ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
- น้ำครึ่งแก้ว
- Verified User
- โพสต์: 1098
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 1
อยากทราบว่า ถ้าเรื่องค่าโง่ 6000 กว่าล้านนี้ รัฐไม่ต้องจ่ายแล้ว
งบของ CK จะเป็นอย่างไรครับ แล้วงบปีก่อนๆ นี่ CK เค้าเอาเรื่องค่าโง่
ไปลงในงบหรือเปล่าครับ แล้วอยู่ตรงช่องไหนครับ อยู่ช่องลูกหนี้รึเปล่าครับ
ขอความรู้ด้วยครับ
งบของ CK จะเป็นอย่างไรครับ แล้วงบปีก่อนๆ นี่ CK เค้าเอาเรื่องค่าโง่
ไปลงในงบหรือเปล่าครับ แล้วอยู่ตรงช่องไหนครับ อยู่ช่องลูกหนี้รึเปล่าครับ
ขอความรู้ด้วยครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
-
- Verified User
- โพสต์: 927
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 2
... ประเด็นดังกล่าวอาจไม่ใช่เรื่องใหม่มากนัก
เนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ศาลฎีกามีคำสั่งตัดสิน
ให้กทพ.ต้องจ่ายค่าชดเชยกับกิจการร่วมค้า
ทาง CK ที่เป็นผู้ถือหุ้น 30% ก็ได้มีการบันทึกรายได้ทางบัญชี
เข้าไปแล้วตามสัดส่วนการถือหุ้น คือประมาณ 2.5 พันล้านบาท
ตั้งแต่ในปี 2544 โดยหากวันนี้ศาลฎีกามีคำสั่งยืนตามศาลแพ่ง
ก็มีผลให้ CK ได้รับเงินสดตามมูลค่าการถือหุ้น
แต่จะไม่ได้บันทึกเป็นรายรับทางบัญชีเข้ามา
ขณะเดียวกันหากศาลฎีกาไม่เห็นตามศาลแพ่ง
โดยสั่งให้กทพ.ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย CK ก็จะมีผลทำให้
CK ต้องหักล้างตัวเลขทางบัญชีจากการบันทึกรายรับออกมา
'การรับรู้ของ CK ตามสัดส่วนถือหุ้นของกิจการร่วมค้า
เป็นเพียงการบันทึกทางบัญชีเท่านั้นยังไม่ได้รับเป็นเงินสด
ซึ่งหากศาลฎีกาพิจารณาให้ CK ได้รับค่าชดเชยก็จะได้รับ
เป็นเงินสดทันที และแม้ CK จะไม่บันทึกเป็นรายได้
แต่ก็จะมีเงินเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ
ซึ่งราคาหุ้นของ CK เองก็น่าจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามกระแสข่าว
หมายถึงหากศาลตัดสินให้ได้รับค่าชดเชยก็อาจหนุนราคาหุ้นวิ่ง
ในทางกลับกันหากศาลตัดสินให้ไม่ได้รับค่าชดเชยราคาหุ้น
อาจไม่ตอบรับ'
...ตัดบางส่วนจากefinancethaiเมื่อเช้านี้ ก่อนราคาจะดิ่งลงหน้าผา...
เนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ศาลฎีกามีคำสั่งตัดสิน
ให้กทพ.ต้องจ่ายค่าชดเชยกับกิจการร่วมค้า
ทาง CK ที่เป็นผู้ถือหุ้น 30% ก็ได้มีการบันทึกรายได้ทางบัญชี
เข้าไปแล้วตามสัดส่วนการถือหุ้น คือประมาณ 2.5 พันล้านบาท
ตั้งแต่ในปี 2544 โดยหากวันนี้ศาลฎีกามีคำสั่งยืนตามศาลแพ่ง
ก็มีผลให้ CK ได้รับเงินสดตามมูลค่าการถือหุ้น
แต่จะไม่ได้บันทึกเป็นรายรับทางบัญชีเข้ามา
ขณะเดียวกันหากศาลฎีกาไม่เห็นตามศาลแพ่ง
โดยสั่งให้กทพ.ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย CK ก็จะมีผลทำให้
CK ต้องหักล้างตัวเลขทางบัญชีจากการบันทึกรายรับออกมา
'การรับรู้ของ CK ตามสัดส่วนถือหุ้นของกิจการร่วมค้า
เป็นเพียงการบันทึกทางบัญชีเท่านั้นยังไม่ได้รับเป็นเงินสด
ซึ่งหากศาลฎีกาพิจารณาให้ CK ได้รับค่าชดเชยก็จะได้รับ
เป็นเงินสดทันที และแม้ CK จะไม่บันทึกเป็นรายได้
แต่ก็จะมีเงินเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ
ซึ่งราคาหุ้นของ CK เองก็น่าจะเคลื่อนไหวขึ้นลงตามกระแสข่าว
หมายถึงหากศาลตัดสินให้ได้รับค่าชดเชยก็อาจหนุนราคาหุ้นวิ่ง
ในทางกลับกันหากศาลตัดสินให้ไม่ได้รับค่าชดเชยราคาหุ้น
อาจไม่ตอบรับ'
...ตัดบางส่วนจากefinancethaiเมื่อเช้านี้ ก่อนราคาจะดิ่งลงหน้าผา...
-
- Verified User
- โพสต์: 927
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 4
...ผมสนใจลงทุนCK-W1เมื่อเร็วๆนี้ เพราะเห็นpremiumติดลบ...
...แปลงสภาพก้อยังกำไร แถมตัวCKยังเป็นเต็งหนึ่งที่จะได้งานรถไฟฟ้า...
...งบปี49ก้อน่าจะออกมาดี ลุ้นปันผลอีกต่างหาก...
...แต่เมื่อวาน สังเกตุดูราคาสามช่องCKจากpda...
...รู้สึกมีไม้คอยเติมขายตลอด ทั้งๆที่ITDก้อวิ่งเหมือนกินยาบ้า...
...ใจนึงคิดว่า คนน่าจะกลัวCK-W1ที่จะหมดอายุเดือนมีค.นี้...
...แล้วกลัวหุ้นที่แปลงสภาพล็อตสุดท้ายจะเข้ามาdilute CK...
...เลยตัดสินใจขายทิ้งขาดทุนไปที่4.12 เพราะรู้สึกหวิวๆงัยชอบกล...
...เอากำไรจากSTPIมาหักล้าง ก้อยังพอเหลืออีก ไม่เป็นไร...
...เช้านี้ เห็นCKแม่ลูกวิ่งรอข่าวดี ยังนึกในใจ ไอเรานี่เสียโง่อีกแล้ว...
...ดั๊นตัดสินคดีค่าโง่ทางด่วนวันนี้ ซึ่งหลายคนมั่นใจว่า"ชนะแน่"...
