* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สืบเนื่องจากคืนวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2006 เวลา 3 ทุ่มเศษ
ผมได้อ่านข่าวที่คุณ ปลาทะเล โพสข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ

เรื่อง ธปท.ออกมาตรการกักเก็บเพื่อป้องกันค่าเงินบาท
ผมรู้สึกได้ทันทีเลยว่า  วันรุ่งขึ้น ตลาดหุ้นต้องวุ่นวายอย่างหนักแน่

ผมจึงได้โพสความรู้สึกไว้ดัง Link นี้

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 537#223537

หลังจากนั้นจึงรีบเข้านอนเลย
เพราะคาดไว้แล้วถึงความวุ่นวายที่จะตามมาในวันรุ่งขึ้น

...........................................................................................................

วันรุ่งขึ้น...  หลังจากผมส่งลูกเข้าโรงเรียนและกลับมาเปิดร้าน
พร้อมกับมอบหมายงานให้กับพนักงานของผมจนเรียบร้อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ผมจึงเปิดคอมฯเพื่อเช็คข่าวเพื่อ Confirm อีกครั้ง
จากนั้นผมจึงเริ่มโพสกระทู้เรื่อง " ไม่อยากจะเชื่อ..." ในเวลา 9.19 am
เช้าวันที่ 19 ธค. ซึ่งเป็นเวลาก่อนตลาดเปิดเกือบ 1 ชั่วโมงดัง Link ข้างล่างนี้

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=21608



ผมจำได้ว่ามีเพื่อสมาชิก(ขออภัยที่เอ่ยนาม)คือคุณ " chatchai "
ที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้  ยืนเคียงข้างผมเพียง ท่านเดียว เท่านั้น
ที่ออกมาโพสเปิดเผยถึงความไม่ถูกต้องทั้งวิธีการออกมาตรการ
และผลเสียที่จะตามมาอีกมากมายต่อนักลงทุน
ให้เพื่อนสมาชิกได้รับทราบ  ก่อนตลาดเปิดพอสมควร



หลังจากตลาดหุ้นเปิด ดรรชนีลบทันที 60 กว่าจุด  
และไหลลงยิ่งกว่ารถด่วนสายนรกพานักลงทุนไทยและเทศ
พังย่อยยับพินาศลงไปจนเกือบ 150 จุดในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา


เหตุการณ์ในวันนั้นกลายเป็นประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทย
ที่ผมขอจารึกไว้  เพื่อเตือนถึงความไร้ความสามารถและไร้ซึ่งประสิทธิภาพ
ของธนาคารแห่งประเทศไทย  ทั้งก่อนหน้าประกาศมาตรการ
และเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาตรการยกเลิกบางมาตราการ
กลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ  ทั้งๆที่เป็นสถาบันระดับชาติ


เพื่อนๆสมาชิกครับ...

ผมไม่เคยโกรธเพื่อนสมาชิก  
ที่โพสไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของผมเลยแม้แต่นิดเดียว


ผมกลับเห็นว่า...

พวกเราเหล่าสมาชิก  ขาดการับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องอย่างเพียงพอ
ที่ไม่เห็นด้วยเพราะความรู้ด้วยมิติเพียงด้านเดียว

ซึ่งยังมีอีกหลายมิติที่ส่งผลกระทบต่อพวกเราคนไทยโดยตรง



แม้เหตุการณ์จะผ่านพ้นมาแล้วเป็นเวลาพอสมควร
มีบทความจากผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ความเห็นก็หลายฉบับ

แต่ไม่เห็นมีใครสนใจหรือใส่ใจนำมาปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองเสียใหม่
เพื่อสรุปเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่าแก่สมาชิกรุ่นหลังๆ


ผมจึงขออนุญาตเปิดห้อง " จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ "

เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
และลงบทความทางด้านเศรษฐกิจการเงินและตลาดทุน
ทั้งภายในและภายนอกประเทศ  

ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นข่าวและเหตุการณ์ย้อนหลัง
แก่สมาชิกรุ่นเก่าและใหม่ไว้ศึกษาต่อๆไป
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมขอเริ่มต้นด้วยคอลัมน์ " กาแฟดำ " ของคุณ สุทธิชัย  หยุ่น  จากกรุงเทพธุรกิจ...


มาตรการเกรียวกราวสกัด"เงินร้อน"ของแบงก์ชาติ...คือสูตร Tobin Tax


22 ธันวาคม 2549 น.

พอเกิดเหตุ "ธันวาฯ ทมิฬ" ที่ตลาดหุ้น เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม คนวงในก็ฟันธงลงไปทันทีว่ามาตรการ "เงินสำรอง 30%" สำหรับเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤติครั้งนี้ มีที่มาจากคนชื่อ James Tobin นักเศรษฐศาสตร์มะกันเจ้าของรางวัลโนเบลปี 1981 ที่เสนอให้เก็บภาษีเงินทุนต่างชาติเข้าออกประเทศ เพื่อสกัด "เงินร้อน" อันไม่พึงประสงค์

กลายเป็น "Tobin tax" ที่อื้อฉาวเกรียวกราว เป็นประเด็นถกเถียงกันในมวลหมู่นักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และนักการเมืองอย่างร้อนแรงมาแล้ว แม้แกจะเสียชีวิตไปเมื่อ 4 ปีก่อนแล้วก็ตาม

และแนวคิด Tobin tax นี่แหละ ที่สร้างความโกลาหลครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมให้กับประเทศไทยนี่เอง

"ภาษีโทบิน" ที่ว่านี้รัฐบาลชิลี ประกาศใช้เมื่อปี 1991 หรือเมื่อ 15 ปีก่อน เรียกตามชื่อนักเศรษฐศาสตร์คนดังคนนี้ ที่เสนอภาษีพิเศษนี้เพื่อสกัดการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศระยะสั้นไม่ให้นักเก็งกำไรเงินใช้เงินทุนจากต่างประเทศ เพื่อการปั่นเงินให้เจ้าของบ้านต้องเดือดร้อน

จะว่าไปแล้ว "ภาษีโทบิน" นั้น ตอนใช้ใหม่ๆ ก็ได้ผลในระยะแรก คือทำให้เกิด"ความนิ่ง" ในระบบเศรษฐกิจของชิลี ในระยะนั้นพอสมควร แต่ก็มิอาจจะถือเป็นมาตรการมั่นคงยืนยาวได้

ระหว่างปี 1991 ถึง 1998 ที่ภาษีนี้ใช้อยู่นั้น อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของชิลี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8 และนั่นคือ อัตราการโตที่สูงสุดของละตินอเมริกาในขณะนั้น เพราะไม่ว่าอะไรที่มีผลดีย่อมจะต้องมีผลเสียตามมา เพราะไม่มีใครสามารถจะ "กินอาหารเที่ยงฟรี" ได้ตลอด...แปลว่าไม่ว่ามาตรการเช่นนั้นจะดูดี และน่าทึ่ง แต่ก็หนีไม่พ้นว่ารัฐบาลชิลี จะต้อง "มีค่าใช้จ่าย" สำหรับการใช้นโยบายที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างนั้น

ผลทางลบก็คือเมื่อมีการควบคุมเงินไหลเข้าออกประเทศแล้ว บริษัทเล็กๆ ในประเทศก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้กับทุนที่หามาบริหารธุรกิจของตัวเองแพงขึ้นถึงร้อยละ 21 เปอร์เซ็นต์ หากคิดคำนวณเป็นเงินสกุลดอลลาร์

แน่นอนว่า การเก็บภาษีเงินไหลเข้าออกอย่างนี้ ย่อมเป็นการปิดกั้นการพัฒนาตลาดหุ้นของประเทศนั้นเอง และเมื่อไม่มีใครสามารถจะปิดประตูทุกประตูในโลกโลกาภิวัตน์ได้ สิ่งที่ตามมาก็คือความพยายามของบริษัทในชิลี ในอันที่จะแสวงหาเงินทุนจากตลาดอื่น หรือเครื่องมือการเงินการทองอย่างอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องจ่ายภาษีโทบินที่ว่านี้

เมื่อปี 1978 ศาสตราจารย์ James Tobin เสนอให้มีการเก็บภาษีทุกครั้ง ที่มีการทำธุรกรรมในอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนในโลกก็ตาม

เหตุผลของโทบิน ก็คือว่าการเก็บภาษีอย่างนี้ จะลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และจะทำให้ภาพของเศรษฐกิจมหภาค หรือ macro-economics ดีขึ้น

เหตุผลข้อสองที่เสนอให้เก็บภาษีประเภทนี้ ก็คือว่าจะทำให้มีรายได้จำนวนไม่น้อยที่จะนำไปสนับสนุนความพยายามที่จะพัฒนาระหว่างประเทศ

สูตรการเก็บภาษีของโทบินนั้น ค่อนข้างจะเข้มข้น นั่นคือต้องจ่ายภาษีสองหน โดยหนแรกเก็บเมื่อคุณซื้อเงินสกุลอื่น และต้องเสียภาษีอีกครั้ง เมื่อคุณขายเงินสกุลที่ซื้อมานั้น

ที่เก็บภาษีสองต่อก็เพราะมีจุดมุ่งหมายที่จะสกัดกั้นการไหลเข้าออกของเงินทุนระยะสั้นอย่างไม่ต้องสงสัย

การควบคุมเงินไหลเข้าออกประเทศมีอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือการกำหนดให้ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งที่เรียกว่า reserve requirements อย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม (ตอนแรกสำหรับเงินไหลเข้ามาทุกประเภท วันรุ่งขึ้นก็ยกเลิกมาตรการนี้สำหรับเงินที่เข้ามาในตลาดหุ้น)

สูตรของ reserve requirements นั้น มีเป้าหมายคือการสกัดเงินทุนไหลเข้า โดยในทางปฏิบัตินั้นธนาคารกลางกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินที่ไหลเข้าในสกุลต่างประเทศจำนวนหนึ่งโดยไม่ได้ดอกเบี้ย (ในกรณีของไทยครั้งนี้คือ 30 เปอร์เซ็นต์)

คนที่เห็นด้วยกับวิธีการเช่นนี้บอกว่า การกำหนดให้ต้องมีการสำรองเงินบางส่วนสำหรับเงินทุนไหลเข้านั้นมีผลในการทำให้ "เงินร้อน" หรือ hot money ไม่เข้าประเทศชิลีในช่วงที่ใช้มาตรการนี้ โดยไม่กระทบต่อการลงทุนระยะยาว

แต่คนที่คัดค้านวิธีการนี้บอกว่าเป็นการส่งสัญญาณผิดต่อนักลงทุนต่างประเทศ เพราะจะทำให้เกิดความแตกตื่นขึ้นมาในหมู่นักลงทุนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดทุนหรือตลาดตราสารหนี้หรือแม้เงินลงทุนต่างประเทศทางตรง เพราะรัฐบาลที่ใช้วิธีการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ ย่อมจะมี "เจตนาอะไรที่ไม่โปร่งใส" ซ่อนเร้นอยู่

