อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 2
สมัยนั้นดอกเบี้ยไทยสูงกว่าอเมริกา เงินทุนไหลเข้าอย่างหนัก สภาพคล่องล้น อสังหาและตลาดหุ้นเลยฟองสบู่ ซื้อแล้วเขียวทุกวันติดต่อกันนานหลายปี ทุกคนก็เลยคิดว่าซื้อหุ้นแล้วปลอดภัยช่วยกันซื้อเพิ่ม หุ้นก็เลยยิ่งขึ้นไปอีก ตอนนั้นพีอี 31 เท่า นักวิเคราะห์บอกว่ายังไม่แพงเพราะ EPS growth ในปีต่อๆ ไปจะช่วยให้พีอีค่อยๆ ลดลงเอง
ปรากฏว่าไทยเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ความมั่นใจเลยเริ่มหดหาย market correction รวดเดียวเอาคืนหมดเลย
ปรากฏว่าไทยเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ความมั่นใจเลยเริ่มหดหาย market correction รวดเดียวเอาคืนหมดเลย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 3
คงไม่ถึงกับไม่ดีมั้ง อาจทรงๆซู่ๆซ่าๆ
แต่ต้องขึ้นกับเงินทุนไหลบ่า แน่ๆ
และผมก็สงสัยด้วยว่าตอนนั้น gdp เราโตเท่าไร
ไปดูได้จากไหนนี่
แต่มี สี่งแปลกๆที่ผมเรียกว่าสถิติก็แล้วกัน
ระหว่าง set index กับ วงการกีฬาบ้านเรา
คงต้องไป post ในห้องกีฬา.....
แต่ต้องขึ้นกับเงินทุนไหลบ่า แน่ๆ
และผมก็สงสัยด้วยว่าตอนนั้น gdp เราโตเท่าไร
ไปดูได้จากไหนนี่

แต่มี สี่งแปลกๆที่ผมเรียกว่าสถิติก็แล้วกัน
ระหว่าง set index กับ วงการกีฬาบ้านเรา
คงต้องไป post ในห้องกีฬา.....

- ISUZU
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 7
ท่านแม่ทัพ ตอนนี้เหมือนธปท. กำลังเป็นวัวพันหลักอยู่เพื่อแก้ปัญหาเงินไหลเข้า แต่ผมก็ยังงง ว่าแล้วไหงบาทยังไม่อ่อนเลย ถ้าเป็นงี้จะทำยังไงครับ ทางแก้คือ ออกมาตราการทุยๆอีกรอบ หรือว่า สละเรือยกเลิกทุกอย่างให้เป็นไปตามกลไกสุมาอี้ เขียน:สมัยนั้นดอกเบี้ยไทยสูงกว่าอเมริกา เงินทุนไหลเข้าอย่างหนัก สภาพคล่องล้น อสังหาและตลาดหุ้นเลยฟองสบู่ ซื้อแล้วเขียวทุกวันติดต่อกันนานหลายปี ทุกคนก็เลยคิดว่าซื้อหุ้นแล้วปลอดภัยช่วยกันซื้อเพิ่ม หุ้นก็เลยยิ่งขึ้นไปอีก ตอนนั้นพีอี 31 เท่า นักวิเคราะห์บอกว่ายังไม่แพงเพราะ EPS growth ในปีต่อๆ ไปจะช่วยให้พีอีค่อยๆ ลดลงเอง
ปรากฏว่าไทยเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ความมั่นใจเลยเริ่มหดหาย market correction รวดเดียวเอาคืนหมดเลย
อยากให้ท่านแม่ทัพวิแคะ ภาวะอสังหา และภาวะหุ้น ต่อไปเพราะแนวโน้มน้ำมันก็ลง แถมดอกเบี้ยก็ลด
ใกล้ๆจะประกาศงบแล้ว บรรยากาศควรจะดีขึ้นแต่ผมยังไม่กล้าเข้าไป กลัวดอยอะ ขอคำขึ้แนะจากท่านแม่ทัพ... :D
ส่วนผมยิ่งดูยิ่งงง กับปัจจัยบวก ลบหลายอย่างจนเหมือนจะเพี้ยนๆ ยังไงไม่รู้
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 8
[quote="mangmoom"]ตอนดัชนี 1700 ประมาณ พศ 2536-37
พี่สุมาอี้อายุเท่าไรครับ
เดาว่า 17-18 ขวบ อืม......เก่งจิงๆคับ
พี่สุมาอี้อายุเท่าไรครับ
