MoneyTalk@SET10/6/2018
ช่วงที่ 1 “UPDATE หุ้นแด่น”
1. คุณ ปรียนาถ สุนทรวาทะ / CEO BGRIM
2. คุณ สุวิทย์ ยอดจรัส / CEO AUCT
3. คุณ ทรงพล ชัญมาตรกิจ / CEO TVD
4. คุณ ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ / CFO TPIPP
ผู้ดำเนินรายการ อ. เสน่ห์ ศรีสุวรรณ และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์
ธุรกิจที่ดำเนินการ
BGRIM
ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า SPP ในนิคมอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ขายให้ กฟผ.ที่เหลือให้ลูกค้าในนิคมฯ
มีโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว 32 โรง รวมแล้ว 2091 MW
เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม SPP 15 โรง 1954 MW,
โรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ลาว 1 โรง 20 MW, โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 15 โรง 114 MW,
โรงไฟฟ้าดีเซลเล็กๆ ที่เวียดนาม ลูกค้าร้อยกว่าราย
โรงไฟฟ้า SPP มีกำไรค่อนข้างนิ่ง ROE 18-25% มีสัมปทานกับกฟผ. 25 ปี
โดยทุกโรงงานจะมีสัญญาแบบนี้กับทางกฟผ.หรือรัฐบาล 20-25 ปี จึงมีความเสี่ยงต่ำ
บริษัทเข้า IPO เดือน ก.ค. 60 มีแผนงานถึงปี 65 ต้าเป้ามีโรงไฟฟ้า 53 โรง
มีสัญญาสร้างแล้วรวมเป็น 2938 MW (เพิ่มขึ้น 64%)
ขั้นตอนการสร้างโรงไฟฟ้าต้องขอ license ก่อน และร่วมหุ้นกับทางนิคมฯ แล้วทำ EIA และมีลูกค้ารองรับ
(มูลค่าลงทุนโรงไฟฟ้าSPP 5500-6000 ล้านบาทต่อโรง)
ลูกค้าอยู่ในอุตสาหกรรมหลักๆของประเทศ มีที่นิคมอมตะนคร 5 โรง,
อมตะซิตี้ระยอง 5 โรง, เหมราช 1 โรง, บางกะดี 2 โรง, แหลมฉบัง 2 โรง เป็น Exclusive right
ลูกค้าระดับโลก เช่น ยางบริดสโตน,มิชลิน,ดันล็อป โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นญี่ปุ่น
ประเด็นข่าวบริษัทที่จะไม่ได้สร้างโรงไฟฟ้า
คือ บริษัทมีแผนกำหนดสร้างโรงไฟฟ้าปี 64 ที่เซ็นไว้เรียบร้อยแล้ว เป็น SPP 2 ที่ราชบุรี
แต่นิคมอุตสาหกรรมที่ราชบุรีถูกยกเลิกนิโดนนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จึงต้องย้ายแผนสร้างโรงไฟฟ้าด้วย ซึ่งต้องตกลงกับกฟผ.ให้ชัดเจนว่าย้ายไปที่ไหนระบบส่งจึงรับได้
ซึ่งก็มีหลายทางเลือก เช่น นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย, นิคมอุตสาหกรรมที่อ่างทอง
น่าจะสรุปจบได้ใน 3 เดือนนี้
และมีอีกข่าวเรื่องโรงไฟฟ้าที่จะหมดอายุจะไม่ได้สร้างต่อก็ไม่จริง
บริษัทมีตกลงและมีมติ กฟช.แล้ว โดยทางรัฐมนตรีมีการทบทวน แผนการสร้างเดิม
ให้เป็นแบบ repowering ซึ่งทางเราก็เห็นด้วย จะทำให้เราขายถูกลง และลงทุนน้อยลง ขายได้อีก 10 ปี
TVD
บริษัททำธุรกิจ direct marketing คือทำการตลาดแบบตรงสู่ผู้บริโภค ขายผ่านสื่อทีวี call center online
จนเมื่อ3 ปีก่อน online ในไทยก็เข้าสู่จุดเปลี่ยน สำคัญ จึงแยกออกไปเรียกเป็นช่องทาง online marketing
เมื่อก่อนเราขายของผ่านสื่อทีวีเป็นหลัก ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและตอบรับได้รวดเร็วที่สุด
แต่ปัจจุบันเราเปลี่ยนมาใช้สื่ออะไรก็ได้ที่จะเข้าถึงผู้บริโภคแบบนี้ได้
โมเดลการการขายสินค้าทางทีวีของเราบางครั้งได้กำไรบางครั้งขาดทุน
แต่เราได้รายชื่อลูกค้ามา และให้เขาซื้อซ้ำ ซึ่งการซื้อครั้งที่ 2,3,4 ขึ้นไปจะทำให้เราได้กำไรยั่งยืน
ถ้าสินค้าหรือบริการไม่ดี ลูกค้าจะไม่ซื้อซ้ำ
บริษัทมีการปรับตัวอยู่ตลอด ตามความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อก่อนลูกค้ารอสินค้า 7 วันได้ สมัยนี้ต้องการสินค้าเร็ว
หลายปีก่อนคนดูทีวี กับคนดูหนังสือพิมม์ เป็นคนละคนกัน
แต่พอมีโทรศัพท์พัฒนาได้ดีขึ้น คนก็หันไปดูในโทรศัพท์ได้แทน
จาก Single channel ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็น Multi Channel
หรืออย่างหนังสือพิมพ์บางเรื่องก็มีคนเอามาอ่านในทีวีให้ฟังแทน
เกิดการเชื่อมโยงช่องทางมากขึ้น จึงต้องเปลี่ยนมาทำ Cross channel
และเมื่อ 3 ปีก่อน มี 3G เข้ามาทำให้การใช้งาน data เร็วขึ้น และคนไทยใช้งานมากขึ้น
ทำให้ยอดค้าปลีกของไทยพร้อมทำ online กันแล้ว จึงทำให้ผู้ขาย online มาประเทศไทยกันหมด
แต่ทั้งนี้บริษัทที่เข้ามาก็ไม่ได้จะรอดทุกราย จะคล้ายกันตอน Hypermarket เข้ามาประเทศไทย
ช่วงที่เข้ามาก็แข่งขันลดราคา,ตัดราคากัน จนทำให้ผู้บริโภคติดใจ จึงต้องรอดูกันต่อไปว่าใครจะรอด
ซึ่งเราก็ปรับตัวมาทำ Omni channel ต้องเลือกวิธีให้เหมาะสมกับช่องทาง
ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปสามารถดูสื่อไปพร้อมกันได้มากกว่า 1 อย่าง ดูทีวีไป อ่านไลน์ไป
เช่น ดูทีวีหรือคอลเซ็นเตอร์ต้องพูดเร็วๆคนไม่อยากรอ แต่สิ่งพิมพ์คนจะดูช้าๆค่อยๆดู
เราจึงให้บริการสินค้าทุกช่องทางให้ได้ประสบการณ์เดียวกัน ทั้งค้าปลีก,online, tv, call center
ปัจจุบัน TV ยังเป็นช่องทางหลักของรายได้ มีช่องเยอะขึ้น แต่ air time ก็แพงขึ้นมากเทียบกับคนดู
เมื่อก่อน 1 นาที มีคนดู 4 หมื่น แต่วันนี้ 1 นาที มีคนดูไม่ถึง 3 พัน แต่ราคาซื้อ air time ลดลงราว 50%
พอช่วงโฆษณาคนก็หันไปดูเฟซบุ๊ค (ประเทศไทยมีบัญชีเฟซบุ๊ค 49 ล้านคน)
สัดส่วนสินค้าเรามี health&beauty ไม่เยอะ เพราะเคยมีประสบการณ์ตอนปี 1999 สินค้ากวาวเครือ
ซึ่งมีผลทดสอบทางคลินิคและผลวิจัยว่าช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ขายได้ถล่มทลาย
จน อย.ออกมาบอกว่าใช้ไม่ได้ ทำให้กวาวเครือตายใน 2 วันเลย
บริษัทจึงพยายามไม่พึ่งพาสินค้าเด่นๆเพียงชนิดเดียว
เรามีสินค้าที่นำเข้า,สั่งผลิตเอง และซื้อมาขายไป อย่างช่วงนี้เรามีสินค้า big vision, portable toilet
ซึ่งเป็นสินค้าที่บริษัทพัฒนา ต้องทดสอบจนมั่นใจแล้วจึงนำมาขาย
ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราอยากลุยสินค้า Health&beauty มากขึ้น
เห็นช่องอื่นทำได้ เช่น ถังเช่า,เห็นหลินจือ อยู่ได้พักนึงพอมีปัญหา magic skin ขึ้นมา ก็หายกันไปหมด
จึงมี slot ว่าง ก็เป็นโอกาสของเราในการเข้าไปขายสินค้า แต่ก็แนะนำอย่างระมัดระวังเพราะเป็นบริษัทมหาชน
สินค้าของบริษัทมีกระบวนการให้ทดลองใช้ ซึ่งผลตอบรับก็มีอัตราสั่งซื้อที่ดี
TPIPP
ธุรกิจเป็นบริษัท Waste to energy(ขยะสู่พลังงาน) ที่ใหญ่สุดในไทยและอาเซียน
บริษัทมี 2 ธุรกิจ คือ สถานีบริการน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ แต่ไม่มีนโยบายขยายในธุรกิจนี้
โดยแผนการเติบโตจะอยู่ในธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งหมด
ปัจจุบันบริษัทมีโรงไฟฟ้ามี 6 โรง 220 MW ลูกค้าหลัก 2 รายคือ
บริษัทแม่ TPIPL ขายในราคาเดียวกับ กฟผ. อยู่ที่ 2.9-3.0 บาท (ราคาเปลี่ยนทุก 4 เดือน)
และลูกค้าอีกรายคือ EGAT 2.9-3 บาท + Adder 3.5 บาท ซึ่งสูงกว่าที่ขายให้บริษัทแม่
สัดส่วนกายขายให้ TPIPL 40 MW ขายให้ EGAT 180 MW
โดยเงื่อนไขที่ขายให้ EGAT คือต้องใช้ RDF 75% ในรอบปี และใช้เชื้อเพลิงเสริมไม่เกิน 25% ในรอบปี
ซึ่งอีก 40 MW ไม่สามารถทำได้ติดที่ RDF และรัฐยังไม่ได้เปิดให้ประมูลเพิ่ม
แผนที่กำลังดำเนินการ
โรงไฟฟ้าที่ 7 ถ่านหิน 70 MW อยู่ระหว่างเข้าบอร์ด กฟพ. คาดว่าจะจบภายในไตรมาส 2
หรืออย่างช้า COD ได้สัปดาห์ที่1 ของไตรมาส 3
โรงไฟฟ้าที่ 8 ถ่านหิน 150 MW ดำเนินการประชาพิจารณ์รอบ4 เมื่อ 22 พ.ค.61 เรียบร้อย
โดยกฟพ. กำลังดำเนินการต่อตามขั้นตอน น่าจะ 2 เดือน เสร็จปลายเดือน 7 ถึงสัปดาห์แรกเดือน 8
ความแตกต่างของเรากับที่อื่น คือ เรามีโรง RDF เอาขยะเข้ามาแล้วใส่แล้วค่อยนำไปผลิตไฟฟ้า
แต่ที่อื่นจะมีปัญหา ความชื้นสูง,คุณภาพขยะ และองค์ประกอบต่างๆไม่พร้อมที่จะเผาตรง
และอีกเรื่องหนึ่งเราเริ่มมี model ธุรกิจใหม่ โดยไปคุยกับบ่อขยะ โดยตั้งโรงคัดแยกเบื้องต้น
เลือกบ่อขยะที่มีศักยภาพมีปริมาณมาก และให้ส่งขยะมาที่เราอย่างเดียว
ทำให้เราสามารถมั่นใจว่ามีวัตถุดิบเข้าการผลิต
,มีต้นทุนในการดำเนินการต่ำลง และได้ค่าเช่าเครื่องจักรจากทางบ่อขยะด้วย คืนทุนได้ 2-3 ปีต่อโรงคัดแยก
วัตถุดิบขยะ มี 2 ส่วน จากเทศบาลส่วนใหญ่จะฟรี ไม่มีเครื่องคัดแยก ขนและส่งมาเลย
สำหรับเอกชนเราแนะนำให้ติดเครื่องคัดแยกขยะ แล้วค่อยส่งมาที่เราซึ่งจะเปียกและหนักขนส่งได้น้อย
จำนวนขนส่งต่อเที่ยวได้มาก และคุ้มค่าสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
ค่าความร้อนเกิน 2500 Kcal จะจ่ายเงินให้ แต่ถ้าต่ำกว่า 2500 Kcal จะไม่จ่ายเงิน
การวัดค่าความร้อนของขยะ จะใช้วิธีสุ่ม 4-5 จุด แล้วนำไปวัดค่าใน Lab
ขยะอิเลคทรอนิกส์ หรือของแปลกปลอมถ้าเกิน 0.1% จะหักราคา ถ้าเกิน 0.2% จะ reject ไม่รับวัตถุดิบ
ประเด็นความเพียงพอของวัตถุดิบ
โรงที่ 7,8 เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นหลัก ขายให้ TPIPL บริษัทแม่ และบริษัทก็ซื้อวัตถุดิบจาก TPIPL ด้วย
โดย TPIPL อยู่ในธุรกิจถ่านหินมากว่า 25 ปี ไม่น่ามีปัญหาในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามเราสามารถซื้อถ่านหินจากบริษัทแม่หรือผู้ขายรายอื่นก็ได้ขึ้นกับราคา
ส่วนโรงเดิม(1-6) มี model ธุรกิจที่บริษัทจองขยะไว้สำหรับทั้ง 6 โรงแล้ว
สำหรับ โรง 7 สามารถผลิตได้ทั้งถ่านหินและ RDF ซึ่งสามารถสำรองในการผลิต RDF
ได้ถ้าหากโรง 5,6 มีปัญหาจะไม่เสียโอกาสขายให้ EGAT
ประเด็นด้านการประท้วงการทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน ว่าจะสร้างมลภาวะ แต่มักไม่ใช่คนในท้องที่มาประท้วง
สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทที่สร้างที่สระบุรีไม่น่ามีปัญหาเพราะคนเข้าใจว่ามีถ่านหินที่สะอาด
และบริษัทที่อยู่โดยรอบก็มีธรรมาภิบาล รวมถึงบริษัทก็มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมขน
AUCT
ธุรกิจประมูลรถ เป็นกลางน้ำของสินเชื่อรถยนต์
90% ของการซื้อขายรถในไทยต้องผ่านธุรกิจสินเชื่อ และมีหนี้เสียประมาณ 2%
โดยสหการประมูลอยู่ตรงกลางเมื่อมีหนี้เสียแล้วไฟแนนซ์จะบริหารหนี้เสียต่อ
และเต๊นท์รถมือสองก็เป็นผู้รับซื้อมาขายต่อ 95% เป็นลูกค้าสหการประมูล
ผู้ขายอยากขายราคาสูงสุด ผู้ซื้ออยากซื้อราคาต่ำสุด
บริษัทจึงต้องมีธรรมมาภิบาล ถึงจะเป็นตัวกลางในห่วงโซ่อุปทานได้
ตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์มากำไรช่วงที่ผ่านมาย่อตัวลง โดยปี 61 ไตรมาสแรกก็ฟื้นกลับมา
บริษัทเปิดมา 27 ปี อุตสาหกรรมมีดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่บริษัทไม่เคยขาดทุน
Platform ของสหการประมูล
1.เราไม่มีที่ดินของตัวเอง ข้อเสียจึงไม่มีกำไรจากที่ดิน แต่ข้อดีคือเราไม่มีภาระ
เนื่องจากเราต้องใช้ที่เยอะมาก ต้องจอดรถปีละ 3 หมื่นคัน ถ้าหากซื้อที่วันนี้ไม่รวยก็อาจเจ๊งได้
2. เราไม่มี stock รถยนต์ 5-8 หมื่นคัน มอเตอร์ไซค์เป็นแสนคัน
3. เราไม่มีดอกเบี้ย ถ้าดู ROE,ROA จะเห็นว่าใช้ได้
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจต้นน้ำไม่ได้ขายน้อยลง แต่เป็นความรู้สึกผู้บริโภค
และผลกระทบจากกฏหมายบางข้อเกี่ยวที่ควบคุมการยึดรถผ่านขั้นตอนมากขึ้น
รวมถึง บริษัทที่ส่งรถให้มีเทคนิคบริหารหนี้ไม่ให้เสียที่ปีใดปีหนึ่ง จึงทำให้มีรถเข้ามาน้อยลง
ปลายปีที่แล้วเริ่มมี stock เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเทียบกับ 2 ปีก่อน
ซึ่งบริษัทมองว่าคนสมัครใจที่จะยอมโดนยึด เพราะติดหนี้แล้วจะมีปัญหาในเครดิตบูโร และก็ใช้รถมาสองสามปีแล้ว
ถ้าคืนรถและหักหนี้ไปได้เยอะ เป็นความลงตัวของลูกหนี้กับเจ้าหนี้