เป็นเจ้า Tobin tax นี่แหละคือที่มาของความปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดหุ้นไทย ที่ยังเป็นประเด็นถกเถียงถึงที่มาที่ไปและเบื้องหลังของการตัดสินใจของธนาคารกลางของไทยจนถึงนาทีนี้
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ด้วยความนับถือพี่แมทครับ ผมมองไม่ขาดจริงๆว่าจะทะลุไปได้ขนาดนั้น

หากบ้านหลังใหม่เสร็จ กราบเรียนเชิญพี่แมทมาประจำด้วยนะครับ
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ เป็นคนเก่งที่ผมยอมรับ
และมีแนวความคิดที่ตรงกับผมหลายต่อหลายเรื่อง
เรามาลองอ่านความเห็นของท่านดูครับ


คำเตือนจาก "ศุภวุฒิ" บทเรียนครั้งนี้ย้ำรอยปี 2540 ที่สอนเราว่าหากฝืนตลาด...จะเจ๊ง "

กรุงเทพธุรกิจ  วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ภัทร สรุปไว้ชัดเจนว่า ความเสียหายจากมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ที่ออกไปเมื่อ 19 ธันวาคม 2549 หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า"มาตรการ 30%" และนำมาซึ่งมูลค่าตลาดหลักทรัพย์สูญหาย 8.2 แสนล้านบาท ดัชนีร่วง 108 จุด ภายในวันเดียว ถือเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศ และความเสียหายดังกล่าว เนื่องจาก "เราไม่เรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา" โดยเฉพาะบทเรียนที่สำคัญในปี 2540 ที่สอนให้เรารู้ว่าเราฝืนตลาดไม่ได้ และทุกครั้งที่ฝืนตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะเจ๊ง ดร.ศุภวุฒิ เล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจว่าหลังจาก ธปท.แถลงมาตรการ 16.30 น.ของวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ในฐานะที่ บล.ภัทร มีลูกค้าเป็นกองทุนและชาวต่างชาติจำนวนมาก เย็นถึงค่ำวันนั้นตนเองต้องคุยโทรศัพท์กับลูกค้า กว่า 200 สาย เพื่อชี้แจงมาตรการที่ ธปท.พึ่งจะออก และสร้างความตื่นตระหนกนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก

คำถามส่วนใหญ่ที่นักลงทุนต่างชาติถามพอสรุปได้ 4 ประเด็น 1.มาตรการดังกล่าว ธปท.ออกมาจริงหรือ 2.ใครเป็นคนคิด ทหารคิดหรือเปล่า 3.นายกฯรู้เรื่องนี้หรือเปล่า 4.ธปท.อิสระหรือไม่ และ 5.เมื่อรู้ว่ามาตรการออกมาแน่นอนไม่ได้เป็นข่าวลือ จึงมีคำถามตามมาว่า จะขายหุ้นอะไรได้บ้าง

"สิ่งที่ผมบอกไปวันนั้น และผิด คือ บอกว่ามาตรการดังกล่าวทางการคงใช้ไปอีกประมาณอย่างน้อย 2 เดือน แล้วคาดว่าจะมีการทบทวน ทั้งนี้ประเมินจากระบบราชการไทย แต่ผลที่ออกมา รมว.คลัง บอกยกเลิกเพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่หากให้ดีกว่านี้ คือ ไม่ควรออกมาเลย ดังนั้น ต้องยอมรับว่าความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากนักลงทุนจะมองว่าเมื่อมีครั้งแรกแล้วย่อมมีครั้งที่สองแน่นอน เปรียบเช่น คุณเดินอยู่กลางทะเลทราย มั่นใจว่าฝนไม่ตกแน่นอน แต่สุดท้ายเกิดฝนตกขึ้นมาเปียกกันถ้วนหน้า เพราะไม่ได้เตรียมพร้อม ดังนั้นหากจะเดินทะเลทรายครั้งต่อไปก็จำเป็นต้องเตรียมร่มไปด้วย เนื่องจากความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว"

ดร.ศุภวุฒิ ระบุว่า มาตรการที่ออกมานั้น ได้ลอกแบบประเทศชิลี เมื่อปี 1991 และใช้ชื่อลักษณะเดียวกันคือ unremunerated reserve requirement ส่วนของไทยเรียกว่า the reserve requirement แต่มีนัย สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันมาก เนื่องจากก่อนหน้านั้นชิลี และประเทศในละตินอเมริกา มีปัญหาเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง อย่างไรก็ตาม ชิลีได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจกันขนาดใหญ่ ใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงในการกำจัดเงินเฟ้อ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ส่งผลให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างมาก แต่ชิลี ต้องการที่จะแก้ปัญหาเงินเฟ้อให้เด็ดขาด จึงยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งกระตุ้นให้เงินไหลเข้าตลาดเงิน ตลาดทุน ซึ่งหากยังให้ดำเนินการต่อไป อาจจะทำให้สภาพคล่องในระบบมากขึ้น และนโยบายดอกเบี้ยสูงอาจจะไม่สำเร็จ

ทางการชิลี จึงออกมาตรการ unremunerated reserve requirement เริ่มจากสำรองเงินทุนระยะสั้นในตลาดบอนด์ และการปล่อยกู้ของต่างประเทศให้กับบริษัทในประเทศ แต่นักลงทุนต่างชาติ ยังหลบช่องดังกล่าว หันเข้ามาในตลาดหุ้น ทางการชิลีจึงหันมาปิดตลาดหุ้นต่อ นักลงทุนหันมาใช้ช่องทางลงทุนโดยตรง และสินเชื่อการค้า ชิลีก็ตามมาปิดสั่งสำรอง 30%ในช่องทางการลงทุนโดยตรง และสินเชื่อการค้า ซึ่งกว่าที่ทางการชิลี จะป้องกันการเก็งกำไร ปิดเส้นทางเงินได้ทุกช่องก็ใช้เวลา 3-4 ปี

"แบงก์ชาติ คงเห็นว่าการตามปิดแบบชิลี ต้องใช้เวลา 3-4 ปี ดังนั้นการออกมาตรการเพื่อให้เด็ดขาด รวดเร็วก็ปิดที่เดียวพร้อมกันทุกช่องทางเลย ทั้งตลาดบอนด์ ตลาดหุ้นและการลงทุนโดยตรง "

ทั้งนี้ประเด็นที่ การดำเนินการของชิลีไม่กระทบตลาดหุ้นนั้น นัยแตกต่างกัน เนื่องจากในปี 1993 เศรษฐกิจสหรัฐแย่ มีการลดดอกเบี้ย ทำให้เงินทุนไหลออกมาสู่ตลาดเกิดใหม่จำนวนมาก ดังนั้นแม้ชิลีจะมีมาตรการเงินก็ยังไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงนั้น ดัชนีขึ้นไปอยู่ระดับ 1,700 จุด จากแรงทะลักของเงินต่างชาติ

ดังนั้นถึงวันนี้ มีคำถามตามมาว่า ตลาดหุ้นไทยมีอะไรดีถึง ทำให้ต่างชาติกล้าที่จะยอมให้กันเงิน 30%ไว้ ในภาวะที่จีดีพีโลก อยู่ระดับเพียง 4.9%

นอกจากนั้น สหรัฐเองมีกฎหมายเฉพาะของเขา ที่ระบุว่าเงินสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินประกันสังคม ที่มาลงทุนในตลาดหุ้น เป็นเงินของประชาชน นำมาให้คนอื่นไม่ได้ เพราะการถูกหัก 30% เท่ากับยอมรับให้คนอื่นนำเงินไปใช้ รวมไปถึงกองทุนการเงินสำคัญของโลก พร้อมจะออกจากตลาดที่มีต้นทุน และควบคุมเงินทุนเพราะถือเป็นความเสี่ยงพื้นฐานของการบริหารกองทุน

ดร.ศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า ทางออกของการแก้ปัญหาเงินทุนระยะสั้น เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาที่ถูกต้องนั้น น่าจะดำเนินการได้ 3 วิธี

วิธีแรก ลดการส่งออก ซึ่ง ดร.ศุภวุฒิ เห็นว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะสวนทางกับภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เพราะถ้าการส่งออกลดลง จะทำให้เราขาดดุลการค้า และอาจขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง แต่ในเมื่อรัฐบาลสนับสนุนการส่งออก ต้องการให้การส่งออกเพิ่มมากขึ้น ก็ต้องยอมรับให้เงินบาทแข็งค่า แต่ต้องหันไปทำวิธีที่สอง

วีธีที่สอง คือ เพิ่มการนำเข้า โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน เนื่องจากขณะนี้เป็นจังหวะของการขยายการลงทุน หากภาครัฐ และเอกชนมีโครงการลงทุน ก็เป็นโอกาสดีที่จะนำเข้าสินค้าทุน เพราะราคาสินค้าทุนจะถูกลง เมื่อนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบทำให้ดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล เป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง

วิธีที่สามคือ "ลดดอกเบี้ย" ซึ่ง ดร.ศุภวุฒิ เห็นว่ากระทำได้ และผลกระทบข้างเคียงน้อยที่สุด เนื่องจากการลดดอกเบี้ยนโยบาย จะส่งผลให้เม็ดเงินที่เข้ามาในตลาดเงิน ที่ต้องการหาผลประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูง ลดลง แต่อาจต้องกระชากดอกเบี้ยลดลง ไม่ต่ำกว่า 0.5% ในการปรับลดครั้งแรก และต้องกล้าส่งสัญญาณออกต่อไปว่า ถ้าไม่ได้ผลก็จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5%

"การลดดอกเบี้ยลง 0.5-1% เชื่อว่าจะสกัดเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไรได้ และไม่เห็นว่าถ้าดอกเบี้ยลงแล้ว จะทำให้เกิดความเสียหายอะไร ถ้าแบงก์ชาติบอกว่ากลัวเงินเฟ้อ แล้วทำไมต้องดึงเงินบาทให้อ่อน ซึ่งสุดท้ายเงินก็เฟ้อจากค่าเงินอ่อนอีกนั้นแหละ ดังนั้นเป็นการอธิบายขัดกันเอง" ดร.ศุภวุฒิ กล่าว

การไหลเข้าของเงินทุนช่วงที่ผ่านมา ดร.ศุภวุฒิ ยอมรับว่า ส่วนใหญ่ไหลเข้าไปยังตลาดตราสารหนี้ เพราะนักลงทุนคาดว่า เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับสูง แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับลดลง จึงนำเงินเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ทุกประเภท ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพราะหวังว่าจะได้ผลตอบแทนมากขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

