบการทำงานภายใน ให้ยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนสู่ดุลยภาพใหม่อยู่เสมอ
แนวทางที่จะต้องดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้แก่
(1) การเปลี่ยนนโยบายอุดหนุนด้านอัตราแลกเปลี่ยนไปสู่การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี
การแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนเป็นเวลาต่อเนื่องเป็นการช่วยให้ผู้ส่งออก และผู้บริโภคต่างประเทศได้รับการอุดหนุน (exchange rate subsidy) โดยที่ต้นทุนของการแทรกแซงจะตกอยู่กับเศรษฐกิจภายในประเทศ
จากการคำนวณของผู้เขียนพบว่าต้นทุนของการแทรกแซงค่าเงินบาทจากมูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีการสะสมไว้เกินความจำเป็น และต้นทุนดอกเบี้ยของทุนสำรองส่วนเกินนั้นพบว่า สังคมต้องเสียภาระต้นทุนสุทธิรวมเป็นจำนวน 1.01 แสนล้านบาท ในช่วง 2545-2549 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของจีดีพี ต่อปี (ดูตาราง)
นโยบายนี้จึงมีความสูญเปล่า เนื่องจากทุนสำรองส่วนเกินดังกล่าวปกติจะถูกนำไปก่อให้เกิดผลผลิตได้มากกว่า ดังนั้น ประเทศที่สะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้มากเป็นเวลานานจะเติบโตได้ไม่สูงเท่าที่ควร การช่วยเหลือภาคส่งออกหรือภาคการผลิตด้วยการสนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและยั่งยืนกว่า โดยที่ภาคเอกชนจะไม่ต้องพึ่งพาการอุดหนุนจากรัฐตลอดไป
(2) การปรับโครงสร้างเงินทุนระหว่างประเทศให้มีระยะยาวมากขึ้น
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสามารถส่งผลกระทบได้มาก ถ้าโครงสร้างเงินทุนต่างประเทศเป็นทุนระยะสั้นมากเกินไปและจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเภท การปฏิรูปภาคการเงินให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายละมีโครงสร้างระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นจะช่วยผ่อนคลายปัญหานี้
ยกตัวอย่างเช่นการเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศสำหรับบุคคลธรรมดาและการลงทุนในสินทรัพย์สกุลต่างๆ จะช่วยให้ระบบการเงินบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น พฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นการเก็งกำไรระยะยาว (value investors) จะช่วยรักษาเสถียรภาพได้โดยธรรมชาติ
(3) การปรับโครงสร้างการผลิตและการค้า
ภาคการเกษตรเป็นภาคที่บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ ทางออกจึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรในด้านอื่นและพัฒนาให้เกษตรกร สามารถได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งจะช่วยทั้งการรักษาเสถียรภาพราคาและการพัฒนาด้านการค้าและการนำเข้าวัตถุดิบอื่นๆ ด้วย
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทิศทางค่าเงิน ภาคอุตสาหกรรมที่ขาดศักยภาพในการแข่งขัน อาจต้องปรับจากการเป็นฐานการผลิตไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า มีการสร้างประโยชน์จากการนำเข้าโดยเฉพาะจากประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงินเพื่ออุดหนุนการส่งออก เพราะการค้าของไทยจะได้รับประโยชน์จากการอุดหนุนนั้นด้วย
(4) การปรับโครงสร้างองค์กรธุรกิจ
ความสามารถในการแข่งขันไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การสูญเสียอุตสาหกรรมนั้นๆ ทั้งหมด เราควรปรับโครงสร้างของธุรกิจให้มีการนำส่วนการผลิต (outsourcing ) ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ไปร่วมกับพันธมิตรธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านที่ได้เปรียบทางด้านต้นทุนหรืออัตราแลกเปลี่ยน แล้วพัฒนาธุรกิจหลักให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดบน ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างต่ำ
(5) แนวทางในการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ
เกณฑ์การบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศจะต้องเปลี่ยนไป จากการเน้นพยุงค่าเงินที่กำลังจะต่ำลง ไปสู่การวัดความสามารถในการบริหาร (performance-based) แทน ซึ่งผู้บริหารทุนสำรอง อาจต้องลงทุนในสินทรัพย์เงินสกุลที่มีแนวโน้มแข็งค่าหรือมีผลตอบแทนสูง หรือลงทุนในสกุลเงินตราของประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะอาจไม่สามารถรักษาไว้ได้อีกต่อไป
การปรับสู่ดุลยภาพใหม่ที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นต่อแรงกระทบระยะยาวของตลาดเงินตราต่างประเทศ เป็นการเดินทางที่ต้องอาศัยการปรับโครงสร้างและการทำงานต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อาจสร้างความลำบากไม่น้อย ทว่านั่นคือความท้าทายที่สามารถสร้างความเข้มแข็งและโอกาสแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับอนาคต
หมายเหตุ *หักหนี้ที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารกลางภายใต้โครงการช่วยเหลือปี 2540
** ต้นทุนดอกเบี้ยของทุนต่างประเทศใช้ข้อมูล US Bank Prime Rate ส่วนผลตอบแทนดอกเบี้ยของทุนสำรองระหว่างประเทศใช้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก Eurodollar (ลอนดอน) ระยะ 6 เดือน ต้นทุนสุทธิในที่นี้ประมาณการจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยสองรายการนี้คูณด้วยทุนสำรองฯส่วนเกิน
หน้า 6
คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ โดย ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
มติชนรายวัน วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10728
การขยับตัวของค่าเงินเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยาก สาเหตุหลักเป็นเพราะ เกี่ยวข้องกับตัวแปรและข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย รวมทั้งพฤติกรรมการคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดซึ่งกำหนดชัดไม่ได้ก็มีบทบาทมาก ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจพื้นฐาน เช่น ภาวะการผลิต อัตราดอกเบี้ย และราคาสินค้า มิได้มีการเปลี่ยนแปลงมากหรือรวดเร็ว ทำให้มองเห็นผลกระทบได้ไม่ชัด
อย่างไรก็ตาม เมื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของโลกเกิดขึ้นในลักษณะที่กระทบต่อทิศทางของค่าเงิน ความสามารถในการทำนายของนักเศรษฐศาสตร์ย่อมมากขึ้น เหมือนดังเช่นที่กำหลังปรากฏให้เห็นในปัจจุบันว่า ค่าเงินเหรียญสหรัฐมีทิศทางไหลลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเพียงบางประการ
การประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักหมายความว่าการค้าโลกต้องการเงินเหรียญสหรัฐไม่มากนัก และดังนั้น เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐต้องลดต่ำลงตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เริ่มในปี 2544 สัญญาณที่เงินตราสกุลนี้จะมีค่าลดต่ำลงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงได้เริ่มต้นขึ้น
ภายใต้แรงกดดันจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ การปรับดุลยภาพใหม่ย่อมต้องเกิดขึ้น ประเทศที่มีความยืดหยุ่นทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน จะมีการปรับค่าเงินของตนรวดเร็วกว่าประเทศที่มุ่งรักษาค่าเงินตามสหรัฐ
ทว่า เราจะเห็นได้ว่าประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เช่น สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย กลับมีเสถียรภาพค่าเงินสูงตลอดช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา
ประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียต่างแทรกแซงค่าเงินของตนให้อ่อนตามค่าเงินสหรัฐ แต่ในที่สุดก็ต้องปรับค่าแข็งขึ้นอย่างรุนแรง
ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นตัวอย่างของประเทศที่ไม่สามารถรักษาอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ยกเว้นค่าเงินของเกาหลีใต้ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปก่อนหน้านั้น
การปรับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ของประเทศทั้งสองกลุ่มนี้มีทิศทางที่แตกต่างกัน
แนวทางแรกเป็นการปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนความเป็นจริงของตลาดเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการสะท้อนความแปรปรวนของปัจจัยต่างๆ ได้ง่ายเช่นเดียวกัน เมื่อค่าเงินเหรียญสหรัฐตกต่ำลง การปล่อยให้ค่าเงินภายในประเทศแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์จะทำให้ภาคส่งออกที่แข่งขันทางราคามีความได้เปรียบมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์รวมได้รับผลกระทบในทางลบ การนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะมีราคาถูกลง ส่งผลดีต่อการเติบโตทางด้านอุปทานและการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
สำหรับแนวทางที่สองที่ทางการมีนโยบายรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเดิมไว้ ทางการต้องปล่อยสภาพคล่องเงินบาทออกมา เพื่อซื้อสินทรัพย์ดอลลาร์สะสมไว้ในบัญชีทุนสำรองระหว่างประทศ อัตราดอกเบี้ยจะลดลงตามสภาพคล่องเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่องกลับบางส่วน เพื่อป้องกันมิให้อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างรุนแรง การปรับดุลยภาพระยะสั้นตามแนวทางนี้ ภาคส่งออกจะได้ประโยชน์จากค่าเงินที่ยังคงอ่อนอยู่ ส่วนผู้กู้จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยหากปล่อยให้ต่ำลง
ผลดีของแนวทางนี้คือ ทุนสำรองระหว่างประเทศทำหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทก (shock absorber) จากปัจจัยค่าเงินดอลลาร์ และสร้างแรงบวกต่ออุปสงค์รวม ผลเสียคือทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุน และวัตถุดิบ สูงขึ้นอันเป็นผลลบต่ออุปทาน และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ผู้บริโภคโดยทั่วไปเป็นผู้แบกรับภาระของนโยบายการแทรกแซงค่าเงิน และถ้าอัตราดอกเบี้ยถูกใช้เป็นแนวทางผ่อนคลายตามสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น ผู้ออมจะเป็นผู้เสียประโยชน์ ซึ่งในระยะยาว การออมที่ต่ำจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุน ทำให้ต้องพึ่งเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในอนาคต
เมื่อพิจารณาผลกระทบในระยะสั้น แนวทางทั้งสองต่างมีเหตุผลรองรับ ซึ่งถ้าแรงกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน มีลักษณะชั่วคราวกล่าวคือเกิดขึ้นเพียงในระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่รุนแรงนัก การสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดีได้ ทว่าจะมีผลเสียมากในระยะปานกลางหรือยาวถ้าแรงกระทบนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหรือมิได้มีลักษณะชั่วคราวดังเช่นในปัจจุบัน
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐในขณะนี้มีขนาดสูงถึงกว่าร้อยละ 6 ของจีดีพี จึงย่อมสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์ ต้องลดต่ำลงซึ่งอาจต้องอ่อนลงถึงอีกร้อยละ 20-40 เพื่อให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงสู่ระดับไม่เกินร้อยละ 4 ของจีดีพี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ ซึ่งเป็นแรงกดดันระยะสั้น ก็ยังไม่มีปัจจัยที่จะทำให้พุ่งสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันคือร้อยละ 5.25 มากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังมีความเป็นไปได้ที่อาจชะลอตัวในอนาคต ยกเว้นภาวะราคาน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งก็จะกระทบทุกประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศที่มีการแทรกแชงค่าเงินให้ต่ำเป็นเวลานานๆ เช่นไทย ย่อมจะฝืนมิให้ค่าเงินปรับเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ไม่ได้ และการคาดคะเนทิศทางค่าเงินเหรียญสหรัฐนี่เอง ที่ส่งผลให้แรงกดดันมีความรุนแรงสูงเกินกว่าที่การลดอัตราดอกเบี้ย จะหยุดยั้งทิศทางของมันได้
ความรุนแรงของทิศทางค่าเงินจึงหมายถึงข้อจำกัดของมาตรการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศ และมาตรการอัตราดอกเบี้ยที่ในไม่ช้าจะประสบทางตัน ความจริงแล้ว การส่งสัญญาณที่ป้องกันความเลวร้ายของสถานการณ์ต่างหากที่จะช่วยให้ภาคเอกชนเร่งการปรับตัว เข้าใจความเสี่ยงที่เป็นจริงและมีความจริงจังกับภาวะต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ว่าจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้หรือไม่และอย่างไร
ตลาดทุนโลกในปัจจุบันมีขนาดและความเร็วแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในยุคอดีต มีวิกฤตการณ์ทางการเงินเกิดบ่อยครั้งขึ้น ถี่ขึ้น รุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ไม่อาจคาดหวังได้ว่าจะมีการควบคุมกำกับในระดับโลก
นี่เป็นความรุนแรงใหม่ที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมปรับระบบการทำงานภายใน ให้ยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนสู่ดุลยภาพใหม่อยู่เสมอ
แนวทางที่จะต้องดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้แก่
(1) การเปลี่ยนนโยบายอุดหนุนด้านอัตราแลกเปลี่ยนไปสู่การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี
การแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนเป็นเวลาต่อเนื่องเป็นการช่วยให้ผู้ส่งออก และผู้บริโภคต่างประเทศได้รับการอุดหนุน (exchange rate subsidy) โดยที่ต้นทุนของการแทรกแซงจะตกอยู่กับเศรษฐกิจภายในประเทศ
จากการคำนวณของผู้เขียนพบว่าต้นทุนของการแทรกแซงค่าเงินบาทจากมูลค่าของทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีการสะสมไว้เกินความจำเป็น และต้นทุนดอกเบี้ยของทุนสำรองส่วนเกินนั้นพบว่า สังคมต้องเสียภาระต้นทุนสุทธิรวมเป็นจำนวน 1.01 แสนล้านบาท ในช่วง 2545-2549 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของจีดีพี ต่อปี (ดูตาราง)
นโยบายนี้จึงมีความสูญเปล่า เนื่องจากทุนสำรองส่วนเกินดังกล่าวปกติจะถูกนำไปก่อให้เกิดผลผลิตได้มากกว่า ดังนั้น ประเทศที่สะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไว้มากเป็นเวลานานจะเติบโตได้ไม่สูงเท่าที่ควร การช่วยเหลือภาคส่งออกหรือภาคการผลิตด้วยการสนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและยั่งยืนกว่า โดยที่ภาคเอกชนจะไม่ต้องพึ่งพาการอุดหนุนจากรัฐตลอดไป
(2) การปรับโครงสร้างเงินทุนระหว่างประเทศให้มีระยะยาวมากขึ้น
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสามารถส่งผลกระทบได้มาก ถ้าโครงสร้างเงินทุนต่างประเทศเป็นทุนระยะสั้นมากเกินไปและจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเภท การปฏิรูปภาคการเงินให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายละมีโครงสร้างระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นจะช่วยผ่อนคลายปัญหานี้
ยกตัวอย่างเช่นการเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศสำหรับบุคคลธรรมดาและการลงทุนในสินทรัพย์สกุลต่างๆ จะช่วยให้ระบบการเงินบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น พฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นการเก็งกำไรระยะยาว (value investors) จะช่วยรักษาเสถียรภาพได้โดยธรรมชาติ
(3) การปรับโครงสร้างการผลิตและการค้า
ภาคการเกษตรเป็นภาคที่บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้ ทางออกจึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรในด้านอื่นและพัฒนาให้เกษตรกร สามารถได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งจะช่วยทั้งการรักษาเสถียรภาพราคาและการพัฒนาด้านการค้าและการนำเข้าวัตถุดิบอื่นๆ ด้วย
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทิศทางค่าเงิน ภาคอุตสาหกรรมที่ขาดศักยภาพในการแข่งขัน อาจต้องปรับจากการเป็นฐานการผลิตไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า มีการสร้างประโยชน์จากการนำเข้าโดยเฉพาะจากประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงินเพื่ออุดหนุนการส่งออก เพราะการค้าของไทยจะได้รับประโยชน์จากการอุดหนุนนั้นด้วย
(4) การปรับโครงสร้างองค์กรธุรกิจ
ความสามารถในการแข่งขันไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การสูญเสียอุตสาหกรรมนั้นๆ ทั้งหมด เราควรปรับโครงสร้างของธุรกิจให้มีการนำส่วนการผลิต (outsourcing ) ที่ไม่สามารถแข่งขันได้ไปร่วมกับพันธมิตรธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านที่ได้เปรียบทางด้านต้นทุนหรืออัตราแลกเปลี่ยน แล้วพัฒนาธุรกิจหลักให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดบน ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างต่ำ
(5) แนวทางในการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ
เกณฑ์การบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศจะต้องเปลี่ยนไป จากการเน้นพยุงค่าเงินที่กำลังจะต่ำลง ไปสู่การวัดความสามารถในการบริหาร (performance-based) แทน ซึ่งผู้บริหารทุนสำรอง อาจต้องลงทุนในสินทรัพย์เงินสกุลที่มีแนวโน้มแข็งค่าหรือมีผลตอบแทนสูง หรือลงทุนในสกุลเงินตราของประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงินให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะอาจไม่สามารถรักษาไว้ได้อีกต่อไป
การปรับสู่ดุลยภาพใหม่ที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นต่อแรงกระทบระยะยาวของตลาดเงินตราต่างประเทศ เป็นการเดินทางที่ต้องอาศัยการปรับโครงสร้างและการทำงานต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อาจสร้างความลำบากไม่น้อย ทว่านั่นคือความท้าทายที่สามารถสร้างความเข้มแข็งและโอกาสแห่งการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับอนาคต
หมายเหตุ *หักหนี้ที่มีต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารกลางภายใต้โครงการช่วยเหลือปี 2540
** ต้นทุนดอกเบี้ยของทุนต่างประเทศใช้ข้อมูล US Bank Prime Rate ส่วนผลตอบแทนดอกเบี้ยของทุนสำรองระหว่างประเทศใช้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก Eurodollar (ลอนดอน) ระยะ 6 เดือน ต้นทุนสุทธิในที่นี้ประมาณการจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยสองรายการนี้คูณด้วยทุนสำรองฯส่วนเกิน
หน้า 6
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 46
"ทำไมต้องลดดอกเบี้ย ?"
คอลัมน์ มองซ้าย มองขวา โดย ภาวิน ศิริประภานุกูล
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3918 (3118)
ด้วยความสัตย์จริง ผมงง และหงุดหงิดเป็นอย่างมากกับการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา รวมถึงข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสที่ผมเคารพหลายท่านซึ่งต้องการให้มีการปรับลด ดอกเบี้ยในสัดส่วนที่สูงมากขึ้นไปอีก โชคดีที่ผมสามารถหาที่ระบายออกความหงุดหงิดในครั้งนี้ ไปได้บ้างแล้วในเว็บไซต์ onopen.com
มาถึงวันนี้การเห็นภาพการทำงานหนักของ ผู้ดำเนินนโยบายหลายๆ คนที่เกี่ยวข้องได้ทำให้ความรู้สึกหงุดหงิดลดลงไป ผมจึงขอร่วมถกเถียงการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในครั้งนี้อย่างใจเย็นรวมทั้งขออินเทรนด์เสนอ ข้อเสนอในการแก้ปัญหาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ก่อนอื่นผมขอเริ่มต้นจากมุมมองของผมที่ทำให้ผมคิดว่าการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วเกินไปด้วยการลดดอกเบี้ยลง ไม่น่าจะแก้ปัญหาได้ ซ้ำร้ายยังอาจก่อให้เกิดปัญหาที่หนักขึ้นกว่าเก่า
มุมมองนี้เหมือนกับที่ สรังสี ลิมปรังษี ได้เขียนเอาไว้ในเว็บไซต์ onopen.com ครับ มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ที่ประกาศ ใช้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วได้ทำให้ไม่มีเม็ดเงินใหม่จากต่างประเทศไหลเข้ามาฝากเงิน และเก็งกำไรค่าเงินบาทอีกแล้ว
ทุกคนรู้ดีว่าการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้เกิดจากเม็ดเงินสองแหล่งหลักด้วยกัน หนึ่งคือ เม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุน อยู่ในตลาดหุ้นไทย จากข้อมูลในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบกับบทวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัท หลักทรัพย์เอเชียพลัส ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน ถึงวันที่ผมนั่งเขียนบทความอยู่นี้ (24 กรกฎาคม) มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยราว 6.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็น เงินดอลลาร์คร่าวๆ ได้เกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 8 สัปดาห์
สอง คือเม็ดเงินจากผู้ส่งออกไทย จากเอกสารรายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 5 เดือนของปี 2550 ของสำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ การส่งออก เฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้นราว 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.9 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่า การขยายตัวของการส่งออกเมื่อรวมเดือนมิถุนายน ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า 18 เปอร์เซ็นต์
ด้วยเหตุที่เม็ดเงินใหม่ที่ไหลเข้ามาในช่วงที่มีปัญหานี้มิใช่เม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดเงินฝาก หรือตราสารหนี้ การลดดอกเบี้ยในตอนนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดการไหลออกของเม็ดเงินจาก ต่างประเทศมากนัก ในทางตรงกันข้ามการลดดอกเบี้ย มักสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตลาดหุ้น การลดดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจ ลดต่ำลง ทำให้มุมมองต่อการทำธุรกิจในอนาคตสดใสขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จะนำมาคิดลด รายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตลดต่ำลง ฯลฯ มูลค่าพื้นฐานหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนใหม่ไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้นเพิ่มเติมอีก
การหวังเพิ่มอุปสงค์เงินดอลลาร์ภายในประเทศจากดอกเบี้ยที่ลดลงจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาครับ นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า การปรับตัวในภาคธุรกิจจริงอาศัยระยะเวลา นานกว่าการไหลเวียนของเงินทุนหลายเท่าตัว การลดดอกเบี้ยเพื่อหวังกระตุ้นการบริโภค และการลงทุน จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา และไม่สามารถพึ่งพาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นได้
การหวังให้ภาคธุรกิจรีไฟแนนซ์เงินกู้จากต่างประเทศ ผมว่าอาจหวังได้แต่ไม่น่าจะคิดเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ผมไม่คิดว่านักธุรกิจไทยไม่ฉลาดครับ พวกเขาลงทุนหาความรู้และข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับทิศทางการปรับตัวของค่าเงินบาทพอสมควร เพราะมันมีผลกระทบต่อรายได้ของพวกเขา ดังนั้นการตัดสินใจกู้เงินจากต่างประเทศในระดับปัจจุบันมิใช่การตัดสินใจที่ไร้สติ
การบังคับให้รัฐวิสาหกิจในการควบคุมของ ภาครัฐรีไฟแนนซ์หรือใช้คืนเงินกู้อาจเกิดขึ้นได้ แต่เราเริ่มเห็นข่าวเกี่ยวกับปัญหาติดขัดบางอย่าง นอกจากนั้นผมยังคิดว่ารัฐวิสาหกิจบางแห่งก็คง ไม่อยากจะใช้คืนเงินกู้ต่างประเทศในช่วงนี้ด้วยส่วนหนึ่งครับ ก็เหมือนกับในภาคธุรกิจผู้บริหาร รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ฉลาด การตัดสินใจกู้เงินต่างประเทศในระดับปัจจุบันคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทเอาไว้แล้ว
การลดดอกเบี้ยปล่อยเงินบาทท่วมตลาดเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะสามารถแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าในระยะสั้นได้ ซ้ำร้ายยังอาจชักนำเม็ดเงินใหม่ให้ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มเติมด้วย
ผมคิดว่าผมเข้าใจความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสหลายท่านที่เห็นว่า ปัญหาค่าเงินบาทในช่วงนี้เป็นปัญหาในระยะสั้น เมื่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศฟื้นตัว ประกอบกับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงดำเนินการ ปัญหาเงินบาทแข็งค่า จะคลี่คลายลง ดังนั้นการปล่อยให้เงินบาทท่วมตลาดในช่วงสั้นๆ นี้ ก่อนที่จะดูดซับเงินบาทกลับเข้าไปใหม่น่าจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาในระยะสั้น ที่ได้ผล
ในความคิดของผมการลดดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ หากเราต้องการแก้ปัญหาค่า เงินบาทในระยะสั้นอย่างรวดเร็วจริงๆ เราต้องปล่อยเงินบาทให้ท่วมตลาดเป้าหมาย นั่นคือ ปล่อยมันลงไปในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศครับ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องใส่เงินบาทใหม่ เข้าไปซื้อเงินดอลลาร์มาเก็บไว้รอเวลาที่เรา คิดว่าเข้าสู่สภาวะปกติก็ขายเงินดอลลาร์ออกไปเพื่อดูดซับเงินบาท กลับเข้าไปเหมือนเดิม
ผมไม่เคยคิดที่จะสนับสนุนนโยบายแบบนี้ อย่างแน่นอน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง คาดเดาทิศทางได้ยากกว่าตลาดหุ้นเสียอีก มาตรการดังกล่าวอาจได้ผลในการชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาทจริง แต่มีความเสี่ยงทางด้านต้นทุนของนโยบายที่สูงมากครับ
ในทางกลับกันผมคิดว่าวิธีการที่จะแก้ปัญหา ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างได้ผลที่สุดคือการแข็งใจ ไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม หรือบางทีอาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยด้วยซ้ำครับ อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะปรับลดระดับความน่าสนใจของตลาดหุ้น และหวังว่าระดับความน่าสนใจที่ลดลงจะนำมาซึ่งการไหลออก ของเงินลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมันเกิดขึ้นได้เร็ว ในปริมาณมหาศาล
นอกจากนั้นการเข้าไปดำเนินการควบคุมต้นตอของปัญหาทั้งสองทางอย่างจริงจังน่าจะเป็นวิธีการที่น่าสนใจมากกว่า มาตรการที่ชะลอเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นโดยตรง จะเป็นวิธีการที่น่าจะได้ผลในการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ยิ่งถ้าหากเป็นมาตรการที่ส่งผลให้เกิดเงินทุนต่างประเทศไหลออก ยิ่งน่าจะทำให้เราแก้ปัญหาบาทแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
ในด้านการส่งออก ผมคิดว่านี่เป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะปรับปรุงโครงสร้างภาคการผลิต ให้หันกลับมาสนใจตลาดในประเทศให้มากยิ่งขึ้น มาตรการที่น่าสนใจคือการส่งเสริมการปรับตัว เพื่อขยายตลาดในประเทศทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปจากตลาดต่างประเทศ นอกจากนั้นการส่งสัญญาณที่ถูกต้องด้วยปริมาณการส่งออกที่ลดลงจะช่วยแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าได้มากกว่า
ผมไม่เคยคิดว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กันอย่างสวยงามเหมือนฝัน สุดท้ายเราจำเป็นต้องเลือก ถ้าเรามองการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทเป็นปัญหา เราจำเป็นจะต้องควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งนับวันมันจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น และเคลื่อนตัวเร็วขึ้นทุกทีๆ ถ้าเรามองว่าค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป เราก็จำเป็นที่จะต้องทำให้คนอื่นเห็นว่ามันเป็นระดับที่ก่อให้เกิดปัญหากับเราจริงๆ ไม่ใช่บอกเขาว่าเงินบาทแข็งค่าจนเป็นปัญหาในขณะที่การส่งออกของประเทศยังขยายตัวอยู่ในระดับสูงกว่า 18 เปอร์เซ็นต์
ในกรณีของมาตรการเพิ่มเติมที่ถูกประกาศออกมาก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีแต่อย่างใด นอกจากนั้นผมยังคิดว่ามาตรการหลายอย่างส่งผลเสียมากกว่าผลดีในระยะยาวครับ
การอนุญาตให้ผู้ส่งออกและผู้มีรายได้เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศสามารถถือเงินดอลลาร์ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงการอนุญาตให้เปิดบัญชีเงินฝากเป็นสกุลต่างประเทศได้ ไม่แตกต่างอะไรไปจากมาตรการบังคับขายเงินดอลลาร์ภายใน 7 วันที่เกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤตเงินบาทอ่อนค่าในรอบที่แล้ว ผู้ส่งออกและผู้ที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ไม่สนใจที่จะทำตามมาตรการเหล่านี้ครับ
ในระยะยาวมาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาค่าเงินบาทในกรณีที่เกิดปัญหากลับด้านกัน การอนุญาตให้ถือครองเงินดอลลาร์ยาวนานขึ้น จะถูกใช้ในกรณีเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่า และในตอนนั้นเราก็จะมีปัญหาเพราะ ผู้ส่งออกไม่ยอมขายเงินดอลลาร์เพื่อชะลอ การอ่อนค่าของเงินบาท
มาตรการเหล่านี้ยังมักก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดเกิดขึ้น และสร้างพฤติกรรมที่มีต้นทุนสูงผิดปกติติดตามมา ในช่วงเงินบาทแข็งค่า ผู้ส่งออกอาจเสี่ยงถือเงินดอลลาร์รอลุ้นนโยบายเฉพาะหน้าในอดีตที่อาจเปลี่ยนไป และอาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ เมื่อมาตรการที่ออกใหม่ ไม่ได้ผล ผลลัพธ์ที่อาจติดตามมาคือ การขาดทุนอย่างมหาศาลครับ
ผมขอเสนอนโยบายที่น่าจะส่งผลดีกว่าการทำให้เงินบาทอ่อนค่าเสียอีก นั่นคือบังคับให้ ผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่ตนเองได้รับคำสั่งซื้อสินค้าที่แน่นอน หรือบังคับการทำประกันความเสี่ยงภายใน ระยะเวลาที่กำหนดแคบๆ วิธีนี้เป็นวิธีการ ปกป้องผู้ส่งออก และลดสภาวะความไม่แน่นอน ของพวกเขาลงไปได้
นอกจากนั้นนโยบายแทรกแซงตลาดทั้งตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหุ้นควรจะกำหนดออกให้เป็นกฎ เหมือนกฎในการเล่นเกมครับ บอกเอาไว้เลยให้ชัดเจนว่าในกรณีบาทแข็งค่าเร็วเกินไปมาตรการนี้ จะส่งผลให้มีต้นทุนในการนำเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามายังประเทศไทย ในขณะที่ถ้าหากกรณีปัญหาจบสิ้นลงมาตรการนี้จะยกเลิกตนเองอัตโนมัติ และถ้าหากเกิดกรณีที่กลับด้านกัน เงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป มาตรการเดียวกันนี้จะนำมาซึ่งการสนับสนุนส่งเสริมเงินไหลเข้า
การกำหนดมาตรการแบบนี้ทำให้ผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องสามารถวางแผนการได้ล่วงหน้า ไม่ต้องรอลุ้นการพลิกกลับไปกลับมาของตัวมาตรการ นำมาซึ่งพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ สูงกว่าการออกมาตรการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่มีลักษณะถาวร และรอวันเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่เกิดปัญหาที่กลับด้านกันขึ้นมาในอนาคต
หน้า 42
คอลัมน์ มองซ้าย มองขวา โดย ภาวิน ศิริประภานุกูล
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3918 (3118)
ด้วยความสัตย์จริง ผมงง และหงุดหงิดเป็นอย่างมากกับการปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา รวมถึงข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสที่ผมเคารพหลายท่านซึ่งต้องการให้มีการปรับลด ดอกเบี้ยในสัดส่วนที่สูงมากขึ้นไปอีก โชคดีที่ผมสามารถหาที่ระบายออกความหงุดหงิดในครั้งนี้ ไปได้บ้างแล้วในเว็บไซต์ onopen.com
มาถึงวันนี้การเห็นภาพการทำงานหนักของ ผู้ดำเนินนโยบายหลายๆ คนที่เกี่ยวข้องได้ทำให้ความรู้สึกหงุดหงิดลดลงไป ผมจึงขอร่วมถกเถียงการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในครั้งนี้อย่างใจเย็นรวมทั้งขออินเทรนด์เสนอ ข้อเสนอในการแก้ปัญหาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ก่อนอื่นผมขอเริ่มต้นจากมุมมองของผมที่ทำให้ผมคิดว่าการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วเกินไปด้วยการลดดอกเบี้ยลง ไม่น่าจะแก้ปัญหาได้ ซ้ำร้ายยังอาจก่อให้เกิดปัญหาที่หนักขึ้นกว่าเก่า
มุมมองนี้เหมือนกับที่ สรังสี ลิมปรังษี ได้เขียนเอาไว้ในเว็บไซต์ onopen.com ครับ มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ที่ประกาศ ใช้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วได้ทำให้ไม่มีเม็ดเงินใหม่จากต่างประเทศไหลเข้ามาฝากเงิน และเก็งกำไรค่าเงินบาทอีกแล้ว
ทุกคนรู้ดีว่าการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้เกิดจากเม็ดเงินสองแหล่งหลักด้วยกัน หนึ่งคือ เม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุน อยู่ในตลาดหุ้นไทย จากข้อมูลในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบกับบทวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบริษัท หลักทรัพย์เอเชียพลัส ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน ถึงวันที่ผมนั่งเขียนบทความอยู่นี้ (24 กรกฎาคม) มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยราว 6.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็น เงินดอลลาร์คร่าวๆ ได้เกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 8 สัปดาห์
สอง คือเม็ดเงินจากผู้ส่งออกไทย จากเอกสารรายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 5 เดือนของปี 2550 ของสำนักงานยุทธศาสตร์การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ การส่งออก เฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2550 มีมูลค่าทั้งสิ้นราว 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.9 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่า การขยายตัวของการส่งออกเมื่อรวมเดือนมิถุนายน ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า 18 เปอร์เซ็นต์
ด้วยเหตุที่เม็ดเงินใหม่ที่ไหลเข้ามาในช่วงที่มีปัญหานี้มิใช่เม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ตลาดเงินฝาก หรือตราสารหนี้ การลดดอกเบี้ยในตอนนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดการไหลออกของเม็ดเงินจาก ต่างประเทศมากนัก ในทางตรงกันข้ามการลดดอกเบี้ย มักสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตลาดหุ้น การลดดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจ ลดต่ำลง ทำให้มุมมองต่อการทำธุรกิจในอนาคตสดใสขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จะนำมาคิดลด รายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตลดต่ำลง ฯลฯ มูลค่าพื้นฐานหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนใหม่ไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้นเพิ่มเติมอีก