...แต่ผมคุ้นๆว่า เค้าบันทึกเป็นรายได้ไปแล้ว แต่จะได้เงินสดมาหมุนเวียน...
...แป๊บเดียว มาร์โทรมาบอก"CKแพ้"...
...ความรู้สึกเหมือน เดินเฉี่ยวปากเหวไปนิดเดียว...
...นึกในใจ"แพ้ได้งัย?"...
...โทรไปบอกแฟน โดนต่อว่าเลย เนี่ย เกือบไปแล้วเห็นมั้ย?...
...ไอเราก้อเลือกหุ้นสุดเจ๋งแล้วน๊า มันดวงชัดชัด ใครจะเดาใจศาลท่านได้...
...แต่ผมมีนกรู้คือ ไม้ล้านที่ขายเมื่อวาน เค้าก้อคงไม่มั่นใจเหมือนกัน...
...เลยบอกแฟนว่า ดีแล้วที่เอาเงินไปซื้อสลากออมสินกัน ...
...ไม่งั้นผมโดนด่าหูชาแน่ ...
...หันไปมองSEAFCOยืนยิ้มเยาะเย้ยอยู่ ว่า ...
...เสียแรงทำblogเอง ไม่ยอมซื้อ นอกใจชั้น เป็นงัยล่ะ...
...จะnew high แซงราคาก่อนโดนมาตรการสำรอง30%แล้ว...เฮ้อ
...แฟนๆseafco เข้าไปดูblof seafcoได้นะครับ ...
...ผมพยายามรวบรวมข่าวupdateไว้ให้ ...
...ส่วนแฟนๆCK ขอแสดงความเสียใจด้วย ...
...มันเหนือความคาดหมายจริงๆ รอดได้เพราะ"ดวง"และ"ลางสังหรณ์...
...แปลงสภาพก้อยังกำไร แถมตัวCKยังเป็นเต็งหนึ่งที่จะได้งานรถไฟฟ้า...
...งบปี49ก้อน่าจะออกมาดี ลุ้นปันผลอีกต่างหาก...
...แต่เมื่อวาน สังเกตุดูราคาสามช่องCKจากpda...
...รู้สึกมีไม้คอยเติมขายตลอด ทั้งๆที่ITDก้อวิ่งเหมือนกินยาบ้า...
...ใจนึงคิดว่า คนน่าจะกลัวCK-W1ที่จะหมดอายุเดือนมีค.นี้...
...แล้วกลัวหุ้นที่แปลงสภาพล็อตสุดท้ายจะเข้ามาdilute CK...
...เลยตัดสินใจขายทิ้งขาดทุนไปที่4.12 เพราะรู้สึกหวิวๆงัยชอบกล...
...เอากำไรจากSTPIมาหักล้าง ก้อยังพอเหลืออีก ไม่เป็นไร...
...เช้านี้ เห็นCKแม่ลูกวิ่งรอข่าวดี ยังนึกในใจ ไอเรานี่เสียโง่อีกแล้ว...
...ดั๊นตัดสินคดีค่าโง่ทางด่วนวันนี้ ซึ่งหลายคนมั่นใจว่า"ชนะแน่"...
...แต่ผมคุ้นๆว่า เค้าบันทึกเป็นรายได้ไปแล้ว แต่จะได้เงินสดมาหมุนเวียน...
...แป๊บเดียว มาร์โทรมาบอก"CKแพ้"...
...ความรู้สึกเหมือน เดินเฉี่ยวปากเหวไปนิดเดียว...
...นึกในใจ"แพ้ได้งัย?"...
...โทรไปบอกแฟน โดนต่อว่าเลย เนี่ย เกือบไปแล้วเห็นมั้ย?...
...ไอเราก้อเลือกหุ้นสุดเจ๋งแล้วน๊า มันดวงชัดชัด ใครจะเดาใจศาลท่านได้...
...แต่ผมมีนกรู้คือ ไม้ล้านที่ขายเมื่อวาน เค้าก้อคงไม่มั่นใจเหมือนกัน...
...เลยบอกแฟนว่า ดีแล้วที่เอาเงินไปซื้อสลากออมสินกัน ...
...ไม่งั้นผมโดนด่าหูชาแน่ ...
...หันไปมองSEAFCOยืนยิ้มเยาะเย้ยอยู่ ว่า ...
...เสียแรงทำblogเอง ไม่ยอมซื้อ นอกใจชั้น เป็นงัยล่ะ...
...จะnew high แซงราคาก่อนโดนมาตรการสำรอง30%แล้ว...เฮ้อ
...แฟนๆseafco เข้าไปดูblof seafcoได้นะครับ ...
...ผมพยายามรวบรวมข่าวupdateไว้ให้ ...
...ส่วนแฟนๆCK ขอแสดงความเสียใจด้วย ...
...มันเหนือความคาดหมายจริงๆ รอดได้เพราะ"ดวง"และ"ลางสังหรณ์...
-
- Verified User
- โพสต์: 927
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 5
...เห็นbeammyเฉยๆ พี่ก้อนึกว่า ไม่สนใจตัวนี้...
...อย่าโทษกันน๊า...แป่ววววววว...
...แต่พี่เปลี่ยนไปซื้อSTPI4.12แสนหุ้น ...
...วันนี้ก้อหงอยเหมือนกัน...เจ็บใจSEAFCOจัง
...นี่ต้องให้STPIปันผล0.45ถึงจะหายเเค้นนนนนน...
...อย่าโทษกันน๊า...แป่ววววววว...
...แต่พี่เปลี่ยนไปซื้อSTPI4.12แสนหุ้น ...
...วันนี้ก้อหงอยเหมือนกัน...เจ็บใจSEAFCOจัง
...นี่ต้องให้STPIปันผล0.45ถึงจะหายเเค้นนนนนน...
-
- Verified User
- โพสต์: 3345
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 6
กลัวมันจะไม่ปันซักบาทสิครับพี่ trillionaire :lol: :lol: :lol:trillionaire เขียน:...เห็นbeammyเฉยๆ พี่ก้อนึกว่า ไม่สนใจตัวนี้...
...อย่าโทษกันน๊า...แป่ววววววว...
...แต่พี่เปลี่ยนไปซื้อSTPI4.12แสนหุ้น ...
...วันนี้ก้อหงอยเหมือนกัน...เจ็บใจSEAFCOจัง
...นี่ต้องให้STPIปันผล0.45ถึงจะหายเเค้นนนนนน...
SEAFCO ผมก้อปล่อยหมูออกจากเล้าไปแล้วครับ เวรกรรม -*-
เจ๊ง CK-W1 แต่ยังมี STPI คุ้มกะลาหัวที่ 3.96 บาทอยู่ ครับ เลยไม่เจ็บตัวมาก
ผมกับ Warrant ไม่ถูกกันจริงๆ ครับ -*- เห้อ :? ...