เดาว่า 17-18 ขวบ อืม......เก่งจิงๆคับ

http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 9
[quote="ปรัชญา"]ตอนมันดิ่งลง
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 10
ถ้าธปท.เข้าใจว่านี่ไม่ใช่ความผันผวนแต่เป็นจุดเริ่มต้นของยุคดอลล่าร์อ่อน ธปท.ก็จะเข้าใจว่าทางเลือกที่ดีที่สุดก็คือปล่อยวาง เพราะสุดท้ายแล้วบาทก็จะแข็งอยู่ดีไม่ว่าเราจะทำอะไรหรือไม่ISUZU เขียน:ออกมาตราการทุยๆอีกรอบ หรือว่า สละเรือยกเลิกทุกอย่างให้เป็นไปตามกลไก
ปีนี้เงินเฟ้อต่ำมากแน่นอน ดอกเบี้ยนโยบายต้องลดตามเงินเฟ้อแต่ลงเร็วไม่ได้ ทำให้ช่วงต้นปี 50 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกอย่างมากISUZU เขียน: อยากให้ท่านแม่ทัพวิแคะ ภาวะอสังหา และภาวะหุ้น ต่อไปเพราะแนวโน้มน้ำมันก็ลง แถมดอกเบี้ยก็ลด
ภาวะแบบนี้ตลาด commodities จะไม่น่าสนใจ เพราะไม่มีเหตุผลให้ต้อง hedge เงินเฟ้อ เศรษฐกิจโลกก็ชะลอ ทำให้ความต้องการใช้วัตถุดิบยิ่งน้อยลงไปใหญ่ ที่อาจจะดีหน่อยก็คือทองคำเพราะทองคำไม่ได้มีไว้ใช้ในอุตสาหกรรม แต่มีไว้ hedge dollar เป็นหลัก
แต่ที่ดีกว่าทองคำน่าจะเป็นตลาดเงิน (non-dollar) เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงทำให้การเก็บพันธบัตรดีกว่าการเก็บทองคำซึ่งเก็บแล้วไม่ได้ดอกเบี้ย
ส่วนตลาดหุ้นถ้าเงินไหลเข้ามาในตลาดเงินมากจริงๆ ตลาดหุ้นก็น่าจะดีไปด้วย
ส่วนอสังหานั้นผมว่าปัจจัยทุกอย่างในปีนี้เป็นบวกหมด ยกเว้น สถานการณ์ทางการเมือง ก็เลยทายยากเหมือนกันว่าจะดีหรือไม่ ถ้าการเมืองไม่ดุก็น่าจะดีขึ้น แต่ถ้าการเมืองดุก็คงทรงๆทรุดๆเหมือนปีที่แล้ว การเมืองเป็นอะไรที่ทายยากครับ
อย่างไรเสียพวกบ้านเดี่ยวราคาแพงก็ยังล้นตลาดอยู่มากนะครับ
หมอเดา
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 11
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ปีนี้เงินเฟ้อต่ำมากแน่นอน ดอกเบี้ยนโยบายต้องลดตามเงินเฟ้อแต่ลงเร็วไม่ได้ ทำให้ช่วงต้นปี 50 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกอย่างมาก
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 12
มันโหดตรงเราเรียนรู้ตามหลังต่างชาติตลอดสุมาอี้ เขียน: มันโหดร้ายว่าปีนี้มากนะครับพี่ ถือว่ามาตรการ 3 ดอก เด็กๆ ไปเลย
ไปรับวิธีเล่นมาร์จิ้นมาใหม่ๆ ยังไม่รู้วิธีการที่ดี
ถูกจับขายกัน หมดเนื้อหมดตัว
เหมือนรอบนี้ นักลงทุนไทยก็ไปเรียนรู้
รับกติกามาเล่นพนันดัชนี
กลุ่มต่างชาติถือหุ้นดัชนีจำนวนมากไว้
พวกกองทุนของเขาก็แทงดัชนีลง
แล้วเขาก็เทขายหุ้น กำไรเด้ง1ราคาหุ้น เด้ง2กำไรพนันดัชนี
พอดัชนีลงไปตามที่เขาวางกลยุทธ
กลุ่มต่างชาติมีเงินเยอะ หากแทงดัชนีขึ้น
แล้วเขาก็ไล่เก็บหุ้นขึ้นมา
แล้วเมื่อถึงจุดที่เขาต้องการได้กำไร
เขาก็ขายพนันดัชนีทิ้ง
แล้วซื้อดัชนีขาลง แล้วเริ่มขายหุ้นใหม่
