BROOK ใครเคยเข้าไปลงทุนบ้าง เข้าข่ายหุ้น turn around มั๊ย
-
- Verified User
- โพสต์: 374
- ผู้ติดตาม: 0
BROOK ใครเคยเข้าไปลงทุนบ้าง เข้าข่ายหุ้น turn around มั๊ย
โพสต์ที่ 2
เงินสดได้มาจากการแปลงสภาพ warrant ที่ผ่านมาครับ ส่วนเรื่องกำไรนั้นมันขึ้นกับงานว่าจะได้อีกเท่าไหร่
ปล ผู้บริหารมีบริษัททำเกี่ยวกับแนวนี้เหมือนกัน อาจมีการโอนงานมาให้ก็ได้ อันนี้ลองไปหาบทวิเคราะห์เก่าๆอ่านนะครับ (บุลกูล)
ปล ผู้บริหารมีบริษัททำเกี่ยวกับแนวนี้เหมือนกัน อาจมีการโอนงานมาให้ก็ได้ อันนี้ลองไปหาบทวิเคราะห์เก่าๆอ่านนะครับ (บุลกูล)
-
- Verified User
- โพสต์: 558
- ผู้ติดตาม: 0
BROOK ใครเคยเข้าไปลงทุนบ้าง เข้าข่ายหุ้น turn around มั๊ย
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ
ดูงบแล้วเพิ่งล้างขาดทุนสะสมหมด เงินสดมาจากการแปลงวอร์แรนต์ประมาณ 60 ลบ แต่กำไรปีนี้ค่อนข้างมากผิดปกติ ก็เลยยังไม่แน่ใจเรื่องความต่อเนื่องในการทำกำไร และทราบว่าบริษัทต้องพึ่ง คุณโชค บุคกุล ค่อนข้างมาก ตังนี้น่าจะเข้าข่าย turn around แต่ไม่เข้าเกณฑ์ของ VI
ดูงบแล้วเพิ่งล้างขาดทุนสะสมหมด เงินสดมาจากการแปลงวอร์แรนต์ประมาณ 60 ลบ แต่กำไรปีนี้ค่อนข้างมากผิดปกติ ก็เลยยังไม่แน่ใจเรื่องความต่อเนื่องในการทำกำไร และทราบว่าบริษัทต้องพึ่ง คุณโชค บุคกุล ค่อนข้างมาก ตังนี้น่าจะเข้าข่าย turn around แต่ไม่เข้าเกณฑ์ของ VI
-
- Verified User
- โพสต์: 999
- ผู้ติดตาม: 0
BROOK ใครเคยเข้าไปลงทุนบ้าง เข้าข่ายหุ้น turn around มั๊ย
โพสต์ที่ 6
ขุดกระทู้เก่าขึ้นมาตอบครับ
เกมใหม่ 'มาชานลี' รวยด้วย 'สมองและสองมือ'
"จากนี้ไปอาณาจักร บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะยิ่งใหญ่มากขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงบริษัทให้คำปรึกษาด้านวาณิชธนกิจเพียงอย่างเดียว ผมทำจริงๆ นะ ไม่ได้โม้"
ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ไม่มีใครไม่รู้จัก นักเลงหุ้นรุ่นเก๋า นามว่า มาชานลี หรือ ชาญ บูลกุล ผู้โด่งดังในอดีตยุค ราชาเงินทุน
มาวันนี้ บทบาท ในตลาดหุ้นของ มาชานลี ได้เปลี่ยนจาก คนเล่นหุ้น เป็น นักธุรกิจ อย่างเต็มตัว หลังปี 2547 โดยเข้ามาบุกเบิก บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป บริษัทให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจการเงิน และการลงทุน และอยู่หลังความสำเร็จของหลายๆ ดีล
ผลงาน โดดเด่น ที่สร้างชื่อเสียงให้ "มาชานลี" ในฐานะที่ปรึกษามีอยู่หลายราย ไม่ว่าจะเป็นงานปรับโครงสร้าง (Restructuring) โดยเข้าไปทำแผนฟื้นฟูกิจการ ปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างองค์กรให้กับจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) และนครไทยสตริปมิล (NSM) จนปัจจุบัน บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ
นอกจากนั้นยังซ่อนตัวอยู่ เบื้องหลัง การควบและรวมกิจการ (Merger&Acquisition) ระหว่างจี สตีล (G-STEEL) ของ "สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล" กับมิลเลนเนียม สตีล (MS) ซึ่ง เพื่อนรัก สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เป็นหัวเรือใหญ่ หลังกลุ่มทาทา สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่จากประเทศอินเดียเข้ามาซื้อหุ้นมิลเลนเนียม สตีล และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ทาทา สตีล (ประเทศไทย)
"จากนี้ไปอาณาจักร บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะยิ่งใหญ่มากขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงบริษัทให้คำปรึกษาด้านวาณิชธนกิจ (Inverstment Banking) เพียงอย่างเดียว ผมทำจริงๆ นะ ไม่ได้โม้" "มาชานลี" หรือ "ชาญ บูลกุล" หัวเรือใหญ่ บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) กล่าวอย่างมั่นใจในตัวเอง