เมื่อสองปีก่อน รถไหลเข้าก็รถไหลออกบริษัทใกล้เคียงกัน แต่วันนี้รถไหลเข้ามากกว่ายอดประมูล
คาดว่าในไตรมาส 3-4 ไปจะมีการประมูลสูงขึ้นทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์
ที่จริง มอเตอร์ไซค์มีการเคลื่อนไหวมาก่อนรถยนต์แล้ว น่าจะ 8-10 เดือนก่อน
แต่รถยนต์เพิ่งจะเริ่มมาเมื่อ 4 เดือนก่อน
รายได้บริษัท ได้จากรถยนต์ คันละ 8 พันบาท, จักรยานยนต์ได้คันละ 1.5 พันบาท
ซึ่งรายได้มาจากการประมูลออก แต่ไม่ได้เงินจากรถเข้า
ต่อไปถ้ารถยนต์ราคาลดลงไประดับหนึ่ง ผู้บริโภคก็จะเปลี่ยนพฤติกรรม
เช่น คนอินเดียที่เปลี่ยนจากมอเตอร์ไซค์ เป็นรถซิตี้คาร์ของทาทา
3 ปีที่ผ่านมาเราก้าวไปหาตลาด end user ซึ่งพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงเร็ว
และต้องเข้าถึงใจเขาจริงๆ ต้องมีบริการรองรับ
ที่ผ่านมาเราปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อบริการลุกค้ารายย่อย
การซื้อรถมือสอง ต้องหาเพื่อนช่วยเชค บริษัทมีการตั้งสถาบันตรวจสอบรถยนต์
รายได้บริษัทจะไม่ได้มาจาก ค่าขนย้ายรถยนต์ ค่าตรวจสอบคุณภาพ ค่าปรับปรุงคุณภาพ
รายได้ธุรกรรมการประมูลต่อไปจะลดลง แต่บริษัทเพิ่มรายได้การบริการ
ต่อไป บริษัทจะมีสถาบันที่จัด event รายใหญ่เข้ามาให้การันตีรถยนต์ให้
end user จะสามารถเข้าประมูลผ่าน online ได้ที่เห็นแต่ภาพรถยนต์หรือข้อมูล
ซึ่งจะเป็นภาระบริษัทเพิ่ม แต่ก็เป็นโอกาสในการขาย
รถยนต์ขายปีละล้านคัน ต่างประเทศใช้รถ 3-5 ปี แต่บ้านเราใช้ 10 ปี
สมมติมองว่าใช้รถยนต์ต่อ 5 ปี แสดงว่ามีรถให้จับ 5 ล้านคัน
ถ้าขอแค่ 2 ล้านคัน และได้มา 4% จากตรงนั้นรายได้บริษัทก็จะเพิ่มสามเท่าจากวันนี้
นอกจากประมูลรถยนต์ มีรายได้จากประมูลอย่างอื่น 4% เช่น ประมูล 4G,ประมูลเลขสวย,ประมูลให้หน่วยงานรัฐ
เช่น ปปส. ฯลฯ นอกจากมี technology แล้วต้องมีธรรมาภิบาลจึงจัด
ผลดำเนินงานไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มข้างหน้า
BGRIM
4 ปีข้างหน้า 2938 MW เติบโต 64% โดยระหว่างนี้ก็ยังมีเพิ่มเติม เช่น เซ็นสัญญา 420 MW
เป็นโซลาร์เวียดนามเพราะเรามี connection ที่แข็งแรงกับ partner และอาจจะมีอีก 600 MW
เป้าหมายในอีก 4 ปีข้างหน้าคือ 5,000 MW
รายได้ของเรา SPP 90% Renewable 10% โดยกำลังขยาย renewable มากขึ้น เป้าหมายคือ 70:30
รายได้จะเติบโตตามจำนวนโรงไฟฟ้าและจำนวน MW ที่เพิ่มขึ้น
รายได้ปี 60 3.1 หมื่นล้าน ปี 61 ไตรมาส 1 8 พันกว่าล้าน โดยกำไรเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน
เป็นไปตามแผนและเป้าหมายทั้งหมด จึงมั่นใจเราเป็นหุ้นพื้นฐานในระยะยาว
อัตรากำไร renewable แสงแดดแข่งขันกันสูง ขณะเดียวกัน 18-25% แต่ Solar จะได้ 12-15%
ซึ่งขยายไปเวียดนามเพราะ ได้ Tariff ที่สูง และเพิ่งเปิดช่วงแรก จึงเป็นโอกาสของเรา
และเรามีพันธมิตรเป็นยักษ์ใหญ่ของจีน Energy china และ Power china
ซึ่งเขาต้องการทำแค่ turn key contractor แต่ถ้าจะถือหุ้นเขาต้องไปขออนุมัติพรรคคอมมิวนิสต์อะไรต่างๆ
ที่ผ่านมาการลงทุนของเราอยู่ใน Budget และ ประสิทธิภาพสูงกว่าที่คาดทั้งหมด
ความท้าทายธุรกิจ มี disruptive change การเข้ามาของ solar roof top และ renewable เพราะต้นทุนลดลงเร็ว
เราจึงต้องมีการปรับตัว ไม่ได้ทำแค่ conventional มีทำ solar และ renewable
ตอนนี้ได้สัญญาในมืออีก 70 MW ที่ยังไม่ได้ประกาศ และยังมีโครงการใหญ่ที่กำลังตามมา
การเข้ามาของ Solar roof top เป็นอุปสรรคสำหรับบริษัท
ถ้าหากลูกค้าอยากติดตั้งโดยยังไม่มี battery, energy storage จะส่งผลกระทบกับเรา
เนื่องพวกระบบส่ง distribution network ที่ใช้งานบริษัทเป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าของเอง
แต่ตอนนี้ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากลูกค้าเป็น high technology
การประหยัดไฟจาก solar roof top ไม่สำคัญ เท่ากับจ่ายไฟฟ้ามีประสิทธิภาพได้นิ่งๆ
SPP เป็น must run ถึงแม้ไฟฟ้าจะเกิน แต่ EGAT ก็ต้องซื้อตามสัญญา ได้ทั้ง capacity charge, energy charge
ไม่เหมือน IPP โรงใหญ่อาจไม่ซื้อแล้วได้รับแต่ capacity charge
เรื่องปริมาณวัตถุดิบแก๊สไม่มีความเสี่ยง แก๊สต้องผสมกับ LNG อยู่แล้ว ซึ่งมีแหล่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลก
เทคโนโลยีการขนส่ง การเปลี่ยนจากแก๊สเหลวให้เป็นไอ ถูกลงและมีประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ แก๊สจึงไม่มีทางหมดไป
TVD
ปี 2016 ไตรมาสสุดท้ายมีเหตุการณ์พิเศษ โฆษณาไม่ได้ 2 เดือน ติดลบเกือบ 60 ล้านได้
ซึ่งกระทบต่อมาถึงปี 2017 ที่ยังมีควบคุมที่ทำไม่ได้หลายเรื่อง
จนปลายปีที่ผ่อนรถคันแรกหมด กำลังซื้อน่าจะกลับมา ซึ่งผลคือกลับมาในไตรมาส 4
ประเทศไทยมีความหลากหลาย เราเกิด Fragmentation คือ ทุกคนกำลังแตกตัว
สมัยก่อน เพศแยกหญิงชาย ต่อมามีเพศสภาพ,
เพศทางเลือก ก็มีเกย์,ทอม,ดี้ และแค่เกย์อย่างเดียวก็มีแยกอีก 4 อย่าง
หรือในทางสากลก็แยกอีกถึง 26 เพศสภาพ จึงมี segment ต่างๆที่หลากหลายขึ้น
เช่น ทำเครื่องสำอางค์ ครีม 1 ตัว ทำขายคนอายุ 20,30,40,50 ก็ต้องมีส่วนผสมไม่เหมือนกัน
ทำให้การทำตลาดแบบเดิมเหมือนๆกัน จึงทำได้ยากขึ้น
ทุกวันนี้การดูทีวี นอกจากดูใน device ต่างๆแล้ว ยังมีพฤติกรรมการแห่ตามไปดู
การวางแผน media จึงจัดการได้ยากขึ้นมาก วันดีคืนดีคนหายไปหมดเลย หรืออาจจะเปลี่ยนใจกลับมา
ปี 2017 เราเริ่มตั้งธงได้ตั้งแต่ปลาย Q3 และกลับมาลุยซื้อ media
เดือนหน้าเราจะใช้สื่อ 20% ของงบ ลงโฆษณาในเฟซบุ๊ค
เฟซบุ๊คมีเวลา 3 วินาที ที่จะให้คนหยุดดู (thumb stopper) ซึ่งเราก็ได้เตรียมการร่วมกับทีมเฟซบุ๊คแล้ว
ตั้งแต่ Q3 เป็นต้นไปจะเห็นการเติบโตใน online