พูดเหมือนง่ายครับแต่ทำคงไม่ง่าย
แต่ก็เป็นกลยุทธต้องทำความเข้าใจ
และตามหลังเขาไป เรื่อยๆ เหมือนช๊อตหุ้น
เขาบอกเพื่อสภาพคล่อง สำหรับเล่นหุ้น
มันก็เข้าทางรายใหญ่เงินมากก็เล่นง่ายกำไรเยอะ
ส่วนรายย่อยเล่นยากกำไรน้อยครับท่านแม่ทัพ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 13
ปีที่แล้วเงินเฟ้อ 4 กว่าๆ ดอกเบี้ย 5 ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำกว่า 1Jeng เขียน:ไม่เข้าใจเท่าไรครับ ดอกเบี้ยลด ดอกเบี้ยแท้จริงเพิ่มโค้ด: เลือกทั้งหมด
ปีนี้เงินเฟ้อต่ำมากแน่นอน ดอกเบี้ยนโยบายต้องลดตามเงินเฟ้อแต่ลงเร็วไม่ได้ ทำให้ช่วงต้นปี 50 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวกอย่างมาก
แต่ปีนี้เงินเฟ้อจะลดลงอย่างรวดเร็ว อาจจะเหลือแค่ 2-3% แต่ดอกเบี้ยจะไม่ลดลงเหลือ 2-3% ทันที ทำให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยกับเงินเฟ้อถ่างออกอย่างมาก ดอกเบี้ยแท้จริงก็เลยเพิ่มขึ้น
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 15
ต่างชาติเขาคิดค่าเทอมแพงทุกรอบเลย 8)ปรัชญา เขียน:
มันโหดตรงเราเรียนรู้ตามหลังต่างชาติตลอด
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 17
สาเหตุ จำไม่แม่นว่า ไม่มีเหตุการณ์อะไรสำคัญลูกอิสาน เขียน:
GDP กับ SET INDEX
จำได้ว่าสาเหตุที่หุ้นขึ้นเพราะนักลงทุนต่างชาติโหมซื้อติดต่อกันหลายเดือน ส่วนสาเหตุไม่ทราบว่าทำไม..
เพียงแต่หุ้นขึ้นมามาก
แล้วกองทุนหุ้นก็เยอะ
เหมือนต่างชาติ
สอน+บอกทางการไทย
ขายหน่วยลงทุน
เฮ้ย you ตั้งกองทุนรับซื้อหุ้นให้หน่อย
I จะขายแล้วไม่มีแรงรับหุ้น พวกI ว่ะ
มีคนยิงตัวตายที่ตะหลาดลักซับ เรื่องมาร์จิ้น
แล้วกองทุนก็เจ๊ง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 20
การเติบโตของเศรษกิจตอนนี้ดูจะโตแบบกลวงๆ ไม่ยั่งยืน คือ
มีการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศ นำมาลงทุน ถ้าลงทุนแล้วสร้างรายได้ให้ประเทศก็คงไม่เป็นไร แต่ความจริงมีการใช้เงินกู้ลงทุน บริโภค เก็งกำไรในกิจการที่ไม่เกิดผลผลิตเช่น อสังหา สนามกอฟ และอื่นๆ
เงินกู้จากต่างประเทศนี้ช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าจำนวนมาก ทำให้เงินทุนสำรองยังสมดุล แต่เมื่อการส่งออกเริ่มชะงัก ต่างชาติเริ่มสงสัยในความสามารถการชำระหนี้ และเริ่มไม่ปล่อยกู้ เท่ากับว่าเงินเข้าไม่มี แต่เงินยังไหลออกตลอดเวลาจากการขาดดุลการค้า ผสมกับเงินหน้าตักหรือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีประมาณ 3-4 หมื่นล้านเหรียญ แต่มีหนี้ระยะสั้นที่ต้องชำระถึงประมาณ 7-8 หมื่น ไม่รวมหนี้ระยะยาว เท่ากับว่าฐานะของประเทศล้มละลายแล้ว..
สนิมย่อมเกิดจากเนื้อในตนครับ
การเก็งกำไรจากพวกกองทุนแค่เป็นตัวเร่งให้ทุกอย่างเกิดเร็วขึ้น..