การหวังเพิ่มอุปสงค์เงินดอลลาร์ภายในประเทศจากดอกเบี้ยที่ลดลงจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาครับ นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า การปรับตัวในภาคธุรกิจจริงอาศัยระยะเวลา นานกว่าการไหลเวียนของเงินทุนหลายเท่าตัว การลดดอกเบี้ยเพื่อหวังกระตุ้นการบริโภค และการลงทุน จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา และไม่สามารถพึ่งพาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นได้
การหวังให้ภาคธุรกิจรีไฟแนนซ์เงินกู้จากต่างประเทศ ผมว่าอาจหวังได้แต่ไม่น่าจะคิดเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ผมไม่คิดว่านักธุรกิจไทยไม่ฉลาดครับ พวกเขาลงทุนหาความรู้และข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับทิศทางการปรับตัวของค่าเงินบาทพอสมควร เพราะมันมีผลกระทบต่อรายได้ของพวกเขา ดังนั้นการตัดสินใจกู้เงินจากต่างประเทศในระดับปัจจุบันมิใช่การตัดสินใจที่ไร้สติ
การบังคับให้รัฐวิสาหกิจในการควบคุมของ ภาครัฐรีไฟแนนซ์หรือใช้คืนเงินกู้อาจเกิดขึ้นได้ แต่เราเริ่มเห็นข่าวเกี่ยวกับปัญหาติดขัดบางอย่าง นอกจากนั้นผมยังคิดว่ารัฐวิสาหกิจบางแห่งก็คง ไม่อยากจะใช้คืนเงินกู้ต่างประเทศในช่วงนี้ด้วยส่วนหนึ่งครับ ก็เหมือนกับในภาคธุรกิจผู้บริหาร รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ฉลาด การตัดสินใจกู้เงินต่างประเทศในระดับปัจจุบันคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทเอาไว้แล้ว
การลดดอกเบี้ยปล่อยเงินบาทท่วมตลาดเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะสามารถแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าในระยะสั้นได้ ซ้ำร้ายยังอาจชักนำเม็ดเงินใหม่ให้ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มเติมด้วย
ผมคิดว่าผมเข้าใจความคิดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสหลายท่านที่เห็นว่า ปัญหาค่าเงินบาทในช่วงนี้เป็นปัญหาในระยะสั้น เมื่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศฟื้นตัว ประกอบกับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงดำเนินการ ปัญหาเงินบาทแข็งค่า จะคลี่คลายลง ดังนั้นการปล่อยให้เงินบาทท่วมตลาดในช่วงสั้นๆ นี้ ก่อนที่จะดูดซับเงินบาทกลับเข้าไปใหม่น่าจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาในระยะสั้น ที่ได้ผล
ในความคิดของผมการลดดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอ หากเราต้องการแก้ปัญหาค่า เงินบาทในระยะสั้นอย่างรวดเร็วจริงๆ เราต้องปล่อยเงินบาทให้ท่วมตลาดเป้าหมาย นั่นคือ ปล่อยมันลงไปในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศครับ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องใส่เงินบาทใหม่ เข้าไปซื้อเงินดอลลาร์มาเก็บไว้รอเวลาที่เรา คิดว่าเข้าสู่สภาวะปกติก็ขายเงินดอลลาร์ออกไปเพื่อดูดซับเงินบาท กลับเข้าไปเหมือนเดิม
ผมไม่เคยคิดที่จะสนับสนุนนโยบายแบบนี้ อย่างแน่นอน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง คาดเดาทิศทางได้ยากกว่าตลาดหุ้นเสียอีก มาตรการดังกล่าวอาจได้ผลในการชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาทจริง แต่มีความเสี่ยงทางด้านต้นทุนของนโยบายที่สูงมากครับ
ในทางกลับกันผมคิดว่าวิธีการที่จะแก้ปัญหา ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างได้ผลที่สุดคือการแข็งใจ ไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม หรือบางทีอาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยด้วยซ้ำครับ อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะปรับลดระดับความน่าสนใจของตลาดหุ้น และหวังว่าระดับความน่าสนใจที่ลดลงจะนำมาซึ่งการไหลออก ของเงินลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งมันเกิดขึ้นได้เร็ว ในปริมาณมหาศาล
นอกจากนั้นการเข้าไปดำเนินการควบคุมต้นตอของปัญหาทั้งสองทางอย่างจริงจังน่าจะเป็นวิธีการที่น่าสนใจมากกว่า มาตรการที่ชะลอเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นโดยตรง จะเป็นวิธีการที่น่าจะได้ผลในการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ยิ่งถ้าหากเป็นมาตรการที่ส่งผลให้เกิดเงินทุนต่างประเทศไหลออก ยิ่งน่าจะทำให้เราแก้ปัญหาบาทแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
ในด้านการส่งออก ผมคิดว่านี่เป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะปรับปรุงโครงสร้างภาคการผลิต ให้หันกลับมาสนใจตลาดในประเทศให้มากยิ่งขึ้น มาตรการที่น่าสนใจคือการส่งเสริมการปรับตัว เพื่อขยายตลาดในประเทศทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปจากตลาดต่างประเทศ นอกจากนั้นการส่งสัญญาณที่ถูกต้องด้วยปริมาณการส่งออกที่ลดลงจะช่วยแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าได้มากกว่า
ผมไม่เคยคิดว่าเราจะสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กันอย่างสวยงามเหมือนฝัน สุดท้ายเราจำเป็นต้องเลือก ถ้าเรามองการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทเป็นปัญหา เราจำเป็นจะต้องควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งนับวันมันจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น และเคลื่อนตัวเร็วขึ้นทุกทีๆ ถ้าเรามองว่าค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป เราก็จำเป็นที่จะต้องทำให้คนอื่นเห็นว่ามันเป็นระดับที่ก่อให้เกิดปัญหากับเราจริงๆ ไม่ใช่บอกเขาว่าเงินบาทแข็งค่าจนเป็นปัญหาในขณะที่การส่งออกของประเทศยังขยายตัวอยู่ในระดับสูงกว่า 18 เปอร์เซ็นต์
ในกรณีของมาตรการเพิ่มเติมที่ถูกประกาศออกมาก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีแต่อย่างใด นอกจากนั้นผมยังคิดว่ามาตรการหลายอย่างส่งผลเสียมากกว่าผลดีในระยะยาวครับ
การอนุญาตให้ผู้ส่งออกและผู้มีรายได้เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศสามารถถือเงินดอลลาร์ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงการอนุญาตให้เปิดบัญชีเงินฝากเป็นสกุลต่างประเทศได้ ไม่แตกต่างอะไรไปจากมาตรการบังคับขายเงินดอลลาร์ภายใน 7 วันที่เกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤตเงินบาทอ่อนค่าในรอบที่แล้ว ผู้ส่งออกและผู้ที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ไม่สนใจที่จะทำตามมาตรการเหล่านี้ครับ
ในระยะยาวมาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาค่าเงินบาทในกรณีที่เกิดปัญหากลับด้านกัน การอนุญาตให้ถือครองเงินดอลลาร์ยาวนานขึ้น จะถูกใช้ในกรณีเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่า และในตอนนั้นเราก็จะมีปัญหาเพราะ ผู้ส่งออกไม่ยอมขายเงินดอลลาร์เพื่อชะลอ การอ่อนค่าของเงินบาท
มาตรการเหล่านี้ยังมักก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดเกิดขึ้น และสร้างพฤติกรรมที่มีต้นทุนสูงผิดปกติติดตามมา ในช่วงเงินบาทแข็งค่า ผู้ส่งออกอาจเสี่ยงถือเงินดอลลาร์รอลุ้นนโยบายเฉพาะหน้าในอดีตที่อาจเปลี่ยนไป และอาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ เมื่อมาตรการที่ออกใหม่ ไม่ได้ผล ผลลัพธ์ที่อาจติดตามมาคือ การขาดทุนอย่างมหาศาลครับ
ผมขอเสนอนโยบายที่น่าจะส่งผลดีกว่าการทำให้เงินบาทอ่อนค่าเสียอีก นั่นคือบังคับให้ ผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่ตนเองได้รับคำสั่งซื้อสินค้าที่แน่นอน หรือบังคับการทำประกันความเสี่ยงภายใน ระยะเวลาที่กำหนดแคบๆ วิธีนี้เป็นวิธีการ ปกป้องผู้ส่งออก และลดสภาวะความไม่แน่นอน ของพวกเขาลงไปได้
นอกจากนั้นนโยบายแทรกแซงตลาดทั้งตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหุ้นควรจะกำหนดออกให้เป็นกฎ เหมือนกฎในการเล่นเกมครับ บอกเอาไว้เลยให้ชัดเจนว่าในกรณีบาทแข็งค่าเร็วเกินไปมาตรการนี้ จะส่งผลให้มีต้นทุนในการนำเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามายังประเทศไทย ในขณะที่ถ้าหากกรณีปัญหาจบสิ้นลงมาตรการนี้จะยกเลิกตนเองอัตโนมัติ และถ้าหากเกิดกรณีที่กลับด้านกัน เงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป มาตรการเดียวกันนี้จะนำมาซึ่งการสนับสนุนส่งเสริมเงินไหลเข้า
การกำหนดมาตรการแบบนี้ทำให้ผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องสามารถวางแผนการได้ล่วงหน้า ไม่ต้องรอลุ้นการพลิกกลับไปกลับมาของตัวมาตรการ นำมาซึ่งพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ สูงกว่าการออกมาตรการที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่มีลักษณะถาวร และรอวันเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่เกิดปัญหาที่กลับด้านกันขึ้นมาในอนาคต
หน้า 42
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 47
อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน
คอลัมน์ นอกรอบ โดย ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3919 (3119)
เรื่องอัตราดอกเบี้ย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจกันมาก เพราะกระทบกับปากท้อง กระทบกับต้นทุนการผลิตโดยตรง จริงๆ ถ้าจะพูดถึง 2 เรื่องนี้ ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเชื่อมโยงไปกับอัตราเงินเฟ้อนะครับ แต่เพื่อไม่ให้คอลัมน์วันนี้มันดู ซับซ้อนมากเกินไป ผมคงจะไม่เปิดประเด็นอัตราเงินเฟ้อให้มากเกินความจำเป็น โดยพยายามจะ มุ่งประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ย อันจะเชื่อมโยง ไปยังอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลักนะครับ
ช่วงต้นเดือน ก.ค.2550 ก่อนที่อัตราแลกเปลี่ยนจะเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรงอีกระลอกหนึ่ง หลายท่านออกมาบอกว่า ควรลดดอกเบี้ยให้แรงๆ เพื่อแก้ปัญหา ในขณะที่หนึ่งในผู้ดำเนินนโยบายบอกว่า ดอกเบี้ยลดถึงจุดต่ำสุดแล้ว ตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในโลกแล้ว ถ้าลดดอกเบี้ยแรงๆ แล้ว "มีความเสี่ยงที่จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น" แต่นักวิชาการก็ออกมาบอกในวันใกล้ๆ กันว่า ก็เพราะไปเอาเป้าหมายเงินเฟ้อมาปนกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนน่ะสิ ปัญหาของประเทศมันเลยอีนุงตุงนังแก้ไม่ได้ จนหลายคนกลัวเกิดวิกฤตอีกรอบอย่างทุกวันนี้
จริงๆ ทุกท่านก็มีเหตุผลที่แตกต่างกัน ยิ่งเมื่อสวมหมวก (ทำหน้าที่) ที่แตกต่างกันไปอีกด้วยแล้ว ข้อคิดเห็นปรากฏตามสื่อก็ยิ่งแตกต่างกันไปใหญ่ วันนี้ผมเลยอยากฉวยโอกาสที่ตัวเองมีพื้นที่สื่อใน "ประชาชาติธุรกิจ" ในการเสนอมุมมองให้พวกท่านช่วยกันวิเคราะห์กันเองดีกว่าครับ
อัตราดอกเบี้ยคือราคาของเงินทุน โดยกลไกราคาแล้ว อะไรมีมากเหลือเฟือ อันนั้นก็ราคาถูก อะไรมีน้อยกว่าความต้องการ ขาดแคลน อันนั้น ก็ราคาแพง ดังนั้นหากเงินทุนในระบบมีความเหลือเฟือ ราคาของเงินทุนก็จะต่ำลง (ดอกเบี้ย ลดลง) ในขณะที่เมื่อเงินทุนมีความขาดแคลน ราคาของเงินทุน ก็จะปรับตัวสูงขึ้น (ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น) สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจไทยจะมาจากไหนมิได้ นอกจากจากแหล่งภายในประเทศ จากต่างประเทศ และจากการดำเนินนโยบาย ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
1) ในประเทศ ตอนนี้ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า เศรษฐกิจชะลอตัว ไม่มีคนกู้เงิน การขยายตัว ของสินเชื่อในช่วงเดือน มี.ค. เม.ย. และ พ.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.39 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 1.37 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าลดลงอย่าง ต่อเนื่อง สวนกระแสที่ ธปท.ลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เมื่อความต้องการเงินทุนน้อยลง ดังนั้นเงินทุนก็ควรจะเหลือหรือเปล่าครับ
2) ต่างประเทศ เงินทุนไหลเข้าไทยมีมากมาย จากทั้งฝั่งบัญชีทุนเคลื่อนย้าย (ลงทุนในตลาดหุ้น ลงทุนในตลาดตราหนี้ ฯลฯ) และจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ส่งออกได้มากเป็นประวัติการณ์ นำเข้าน้อย) มีเงินทุนไหลเข้าประเทศมากมายขนาดนี้ เงินทุนจะเหลือหรือเปล่าครับ
3) การดำเนินนโยบาย ธปท. หนี้เยอะ ณ สิ้นเดือน มิ.ย.2550 ธปท.มีหนี้พันธบัตร ธปท. ถึง 1.1 ล้านล้านบาท สมมติจ่ายดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 4 ก็ต้องจ่ายปีละ 4.4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ความสามารถในการหาเงินของฝ่าย การธนาคาร ธปท. มีเพียงไม่กี่พันล้านบาทต่อปี คำถามผมคือ ธปท. จะเอาเงินจากไหนมารองรับภาระหนี้สินมากมายขนาดนี้ นี่เมื่อวันก่อนผม ได้ยินมาว่า ธปท.ขาดทุนแล้ว 1.7 แสนล้านบาท แต่ (ณ ตอนเขียนคอลัมน์นี้อยู่) ยังไม่เห็นรายละเอียดครับว่า ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่อย่างไรก็เถอะครับ ถ้า ธปท.แบกหนี้ต่อไป ไม่ได้ และต้องไถ่ถอนหนี้ดังกล่าว สภาพคล่อง ก็จะเข้าระบบมากขึ้นใช่หรือไม่ครับ
จากปัจจัยที่กำหนดสภาพคล่องทั้งหมดข้างต้นชี้ไปในทางเดียวกันว่า สภาพคล่องในระบบมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลักดันให้ดอกเบี้ยลดลง เพราะฉะนั้นประเด็นที่พูดว่า อัตราดอกเบี้ยปรับลงมาอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว อาจเป็นการพูดโดยใช้ความรู้สึก โดยอาจมิได้มีการพิจารณาพื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์ประกอบ ถ้าดอกเบี้ยไทยต่ำสุดในโลกแล้ว ทำไมเงินทุนยังไหลเข้าประเทศไทยอีกล่ะครับ ทำไมไม่ไปไหลเข้าประเทศอื่นที่ให้ ผลตอบแทนมากกว่า คงหาได้สักประเทศล่ะครับ หากประเทศไทยดอกเบี้ยต่ำที่สุดในโลกแล้วจริง
สำหรับเหตุผลที่ว่า หากอัตราดอกเบี้ยปรับ ลดลงต่ำกว่าเงินเฟ้อจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนั้น ประเด็นนี้ยังนับว่าไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 1.91 ทั้ง 2 เดือนติด คือเดือน พ.ค. และ มิ.ย.2550 ซึ่งนับว่ามีเสถียรภาพ และยิ่งพิจารณาเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินการของ ธปท.แล้วยิ่งไปกันใหญ่ คืออยู่ที่ระดับเพียงร้อยละ 0.67 ทั้ง 2 เดือนติด คือเดือน พ.ค. และ มิ.ย.2550 เช่นกัน ซึ่งนับว่าห่างไกลที่จะต้องมานั่งกังวลว่าจะเกิน เป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) ที่ร้อยละ 0.0-3.5 มากครับ ในขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 แนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะติดลบจึงยังเกิดขึ้นได้ยากตามที่หลายท่านกังวล
ถึงตรงนี้ใครพอจะมีพื้นทางเศรษฐศาสตร์ มาบ้าง ก็จะเข้าใจว่าตามกลไกราคาแล้ว อะไรที่มีเหลือเฟืออันนั้นจะมีราคาต่ำลง ก็จะพอเข้าใจว่ามองดูจากแรงกดดันทั้ง 3 ประการข้างต้นแล้ว สภาพคล่องในระบบมีแต่จะเพิ่มขึ้น เร็วกว่าความต้องการเงินทุน อัตราดอกเบี้ยตอนนี้ใครๆ ก็เดาทิศทางได้ว่ายังอยู่ในขาลง แม้ว่า ธปท.จะปรับลดดอกเบี้ยมาถึงร้อยละ 1.75 แล้วก็ตาม การที่คาดเดาได้ก็เกิดการเก็งกำไรได้ ใครซื้อพันธบัตรก็ได้กำไรในราคาพันธบัตร เพราะราคาพันธบัตรแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย (ต้องขอประทานโทษท่านผู้อ่านด้วยนะครับ ที่ไม่มีพื้นที่พอที่จะอธิบายว่าทำไมราคาพันธบัตรแปรผกผันกับราคาดอกเบี้ย) ใครจะลงทุนก็ชะลอการลงทุนไว้ก่อน เพราะเดี๋ยวดอกเบี้ยจะลงไปอีก ไม่ว่าจะเก็งกันอย่างไร ก็ไม่ดีกับเศรษฐกิจไทยทั้งนั้นแหละครับ
หลังๆ มีนักวิชาการผู้ใหญ่หลายท่านออกมากดดันให้มีการลดดอกเบี้ยกันแรงๆ ไปเลยทีเดียว แต่ ธปท.ก็มีเหตุผลว่าเป็นห่วงเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น อย่างที่เราคุยกันก่อนหน้าแล้วไงครับว่า ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.91 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.67 ดังนั้นความเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อก็คงไม่ใช่เหตุผล เพราะอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันนับว่ายังอยู่ในระดับต่ำ หลายคนก็อาจเป็นห่วงว่า แม้ว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แต่ราคาน้ำมันเริ่มกลับมาผันผวนอีกครั้ง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือไม่
ในประเด็นนี้ต้องบอกว่า ถ้าเป็นห่วงเงินเฟ้อกันก็ยิ่งน่าจะรีบลดอัตราดอกเบี้ยไปกันใหญ่ครับ เพราะราคาน้ำมัน ช่วงปลายปีทางซีกโลกเหนือ จะเข้าสู่ฤดูหนาว ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นอีก ถึงตอนนั้นมิยิ่งต้องกลัวเงินเฟ้อจนกระทั่งต้องดูดซับสภาพคล่องกันจนหนี้สินของ ธปท. ก็ต้องเพิ่มขึ้นไปอย่างนี้เรื่อยๆ หรือ ? กำไรของฝ่ายการธนาคาร ธปท. ปีๆ หนึ่งไม่กี่พันล้านบาท ตอนนี้ ธปท.ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท. ปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านบาท จะเอาเงินมาจากไหนครับ ? อันนี้ยังไม่รวมภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ ธปท.ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินต้นจำนวนรวม 1.4 ล้านล้านบาท รวมแล้วเป็นระยะเวลา 29 ปี (นับจากปี 2545) นะครับ ยิ่งพูดก็ยิ่งอดนึกไม่ได้ว่า ปี 2545 ธปท.ก็เพิ่งได้อำนาจให้โอนเงินจากบัญชี ฝ่ายออกบัตรมาล้างขาดทุนสะสมไป 1.65 แสนล้านบาท นี่ผ่านมา 5 ปี ใครไม่รู้ นึกว่าเป็นขาดทุนก้อนเดิมนะครับ เพราะยอด 1.7 แสนล้านบาท ที่โผล่ขึ้นมาใหม่เร็วๆ นี้ใกล้เคียงกับยอดที่เพิ่งล้างกันไปมาก
โดยสรุปแล้วส่วนตัวผม ผมสนับสนุนให้รีบเร่งลดอัตราดอกเบี้ยลงให้เร็วกว่านี้ครับ เข้าใจว่าทุกคนทราบกันดีอยู่ว่า การลดดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษที่จะทำให้ปัญหาค่าเงินบาทยุติลงได้ (การลด ดอกเบี้ยไม่ใช่ sufficient condition) แต่หากการลดดอกเบี้ยเป็นเงื่อนไขที่จำเป็น (necessary condition) ที่จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่ประสิทธิภาพของนโยบายอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาเงินบาท ปัจจัยที่กดดันดอกเบี้ยให้อ่อนตัวลงที่ได้กล่าวข้างต้นเป็นปัจจัยที่ชัดเจน ใครๆ ก็เห็น ใครๆ ก็คาดการณ์ได้ คาดการณ์กันได้ว่าดอกเบี้ยลด ก็คาดการณ์กันได้ว่าราคาพันธบัตรจะเพิ่ม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เงินทุนต่างชาติยิ่งไหลเข้ามาเก็งกำไรในประเทศ เงินบาทก็ยิ่งแข็ง แล้ว ธปท. คนเดียวจะต้านแรงคาดการณ์ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้ หรือครับ นี่ก็ต้าน (ทำ sterilization) มาจนหนี้สินมากมายขนาดนี้แล้ว 6 นโยบายเงินบาทที่รัฐบาลเพิ่งเห็นชอบเป็นเพียงการเพิ่มความยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้นักลงทุนนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ ฯลฯ แต่ถ้าไปลงทุนแล้วหรือใช้หนี้ต่างประเทศแล้ว เงินบาทแข็งขึ้นไปอีก ขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยน ใครจะไปลงทุน หรือใครจะไปใช้หนี้ก่อนครับ
วันนี้ไม่เหลือพื้นที่ให้ผมเขียนแล้ว จริงๆ เรื่องนี้ซับซ้อน ผมพยายามใช้พื้นที่ที่มีอย่างจำกัดในการอธิบายเรื่องดังกล่าว ผมทราบว่าบางเรื่องพูดแล้วอาจไม่เป็นผลดีต่อประเทศนัก เพราะอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่น หรือมีการสร้างการเก็งกำไรให้มากขึ้นไปอีก แต่ไม่พูดคงไม่ได้จริงๆ ครับ เพราะดูเหมือนตอนนี้นอกจากเรื่องวิกฤตเงินบาทแล้ว ยังมีเรื่องฐานะของ ธปท.เข้ามาอีก ตอนนี้ ยังไม่สายครับ พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่มาก ผมขอเป็นกำลังใจให้ ธปท.แก้ไขปัญหา ทั้งปัญหาบ้านเมือง และปัญหาการเงินส่วนตัวให้ได้นะครับ
หน้า 49
คอลัมน์ นอกรอบ โดย ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3919 (3119)
เรื่องอัตราดอกเบี้ย เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจกันมาก เพราะกระทบกับปากท้อง กระทบกับต้นทุนการผลิตโดยตรง จริงๆ ถ้าจะพูดถึง 2 เรื่องนี้ ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเชื่อมโยงไปกับอัตราเงินเฟ้อนะครับ แต่เพื่อไม่ให้คอลัมน์วันนี้มันดู ซับซ้อนมากเกินไป ผมคงจะไม่เปิดประเด็นอัตราเงินเฟ้อให้มากเกินความจำเป็น โดยพยายามจะ มุ่งประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ย อันจะเชื่อมโยง ไปยังอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลักนะครับ
ช่วงต้นเดือน ก.ค.2550 ก่อนที่อัตราแลกเปลี่ยนจะเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างรุนแรงอีกระลอกหนึ่ง หลายท่านออกมาบอกว่า ควรลดดอกเบี้ยให้แรงๆ เพื่อแก้ปัญหา ในขณะที่หนึ่งในผู้ดำเนินนโยบายบอกว่า ดอกเบี้ยลดถึงจุดต่ำสุดแล้ว ตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในโลกแล้ว ถ้าลดดอกเบี้ยแรงๆ แล้ว "มีความเสี่ยงที่จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น" แต่นักวิชาการก็ออกมาบอกในวันใกล้ๆ กันว่า ก็เพราะไปเอาเป้าหมายเงินเฟ้อมาปนกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนน่ะสิ ปัญหาของประเทศมันเลยอีนุงตุงนังแก้ไม่ได้ จนหลายคนกลัวเกิดวิกฤตอีกรอบอย่างทุกวันนี้
จริงๆ ทุกท่านก็มีเหตุผลที่แตกต่างกัน ยิ่งเมื่อสวมหมวก (ทำหน้าที่) ที่แตกต่างกันไปอีกด้วยแล้ว ข้อคิดเห็นปรากฏตามสื่อก็ยิ่งแตกต่างกันไปใหญ่ วันนี้ผมเลยอยากฉวยโอกาสที่ตัวเองมีพื้นที่สื่อใน "ประชาชาติธุรกิจ" ในการเสนอมุมมองให้พวกท่านช่วยกันวิเคราะห์กันเองดีกว่าครับ
อัตราดอกเบี้ยคือราคาของเงินทุน โดยกลไกราคาแล้ว อะไรมีมากเหลือเฟือ อันนั้นก็ราคาถูก อะไรมีน้อยกว่าความต้องการ ขาดแคลน อันนั้น ก็ราคาแพง ดังนั้นหากเงินทุนในระบบมีความเหลือเฟือ ราคาของเงินทุนก็จะต่ำลง (ดอกเบี้ย ลดลง) ในขณะที่เมื่อเงินทุนมีความขาดแคลน ราคาของเงินทุน ก็จะปรับตัวสูงขึ้น (ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น) สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจไทยจะมาจากไหนมิได้ นอกจากจากแหล่งภายในประเทศ จากต่างประเทศ และจากการดำเนินนโยบาย ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
1) ในประเทศ ตอนนี้ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า เศรษฐกิจชะลอตัว ไม่มีคนกู้เงิน การขยายตัว ของสินเชื่อในช่วงเดือน มี.ค. เม.ย. และ พ.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.39 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 1.37 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าลดลงอย่าง ต่อเนื่อง สวนกระแสที่ ธปท.ลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เมื่อความต้องการเงินทุนน้อยลง ดังนั้นเงินทุนก็ควรจะเหลือหรือเปล่าครับ
2) ต่างประเทศ เงินทุนไหลเข้าไทยมีมากมาย จากทั้งฝั่งบัญชีทุนเคลื่อนย้าย (ลงทุนในตลาดหุ้น ลงทุนในตลาดตราหนี้ ฯลฯ) และจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ส่งออกได้มากเป็นประวัติการณ์ นำเข้าน้อย) มีเงินทุนไหลเข้าประเทศมากมายขนาดนี้ เงินทุนจะเหลือหรือเปล่าครับ
3) การดำเนินนโยบาย ธปท. หนี้เยอะ ณ สิ้นเดือน มิ.ย.2550 ธปท.มีหนี้พันธบัตร ธปท. ถึง 1.1 ล้านล้านบาท สมมติจ่ายดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 4 ก็ต้องจ่ายปีละ 4.4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ความสามารถในการหาเงินของฝ่าย การธนาคาร ธปท. มีเพียงไม่กี่พันล้านบาทต่อปี คำถามผมคือ ธปท. จะเอาเงินจากไหนมารองรับภาระหนี้สินมากมายขนาดนี้ นี่เมื่อวันก่อนผม ได้ยินมาว่า ธปท.ขาดทุนแล้ว 1.7 แสนล้านบาท แต่ (ณ ตอนเขียนคอลัมน์นี้อยู่) ยังไม่เห็นรายละเอียดครับว่า ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่อย่างไรก็เถอะครับ ถ้า ธปท.แบกหนี้ต่อไป ไม่ได้ และต้องไถ่ถอนหนี้ดังกล่าว สภาพคล่อง ก็จะเข้าระบบมากขึ้นใช่หรือไม่ครับ
จากปัจจัยที่กำหนดสภาพคล่องทั้งหมดข้างต้นชี้ไปในทางเดียวกันว่า สภาพคล่องในระบบมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลักดันให้ดอกเบี้ยลดลง เพราะฉะนั้นประเด็นที่พูดว่า อัตราดอกเบี้ยปรับลงมาอยู่ในจุดต่ำสุดแล้ว อาจเป็นการพูดโดยใช้ความรู้สึก โดยอาจมิได้มีการพิจารณาพื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์ประกอบ ถ้าดอกเบี้ยไทยต่ำสุดในโลกแล้ว ทำไมเงินทุนยังไหลเข้าประเทศไทยอีกล่ะครับ ทำไมไม่ไปไหลเข้าประเทศอื่นที่ให้ ผลตอบแทนมากกว่า คงหาได้สักประเทศล่ะครับ หากประเทศไทยดอกเบี้ยต่ำที่สุดในโลกแล้วจริง
สำหรับเหตุผลที่ว่า หากอัตราดอกเบี้ยปรับ ลดลงต่ำกว่าเงินเฟ้อจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนั้น ประเด็นนี้ยังนับว่าไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 1.91 ทั้ง 2 เดือนติด คือเดือน พ.ค. และ มิ.ย.2550 ซึ่งนับว่ามีเสถียรภาพ และยิ่งพิจารณาเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินการของ ธปท.แล้วยิ่งไปกันใหญ่ คืออยู่ที่ระดับเพียงร้อยละ 0.67 ทั้ง 2 เดือนติด คือเดือน พ.ค. และ มิ.ย.2550 เช่นกัน ซึ่งนับว่าห่างไกลที่จะต้องมานั่งกังวลว่าจะเกิน เป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) ที่ร้อยละ 0.0-3.5 มากครับ ในขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 แนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะติดลบจึงยังเกิดขึ้นได้ยากตามที่หลายท่านกังวล
ถึงตรงนี้ใครพอจะมีพื้นทางเศรษฐศาสตร์ มาบ้าง ก็จะเข้าใจว่าตามกลไกราคาแล้ว อะไรที่มีเหลือเฟืออันนั้นจะมีราคาต่ำลง ก็จะพอเข้าใจว่ามองดูจากแรงกดดันทั้ง 3 ประการข้างต้นแล้ว สภาพคล่องในระบบมีแต่จะเพิ่มขึ้น เร็วกว่าความต้องการเงินทุน อัตราดอกเบี้ยตอนนี้ใครๆ ก็เดาทิศทางได้ว่ายังอยู่ในขาลง แม้ว่า ธปท.จะปรับลดดอกเบี้ยมาถึงร้อยละ 1.75 แล้วก็ตาม การที่คาดเดาได้ก็เกิดการเก็งกำไรได้ ใครซื้อพันธบัตรก็ได้กำไรในราคาพันธบัตร เพราะราคาพันธบัตรแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย (ต้องขอประทานโทษท่านผู้อ่านด้วยนะครับ ที่ไม่มีพื้นที่พอที่จะอธิบายว่าทำไมราคาพันธบัตรแปรผกผันกับราคาดอกเบี้ย) ใครจะลงทุนก็ชะลอการลงทุนไว้ก่อน เพราะเดี๋ยวดอกเบี้ยจะลงไปอีก ไม่ว่าจะเก็งกันอย่างไร ก็ไม่ดีกับเศรษฐกิจไทยทั้งนั้นแหละครับ
หลังๆ มีนักวิชาการผู้ใหญ่หลายท่านออกมากดดันให้มีการลดดอกเบี้ยกันแรงๆ ไปเลยทีเดียว แต่ ธปท.ก็มีเหตุผลว่าเป็นห่วงเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น อย่างที่เราคุยกันก่อนหน้าแล้วไงครับว่า ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.91 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.67 ดังนั้นความเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อก็คงไม่ใช่เหตุผล เพราะอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันนับว่ายังอยู่ในระดับต่ำ หลายคนก็อาจเป็นห่วงว่า แม้ว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แต่ราคาน้ำมันเริ่มกลับมาผันผวนอีกครั้ง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือไม่
ในประเด็นนี้ต้องบอกว่า ถ้าเป็นห่วงเงินเฟ้อกันก็ยิ่งน่าจะรีบลดอัตราดอกเบี้ยไปกันใหญ่ครับ เพราะราคาน้ำมัน ช่วงปลายปีทางซีกโลกเหนือ จะเข้าสู่ฤดูหนาว ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นอีก ถึงตอนนั้นมิยิ่งต้องกลัวเงินเฟ้อจนกระทั่งต้องดูดซับสภาพคล่องกันจนหนี้สินของ ธปท. ก็ต้องเพิ่มขึ้นไปอย่างนี้เรื่อยๆ หรือ ? กำไรของฝ่ายการธนาคาร ธปท. ปีๆ หนึ่งไม่กี่พันล้านบาท ตอนนี้ ธปท.ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท. ปีๆ หนึ่งหลายหมื่นล้านบาท จะเอาเงินมาจากไหนครับ ? อันนี้ยังไม่รวมภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ ธปท.ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินต้นจำนวนรวม 1.4 ล้านล้านบาท รวมแล้วเป็นระยะเวลา 29 ปี (นับจากปี 2545) นะครับ ยิ่งพูดก็ยิ่งอดนึกไม่ได้ว่า ปี 2545 ธปท.ก็เพิ่งได้อำนาจให้โอนเงินจากบัญชี ฝ่ายออกบัตรมาล้างขาดทุนสะสมไป 1.65 แสนล้านบาท นี่ผ่านมา 5 ปี ใครไม่รู้ นึกว่าเป็นขาดทุนก้อนเดิมนะครับ เพราะยอด 1.7 แสนล้านบาท ที่โผล่ขึ้นมาใหม่เร็วๆ นี้ใกล้เคียงกับยอดที่เพิ่งล้างกันไปมาก
โดยสรุปแล้วส่วนตัวผม ผมสนับสนุนให้รีบเร่งลดอัตราดอกเบี้ยลงให้เร็วกว่านี้ครับ เข้าใจว่าทุกคนทราบกันดีอยู่ว่า การลดดอกเบี้ยไม่ใช่ยาวิเศษที่จะทำให้ปัญหาค่าเงินบาทยุติลงได้ (การลด ดอกเบี้ยไม่ใช่ sufficient condition) แต่หากการลดดอกเบี้ยเป็นเงื่อนไขที่จำเป็น (necessary condition) ที่จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่ประสิทธิภาพของนโยบายอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาเงินบาท ปัจจัยที่กดดันดอกเบี้ยให้อ่อนตัวลงที่ได้กล่าวข้างต้นเป็นปัจจัยที่ชัดเจน ใครๆ ก็เห็น ใครๆ ก็คาดการณ์ได้ คาดการณ์กันได้ว่าดอกเบี้ยลด ก็คาดการณ์กันได้ว่าราคาพันธบัตรจะเพิ่ม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เงินทุนต่างชาติยิ่งไหลเข้ามาเก็งกำไรในประเทศ เงินบาทก็ยิ่งแข็ง แล้ว ธปท. คนเดียวจะต้านแรงคาดการณ์ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้ หรือครับ นี่ก็ต้าน (ทำ sterilization) มาจนหนี้สินมากมายขนาดนี้แล้ว 6 นโยบายเงินบาทที่รัฐบาลเพิ่งเห็นชอบเป็นเพียงการเพิ่มความยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้นักลงทุนนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ ฯลฯ แต่ถ้าไปลงทุนแล้วหรือใช้หนี้ต่างประเทศแล้ว เงินบาทแข็งขึ้นไปอีก ขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยน ใครจะไปลงทุน หรือใครจะไปใช้หนี้ก่อนครับ
วันนี้ไม่เหลือพื้นที่ให้ผมเขียนแล้ว จริงๆ เรื่องนี้ซับซ้อน ผมพยายามใช้พื้นที่ที่มีอย่างจำกัดในการอธิบายเรื่องดังกล่าว ผมทราบว่าบางเรื่องพูดแล้วอาจไม่เป็นผลดีต่อประเทศนัก เพราะอาจทำให้ขาดความเชื่อมั่น หรือมีการสร้างการเก็งกำไรให้มากขึ้นไปอีก แต่ไม่พูดคงไม่ได้จริงๆ ครับ เพราะดูเหมือนตอนนี้นอกจากเรื่องวิกฤตเงินบาทแล้ว ยังมีเรื่องฐานะของ ธปท.เข้ามาอีก ตอนนี้ ยังไม่สายครับ พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่มาก ผมขอเป็นกำลังใจให้ ธปท.แก้ไขปัญหา ทั้งปัญหาบ้านเมือง และปัญหาการเงินส่วนตัวให้ได้นะครับ
หน้า 49
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 48
เศรษฐกิจ
บาทแข็ง!คำสั่งซื้อสินค้าไทยวูบพาณิชย์จ่อหดเป้าส่งออกปี51เอกชนเจ๊งโรงงานปิดตายซ้ำ
21 มกราคม 2551 Thaipost
"พาณิชย์" เผยพิษบาทแข็ง คำสั่งซื้อสินค้าไทยช่วง มี.ค.-เม.ย. ลด เล็งหั่นเป้าส่งออกปี 51 แจงฐานปี 50 สูง ดันโต 12.5% ได้ยากท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรุม เอกชนหวั่นภาครัฐคุมสินค้าขึ้น
บีบผู้ผลิตลดต้นทุน ผวาปลดคนงาน วงการอุตฯ จับตาโรงงานปิดตายซ้ำรอยปี 50 อีกรอบ จี้ ธปท.ดูแลเสถียรภาพค่าเงิน
นางสมจินต์ เปล่งขำ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าจะส่งผลกระทบให้เห็นช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ปีนี้ จากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลง ส่วนคำสั่งซื้อที่ผู้ส่งออกมีอยู่ขณะนี้ เป็นคำสั่งซื้อของ 3 เดือนก่อนที่ยังไม่มีปัญหาเงินบาทแข็งค่า ซึ่งกรมฯ ได้ติดตามสถานการณ์ร่วมกับผู้ส่งออกอย่างใกล้ชิด และเตรียมแผนการทำงานรองรับอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการส่งออกทั้งปี 2550 จะประกาศวันที่ 21 ม.ค.คาดว่าจะได้ตามเป้าหมาย 16.1% มูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐอย่างแน่นอน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกเดือน ธ.ค.50 มีโอกาสขยายตัวได้มากกว่า 20% มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับผลการหารือระหว่างกระทรงพาณิชย์กับผู้ส่งออก พบว่ายังมีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร
อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องปรับเป้าหมายการส่งออกปี 2551 ใหม่ เพราะฐานการส่งออกที่มากกว่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 หากต้องขยายตัวอีก 10-12.5% จะเป็นไปได้ลำบากมาก เนื่องจากปี 2551 มีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอลงจากปัญหาซับไพรม์
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า ภาคเอกชนในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจประจำเดือน ธ.ค.2550 แสดงความกังวลว่า ในช่วงต้นปี 2551 นอกจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว ยังเป็นห่วงเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลกําไรของภาคธุรกิจลดลง และอาจมีผลให้ราคาสินค้าและวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ หากรัฐบาลออกมาตรการควบคุมการปรับขึ้นราคาสินค้าในช่วงปี 2551 จะทําให้การผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคทําได้ยากขึ้น ซึ่งอาจทําให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวโดยการลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อกําลังซื้อของผู้บริโภค และกระทบต่อการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศในระยะต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมองว่า อุปสงค์ภายในประเทศทั้งในส่วนของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนเอกชน มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลําดับในระยะต่อไป
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นห่วงหากเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องไปถึงระดับ 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและวัตถุดิบในประเทศ รวมทั้งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารเกษตรแปรรูป และอาหารกระป๋อง ซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 60% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี)
ดังนั้น หากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เข้ามาดูแลหรือมีมาตรการออกมารักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท คาดว่าไตรมาสแรกปีนี้ อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจทำให้เกิดการชะลอการผลิตหรืออาจถึงขั้นปิดโรงงานขนาดเล็กซ้ำรอยปี 2550 ได้
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ช่วง 18 วันที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 1.8-2% สูงกว่าค่าเงินของคู่แข่งในประเทศเพื่อนบ้าน และหาก ธปท.ไม่เข้าไปแทรกแซงค่าเงิน จะทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.5-32.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกจะได้รับเงินบาทน้อยลง แต่ในทางกลับกัน บาทแข็งจะช่วยลดราคาน้ำมันไม่ให้เพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูงที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ ในไตรมาส 1-2 อาจจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงไปบ้าง.
