เรียนถามคุณ Kob เพิ่มครับ แล้วแบบใหม่ บริษัทร่วมในงบการเงินรวม จะคิดเป็นวิธีราคาทุน หรือส่วนได้เสียครับKob เขียน:วิธีการปัจจุบัน
งบเดี่ยว..จะรับรู้ส่วนได้เสียทั้งบริษัทย่อยและร่วม(ตัวเลขจึงจะเท่ากับงบรวม)บรรทัดเดียว
งบรวม..บริษัทร่วมทำเหมือนงบเดี่ยว บริษัทย่อยจะเป็นการนำทุกรายการมารวมเสมือนเป็นบริษัทเดียวกันแล้วแสดงรายการส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
เพราะฉะนั้น..ทั้งย่อยและร่วมก็จะอยู่ในทั้ง2งบ เพียงแต่มีวิธีนำเสนอแตกต่างกัน
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 31
- Minesweeper
- Verified User
- โพสต์: 472
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 32
อ่านไปอ่านมา ชักงง สรุปคือว่า ?
1. ยกเลิก equity method ในงบเดี่ยว ซึ่งใช้กับทั้งบริษัทย่อย (>50%) และบริษัทร่วม (20-50) โดยให้บันทึกเฉพาะรายได้จากปันผลเท่านั้น
2. งบรวมยังเหมือนเดิมทุกประการ ที่เป็น equity method ก็ยังเหมือนเดิม ที่ consol ก็ทำไปเหมือนเดิม
3. ปันผลอาจลดลง ถ้าปันผลตามที่เขียนไว้เป๊ะๆ เนื่องจากนโยบายปันผลดูจากงบเดี่ยว ไม่ใช่งบรวม แต่ในความเป็นจริง ก็ขึ้นกับเงินสดของบริษัทอยู่ดี
คุณ Kob หรือ ท่านอื่นๆ ช่วย confirm แหล่งข้อมูลได้มั้ยครับ ขอบคุณครับ
1. ยกเลิก equity method ในงบเดี่ยว ซึ่งใช้กับทั้งบริษัทย่อย (>50%) และบริษัทร่วม (20-50) โดยให้บันทึกเฉพาะรายได้จากปันผลเท่านั้น
2. งบรวมยังเหมือนเดิมทุกประการ ที่เป็น equity method ก็ยังเหมือนเดิม ที่ consol ก็ทำไปเหมือนเดิม
3. ปันผลอาจลดลง ถ้าปันผลตามที่เขียนไว้เป๊ะๆ เนื่องจากนโยบายปันผลดูจากงบเดี่ยว ไม่ใช่งบรวม แต่ในความเป็นจริง ก็ขึ้นกับเงินสดของบริษัทอยู่ดี
คุณ Kob หรือ ท่านอื่นๆ ช่วย confirm แหล่งข้อมูลได้มั้ยครับ ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 35
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 33
-ที่คุณ Minesweeper สรุปไว้ในข้อ 1,2 ถูกต้องแล้วครับ
-ปันผลอาจลดลงถ้าบริษัทย่อย/บริษัทร่วมไม่จ่ายเงินปันผลให้บริษัทใหญ่ แต่อย่าลืมว่าบริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุมบริษัทย่อยและมีอิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญในบริษัทร่วมจึงควรมีส่วนรวม/กำหนดนโยบายปันผล
-ปันผลอาจไม่จำเป็นต้องมีเงินสดเพราะสามารถกู้มาจ่ายก็ได้ เพียงแต่ถ้าสอดคล้องกันได้ก็น่าจะดี
แนวที่ตอบทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงและมีผลบังคับใช้แล้ว สำหรับประเทศไทย สภาวิชาชีพอยู่ระหว่างพิจารณาและทำประชาพิจารณ์
-ปันผลอาจลดลงถ้าบริษัทย่อย/บริษัทร่วมไม่จ่ายเงินปันผลให้บริษัทใหญ่ แต่อย่าลืมว่าบริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุมบริษัทย่อยและมีอิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญในบริษัทร่วมจึงควรมีส่วนรวม/กำหนดนโยบายปันผล
-ปันผลอาจไม่จำเป็นต้องมีเงินสดเพราะสามารถกู้มาจ่ายก็ได้ เพียงแต่ถ้าสอดคล้องกันได้ก็น่าจะดี
แนวที่ตอบทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงและมีผลบังคับใช้แล้ว สำหรับประเทศไทย สภาวิชาชีพอยู่ระหว่างพิจารณาและทำประชาพิจารณ์
-
- Verified User
- โพสต์: 337
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 35
ผมอยากเสนอให้ลงตามจริงครับ
เช่นบริษัทถือหุ้นในบริษัท A
50% ก้บันทึกเงินสดแค่ 50 % ของบริษัท
มีกำไรไร ก็บันทึก 50% ของบริษัท A
ยกตัวอย่างนะครับบริษัท A มีเงินสด 100
เราก็ควรจะบันทึกเงินสดแค่ 50 บาทในงบเรา
เพราะเรามีสิทธิแค่นี้
ทำไมถึงไม่ลงตามความจริงไปเลย
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้วิธิที่มันไม่ตรงตามจริงแบบนี้
เช่นบริษัทถือหุ้นในบริษัท A
50% ก้บันทึกเงินสดแค่ 50 % ของบริษัท
มีกำไรไร ก็บันทึก 50% ของบริษัท A
ยกตัวอย่างนะครับบริษัท A มีเงินสด 100
เราก็ควรจะบันทึกเงินสดแค่ 50 บาทในงบเรา
เพราะเรามีสิทธิแค่นี้
ทำไมถึงไม่ลงตามความจริงไปเลย