ผมเชื่ออย่างนี้นะ
มีการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศ นำมาลงทุน ถ้าลงทุนแล้วสร้างรายได้ให้ประเทศก็คงไม่เป็นไร แต่ความจริงมีการใช้เงินกู้ลงทุน บริโภค เก็งกำไรในกิจการที่ไม่เกิดผลผลิตเช่น อสังหา สนามกอฟ และอื่นๆ
เงินกู้จากต่างประเทศนี้ช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าจำนวนมาก ทำให้เงินทุนสำรองยังสมดุล แต่เมื่อการส่งออกเริ่มชะงัก ต่างชาติเริ่มสงสัยในความสามารถการชำระหนี้ และเริ่มไม่ปล่อยกู้ เท่ากับว่าเงินเข้าไม่มี แต่เงินยังไหลออกตลอดเวลาจากการขาดดุลการค้า ผสมกับเงินหน้าตักหรือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีประมาณ 3-4 หมื่นล้านเหรียญ แต่มีหนี้ระยะสั้นที่ต้องชำระถึงประมาณ 7-8 หมื่น ไม่รวมหนี้ระยะยาว เท่ากับว่าฐานะของประเทศล้มละลายแล้ว..
สนิมย่อมเกิดจากเนื้อในตนครับ
การเก็งกำไรจากพวกกองทุนแค่เป็นตัวเร่งให้ทุกอย่างเกิดเร็วขึ้น..
ผมเชื่ออย่างนี้นะ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 21
เป็นไปได้หรือไม่ครับว่า ธปท มองเห็นว่าเงินกำลังไหลเข้า เลยพยายามป้องกันการเกิดฟองสบู่ ด้วยการออกมาตรการต่างๆ เพราะเมื่อมีเงินไหลเข้ามากๆ ประเทศเรามันเล็ก ทุกอย่างมันก็จะราคาสูงขึ้นไปจนไร้เหตุผล ธปท เลยพยายามเอาเข็มไปจิ้มฟองสบู่ ให้มันแตกตั้งแต่ฟองยังเล็กๆ เพื่อไม่ให้มันแตกตอนที่ใหญ่เกินไปสุมาอี้ เขียน:สมัยนั้นดอกเบี้ยไทยสูงกว่าอเมริกา เงินทุนไหลเข้าอย่างหนัก สภาพคล่องล้น อสังหาและตลาดหุ้นเลยฟองสบู่ ซื้อแล้วเขียวทุกวันติดต่อกันนานหลายปี ทุกคนก็เลยคิดว่าซื้อหุ้นแล้วปลอดภัยช่วยกันซื้อเพิ่ม หุ้นก็เลยยิ่งขึ้นไปอีก ตอนนั้นพีอี 31 เท่า นักวิเคราะห์บอกว่ายังไม่แพงเพราะ EPS growth ในปีต่อๆ ไปจะช่วยให้พีอีค่อยๆ ลดลงเอง
ปรากฏว่าไทยเริ่มขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ความมั่นใจเลยเริ่มหดหาย market correction รวดเดียวเอาคืนหมดเลย
อ้อ ผมไม่ได้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับมาตรการของเค้านะครับ เพียงแต่คิดว่า ถ้าสมมุติฐานนี้ถูกต้อง อีกสักระยะเวลาหนึ่ง ราคาหุ้นของเราอาจลอยขึ้นแบบไร้เหตุผลอีก เมื่อถึงเวลานั้น จะได้ไม่ระเริงไฟ แต่ทำตัวให้สมเหตุสมผล ด้วยการขายหุ้นออกไปครับ
แล้วก็ที่ดอลลาร์อ่อน ผมเคยอ่านๆเจอมา เข้าใจว่านอกจากขาดดุลต่อเนื่องแล้ว ช่วงที่ปู่อลันคุมเฟด แกก็พิมพ์แบงค์กงเต็กออกมาจำนวนมาก ซึ่งทำให้ค่าของแบงค์กงเต็กลดลงเรื่อยๆ พอคนเริ่มมั่นใจว่าแบงค์กงเต็กจะมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆ ก็พยายามเปลี่ยนไปถืออย่างอื่นแทน ซึ่งตลาดบ้านเราก็คงเป็นทางเลือกที่แย่น้อยกว่า ในบรรดาทางเลือกแย่ๆทั้งหลาย
ผมเองคิดเป็นตุเป็นตะ จับแพะชนแกะ ถ้าใครเห็นว่าผิดตรงไหนก็ช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ ผมจะได้ปรับแก้ข้อมูลในหัวของผมครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 22
ก็เป็นการกู้เงินดอลมาระยะสั้น ไม่กำหนดกี่ปีลูกอิสาน เขียน:การเติบโตของเศรษกิจตอนนี้ดูจะโตแบบกลวงๆ ไม่ยั่งยืน คือ
มีการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากต่างประเทศ นำมาลงทุน ถ้าลงทุนแล้วสร้างรายได้ให้ประเทศก็คงไม่เป็นไร แต่ความจริงมีการใช้เงินกู้ลงทุน บริโภค เก็งกำไรในกิจการที่ไม่เกิดผลผลิตเช่น อสังหา สนามกอฟ และอื่นๆ