บาทแข็ง!คำสั่งซื้อสินค้าไทยวูบพาณิชย์จ่อหดเป้าส่งออกปี51เอกชนเจ๊งโรงงานปิดตายซ้ำ
21 มกราคม 2551 Thaipost
"พาณิชย์" เผยพิษบาทแข็ง คำสั่งซื้อสินค้าไทยช่วง มี.ค.-เม.ย. ลด เล็งหั่นเป้าส่งออกปี 51 แจงฐานปี 50 สูง ดันโต 12.5% ได้ยากท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรุม เอกชนหวั่นภาครัฐคุมสินค้าขึ้น
บีบผู้ผลิตลดต้นทุน ผวาปลดคนงาน วงการอุตฯ จับตาโรงงานปิดตายซ้ำรอยปี 50 อีกรอบ จี้ ธปท.ดูแลเสถียรภาพค่าเงิน
นางสมจินต์ เปล่งขำ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าจะส่งผลกระทบให้เห็นช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ปีนี้ จากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลง ส่วนคำสั่งซื้อที่ผู้ส่งออกมีอยู่ขณะนี้ เป็นคำสั่งซื้อของ 3 เดือนก่อนที่ยังไม่มีปัญหาเงินบาทแข็งค่า ซึ่งกรมฯ ได้ติดตามสถานการณ์ร่วมกับผู้ส่งออกอย่างใกล้ชิด และเตรียมแผนการทำงานรองรับอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการส่งออกทั้งปี 2550 จะประกาศวันที่ 21 ม.ค.คาดว่าจะได้ตามเป้าหมาย 16.1% มูลค่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐอย่างแน่นอน
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกเดือน ธ.ค.50 มีโอกาสขยายตัวได้มากกว่า 20% มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับผลการหารือระหว่างกระทรงพาณิชย์กับผู้ส่งออก พบว่ายังมีแนวโน้มการส่งออกที่ดี ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร
อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องปรับเป้าหมายการส่งออกปี 2551 ใหม่ เพราะฐานการส่งออกที่มากกว่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 หากต้องขยายตัวอีก 10-12.5% จะเป็นไปได้ลำบากมาก เนื่องจากปี 2551 มีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอลงจากปัญหาซับไพรม์
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า ภาคเอกชนในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจประจำเดือน ธ.ค.2550 แสดงความกังวลว่า ในช่วงต้นปี 2551 นอกจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว ยังเป็นห่วงเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลกําไรของภาคธุรกิจลดลง และอาจมีผลให้ราคาสินค้าและวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ หากรัฐบาลออกมาตรการควบคุมการปรับขึ้นราคาสินค้าในช่วงปี 2551 จะทําให้การผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคทําได้ยากขึ้น ซึ่งอาจทําให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวโดยการลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน ซึ่งจะส่งผลต่อกําลังซื้อของผู้บริโภค และกระทบต่อการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศในระยะต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมองว่า อุปสงค์ภายในประเทศทั้งในส่วนของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนเอกชน มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลําดับในระยะต่อไป
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นห่วงหากเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่องไปถึงระดับ 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและวัตถุดิบในประเทศ รวมทั้งพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารเกษตรแปรรูป และอาหารกระป๋อง ซึ่งมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 60% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี)
ดังนั้น หากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เข้ามาดูแลหรือมีมาตรการออกมารักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท คาดว่าไตรมาสแรกปีนี้ อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจทำให้เกิดการชะลอการผลิตหรืออาจถึงขั้นปิดโรงงานขนาดเล็กซ้ำรอยปี 2550 ได้
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ช่วง 18 วันที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 1.8-2% สูงกว่าค่าเงินของคู่แข่งในประเทศเพื่อนบ้าน และหาก ธปท.ไม่เข้าไปแทรกแซงค่าเงิน จะทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.5-32.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกจะได้รับเงินบาทน้อยลง แต่ในทางกลับกัน บาทแข็งจะช่วยลดราคาน้ำมันไม่ให้เพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูงที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ ในไตรมาส 1-2 อาจจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงไปบ้าง.
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 49
เศรษฐกิจ
อีโคฯ
21 มกราคม 2551 Thaipost
ธิติ ตันติกุลานันท์ "เก็งกำไรค่าเงินบาท..ดูยาก"
"การเก็งกำไรค่าเงินบาทดูค่อนข้างยาก แล้ววิธีที่ทำ แบงก์ชาติรู้ทั้งหมด เพราะมีข้อมูล ขณะที่แบงก์จะเห็นเฉพาะเงินจากการขาย-ซื้อของผู้ส่งออก-นำเข้า ซึ่งก็ดูยากว่าจะมีการเก็งกำไรผ่านผู้ส่งออก-นำเข้าหรือไม่ เพราะถ้ามีแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกมา ก็อาจจะเป็นการให้เกิดความสมดุลกับการซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า ก็เป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะลง"
---------------------
นับแต่เริ่มศักราชปี 2551 "เงินบาท" เคลื่อนไหว "แข็งค่า" ขึ้นต่อเนื่อง กระทั่งวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ 33.02-33.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าแข็งค่าสุดในรอบ 10 ปี 6 เดือน นับแต่วิกฤติเศรษฐกิจ ก.ค.2540 หรือ "ต้มยำกุ้ง ไครสิส" ขณะเดียวกัน การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นประวัติการณ์ โดย ณ วันที่ 11 ม.ค.51 อยู่ที่ 98,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แม้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะพยายามดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวน แต่ก็ไม่เป็นที่สมอารมณ์ของ "ขุนคลัง" นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ถึงกับออกมาตำหนิผู้ว่าการ ธปท. นางธาริษา วัฒนเกส ว่าบริหารค่าเงินบาทจนตลาดจับทางถูก ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท.ออกมาเตือนผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้หยุดเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะอาจ "เจ็บตัว"
แต่ทว่า หากถามความเห็นจากผู้คร่ำหวอดในธุรกิจตลาดเงิน ตลาดทุน ธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย มองว่าเป็นเรื่องยากที่จะจับได้ว่าเงินบาทแข็งเป็นเพราะการเก็งกำไร
0 สาเหตุที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ คือ แข็งเพราะดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หรือตัวพื้นฐานเศรษฐกิจไทย
ประเด็นแรก ในปีนี้ดอลลาร์สหรัฐยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลง เทียบกับทุกสกุลเงินในโลก เพราะเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งทุกวันมีข่าวออกมาเรื่อยๆ ซึ่งตัวเลขไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงาน ขึ้นมาที่ 5% หรือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นตัวบอกถึงภาคการผลิตของสหรัฐ โดยตัวเลขออกมาที่ 47 จากอดีตที่อยู่เกิน 50 สองตัวนี้แสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ตัวเลขการจดทะเบียนบ้านก็แสดงให้เห็นว่าชะลอตัว โดยปี 2550 จดทะเบียนที่ 2 ล้านหลังต่อเดือน แต่ตอนนี้เหลือ 1 ล้านหลังต่อเดือน บ้านก็ขายไม่ออก ทำให้มีการชะลอตัวของเศรษฐกิจเพราะมีสัดส่วนสูงถึง 60% ของอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งหากไม่ดีเศรษฐกิจก็ลดลง หากคนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว ดังนั้น ดอลลาร์สหรัฐก็จะอ่อนค่าลงอีก จึงลากเงินสกุลอื่นรวมทั้งเงินบาทแข็งค่าไปด้วย และตั้งแต่ต้นปีจนปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าแล้วกว่า 1.5%
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2550 เรามีการมูลส่งออกสูงมาก ทำให้ 11 เดือนแรกปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 13,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ตัวพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังมีเงินทุนไหลเข้าประเทศ บวกกับดอลลาร์สหรัฐอ่อน ก็เลยทำให้บาทจึงแข็งค่าขึ้น หากชั่งน้ำหนักสาเหตุทั้ง 2 ตัวใกล้เคียงกันมาก
0 พบการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากเงินที่ไหลเข้า
การเก็งกำไรค่าเงินบาทดูค่อนข้างยาก แล้ววิธีที่ทำแบงก์ชาติรู้ทั้งหมด เพราะมีข้อมูล ขณะที่แบงก์จะเห็นเฉพาะเงินจากการขาย-ซื้อของผู้ส่งออกนำเข้า ซึ่งก็ดูยากว่าจะมีการเก็งกำไรผ่านผู้ส่งออก-นำเข้าหรือไม่ เพราะถ้ามีแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกมาก ก็อาจจะเป็นการให้เกิดความสมดุลกับการซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า ก็เป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะลง ถ้าส่งออกมองว่าดอลลาร์สหรัฐจะลงก็ขายล่วงหน้าก่อน ดังนั้น เราก็จะเห็นการขายเฉพาะผู้ส่งออก แม้ว่าการค้าจะเป็นศูนย์ ดังนั้น จะมองว่าเป็นการเก็งกำไรจากผู้ส่งออกหรือเปล่า จะมองอย่างนี้ไม่ได้ เพราะอาจจะเป็นการสร้างสมดุลของการบริหารค่าเงินผู้ส่งออก
0 การกำกับดูแลค่าเงินบาทของแบงก์ชาติเพียงพอหรือยัง
เมื่อเทียบเงินบาทกับประเทศค้าขายเพื่อนบ้าน ค่าเงินบาทยังแข่งได้ ดังนั้น ถ้าเราจะดูว่าค่าเงินบาทแข็ง จะดูแค่ดอลลาร์สหรัฐเทียบบาทอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูสกุลเงินอื่นด้วย ซึ่งขณะนี้ทุกสกุลแข็งค่าหมดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเราก็ต้องมาดูเงินเยนเทียบเงินบาท ยูโรเทียบบาท เราจึงจะได้ภาพครบ ซึ่งหากยูโรเทียบเงินบาทเราก็ไม่สูญเสียความสามารถแข่งขัน เช่น ปี 2550 ในช่วงต้นปีบาทแข็งค่า 5% แต่เมื่อเทียบยูโร/บาท เราอ่อนประมาณ 6% ขณะที่หยวนเทียบบาทเราอ่อนกว่า 2% ดังนั้น จึงเห็นว่าแม้บาทแข็ง แต่การส่งออกยังดีอยู่ เพราะเทียบเงินบาทกับสุกลอื่น บาทยังอ่อนค่าอยู่
0 โอกาสเงินบาทเสี่ยงหลุด 33 บาท หรืออาจยืนที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ต้องดูตัวแปรหลายตัว อันแรก ดูดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนตัวอยู่หรือเปล่า เศรษฐกิจจะชะลอตัวอีกหรือไม่ สอง การที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวจะมีผลกระทบต่อการส่งออกไทยแค่ไหน สาม ราคาน้ำมันจะสูงขึ้นหรือหรือเปล่า เพราะว่าทั้ง 3 ตัวมีผลกระทบค่าเงินบาทโดยตรง
แต่ถ้าให้มองทิศทางของดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าอยู่ ดังนั้น การส่งออกของเราก็คงชะลอตัว แต่คงไม่มากนัก เพราะฉะนั้นทิศทางเงินบาทคงแข็งต่อ แต่ดีกรีความแข็งอาจจะไม่เหมือนกับปี 2549 ที่แข็ง 15% แต่จะใกล้เคียงปี 2550 ที่แข็งแค่ 6% เราคิดว่าภายในสิ้นไตรมาส 2 น่าจะอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ระยะยาวมีตัวแปรมากมาย ซึ่งหากดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยลง เงินบาทก็ไม่แข็งมาก แต่คิดว่าครึ่งปีหลังยังจะแข็งค่าต่อ
0 ทำอย่างไรให้เงินบาทอ่อน
รัฐบาลทุกรัฐบาลก็ควรจะกระตุ้นการลงทุน ซึ่งก็หวังว่าเมื่อมีรัฐบาลใหม่จะเร่งการลงทุนมากขึ้น เพื่อให้มีการนำเข้าสินค้าทุนเข้ามา
ตัวเลขที่น่าสนใจในปี 2549 คือ ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น เพราะว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เมืองนอกเพิ่มขึ้น จึงดันราคาสินค้าเกษตรของไทยสูงขึ้น ทำให้ราคาขายสินค้าเกษตรดีขึ้น และมีเม็ดเงินเข้าประเทศ กลับกันในปี 2550 การนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรมันลดลง ถ้าสมมุติว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการนำเข้าพวกสินค้าทุนมากขึ้น และมีโปรเจ็กต์ที่จะทำและใช้สินค้านำเข้ามากขึ้น ก็จะทำให้บาทอ่อนลงได้ เพราะตอนนี้เราเกินดุลเพราะการส่งออกเยอะ หลังราคาสินค้าเกษตรดี
0 มาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% เหมือนมีแต่โครงแล้ว
ตอนนี้ไม่ได้เหลือแต่โครง เพราะยังมีจุดใหญ่ โดยเฉพาะในตลาดอินเตอร์แบงก์ ซึ่งป้องกันการค้าขายเงินบาทข้ามตลาดระหว่างตลาดซื้อขายเงินในประเทศ (ออนชอร์) และตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ทำให้สถาบันการเงินต่างประเทศมาซื้อขายเงินบาทกับสถาบันการบินในประเทศไม่ได้ ซึ่งจะช่วยการเก็งกำไรได้ระดับหนึ่ง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองตลาดนี้ไม่น่าจะมีมาก แต่จะบอกว่าไม่มีเลยไม่ได้ เพราะยังมีในแง่เชิงจิตวิทยา
0 มองปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยปีนี้
ประเด็นคือ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐแย่ จะมีผลกระทบไทยมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตอนนี้คาดว่ากรณีเลวร้ายสุดจะกระทบต่อจีดีพี 1% ซึ่งปีนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการจีดีพีเติบโต 4.0-5.2% ภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวแล้ว
ขณะเดียวกันต้องดูปัจจัยด้านราคาน้ำมัน ซึ่งสิ่งที่ไม่อยากเห็นภาวะ Stagflation แต่ตอนนี้เงินเฟ้อยังไม่สูงมาก เราคาดการณ์ที่เฉลี่ยทั้งปีที่ 3-4% แต่ความเสี่ยงมีค่อนข้างมาก เพราะถ้าดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ล่าสุดอยู่ที่ 3.2% แต่ตัวดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) มันขึ้นมาอยู่ที่ 8.7% เทียบระยะเดียวกันปีก่อน แต่ผู้ผลิตยังตึงราคาสิ้นค้าไว้เพื่อเอามาร์จิ้น ยังไม่ได้ผลักไปยังผู้บริโภค ดังนั้น ผลกระทบที่แท้จริงของเงินเฟ้อมันจึงยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น โอกาสที่เงินเฟ้อที่แท้จริงจะเร่งขึ้นก็มีสูง หากมีการผักภาระด้านราคาให้ผู้บริโภค ส่วนด้านการเมือง โนคอมเมนต์
0 วิเคราะห์สาเหตุที่ กนง.คงดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% ต่อปีในการประชุมครั้งล่าสุด
ผลการประชุมเป็นไปตามตลาดคาดการณ์อยู่แล้ว เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่ขยายตัวมากนัก ก่อนหน้านี้การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่ำ แต่เดือน พ.ย.-ธ.ค.ปี 2550 ก็ขยับขึ้นมาเล็กน้อยแต่ยังไม่เร่งขึ้นมาก แต่ยังเปราะบาง เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยก็ยังจะไม่เป็นทิศทางขาขึ้น เพราะเงินเฟ้อก็ยังไม่มาก และอยู่ในกรอบประมาณการของ ธปท.ที่ 0-3.5% ต่อปี แต่ต่อไปพอมีการตั้งรัฐบาลขึ้นมา ก็คงจะเห็นการลงทุนและการอุปโภคบริโภคเร่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุน เราเห็นการชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2550 เพราะฉะนั้นคงเร่งตัวขึ้นมา เพราะอั้นมานาน ดั้งนั้น ถ้ารัฐบาลประกาศนโยบายการลงทุนและบริโภค ก็คงทะลักออกมา
0 การประชุม กนง.ครั้งต่อไปน่าจะปรับดอกเบี้ยหรือไม่
คิดว่า กนง.คงต้องสร้างสมดุลระหว่างเงินเฟ้อและการขยายตัวเศรษฐกิจ ว่าผลการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐจะมีผลต่อบ้านเรามากหรือเปล่า อีกด้านก็ต้องดูเงินเฟ้อด้วย มันก็เป็นความเสี่ยง พูดง่ายๆ ครั้งต่อไปต้องดูความเสี่ยงเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตอนนี้ตลาดคาดการณ์ไว้แล้วว่าจะลดดอกเบี้ยอีก 0.50% ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 4.25% เพราะห่วงเศรษฐกิจของเขา
0 ถ้า กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก เงินทุนต่างประเทศก็จะทะลักเข้าไทยและมีผลต่อเงินบาทอีก
อันนี้ขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักระหว่างการเติบโตเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเงินทุนเคลื่อนย้าย จึงบอกว่าปี 2551 การคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ทางเศรษฐกิจมักจะคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะมีหลายแฟกเตอร์.
อีโคฯ
21 มกราคม 2551 Thaipost
ธิติ ตันติกุลานันท์ "เก็งกำไรค่าเงินบาท..ดูยาก"
"การเก็งกำไรค่าเงินบาทดูค่อนข้างยาก แล้ววิธีที่ทำ แบงก์ชาติรู้ทั้งหมด เพราะมีข้อมูล ขณะที่แบงก์จะเห็นเฉพาะเงินจากการขาย-ซื้อของผู้ส่งออก-นำเข้า ซึ่งก็ดูยากว่าจะมีการเก็งกำไรผ่านผู้ส่งออก-นำเข้าหรือไม่ เพราะถ้ามีแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกมา ก็อาจจะเป็นการให้เกิดความสมดุลกับการซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า ก็เป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะลง"
---------------------
นับแต่เริ่มศักราชปี 2551 "เงินบาท" เคลื่อนไหว "แข็งค่า" ขึ้นต่อเนื่อง กระทั่งวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ปิดที่ระดับ 33.02-33.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าแข็งค่าสุดในรอบ 10 ปี 6 เดือน นับแต่วิกฤติเศรษฐกิจ ก.ค.2540 หรือ "ต้มยำกุ้ง ไครสิส" ขณะเดียวกัน การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นประวัติการณ์ โดย ณ วันที่ 11 ม.ค.51 อยู่ที่ 98,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แม้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะพยายามดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวน แต่ก็ไม่เป็นที่สมอารมณ์ของ "ขุนคลัง" นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ถึงกับออกมาตำหนิผู้ว่าการ ธปท. นางธาริษา วัฒนเกส ว่าบริหารค่าเงินบาทจนตลาดจับทางถูก ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท.ออกมาเตือนผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้หยุดเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะอาจ "เจ็บตัว"
แต่ทว่า หากถามความเห็นจากผู้คร่ำหวอดในธุรกิจตลาดเงิน ตลาดทุน ธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย มองว่าเป็นเรื่องยากที่จะจับได้ว่าเงินบาทแข็งเป็นเพราะการเก็งกำไร
0 สาเหตุที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ คือ แข็งเพราะดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หรือตัวพื้นฐานเศรษฐกิจไทย
ประเด็นแรก ในปีนี้ดอลลาร์สหรัฐยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลง เทียบกับทุกสกุลเงินในโลก เพราะเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งทุกวันมีข่าวออกมาเรื่อยๆ ซึ่งตัวเลขไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงาน ขึ้นมาที่ 5% หรือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นตัวบอกถึงภาคการผลิตของสหรัฐ โดยตัวเลขออกมาที่ 47 จากอดีตที่อยู่เกิน 50 สองตัวนี้แสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ตัวเลขการจดทะเบียนบ้านก็แสดงให้เห็นว่าชะลอตัว โดยปี 2550 จดทะเบียนที่ 2 ล้านหลังต่อเดือน แต่ตอนนี้เหลือ 1 ล้านหลังต่อเดือน บ้านก็ขายไม่ออก ทำให้มีการชะลอตัวของเศรษฐกิจเพราะมีสัดส่วนสูงถึง 60% ของอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งหากไม่ดีเศรษฐกิจก็ลดลง หากคนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว ดังนั้น ดอลลาร์สหรัฐก็จะอ่อนค่าลงอีก จึงลากเงินสกุลอื่นรวมทั้งเงินบาทแข็งค่าไปด้วย และตั้งแต่ต้นปีจนปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าแล้วกว่า 1.5%
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2550 เรามีการมูลส่งออกสูงมาก ทำให้ 11 เดือนแรกปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 13,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ตัวพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังมีเงินทุนไหลเข้าประเทศ บวกกับดอลลาร์สหรัฐอ่อน ก็เลยทำให้บาทจึงแข็งค่าขึ้น หากชั่งน้ำหนักสาเหตุทั้ง 2 ตัวใกล้เคียงกันมาก
0 พบการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากเงินที่ไหลเข้า
การเก็งกำไรค่าเงินบาทดูค่อนข้างยาก แล้ววิธีที่ทำแบงก์ชาติรู้ทั้งหมด เพราะมีข้อมูล ขณะที่แบงก์จะเห็นเฉพาะเงินจากการขาย-ซื้อของผู้ส่งออกนำเข้า ซึ่งก็ดูยากว่าจะมีการเก็งกำไรผ่านผู้ส่งออก-นำเข้าหรือไม่ เพราะถ้ามีแรงเทขายดอลลาร์ของผู้ส่งออกมาก ก็อาจจะเป็นการให้เกิดความสมดุลกับการซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้า ก็เป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะลง ถ้าส่งออกมองว่าดอลลาร์สหรัฐจะลงก็ขายล่วงหน้าก่อน ดังนั้น เราก็จะเห็นการขายเฉพาะผู้ส่งออก แม้ว่าการค้าจะเป็นศูนย์ ดังนั้น จะมองว่าเป็นการเก็งกำไรจากผู้ส่งออกหรือเปล่า จะมองอย่างนี้ไม่ได้ เพราะอาจจะเป็นการสร้างสมดุลของการบริหารค่าเงินผู้ส่งออก
0 การกำกับดูแลค่าเงินบาทของแบงก์ชาติเพียงพอหรือยัง
เมื่อเทียบเงินบาทกับประเทศค้าขายเพื่อนบ้าน ค่าเงินบาทยังแข่งได้ ดังนั้น ถ้าเราจะดูว่าค่าเงินบาทแข็ง จะดูแค่ดอลลาร์สหรัฐเทียบบาทอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูสกุลเงินอื่นด้วย ซึ่งขณะนี้ทุกสกุลแข็งค่าหมดเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเราก็ต้องมาดูเงินเยนเทียบเงินบาท ยูโรเทียบบาท เราจึงจะได้ภาพครบ ซึ่งหากยูโรเทียบเงินบาทเราก็ไม่สูญเสียความสามารถแข่งขัน เช่น ปี 2550 ในช่วงต้นปีบาทแข็งค่า 5% แต่เมื่อเทียบยูโร/บาท เราอ่อนประมาณ 6% ขณะที่หยวนเทียบบาทเราอ่อนกว่า 2% ดังนั้น จึงเห็นว่าแม้บาทแข็ง แต่การส่งออกยังดีอยู่ เพราะเทียบเงินบาทกับสุกลอื่น บาทยังอ่อนค่าอยู่
0 โอกาสเงินบาทเสี่ยงหลุด 33 บาท หรืออาจยืนที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ต้องดูตัวแปรหลายตัว อันแรก ดูดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนตัวอยู่หรือเปล่า เศรษฐกิจจะชะลอตัวอีกหรือไม่ สอง การที่เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวจะมีผลกระทบต่อการส่งออกไทยแค่ไหน สาม ราคาน้ำมันจะสูงขึ้นหรือหรือเปล่า เพราะว่าทั้ง 3 ตัวมีผลกระทบค่าเงินบาทโดยตรง
แต่ถ้าให้มองทิศทางของดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าอยู่ ดังนั้น การส่งออกของเราก็คงชะลอตัว แต่คงไม่มากนัก เพราะฉะนั้นทิศทางเงินบาทคงแข็งต่อ แต่ดีกรีความแข็งอาจจะไม่เหมือนกับปี 2549 ที่แข็ง 15% แต่จะใกล้เคียงปี 2550 ที่แข็งแค่ 6% เราคิดว่าภายในสิ้นไตรมาส 2 น่าจะอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ระยะยาวมีตัวแปรมากมาย ซึ่งหากดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยลง เงินบาทก็ไม่แข็งมาก แต่คิดว่าครึ่งปีหลังยังจะแข็งค่าต่อ
0 ทำอย่างไรให้เงินบาทอ่อน
รัฐบาลทุกรัฐบาลก็ควรจะกระตุ้นการลงทุน ซึ่งก็หวังว่าเมื่อมีรัฐบาลใหม่จะเร่งการลงทุนมากขึ้น เพื่อให้มีการนำเข้าสินค้าทุนเข้ามา
ตัวเลขที่น่าสนใจในปี 2549 คือ ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น เพราะว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เมืองนอกเพิ่มขึ้น จึงดันราคาสินค้าเกษตรของไทยสูงขึ้น ทำให้ราคาขายสินค้าเกษตรดีขึ้น และมีเม็ดเงินเข้าประเทศ กลับกันในปี 2550 การนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะเครื่องจักรมันลดลง ถ้าสมมุติว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาและมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการนำเข้าพวกสินค้าทุนมากขึ้น และมีโปรเจ็กต์ที่จะทำและใช้สินค้านำเข้ามากขึ้น ก็จะทำให้บาทอ่อนลงได้ เพราะตอนนี้เราเกินดุลเพราะการส่งออกเยอะ หลังราคาสินค้าเกษตรดี
0 มาตรการกันสำรองเงินทุนนำเข้าระยะสั้น 30% เหมือนมีแต่โครงแล้ว
ตอนนี้ไม่ได้เหลือแต่โครง เพราะยังมีจุดใหญ่ โดยเฉพาะในตลาดอินเตอร์แบงก์ ซึ่งป้องกันการค้าขายเงินบาทข้ามตลาดระหว่างตลาดซื้อขายเงินในประเทศ (ออนชอร์) และตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ทำให้สถาบันการเงินต่างประเทศมาซื้อขายเงินบาทกับสถาบันการบินในประเทศไม่ได้ ซึ่งจะช่วยการเก็งกำไรได้ระดับหนึ่ง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองตลาดนี้ไม่น่าจะมีมาก แต่จะบอกว่าไม่มีเลยไม่ได้ เพราะยังมีในแง่เชิงจิตวิทยา
0 มองปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยปีนี้
ประเด็นคือ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐแย่ จะมีผลกระทบไทยมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตอนนี้คาดว่ากรณีเลวร้ายสุดจะกระทบต่อจีดีพี 1% ซึ่งปีนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการจีดีพีเติบโต 4.0-5.2% ภายใต้สมมุติฐานเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวแล้ว
ขณะเดียวกันต้องดูปัจจัยด้านราคาน้ำมัน ซึ่งสิ่งที่ไม่อยากเห็นภาวะ Stagflation แต่ตอนนี้เงินเฟ้อยังไม่สูงมาก เราคาดการณ์ที่เฉลี่ยทั้งปีที่ 3-4% แต่ความเสี่ยงมีค่อนข้างมาก เพราะถ้าดูดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ล่าสุดอยู่ที่ 3.2% แต่ตัวดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) มันขึ้นมาอยู่ที่ 8.7% เทียบระยะเดียวกันปีก่อน แต่ผู้ผลิตยังตึงราคาสิ้นค้าไว้เพื่อเอามาร์จิ้น ยังไม่ได้ผลักไปยังผู้บริโภค ดังนั้น ผลกระทบที่แท้จริงของเงินเฟ้อมันจึงยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น โอกาสที่เงินเฟ้อที่แท้จริงจะเร่งขึ้นก็มีสูง หากมีการผักภาระด้านราคาให้ผู้บริโภค ส่วนด้านการเมือง โนคอมเมนต์
0 วิเคราะห์สาเหตุที่ กนง.คงดอกเบี้ยไว้ที่ 3.25% ต่อปีในการประชุมครั้งล่าสุด
ผลการประชุมเป็นไปตามตลาดคาดการณ์อยู่แล้ว เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่ขยายตัวมากนัก ก่อนหน้านี้การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่ำ แต่เดือน พ.ย.-ธ.ค.ปี 2550 ก็ขยับขึ้นมาเล็กน้อยแต่ยังไม่เร่งขึ้นมาก แต่ยังเปราะบาง เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยก็ยังจะไม่เป็นทิศทางขาขึ้น เพราะเงินเฟ้อก็ยังไม่มาก และอยู่ในกรอบประมาณการของ ธปท.ที่ 0-3.5% ต่อปี แต่ต่อไปพอมีการตั้งรัฐบาลขึ้นมา ก็คงจะเห็นการลงทุนและการอุปโภคบริโภคเร่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุน เราเห็นการชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2550 เพราะฉะนั้นคงเร่งตัวขึ้นมา เพราะอั้นมานาน ดั้งนั้น ถ้ารัฐบาลประกาศนโยบายการลงทุนและบริโภค ก็คงทะลักออกมา
0 การประชุม กนง.ครั้งต่อไปน่าจะปรับดอกเบี้ยหรือไม่
คิดว่า กนง.คงต้องสร้างสมดุลระหว่างเงินเฟ้อและการขยายตัวเศรษฐกิจ ว่าผลการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐจะมีผลต่อบ้านเรามากหรือเปล่า อีกด้านก็ต้องดูเงินเฟ้อด้วย มันก็เป็นความเสี่ยง พูดง่ายๆ ครั้งต่อไปต้องดูความเสี่ยงเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตอนนี้ตลาดคาดการณ์ไว้แล้วว่าจะลดดอกเบี้ยอีก 0.50% ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 4.25% เพราะห่วงเศรษฐกิจของเขา
0 ถ้า กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก เงินทุนต่างประเทศก็จะทะลักเข้าไทยและมีผลต่อเงินบาทอีก
อันนี้ขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักระหว่างการเติบโตเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเงินทุนเคลื่อนย้าย จึงบอกว่าปี 2551 การคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ทางเศรษฐกิจมักจะคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะมีหลายแฟกเตอร์.
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 50
มีคำผิดหลายคำ ขออภัยที่ไม่ได้ตรวจทานก่อน..
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 52
ทำความเข้าใจกับการแข็งตัวของเงินบาท (อีกครั้ง)
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ในช่วงที่ผ่านมา ความเป็นห่วงเรื่องเงินบาทแข็งค่าดูจะเบาบางลง เพราะเงินบาทอ่อนตัวลงบ้าง เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวลดลง และต่างชาติเริ่มขายหุ้นทำให้เข้าใจว่ามีเงินไหลออกบ้าง จากเดิมที่ดูเสมือนว่ามีแต่เงินไหลเข้า แต่ไม่ได้อยากให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า อัตราแลกเปลี่ยนนั้นขึ้นอยู่กับการไหลเข้า-ออกของเงินทุนเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะความเชื่อว่า ค่าเงินผันผวนเป็นผลมาจากความผันผวนของการไหลเข้า-ออกของเงินทุน
อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากกล่าวถึง คือการพูดถึง "ความผันผวน" ของค่าเงินบาทที่หลายคนกำลังพูดถึง ดูเหมือนว่ามีการสื่อความหมายที่คลาดเคลื่อน ความผันผวนนั้นคือการปรับขึ้นและปรับลงอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น เช่น
หากค่าเงินบาทปรับขึ้นเป็น 35 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ในตอนเช้า และลงมาที่ 33 บาท แต่กลับไปอยู่ที่ 34 บาทในตอนเย็นนั้น จะถือได้ว่ามีความผันผวนมาก แต่ก็ยังเฉลี่ยที่ 34 บาทในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา อันนี้แตกต่างจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องคือ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ในต้นปี 2006 มาเป็น 37 บาทในกลางปี 2006 มาเป็น 35 บาทในปลายปี 2006 และมาเป็น 34 บาทในขณะนี้ ตรงนี้ไม่ใช่ความผันผวน แต่เป็นการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่มีความผันผวนนั้น ในหลักการหากธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้ามาแทรกแซงระหว่างวันให้ค่าเงินเคลื่อนไหวแคบลง ย่อมเป็นการดีต่อการทำธุรกิจ เช่น แทนที่จะปรับขึ้น-ลง ในช่วงระหว่าง 33-35 บาท ก็แทรกแซงให้ปรับขึ้นลงเพียง 33.50-34.50 บาท
แต่ปัญหาในเชิงปฏิบัติ คือจะทราบได้อย่างไรว่าค่าเงินที่อยู่ในสภาวะดุลยภาพ (อุปสงค์เท่ากับอุปทาน) นั้นคือ 34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์จริง เพราะหากตั้งเป้าเอาไว้ที่ 34 บาท แต่จุดดุลยภาพอยู่ที่ 35 บาท ก็จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องใช้ทุนสำรองเข้าแทรกแซงจนหมดสิ้น (หรือเช่นในปี 2540 ที่ต้องการตรึงเงินบาทเอาไว้ที่ 25 บาท แต่จุดดุลยภาพน่าจะอยู่ที่ 40-45 บาท) ในทางตรงกันข้ามหากจุดดุลยภาพอยู่ที่ 32 บาท แต่พยายามตรึงเอาไว้ที่ 35 บาท ก็จะประสบปัญหาการซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้อย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ดังนั้น ค่าเงินบาทที่สะท้อนดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบาย แต่ยังไม่ค่อยจะมีการพูดถึงเท่าไร โดยการพูดถึงค่าเงินบาทนั้น มักจะพูดถึงค่าเงินบาทที่เหมาะสมสำหรับผู้ส่งออก หรือที่ระดับที่ไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะการประเมินว่าจุดดุลยภาพอยู่ตรงไหนนั้นทำได้ยากมาก และจุดดุลยภาพก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น หากต่างประเทศ หันมาให้ความเชื่อมั่นในประเทศไทยอย่างมาก เงินบาทก็น่าจะแข็งค่าขึ้น หรือหากค้นพบก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ที่มีมูลค่ามหาศาล เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นเช่นกัน
สำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น โดยปกติแล้วจะเป็นประเทศที่มีลู่ทางในการลงทุนมาก เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานที่อุดมสมบูรณ์ จึงจะมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิอย่างต่อเนื่อง และเงินทุนดังกล่าว ก็จะถูกนำไปใช้ในการนำเอาอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อการลงทุน ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานดังกล่าว หรือมองอีกแง่หนึ่งคือ เมื่อมีการไหลเข้าของเงินทุน ก็จะต้องมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ขาดดุลการค้าสินค้าและบริการ) เพื่อให้อุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศสมดุลกัน
แต่ขณะนี้ ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมาก คือ 6.2 พันล้านดอลลาร์ ในครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยมีการใช้จ่ายในประเทศน้อยเกินไป ดังเห็นได้จากสมการข้างล่างนี้
Y = C + I + G - T + X - M
[จีดีพีของประเทศ (Y) ประกอบด้วย การบริโภค (C) การลงทุน (I) การใช้จ่ายของภาครัฐ (G) ลบด้วยภาษี (T) และบวกด้วยการส่งออก (X) ลบการนำเข้า (M)]
Y - C = I + G- T + X + M
แต่ Y-C เท่ากับการออม (S) และหากภาครัฐดำเนินนโยบายการคลังสมดุล (G - T = 0) ดังนั้น
S = I +X -M หรือ S- I = X -M (การออมสุทธิ จะเท่ากับการส่งออกสุทธิ)
ปัจจุบันการส่งออกสูงกว่าการนำเข้าประมาณ 5% ของจีดีพี ซึ่งหมายความว่า การลงทุนต่ำกว่าการออมเท่ากับ 5% ของจีดีพี แปลว่าประเทศไทยลงทุนน้อยไปหรือออมเงินมากไป ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลในอดีตก็จะสรุปได้ว่า การลงทุนน้อยไป ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่แปลกว่าเรากำลังมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ในขณะที่การแข็งค่าของเงินบาทนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการลงทุนในประเทศที่น้อยเกินไป
หรือเป็นไปได้ว่าโอกาสในการลงทุนในประเทศไทยด้อยกว่าแต่ก่อนมาก (เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามเป็นทางเลือกใหม่ ฯลฯ) ถ้าเป็นเช่นนี้จะต้องสรุปว่าเรามีเงินออมมากเกินไปหรืออีกนัยหนึ่ง คือเราบริโภคน้อยเกินไป ซึ่งจะชี้นำไปสู่การสนับสนุนให้ลงทุนเพื่อธุรกิจและกิจกรรมภายในประเทศให้ขยายตัวขึ้นมากๆ เพื่อรองรับกำลังซื้อส่วนเกินดังกล่าว ซึ่งไม่ควรจะมองว่ามีข้อเสียอะไรเพราะการขยายขนาดของเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ก็จะให้ประโยชน์ในการสร้างงาน และสร้างโอกาสทางการเงินไม่แตกต่างจากการส่งออก แต่อาจจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะไม่ต้องไปพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีความเป็นไปสูงว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจมีปัญหามากขึ้นในอนาคต
ดังนั้น ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เพื่อทดแทนอุปสงค์ในต่างประเทศที่อาจชะลอตัวลง การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยเอง ก็จะน่าจะส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยเช่นเดียวกันครับ
--------------------------------------------------------------------------------
อาจต้องอ่านย้อนไปบ้างนะคับ..
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ในช่วงที่ผ่านมา ความเป็นห่วงเรื่องเงินบาทแข็งค่าดูจะเบาบางลง เพราะเงินบาทอ่อนตัวลงบ้าง เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวลดลง และต่างชาติเริ่มขายหุ้นทำให้เข้าใจว่ามีเงินไหลออกบ้าง จากเดิมที่ดูเสมือนว่ามีแต่เงินไหลเข้า แต่ไม่ได้อยากให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า อัตราแลกเปลี่ยนนั้นขึ้นอยู่กับการไหลเข้า-ออกของเงินทุนเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะความเชื่อว่า ค่าเงินผันผวนเป็นผลมาจากความผันผวนของการไหลเข้า-ออกของเงินทุน
อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากกล่าวถึง คือการพูดถึง "ความผันผวน" ของค่าเงินบาทที่หลายคนกำลังพูดถึง ดูเหมือนว่ามีการสื่อความหมายที่คลาดเคลื่อน ความผันผวนนั้นคือการปรับขึ้นและปรับลงอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น เช่น
หากค่าเงินบาทปรับขึ้นเป็น 35 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ในตอนเช้า และลงมาที่ 33 บาท แต่กลับไปอยู่ที่ 34 บาทในตอนเย็นนั้น จะถือได้ว่ามีความผันผวนมาก แต่ก็ยังเฉลี่ยที่ 34 บาทในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา อันนี้แตกต่างจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่องคือ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ในต้นปี 2006 มาเป็น 37 บาทในกลางปี 2006 มาเป็น 35 บาทในปลายปี 2006 และมาเป็น 34 บาทในขณะนี้ ตรงนี้ไม่ใช่ความผันผวน แต่เป็นการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่มีความผันผวนนั้น ในหลักการหากธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้ามาแทรกแซงระหว่างวันให้ค่าเงินเคลื่อนไหวแคบลง ย่อมเป็นการดีต่อการทำธุรกิจ เช่น แทนที่จะปรับขึ้น-ลง ในช่วงระหว่าง 33-35 บาท ก็แทรกแซงให้ปรับขึ้นลงเพียง 33.50-34.50 บาท
แต่ปัญหาในเชิงปฏิบัติ คือจะทราบได้อย่างไรว่าค่าเงินที่อยู่ในสภาวะดุลยภาพ (อุปสงค์เท่ากับอุปทาน) นั้นคือ 34 บาทต่อ 1 ดอลลาร์จริง เพราะหากตั้งเป้าเอาไว้ที่ 34 บาท แต่จุดดุลยภาพอยู่ที่ 35 บาท ก็จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องใช้ทุนสำรองเข้าแทรกแซงจนหมดสิ้น (หรือเช่นในปี 2540 ที่ต้องการตรึงเงินบาทเอาไว้ที่ 25 บาท แต่จุดดุลยภาพน่าจะอยู่ที่ 40-45 บาท) ในทางตรงกันข้ามหากจุดดุลยภาพอยู่ที่ 32 บาท แต่พยายามตรึงเอาไว้ที่ 35 บาท ก็จะประสบปัญหาการซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้อย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ดังนั้น ค่าเงินบาทที่สะท้อนดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบาย แต่ยังไม่ค่อยจะมีการพูดถึงเท่าไร โดยการพูดถึงค่าเงินบาทนั้น มักจะพูดถึงค่าเงินบาทที่เหมาะสมสำหรับผู้ส่งออก หรือที่ระดับที่ไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะการประเมินว่าจุดดุลยภาพอยู่ตรงไหนนั้นทำได้ยากมาก และจุดดุลยภาพก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น หากต่างประเทศ หันมาให้ความเชื่อมั่นในประเทศไทยอย่างมาก เงินบาทก็น่าจะแข็งค่าขึ้น หรือหากค้นพบก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ที่มีมูลค่ามหาศาล เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นเช่นกัน
สำหรับประเทศกำลังพัฒนานั้น โดยปกติแล้วจะเป็นประเทศที่มีลู่ทางในการลงทุนมาก เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานที่อุดมสมบูรณ์ จึงจะมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิอย่างต่อเนื่อง และเงินทุนดังกล่าว ก็จะถูกนำไปใช้ในการนำเอาอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อการลงทุน ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานดังกล่าว หรือมองอีกแง่หนึ่งคือ เมื่อมีการไหลเข้าของเงินทุน ก็จะต้องมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (ขาดดุลการค้าสินค้าและบริการ) เพื่อให้อุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศสมดุลกัน
แต่ขณะนี้ ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมาก คือ 6.2 พันล้านดอลลาร์ ในครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยมีการใช้จ่ายในประเทศน้อยเกินไป ดังเห็นได้จากสมการข้างล่างนี้
Y = C + I + G - T + X - M
[จีดีพีของประเทศ (Y) ประกอบด้วย การบริโภค (C) การลงทุน (I) การใช้จ่ายของภาครัฐ (G) ลบด้วยภาษี (T) และบวกด้วยการส่งออก (X) ลบการนำเข้า (M)]
Y - C = I + G- T + X + M
แต่ Y-C เท่ากับการออม (S) และหากภาครัฐดำเนินนโยบายการคลังสมดุล (G - T = 0) ดังนั้น
S = I +X -M หรือ S- I = X -M (การออมสุทธิ จะเท่ากับการส่งออกสุทธิ)
ปัจจุบันการส่งออกสูงกว่าการนำเข้าประมาณ 5% ของจีดีพี ซึ่งหมายความว่า การลงทุนต่ำกว่าการออมเท่ากับ 5% ของจีดีพี แปลว่าประเทศไทยลงทุนน้อยไปหรือออมเงินมากไป ซึ่งหากพิจารณาข้อมูลในอดีตก็จะสรุปได้ว่า การลงทุนน้อยไป ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่แปลกว่าเรากำลังมีนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ในขณะที่การแข็งค่าของเงินบาทนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการลงทุนในประเทศที่น้อยเกินไป
หรือเป็นไปได้ว่าโอกาสในการลงทุนในประเทศไทยด้อยกว่าแต่ก่อนมาก (เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามเป็นทางเลือกใหม่ ฯลฯ) ถ้าเป็นเช่นนี้จะต้องสรุปว่าเรามีเงินออมมากเกินไปหรืออีกนัยหนึ่ง คือเราบริโภคน้อยเกินไป ซึ่งจะชี้นำไปสู่การสนับสนุนให้ลงทุนเพื่อธุรกิจและกิจกรรมภายในประเทศให้ขยายตัวขึ้นมากๆ เพื่อรองรับกำลังซื้อส่วนเกินดังกล่าว ซึ่งไม่ควรจะมองว่ามีข้อเสียอะไรเพราะการขยายขนาดของเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ก็จะให้ประโยชน์ในการสร้างงาน และสร้างโอกาสทางการเงินไม่แตกต่างจากการส่งออก แต่อาจจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะไม่ต้องไปพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีความเป็นไปสูงว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจมีปัญหามากขึ้นในอนาคต
ดังนั้น ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่จึงมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เพื่อทดแทนอุปสงค์ในต่างประเทศที่อาจชะลอตัวลง การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยเอง ก็จะน่าจะส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศ เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยเช่นเดียวกันครับ
--------------------------------------------------------------------------------
อาจต้องอ่านย้อนไปบ้างนะคับ..
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 53
กับดักค่าเงิน
ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน : กมล กมลตระกูล ศูนย์วิจัยธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นมาที่ระดับ 33 บาทเศษ น่าจะเป็นข่าวดีเพราะว่าราคาน้ำมันน่าจะถูกลง และส่งผลให้ราคาสินอุปโภคบริโภคและค่าไฟฟ้าถูกลงไปด้วย เช่นเดียวกับสินค้าทุนและวัตถุดิบที่นำเข้า ประโยชน์ตรงนี้ได้ถูกมองข้าม และไม่ได้นำมาพิจารณา offset กับภาคการผลิตอื่นๆ
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ระบบผูกขาดของกิจการน้ำมันในบ้านเราเป็นระบบผูกขาด และ ปตท. ถูกแปรรูปไปเป็นบริษัทมหาชนที่มีเป้าหมายในการหากำไรสูงสุด รวมทั้ง กฟผ.หรือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็ดำเนินนโยบายหากำไรสูงสุดจากผู้บริโภค เพื่อนำไปเป็นโบนัสของผู้บริหาร ผลดีของการแข็งตัวของค่าเงินบาท จึงไม่ส่งผลลงมาถึงประชาชนและระบบเศรษฐกิจอย่างที่ควรจะเป็น
ในขณะที่ยามเงินบาทอ่อนตัวลง กิจทั้งสองข้างต้นจะนำมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคาน้ำมันและค่าเอฟทีทันที อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลับบ้าจี้และเสนอมาตรการที่จะนำประเทศไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 โดยโอนความเสี่ยงไปให้ภาคเอกชนรับเคราะห์
ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เงินบาทเคยมีค่าที่ประมาณ 25 บาท แต่แทนที่เศรษฐกิจในขณะนั้นจะย่ำแย่ แต่กลับเติบโตเป็นฟองสบู่จนถูกโจมตีค่าเงินให้อ่อนตัวมาที่ประมาณ 40-45 บาท โดยที่เคยอ่อนค่าไปถึง 55 บาทด้วยซ้ำ
การโจมตีค่าเงินในพ.ศ.นี้ ใช้ยุทธวิธีที่ตรงกันข้ามกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ครั้งนี้เป็นการนำเงินเข้ามาโดยกองทุนโจรสลัดต่างชาติ ที่เรียกว่า เฮดจ์ฟันด์ รวมทั้งกองทุนรวมต่างๆ ทำให้เงินทุนสำรองสกุลดอลลาร์มีล้น ธปท. ค่าเงินบาทจึงแข็งขึ้นร้อยละ 17 ภายในเวลาประมาณ 1 ปี
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผู้ที่นำเงินดอลลาร์เข้ามาเป็นนักธุรกิจไทยที่กู้เงินจากต่างประเทศ เพราะว่าดอกเบี้ยถูกกว่าในประเทศมาก เมื่อค่าเงินบาทถูกโจมตีจนอ่อนค่าลงครึ่งหนึ่ง หนี้ของประเทศจึงเพิ่มขึ้นเท่าตัวบวกดอกเบี้ย ทำให้ล่มจมกันทั้งประเทศ นี่คือความต่างของ 2 สถานการณ์ที่ห่างกัน 10 ปี
มาตรการ 4 ประการที่ ครม.เห็นชอบแล้วมีที่ถูกต้อง คือ ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้เงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด ส่วนอีก 3 มาตรการที่ให้ผู้ส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้ไม่จำกัดเวลา และสามารถฝากเงินเป็นสกุลดอลลาร์ได้ และบุคคลธรรมดาก็ฝากได้ไม่เกิน 1 แสนดอลลาร์ คล้ายๆ กับที่ประเทศอาร์เจนตินาเคยใช้นโยบายนี้มาก่อน และเคย "พัง" ไปแล้ว
ณ วันนี้ อเมริกาได้หมดเงินไปในสงครามอิรักแล้วไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินของสหรัฐจะแข็งตัวขึ้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น ผู้ที่ถือดอลลาร์ก็จะ "ช้ำใน" และ "เจ๊ง"
มาตรการของ ครม. ที่ออกมานี้ ก็จะไปเข้าทางของกองทุนโจรสลัดต่างชาติที่จะได้โอกาสขายเงินบาทในราคา 33 บาทที่ตนนำดอลลาร์มาซื้อไว้เมื่อราคา 40 บาท ให้กับผู้นำเข้าหรือประชาชนที่หลงเชื่อรัฐบาล (โยนความเสี่ยงมาให้ภาคเอกชน)
มาตรการของกระทรวงการคลังนี้ ไม่มีหลักประกันว่า ค่าของดอลลาร์จะไม่อ่อนตัวไปอีกเพราะสงครามอิรัก กระทรวงการคลัง โดย ธปท.กำลังสร้างบาปครั้งใหญ่ให้แก่ภาคเอกชนและนักธุรกิจไทยด้วยมาตรการที่ออกมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ในขณะนี้ กองทุนเหล่านี้ คว้ากำไรไปเหนาะๆ 7 หมื่นล้านบาท เพราะนำเข้ามาเป็นเงิน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ (อาจจะถึง 1.7 แสนล้านดอลลาร์ เพราะว่า ธปท. ยอมรับสารภาพว่าขาดทุนไปล้วนเป็นเงินจำนวนนี้ในการแทรกแซงเพื่อรักษาค่าเงินบาท) นี่ยังไม่รวมกลุ่มธนาคารต่างชาติและกลุ่มอุตสาหกรรมต่างชาติที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตแล้วส่งกำไรที่เป็นเงินบาทที่แข็งค่าออกไปแล้ว
เงินที่ไหลเข้าจากภาคการส่งออกที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิต เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ นั้น มิใช่เงินของคนไทย อาจจะอยู่ในเมืองไทยในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น โดยไม่นำมาลงทุนใหม่ หรือขยายกิจการให้เกิดการจ้างงาน แต่พร้อมที่จะถูกบริษัทแม่ในต่างประเทศสั่งให้โอนกลับไปทันทีเมื่อไรก็ได้
ค่าของเงินบาทในวันนี้ จึงดูเหมือนถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย
หากรัฐบาลยังใช้วิธีการแก้ปัญหาตามกรอบคิดเสรีนิยมสุดโต่ง โดยไม่มองระบบเศรษฐกิจทั้งระบบอย่างยาวๆ แต่คำนึงถึงกลุ่มผู้ส่งออกไม่กี่ราย และการรักษาภาพพจน์ในทางสากลว่า เป็น "เด็กดี" ไม่ใช้วิธีการ Capital control ควบคุมอย่างมาเลเซีย หรือจีน นักธุรกิจไทยทั้งชาติและเศรษฐกิจของชาติ ก็จะไร้เสถียรภาพ และ "พัง" อีกรอบหนึ่งอย่างแน่นอนครับ
ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน : กมล กมลตระกูล ศูนย์วิจัยธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นมาที่ระดับ 33 บาทเศษ น่าจะเป็นข่าวดีเพราะว่าราคาน้ำมันน่าจะถูกลง และส่งผลให้ราคาสินอุปโภคบริโภคและค่าไฟฟ้าถูกลงไปด้วย เช่นเดียวกับสินค้าทุนและวัตถุดิบที่นำเข้า ประโยชน์ตรงนี้ได้ถูกมองข้าม และไม่ได้นำมาพิจารณา offset กับภาคการผลิตอื่นๆ
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ระบบผูกขาดของกิจการน้ำมันในบ้านเราเป็นระบบผูกขาด และ ปตท. ถูกแปรรูปไปเป็นบริษัทมหาชนที่มีเป้าหมายในการหากำไรสูงสุด รวมทั้ง กฟผ.หรือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็ดำเนินนโยบายหากำไรสูงสุดจากผู้บริโภค เพื่อนำไปเป็นโบนัสของผู้บริหาร ผลดีของการแข็งตัวของค่าเงินบาท จึงไม่ส่งผลลงมาถึงประชาชนและระบบเศรษฐกิจอย่างที่ควรจะเป็น
ในขณะที่ยามเงินบาทอ่อนตัวลง กิจทั้งสองข้างต้นจะนำมาเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคาน้ำมันและค่าเอฟทีทันที อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลับบ้าจี้และเสนอมาตรการที่จะนำประเทศไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 โดยโอนความเสี่ยงไปให้ภาคเอกชนรับเคราะห์
ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เงินบาทเคยมีค่าที่ประมาณ 25 บาท แต่แทนที่เศรษฐกิจในขณะนั้นจะย่ำแย่ แต่กลับเติบโตเป็นฟองสบู่จนถูกโจมตีค่าเงินให้อ่อนตัวมาที่ประมาณ 40-45 บาท โดยที่เคยอ่อนค่าไปถึง 55 บาทด้วยซ้ำ
การโจมตีค่าเงินในพ.ศ.นี้ ใช้ยุทธวิธีที่ตรงกันข้ามกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ครั้งนี้เป็นการนำเงินเข้ามาโดยกองทุนโจรสลัดต่างชาติ ที่เรียกว่า เฮดจ์ฟันด์ รวมทั้งกองทุนรวมต่างๆ ทำให้เงินทุนสำรองสกุลดอลลาร์มีล้น ธปท. ค่าเงินบาทจึงแข็งขึ้นร้อยละ 17 ภายในเวลาประมาณ 1 ปี
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผู้ที่นำเงินดอลลาร์เข้ามาเป็นนักธุรกิจไทยที่กู้เงินจากต่างประเทศ เพราะว่าดอกเบี้ยถูกกว่าในประเทศมาก เมื่อค่าเงินบาทถูกโจมตีจนอ่อนค่าลงครึ่งหนึ่ง หนี้ของประเทศจึงเพิ่มขึ้นเท่าตัวบวกดอกเบี้ย ทำให้ล่มจมกันทั้งประเทศ นี่คือความต่างของ 2 สถานการณ์ที่ห่างกัน 10 ปี
มาตรการ 4 ประการที่ ครม.เห็นชอบแล้วมีที่ถูกต้อง คือ ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้เงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด ส่วนอีก 3 มาตรการที่ให้ผู้ส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้ไม่จำกัดเวลา และสามารถฝากเงินเป็นสกุลดอลลาร์ได้ และบุคคลธรรมดาก็ฝากได้ไม่เกิน 1 แสนดอลลาร์ คล้ายๆ กับที่ประเทศอาร์เจนตินาเคยใช้นโยบายนี้มาก่อน และเคย "พัง" ไปแล้ว
ณ วันนี้ อเมริกาได้หมดเงินไปในสงครามอิรักแล้วไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินของสหรัฐจะแข็งตัวขึ้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น ผู้ที่ถือดอลลาร์ก็จะ "ช้ำใน" และ "เจ๊ง"
มาตรการของ ครม. ที่ออกมานี้ ก็จะไปเข้าทางของกองทุนโจรสลัดต่างชาติที่จะได้โอกาสขายเงินบาทในราคา 33 บาทที่ตนนำดอลลาร์มาซื้อไว้เมื่อราคา 40 บาท ให้กับผู้นำเข้าหรือประชาชนที่หลงเชื่อรัฐบาล (โยนความเสี่ยงมาให้ภาคเอกชน)
มาตรการของกระทรวงการคลังนี้ ไม่มีหลักประกันว่า ค่าของดอลลาร์จะไม่อ่อนตัวไปอีกเพราะสงครามอิรัก กระทรวงการคลัง โดย ธปท.กำลังสร้างบาปครั้งใหญ่ให้แก่ภาคเอกชนและนักธุรกิจไทยด้วยมาตรการที่ออกมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ในขณะนี้ กองทุนเหล่านี้ คว้ากำไรไปเหนาะๆ 7 หมื่นล้านบาท เพราะนำเข้ามาเป็นเงิน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ (อาจจะถึง 1.7 แสนล้านดอลลาร์ เพราะว่า ธปท. ยอมรับสารภาพว่าขาดทุนไปล้วนเป็นเงินจำนวนนี้ในการแทรกแซงเพื่อรักษาค่าเงินบาท) นี่ยังไม่รวมกลุ่มธนาคารต่างชาติและกลุ่มอุตสาหกรรมต่างชาติที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตแล้วส่งกำไรที่เป็นเงินบาทที่แข็งค่าออกไปแล้ว
เงินที่ไหลเข้าจากภาคการส่งออกที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิต เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ นั้น มิใช่เงินของคนไทย อาจจะอยู่ในเมืองไทยในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น โดยไม่นำมาลงทุนใหม่ หรือขยายกิจการให้เกิดการจ้างงาน แต่พร้อมที่จะถูกบริษัทแม่ในต่างประเทศสั่งให้โอนกลับไปทันทีเมื่อไรก็ได้
ค่าของเงินบาทในวันนี้ จึงดูเหมือนถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย
หากรัฐบาลยังใช้วิธีการแก้ปัญหาตามกรอบคิดเสรีนิยมสุดโต่ง โดยไม่มองระบบเศรษฐกิจทั้งระบบอย่างยาวๆ แต่คำนึงถึงกลุ่มผู้ส่งออกไม่กี่ราย และการรักษาภาพพจน์ในทางสากลว่า เป็น "เด็กดี" ไม่ใช้วิธีการ Capital control ควบคุมอย่างมาเลเซีย หรือจีน นักธุรกิจไทยทั้งชาติและเศรษฐกิจของชาติ ก็จะไร้เสถียรภาพ และ "พัง" อีกรอบหนึ่งอย่างแน่นอนครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 54
ค่าเงินบาท...ทางการอย่าลืมอยู่กับปัจจุบัน
โดย นวพร เรืองสกุล
มติชนรายวัน วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10727
ค่าเงินบาทที่ลดลงอย่างเกินความคาดคิดใดๆ และความระทึกขวัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมา เมื่อ 10 ปีมาแล้ว เราเคยถามกันว่า เราได้บทเรียนใดมาบ้าง
บทเรียนนั้นนำไปสู่การปรับปรุงวิทยายุทธ์หรือเปล่า มีการฝึกปรือฝีมือหรือไม่ และพัฒนาจนได้กระบวนท่า สำหรับรับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือยัง
ไม่นานมานี้เอง คือปลายปี 2549 มีการสัมมนาเรื่องนี้ และวันนั้นทางการค่อนข้างมั่นใจว่า รับมือได้
มองดูสถานการณ์ถึงวันนี้ (19 กรกฎาคม 2550) ตอบได้เลยว่า
หนึ่ง รับมือไม่ได้
สอง การปรับปรุงวิทยายุทธ์ และฝึกปรือฝีมือ (ถ้ามี) ก็ยังทำได้ไม่ดีพอ กระบวนท่าในการรับมือกับเหตุการณ์ครั้งนี้ที่เชื่องช้า ลังเล บอกได้ว่าอ่านตลาดไม่ทะลุ ไม่พร้อมใจกันทำ
สาม ผู้ที่เกี่ยวข้องดูเหมือนไม่ได้เรียนรู้เหตุการณ์ปี 2540 และเหตุการณ์ที่ตามมาอย่างบทเรียนที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ แต่จะกล่าวถึงเหมือนเรื่องสยองขวัญที่ได้ยินแล้วกลัว ได้ยินแล้วพยายามผลักให้พ้นตนแบบคนเอาตัวรอดคนเดียว และจัดการในลักษณะที่ว่ามันเป็นความผิดพลาดที่อยากลืม
ความคิดลักษณะนี้ทำให้เรื่องราวปี 2540 เข้าไปซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ แล้วออกมาหลอนเป็นระยะๆ
นโยบายการจัดการกับค่าเงินบาทเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้ที่เข้าใจเรื่องของตลาดนี้พูดกันในวงแคบ พูดกันเป็นการส่วนตัวเงียบๆ ไม่ใช่เรื่องที่สมควรจะพูดแนะนำนโยบายต่อทางการในที่สาธารณะ
ให้กลับไปดูก็ได้ว่า การประกาศนโยบาย 30% กลางเดือนธันวาคม 2549 และการหมุน ยู เทิร์น ในส่วนที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น ก่อให้เกิดผลได้กับใคร และผลเสียกับอะไรบ้าง
ทุกวันนี้เวลาผ่านพ้นมาได้กว่า 6 เดือนแล้ว ทุนที่ไหลเข้าและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นยังดำรงอยู่ และกำลังจะหยุดไม่อยู่ ทำให้คำแนะนำที่ควรและเคยกระซิบกันด้วยความระมัดระวังถูกเปิดตูมตามในหน้าหนังสือพิมพ์
ที่บรรดาผู้มีตำแหน่งแห่งที่ในองค์กรต่างๆ และ "กูรู้" ทั้งหลาย ออกมาพูดในเวทีสาธารณะนี้ สื่อได้สองอย่าง คือ
หนึ่ง ไม่มีโอกาสสื่อให้ถึงทางการ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ในที่ลับหูลับตาสาธารณชนคนอ่านหนังสือพิมพ์ และดูโทรทัศน์กัน หรือ
สอง เคยเสนอ เคยหารือกันแล้ว แต่เข้าทำนอง บอกแล้วไม่ฟัง ฟังแล้วแต่ยังไม่เชื่อ หรือเชื่อแล้วแต่ยังไม่ทำ ก็เลยหมดความอดทน เพราะคิดว่าทนต่อไปจะยิ่งเสียหาย จึงต้องออกมา "ฟ้อง" กับสาธารณชน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงในที่สุด จากนโยบายที่ผิดพลาด หรือเชื่องช้า และไม่ทันเกม
ผู้เขียนเชื่อว่า บรรดาเหล่าผู้เกี่ยวข้องที่มีตำแหน่งทางการ น่าจะได้เคยเสนอแนะนโยบายอย่างถูกต้องตามช่องทาง ในที่เงียบๆ ไปแล้ว เหตุการณ์เช่นนี้จึงบ่งชี้อย่างเดียวเท่านั้น คือบ่งชี้ความอึดอัดคับข้องใจที่มากจนกระทั่ง ไม่เกรงใจธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว
และอาจจะไม่เชื่อมั่นนัก ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดการกับสถานการณ์ได้ ซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ
มีเรื่องหลายเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุผลข้อสอง จากที่ผู้เขียนได้รับฟังมาในวงการการเงินในฐานะคน "ข้างสังเวียน" เช่น
ผู้เชี่ยวชาญตลาดเงินตราต่างประเทศคนหนึ่งบอกว่า ไม่มีประเทศไหนต่อสู้ให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนกว่าที่ตลาดต้องการ แล้วขาดทุน จะขาดทุนได้ยังไงในเมื่อธนาคารกลางของใครก็พิมพ์เงินของประเทศตัวเองออกมา ใครอยากได้เท่าไหร่ก็พิมพ์ให้เขาไป เราถือเงินตราต่างประเทศไว้ สบายดี
ทำไมธนาคารชาติขาดทุน
ขาดทุนเพราะสู้แล้วถอย ถอยแล้วสู้อีก แต่ละครั้งจึงขาดทุนเมื่อคำนวณกลับมาเป็นเงินบาท
แถมยังไปกู้เงินที่ปล่อยออกไปแล้วกลับเข้ามาอีก เพราะไม่ยอมให้ดอกเบี้ยลงต่ำกว่าที่กำหนดเป็น
