IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 1
IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ลูบคมตลาดทุน : ธนะชัย ณ นคร
วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ธนาคารธนชาต (TBANK) พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชม Chang Arena–Burirum United สนามฟุตบอลเหย้าของสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถมาตรฐานระดับโลก
แน่นอนว่าได้มีโอกาสพบกับ “เนวิน ชิดชอบ” ประธานสโมสรบุรีรัมย์ฯ
เดิมนั้นคุณเนวินต้องการเล่าที่มา และสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตว่ามีอะไรบ้าง
แต่เมื่อมีการคุยเรื่องแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เลยทำให้มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ
“เนวิน” บอกว่าหากไม่มีอะไรผิดพลาด
ราว ๆ ไตรมาส 2/62 “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” สโมสรฟุตบอลชื่อดังของประเทศไทยและเอเชีย จะยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
บุรีรัมย์ฯ เตรียมเรื่องนี้มา 2-3 ปีแล้ว
และได้ให้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA)
มี บริษัท อีวาย จำกัด เป็นผู้สอบบัญชี
บุรีรัมย์จะใช้ชื่อในการเข้าตลาดหุ้นว่า บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด โดยอยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
ปัจจุบัน มีทุนจดทะเบียนอยู่ 200 ล้านบาท
และจะเพิ่มอีก 100 ล้านบาท
ในปี 2560 บุรีรัมย์ มีรายได้กว่า 900 ล้านบาท
ในจำนวนนี้กว่า 400 ล้านบาท เป็นรายได้ที่มาจากการ “ขายเสื้อ” (และของที่ระลึก)
เงินจากสปอนเซอร์ต่าง ๆ อีก 200 ล้านบาท
และที่เหลือมาจากค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล รายได้จากจากการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ และค่าเช่าสนามเพื่อทำกิจกรรม
เชื่อไหม ในปี 2560 สโมสรบุรีรัมย์ฯ ขายเสื้อได้ถึง 7 แสนตัว
60-70% เป็นแฟนฟุตบอลบุรีรัมย์ฯ ที่อยู่ในพื้นที่
และอีก 30-40% เป็นแฟนบุรีรัมย์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือทั่วประเทศไทย และประเทศในอาเซียน
เนวิน บอกว่า เสื้อของของสโมสรบุรีรัมย์ฯ ถูกออกแบบมาไม่ได้ให้ใช้ได้เฉพาะมาชมการแข่งขันในสนามเท่านั้น
แต่ยังใส่ในทุกโอกาส หรือเหมือนกับเสื้อทีมฟุตบอลดัง ๆ ของสโมสรต่างประเทศ
สนามเหล่าของสโมรสรบุรีรัมย์ฯ ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้แข่งขันฟุตบอลเท่านั้น
ทว่า ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดด้วย
“คนที่เดินทางมาบุรีรัมย์ ต้องมาเช็คอินที่สนามฟุตบอลแห่งนี้” เนวิน บอกครับ
บริเวณ Chang Arena – Burirum Unite เท่าที่เดินสำรวจดู พบว่า มีร้านขายของที่ถูกจัดไว้เป็นสัดส่วน และยังมี “คอมมูนิตี้ มอลล์”(Community Mall) มีร้านอาหารชื่อดังต่าง ๆ เข้ามาเปิดอยู่จำนวนมาก
สนามฟุตบอล เปิดให้ชมทุกวันและฟรี
ยกเว้นวันที่มีการแข่งขัน ที่จะมีการจัดเก็บค่าผ่านประตู
วันที่ผมเดินทางไป เป็นการแข่งขัน Big Match ระหว่าง บุรีรัมย์ฯ กับ แบงก์ค็อก ยูไนเต็ด
บริเวณหน้าสนามก่อนการแข่งขัน มีคนเตรียมเข้าชมจำนวนมาก
มีทั้งเดินทางมากันเป็นครอบครัว ปูผ้าปูเสื่อนั่งล้อมวงทานข้าว รวมถึงนั่งตามร้านอาหารกันจำนวนมาก (ก่อนแข่งขัน)
สนามฟุตบอลแห่งนี้ จุผู้ชมได้ถึง 32,600 คน และถือเป็นสนามระดับ World standard หรือที่ดีที่สุดใหญ่ที่สุดของเอเชีย
ในปี 2560 มีคนเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลเฉลี่ย 2 หมื่นคน
ส่วนปี 2561 ผ่านมาถึงปีแรก ลดลงมาเหลือ 1.4 – 1.6 หมื่นคน
เนวิน บอกว่า คนไม่ได้สนใจฟุตบอลลดลง แต่พวกเขาหันไปดูการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น และตรงจุดนี้ก็คือ “มูลค่า” อย่างหนึ่งของสโมสรบุรีรัมย์ฯ ที่จะใช้ในการนำเข้าตลาดหุ้นด้วย
เนวินบอกว่า สินทรัพย์สำคัญของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็คือ “แบรนด์”
ลูบคมตลาดทุน : ธนะชัย ณ นคร
วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ธนาคารธนชาต (TBANK) พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชม Chang Arena–Burirum United สนามฟุตบอลเหย้าของสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถมาตรฐานระดับโลก
แน่นอนว่าได้มีโอกาสพบกับ “เนวิน ชิดชอบ” ประธานสโมสรบุรีรัมย์ฯ
เดิมนั้นคุณเนวินต้องการเล่าที่มา และสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตว่ามีอะไรบ้าง
แต่เมื่อมีการคุยเรื่องแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เลยทำให้มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ
“เนวิน” บอกว่าหากไม่มีอะไรผิดพลาด
ราว ๆ ไตรมาส 2/62 “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” สโมสรฟุตบอลชื่อดังของประเทศไทยและเอเชีย จะยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
บุรีรัมย์ฯ เตรียมเรื่องนี้มา 2-3 ปีแล้ว
และได้ให้ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA)
มี บริษัท อีวาย จำกัด เป็นผู้สอบบัญชี
บุรีรัมย์จะใช้ชื่อในการเข้าตลาดหุ้นว่า บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด โดยอยู่ระหว่างการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
ปัจจุบัน มีทุนจดทะเบียนอยู่ 200 ล้านบาท
และจะเพิ่มอีก 100 ล้านบาท
ในปี 2560 บุรีรัมย์ มีรายได้กว่า 900 ล้านบาท
ในจำนวนนี้กว่า 400 ล้านบาท เป็นรายได้ที่มาจากการ “ขายเสื้อ” (และของที่ระลึก)
เงินจากสปอนเซอร์ต่าง ๆ อีก 200 ล้านบาท
และที่เหลือมาจากค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล รายได้จากจากการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ และค่าเช่าสนามเพื่อทำกิจกรรม
เชื่อไหม ในปี 2560 สโมสรบุรีรัมย์ฯ ขายเสื้อได้ถึง 7 แสนตัว
60-70% เป็นแฟนฟุตบอลบุรีรัมย์ฯ ที่อยู่ในพื้นที่
และอีก 30-40% เป็นแฟนบุรีรัมย์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือทั่วประเทศไทย และประเทศในอาเซียน
เนวิน บอกว่า เสื้อของของสโมสรบุรีรัมย์ฯ ถูกออกแบบมาไม่ได้ให้ใช้ได้เฉพาะมาชมการแข่งขันในสนามเท่านั้น
แต่ยังใส่ในทุกโอกาส หรือเหมือนกับเสื้อทีมฟุตบอลดัง ๆ ของสโมสรต่างประเทศ
สนามเหล่าของสโมรสรบุรีรัมย์ฯ ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้แข่งขันฟุตบอลเท่านั้น
ทว่า ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดด้วย
“คนที่เดินทางมาบุรีรัมย์ ต้องมาเช็คอินที่สนามฟุตบอลแห่งนี้” เนวิน บอกครับ
บริเวณ Chang Arena – Burirum Unite เท่าที่เดินสำรวจดู พบว่า มีร้านขายของที่ถูกจัดไว้เป็นสัดส่วน และยังมี “คอมมูนิตี้ มอลล์”(Community Mall) มีร้านอาหารชื่อดังต่าง ๆ เข้ามาเปิดอยู่จำนวนมาก
สนามฟุตบอล เปิดให้ชมทุกวันและฟรี
ยกเว้นวันที่มีการแข่งขัน ที่จะมีการจัดเก็บค่าผ่านประตู
วันที่ผมเดินทางไป เป็นการแข่งขัน Big Match ระหว่าง บุรีรัมย์ฯ กับ แบงก์ค็อก ยูไนเต็ด
บริเวณหน้าสนามก่อนการแข่งขัน มีคนเตรียมเข้าชมจำนวนมาก
มีทั้งเดินทางมากันเป็นครอบครัว ปูผ้าปูเสื่อนั่งล้อมวงทานข้าว รวมถึงนั่งตามร้านอาหารกันจำนวนมาก (ก่อนแข่งขัน)
สนามฟุตบอลแห่งนี้ จุผู้ชมได้ถึง 32,600 คน และถือเป็นสนามระดับ World standard หรือที่ดีที่สุดใหญ่ที่สุดของเอเชีย
ในปี 2560 มีคนเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลเฉลี่ย 2 หมื่นคน
ส่วนปี 2561 ผ่านมาถึงปีแรก ลดลงมาเหลือ 1.4 – 1.6 หมื่นคน
เนวิน บอกว่า คนไม่ได้สนใจฟุตบอลลดลง แต่พวกเขาหันไปดูการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น และตรงจุดนี้ก็คือ “มูลค่า” อย่างหนึ่งของสโมสรบุรีรัมย์ฯ ที่จะใช้ในการนำเข้าตลาดหุ้นด้วย
เนวินบอกว่า สินทรัพย์สำคัญของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็คือ “แบรนด์”
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 2
สาวก’บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ เฮ! เสริมหล่อเข้าตลาดmai พร้อมยื่นไฟลิ่งQ2/62
PHATTEERA SRIPEERAPONGJul 2, 2018
สาวก’บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ เฮ! เสริมหล่อเข้าตลาดmai พร้อมยื่นไฟลิ่งQ2/62
สำนักข่าว “ทันหุ้น” รายงานว่า “เนวิน ชิดชอบ” เตรียมความพร้อม “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” แต่งตัวเข้าเทรดตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พร้อมยื่นไฟลิ่ง ไตรมาส 2/2562 หวังระดมทุนรองรับแผนขยายธุรกิจ Sport Entertainment ตั้ง บล.ฟินันเซีย ไซรัส นั่งที่ปรึกษาทางการเงิน
นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดเผยถึงแผนการนำ บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)ว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน คาดว่าจะสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง)ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ได้ในไตรมาส 2/2562 โดยการระดมทุนครั้งนี้เพื่อรองรับแผนขยายธุรกิจ Sport Entertainment
FSSนั่งที่ปรึกษาการเงิน
โดยปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียนราว 200 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะเพิ่มทุนจดทะเบียนประมาณ 100 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ในการเตรียมความพร้อมกระจายหุ้นและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
สำหรับรายได้ในปี 2560 ที่ผ่านมาทำได้ 900 ล้านบาท โดยมีรายได้หลักจากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลและของที่ระลึก ราว 400 ล้านบาท อีก 200 ล้านบาทเป็นรายได้จากสปอนเซอร์ และส่วนที่เหลือมาจากค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล รายได้จากจากการจัดอีเว้นท์ต่างๆและค่าเช่าสนามเพื่อทำกิจกรรม เป็นต้น ขณะที่ในปีนี้คาดว่าจะพลิกกลับมามีกำไรหลังจากปีก่อนประสบปัญหาขาดทุนผลจากการปรับปรุงโครงสร้างบริษัทและระบบบัญชี รวมถึงได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท คือ นักเตะ ซึ่งมีทั้งนักเตะไทยและต่างประเทศ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ล่าช้า เนื่องจากมีปัญหาด้านการประเมินมูลค่าสินทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพ ซึ่งรูปแบบสินทรัพย์ของบริษัทจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับผู้สอบบัญชี ขณะนี้ได้ข้อสรุปในการบันทึกบัญชีแล้ว ส่วนสนามธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม เป็นเพียงการเช่าใช้พื้นที่
PHATTEERA SRIPEERAPONGJul 2, 2018
สาวก’บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ เฮ! เสริมหล่อเข้าตลาดmai พร้อมยื่นไฟลิ่งQ2/62
สำนักข่าว “ทันหุ้น” รายงานว่า “เนวิน ชิดชอบ” เตรียมความพร้อม “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” แต่งตัวเข้าเทรดตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พร้อมยื่นไฟลิ่ง ไตรมาส 2/2562 หวังระดมทุนรองรับแผนขยายธุรกิจ Sport Entertainment ตั้ง บล.ฟินันเซีย ไซรัส นั่งที่ปรึกษาทางการเงิน
นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดเผยถึงแผนการนำ บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)ว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน คาดว่าจะสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง)ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ได้ในไตรมาส 2/2562 โดยการระดมทุนครั้งนี้เพื่อรองรับแผนขยายธุรกิจ Sport Entertainment
FSSนั่งที่ปรึกษาการเงิน
โดยปัจจุบัน บริษัทมีทุนจดทะเบียนราว 200 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะเพิ่มทุนจดทะเบียนประมาณ 100 ล้านบาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) ในการเตรียมความพร้อมกระจายหุ้นและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
สำหรับรายได้ในปี 2560 ที่ผ่านมาทำได้ 900 ล้านบาท โดยมีรายได้หลักจากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลและของที่ระลึก ราว 400 ล้านบาท อีก 200 ล้านบาทเป็นรายได้จากสปอนเซอร์ และส่วนที่เหลือมาจากค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล รายได้จากจากการจัดอีเว้นท์ต่างๆและค่าเช่าสนามเพื่อทำกิจกรรม เป็นต้น ขณะที่ในปีนี้คาดว่าจะพลิกกลับมามีกำไรหลังจากปีก่อนประสบปัญหาขาดทุนผลจากการปรับปรุงโครงสร้างบริษัทและระบบบัญชี รวมถึงได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท คือ นักเตะ ซึ่งมีทั้งนักเตะไทยและต่างประเทศ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ล่าช้า เนื่องจากมีปัญหาด้านการประเมินมูลค่าสินทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพ ซึ่งรูปแบบสินทรัพย์ของบริษัทจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับผู้สอบบัญชี ขณะนี้ได้ข้อสรุปในการบันทึกบัญชีแล้ว ส่วนสนามธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม เป็นเพียงการเช่าใช้พื้นที่
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 3
เนวินคาดบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดยื่นไฟลิ่ง Q2/62 เข้าตลาด mai ระดมทุนขยายธุรกิจ sport entertainment
--อินโฟเควสท์ โดย วิลาวัลย์ พงษ์พิทักษ์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2561 07:46:53 น.
นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กล่าวว่า บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด อยู่ระหว่างเตรียมแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และคาดว่าจะสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ในไตรมาส 2/62 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายธุรกิจ sport entertainment
--อินโฟเควสท์ โดย วิลาวัลย์ พงษ์พิทักษ์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2561 07:46:53 น.
นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กล่าวว่า บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด อยู่ระหว่างเตรียมแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และคาดว่าจะสามารถยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ในไตรมาส 2/62 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายธุรกิจ sport entertainment
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 4
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด รายได้เท่าไร / โดย เพจลงทุนแมน
สมัยก่อนถ้านึกถึงคุณเนวิน ชิดชอบ
หลายคนคงนึกถึงภาพนักการเมืองไทยคนหนึ่ง
แต่คำถามเดียวกันตอนนี้ คำตอบที่ได้
หลายคนคงนึกถึงสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ซึ่งเป็นหนึ่งในสโมสรชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟังว่าสโมสรนี้กำเนิดมาอย่างไร และมีรายได้เท่าไร
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2513 เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยที่ช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีกันมากกว่า
ในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง โดยใช้เวลาเพียง 7 ฤดูกาล ได้เลื่อนมาเล่นในดิวิชั่น 1 จนในฤดูกาล 2547 สโมสรได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ทำให้ได้มาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในฐานะที่เป็นลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกในฤดูกาลถัดมา
ในปี พ.ศ. 2552 คุณเนวิน มีความตั้งใจจะซื้อสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการเจรจากันหลายทีม แต่สุดท้ายมาจบที่การซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเปลี่ยนชื่อมาเป็น บุรีรัมย์ พีอีเอ จนสุดท้ายรวมกับทีมบุรีรัมย์ เอฟซี เป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2555
สนามฟุตบอลของบุรีรัมย์ชื่อ i-mobile Stadium มีความจุ 32,600 ที่นั่ง สร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของ i-Mobile และบางส่วนของคุณเนวิน ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลในระดับ FIFA ที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน
อย่างไรก็ตาม สโมสรเตรียมเปลี่ยนชื่อสนามเป็นชื่อ “ช้าง สเตเดียม” หลังจากที่กลุ่มสามารถ ยอมรับว่า มือถือ i-mobile ประสบปัญหาภาวะขาดทุนอย่างหนักจึงตัดสินใจปิดฉาก Brand i-mobile ไป
ทั้งนี้ รายได้ของสโมสรฟุตบอลมาจากหลายส่วนทั้งค่าตั๋วเข้าชม, ขายของที่ระลึก, เงินรางวัล, กำไรจากการขายนักเตะ และส่วนแบ่งจากค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอล
รายได้ของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ปี 2557 รายได้ 456 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้ 585 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 805 ล้านบาท
ในฤดูกาลที่แล้วสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีรายได้จากการขายบัตร 19 ล้านบาท และของที่ระลึกกว่า 44 ล้านบาท สูงสุดเป็นลำดับ 1 โดย มีรายได้จากการขายบัตรนัดละ 558,000 บาท และของที่ระลึกนัดละ 1.3 ล้านบาท
โดยในฤดูกาล 2559 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เคยทำสถิติเปิดขายเสื้อวันแรกได้ถึง 19,500 ตัว แต่สถิตินี้ได้ถูกทำลายลงในฤดูกาลถัดมา หลังจากที่สโมสรเปิดขายเสื้อ โดยทำสถิติเปิดขายเสื้อวันแรกได้ถึง 34,722 ตัว
ความสำเร็จของสโมสรในช่วงที่ผ่านมาที่สามารถกวาดแชมป์ไปได้หลายรายการ น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แฟนบอลของทีมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์พอสมควร โดยเฉพาะในด้านของการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์
ปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยว 8 แสนคน ขณะที่ปี 2559 อยู่ที่ 1.4 ล้านคน
ปี 2552 รายได้จากการท่องเที่ยว 808 ล้านบาท ขณะที่ปี 2559 อยู่ที่ 2,347 ล้านบาท
ปี 2552 ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งหมด 7,181 คน ขณะที่ปี 2559 อยู่ที่ 197,988 คน
ด้วยความนิยมชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลและฐานแฟนบอลของบุรีรัมย์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้ลงทุนแมนเชื่อว่า บุรีรัมย์น่าจะเปลี่ยนจากในอดีตที่เป็นแค่ “เมืองผ่าน” กลายมาเป็น “เมืองพัก” โดยมี “สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” เป็นแม่เหล็กไปซะแล้ว..
สมัยก่อนถ้านึกถึงคุณเนวิน ชิดชอบ
หลายคนคงนึกถึงภาพนักการเมืองไทยคนหนึ่ง
แต่คำถามเดียวกันตอนนี้ คำตอบที่ได้
หลายคนคงนึกถึงสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ซึ่งเป็นหนึ่งในสโมสรชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟังว่าสโมสรนี้กำเนิดมาอย่างไร และมีรายได้เท่าไร
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2513 เดิมชื่อ สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยที่ช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีกันมากกว่า
ในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง โดยใช้เวลาเพียง 7 ฤดูกาล ได้เลื่อนมาเล่นในดิวิชั่น 1 จนในฤดูกาล 2547 สโมสรได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ทำให้ได้มาเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกในฐานะที่เป็นลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกในฤดูกาลถัดมา
ในปี พ.ศ. 2552 คุณเนวิน มีความตั้งใจจะซื้อสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก ให้ย้ายไปเล่นในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการเจรจากันหลายทีม แต่สุดท้ายมาจบที่การซื้อขายหุ้นของสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเปลี่ยนชื่อมาเป็น บุรีรัมย์ พีอีเอ จนสุดท้ายรวมกับทีมบุรีรัมย์ เอฟซี เป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2555
สนามฟุตบอลของบุรีรัมย์ชื่อ i-mobile Stadium มีความจุ 32,600 ที่นั่ง สร้างด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของ i-Mobile และบางส่วนของคุณเนวิน ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลในระดับ FIFA ที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน
อย่างไรก็ตาม สโมสรเตรียมเปลี่ยนชื่อสนามเป็นชื่อ “ช้าง สเตเดียม” หลังจากที่กลุ่มสามารถ ยอมรับว่า มือถือ i-mobile ประสบปัญหาภาวะขาดทุนอย่างหนักจึงตัดสินใจปิดฉาก Brand i-mobile ไป
ทั้งนี้ รายได้ของสโมสรฟุตบอลมาจากหลายส่วนทั้งค่าตั๋วเข้าชม, ขายของที่ระลึก, เงินรางวัล, กำไรจากการขายนักเตะ และส่วนแบ่งจากค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอล
รายได้ของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ปี 2557 รายได้ 456 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้ 585 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 805 ล้านบาท
ในฤดูกาลที่แล้วสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีรายได้จากการขายบัตร 19 ล้านบาท และของที่ระลึกกว่า 44 ล้านบาท สูงสุดเป็นลำดับ 1 โดย มีรายได้จากการขายบัตรนัดละ 558,000 บาท และของที่ระลึกนัดละ 1.3 ล้านบาท
โดยในฤดูกาล 2559 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เคยทำสถิติเปิดขายเสื้อวันแรกได้ถึง 19,500 ตัว แต่สถิตินี้ได้ถูกทำลายลงในฤดูกาลถัดมา หลังจากที่สโมสรเปิดขายเสื้อ โดยทำสถิติเปิดขายเสื้อวันแรกได้ถึง 34,722 ตัว
ความสำเร็จของสโมสรในช่วงที่ผ่านมาที่สามารถกวาดแชมป์ไปได้หลายรายการ น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แฟนบอลของทีมเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์พอสมควร โดยเฉพาะในด้านของการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์
ปี 2552 จำนวนนักท่องเที่ยว 8 แสนคน ขณะที่ปี 2559 อยู่ที่ 1.4 ล้านคน
ปี 2552 รายได้จากการท่องเที่ยว 808 ล้านบาท ขณะที่ปี 2559 อยู่ที่ 2,347 ล้านบาท
ปี 2552 ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งหมด 7,181 คน ขณะที่ปี 2559 อยู่ที่ 197,988 คน
ด้วยความนิยมชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลและฐานแฟนบอลของบุรีรัมย์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้ลงทุนแมนเชื่อว่า บุรีรัมย์น่าจะเปลี่ยนจากในอดีตที่เป็นแค่ “เมืองผ่าน” กลายมาเป็น “เมืองพัก” โดยมี “สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” เป็นแม่เหล็กไปซะแล้ว..
-
- Verified User
- โพสต์: 303
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 5
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เตรียมยื่นไฟลิ่งเข้า mai ไตรมาส2/62 ระดมทุน 100 ลบ. ลงทุนสปอร์ต เอ็นเตอร์เทนเมนท์
"เนวิน" ยื่นไฟลิ่ง "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" เข้าตลาดไตรมาส 2 ปีหน้า หวังระดมทุน 100 ลบ. ลงทุนสปอร์ต เอนเตอร์เทนเมนท์ พัฒนาจังหวัดให้เป็น Sport City ดึงดูดนักท่องเที่ยว
อ่าน....ที่นี่ https://goo.gl/2aC3RV
"เนวิน" ยื่นไฟลิ่ง "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" เข้าตลาดไตรมาส 2 ปีหน้า หวังระดมทุน 100 ลบ. ลงทุนสปอร์ต เอนเตอร์เทนเมนท์ พัฒนาจังหวัดให้เป็น Sport City ดึงดูดนักท่องเที่ยว
อ่าน....ที่นี่ https://goo.gl/2aC3RV
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 6
เปิดไส้ในแต่งตัว “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” หอบแข้งทองเข้าตลาดหุ้นกลางปี’62-
วันที่ 6 July 2018 - 07:00 น.
ธุรกิจสโมสรฟุตบอลเป็นอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดกว้างให้เข้ามาจดทะเบียนได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ ซึ่งสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็เป็นรายแรกที่จะนำบริษัท “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” เข้าตลาดหุ้นไทย
เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารของธนาคารธนชาตผู้นำธุรกิจเช่าซื้อรถรายใหญ่ ได้จัดกิจกรรม “Thank”s Exclusive Speedy Trip” นำสื่อมวลชนมายัง จ.บุรีรัมย์ และนำเข้าชมการแข่งขันรายการ Super GT 2018″ การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบจากญี่ปุ่น ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็น 1 ใน 8 สนามที่ใช้ดวลความเร็วกันระดับโลก และค่ำ ๆ ชมการแข่งขันโตโยต้าไทยลีก 2018 Super Big Math ระหว่าง “ปราสาทสายฟ้า” หรือ Thunder Castle บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด VS “แข้งเทพ” ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด (ชิงผู้นำจ่าฝูง) ณ สนามธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม ต่อด้วยกิจกรรม Meet & Greet นักเตะดาวเด่นของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด และมี “นายเนวิน ชิดชอบ” ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เข้าร่วมด้วย
งานนี้ นายเนวินในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่รวม 50% (นายเนวินและครอบครัว) ได้มาพูดคุยกับสื่อมวลชนสายเศรษฐกิจและการเงิน ถึงเรื่องความคืบหน้าในการนำบริษัทบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเอ็มเอไอว่าที่ผ่านมาบริษัทได้ว่าจ้างบริษัทสำนักงานอีวายเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อจัดทำบัญชีให้เป็นมาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งบริษัทประกอบการธุรกิจที่ไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ยังมีบางเรื่องที่ยังทำไม่ได้เลย เช่น การประเมินมูลค่าค่าตัวนักเตะ ซึ่งในต่างประเทศที่เอาสโมสรเข้าตลาดหุ้นก็ไม่มีวิธีคำนวณ จึงเป็นของใหม่ของตลาดหุ้นไทย การตัดค่าเสื่อมลิขสิทธิ์ตัวนักเตะ การประเมินมูลค่าแบรนด์จะคำนวณจากยอดคนดูอย่างไร เพราะมีทั้งคนดูในสนามและดูออนไลน์ที่จำนวนมากอีก
“การเข้าตลาดหุ้นก็มีผลต่อผลประกอบการของบริษัทอย่างมาก เพราะบริษัทต้องซับซิไดซ์ภาษีให้แก่นักเตะที่ได้เงินเดือนด้วย ทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 1.5 เท่า เหนื่อยมาก แต่ว่าต้องทำใจเราเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้เราก็ต้องทำทุกอย่างให้เข้าระบบ พอบริษัทเป็นมหาชนโครงสร้างทุกอย่างจะแข็งแรง เราอยู่ไม่อยู่มันก็เดินของมันไปได้ ซึ่งสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีแฟนคลับที่เป็นคนบุรีรัมย์ถึง 60% และ 40% เป็นคนทั่วประเทศ เราไม่เหมือนสโมสรอื่น เพราะฉะนั้น โครงสร้างเราแข็งแรงมาก สิ้นปีนี้เราน่าจะทำกำไรได้ซัก 50 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาขาดทุน”
ทั้งนี้ ผลดำเนินงานของปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 900 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 70 ล้านบาท ส่วนขาดทุนสะสมอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท
เขากล่าวว่า หลังแต่งตัวโครงสร้างบริษัทเสร็จและแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเรียบร้อย ก็คาดว่าบริษัทน่าจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ได้ราวไตรมาส 2 ปีหน้า (ปี 2562) โดยมี บล.ฟินันเซีย ไซรัสเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
“ปัจจุบันเรามีทุนจดทะเบียนอยู่ 200 ล้านบาท จะเพิ่มทุนเข้าตลาดหุ้นเอ็มเอไอประมาณ 100 ล้านบาท จะเอามาใช้เป็นเงินทุนหมนุเวียนภายใน ผมมีเรื่องให้ทำอีกเยอะอีเวนต์ต่าง ๆ เพราะจะไม่ทำแค่สปอร์ตอย่างเดียว ต่อไปเราจะทำเป็น Sport Entertainment ตัวสเตเดียม ผมจะจัดทำเป็นเวิลด์คอนเสิร์ตด้วย สิ่งที่อยากทำอีกคือ แอดเวนเจอร์สปอร์ต เพื่อให้คนมาที่นี่ อีกอันที่จะทำศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบำบัดสำหรับคนทั่วไป ทุกวันนี้นักกีฬานักฟุตบอลที่บาดเจ็บมาที่นี่กันเพราะเรามีทีมหมอที่เชี่ยวชาญ ส่วนเงินที่อยากระดมทุนได้เท่าไหร่ไม่บอก ทุกอย่างที่คิดได้เดี๋ยวเงินก็มาเอง”
พร้อมแจกแจงว่า จะขยายอาณาจักรธุรกิจไปเป็น “สปอร์ตเอ็นเตอร์เทนเมนต์” ซึ่งจะมีทั้งอีสปอร์ตที่จะเห็นในปีนี้ การทำศูนย์กายภาพบำบัดสำหรับคนทั่วไป น่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2563 และจะทำอะคาเดมีเป็นศูนย์ฝึกอบรมนักฟุตบอลระดับอาเซียนด้วย ขณะนี้มีนักฟุตบอลจีนเสียตังค์มาอะคาเดมีนี้แล้ว
สำหรับรายได้หลักของบริษัทมาจากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลและของที่ระลึกสัดส่วนกว่า 40% รายได้จากค่าตั๋ว 20% ส่วนที่เหลือ 40% เป็นรายได้จากสปอนเซอร์ ค่าเช่าพื้นที่การจัดอีเวนต์ อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีคนซื้อตั๋วเข้ามาดูการแข่งขันในสนามเฉลี่ย 1.2-1.3 หมื่นคน ลดลงจากปีก่อน ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 2 หมื่นคน เพราะคนหันไปดูทางออนไลน์ทางโซเชียลมีเดียกันมากกว่า ประหยัดเงิน ซึ่งพฤติกรรมคนดูที่เปลี่ยนไปสู่โลกโซเชียล บริษัทจึงชูธุรกิจ “อีสปอร์ต” ทำเกมออนไลน์ขึ้นมาเพื่อสร้างรายได้ที่คาดหวังจะเติบโตสูงตามกระแส โดยจะมีทีมนักเตะของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเองและอนาคตจะเห็นอีสเตเดียมเป็นพื้นที่ให้คนแข่งขันเกมมารวมพลกันที่แห่งนี้
นายทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัดกล่าวว่า เนื่องจากบริษัทไม่ได้มีสินทรัพย์มาก เพราะตัวสนามต่าง ๆ ก็เป็นการเช่าที่ทำ ซึ่งที่ดินเป็นของนายเนวิน แต่หากเข้าตลาดหุ้นได้แล้วจะเอาเงินทุนมาหาสินทรัพย์บางส่วนใส่เข้าไป ซึ่งที่มองไว้ เช่น สนามซ้อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ฟุตบอลยังถือว่าเป็นธุรกิจหลัก แต่รายได้ทางตรงธุรกิจนี้ก็ไม่ได้มาก ดังนั้นอีกขาจะเป็นรายได้จากฝั่ง nonfootball fan โดยการทำอี สปอร์ต การจัดอีเวนต์ต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อหารายได้เพิ่มจากส่วนนี้ อยางไรก็ตาม “ทุกวันนี้ธุรกิจอีสปอร์ตในไทยมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท เงินหมุนเวียนธุรกิจฟุตบอลไทยก็เทียบกันไม่ได้เลย ผมมองว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะยิ่งใหญ่กว่านี้ เราจึงสร้างอีสปอร์ตเอ็นเตอร์เทนเมนต์ขึ้นมา เพื่อเป็นกันชน ทำให้บริษัทมั่นคง สำหรับต้นทุนหลัก ๆ ของบริษัทจะเป็นเรื่องค่าเหนื่อยของนักเตะ สัดส่วนราว 40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด รองลงมาเป็นค่าเช่าสนาม 30% ที่เหลือก็เป็นต้นทุนขายเสื้อสินค้าที่ระลึก แต่ในส่วนของสินค้าที่ขาย มีมาร์จิ้นดีถึง 30-40% ซึ่งยอดขายก็ทำได้ดีมีขายทั่วประเทศ และผลประกอบการในไตรมาสแรกก็ออกมาค่อนข้างดีด้วย จากการขายเสื้อและสินค้าที่ระลึกทำลายสถิติสูงสุดที่ผ่านมา เรียกว่าโต 100% ทีเดียว”
คงต้องรอดู “หุ้นบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” จะแปลงโฉมชุดใหญ่ไฟกะพริบกันต่อไป
วันที่ 6 July 2018 - 07:00 น.