เราใช้ช่องทาง market place เป็น Platinum partner ของ shopee และกำลังจะทำใน Lazada ด้วย
เขาทำงานกับเราเพราะเรามีสินค้าของตัวเอง รวมถึง google ที่จะเป็นสิ่งที่เราทำ
TPIPP
ปี 17 รายได้ 4.9 พันล้าน กำไร 2.4 พันล้านบาท(เฉพาะ Net operating ไม่รวมผลจากอัตราแลกเปลี่ยน)
Q1 ปี 18 รายได้ 1.3 พันล้าน กำไร 6.5 ร้อยล้าน ซึ่งถ้าคูณ 4 ตีออกมาทั้งปีราว 5.4 พันล้าน
แต่ Q1 เรายังมีโรงไฟฟ้า 5 โรง 150 MW โดย COD โรงที่ 6 เพิ่งเริ่มรับรู้ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา
เป็น RDF ขายให้กฟผ. และโรง4 เราเริ่มปรับจากขายให้บริษัทแม่มาขายให้ EGATก็จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
โรง 6 ที่เริ่มเดิมช่วงแรกในเดือน 4 ต้องมีการ ramp up โดยเดือน 5 ก็ขึ้นมาเป็น 9x% ต้นๆแล้ว
เป้าหมายคือ 95% ขึ้นไป
โรง 7 เสร็จก็จะเข้ามาช่วงเรื่องรายได้และกำไร แต่คงไม่ได้ช่วยก้าวกระโดด เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินอัตรากำไรไม่สูง
โรง 8 ก็จะมีรายได้เข้ามาในช่วงไตรมาส 3-4
ช่วงต้นปีมีข่าวที่กระทรวงฯจะไม่รับซื้อพลังงานทดแทน ซึ่งทำให้หุ้นที่เกี่ยวข้องราคาลดลงมา
จนเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา มีการออกมาให้ข่าวจากกระทรวงฯ ให้ชัดเจนว่าไม่รับซื้อพลังงานทดแทน
ยกเว้น 2 อย่าง คือ ขยะ และโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งของเรายังรับซื้ออยู่
ถัดมาอีกการประกาศเรื่องประมูลโรงไฟฟ้า Quick win 78 MW เพิ่มเป็น 378 MW
ซึ่งเปลี่ยนวิธีการประมูล เมื่อก่อนส่วนกลางเปิดประมูล และเอกชนเข้ามาแบ่งกัน
แต่ปัญหาคือ ผู้ที่ประมูลไม่สามารถทำได้สำเร็จ ก็เอาไปขาย
ซึ่งผิดจุดประสงค์การเปิดประมูล ต้องการให้เอาขยะไปทำโรงไฟฟ้า
จึงเปลี่ยนมาประมูลแบ่งแยกให้เทศบาล หรือ อบจ. แต่ละจังหวัด ประมูลเอง
ออก TOR ให้เอกชนไปประมูล กับ อบจ. หรือเทศบาลโดยตรง
น่าจะมีประมูลออกมาเรื่อยๆ เช่น ปลายปีก่อนที่ นนทบุรี
เป็นการประมูลโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ นนทบุรี 20 MW
ซื้อซองและศึกษาหลายๆอย่างแล้วไม่คุ้มทุนสำหรับเราจึงไม่ได้ประมูล
จะมีเปิดประมูลอีก 4-5 โครงการ คาดว่าเราจะเข้าไปร่วม แต่จะยื่นประมูลหรือไม่ขึ้นกับความคุ้มค่าและความเสี่ยง
เช่น RDF ที่เราลงทุนไปแล้ว IRR 45-50% อัตรากำไรดี แต่ก็มีความเสี่ยงเพราะเป็นขยะ และขายให้กับรัฐ
แต่ถ่านหิน IRR 15% แต่ความเสี่ยงต่ำ
AUCT
บริษัททุนจดทะเบียน 137.5 ล้าน ปีที่เข้าตลาดกำไร 200 กว่าล้าน ปีที่สองกำไรลดลง 180 กว่าล้าน
ปีที่แล้ว 130 กว่าล้าน ปีนี้ไตรมาส 1 เป็นไปตามคาด กำไร 40 กว่าล้าน
สิ้นปีนี้บริษัทอยากได้กำไรสูงกว่าปีแรกที่เข้าตลาด
ความเสี่ยง ทุกธนาคารและทุกไฟแนนซ์ให้รถเกิน 80% แต่ถ้าธนาคารไม่ให้ขึ้นมาก็เป็นความเสี่ยง
2 ปีก่อน การซื้อรถสถาบันทั่วไปไม่เพิ่ม แต่สถาบันรถเช่าเพิ่มเป็น 100%
องค์กรขนาดใหญ่ ไม่ซื้อรถใช้เอง แต่ซื้อตามสถาบันให้เช่า
ซึ่งรถพวกนี้ใช้ปีเดียวก็เอาเข้ามาปล่อยแล้ว ช่วยลดความเสี่ยงที่เราต้องพึ่งพอรายใหญ่
เรามีเงินสดเยอะ กระแสเงินสดดี มีเวลาพอสมควรกว่าจะส่งกลับไปสู่ผู้ขายรถ
เราได้รับอาณิสงค์จาก fair price การเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างรวดเร็ว ไม่รู้ราคาอยู่ที่ไหน
แต่เราเสนอให้มาประมูล เป็นเรื่องที่เราตั้งใจบอกว่าการประมูลเป็นการซื้อขายที่ fair price ให้กับสินค้า
เมื่อก่อนเราใช้สถิติกำหนดราคา วันนี้เราใช้ life style
เรามอง end user รายได้เราสามารถเพิ่มสามเท่าโดยไม่ต้องใช้เงินทุนเพิ่ม
อัตราปันผลเราไม่ต่ำกว่า 40% (ปีก่อนจ่าย 100%) จ่ายปันผล 3% กว่า
อัตรากำไรขั้นต้น 50% กว่า อัตรากำไรสุทธิ 23-24% ซึ่งน่าจะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน
ประเทศไทยมองว่าอย่างไรก็ต้องใช้รถยนต์ แม้มีรถไฟฟ้าการอยู่บ้านจัดสรรอย่างไรก็ต้องต่อรถยนต์
เชื่อว่ารายได้หลักของบริษัทจะเกิดจากยานพาหนะไม่ว่าจะเปลี่ยนจาก engine เป็น ไฟฟ้า
ยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงบริษัทก็จะได้ประโยชน์จากการที่ไม่รู้ว่าราคาอยู่ตรงไหน ซึ่งบริษัทจะเป็นตัวกลางให้
การประมูลรถจะผ่าน e-market ได้ไหม?
บริษัทพัฒนา e platform ของตัวเองแล้ว แต่ต้องมีการสื่อสารทำให้ลูกค้ารายย่อยเปลี่ยนพฤติกรรม
จากการซื้อที่เต๊นท์มาซื้อที่บริษัทแทน เช่น ผ่าน market place หรือ facebook ก็น่าสนใจ
เราจัดประมูล 365 วัน น่าจะรองรับความต้องการของลูกค้าได้ สามารถดู Live การประมูลได้
เชื่อว่าถ้าใครเคยประมูลเองจะพบว่าราคาถูกกว่าการไปซื้อจากที่อื่น
แต่บริษัทก็ยังต้อง balance ระหว่าง ลูกค้ารายเก่าที่เป็นเต๊นท์รถ และ end user
ปิดท้าย
การลงทุนมีความเสี่ยง ตัดสินใจให้ดีก่อนการลงทุน
กำไรเกิดจากท่าน ขาดทุนเกิดจากท่าน รายการให้ข้อมูลมีเวลาสั้นๆ ยังมีช่องทางอื่นๆ ศึกษาเพิ่มเติมให้ดีก่อน
ช่วงที่ 2 ทางพี่อมร จะเป็นผู้สรุปให้นะครับ ขอบคุณมากคร้าบ
__________________________________________________________
ข้อมูลที่จดหากมีคลาดเคลื่อนขออภัยไว้ด้วยครับ
สามารถดูรายการเต็มได้ใน Money channel และ Youtube ครับ
ขอบพระคุณ พี่หมอเค อ.เสน่ห์ และผู้บริหารทุกท่านที่สละเวลามาสัมภาษณ์และ
ให้ข้อมูลเพื่อประกอบการการลงทุนครับ
ขอบคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ และทีมงาน Moneytalk ,ตลท.ทุกท่าน
ในการจัดงานสัมมนาให้ความรู้ครับ
Special thanks to คิม และทีมถ่ายทอดวันนี้ดูผ่าน FB Live ครับ
สัมมนาพิเศษ Moneytalk@MAI Forum 1ก.ค.61
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ชั้น 22
งานเริ่มตั้งแต่สิบโมง ไม่ต้องจอง สัมมนาเริ่ม 16.00 น.