อาณาจักร ที่ยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียนหลักพันล้าน-หมื่นล้าน หรือต้องซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในโครงการต่างๆ จำนวน "มหาศาล" เหมือนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ
"มาชานลี" บอกว่า เขาจะใช้ สมองและสองมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถนัดในการสร้าง "อนาคต" ให้สวยงาม
"โปรเจคยักษ์ใหญ่ ที่เขาร่างแผนงานคร่าวๆ ไว้เมื่อ 2 ปีก่อน วันนี้กำลังจะเกิดเป็นรูปร่างแล้ว นั่นคือ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะให้ฝ่ายบริหารออกแบบโรงงาน (Project Design Consultant) และจัดหาเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้บริการตรวจประเมินและรับรองโครงการ Designated Operational Entity-DOE)
รวมถึงการเป็นตัวแทนจัดหา คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ให้กับโรงงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมาก
"เราจะทำธุรกิจร่วมกับพันธมิตร ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดี คาดว่าจะเริ่มเซ็นสัญญาเอ็มโอยูอย่างเป็นทางการ ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
เบื้องต้น บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะเป็นผู้จัดหากลุ่มลูกค้า เช่น ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงงานน้ำตาล ซีเมนต์ เหล็ก ไฟฟ้า และปิโตรเคมี ที่มีฐานลูกค้าอยู่ในมือกว่า 50 ราย" "มาชานลี" กล่าว
ล่าสุด มีลูกค้าแสดงความสนใจให้บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป เข้าไปเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วประมาณ 20-30 ราย ขณะที่พันธมิตรจะเป็นผู้จัดการหา คาร์บอนเครดิต เทคโนโลยีต่างๆ และเงินลงทุน
ด้วยวิธีนี้ เขาแทบไม่ต้องใช้เงินลงทุน สักบาทเดียว ใช้เพียงแต่ หัวสมอง ล้วนๆ
คาดว่าคงจะได้เห็นโครงการนี้เกิดขึ้นภายในปีนี้ หรือต้นปีหน้า
"มาชานลี" บอกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในไทยทำธุรกิจนี้ไม่มากนัก จึงเป็นโอกาสที่บริษัทจะกระโดดเข้ามากอบโกยกำไรก่อนคนอื่นๆ
ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการที่โรงงานปล่อยมลพิษมากขึ้น เพราะทุกวันนี้เราต้องเจอปัญหาภาวะโลกร้อน
ที่ผ่านมา พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่าให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ให้ได้ 5.2% "มาชานลี" กล่าว
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด รองลงมาเป็นประเทศญี่ปุ่นและจีน ส่วนไทยแม้วันนี้ยังไม่ติดอันดับต้นๆ แต่จากปัญหามลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำให้ทุกคนเห็นแล้วว่า ถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข อนาคตอาจสายเกินไปก็ได้
"มาชานลี" ยังมั่นใจว่า โปรเจคนี้จะสร้างให้บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป เป็นที่ยอมรับในแวดวงธุรกิจการเงินมากขึ้น โดยเขาเชื่อว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้า จะมีรายได้จากธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเกิน 50% ถือว่ามากกว่ารายได้จากวาณิชธนกิจที่วันนี้เป็นรายได้หลัก
"ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขได้ว่าจะมีรายได้กลับเข้ามาปีละเท่าไร ขอ "ชิมลาง" สักพัก"
แผนธุรกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าของบรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะอยู่ในทิศทางใด ผู้กุมบังเหียน ยอมรับตรงๆ ว่า ในปี 2550 อาจมีผลประกอบการลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้ 243 ล้านบาท กำไรสุทธิ 125 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.20 บาท เนื่องจากไม่ได้รับงานขนาดใหญ่เหมือนปีก่อนที่รับงานไซส์กว่า 100 ล้านบาท โดยปีนี้มีขนาดงานเพียง 10-30 ล้านบาทต่องานเท่านั้น
วันนี้ไซส์งานขนาด 100 ล้านบาท หาค่อนข้างลำบาก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ลูกค้าชะลอการใช้จ่ายเงิน แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น "เม็ดเงิน" จะกลับมาตามปกติ"
ส่วนผลประกอบการในปี 2551 "มาชานลี" มั่นใจว่าจะขยายตัว 30-50% หลังมุ่งหน้าขยายงานบริการให้คำปรึกษาในธุรกิจอื่นๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Brokerage and Consultancy) และด้าน Structured Transaction ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอสังหาริมทรัพย์และลูกค้า
รวมถึงการขยายงานด้านการรับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Property Management) และการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (Property Valuation)
ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายใหม่อยู่ในมือแล้วประมาณ 3-4 ราย ล่าสุดมีรายได้จากธุรกิจนี้แล้วประมาณ 10 ล้านบาท
"คาดว่าปีหน้าเราจะ "โกย" รายได้กว่า 30 ล้านบาท" "มาชานลี" กล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทยังมีแนวทางการบริหารเงินคงเหลือหลายวิธี เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียน
"เราจะเข้าไปลงทุนในกิจการที่ดี มีอนาคต และบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล ซึ่งจะช่วยให้มีผลประกอบการดีขึ้น เพื่อให้ตอบแทนที่ดีกลับคืนมายังผู้ถือหุ้นของบริษัท
ปีนี้เราจะมีรายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจ 50% จากเดิมที่บันทึกรายได้สูงถึง 80% รองลงมาเป็นรายได้จากการเป็นตัวแทนและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ 10% ส่วนที่เหลืออีก 40% เป็นรายได้จากการให้คำปรึกษาบริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และรับเงินปันผลจากหุ้นที่บริษัทเข้าไปลงทุน
"มาชานลี" กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเน้นประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การเงิน และการลงทุนกับเจ้าของธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูง โดยจะให้บริการที่แตกต่างกัน เพื่อทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรของลูกค้า
"เราสามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระดมทุน โดยเราจะเตรียมความพร้อมสำหรับบริษัทที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เข้าไปปรับโครงสร้างทางการเงิน หรือปรับฐานทุนจดทะเบียน หรือช่วยระดมทุนจากบุคคล (Private Placement) และจัดหาแหล่งเงิน"
อนาคตราคาหุ้นบรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป "มาชานลี" บอกว่า มีโอกาสเคลื่อนไหวสูงกว่าปัจจุบันที่ซื้อขายในระดับ 0.79 บาท เพราะหากกลับไปดูงบจะเห็นว่าบริษัทมีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) เกือบติด 0 เท่า (ณ 30 มิ.ย.2550 มีหนี้สินอยู่ที่ 19.70 บาท เทียบกับปีก่อนที่ 40 ล้านบาท) ขณะที่ยังรับงานในประเภทอื่นๆ มากขึ้น
ล่าสุดบริษัทเอ็ดดูเทนเม้นท์ แพลนเน็ท ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ได้รับจัดงาน "มหกรรมปั้นทรายนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ" คาดว่าจะบันทึกรายได้จากงานนี้ประมาณ 10-20 ล้านบาท