ธุรกิจสโมสรฟุตบอลเป็นอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดกว้างให้เข้ามาจดทะเบียนได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ ซึ่งสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็เป็นรายแรกที่จะนำบริษัท “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” เข้าตลาดหุ้นไทย
เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารของธนาคารธนชาตผู้นำธุรกิจเช่าซื้อรถรายใหญ่ ได้จัดกิจกรรม “Thank”s Exclusive Speedy Trip” นำสื่อมวลชนมายัง จ.บุรีรัมย์ และนำเข้าชมการแข่งขันรายการ Super GT 2018″ การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบจากญี่ปุ่น ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็น 1 ใน 8 สนามที่ใช้ดวลความเร็วกันระดับโลก และค่ำ ๆ ชมการแข่งขันโตโยต้าไทยลีก 2018 Super Big Math ระหว่าง “ปราสาทสายฟ้า” หรือ Thunder Castle บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด VS “แข้งเทพ” ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด (ชิงผู้นำจ่าฝูง) ณ สนามธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม ต่อด้วยกิจกรรม Meet & Greet นักเตะดาวเด่นของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด และมี “นายเนวิน ชิดชอบ” ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เข้าร่วมด้วย
งานนี้ นายเนวินในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่รวม 50% (นายเนวินและครอบครัว) ได้มาพูดคุยกับสื่อมวลชนสายเศรษฐกิจและการเงิน ถึงเรื่องความคืบหน้าในการนำบริษัทบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเอ็มเอไอว่าที่ผ่านมาบริษัทได้ว่าจ้างบริษัทสำนักงานอีวายเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อจัดทำบัญชีให้เป็นมาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งบริษัทประกอบการธุรกิจที่ไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ยังมีบางเรื่องที่ยังทำไม่ได้เลย เช่น การประเมินมูลค่าค่าตัวนักเตะ ซึ่งในต่างประเทศที่เอาสโมสรเข้าตลาดหุ้นก็ไม่มีวิธีคำนวณ จึงเป็นของใหม่ของตลาดหุ้นไทย การตัดค่าเสื่อมลิขสิทธิ์ตัวนักเตะ การประเมินมูลค่าแบรนด์จะคำนวณจากยอดคนดูอย่างไร เพราะมีทั้งคนดูในสนามและดูออนไลน์ที่จำนวนมากอีก
“การเข้าตลาดหุ้นก็มีผลต่อผลประกอบการของบริษัทอย่างมาก เพราะบริษัทต้องซับซิไดซ์ภาษีให้แก่นักเตะที่ได้เงินเดือนด้วย ทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 1.5 เท่า เหนื่อยมาก แต่ว่าต้องทำใจเราเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้เราก็ต้องทำทุกอย่างให้เข้าระบบ พอบริษัทเป็นมหาชนโครงสร้างทุกอย่างจะแข็งแรง เราอยู่ไม่อยู่มันก็เดินของมันไปได้ ซึ่งสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีแฟนคลับที่เป็นคนบุรีรัมย์ถึง 60% และ 40% เป็นคนทั่วประเทศ เราไม่เหมือนสโมสรอื่น เพราะฉะนั้น โครงสร้างเราแข็งแรงมาก สิ้นปีนี้เราน่าจะทำกำไรได้ซัก 50 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาขาดทุน”
ทั้งนี้ ผลดำเนินงานของปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 900 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 70 ล้านบาท ส่วนขาดทุนสะสมอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท
เขากล่าวว่า หลังแต่งตัวโครงสร้างบริษัทเสร็จและแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเรียบร้อย ก็คาดว่าบริษัทน่าจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ได้ราวไตรมาส 2 ปีหน้า (ปี 2562) โดยมี บล.ฟินันเซีย ไซรัสเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
“ปัจจุบันเรามีทุนจดทะเบียนอยู่ 200 ล้านบาท จะเพิ่มทุนเข้าตลาดหุ้นเอ็มเอไอประมาณ 100 ล้านบาท จะเอามาใช้เป็นเงินทุนหมนุเวียนภายใน ผมมีเรื่องให้ทำอีกเยอะอีเวนต์ต่าง ๆ เพราะจะไม่ทำแค่สปอร์ตอย่างเดียว ต่อไปเราจะทำเป็น Sport Entertainment ตัวสเตเดียม ผมจะจัดทำเป็นเวิลด์คอนเสิร์ตด้วย สิ่งที่อยากทำอีกคือ แอดเวนเจอร์สปอร์ต เพื่อให้คนมาที่นี่ อีกอันที่จะทำศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบำบัดสำหรับคนทั่วไป ทุกวันนี้นักกีฬานักฟุตบอลที่บาดเจ็บมาที่นี่กันเพราะเรามีทีมหมอที่เชี่ยวชาญ ส่วนเงินที่อยากระดมทุนได้เท่าไหร่ไม่บอก ทุกอย่างที่คิดได้เดี๋ยวเงินก็มาเอง”
พร้อมแจกแจงว่า จะขยายอาณาจักรธุรกิจไปเป็น “สปอร์ตเอ็นเตอร์เทนเมนต์” ซึ่งจะมีทั้งอีสปอร์ตที่จะเห็นในปีนี้ การทำศูนย์กายภาพบำบัดสำหรับคนทั่วไป น่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2563 และจะทำอะคาเดมีเป็นศูนย์ฝึกอบรมนักฟุตบอลระดับอาเซียนด้วย ขณะนี้มีนักฟุตบอลจีนเสียตังค์มาอะคาเดมีนี้แล้ว
สำหรับรายได้หลักของบริษัทมาจากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลและของที่ระลึกสัดส่วนกว่า 40% รายได้จากค่าตั๋ว 20% ส่วนที่เหลือ 40% เป็นรายได้จากสปอนเซอร์ ค่าเช่าพื้นที่การจัดอีเวนต์ อื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีคนซื้อตั๋วเข้ามาดูการแข่งขันในสนามเฉลี่ย 1.2-1.3 หมื่นคน ลดลงจากปีก่อน ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 2 หมื่นคน เพราะคนหันไปดูทางออนไลน์ทางโซเชียลมีเดียกันมากกว่า ประหยัดเงิน ซึ่งพฤติกรรมคนดูที่เปลี่ยนไปสู่โลกโซเชียล บริษัทจึงชูธุรกิจ “อีสปอร์ต” ทำเกมออนไลน์ขึ้นมาเพื่อสร้างรายได้ที่คาดหวังจะเติบโตสูงตามกระแส โดยจะมีทีมนักเตะของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเองและอนาคตจะเห็นอีสเตเดียมเป็นพื้นที่ให้คนแข่งขันเกมมารวมพลกันที่แห่งนี้
นายทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัดกล่าวว่า เนื่องจากบริษัทไม่ได้มีสินทรัพย์มาก เพราะตัวสนามต่าง ๆ ก็เป็นการเช่าที่ทำ ซึ่งที่ดินเป็นของนายเนวิน แต่หากเข้าตลาดหุ้นได้แล้วจะเอาเงินทุนมาหาสินทรัพย์บางส่วนใส่เข้าไป ซึ่งที่มองไว้ เช่น สนามซ้อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ฟุตบอลยังถือว่าเป็นธุรกิจหลัก แต่รายได้ทางตรงธุรกิจนี้ก็ไม่ได้มาก ดังนั้นอีกขาจะเป็นรายได้จากฝั่ง nonfootball fan โดยการทำอี สปอร์ต การจัดอีเวนต์ต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อหารายได้เพิ่มจากส่วนนี้ อยางไรก็ตาม “ทุกวันนี้ธุรกิจอีสปอร์ตในไทยมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท เงินหมุนเวียนธุรกิจฟุตบอลไทยก็เทียบกันไม่ได้เลย ผมมองว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะยิ่งใหญ่กว่านี้ เราจึงสร้างอีสปอร์ตเอ็นเตอร์เทนเมนต์ขึ้นมา เพื่อเป็นกันชน ทำให้บริษัทมั่นคง สำหรับต้นทุนหลัก ๆ ของบริษัทจะเป็นเรื่องค่าเหนื่อยของนักเตะ สัดส่วนราว 40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด รองลงมาเป็นค่าเช่าสนาม 30% ที่เหลือก็เป็นต้นทุนขายเสื้อสินค้าที่ระลึก แต่ในส่วนของสินค้าที่ขาย มีมาร์จิ้นดีถึง 30-40% ซึ่งยอดขายก็ทำได้ดีมีขายทั่วประเทศ และผลประกอบการในไตรมาสแรกก็ออกมาค่อนข้างดีด้วย จากการขายเสื้อและสินค้าที่ระลึกทำลายสถิติสูงสุดที่ผ่านมา เรียกว่าโต 100% ทีเดียว”
คงต้องรอดู “หุ้นบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” จะแปลงโฉมชุดใหญ่ไฟกะพริบกันต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 7
“เนวิน” ร่ายยาว “ถ้ารักฟุตบอลไทยจริง อย่าทิ้งฟุตบอลไทย” แย้มปีหน้าส่อยุบทีมกว่า20สโมสร
วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 - 16:28 น.
“บิ๊กเน” นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ออกมาเปิดใจร่ายยาวผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสโมสร BURIRAM UNITED ในเรื่องของวงการฟุตบอลลีกอาชีพของไทยว่า มีการเติบโต หรือ หดตัว ลงไป หลังจากกระแสความนิยมจากแฟนบอลเริ่มลดน้อยลงไปอย่างต่อเนื่อง และแฟนบอลที่เข้าชมเกมในสนามก็มีจำนวนลดลงไป รวมทั้งผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทยก็เริ่มถอดใจ และอาจจะยกเลิกการทำทีมไป
สำหรับข้อความระบุว่า “ฟุตบอลไทย เติบโต หรือหดตัว?”
“แฟนบอล คือ คำตอบ”
ในแวดวงผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทยในทุกลีก ตั้งแต่ T1 ถึง T4 ทุกคนมีคำถามอยู่ในใจ มีความห่วงใย และกังวลอยู่ในแววตา ว่า “ฟุตบอลไทย จะฝ่าวิกฤตแฟนบอลไม่เข้าสนาม ได้อย่างไร?”
แม้เราจะเป็นฟุตบอลอาชีพ สโมสรทุกสโมสร ในทุกลีก อีกสถานะหนึ่งก็คือ “บริษัท” ที่ต้องอยู่ได้ด้วยผลประกอบการที่มีกำไร แต่ในหัวใจคนทำทีม และผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทย มากกว่าร้อยละ 90 ทำด้วยหัวใจที่รักฟุตบอล มากกว่าหวังผลกำไรจากฟุตบอล หรือผลประโยชน์อื่นๆ
การลงทุนสร้างสโมสรฟุตบอลในไทยลีก ตั้งแต่ T1 ถึง T4 จำนวน 122 ทีม มีเม็ดเงินรวมกันมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในแต่ละปี และเป็นที่รับทราบกันว่าสโมสรเกือบทั้งหมด มีผลประกอบการขาดทุน ถ้าเป็นธุรกิจอื่นๆ คงเลิกกิจการกันไปมากกว่าครึ่งแล้ว
แต่สำหรับกิจการที่เรียกว่าฟุตบอลอาชีพ ผู้บริหารสโมสรทุกสโมสร ยังคงมีหัวใจสู้ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แม้จะขาดทุนและเจ็บปวดแค่ไหน ก็ยังสู้ และทำต่อไปด้วยความรัก ทั้งรักฟุตบอล รักบ้านเกิด และมีความหวังที่อยากเห็นฟุตบอลไทย เติบโต ก้าวหน้า ต่อไป
แต่วิกฤตแฟนบอลไม่เข้าสนาม เป็นสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจของคนทำทีม ผู้บริหารสโมสร และนักฟุตบอลมากที่สุด หากแฟนบอลหันหลังให้สนามฟุตบอล ไม่เข้ามาชมในสนาม ไม่มาให้กำลังใจ นักฟุตบอล ไม่มาส่งเสียงเชียร์ อีกไม่นาน ฟุตบอลไทยที่เราภาคภูมิใจ และดีใจว่ามีการเติบโตมากที่สุดในเอเชีย และเป็นลีกอันดับหนึ่งของอาเซียน ก็มีโอกาสที่จะร่วงหล่นลงมา เป็นลีกอันดับท้ายๆ ของเอเชียได้เหมือนในอดีต
เสียงเชียร์ เสียงตะโกนในสนาม และกำลังใจจากแฟนบอล ไม่ได้ให้กำลังใจนักฟุตบอลเท่านั้น แต่ยังเป็นกำลังใจ และเสียงเชียร์แก่ผู้บริหารสโมสร ให้มุ่งมั่น ตั้งใจทำทีมต่อไปอีกด้วย
วันนี้ หลายๆ สโมสร แม้หัวใจยังคิดสู้ แต่กำลังทรัพย์ที่ร่อยหรอ บางสโมสรมีความคิดเรื่องถอนทีมเพราะถอดใจ ผมได้ยินมาว่า จาก 122 ทีม ในปีนี้ อาจจะเหลือ 100 ทีม ในปีหน้า
นี่เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า ฟุตบอลไทย กำลังเติบโต หรือหดตัว
คนทำทีมฟุตบอล ทำด้วยความรัก ทำด้วยหัวใจ เรื่องกำไร ขาดทุน เป็นเรื่องรอง ถ้าไม่ได้กำไร แต่ได้กำลังใจ ก็ยังพอยืนหยัดอยู่ได้ แต่ถ้าขาดทุนทั้งกำลังเงิน และกำลังใจ แฟนบอลไม่เข้าสนาม แล้วยังตามด่าในโลกโซเชียล แบบนี้เรียกว่าขาดทุนทั้งตัว และหัวใจ ไม่มีใครอยากทำต่อแน่ๆ
ผมจึงอยากขอเชิญชวนแฟนบอลไทย ที่บอกว่ารักฟุตบอลไทย อยากเห็นฟุตบอลไทยเติบโต เข้ามาชมฟุตบอลในสนามเถอะครับ เข้ามาช่วยกันสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน และสร้างความเติบโตให้ฟุตบอลไทย
ฟุตบอลไทยจะเติบโตไม่ได้เลย ถ้าไม่มีแฟนบอลอยู่ในสนามฟุตบอล
ไม่ว่าสมาคมฯ หรือ ไทยลีก จะมีผู้บริหารเก่งขนาดไหนก็ตาม แต่ “แฟนบอล” คือคนสำคัญที่สุดของวงการฟุตบอล
วันนี้ ขอเขียนถึงภาพรวมฟุตบอลไทย ด้วยความห่วงใย และต้องการให้กำลังใจคนทำทีม และผู้บริหารทุกๆ สโมสร
ผมบอกเพื่อนๆ คนทำทีมที่มาปรึกษากัน ว่า “ถ้าเราไม่ทิ้งทีม แฟนบอลจะไม่ทิ้งเรา”
ผมอยากจะบอกกับแฟนบอลทุกๆ สโมสร ว่าการเข้ามาชมฟุตบอลในสนาม คือการรักษาสโมสรฟุตบอลที่คุณรัก คุณชียร์ และเป็นการต่อลมหายใจให้ฟุตบอลไทย
“ถ้ารักฟุตบอลไทยจริง อย่าทิ้งฟุตบอลไทย”
เนวิน ชิดชอบ
วันที่ 27 กรกฎาคม 2561 - 16:28 น.
“บิ๊กเน” นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ออกมาเปิดใจร่ายยาวผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสโมสร BURIRAM UNITED ในเรื่องของวงการฟุตบอลลีกอาชีพของไทยว่า มีการเติบโต หรือ หดตัว ลงไป หลังจากกระแสความนิยมจากแฟนบอลเริ่มลดน้อยลงไปอย่างต่อเนื่อง และแฟนบอลที่เข้าชมเกมในสนามก็มีจำนวนลดลงไป รวมทั้งผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทยก็เริ่มถอดใจ และอาจจะยกเลิกการทำทีมไป
สำหรับข้อความระบุว่า “ฟุตบอลไทย เติบโต หรือหดตัว?”