"นักลงทุนเขาเห็นโอกาสจากส่วนต่างดอกเบี้ย ก็เข้ามาหาผลตอบแทน ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงถ้าเงินบาทอ่อน เขาก็ขาดทุนเหมือนกัน แต่มาตรการที่แบงก์ชาติกำหนดให้ดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% จะทำให้ตลาดตราสารหนี้โตยาก ทั้งที่เราควรพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หากตลาดตราสารหนี้ใหญ่ขึ้น จะทำให้สถาบันการเงินสามารถกระจายความเสี่ยงได้ และเป็นฐานในการทำธุรกรรมอนุพันธ์ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง"

ขณะเดียวกัน มาตรการของแบงก์ชาติซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทน ของตลาดพันธบัตรสูงขึ้น ขณะที่รัฐบาลกำลังทำงบประมาณขาดดุล ตั้ง 1.5 แสนล้านบาท ถ้าออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จะส่งผลให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายแพงขึ้น

ดร.ศุภวุฒิ ทิ้งท้าย ไว้น่าสนใจว่า ความเสียหายในครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญ ที่วิกฤตการณ์ปี 2540 ได้สอนไว้นั้นคือ เราฝืนตลาดไม่ได้ และทุกครั้งที่ฝืนตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะเจ๊ง เพราะหากเป็นนักเศรษฐศาสตร์แล้ว จะรับรู้ได้ว่าตลาดนั้นมีพลัง หากบิดเบือนตลาดคุณจะแพ้

"ปี 2540 เราพยายามฝืนตลาดโดยการพยายามให้บาทแข็ง มาปีนี้เราพยายาม ฝืนตลาดพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อน และเราก็เจ๊ง เหมือนกัน เพราะเราไม่ได้เรียนรู้วิกฤติ ปี 2540 และธนาคารกลางที่ดีนั้นต้องนำตลาดไม่ใช่ให้ตลาดนำ เพราะหากตามตลาดเมื่อไหร่คุณจะเหนื่อย เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยในตลาดได้ลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติแล้ว"


ผมเริ่มได้กลิ่นเงินที่ไม่หอม
และเริ่มรู้สึกหนาวเกี่ยวกับเรื่องเงินภายในแบงค์ชาติอีกแล้วครับ...   :wink:
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 5

โพสต์

jaychou เขียน:ด้วยความนับถือพี่แมทครับ ผมมองไม่ขาดจริงๆว่าจะทะลุไปได้ขนาดนั้น

หากบ้านหลังใหม่เสร็จ กราบเรียนเชิญพี่แมทมาประจำด้วยนะครับ


ต่อไปพวกเราต้องช่วยกันหาความรู้ให้มากขึ้นกว่าเดิมนะครับ    :wink:
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ตอนนี้ฝรั่งกำลังตีความหมายที่เคยสงสัยมานานของการนำมาใช้ปฏิบัติจริงของคำว่า นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเติบโตยั่งยืน ว่ามันคือการเข้าแทรงแซง หรือ ทำอะไรที่ตรงข้ามกับ free capital market เพื่อการเติบโตแบบช้าๆค่อยเป็นค่อยไป อ่ะครับ :!:
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เอื้อก....... มิล่ายมิล่าย  อั๊วอ่างเอาจากที่ฝาหรั่งมังเขียงอีกที
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เอื้อก....... มิล่ายมิล่าย  อั๊วอ่างเอาจากที่ฝาหรั่งมังเขียงอีกที
ภาพประจำตัวสมาชิก
Newbee
Verified User
โพสต์: 148
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมยังมิอาจวิเคราะห์ได้ว่า นโยบายของ ธปท ถูกหรือผิด แต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญภายในชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมงเป็นเรื่องไม่น่ากระทำ เพราะการจะทำสิ่งที่สำคัญและกระทบกับหลายๆสิ่ง ควรจะวิเคราะห์ในแน่นอนก่อน และ อีกเรื่องคือ ในวันนั้นแม่ทัพที่สำคัญในการทำศึกกับไม่ได้อยู่ในที่ควรจะอยู่ กับไปทำธุระสำคัญที่ต่างจังหวัด มองเห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพที่จะพึ่งพิงได้ในยามยาก

"มติชนรายสัปดาห์เรียกว่า นโยบายล่มปากอ่าว"

"เอาความเห็นอีกแบบมาให้อ่าน"

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10511
ขจัดนักทุบค่าเงินบาท
คอลัมน์ ทวนน้ำขวางโลก
พิเชียร คุระทอง

อย่าเพิ่งด่วนสรุปติเรือทั้งโกลนตำหนิธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างทันทีทันใดโทษฐานที่ออกมาตรการหวังสกัดนักเก็งกำไรค่าเงินบาทระยะสั้นจนส่งผลให้หุ้นไทยราคาร่วงรูดลงมาแบบถล่มทลายมากมายเป็นประวัติการณ์

ย้อนหลังไปในช่วงกลางปี พ.ศ.2540 ที่ฐานะการเงินการคลังของเราป่วยด้วยโรคที่เสียดสีกันว่าเป็นโรคต้มยำกุ้ง ไทยเราได้ประกาศให้ค่าเงินบาทของเราอ่อนลงตามความเป็นจริง จากที่เคยตรึงค่าเงินไว้ที่ 26 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์อเมริกัน ไทยได้ยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงไปตามกลไกตลาดซึ่งในช่วงนั้นต้องใช้เงินถึง 50 กว่าบาท จึงจะแลกได้ 1 ดอลลาร์ ช่วงนั้นคนที่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอกต้องเรียกลูกกลับมาเรียนเมืองไทยกันมากมายเพราะสู้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าไม่ไหว

ความผิดพลาดครั้งนั้นเกิดจากภาคธุรกิจเอกชนกู้เงินนอกเข้ามาใช้จนเกินตัวและธุรกิจบางภาคประสบความล้มเหลวจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดและประกอบกับเงินสำรองต่างประเทศของเราลดน้อยลง จากฐานะทางการเงินของชาติที่ง่อนแง่นลงเช่นนี้ คนหนึ่งที่มองเห็นก็คือพวกกองทุนต่างประเทศทั้งปวงที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ กองทุนเหล่านี้ก็ฉวยโอกาสเก็งกำไรค่าเงินทันทีด้วยการทิ้งเงินบาทซื้อดอลลาร์ กองทุนที่ถือหุ้นในตลาดไทยก็รีบขายหุ้นเพื่อเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ พวกเขาต้องรีบทำในขณะที่ใช้เงินบาทเพียง 26 บาท ยังแลกได้ 1 ดอลลาร์ เพราะถ้าช้าเกินไปให้ทางฝ่ายไทยลดค่าเงินบาทไปก่อนแล้วพวกเขาต้องใช้เงินบาทมากขึ้นจึงจะแลกได้ 1 ดอลลาร์ การทิ้งหุ้นของกองทุนต่างชาติทำให้หุ้นไทยร่วงติดต่อกันเหลือไม่ถึงครึ่งของดัชนีที่ขึ้นไปพันกว่าจุด

แน่นอนความผิดพลาดในครั้งนั้นเป็นเพราะตัวเราเองทั้งธุรกิจภาคเอกชนและทางการไทยที่ไม่ดูแลฐานะการเงินการคลังให้ดีแต่กลับประมาทและย่ามใจ แต่ในส่วนของกองทุนจากต่างประเทศซึ่งเป็นนักเก็งกำไรค่าเงินข้ามชาติไปด้วยในตัวนั้น พวกเขาเป็นผู้ที่ลงดาบสองด้วยการรุมกันทุบหุ้นและทุบค่าเงินบาทจนฐานะทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเราถึงล้มละลาย ต้องซมซานกราบกรานไปกู้ไอเอ็มเอ็ฟที่ทำตัวเหมือนนายเงินออกมาตรการมากำราบเข้มงวดกับเราอย่างหนัก

หลังจากความผิดพลาดในครั้งนั้นประเด็นหนึ่งที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์พูดถึงกันอย่างมากคือ ไทยเราจะจัดการอย่างไรกับนักเก็งกำไรค่าเงินข้ามชาติในอนาคต ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็คือถ้าค่าเงินแข็งนักเก็งกำไรข้ามชาติก็สามารถเก็งกำไรได้และค่าเงินอ่อนนักเก็งกำไรก็สามารถทำกำไรได้เช่นกัน

วิธีจัดการกับนักเก็งกำไรค่าเงิน ซึ่งรวมทั้งกองทุนจากต่างประเทศด้วยที่ได้มีการพูดถึงกันมากที่สุดในช่วงหลังโรคต้มยำกุ้งก็คือ วิธีการแบบชิลีซึ่งประเทศชิลีได้รับบทเรียนจากการทุบค่าเงินจากนักเก็งกำไรข้ามชาติก่อนไทยเรา ประเทศชิลีใช้วิธีการดัดหลังนักเก็งกำไรค่าเงินระยะสั้นด้วยการกักเงินนักลงทุนเหล่านี้ไว้จำนวนหนึ่ง ถ้าหากพวกเขานำเงินมาลงทุนเกิน 1 ปี พวกเขาก็จะได้เงินเหล่านี้คืนไปทั้งหมดแต่ถ้าหากพวกเขาลงทุนไม่ถึงปีเงินที่ถูกกักไว้ก็จะถูกหักไว้ส่วนหนึ่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำมาตรการแบบชิลีมาบังคับใช้ในวันที่ 19 ธันวาคมที่เพิ่งผ่านมานี้เอง ในยามที่ค่าเงินบาทของเราเริ่มแข็งขึ้นเพราะฐานะเงินสำรองต่างประเทศของเรามากขึ้น เศรษฐกิจของเราดีขึ้นและเงินดอลลาร์อเมริกันอ่อนลง ภาวะเช่นนี้ทำให้กองทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไรค่าเงินเห็นโอกาสที่จะนำเงินนอกเข้ามาขายซื้อเงินบาท ซึ่งจะทำให้เงินบาทของเราแข็งขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นโอกาสให้พวกเขาทำกำไรได้ในอนาคตข้างหน้าทั้งใกล้และไกล

มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ผู้ที่นำดอลลาร์เข้ามาแลกเกิน 20,000 ดอลลาร์ขึ้นไปจะถูกกักไว้ร้อยละ 30 และจะได้คืนทั้งหมดในอีก 1 ปีขึ้นไป แต่ถ้ามาเอาคืนก่อนครบ 1 ปีก็จะถูกหักไว้ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 10 นั่นเอง

ผลก็เป็นดังที่เกิดขึ้นในข่าว คือหุ้นไทยร่วงครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ แต่ไม่ใช่เรื่องที่คนไทยเราส่วนใหญ่ต้องตื่นตูมตกใจตามแต่อย่างใด เพราะฐานะทางการเงิน การคลังของเรายังดีอยู่ ผิดกับช่วงโรคต้มยำกุ้งกันอย่างลิบลับ สำหรับตลาดหุ้นแล้วในระยะยาวน่าจะทำให้ตลาดเราไม่หวือหวาฮวบฮาบด้วยการสกัดกั้นนักลงทุนระยะสั้นหรือนักเก็งกำไรระยะสั้นจากต่างประเทศออกไป และมีนักลงทุนแท้หรือนักลงทุนระยะยาวและค่าเงินบาทของเราก็เคลื่อนไหวตามความเป็นจริงมากขึ้นคือปลอดจากการบงการของนักเก็งกำไรค่าเงินระยะสั้นที่สามารถสร้างภาพลวงตาได้
รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมว่าคนเขียนไม่ได้อ่านมาตรการนี้เลย ไม่รู้บก.หลุดออกมาได้ไง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Newbee
Verified User
โพสต์: 148
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 11

โพสต์

อีกแบบ

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10511

จาก "ชิลีโมเดล" ถึง "ธปท.โมเดล" มาตรการสกัดเงินร้อนจาก ตปท. ไฉนตลาดหุ้นไทยโดนลวกจนสุก?

ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างหนัก อันเนื่องมาจากปัจจัยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้เงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดสหรัฐอเมริกา ทะลักเข้ามาลงทุนในตลาดแถบเอเชียแทน

ซึ่งประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ประสบภาวะเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างหนัก จนส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไม่หยุด จากระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์มาแตะระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์

จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลโดยตรง จำเป็นต้องประกาศใช้มาตรการขั้น "รุนแรง"

นั่นคือ การประกาศเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ในการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้น เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท

เนื้อหาหลักของมาตรการ คือ การควบคุมการนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทผ่านสถาบันการเงิน โดยลูกค้าที่ประสงค์จะนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาแลกเป็นเงินบาท ในวงเงินที่เกินกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ จะต้องถูกหักเงินจำนวน 30% มาเก็บไว้ที่ธปท. เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อพิสูจน์ว่า เงินดังกล่าวนำเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเพื่อลงทุนจริง ๆ ไม่ใช่เพื่อเก็งกำไรเงินบาท โดยลูกค้าจะได้รับเงินบาทแลกเปลี่ยนไปเพียง 70% ของวงเงินทั้งหมด ต่อเมื่อครบกำหนด 1 ปีจึงจะมาพิสูจน์แล้วจะได้รับเงินที่เหลืออีก 30% คืนไป

นั่นหมายความว่า หากลูกค้ารายนั้น ๆ ขอเงินคืนก่อนครบ 1 ปี จะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่ถูกหักไว้ ซึ่งธปท.ระบุว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับมา จะใช้เพื่อประโยชน์ของรัฐและสาธารณชนต่อไป

ปฏิกริยาต่อมาตรการดังกล่าว แสดงให้เห็นอย่างรุนแรงในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ดัชนีตลาดหุ้นร่วงลงกว่า 100 จุด จนทำให้ต้องหยุดพักการซื้อขาย 30 นาทีตามเกณฑ์เซอร์กิต เบรกเกอร์ ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาเกือบ 1 บาท มาแตะที่ระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์

มาตรการดังกล่าวไม่ใช่มาตรการที่ธปท.คิดขึ้นเอง แต่เป็นมาตรการที่ประเทศชิลีเคยนำมาใช้เพื่อสกัดกั้นการทะลักเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศในช่วงปี 2533 ส่งผลให้ค่าเงินเปโซของชิลีแข็งค่าขึ้น ขณะที่ราคาสินทรัพย์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น พันธบัตร และอสังหาริมทรัพย์ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก อันเนื่องจากมาจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุน ทำให้ทางการหวั่นเกรงว่า การกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศที่มีมากเกินจริง อาจนำมาซึ่งภาวะฟองสบู่ได้ ซึ่งประกาศใช้มาตรการคุมการนำเข้าเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศเมื่อปี 2534 ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่

1.มาตรการด้านภาษี เรียกเก็บภาษี (Stamp Tax) สำหรับเงินกู้จากต่างประเทศระยะสั้น ที่อัตรา 1.20%

2.มาตรการกันเงินทุนระยะสั้นไว้ส่วนหนึ่งมาฝากไว้กับทางการ (Unremunerated Reserve Requirement) โดยเริ่มต้นทางธนาคารกลางของชิลีกำหนดให้นำเงินส่วนหนึ่งของเงินกู้จากต่างประเทศที่เป็นระยะสั้น มาฝากไว้ที่ธนาคารกลางเป็นเวลา 1 ปี ในอัตรา 20% ของเงินกู้ทั้งหมด
แต่ปรากฎว่า ในช่วงแรกมาตรการไม่ค่อยได้ผลในการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น ปีต่อมาทางธนาคารกลางชิลีจึงได้ปรับเพิ่มการกันเงินจาก 20% เป็น 30%

ต่อมาปี 2541 หลังวิกฤตต้มยำกุ้งที่เริ่มจากประเทศไทยลามไปสู่ตลาดทั่วโลก ทางธนาคารกลางชิลีจึงได้ปรับลดอัตราการกันเงินดัวงกล่าวจาก 30% เหลือ 10%
ผลดีของมาตรการดังกล่าว ทำให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศของชิลิ ปรับเป็นเงินทุนระยะยาวมากขึ้น โดยสัดส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายระยะยาวเพิ่มจากระดับ 23% เมื่อปี 2533 เป็น 62% ในปี 2540-2541 ช่วยลดปัญหาความไร้เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจของชิลี เนื่องจากเงินทุนระยะสั้นจะมีความผันผวนมากกว่าเงินทุนระยะยาว นอกจากนี้ ประเทศชิลียังมีรายได้ ในรูปของภาษีที่เรียกเก็บ และรายได้จากอัตราดอกเบี้ยจากการนำเงินที่กันเอาไว้ไปฝากหาประโยชน์ รวมแล้วมีรายได้ถึง 355 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในทางตรงข้าม มาตรการดังกล่าวก็ส่งผลเสียเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การกันเงินส่วนหนึ่งของเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนสูงขึ้นกว่า 20% และที่สำคัญคือ ผลกระทบต่อตลาดหุ้น โดยตลาดหุ้นชิลีในขณะนั้นก็ปรับลดลงเช่นเดียวกัน แต่ไม่รุนแรงเป็น 100 จุดเหมือนตลาดหุ้นไทย
นั่นเป็นเพราะโดยพื้นฐานของการลงทุนในตลาดหุ้น จะมีสัดส่วนการลงทุนระยะสั้นไม่ถึง 1 ปีมากกว่าการลงทุนระยะยาวเพื่อหวังผลตอบแทนในรูปเงินปันผล ทำให้เมื่อเงินทุนต่างประเทศเห็นโอกาสในการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น นอกเหนือจากการซื้อตราสาร และลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แล้ว การลงทุนซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหลักที่จะหาประโยชน์ได้รวดเร็ว และคล่องตัวกว่าการลงทุนรูปแบบอื่น
ดังนั้น เมื่อถูกสกัดด้วยมาตรการกันเงินส่วนหนึ่งของมาฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ก็ทำให้เงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาหาประโยชน์ในระยะสั้น ต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้น และไม่คล่องตัว ไม่สามารถหาประโยชน์ได้เต็มร้อย ตลาดหุ้นก็ย่อมเป็น "ด่านแรก" ที่จะได้รับผลลบ เมื่อนักลงทุนต่างชาติตื่นตระหนก เทขายหุ้นเพื่อนำเงินทุนระยะสั้นกลับคืนไป
แต่คำถามที่ว่า ตลาดหลักทรัพย์ตอบสนองมาตรการครั้งนี้อย่างหนัก โดยปรับลดลงอย่างรุนแรงกว่า 100 จุด จนต้องหยุดพักการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาทีตามเกณฑ์เซอร์กิต เบรกเกอร์ เมื่อดัชนีหุ้นปรับลดลงถึงระดับ 10% ซึ่งเป็นครั้งแรกของตลาดหุ้นไทย

หมายความว่า ตลาดหุ้นไทยมีเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศทะลักเข้ามาลงทุนมากกว่าตลาดหุ้นชิลี ใช่หรือไม่?
หรือว่า ตลาดหุ้นไทยไร้เสถียรภาพ?

นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

"มาตรการของธปท.เป็นสิ่งที่เหมาะสมและจำเป็นต้องดำเนินการ เพราะหากธปท.ไม่ออกมาตรการดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาจากการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยถือว่าไม่มีความรุนแรงเกินไปเพราะที่ผ่านมาทางการได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อดูแลค่าเงินบาท แต่ยังมีช่องทางในการเก็งกำไรค่าเงินบาท หากยังปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์เก็งกำไรค่าเงินบาทเช่นเดียวกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
ส่วนการปรับลดลงของราคาหุ้น ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเงินที่ไหลออกจากตลาดหุ้นเป็นเงินที่เข้ามาเก็งกำไร ดังนั้นเมื่อธปท.ออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร นักเก็งกำไรจึงต้องมีการขายหุ้นออกเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา"

นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

"มาตรการของธปท.ที่ประกาศใช้เป็นวิธีที่สามารถยับยั้งการเก็งกำไรค่าเงินบาทได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งดีกว่ามาตรการทางภาษี เพราะธปท.ต้องการระงับการเก็งกำไรระยะสั้น ขณะที่มาตรการภาษีเป็นเรื่องระยะยาวและซับซ้อน อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการดังกล่าวค่อนข้างมีต้นทุนที่สูงกว่าการดำเนินการด้านอื่น ซึ่งคาดหวังว่าธปท.จะไม่ใช้มาตรการนี้นานเกินไปและประกาศยกเลิกเมื่อค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม"

นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์

"ในทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการดังกล่าวไม่ใช่สิ่งผิด และเหมาะสมสำหรับการดูแลเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไร แต่ปัญหาคือ เป็นมาตรการที่ค่อนข้างรุนแรง เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ต้องการเงินบาท และทำให้ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบด้วย เพราะเงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่เป็นเงินระยะสั้น ซึ่งธปท.น่าจะปรับปรุงมาตรการใหม่ โดยปรับลดเงินที่ถูกหักสำรองลงเหลือ 3-5% และมุ่งไปที่เงินที่ถือครองไม่เกิน 3-6 เดือนจะดีกว่า"

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าไทย

"หอการค้าไทยพอใจกับมาตรการนี้ ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผล โดยขณะนี้ค่าเงินบาทได้อ่อนค่าลงไป 40-50 สตางค์แล้ว ส่วนผลกระทบต่อตลาดหุ้นนั้น เชื่อว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น เป็นการปรับฐานดัชนีไปในตัวและส่งผลดีในระยะยาว เพราะหากภาคการส่งออกเดินหน้าต่อไปได้ เศรษฐกิจไทยก็จะดีขึ้น และมีผลต่อการลงทุนของต่างชาติในอนาคต
"คนเล่นหุ้นคงต้องไม่ชอบมาตรการนี้ แต่สำหรับภาคส่งออกที่มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรวมอยู่ด้วย ก็จะได้ผลดี"

นายอภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า ผู้จัดการฝ่ายบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