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้วิธิที่มันไม่ตรงตามจริงแบบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 160
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 36
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549 สภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 26/2549 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) โดยให้แก้ไขการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่มีอำนาจควบคุมร่วม และบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการจากวิธีส่วนได้เสียมาเป็นวิธีราคาทุน โดยกิจการที่ไม่ประสงค์จะใช้วิธีราคาทุนในปี 2549 ก็ให้ใช้วิธีส่วนได้เสียตามเดิมจนถึงสิ้นปี 2549 และให้ใช้วิธีราคาทุนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2549
Could anyone please once again make a final conclusion on the impacts of the new standard accounting principles that would really affect stocks in terms of price, dividend, financial statement report and etc?
NB: TIME IS DRAWING NEAR.
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2549
Could anyone please once again make a final conclusion on the impacts of the new standard accounting principles that would really affect stocks in terms of price, dividend, financial statement report and etc?
NB: TIME IS DRAWING NEAR.
-
- Verified User
- โพสต์: 190
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 37
ฝาก link รายงานพิเศษของ ASP
save เอาไว้หลายวันแล้ว
ว่าจะยกมาถามเหมือนกัน
ขอต่อท้าย กระทู้นี้เลยแล้วกันครับ
http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/ ... t11061.pdf
สงสัยเหมือนกันว่า
อย่างพวกเดินเรือ ที่ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทลูก จะเหลือรายได้อะไรมาแสดง คงเหลือแค่ ดอกเบี้ยรับ ฯลฯ
ผลกระทบก็คือ ผลประกอบการของบริษัทลูกในปี 2550 จะไม่มีการรับรู้
จนกระทั่งได้รับปันผล ประมาณไตรมาศ 2 ปีถัดไป
save เอาไว้หลายวันแล้ว
ว่าจะยกมาถามเหมือนกัน
ขอต่อท้าย กระทู้นี้เลยแล้วกันครับ
http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/ ... t11061.pdf
สงสัยเหมือนกันว่า
อย่างพวกเดินเรือ ที่ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทลูก จะเหลือรายได้อะไรมาแสดง คงเหลือแค่ ดอกเบี้ยรับ ฯลฯ
ผลกระทบก็คือ ผลประกอบการของบริษัทลูกในปี 2550 จะไม่มีการรับรู้
จนกระทั่งได้รับปันผล ประมาณไตรมาศ 2 ปีถัดไป
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 38
ขอบคุณครับ อ่านแล้วเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างjojosati เขียน:ฝาก link รายงานพิเศษของ ASP
save เอาไว้หลายวันแล้ว
ว่าจะยกมาถามเหมือนกัน
ขอต่อท้าย กระทู้นี้เลยแล้วกันครับ
http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/ ... t11061.pdf
สงสัยเหมือนกันว่า
อย่างพวกเดินเรือ ที่ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทลูก จะเหลือรายได้อะไรมาแสดง คงเหลือแค่ ดอกเบี้ยรับ ฯลฯ
ผลกระทบก็คือ ผลประกอบการของบริษัทลูกในปี 2550 จะไม่มีการรับรู้
จนกระทั่งได้รับปันผล ประมาณไตรมาศ 2 ปีถัดไป
คงต้องรอให้ใช้จริงถึงจะเห็นภาพมากขึ้นครับ
สำหรับหุ้นที่มีบริษัทย่อยเยอะ ๆ ยังจะยังมีงบรวมให้ดูได้
แต่ผมสงสัยว่าสำหรับบริษัทที่ไม่มีบริษัทย่อยมีเพียงบริษัทร่วมซึ่งมีแต่งบเดี่ยว
ยังจะมีงบที่บันทึกโดยวิธีส่วนใด้ส่วนเสียให้ดูรึเปล่านี่น่ะสิ
ถ้าไม่มีคงแย่ เพราะเท่ากับไม่มีทางรู้เลยว่าบริษัทร่วมได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
ส่วนตัวแล้วไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลงครับ
แม้ว่าดูแล้วเหมือนจะดีขึ้น
เนื่องจากขี้เกียจปรับตัวครับ
- Luty97
- Verified User
- โพสต์: 1520
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 41