“แฟนบอล คือ คำตอบ”
ในแวดวงผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทยในทุกลีก ตั้งแต่ T1 ถึง T4 ทุกคนมีคำถามอยู่ในใจ มีความห่วงใย และกังวลอยู่ในแววตา ว่า “ฟุตบอลไทย จะฝ่าวิกฤตแฟนบอลไม่เข้าสนาม ได้อย่างไร?”
แม้เราจะเป็นฟุตบอลอาชีพ สโมสรทุกสโมสร ในทุกลีก อีกสถานะหนึ่งก็คือ “บริษัท” ที่ต้องอยู่ได้ด้วยผลประกอบการที่มีกำไร แต่ในหัวใจคนทำทีม และผู้บริหารสโมสรฟุตบอลไทย มากกว่าร้อยละ 90 ทำด้วยหัวใจที่รักฟุตบอล มากกว่าหวังผลกำไรจากฟุตบอล หรือผลประโยชน์อื่นๆ
การลงทุนสร้างสโมสรฟุตบอลในไทยลีก ตั้งแต่ T1 ถึง T4 จำนวน 122 ทีม มีเม็ดเงินรวมกันมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในแต่ละปี และเป็นที่รับทราบกันว่าสโมสรเกือบทั้งหมด มีผลประกอบการขาดทุน ถ้าเป็นธุรกิจอื่นๆ คงเลิกกิจการกันไปมากกว่าครึ่งแล้ว
แต่สำหรับกิจการที่เรียกว่าฟุตบอลอาชีพ ผู้บริหารสโมสรทุกสโมสร ยังคงมีหัวใจสู้ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แม้จะขาดทุนและเจ็บปวดแค่ไหน ก็ยังสู้ และทำต่อไปด้วยความรัก ทั้งรักฟุตบอล รักบ้านเกิด และมีความหวังที่อยากเห็นฟุตบอลไทย เติบโต ก้าวหน้า ต่อไป
แต่วิกฤตแฟนบอลไม่เข้าสนาม เป็นสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจของคนทำทีม ผู้บริหารสโมสร และนักฟุตบอลมากที่สุด หากแฟนบอลหันหลังให้สนามฟุตบอล ไม่เข้ามาชมในสนาม ไม่มาให้กำลังใจ นักฟุตบอล ไม่มาส่งเสียงเชียร์ อีกไม่นาน ฟุตบอลไทยที่เราภาคภูมิใจ และดีใจว่ามีการเติบโตมากที่สุดในเอเชีย และเป็นลีกอันดับหนึ่งของอาเซียน ก็มีโอกาสที่จะร่วงหล่นลงมา เป็นลีกอันดับท้ายๆ ของเอเชียได้เหมือนในอดีต
เสียงเชียร์ เสียงตะโกนในสนาม และกำลังใจจากแฟนบอล ไม่ได้ให้กำลังใจนักฟุตบอลเท่านั้น แต่ยังเป็นกำลังใจ และเสียงเชียร์แก่ผู้บริหารสโมสร ให้มุ่งมั่น ตั้งใจทำทีมต่อไปอีกด้วย
วันนี้ หลายๆ สโมสร แม้หัวใจยังคิดสู้ แต่กำลังทรัพย์ที่ร่อยหรอ บางสโมสรมีความคิดเรื่องถอนทีมเพราะถอดใจ ผมได้ยินมาว่า จาก 122 ทีม ในปีนี้ อาจจะเหลือ 100 ทีม ในปีหน้า
นี่เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า ฟุตบอลไทย กำลังเติบโต หรือหดตัว
คนทำทีมฟุตบอล ทำด้วยความรัก ทำด้วยหัวใจ เรื่องกำไร ขาดทุน เป็นเรื่องรอง ถ้าไม่ได้กำไร แต่ได้กำลังใจ ก็ยังพอยืนหยัดอยู่ได้ แต่ถ้าขาดทุนทั้งกำลังเงิน และกำลังใจ แฟนบอลไม่เข้าสนาม แล้วยังตามด่าในโลกโซเชียล แบบนี้เรียกว่าขาดทุนทั้งตัว และหัวใจ ไม่มีใครอยากทำต่อแน่ๆ
ผมจึงอยากขอเชิญชวนแฟนบอลไทย ที่บอกว่ารักฟุตบอลไทย อยากเห็นฟุตบอลไทยเติบโต เข้ามาชมฟุตบอลในสนามเถอะครับ เข้ามาช่วยกันสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน และสร้างความเติบโตให้ฟุตบอลไทย
ฟุตบอลไทยจะเติบโตไม่ได้เลย ถ้าไม่มีแฟนบอลอยู่ในสนามฟุตบอล
ไม่ว่าสมาคมฯ หรือ ไทยลีก จะมีผู้บริหารเก่งขนาดไหนก็ตาม แต่ “แฟนบอล” คือคนสำคัญที่สุดของวงการฟุตบอล
วันนี้ ขอเขียนถึงภาพรวมฟุตบอลไทย ด้วยความห่วงใย และต้องการให้กำลังใจคนทำทีม และผู้บริหารทุกๆ สโมสร
ผมบอกเพื่อนๆ คนทำทีมที่มาปรึกษากัน ว่า “ถ้าเราไม่ทิ้งทีม แฟนบอลจะไม่ทิ้งเรา”
ผมอยากจะบอกกับแฟนบอลทุกๆ สโมสร ว่าการเข้ามาชมฟุตบอลในสนาม คือการรักษาสโมสรฟุตบอลที่คุณรัก คุณชียร์ และเป็นการต่อลมหายใจให้ฟุตบอลไทย
“ถ้ารักฟุตบอลไทยจริง อย่าทิ้งฟุตบอลไทย”
เนวิน ชิดชอบ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 8
“ไทยไฟท์” ปรับแผนเข้า SET “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” ยื่นไฟลิ่งปีนี้
06/01/2019IPO, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, ไทยไฟท์
ธุรกิจกีฬาสร้างสีสันตลาดหุ้นไทย “ไทยไฟท์” ปรับแผนนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) แทน mai ขอเวลา 1-2 ปี จัดโครงสร้าง เพิ่มรายได้ รุกธุรกิจคอมเพล็กซ์ ให้บริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจฟิตเน็ตแอนด์ยิม เสริมธุรกิจจัดการแข่งขันชกมวยไทย ส่วนสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของ”เนวิน” เตรียมตัวใกล้เสร็จแล้ว พร้อมซื้อขาย mai ทันปี 2562
แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยไฟท์ ผู้จัดการแข่งขันมวยไทย “ไทยไฟท์”(Thai Fight) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับแผนที่จะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ภายใน 1-2 ปีนี้ จากเดิมที่มีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ( mai) ภายในปี 2560 โดยจะมีการสร้างรายได้เพิ่ม จากการทำธุรกิจคอมเพล็กซ์ ซึ่งจะให้บริการด้าน ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และธุรกิจฟิตเน็ตแอนด์ยิม ขณะนี้มีการซื้อที่ดินบริเวณรัชดาภิเษกไว้รองรับแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้บริการเป็นแห่งแรก หากประสบความสำเร็จก็จะเปิดให้บริการที่อื่นๆต่อไป
“เราได้ปรับแผนการเข้าตลาด เพราะเดิมจะมี story ไม่มาก มีรายได้หลักมาจากธุรกิจจัดการแข่งขันชกมวยไทย ทำให้ความสนใจมีไม่มาก ดังนั้นจึงได้จัดทำแผนการทำธุรกิจคอมเพล็กซ์ขึ้นมา เพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น และรายได้ก็จะมีหลายทางอีกด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อเตรียมจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะว่าต้องการรอให้มีการลงทุนด้านคอมเพล็กซ์เสียก่อน และเมื่อมีรายได้ใหม่เข้ามา ก็จะทำให้มีความน่าสนใจในช่วงที่หุ้นเข้ามาจดทะเบียน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท และบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนเพื่อที่จะนำเงินไปลงทุนธุรกิจคอมเพล็กซ์
นายสมภพ กีระสุนทรษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน สโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คาดว่าจะยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ภายในปี 2562 ให้ได้ตามที่นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรได้วางเป้าหมายไว้ว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียน ในตลาด mai ภายในปีนี้ และจะเป็นสโมสรฟุตบอลแห่งแรกของไทยที่เข้าตลาดหุ้น ขณะนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมในต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชี การควบคุมภายใน ในส่วนใดที่จะต้องแก้ไขก็จะมีการหารือกับ ก.ล.ต.อย่างใกล้ชิด
“เราได้มีการเตรียมตัวมามากกว่า 2 ปีแล้ว ในการเตรียมการที่จะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้าตลาดหุ้น ความคืบหน้าในการเตรียมตัวขณะนี้มีมากกว่า 70%”นายสมภพ กล่าว
กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟืนันเซีย ไซรัส เชื่อว่าสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมื่อเข้ามาจดทะเบียนจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจ เนื่องจากธุรกิจกีฬาฟุตบอลเป็นธุรกิจที่เข้าใจง่าย และสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถือเป็นสโมสรฟุตบอลอันดับหนึ่งของประเทศ ขณะนี้มีรายได้จากการขายเสื้อฟุตบอล และยอดขายตั๋วฟุตบอลมากที่สุด
ก่อนหน้านี้ นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คาดว่าจะยื่นไฟลิ่งในไตรมาส 2/2562 ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท จะเพิ่มทุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อเข้าระดมทุนใน mai ส่วนวัตถุประสงค์ของการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพื่อทำให้ธุรกิจมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น บริษัทจะไม่ทำแค่สปอร์ตอย่างเดียว ต่อไปจะทำเป็น Sport Entertainment ตัวสเตเดียม สำหรับจัดเวิลด์คอนเสิร์ต สิ่งที่อยากทำอีกคือ แอดเวนเจอร์สปอร์ต และศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบำบัดสำหรับคนทั่วไป
“ปัจจุบันบริษัทต้องจ่ายภาษีให้แก่นักเตะที่ได้เงินเดือนด้วย ทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 1.5 เท่า เหนื่อยมาก แนวโน้มผลการดำเนินงานดีขึ้น ในปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 900 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 70 ล้านบาท ขาดทุนสะสมอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปี 2561 น่าจะมีกำไรประมาณ 50 ล้านบาท รายได้หลัก มาจากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลและของที่ระลึกสัดส่วนกว่า 40% รายได้จากค่าตั๋ว 20% ส่วนที่เหลือ 40% เป็นรายได้จากสปอนเซอร์ ค่าเช่าพื้นที่การจัดอีเวนต์ อื่น ๆ”นายเนวินกล่าว
06/01/2019IPO, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, ไทยไฟท์
ธุรกิจกีฬาสร้างสีสันตลาดหุ้นไทย “ไทยไฟท์” ปรับแผนนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) แทน mai ขอเวลา 1-2 ปี จัดโครงสร้าง เพิ่มรายได้ รุกธุรกิจคอมเพล็กซ์ ให้บริการร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจฟิตเน็ตแอนด์ยิม เสริมธุรกิจจัดการแข่งขันชกมวยไทย ส่วนสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของ”เนวิน” เตรียมตัวใกล้เสร็จแล้ว พร้อมซื้อขาย mai ทันปี 2562
แหล่งข่าวจากบริษัท ไทยไฟท์ ผู้จัดการแข่งขันมวยไทย “ไทยไฟท์”(Thai Fight) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับแผนที่จะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ภายใน 1-2 ปีนี้ จากเดิมที่มีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ( mai) ภายในปี 2560 โดยจะมีการสร้างรายได้เพิ่ม จากการทำธุรกิจคอมเพล็กซ์ ซึ่งจะให้บริการด้าน ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และธุรกิจฟิตเน็ตแอนด์ยิม ขณะนี้มีการซื้อที่ดินบริเวณรัชดาภิเษกไว้รองรับแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้บริการเป็นแห่งแรก หากประสบความสำเร็จก็จะเปิดให้บริการที่อื่นๆต่อไป
“เราได้ปรับแผนการเข้าตลาด เพราะเดิมจะมี story ไม่มาก มีรายได้หลักมาจากธุรกิจจัดการแข่งขันชกมวยไทย ทำให้ความสนใจมีไม่มาก ดังนั้นจึงได้จัดทำแผนการทำธุรกิจคอมเพล็กซ์ขึ้นมา เพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น และรายได้ก็จะมีหลายทางอีกด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อเตรียมจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะว่าต้องการรอให้มีการลงทุนด้านคอมเพล็กซ์เสียก่อน และเมื่อมีรายได้ใหม่เข้ามา ก็จะทำให้มีความน่าสนใจในช่วงที่หุ้นเข้ามาจดทะเบียน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท และบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนเพื่อที่จะนำเงินไปลงทุนธุรกิจคอมเพล็กซ์
นายสมภพ กีระสุนทรษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน สโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คาดว่าจะยื่นแบบไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ภายในปี 2562 ให้ได้ตามที่นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรได้วางเป้าหมายไว้ว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียน ในตลาด mai ภายในปีนี้ และจะเป็นสโมสรฟุตบอลแห่งแรกของไทยที่เข้าตลาดหุ้น ขณะนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมในต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชี การควบคุมภายใน ในส่วนใดที่จะต้องแก้ไขก็จะมีการหารือกับ ก.ล.ต.อย่างใกล้ชิด
“เราได้มีการเตรียมตัวมามากกว่า 2 ปีแล้ว ในการเตรียมการที่จะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้าตลาดหุ้น ความคืบหน้าในการเตรียมตัวขณะนี้มีมากกว่า 70%”นายสมภพ กล่าว
กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟืนันเซีย ไซรัส เชื่อว่าสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เมื่อเข้ามาจดทะเบียนจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจ เนื่องจากธุรกิจกีฬาฟุตบอลเป็นธุรกิจที่เข้าใจง่าย และสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถือเป็นสโมสรฟุตบอลอันดับหนึ่งของประเทศ ขณะนี้มีรายได้จากการขายเสื้อฟุตบอล และยอดขายตั๋วฟุตบอลมากที่สุด
ก่อนหน้านี้ นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คาดว่าจะยื่นไฟลิ่งในไตรมาส 2/2562 ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท จะเพิ่มทุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อเข้าระดมทุนใน mai ส่วนวัตถุประสงค์ของการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพื่อทำให้ธุรกิจมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น บริษัทจะไม่ทำแค่สปอร์ตอย่างเดียว ต่อไปจะทำเป็น Sport Entertainment ตัวสเตเดียม สำหรับจัดเวิลด์คอนเสิร์ต สิ่งที่อยากทำอีกคือ แอดเวนเจอร์สปอร์ต และศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบำบัดสำหรับคนทั่วไป
“ปัจจุบันบริษัทต้องจ่ายภาษีให้แก่นักเตะที่ได้เงินเดือนด้วย ทำให้ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 1.5 เท่า เหนื่อยมาก แนวโน้มผลการดำเนินงานดีขึ้น ในปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 900 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 70 ล้านบาท ขาดทุนสะสมอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปี 2561 น่าจะมีกำไรประมาณ 50 ล้านบาท รายได้หลัก มาจากการจำหน่ายเสื้อฟุตบอลและของที่ระลึกสัดส่วนกว่า 40% รายได้จากค่าตั๋ว 20% ส่วนที่เหลือ 40% เป็นรายได้จากสปอนเซอร์ ค่าเช่าพื้นที่การจัดอีเวนต์ อื่น ๆ”นายเนวินกล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 9
ก.ล.ต.เตรียมตรวจสอบ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" เข้าตลาดหลักทรัพย์
Thai PBS News
ก.ล.ต.เตรียมตรวจสอบ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" เข้าตลาดหลักทรัพย์
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.ยังไม่ได้รับเอกสาร หนังสือชี้ชวนและคำขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเน็ต แต่ตามขั้นตอนต้องตรวจสอบโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ผู้บริหารและการตรวจสอบภายในบริษัท รวมถึงระบบมาตรฐานทางบัญชี
หากธุรกิจสโมสรฟุตบอลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่มีข้อมูลเทียบเคียงกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน จึงต้องเข้มงวด โดยเฉพาะโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ให้กำหนดราคาหุ้นใหม่ หรือ ไอพีโอ เกินจริง
“ข้อมูลที่เขานำมาประกาศ มันเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง หรือมีโฆษณาเกินจริงหรือไม่ และข้อมูลเหล่านี้เพียงพอต่อการประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนหรือไม่ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด”
ก่อนหน้านี้เคยเกิดกรณีธุรกิจใหม่ที่เข้าตลาดหุ้น มีการนำเสนอข้อมูลชวนเชื่อ แต่หลังการซื้อขายวันแรก ราคากลับตกลงไปต่ำกว่าไอพีโอ จนกระทบนักลงทุนรายย่อยบางส่วน
Thai PBS News
ก.ล.ต.เตรียมตรวจสอบ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" เข้าตลาดหลักทรัพย์
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.ยังไม่ได้รับเอกสาร หนังสือชี้ชวนและคำขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเน็ต แต่ตามขั้นตอนต้องตรวจสอบโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ผู้บริหารและการตรวจสอบภายในบริษัท รวมถึงระบบมาตรฐานทางบัญชี
หากธุรกิจสโมสรฟุตบอลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่มีข้อมูลเทียบเคียงกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน จึงต้องเข้มงวด โดยเฉพาะโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ให้กำหนดราคาหุ้นใหม่ หรือ ไอพีโอ เกินจริง
“ข้อมูลที่เขานำมาประกาศ มันเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง หรือมีโฆษณาเกินจริงหรือไม่ และข้อมูลเหล่านี้เพียงพอต่อการประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนหรือไม่ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด”
ก่อนหน้านี้เคยเกิดกรณีธุรกิจใหม่ที่เข้าตลาดหุ้น มีการนำเสนอข้อมูลชวนเชื่อ แต่หลังการซื้อขายวันแรก ราคากลับตกลงไปต่ำกว่าไอพีโอ จนกระทบนักลงทุนรายย่อยบางส่วน
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 10
‘บุรีรัมย์’ชัดเจนจองทุกแชมป์ – ดันเข้าตลาดหุ้น-ลั่น ‘อีสปอร์ต+มวยไทย’ กระหึ่ม
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 - 14:27 น.