"มาตรการของธปท.มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ยังไม่เคยมีการควบคุมเงินทุนไหลเข้ามาก่อน มีเพียงการควบคุมเงินทุนไหลออกเท่านั้น ซึ่งมาตรการนี้ทำให้ขั้นตอนการไหลเข้าของเงินทำได้ไม่สะดวกหรือเป็นคอขวดเพราะต้องขออนุญาตธปท.ก่อน"
รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เรื่องชิลีนี่ควบคุมเฉพาะเงินกู้จากต่างประเทศอย่างเดียวหรือเปล่า เห็นหลายคนก็ออกมาพูดแต่ไม่มีรายละเอียด

แต่ของไทยรอบแรกที่ประกาศนี่เงินต่างประเทศแทบทุกอย่างยกเว้นจ่ายค่าสินค้าและบริการ

เหตุการณ์นี่ทำให้นึกถึงเรื่องที่คนเล่ากันมาที่ธนาคารกรุงเทพมีข่าวลือว่าล้ม จนเจ้าสัวชินต้องขนเงินสดไปตั้งโชว์ให้คนเห็นจะจะ

ถ้าคืนนั้นไม่กลับลำ ก็คงอาจเห็นลักษณะเดียวกัน
pakdhorc
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 13

โพสต์

สมมุติว่าเราเป็นคนวางนโยบายบ้าง ควรใช้นโยบายอะไรที่จะสกัดการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินดีหล่ะครับ เผื่อคนในแบ็งค์ชาติมาอ่านเจอแล้วเขาจะเอาไปใช้บ้างครับ  :lol:
j_abac
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เสนอใช้ ระบบ basket peg ได้ป่ะครับ ถ้าผมจะบอกว่า ปัญหาในอดีตไม่ใช่เพราะ basket แต่เป็นเพราะ bot แทรกแซง swap ส่งผลให้ขาดทุนจากการswap เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการที่รัฐปิดบังมิให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อเอกชน จนเอกชนไม่มีโอกาสที่จะปรับตัวทัน

ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย นิยมใช้ basket หลายประเทศครับ เพื่อลดความผันผวนของสกุลเงินตนเอง กับประเทศคู่ค้า แต่ใช้ว่า basket แล้วจะไม่แข็งค่าขึ้น แต่ภาพมันจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และอยากจะให้เสนอให้พัฒนา ระบบการทำงานของประเทศไทยด้วยครับ

แต่คงต้องให้ระบบเดิมๆมันพังไปก่อนจะดีกว่าครับ เพราะตอนนี้มิอาจจะฝืนได้ เพราะไม่รู้ว่า bot ทำ position ไปเท่าไรแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
tachikoma
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 15

โพสต์

j_abac เขียน:เสนอใช้ ระบบ basket peg ได้ป่ะครับ ถ้าผมจะบอกว่า ปัญหาในอดีตไม่ใช่เพราะ basket แต่เป็นเพราะ bot แทรกแซง swap ส่งผลให้ขาดทุนจากการswap เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการที่รัฐปิดบังมิให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อเอกชน จนเอกชนไม่มีโอกาสที่จะปรับตัวทัน

ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย นิยมใช้ basket หลายประเทศครับ เพื่อลดความผันผวนของสกุลเงินตนเอง กับประเทศคู่ค้า แต่ใช้ว่า basket แล้วจะไม่แข็งค่าขึ้น แต่ภาพมันจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และอยากจะให้เสนอให้พัฒนา ระบบการทำงานของประเทศไทยด้วยครับ

แต่คงต้องให้ระบบเดิมๆมันพังไปก่อนจะดีกว่าครับ เพราะตอนนี้มิอาจจะฝืนได้ เพราะไม่รู้ว่า bot ทำ position ไปเท่าไรแล้ว
ปัญหาอยู่ที่ 2 ข้อนี้เป็นหลักสินะครับ
แทรกแทรง กับ ปิดบัง
j_abac
Verified User
โพสต์: 31
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 16

โพสต์

คำว่าแทรกแซง ก็ต้องบอกว่า แทรกแซงจนเกินไป ซึ่งก็จะส่งผลกระทบโดยรวม เพราะเท่ากับว่าเราจะขาดทุนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพัง

รวมไปถึงการไร้ระบบ ทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการที่เราหวังพึ่งส่งออกมากจนเกินไป ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ BOT ที่ต้องเข้าแทรกแซง ซึ่งจะเห็นได้ว่า เราแทรกแซงอย่างเห็นได้ชัดช่วงเดือน 10 ปีก่อน

ปัญหาการทำ position ของ BOT ถือว่าสำคัญมากนะครับ เพราะถ้าเกิดพลาดใหญ่หลวงขึ้นมา ก็เปรียบเสมือน นำชาติไปหายนะ ได้อีก เหมือนปี40

แต่ก็อย่างว่าครับ นโยบายหักดิบกับนโยบายเดิม เกินไป ก็ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของชาติเสียหายได้
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 17

โพสต์

นี่ก็อีกบทความ โดย ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ จากประชาชาติธุรกิจ


"ค่าเงินบาท" กับ "ภูมิคุ้มกันบกพร่อง"
คอลัมน์ นอกรอบ  โดย ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ [email protected]  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3857 (3057)

นโยบายพยุงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติที่ประกาศในช่วงเย็นวันที่ 18 ธ.ค.2549 เป็นบทเรียนที่คงต้องจดจำกันไปอีกนานนะครับ เพราะถึงแม้เมื่อเวลาผ่านไปใครจะจำไม่ได้ แต่เมื่อลูกหลานหันมาดูสถิติความเสียหายของตลาดหุ้นไทยที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 ธ.ค.2549 ที่ปรับตัวลดลงไปสูงสุดถึง 142.63 จุด (-19.5%) ก่อนจะมาปิดลบ 108.41 จุด (-14.8%) คงต้องหันมาถามกันว่า เกิดอะไรขึ้นในวันนั้น สงครามอ่าวเปอร์เซีย ? ก่อการร้ายจี้เครื่องบินชนตึก World Trade ? รัฐประหาร ? ก็ยังไม่สร้างความเสียหายให้ตลาดหุ้นไทยขนาดนี้ !

กว่าบทความที่ผมเขียนอยู่นี้จะลงตีพิมพ์ตอนนั้นไม่ทราบว่าตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไรบ้างแล้ว ดังนั้นวันนี้ เราจะไม่คุยเรื่องตลาดหุ้นกันหรอกครับ แต่อยากให้ท่านผู้อ่านหันมาดูอัตราแลกเปลี่ยน ต้นเหตุที่ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงขั้นต้องออกกฎเหล็กมาจนทำให้ตลาดหุ้นต้องพังทลายกันดีกว่า

นับจากต้นปี 2549 ถึงวันที่ 18 ธ.ค.2549 ก่อนที่ ธปท.จะตัดสินใจออกนโยบายค่าเงินบาท เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากระดับ 41.17 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างวัน ที่ 35.19 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 18 ธ.ค.2549 หรือคิดเป็นการแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 14.5 ซึ่งแน่นอนครับ การส่งออกของไทยมีสัดส่วนถึงกว่าร้อยละ 60 ของ GDP ธปท.คงไม่อยากให้การแข็งค่าของเงินบาทนี้ กระทบกระเทือนผู้ส่งออกเป็นธรรมดา

หาก ธปท.ไม่ต้องการให้ค่าเงินบาทแข็งค่าก็จำเป็นต้องนำเงินบาทออกไปซื้อดอลลาร์ในระบบ เพื่อมิให้ดอลลาร์มีมากเกินไป จนไร้ค่า ซึ่งแม้จะช่วยให้ดอลลาร์ไม่อ่อนตัวได้ แต่เงินบาทที่ถูกนำออกไปซื้อดอลลาร์นั้น จะทำให้บาทมีมากจนไร้ค่าเสียแทน อันจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านจำได้ ช่วงกลางปี 2549 เศรษฐกิจไทยประสบกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างมาก จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ ธปท.ต้องการจะพยุงค่าเงินบาท แต่ก็ไม่สามารถยอมแลก กับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้มากนัก เพราะ ธปท.มีกรอบเงินเฟ้อ (inflation targeting) เป็นตัวคุมอยู่ แล้วอย่างนี้ ธปท. พยุงค่าเงินบาทอย่างไร ในภาวะเงินเฟ้อสูงล่ะครับ ?

ก็ไม่ยากครับ หาก ธปท.ไม่อยากที่จะให้การกระทำดังกล่าวกระทบภาวะเงินเฟ้อ ธปท.จำเป็นต้องออกพันธบัตร ธปท.เพื่อดูดซับเงินบาทที่เข้าสู่ระบบจากการพยุงดอลลาร์กลับมาเก็บไว้ ถ้า ธปท.ไม่อยากให้การพยุงค่าเงินบาท กระทบต่อเงินเฟ้อเลย ธปท.ก็ต้องออกพันธบัตรไปดูดซับสภาพคล่องในจำนวนเท่ากับเงินบาทที่ใช้พยุง สินทรัพย์ (เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ) ในกรณีนี้ก็จะเพิ่มเท่ากับหนี้สิน (พันธบัตร ธปท.) วิธีนี้ภาษาเทคนิคเขาเรียกกันว่า sterilization ครับ (ดูตารางการออกพันธบัตร ธปท.ในการดูดซับสภาพคล่องประกอบ)

ในปีนี้ ธปท.ออกพันธบัตร ธปท.ไปแล้วทั้งสิ้น 2.36 แสนล้านบาท ทำให้ยอดพันธบัตรเพิ่มจาก 6.01 แสนล้านบาท ตอนสิ้นปี 2548 เป็น 8.37 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือน พ.ย. 2549 (หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.5) ในขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือ 4.69 แสนล้านบาท หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 37.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) นั่นหมายความว่า ธปท. ใช้เงินประมาณ 4.69 แสนล้านบาท เข้าไปพยุงเงินบาท ในขณะที่ดูดซับสภาพคล่องกลับมา ไม่เต็มจำนวนเงินบาท ที่ออกสู่ระบบ ซึ่งก็เท่ากับว่า การพยุงค่าเงินบาทในปี 2549 ของ ธปท.แลกมาด้วยกับหนี้สินของ ธปท.จำนวนหนึ่งและเงินเฟ้อของประเทศจำนวนหนึ่ง

เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ทุนสำรองระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้น 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 4.69 แสนล้านบาท หากคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 37.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐก็ตาม แต่การที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งขึ้นจาก 41.0 เป็น 36.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มูลค่าทุนสำรองระหว่างประเทศที่ 64.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรูปเงินบาทลดลง 3.22 แสนล้านบาททันที ตอนนี้เลยกลายเป็นว่าหลังจากหักผลของการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว สินทรัพย์ของ ธปท.จึงเพิ่มขึ้นจริงเพียง 1.85 แสนล้านบาท ในขณะที่หนี้สินเพิ่มขึ้นถึง 2.36 แสนล้านบาท ดังแสดงในตารางข้างต้น แถมการ sterilization ยังทิ้งไว้ซึ่งปัญหาเงินเฟ้ออีกจำนวนหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