[quote="Bread & Butter"]เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549 สภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 26/2549 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) โดยให้แก้ไขการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่มีอำนาจควบคุมร่วม และบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการจากวิธีส่วนได้เสียมาเป็นวิธีราคาทุน โดยกิจการที่ไม่ประสงค์จะใช้วิธีราคาทุนในปี 2549 ก็ให้ใช้วิธีส่วนได้เสียตามเดิมจนถึงสิ้นปี 2549 และให้ใช้วิธีราคาทุนเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2549
สรุปว่าเริ่มบังคับใช้แล้วเหรอครับ แล้วที่ว่าจะทำประชาวิจารณ์นี้ทำแล้วเหรอครับ ไม่ได้ยินเลย :roll:
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2549
สรุปว่าเริ่มบังคับใช้แล้วเหรอครับ แล้วที่ว่าจะทำประชาวิจารณ์นี้ทำแล้วเหรอครับ ไม่ได้ยินเลย :roll:
หลักของความสมดุล
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 44
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
ฉบับที่ ๓๒/ ๒๕๔๙
เรื่อง คำอธิบายมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย
(ย่อหน้า ๒๗) และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม (ย่อหน้า ๑๑)
______________________
อนุสนธิจากประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑) ให้ยกเลิกความในย่อหน้า ๒๗ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทใหญ่ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๓) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป แล้ว นั้น
เพื่อความชัดเจน สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงขอประกาศคำอธิบายและคำนิยามของประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. คำนิยาม - งบการเงินเฉพาะกิจการ (Separate Financial Statements)
หมายถึง - งบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยผู้ลงทุนในบริษัทร่วม หรือ โดยผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกันซึ่งการบันทึกบัญชีเงินลงทุนเป็นไปตามเกณฑ์ส่วนได้เสียโดยตรง (Direct Equity Interest) มิใช่ตามเกณฑ์ของผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นและสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ถูกลงทุน
๒. ย่อหน้า ๑๑ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้องบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งระบุให้เงินลงทุนในบริษัทร่วมต้องรับรู้ในงบการเงินเฉพาะกิจการโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย นั้น ให้เปลี่ยนเป็นใช้วิธีราคาทุน หรือตามเกณฑ์ของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)
ประกาศ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
(ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช)
นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
นี่หมายความว่า บริษัทย่อยยังรวมงบอยู่หรือเปล่าครับพี่มน พี่ฉัตรชัย ช่วยเคลียร์ให้ด้วยครับ
ฉบับที่ ๓๒/ ๒๕๔๙
เรื่อง คำอธิบายมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย
(ย่อหน้า ๒๗) และ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม (ย่อหน้า ๑๑)
______________________
อนุสนธิจากประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑) ให้ยกเลิกความในย่อหน้า ๒๗ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทใหญ่ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๓) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นไป แล้ว นั้น
เพื่อความชัดเจน สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงขอประกาศคำอธิบายและคำนิยามของประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. คำนิยาม - งบการเงินเฉพาะกิจการ (Separate Financial Statements)
