รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 1681
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 31
https://www.smartsme.co.th/content/242178
จัดมา! “Tesla” พร้อมตั้งฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เดินหน้าขอข้อมูลรัฐบาลเตรียมลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อ้าแขนรับ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานข่าวที่เชื่อมโยงระหว่างยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก Tesla และประเทศไทย โดยระบุว่า Tesla มีความมุ่งมั่นที่จะขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดี และเอื้อประโยชน์ต่อการเข้าไปลงทุน
จัดมา! “Tesla” พร้อมตั้งฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เดินหน้าขอข้อมูลรัฐบาลเตรียมลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อ้าแขนรับ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานข่าวที่เชื่อมโยงระหว่างยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก Tesla และประเทศไทย โดยระบุว่า Tesla มีความมุ่งมั่นที่จะขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดี และเอื้อประโยชน์ต่อการเข้าไปลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 1681
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 32
MG EP ราคา 9.88 แสนบาท
.
เปิดราคาแล้วสำหรับ MG EP รถยนต์ไฟฟ้าล้วนรุ่นที่สองที่ MG ทำตลาดในประเทศไทย โดยจุดเด่นอยู่ที่ความเป็น Station Wagon ทำให้มีความเอนกประสงค์มากกว่ารถ Sedan ทั่วไป
.
มาพร้อมสมรรถนะ 163 แรงม้า ขับขี่ได้ไกล 380 กม. ซ่อมบำรุงง่ายเพราะแยกโมดูลได้อิสระ ส่วนความปลอดภัยมาทั้งถุงลมนิรภัย และการช่วยเหลือการขับขี่ ค่าบำรุงรักษาช่วง 1 แสนกม. แรกไม่ถึง 8,000 บาท
.
ส่วนรายละเอียดเต็มๆ ติดตามได้ในช่วงบ่ายครับ
#mg #mgep #รถยนต์ไฟฟ้า
.
เปิดราคาแล้วสำหรับ MG EP รถยนต์ไฟฟ้าล้วนรุ่นที่สองที่ MG ทำตลาดในประเทศไทย โดยจุดเด่นอยู่ที่ความเป็น Station Wagon ทำให้มีความเอนกประสงค์มากกว่ารถ Sedan ทั่วไป
.
มาพร้อมสมรรถนะ 163 แรงม้า ขับขี่ได้ไกล 380 กม. ซ่อมบำรุงง่ายเพราะแยกโมดูลได้อิสระ ส่วนความปลอดภัยมาทั้งถุงลมนิรภัย และการช่วยเหลือการขับขี่ ค่าบำรุงรักษาช่วง 1 แสนกม. แรกไม่ถึง 8,000 บาท
.
ส่วนรายละเอียดเต็มๆ ติดตามได้ในช่วงบ่ายครับ
#mg #mgep #รถยนต์ไฟฟ้า
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 33
คำถามใหญ่คือ รายได้ของรัฐ คือ ภาษีสรรสามิต ที่เรียกเก็บ จากน้ำมัน
แล้วถ้าหากเป็นรถยนต์ไฟฟ้า แล้ว รัฐเรียกเก็บจากอะไร
งานนี้คำตอบคือ เรียกเก็บจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เอามาชาร์จรถยนต์ นั้นเอง
ว่าราคาต่อหน่วยนั้น ต้องบวกเพิ่มไปเท่าไร แต่คงได้น้อยกว่า ภาษีสรรสามิตที่มีอยู่ปัจจุบัน
แถมด้วย บริษัทน้ำมัน มีขนาดใหญ่กว่าบริษัทไฟฟ้า ไม่เพียงแค่นั้น
รัฐวิสาหกิจไฟฟ้า ก็แปลงสภาพไม่ได้ งานนี้เลยหวยไปออกที่ไม่ต้องพัฒนารถไฟฟ้า จนกว่า
ประเทศโดยบีบบังคับว่า ต้องสูญเสีย การเป็น hub ทางรถยนต์ไปก่อน ถึงยอมมานั่งคิดว่า
ทำไมเราเป็นเช่นนี้ หลุดจากเทรนไปได้อย่างไร
แล้วถ้าหากเป็นรถยนต์ไฟฟ้า แล้ว รัฐเรียกเก็บจากอะไร
งานนี้คำตอบคือ เรียกเก็บจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เอามาชาร์จรถยนต์ นั้นเอง
ว่าราคาต่อหน่วยนั้น ต้องบวกเพิ่มไปเท่าไร แต่คงได้น้อยกว่า ภาษีสรรสามิตที่มีอยู่ปัจจุบัน
แถมด้วย บริษัทน้ำมัน มีขนาดใหญ่กว่าบริษัทไฟฟ้า ไม่เพียงแค่นั้น
รัฐวิสาหกิจไฟฟ้า ก็แปลงสภาพไม่ได้ งานนี้เลยหวยไปออกที่ไม่ต้องพัฒนารถไฟฟ้า จนกว่า
ประเทศโดยบีบบังคับว่า ต้องสูญเสีย การเป็น hub ทางรถยนต์ไปก่อน ถึงยอมมานั่งคิดว่า
ทำไมเราเป็นเช่นนี้ หลุดจากเทรนไปได้อย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1681
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 34
การทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าล้วนของ Toyota เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เพราะล่าสุดมีรายงานออกมาว่า Toyota อยู่ระหว่างพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Solid State ที่ปิดจุดอ่อนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบเดิม และเตรียมเปิดตัวในปี 2021
.
#toyota #รถยนต์ไฟฟ้า #solidstate #brandinside
https://brandinside.asia/toyota-solid-state-battery/
.