เงินกู้จากต่างประเทศนี้ช่วยชดเชยการขาดดุลการค้าจำนวนมาก ทำให้เงินทุนสำรองยังสมดุล แต่เมื่อการส่งออกเริ่มชะงัก ต่างชาติเริ่มสงสัยในความสามารถการชำระหนี้ และเริ่มไม่ปล่อยกู้ เท่ากับว่าเงินเข้าไม่มี แต่เงินยังไหลออกตลอดเวลาจากการขาดดุลการค้า ผสมกับเงินหน้าตักหรือเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีประมาณ 3-4 หมื่นล้านเหรียญ แต่มีหนี้ระยะสั้นที่ต้องชำระถึงประมาณ 7-8 หมื่น ไม่รวมหนี้ระยะยาว เท่ากับว่าฐานะของประเทศล้มละลายแล้ว..
สนิมย่อมเกิดจากเนื้อในตนครับ
การเก็งกำไรจากพวกกองทุนแค่เป็นตัวเร่งให้ทุกอย่างเกิดเร็วขึ้น..
ผมเชื่ออย่างนี้นะ
แต่นำมาปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ ผ่อนกัน25ปี ระยะยาว
เวลาเขาเรียกเงินคืน แบ๊งค์ ไฟแนนท์ ก็เลยลำบากหรือเปล่า
จะไปเอาที่ไหนมาคืนหว๋า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 23
platalay เขียน:คุณลูกอิสานครับ
ไม่ทราบว่าเอารูปมาจากไหนครับ มีใหญ่กว่านี้รึปล่าวครับ รูปนี้ตัวหนังสืออ่านไม่ออกเลย (ตาถั่วมาก)
มีคนนำมาโพสต์ในเวปนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจ ผมก็เซฟเก็บไว้ครับ ลองเซฟแล้วไปขยายดูได้ครับ ที่จริงพอจะอ่านได้แต่อาจจะเมื่อยคอหน่อย :lol:
ไหนๆก็โพสต์ให้ครบถ้วนครับ...


การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 24
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ภาวะแบบนี้ตลาด commodities จะไม่น่าสนใจ เพราะไม่มีเหตุผลให้ต้อง hedge เงินเฟ้อ เศรษฐกิจโลกก็ชะลอ ทำให้ความต้องการใช้วัตถุดิบยิ่งน้อยลงไปใหญ่ ที่อาจจะดีหน่อยก็คือทองคำเพราะทองคำไม่ได้มีไว้ใช้ในอุตสาหกรรม แต่มีไว้ hedge dollar เป็นหลัก
แต่ที่ดีกว่าทองคำน่าจะเป็นตลาดเงิน (non-dollar) [color=red]เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงทำให้การเก็บพันธบัตรดีกว่าการเก็บทองคำ[/color]ซึ่งเก็บแล้วไม่ได้ดอกเบี้ย
ส่วนตลาดหุ้นถ้าเงินไหลเข้ามาในตลาดเงินมากจริงๆ ตลาดหุ้นก็น่าจะดีไปด้วย
ส่วนอสังหานั้นผมว่าปัจจัยทุกอย่างในปีนี้เป็นบวกหมด ยกเว้น สถานการณ์ทางการเมือง ก็เลยทายยากเหมือนกันว่าจะดีหรือไม่ ถ้าการเมืองไม่ดุก็น่าจะดีขึ้น แต่ถ้าการเมืองดุก็คงทรงๆทรุดๆเหมือนปีที่แล้ว การเมืองเป็นอะไรที่ทายยากครับ
อย่างไรเสียพวกบ้านเดี่ยวราคาแพงก็ยังล้นตลาดอยู่มากนะครับ
หมอเดา
แบบนี้ ก็ไม่เกียวกับดอกเบี้ยที่แท้จริงใช่หรือไม่
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 25
ดอกเบี้ยแท้จริง = อัตราดอกเบี้ย - อัตราเงินเฟ้อJeng เขียน: ถ้าต่างชาติ เอาเงินเข้ามา สมมุติ 10000 ล้าน แล้ว เขาไม่ได้ซื้อสินค้าในประเทศ คือเขาซื้อ พันธบัตร หรือ หุ้น แล้วก็ เตรียม ขายออก แล้วกลับประเทศ
แบบนี้ ก็ไม่เกียวกับดอกเบี้ยที่แท้จริงใช่หรือไม่
พวกเงินร้อนแม้จะไม่ได้คิดจะรอรับดอกเบี้ยจริงๆแต่ก็จะมองดอกเบี้ยแท้จริงประกอบในการเข้ามาเก็งกำไรเพราะถ้าอยู่ดีๆ เข้ามาเก็งกำไรโดยไม่มีเหตุผลที่น่าดึงดูดรองรับ จะไม่มีใครเข้ามาซื้อตามทำให้เจ๊งได้
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 26
เอาเท่าที่จำได้คร่าวๆแบบไม่ถูกต้อง 100% นะครับ