นโยบายเอาไว้ คือกำหนดดอกเบี้ยและกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนด้วย (อีกแล้ว)
ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งมาบอกผู้เขียนตั้งแต่ปีก่อน ตั้งแต่ธนาคารชาติเริ่มสะสมเงินตราต่างประเทศมากๆ ว่า ช่วยไปบอกใครที ให้รัฐวิสาหกิจชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศออกไปให้มากๆ กู้เงินบาทถูกกว่า รัฐวิสาหกิจจะได้ลดต้นทุนค่าดอกเบี้ยแล้วยังช่วยชาติ ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศดูไม่สูงมาก
คือต้องไม่หลอกตัวเองว่า ที่มีเงินตราต่างประเทศมากมายนั้น แปลว่าเรารวย ต้องมองให้รอบคอบก่อนว่า เรามีภาระหนี้ที่ไหนที่ยังไม่ได้เอามาคิดหรือเปล่า ไม่ใช่เป็นเศรษฐีที่เต็มไปด้วยเงินกู้และภาระหนี้ที่คนมองไม่เห็น
เมื่อมีโอกาสเจอใครที่ดูแลเรื่องหนี้สาธารณะหรือเรื่องรัฐวิสาหกิจก็จะถาม
ทุกครั้งจะได้รับคำตอบว่า ทำแล้ว ไม่มีอะไรให้ทำแล้ว ส่วนที่ยังเป็นหนี้ต่างประเทศอยู่ มีภาระผูกพันยังใช้คืนก่อนกำหนดไม่ได้
2-3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อได้ยินว่า ทำแล้วๆ เขาก็เสนอเพิ่มว่า ช่วยบอกให้รัฐบาลให้วิสาหกิจที่ต้องใช้เงินตราต่างประเทศในอนาคต ซื้อเงินไปกองรอไว้ซิ ดอกเบี้ยเมืองนอกแพงกว่าเมืองไทย และทำให้เงินสำรองลดลงอย่างสมเหตุสมผลด้วย
เดี๋ยวรัฐวิสาหกิจขาดทุน ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ธนาคารชาติเป็นคนกำหนดค่าเงินไม่ใช่หรือ ถ้าต่อไปเปลี่ยนนโยบายจนเขาขาดทุน ก็ชดเชยให้เขาซิ
เมื่อมีข้อเสนอแนะจากหนึ่งในสามสมาคมของ กกร. ทางหน้าหนังสือพิมพ์กลางเดือนกรกฎาคมว่า ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้ต่างประเทศ วันต่อมาก็มีตัวเลข (ทางหน้าหนังสือพิมพ์อีกนั่นแหละ) ว่ากระทรวงการคลัง จะขอความร่วมมือให้รัฐวิสาหกิจต่างๆ คืนหนี้ต่างประเทศ พร้อมรายชื่อรัฐวิสาหกิจและปริมาณหนี้
เอ๊ะ มันอะไรกัน เรื่องแบบนี้ควรทำเสร็จไปตั้งนานแล้วไม่ใช่หรือ ใครมีข้อมูลผิดพลาด หรือใครมีข้อมูลใหม่ หรือว่าทุกฝ่ายไม่เคยเห็นความจำเป็นในการเร่งรัดจัดการ แล้วที่มาพบกันบ่อยๆ ระหว่างรัฐมนตรีกับผู้ว่าการนั่น มาพูดอะไรกัน
มีข้อเสนอแนะหลุดออกมาหลายครั้งว่า น่าจะโอนเงินส่วนหนึ่งที่บริหารจัดการอยู่ในทุนสำรอง ไปลงทุนในต่างประเทศให้ดีขึ้น แบบสิงคโปร์ ที่รอดจากการถูกตำหนิโดยนักการเงินชาติตะวันตกว่าสะสมเงินสำรองเกินสมควร เพราะเขานำไปลงทุนในสิ่งที่เป็นผลผลิต เป็นการสร้างความมั่งคั่ง ไม่ใช่ค้าขายได้ดุลกับอเมริกา ได้เงินทุนจากต่างชาติ แล้วก็นำเงินกลับไปให้อเมริกากู้
การบริหารจัดการทุนสำรองด้วยการลงทุนทางตรงอื่นๆ ยังจะช่วยให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ได้ประโยชน์ต่อประเทศมากขึ้น และเป็นการนำร่องให้เอกชนไปลงทุนต่างประเทศด้วย เพราะศักยภาพการทำงานของทางการ และจำนวนเงินที่มีน่าจะทำให้ได้บริการที่ดีกว่า และการจะไปลงทุนต่างประเทศควรมียุทธศาสตร์ระดับชาติที่ชัดเจน
เรื่องนี้หยุดอยู่แค่ความคิด
นักการเงินเคยเล่าให้ฟัง ซึ่งผู้เขียนนำไปแทรกไว้ในสารคดีกึ่งนิยายเรื่อง "ห้องยุทธการ" ที่เริ่มลงพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ เมื่อมกราคม 2550 ว่า ประเทศของเราเปิดเสรีบัญชีเงินทุนเกินไป และตลาดทุนของเราก็เสรีเกินไป จนกระทั่งใครๆ ก็เข้ามาหากำไรได้ง่ายๆ เพราะเปิดเสรีผิดจุด แล้วตลาดหุ้นของเรายังบางเกินไปจนกระทั่งปั่นได้ง่ายๆ ตอนนี้ยิ่งสนุก ปั่นได้ทั้งตลาดเงินสดทั้งตลาดล่วงหน้า
นายธนาคารคนหนึ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่การเก็งกำไรเงินบาทไม่สิ้นสุดลงสักที ก็เพราะว่าครั้งแรกที่เข้ามาทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ธนาคารชาติสู้อยู่พักหนึ่งก็ถอย นักเก็งกำไรก็กำไรทั่วกัน
พวกนี้เป็นหมาล่าเนื้อ เมื่อเห็นกลุ่มแรกได้กำไร ก็มากันเป็นฝูง เงินทุนไหลเข้ารอบสองจึงมากขึ้น แล้วเขาก็ได้กำไรไปอีก ตลาดเมืองไทยหอมหวาน เราล่อนักเก็งกำไรด้วยผลงานของธนาคารกลางของเราเอง
สิ่งที่เราต้องการในเวลานี้คือตั้งโจทย์ให้ถูก แล้วเดินไปข้างหน้า งานกำลังยุ่งขนาดนี้ ไม่มีเวลาจะหมกมุ่นกังวลกับอดีต เวลาแห่งการศึกษาผ่านพ้นไปแล้ว ตอนนี้คือชีวิตจริงที่ต้องระดมสรรพกำลังแก้ปัญหา สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันสำคัญที่สุด เพราะในที่สุดมันจะเป็นอดีต จะเป็นบทเรียนให้คนในอนาคตได้ศึกษา
ต้องการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้ว่า ท่านทั้งหลายกำลังเขียนประวัติการเงินของเมืองไทย และเขียนเกียรติประวัติของตัวท่านเองพร้อมกันไปด้วย และนักประวัติศาสตร์ประเมินบุคคลจากความสามารถในตำแหน่ง
ตำแหน่งที่คุณเลือกได้ว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็น
ไม่มีเกียรติยศใดที่มาโดยปราศจากความภาระอันหนัก
เอาใจช่วยธนาคารชาติ และกระทรวงการคลัง และอยากจะสะกิดไว้ตรงนี้ว่า ไม่ว่าธนาคารชาติจะอยากเป็นอิสระยังไงก็ตาม ก็ต้องรู้ว่าขาดทุนขึ้นมาคราวใดก็ต้องเดือดร้อนกระทรวงการคลังทุกทีไป และถ้าทำพลาดพลั้งลงไป ก็ไม่พ้นว่าคนตัวเล็กๆ ทุกคนในประเทศต้องช่วยกันแบกรับภาระ
ตำแหน่งผู้ว่าการและตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นตำแหน่งที่สำคัญมากกับประชาชนทุกคน ต้องการความรอบคอบ ที่มากับใจที่เปิดกว้าง แล้วต่อจากนั้นก็ต้องการความกล้าหาญ และความเด็ดขาด
มีคนตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤตคราวนี้ตกที่นั่งของนักเรียนทุนจากญี่ปุ่นต้องรับผิดชอบอีกแล้ว ทุกคนไม่ลืมว่าครั้งปี 2540 ผู้ว่าการเป็นนักเรียนทุนจากญี่ปุ่น คราวนี้ก็ใช่
ขอตั้งข้อสังเกตเสริมว่า วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นนั้น ต้องการร่วมกันคิด เมื่อตกลงร่วมกันได้แล้ว ต่างคนต่างลงมือรับผิดชอบในส่วนที่เป็นงานในหน้าที่ของตัว เราต้องไม่บิดเบือนการร่วมกันคิดเพื่อตกลงร่วมกัน ให้คงเหลือแค่รูปแบบ ที่ไร้เนื้อหา คือทำให้กลายเป็นการประชุม ประชุม และประชุม เพื่อบังคับ อ้อนวอน ชักจูง หรือข่มขู่ให้ผู้ร่วมประชุมเห็นพ้องกับจุดยืนของผู้มีอำนาจ และเราไม่ควรเข้าใจผิดคิดว่าการตกลงร่วมกัน หมายความว่าต่างคนต่างต้องมาทำงานเรื่องเดียวกัน แทนที่จะเป็นหน้าที่ไหนของใคร ก็ทำของตนให้ดีที่สุด
และประการสุดท้ายที่ขอฝากไว้ในวันนี้ก็คือ นักการเงินการคลัง คนที่กล้าหาญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การทำนโยบายการคลัง และอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทย ที่ได้รับการกล่าวถึงด้วยความเคารพเสมอมาก็เป็นนักเรียนญี่ปุ่น เหมือนกัน
หน้า 7
โดย นวพร เรืองสกุล
มติชนรายวัน วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10727
ค่าเงินบาทที่ลดลงอย่างเกินความคาดคิดใดๆ และความระทึกขวัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมา เมื่อ 10 ปีมาแล้ว เราเคยถามกันว่า เราได้บทเรียนใดมาบ้าง
บทเรียนนั้นนำไปสู่การปรับปรุงวิทยายุทธ์หรือเปล่า มีการฝึกปรือฝีมือหรือไม่ และพัฒนาจนได้กระบวนท่า สำหรับรับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือยัง
ไม่นานมานี้เอง คือปลายปี 2549 มีการสัมมนาเรื่องนี้ และวันนั้นทางการค่อนข้างมั่นใจว่า รับมือได้
มองดูสถานการณ์ถึงวันนี้ (19 กรกฎาคม 2550) ตอบได้เลยว่า
หนึ่ง รับมือไม่ได้
สอง การปรับปรุงวิทยายุทธ์ และฝึกปรือฝีมือ (ถ้ามี) ก็ยังทำได้ไม่ดีพอ กระบวนท่าในการรับมือกับเหตุการณ์ครั้งนี้ที่เชื่องช้า ลังเล บอกได้ว่าอ่านตลาดไม่ทะลุ ไม่พร้อมใจกันทำ
สาม ผู้ที่เกี่ยวข้องดูเหมือนไม่ได้เรียนรู้เหตุการณ์ปี 2540 และเหตุการณ์ที่ตามมาอย่างบทเรียนที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ แต่จะกล่าวถึงเหมือนเรื่องสยองขวัญที่ได้ยินแล้วกลัว ได้ยินแล้วพยายามผลักให้พ้นตนแบบคนเอาตัวรอดคนเดียว และจัดการในลักษณะที่ว่ามันเป็นความผิดพลาดที่อยากลืม
ความคิดลักษณะนี้ทำให้เรื่องราวปี 2540 เข้าไปซ่อนอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ แล้วออกมาหลอนเป็นระยะๆ
นโยบายการจัดการกับค่าเงินบาทเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้ที่เข้าใจเรื่องของตลาดนี้พูดกันในวงแคบ พูดกันเป็นการส่วนตัวเงียบๆ ไม่ใช่เรื่องที่สมควรจะพูดแนะนำนโยบายต่อทางการในที่สาธารณะ
ให้กลับไปดูก็ได้ว่า การประกาศนโยบาย 30% กลางเดือนธันวาคม 2549 และการหมุน ยู เทิร์น ในส่วนที่เกี่ยวกับตลาดหุ้น ก่อให้เกิดผลได้กับใคร และผลเสียกับอะไรบ้าง
ทุกวันนี้เวลาผ่านพ้นมาได้กว่า 6 เดือนแล้ว ทุนที่ไหลเข้าและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นยังดำรงอยู่ และกำลังจะหยุดไม่อยู่ ทำให้คำแนะนำที่ควรและเคยกระซิบกันด้วยความระมัดระวังถูกเปิดตูมตามในหน้าหนังสือพิมพ์
ที่บรรดาผู้มีตำแหน่งแห่งที่ในองค์กรต่างๆ และ "กูรู้" ทั้งหลาย ออกมาพูดในเวทีสาธารณะนี้ สื่อได้สองอย่าง คือ
หนึ่ง ไม่มีโอกาสสื่อให้ถึงทางการ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ในที่ลับหูลับตาสาธารณชนคนอ่านหนังสือพิมพ์ และดูโทรทัศน์กัน หรือ
สอง เคยเสนอ เคยหารือกันแล้ว แต่เข้าทำนอง บอกแล้วไม่ฟัง ฟังแล้วแต่ยังไม่เชื่อ หรือเชื่อแล้วแต่ยังไม่ทำ ก็เลยหมดความอดทน เพราะคิดว่าทนต่อไปจะยิ่งเสียหาย จึงต้องออกมา "ฟ้อง" กับสาธารณชน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงในที่สุด จากนโยบายที่ผิดพลาด หรือเชื่องช้า และไม่ทันเกม
ผู้เขียนเชื่อว่า บรรดาเหล่าผู้เกี่ยวข้องที่มีตำแหน่งทางการ น่าจะได้เคยเสนอแนะนโยบายอย่างถูกต้องตามช่องทาง ในที่เงียบๆ ไปแล้ว เหตุการณ์เช่นนี้จึงบ่งชี้อย่างเดียวเท่านั้น คือบ่งชี้ความอึดอัดคับข้องใจที่มากจนกระทั่ง ไม่เกรงใจธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว
และอาจจะไม่เชื่อมั่นนัก ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดการกับสถานการณ์ได้ ซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ
มีเรื่องหลายเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุผลข้อสอง จากที่ผู้เขียนได้รับฟังมาในวงการการเงินในฐานะคน "ข้างสังเวียน" เช่น
ผู้เชี่ยวชาญตลาดเงินตราต่างประเทศคนหนึ่งบอกว่า ไม่มีประเทศไหนต่อสู้ให้ค่าเงินของประเทศตนเองอ่อนกว่าที่ตลาดต้องการ แล้วขาดทุน จะขาดทุนได้ยังไงในเมื่อธนาคารกลางของใครก็พิมพ์เงินของประเทศตัวเองออกมา ใครอยากได้เท่าไหร่ก็พิมพ์ให้เขาไป เราถือเงินตราต่างประเทศไว้ สบายดี
ทำไมธนาคารชาติขาดทุน
ขาดทุนเพราะสู้แล้วถอย ถอยแล้วสู้อีก แต่ละครั้งจึงขาดทุนเมื่อคำนวณกลับมาเป็นเงินบาท
แถมยังไปกู้เงินที่ปล่อยออกไปแล้วกลับเข้ามาอีก เพราะไม่ยอมให้ดอกเบี้ยลงต่ำกว่าที่กำหนดเป็น
นโยบายเอาไว้ คือกำหนดดอกเบี้ยและกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนด้วย (อีกแล้ว)
ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งมาบอกผู้เขียนตั้งแต่ปีก่อน ตั้งแต่ธนาคารชาติเริ่มสะสมเงินตราต่างประเทศมากๆ ว่า ช่วยไปบอกใครที ให้รัฐวิสาหกิจชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศออกไปให้มากๆ กู้เงินบาทถูกกว่า รัฐวิสาหกิจจะได้ลดต้นทุนค่าดอกเบี้ยแล้วยังช่วยชาติ ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศดูไม่สูงมาก
คือต้องไม่หลอกตัวเองว่า ที่มีเงินตราต่างประเทศมากมายนั้น แปลว่าเรารวย ต้องมองให้รอบคอบก่อนว่า เรามีภาระหนี้ที่ไหนที่ยังไม่ได้เอามาคิดหรือเปล่า ไม่ใช่เป็นเศรษฐีที่เต็มไปด้วยเงินกู้และภาระหนี้ที่คนมองไม่เห็น
เมื่อมีโอกาสเจอใครที่ดูแลเรื่องหนี้สาธารณะหรือเรื่องรัฐวิสาหกิจก็จะถาม
ทุกครั้งจะได้รับคำตอบว่า ทำแล้ว ไม่มีอะไรให้ทำแล้ว ส่วนที่ยังเป็นหนี้ต่างประเทศอยู่ มีภาระผูกพันยังใช้คืนก่อนกำหนดไม่ได้
2-3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อได้ยินว่า ทำแล้วๆ เขาก็เสนอเพิ่มว่า ช่วยบอกให้รัฐบาลให้วิสาหกิจที่ต้องใช้เงินตราต่างประเทศในอนาคต ซื้อเงินไปกองรอไว้ซิ ดอกเบี้ยเมืองนอกแพงกว่าเมืองไทย และทำให้เงินสำรองลดลงอย่างสมเหตุสมผลด้วย
เดี๋ยวรัฐวิสาหกิจขาดทุน ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ธนาคารชาติเป็นคนกำหนดค่าเงินไม่ใช่หรือ ถ้าต่อไปเปลี่ยนนโยบายจนเขาขาดทุน ก็ชดเชยให้เขาซิ
เมื่อมีข้อเสนอแนะจากหนึ่งในสามสมาคมของ กกร. ทางหน้าหนังสือพิมพ์กลางเดือนกรกฎาคมว่า ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้ต่างประเทศ วันต่อมาก็มีตัวเลข (ทางหน้าหนังสือพิมพ์อีกนั่นแหละ) ว่ากระทรวงการคลัง จะขอความร่วมมือให้รัฐวิสาหกิจต่างๆ คืนหนี้ต่างประเทศ พร้อมรายชื่อรัฐวิสาหกิจและปริมาณหนี้
เอ๊ะ มันอะไรกัน เรื่องแบบนี้ควรทำเสร็จไปตั้งนานแล้วไม่ใช่หรือ ใครมีข้อมูลผิดพลาด หรือใครมีข้อมูลใหม่ หรือว่าทุกฝ่ายไม่เคยเห็นความจำเป็นในการเร่งรัดจัดการ แล้วที่มาพบกันบ่อยๆ ระหว่างรัฐมนตรีกับผู้ว่าการนั่น มาพูดอะไรกัน
มีข้อเสนอแนะหลุดออกมาหลายครั้งว่า น่าจะโอนเงินส่วนหนึ่งที่บริหารจัดการอยู่ในทุนสำรอง ไปลงทุนในต่างประเทศให้ดีขึ้น แบบสิงคโปร์ ที่รอดจากการถูกตำหนิโดยนักการเงินชาติตะวันตกว่าสะสมเงินสำรองเกินสมควร เพราะเขานำไปลงทุนในสิ่งที่เป็นผลผลิต เป็นการสร้างความมั่งคั่ง ไม่ใช่ค้าขายได้ดุลกับอเมริกา ได้เงินทุนจากต่างชาติ แล้วก็นำเงินกลับไปให้อเมริกากู้
การบริหารจัดการทุนสำรองด้วยการลงทุนทางตรงอื่นๆ ยังจะช่วยให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ได้ประโยชน์ต่อประเทศมากขึ้น และเป็นการนำร่องให้เอกชนไปลงทุนต่างประเทศด้วย เพราะศักยภาพการทำงานของทางการ และจำนวนเงินที่มีน่าจะทำให้ได้บริการที่ดีกว่า และการจะไปลงทุนต่างประเทศควรมียุทธศาสตร์ระดับชาติที่ชัดเจน
เรื่องนี้หยุดอยู่แค่ความคิด
นักการเงินเคยเล่าให้ฟัง ซึ่งผู้เขียนนำไปแทรกไว้ในสารคดีกึ่งนิยายเรื่อง "ห้องยุทธการ" ที่เริ่มลงพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ เมื่อมกราคม 2550 ว่า ประเทศของเราเปิดเสรีบัญชีเงินทุนเกินไป และตลาดทุนของเราก็เสรีเกินไป จนกระทั่งใครๆ ก็เข้ามาหากำไรได้ง่ายๆ เพราะเปิดเสรีผิดจุด แล้วตลาดหุ้นของเรายังบางเกินไปจนกระทั่งปั่นได้ง่ายๆ ตอนนี้ยิ่งสนุก ปั่นได้ทั้งตลาดเงินสดทั้งตลาดล่วงหน้า
นายธนาคารคนหนึ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่การเก็งกำไรเงินบาทไม่สิ้นสุดลงสักที ก็เพราะว่าครั้งแรกที่เข้ามาทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ธนาคารชาติสู้อยู่พักหนึ่งก็ถอย นักเก็งกำไรก็กำไรทั่วกัน
พวกนี้เป็นหมาล่าเนื้อ เมื่อเห็นกลุ่มแรกได้กำไร ก็มากันเป็นฝูง เงินทุนไหลเข้ารอบสองจึงมากขึ้น แล้วเขาก็ได้กำไรไปอีก ตลาดเมืองไทยหอมหวาน เราล่อนักเก็งกำไรด้วยผลงานของธนาคารกลางของเราเอง
สิ่งที่เราต้องการในเวลานี้คือตั้งโจทย์ให้ถูก แล้วเดินไปข้างหน้า งานกำลังยุ่งขนาดนี้ ไม่มีเวลาจะหมกมุ่นกังวลกับอดีต เวลาแห่งการศึกษาผ่านพ้นไปแล้ว ตอนนี้คือชีวิตจริงที่ต้องระดมสรรพกำลังแก้ปัญหา สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันสำคัญที่สุด เพราะในที่สุดมันจะเป็นอดีต จะเป็นบทเรียนให้คนในอนาคตได้ศึกษา
ต้องการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้ว่า ท่านทั้งหลายกำลังเขียนประวัติการเงินของเมืองไทย และเขียนเกียรติประวัติของตัวท่านเองพร้อมกันไปด้วย และนักประวัติศาสตร์ประเมินบุคคลจากความสามารถในตำแหน่ง
ตำแหน่งที่คุณเลือกได้ว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็น
ไม่มีเกียรติยศใดที่มาโดยปราศจากความภาระอันหนัก
เอาใจช่วยธนาคารชาติ และกระทรวงการคลัง และอยากจะสะกิดไว้ตรงนี้ว่า ไม่ว่าธนาคารชาติจะอยากเป็นอิสระยังไงก็ตาม ก็ต้องรู้ว่าขาดทุนขึ้นมาคราวใดก็ต้องเดือดร้อนกระทรวงการคลังทุกทีไป และถ้าทำพลาดพลั้งลงไป ก็ไม่พ้นว่าคนตัวเล็กๆ ทุกคนในประเทศต้องช่วยกันแบกรับภาระ
ตำแหน่งผู้ว่าการและตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นตำแหน่งที่สำคัญมากกับประชาชนทุกคน ต้องการความรอบคอบ ที่มากับใจที่เปิดกว้าง แล้วต่อจากนั้นก็ต้องการความกล้าหาญ และความเด็ดขาด
มีคนตั้งข้อสังเกตว่า วิกฤตคราวนี้ตกที่นั่งของนักเรียนทุนจากญี่ปุ่นต้องรับผิดชอบอีกแล้ว ทุกคนไม่ลืมว่าครั้งปี 2540 ผู้ว่าการเป็นนักเรียนทุนจากญี่ปุ่น คราวนี้ก็ใช่
ขอตั้งข้อสังเกตเสริมว่า วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นนั้น ต้องการร่วมกันคิด เมื่อตกลงร่วมกันได้แล้ว ต่างคนต่างลงมือรับผิดชอบในส่วนที่เป็นงานในหน้าที่ของตัว เราต้องไม่บิดเบือนการร่วมกันคิดเพื่อตกลงร่วมกัน ให้คงเหลือแค่รูปแบบ ที่ไร้เนื้อหา คือทำให้กลายเป็นการประชุม ประชุม และประชุม เพื่อบังคับ อ้อนวอน ชักจูง หรือข่มขู่ให้ผู้ร่วมประชุมเห็นพ้องกับจุดยืนของผู้มีอำนาจ และเราไม่ควรเข้าใจผิดคิดว่าการตกลงร่วมกัน หมายความว่าต่างคนต่างต้องมาทำงานเรื่องเดียวกัน แทนที่จะเป็นหน้าที่ไหนของใคร ก็ทำของตนให้ดีที่สุด
และประการสุดท้ายที่ขอฝากไว้ในวันนี้ก็คือ นักการเงินการคลัง คนที่กล้าหาญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การทำนโยบายการคลัง และอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทย ที่ได้รับการกล่าวถึงด้วยความเคารพเสมอมาก็เป็นนักเรียนญี่ปุ่น เหมือนกัน
หน้า 7
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 55
ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป (ตอนที่ 1)
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ใครก็ตามที่ติดตามตลาดเงินระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา จะพบกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างหนึ่ง คือ การเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น และเชื่อมโยงติดต่อกันง่ายขึ้น เช่น ในอาทิตย์ที่แล้ว ที่นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ (ที่รู้จักกันในนามปัญหาตลาดซับไพร์ม : sub-prime) ได้ฉุดให้ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงอย่างรุนแรง จนนักลงทุนข้ามชาติต่างพากันแห่ถอนเงินจากประเทศต่างๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และค่าเงินทั่วโลกปั่นป่วนกันไปหมด
เหตุการณ์ผันผวนดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เมื่อตอนต้นปีที่ตลาดหุ้นจีนร่วงลงอย่างรุนแรง ก็ได้ทำให้ตลาดหุ้นในประเทศอื่นๆ ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และเอเชียปรับตัวลดตามไปด้วย หลายคนอาจจะสงสัยว่า โลกการเงินในปัจจุบันเกิดอะไรขึ้น ทำไมเดี๋ยวนี้เมื่อตลาดหุ้นหรือตลาดเงินในประเทศหนึ่งไอหรือจาม ตลาดการเงินในประเทศอื่นๆ ที่แม้จะอยู่กันคนละขั้วโลก จึงติดหวัดงอมแงมตามไปด้วย
ก่อนที่จะเข้าใจว่า เหตุการณ์ความผันผวนในการเงินโลกข้างต้นเกิดขึ้นได้อย่างไร จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ที่มาที่ไปของระบบการเงินโลกในปัจจุบันมีความเป็นมาอย่างไร
หากย้อนเวลาไปดูพัฒนาการของการเงินระหว่างประเทศ คงต้องมีจุดเริ่มต้นก่อนว่าจะย้อนอดีตไปถึงจุดใด ซึ่งผมเห็นว่าโครงสร้างการเงินโลกที่ใช้อยู่กันในปัจจุบันนั้น ได้เริ่มก่อตัวขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สหรัฐ และพันธมิตรต่างๆ ในยุโรปได้พยายามออกแบบสถาปัตยกรรมการเงินของโลก (International Financial Architecture) เพื่อฟื้นฟูการเงินโลกที่ไร้เสถียรภาพในช่วงสงคราม ซึ่งในที่สุด ประเทศสหรัฐก็สามารถชักจูงให้พันธมิตรต่างๆ หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ร่วมกัน โดยให้ทุกประเทศผูกติดค่าเงินของตัวเองกับทองคำ แล้วทองคำก็จะถูกผูกติดกับดอลลาร์อีกทีหนึ่ง ดังนั้น ผลในทางปฏิบัติ ก็คือ ประเทศต่างๆ หันมาผูกติดกับดอลลาร์นั่นเอง
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศต่างๆ ที่เคยใช้ระบบมาตรฐานทองคำที่ผูกค่าเงินกับทองคำ และใช้ทองคำเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ จึงเริ่มหันมาใช้ดอลลาร์เป็นทุนสำรองแทน เพราะสะดวกในการชำระค่าสินค้าและโอนเงินระหว่างประเทศ เพียงแค่โทรเลข หรือ Telex ระหว่างธนาคารระหว่างประเทศก็เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขนทองลงเรือแล้วส่งข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรเหมือนในอดีต ดังนั้น ดอลลาร์จึงกลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของเกือบทุกประเทศทั่วโลกไปโดยปริยาย และกลายเป็นพาหนะสกุลเงิน (Vehicle Currency) ที่สามารถเคลื่อนที่ไปใช้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลก ใครจะเดินทางไปไหน ขอให้มีดอลลาร์ในกระเป๋าเถอะครับ ทุกประเทศยินดีรับแลกหมด
คราวนี้พอดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองของโลก ในทางปฏิบัติ สหรัฐจึงเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถพิมพ์ดอลลาร์ออกมาใช้ โดยไม่ต้องมีสินทรัพย์มาหนุนหลัง ตราบใดที่ทุกประเทศทั่วโลกยังต้องการใช้เงินดอลลาร์เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ ตรงนี้แหละครับ ที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลการเงินของโลก หรือ Global Financial Imbalance ในปัจจุบัน กล่าวคือ ทำให้สหรัฐสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้มากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะประเทศต่างๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ จนมีทุนสำรองระหว่างประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ค่อยมีทางเลือกในการลงทุนเท่าใด ในที่สุด ก็ต้องนำทุนสำรองไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ค่อนข้างปลอดภัยในสหรัฐ (เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ) ซึ่งก็คือการเข้าไปปล่อยกู้ชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐนั่นเอง
ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบภาวการณ์เศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันกับเศรษฐกิจไทยช่วงก่อนเกิดวิกฤติในปี 2540 จะพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ต่างกันเท่าไรเลย ในอดีตประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จนมาอยู่สูงถึงเกือบ 8% ในปี 2539 ซึ่งก็ไม่ต่างกับสหรัฐในปัจจุบันที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 10 และขาดดุลเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 7% ของ GDP ในปี 2549 นอกจากนั้น ปัญหาหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงก่อนปี 2540 ก็ไม่ต่างจากปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ซับไพร์มของสหรัฐในปัจจุบันเท่าไร
แต่ความแตกต่างที่ทำให้ไทยเจอวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่สหรัฐยังไม่เกิด เพราะนักลงทุนต่างชาติต่างๆ แห่ถอนเงินกู้ออกจากไทยในปี 2540 แต่ในปี 2550 นี้ ยังไม่มีนักลงทุนต่างชาติที่แห่ถอนเงินจากสหรัฐ ทั้งนี้ ก็อาจเป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงให้อเมริกากู้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ที่ไม่มีทางเลือกนำเงินทุนสำรองไปลงทุนในแหล่งอื่นเท่าไร นอกจากนั้น หากธนาคารกลางประเทศใหญ่ๆ ที่มีทุนสำรองอันดับหนึ่งและสองของโลก ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น แห่ถอนเงินจากสหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์ก็จะอ่อนตัวลงรวดเร็ว (ไม่ต่างกับที่บาทอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็วในปี 2540) ซึ่งการทำเช่นนี้ก็ยิ่งจะทำให้ทุนสำรองของตัวเอง (ที่ส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์) ด้อยค่าลงทันที และคงไม่ต่างกับการทุบหินใส่เท้าตัวเองเท่าไร
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธนาคารกลางในประเทศต่างๆ จะเป็นฝ่ายนำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ แต่ภาคเอกชนในสหรัฐที่ร่ำรวยมากขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตขึ้น กลับแห่กันนำเงินไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในสหรัฐ กองทุนเก็งกำไร Hedge Fund ต่างๆ จึงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในสหรัฐ เงินทุนระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางนำเข้ามาลงทุนในสหรัฐ จึงไหลย้อนกลับออกมาลงทุนในตลาดทุนตลาดเงิน ในประเทศเกิดใหม่อนาคตไกลทั้งหลาย (โดยเฉพาะในเอเชีย) เงินกองทุนพวกนี้แหละครับ ที่ทำให้ตลาดทุนตลาดเงินในประเทศต่างๆ ผันผวนกันสุดๆ ในปัจจุบันนี้ ... โปรดติดตามตอนต่อไปว่า กองทุนเหล่านี้สร้างความปั่นป่วนให้การเงินโลกได้อย่างไรในคอลัมน์มุมเอกฉบับหน้าครับ
--------------------------------------------------------------------------------
ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป (ตอนที่ 2)
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ในคอลัมน์มุมเอกฉบับที่แล้ว ผมได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบการเงินโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นต้นตอของความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนโลก ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ซับไพร์ม ในสหรัฐ ที่สร้างความปั่นป่วนให้ตลาดหุ้นและค่าเงินทั่วโลก ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของโครงสร้างการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินของโลก
ปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินของโลก เกิดจากโครงสร้างระบบการเงินของโลกในปัจจุบันที่ประเทศส่วนใหญ่ ต้องใช้ดอลลาร์เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ทำให้สหรัฐสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้มากและเป็นเวลานาน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ซึ่งมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ต่างไม่มีทางเลือกในการลงทุนมากนัก ต้องนำเงินทุนสำรองกลับมาปล่อยกู้ให้สหรัฐใช้จ่ายขาดดุลต่อไป
โดยไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield) ลดต่ำลงมาก ทำให้นักลงทุนและกองทุนเก็งกำไรต่างๆ พยายามย้ายเงินไปลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ทั้งหลาย รวมทั้งในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตลาดน้ำมัน ทองคำ และแพลทินัม
ยิ่งในโลกการเงินเสรีเช่นในปัจจุบันนี้ ที่กองทุนต่างๆ สามารถย้ายเงินลงทุนไปตลาดใด หรือในประเทศใดก็ได้ที่ให้ผลตอบแทนสูง เพียงแค่ไม่กี่นิ้วสัมผัสบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ นี่แหละครับ! ที่ทำให้ตลาดเงินตลาดทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงผันผวนได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต่างกับรถไฟเหาะตีลังกา
ความผันผวนทำให้ตลาดทุนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ถูกซ้ำเติมด้วย ปัญหาสภาพคล่องส่วนเกิน ในตลาดการเงินของโลก (Global Excess Liquidity) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ อัดฉีดสภาพคล่อง (พิมพ์ดอลลาร์) เข้าไปสู่ตลาดเงินจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วง 911 และในช่วงฟองสบู่ดอทคอมระเบิด จนทำให้บริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ต้องปิดกิจการลง ซึ่งเป็นที่มาให้ธนาคารกลางสหรัฐ ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2544-2547 เพื่อชะลอการตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐ
การที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐลดลงอย่างรวดเร็วจากที่อยู่สูงเกือบ 7% ในปี 2544 มาอยู่ที่เหลือประมาณ 1% กว่าๆ ในปี 2547 ได้สร้างปัญหาอีกด้านหนึ่ง คือ การใช้จ่ายเกินตัวของภาคเอกชนในสหรัฐ การที่ดอกเบี้ยลดต่ำมากจนเกือบติดดิน ทำให้คนอเมริกันยิ่งรูดปื๊ดบัตรเครดิตถนัดมือยิ่งขึ้น ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนของสหรัฐขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต่างๆ พากันหันมากู้เงินลงทุนขยายกิจการกันมากขึ้น