#toyota #รถยนต์ไฟฟ้า #solidstate #brandinside
https://brandinside.asia/toyota-solid-state-battery/
-
- Verified User
- โพสต์: 1681
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 35
กรุงเทพฯ 14 ธ.ค. – ไทยไปแน่ผลิตรถอีวี เตือนทุกฝ่ายทั้งธุรกิจโรงกลั่นฯ ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ ด้าน ก.พลังงาน ระดมสมองฟังความเห็นเป็นแผนพลังงานชาติ รับทั้งเทคโนโลยีใหม่ พลังงานทดแทน ดิจิทัล คาร์บอนเป็นศูนย์ ยอมรับโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงใหม่คงไม่เกิด
กระทรวงพลังงานจัดเวิร์คช็อป “คนพลังงานร่วมใจ สู่ทิศทางไทยในอนาคต” นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้ระดม สมองขับเคลื่อน แผนพลังงานชาติ ที่ดูถึงแผน 20 ปี และแผนระยะสั้น 5-10 ปี เป้าหมายจัดทำแผนเสร็จภายในเดือน 6 เดือนข้างหน้า หรือเดือนเมษายน 64 ซึ่งเป็นการปรับแผนรับการเปลี่ยนแปลงของทั้งเศรษฐกิจโลกจากโควิด-19การสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศ การปรับตัวเทคโนโลยีใหม่ เช่น พลังงานทดแทน ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) , เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ 5G ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจภาคพลังงาน ดังนั้น การจัดทำแผนจะทำให้เห็นภาพว่าธุรกิจต่างๆ ทั้ง โรงกลั่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซฯ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างไร
นอกจากนี้ แผนดังกล่าวจะดูไปถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ซึ่งไทยจำเป็นต้องกำหนดว่าจะเป็นปีใดหลังจากสหรัฐฯ และยุโรปกำหนดไว้ปี 2050 (ปีพ.ศ.2593) จีนปี 2060 ขณะเดียวกันแผนที่จัดทำจะต้องสอดรับกับนโยบายของอาเซียนที่ได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 35 ในปี 2573
“แผนพลังงานฯที่จะจัดทำใหม่นั้นจะไม่มีการพิจารณาเพิ่มสัดส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินจากที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(พีดีพี)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 แต่อย่างใด ขณะเดียวกันจะพิจารณาปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะมีส่วนการลดสำรองไฟฟ้าที่มีสูงขึ้นถึง 30-40% อย่างไรก็ตามสำรองไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบโควิด-19 หากพิจารณาที่อนาคตจะมีรถอีวี รถไฟฟ้า 13 สาย การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ก็จะส่งผลให้การใช้ไฟสูงขึ้นได้สำรองนี้อาจไม่เป็นปัญหาก็ได้ในระยะต่อไป” นายกุลิศกล่าว
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจทั่วโลกและความต้องการใช้พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป ปี 64 สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หนี้ครัวเรือนที่สูง เงินบาทที่แข็งค่า ส่วนวัคซีนของไทยจะได้รับในกลางปี 64 ดังนั้นการท่องเที่ยวของไทยจะกลับมาสู่ระดับปกติได้ในปี 66-67 ในขณะที่การลงทุนจะต้องปรับตามภาพที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการผลิตอีวี ไทยจะต้องปรับโครงสร้างทั้งพลังงาน และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รองรับ โดยรัฐบาลกำลังวางแผนเพราะมีทั้งผู้ได้รับผลกระทบและได้รับผลบวกจากส่วนนี้
“รัฐวิสาหกิจของไทย เช่น บมจ.ปตท.ต้องเป็นตัวดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต ส่วน 3 การไฟฟ้าก็ต้องปรับตัวรับโครงสร้างพลังงานใหม่ ทั้งอีวี ระบบแบตเตอรี่ ESS ซึ่งการที่รัฐวิสาหกิจมีขั้นตอนการอนุมัติที่ล่าช้า บทบาทของเอกชนก็จะมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย และการขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนด้วยกัน “นายดนุชา กล่าว
สำหรับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ในระยะยาว อีวีจะเข้ามาทดแทนน้ำมันเบนซิน ธุรกิจน้ำมันก็จะเหลือเฉพาะดีเซล และน้ำมันอากาศยานเป็นหลัก หรือหากอีวีนำมาใช้ได้ในรถบรรทุก การผลิตดีเซลก็จะลดน้อยลงไปอีก ดังนั้น โรงกลั่นฯก็ต้องปรับตัว
ในส่วนของระบบไฟฟ้า โครงสร้างราคาก็ต้องมีการปรับให้เหมาะสม ตามต้นทุนพลังงานทดแทนและราคา ESS ที่ลดลง ในขณะที่ รถใช้NGV คงหมดไป ในขณะที่ การใช้ไฟฟ้าในส่วนของอีวี และระบบรางจะเพิ่มขึ้น การใช้ไฟฟ้า ยังคงมีต่อเนื่อง และแอลเอ็นจีหรือก๊าซธรรมชาติเหลว จะมีบทบาท ซึ่งการบริหารตลาดก๊าซฯ จึงต้องดูช่วงจังหวะ ว่าหากแอลเอ็นจีตลาดโลกราคาถูกก็ควรนำเข้า แล้วเก็บก๊าซฯในอ่าวไทย เอาไว้ผลิตปิโตรเคมีเป็นหลัก
นาย สมโภชน์ อาหุนัย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอว่ารัฐบาล ควรจะจัดตั้งกองทุนพลังงานสร้างชาติ 2 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการส่งเสริมอีวี ซึ่งหากเปลี่ยนได้ทั้งหมด รัฐจะประหยัดพลังงานได้ปีละ 1 แสนล้านบาท กองทุนดังกล่าวก็ควรจะมาจากการออกพันธบัตรของรัฐบาล 30 ปี ประโยชน์ที่ได้ก็จะเป็นทั้งเรื่องการลดมลพิษ ลด pm2.5สร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศ ซึ่งกองทุนฯส่วนนี้จะนำมาใช้สำหรับการเปลี่ยนระบบเป็นอีวี 2 แสนล้านบาท และ อี 1.8 ล้านล้านบาทนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ รวมทั้ง ส่วนหนึ่งนำไปเยียวยากับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่โรงกลั่นฯก็ต้องปรับตัวไปสู่ปิโตรเคมี เช่น Oleochemicals สารเคมีที่เป็นอนุพันธ์ของน้ำมันชีวภาพหรือไขมันชีวภาพ ในขณะที่พืชพลังงาน ก็เน้นการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ชุมชนเป็นหลัก . – สำนักข่าวไทย
กระทรวงพลังงานจัดเวิร์คช็อป “คนพลังงานร่วมใจ สู่ทิศทางไทยในอนาคต” นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้ระดม สมองขับเคลื่อน แผนพลังงานชาติ ที่ดูถึงแผน 20 ปี และแผนระยะสั้น 5-10 ปี เป้าหมายจัดทำแผนเสร็จภายในเดือน 6 เดือนข้างหน้า หรือเดือนเมษายน 64 ซึ่งเป็นการปรับแผนรับการเปลี่ยนแปลงของทั้งเศรษฐกิจโลกจากโควิด-19การสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศ การปรับตัวเทคโนโลยีใหม่ เช่น พลังงานทดแทน ยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) , เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ 5G ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจภาคพลังงาน ดังนั้น การจัดทำแผนจะทำให้เห็นภาพว่าธุรกิจต่างๆ ทั้ง โรงกลั่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซฯ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างไร
นอกจากนี้ แผนดังกล่าวจะดูไปถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ซึ่งไทยจำเป็นต้องกำหนดว่าจะเป็นปีใดหลังจากสหรัฐฯ และยุโรปกำหนดไว้ปี 2050 (ปีพ.ศ.2593) จีนปี 2060 ขณะเดียวกันแผนที่จัดทำจะต้องสอดรับกับนโยบายของอาเซียนที่ได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 35 ในปี 2573
“แผนพลังงานฯที่จะจัดทำใหม่นั้นจะไม่มีการพิจารณาเพิ่มสัดส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินจากที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(พีดีพี)ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 แต่อย่างใด ขณะเดียวกันจะพิจารณาปลดระวางโรงไฟฟ้าเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะมีส่วนการลดสำรองไฟฟ้าที่มีสูงขึ้นถึง 30-40% อย่างไรก็ตามสำรองไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบโควิด-19 หากพิจารณาที่อนาคตจะมีรถอีวี รถไฟฟ้า 13 สาย การเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ก็จะส่งผลให้การใช้ไฟสูงขึ้นได้สำรองนี้อาจไม่เป็นปัญหาก็ได้ในระยะต่อไป” นายกุลิศกล่าว
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจทั่วโลกและความต้องการใช้พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป ปี 64 สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ หนี้ครัวเรือนที่สูง เงินบาทที่แข็งค่า ส่วนวัคซีนของไทยจะได้รับในกลางปี 64 ดังนั้นการท่องเที่ยวของไทยจะกลับมาสู่ระดับปกติได้ในปี 66-67 ในขณะที่การลงทุนจะต้องปรับตามภาพที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการผลิตอีวี ไทยจะต้องปรับโครงสร้างทั้งพลังงาน และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รองรับ โดยรัฐบาลกำลังวางแผนเพราะมีทั้งผู้ได้รับผลกระทบและได้รับผลบวกจากส่วนนี้