แล้วสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดมันเกี่ยวอะไรกับภูมิคุ้มกันค่าเงินบาทบกพร่องหรือครับ ? ผู้อ่านบางท่านอาจพอนึกภาพออกต่อเองได้ว่า เมื่อหนี้สินของ ธปท.เพิ่มขึ้นขนาดนี้แล้ว ธปท.จะมีกำลัง พยุงเงินบาทไปอีกได้สักเท่าไหร่กัน นี่แหละครับที่ผมว่าภูมิคุ้มกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทของไทยเริ่มลดน้อยถอยลง แต่มันลดลงถึงขั้นบกพร่องเลย หรือ ? อันนี้ต้องพาท่านผู้อ่านย้อนไปดูประวัติ ศาสตร์กันหน่อยครับ จะได้รู้ว่าภูมิคุ้มกันเราเหลือสักเท่าไหร่กัน

เมื่อปี 2540 คงไม่มีใครลืมกันนะครับว่า ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจจนต้องมีการปิดสถาบันการเงินถึง 56 แห่ง โดยรวมมูลค่าความเสียหายถึง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งในที่สุดแล้วกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ต้องเข้ามาจัดการหนี้จากการปิดสถาบันการเงินเหล่านั้น โดย ธปท.เป็นผู้รับจ่ายคืนต้น และกระทรวงการคลัง เป็นผู้รับจ่ายดอกเบี้ยผ่านระบบงบประมาณ โดยความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาทนี้ อาจแบ่งคร่าวๆ เป็น 2 กอง กองแรก 5 แสนล้านบาท ชดใช้โดยกำไรของฝ่ายการธนาคาร โดยคาดว่าจะชดใช้หมดภายใน 29 ปี (นับจากปี 2545) และกองที่สองที่เหลืออีกประมาณ 9 แสนล้านบาท จะชดใช้โดยบัญชีของฝ่ายออกบัตร ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือรายได้จากการเอาทุนสำรองเงินตรา ไปลงทุนต่างประเทศ โดยคาดว่าจะชดใช้หมดภายใน 19 ปี (นับจากปี 2545 เช่นเดียวกัน)

มาดูกองแรก 5 แสนล้านบาทก่อนนะครับ เมื่อหนี้ของ ธปท.เพิ่มขึ้นในปี 2549 ถึง 2.36 แสนล้านบาทต่อเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้น ในปี 2548 จำนวน 3.03 แสนล้านบาท รวม 5.39 แสนล้านบาท ภายใน 2 ปี (ม.ค.2548 พันธบัตร ธปท.อยู่ที่ระดับ 298,500 ล้านบาท และ พ.ย.2549 เพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 837,706 ล้านบาท) ก็ย่อมส่งผลต่อกำไรของฝ่ายการธนาคารที่ลดลง อันจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ FIDF ของ ธปท.ลดลง ต่อเนื่องไปถึงดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องแบกรับเพิ่มขึ้น จากการชำระคืนต้นเงินกู้ FIDF ช้ากว่ากำหนดของ ธปท.อย่างแน่นอนครับ

กำไรของฝ่ายการธนาคารลดลงเท่าไหร่หรือครับ ? คิดง่ายๆ ครับ เพราะพันธบัตร ธปท. ดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 5 หนี้เพิ่มขึ้น 5.39 แสนล้านบาท ฝ่ายการธนาคารก็ต้องแบกรับภาระจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นปีละ 2.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำไรของฝ่ายการธนาคารก็จะลดลงในสัดส่วนเดียวกัน เมื่อกำไรของฝ่ายการธนาคารลดลง ธปท.ก็ใช้หนี้ FIDF ได้ช้าลง รัฐบาลก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 พันล้านบาทต่อปี (พันธบัตรเพื่อการช่วยเหลือ FIDF ดอกเบี้ยร้อยละ 4.5) กำไรฝ่ายการธนาคารแต่ละปีปกติก็หลักพันล้านบาทเท่านั้นเอง นี่โดนภาระดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท.เพิ่มขึ้น 2.7 หมื่นล้านบาท แล้วอย่างนี้นอกจากชั่วอายุผมอาจจะไม่ได้เห็น ธปท.ใช้หนี้ FIDF หมด แต่อาจจะได้เห็นฝ่ายการธนาคารมีหนี้สินท่วมอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่งมีการโอนเงินจากฝ่ายออกบัตรมาล้างหนี้ให้ 1.65 แสนล้านบาท ในเดือน มิ.ย.2546 ไปรอบนึงแล้ว !

สำหรับกองที่สอง 9 แสนล้านบาทนี่แทบไม่ต้องพูดถึง รายได้ที่เอามาใช้หนี้กองนี้ เป็นรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศล้วนๆ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องโดนผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนไปเต็มๆ ผมไม่แน่ใจว่ารายได้ดังกล่าว จะเป็นรายได้ที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่าไหร่ครับ แต่ก็ภาวนาว่าอย่าให้มันมากเลยนะครับ

ตอนนี้ท่านผู้อ่านคงพอมองภาพกันออกแล้วไม่มากก็น้อยนะครับว่า ภูมิคุ้มกันการเก็งกำไรเรามีไม่มากนัก ไม่ทราบว่าจะเรียกได้ว่าถึงขั้นบกพร่องหรือยัง เพราะหนี้ ธปท.มีมหาศาลจากการพยุงค่าเงินบาทที่ผ่านมาแล้ว แถมยังมีกรรมเก่าเรื่อง FIDF อีก นั่นคงเป็นคำตอบกระมังครับที่ก่อนหน้านี้ ผู้ดำเนินนโยบายออกมาบอกให้ปลงๆ ในอัตราแลกเปลี่ยนที่จะแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในปีหน้า (เพราะคงทราบว่าต้านกระแสการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐไม่ได้) ก่อนที่จะออกมาลงดาบโดยใช้นโยบายในวันที่ 18 ธ.ค.2548 ที่ผ่านมา ก็เครื่องมือในการดำเนินนโยบายมันเหลือน้อยเต็มทน แล้วนี่ครับ !

แม้เครื่องมือในการดำเนินนโยบายเหลือน้อย แต่ก็ใช่ว่า ธปท.จะไม่มีเครื่องมือซะทีเดียวนะครับ
ผมยังสงสัยอยู่ว่าเรื่องทั้งหมดมันเกิดจากเงินดอลลาร์ไหลเข้าประเทศเรามากเกินไป จึงต้องพยุง ตอนพยุงก็กลัวเงินเฟ้อ จึงต้องออกพันธบัตรไปดูดซับ ออกพันธบัตรไปดูดซับก็ทำให้หนี้บานเบอะ แล้วทำไม ธปท.ไม่ลดดอกเบี้ย ไม่ให้เงินดอลลาร์ไหลเข้ามามากขนาดนี้ เพื่อเป็นการแก้ที่ต้นตอ ? รัฐบาลก็เห็นว่าอุปสงค์มวลรวมในประเทศปีหน้าจะชะลอตัว จึงทำงบประมาณขาดดุลไม่ใช่หรือครับ ธปท.เป็นห่วงเงินเฟ้อมากเกินไปหรือเปล่าครับ อีกอย่าง การ sterilize ในปี 2549 ที่ผ่านมา ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ากลับกลายเป็นต้นเหตุประการหนึ่งของเงินเฟ้อไปเสียนั่น !


สำหรับบทความนี้   ผมให้ 5 ดาวเลยครับ...   :wink:
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ย้อนรอยการปกป้องค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ

26 ธันวาคม 2549 10:40 น.
จากวิกฤติ 2540 ถึง บทเรียน 2549

ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ นักวิชาการจากกระทรวงการคลัง ได้ประเมินมาตรการป้องกันค่าเงินบาทของแบงก์ชาติตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2549 โดยพยายามชี้ให้เห็นถึงความสูญเสียที่มาจาก การฝืนตลาด

ที่ผ่านมาการปกป้องค่าเงินของแบงก์ชาติทำให้เกิดต้นทุนทางการเงินมหาศาล ต้นทุนอันแรก เกิดจากการพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการซื้อเงินดอลลาร์ขายเงินบาท ทั้งในตลาด Spot Forward และ SWAP ทำให้แบงก์ชาติสะสมเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งมีพันธะที่จะต้องรับเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมาก ตั้งแต่ต้นปีที่ 41 บาท/ดอลลาร์ เป็น 36 บาท/ดอลลาร์ เมื่อเร็วๆ นี้ และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศถดถอย เพราะประกอบด้วยดอลลาร์สหรัฐที่นับวันมีค่าลดลง

ประการที่สอง การซื้อเงินดอลลาร์ และขายเงินบาทออกไปจำนวนมากทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น มีผลให้เกิดสภาพคล่องส่วนเกินที่เลยจุดที่เหมาะสม ทำให้แบงก์ชาติต้องออกพันธบัตรมาดูดซับสภาพคล่อง จึงเกิดต้นทุนดอกเบี้ยเป็นจำนวนมาก ถ้าคิดต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ 5 เปอร์เซ็นต์ จากพันธบัตรแบงก์ชาติคงค้างเกือบ 900,000 ล้าน จะคิดเป็นภาระดอกเบี้ยจ่าย 45,000 ล้านบาท

ในอดีตแบงก์ชาติเคยขาดทุนย่อยยับจากการปกป้องค่าเงินเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จนเงินสำรองระหว่างประเทศหมด และจำเป็นต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพราะไม่มีเงินสำรองระหว่างประเทศเพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ธนาคารกลางในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศได้ สาเหตุที่ฐานะการเงินของธนาคารกลางตกต่ำลงมาเนื่องมาจาก 2 สาเหตุ คือ

1.การนำเงินไปปล่อยกู้ (โดยผ่อนกองทุนฟื้นฟูให้กับ 58 สถาบันการเงินที่มีปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งยังไม่สามารถเรียกหนี้กลับคืนได้ กลายเป็นหนี้มีปัญหาหรือสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของแบงก์ชาติเอง)

2. การขาดทุนอย่างมากในความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินบาท การขาดทุนเกิดจากการที่แบงก์ชาติต้องการที่จะพยุงค่าเงินบาท และต้องการเพิ่มสภาพคล่อง โดยการทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ดังนี้

2.1 ซื้อบาทในตลาด Spot (ตลาดปัจจุบัน) โดยนำเงินสำรองไปซื้อ

2.2 ซื้อบาทในตลาดล่วงหน้า โดยนำเงินสำรองไปซื้อ

2.3 ทำสัญญา SWAP ดอลลาร์/บาท (คือยืมดอลลาร์ในขณะนั้นโดยมีสัญญาว่าจะส่งมอบดอลลาร์คืนในอนาคต)