จะมีโอกาสเห็นบรรดาลูกๆทั้ง 3 คน โดยเฉพาะ "วรินทร บูลกุล" และ "วรุฒ บูลกุล" ซึ่งปัจจุบันถือหุ้น "บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป" จำนวน 11..30% และ 2.39% ตามลำดับ เดินตามรอยเท้าผู้เป็นพ่อหรือไม่ "มาชานลี" บอกว่า วันนี้คงเร็วเกินไปที่จะวาง "บทบาท" ให้กับลูกๆ เพราะทุกคนยังเด็กเกินไป อายุเพียงแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น
"ส่วนตัวแล้วจะไม่วางกฎเกณฑ์ให้ลูกต้องทำตาม หรือ "บังคับ" ให้ต้องเข้ามารับช่วงธุรกิจต่อ
ผมจะให้เขามีอิสระทางความคิด และการใช้ชีวิต ไม่แน่ว่าวันนี้เขาไม่ชอบแนวนี้ อนาคตอาจเปลี่ยนใจก็ได้ ใครจะไปรู้"
แต่สำหรับเขา วางแผนไว้เสร็จสรรพแล้วว่า ถ้าอายุ 65 ปี อาจปลดระวางตัวเอง แล้วหาคนที่มี "ฝีมือดี" มาทำงานแทน
เกมใหม่ 'มาชานลี' รวยด้วย 'สมองและสองมือ'
"จากนี้ไปอาณาจักร บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะยิ่งใหญ่มากขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงบริษัทให้คำปรึกษาด้านวาณิชธนกิจเพียงอย่างเดียว ผมทำจริงๆ นะ ไม่ได้โม้"
ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ไม่มีใครไม่รู้จัก นักเลงหุ้นรุ่นเก๋า นามว่า มาชานลี หรือ ชาญ บูลกุล ผู้โด่งดังในอดีตยุค ราชาเงินทุน
มาวันนี้ บทบาท ในตลาดหุ้นของ มาชานลี ได้เปลี่ยนจาก คนเล่นหุ้น เป็น นักธุรกิจ อย่างเต็มตัว หลังปี 2547 โดยเข้ามาบุกเบิก บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป บริษัทให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจการเงิน และการลงทุน และอยู่หลังความสำเร็จของหลายๆ ดีล
ผลงาน โดดเด่น ที่สร้างชื่อเสียงให้ "มาชานลี" ในฐานะที่ปรึกษามีอยู่หลายราย ไม่ว่าจะเป็นงานปรับโครงสร้าง (Restructuring) โดยเข้าไปทำแผนฟื้นฟูกิจการ ปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างองค์กรให้กับจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) และนครไทยสตริปมิล (NSM) จนปัจจุบัน บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ
นอกจากนั้นยังซ่อนตัวอยู่ เบื้องหลัง การควบและรวมกิจการ (Merger&Acquisition) ระหว่างจี สตีล (G-STEEL) ของ "สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล" กับมิลเลนเนียม สตีล (MS) ซึ่ง เพื่อนรัก สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง เป็นหัวเรือใหญ่ หลังกลุ่มทาทา สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่จากประเทศอินเดียเข้ามาซื้อหุ้นมิลเลนเนียม สตีล และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ.ทาทา สตีล (ประเทศไทย)
"จากนี้ไปอาณาจักร บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะยิ่งใหญ่มากขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงบริษัทให้คำปรึกษาด้านวาณิชธนกิจ (Inverstment Banking) เพียงอย่างเดียว ผมทำจริงๆ นะ ไม่ได้โม้" "มาชานลี" หรือ "ชาญ บูลกุล" หัวเรือใหญ่ บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) กล่าวอย่างมั่นใจในตัวเอง
อาณาจักร ที่ยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียนหลักพันล้าน-หมื่นล้าน หรือต้องซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในโครงการต่างๆ จำนวน "มหาศาล" เหมือนกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ
"มาชานลี" บอกว่า เขาจะใช้ สมองและสองมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถนัดในการสร้าง "อนาคต" ให้สวยงาม
"โปรเจคยักษ์ใหญ่ ที่เขาร่างแผนงานคร่าวๆ ไว้เมื่อ 2 ปีก่อน วันนี้กำลังจะเกิดเป็นรูปร่างแล้ว นั่นคือ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะให้ฝ่ายบริหารออกแบบโรงงาน (Project Design Consultant) และจัดหาเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้บริการตรวจประเมินและรับรองโครงการ Designated Operational Entity-DOE)