“รัฐวิสาหกิจของไทย เช่น บมจ.ปตท.ต้องเป็นตัวดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต ส่วน 3 การไฟฟ้าก็ต้องปรับตัวรับโครงสร้างพลังงานใหม่ ทั้งอีวี ระบบแบตเตอรี่ ESS ซึ่งการที่รัฐวิสาหกิจมีขั้นตอนการอนุมัติที่ล่าช้า บทบาทของเอกชนก็จะมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย และการขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนด้วยกัน “นายดนุชา กล่าว
สำหรับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ในระยะยาว อีวีจะเข้ามาทดแทนน้ำมันเบนซิน ธุรกิจน้ำมันก็จะเหลือเฉพาะดีเซล และน้ำมันอากาศยานเป็นหลัก หรือหากอีวีนำมาใช้ได้ในรถบรรทุก การผลิตดีเซลก็จะลดน้อยลงไปอีก ดังนั้น โรงกลั่นฯก็ต้องปรับตัว
ในส่วนของระบบไฟฟ้า โครงสร้างราคาก็ต้องมีการปรับให้เหมาะสม ตามต้นทุนพลังงานทดแทนและราคา ESS ที่ลดลง ในขณะที่ รถใช้NGV คงหมดไป ในขณะที่ การใช้ไฟฟ้าในส่วนของอีวี และระบบรางจะเพิ่มขึ้น การใช้ไฟฟ้า ยังคงมีต่อเนื่อง และแอลเอ็นจีหรือก๊าซธรรมชาติเหลว จะมีบทบาท ซึ่งการบริหารตลาดก๊าซฯ จึงต้องดูช่วงจังหวะ ว่าหากแอลเอ็นจีตลาดโลกราคาถูกก็ควรนำเข้า แล้วเก็บก๊าซฯในอ่าวไทย เอาไว้ผลิตปิโตรเคมีเป็นหลัก
นาย สมโภชน์ อาหุนัย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอว่ารัฐบาล ควรจะจัดตั้งกองทุนพลังงานสร้างชาติ 2 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการส่งเสริมอีวี ซึ่งหากเปลี่ยนได้ทั้งหมด รัฐจะประหยัดพลังงานได้ปีละ 1 แสนล้านบาท กองทุนดังกล่าวก็ควรจะมาจากการออกพันธบัตรของรัฐบาล 30 ปี ประโยชน์ที่ได้ก็จะเป็นทั้งเรื่องการลดมลพิษ ลด pm2.5สร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศ ซึ่งกองทุนฯส่วนนี้จะนำมาใช้สำหรับการเปลี่ยนระบบเป็นอีวี 2 แสนล้านบาท และ อี 1.8 ล้านล้านบาทนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ รวมทั้ง ส่วนหนึ่งนำไปเยียวยากับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ในขณะที่โรงกลั่นฯก็ต้องปรับตัวไปสู่ปิโตรเคมี เช่น Oleochemicals สารเคมีที่เป็นอนุพันธ์ของน้ำมันชีวภาพหรือไขมันชีวภาพ ในขณะที่พืชพลังงาน ก็เน้นการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ชุมชนเป็นหลัก . – สำนักข่าวไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 1681
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 36
กรณีศึกษา สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากรถยนต์ไฟฟ้า วิ่งเต็มถนนเมืองไทย - MarketThink
อีก 9 ปีข้างหน้า ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ในไทยจะต้องมีกำลังผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 30%
อธิบายง่ายๆ คือสมมติค่ายรถยนต์ มีกำลังผลิต 1 ล้านคัน ก็จะต้องผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 3 แสนคันต่อปี
โดยเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทาง BOI หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตั้งเป้าหมายไว้
แต่.. รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า บนถนนเมืองไทยรวมกันแค่ 180,000 คัน
ขณะที่ รถยนต์ทั้งหมดบนท้องถนน มีประมาณ 40 ล้านคัน
อธิบายให้เห็นภาพคือ หากมีรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป 200 คันบนถนน
ก็จะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพียงแค่ 1 คัน..
เพราะฉะนั้น คำตอบที่ได้ในตอนนี้คือ
ท้องถนนเมืองไทย ยังห่างไกลจากภาพที่วาดฝันไว้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็เลยทำให้ BOI หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
มีนโยบายกระตุ้นให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มีฐานการผลิตในบ้านเรา หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นกว่าเดิม
ด้วยมาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์มากมาย
จากเดิมช่วง 2 ปีที่แล้ว ก็มีนโยบายส่งเสริม แต่อาจยังไม่ดึงดูดใจค่ายผู้ผลิตรถยนต์
มาตรการที่น่าสนใจครั้งนี้ก็คือ
ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ อาจไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคล 3 ปี เมื่อลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป
และหากลงทุนเพิ่ม มีการตั้งโรงงานในไทยผลิตชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ก็จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่ม อาจไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลสูงสุดถึง 8 ปี
(เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายละเอียด)
ทำให้สิ่งที่เราจะเห็นในปีนี้และปีถัดๆ ไป
คือค่ายรถยนต์ต่างๆ จะเปิดตัว EV Car และ Plugin Hybrid กันมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว
ซึ่งแนวโน้มก็น่าจะมีราคาขายที่ถูกลงเรื่อยๆ เพราะนอกจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐแล้วนั้น
เมื่อมีกำลังการผลิตที่มากขึ้น ก็ย่อมทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลงตามหลัก Economies of scale
สิ่งที่ตามมาก็คือ ในทุกๆ ปี จำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นบนท้องถนนเมืองไทย
แล้วเรื่องนี้ก็จะทำให้หลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลง อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
สิ่งแรกสุดคือเราอาจจะเห็นร้านสะดวกซื้อ, คอนโดมิเนียม, ศูนย์การค้า
มีธุรกิจใหม่คือบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้า
และแน่นอนบริษัทพลังงานต่างๆ ที่ทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ก็กำลังเริ่มปรับตัว
เราคงได้ยินว่า ปตท. เริ่มทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน 25 ปั๊มน้ำมัน และกำลังมีแผน ที่จะเพิ่มบริการขึ้นอีก
ขณะที่ สถานีบริการน้ำมันอื่นๆ ก็มีนโยบายเดินตามรอยเท้านี้เหมือนกันหมด
เรื่องนี้ความน่าสนใจมันอยู่ที่พฤติกรรมคน เพราะไม่ว่าจะเป็นคนขับ EV Car หรือ Plugin Hybrid
หลายคนน่าจะชาร์จพลังงานไฟฟ้าตอนที่รถจอดนิ่งๆ อยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน
การจะชาร์จพลังงานจาก สถานีบริการน้ำมัน หรือที่อื่นๆ น่าจะเป็นในยามฉุกเฉินจริงๆ
สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นและเป็นการ “แก้เกม” ของกลุ่มธุรกิจพลังงาน
ก็คือต้องพัฒนาเทคโนโลยีชาร์จไฟฟ้าที่รวดเร็วกว่าการชาร์จจากที่อื่นๆ
และที่สำคัญที่สุดก็คือ ราคา ก็ต้องถูกกว่าชาร์จจากที่อื่นๆ ด้วย
ซึ่งน่าจะเป็นการบ้านข้อใหญ่ ที่กลุ่มบริษัทพลังงานกำลังเร่งมือคิดค้น ณ ตอนนี้
ขณะเดียวกัน อู่ซ่อมรถต่างๆ ก็ต้องปรับตัวจากที่เคยซ่อมเครื่องยนต์สันดาป ที่มีอะไหล่มากชิ้น
แต่เมื่อต้องมาซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ระบบหลายๆ อย่างขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งทำให้มีชิ้นส่วนอะไหล่ในการซ่อมน้อยกว่า ก็น่าจะทำให้ อู่ซ่อมรถเหล่านี้ มีรายได้น้อยลง
ที่น่าสนใจก็คือ หากรถยนต์ไฟฟ้า เกิดขึ้นในอนาคต
การใช้ชีวิตของเราก็อาจเปลี่ยนไป
เราอาจจะต้องติดตั้ง App ไว้ใช้สารพัดการสั่งงาน และตรวจสอบสภาพรถยนต์
เหมือนอย่างที่ MG ทำให้เห็นมาแล้ว
หรือ เราอาจจะดึงพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ มาใช้ในบ้านเหมือนอย่างที่ Mitsubishi Motors
ที่ใส่ฟังก์ชันนี้ให้แก่รถรุ่น Outlander PHEV
จนถึงอนาคต เราอาจจะมีระบบ AI อัจฉริยะที่ไว้ใจได้
มาช่วยขับรถให้ โดยเราแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็จะถึงปลายทางที่ปักหมุดไว้บน App
โดยมีการคาดการณ์ว่า วันที่เมืองไทยจะมีรถยนต์ไฟฟ้า EV Car และ Plugin Hybrid
วิ่งบนถนนราวๆ 50% หรือ 20 ล้านคันขึ้นไป อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 - 16 ปี เลยทีเดียว
และหากวันนั้นมาถึง ภาพถนนเมืองไทย จะไม่ใช่เหมือนอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้
เพราะรถประเภทนี้ “ไร้เสียง ไร้ควัน”
ตาของเรา แทบจะมองไม่เห็นควันดำ
จมูกของเรา แทบจะไม่ได้สูดควันพิษ
หูของเรา แทบจะไม่ได้ฟังเสียงดัง จากเครื่องยนต์
และนั่น อาจกลายเป็นถนนในฝัน ที่คนไทยทุกคนโหยหามาตลอด ก็เป็นได้..