โดยเฉพาะในกรณีที่ 2.3 นั้นถึงแม้ว่าแบงก์ชาติไม่จำเป็นต้องส่งมอบเงินดอลลาร์ทั้งจำนวน (สัญญา SWAP ในขณะนั้นที่ทำไว้มีถึง 23.4 พันล้านดอลลาร์) โดยอาจพยายามต่อสัญญา (Rollover) หรือหักชำระ (Settlement) เฉพาะขาดทุนหรือกำไร (ในกรณีของแบงก์ชาติไม่มีกำไรแน่นอน) แต่แบงก์ชาติจะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนแน่นอน เพียงแต่จะเป็นการรับรู้การขาดทุนในช่วงใด และในปริมาณใดเท่านั้น จำนวนการขาดทุนจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถ้าเงินบาทมีค่าอ่อนลงอีก การขาดทุนก็จะมากขึ้นตามไป

สัญญา CURRENCY SWAP เป็นสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในลักษณะของสัญญาล่วงหน้า (Futures Contract) ซึ่งทำให้ผู้ทำสัญญามีพันธะต้องส่งมอบเงินสกุลหนึ่งเพื่อรับเงินสกุลหนึ่งกลับมา ในกรณีของแบงก์ชาตินั้น สามารถสันนิษฐานได้ว่า สาเหตุที่สถานะ (position) ของธนาคารสะสมขึ้นมามากมายเช่นนี้ เป็นเพราะประเมินความลึกของตลาดผิด คือ หยั่งถึงความแรงของกระแสของตลาดผิดพลาด ทำให้ต้องถลำตัวลึกเข้าไปอีก เพราะต้องการให้สัญญา SWAP ทั้งหมดที่ทำไปสัมฤทธิผล จึงทำสัญญา SWAP สร้างพันธะเพิ่มขึ้น โดยหวังว่าจะสามารถเปลี่ยนกระแสได้ในที่สุด แต่สุดท้ายก็ไม่อาจทนต่อไปได้ เปรียบเหมือนกับการเล่นไพ่โป๊กเกอร์ที่แบงก์ชาติ คือ ผู้เล่น โดยถือข้างเงินบาทแล้วเก จนกระทั่งถอดใจหรือเงินหมดตัก

เหตุการณ์ครั้งนี้มีส่วนคล้ายกับการขาดทุนที่เกิดขึ้นกับบริษัทการเงิน Barings ที่พนักงาน (Nick Leeson) ได้ทำสัญญาล่วงหน้า โดยการซื้อดัชนีหลักทรัพย์ล่วงหน้า แต่หลังจากที่ดัชนีหลักทรัพย์ลดลงทำให้สัญญาล่วงหน้าเป็นสัญญาที่ขาดทุน พนักงานคนนี้ก็เกิดความต้องการที่จะเปลี่ยนการขาดทุนให้เป็นกำไร จึงซื้อสัญญาล่วงหน้าที่อิงกับดัชนีหลักทรัพย์เพิ่มอีกเป็นเท่าๆ ตัว โดยหวังว่ากระแสในตลาดจะเปลี่ยนมาเข้าข้างตนเอง เพราะจำนวนสัญญาที่ซื้อไว้มีมากพอที่จะ Move ตลาดได้ แต่รอแล้วรอเล่าตลาดก็ไม่ดีขึ้น ดัชนีหลักทรัพย์มีแต่ดิ่งตัวลง รอจนกระทั่งผลการขาดทุนกวาดเงินจนหมดหน้าตักเรื่องจึงถูกเปิดโปงขึ้นมา

บทเรียนที่เกิดขึ้นจากทั้งกรณีวิกฤติค่าเงินบาทปี 2540 และที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ สอนให้เรารู้ว่าการฝืนกระแสตลาดไม่มีทางสำเร็จได้ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนลึกกว่าที่เราจะต้อนให้จนมุม การกระทำที่ฝืนกลไกตลาด โดยไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (นโยบายดอกเบี้ย)ให้เหมาะสม เป็นการฝืนธรรมชาติ และก่อให้เกิดผลกระทบที่ควบคุมไม่ได้ และรุนแรงเกินกว่าที่เรา จะคาดหมายได้ เนื่องจากนวัตกรรมทางการเงินทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุนและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน มีความสัมพันธ์กันมากกว่าในอดีตที่ผ่านมามากนัก

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ นักวิชาการจากกระทรวงการคลัง 

:shock:    เรียนคนละตำรามาแน่เลย    :wink:
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมว่าทั้งสองดอกเตอร์สงสัยเหมือนกันว่า ทำไมไม่ปรับดอกเบี้ย
ภาพประจำตัวสมาชิก
jody4003
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 20

โพสต์

หาก ธปท.ไม่ต้องการให้ค่าเงินบาทแข็งค่าก็จำเป็นต้องนำเงินบาทออกไปซื้อดอลลาร์ในระบบ เพื่อมิให้ดอลลาร์มีมากเกินไป จนไร้ค่า ซึ่งแม้จะช่วยให้ดอลลาร์ไม่อ่อนตัวได้ แต่เงินบาทที่ถูกนำออกไปซื้อดอลลาร์นั้น จะทำให้บาทมีมากจนไร้ค่าเสียแทน อันจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านจำได้ ช่วงกลางปี 2549 เศรษฐกิจไทยประสบกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างมาก จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ ธปท.ต้องการจะพยุงค่าเงินบาท แต่ก็ไม่สามารถยอมแลก กับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้มากนัก เพราะ ธปท.มีกรอบเงินเฟ้อ (inflation targeting) เป็นตัวคุมอยู่ แล้วอย่างนี้ ธปท. พยุงค่าเงินบาทอย่างไร ในภาวะเงินเฟ้อสูงล่ะครับ ?

ก็ไม่ยากครับ หาก ธปท.ไม่อยากที่จะให้การกระทำดังกล่าวกระทบภาวะเงินเฟ้อ ธปท.จำเป็นต้องออกพันธบัตร ธปท.เพื่อดูดซับเงินบาทที่เข้าสู่ระบบจากการพยุงดอลลาร์กลับมาเก็บไว้ ถ้า ธปท.ไม่อยากให้การพยุงค่าเงินบาท กระทบต่อเงินเฟ้อเลย ธปท.ก็ต้องออกพันธบัตรไปดูดซับสภาพคล่องในจำนวนเท่ากับเงินบาทที่ใช้พยุง สินทรัพย์ (เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ) ในกรณีนี้ก็จะเพิ่มเท่ากับหนี้สิน (พันธบัตร ธปท.) วิธีนี้ภาษาเทคนิคเขาเรียกกันว่า sterilization ครับ (ดูตารางการออกพันธบัตร ธปท.ในการดูดซับสภาพคล่องประกอบ)
ไม่เข้าใจครับ ทำไมเอาเรื่องออก bond มาผูกกับเรื่องแทรกแทรงค่าเงิน มันสัมพันกันหรือ

ส่วนเรื่องเอาเงินบาทไปซื้อดอลล่ามาเก็บใว้ผมว่าดอกเตอร์ท่านนิยามสลับกับความเป็นจริงไปหน่อยนะครับ เราไม่ได้ซื้อดอลล่าเพื่อให้ดอลล่าแข็งครับ scale เงินมันคนละเรื่อง มันเป็นไปไม่ได้ หากแต่เราซื้อดอลล่าเพื่อเอาบาทไปเทใว้ที่ตลาดเงินครับ เพื่อให้บาทฝั่ง supply มีมากขึ้นแล้วเงินบาทจะอ่อนลง

และเรื่องเงินเฟ้อ ทำไมถึงกล่าวว่าการเอาบาทไปขายซื้อดอลล่ากลับจะทำให้เงินเฟ้อล่ะครับ นั่นมันตลาดเงินระหว่างประเทศไม่ใช่หรือ ไม่ใช่ตลาดในประเทศ การเอาบาทไปซื้อดอลล่าน่าจะทำให้เงินเฟ้อ"ลด" ไม่ใช่เพิ่มครับ เพราะบาทจะใหลออกนอกประเทศและทำให้ supply บาทในประเทศเราลดลงครับ เมื่อ supply บาทในประเทศลดลง เงินเฟ้อควรจะลดครับ ไม่ใช่เพิ่ม
pakdhorc
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เรื่องค่าเงินบาทกับการออกพันธบัตรนั้นมีความเกี่ยวข้องกันตามทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ดังนี้ครับ หากว่ามีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยมากๆก็แสดงว่ามีคนอยากที่จะแลกเงินสกุลต่างประเทศกับเงินบาทเพิ่มขึ้น เพื่อจะนำมาลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆในประเทศไทย ดังนั้น ธปท.ก็จะต้องรับซื้อเงินตราต่างประเทศนั้นไว้( จึงทำให้เงินทุนสำรองเพิ่มขึ้น ) แล้วก็ปล่อยเงินบาทที่เก็บไว้ออกมาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ การเข้ามาของเงินบาทจำนวนนี้จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นเพราะ ปริมาณสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นไม่ทันการเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินในระบบ( เม็ดเงินมากขึ้นแต่สินค้าเท่าเดิม ) จึงทำให้ราคาสินค้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และจะเกิดภาวะเงินเฟ้อในที่สุด ซึ่งเป้าหมายของ ธปท.ก็คือการคุมเงินเฟ้อ เพือในเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เมื่อเงินเฟ้อจะเกิดจากการเพิ่มของปริมาณเงินบาทในระบบ วิธีแก้ก็คือต้องไปลดปริมาณเงินบาทในระบบ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้หลายวิธี เช่น พยายามให้ตลาดเชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนโดยนโยบายต่างๆ นักลงทุนที่เคยเอาเงินเข้ามาก็จะพยายามแลกเงินบาทกลับเป็นเงินตราต่างประเทศ เงินบาทก็จะไหลกลับมาสู่ ธปท. คนก็จะเอาไปจับจ่ายใช้สอยไม่ได้ เงินเฟ้อก็จะลดลง แต่วิธีนี้จะกระทบกับระดับเงินทุนสำรองที่จะต้องลดลงไป หรือ การใช้วิธีการออก พันธบัตร ธปท .ออกมาขายให้ประชาชน คนที่เคยมีเงินอยู่ในมือเมื่อมาซื้อ พันธบัตรฯ แล้วก็จะทำให้เข้าเหลือเงินไว้จับจ่ายน้อยลงเช่นเดียวกับวิธีแรก เงินก็จะเฟ้อน้อยลง ซึ่งในวิธีนี้ก็มีต้นทุนของ ธปท.ในการจ่ายดอกเบี้ย พันธบัตร ที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปีครับ ดังนั้น การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน เงินเฟ้อ และ การออกพันธบัตร จึงน่าที่จะเกี่ยวข้องกันตามที่เคยเรียนมาครับ
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ห้อง "จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ" ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ คุณ pakdhorc

ดีใจที่มี " คอกาแฟ " รสเดียวกันมาสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เพิ่มขึ้นครับ    :wink:
pakdhorc
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ยินดีครับ คุณ matrix ถ้าอย่างไงแล้วผมจะหาโอกาสเข้ามาแลกเปลี่ยนทัศนะด้านเศรษฐศาสตร์บ้างตามความรู้ที่ผมมีครับ ถ้าผิดพลาดประการใดขอให้ช่วยชี้แนะด้วยครับ ผมเปิดกว้างรับความคิดเห็นเสมอครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tachikoma
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่?