หัวข้อ 1 MAI เล็กดี รสโต จริงหรือ ดร.นิเวศน์,คุณโจลูกอีสาน
หัวข้อ 2 วิเคราะห์ เจาะหุ้นเด่น เทรนด์การลงทุนครึ่งปีหลัง ดร.วิศิษฐ์,คุณเทิดศักดิ์
ผู้ดำเนินรายการ อ.ไพบูลย์,อ.เสน่ห์
MoneyTalk@SETครั้งถัดไป>>14 ก.ค.61
หัวข้อ1 เจาะลึกหุ้นเด่น irpc,amatav,seafco,scn
หัวข้อ2 ทิศทางหุ้นไทยครึ่งปีหลัง คุณมนตรี,ดร.วิศิษฐ์,คุณกวี,ดร.นิเวศน์
เปิดจองเสาร์ 7 ก.ค.61
MoneyTalk@SET10/6/2018Updateหุ้นเด่น&หากวิกฤติมา
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET10/6/2018Updateหุ้นเด่น&หากวิกฤติมา
โพสต์ที่ 2
MoneyTalk@SET ช่วงที่สอง
ทำไมวิกฤตถึงจะมา และ หากวิกฤตมา จะต้องทำอย่างไร
วิทยากร
1. คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ บล CLSA
2. คุณ สมจินต์ ศรไพศาล บลจ ทหารไทย
3. คุณ มนตรี ศรไพศาล บล MBKET
4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
อ เสน่ห์ เอื้อนกลอนสอดคล้องกับหัวข้อในวันนี้
“เรื่องวิกฤติ คิดรับมือ คือทางออก
ไม่จนตรอก จนใจ ไร้ทางสู้
ทุกสิบปี มีวิกฤติ คิดครวญดู
โลกรับรู้ เกิดครั้งใด เสียหายจริง
แล้วทำไม วิกฤตินั้น มันถึงมา
มีสัญญาณ ไหมหนา อย่าเฉยนิ่ง
ถ้ามันมา ต้องทำไง ไม่ประวิง
จะขายทิ้ง หรือถือไว้ เอาไงดี
ดร.นิเวศน์เกิดมานาน ผ่านมามาก
รู้ลำบาก รู้สบาย หลายวิถี
เปลี่ยนวิกฤติ เป็นโอกาส ฉลาดมี
การันตี วีไอ ไม่เปลี่ยนแปลง
ดร.สมจินต์มือบริหาร ทหารไทย
จัดทัพใหญ่ การลงทุน หนุนความแกร่ง
กองทุนดี มีโอกาส ไม่หวาดระแวง
พร้อมปันแบ่ง แนวทาง มั่งคั่งยาว
คุณมนตรี เมย์แบงค์ แห่งกิมเอ็ง
เป็นมือเก่ง มือบริหาร ผ่านร้อนหนาว
ต้มยำกุ้ง แฮมเบอเกอร์ เจอทุกคราว
ได้สืบสาว เล่าบทเรียน แลกเปลี่ยนกัน
คุณปริญญ์คนขายเป็ด รสเด็ดขาด
เป็ดรสชาติ ไม่ได้โม้ โฟซีซั่น
ซีแอลเอสเอ เป็นนายใหญ่ นายสำคัญ
มุมมองมั่น ทันโลก ทันเหตุการณ์
จะเกิดไหม วิกฤติใหญ่ ไม่ประมาท
รู้ฉลาด รู้รับมือ หรือฝ่าผ่าน
ไม่ละเลย พร้อมขยับ จับสัญญาณ
ทำการบ้าน การลงทุน ช่วยอุ่นใจ
สองคำถาม สำคัญ ของวันนี้
วิกฤติมี ที่มา ท่าไฉน
วิกฤติมา อย่าถลำ ทำอย่างไร
เชิญฟังได้ พร้อมกัน มันนี่ทอล์ค”
เริ่มจากคำถามแรก วิกฤตเกิดจากอะไร
ดร สมจินต์พูดเป็นท่านแรก
ดร สมจินต์ บอกว่า เริ่มจากวงจรเศรษฐกิจ ในหนึ่งวงจรเศรษฐกิจอาจไม่เกิดวิกฤต
หรือเกิดก็ได้ ซึ่งขึ้นปัจจัยสามปัจจัยได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
2. อัตราเงินเฟ้อ
3. อัตราดอกเบี้ย
เปรียบเทียบวงจรเศรษฐกิจกับเข็มนาฬิกา
ตรง12นาฬิกา เงินเฟ้อต่ำ ตรง 6 นาฬิกา เงินเฟ้อสูง
ตรง 3 นาฬิกา เศรษฐกิจขยายตัว
ตรง 9 นาฬิกา เศรษฐกิจหดตัว
ถ้าเริ่มจาก 12 นาฬิกาเริ่มจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี แล้วค่อยๆดีขึ้น
สิ่งที่มักจะเกิดขึ้น หุ้นขึ้นมากกว่าหุ้นลง
ถ้าเรามาจากเศรษฐกิจแย่ๆ หลายๆคนอาจมีsurprise ว่าทำไมหุ้นขึ้น
ช่วงเข็มนาฬิกาชี้เลข 3 เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว หุ้นเป็นปัจจัยนำเศรษฐกิจ
(Leading indicator) ขยับจากนั้น มีกิจกรรมทางธุรกิจซื้อของลงทุนเริ่มมีการกู้ยืม
ของเริ่มแพงขึ้นไม่ว่า ที่ดิน ราคาน้ำมัน ทองคำแพงขึ้น
6นาฬิกา ของเริ่มแพงขึ้น ที่ตามมาคืออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ตามระบบเศรษฐกิจ มีการปล่อยpersonal loan บริษัทเริ่มกล้าขยายกิจการ
กู้ยืมตามการขยายเศรษฐกิจ ของแพงขึ้น ธนาคารกลางอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจช้าลง
จาก 3 นาฬิกาไปที่ 6 นาฬิกา ตอนของแพงขึ้น ทรัพย์สินที่มักได้ประโยชน์ คือ commodity เช่นทองคำ น้ำมันรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ จุดนี้ คนเริ่มชะลอการจับจ่าย ของที่เริ่มแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น
ราคาหุ้นและพันธบัตรเริ่มชะลอขึ้นและมีความผันผวน ถือเงินสดจะนิ่งกว่า
จาก6ไปที่9นาฬิกา ทรัพย์สินเริ่มผันผวน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มหายไป แต่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่ง คือ พันธบัตรหรือตราสารหนี้ เริ่มน่าสนใจ
จากช่วงที่ดอกเบี้ยขึ้นมาสูงๆและเริ่มนิ่ง และค่อยๆลดลง ดูน่าสนใจมากขึ้น
ธนาคารกลางเริ่มมาช่วยหนุนเศรษฐกิจ
ช่วงระหว่าง9-12นาฬิกา เศรษฐกิจชะลอ เงินเฟ้อเริ่มชะลอ ทรัพย์สินเริ่มลดลง Bondดีขึ้นในช่วงนี้
Low inflation คนลงทุนจะกลัว และ หลายบริษัทเริ่มล้มหาย หุ้นเริ่มจะฟื้นขึ้นก่อนเศรษฐกิจฟื้น
วงจรเศรษฐกิจจาก12นาฬิกาไป1,2,3นาฬิกา หุ้นเริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว (expansion)
ส่วนช่วง 3ไป6นาฬิกาเป็นช่วงอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนช่วง9นาฬิกาเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว
เป็นวงจรแบบนี้ ทำให้ราคาทรัพย์สินออกดอกผลแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละช่วง
แล้ววิกฤตมาตอนไหน
ตอบว่านี่คือวงจรตามธรรมชาติ แต่บางอย่างเติมเข้ามาในวงจรเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ กรณีย้อนไปช่วงต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger crisis
ก่อนหน้าที่ ธนาคารกลางมาแก้ไข
อสังหาริมทรัพย์มีราคาสูงมาก คนจำนวนมากแห่ไปลงทุน
คนมีบ้านแล้วก็ไปซื้อบ้านเพิ่มขึ้น เพราะทรัพย์สินราคาเพิ่มขึ้น
มีการทำleverageมากขึ้น ช่วงนั้นFinancial market มีเครื่องมือเช่น
MBS (Mortgage back securities) ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนง่ายขึ้นเยอะ
ขณะที่ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เงินที่ไปซื้อในขณะที่asset เป็นฟองสบู่
ตอนมีปัญหา การปรับตัวของนักลงทุนค่อนข้างยาก เพราะasset priceถูกผลักไปสูงมาก
คนไปกู้ตอนนั้น จะเกิดปัญหามากเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา
ช่วงต้มยำกุ้ง asset price สูงมาก ช่วงปี 1994 ดัชนีประมาณ 1,800 PE 30กว่าเท่า
Bond yield 7-9% เราดูEarning yield หรือส่วนกลับของ PE ที่ 30กว่าเท่า
คือ 1/30 ได้ประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับBond 7-8% คือลักษณะของBubble
คุณมนตรีจะพูดเรื่องนี้ได้ดี