#รถยนต์ไฟฟ้า
----------------------------------
อ้างอิง :
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จํากัด
-https://news.thaipbs.or.th/content/298177
-https://chargerod.com/ev-station/534/
อีก 9 ปีข้างหน้า ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ในไทยจะต้องมีกำลังผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 30%
อธิบายง่ายๆ คือสมมติค่ายรถยนต์ มีกำลังผลิต 1 ล้านคัน ก็จะต้องผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 3 แสนคันต่อปี
โดยเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทาง BOI หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตั้งเป้าหมายไว้
แต่.. รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า บนถนนเมืองไทยรวมกันแค่ 180,000 คัน
ขณะที่ รถยนต์ทั้งหมดบนท้องถนน มีประมาณ 40 ล้านคัน
อธิบายให้เห็นภาพคือ หากมีรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป 200 คันบนถนน
ก็จะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพียงแค่ 1 คัน..
เพราะฉะนั้น คำตอบที่ได้ในตอนนี้คือ
ท้องถนนเมืองไทย ยังห่างไกลจากภาพที่วาดฝันไว้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็เลยทำให้ BOI หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
มีนโยบายกระตุ้นให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มีฐานการผลิตในบ้านเรา หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นกว่าเดิม
ด้วยมาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์มากมาย
จากเดิมช่วง 2 ปีที่แล้ว ก็มีนโยบายส่งเสริม แต่อาจยังไม่ดึงดูดใจค่ายผู้ผลิตรถยนต์
มาตรการที่น่าสนใจครั้งนี้ก็คือ
ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ อาจไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคล 3 ปี เมื่อลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป
และหากลงทุนเพิ่ม มีการตั้งโรงงานในไทยผลิตชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
ก็จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่ม อาจไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคลสูงสุดถึง 8 ปี
(เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายละเอียด)
ทำให้สิ่งที่เราจะเห็นในปีนี้และปีถัดๆ ไป
คือค่ายรถยนต์ต่างๆ จะเปิดตัว EV Car และ Plugin Hybrid กันมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว
ซึ่งแนวโน้มก็น่าจะมีราคาขายที่ถูกลงเรื่อยๆ เพราะนอกจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐแล้วนั้น
เมื่อมีกำลังการผลิตที่มากขึ้น ก็ย่อมทำให้ต้นทุนในการผลิตถูกลงตามหลัก Economies of scale
สิ่งที่ตามมาก็คือ ในทุกๆ ปี จำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นบนท้องถนนเมืองไทย
แล้วเรื่องนี้ก็จะทำให้หลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลง อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
สิ่งแรกสุดคือเราอาจจะเห็นร้านสะดวกซื้อ, คอนโดมิเนียม, ศูนย์การค้า
มีธุรกิจใหม่คือบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้า
และแน่นอนบริษัทพลังงานต่างๆ ที่ทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ก็กำลังเริ่มปรับตัว
เราคงได้ยินว่า ปตท. เริ่มทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน 25 ปั๊มน้ำมัน และกำลังมีแผน ที่จะเพิ่มบริการขึ้นอีก
ขณะที่ สถานีบริการน้ำมันอื่นๆ ก็มีนโยบายเดินตามรอยเท้านี้เหมือนกันหมด
เรื่องนี้ความน่าสนใจมันอยู่ที่พฤติกรรมคน เพราะไม่ว่าจะเป็นคนขับ EV Car หรือ Plugin Hybrid
หลายคนน่าจะชาร์จพลังงานไฟฟ้าตอนที่รถจอดนิ่งๆ อยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน
การจะชาร์จพลังงานจาก สถานีบริการน้ำมัน หรือที่อื่นๆ น่าจะเป็นในยามฉุกเฉินจริงๆ
สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นและเป็นการ “แก้เกม” ของกลุ่มธุรกิจพลังงาน
ก็คือต้องพัฒนาเทคโนโลยีชาร์จไฟฟ้าที่รวดเร็วกว่าการชาร์จจากที่อื่นๆ
และที่สำคัญที่สุดก็คือ ราคา ก็ต้องถูกกว่าชาร์จจากที่อื่นๆ ด้วย
ซึ่งน่าจะเป็นการบ้านข้อใหญ่ ที่กลุ่มบริษัทพลังงานกำลังเร่งมือคิดค้น ณ ตอนนี้
ขณะเดียวกัน อู่ซ่อมรถต่างๆ ก็ต้องปรับตัวจากที่เคยซ่อมเครื่องยนต์สันดาป ที่มีอะไหล่มากชิ้น
แต่เมื่อต้องมาซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ระบบหลายๆ อย่างขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งทำให้มีชิ้นส่วนอะไหล่ในการซ่อมน้อยกว่า ก็น่าจะทำให้ อู่ซ่อมรถเหล่านี้ มีรายได้น้อยลง
ที่น่าสนใจก็คือ หากรถยนต์ไฟฟ้า เกิดขึ้นในอนาคต
การใช้ชีวิตของเราก็อาจเปลี่ยนไป
เราอาจจะต้องติดตั้ง App ไว้ใช้สารพัดการสั่งงาน และตรวจสอบสภาพรถยนต์
เหมือนอย่างที่ MG ทำให้เห็นมาแล้ว
หรือ เราอาจจะดึงพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ มาใช้ในบ้านเหมือนอย่างที่ Mitsubishi Motors
ที่ใส่ฟังก์ชันนี้ให้แก่รถรุ่น Outlander PHEV
จนถึงอนาคต เราอาจจะมีระบบ AI อัจฉริยะที่ไว้ใจได้
มาช่วยขับรถให้ โดยเราแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็จะถึงปลายทางที่ปักหมุดไว้บน App
โดยมีการคาดการณ์ว่า วันที่เมืองไทยจะมีรถยนต์ไฟฟ้า EV Car และ Plugin Hybrid
วิ่งบนถนนราวๆ 50% หรือ 20 ล้านคันขึ้นไป อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 - 16 ปี เลยทีเดียว
และหากวันนั้นมาถึง ภาพถนนเมืองไทย จะไม่ใช่เหมือนอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้
เพราะรถประเภทนี้ “ไร้เสียง ไร้ควัน”
ตาของเรา แทบจะมองไม่เห็นควันดำ
จมูกของเรา แทบจะไม่ได้สูดควันพิษ
หูของเรา แทบจะไม่ได้ฟังเสียงดัง จากเครื่องยนต์
และนั่น อาจกลายเป็นถนนในฝัน ที่คนไทยทุกคนโหยหามาตลอด ก็เป็นได้..