demand > supply มูลค่าสูงขึ้น
demand < supply มูลค่าสินค้าลดลง

ดอกเบี้ยเงินฝากไทย > ดอกเบี้ยเงินฝากต่างประเทศ -> คนจะเอาเงินเข้ามาซื้อตราสารหนี้ ฝากเงินในประเทศไทยมากขึ้น = demand เงินบาทสูงขึ้น

demand เงินบาทสูง > มูลค่าเงินบาทสูงขึ้น = บาทแข็งตัว

*การนำเงินไปซื้อตราสารหนี้ไม่จำเป็นต้องรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน สามารถกำจัดความเสี่ยงได้โดยการทำ Swap หรือ Forward

สภาพเศรษฐกิจไม่ดี -> ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยลง -> ความต้องการลงทุนในตราสารทุนลดลง, ความต้องการลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น

ความต้องการลงทุนลดลง = มูลค่าตราสารทุนลดลง
ความต้องการลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น = เงินฝาก over supply แบงค์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง
(ถ้ายังไม่ปรับลงแสดงว่ามีความต้องการเงินฝากเพิ่ม เป็นไปได้ว่าต้องเอาไปใช้หนี้อะไรบางอย่าง)
ภาพประจำตัวสมาชิก
jody4003
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 25

โพสต์

pakdhorc เขียน:เรื่องค่าเงินบาทกับการออกพันธบัตรนั้นมีความเกี่ยวข้องกันตามทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ดังนี้ครับ หากว่ามีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยมากๆก็แสดงว่ามีคนอยากที่จะแลกเงินสกุลต่างประเทศกับเงินบาทเพิ่มขึ้น เพื่อจะนำมาลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆในประเทศไทย ดังนั้น ธปท.ก็จะต้องรับซื้อเงินตราต่างประเทศนั้นไว้( จึงทำให้เงินทุนสำรองเพิ่มขึ้น ) แล้วก็ปล่อยเงินบาทที่เก็บไว้ออกมาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ การเข้ามาของเงินบาทจำนวนนี้จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นเพราะ ปริมาณสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นไม่ทันการเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินในระบบ( เม็ดเงินมากขึ้นแต่สินค้าเท่าเดิม ) จึงทำให้ราคาสินค้ามีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และจะเกิดภาวะเงินเฟ้อในที่สุด ซึ่งเป้าหมายของ ธปท.ก็คือการคุมเงินเฟ้อ เพือในเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ เมื่อเงินเฟ้อจะเกิดจากการเพิ่มของปริมาณเงินบาทในระบบ วิธีแก้ก็คือต้องไปลดปริมาณเงินบาทในระบบ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้หลายวิธี เช่น พยายามให้ตลาดเชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนโดยนโยบายต่างๆ นักลงทุนที่เคยเอาเงินเข้ามาก็จะพยายามแลกเงินบาทกลับเป็นเงินตราต่างประเทศ เงินบาทก็จะไหลกลับมาสู่ ธปท. คนก็จะเอาไปจับจ่ายใช้สอยไม่ได้ เงินเฟ้อก็จะลดลง แต่วิธีนี้จะกระทบกับระดับเงินทุนสำรองที่จะต้องลดลงไป หรือ การใช้วิธีการออก พันธบัตร ธปท .ออกมาขายให้ประชาชน คนที่เคยมีเงินอยู่ในมือเมื่อมาซื้อ พันธบัตรฯ แล้วก็จะทำให้เข้าเหลือเงินไว้จับจ่ายน้อยลงเช่นเดียวกับวิธีแรก เงินก็จะเฟ้อน้อยลง ซึ่งในวิธีนี้ก็มีต้นทุนของ ธปท.ในการจ่ายดอกเบี้ย พันธบัตร ที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปีครับ ดังนั้น การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน เงินเฟ้อ และ การออกพันธบัตร จึงน่าที่จะเกี่ยวข้องกันตามที่เคยเรียนมาครับ
ขอบคุณคุณ pakdhorc ครับ อธิบายได้ชัดเจนมาก และไม่มีข้อโต้แย้ง

แต่ ที่คุณ pakdhorc อธิบายนั่นระบบภายในประเทศไม่ใช่หรือครับ ที่ผมไม่เข้าใจในบทความนั้นคือระบบระหว่างประเทศ หรือ นอกประเทศ ต่างหาก

เอาเงินบาทไป "ออก" จากใน ไปเทใว้ข้างนอกแล้วเอาดอลล่า "เข้า"มาแทน ควรจะทำให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงและมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้เงินเฟ้อลดไม่ถูกหรือครับ

อือ หรือผมเข้าใจอะไรผิดไป
1000
Verified User
โพสต์: 273
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 26

โพสต์

อืมเข้าใจแล้วต้องขอบคุณคุณ pakdhorc วันก่อนก็ได้อ่านบทความของกรุงเทพธุรกิจว่าในกรณี demand บาทมากขึ้นเมื่อ bot นำบาทไปแลกดอลล่า แล้วต้องมีการออก bond (จำได้ตะหงิด ๆ ว่าเคยเรียน) เพิ่งมาถึงบางอ้อนี่เอง  :oops:  :oops:
เอาเงินบาทไป "ออก" จากใน ไปเทใว้ข้างนอกแล้วเอาดอลล่า "เข้า"มาแทน ควรจะทำให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงและมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้เงินเฟ้อลดไม่ถูกหรือครับ
ในส่วนนี้ผมเข้าใจว่า ดอล่า ที่เข้ามาในประเทศไทยนั้นไม่ได้อยู่ในระบบเศรษฐกิจครับ จึงไม่สามารถทำให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่เงินที่ฝรั่งแลกเข้ามาลงทุนในประเทศทำให้บาทหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นจริง จึงต้องออก bond มาดูดซับไม่ให้เกิดเฟ้อ ครับ..
pakdhorc
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 27

โพสต์

สวัสดีครับ ทุกท่าน เข้าใจว่ามีผู้สนใจประเด็นเรื่องค่าเงินบาทเป็นจำนวนมาก แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าผมอาจมีความรู้อย่างไม่ถูกต้องครบถ้วย ดังนั้นถ้าท่านใดผ่านมาพบว่าผิดพลาดก็รบกวนช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ ขอขอบคุณ  สำหรับ บทความของ ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ นั้นผมเข้าใจว่าท่านกล่าวถึงเฉพาะตลาดเงินบาทในประเทศ( onshore ) ครับ ในปัจจุบันเราใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ดังนั้นค่าเงินจะเปลี่ยนไปตามปริมาณ Demand และ Supple ของเงินบาทในตลาด onshore เป็นหลักครับเมื่อใดที่ Demand บาทมาก ค่าเงินบาทก็จะแข็ง ถ้า Demand บาทน้อย ค่าเงินบาทก็จะอ่อนครับ การที่ Demand บาทจะมากหรือน้อยก็มีมาจากหลายสาเหตุครับเช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย สมมุติว่าถ้า ธปท. ขึ้นดอกเบี้ย ชาวต่างชาติที่เขารู้สึกว่าผลตอบแทนของดอกเบี้ยในเงินสกุลบาทน่าสนใจเขาก็จะขนเงินเข้ามาแลกเงินบาทเพื่อเอามาลงทุนในประเทศไทย จะลงทุนในไทยส่วนใหญ่ก็ต้องใช้เงินสกุลบาทดังนั้น เงิน$ก็จะวิ่งมาออกันที่ธปท.ทำให้เกิด Demand ในเงินบาทเพิ่มขึ้นครับ ตามหลักการปกติถ้าธปท.ไม่เข้าแทรกแซงเลย ค่าเงินก็จะแข็งค่าเพิ่มขึ้นตามความต้องการบาทครับ ( เพราะเม็ดเงินในระบบมีเท่าเดิม วันดีคืนดีก็มีนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเพิ่มขึ้นมา ) แต่ถ้าธปท.ไม่อยากให้เงินบาทแข็งค่า( $อ่อน ) ก็ต้องเพิ่ม Supply บาทในระบบโดยการเอาเงินที่พิมพ์เก็บไว้ในห้องมั่งคงออกมาให้ต่างชาติแลกเป็นเงินบาท เม็ดเงินตัวนี้เองที่ไปเพิ่มปริมาณเงินในระบบ และอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อครับ ธปท. จึงต้องดูดสภาพคล่องกลับโดยการออกพันธบัตร ตามที่ผมได้เคยกล่าวไปแล้วครับ
สรุปถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็คือ เงิน$ ไหลเข้ามาในประเทศไทยจะไปถูกเก็บไว้ที่ ธปท.ครับ( เงินทุนสำรองจึงเพิ่มขึ้น ) ธปท.ก็ปล่อยเงินบาทออกให้นักลงทุนต่างชาติเอาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศ ( ซึ่งถ้าไม่อยากให้เงินบาทแข็งค่าก็ต้องพิมพ์แบงค์เพิ่ม ถ้าไม่พิมพ์แบงค์เพิ่มเงินบาทก็จะแข็งค่า ) น่าจะเป็นอย่างนี้นะครับ ส่วนการซื้อ ขาย เงินบาทในตลาดต่างประเทศ ( offshore ) ต้องขออภัยครับผมไม่มีความรู้เรื่องนี้ครับ ขอบคุณครับ  :D  :D  :D  :D
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 28

โพสต์

บอร์ดการเงินธปท.ลดดอกเบี้ย กำหนดอาร์/พี1วันเหลือ4.75%

17 มกราคม 2550 14:25 น.
บอร์ดการเงิน ธปท. ปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการใช้ดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันเป็นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก โดยกำหนดไว้ที่ 4.75% จากเดิม 4.9375% และอาร์/พี 14 วันจากเดิม อยู่ที่ 5%

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในบ่ายวันนี้ว่ากนง.มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันอยู่ที่ 4.75% จากเดิม 4.95375%

ขระเดียวกันเตรียมพิจารณาปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 จากเดิม 4.5-5.5% เนื่องจากตัวเลขไตรมาส 4 มีสัญญาณชะลอตัวจากอุปโภคบริโภคในประเทศและการลงทุน รวมทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อภาคส่งออก

การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน     :shock:
aiekrub
Verified User
โพสต์: 12
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 29

โพสต์

การปรับลดดอกเบี้ย r/p 14 วัน กับ 1 วัน มันให้ผลต่างกันยังไงหรือครับ
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 0

* * * จิบกาแฟ แล เศรษฐกิจ * * *

โพสต์ที่ 30

โพสต์

เนื่องจากตัวเลขไตรมาส 4 มีสัญญาณชะลอตัวจากอุปโภคบริโภคในประเทศและการลงทุน รวมทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกต่อภาคส่งออก
ดูไตรมาสหนึ่งซะก่อน วะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ





แล้วจะร้องไห้
โพสต์โพสต์