เศรษฐกิจไทย จริงๆแล้ว เริ่มมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนพูดถึงร้อนแรงเกินไป ในสมัยนายกชาติชาย ก่อนที่ซัดดัมจะบุกคูเวต ด้วยนโยบายแปลงสนามรบให้เป็นสนามค้า
เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ตั้งแต่ ซัดดัมบุกคูเวต การปฎิวัติ พฤษภาทมิฬ เรื่อยมา ก็ช่วยให้ความร้อนแรงลดลงได้มาก
พอ ปชป. มาเป็นรัฐบาล มีธารินทร์มาเป็น รมว.คลัง ก็มีการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น เช่น BIBF อัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นสูงมากแบบสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศค่อนข้างสูง
และจากการที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างจะคงที่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่างประเทศถูกกว่าในประเทศ เงินทุนก็ไหลเข้ามากมาย บริษัทคนไทยต่างๆก็พร้อมที่จะกู้เงินนอก โดยไม่คิดถึงความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และที่แย่ยิ่งกว่านั้น เป็นการกู้ยืมระยะสั้นมาลงทุนระยะยาว (จริงๆน่าจะเป็นกู้มาเก็งกำไรมากกว่า)
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยก็ยังขึ้นไม่มากนัก ที่ขึ้นจริงๆจังๆก็ใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น หุ้นก็วิ่งจากประมาณ 900 จุดไปที่ 1700 จุด
สมัยนั้นขึ้นลงได้แค่วันละ 10% ในช่วงนั้น แต่ละวัน ถ้าหุ้นของหุ้นไม่มีชนเพดานก็ถือว่าแย่มาก สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ วิ่งกันชนเพดานแทบทุกวัน
ตอนสิ้นปี แน่นอนว่าก็เหมือนทุกปี ที่หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆก็จะสัมภาษณ์นักวิชาการ นักการเงิน นักวิเคราะห์ชื่อดัง เกี่ยวกัวแนวโน้มในปีหน้า
ผมไม่เห็นคำสัมภาษณ์ของใคร หรือที่ไหน ที่จะเตือนว่าราคาหุ้นขึ้นมาเกินพื้นฐานแล้ว มีแต่ว่าจะโตต่อไปอีก ด้วยเหตุผลในแง่ดีต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจใหม่ที่สดใสคือธุรกิจสื่อสาร ทำเลประเทศไทยที่ดีมากเมื่อประเทศรอบข้างจะเลิกรบกัน และ อื่นๆอีกมากมาย
และแล้วจุดเริ่มต้นของโศกนาฎกรรม น่าจะเริ่มจากการที่ FED เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินทุนต่างประเทศก็เริ่มไหลออก จนในที่สุดก็มีการประกาศการซื้อขายนักลงทุนแต่ละกลุ่มในสิ้นวัน
ในช่วงนั้นการค้าต่างประเทศของไทยก็ไม่ใช่จะดี ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด รวมทั้งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คำที่ ธปท.และรัฐบาล แก้ต่างก็คือ เป็นเรื่องปรกติที่จะขาดดุล เพราะประเทศเรากำลังพัฒนา ต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากมาย เพื่อการส่งออก
แต่แล้ว เมื่อยอดส่งออกที่เติบโตมาโดยตลอด มากบ้างน้อยบ้าง ก็เริ่มถดถอยลงจนเติบโตติดลบ นั้นแหละคือที่มาของวิกฤตค่าเงินบาท ทำให้มีกองทุนต่างชาติเข้ามาขายเงินบาทเพราะคิดว่ายังไงก็ต้องอ่อนค่าลง เหมือนบริษัทที่เริ่มมีผลการดำเนินงานติดลบ ในขณะที่มีหนี้เงินกู้ระยะสั้นมากมาย ราคาหุ้นยังไงก็ต้องลดลง
ซึ่งก็มีท่านอาจารย์อัมมา สยามวารา และ ดร.โกร่ง ที่ออกมาเตือนเรื่องลดค่าเงินบาทตรงๆหลายครั้ง ธปท.ก็เถียงมาโดยตลอด และยืนยันว่าจะไม่ลดค่าเงิน