#รถยนต์ไฟฟ้า
----------------------------------
อ้างอิง :
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด
-ข่าวประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จํากัด
-https://news.thaipbs.or.th/content/298177
-https://chargerod.com/ev-station/534/
- luckyman
- Verified User
- โพสต์: 2153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 37
เหมือนอ่านข่าวผ่านๆ เห็นว่าเทสล่ากำลังจะไปตั้งโรงงานที่อินเดีย
ผมว่าถ้าไทย ไปคุยให้เทสล่ามาตั้งโรงงานก็น่าสนใจนะครับ win-win ทั้งคู่เลย
ผมว่าถ้าไทย ไปคุยให้เทสล่ามาตั้งโรงงานก็น่าสนใจนะครับ win-win ทั้งคู่เลย
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
- luckyman
- Verified User
- โพสต์: 2153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 38
นอร์เวย์” เป็นประเทศแรกในโลก ที่คนเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเกิน 50% ในปี 2020
https://positioningmag.com/1314377
https://positioningmag.com/1314377
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 39
แผนพัฒนาชาติ 20 ปี ซึ่งปรับปรุงหลังจากผลกระทบของโควิค 19 นั้น เริ่มเห็น ว่ารัฐให้ความสำคัญของรถไฟฟ้า
คำถามคือ แล้วคนที่ลงทุนรถยนต์ประเภทอื่นๆก่อนหน้านี้แหละ
แล้ว รายได้ของรัฐในรูปภาษีสรรพสามิตน้ำมัน จะจัดเก็บผ่าน การไฟฟ้านครหลวง /การไฟฟ้าภูมิภาค อย่างไร
เพราะ ก่อนหน้านี้มีประกาศของการไฟฟ้าภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงเรื่องการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีชาร์จของรถไฟฟ้าออกมาแล้ว
คำถามคือ ถ้าเป็นแบบนั้น รัฐได้เงินผ่านการส่งเงินของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาค เพียงพอ/ทดแทนภาษีสรรพสามิตน้ำมันแล้วใช่ไหม
คำถามต่อมาคือเมื่อมีรถไฟฟ้าแล้ว รถยนต์ที่สันดาบ ทำลายทิ้งหรือ ส่งออกรถใช้แล้วอย่างไร
ต้องมีโรงงานทำลายแยกซากรถยนต์ไหม /มีการส่งออกรถยนต์สันดาบใช้งานแล้ว ให้กับใครต่อไป
ในเมือประเทศต่างๆในโลกก็รณรงค์ไปรถไฟฟ้ากันหมด
ส่วนเรื่องสภาพอากาศ ก่อนหน้านี้ อากาศหนาว PM 2.5 ก็มา ทันที ผู้ร้ายคือรถยนต์ แต่รอบนี้ (13-17 Jan 2021) ในช่วงโควิค 19 รอบนี้ประมาณการเดินทางลดลง แต่ทว่า ปริมาณค่า PM 2.5 นั้นเป็นมากกว่าม่วงไปได้ คือเกิน 300 ไปได้
แล้วจริงๆแล้ว มันเป็นที่อะไรสำหรับ PM 2.5 จาก คอนโดที่สร้างขวางเส้นทางลม หรือ กิจกรรมอื่นๆที่เราทำกัน ที่ไม่ใช่เรื่องการเดินทางโดยใช้รถยนต์สันดาบภายใน ก็น่าคิด
เรื่องที่อ้างกัน ต้องศึกษาอีกซักพักว่า มันคืออะไรเป็นต้นเหตุกัน
สุดท้ายคือไปสรุปกันที่ เรื่องการกีดกันทางการค้า ในรูปแบบอื่นๆหรือไม่ รอติดตามดูกันต่อไป
คำถามคือ แล้วคนที่ลงทุนรถยนต์ประเภทอื่นๆก่อนหน้านี้แหละ
แล้ว รายได้ของรัฐในรูปภาษีสรรพสามิตน้ำมัน จะจัดเก็บผ่าน การไฟฟ้านครหลวง /การไฟฟ้าภูมิภาค อย่างไร
เพราะ ก่อนหน้านี้มีประกาศของการไฟฟ้าภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวงเรื่องการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีชาร์จของรถไฟฟ้าออกมาแล้ว
คำถามคือ ถ้าเป็นแบบนั้น รัฐได้เงินผ่านการส่งเงินของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าภูมิภาค เพียงพอ/ทดแทนภาษีสรรพสามิตน้ำมันแล้วใช่ไหม
คำถามต่อมาคือเมื่อมีรถไฟฟ้าแล้ว รถยนต์ที่สันดาบ ทำลายทิ้งหรือ ส่งออกรถใช้แล้วอย่างไร
ต้องมีโรงงานทำลายแยกซากรถยนต์ไหม /มีการส่งออกรถยนต์สันดาบใช้งานแล้ว ให้กับใครต่อไป
ในเมือประเทศต่างๆในโลกก็รณรงค์ไปรถไฟฟ้ากันหมด
ส่วนเรื่องสภาพอากาศ ก่อนหน้านี้ อากาศหนาว PM 2.5 ก็มา ทันที ผู้ร้ายคือรถยนต์ แต่รอบนี้ (13-17 Jan 2021) ในช่วงโควิค 19 รอบนี้ประมาณการเดินทางลดลง แต่ทว่า ปริมาณค่า PM 2.5 นั้นเป็นมากกว่าม่วงไปได้ คือเกิน 300 ไปได้
แล้วจริงๆแล้ว มันเป็นที่อะไรสำหรับ PM 2.5 จาก คอนโดที่สร้างขวางเส้นทางลม หรือ กิจกรรมอื่นๆที่เราทำกัน ที่ไม่ใช่เรื่องการเดินทางโดยใช้รถยนต์สันดาบภายใน ก็น่าคิด
เรื่องที่อ้างกัน ต้องศึกษาอีกซักพักว่า มันคืออะไรเป็นต้นเหตุกัน
สุดท้ายคือไปสรุปกันที่ เรื่องการกีดกันทางการค้า ในรูปแบบอื่นๆหรือไม่ รอติดตามดูกันต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 40
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/917576
'กกพ.'เคาะราคาค่าไฟชาร์จรถอีวีใช้ชั่วคราว 2 ปี 2.63 บ./หน่วย
18 มกราคม 2564
878
กกพ. ออกประกาศกำหนดอัตราชาร์จอีวี ชั่วคราว 2.63 บาทต่อหน่วย ทดลองใช้ 2ปี(63-64) หวังส่งเสริมลงทุนหัวจ่ายเร่งด่วน (Quick Charge) กระตุ้นดีมานด์ใช้รถอีวีกระจายสู่ต่างจังหวัด ด้านกฟผ.เร่งศึกษาจัดตั้งปั๊มชาร์จอีวี เผยคุยพันธมิตรหลายราย คาดชัดเจนในปี64
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.ได้ออกประกาศกำกับอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ตั้งแต่ประมาณเดือนธันวาคม 2563 แล้ว โดยการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับปั๊มชาร์จ (ขายส่ง) อยู่ที่ 2.63 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราที่หักค่าพลังงานไฟฟ้า(Demand Charge) หรือ ค่าลงทุนโรงไฟฟ้า ระบบส่ง ออกจากสูตรค่าไฟฟ้าฐานที่คิดสำหรับอีวี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ประเภทหัวจ่ายเร่งด่วน (Quick Charge )กระจายในต่างจังหวัดมากขึ้น และมีความต้องการพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจะเป็นอัตราชั่วคราว ที่ทดลองใช้ 2 ปี (2563-2564)
จากนั้น กกพ.จะนำข้อมูลมาศึกษาอัตราที่เหมาะสมใหม่ ก่อนจะนำไปสู่การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและแยกอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับรองรับการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ให้ชัดเจนต่อไป