หมายถึง - งบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยผู้ลงทุนในบริษัทร่วม หรือ โดยผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกันซึ่งการบันทึกบัญชีเงินลงทุนเป็นไปตามเกณฑ์ส่วนได้เสียโดยตรง (Direct Equity Interest) มิใช่ตามเกณฑ์ของผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นและสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ถูกลงทุน
๒. ย่อหน้า ๑๑ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๕ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้องบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งระบุให้เงินลงทุนในบริษัทร่วมต้องรับรู้ในงบการเงินเฉพาะกิจการโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย นั้น ให้เปลี่ยนเป็นใช้วิธีราคาทุน หรือตามเกณฑ์ของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ ๒๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)
ประกาศ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
(ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช)
นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
นี่หมายความว่า บริษัทย่อยยังรวมงบอยู่หรือเปล่าครับพี่มน พี่ฉัตรชัย ช่วยเคลียร์ให้ด้วยครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 45
ตามความเข้าใจของผม ซึ่งไม่ใช่นักบัญชี
กรณีนี้คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะในงบเดี่ยวครับ งบรวมยังคงเหมือนเดิมทุกประการ
ดังนั้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป กำไรสุทธิ และส่วนผู้ถือหุ้น ในงบเดี่ยว และงบรวมจะไม่เท่ากันครับ
กรณีนี้คงเปลี่ยนแปลงเฉพาะในงบเดี่ยวครับ งบรวมยังคงเหมือนเดิมทุกประการ
ดังนั้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป กำไรสุทธิ และส่วนผู้ถือหุ้น ในงบเดี่ยว และงบรวมจะไม่เท่ากันครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 47
พวกบริษัทย่อยไม่น่ามีปัญหาเท่าไร เพราะยังคงมีงบการเงินรวมให้ดูอยู่
ส่วนพวกบริษัทร่วมนี่แย่หน่อย เพราะรับรู้ได้เฉพาะปันผล
ผมว่ามันจะแย่กว่าแบบเดิมนา ถ้าไม่มีการบอกส่วนแบ่งกำไรของบริษัทร่วม
เพราะแบบเดิมถ้าอยากรู้ปันผลของบริษัทร่วมจริง ๆ ก็สามารถดูในงบกระแสเงินสด หรือ หมายเหตุประกอบงบการเงินได้
บริษัทไหนมีบริษัทร่วมเยอะ ๆ กำไรคงลดลงเยอะครับ
ตัวที่ผมว่ากำไรคงลดเยอะแน่ ๆ ทั้งงบเดี่ยวและงบรวม คงเป็น spc spi ครับ
เพราะบริษัทนี้ชอบถือหุ้นในรูปแบบของบริษัทร่วมมากกว่าที่จะถือในรูปแบบของบริษัทย่อย และ บริษัทในเครือนี้ก็ดันไม่ค่อยชอบปันผลซะด้วย
พื้นฐานของหุ้นไม่เปลี่ยน แต่การคำนวณหาราคาพื้นฐานของหุ้นตัวเดิมด้วยมาตรฐานใหม่ ของคน ๆ เดียวกันให้ออกมาเท่ากับมาตรฐานเก่า คงทำไม่ได้ง่าย ๆ มั้ง
ส่วนพวกบริษัทร่วมนี่แย่หน่อย เพราะรับรู้ได้เฉพาะปันผล
ผมว่ามันจะแย่กว่าแบบเดิมนา ถ้าไม่มีการบอกส่วนแบ่งกำไรของบริษัทร่วม
เพราะแบบเดิมถ้าอยากรู้ปันผลของบริษัทร่วมจริง ๆ ก็สามารถดูในงบกระแสเงินสด หรือ หมายเหตุประกอบงบการเงินได้
บริษัทไหนมีบริษัทร่วมเยอะ ๆ กำไรคงลดลงเยอะครับ
ตัวที่ผมว่ากำไรคงลดเยอะแน่ ๆ ทั้งงบเดี่ยวและงบรวม คงเป็น spc spi ครับ
เพราะบริษัทนี้ชอบถือหุ้นในรูปแบบของบริษัทร่วมมากกว่าที่จะถือในรูปแบบของบริษัทย่อย และ บริษัทในเครือนี้ก็ดันไม่ค่อยชอบปันผลซะด้วย
พื้นฐานของหุ้นไม่เปลี่ยน แต่การคำนวณหาราคาพื้นฐานของหุ้นตัวเดิมด้วยมาตรฐานใหม่ ของคน ๆ เดียวกันให้ออกมาเท่ากับมาตรฐานเก่า คงทำไม่ได้ง่าย ๆ มั้ง
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 48
ถามเพื่อนที่เป็น CPA บอกว่า
บริษัทต้องแก้งบย้อนหลังด้วย
ก็แปลว่า บริษัทที่เคยขาดทุนจากบริษัทย่อย/ร่วม ก็จะมี Equity เพิ่มตูมๆๆ and vice versa
คงวุ่นตรงที่ กำไรรวมของ SET จะลดลงเพราะ Holding ใหญ่ๆจะไม่มีกำไรนับซ้ำจากเดิมแล้ว
แอบลุ้นให้ตลาดถล่ม
บริษัทต้องแก้งบย้อนหลังด้วย
ก็แปลว่า บริษัทที่เคยขาดทุนจากบริษัทย่อย/ร่วม ก็จะมี Equity เพิ่มตูมๆๆ and vice versa
คงวุ่นตรงที่ กำไรรวมของ SET จะลดลงเพราะ Holding ใหญ่ๆจะไม่มีกำไรนับซ้ำจากเดิมแล้ว
แอบลุ้นให้ตลาดถล่ม
I do not sleep. I dream.