เมื่อมีต่างชาติมาแห่ขายเงินบาท ก็เป็นความจำเป็นที่ ธปท.ต้องรับซื้อไว้แทบทั้งหมด เพราะไม่ยอมให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เหมือนไม่ยอมให้ราคาหุ้นของบริษัทเน่าๆลดลง ธปท.ก็ซื้อเงินบาทจนหมดเงินต่างประเทศจึงยอมประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งจริงๆก็น่าจะเรียกว่าลดค่าเงิน
หลังวันที่ 2 ก.ค. ใหม่ๆ ค่าเงินบาทก็ยังอ่อนค่าไม่มากนัก อยู่แถวๆ 30 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าเงินทุนสำรองต่างประเทศของไทยหมดลงไม่เหลือหลอแล้ว ก็สร้างความตื่นตระหนกอย่างมาก
สถาบันการเงินต่างประเทศที่ให้ไทยกู้ยืมเงินระยะสั้นก็ไม่ต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ บริษัทคนไทยที่กู้เงินต่างประเทศก็เริ่มกังวลที่ค่าเงินบาทลดลงทุกวัน จนต้องแปลงเงินกู้สกุลเงินต่างประเทศเป็นเงินบาท ซึ่งก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว
เร็วแค่ไหน หลายคนที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์อาจจะนึกไม่ถึง ที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้ แค่เล็กน้อยมาก สมัยนั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าวันละหลายบาท ผมเองก็กังวลว่าเงินบาทของเราจะกลายเป็นเศษกระดาษหรือไม่ ไม่ใช่ก็ถือว่าใกล้เคียง ไหลลงต่ำสุดที่ 56 บาทต่อเหรียญ จนต้องไปกู้ยืมเงินจาก IMF
เหตุการณ์สมัยนี้ถือว่าแมวข่วนครับ
เศรษฐกิจไทย จริงๆแล้ว เริ่มมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนพูดถึงร้อนแรงเกินไป ในสมัยนายกชาติชาย ก่อนที่ซัดดัมจะบุกคูเวต ด้วยนโยบายแปลงสนามรบให้เป็นสนามค้า
เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ตั้งแต่ ซัดดัมบุกคูเวต การปฎิวัติ พฤษภาทมิฬ เรื่อยมา ก็ช่วยให้ความร้อนแรงลดลงได้มาก
พอ ปชป. มาเป็นรัฐบาล มีธารินทร์มาเป็น รมว.คลัง ก็มีการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น เช่น BIBF อัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นสูงมากแบบสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศค่อนข้างสูง
และจากการที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างจะคงที่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยต่างประเทศถูกกว่าในประเทศ เงินทุนก็ไหลเข้ามากมาย บริษัทคนไทยต่างๆก็พร้อมที่จะกู้เงินนอก โดยไม่คิดถึงความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และที่แย่ยิ่งกว่านั้น เป็นการกู้ยืมระยะสั้นมาลงทุนระยะยาว (จริงๆน่าจะเป็นกู้มาเก็งกำไรมากกว่า)
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยก็ยังขึ้นไม่มากนัก ที่ขึ้นจริงๆจังๆก็ใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น หุ้นก็วิ่งจากประมาณ 900 จุดไปที่ 1700 จุด
สมัยนั้นขึ้นลงได้แค่วันละ 10% ในช่วงนั้น แต่ละวัน ถ้าหุ้นของหุ้นไม่มีชนเพดานก็ถือว่าแย่มาก สื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ วิ่งกันชนเพดานแทบทุกวัน
ตอนสิ้นปี แน่นอนว่าก็เหมือนทุกปี ที่หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆก็จะสัมภาษณ์นักวิชาการ นักการเงิน นักวิเคราะห์ชื่อดัง เกี่ยวกัวแนวโน้มในปีหน้า