“กกพ.ประกาศอัตราชาร์จไฟฟ้าชั่วคราว ในกรณี Low Priority อยู่ที่ 2.63 บาทต่อหน่วย เป็นราคาขายส่งให้ของการไฟฟ้าไปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่า การไฟฟ้ากับคู่สัญญาจะมีการกำหนดเงื่อนไขกันอย่างไร ซึ่ง กกพ.ไม่ได้คุมอัตราขายปลีก แต่หากการไฟฟ้า กังวลว่าจะมีการนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในส่วนอื่นๆ ก็อาจเพิ่มบทลงโทษเข้าไปในสัญญาให้เข้มงวดมากขึ้นได้” นายคมกฤช กล่าว
น.ส.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.อยู่ระหว่างศึกษาลงทุนจัดทำสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ทั้งในส่วนที่เป็นความร่วมมือกับผู้ประกอบการสถานีบริการ(ปั๊ม)น้ำมัน และในส่วนของสถานีไฟฟ้าแรงสูง (Substation) ซึ่งเบื้องต้นจะมุ่งไปที่ลักษณะของประเภทหัวจ่ายเร่งด่วน (Quick Charge) เพื่อรองรับการใช้งานของรถอีวีที่วิ่งในต่างจังหวัดอุ่นใจว่าจะมีปั๊มชาร์จไฟฟ้า และต้องใช้เวลาในการชาร์จเร็ว ประมาณ 20-30 นาที โดยจะต้องพิจารณาความพร้อมในหลายๆด้าน ทั้งการกำหนดจุดพักรถ ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะมาใช้บริการ จำนวนรถ
“ตอนนี้ กฟผ.เราคุยกับพันธมิตรหลายราย เพื่อร่วมกันลงทุน ซึ่งจะมีทั้งการติดตั้งปั๊มชาร์จไฟฟ้าที่บริเวณ Substation ของ การไฟฟ้า หรือ พื้นที่ใกล้เคียงของพันธมิตรที่มีศักยภาพ และการติดตั้งปั๊มชาร์จไฟฟ้า ในปั๊มน้ำมัน คาดว่า จะมีความชัดเจนภายในปีนี้”
ส่วนกรณีที่ กฟผ.มีความร่วมมือกับบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ในการส่งเสริมการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น โดยเบื้องต้นจะนำร่องในถนนสายหลักเส้นทางภาคตะวันออก ที่เป็นฐานการลงทุนของกลุ่ม ปตท.ก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดเตรียมความพร้อมต่างๆ คาดว่า จะเห็นแผนการลงทุนที่ชัดเจนได้ในเร็วๆนี้
ก่อนหน้านี้ กฟผ.ตั้งเป้าหมายการเติบโตในธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจ Electric Vehicle (EV) โดยจัดทำสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งปี 64 มีเป้าหมายจะก่อสร้างให้ครบ 31 แห่ง และจะเดินหน้าขยายการติดตั้งเพิ่มเติมต่อไป เป็นต้น
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) กล่าวว่า ปัจจุบัน ปั๊มชาร์จไฟฟ้า สำหรับรองรับรถอีวี มีอยู่ประมาณ 1,800 หัวจ่าย ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ หรือ ยังไม่จูงใจให้เกิดการใช้รถอีวีที่มากพอ ซึ่งทางสมาคมฯ เคยเสนอรัฐให้มีการพิจารณามาตรการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเทรนด์โลกที่มุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด
------------------------------
อ่านจริงแล้วก็แค่ 1 ปี มาประกาศ ตอนสิ้นปี 63
แล้วตอนนี้ก็แทบไม่มีรถ ev ในตลาด
สัดส่วนน้อยมาก จนแทบไม่ต้องนับ
'กกพ.'เคาะราคาค่าไฟชาร์จรถอีวีใช้ชั่วคราว 2 ปี 2.63 บ./หน่วย
18 มกราคม 2564
878
กกพ. ออกประกาศกำหนดอัตราชาร์จอีวี ชั่วคราว 2.63 บาทต่อหน่วย ทดลองใช้ 2ปี(63-64) หวังส่งเสริมลงทุนหัวจ่ายเร่งด่วน (Quick Charge) กระตุ้นดีมานด์ใช้รถอีวีกระจายสู่ต่างจังหวัด ด้านกฟผ.เร่งศึกษาจัดตั้งปั๊มชาร์จอีวี เผยคุยพันธมิตรหลายราย คาดชัดเจนในปี64
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.ได้ออกประกาศกำกับอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ตั้งแต่ประมาณเดือนธันวาคม 2563 แล้ว โดยการกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับปั๊มชาร์จ (ขายส่ง) อยู่ที่ 2.63 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราที่หักค่าพลังงานไฟฟ้า(Demand Charge) หรือ ค่าลงทุนโรงไฟฟ้า ระบบส่ง ออกจากสูตรค่าไฟฟ้าฐานที่คิดสำหรับอีวี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ประเภทหัวจ่ายเร่งด่วน (Quick Charge )กระจายในต่างจังหวัดมากขึ้น และมีความต้องการพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งจะเป็นอัตราชั่วคราว ที่ทดลองใช้ 2 ปี (2563-2564)
จากนั้น กกพ.จะนำข้อมูลมาศึกษาอัตราที่เหมาะสมใหม่ ก่อนจะนำไปสู่การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและแยกอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับรองรับการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ให้ชัดเจนต่อไป
“กกพ.ประกาศอัตราชาร์จไฟฟ้าชั่วคราว ในกรณี Low Priority อยู่ที่ 2.63 บาทต่อหน่วย เป็นราคาขายส่งให้ของการไฟฟ้าไปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่า การไฟฟ้ากับคู่สัญญาจะมีการกำหนดเงื่อนไขกันอย่างไร ซึ่ง กกพ.ไม่ได้คุมอัตราขายปลีก แต่หากการไฟฟ้า กังวลว่าจะมีการนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ในส่วนอื่นๆ ก็อาจเพิ่มบทลงโทษเข้าไปในสัญญาให้เข้มงวดมากขึ้นได้” นายคมกฤช กล่าว
น.ส.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.อยู่ระหว่างศึกษาลงทุนจัดทำสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ทั้งในส่วนที่เป็นความร่วมมือกับผู้ประกอบการสถานีบริการ(ปั๊ม)น้ำมัน และในส่วนของสถานีไฟฟ้าแรงสูง (Substation) ซึ่งเบื้องต้นจะมุ่งไปที่ลักษณะของประเภทหัวจ่ายเร่งด่วน (Quick Charge) เพื่อรองรับการใช้งานของรถอีวีที่วิ่งในต่างจังหวัดอุ่นใจว่าจะมีปั๊มชาร์จไฟฟ้า และต้องใช้เวลาในการชาร์จเร็ว ประมาณ 20-30 นาที โดยจะต้องพิจารณาความพร้อมในหลายๆด้าน ทั้งการกำหนดจุดพักรถ ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะมาใช้บริการ จำนวนรถ