-
- Verified User
- โพสต์: 155
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 7
ยังดีครับ ที่วันนี้ stpi ไม่ปิด low อีก :Ptrillionaire เขียน:...เห็นbeammyเฉยๆ พี่ก้อนึกว่า ไม่สนใจตัวนี้...
...อย่าโทษกันน๊า...แป่ววววววว...
...แต่พี่เปลี่ยนไปซื้อSTPI4.12แสนหุ้น ...
...วันนี้ก้อหงอยเหมือนกัน...เจ็บใจSEAFCOจัง
...นี่ต้องให้STPIปันผล0.45ถึงจะหายเเค้นนนนนน...
-
- Verified User
- โพสต์: 23
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 8
ไม่รู้ว่าผมคิดถูกรึเปล่า เพราะผมคิดว่าราคาหุ้น overreact มากกว่าเหตุ
ผมเลยซื้อเพิ่มเข้าไปตอนที่ราคาตก
เพราะมองว่าถึงแพ้คดีก็ไม่ได้ส่งผลให้ความสามารถทางธุรกิจหรือพื้นฐานทางธุรกิจเปลี่ยนไปจากเดิม
หรือมองอีกมุมหนึ่งคือ market cap มันหายไปเกือบครึ่งหนึ่งของเงินที่อดได้รับเลยนะ
:oops:
ผมเลยซื้อเพิ่มเข้าไปตอนที่ราคาตก
เพราะมองว่าถึงแพ้คดีก็ไม่ได้ส่งผลให้ความสามารถทางธุรกิจหรือพื้นฐานทางธุรกิจเปลี่ยนไปจากเดิม
หรือมองอีกมุมหนึ่งคือ market cap มันหายไปเกือบครึ่งหนึ่งของเงินที่อดได้รับเลยนะ
:oops:
บล็อกผมไม่เกี่ยวกับเรื่องลงทุนหรอกนะ...
http://www.passionsound.com
http://www.passionsound.com
- น้ำครึ่งแก้ว
- Verified User
- โพสต์: 1098
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณ คุณ รวยหลายๆล้านๆ มากครับ
อย่างนี้ งบ CK ที่จะออกจะต้องตัดรายรับออก เท่าจำนวนเงินก้อนนี้รึเปล่า
แล้วอย่างนั้น งบที่ออกมา กับกำไร จะกระทบอะไรรึเปล่าครับ
อย่างนี้ งบ CK ที่จะออกจะต้องตัดรายรับออก เท่าจำนวนเงินก้อนนี้รึเปล่า
แล้วอย่างนั้น งบที่ออกมา กับกำไร จะกระทบอะไรรึเปล่าครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
-
- Verified User
- โพสต์: 577
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 10
http://www.bangkokbiznews.com/2007/02/1 ... ewsid=5091
[quote]
ศาลฎีกายกฟ้องค่าโง่ทางด่วน 6 พันล.
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 08:45:00
"คำพิพากษาศาลฎีกา"ยกฟ้อง กรณีกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ชำระเงินค่าปรับกว่า 6 พันล้านบาท
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
จากปัญหาการส่งมอบที่ดินการก่อสร้างทางสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ล่าช้า ซึ่งกลับคำตัดสินของศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดตามอนุญาโตตุลาการ ให้กทพ.จ่ายค่าปรับ ที่เรียกกันติดปากว่า "คดีค่าโง่ทางด่วน" มีรายละเอียดดังนี้
คดีนี้ กิจการร่วมค้า บีบีซีดี (บิลฟิงเกอร์ เบอร์เกอร์ เอจี ที่ 1 บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่ 2 วัลเทอร์ เบา เอจี ที่ 3) ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยชำระเงินค่าปรับ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยส่งมอบพื้นที่ใช้ในการก่อสร้างทางสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ล่าช้า รวมเป็นเงิน 6,039,493,254 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านว่า การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาดังกล่าวทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาโดยมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลายประการ และในขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางคนถือหุ้นอยู่ในบริษัท ช.การช่างฯ ฝ่ายผู้ฟ้อง โดยซื้อในราคาจองก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และขายไปภายหลังลงนามในสัญญา และมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกหลายคนได้รับสิทธิจองหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาดทำให้ได้ประโยชน์ในส่วนต่างของราคาซื้อเมื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อันมีลักษณะให้ประโยชน์ ตลอดจนการลงนามจ้างวิศวกรที่ปรึกษาขัดต่อมติของคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีพฤติการณ์ฉ้อฉลและคัดค้านด้วยเหตุอื่นอีกหลายประการ ขอให้ยกฟ้อง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ศาลฎีกาคณะคดีปกครองวินิจฉัยว่า ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาร่วมกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ผู้ฟ้องมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลายประการ ซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้วินิจฉัยข้อต่อสู้ดังกล่าวว่า นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ผู้ฟ้อง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้อง หากมีการทำขึ้นเพราะกลฉ้อฉล ผลในทางกฎหมายอย่างมากก็เป็นเพียงโมฆียะในเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการบอกล้าง สัญญาจึงชอบด้วยกฎหมายและฟังไม่ได้ว่าเป็นสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล
ศาลฎีกา เห็นว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายมหาชน สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ที่กิจการร่วมค้า บีบีซีดี ผู้ฟ้อง กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้อง ทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในฐานะหน่วยงานทางปกครองที่เป็นองค์กรนิติบุคคล การใช้อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทำการในนามการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้อง จะผูกพันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องต่อเมื่ออยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย และการใช้อำนาจดังกล่าวจะต้องมิใช่เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือมีการบิดผันอำนาจทางหนึ่งทางใดอีกด้วย
ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ถูกฟ้องย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และเมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีรับฟังได้
ก่อนลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้รับผลประโยชน์จากฝ่ายผู้ฟ้องในรูปสิทธิซื้อหุ้นของฝ่ายผู้ฟ้องในราคาต่ำกว่าราคาตลาดจำนวน 10,000 หุ้น และสิทธิซื้อหุ้นของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 70,000 หุ้น ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้ดำเนินการให้มีการลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบร่วมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯให้จงได้ ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นมีปัญหาความไม่พร้อมหลายประการ จนเป็นเหตุให้ถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการขยายระยะเวลาและเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเวลาต่อมา ทั้งได้ยืนยันการส่งมอบพื้นที่และให้ผู้ฟ้องเริ่มงาน อันเป็นผลให้ผู้ฟ้องมีสิทธิได้รับเงินเพื่อใช้เริ่มงานก่อสร้าง จำนวน 1,977,000,000 บาท และเป็นการเริ่มนับของกำหนดเวลาแล้วเสร็จของการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ายังไม่พร้อมที่จะส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้ฟ้อง ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่คำนึงว่า ผู้ถูกฟ้องหรือรัฐจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบสักเพียงใด ผิดปกติวิสัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
เมื่อพิจารณาประกอบกับประโยชน์ที่รับจากการจองหุ้นดังกล่าวแล้ว น่าเชื่อว่าผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในขณะนั้นต้องการจะช่วยเหลือผู้ฟ้องโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่ฝ่ายผู้ฟ้องจัดให้ จึงถือว่าการใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้นที่ลงนามในสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติมิชอบด้วยกฎหมาย
ขณะเดียวกันบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ฝ่ายผู้ฟ้องเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังกล่าว เจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นๆ ได้ซื้อหุ้นในฐานะผู้มีอุปการะคุณโดยให้โควตาตามลำดับตำแหน่ง รวมทั้งการจัดสรรหุ้นบริษัทในเครือให้มีสิทธิซื้อก่อนทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบร่วมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ถือว่าผู้ฟ้องได้ให้ประโยชน์แก่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้น และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อจูงใจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าวโดยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ฟ้อง กรณีจึงต้องถือว่า ในการทำสัญญาดังกล่าวของผู้ฟ้อง ผู้ฟ้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอีกด้วย