หากบริษัทไหนมีขีดจำกัดในการกู้เงิน ก็จะหันไปซื้อกิจการ (take-over) บริษัทที่มีเงินสดเยอะๆ และมีหนี้น้อยๆ เพื่อเป็นช่องทางในการกู้เงินให้บริษัทแม่ที่เข้าไปครอบงำกิจการ จนธุรกรรมที่เรียกว่า leverage buy-out กลายเป็นธุรกรรมยอดฮิตในสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนั้น การที่อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างรวดเร็ว ยังส่งผลให้คนอเมริกันต่างหันมากู้เงินซื้อบ้าน เพื่อเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ เป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาบ้านในสหรัฐเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวภายในเวลา 2-3 ปี ผู้คนต่างหันมาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยใช้บ้านหลังเดิมของตัวเองที่มีราคาสูงขึ้นไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้เงินมาซื้อบ้านหลังที่ 2 และ 3 ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ถึงพุพองขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ไม่ต่างกับที่เกิดในประเทศไทยในช่วงปี 2536-2539 เท่าใดนัก
ส่วนสถาบันการเงินต่างๆ ที่ปล่อยเงินกู้ให้คนอเมริกันไปเก็งกำไรซื้อบ้าน ต่างก็ไม่ค่อยคำนึงถึงความเสี่ยงว่า วันหนึ่งถ้าราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงแล้ว ราคาหลักประกันจะลดลงไม่คุ้มกับหนี้ที่ปล่อยไป เพราะได้ใช้ วิศวกรรมทางการเงิน (Financial Engineering) ในการขายหนี้เหล่านี้ออกจากบัญชีของตัวเองไปแล้ว โดยเฉพาะผ่านการแปลงหนี้เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) แล้วนำไปขายต่อให้นักลงทุนหรือกองทุนเก็งกำไรต่างๆ ที่กระหายต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่ตอนนี้ทุกคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว คือ ตราสารอนุพันธ์ Collateralized Debt Obligations (CDOs) เช่น การที่สถาบันการเงินสามารถนำสินเชื่อซื้อบ้านที่ปล่อยกู้แก่ลูกค้าชั้นดี (Prime Mortgage) และชั้นต่ำกว่ามาตรฐานที่มีความเสี่ยงสูง (Sub-prime Mortgage) ไปแปลงเป็นหลักทรัพย์ โดยมีรายได้จากการผ่อนส่งของผู้กู้เป็นสินทรัพย์หนุนหลัง (Underlying Asset)
ทั้งนี้ หาก CDOs มีรายได้จากผู้กู้ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานเป็นหลักทรัพย์หนุนหลังอยู่ ผลตอบแทนของหลักทรัพย์นี้จะต้องสูงตามไปด้วย เพื่อจูงใจให้นักลงทุน หรือกองทุนที่ชอบ high-risk high-return มาซื้อต่อไป
ปัญหา Sub-prime CDOs ที่สร้างความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลกอยู่ตอนนี้ เนื่องมาจาก มีกองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) จำนวนไม่น้อยที่ได้เข้ามาซื้อหลักทรัพย์ CDOs ประเภทนี้ ในขณะเดียวกัน ก็ยังไปลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงทั่วโลก คราวนี้พอฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เริ่มแตก ผู้กู้เงินประเภท sub-prime เริ่มชักดาบและไม่มีเงินมาชำระหนี้ หลักทรัพย์ CDOs ประเภท sub-prime จึงพลอยมีปัญหาไปด้วย ราคาหลักทรัพย์ CDOs ประเภทนี้ จึงตกระเนระนาดไม่มีใครต้องการ
ท้ายที่สุด เมื่อกองทุนเก็งกำไรต่างๆ ประสบปัญหากับการขาดทุนจากการลงทุนใน CDOs ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ จึงเริ่มแห่ถอนเงินออกจากกองทุน ทำให้กองทุนเหล่านี้จำเป็นต้องถอนการลงทุนที่กระจายอยู่ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก เพื่อหาเงินสดมาคืนผู้ถือหน่วยลงทุน ในขณะที่บางกองทุนที่เป็นกองทุนปิด (ไม่ให้ถอนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด) ก็จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ที่มีกำไรอยู่ เพื่อมาชดเชยกับการขาดทุนในการลงทุนใน CDOs ต่างๆ
นี่เป็นแค่ preview ของหนังเรื่องใหม่ เรื่อง "ความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลก" นะครับ โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า สวัสดีครับ
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ใครก็ตามที่ติดตามตลาดเงินระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา จะพบกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างหนึ่ง คือ การเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น และเชื่อมโยงติดต่อกันง่ายขึ้น เช่น ในอาทิตย์ที่แล้ว ที่นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ (ที่รู้จักกันในนามปัญหาตลาดซับไพร์ม : sub-prime) ได้ฉุดให้ดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงอย่างรุนแรง จนนักลงทุนข้ามชาติต่างพากันแห่ถอนเงินจากประเทศต่างๆ ส่งผลให้ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และค่าเงินทั่วโลกปั่นป่วนกันไปหมด
เหตุการณ์ผันผวนดังกล่าวข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เมื่อตอนต้นปีที่ตลาดหุ้นจีนร่วงลงอย่างรุนแรง ก็ได้ทำให้ตลาดหุ้นในประเทศอื่นๆ ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และเอเชียปรับตัวลดตามไปด้วย หลายคนอาจจะสงสัยว่า โลกการเงินในปัจจุบันเกิดอะไรขึ้น ทำไมเดี๋ยวนี้เมื่อตลาดหุ้นหรือตลาดเงินในประเทศหนึ่งไอหรือจาม ตลาดการเงินในประเทศอื่นๆ ที่แม้จะอยู่กันคนละขั้วโลก จึงติดหวัดงอมแงมตามไปด้วย
ก่อนที่จะเข้าใจว่า เหตุการณ์ความผันผวนในการเงินโลกข้างต้นเกิดขึ้นได้อย่างไร จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ที่มาที่ไปของระบบการเงินโลกในปัจจุบันมีความเป็นมาอย่างไร
หากย้อนเวลาไปดูพัฒนาการของการเงินระหว่างประเทศ คงต้องมีจุดเริ่มต้นก่อนว่าจะย้อนอดีตไปถึงจุดใด ซึ่งผมเห็นว่าโครงสร้างการเงินโลกที่ใช้อยู่กันในปัจจุบันนั้น ได้เริ่มก่อตัวขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สหรัฐ และพันธมิตรต่างๆ ในยุโรปได้พยายามออกแบบสถาปัตยกรรมการเงินของโลก (International Financial Architecture) เพื่อฟื้นฟูการเงินโลกที่ไร้เสถียรภาพในช่วงสงคราม ซึ่งในที่สุด ประเทศสหรัฐก็สามารถชักจูงให้พันธมิตรต่างๆ หันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ร่วมกัน โดยให้ทุกประเทศผูกติดค่าเงินของตัวเองกับทองคำ แล้วทองคำก็จะถูกผูกติดกับดอลลาร์อีกทีหนึ่ง ดังนั้น ผลในทางปฏิบัติ ก็คือ ประเทศต่างๆ หันมาผูกติดกับดอลลาร์นั่นเอง
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศต่างๆ ที่เคยใช้ระบบมาตรฐานทองคำที่ผูกค่าเงินกับทองคำ และใช้ทองคำเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ จึงเริ่มหันมาใช้ดอลลาร์เป็นทุนสำรองแทน เพราะสะดวกในการชำระค่าสินค้าและโอนเงินระหว่างประเทศ เพียงแค่โทรเลข หรือ Telex ระหว่างธนาคารระหว่างประเทศก็เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขนทองลงเรือแล้วส่งข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรเหมือนในอดีต ดังนั้น ดอลลาร์จึงกลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศของเกือบทุกประเทศทั่วโลกไปโดยปริยาย และกลายเป็นพาหนะสกุลเงิน (Vehicle Currency) ที่สามารถเคลื่อนที่ไปใช้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลก ใครจะเดินทางไปไหน ขอให้มีดอลลาร์ในกระเป๋าเถอะครับ ทุกประเทศยินดีรับแลกหมด
คราวนี้พอดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองของโลก ในทางปฏิบัติ สหรัฐจึงเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถพิมพ์ดอลลาร์ออกมาใช้ โดยไม่ต้องมีสินทรัพย์มาหนุนหลัง ตราบใดที่ทุกประเทศทั่วโลกยังต้องการใช้เงินดอลลาร์เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ ตรงนี้แหละครับ ที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลการเงินของโลก หรือ Global Financial Imbalance ในปัจจุบัน กล่าวคือ ทำให้สหรัฐสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้มากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะประเทศต่างๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ จนมีทุนสำรองระหว่างประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ค่อยมีทางเลือกในการลงทุนเท่าใด ในที่สุด ก็ต้องนำทุนสำรองไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ค่อนข้างปลอดภัยในสหรัฐ (เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ) ซึ่งก็คือการเข้าไปปล่อยกู้ชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐนั่นเอง
ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบภาวการณ์เศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันกับเศรษฐกิจไทยช่วงก่อนเกิดวิกฤติในปี 2540 จะพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ต่างกันเท่าไรเลย ในอดีตประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จนมาอยู่สูงถึงเกือบ 8% ในปี 2539 ซึ่งก็ไม่ต่างกับสหรัฐในปัจจุบันที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 10 และขาดดุลเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 7% ของ GDP ในปี 2549 นอกจากนั้น ปัญหาหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงก่อนปี 2540 ก็ไม่ต่างจากปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ซับไพร์มของสหรัฐในปัจจุบันเท่าไร
แต่ความแตกต่างที่ทำให้ไทยเจอวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่สหรัฐยังไม่เกิด เพราะนักลงทุนต่างชาติต่างๆ แห่ถอนเงินกู้ออกจากไทยในปี 2540 แต่ในปี 2550 นี้ ยังไม่มีนักลงทุนต่างชาติที่แห่ถอนเงินจากสหรัฐ ทั้งนี้ ก็อาจเป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงให้อเมริกากู้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ที่ไม่มีทางเลือกนำเงินทุนสำรองไปลงทุนในแหล่งอื่นเท่าไร นอกจากนั้น หากธนาคารกลางประเทศใหญ่ๆ ที่มีทุนสำรองอันดับหนึ่งและสองของโลก ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น แห่ถอนเงินจากสหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์ก็จะอ่อนตัวลงรวดเร็ว (ไม่ต่างกับที่บาทอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็วในปี 2540) ซึ่งการทำเช่นนี้ก็ยิ่งจะทำให้ทุนสำรองของตัวเอง (ที่ส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์) ด้อยค่าลงทันที และคงไม่ต่างกับการทุบหินใส่เท้าตัวเองเท่าไร
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธนาคารกลางในประเทศต่างๆ จะเป็นฝ่ายนำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ แต่ภาคเอกชนในสหรัฐที่ร่ำรวยมากขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตขึ้น กลับแห่กันนำเงินไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในสหรัฐ กองทุนเก็งกำไร Hedge Fund ต่างๆ จึงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในสหรัฐ เงินทุนระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางนำเข้ามาลงทุนในสหรัฐ จึงไหลย้อนกลับออกมาลงทุนในตลาดทุนตลาดเงิน ในประเทศเกิดใหม่อนาคตไกลทั้งหลาย (โดยเฉพาะในเอเชีย) เงินกองทุนพวกนี้แหละครับ ที่ทำให้ตลาดทุนตลาดเงินในประเทศต่างๆ ผันผวนกันสุดๆ ในปัจจุบันนี้ ... โปรดติดตามตอนต่อไปว่า กองทุนเหล่านี้สร้างความปั่นป่วนให้การเงินโลกได้อย่างไรในคอลัมน์มุมเอกฉบับหน้าครับ
--------------------------------------------------------------------------------
ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป (ตอนที่ 2)
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ในคอลัมน์มุมเอกฉบับที่แล้ว ผมได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบการเงินโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นต้นตอของความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนโลก ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ซับไพร์ม ในสหรัฐ ที่สร้างความปั่นป่วนให้ตลาดหุ้นและค่าเงินทั่วโลก ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของโครงสร้างการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินของโลก
ปัญหาความไม่สมดุลทางการเงินของโลก เกิดจากโครงสร้างระบบการเงินของโลกในปัจจุบันที่ประเทศส่วนใหญ่ ต้องใช้ดอลลาร์เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ทำให้สหรัฐสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้มากและเป็นเวลานาน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ซึ่งมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ต่างไม่มีทางเลือกในการลงทุนมากนัก ต้องนำเงินทุนสำรองกลับมาปล่อยกู้ให้สหรัฐใช้จ่ายขาดดุลต่อไป
โดยไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield) ลดต่ำลงมาก ทำให้นักลงทุนและกองทุนเก็งกำไรต่างๆ พยายามย้ายเงินไปลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ทั้งหลาย รวมทั้งในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตลาดน้ำมัน ทองคำ และแพลทินัม
ยิ่งในโลกการเงินเสรีเช่นในปัจจุบันนี้ ที่กองทุนต่างๆ สามารถย้ายเงินลงทุนไปตลาดใด หรือในประเทศใดก็ได้ที่ให้ผลตอบแทนสูง เพียงแค่ไม่กี่นิ้วสัมผัสบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ นี่แหละครับ! ที่ทำให้ตลาดเงินตลาดทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงผันผวนได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต่างกับรถไฟเหาะตีลังกา
ความผันผวนทำให้ตลาดทุนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ถูกซ้ำเติมด้วย ปัญหาสภาพคล่องส่วนเกิน ในตลาดการเงินของโลก (Global Excess Liquidity) ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ อัดฉีดสภาพคล่อง (พิมพ์ดอลลาร์) เข้าไปสู่ตลาดเงินจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วง 911 และในช่วงฟองสบู่ดอทคอมระเบิด จนทำให้บริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ต้องปิดกิจการลง ซึ่งเป็นที่มาให้ธนาคารกลางสหรัฐ ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2544-2547 เพื่อชะลอการตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐ
การที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐลดลงอย่างรวดเร็วจากที่อยู่สูงเกือบ 7% ในปี 2544 มาอยู่ที่เหลือประมาณ 1% กว่าๆ ในปี 2547 ได้สร้างปัญหาอีกด้านหนึ่ง คือ การใช้จ่ายเกินตัวของภาคเอกชนในสหรัฐ การที่ดอกเบี้ยลดต่ำมากจนเกือบติดดิน ทำให้คนอเมริกันยิ่งรูดปื๊ดบัตรเครดิตถนัดมือยิ่งขึ้น ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนของสหรัฐขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต่างๆ พากันหันมากู้เงินลงทุนขยายกิจการกันมากขึ้น
หากบริษัทไหนมีขีดจำกัดในการกู้เงิน ก็จะหันไปซื้อกิจการ (take-over) บริษัทที่มีเงินสดเยอะๆ และมีหนี้น้อยๆ เพื่อเป็นช่องทางในการกู้เงินให้บริษัทแม่ที่เข้าไปครอบงำกิจการ จนธุรกรรมที่เรียกว่า leverage buy-out กลายเป็นธุรกรรมยอดฮิตในสหรัฐในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนั้น การที่อัตราดอกเบี้ยลดลงอย่างรวดเร็ว ยังส่งผลให้คนอเมริกันต่างหันมากู้เงินซื้อบ้าน เพื่อเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ เป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาบ้านในสหรัฐเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวภายในเวลา 2-3 ปี ผู้คนต่างหันมาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยใช้บ้านหลังเดิมของตัวเองที่มีราคาสูงขึ้นไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้เงินมาซื้อบ้านหลังที่ 2 และ 3 ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ถึงพุพองขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ไม่ต่างกับที่เกิดในประเทศไทยในช่วงปี 2536-2539 เท่าใดนัก
ส่วนสถาบันการเงินต่างๆ ที่ปล่อยเงินกู้ให้คนอเมริกันไปเก็งกำไรซื้อบ้าน ต่างก็ไม่ค่อยคำนึงถึงความเสี่ยงว่า วันหนึ่งถ้าราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงแล้ว ราคาหลักประกันจะลดลงไม่คุ้มกับหนี้ที่ปล่อยไป เพราะได้ใช้ วิศวกรรมทางการเงิน (Financial Engineering) ในการขายหนี้เหล่านี้ออกจากบัญชีของตัวเองไปแล้ว โดยเฉพาะผ่านการแปลงหนี้เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) แล้วนำไปขายต่อให้นักลงทุนหรือกองทุนเก็งกำไรต่างๆ ที่กระหายต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่ตอนนี้ทุกคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว คือ ตราสารอนุพันธ์ Collateralized Debt Obligations (CDOs) เช่น การที่สถาบันการเงินสามารถนำสินเชื่อซื้อบ้านที่ปล่อยกู้แก่ลูกค้าชั้นดี (Prime Mortgage) และชั้นต่ำกว่ามาตรฐานที่มีความเสี่ยงสูง (Sub-prime Mortgage) ไปแปลงเป็นหลักทรัพย์ โดยมีรายได้จากการผ่อนส่งของผู้กู้เป็นสินทรัพย์หนุนหลัง (Underlying Asset)
ทั้งนี้ หาก CDOs มีรายได้จากผู้กู้ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานเป็นหลักทรัพย์หนุนหลังอยู่ ผลตอบแทนของหลักทรัพย์นี้จะต้องสูงตามไปด้วย เพื่อจูงใจให้นักลงทุน หรือกองทุนที่ชอบ high-risk high-return มาซื้อต่อไป
ปัญหา Sub-prime CDOs ที่สร้างความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลกอยู่ตอนนี้ เนื่องมาจาก มีกองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) จำนวนไม่น้อยที่ได้เข้ามาซื้อหลักทรัพย์ CDOs ประเภทนี้ ในขณะเดียวกัน ก็ยังไปลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงทั่วโลก คราวนี้พอฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เริ่มแตก ผู้กู้เงินประเภท sub-prime เริ่มชักดาบและไม่มีเงินมาชำระหนี้ หลักทรัพย์ CDOs ประเภท sub-prime จึงพลอยมีปัญหาไปด้วย ราคาหลักทรัพย์ CDOs ประเภทนี้ จึงตกระเนระนาดไม่มีใครต้องการ
ท้ายที่สุด เมื่อกองทุนเก็งกำไรต่างๆ ประสบปัญหากับการขาดทุนจากการลงทุนใน CDOs ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ จึงเริ่มแห่ถอนเงินออกจากกองทุน ทำให้กองทุนเหล่านี้จำเป็นต้องถอนการลงทุนที่กระจายอยู่ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก เพื่อหาเงินสดมาคืนผู้ถือหน่วยลงทุน ในขณะที่บางกองทุนที่เป็นกองทุนปิด (ไม่ให้ถอนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด) ก็จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ที่มีกำไรอยู่ เพื่อมาชดเชยกับการขาดทุนในการลงทุนใน CDOs ต่างๆ
นี่เป็นแค่ preview ของหนังเรื่องใหม่ เรื่อง "ความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลก" นะครับ โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า สวัสดีครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 56
ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2550
คอลัมน์มุมเอกวันนี้ คงจะต้องเขียนตอนจบของซีรีส์เรื่อง "ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับ การเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป" เสียที ปัญหาที่ผมนั่งครุ่นคิดอยู่นานก่อนลงมือเขียนคอลัมน์ฉบับนี้ คือ จะปิดเรื่องความผันผวนในตลาดเงินโลกอย่างไร เพราะเหตุการณ์การเงินโลกนี้ไม่มีวันจบ แถมยังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดทั้งวันและคืน แม้ขณะที่เรานอนหลับไปคืนหนึ่ง ตื่นเช้ามาการเงินโลกอาจจะเปลี่ยนไปชนิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ
หลังจากคิดอยู่นาน...ผมก็ได้ข้อสรุปว่า ผมจะเขียนบทความตอนจบนี้ ด้วยการทำนายทายทักดีกว่าว่า ในอนาคตข้างหน้าการเงินโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เอาแบบฟันธงเหมือนหมอดูดังๆ ไปเลยว่าอีก 1 ปี และ 10 ปี การเงินโลกจะเป็นอย่างไร
ตอนแรกก็ชั่งใจอยู่พอสมควร ว่าหาเรื่องใส่ตัวรึเปล่าเนี่ย เพราะไม่มีหมอดูที่ไหนหรอก ที่ฟันธงเดาอนาคตได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เอาเถอะ! ผมว่าอย่างน้อยก็คงเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย สำหรับการเตรียมตัวรองรับกับความผันผวนของการเงินโลกในอนาคต
ในระยะ 1 ปีที่จะถึงนี้ จากการดูพื้นฐานกรรมเก่าของเศรษฐกิจโลกแล้ว บ่งชี้ได้ชัดว่า การเงินของโลกคงจะผันผวนมากขึ้น เพื่อชดใช้กรรมเก่าจากปัญหาความไม่สมดุลการเงินของโลกในอดีต โดยเฉพาะปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการใช้จ่ายเกินตัวของประชาชน และรัฐบาลสหรัฐที่ดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ในขณะที่ทางการประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกลับนำเงินออมที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ กลับไปให้คนอเมริกันกู้ยืมใช้จ่ายในต้นทุนที่ต่ำ จนเปิดโอกาสให้กองทุน Hedge Fund ต่างๆ ใช้โอกาสนี้นำเครื่องมือทางการเงินมาดูดเงินเหล่านี้กลับไปเก็งกำไรในประเทศต่างๆ (ใครทำกรรมเก่ามาอย่างไร ไปอ่านรายละเอียดในคอลัมน์มุมเอก 2 ฉบับก่อนแล้วกันนะครับ)
ผลของกรรมที่ว่ามานี้ คงจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวชะลอลงแน่นอนในเร็ววันนี้ เนื่องจากคนที่ใช้จ่ายเกินตัวมาในอดีตจะเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะผู้บริโภคซึ่งเป็นคนสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐให้โตในช่วงที่ผ่านมา คงต้องกินใช้ลดลงจากรายได้ที่ลดลงและหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนนักลงทุนทั้งหลายที่ลงทุนเกินตัว โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์คงจะต้องประสบจากกรรมเก่า ที่สร้างบ้านออกมาเยอะเกินไปจนขายไม่ออก
ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐไม่ช้าไม่นาน ก็ต้องถูกบังคับให้ลดการใช้จ่ายลง เพราะหากยังดื้อไม่ปรับตัว ในที่สุด กรรมก็จะตามมาทันจากการไม่มีคนเชื่อถือมาปล่อยเงินให้กู้อยู่ดี ส่วนกองทุนนักเก็งกำไรทั้งหลาย คงจะประสบกับปัญหาขาดทุนจากกรรมหนักที่ไปปั่นราคาสินทรัพย์ต่างๆ ให้สูงเกินจริง
อ้าว! แล้วพวกประเทศอื่นๆ ไปทำกรรมอะไรละครับ แต่ต้องโดนผลกระทบจากการปรับตัวของเศรษฐกิจสหรัฐด้วย คำตอบจากลูกแก้ววิเศษ บอกว่า แม้พวกเราไม่ได้ทำกรรมหนัก แต่ก็มีส่วนสนับสนุนให้คนอื่นไปทำกรรมหนัก จนเกิดปัญหาความไม่สมดุลการเงินของโลก (แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม) ดังนั้น เราจึงต้องรับผลของกรรมบ้างจากตลาดเงินและตลาดทุนของโลกที่จะผันผวนมากขึ้น
แม้จะหนีกรรมเก่าไม่ได้ แต่เราสามารถทำกรรมเก่าให้เบาบางลงได้ โดยการรีบทำกรรมดี จับจ่ายใช้สอยและลงทุนอย่างระมัดระวัง และเลือกค้าขายกับกัลยาณมิตรประเทศ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่อนาคตไกลๆ ทั้งหลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้บ้าง
อย่างไรก็ดี ในที่สุดแล้ว การจะหันไปพึ่งพาคนอื่นแทนสหรัฐคงทำไม่ได้รวดเร็วนัก ดังนั้น สัจธรรมที่ดีที่สุดที่ควรนำมาปรับใช้ในเวลานี้ คือ "ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน" กล่าวคือ เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลง เราต้องหันมาเน้นการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้ในอนาคต (Productive Investment) ไม่ใช่หันมาเร่งบริโภค หรือลงทุนใน Unproductive Spending ที่ไม่เกิดประโยชน์ในอนาคต ไม่งั้นก็จะกลายเป็น "ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง"
ในระยะ 10 ปี ลูกแก้ววิเศษของผมยังไม่สามารถตอบได้ชัดว่า อนาคตการเงินโลกจะเป็นอย่างไร เพราะต้องขึ้นอยู่กับกรรมใหม่ที่จะได้กระทำขึ้นด้วย แต่สิ่งที่บอกเป็นรางๆ ได้คือ ขั้วเศรษฐกิจการเงินโลกน่าจะเริ่มเปลี่ยนจากตะวันตกมาอยู่ในตะวันออก โดยเฉพาะในเอเชีย เนื่องจากทรัพยากรพื้นฐานที่สะสมมาในอดีตชาติต่างบ่งชี้ไว้เช่นนั้น
ตัวอย่างเช่น ประชากรโลกส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดจะอยู่ในเอเชีย โดยในปัจจุบันนี้ จีนมีคนมากที่สุดในโลก และในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า หากดูอัตราการเกิดและการมีลูกของคนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะพบว่า ประเทศที่น่าจะมีประชากรมากที่สุดในอนาคตน่าจะเป็นอินเดีย ซึ่งก็ยังอยู่ในเอเชียอยู่ดี ดังนั้น กรรมดีที่ควรต้องรีบทำ คือ การพัฒนาคนในเอเชียให้นอกจากมีทั้งปริมาณแล้วยังมีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งเร่งสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียให้แน่นแฟ้นขึ้น จะได้ช่วยกันรองรับความผันผวนเศรษฐกิจจากนอกภูมิภาค
นอกจากนั้น หากพิจารณาทรัพยากรการเงินของโลกในปัจจุบัน ก็จะพบว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่ของโลก (มากกว่า 60%) ก็อยู่ในมือของทางการประเทศต่างๆ ในเอเชีย ปัญหาที่ผ่านมา ก็คือ พวกเราชาวเอเชีย ไม่ได้ใช้ทรัพยากรนี้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองเท่าไร แต่ในอนาคต หากสามารถนำทรัพยากรการเงินนี้ มาสร้างประโยชน์ให้กับภูมิภาคเราเองมากขึ้น ก็จะสามารถช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อรองรับความผันผวนของการเงินโลกได้
อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อนาคตเศรษฐกิจการเงินโลกจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครบอกได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับกรรมปัจจุบันและกรรมในอนาคตที่พวกเราในเอเชียจะร่วมมือกันทำขึ้น โดยส่วนตัว ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับชาติ หรือระดับโลก ใครกระทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี สวัสดีครับ
มุมเอก : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2550
คอลัมน์มุมเอกวันนี้ คงจะต้องเขียนตอนจบของซีรีส์เรื่อง "ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับ การเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป" เสียที ปัญหาที่ผมนั่งครุ่นคิดอยู่นานก่อนลงมือเขียนคอลัมน์ฉบับนี้ คือ จะปิดเรื่องความผันผวนในตลาดเงินโลกอย่างไร เพราะเหตุการณ์การเงินโลกนี้ไม่มีวันจบ แถมยังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดทั้งวันและคืน แม้ขณะที่เรานอนหลับไปคืนหนึ่ง ตื่นเช้ามาการเงินโลกอาจจะเปลี่ยนไปชนิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ
หลังจากคิดอยู่นาน...ผมก็ได้ข้อสรุปว่า ผมจะเขียนบทความตอนจบนี้ ด้วยการทำนายทายทักดีกว่าว่า ในอนาคตข้างหน้าการเงินโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เอาแบบฟันธงเหมือนหมอดูดังๆ ไปเลยว่าอีก 1 ปี และ 10 ปี การเงินโลกจะเป็นอย่างไร
ตอนแรกก็ชั่งใจอยู่พอสมควร ว่าหาเรื่องใส่ตัวรึเปล่าเนี่ย เพราะไม่มีหมอดูที่ไหนหรอก ที่ฟันธงเดาอนาคตได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เอาเถอะ! ผมว่าอย่างน้อยก็คงเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย สำหรับการเตรียมตัวรองรับกับความผันผวนของการเงินโลกในอนาคต
ในระยะ 1 ปีที่จะถึงนี้ จากการดูพื้นฐานกรรมเก่าของเศรษฐกิจโลกแล้ว บ่งชี้ได้ชัดว่า การเงินของโลกคงจะผันผวนมากขึ้น เพื่อชดใช้กรรมเก่าจากปัญหาความไม่สมดุลการเงินของโลกในอดีต โดยเฉพาะปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการใช้จ่ายเกินตัวของประชาชน และรัฐบาลสหรัฐที่ดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ในขณะที่ทางการประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกลับนำเงินออมที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ กลับไปให้คนอเมริกันกู้ยืมใช้จ่ายในต้นทุนที่ต่ำ จนเปิดโอกาสให้กองทุน Hedge Fund ต่างๆ ใช้โอกาสนี้นำเครื่องมือทางการเงินมาดูดเงินเหล่านี้กลับไปเก็งกำไรในประเทศต่างๆ (ใครทำกรรมเก่ามาอย่างไร ไปอ่านรายละเอียดในคอลัมน์มุมเอก 2 ฉบับก่อนแล้วกันนะครับ)
ผลของกรรมที่ว่ามานี้ คงจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวชะลอลงแน่นอนในเร็ววันนี้ เนื่องจากคนที่ใช้จ่ายเกินตัวมาในอดีตจะเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะผู้บริโภคซึ่งเป็นคนสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐให้โตในช่วงที่ผ่านมา คงต้องกินใช้ลดลงจากรายได้ที่ลดลงและหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนนักลงทุนทั้งหลายที่ลงทุนเกินตัว โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์คงจะต้องประสบจากกรรมเก่า ที่สร้างบ้านออกมาเยอะเกินไปจนขายไม่ออก
ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐไม่ช้าไม่นาน ก็ต้องถูกบังคับให้ลดการใช้จ่ายลง เพราะหากยังดื้อไม่ปรับตัว ในที่สุด กรรมก็จะตามมาทันจากการไม่มีคนเชื่อถือมาปล่อยเงินให้กู้อยู่ดี ส่วนกองทุนนักเก็งกำไรทั้งหลาย คงจะประสบกับปัญหาขาดทุนจากกรรมหนักที่ไปปั่นราคาสินทรัพย์ต่างๆ ให้สูงเกินจริง
อ้าว! แล้วพวกประเทศอื่นๆ ไปทำกรรมอะไรละครับ แต่ต้องโดนผลกระทบจากการปรับตัวของเศรษฐกิจสหรัฐด้วย คำตอบจากลูกแก้ววิเศษ บอกว่า แม้พวกเราไม่ได้ทำกรรมหนัก แต่ก็มีส่วนสนับสนุนให้คนอื่นไปทำกรรมหนัก จนเกิดปัญหาความไม่สมดุลการเงินของโลก (แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม) ดังนั้น เราจึงต้องรับผลของกรรมบ้างจากตลาดเงินและตลาดทุนของโลกที่จะผันผวนมากขึ้น
แม้จะหนีกรรมเก่าไม่ได้ แต่เราสามารถทำกรรมเก่าให้เบาบางลงได้ โดยการรีบทำกรรมดี จับจ่ายใช้สอยและลงทุนอย่างระมัดระวัง และเลือกค้าขายกับกัลยาณมิตรประเทศ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคต่างๆ ที่อนาคตไกลๆ ทั้งหลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐได้บ้าง
อย่างไรก็ดี ในที่สุดแล้ว การจะหันไปพึ่งพาคนอื่นแทนสหรัฐคงทำไม่ได้รวดเร็วนัก ดังนั้น สัจธรรมที่ดีที่สุดที่ควรนำมาปรับใช้ในเวลานี้ คือ "ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน" กล่าวคือ เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลง เราต้องหันมาเน้นการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้ในอนาคต (Productive Investment) ไม่ใช่หันมาเร่งบริโภค หรือลงทุนใน Unproductive Spending ที่ไม่เกิดประโยชน์ในอนาคต ไม่งั้นก็จะกลายเป็น "ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง"
ในระยะ 10 ปี ลูกแก้ววิเศษของผมยังไม่สามารถตอบได้ชัดว่า อนาคตการเงินโลกจะเป็นอย่างไร เพราะต้องขึ้นอยู่กับกรรมใหม่ที่จะได้กระทำขึ้นด้วย แต่สิ่งที่บอกเป็นรางๆ ได้คือ ขั้วเศรษฐกิจการเงินโลกน่าจะเริ่มเปลี่ยนจากตะวันตกมาอยู่ในตะวันออก โดยเฉพาะในเอเชีย เนื่องจากทรัพยากรพื้นฐานที่สะสมมาในอดีตชาติต่างบ่งชี้ไว้เช่นนั้น
ตัวอย่างเช่น ประชากรโลกส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดจะอยู่ในเอเชีย โดยในปัจจุบันนี้ จีนมีคนมากที่สุดในโลก และในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า หากดูอัตราการเกิดและการมีลูกของคนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะพบว่า ประเทศที่น่าจะมีประชากรมากที่สุดในอนาคตน่าจะเป็นอินเดีย ซึ่งก็ยังอยู่ในเอเชียอยู่ดี ดังนั้น กรรมดีที่ควรต้องรีบทำ คือ การพัฒนาคนในเอเชียให้นอกจากมีทั้งปริมาณแล้วยังมีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งเร่งสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียให้แน่นแฟ้นขึ้น จะได้ช่วยกันรองรับความผันผวนเศรษฐกิจจากนอกภูมิภาค
นอกจากนั้น หากพิจารณาทรัพยากรการเงินของโลกในปัจจุบัน ก็จะพบว่า เงินทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนใหญ่ของโลก (มากกว่า 60%) ก็อยู่ในมือของทางการประเทศต่างๆ ในเอเชีย ปัญหาที่ผ่านมา ก็คือ พวกเราชาวเอเชีย ไม่ได้ใช้ทรัพยากรนี้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองเท่าไร แต่ในอนาคต หากสามารถนำทรัพยากรการเงินนี้ มาสร้างประโยชน์ให้กับภูมิภาคเราเองมากขึ้น ก็จะสามารถช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อรองรับความผันผวนของการเงินโลกได้
อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อนาคตเศรษฐกิจการเงินโลกจะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครบอกได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับกรรมปัจจุบันและกรรมในอนาคตที่พวกเราในเอเชียจะร่วมมือกันทำขึ้น โดยส่วนตัว ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับชาติ หรือระดับโลก ใครกระทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี สวัสดีครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 57
นโยบายการเงิน
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550
นโยบายการเงินของประเทศไทยขณะนี้ เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากโดยเฉพาะแรงผลักดันจากภาคอุตสาหกรรม ให้จัดการกับค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจจริง "อยู่ได้" ซึ่งจะทำให้เข้าใจกันผิดไปหมดว่า ความเป็นอยู่ของภาคเศรษฐกิจจริงนั้น ถูกกำหนดโดยนโยบายการเงิน
ความอยู่รอดและความมั่งคั่งของภาคเศรษฐกิจจริงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันจริง ขึ้นอยู่กับการพัฒนาผลิตภาพ (productivity) การเข้าใจว่าภาคอุตสาหกรรมหรือภาคการส่งออกของไทย จะต้องพึ่งพามาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นความเข้าใจที่ผิด
หน้าที่หลักของธนาคารกลางทุกประเทศ คือ การรักษาเสถียรภาพของราคาและระบบการเงิน หรือพูดง่ายๆ คือการทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำ (1-2% ต่อปี) ทั้งนี้เพื่อให้ธนบัตร (เงินตรา) ที่ธนาคารกลางพิมพ์ออกมาให้เรานำไปใช้เป็น "เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" นั้นทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) เป็นสินทรัพย์ที่สะสมได้ (store of value) และเป็นหน่วยเพื่อวัดมูลค่า (unit of account) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่วิธีการที่จะนำไปสู่เสถียรภาพของราคานั้นมีอยู่ 2-3 วิธี สำหรับประเทศไทย ในอดีตนั้นจะอาศัยการผูกค่าเงินบาท เอาไว้กับเงินสกุลหลักของโลก (เช่นเงินดอลลาร์) ทั้งนี้หากธปท.สามารถตรึงค่าเงินบาทให้ผูกติดกับดอลลาร์อย่างคงที่ได้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ก็แปลว่าหากเงินเฟ้อในสหรัฐเท่ากับ 3% ต่อปี เงินเฟ้อในประเทศไทยก็จะต้องเท่ากับ 3% ต่อปีด้วยเช่นเดียวกัน การผูกขาดค่าเงินบาทกับเงินดอลลาร์เป็นการนำเอานโยบายการเงินของไทย ไปผูกเอาไว้กับนโยบายการเงินของสหรัฐนั่นเอง เช่น หากสหรัฐต้องการลดสภาพคล่อง โดยการปรับดอกเบี้ยขึ้น ไทยก็ต้องทำตาม
ทำไมจึงจะต้องนำเอานโยบายการเงินของไทยไปอิงกับนโยบายการเงินของสหรัฐ ในหลักการ ประเทศขนาดเล็กที่กำลังพัฒนา อาจไม่มีความน่าเชื่อถือและธนาคารกลางเองก็อาจถูกนักการเงินแทรกแซงให้ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ประเทศขาดวินัยทางการเงินเกิดปัญหาเงินเฟ้อไม่หยุดหย่อน ดังนั้นการนำเอาค่าเงินของประเทศ ไปผูกเอาไว้กับเงินสกุลหลักที่มีนโยบายการเงินอิสระที่น่าเชื่อถือ ก็จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะประกันว่า ประเทศจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีวินัย
นอกจากนั้นหากเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีการค้า-ขายกับต่างประเทศในสัดส่วนต่อจีดีพีที่สูง ก็อาจจะเชื่อได้ว่าการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ดังกล่าว จะช่วยลดความผันผวนของราคาได้อีกด้วย แต่ตรงนี้ประสบการณ์ในอดีตไม่ค่อยจะชี้ชัดมากนัก เพราะหากเศรษฐกิจโลกมีปัญหาเงินเฟ้อไทยต้องเผชิญปัญหาเดียวกัน
ที่สำคัญคือการรักษาวินัยของการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและมี 3-4 ครั้งแล้วที่ประเทศไทยต้องลดค่าเงินบาท และการลดลงแต่ละครั้งก็สร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเสียหายใหญ่หลวงในปี 2540 ทำให้ต้องทบทวนว่านโยบายการเงินที่เหมาะสมนั้นควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งธปท.ก็ได้ตัดสินใจเลือกนโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อ แทนการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเช่นที่เคยทำมาก่อนหน้าหลายสิบปี
นโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อนั้นถือได้ว่าสะท้อนความต้องการที่จะให้ประเทศไทย มีนโยบายการเงินที่เป็นอิสระ ไม่ต้องผูกเอาไว้กับสหรัฐ ซึ่งผมไม่ได้ยินดีด้วยเพราะประเด็น "รักชาติ" แต่เห็นด้วยเพราะมีความชัดเจนและตรงไปตรงมา ที่สำคัญคือ หนึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือของธปท.เอง และสองเป็นนโยบายที่สะท้อนว่า ต้องการให้เงินทุนสามารถไหลเข้า-ออกได้โดยเสรี
ประเด็นหลังนี้ต้องอธิบายในเชิงทฤษฎีของ Robert Mundell ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เพราะผลงานทางวิชาการด้านอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเงินสกุลยูโร แต่สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับนโยบายการเงินของไทยนั้น เป็นผลงานทางวิชาการของ Mundell ก่อนหน้าเมื่อ 45 ปีมาแล้ว กล่าวคือหากประเทศเปิดเสรีให้เงินทุนไหลเข้า-ออกโดยเสรี และหากจะตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่แล้ว นโยบายการเงินก็จะขาดประสิทธิภาพ เช่น
หากธปท.ต้องการแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยการปรับดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการไหลเข้าของเงินทุน เพราะดอกเบี้ยในประเทศปรับสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยโลก เป็นการเพิ่มสภาพคล่องในประเทศ ซึ่งจะสวนทางกับความต้องการทางนโยบาย
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 2536-2539 ซึ่งธปท.ปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจก็ไม่ได้ลดความร้อนแรงเพราะบริษัทต่างๆ ก็ได้ยืมเงินทุนจากต่างประเทศ ที่คิดดอกเบี้ย ต่ำกว่าดอกเบี้ยในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินพอกพูนและกลายเป็นสาเหตุหลักของวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ดังนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนกรอบนโยบายการเงินมาเป็นการตั้งเป้าเงินเฟ้อ ซึ่งสมมติว่าประเทศไทยมีปัญหาเงินเฟ้อทำให้ ธปท.ต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น ผลที่จะตามมาคือการไหลเข้าของเงินทุน ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันของเงินเฟ้อเพราะราคาสินค้านำเข้าจะถูกลงและสินค้าส่งออกจะลดลง ทำให้สามารถหันมาผลิตเพื่อขายสินค้าในประเทศได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเงินเฟ้อ เช่นกัน
จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินที่อิงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่นั้น จะกดดันให้ธปท.ต้องปรับสภาพคล่อง และดอกเบี้ยในประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาพคล่องและดอกเบี้ยในสหรัฐ กล่าวคืออัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นเสาหลัก และดอกเบี้ยและเงินเฟ้อจะต้องปรับขึ้น-ลงเพื่อให้ระบบนี้คงอยู่ต่อไป
ในทางตรงกันข้ามการนำเอาอัตราเงินเฟ้อมาเป็นเสาหลักนั้น ดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องเป็นฝ่ายปรับตัว ในหลักการแล้วการทำให้อัตราเงินเฟ้อมี เสถียรภาพและอยู่ที่ระดับต่ำนั้น จะเป็นประโยชน์กับส่วนรวมมากที่สุด แต่ผู้ที่ทำการค้า - ขายกับต่างประเทศจะต้องรับภาระกับอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพน้อยลง
ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงมิใช่การเลือกระหว่างภาคเศรษฐกิจจริงกับภาคการเงิน แต่เป็นการเลือกระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ แต่เงินเฟ้อที่จะต้องผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ดีธปท.ส่งสัญญาณให้เข้าใจว่าธปท.จะสามารถทำได้ทั้ง 2 อย่างคือ อัตราแลกเปลี่ยนก็มีเสถียรภาพ และอัตราเงินเฟ้อก็มีเสถียรภาพ ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ดังนั้นหากพิจารณาจากแง่มุมที่ธปท.ต้องการให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ทั้งสอง ก็จะไม่มีวันยกเลิกมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนที่มีอยู่
ปัญหาคือ เมื่อควบคุมการไหลเข้า-ออกของเงินทุนก็จะทำให้การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนทำได้ยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องไปหวังว่าเมื่อการเมืองมีเสถียรภาพแล้วการลงทุนก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วครับ
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550
นโยบายการเงินของประเทศไทยขณะนี้ เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากโดยเฉพาะแรงผลักดันจากภาคอุตสาหกรรม ให้จัดการกับค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจจริง "อยู่ได้" ซึ่งจะทำให้เข้าใจกันผิดไปหมดว่า ความเป็นอยู่ของภาคเศรษฐกิจจริงนั้น ถูกกำหนดโดยนโยบายการเงิน
ความอยู่รอดและความมั่งคั่งของภาคเศรษฐกิจจริงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันจริง ขึ้นอยู่กับการพัฒนาผลิตภาพ (productivity) การเข้าใจว่าภาคอุตสาหกรรมหรือภาคการส่งออกของไทย จะต้องพึ่งพามาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นความเข้าใจที่ผิด
หน้าที่หลักของธนาคารกลางทุกประเทศ คือ การรักษาเสถียรภาพของราคาและระบบการเงิน หรือพูดง่ายๆ คือการทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำ (1-2% ต่อปี) ทั้งนี้เพื่อให้ธนบัตร (เงินตรา) ที่ธนาคารกลางพิมพ์ออกมาให้เรานำไปใช้เป็น "เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" นั้นทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) เป็นสินทรัพย์ที่สะสมได้ (store of value) และเป็นหน่วยเพื่อวัดมูลค่า (unit of account) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่วิธีการที่จะนำไปสู่เสถียรภาพของราคานั้นมีอยู่ 2-3 วิธี สำหรับประเทศไทย ในอดีตนั้นจะอาศัยการผูกค่าเงินบาท เอาไว้กับเงินสกุลหลักของโลก (เช่นเงินดอลลาร์) ทั้งนี้หากธปท.สามารถตรึงค่าเงินบาทให้ผูกติดกับดอลลาร์อย่างคงที่ได้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ก็แปลว่าหากเงินเฟ้อในสหรัฐเท่ากับ 3% ต่อปี เงินเฟ้อในประเทศไทยก็จะต้องเท่ากับ 3% ต่อปีด้วยเช่นเดียวกัน การผูกขาดค่าเงินบาทกับเงินดอลลาร์เป็นการนำเอานโยบายการเงินของไทย ไปผูกเอาไว้กับนโยบายการเงินของสหรัฐนั่นเอง เช่น หากสหรัฐต้องการลดสภาพคล่อง โดยการปรับดอกเบี้ยขึ้น ไทยก็ต้องทำตาม
ทำไมจึงจะต้องนำเอานโยบายการเงินของไทยไปอิงกับนโยบายการเงินของสหรัฐ ในหลักการ ประเทศขนาดเล็กที่กำลังพัฒนา อาจไม่มีความน่าเชื่อถือและธนาคารกลางเองก็อาจถูกนักการเงินแทรกแซงให้ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ประเทศขาดวินัยทางการเงินเกิดปัญหาเงินเฟ้อไม่หยุดหย่อน ดังนั้นการนำเอาค่าเงินของประเทศ ไปผูกเอาไว้กับเงินสกุลหลักที่มีนโยบายการเงินอิสระที่น่าเชื่อถือ ก็จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะประกันว่า ประเทศจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีวินัย
นอกจากนั้นหากเป็นประเทศขนาดเล็กที่มีการค้า-ขายกับต่างประเทศในสัดส่วนต่อจีดีพีที่สูง ก็อาจจะเชื่อได้ว่าการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ดังกล่าว จะช่วยลดความผันผวนของราคาได้อีกด้วย แต่ตรงนี้ประสบการณ์ในอดีตไม่ค่อยจะชี้ชัดมากนัก เพราะหากเศรษฐกิจโลกมีปัญหาเงินเฟ้อไทยต้องเผชิญปัญหาเดียวกัน
ที่สำคัญคือการรักษาวินัยของการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและมี 3-4 ครั้งแล้วที่ประเทศไทยต้องลดค่าเงินบาท และการลดลงแต่ละครั้งก็สร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเสียหายใหญ่หลวงในปี 2540 ทำให้ต้องทบทวนว่านโยบายการเงินที่เหมาะสมนั้นควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งธปท.ก็ได้ตัดสินใจเลือกนโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อ แทนการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเช่นที่เคยทำมาก่อนหน้าหลายสิบปี
นโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อนั้นถือได้ว่าสะท้อนความต้องการที่จะให้ประเทศไทย มีนโยบายการเงินที่เป็นอิสระ ไม่ต้องผูกเอาไว้กับสหรัฐ ซึ่งผมไม่ได้ยินดีด้วยเพราะประเด็น "รักชาติ" แต่เห็นด้วยเพราะมีความชัดเจนและตรงไปตรงมา ที่สำคัญคือ หนึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือของธปท.เอง และสองเป็นนโยบายที่สะท้อนว่า ต้องการให้เงินทุนสามารถไหลเข้า-ออกได้โดยเสรี
ประเด็นหลังนี้ต้องอธิบายในเชิงทฤษฎีของ Robert Mundell ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เพราะผลงานทางวิชาการด้านอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเงินสกุลยูโร แต่สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับนโยบายการเงินของไทยนั้น เป็นผลงานทางวิชาการของ Mundell ก่อนหน้าเมื่อ 45 ปีมาแล้ว กล่าวคือหากประเทศเปิดเสรีให้เงินทุนไหลเข้า-ออกโดยเสรี และหากจะตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่แล้ว นโยบายการเงินก็จะขาดประสิทธิภาพ เช่น
หากธปท.ต้องการแก้ปัญหาเงินเฟ้อโดยการปรับดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการไหลเข้าของเงินทุน เพราะดอกเบี้ยในประเทศปรับสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยโลก เป็นการเพิ่มสภาพคล่องในประเทศ ซึ่งจะสวนทางกับความต้องการทางนโยบาย
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 2536-2539 ซึ่งธปท.ปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจก็ไม่ได้ลดความร้อนแรงเพราะบริษัทต่างๆ ก็ได้ยืมเงินทุนจากต่างประเทศ ที่คิดดอกเบี้ย ต่ำกว่าดอกเบี้ยในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินพอกพูนและกลายเป็นสาเหตุหลักของวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ดังนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนกรอบนโยบายการเงินมาเป็นการตั้งเป้าเงินเฟ้อ ซึ่งสมมติว่าประเทศไทยมีปัญหาเงินเฟ้อทำให้ ธปท.ต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น ผลที่จะตามมาคือการไหลเข้าของเงินทุน ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันของเงินเฟ้อเพราะราคาสินค้านำเข้าจะถูกลงและสินค้าส่งออกจะลดลง ทำให้สามารถหันมาผลิตเพื่อขายสินค้าในประเทศได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเงินเฟ้อ เช่นกัน
จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินที่อิงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่นั้น จะกดดันให้ธปท.ต้องปรับสภาพคล่อง และดอกเบี้ยในประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาพคล่องและดอกเบี้ยในสหรัฐ กล่าวคืออัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นเสาหลัก และดอกเบี้ยและเงินเฟ้อจะต้องปรับขึ้น-ลงเพื่อให้ระบบนี้คงอยู่ต่อไป
ในทางตรงกันข้ามการนำเอาอัตราเงินเฟ้อมาเป็นเสาหลักนั้น ดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องเป็นฝ่ายปรับตัว ในหลักการแล้วการทำให้อัตราเงินเฟ้อมี เสถียรภาพและอยู่ที่ระดับต่ำนั้น จะเป็นประโยชน์กับส่วนรวมมากที่สุด แต่ผู้ที่ทำการค้า - ขายกับต่างประเทศจะต้องรับภาระกับอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพน้อยลง
ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงมิใช่การเลือกระหว่างภาคเศรษฐกิจจริงกับภาคการเงิน แต่เป็นการเลือกระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ แต่เงินเฟ้อที่จะต้องผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ดีธปท.ส่งสัญญาณให้เข้าใจว่าธปท.จะสามารถทำได้ทั้ง 2 อย่างคือ อัตราแลกเปลี่ยนก็มีเสถียรภาพ และอัตราเงินเฟ้อก็มีเสถียรภาพ ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ดังนั้นหากพิจารณาจากแง่มุมที่ธปท.ต้องการให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ทั้งสอง ก็จะไม่มีวันยกเลิกมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนที่มีอยู่
ปัญหาคือ เมื่อควบคุมการไหลเข้า-ออกของเงินทุนก็จะทำให้การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนทำได้ยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องไปหวังว่าเมื่อการเมืองมีเสถียรภาพแล้วการลงทุนก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 58
การบริหารความเสี่ยงทางการเงินในทศวรรษหน้า
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ผมได้ร่วมงานสัมมนาวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อ 4 ตุลาคม 2550 จึงขอนำแนวคิดของผมมาสรุปให้อ่านกันดังนี้ครับ
หัวข้อของการสัมมนา "การบริหารความเสี่ยงทางการเงินในทศวรรษหน้า" และบทความต่างๆ ที่นำเสนอให้ความรู้สึกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่มีภัยอันตรายจากการไหลเข้า-ออกของเงินทุน ที่ดูเสมือนว่าจะทะลักเข้ามาในประเทศไทย หรือไหลออกจากประเทศไทยได้อย่างฉับพลัน ซึ่งจะทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรง และเราเองก็ยังไม่ได้เตรียมรับมือเอาไว้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงทำให้ต้อง 1.ระแวงเงินทุน 2.เพ่งเล็งเงินทุน และ 3.หากดูท่าไม่ดีก็จะต้องควบคุมและแม้กระทั่งปฏิเสธเงินทุน
ความรู้สึกข้างต้นเป็นความรู้สึกที่ลึกๆ แล้ว มีสมมติฐานว่าเงินทุนนั้นไหลเข้า-ออกอย่างไร้เหตุผล หรือเกิดจากความต้องการที่จะเก็งกำไร โดยไร้ทั้งจริยธรรมและความถูกต้องทางเศรษฐกิจ มีบางคนมาถามผมว่า พวก Hedge Fund นี้ เป็นเครื่องมือของ CIA ที่เข้ามาโจมตีไทย เพราะเรากำลังจะรุ่งเรืองเกินไปใช่หรือไม่
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการไหลเข้า-ออกของเงินทุนนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากมีความเชื่อเช่นข้างต้น นโยบายก็จะต้องระแวง และกีดกันการไหลเข้า-ออกของเงินทุนอยู่ร่ำไป หากมาพิจารณาดูว่ารากเง้าของโลกาภิวัตน์ในเชิงของระบบการเงินระหว่างประเทศคืออะไร ก็จะต้องพูดว่าสืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการด้านการสื่อสาร และศักยภาพของการคิดคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้นักการเงินสามารถ
1. มีข้อมูลครบถ้วนที่เป็น real time และต่อเนื่อง
2. อาศัยข้อมูลบวกกับวิชาการทางสถิติ คำนวณความเสี่ยงในลักษณะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
3. ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การแสวงหากำไร
ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมทางการเงินนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วตามพัฒนาการของเทคโนโลยี การแพร่ขยายของทุนนิยม และการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ สภาพคล่องของโลกที่บริหารจัดการโดยธนาคารกลาง และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้น อาจมีสัดส่วนเพียง 10% ของสภาพคล่องทั้งหมดของโลก
ส่วนอีก 90% นั้น เป็นสภาพคล่องทางการเงินที่ "สร้าง" โดยภาคเอกชนนอกกรอบของการควบคุมโดยธนาคารกลาง ผ่านธนาคารพาณิชย์คือ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ securitization (ที่สามารถซื้อ-ขายกันได้โดยสะดวก) ซึ่งประเมินว่า มีสัดส่วนประมาณ 10% ของสภาพคล่องทั้งหมด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ อนุพันธ์ต่างๆ ที่ประเมินกันว่า มูลค่าโดยรวมมีสูงถึง 415 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 8 เท่าของจีดีพีของโลก และเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ของสภาพคล่องทางการเงินทั้งหมด
ทั้งนี้ จะต้องเข้าใจว่าการขยายตัวของการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์และอนุพันธ์นั้น เป็นการตอบสนองความต้องการของระบบการเงิน ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง หรือการกระจายเพื่อตัดแบ่งความเสี่ยงมากไปให้กับผู้ที่พร้อมจะรับความเสี่ยงมาก และการกระจายความเสี่ยงน้อย ไปให้ผู้ที่ต้องการความเสี่ยงน้อย อีกประเด็นที่สำคัญ คือการเพิ่มสภาพคล่องของการลงทุน ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าสนใจของการลงทุน เพราะเมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้นความเสี่ยงก็ต้องลดน้อยลง
ดังนั้น ในหลักการรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว จึงส่งเสริมวิวัฒนาการทางการเงิน เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน ธุรกรรมทางการเงิน จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และที่โตเป็นเงาตามตัว ก็คือขนาดและปริมาณของกองทุนที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งกำลังทำให้ประเทศขนาดเล็กๆ อย่างไทย มีความวิตกกังวลอย่างมาก
วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและศักยภาพของคอมพิวเตอร์ ยังทำให้กองทุนต่างๆ สามารถมองเห็นถึงโอกาส ในการทำกำไร จากการปรับตัวที่ไม่สมบูรณ์ในตลาด เช่น ตราสารในประเทศหนึ่งให้ผลตอบแทนสูง และแม้จะมีความเสี่ยง แต่หากมีความสัมพันธ์ทางสถิติในทางเดียวกัน กับตราสารอีกประเทศหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ก็จะเป็นโอกาสให้กองทุน Hedge Fund เข้าไปเก็งกำไรโดย short ตราสารจากประเทศที่สอง และนำเงินมาซื้อตราสารประเทศที่หนึ่ง เป็นต้น
การลงทุนแบบนี้ คือตัวอย่างของการลงทุนที่ประกันความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนดี จึงมีการทำกันมาก แต่เนื่องจากมีการใช้อนุพันธ์และการกู้ยืมเงินมาลงทุน โดยการหมุนเวียนของธุรกรรมจะเร็ว ทำให้ตลาดมีความผันผวน และหากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึง
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างฉับพลัน ก็จะมีความเสี่ยงว่าตลาดจะตอบสนองอย่างรุนแรงและฉับพลัน เช่น การที่ประเทศไทยประกาศใช้นโยบายตั้งสำรอง 30% และธนาคารกลางสหรัฐลดดอกเบี้ยลง 0.5% ดังนั้น แทนที่จะมองว่าเงินทุนจะไหลเข้า-ออกอย่างควบคุมได้ยาก ทำให้เราต้องตั้งป้อม เพื่อควบคุมมิให้ความผันผวนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ผมกลับมองว่ายุคโลกาภิวัตน์ทางการเงิน คือยุคที่ผู้กำหนดนโยบายถูกวินัยของตลาดกำกับดูแล อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและหากไม่ระมัดระวัง ก็อาจกลายเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดความผันผวนทางการเงิน ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของนโยบายอาจจะมิใช่การตั้งใจควบคุมกำกับให้เงินทุนไหลเข้า-ออกอย่างมีเสถียรภาพ แต่เป็นการดำเนินนโยบายให้ตลาดมั่นใจว่า นโยบายมีความคงเส้นคงวาและไม่ฝืนปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เพราะการไหลของเงินและธุรกรรมทางการเงินนั้น จะเป็นตัวเร่งประสิทธิภาพของตลาด (accelerate market efficiency) หากมีจุดใดที่ขาดดุลยภาพ การไหลของเงินทุนก็จะพยายามนำให้กลับไปสู่ดุลยภาพโดยเร็ว
ในกรณีของภาคการผลิตนั้นการเก็งกำไรดังกล่าวอาจทำได้ยาก แต่ในกรณีของธุรกรรมทางการเงินจะทำได้ง่ายกว่า เพราะภาคเอกชนในยุคโลกาภิวัตน์ มีศักยภาพสูงกว่าธนาคารกลางของประเทศเล็ก เช่น หากธนาคารกลาง พยุงให้ค่าเงินแข็งเกินจริง ก็จะทำให้ธนาคารกลางสูญเสียทุนสำรองไปจนหมด หรือหากธนาคารกลางกดเงินมิให้แข็งค่าตามสภาวะจริง ธนาคารกลางก็จะต้องซื้อทุนสำรองในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่ธนาคารกลางในเอเชียกำลังทำอยู่ในขณะนี้
สรุปว่าในยุคโลกาภิวัตน์ทางการเงินนั้น ต้องระวังมิให้นโยบายหรือมาตรการของรัฐ กลายเป็นต้นเหตุของการสร้างความผันผวน ของระบบการเงิน และหากตั้งใจที่จะควบคุมความผันผวน โดยฝืนธรรมชาติของตลาด ก็จะมีต้นทุนที่สูงมาก ดังนั้น การสร้างเสถียรภาพในยุคโลกาภิวัตน์ เราต้องเตรียมความพร้อมของเรา คือ การสร้างความแข็งแกร่ง และยืดหยุ่นให้กับระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลกระทบจากความผันผวนของเงินไหล-เข้าออก กระทบต่อเราน้อยที่สุดครับ
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 08 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ผมได้ร่วมงานสัมมนาวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อ 4 ตุลาคม 2550 จึงขอนำแนวคิดของผมมาสรุปให้อ่านกันดังนี้ครับ