เมื่อวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก 6 สมัย เปิดตัว 26 พันธมิตรลูกหนัง ที่พร้อมจะร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้วงการลูกหนังไทย ทวงคืนทุกแชมป์กลับสู่ปราสาทสายฟ้า และไปให้ไกลกว่าเดิมในศึกเอซีแอล 2019 โดยการเปิดตัวผู้สนับสนุนมี นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร เป็นประธานแถลงพร้อมด้วยผู้ให้การสนับสนุนคับคั่้ง
โดยทีมแชมป์เก่า “ปราสาทสายฟ้า” ทำการเปิดตัวนักเตะที่จะใช้สู้ศึกฤดูกาล 2019 นำโดย สุเชาว์ นุชนุ่ม, จักรพันธ์ แก้วพรม, ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน, พรรษา เหมวิบูลย์, อันเดรส ตูเญซ, ศศลักษณ์ ไหประโคน, ฮาจิเมะ โฮโซไก, ศุภชัย ใจเด็ด, กรกช วิริยอุดมศิริ, ชิติพัทธ์ แทนกลาง, นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม, อภิวัฒน์ งั่วลำหิน, สุภโชค สารชาติ, ฮาเวียร์ ปาติญโญ, เลือง ซวน เชือง, โมดิโบ ไมกา, รัตนากร ใหม่คามิ, ยศพล เทียงดาห์, สเตฟาน ปัลลา, ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา, อิรฟาน ดอเลาะ และนักเตะใหม่ป้ายแดงที่เพิ่งลงเครื่อง และเดินทางมาสู่ถิ่นปราสาทสายฟ้า อย่าง เปโดร จูเนียร์ ดาวยิงชาวบราซิเลียน
นายเนวิน กล่าวว่า บุรีรัมย์พร้อมที่จะเป็นสโมสรแรกที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเราต้องการเป็นต้นแบบองค์กรธุรกิจกีฬามืออาชีพของประเทศที่พร้อมขยายธุรกิจให้เป็นมากกว่าการเป็นแค่สโมสรฟุตบอล ส่วนเรื่องของฟุตบอลนั้นแน่นอน ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา เราเปลี่ยนตัวซูเปอร์สตาร์ของทีม เรายิ่งประสบความสำเร็จ เราต้องการจะเป็นแชมป์ไทยลีก สมัยที่ 7 พร้อมกลับมาทวงแชมป์ช้าง เอฟเอคัพ ให้ได้ และรักษาแชมป์โตโยต้า ลีกคัพ ให้ได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นเราจะต้องไปไกลมากกว่าเดิมในฟุตบอลถ้วยเอเชีย อย่างศึกเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก
นายเนวิน กล่าวต่อว่า เวลานี้เราเป็นมากกว่าสโมสรฟุตบอล เราทำทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือต้องเอาทุกแชมป์อีสปอร์ต ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มาตั้งโชว์ที่สโมสรให้ได้ เราต้องทำความเข้าใจว่า ทุกวันนี้อีสปอร์ตมีคนติดตามกว่า 10 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้กว่า 30,000 ล้านบาท ต่อจากนี้เชื่อว่า อีสปอร์ต จะโตกว่า เอเชี่ยนเกมส์ หรือแม้แต่กีฬาโอลิมปิกเกมส์ด้วย ต้องบอกเลยว่าหากใครติดตาม จะเห็นได้ว่าในวันที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต ลงแข่งจะมีผู้ชมหลายหมื่นวิว
นายใหญ่ปราสาทสายฟ้า ยังกล่าวต่อว่า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จะเข้ามาช่วยยกระดับมวยไทย กีฬาประจำชาติของไทย ให้เข้าไปอยู่ในระดับโลก และพร้อมจะทำมวยไทยทั้งระบบให้ก้าวไปสู่ตลาดโลกให้ได้
“บุรีรัมย์ประกาศไว้ตรงนี้เลยว่า ฟุตบอล เราจะต้องคว้าแชมป์ให้ได้ทุกแชมป์ อีสปอร์ต เราจะต้องเป็นหนึ่ง มวยไทย จะต้องไปสู่ระดับโลก มอเตอร์สปอร์ต จะต้องก้าวหน้า และบุรีรัมย์ มาราธอน จะกลายมาเป็นมาราธอน ระดับบรอนด์รายการแรกของเมืองไทย”
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 - 14:27 น.
เมื่อวันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก 6 สมัย เปิดตัว 26 พันธมิตรลูกหนัง ที่พร้อมจะร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้วงการลูกหนังไทย ทวงคืนทุกแชมป์กลับสู่ปราสาทสายฟ้า และไปให้ไกลกว่าเดิมในศึกเอซีแอล 2019 โดยการเปิดตัวผู้สนับสนุนมี นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสร เป็นประธานแถลงพร้อมด้วยผู้ให้การสนับสนุนคับคั่้ง
โดยทีมแชมป์เก่า “ปราสาทสายฟ้า” ทำการเปิดตัวนักเตะที่จะใช้สู้ศึกฤดูกาล 2019 นำโดย สุเชาว์ นุชนุ่ม, จักรพันธ์ แก้วพรม, ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน, พรรษา เหมวิบูลย์, อันเดรส ตูเญซ, ศศลักษณ์ ไหประโคน, ฮาจิเมะ โฮโซไก, ศุภชัย ใจเด็ด, กรกช วิริยอุดมศิริ, ชิติพัทธ์ แทนกลาง, นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม, อภิวัฒน์ งั่วลำหิน, สุภโชค สารชาติ, ฮาเวียร์ ปาติญโญ, เลือง ซวน เชือง, โมดิโบ ไมกา, รัตนากร ใหม่คามิ, ยศพล เทียงดาห์, สเตฟาน ปัลลา, ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา, อิรฟาน ดอเลาะ และนักเตะใหม่ป้ายแดงที่เพิ่งลงเครื่อง และเดินทางมาสู่ถิ่นปราสาทสายฟ้า อย่าง เปโดร จูเนียร์ ดาวยิงชาวบราซิเลียน
นายเนวิน กล่าวว่า บุรีรัมย์พร้อมที่จะเป็นสโมสรแรกที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเราต้องการเป็นต้นแบบองค์กรธุรกิจกีฬามืออาชีพของประเทศที่พร้อมขยายธุรกิจให้เป็นมากกว่าการเป็นแค่สโมสรฟุตบอล ส่วนเรื่องของฟุตบอลนั้นแน่นอน ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา เราเปลี่ยนตัวซูเปอร์สตาร์ของทีม เรายิ่งประสบความสำเร็จ เราต้องการจะเป็นแชมป์ไทยลีก สมัยที่ 7 พร้อมกลับมาทวงแชมป์ช้าง เอฟเอคัพ ให้ได้ และรักษาแชมป์โตโยต้า ลีกคัพ ให้ได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นเราจะต้องไปไกลมากกว่าเดิมในฟุตบอลถ้วยเอเชีย อย่างศึกเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก
นายเนวิน กล่าวต่อว่า เวลานี้เราเป็นมากกว่าสโมสรฟุตบอล เราทำทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือต้องเอาทุกแชมป์อีสปอร์ต ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มาตั้งโชว์ที่สโมสรให้ได้ เราต้องทำความเข้าใจว่า ทุกวันนี้อีสปอร์ตมีคนติดตามกว่า 10 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้กว่า 30,000 ล้านบาท ต่อจากนี้เชื่อว่า อีสปอร์ต จะโตกว่า เอเชี่ยนเกมส์ หรือแม้แต่กีฬาโอลิมปิกเกมส์ด้วย ต้องบอกเลยว่าหากใครติดตาม จะเห็นได้ว่าในวันที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อีสปอร์ต ลงแข่งจะมีผู้ชมหลายหมื่นวิว
นายใหญ่ปราสาทสายฟ้า ยังกล่าวต่อว่า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จะเข้ามาช่วยยกระดับมวยไทย กีฬาประจำชาติของไทย ให้เข้าไปอยู่ในระดับโลก และพร้อมจะทำมวยไทยทั้งระบบให้ก้าวไปสู่ตลาดโลกให้ได้
“บุรีรัมย์ประกาศไว้ตรงนี้เลยว่า ฟุตบอล เราจะต้องคว้าแชมป์ให้ได้ทุกแชมป์ อีสปอร์ต เราจะต้องเป็นหนึ่ง มวยไทย จะต้องไปสู่ระดับโลก มอเตอร์สปอร์ต จะต้องก้าวหน้า และบุรีรัมย์ มาราธอน จะกลายมาเป็นมาราธอน ระดับบรอนด์รายการแรกของเมืองไทย”
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 11
Bali United กำลังจะเป็นสโมสรฟุตบอลแรกในอาเซียนที่ IPO ตั้งเป้าระดมทุน 657 ล้านบาท
03/03/2019
Bali United กำลังอาจกลายเป็นทีมฟุตบอลแรกในอาเซียนที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสโมสรตั้งเป้าที่จะระดมทุนอยู่ประมาณ 657 ล้านบาท
Bali United เตรียมเป็นสโมสรฟุตบอลแห่งแรกในอาเซียนที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าทีมฟุตบอลจากประเทศอินโดนีเซียรายนี้น่าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2 ที่กำลังจะถึงนี้ โดยเป้าในการระดมทุนจะอยู่ประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 657 ล้านบาท
ปัจจุบันทีม Bali United ได้อันดับ 11 อินโดนีเซียซูเปอร์ลีกในฤดูกาล 2018 ที่ผ่านมา Yabes Tanuri ซึ่งเป็น CEO ของสโมสรได้กล่าวว่าเม็ดเงินที่ระดมทุนได้จะนำไปเป็นเม็ดเงินหมุนเวียนสำหรับสโมสร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสโมสรต่อไป
ไม่ใช่เพียงแค่ทีม Bali United เพียงแค่นั้น สโมสร Persija Jakarta ก็เตรียมที่จะนำสโมสรมา IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์อินโตนีเซียอีกรายเช่นกัน ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2012-2013 สโมสรฟุตบอลหลายๆ แห่งในอินโดนีเซียก็เคยมีความคิดที่จะ IPO ในตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว แต่วงการฟุตบอลอินโดนีเซียประสบปัญหาความอื้อฉาว จนทำให้ FIFA ต้องแบนสโมสรในประเทศห้ามแข่งรายการต่างๆ ทำให้หลายๆ สโมสรต้องยกเลิกแผนดังกล่าว
การนำสโมสรฟุตบอลเข้ามา IPO ในตลาดหุ้น ถ้าเป็นในทวีปยุโรปแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติเสียด้วยซ้ำ ปัจจุบันเราจะเห็นสโมสรฟุตบอลในทวีปยุโรปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นปีศาจแดง Manchester United จากเกาะอังกฤษ Borussia Dortmund ทีมเสือเหลืองจากเยอรมัน หรือแม้แต่ทีมม้าลาย Juventus ก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน
ขณะที่สโมสรในไทยก็มีข่าวลือว่า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กำลังมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน ในอดีตที่ผ่านมาก็เคยมีข่าวลือว่าสโมสรฟุตบอล เมืองทอง ยูไนเต็ด ก็เคยมีแผนที่จะ IPO ไล่เลี่ยกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ด้วย
03/03/2019
Bali United กำลังอาจกลายเป็นทีมฟุตบอลแรกในอาเซียนที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสโมสรตั้งเป้าที่จะระดมทุนอยู่ประมาณ 657 ล้านบาท
Bali United เตรียมเป็นสโมสรฟุตบอลแห่งแรกในอาเซียนที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าทีมฟุตบอลจากประเทศอินโดนีเซียรายนี้น่าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไตรมาส 2 ที่กำลังจะถึงนี้ โดยเป้าในการระดมทุนจะอยู่ประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 657 ล้านบาท
ปัจจุบันทีม Bali United ได้อันดับ 11 อินโดนีเซียซูเปอร์ลีกในฤดูกาล 2018 ที่ผ่านมา Yabes Tanuri ซึ่งเป็น CEO ของสโมสรได้กล่าวว่าเม็ดเงินที่ระดมทุนได้จะนำไปเป็นเม็ดเงินหมุนเวียนสำหรับสโมสร เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสโมสรต่อไป
ไม่ใช่เพียงแค่ทีม Bali United เพียงแค่นั้น สโมสร Persija Jakarta ก็เตรียมที่จะนำสโมสรมา IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์อินโตนีเซียอีกรายเช่นกัน ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2012-2013 สโมสรฟุตบอลหลายๆ แห่งในอินโดนีเซียก็เคยมีความคิดที่จะ IPO ในตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว แต่วงการฟุตบอลอินโดนีเซียประสบปัญหาความอื้อฉาว จนทำให้ FIFA ต้องแบนสโมสรในประเทศห้ามแข่งรายการต่างๆ ทำให้หลายๆ สโมสรต้องยกเลิกแผนดังกล่าว
การนำสโมสรฟุตบอลเข้ามา IPO ในตลาดหุ้น ถ้าเป็นในทวีปยุโรปแล้วถือว่าเป็นเรื่องปกติเสียด้วยซ้ำ ปัจจุบันเราจะเห็นสโมสรฟุตบอลในทวีปยุโรปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นปีศาจแดง Manchester United จากเกาะอังกฤษ Borussia Dortmund ทีมเสือเหลืองจากเยอรมัน หรือแม้แต่ทีมม้าลาย Juventus ก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน
ขณะที่สโมสรในไทยก็มีข่าวลือว่า บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กำลังมีแผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน ในอดีตที่ผ่านมาก็เคยมีข่าวลือว่าสโมสรฟุตบอล เมืองทอง ยูไนเต็ด ก็เคยมีแผนที่จะ IPO ไล่เลี่ยกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 13
อุตสาหกรรมโตทุกปี! ทีมฟุตบอลไทยลีกทำรายได้ 3,000 ล้าน แต่กว่าครึ่ง “ขาดทุน”
“ฟุตบอล” ถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ทั่วโลก หลาย “ลีกดัง” ของต่างประเทศทำรายได้มหาศาลจากผู้ติดตามชมและธุรกิจขายลิขสิทธิ์ นักฟุตบอลดังระดับโลกเป็นหนึ่งในอาชีพที่สร้างรายได้สูงไม่แพ้อาชีพอื่นๆ
อุตสาหกรรมฟุตบอลไทย มีการเติบโตมาต่อเนื่องในแง่ของรายได้ ปี 2560 รายได้รวมของทีมฟุตบอลที่อยู่ใน “ไทยลีก” ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย ซึ่งมีข้อมูลงบการเงิน อยู่ที่ราว 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ราว 1,900 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
เมื่อดูรายได้ของทีมฟุตบอลกับอันดับผลงานในไทยลีกของแต่ละฤดูกาล พบว่า ทีมฟุตบอลที่ทำอันดับได้ดีมีแนวโน้มทำรายได้สูง รายได้ของทีมที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ในปี 2560 คิดเป็น 55% ของรายได้รวม
แต่โดยรวมทีมฟุตบอลในไทยลีก ยังคงมีผลประกอบการขาดทุน ปี 2560 มีกว่า 50% ของทีมฟุตบอลไทยไทยลีก “ขาดทุน” ขณะที่มูลค่า “นักฟุตบอลไทยลีก” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มักจะอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี จากการวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน พบว่า ปี 2562 มูลค่านักฟุตบอลชาวไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.3% ต่อปี
ส่วนมูลค่านักฟุตบอลชาวต่างชาติ (ไม่รวมชาติอาเซียน) ในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 แสนยูโร (ประมาณ 15.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.61 แสนยูโร (ประมาณ 12.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 25.1% ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างของมูลค่านักฟุตบอลไทยกับต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 3.6 เท่าในปี 2558 เป็น 3.9 เท่าในปี 2562
หากเปรียบเทียบกับระดับ “ที่สุดของโลก” ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลพบว่าไทยยังมีความแตกต่างอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นกำลังการรองรับจำนวนผู้ชมในสนาม จำนวนแฟนคลับของแต่ละทีม ที่ไทยยังตามหลังที่สุดของโลกอยู่ที่ 4 และ 47 เท่า ตามลำดับ