“ตอนนี้ กฟผ.เราคุยกับพันธมิตรหลายราย เพื่อร่วมกันลงทุน ซึ่งจะมีทั้งการติดตั้งปั๊มชาร์จไฟฟ้าที่บริเวณ Substation ของ การไฟฟ้า หรือ พื้นที่ใกล้เคียงของพันธมิตรที่มีศักยภาพ และการติดตั้งปั๊มชาร์จไฟฟ้า ในปั๊มน้ำมัน คาดว่า จะมีความชัดเจนภายในปีนี้”
ส่วนกรณีที่ กฟผ.มีความร่วมมือกับบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ในการส่งเสริมการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น โดยเบื้องต้นจะนำร่องในถนนสายหลักเส้นทางภาคตะวันออก ที่เป็นฐานการลงทุนของกลุ่ม ปตท.ก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดเตรียมความพร้อมต่างๆ คาดว่า จะเห็นแผนการลงทุนที่ชัดเจนได้ในเร็วๆนี้
ก่อนหน้านี้ กฟผ.ตั้งเป้าหมายการเติบโตในธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจ Electric Vehicle (EV) โดยจัดทำสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ซึ่งปี 64 มีเป้าหมายจะก่อสร้างให้ครบ 31 แห่ง และจะเดินหน้าขยายการติดตั้งเพิ่มเติมต่อไป เป็นต้น
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย(EVAT) กล่าวว่า ปัจจุบัน ปั๊มชาร์จไฟฟ้า สำหรับรองรับรถอีวี มีอยู่ประมาณ 1,800 หัวจ่าย ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ หรือ ยังไม่จูงใจให้เกิดการใช้รถอีวีที่มากพอ ซึ่งทางสมาคมฯ เคยเสนอรัฐให้มีการพิจารณามาตรการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตามเทรนด์โลกที่มุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด
------------------------------
อ่านจริงแล้วก็แค่ 1 ปี มาประกาศ ตอนสิ้นปี 63
แล้วตอนนี้ก็แทบไม่มีรถ ev ในตลาด
สัดส่วนน้อยมาก จนแทบไม่ต้องนับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 41
ลดภาษีนำเข้ารถ ev เยอะๆ สิครับ
จะได้มีคนนำเข้ามาหลากหลายยี่ห้อ
หรือยี่ห้อที่มีอยู่ตอนนี้ก็ได้ ก็สามารถลดราคาลงมาได้อีก
แล้วจะรู้ว่ามีความต้องการจริงหรือไม่
จะได้รู้ว่าถึงว่าเปลี่ยนหรือยัง ผู้ผลิตทั้งหลายจะได้รู้ตัว
ผู้บริโภคในไทยตอนนี้ไม่มีทางเลือก
พูดได้ว่าถูกรัฐและผู้ผลิตยุคเดิมบังคับให้ใช้รถแบบเดิมอยู่ก็ได้
ถ้ามีรถ ev คุณภาพดีๆ ราคาเหมาะสม ทำไมจะไม่เปลี่ยนครับ
รัฐต้องผลักดันมากกว่านี้
ไม่งั้นเมืองไทยก็ได้เป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียสมใจ
เพราะอุตสาหกรรมรถเมืองไทยจะเป็นเมืองล้มละลาย
เรียกได้ว่าเกือบร้างในอเมริกา
เราจะตามแบบดีทรอยต์เมกา หรือครับ
จะได้มีคนนำเข้ามาหลากหลายยี่ห้อ
หรือยี่ห้อที่มีอยู่ตอนนี้ก็ได้ ก็สามารถลดราคาลงมาได้อีก
แล้วจะรู้ว่ามีความต้องการจริงหรือไม่
จะได้รู้ว่าถึงว่าเปลี่ยนหรือยัง ผู้ผลิตทั้งหลายจะได้รู้ตัว
ผู้บริโภคในไทยตอนนี้ไม่มีทางเลือก
พูดได้ว่าถูกรัฐและผู้ผลิตยุคเดิมบังคับให้ใช้รถแบบเดิมอยู่ก็ได้
ถ้ามีรถ ev คุณภาพดีๆ ราคาเหมาะสม ทำไมจะไม่เปลี่ยนครับ
รัฐต้องผลักดันมากกว่านี้
ไม่งั้นเมืองไทยก็ได้เป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียสมใจ
เพราะอุตสาหกรรมรถเมืองไทยจะเป็นเมืองล้มละลาย
เรียกได้ว่าเกือบร้างในอเมริกา
เราจะตามแบบดีทรอยต์เมกา หรือครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- luckyman
- Verified User
- โพสต์: 2153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 42
ผมคิดว่า เรื่องนี้ มันมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทน้ำมัน บริษัทผลิตรถ อุปกรณ์รถ ไม่ว่าจะผลประโยชน์บนดิน ใต้ดิน น่าจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 43
ปธน ไบเดน ทำงานวันแรก ก็ให้หยุดการสร้างท่อน้ำมัน XL จากต้นทางแคนาดา ลงมาที่ US
อันนี้ก็น่าคิดเลยว่า หยุดการสร้างไว้ เพื่อรออะไร แต่ทว่าอันนี้มีความหมายว่า ไบเดน เดินหน้าเรื่อง การดูแลสิ่งแวดล้อมโลก
ตามที่ได้หาเสียงไว้นั้นเอง
หาก 4 ปี จำนวนรถยนต์ EV และ สถานีการชาร์จสำหรับรถ EV หรือมาตราฐานที่ใช้กับรถ EV ออกมาก็ไม่แปลกใจ
แต่ทว่าแล้วไทยจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไร และการปรับตัวของไทยอย่างไร
สิ่งที่ US ทำก่อนหน้านี้คือการซื้อขายไฟฟ้า หาก สถานีชาร์จสามารถซื้อและขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานที่ผลิตไฟฟ้าได้
แปรผันตามเวลา และความต้องการไฟฟ้าในเวลานั้นๆ (อันนี้ ดร. แป้ง มีความรู้ดีเลย เพราะทำเรื่องนี้ที่ US มาก่อน)
และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ และการทำลายแบตเตอรี่ก็ต้องมาพร้อมกับตัวรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
หากรัฐยังไม่ได้วางโครงสร้างเรื่องการขายหน่วยไฟฟ้า หรือ ซื้อหน่วยไฟฟ้าแบบ Real time ให้แก่สถานีอัดประจุไฟฟ้า
งานนี้ก็ทำให้ลำบากในการดำเนินการเลยทีเดียว
หากรัฐไม่ส่งเสริมเรื่องแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั้นก็ยากที่เกิดขึ้นด้วย
สิ่งสำคัญคือ บริษัทรถยนต์ที่ดำเนินการในไทยนั้น เป็นบริษัทญี่ปุ่น ที่เค้าลงทุนในนโยบายของรัฐที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง ก่อนหน้านี้ ที่ได้เกิด โครงการ Eco Car Phase 1 ได้เห็นรถยนต์ขนาด 1200cc ออกมา หลายต่อหลายบริษัท จนบริษัทบางแห่งของญี่ปุ่นต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเองที่ไม่ออกก็ต้องออกเพราะเรื่องยอดขาย
โครงการ Eco Car Phase 2 ที่เห็นได้รถยนต์ขนาด 1,000 cc ลดลงมา แต่ทว่าออมาก็เงียบ มีแค่ 1-2 ยี่ห้อที่ออกมาเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ เครื่อง 1200cc แล้วก็เงียบหายไปจาก เรื่องของ EV ที่ไม่ชัดเจน แต่กลับไปหนุนเนื่องเรื่องของ Hybrid แทน
แถมงานนี้ผู้ที่เสียผลประโยชน์กับกลายเป็นหน่วยงานที่รัฐถือหุ้นอยู่ อีกต่างหาก ซึ่งก็ยากมากที่จะเดินหน้าหรือถอยหลัง
เพราะ ถ้าเดินหน้า รัฐก็เสียผลประโยชน์ทั้งในรูปของรายได้ทางตรง และรายได้จากปันผลของกิจการที่เกี่ยวข้อง