รวมถึงการเป็นตัวแทนจัดหา คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ให้กับโรงงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมาก
"เราจะทำธุรกิจร่วมกับพันธมิตร ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นอย่างดี คาดว่าจะเริ่มเซ็นสัญญาเอ็มโอยูอย่างเป็นทางการ ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
เบื้องต้น บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะเป็นผู้จัดหากลุ่มลูกค้า เช่น ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงงานน้ำตาล ซีเมนต์ เหล็ก ไฟฟ้า และปิโตรเคมี ที่มีฐานลูกค้าอยู่ในมือกว่า 50 ราย" "มาชานลี" กล่าว
ล่าสุด มีลูกค้าแสดงความสนใจให้บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป เข้าไปเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแล้วประมาณ 20-30 ราย ขณะที่พันธมิตรจะเป็นผู้จัดการหา คาร์บอนเครดิต เทคโนโลยีต่างๆ และเงินลงทุน
ด้วยวิธีนี้ เขาแทบไม่ต้องใช้เงินลงทุน สักบาทเดียว ใช้เพียงแต่ หัวสมอง ล้วนๆ
คาดว่าคงจะได้เห็นโครงการนี้เกิดขึ้นภายในปีนี้ หรือต้นปีหน้า
"มาชานลี" บอกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในไทยทำธุรกิจนี้ไม่มากนัก จึงเป็นโอกาสที่บริษัทจะกระโดดเข้ามากอบโกยกำไรก่อนคนอื่นๆ
ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการที่โรงงานปล่อยมลพิษมากขึ้น เพราะทุกวันนี้เราต้องเจอปัญหาภาวะโลกร้อน
ที่ผ่านมา พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่าให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ให้ได้ 5.2% "มาชานลี" กล่าว
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด รองลงมาเป็นประเทศญี่ปุ่นและจีน ส่วนไทยแม้วันนี้ยังไม่ติดอันดับต้นๆ แต่จากปัญหามลพิษในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำให้ทุกคนเห็นแล้วว่า ถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข อนาคตอาจสายเกินไปก็ได้
"มาชานลี" ยังมั่นใจว่า โปรเจคนี้จะสร้างให้บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป เป็นที่ยอมรับในแวดวงธุรกิจการเงินมากขึ้น โดยเขาเชื่อว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้า จะมีรายได้จากธุรกิจให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเกิน 50% ถือว่ามากกว่ารายได้จากวาณิชธนกิจที่วันนี้เป็นรายได้หลัก
"ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินตัวเลขได้ว่าจะมีรายได้กลับเข้ามาปีละเท่าไร ขอ "ชิมลาง" สักพัก"
แผนธุรกิจในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าของบรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จะอยู่ในทิศทางใด ผู้กุมบังเหียน ยอมรับตรงๆ ว่า ในปี 2550 อาจมีผลประกอบการลดลงจากปีก่อนที่มีรายได้ 243 ล้านบาท กำไรสุทธิ 125 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.20 บาท เนื่องจากไม่ได้รับงานขนาดใหญ่เหมือนปีก่อนที่รับงานไซส์กว่า 100 ล้านบาท โดยปีนี้มีขนาดงานเพียง 10-30 ล้านบาทต่องานเท่านั้น
วันนี้ไซส์งานขนาด 100 ล้านบาท หาค่อนข้างลำบาก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้ลูกค้าชะลอการใช้จ่ายเงิน แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น "เม็ดเงิน" จะกลับมาตามปกติ"
ส่วนผลประกอบการในปี 2551 "มาชานลี" มั่นใจว่าจะขยายตัว 30-50% หลังมุ่งหน้าขยายงานบริการให้คำปรึกษาในธุรกิจอื่นๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Brokerage and Consultancy) และด้าน Structured Transaction ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอสังหาริมทรัพย์และลูกค้า