สัญญาจ้างเหมาออกแบบร่วมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้ถูกฟ้อง หากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้ยกคำฟ้องของผู้ฟ้อง
[/quote]
ผมว่าเราได้รู้อะไรมากขึ้นกับกรณีนี้นะครับ
บริษัท ที่มีรายได้จากการประมูล หน่วยงานของรัฐ คงต้องพิจารณา เรื่องการให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน แก่คนในวงราชการมากขึ้นล่ะครับ หรือ หาวิธีการอื่น
นักลงทุนที่จะซื้อหุ้น ก็ต้องระวังข้อกฏหมายนี้ด้วยสิ
ที่สำคัญมีหลักฐาน ว่าร่วมกัน คอรัปชั่น ในสัญญานี้
รายได้จากงานประมูลนี้ จะถือว่าเป็นรายได้ โดยมิชอบหรือเปล่าครับ?
:o
[quote]
ศาลฎีกายกฟ้องค่าโง่ทางด่วน 6 พันล.
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 08:45:00
"คำพิพากษาศาลฎีกา"ยกฟ้อง กรณีกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ชำระเงินค่าปรับกว่า 6 พันล้านบาท
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
จากปัญหาการส่งมอบที่ดินการก่อสร้างทางสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ล่าช้า ซึ่งกลับคำตัดสินของศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดตามอนุญาโตตุลาการ ให้กทพ.จ่ายค่าปรับ ที่เรียกกันติดปากว่า "คดีค่าโง่ทางด่วน" มีรายละเอียดดังนี้
คดีนี้ กิจการร่วมค้า บีบีซีดี (บิลฟิงเกอร์ เบอร์เกอร์ เอจี ที่ 1 บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่ 2 วัลเทอร์ เบา เอจี ที่ 3) ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยชำระเงินค่าปรับ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยส่งมอบพื้นที่ใช้ในการก่อสร้างทางสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ล่าช้า รวมเป็นเงิน 6,039,493,254 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านว่า การดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาดังกล่าวทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาโดยมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลายประการ และในขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางคนถือหุ้นอยู่ในบริษัท ช.การช่างฯ ฝ่ายผู้ฟ้อง โดยซื้อในราคาจองก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และขายไปภายหลังลงนามในสัญญา และมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกหลายคนได้รับสิทธิจองหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาดทำให้ได้ประโยชน์ในส่วนต่างของราคาซื้อเมื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อันมีลักษณะให้ประโยชน์ ตลอดจนการลงนามจ้างวิศวกรที่ปรึกษาขัดต่อมติของคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีพฤติการณ์ฉ้อฉลและคัดค้านด้วยเหตุอื่นอีกหลายประการ ขอให้ยกฟ้อง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ศาลฎีกาคณะคดีปกครองวินิจฉัยว่า ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาอนุญาโตตุลาการทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาร่วมกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ผู้ฟ้องมีพฤติการณ์ฉ้อฉลหลายประการ ซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้วินิจฉัยข้อต่อสู้ดังกล่าวว่า นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ผู้ฟ้อง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้อง หากมีการทำขึ้นเพราะกลฉ้อฉล ผลในทางกฎหมายอย่างมากก็เป็นเพียงโมฆียะในเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการบอกล้าง สัญญาจึงชอบด้วยกฎหมายและฟังไม่ได้ว่าเป็นสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล
ศาลฎีกา เห็นว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้ถูกฟ้องเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายมหาชน สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ที่กิจการร่วมค้า บีบีซีดี ผู้ฟ้อง กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้อง ทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในฐานะหน่วยงานทางปกครองที่เป็นองค์กรนิติบุคคล การใช้อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทำการในนามการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้อง จะผูกพันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องต่อเมื่ออยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย และการใช้อำนาจดังกล่าวจะต้องมิใช่เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือมีการบิดผันอำนาจทางหนึ่งทางใดอีกด้วย
ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ถูกฟ้องย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และเมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีรับฟังได้
ก่อนลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้รับผลประโยชน์จากฝ่ายผู้ฟ้องในรูปสิทธิซื้อหุ้นของฝ่ายผู้ฟ้องในราคาต่ำกว่าราคาตลาดจำนวน 10,000 หุ้น และสิทธิซื้อหุ้นของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 70,000 หุ้น ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้ดำเนินการให้มีการลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบร่วมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯให้จงได้ ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นมีปัญหาความไม่พร้อมหลายประการ จนเป็นเหตุให้ถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการขยายระยะเวลาและเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเวลาต่อมา ทั้งได้ยืนยันการส่งมอบพื้นที่และให้ผู้ฟ้องเริ่มงาน อันเป็นผลให้ผู้ฟ้องมีสิทธิได้รับเงินเพื่อใช้เริ่มงานก่อสร้าง จำนวน 1,977,000,000 บาท และเป็นการเริ่มนับของกำหนดเวลาแล้วเสร็จของการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ายังไม่พร้อมที่จะส่งมอบพื้นที่ให้แก่ผู้ฟ้อง ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่คำนึงว่า ผู้ถูกฟ้องหรือรัฐจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบสักเพียงใด ผิดปกติวิสัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
เมื่อพิจารณาประกอบกับประโยชน์ที่รับจากการจองหุ้นดังกล่าวแล้ว น่าเชื่อว่าผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในขณะนั้นต้องการจะช่วยเหลือผู้ฟ้องโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่ฝ่ายผู้ฟ้องจัดให้ จึงถือว่าการใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้นที่ลงนามในสัญญาจ้างเหมาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติมิชอบด้วยกฎหมาย
ขณะเดียวกันบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ฝ่ายผู้ฟ้องเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดังกล่าว เจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง และเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นๆ ได้ซื้อหุ้นในฐานะผู้มีอุปการะคุณโดยให้โควตาตามลำดับตำแหน่ง รวมทั้งการจัดสรรหุ้นบริษัทในเครือให้มีสิทธิซื้อก่อนทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบร่วมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ถือว่าผู้ฟ้องได้ให้ประโยชน์แก่ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในขณะนั้น และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อจูงใจให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาดังกล่าวโดยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ฟ้อง กรณีจึงต้องถือว่า ในการทำสัญญาดังกล่าวของผู้ฟ้อง ผู้ฟ้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอีกด้วย
สัญญาจ้างเหมาออกแบบร่วมก่อสร้างโครงการทางด่วนฯ ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้ถูกฟ้อง หากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้ยกคำฟ้องของผู้ฟ้อง
[/quote]
ผมว่าเราได้รู้อะไรมากขึ้นกับกรณีนี้นะครับ
บริษัท ที่มีรายได้จากการประมูล หน่วยงานของรัฐ คงต้องพิจารณา เรื่องการให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน แก่คนในวงราชการมากขึ้นล่ะครับ หรือ หาวิธีการอื่น
นักลงทุนที่จะซื้อหุ้น ก็ต้องระวังข้อกฏหมายนี้ด้วยสิ
ที่สำคัญมีหลักฐาน ว่าร่วมกัน คอรัปชั่น ในสัญญานี้
รายได้จากงานประมูลนี้ จะถือว่าเป็นรายได้ โดยมิชอบหรือเปล่าครับ?