ช่วงต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทเมื่อก่อนผูกกับสกุลเงิน$ เกิดการleverageของหนี้สินขณะนั้น
พอฟองสบู่แตกเลยทำให้การฟื้นตัวใช้เวลานานมาก
อ เสน่ห์ บอกว่า ตอนนั้นมีหลายคนเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ที่เรียกแบบนั้น เพราะเราเป็นต้นเหตุของวิกฤต และ ต้มยำกุ้งเป็นอาหารขึ้นชื่อของไทย
ดังนั้นจึงเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง
และต่างชาติช่วงนั้นคาดการณ์ว่าเสือตัวที่ห้าของเอเซียน่าจะเป็นประเทศไทย
พอเศรษฐกิจไทยแย่ ก็ดึงเสืออีก4ตัวที่อยู่ในเอเซียลงไปด้วย
ประเทศเกาหลีใต้เป็นลูกหนี้IMFพร้อมเรา แต่ตอนนี้เศรษฐกิจของเขาไปไกลมาก
ธุรกิจเจ๊งมากมายเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าไปสองเท่า หมายถึงหนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
สกุลเงินอินโดนีเซียคือรูเปี๊ย แย่สุดเพราะเงินรูเปี๊ย เปี๊ยจนใกล้แตก
ส่วนเงินรูเบิ้ล เบิ้ลหมายถึงเจ๊งสองเท่า
เงินรูปีของอินเดีย ไม่ค่อยกระทบเพราะหนึ่งรูปีเท่ากับสิบสองรูเดือน เกิดผลกระทบช้า
สถาบันการเงินของไทยปิดไป56แห่ง โดยเฉพาะธนาคารที่มีคำว่านครไม่ว่าจะเป็น
นครธน ศรีนคร มหานคร ก็ถูกปิดไป
คุณศิริวัฒน์ เซียนหุ้นก็มาขายแซนวิส
มีการเปิดท้ายขายของที่เบนซ์ทองหล่อ
แต่คนจนไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีเงิน
คนตกงานก็กลับสู่บ้านเกิด ทำให้เกิดสินค้าโอท๊อป และ SME ก็เกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้
ปี2008 Hamberger crisis คนตกงานมากมายลามไปถึงEU
แต่ประเทศไทยไม่มีหนี้สิน เพราะเราเสียเครดิตไปตั้งแต่ปี40 ไม่มีใครไว้ใจให้กู้
ประเทศไทยไม่เดือดร้อน คนไม่ตกงาน (จริงๆแล้ว บริษัทต่างๆหลังจากเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ได้บทเรียนมาเลยมีการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ทำให้ไม่กระทบต่อบริษัท แต่กระทบต่อ
บริษัทส่งออกเพราะประเทศที่นำเข้าแย่ ทำให้ไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทย)
คนไปชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรีช่วงนั้นมีม๊อบสีลม แต่ยังชุมนุมไม่ครบวัน นายกก็ลาออกภายในครึ่งวัน
จริงๆท่านเป็นคนน่ารัก ไม่โกรธใคร เป็นคนใจดี
คุณมนตรี บอกว่า สองปีที่แล้วฝ่ายวิจัยวิเคราะห์ของเมย์แบงค์กิมเอ็ง
ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจย้อนไปในแต่ละช่วงที่เกิดวิกฤต
ปี 1987 เกิดวิกฤต Black Monday
ปี 2007 เกิดวิกฤต Subprime ทำให้ปีต่อมา 2008 เกิด Hamberger crisis
ปี 1997 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง
ปี 2017 จะเป็นอย่างไร จะเกิดวิกฤตหรือไม่
จากตอนวันที่ 5 มค 1994 ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีสูงสุดแล้ว
เราจะไปถึงตรงนั้นและดัชนีจะตกตลอดหรือไม่
สิ่งที่วิเคราะห์และเปรียบเทียบดูในแต่ละช่วง เรามีความประทับใจกับนายกสมัยนั้น
ยุคปี1997 ลูกโป่งแตกในวงการอสังหา และ วงการหุ้น
สภาพลูกโป่งแตกวัดจากสามปัจจัยคือ การกู้เงินเกินตัว เก็งกำไรเกินตัว ใช้จ่ายเกินตัว
ช่วงนั้นราคาที่ดินขึ้นทุกวัน ถ้าไม่ซื้อวันนี้ วันรุ่งขึ้นราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
บริษัทในช่วงนั้น หนี้คิดเป็น%ของสินทรัพย์ บางกรณีเป็น 100%
แต่ช่วง hamburger crisis หนี้เทียบกับทรัพย์สินเฉลี่ยประมาณ 120% ซึ่งสูงมาก
เงินกู้ในตลาดหุ้นที่ไปซื้อหุ้น ลองสอบถามผู้ใหญ่ในสมัยต้มยำกุ้ง
ตัวเลขเงินกู้ 120,000 ล้านบาท
ปัจจุบันเงินกู้ไปซื้อหุ้นอยู่แถว 70,000 ล้านบาท ถ้านึกย้อนกลับไปช่วงพีค
ในปี1997 market cap 3.5 ล้านบาท
ตลาดหุ้นตอนนี้market capใหญ่ขึ้น5เท่าเมื่อเทียบกับช่วงต้มยำกุ้ง
แต่margin loan เล็กกว่าเมื่อก่อน
หนี้อีกกลุ่ม คือ หนี้สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงต้มยำกุ้ง
D/E ratio 2.1 เท่าตอนนี้ลงมา 1.3 เท่า แสดงว่าหนี้ในระบบน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก
ยุคนี้ธนาคารปล่อยอย่างระมัดระวัง บริษัทก็ไม่ยอมมีหนี้ระดับสูง
ส่วนอัตราดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 13% เหลือ 5-6%
เราได้บทเรียนจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงเตือนว่า อย่าใช้จ่ายเกิน กู้เกินตัว
การกู้ซื้อคอนโดทีละ 5-10ห้องในสมัยนั้น ตอนนี้ก็น้อยลง
เงิน$ในกองทุนสำรองระหว่างประเทศสมัยนั้น จากที่ควรมี 40,000 ล้าน$
ลดลงเหลือ 7,000 ล้าน$ ในช่วงปี2540
ตอนนั้นเราก็ไปต่อต้านคอร์รับชั่น สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ทำให้นายกช่วงนั้นลาออกไป
หลังจากนั้นประทับใจรัฐบาลนายกชวน หลีกภัย โดยมีดร ศุภชัย และ คุณธารินทร์มาร่วมรัฐบาล
ดร ศุภชัย บอกว่า เรื่องCyclical , Bubble ,หนี้เกินตัว และเรื่องโครงสร้างการลงทุน
คนจีนช่วงนั้นทำงานได้เหมือนเราแต่ค่าแรงถูกกว่า เราต้องปรับตัวเพื่อแข่งกับจีน
ดังนั้น ปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 215,000 ล้าน$
และ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดหลายปี
มีคนมาท่องเที่ยวเยอะ เห็นจากคนที่สนามบินดอนเมือง หรือสุวรรณภูมิเยอะ
เศรษฐกิจยังไปได้ วิกฤตมองแล้ว คุณมนตรีฟันธงว่าวิกฤตไม่น่าจะมา
อ เสน่ห์ บอกว่า ช่วงนั้นมาเลเซีย ตรึงเงินไว้ ตามทฤษฏีของคุณครุกแมน
ตอนนี้มาเลเซียเปลี่ยนโฉม หนี้มาเลเซียคิดเป็น 1ล้านล้านริงกิต
รัฐบาลมาเลเซีย รณรงค์ให้ระดมเงินขึ้นมาคนละหนึ่งริงกิต สามารถช่วยประเทศได้
ปรากฏว่าไทยดีกว่า เพราะไม่มีหนี้มากเมื่อเทียบกับมาเลเซีย
ใครจะไปรู้ว่า ดร นิเวศน์ ตอนอายุ92ปีจะมากอบกู้
และ อ เสน่ห์ สงสัยต่อว่ามหาเธร์ บวชวัดไหน เพราะมีคำว่า มหา นำหน้า
คุณปริญญ์ กล่าวเป็นท่านต่อมาว่า
วิกฤตฟังดูเครียด ขอบคุณพี่เปี๊ยก(คุณมนตรี) มาพูดว่าไม่เกิดวิกฤต
ปกติทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ไม่มีสัญญาณบอกว่าวิกฤตเกิดขึ้น
ตอนนี้ประเทศทางละตินอเมริกา จนถึงบราซิล เริ่มมีกลิ่นของวิกฤต
เวลาวิกฤตมาค่อนข้างจะคล้ายเดิม รอบนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว
เริ่มในปี2017ต่อเนื่องถึงปีนี้ ToneและTrendของสังคม มีความแตกแยกรุนแรงขึ้น