รวมถึงการขยายงานด้านการรับบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Property Management) และการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (Property Valuation)
ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้ารายใหม่อยู่ในมือแล้วประมาณ 3-4 ราย ล่าสุดมีรายได้จากธุรกิจนี้แล้วประมาณ 10 ล้านบาท
"คาดว่าปีหน้าเราจะ "โกย" รายได้กว่า 30 ล้านบาท" "มาชานลี" กล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทยังมีแนวทางการบริหารเงินคงเหลือหลายวิธี เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และหลักทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียน
"เราจะเข้าไปลงทุนในกิจการที่ดี มีอนาคต และบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล ซึ่งจะช่วยให้มีผลประกอบการดีขึ้น เพื่อให้ตอบแทนที่ดีกลับคืนมายังผู้ถือหุ้นของบริษัท
ปีนี้เราจะมีรายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจ 50% จากเดิมที่บันทึกรายได้สูงถึง 80% รองลงมาเป็นรายได้จากการเป็นตัวแทนและให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ 10% ส่วนที่เหลืออีก 40% เป็นรายได้จากการให้คำปรึกษาบริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และรับเงินปันผลจากหุ้นที่บริษัทเข้าไปลงทุน
"มาชานลี" กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเน้นประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ การเงิน และการลงทุนกับเจ้าของธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูง โดยจะให้บริการที่แตกต่างกัน เพื่อทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรของลูกค้า
"เราสามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระดมทุน โดยเราจะเตรียมความพร้อมสำหรับบริษัทที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เข้าไปปรับโครงสร้างทางการเงิน หรือปรับฐานทุนจดทะเบียน หรือช่วยระดมทุนจากบุคคล (Private Placement) และจัดหาแหล่งเงิน"
อนาคตราคาหุ้นบรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป "มาชานลี" บอกว่า มีโอกาสเคลื่อนไหวสูงกว่าปัจจุบันที่ซื้อขายในระดับ 0.79 บาท เพราะหากกลับไปดูงบจะเห็นว่าบริษัทมีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) เกือบติด 0 เท่า (ณ 30 มิ.ย.2550 มีหนี้สินอยู่ที่ 19.70 บาท เทียบกับปีก่อนที่ 40 ล้านบาท) ขณะที่ยังรับงานในประเภทอื่นๆ มากขึ้น
ล่าสุดบริษัทเอ็ดดูเทนเม้นท์ แพลนเน็ท ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ได้รับจัดงาน "มหกรรมปั้นทรายนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ" คาดว่าจะบันทึกรายได้จากงานนี้ประมาณ 10-20 ล้านบาท
จะมีโอกาสเห็นบรรดาลูกๆทั้ง 3 คน โดยเฉพาะ "วรินทร บูลกุล" และ "วรุฒ บูลกุล" ซึ่งปัจจุบันถือหุ้น "บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป" จำนวน 11..30% และ 2.39% ตามลำดับ เดินตามรอยเท้าผู้เป็นพ่อหรือไม่ "มาชานลี" บอกว่า วันนี้คงเร็วเกินไปที่จะวาง "บทบาท" ให้กับลูกๆ เพราะทุกคนยังเด็กเกินไป อายุเพียงแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น
"ส่วนตัวแล้วจะไม่วางกฎเกณฑ์ให้ลูกต้องทำตาม หรือ "บังคับ" ให้ต้องเข้ามารับช่วงธุรกิจต่อ
ผมจะให้เขามีอิสระทางความคิด และการใช้ชีวิต ไม่แน่ว่าวันนี้เขาไม่ชอบแนวนี้ อนาคตอาจเปลี่ยนใจก็ได้ ใครจะไปรู้"
แต่สำหรับเขา วางแผนไว้เสร็จสรรพแล้วว่า ถ้าอายุ 65 ปี อาจปลดระวางตัวเอง แล้วหาคนที่มี "ฝีมือดี" มาทำงานแทน
We are new KIDS.
We don' t SMOKE.
ร่วมรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่
We don' t SMOKE.
ร่วมรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่