:o
-
- Verified User
- โพสต์: 155
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 11
ศาลฎีกาพิพากษาให้ กทพ. ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย
ศาลฏีกามีผลตัดสินวานนี้ (15 กพ.49) ให้ กทพ. ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กิจการร่วมค้า BBCD (CK ถือหุ้น 35%) ผลการตัดสินของศาลฎีกาในครั้งนี้ค่อนข้างผิดความคาดหมาย (เดิม AYS และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินโอกาสที่ BBCD จะชนะคดีมีความเป็นไปได้สูง เพราะที่ผ่านมา BBCD ชนะคดีนี้มาแล้วในหลายชั้นศาลทั้งอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้น) แต่ผลพิจารณาของศาลฎีกาซึ่งถือเป็นคำตัดสินที่สิ้นสุดนี้กลับเป็นว่า ศาลฎีกาได้พิพากษาไม่ยืนยันตามคำสั่งศาลแพ่ง โดยให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าก่อสร้างทางด่วน บางนา-บางพลี-บางปะกง จำนวน 6 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ให้กับกิจการร่วมค้า BBCD (คำนวณตามสัดส่วนของ CK คือ ค่าชดเชย 2.1 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5%)
CK ยืนว่ายังมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าใช้จ่ายอยู่ แต่ AYS ยังไม่เห็นแนวทางว่า CK จะดำเนินการได้อย่างไร บริษัทให้ข้อมูลว่าผู้บริหารกำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการกับเรื่องนี้ต่อไปอย่างไรโดยบริษัทยังเห็นว่าแม้ศาลฎีกาจะพิพากษาให้สัญญาไม่มีผลผูกพัน แต่ไม่ได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทหมดไป สำหรับมุมมองของ AYS เนื่องจากเรายังไม่เห็นแนวทางที่บริษัทจะสามารถเรียกร้องคืนได้อย่างชัดเจนจึงไม่ได้ให้น้ำหนักว่าเป็นประเด็นบวกมากนัก
กรณีเลวร้ายคือจะมีผลกระทบเชิงลบในแง่บัญชีเท่านั้น ส่วนการดำเนินงานที่แท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก CK เคยบันทึกค่าชดเชยรับไว้เป็นรายได้ไปแล้วในปี 44 จำนวน 2,508 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อบริษัทไม่สามารถได้รับเงินตามที่บันทึกไว้ก็จำเป็นต้องกลับรายการดังกล่าวออกจากงบการเงิน (Write off) ซึ่งการกลับรายการจะมีผลลบในเชิงบัญชี คือ
1. ในไตรมาสที่มีการ write-off (ซึ่งคาดว่าจะเป็น 1Q50) บริษัทรายงานผลขาดทุนทันที และมากพอที่ทำให้ทั้งปี 50 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ
2. ผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (คิดเป็นมูลค่าทางบัญชีลดลง 1.73 บาท/หุ้น fully diluted shares)
3. เกิดผลขาดทุนสะสม 821 ล้านบาท (จากที่ ณ 3Q49 มีกำไรสะสมอยู่ 1,687 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามผลกระทบเชิงลบดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น ไม่มีผลต่อกระแสเงินสดและการดำเนินที่แท้จริงของบริษัทแต่อย่างใด และหากเกิดผลขาดทุนสะสมยังสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ 1,113 ล้านบาท มาหักล้างเพื่อให้บริษัทคงความสามารถในการจ่ายปันผลได้
มีข้อกังวลเรื่องเดียว คือ Net D/E ที่สูงขึ้นอาจมีผลต่อการหาเงินกู้ในอนาคต ข้อกังวลเดียวของ AYS ต่อ การ write off คือจะทำให้ Net D/E ของบริษัทเพิ่มจาก 1.8 เท่า เป็น 2.3 เท่า (คำนวณรวมว่าวอแรนต์ที่เหลือ 199 หน่วยที่จะหมดอายุถูกนำมาใช้สิทธิทั้งหมด) ซึ่ง Net D/E ดังกล่าวก็จะใกล้เคียงกับเพดานที่ตกลงไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ที่ 2.5 เท่า ดังนั้นโอกาสในการจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมในอนาคตจึงค่อนข้างจำกัดลง
คงคำแนะนำ ซื้อ และราคาพื้นฐานที่ 12.15 บาท AYS ประเมินว่าราคาตลาดได้สะท้อนข่าลบดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว โดยผลลบดังกล่าวเป็นผลกระทบทางบัญชี ในขณะที่ผลการดำเนินงานที่แท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่มีกำหนดเปิดประมูล เมย.50 เป็นปัจจัยบวกที่รออยู่
โดย บมจ. หลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา ประจำวันที่ 16 ก.พ. 2550
ยังมีคนเชียร์ซื้ออีกแฮะ
ศาลฏีกามีผลตัดสินวานนี้ (15 กพ.49) ให้ กทพ. ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กิจการร่วมค้า BBCD (CK ถือหุ้น 35%) ผลการตัดสินของศาลฎีกาในครั้งนี้ค่อนข้างผิดความคาดหมาย (เดิม AYS และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินโอกาสที่ BBCD จะชนะคดีมีความเป็นไปได้สูง เพราะที่ผ่านมา BBCD ชนะคดีนี้มาแล้วในหลายชั้นศาลทั้งอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้น) แต่ผลพิจารณาของศาลฎีกาซึ่งถือเป็นคำตัดสินที่สิ้นสุดนี้กลับเป็นว่า ศาลฎีกาได้พิพากษาไม่ยืนยันตามคำสั่งศาลแพ่ง โดยให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าก่อสร้างทางด่วน บางนา-บางพลี-บางปะกง จำนวน 6 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ให้กับกิจการร่วมค้า BBCD (คำนวณตามสัดส่วนของ CK คือ ค่าชดเชย 2.1 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5%)