โดยเฉพาะเมื่อดูมูลค่าทีมและมูลค่านักฟุตบอลรายบุคคล ความแตกต่างจะเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว โดยมูลค่าทีมสูงที่สุดในไทยลีกห่างจากมูลค่าทีมสูงที่สุดในโลก 157 เท่า ด้านมูลค่านักฟุตบอล พบว่า มูลค่านักฟุตบอลแพงที่สุดในไทยห่างจากมูลค่านักฟุตบอลแพง
“ฟุตบอล” ถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ทั่วโลก หลาย “ลีกดัง” ของต่างประเทศทำรายได้มหาศาลจากผู้ติดตามชมและธุรกิจขายลิขสิทธิ์ นักฟุตบอลดังระดับโลกเป็นหนึ่งในอาชีพที่สร้างรายได้สูงไม่แพ้อาชีพอื่นๆ
อุตสาหกรรมฟุตบอลไทย มีการเติบโตมาต่อเนื่องในแง่ของรายได้ ปี 2560 รายได้รวมของทีมฟุตบอลที่อยู่ใน “ไทยลีก” ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย ซึ่งมีข้อมูลงบการเงิน อยู่ที่ราว 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ราว 1,900 ล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
เมื่อดูรายได้ของทีมฟุตบอลกับอันดับผลงานในไทยลีกของแต่ละฤดูกาล พบว่า ทีมฟุตบอลที่ทำอันดับได้ดีมีแนวโน้มทำรายได้สูง รายได้ของทีมที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ในปี 2560 คิดเป็น 55% ของรายได้รวม
แต่โดยรวมทีมฟุตบอลในไทยลีก ยังคงมีผลประกอบการขาดทุน ปี 2560 มีกว่า 50% ของทีมฟุตบอลไทยไทยลีก “ขาดทุน” ขณะที่มูลค่า “นักฟุตบอลไทยลีก” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มักจะอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี จากการวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน พบว่า ปี 2562 มูลค่านักฟุตบอลชาวไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.3% ต่อปี
ส่วนมูลค่านักฟุตบอลชาวต่างชาติ (ไม่รวมชาติอาเซียน) ในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 แสนยูโร (ประมาณ 15.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.61 แสนยูโร (ประมาณ 12.5 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 25.1% ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างของมูลค่านักฟุตบอลไทยกับต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 3.6 เท่าในปี 2558 เป็น 3.9 เท่าในปี 2562
หากเปรียบเทียบกับระดับ “ที่สุดของโลก” ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลพบว่าไทยยังมีความแตกต่างอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นกำลังการรองรับจำนวนผู้ชมในสนาม จำนวนแฟนคลับของแต่ละทีม ที่ไทยยังตามหลังที่สุดของโลกอยู่ที่ 4 และ 47 เท่า ตามลำดับ
โดยเฉพาะเมื่อดูมูลค่าทีมและมูลค่านักฟุตบอลรายบุคคล ความแตกต่างจะเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว โดยมูลค่าทีมสูงที่สุดในไทยลีกห่างจากมูลค่าทีมสูงที่สุดในโลก 157 เท่า ด้านมูลค่านักฟุตบอล พบว่า มูลค่านักฟุตบอลแพงที่สุดในไทยห่างจากมูลค่านักฟุตบอลแพง
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 14
“ทีมบอลไทยลีก”รายได้โตปีละ16.5% กว่าครึ่งขาดทุน
28/07/2019
“ทีมบอลไทยลีก” รายได้โต ปี 60 พุ่งแตะ 3 พันล้าน โต 16.5% แต่เมื่อเทียบค่าตัวห่างกับ ทีมท็อปบอลโลก ถึง 157 เท่า ด้านฐานแฟนคลับและผู้ชมในสนามยังรั้งท้าย ขณะที่แนวโน้มซื้อตัวนักเตะราคาแพงลดลง
ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจธนาคารไทยพาณิชย์(EIC : Economic Intelligence Center)วิเคราะห์สถานการณ์รายบริษัท “ทีมฟุตบอลที่อยู่ในไทยลีก” จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลสถิติเกี่ยวกับฟุตบอลจากเว็บไซต์ต่างๆ พบว่าในภาพรวม อุตสาหกรรมฟุตบอลไทยมีการเติบโตต่อเนื่องในแง่ของรายได้ โดยในปี 2560 รายได้รวมของทีมฟุตบอลที่อยู่ในไทยลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย (ที่มีข้อมูลงบการเงิน) อยู่ที่ราว 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่อยู่ที่ราว 1.9 พันล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
ทั้งนี้เมื่อสังเกตุ “รายได้ของทีม” กับ “อันดับในไทยลีก” แต่ละฤดูกาล พบว่า ทีมฟุตบอลที่ทำอันดับได้ดีมีแนวโน้มที่จะมีรายได้สูง โดยรายได้ของทีมที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ในปี 2560 คิดเป็น 55% ของรายได้รวมในปีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมทีมฟุตบอลในไทยลีกยังคงมีผลประกอบการขาดทุน โดยมีทีมฟุตบอลไทยในไทยลีกมากกว่าครึ่งที่ยังมีผลประกอบการขาดทุนในปี 2560
นักเตะท็อปฟอร์มค่าตัวท็อปตาม
ในส่วนของมูลค่านักฟุตบอลที่เล่นในไทยลีก พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมูลค่านักฟุตบอลชาวไทยในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.3% ต่อปี
ขณะที่มูลค่านักฟุตบอลชาวต่างชาติ (ไม่รวมชาติอาเซียน) ในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 แสนยูโร (ประมาณ 15.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.61 แสนยูโร (ประมาณ 12.5 ล้านบาท) คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 25.1% ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างของมูลค่านักฟุตบอลไทยกับต่างชาติจึงเพิ่มขึ้นจาก 3.6 เท่าในปี 2558 เป็น 3.9 เท่าในปี 2562
หากดูมูลค่านักฟุตบอลกับอันดับของทีม พบว่า โดยเฉลี่ยนักฟุตบอลที่มีราคาสูงมักอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี ซึ่งอาจมาจากหลายเหตุผล เช่น ทีมที่มีอันดับดีมีความสามารถทางการเงินสูงกว่าในการซื้อนักฟุตบอล , นักฟุตบอลที่มีราคาสูงมีความต้องการเล่นให้ทีมอันดับดี , ทีมอันดับดีนักฟุตบอลจึงมีผลงานส่วนตัวดีไปด้วยซึ่งส่งผลให้มูลค่าของนักฟุตบอลเพิ่มสูงขึ้น หรือ นักฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสามารถช่วยให้ทีมมีอันดับที่ดีได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยของการเลือกใช้นักฟุตบอลของทีมในไทยลีกมีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากที่ทีมมักจะมีนักฟุตบอลที่ค่าตัวแพงเกินกว่าผู้เล่นคนอื่นๆในทีม กลายมาเป็นลักษณะที่ทีมจะมีนักฟุตบอลที่มีค่าตัวใกล้เคียงกันมากขึ้นโดยเฉลี่ย
ส่วนหนึ่งอาจสะท้อนผลของการเปลี่ยนกฎการเพิ่มโควตานักฟุตบอลชาติอาเซียนในปี 2561 โดยนักฟุตบอลชาติอาเซียนมีมูลค่าต่ำกว่านักฟุตบอลต่างชาติที่ไม่ใช่อาเซียนและใกล้เคียงกับมูลค่านักฟุตบอลชาวไทย
“บอลไทยไปบอลโลก” อาจไกลเกินเอื้อม ทั้งผู้ชมและจำนวนแฟนคลับ
ทั้งนี้ ทีมและนักฟุตบอลในไทยลีกยังอยู่ห่างจากระดับโลก เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ “ที่สุดของโลก” ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลแล้วจะพบว่าไทยยังมีความแตกต่างอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกำลังการรองรับจำนวนผู้ชมในสนาม จำนวนแฟนคลับของแต่ละทีม ที่ไทยยังตามหลังที่สุดของโลกอยู่ที่ 4 และ 47 เท่า ตามลำดับ และโดยเฉพาะเมื่อพิจารณามูลค่าทีมและมูลค่านักฟุตบอลรายบุคคล ความแตกต่างจะเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว
มูลค่าทีมที่สูงที่สุดในไทยลีกห่างจากมูลค่าทีมที่สูงที่สุดในโลก 157 เท่า ขณะที่ ในด้านมูลค่านักฟุตบอล พบว่า มูลค่านักฟุตบอลที่แพงที่สุดในไทย ห่างจาก มูลค่านักฟุตบอลที่แพงที่สุดของโลกถึง 200 เท่า
28/07/2019
“ทีมบอลไทยลีก” รายได้โต ปี 60 พุ่งแตะ 3 พันล้าน โต 16.5% แต่เมื่อเทียบค่าตัวห่างกับ ทีมท็อปบอลโลก ถึง 157 เท่า ด้านฐานแฟนคลับและผู้ชมในสนามยังรั้งท้าย ขณะที่แนวโน้มซื้อตัวนักเตะราคาแพงลดลง
ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจธนาคารไทยพาณิชย์(EIC : Economic Intelligence Center)วิเคราะห์สถานการณ์รายบริษัท “ทีมฟุตบอลที่อยู่ในไทยลีก” จาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลสถิติเกี่ยวกับฟุตบอลจากเว็บไซต์ต่างๆ พบว่าในภาพรวม อุตสาหกรรมฟุตบอลไทยมีการเติบโตต่อเนื่องในแง่ของรายได้ โดยในปี 2560 รายได้รวมของทีมฟุตบอลที่อยู่ในไทยลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย (ที่มีข้อมูลงบการเงิน) อยู่ที่ราว 3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่อยู่ที่ราว 1.9 พันล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
ทั้งนี้เมื่อสังเกตุ “รายได้ของทีม” กับ “อันดับในไทยลีก” แต่ละฤดูกาล พบว่า ทีมฟุตบอลที่ทำอันดับได้ดีมีแนวโน้มที่จะมีรายได้สูง โดยรายได้ของทีมที่อยู่ใน 3 อันดับแรก ในปี 2560 คิดเป็น 55% ของรายได้รวมในปีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมทีมฟุตบอลในไทยลีกยังคงมีผลประกอบการขาดทุน โดยมีทีมฟุตบอลไทยในไทยลีกมากกว่าครึ่งที่ยังมีผลประกอบการขาดทุนในปี 2560
นักเตะท็อปฟอร์มค่าตัวท็อปตาม
ในส่วนของมูลค่านักฟุตบอลที่เล่นในไทยลีก พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมูลค่านักฟุตบอลชาวไทยในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16.3% ต่อปี
ขณะที่มูลค่านักฟุตบอลชาวต่างชาติ (ไม่รวมชาติอาเซียน) ในปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.52 แสนยูโร (ประมาณ 15.6 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่อยู่ที่ 3.61 แสนยูโร (ประมาณ 12.5 ล้านบาท) คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 25.1% ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างของมูลค่านักฟุตบอลไทยกับต่างชาติจึงเพิ่มขึ้นจาก 3.6 เท่าในปี 2558 เป็น 3.9 เท่าในปี 2562
หากดูมูลค่านักฟุตบอลกับอันดับของทีม พบว่า โดยเฉลี่ยนักฟุตบอลที่มีราคาสูงมักอยู่ในทีมที่มีอันดับในลีกดี ซึ่งอาจมาจากหลายเหตุผล เช่น ทีมที่มีอันดับดีมีความสามารถทางการเงินสูงกว่าในการซื้อนักฟุตบอล , นักฟุตบอลที่มีราคาสูงมีความต้องการเล่นให้ทีมอันดับดี , ทีมอันดับดีนักฟุตบอลจึงมีผลงานส่วนตัวดีไปด้วยซึ่งส่งผลให้มูลค่าของนักฟุตบอลเพิ่มสูงขึ้น หรือ นักฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงสามารถช่วยให้ทีมมีอันดับที่ดีได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยของการเลือกใช้นักฟุตบอลของทีมในไทยลีกมีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากที่ทีมมักจะมีนักฟุตบอลที่ค่าตัวแพงเกินกว่าผู้เล่นคนอื่นๆในทีม กลายมาเป็นลักษณะที่ทีมจะมีนักฟุตบอลที่มีค่าตัวใกล้เคียงกันมากขึ้นโดยเฉลี่ย
ส่วนหนึ่งอาจสะท้อนผลของการเปลี่ยนกฎการเพิ่มโควตานักฟุตบอลชาติอาเซียนในปี 2561 โดยนักฟุตบอลชาติอาเซียนมีมูลค่าต่ำกว่านักฟุตบอลต่างชาติที่ไม่ใช่อาเซียนและใกล้เคียงกับมูลค่านักฟุตบอลชาวไทย
“บอลไทยไปบอลโลก” อาจไกลเกินเอื้อม ทั้งผู้ชมและจำนวนแฟนคลับ
ทั้งนี้ ทีมและนักฟุตบอลในไทยลีกยังอยู่ห่างจากระดับโลก เมื่อเปรียบเทียบกับระดับ “ที่สุดของโลก” ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลแล้วจะพบว่าไทยยังมีความแตกต่างอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกำลังการรองรับจำนวนผู้ชมในสนาม จำนวนแฟนคลับของแต่ละทีม ที่ไทยยังตามหลังที่สุดของโลกอยู่ที่ 4 และ 47 เท่า ตามลำดับ และโดยเฉพาะเมื่อพิจารณามูลค่าทีมและมูลค่านักฟุตบอลรายบุคคล ความแตกต่างจะเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว
มูลค่าทีมที่สูงที่สุดในไทยลีกห่างจากมูลค่าทีมที่สูงที่สุดในโลก 157 เท่า ขณะที่ ในด้านมูลค่านักฟุตบอล พบว่า มูลค่านักฟุตบอลที่แพงที่สุดในไทย ห่างจาก มูลค่านักฟุตบอลที่แพงที่สุดของโลกถึง 200 เท่า
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 15
‘บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด’ โมเดลทำเงินจากธุรกิจกีฬา
โดย InveStory 17 มิถุนายน 2562
แน่นอนแล้วว่าภายในปีนี้ เราคงได้มีโอกาสเห็นสโมสรฟุตบอลบิ๊กเนมของไทยอย่าง “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” ยื่นไฟลิ่งเข้าระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และหากสำเร็จจะกลายเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรกของไทยและเอเชียที่เข้าตลาดหุ้น โดยมีการบริหารงานในรูปแบบบริษัทมหาชนอย่างเต็มตัว
จุดเริ่มต้นของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เกิดขึ้นด้วยการรวมตัวของ 2 ทีมฟุตบอล ในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ บุรีรัมย์ เอฟซี กับ บุรีรัมย์ พีอีเอ ของ ” เนวิน ชิดชอบ” โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการเป็นเบอร์ 1 ของวงการลูกหนังไทย และเป็นทีมชั้นนำในเอเชียให้ได้
ต้องยอมรับเลยว่าวันนี้ พวกเขาพิสูจน์ได้แล้วถึงเรื่องความสำเร็จในด้านฟุตบอล จนพูดได้เต็มปากว่า “เป็นทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในไทย”
คว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 6 สมัย, เอฟเอคัพ 4 สมัย, ลีกคัพ 5 สมัย, ถ้วยพระราชทาน ก. 4 สมัย, ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนส์ คัพ 1 สมัย, พรีเมียร์คัพ 1 สมัย และแม่โขง คลับ แชมเปียนชิพ 2 สมัย รวมถึงพาตัวเองโลดแล่นในระดับเอเชียได้แบบไม่อายใคร
ทว่าในแง่ธุรกิจ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็สามารถสร้างรายได้จากหลายส่วนด้วยกัน เช่น ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ตั๋วเข้าชมการแข่งขัน สินค้าที่ระลึก กำไรจากการซื้อ-ขายนักเตะ และเงินรางวัลการแข่งขัน