หัวข้อของการสัมมนา "การบริหารความเสี่ยงทางการเงินในทศวรรษหน้า" และบทความต่างๆ ที่นำเสนอให้ความรู้สึกว่า ยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่มีภัยอันตรายจากการไหลเข้า-ออกของเงินทุน ที่ดูเสมือนว่าจะทะลักเข้ามาในประเทศไทย หรือไหลออกจากประเทศไทยได้อย่างฉับพลัน ซึ่งจะทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรง และเราเองก็ยังไม่ได้เตรียมรับมือเอาไว้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงทำให้ต้อง 1.ระแวงเงินทุน 2.เพ่งเล็งเงินทุน และ 3.หากดูท่าไม่ดีก็จะต้องควบคุมและแม้กระทั่งปฏิเสธเงินทุน
ความรู้สึกข้างต้นเป็นความรู้สึกที่ลึกๆ แล้ว มีสมมติฐานว่าเงินทุนนั้นไหลเข้า-ออกอย่างไร้เหตุผล หรือเกิดจากความต้องการที่จะเก็งกำไร โดยไร้ทั้งจริยธรรมและความถูกต้องทางเศรษฐกิจ มีบางคนมาถามผมว่า พวก Hedge Fund นี้ เป็นเครื่องมือของ CIA ที่เข้ามาโจมตีไทย เพราะเรากำลังจะรุ่งเรืองเกินไปใช่หรือไม่
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการไหลเข้า-ออกของเงินทุนนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากมีความเชื่อเช่นข้างต้น นโยบายก็จะต้องระแวง และกีดกันการไหลเข้า-ออกของเงินทุนอยู่ร่ำไป หากมาพิจารณาดูว่ารากเง้าของโลกาภิวัตน์ในเชิงของระบบการเงินระหว่างประเทศคืออะไร ก็จะต้องพูดว่าสืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการด้านการสื่อสาร และศักยภาพของการคิดคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้นักการเงินสามารถ
1. มีข้อมูลครบถ้วนที่เป็น real time และต่อเนื่อง
2. อาศัยข้อมูลบวกกับวิชาการทางสถิติ คำนวณความเสี่ยงในลักษณะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
3. ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การแสวงหากำไร
ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมทางการเงินนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วตามพัฒนาการของเทคโนโลยี การแพร่ขยายของทุนนิยม และการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ สภาพคล่องของโลกที่บริหารจัดการโดยธนาคารกลาง และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้น อาจมีสัดส่วนเพียง 10% ของสภาพคล่องทั้งหมดของโลก
ส่วนอีก 90% นั้น เป็นสภาพคล่องทางการเงินที่ "สร้าง" โดยภาคเอกชนนอกกรอบของการควบคุมโดยธนาคารกลาง ผ่านธนาคารพาณิชย์คือ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ securitization (ที่สามารถซื้อ-ขายกันได้โดยสะดวก) ซึ่งประเมินว่า มีสัดส่วนประมาณ 10% ของสภาพคล่องทั้งหมด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ อนุพันธ์ต่างๆ ที่ประเมินกันว่า มูลค่าโดยรวมมีสูงถึง 415 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 8 เท่าของจีดีพีของโลก และเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ของสภาพคล่องทางการเงินทั้งหมด
ทั้งนี้ จะต้องเข้าใจว่าการขยายตัวของการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์และอนุพันธ์นั้น เป็นการตอบสนองความต้องการของระบบการเงิน ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง หรือการกระจายเพื่อตัดแบ่งความเสี่ยงมากไปให้กับผู้ที่พร้อมจะรับความเสี่ยงมาก และการกระจายความเสี่ยงน้อย ไปให้ผู้ที่ต้องการความเสี่ยงน้อย อีกประเด็นที่สำคัญ คือการเพิ่มสภาพคล่องของการลงทุน ซึ่งเป็นการเพิ่มความน่าสนใจของการลงทุน เพราะเมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้นความเสี่ยงก็ต้องลดน้อยลง
ดังนั้น ในหลักการรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว จึงส่งเสริมวิวัฒนาการทางการเงิน เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน ธุรกรรมทางการเงิน จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และที่โตเป็นเงาตามตัว ก็คือขนาดและปริมาณของกองทุนที่เกิดขึ้น เพื่อดำเนินธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งกำลังทำให้ประเทศขนาดเล็กๆ อย่างไทย มีความวิตกกังวลอย่างมาก
วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและศักยภาพของคอมพิวเตอร์ ยังทำให้กองทุนต่างๆ สามารถมองเห็นถึงโอกาส ในการทำกำไร จากการปรับตัวที่ไม่สมบูรณ์ในตลาด เช่น ตราสารในประเทศหนึ่งให้ผลตอบแทนสูง และแม้จะมีความเสี่ยง แต่หากมีความสัมพันธ์ทางสถิติในทางเดียวกัน กับตราสารอีกประเทศหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ก็จะเป็นโอกาสให้กองทุน Hedge Fund เข้าไปเก็งกำไรโดย short ตราสารจากประเทศที่สอง และนำเงินมาซื้อตราสารประเทศที่หนึ่ง เป็นต้น
การลงทุนแบบนี้ คือตัวอย่างของการลงทุนที่ประกันความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนดี จึงมีการทำกันมาก แต่เนื่องจากมีการใช้อนุพันธ์และการกู้ยืมเงินมาลงทุน โดยการหมุนเวียนของธุรกรรมจะเร็ว ทำให้ตลาดมีความผันผวน และหากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึง
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างฉับพลัน ก็จะมีความเสี่ยงว่าตลาดจะตอบสนองอย่างรุนแรงและฉับพลัน เช่น การที่ประเทศไทยประกาศใช้นโยบายตั้งสำรอง 30% และธนาคารกลางสหรัฐลดดอกเบี้ยลง 0.5% ดังนั้น แทนที่จะมองว่าเงินทุนจะไหลเข้า-ออกอย่างควบคุมได้ยาก ทำให้เราต้องตั้งป้อม เพื่อควบคุมมิให้ความผันผวนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ผมกลับมองว่ายุคโลกาภิวัตน์ทางการเงิน คือยุคที่ผู้กำหนดนโยบายถูกวินัยของตลาดกำกับดูแล อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและหากไม่ระมัดระวัง ก็อาจกลายเป็นต้นเหตุของการทำให้เกิดความผันผวนทางการเงิน ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของนโยบายอาจจะมิใช่การตั้งใจควบคุมกำกับให้เงินทุนไหลเข้า-ออกอย่างมีเสถียรภาพ แต่เป็นการดำเนินนโยบายให้ตลาดมั่นใจว่า นโยบายมีความคงเส้นคงวาและไม่ฝืนปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เพราะการไหลของเงินและธุรกรรมทางการเงินนั้น จะเป็นตัวเร่งประสิทธิภาพของตลาด (accelerate market efficiency) หากมีจุดใดที่ขาดดุลยภาพ การไหลของเงินทุนก็จะพยายามนำให้กลับไปสู่ดุลยภาพโดยเร็ว
ในกรณีของภาคการผลิตนั้นการเก็งกำไรดังกล่าวอาจทำได้ยาก แต่ในกรณีของธุรกรรมทางการเงินจะทำได้ง่ายกว่า เพราะภาคเอกชนในยุคโลกาภิวัตน์ มีศักยภาพสูงกว่าธนาคารกลางของประเทศเล็ก เช่น หากธนาคารกลาง พยุงให้ค่าเงินแข็งเกินจริง ก็จะทำให้ธนาคารกลางสูญเสียทุนสำรองไปจนหมด หรือหากธนาคารกลางกดเงินมิให้แข็งค่าตามสภาวะจริง ธนาคารกลางก็จะต้องซื้อทุนสำรองในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่ธนาคารกลางในเอเชียกำลังทำอยู่ในขณะนี้
สรุปว่าในยุคโลกาภิวัตน์ทางการเงินนั้น ต้องระวังมิให้นโยบายหรือมาตรการของรัฐ กลายเป็นต้นเหตุของการสร้างความผันผวน ของระบบการเงิน และหากตั้งใจที่จะควบคุมความผันผวน โดยฝืนธรรมชาติของตลาด ก็จะมีต้นทุนที่สูงมาก ดังนั้น การสร้างเสถียรภาพในยุคโลกาภิวัตน์ เราต้องเตรียมความพร้อมของเรา คือ การสร้างความแข็งแกร่ง และยืดหยุ่นให้กับระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลกระทบจากความผันผวนของเงินไหล-เข้าออก กระทบต่อเราน้อยที่สุดครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 59
เรื่องของดอกเบี้ย
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตัดสินใจคงดอกเบี้ยนโยบาย (ดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร 1 วัน) เอาไว้ที่ 3.25% ซึ่งผิดคาดของภัทรที่นึกว่า จะลดดอกเบี้ยลง 0.25% ทั้งนี้โดย กนง.ให้เหตุผลว่า ความเสี่ยงเงินเฟ้อจะปรับสูงขึ้นมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และแนวโน้มเศรษฐกิจก็ดูเหมือนว่า จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อหลังนี้อาจเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันบ้าง เพราะแม้การบริโภคจะกระเตื้องขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีมากนัก และการลงทุนภาคเอกชนก็ยังติดลบอยู่ โดยภัทรคาดการณ์ว่า การลงทุนเอกชนในปีนี้จะไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ทั้งๆ ที่ปีนี้เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวได้ดีอยู่มากถึงเกือบ 5% และได้ขยายตัวสูงเช่นนี้มาติดต่อกัน 3 ปีแล้ว สรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขยายตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีเป็นพิเศษ
อีกเรื่องหนึ่ง ที่ กนง.ถูกนักข่าวถาม ก็คือทำไมดอกเบี้ยนโยบายลดลงมา 1.75% แล้วในปีนี้ แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ยังไม่ได้ปรับลดลงมากนัก ซึ่งคำตอบคือธนาคารมีสถานะทางการเงิน และความสามารถในการปรับลดดอกเบี้ยแตกต่างกัน ประกอบกับความระมัดระวังที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร เมื่อเผชิญกับการชะลอตัวลงของกำลังซื้อในประเทศ และความเป็นห่วงผลกระทบจากปัญหา Subprime ของสหรัฐ
แต่มีอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ลดลงมากนัก คือมาตรการสำรอง 30% ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างประเทศ ไม่นำเงินทุนเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของไทย (เพราะจะต้องถูกบังคับให้ตั้งสำรอง 20% หรือทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ไม่น่าลงทุนในประเทศไทย) และเมื่อเราปฏิเสธอุปสงค์ ผลคือราคาตราสารหนี้ในประเทศไทยก็ตกต่ำลง หรืออีกนัยหนึ่ง คือตราสารหนี้ของไทยต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นต้นทุนของผู้ที่ออกตราสาร (ได้แก่ บริษัทต่างๆ) และยังช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ สามารถตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ได้ในระดับที่สูงอีกด้วย
หากดูจากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยระยะยาวของไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี อยู่ที่ 3.5% และได้ปรับขึ้นมาโดยตลอดมาอยู่ที่ 4.8% ในขณะนี้ กล่าวคือหากดอกเบี้ยระยะยาวยังปรับตัวขึ้นเช่นนี้ ก็ยากที่ดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับลดลงได้มากนัก แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะให้ดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี เพียง 2.25% เท่านั้น เพราะบริษัทต่างๆ จะไม่มีทางเลือกอื่นๆ มากนัก จริงอยู่บริษัทขนาดใหญ่ๆ เท่านั้นที่จะออกพันธบัตรได้ แต่หากมีทางเลือกให้บริษัทเหล่านี้พึ่งพา สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ลดลง ก็จะเพิ่มโอกาสที่ดอกเบี้ยเงินกู้จะสามารถปรับลดลงได้
นอกจากนั้น กนง.ก็ยังชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปีนั้น เมื่อหักเงินเฟ้อออกไปแล้ว จะเหลือเพียง 0.14% ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า กนง.อาจจะไม่อยากปรับลดดอกเบี้ยลงไปอีกแล้ว เพราะจะส่งผลให้ดอกเบี้ยจริงติดลบทำให้การออมลดลง ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าการจะอาศัยนโยบายการเงินช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต คงจะทำได้ในขอบเขตที่จำกัดอย่างยิ่ง จึงได้มีการกล่าวถึงการอาศัยนโยบายการคลัง
แต่นโยบายการคลังก็ดูเหมือนว่า จะผลักดันกันอย่างเต็มที่แล้วเช่นกัน เพราะรัฐบาลได้ทำนโยบายการคลังแบบขาดดุลค่อนข้างสูง (คือขาดดุล 1.7-1.8% ของจีดีพี) ติดต่อกัน 2 ปี และได้เร่งการเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้สูงถึง 94% ในปีงบประมาณ 2550 ที่เพิ่งหมดไป และยังมีมาตรการเพื่อเร่งรัดการระบายการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม-ธันวาคม 2550) อย่างต่อเนื่องอีกด้วย จึงสรุปได้ว่ารัฐบาลรู้สึกว่าได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้แล้วและมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2551
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการส่งออกอย่างมาก หากพิจารณาจากตัวเลขของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะพบว่าจีดีพีในครึ่งแรกของปีนี้ ที่ขยายตัวไป 4.3% นั้น 3.5% (หรือ 80%) มาจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ และภาครัฐผลักดันให้ขยายตัวอีก 1% แปลว่า ภาคเอกชนโดยลำพังนั้นถดถอยลงเล็กน้อยในครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศจึงรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดี และเมื่อรัฐบาลบอกว่าจีดีพีโต 4% จึงทำให้ขัดต่อความรู้สึก
แต่ประเด็นที่สำคัญ คือแนวโน้มข้างหน้าจะดีขึ้นจริงหรือไม่ คำตอบคือ ภัทรคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจภายในประเทศจะดีขึ้นบ้าง เห็นได้จากตารางข้างล่าง ซึ่งประเมินว่าเศรษฐกิจในครึ่งหลังจะขยายตัวได้ประมาณ 4% โดยเศรษฐกิจภายในประเทศน่าจะกระเตื้องขึ้น และน่าจะมีส่วนทำให้จีดีพีโตได้ 2.0% (หรือครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของจีดีพี) และภาครัฐก็ยังเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ ขณะที่แรงส่งจากการส่งออกจะลดลง (เหลือประมาณ 1%)
นอกนั้นคาดการณ์การสะสมสต็อกน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากมีการปรับลดสต็อกลงอย่างต่อเนื่องเกือบ 2 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถามว่าการคาดการณ์นี้จะผิดพลาดได้ตรงไหนมากที่สุด ก็คงจะเป็นการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของสต็อกสินค้า และการลงทุนของภาคเอกชนครับ
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ตัดสินใจคงดอกเบี้ยนโยบาย (ดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร 1 วัน) เอาไว้ที่ 3.25% ซึ่งผิดคาดของภัทรที่นึกว่า จะลดดอกเบี้ยลง 0.25% ทั้งนี้โดย กนง.ให้เหตุผลว่า ความเสี่ยงเงินเฟ้อจะปรับสูงขึ้นมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และแนวโน้มเศรษฐกิจก็ดูเหมือนว่า จะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อหลังนี้อาจเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันบ้าง เพราะแม้การบริโภคจะกระเตื้องขึ้น แต่ก็ยังไม่ดีมากนัก และการลงทุนภาคเอกชนก็ยังติดลบอยู่ โดยภัทรคาดการณ์ว่า การลงทุนเอกชนในปีนี้จะไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย ทั้งๆ ที่ปีนี้เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวได้ดีอยู่มากถึงเกือบ 5% และได้ขยายตัวสูงเช่นนี้มาติดต่อกัน 3 ปีแล้ว สรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ขยายตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีเป็นพิเศษ
อีกเรื่องหนึ่ง ที่ กนง.ถูกนักข่าวถาม ก็คือทำไมดอกเบี้ยนโยบายลดลงมา 1.75% แล้วในปีนี้ แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ยังไม่ได้ปรับลดลงมากนัก ซึ่งคำตอบคือธนาคารมีสถานะทางการเงิน และความสามารถในการปรับลดดอกเบี้ยแตกต่างกัน ประกอบกับความระมัดระวังที่เพิ่มขึ้นของธนาคาร เมื่อเผชิญกับการชะลอตัวลงของกำลังซื้อในประเทศ และความเป็นห่วงผลกระทบจากปัญหา Subprime ของสหรัฐ
แต่มีอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ลดลงมากนัก คือมาตรการสำรอง 30% ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างประเทศ ไม่นำเงินทุนเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของไทย (เพราะจะต้องถูกบังคับให้ตั้งสำรอง 20% หรือทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ไม่น่าลงทุนในประเทศไทย) และเมื่อเราปฏิเสธอุปสงค์ ผลคือราคาตราสารหนี้ในประเทศไทยก็ตกต่ำลง หรืออีกนัยหนึ่ง คือตราสารหนี้ของไทยต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นต้นทุนของผู้ที่ออกตราสาร (ได้แก่ บริษัทต่างๆ) และยังช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ สามารถตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ได้ในระดับที่สูงอีกด้วย
หากดูจากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยระยะยาวของไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี อยู่ที่ 3.5% และได้ปรับขึ้นมาโดยตลอดมาอยู่ที่ 4.8% ในขณะนี้ กล่าวคือหากดอกเบี้ยระยะยาวยังปรับตัวขึ้นเช่นนี้ ก็ยากที่ดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับลดลงได้มากนัก แม้ว่าธนาคารพาณิชย์จะให้ดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปี เพียง 2.25% เท่านั้น เพราะบริษัทต่างๆ จะไม่มีทางเลือกอื่นๆ มากนัก จริงอยู่บริษัทขนาดใหญ่ๆ เท่านั้นที่จะออกพันธบัตรได้ แต่หากมีทางเลือกให้บริษัทเหล่านี้พึ่งพา สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ลดลง ก็จะเพิ่มโอกาสที่ดอกเบี้ยเงินกู้จะสามารถปรับลดลงได้
นอกจากนั้น กนง.ก็ยังชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ดอกเบี้ยเงินฝาก 1 ปีนั้น เมื่อหักเงินเฟ้อออกไปแล้ว จะเหลือเพียง 0.14% ซึ่งทำให้ตีความได้ว่า กนง.อาจจะไม่อยากปรับลดดอกเบี้ยลงไปอีกแล้ว เพราะจะส่งผลให้ดอกเบี้ยจริงติดลบทำให้การออมลดลง ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าการจะอาศัยนโยบายการเงินช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต คงจะทำได้ในขอบเขตที่จำกัดอย่างยิ่ง จึงได้มีการกล่าวถึงการอาศัยนโยบายการคลัง
แต่นโยบายการคลังก็ดูเหมือนว่า จะผลักดันกันอย่างเต็มที่แล้วเช่นกัน เพราะรัฐบาลได้ทำนโยบายการคลังแบบขาดดุลค่อนข้างสูง (คือขาดดุล 1.7-1.8% ของจีดีพี) ติดต่อกัน 2 ปี และได้เร่งการเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้สูงถึง 94% ในปีงบประมาณ 2550 ที่เพิ่งหมดไป และยังมีมาตรการเพื่อเร่งรัดการระบายการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม-ธันวาคม 2550) อย่างต่อเนื่องอีกด้วย จึงสรุปได้ว่ารัฐบาลรู้สึกว่าได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้แล้วและมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดในปี 2551
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการส่งออกอย่างมาก หากพิจารณาจากตัวเลขของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะพบว่าจีดีพีในครึ่งแรกของปีนี้ ที่ขยายตัวไป 4.3% นั้น 3.5% (หรือ 80%) มาจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ และภาครัฐผลักดันให้ขยายตัวอีก 1% แปลว่า ภาคเอกชนโดยลำพังนั้นถดถอยลงเล็กน้อยในครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมผู้ที่ทำธุรกิจภายในประเทศจึงรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดี และเมื่อรัฐบาลบอกว่าจีดีพีโต 4% จึงทำให้ขัดต่อความรู้สึก
แต่ประเด็นที่สำคัญ คือแนวโน้มข้างหน้าจะดีขึ้นจริงหรือไม่ คำตอบคือ ภัทรคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจภายในประเทศจะดีขึ้นบ้าง เห็นได้จากตารางข้างล่าง ซึ่งประเมินว่าเศรษฐกิจในครึ่งหลังจะขยายตัวได้ประมาณ 4% โดยเศรษฐกิจภายในประเทศน่าจะกระเตื้องขึ้น และน่าจะมีส่วนทำให้จีดีพีโตได้ 2.0% (หรือครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของจีดีพี) และภาครัฐก็ยังเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญ ขณะที่แรงส่งจากการส่งออกจะลดลง (เหลือประมาณ 1%)
นอกนั้นคาดการณ์การสะสมสต็อกน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากมีการปรับลดสต็อกลงอย่างต่อเนื่องเกือบ 2 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถามว่าการคาดการณ์นี้จะผิดพลาดได้ตรงไหนมากที่สุด ก็คงจะเป็นการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของสต็อกสินค้า และการลงทุนของภาคเอกชนครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โพสต์ที่ 60
ค่าเงินบาท : ข้อเท็จจริงที่ประชาชนควรทราบ
คอลัมน์ คลื่นความคิด
โดย ทรงธรรม ปิ่นโต
มติชนรายวัน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10908
เป้าหมายของแบงก์ชาติคือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยดำเนินนโยบายการเงิน เงินทุนเคลื่อนย้าย และบริหารอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับพอสมควร ใกล้เคียงกับศักยภาพที่ประเทศควรที่จะผลิตได้ และที่สำคัญคือต้องมีเสถียรภาพ
ทิศทางค่าเงินบาทอ่อน หรือแข็ง มีทั้งกลุ่มคนที่ได้และเสียเสมอ การพยายามทำให้เงินบาทแข็งหรืออ่อนกว่าที่ควรจะเป็น ก็เหมือนกับการบิดเบือนตลาดที่จะไม่ส่งผลดีในระยะยาว หน้าที่ของธนาคารกลางที่ดีจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า สามารถทำเงินบาทให้อ่อนหรือแข็ง
ขณะนี้เรามีข้อมูลของปี 2550 แล้ว 11 เดือน และเชื่อว่าในปี 2550 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวได้ใกล้ร้อยละ 5 โดยการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 18 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อยังคงไม่สูงกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าของเราแข่งขันกับเขาได้
ซึ่งแน่นอนว่า เป็นผลงานร่วมกันของทั้งภาครัฐและเอกชน สะท้อนให้เราเห็นว่า การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่ผ่านมาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคได้ดีพอสมควร
ข้อเท็จจริงประการแรก: ธรรมชาติของอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ หนึ่งหน่วย เช่น 33 บาทต่อดอลลาร์ ก็คือราคาของดอลลาร์ หนึ่งหน่วยในรูปของเงินบาท เมื่อเงินบาทคือราคาของอย่างหนึ่ง จึงถูกหรือแพงได้ตามกลไกตลาด ซึ่งกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน
ข้อเท็จจริงที่ 2: บาทแข็งจริงไหม
สำหรับในปีที่ผ่านมา จากข้อมูลบอกเราว่า ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งมากนัก โดยเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.แข็งขึ้นประมาณร้อยละ 6.3 เทียบกับฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ที่แข็งขึ้นร้อยละ 18.7 12.0 6.2 6.7 และ 6.2 ตามลำดับ พูดง่ายๆ คือ ทุกสกุลแข็งขึ้นหมด จากที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจากความไม่สมดุลในประเทศเขา และปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในตลาดที่อยู่อาศัยที่ทราบกันอยู่ ประกอบกับแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้ก็เกินดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย
จากข้อมูล Bank for International Settlements (BIS) พบว่าใน ณ สิ้นปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปีก่อน NEER ของเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบกับประเทศในภูมิภาค อาทิ ฟิลิปปินส์ อินเดีย มาเลเซีย จีน หรือสิงคโปร์ ที่ NEER เขาแข็งค่าขึ้นร้อยละ 14.2 6.9 1.6 1.6 และ 1.2 ตามลำดับ หรือแม้กระทั่งดูในรูปของดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER ซึ่งก็คือ NEER ที่ถ่วงน้ำหนักด้วยเงินเฟ้อของแต่ละประเทศแล้ว) ก็ยังพบว่า ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงยังแข็งน้อยกว่าเพื่อนบ้านอยู่ดี นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาที่เราต้องการดูว่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งและกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใดจึงต้องดูจาก NEER ไม่ใช่ดูเพียงค่าเงินบาทต่อดอลลาร์เท่านั้น
ข้อเท็จจริงที่ 3: หลังช่วงปีใหม่ค่าเงินบาทเป็นอย่างไร
ตั้งแต่วันที่ 2-11 ม.ค. 2551 เงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าประมาณร้อยละ 1.6 แข็งกว่าเงินหยวน และใกล้เคียงกับฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งลักษณะนี้ก็ไม่น่าจะกระทบต่อ NEER จนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน
สุดท้าย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ กำหนดให้แบงก์ชาติจะต้องประสานงานและรายงานข้อมูลให้ ทั้ง รมว.คลัง และ ครม. ทราบเป็นระยะ ซึ่งคาดหมายในทางที่ดีได้ว่า ในอนาคตจะมีช่องทางในการสื่อสารและการผสมผสานด้านนโยบาย ที่จะช่วยลดความสับสนของภาคเอกชนจากการสื่อสารด้านนโยบาย ผ่านสื่อสาธารณะลงได้
หน้า 20
คอลัมน์ คลื่นความคิด
โดย ทรงธรรม ปิ่นโต
มติชนรายวัน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10908
เป้าหมายของแบงก์ชาติคือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยดำเนินนโยบายการเงิน เงินทุนเคลื่อนย้าย และบริหารอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับพอสมควร ใกล้เคียงกับศักยภาพที่ประเทศควรที่จะผลิตได้ และที่สำคัญคือต้องมีเสถียรภาพ
ทิศทางค่าเงินบาทอ่อน หรือแข็ง มีทั้งกลุ่มคนที่ได้และเสียเสมอ การพยายามทำให้เงินบาทแข็งหรืออ่อนกว่าที่ควรจะเป็น ก็เหมือนกับการบิดเบือนตลาดที่จะไม่ส่งผลดีในระยะยาว หน้าที่ของธนาคารกลางที่ดีจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า สามารถทำเงินบาทให้อ่อนหรือแข็ง
ขณะนี้เรามีข้อมูลของปี 2550 แล้ว 11 เดือน และเชื่อว่าในปี 2550 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวได้ใกล้ร้อยละ 5 โดยการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 18 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อยังคงไม่สูงกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าของเราแข่งขันกับเขาได้
ซึ่งแน่นอนว่า เป็นผลงานร่วมกันของทั้งภาครัฐและเอกชน สะท้อนให้เราเห็นว่า การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนที่ผ่านมาไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ และบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจมหภาคได้ดีพอสมควร
ข้อเท็จจริงประการแรก: ธรรมชาติของอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ หนึ่งหน่วย เช่น 33 บาทต่อดอลลาร์ ก็คือราคาของดอลลาร์ หนึ่งหน่วยในรูปของเงินบาท เมื่อเงินบาทคือราคาของอย่างหนึ่ง จึงถูกหรือแพงได้ตามกลไกตลาด ซึ่งกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน
ข้อเท็จจริงที่ 2: บาทแข็งจริงไหม
สำหรับในปีที่ผ่านมา จากข้อมูลบอกเราว่า ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งมากนัก โดยเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.แข็งขึ้นประมาณร้อยละ 6.3 เทียบกับฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ที่แข็งขึ้นร้อยละ 18.7 12.0 6.2 6.7 และ 6.2 ตามลำดับ พูดง่ายๆ คือ ทุกสกุลแข็งขึ้นหมด จากที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจากความไม่สมดุลในประเทศเขา และปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในตลาดที่อยู่อาศัยที่ทราบกันอยู่ ประกอบกับแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้ก็เกินดุลบัญชีเดินสะพัดด้วย
จากข้อมูล Bank for International Settlements (BIS) พบว่าใน ณ สิ้นปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปีก่อน NEER ของเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบกับประเทศในภูมิภาค อาทิ ฟิลิปปินส์ อินเดีย มาเลเซีย จีน หรือสิงคโปร์ ที่ NEER เขาแข็งค่าขึ้นร้อยละ 14.2 6.9 1.6 1.6 และ 1.2 ตามลำดับ หรือแม้กระทั่งดูในรูปของดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER ซึ่งก็คือ NEER ที่ถ่วงน้ำหนักด้วยเงินเฟ้อของแต่ละประเทศแล้ว) ก็ยังพบว่า ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงยังแข็งน้อยกว่าเพื่อนบ้านอยู่ดี นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาที่เราต้องการดูว่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งและกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใดจึงต้องดูจาก NEER ไม่ใช่ดูเพียงค่าเงินบาทต่อดอลลาร์เท่านั้น
ข้อเท็จจริงที่ 3: หลังช่วงปีใหม่ค่าเงินบาทเป็นอย่างไร
ตั้งแต่วันที่ 2-11 ม.ค. 2551 เงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าประมาณร้อยละ 1.6 แข็งกว่าเงินหยวน และใกล้เคียงกับฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งลักษณะนี้ก็ไม่น่าจะกระทบต่อ NEER จนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน
สุดท้าย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ กำหนดให้แบงก์ชาติจะต้องประสานงานและรายงานข้อมูลให้ ทั้ง รมว.คลัง และ ครม. ทราบเป็นระยะ ซึ่งคาดหมายในทางที่ดีได้ว่า ในอนาคตจะมีช่องทางในการสื่อสารและการผสมผสานด้านนโยบาย ที่จะช่วยลดความสับสนของภาคเอกชนจากการสื่อสารด้านนโยบาย ผ่านสื่อสาธารณะลงได้
หน้า 20