CK ยืนว่ายังมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าใช้จ่ายอยู่ แต่ AYS ยังไม่เห็นแนวทางว่า CK จะดำเนินการได้อย่างไร บริษัทให้ข้อมูลว่าผู้บริหารกำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการกับเรื่องนี้ต่อไปอย่างไรโดยบริษัทยังเห็นว่าแม้ศาลฎีกาจะพิพากษาให้สัญญาไม่มีผลผูกพัน แต่ไม่ได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทหมดไป สำหรับมุมมองของ AYS เนื่องจากเรายังไม่เห็นแนวทางที่บริษัทจะสามารถเรียกร้องคืนได้อย่างชัดเจนจึงไม่ได้ให้น้ำหนักว่าเป็นประเด็นบวกมากนัก
กรณีเลวร้ายคือจะมีผลกระทบเชิงลบในแง่บัญชีเท่านั้น ส่วนการดำเนินงานที่แท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก CK เคยบันทึกค่าชดเชยรับไว้เป็นรายได้ไปแล้วในปี 44 จำนวน 2,508 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อบริษัทไม่สามารถได้รับเงินตามที่บันทึกไว้ก็จำเป็นต้องกลับรายการดังกล่าวออกจากงบการเงิน (Write off) ซึ่งการกลับรายการจะมีผลลบในเชิงบัญชี คือ
1. ในไตรมาสที่มีการ write-off (ซึ่งคาดว่าจะเป็น 1Q50) บริษัทรายงานผลขาดทุนทันที และมากพอที่ทำให้ทั้งปี 50 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ
2. ผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (คิดเป็นมูลค่าทางบัญชีลดลง 1.73 บาท/หุ้น fully diluted shares)
3. เกิดผลขาดทุนสะสม 821 ล้านบาท (จากที่ ณ 3Q49 มีกำไรสะสมอยู่ 1,687 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามผลกระทบเชิงลบดังกล่าวเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น ไม่มีผลต่อกระแสเงินสดและการดำเนินที่แท้จริงของบริษัทแต่อย่างใด และหากเกิดผลขาดทุนสะสมยังสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ 1,113 ล้านบาท มาหักล้างเพื่อให้บริษัทคงความสามารถในการจ่ายปันผลได้
มีข้อกังวลเรื่องเดียว คือ Net D/E ที่สูงขึ้นอาจมีผลต่อการหาเงินกู้ในอนาคต ข้อกังวลเดียวของ AYS ต่อ การ write off คือจะทำให้ Net D/E ของบริษัทเพิ่มจาก 1.8 เท่า เป็น 2.3 เท่า (คำนวณรวมว่าวอแรนต์ที่เหลือ 199 หน่วยที่จะหมดอายุถูกนำมาใช้สิทธิทั้งหมด) ซึ่ง Net D/E ดังกล่าวก็จะใกล้เคียงกับเพดานที่ตกลงไว้กับผู้ถือหุ้นกู้ที่ 2.5 เท่า ดังนั้นโอกาสในการจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมในอนาคตจึงค่อนข้างจำกัดลง
คงคำแนะนำ ซื้อ และราคาพื้นฐานที่ 12.15 บาท AYS ประเมินว่าราคาตลาดได้สะท้อนข่าลบดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว โดยผลลบดังกล่าวเป็นผลกระทบทางบัญชี ในขณะที่ผลการดำเนินงานที่แท้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่มีกำหนดเปิดประมูล เมย.50 เป็นปัจจัยบวกที่รออยู่
โดย บมจ. หลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา ประจำวันที่ 16 ก.พ. 2550
ยังมีคนเชียร์ซื้ออีกแฮะ
-
- Verified User
- โพสต์: 927
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 12
ทริสเรทติ้งประกาศ เครดิตพินิจ เตือนแนวโน้ม Negative หรือ ลบ สำหรับอันดับเครดิต CK
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศ เครดิตพินิจ แนวโน้ม Negative
หรือ ลบ สำหรับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ของ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
หลังจากศาลฎีกากลับคำพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในคดีระหว่างกิจการร่วม
ค้าบีบีซีดี (BBCD) กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยตัดสินว่า กทพ.
ไม่ต้องชำระค่าก่อสร้างเพิ่มเติมให้แก่กิจการร่วมค้าบีบีซีดีสำหรับโครงการก่อสร้าง
ทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ทั้งนี้ บีบีซีดีเป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างโครงการ
ทางด่วนดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าประมาณ 25,000 ล้านบาทในระหว่างปี 2538-2543 โดย
บริษัท ช. การช่างเป็นผู้ถือหุ้นในโครงการร่วมกับ Bilfinger Berger และ Dyckerhoff
& Widmann
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวส่งผลให้ กทพ. ไม่ต้อง
ชำระเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติมจำนวน 6,039 ล้านบาทแก่กิจการร่วมค้าบีบีซีดีซึ่งจะมีผล
ในทางลบต่อสถานะทางการเงินของบริษัท ช. การช่าง โดยทำให้รายได้ที่เคยรับรู้
แล้วของบริษัท ช. การช่างจำนวน 2,508 ล้านบาทในปี 2544 อาจถูกบันทึกกลับเป็น
ผลขาดทุน และเงินกู้โครงการในส่วนของบริษัท ช. การช่าง ประมาณ 3,500-4,000
ล้านบาทอาจต้องถึงกำหนดชำระคืนในเร็วๆ นี้
ปัจจุบัน ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัท
ช. การช่างอยู่ในระดับ A- และขณะนี้ทริสเรทติ้งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผล
กระทบที่เกิดจากคำพิพากษาของศาลฎีกาต่อคุณภาพเครดิตของบริษัท ช. การช่าง
และจะประกาศผลการทบทวนอันดับเครดิตดังกล่าวต่อสาธารณชนต่อไป
:( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :(
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศ เครดิตพินิจ แนวโน้ม Negative
หรือ ลบ สำหรับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ของ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
หลังจากศาลฎีกากลับคำพิพากษาของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในคดีระหว่างกิจการร่วม
ค้าบีบีซีดี (BBCD) กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยตัดสินว่า กทพ.