ระบบทุนนิยมที่ได้ยอมรับมานาน ช่วงสิบปีหลังเริ่มมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง
คุณ โดนัล ทรัมป์ ที่มาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ
ปกติการเมืองของสหรัฐไม่น่าจะเลือกคุณทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี
แต่คนอเมริกาไม่พอใจเรื่องการเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นวิกฤตทางการเงิน
ช่วงแฮมเบอเกอร์ วิธีแก้ต่างกับวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างสิ้นเชิง
ลอแรนซ์ ซัมเมอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐในสมัยต้มยำกุ้ง
สั่งให้เราปิดสถาบันการเงิน ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ ให้กระทรวงการคลังมีวินัยทางการคลัง
แต่ที่อเมริกาช่วงแฮมเบอเกอร์ทำกลับกัน การแก้ปัญหาโดยขยายbalance sheet 18%
คลังทำการอัดฉีดให้กับ Freddy May, Freddie Mac รวมถึง AIG
วิกฤตรอบที่แล้ว ไม่ได้แก้ แต่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น
เงินไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงในEmerging market ซึ่งFEDควบคุมเงินที่อัดฉีดเข้าไปไม่ได้
ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน FED
กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto มีการสร้างBitcoinช่วงนั้น
เพราะไม่เชื่อถือธนาคารกลางแต่ละประเทศ
ตอนนี้หนี้ครัวเรือนอเมริกาเริ่มกลับมาอยู่ระดับสูง มาจากหนี้สินเชื่อ
ขณะที่หนี้ภาครัฐก็ยังอยู่ในระดับที่สูง
มีการเกิด Government shutdownบ่อยมาก
เวลาเกิดปัญหา พรรคRepublicanก็ด่าพรรคเดโมแครต
อเมริกาต่อให้หนี้ท่วมหัวก็รอดได้ พวกเขาคิดอย่างนั้นจริงๆ
ทรัมป์บอกว่าให้ลดภาษี ซึ่งทำให้รายได้เข้ารัฐน้อยลง ผลประโยชน์ไปอยู่บริษัทเอกชนใหญ่ๆ
แถมรัฐบาลยังสร้างinfrastructure ขณะที่ระดับหนี้ยังอยู่ที่สูง ข้อนี้ไทยก็มีการสร้างinfraแต่ยังดีกว่าอเมริกา
ผมจะแปลกใจ ถ้าFED ขึ้นดอกเบี้ยสี่ครั้งได้ในปีนี้ ถ้าเป็นไปได้ ฟันธงว่าปีหน้าเจอวิกฤตแน่
ธนาคารกลางประเทศอื่นๆเริ่มตึงๆ และจะทยอยถอนQEออก
วิกฤตเบาๆค่อยๆมาแล้ว
หลายผู้นำของแต่ละประเทศ พยายามทำนโยบายแบบกีดกันประเทศอื่น
เช่นนโยบาย America first , Made in India
คนในยุโรปไม่พอใจผู้นำ จะไม่เห็นการร่วมมือกันของประเทศในยุโรป
ดร นิเวศน์ พูดในเชิงวิชาการ
เกี่ยวข้องกับเงินทองของเรา วิกฤตจะมาต่อเมื่อ
เรื่องแรก ราคาหุ้นแพงมากๆ
เรื่องสองมีสองความคิด ขึ้นกับค่าเงินสำรอง Balance of payment ฐานะทางการคลัง
ถ้าปัจจัยทางด้านfundamentalดีก็จะไม่เกิดวิกฤต ถ้าไม่ดีมีโอกาสเกิดวิกฤต
ทำให้เรารู้ได้ว่าวิกฤตจะมา แสดงว่าวิกฤตคาดการณ์ได้ นี่เป็นความคิดแรก
แต่มีอีกความคิด เรื่องแรกเหมือนกัน
แต่เรื่องที่สอง fundamentalไม่ร้ายแรง แต่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงมาก ก็เกิดวิกฤตได้
ตัวที่ทำให้เกิดวิกฤต Robert Shiller เขียนไว้ แปลเป็นไทยว่า ความตื่นเต้นที่ไร้ตรรกะ
หุ้นแพง มีคนตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ พอซื้อหุ้นเข้าไป รอบแรกขึ้นนิดหน่อย
อีกกลุ่มเข้าไปซื้อต่อและหุ้นขึ้น คนต่อมาก็เข้าไปซื้อ เกิดการปั่นหุ้นขึ้น จริงๆพื้นฐานพอใช้ได้
มีlook feedback วงจรย้อนกลับ ราคาหุ้นขึ้นคล้ายๆกับแชร์ลูกโซ่
หุ้นขึ้นเพราะคนคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อ ราคาหุ้นขึ้นโดยไม่มีพื้นฐานรองรับ
มีหลายความคิดที่ทำให้หุ้นขึ้น ทุกคนเชียร์หุ้นกันหมด มีการปั่นหุ้นกัน
มีคนซื้อตามกัน หุ้นIPOตอนออกราคาแพง แต่ราคาหุ้นก็ขึ้นไปได้อีก
ในอเมริกา ก่อนปี2000 หุ้นที่มีชื่อด้วย dot com ขึ้นไปหมด
เมื่อรวมกับหุ้นราคาแพง ไม่สนใจเรื่องพื้นฐาน ถึงจุดหนึ่ง ราคาเกินไปเยอะ
พอรายใหญ่เทขาย หุ้นเริ่มลง มีการขายตาม ความตื่นเต้นเปลี่ยนเป็นความกลัว
หุ้นinternetของอเมริกาลงมา 80-90% แม้แต่หุ้นบริษัทAmazon
ตกลงมาเหลือไม่ถึง 10%ทั้งที่เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
ทฤษฏีนี้ไม่มีใครรู้ว่าเกิดวิกฤตเมื่อไหร่ แต่ประเมินว่าคนไร้ตรรกะกันแค่ไหน
สังเกตจากรายการทีวี ข่าวจากนสพ ประเมินว่าคนไร้ตรรกะมากแค่ไหน
กลับมาที่เมืองไทย ราคาถูกแพงใช้PE 17 เท่า ดูไม่ค่อยแพง
แต่เป็นตัวเลขปีเดียว คนมองระยะยาว บอกว่าใช้ได้แต่ไม่ค่อยดี
เบน เกรแฮม บอกว่าให้ใช้เฉลี่ย
E ขึ้นๆลงๆ ใช้ปีเดียวไม่ถูก เอาค่าเฉลี่ยของกำไรย้อนหลัง 10 ปี
ส่วนRobert Shiller มีการปรับค่าเงินเฟ้อ (cyclically adjusted price-to-earnings ratio)
ซึ่งยุ่งยากเกินไป ดร นิเวศน์ เลยเอาแบบง่ายๆโดยเอาตัวเลขกำไร 10ปีย้อนหลัง โดย P เป็นตัวปัจจุบัน
ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ PE 26 เท่า
ส่วน Robert Shiller เคยทำไว้เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วตลาดUS ทำไว้ PE 26 เท่า (เท่ากับไทย)
เขาบอกว่าตอนนั้นราคาหุ้นแพงมาก ไม่เคยเกิดมาก่อน
(ยกเว้นวิกฤตตอน ปี1929 , ปี2008)
Robert Shiller บอกว่า
หุ้นอเมริกาเจ๊งแน่ ปรากฏว่าหลังจากผ่านไปสามปี หุ้นวิ่งขึ้นไปมาก
แต่ดร นิเวศน์ไม่ได้บอกว่าหุ้นไทยจะขึ้นเหมือนกับที่อเมริกา
มันอาจจะขึ้นต่อไปถึง PE 30 แล้วค่อยเกิดวิกฤตก็ได้
เมื่อ2-3ปีที่แล้ว เคยทายไว้หุ้นไทยจะตก ยิ่งทายยิ่งขึ้น แต่ผมไม่ได้บอกว่าจะเจ๊ง
แต่บอกว่ามันอันตราย หุ้นได้เกิดวิกฤตขึ้นจริงในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลาง
ตลาดหุ้นไทยมีสองตลาดคือหุ้นใหญ่(SET) และ หุ้นขนาดกลาง เล็ก(MAI)
หุ้นกลุ่มหลังตกลงมาเยอะ ฝรั่งขายมา100,000กว่าล้านบาท
แต่สถาบันรับซื้อมา วันไหนถ้าซื้อไม่ไหวก็ต้องระวัง
อาจารย์ก็เริ่มซื้อเพิ่มในหุ้นเต่า เราไม่รู้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด
Alternative investment ถ้าขายหุ้นจะไปซื้ออะไรดี
อสังหาริมทรัพย์ก็แพง ไม่มีทางออก ดอกเบี้ยต่ำมาก
ดู Robert Shillerที่ทำช่วงนั้นดอกเบี้ยสูงมากเทียบกับไทยตอนนี้
ดอกเบี้ยต่ำมาก เงินปันผล3%ก็ยังคุ้มกว่าไปฝากธนาคาร
ตราบใดที่จ่ายปันผล3-4% ก็ยังถือหุ้นต่อได้
คำถามที่2 วิกฤตสมมติว่ามา เราจะทำอย่างไร
ดร สมจินต์ บอกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคิดก่อนคือ ก่อนวิกฤตจะมา เราต้องทำอย่างไร