ผมไม่เห็นคำสัมภาษณ์ของใคร หรือที่ไหน ที่จะเตือนว่าราคาหุ้นขึ้นมาเกินพื้นฐานแล้ว มีแต่ว่าจะโตต่อไปอีก ด้วยเหตุผลในแง่ดีต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจใหม่ที่สดใสคือธุรกิจสื่อสาร ทำเลประเทศไทยที่ดีมากเมื่อประเทศรอบข้างจะเลิกรบกัน และ อื่นๆอีกมากมาย
และแล้วจุดเริ่มต้นของโศกนาฎกรรม น่าจะเริ่มจากการที่ FED เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินทุนต่างประเทศก็เริ่มไหลออก จนในที่สุดก็มีการประกาศการซื้อขายนักลงทุนแต่ละกลุ่มในสิ้นวัน
ในช่วงนั้นการค้าต่างประเทศของไทยก็ไม่ใช่จะดี ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด รวมทั้งขาดดุลบัญชีเดินสะพัด คำที่ ธปท.และรัฐบาล แก้ต่างก็คือ เป็นเรื่องปรกติที่จะขาดดุล เพราะประเทศเรากำลังพัฒนา ต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากมาย เพื่อการส่งออก
แต่แล้ว เมื่อยอดส่งออกที่เติบโตมาโดยตลอด มากบ้างน้อยบ้าง ก็เริ่มถดถอยลงจนเติบโตติดลบ นั้นแหละคือที่มาของวิกฤตค่าเงินบาท ทำให้มีกองทุนต่างชาติเข้ามาขายเงินบาทเพราะคิดว่ายังไงก็ต้องอ่อนค่าลง เหมือนบริษัทที่เริ่มมีผลการดำเนินงานติดลบ ในขณะที่มีหนี้เงินกู้ระยะสั้นมากมาย ราคาหุ้นยังไงก็ต้องลดลง
ซึ่งก็มีท่านอาจารย์อัมมา สยามวารา และ ดร.โกร่ง ที่ออกมาเตือนเรื่องลดค่าเงินบาทตรงๆหลายครั้ง ธปท.ก็เถียงมาโดยตลอด และยืนยันว่าจะไม่ลดค่าเงิน
เมื่อมีต่างชาติมาแห่ขายเงินบาท ก็เป็นความจำเป็นที่ ธปท.ต้องรับซื้อไว้แทบทั้งหมด เพราะไม่ยอมให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เหมือนไม่ยอมให้ราคาหุ้นของบริษัทเน่าๆลดลง ธปท.ก็ซื้อเงินบาทจนหมดเงินต่างประเทศจึงยอมประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งจริงๆก็น่าจะเรียกว่าลดค่าเงิน
หลังวันที่ 2 ก.ค. ใหม่ๆ ค่าเงินบาทก็ยังอ่อนค่าไม่มากนัก อยู่แถวๆ 30 บาท แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าเงินทุนสำรองต่างประเทศของไทยหมดลงไม่เหลือหลอแล้ว ก็สร้างความตื่นตระหนกอย่างมาก
สถาบันการเงินต่างประเทศที่ให้ไทยกู้ยืมเงินระยะสั้นก็ไม่ต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ บริษัทคนไทยที่กู้เงินต่างประเทศก็เริ่มกังวลที่ค่าเงินบาทลดลงทุกวัน จนต้องแปลงเงินกู้สกุลเงินต่างประเทศเป็นเงินบาท ซึ่งก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว
เร็วแค่ไหน หลายคนที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์อาจจะนึกไม่ถึง ที่พูดกันอยู่ทุกวันนี้ แค่เล็กน้อยมาก สมัยนั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าวันละหลายบาท ผมเองก็กังวลว่าเงินบาทของเราจะกลายเป็นเศษกระดาษหรือไม่ ไม่ใช่ก็ถือว่าใกล้เคียง ไหลลงต่ำสุดที่ 56 บาทต่อเหรียญ จนต้องไปกู้ยืมเงินจาก IMF
เหตุการณ์สมัยนี้ถือว่าแมวข่วนครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 28
[quote="chatchai"]สมัยนั้นขึ้นลงได้แค่วันละ 10%
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Doramon007
- Verified User
- โพสต์: 110
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบว่าตอนที่ดัชนี ขึ้นไป 1700
โพสต์ที่ 29
ขอบคุณความรู้และข้อมูลดี ๆ ของคุณฉัตรชัย และ ทุก ๆ ท่านมากครับ