ไม่ต้องชำระค่าก่อสร้างเพิ่มเติมให้แก่กิจการร่วมค้าบีบีซีดีสำหรับโครงการก่อสร้าง
ทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง ทั้งนี้ บีบีซีดีเป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างโครงการ
ทางด่วนดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าประมาณ 25,000 ล้านบาทในระหว่างปี 2538-2543 โดย
บริษัท ช. การช่างเป็นผู้ถือหุ้นในโครงการร่วมกับ Bilfinger Berger และ Dyckerhoff
& Widmann
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวส่งผลให้ กทพ. ไม่ต้อง
ชำระเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติมจำนวน 6,039 ล้านบาทแก่กิจการร่วมค้าบีบีซีดีซึ่งจะมีผล
ในทางลบต่อสถานะทางการเงินของบริษัท ช. การช่าง โดยทำให้รายได้ที่เคยรับรู้
แล้วของบริษัท ช. การช่างจำนวน 2,508 ล้านบาทในปี 2544 อาจถูกบันทึกกลับเป็น
ผลขาดทุน และเงินกู้โครงการในส่วนของบริษัท ช. การช่าง ประมาณ 3,500-4,000
ล้านบาทอาจต้องถึงกำหนดชำระคืนในเร็วๆ นี้
ปัจจุบัน ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัท
ช. การช่างอยู่ในระดับ A- และขณะนี้ทริสเรทติ้งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาผล
กระทบที่เกิดจากคำพิพากษาของศาลฎีกาต่อคุณภาพเครดิตของบริษัท ช. การช่าง
และจะประกาศผลการทบทวนอันดับเครดิตดังกล่าวต่อสาธารณชนต่อไป
:( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :( :(
-
- Verified User
- โพสต์: 927
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 13
กรุงเทพ--21 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการ บมจ.ช.การช่าง(CK) มีมติให้บริษัทตัดรายได้จากค่าชด
เชยค่าก่อสร้างทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง ที่ได้บันทึกเป็นรายได้ไปก่อนหน้านี้ราว
2.5 พันล้านบาทจากบัญชีในไตรมาส 4/49 ซึ่งจะส่งผลให้ปี 49 ขาดทุนสุทธิ
"เราต้องการเคลียร์ให้จบในปี 49 ไปเลย ไม่ให้มีผลมาถึงปีนี้ write off
แล้ว ก็จะขาดทุนสุทธิ แต่ตัวเลขผู้ตรวจสอบบัญชียังดูอยู่" นายอนุกูล ตันติมาสน์ ผู้ช่วย
กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป CK กล่าวกับ"รอยเตอร์"
เขากล่าวว่า ในปี 49 บริษัทคงไม่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น หลังมีผลขาดทุน
จากการตัดรายได้จากบัญชีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทเตรียมที่จะดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อเรียกร้อง
ค่าชดเชยค่าก่อสร้างดังกล่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)
"ดูอยู่ว่าจะฟ้องเรียกร้องสิทธิจากศาลไหน เรายังยืนยันว่าสิทธิตรงนี้ยังมีอยู่"
เขากล่าว และระบุว่า การตัดรายได้จากบัญชีครั้งนี้ มีผลกระทบเฉพาะตัวเลขทางบัญชี
เท่านั้น
ราคาหุ้น CK ปิดวานนี้ อยู่ที่ 8.20 บาท--จบ--
((รอยเตอร์ โดย กชกร บุญลาย รายงานและเรียบเรียง;Reuters
Messaging:[email protected];
คณะกรรมการ บมจ.ช.การช่าง(CK) มีมติให้บริษัทตัดรายได้จากค่าชด
เชยค่าก่อสร้างทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง ที่ได้บันทึกเป็นรายได้ไปก่อนหน้านี้ราว
2.5 พันล้านบาทจากบัญชีในไตรมาส 4/49 ซึ่งจะส่งผลให้ปี 49 ขาดทุนสุทธิ
"เราต้องการเคลียร์ให้จบในปี 49 ไปเลย ไม่ให้มีผลมาถึงปีนี้ write off
แล้ว ก็จะขาดทุนสุทธิ แต่ตัวเลขผู้ตรวจสอบบัญชียังดูอยู่" นายอนุกูล ตันติมาสน์ ผู้ช่วย
กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป CK กล่าวกับ"รอยเตอร์"
เขากล่าวว่า ในปี 49 บริษัทคงไม่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น หลังมีผลขาดทุน
จากการตัดรายได้จากบัญชีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทเตรียมที่จะดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อเรียกร้อง
ค่าชดเชยค่าก่อสร้างดังกล่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)
"ดูอยู่ว่าจะฟ้องเรียกร้องสิทธิจากศาลไหน เรายังยืนยันว่าสิทธิตรงนี้ยังมีอยู่"
เขากล่าว และระบุว่า การตัดรายได้จากบัญชีครั้งนี้ มีผลกระทบเฉพาะตัวเลขทางบัญชี
เท่านั้น
ราคาหุ้น CK ปิดวานนี้ อยู่ที่ 8.20 บาท--จบ--
((รอยเตอร์ โดย กชกร บุญลาย รายงานและเรียบเรียง;Reuters
Messaging:[email protected];
-
- Verified User
- โพสต์: 927
- ผู้ติดตาม: 0
ฉิ่ง เวิ้น อี๋ เซี้ย เรื่อง CK ครับผม
โพสต์ที่ 14
CK : แจ้งผลกระทบจากคำพิพากษาของศาลฎีกา
ที่ CK-07-0000-PO-L-0055
21 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง แจ้งผลกระทบจากคำพิพากษาของศาลฎีกา
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่
2/2550 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 21 เลขที่ 587 อาคาร
วิริยะถาวร ถนนสุทธิสาร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร นั้น
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติพิจารณาและรับทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่องบการเงิน
ของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เนื่องจากการที่ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ชำระเงินให้แก่กิจการร่วมค้า บีบีซีดี (บิลฟิงเกอร์ พลัส เบอร์เกอร์ บาวอัคเตียน เกเซลซาฟท์ บริษัท
ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และดิคเคอร์ฮอฟฟ์ แอนด์ วิดแมนน์ เอจี) โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด
(มหาชน) ได้มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ในกิจการร่วมค้าดังกล่าวร้อยละ 35 ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อ
งบการเงินของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 จึงมีราย
ละเอียดดังต่อไปนี้
ในงบดุลสำหรับงบรวมบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จะแสดงรายการบันทึกรายการ
สำรองค่าเผื่อหนี้สูญสำหรับลูกหนี้เงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวน 2,515,620,262.28 บาท
สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ จะแสดงรายการสำรองผลขาดทุนจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า
จำนวน 2,508,249,686.72 บาท
ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงบรวมบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ในส่วนของค่าใช้จ่ายจะ
แสดงรายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญสำหรับลูกหนี้เงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวน
2,508,249,686.72 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
จะแสดงรายการส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าจำนวน
2,508,249,686.72 บาท
ทั้งนี้ผู้ร่วมค้าและเป็นเจ้าหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กิจการร่วมค้าดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในการ
ยกเว้นการคิดดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินกู้ที่มาจากผู้ร่วมค้าทั้งหมดโดยยังคงสิทธิการเรียกดอกเบี้ยไว้หากว่า
ได้รับค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากผู้ว่าจ้าง แต่ถ้าไม่ได้ก็จะไม่เรียกเก็บดอกเบี้ย ดังนั้นผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นต่องบการเงินของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ในงบดุลสำหรับงบรวมของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จะบันทึกกลับรายการดอกเบี้ย