ถ้าไม่เดินหน้า ก็เสียหายเรื่องศักยภาพของประเทศ /รายได้ของประเทศ /รายได้ประชาชนในประเทศ
ต้องคิดให้หนักว่าเดินหน้าหรือ ถอยหลัง
อันนี้ก็น่าคิดเลยว่า หยุดการสร้างไว้ เพื่อรออะไร แต่ทว่าอันนี้มีความหมายว่า ไบเดน เดินหน้าเรื่อง การดูแลสิ่งแวดล้อมโลก
ตามที่ได้หาเสียงไว้นั้นเอง
หาก 4 ปี จำนวนรถยนต์ EV และ สถานีการชาร์จสำหรับรถ EV หรือมาตราฐานที่ใช้กับรถ EV ออกมาก็ไม่แปลกใจ
แต่ทว่าแล้วไทยจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไร และการปรับตัวของไทยอย่างไร
สิ่งที่ US ทำก่อนหน้านี้คือการซื้อขายไฟฟ้า หาก สถานีชาร์จสามารถซื้อและขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานที่ผลิตไฟฟ้าได้
แปรผันตามเวลา และความต้องการไฟฟ้าในเวลานั้นๆ (อันนี้ ดร. แป้ง มีความรู้ดีเลย เพราะทำเรื่องนี้ที่ US มาก่อน)
และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ และการทำลายแบตเตอรี่ก็ต้องมาพร้อมกับตัวรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
หากรัฐยังไม่ได้วางโครงสร้างเรื่องการขายหน่วยไฟฟ้า หรือ ซื้อหน่วยไฟฟ้าแบบ Real time ให้แก่สถานีอัดประจุไฟฟ้า
งานนี้ก็ทำให้ลำบากในการดำเนินการเลยทีเดียว
หากรัฐไม่ส่งเสริมเรื่องแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั้นก็ยากที่เกิดขึ้นด้วย
สิ่งสำคัญคือ บริษัทรถยนต์ที่ดำเนินการในไทยนั้น เป็นบริษัทญี่ปุ่น ที่เค้าลงทุนในนโยบายของรัฐที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง ก่อนหน้านี้ ที่ได้เกิด โครงการ Eco Car Phase 1 ได้เห็นรถยนต์ขนาด 1200cc ออกมา หลายต่อหลายบริษัท จนบริษัทบางแห่งของญี่ปุ่นต้องยอมกลืนน้ำลายตัวเองที่ไม่ออกก็ต้องออกเพราะเรื่องยอดขาย
โครงการ Eco Car Phase 2 ที่เห็นได้รถยนต์ขนาด 1,000 cc ลดลงมา แต่ทว่าออมาก็เงียบ มีแค่ 1-2 ยี่ห้อที่ออกมาเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ เครื่อง 1200cc แล้วก็เงียบหายไปจาก เรื่องของ EV ที่ไม่ชัดเจน แต่กลับไปหนุนเนื่องเรื่องของ Hybrid แทน
แถมงานนี้ผู้ที่เสียผลประโยชน์กับกลายเป็นหน่วยงานที่รัฐถือหุ้นอยู่ อีกต่างหาก ซึ่งก็ยากมากที่จะเดินหน้าหรือถอยหลัง
เพราะ ถ้าเดินหน้า รัฐก็เสียผลประโยชน์ทั้งในรูปของรายได้ทางตรง และรายได้จากปันผลของกิจการที่เกี่ยวข้อง
ถ้าไม่เดินหน้า ก็เสียหายเรื่องศักยภาพของประเทศ /รายได้ของประเทศ /รายได้ประชาชนในประเทศ
ต้องคิดให้หนักว่าเดินหน้าหรือ ถอยหลัง
-
- Verified User
- โพสต์: 1681
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถยนต์ไฟฟ้ากับประเทศไทย
โพสต์ที่ 44
[ข่าวด่วน] เคาะแล้ว ! คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ เสนอ “ประเทศไทย ยกเลิกขาย ยานยนต์ เครื่องยนต์ ภายในปี 2035"
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้มีการประชุมและพิจารณา การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง มาตรการระยะเร่งด่วนขับเคลื่อนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ดังนี้
วิสัยทัศน์ : ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก
เป้าหมาย : ภายในปี ค.ศ. 2035 : ผู้ขับขี่ยานยนต์สามารถจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ ได้เฉพาะยานยนต์ไร้มลพิษ ZEV 100% ( Engine Ban)
โดยมีมาตรการเร่งด่วนดังนี้
1. มาตรการกระตุ้น การใช้รถ สองล้อ สาม ล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า
2. มาตรฐาน และ ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ -แผนพลังงาน และ การจัดตั้งสถานีอัด ประจุสาหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์
3. จัดให้มีโครงการเช่ารถเมล์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า 2,511 คัน
ส่วนมาตรการในระยะ 1-5 ปี มีดังต่อไปนี้
1.ปรับโครงสร้างภาษี อาทิ ภาษีสรรพสามิต (เริ่มพ.ศ. 2569 หรือ ค.ศ.2026) และ ภาษีรถยนต์ประจำปี ตามหลักสากล “รถยิ่งเก่า ยิ่งต้องจ่าย แพง”
2. มีการบริหารจัดการซาก รถยนต์ แบตเตอรี่ และ Solar cell ใช้แล้ว
3. สร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Eco System) เพื่อส่งเสริมการใช้ ZEV
4. จัดให้การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
#ข่าวด่วน
#เคาะเเล้วภายในปี2035
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้มีการประชุมและพิจารณา การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง มาตรการระยะเร่งด่วนขับเคลื่อนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ดังนี้
วิสัยทัศน์ : ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก
เป้าหมาย : ภายในปี ค.ศ. 2035 : ผู้ขับขี่ยานยนต์สามารถจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ ได้เฉพาะยานยนต์ไร้มลพิษ ZEV 100% ( Engine Ban)
โดยมีมาตรการเร่งด่วนดังนี้
1. มาตรการกระตุ้น การใช้รถ สองล้อ สาม ล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า
2. มาตรฐาน และ ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ -แผนพลังงาน และ การจัดตั้งสถานีอัด ประจุสาหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์
3. จัดให้มีโครงการเช่ารถเมล์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า 2,511 คัน
ส่วนมาตรการในระยะ 1-5 ปี มีดังต่อไปนี้
1.ปรับโครงสร้างภาษี อาทิ ภาษีสรรพสามิต (เริ่มพ.ศ. 2569 หรือ ค.ศ.2026) และ ภาษีรถยนต์ประจำปี ตามหลักสากล “รถยิ่งเก่า ยิ่งต้องจ่าย แพง”
2. มีการบริหารจัดการซาก รถยนต์ แบตเตอรี่ และ Solar cell ใช้แล้ว
3. สร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Eco System) เพื่อส่งเสริมการใช้ ZEV
4. จัดให้การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
#ข่าวด่วน
#เคาะเเล้วภายในปี2035