-
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
มีท่านไหนมีข่าวเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่สำหรับโฮลดิ้ง คอมพานี ?
โพสต์ที่ 49
ไปคัดลอกมาจาก
คำถาม-คำตอบจากการเสวนา
ข้อสังเกตในการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546 เวลา 13.00 17.00 น.
ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ถนนเพชรบุรี
ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์*
งบเดี่ยว (Equity) และงบ Consol กำไร (Bottom line) จะไม่เท่ากันในกรณีใดบ้าง
คำตอบ ตามปกติ งบการเงินเฉพาะและงบการเงินรวมควรจะแสดงกำไรหรือขาดทุนสุทธิเท่ากัน เนื่องจากการบันทึกส่วนได้เสียในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสียมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรรมวิธีในการจัดทำงบการเงินรวม อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะอาจไม่เท่ากับกำไรสุทธิรวมในงบการเงินรวมได้ในหลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น กรณีผลขาดทุนในบริษัทย่อยที่เป็นส่วนของบริษัทใหญ่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย ขณะเดียวกันบริษัทใหญ่ไม่มีภาระผูกพันหรือภาระค้ำประกันบริษัทย่อยและได้ทราบเป็นที่แน่นอนว่าบริษัทจะไม่ให้การสนับสนุนบริษัทย่อยอีกต่อไป หากบริษัทใหญ่บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย บริษัทใหญ่ต้องบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยเป็นศูนย์โดยไม่นำผลขาดทุนที่สูงกว่าเงินลงทุนมารับรู้ในงบการเงินเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่ยังคงต้องรับรู้ผลขาดทุนที่เป็นส่วนของบริษัทใหญ่ที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน แม้บริษัทใหญ่จะไม่มีภาระผูกพันหรือภาระค้ำประกันบริษัทย่อยและบริษัทใหญ่จะไม่ให้การสนับสนุนบริษัทย่อยอีกต่อไป ทำให้กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะไม่เท่ากับกำไรสุทธิในงบการเงินรวม
คำถาม-คำตอบจากการเสวนา
ข้อสังเกตในการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2546 เวลา 13.00 17.00 น.
ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ถนนเพชรบุรี
ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์*
งบเดี่ยว (Equity) และงบ Consol กำไร (Bottom line) จะไม่เท่ากันในกรณีใดบ้าง
คำตอบ ตามปกติ งบการเงินเฉพาะและงบการเงินรวมควรจะแสดงกำไรหรือขาดทุนสุทธิเท่ากัน เนื่องจากการบันทึกส่วนได้เสียในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสียมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรรมวิธีในการจัดทำงบการเงินรวม อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะอาจไม่เท่ากับกำไรสุทธิรวมในงบการเงินรวมได้ในหลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น กรณีผลขาดทุนในบริษัทย่อยที่เป็นส่วนของบริษัทใหญ่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย ขณะเดียวกันบริษัทใหญ่ไม่มีภาระผูกพันหรือภาระค้ำประกันบริษัทย่อยและได้ทราบเป็นที่แน่นอนว่าบริษัทจะไม่ให้การสนับสนุนบริษัทย่อยอีกต่อไป หากบริษัทใหญ่บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย บริษัทใหญ่ต้องบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยเป็นศูนย์โดยไม่นำผลขาดทุนที่สูงกว่าเงินลงทุนมารับรู้ในงบการเงินเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำงบการเงินรวม บริษัทใหญ่ยังคงต้องรับรู้ผลขาดทุนที่เป็นส่วนของบริษัทใหญ่ที่สูงกว่าราคาตามบัญชีของเงินลงทุน แม้บริษัทใหญ่จะไม่มีภาระผูกพันหรือภาระค้ำประกันบริษัทย่อยและบริษัทใหญ่จะไม่ให้การสนับสนุนบริษัทย่อยอีกต่อไป ทำให้กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะไม่เท่ากับกำไรสุทธิในงบการเงินรวม