ค้างจ่ายจำนวน 442,839,502.33 บาท และบันทึกกลับรายการดอกเบี้ยค้างรับจำนวน
13,364,146.92 บาท สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ จะบันทึกกลับรายการดอกเบี้ยค้างรับ
จำนวน 20,560,226.03 บาท
ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงบรวมบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ในส่วนของรายได้จะแสดง
รายการรายได้โอนกลับดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวน 442,839,502.33 บาท ในส่วนของค่าใช้จ่ายจะแสดง
รายการดอกเบี้ยค้างรับตัดบัญชีจำนวน 13,364,146.92 บาท สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ จะ
แสดงรายการส่วนแบ่งกำไรตามวิธีส่วนได้เสียเพิ่มขึ้นจำนวน 442,839,502.33 บาท และในส่วนของ
ค่าใช้จ่ายจะแสดงรายการดอกเบี้ยค้างรับตัดบัญชี 20,560,226.03 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น
เพิ่มขึ้น
อีกทั้งผลกระทบดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนตามเงื่อนไขของหุ้นกู้เกินกว่า
2.5:1
แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียดของคำพิพากษาของ
ศาลฎีกา โดยในเบื้องต้นมีความเห็นว่า การที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไม่บังคับตามคำชี้ขาดของ
อนุญาโตตุลาการ โดยถือว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างรวมออกแบบระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศ
ไทย และกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ไม่มีผลผูกพันนั้น ไม่ได้ทำให้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายในเรื่องค่าใช้จ่าย
ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 6,039,893,254 บาท รวมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ดังกล่าว (ราคาคงที่ที่
เพิ่มขึ้น) ของกิจการร่วมค้า บีบีซีดี เสียไปแต่อย่างใด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายอนุกูล ตันติมาสน์)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป
ที่ CK-07-0000-PO-L-0055
21 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง แจ้งผลกระทบจากคำพิพากษาของศาลฎีกา
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่
2/2550 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 21 เลขที่ 587 อาคาร
วิริยะถาวร ถนนสุทธิสาร แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร นั้น
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติพิจารณาและรับทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่องบการเงิน
ของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เนื่องจากการที่ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ชำระเงินให้แก่กิจการร่วมค้า บีบีซีดี (บิลฟิงเกอร์ พลัส เบอร์เกอร์ บาวอัคเตียน เกเซลซาฟท์ บริษัท
ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และดิคเคอร์ฮอฟฟ์ แอนด์ วิดแมนน์ เอจี) โดยบริษัท ช.การช่าง จำกัด
(มหาชน) ได้มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ในกิจการร่วมค้าดังกล่าวร้อยละ 35 ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อ
งบการเงินของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 จึงมีราย
ละเอียดดังต่อไปนี้
ในงบดุลสำหรับงบรวมบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จะแสดงรายการบันทึกรายการ
สำรองค่าเผื่อหนี้สูญสำหรับลูกหนี้เงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวน 2,515,620,262.28 บาท
สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ จะแสดงรายการสำรองผลขาดทุนจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า
จำนวน 2,508,249,686.72 บาท
ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงบรวมบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ในส่วนของค่าใช้จ่ายจะ
แสดงรายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญสำหรับลูกหนี้เงินค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวน
2,508,249,686.72 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ
จะแสดงรายการส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าจำนวน
2,508,249,686.72 บาท
ทั้งนี้ผู้ร่วมค้าและเป็นเจ้าหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กิจการร่วมค้าดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในการ
ยกเว้นการคิดดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินกู้ที่มาจากผู้ร่วมค้าทั้งหมดโดยยังคงสิทธิการเรียกดอกเบี้ยไว้หากว่า
ได้รับค่าชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากผู้ว่าจ้าง แต่ถ้าไม่ได้ก็จะไม่เรียกเก็บดอกเบี้ย ดังนั้นผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นต่องบการเงินของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ในงบดุลสำหรับงบรวมของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จะบันทึกกลับรายการดอกเบี้ย
ค้างจ่ายจำนวน 442,839,502.33 บาท และบันทึกกลับรายการดอกเบี้ยค้างรับจำนวน
13,364,146.92 บาท สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ จะบันทึกกลับรายการดอกเบี้ยค้างรับ
จำนวน 20,560,226.03 บาท
ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงบรวมบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ในส่วนของรายได้จะแสดง
รายการรายได้โอนกลับดอกเบี้ยค้างจ่ายจำนวน 442,839,502.33 บาท ในส่วนของค่าใช้จ่ายจะแสดง
รายการดอกเบี้ยค้างรับตัดบัญชีจำนวน 13,364,146.92 บาท สำหรับงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ จะ
แสดงรายการส่วนแบ่งกำไรตามวิธีส่วนได้เสียเพิ่มขึ้นจำนวน 442,839,502.33 บาท และในส่วนของ
ค่าใช้จ่ายจะแสดงรายการดอกเบี้ยค้างรับตัดบัญชี 20,560,226.03 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น
เพิ่มขึ้น
อีกทั้งผลกระทบดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนตามเงื่อนไขของหุ้นกู้เกินกว่า
2.5:1
แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษารายละเอียดของคำพิพากษาของ
ศาลฎีกา โดยในเบื้องต้นมีความเห็นว่า การที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาชี้ขาดไม่บังคับตามคำชี้ขาดของ
อนุญาโตตุลาการ โดยถือว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างรวมออกแบบระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศ
ไทย และกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ไม่มีผลผูกพันนั้น ไม่ได้ทำให้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายในเรื่องค่าใช้จ่าย
ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 6,039,893,254 บาท รวมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ดังกล่าว (ราคาคงที่ที่
เพิ่มขึ้น) ของกิจการร่วมค้า บีบีซีดี เสียไปแต่อย่างใด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายอนุกูล ตันติมาสน์)
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานทรัพยากรมนุษย์และบริหารทั่วไป