สำหรับผลประกอบการปีล่าสุด (2561) ของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด สามารถทำกำไรได้สำเร็จ โดยมีรายได้อยู่ที่ 404 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 12.16 ล้านบาท พลิกจากปี 2560 ที่ขาดทุนถึง 74.54 ล้านบาท เรียกว่าเป็นสัญญาณบวกสำคัญแรก เพื่อเตรียมเข้าสู่ตลาดหุ้นได้เลย ลบคำประมาทของหลายคนที่ว่า“ฟุตบอลไม่ใช่ธุรกิจที่ทำกำไร”
อาณาจักรธุรกิจที่ไม่ได้มีแค่ฟุบอล
วันนี้โมเดลธุรกิจของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไม่ได้มีแค่ฟุตบอล แต่เป็น “ธุรกิจกีฬาแบบครบวงจร” ที่มีทั้งสนามฟุตบอล มอเตอร์สปอร์ต มวยไทย อีสปอร์ต และต่อยอดไปถึงธุรกิจโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางมาชมเกมการแข่งขัน
1.สนามฟุตบอล Chang Arena – Burirum United
รังเหย้าของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ความจุกว่า 32,600 ที่นั่ง ถูกรับรองโดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ใช้จัดการแข่งขันระดับ FIFA ได้
ภายในสนามถูกออกแบบให้เป็น Community Mall มีร้านอาหารชื่อดังมากมาย พิพิธภัณฑ์ และวันที่ไม่มีแมตช์การแข่งขัน พื้นที่แห่งนี้ก็เต็มไปด้วยกิจกรรมกีฬาของชาวบุรีรัมย์ อาทิ บาสเกตบอล ฟุตซอล ตะกร้อ วอลเลย์บอล และกีฬาเอ็กซ์ตรีม
2.สนามแข่งรถ Chang International Circuit
เป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ เกรด 1 (FIA Grade 1) ความจุ 50,000 คน ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา ได้ทำการจัดแข่งขัน Moto GP 2018 มียอดผู้เข้าชมรวม 3 วันทะลุ 2 แสนคน
3.ทีมกีฬา E-Sport
กระแส E-Sport กลายเป็นธุรกิจที่สร้างการเติบโตอย่างสูงในตอนนี้ ล่าสุด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็ไม่พลาดโอกาสนี้ ด้วยการเปิดตัวทีม E-Sport สำหรับเกมฟุตบอล PES, RoV และ Dota 2
4.โรงแรม Amari Buriram United
โรงแรมหรูตกแต่งเอาใจคนรักฟุตบอล มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน สำหรับรองรับแฟนๆ ที่เดินทางมาชมเกมการแข่งขัน
5.ค่ายมวย Buriram Be Boxing
ค่ายมวยบริเวณสนามของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยมีอุปกรณ์ สถานที่ออกกำลังกาย และเทรนเนอร์แม่ไม้มวยไทยที่ครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่ง
6.แบรนด์เสื้อผ้า BE BALLIN
แบรนด์เสื้อผ้าของสโมสร สำหรับผลิตเสื้อแข่งขัน หรือเสื้อที่ระลึกของสะสมภายในร้านค้าสโมสร เพื่อเป็นแหล่งรายได้อีกทาง
ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เล่น กับอาณาจักร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แต่โจทย์สำคัญต่อไป เมื่อเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว คงหนีไม่พ้นการสร้างกำไรแบบยั้งยืนเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น ซึ่งคงต้องดูกันว่าพวกเขาจะทำได้ดี เหมือนการคว้าแชมป์ฟุตบอลหรือไม่
โดย InveStory 17 มิถุนายน 2562
แน่นอนแล้วว่าภายในปีนี้ เราคงได้มีโอกาสเห็นสโมสรฟุตบอลบิ๊กเนมของไทยอย่าง “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” ยื่นไฟลิ่งเข้าระดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และหากสำเร็จจะกลายเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรกของไทยและเอเชียที่เข้าตลาดหุ้น โดยมีการบริหารงานในรูปแบบบริษัทมหาชนอย่างเต็มตัว
จุดเริ่มต้นของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เกิดขึ้นด้วยการรวมตัวของ 2 ทีมฟุตบอล ในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ บุรีรัมย์ เอฟซี กับ บุรีรัมย์ พีอีเอ ของ ” เนวิน ชิดชอบ” โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการเป็นเบอร์ 1 ของวงการลูกหนังไทย และเป็นทีมชั้นนำในเอเชียให้ได้
ต้องยอมรับเลยว่าวันนี้ พวกเขาพิสูจน์ได้แล้วถึงเรื่องความสำเร็จในด้านฟุตบอล จนพูดได้เต็มปากว่า “เป็นทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในไทย”
คว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 6 สมัย, เอฟเอคัพ 4 สมัย, ลีกคัพ 5 สมัย, ถ้วยพระราชทาน ก. 4 สมัย, ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนส์ คัพ 1 สมัย, พรีเมียร์คัพ 1 สมัย และแม่โขง คลับ แชมเปียนชิพ 2 สมัย รวมถึงพาตัวเองโลดแล่นในระดับเอเชียได้แบบไม่อายใคร
ทว่าในแง่ธุรกิจ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็สามารถสร้างรายได้จากหลายส่วนด้วยกัน เช่น ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ตั๋วเข้าชมการแข่งขัน สินค้าที่ระลึก กำไรจากการซื้อ-ขายนักเตะ และเงินรางวัลการแข่งขัน
สำหรับผลประกอบการปีล่าสุด (2561) ของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด สามารถทำกำไรได้สำเร็จ โดยมีรายได้อยู่ที่ 404 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 12.16 ล้านบาท พลิกจากปี 2560 ที่ขาดทุนถึง 74.54 ล้านบาท เรียกว่าเป็นสัญญาณบวกสำคัญแรก เพื่อเตรียมเข้าสู่ตลาดหุ้นได้เลย ลบคำประมาทของหลายคนที่ว่า“ฟุตบอลไม่ใช่ธุรกิจที่ทำกำไร”
อาณาจักรธุรกิจที่ไม่ได้มีแค่ฟุบอล
วันนี้โมเดลธุรกิจของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไม่ได้มีแค่ฟุตบอล แต่เป็น “ธุรกิจกีฬาแบบครบวงจร” ที่มีทั้งสนามฟุตบอล มอเตอร์สปอร์ต มวยไทย อีสปอร์ต และต่อยอดไปถึงธุรกิจโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางมาชมเกมการแข่งขัน
1.สนามฟุตบอล Chang Arena – Burirum United
รังเหย้าของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ความจุกว่า 32,600 ที่นั่ง ถูกรับรองโดยสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ใช้จัดการแข่งขันระดับ FIFA ได้
ภายในสนามถูกออกแบบให้เป็น Community Mall มีร้านอาหารชื่อดังมากมาย พิพิธภัณฑ์ และวันที่ไม่มีแมตช์การแข่งขัน พื้นที่แห่งนี้ก็เต็มไปด้วยกิจกรรมกีฬาของชาวบุรีรัมย์ อาทิ บาสเกตบอล ฟุตซอล ตะกร้อ วอลเลย์บอล และกีฬาเอ็กซ์ตรีม
2.สนามแข่งรถ Chang International Circuit
เป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ เกรด 1 (FIA Grade 1) ความจุ 50,000 คน ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา ได้ทำการจัดแข่งขัน Moto GP 2018 มียอดผู้เข้าชมรวม 3 วันทะลุ 2 แสนคน
3.ทีมกีฬา E-Sport
กระแส E-Sport กลายเป็นธุรกิจที่สร้างการเติบโตอย่างสูงในตอนนี้ ล่าสุด บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ก็ไม่พลาดโอกาสนี้ ด้วยการเปิดตัวทีม E-Sport สำหรับเกมฟุตบอล PES, RoV และ Dota 2
4.โรงแรม Amari Buriram United
โรงแรมหรูตกแต่งเอาใจคนรักฟุตบอล มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน สำหรับรองรับแฟนๆ ที่เดินทางมาชมเกมการแข่งขัน
5.ค่ายมวย Buriram Be Boxing
ค่ายมวยบริเวณสนามของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยมีอุปกรณ์ สถานที่ออกกำลังกาย และเทรนเนอร์แม่ไม้มวยไทยที่ครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่ง
6.แบรนด์เสื้อผ้า BE BALLIN
แบรนด์เสื้อผ้าของสโมสร สำหรับผลิตเสื้อแข่งขัน หรือเสื้อที่ระลึกของสะสมภายในร้านค้าสโมสร เพื่อเป็นแหล่งรายได้อีกทาง
ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เล่น กับอาณาจักร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แต่โจทย์สำคัญต่อไป เมื่อเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว คงหนีไม่พ้นการสร้างกำไรแบบยั้งยืนเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น ซึ่งคงต้องดูกันว่าพวกเขาจะทำได้ดี เหมือนการคว้าแชมป์ฟุตบอลหรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 16
ไม่ใช่ยุคทองของไทยลีก แต่สโมสรฟุตบอลไทยรายได้ก็ไม่น้อยหน้า
.
กีฬาฟุตบอลถือได้ว่าเป็นกีฬาที่เป็นสากลที่สุดของโลก จากการเป็นกีฬาที่มีแฟนๆ ที่ดูกีฬาฟุตบอลมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก
.
ส่วนในประเทศไทย กีฬาฟุตบอลไทยลีก ในวันนี้แม้จะดูไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก
.
แถมยังเป็นช่วงที่ฟุตบอลลีกของไทยไม่ใช่อยู่ในยุคทอง จากทีมชาติไทยทำผลงานได้ไม่ดีนัก
.
แต่ฟุตบอลลีกของไทยก็คือว่าเป็นหนึ่งในกีฬาที่แฟนฟุตบอลชาวไทย ให้ความสนใจเช่นกัน
.
การแข่งขันไทยลีกในฤดูกาล 2561 5ทีมที่ได้อันดับไทยลีกได้แก่
1.บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2.ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
3.การท่าเรือ เอฟซี
4.เมืองทอง
5.เชียงราย ยูไนเต็ด
.
ส่วนฤดูกาล 2562 (22 กุมภาพันธ์ 2562 – 27 ตุลาคม 2562) อัพเดท 17 กันยายน 2562 พบว่า เชียงรายยูไนเต็ดเป็นทีมที่ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในปัจจุบัน ส่วนบุรีรัมย์ การท่าเรือ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด และเมืองทอง ยังคงเป็นรองด้วยอันดับ 2-3-4-5 ตามลงมา
.
แม้ฟุตบอลอันดับในปียังคงไม่นิ่ง
.
แต่เมื่อดูตัวเลขจากการทรวงพาณิชย์พบว่าในปี 2561 ทีมฟุตบอลไทย ที่มีรายได้สูงสุดได้แก่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด รองลงมาคือเมืองทองยูไนเต็ด และ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
-----
5 ทีมฟุตบอลไทย ที่มีรายได้สูงสุด
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
รายได้ 784.12 ล้านบาท กำไร 12.17 ล้านบาท
.
เมืองทองยูไนเต็ด
รายได้ 503.09 ล้านบาท กำไร 7.30 ล้านบาท
.
ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
รายได้ 302.09ล้านบาท ขาดทุน 199.79 ล้านบาท
.
การท่าเรือ เอฟซี
รายได้ 233.91 ล้านบาท กำไร 5.12 ล้านบาท
.
ราชบุรี เอฟซี
รายได้ 124.62 ล้านบาท กำไร 1.17 ล้านบาท
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รายได้ปี 2561
----
นอกจากนี้จากการรวบรวมข้อมูลของ EIC ยังพบว่ามูลค่ารายได้รวมของสโมสรใน “ไทยลีก” ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย มีรายได้รวมอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,900 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
.
สโมสรฟุตบอลไทย มีรายได้มาหลักมาจาก
.
1.แบรนด์สปอนเซอร์
.
รายได้ของสโมสรฟุตบอลต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุน ผ่าน Sport Marketing และ CSR อย่างเช่น เมืองทอง ยูไนเต็ด มีสปอนเซอร์หลักอย่าง SCG ที่เป็นแบรนด์ผู้สนับสนุนเมืองทอง ยูไนเต็ดมาตั้งแต่ปี 2555 ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนต่ออีก 5 ปี (2560-2565) ด้วยประมาณสนับสนุนรวม 600 ล้านบาท และสปอนเซอร์อื่นๆ อีกมากมาย
.
2.เสื้อเชียร์ และสินค้าที่ระลึก
.
สโมสรฟุตบอล ที่ได้รับความนิยมสูง จะมีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการขายเสื้อเชียร์ และสินค้าที่ระลึกในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้แฟหนคลับได้ซื้อใส่เชียร์ และซื้อเก็บเป็นที่ระลึกในฐานะ แฟนคลับตัวยง
.
สังเกตได้เลยว่าในช่วงที่ทีมสโมสรฟุตบอลทีมไหนอยู่ในช่วงขาขึ้น ร้านขายของที่ระลึกของสโมสรจะแน่นขนัดด้วยแฟนบอลมากเป็นพิเศษ
.
3.ตั๋วเข้าชมการแข่งขัน
.
รายได้ส่วนหนึ่งของสโมสรฟุตบอล มาจากการขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก โดยสนามเหย้า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม หรือช้างอารีนา ของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถือเป็นสนามฟุตบอลที่มีความจุมากถึง 35,000 ที่นั่งเลยทีเดียว
.
4.ซื้อขายนักเตะ
.
ธุรกิจซื้อ-ขายนักเตะของสโมสรเป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างรายได้ให้กับสโมสรฟุตบอลไทย โดยข้อมูลจาก EIC พบกว่าในปี 2562มูลค่านักฟุตบอลที่เล่นในไทยลีกมีมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น 16.3% ต่อปี
.
จากเฉลี่ย 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) ในปี 2558 เป็น 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) โดยเฉลี่ย
.
5.เช่าสนาม
.
นอกจากรายได้ที่กล่าวมาทั้งหมด สโมสรฟุตบอลไทยบางสโมสรยังมีรายได้จากการเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเช่าสนามสโมสรเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น แข่งขันบอลในองค์กร หรือการจัดคอนเสิร์ตและอื่นๆ
.
ทั้งนี้ แม้สโมสรฟุตบอลไทย ในปัจจุบัน จะมีเพียงไม่กี่ทีมที่ทำผลงานได้โดดเด่นจนเป็นที่หมายปองของผู้สนับสนุนและแฟนบอล แต่มาร์เก็ตเธียร์เชื่อว่า พลังแฟนบอลไทย และศักยภาพของนักฟุตบอลไทยสามารถไปไกลได้มากกว่านี้ แน่นอน
+++++++
Marketeer FYI
สโมสรฟุตบอลไทยจากทีมองค์กรสู่สโมสรฟุตบอล
.
ถ้าใครอายุเกิน 35 ปี อาจจะเคยได้ยินชื่อทีมฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์แห่ประเทศไทย และอื่นๆ ที่เป็นทีมฟุตบอลไทยในยุคแรก ที่มีการแข่งขันในรูปแบบนักฟุตบอลกึ่งอาชีพ และนักฟุตบอลอาชีพ
.
โดยในทีมฟุตบอลยุคนั้น เกิดจากการสนับสนุนขององค์กรต่างๆ ที่ทำโครงการ CRS ส่งเสริมสุขภาพของคนไทยผ่านกีฬา และเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนให้เกิดผลักดันให้เกิดการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทย
.
จนมาถึงยุคที่สโมสรฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีความต้องการที่จะยกระดับทีมฟุตบอลไทย และนักฟุตบอลไทย สู่ฟุตบอลอาชีพที่มีมาตรฐานสากล
.
ซึ่งหนึ่งในข้อกำหนดของการเป็นทีมฟุตบอลระดับอาชีพ คือสโมสรฟุตบอล ต้องจดทะเบียนสโมสรในรูปแบบบริษัท และการที่ต้องจดทะเบียนสโมสรขึ้นเป็นบริษัทนี้เองทำให้ผู้สนับสนุนเดิมๆ บางรายเริ่มมองว่ามีความยุ่งยาก และเริ่มมองว่าการส่งเสริมกีฬาฟุตบอลในรูปแบบบริษัทจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่สูงขึ้น
.
กีฬาฟุตบอลถือได้ว่าเป็นกีฬาที่เป็นสากลที่สุดของโลก จากการเป็นกีฬาที่มีแฟนๆ ที่ดูกีฬาฟุตบอลมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก
.
ส่วนในประเทศไทย กีฬาฟุตบอลไทยลีก ในวันนี้แม้จะดูไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก
.
แถมยังเป็นช่วงที่ฟุตบอลลีกของไทยไม่ใช่อยู่ในยุคทอง จากทีมชาติไทยทำผลงานได้ไม่ดีนัก
.
แต่ฟุตบอลลีกของไทยก็คือว่าเป็นหนึ่งในกีฬาที่แฟนฟุตบอลชาวไทย ให้ความสนใจเช่นกัน
.
การแข่งขันไทยลีกในฤดูกาล 2561 5ทีมที่ได้อันดับไทยลีกได้แก่
1.บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2.ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
3.การท่าเรือ เอฟซี
4.เมืองทอง
5.เชียงราย ยูไนเต็ด
.
ส่วนฤดูกาล 2562 (22 กุมภาพันธ์ 2562 – 27 ตุลาคม 2562) อัพเดท 17 กันยายน 2562 พบว่า เชียงรายยูไนเต็ดเป็นทีมที่ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในปัจจุบัน ส่วนบุรีรัมย์ การท่าเรือ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด และเมืองทอง ยังคงเป็นรองด้วยอันดับ 2-3-4-5 ตามลงมา
.
แม้ฟุตบอลอันดับในปียังคงไม่นิ่ง
.
แต่เมื่อดูตัวเลขจากการทรวงพาณิชย์พบว่าในปี 2561 ทีมฟุตบอลไทย ที่มีรายได้สูงสุดได้แก่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด รองลงมาคือเมืองทองยูไนเต็ด และ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
-----
5 ทีมฟุตบอลไทย ที่มีรายได้สูงสุด
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
รายได้ 784.12 ล้านบาท กำไร 12.17 ล้านบาท
.
เมืองทองยูไนเต็ด
รายได้ 503.09 ล้านบาท กำไร 7.30 ล้านบาท
.
ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
รายได้ 302.09ล้านบาท ขาดทุน 199.79 ล้านบาท
.
การท่าเรือ เอฟซี
รายได้ 233.91 ล้านบาท กำไร 5.12 ล้านบาท
.
ราชบุรี เอฟซี
รายได้ 124.62 ล้านบาท กำไร 1.17 ล้านบาท
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ รายได้ปี 2561
----
นอกจากนี้จากการรวบรวมข้อมูลของ EIC ยังพบว่ามูลค่ารายได้รวมของสโมสรใน “ไทยลีก” ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย มีรายได้รวมอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,900 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 16.5% ต่อปี
.
สโมสรฟุตบอลไทย มีรายได้มาหลักมาจาก
.
1.แบรนด์สปอนเซอร์
.
รายได้ของสโมสรฟุตบอลต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุน ผ่าน Sport Marketing และ CSR อย่างเช่น เมืองทอง ยูไนเต็ด มีสปอนเซอร์หลักอย่าง SCG ที่เป็นแบรนด์ผู้สนับสนุนเมืองทอง ยูไนเต็ดมาตั้งแต่ปี 2555 ได้เซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนต่ออีก 5 ปี (2560-2565) ด้วยประมาณสนับสนุนรวม 600 ล้านบาท และสปอนเซอร์อื่นๆ อีกมากมาย
.
2.เสื้อเชียร์ และสินค้าที่ระลึก
.
สโมสรฟุตบอล ที่ได้รับความนิยมสูง จะมีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการขายเสื้อเชียร์ และสินค้าที่ระลึกในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้แฟหนคลับได้ซื้อใส่เชียร์ และซื้อเก็บเป็นที่ระลึกในฐานะ แฟนคลับตัวยง
.
สังเกตได้เลยว่าในช่วงที่ทีมสโมสรฟุตบอลทีมไหนอยู่ในช่วงขาขึ้น ร้านขายของที่ระลึกของสโมสรจะแน่นขนัดด้วยแฟนบอลมากเป็นพิเศษ
.
3.ตั๋วเข้าชมการแข่งขัน
.
รายได้ส่วนหนึ่งของสโมสรฟุตบอล มาจากการขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก โดยสนามเหย้า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม หรือช้างอารีนา ของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถือเป็นสนามฟุตบอลที่มีความจุมากถึง 35,000 ที่นั่งเลยทีเดียว
.
4.ซื้อขายนักเตะ
.
ธุรกิจซื้อ-ขายนักเตะของสโมสรเป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างรายได้ให้กับสโมสรฟุตบอลไทย โดยข้อมูลจาก EIC พบกว่าในปี 2562มูลค่านักฟุตบอลที่เล่นในไทยลีกมีมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น 16.3% ต่อปี
.
จากเฉลี่ย 9.97 หมื่นยูโร (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) ในปี 2558 เป็น 1.16 แสนยูโร (ประมาณ 4 ล้านบาท) โดยเฉลี่ย
.
5.เช่าสนาม
.
นอกจากรายได้ที่กล่าวมาทั้งหมด สโมสรฟุตบอลไทยบางสโมสรยังมีรายได้จากการเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเช่าสนามสโมสรเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น แข่งขันบอลในองค์กร หรือการจัดคอนเสิร์ตและอื่นๆ
.
ทั้งนี้ แม้สโมสรฟุตบอลไทย ในปัจจุบัน จะมีเพียงไม่กี่ทีมที่ทำผลงานได้โดดเด่นจนเป็นที่หมายปองของผู้สนับสนุนและแฟนบอล แต่มาร์เก็ตเธียร์เชื่อว่า พลังแฟนบอลไทย และศักยภาพของนักฟุตบอลไทยสามารถไปไกลได้มากกว่านี้ แน่นอน
+++++++
Marketeer FYI
สโมสรฟุตบอลไทยจากทีมองค์กรสู่สโมสรฟุตบอล
.
ถ้าใครอายุเกิน 35 ปี อาจจะเคยได้ยินชื่อทีมฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์แห่ประเทศไทย และอื่นๆ ที่เป็นทีมฟุตบอลไทยในยุคแรก ที่มีการแข่งขันในรูปแบบนักฟุตบอลกึ่งอาชีพ และนักฟุตบอลอาชีพ
.
โดยในทีมฟุตบอลยุคนั้น เกิดจากการสนับสนุนขององค์กรต่างๆ ที่ทำโครงการ CRS ส่งเสริมสุขภาพของคนไทยผ่านกีฬา และเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนให้เกิดผลักดันให้เกิดการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทย
.
จนมาถึงยุคที่สโมสรฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีความต้องการที่จะยกระดับทีมฟุตบอลไทย และนักฟุตบอลไทย สู่ฟุตบอลอาชีพที่มีมาตรฐานสากล
.
ซึ่งหนึ่งในข้อกำหนดของการเป็นทีมฟุตบอลระดับอาชีพ คือสโมสรฟุตบอล ต้องจดทะเบียนสโมสรในรูปแบบบริษัท และการที่ต้องจดทะเบียนสโมสรขึ้นเป็นบริษัทนี้เองทำให้ผู้สนับสนุนเดิมๆ บางรายเริ่มมองว่ามีความยุ่งยาก และเริ่มมองว่าการส่งเสริมกีฬาฟุตบอลในรูปแบบบริษัทจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่สูงขึ้น
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IPO บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
โพสต์ที่ 17
ตกมาอยู่ที่2 ไทยพรีเมียร์ลีก คราวนี้ อาจจะต้องเลื่อนเข้าตลาดหุ้นด้วยไหม
บทสรุป"ไทยลีก"คนดูทะลุ1.3ล้าน "บุ๊ค"ยอดดาวยิงไทย
บทสรุปไทยลีก 2019 "เชียงราย" รับส่งท้าย 12 ล้านบาท "ดูมบูยา" ดาวยิง "เอกนิษฐ์" ซัลโวเยอะสุดแข้งไทย รับ 3 แสน ยอดผู้ชมทะลุ 1.3 ล้านคน อาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2562 เวลา 16.01 น.
บทสรุป\
ศึกฟุตบอลโตโยต้าไทยลีก 2019 ปิดฤดูกาลไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากกมสุดท้าย เมื่อ 26 ต.ค. สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด บุกชนะ สุพรรณบุรี เอฟซี 5-2 ส่วน บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกเสมอ เชียงใหม่ เอฟซี 1-1 ทำให้ สิงห์ เชียงราย กับ บุรีรัมย์ มี 58 แต้มเท่ากัน แต่ กว่างโซ้ง ผลการพบกัน(เฮดทูเฮด)ดีกว่า คว้าแชมป์ไปครองเป็นสมัยแรก เป็นทีมที่ 12 ที่ได้แชมป์ไทยลีก พร้อมสิทธิไปเล่นฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2020 รอบแบ่งกลุ่ม ขณะที่ บุรีรัมย์ ได้รองแชมป์ ไปเล่นบอลถ้วยเอเชีย เริ่มที่รอบเพลย์ออฟ
ทั้งนี้ สิงห์เชียงราย รับเงินรางวัลจากการเป็นแชมป์ 10 ล้านบาท รวมกับรางวัล "ไทย สไตรค์ แบ็ก" นักเตะไทยยิงรวมกันมากสุดใน 5 นัดสุดท้าย รวม 9 ประตูอีก 2 ล้านบาท รวมเป็น 12 ล้านบาท
ด้านทีมตกชั้น นอกจาก เชียงใหม่ เอฟซี กับ ชัยนาท ฮอร์นบิล ที่ร่วงไปก่อนแล้ว ทีมสุดท้ายคือ สุพรรณบุรี เอฟซี ซึ่ง สุพรรณฯ ยังรอลุ้นเฮือกสุดท้าย ในแนวทางของ พีทีที ระยอง ที่แถลงข่าววันจันทร์นี้ หาก พลังเพลิง พักทีมตามที่เป็นกระแส ก็มีโอกาสที่ สุพรรณบุรี จะได้สิทธิอยู่ไทยลีกต่อ
ดาวซัลโว ได้แก่ ลอนซานา ดูมบูยา จากตราด เอฟซี 20 ประตู โดย "บุ๊ค" เอกนิษฐ์ ปัญญา ดาวรุ่งวัยเพิ่งครบ 20 ปี ของกว่างโซ้ง ได้ดาวซัลโวคนไทย 10 ประตู รับเงิน 3 แสนบาท ฝั่ง เฮเบอร์ตี เฟอร์นานเดส ของ เอสซีจี เมืองทอง ได้แอสซิสต์สูงสุด 16 ครั้ง
ยอดผู้ชม 240 แมตช์ รวม 1,367,780 คน เฉลี่ยเกมละ 5,699 คน มากสุดใน 4 ปีหลัง แม้มีแมตช์น้อยลง โดยเกมที่แฟนบอลชมมากสุดคือ บุรีรัมย์-ท่าเรือ ที่ช้างอารีนา 32,538 คน
สรุปอันดับไทยลีก 2019 แชมป์ สิงห์ เชียงราย(10 ล้านบาท) 2.บุรีรัมย์(3 ล้านบาท) 3.การท่าเรือ(1.5ล้านบาท) 4.ทรูแบงค็อก(8 แสนบาท) 5.เมืองทอง(7 แสนบาท) 6.สมุทรปราการซิตี้(6 แสนบาท) 7.ชลบุรี(5 แสนบาท) 8.ราชบุรี(4 แสนบาท) 9.พีที ประจวบ 10.ตราด 11.พีทีที ระยอง 12.สุโขทัย 13.นครราชสีมา มาสด้า 14.สุพรรณบุรี 15.ชัยนาท 16.เชียงใหม่(3 อันดับสุดท้าย ตกไปไทยลีก 2)
บทสรุป"ไทยลีก"คนดูทะลุ1.3ล้าน "บุ๊ค"ยอดดาวยิงไทย
บทสรุปไทยลีก 2019 "เชียงราย" รับส่งท้าย 12 ล้านบาท "ดูมบูยา" ดาวยิง "เอกนิษฐ์" ซัลโวเยอะสุดแข้งไทย รับ 3 แสน ยอดผู้ชมทะลุ 1.3 ล้านคน อาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2562 เวลา 16.01 น.
บทสรุป\
ศึกฟุตบอลโตโยต้าไทยลีก 2019 ปิดฤดูกาลไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากกมสุดท้าย เมื่อ 26 ต.ค. สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด บุกชนะ สุพรรณบุรี เอฟซี 5-2 ส่วน บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกเสมอ เชียงใหม่ เอฟซี 1-1 ทำให้ สิงห์ เชียงราย กับ บุรีรัมย์ มี 58 แต้มเท่ากัน แต่ กว่างโซ้ง ผลการพบกัน(เฮดทูเฮด)ดีกว่า คว้าแชมป์ไปครองเป็นสมัยแรก เป็นทีมที่ 12 ที่ได้แชมป์ไทยลีก พร้อมสิทธิไปเล่นฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2020 รอบแบ่งกลุ่ม ขณะที่ บุรีรัมย์ ได้รองแชมป์ ไปเล่นบอลถ้วยเอเชีย เริ่มที่รอบเพลย์ออฟ
ทั้งนี้ สิงห์เชียงราย รับเงินรางวัลจากการเป็นแชมป์ 10 ล้านบาท รวมกับรางวัล "ไทย สไตรค์ แบ็ก" นักเตะไทยยิงรวมกันมากสุดใน 5 นัดสุดท้าย รวม 9 ประตูอีก 2 ล้านบาท รวมเป็น 12 ล้านบาท
ด้านทีมตกชั้น นอกจาก เชียงใหม่ เอฟซี กับ ชัยนาท ฮอร์นบิล ที่ร่วงไปก่อนแล้ว ทีมสุดท้ายคือ สุพรรณบุรี เอฟซี ซึ่ง สุพรรณฯ ยังรอลุ้นเฮือกสุดท้าย ในแนวทางของ พีทีที ระยอง ที่แถลงข่าววันจันทร์นี้ หาก พลังเพลิง พักทีมตามที่เป็นกระแส ก็มีโอกาสที่ สุพรรณบุรี จะได้สิทธิอยู่ไทยลีกต่อ
ดาวซัลโว ได้แก่ ลอนซานา ดูมบูยา จากตราด เอฟซี 20 ประตู โดย "บุ๊ค" เอกนิษฐ์ ปัญญา ดาวรุ่งวัยเพิ่งครบ 20 ปี ของกว่างโซ้ง ได้ดาวซัลโวคนไทย 10 ประตู รับเงิน 3 แสนบาท ฝั่ง เฮเบอร์ตี เฟอร์นานเดส ของ เอสซีจี เมืองทอง ได้แอสซิสต์สูงสุด 16 ครั้ง
ยอดผู้ชม 240 แมตช์ รวม 1,367,780 คน เฉลี่ยเกมละ 5,699 คน มากสุดใน 4 ปีหลัง แม้มีแมตช์น้อยลง โดยเกมที่แฟนบอลชมมากสุดคือ บุรีรัมย์-ท่าเรือ ที่ช้างอารีนา 32,538 คน
สรุปอันดับไทยลีก 2019 แชมป์ สิงห์ เชียงราย(10 ล้านบาท) 2.บุรีรัมย์(3 ล้านบาท) 3.การท่าเรือ(1.5ล้านบาท) 4.ทรูแบงค็อก(8 แสนบาท) 5.เมืองทอง(7 แสนบาท) 6.สมุทรปราการซิตี้(6 แสนบาท) 7.ชลบุรี(5 แสนบาท) 8.ราชบุรี(4 แสนบาท) 9.พีที ประจวบ 10.ตราด 11.พีทีที ระยอง 12.สุโขทัย 13.นครราชสีมา มาสด้า 14.สุพรรณบุรี 15.ชัยนาท 16.เชียงใหม่(3 อันดับสุดท้าย ตกไปไทยลีก 2)