อย่างที่ดร นิเวศน์เปิดไว้ว่า เราไม่รู้ว่าวิกฤตมาเมื่อไหร่
ในแต่ละวงจรเศรษฐกิจ ก็จะมีทรัพย์สินที่น่าลงทุน
แต่เราไม่เห็นอนาคตว่าทรัพย์สินไหนดี
เราสมมติว่าเป็นเจ้าของสวนผลไม้
แต่ละฤดูจะมีผลไม้ที่ผลัดกันออกดอกออกผล
หลักของการลงทุน เราต้องจัดกองทัพของการลงทุนให้เหมาะสม
มีกองหน้า กองกลาง กองหลัง ให้ครบ
เงินบางส่วนสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ถือเป็นกองหน้า อัตราผลตอบแทนที่สูง
สินทรัพย์ที่ลงทุนในระยะยาว คือ หุ้น หรือ กองทุนหุ้น ซึ่งสามารถก้าวข้ามวงจรเศรษฐกิจ
ประมาณ 10ปี ถ้าเงินของเราเย็นแบบนั้น
จะมาอยู่กองหน้าได้ อาจได้ผลตอบแทน 10-12% ต่อปี แต่ไม่ลงทุนกระจุกแค่หุ้นบางตัว
หรือ บางอุตสาหกรรม
ถ้าเป็นเงินที่จะใช้ในปีหน้า ควรลงทุนอยู่ในส่วนที่คล่องตัวสูง
เช่น กองทุนตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
เงินที่อยู่ไม่ถึง10ปี ก็ไปอยู่กองกลาง และ สามารถเปลี่ยนเป็นกองหน้า
โดยซื้อสินทรัพย์ที่ราคาลงมาจากวิกฤต บางทีกองกลางไปกองหลังได้
เงินกองกลาง ลงในตราสารหนี้ หรือ property asset, Infrastructure ตัวให้ผลตอบแทน คือ ดอกเบี้ย
ค่าเช่าที่ค่อนข้างเสถียร ผันผวนแต่มีกระแสเงินสดค่อนข้างดี
ลักษณะอย่างนี้อยากให้เน้น
ปัจจัยที่1 ความสอดคล้องในวัตถุประสงค์ เวลาลงทุนต้องดูที่วัตถุประสงค์ก่อน
และหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการลงทุน
ปัจจัยที่2 คือ การกระจายความเสี่ยง กองทุนรวมเป็นเครื่องมือที่ดี
กองหน้า ตัวอย่าง กองทุนหุ้นไทย เช่น กองทุน SET50 หรือ กองทุนที่กระจายไปต่างประเทศ
ช่วงที่วิกฤตที่ภูมิภาคอื่น แต่กระทบหุ้นไทยด้วย การกระจายความเสี่ยงสำคัญมาก
เช่น กองทุนGlobal quality growth ของ Wellington
เศรษฐกิจขาขึ้น คือ ลงทุนในบริษัทGrowth company
เศรษฐกิจขาลง คือ ลงทุนในบริษัทQuality company
ส่วนกองกลาง เสี่ยงกว่ากองหลังโดยอายุตราสารที่ลงเหลืออายุ 4-7 ปี ได้แก่
Global income fund แม้เป็นตราสารหนี้ช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ราคาก็จะผันผวนด้วย
Property fund สามารถลงทุนได้ในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนกองหลัง กองทุนธนไพศาล กองทุนธนพลัส ก็น่าสนใจ
การที่เราเจอวิกฤตมาจะทำอย่างไร เราควรเตรียมตัวก่อนวิกฤต และ สามารถจัดการได้
ดร ไพบูลย์ บอกว่า ต้องตั้งรับไว้ก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้
ว่าช่วงไหนวิกฤต เมื่อวิกฤตมาเราจะรอดได้อย่างไร แบบดร สมจินต์
อ มนตรี บอกว่าวิกฤตเกิดจากคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร
เราคิดอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต
หนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มใหม่ๆ บอกว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตมีดังนี้
1.การคาดการณ์ในแต่ละเรื่อง ถ้าคาดว่ามันโต มันก็โตได้
ตัวขับเคลื่อนขาขึ้น คือ ความโลภ ส่วนตัวขับเคลื่อนขาลงคือความกลัว
ไม่ว่าความโลภหรือความกลัว คือ ซาตานทั้งสิ้น
กู้หรือก่อหนี้เกินตัว มีการเก็งกำไร เป็นสัญญาณที่ลูกโป่งแตก
หุ้นลงมา คนจนหมดตัว เกิดความกลัวไม่กล้าใช้จ่าย
ปี 1929-ปี1930 (Great depression) คนกลัวนานมาก หุ้นตกแรงมาก
ประธานาธิบดี รูสเวล บอกว่า สิ่งน่ากลัวมากสุด ก็คือความกลัว
2. ในแง่ความระมัดระวัง ใกล้วิกฤตต้องทำอย่างไร
เราต้องระมัดระวังเรื่องลงทุนเกินตัว เช่น กู้marginในหุ้นที่เสี่ยง
เวลาขาขึ้นดี แต่เวลาขาลงอันตราย
การลงทุนในFuture เวลาลงในแต่ละตัวหุ้น เงินที่ลง 500,000 บาทใช้แค่ 5-10%เอง
เวลาขึ้นมันดี เงินเติบโตขึ้นเท่าตัว แต่เวลาลงก็ลงหนักด้วย
ต้องมีเงินทุนที่พอเพียง หุ้นบางตัวถูกdumpมาแรงจากForce salesจากFuture
สุดท้าย แผ่นดินไหนที่มีธรรม ก็เป็นแผ่นดินทอง ไม่คิดเห็นแก่ตัวมากเกินไป ก็อยู่กันได้
ไม่ว่าจะBrexitที่ชวนให้คิดเห็นแก่ตัว
นโยบายทรัมป์ ที่ชวนให้เห็นแก่ประเทศตัวเอง
บ้านเมืองเราเข้าสู่การเลือกตั้ง เป็นทิศทางที่ดี ถ้าเราอยู่ในเนื้อหา ทำให้บ้านเราไม่เข้าสู่วิกฤต
คุณ ปริญญ์ บอกว่า เวลาวิกฤตจะมา จะมีโอกาส เช่น คุณ Robert Shillerเป็นนักเศรษฐศาสตร์
ปกติจะมีการคาดการณ์เรื่องวิกฤตตลอด เช่น คาดการณ์ 10 ครั้ง แต่เกิดจริง4ครั้ง
ผมเป็นนักศึกษาตอนช่วงวิกฤตไปทำงานร้านอาหาร
เจอเจ้าของร้านอาหารBlue elephantที่ Plaza asthenia
ที่บ้านเจ็บปวดตอนค่าเงินบาทอ่อน ค่าใช้จ่ายที่ส่งไปเรียนขึ้นสองเท่าแต่ผมไม่เดือดร้อนเพราะรายได้จาก
การทำงานพิเศษมากขึ้น ทำให้เราชอบอาหาร
ผมไม่เชื่อในทฤษฏีเรื่องเอาไข่ไว้ในตระกร้าเดียวกัน เพราะเคยเจ็บมาก่อน
ช่วงdot com bubble เสียเกือบหมด รอบที่สอง เจอซาโตชิ แจกชิฟ 4 bitcoin ทุกคนโยนทิ้งไป
ตอนนี้สินทรัพย์เสี่ยงมองไปทางเดียวกัน อาจรอดจากวิกฤต แต่ค่าเงิน$แข็งกว่าที่ควร
ต้องกระจายความเสี่ยง สินทรัพย์ ทอง ใกล้all time low
นักวิเคราะห์มองทองอย่างเหยียดหยาม เพราะชอบBitcoinมากกว่า
เราควรลงแค่1%สำหรับbitcoin และแบ่งเงินลงใน Emerging market โดยเฉพาะเอเชีย
ดร นิเวศน์ บอกว่า หุ้นที่เราถือ อยากถือต่อไหม แต่อย่างไรก็ตามก็มีปันผล
เวลาวิกฤต หุ้นก็ลงแต่ไม่เยอะ เราต้องมีเงินพร้อมจะซื้อเพิ่ม เรากล้าหรือเปล่า
ถ้ากล้า ก็ไม่มีปัญหา ผมเก็บเงินสดมาตั้งนาน ถ้าเกิดเมื่อไหร่จะเข้าไปซื้อ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เราถือ ยังดี ลงทุนระยะยาว
ประวัติศาสตร์ในการเกิดวิกฤต กว่าจะฟื้นก็ใช้เวลา2-3ปีกว่าจะฟื้น
ยังมีเวลา รอได้ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการลงทุน
ยกเว้น Subprime crisis ที่ฟื้นเร็วกว่าปกติ
กลยุทธ์แบบเชิงรับ ตัวไหนแพงก็ถอยดีกว่า
อ เสน่ห์ กล่าวปิดท้ายว่า
มีหรือไม่มีวิกฤตเราก็มีความทุกข์ เวลาหุ้นขึ้น ก็กลัวหุ้นตก
เวลาหุ้นตก ก็ทุกข์ใจว่าตกจริง ความสุขอยู่ที่ไหนกันแน่
และฝากกลอนสำหรับปิดท้ายรายการดังนี้
ทุกข์หรือสุขอยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ
เราอยากได้ความทุกข์หรือสุขนา
-พระศาสนโสภณ
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน รวมถึง ดร ไพบูลย์
อ เสน่ห์ ผู้ดำเนินรายการ และ ทีมงานMoneyTalkทุกท่านครับ
ทำไมวิกฤตถึงจะมา และ หากวิกฤตมา จะต้องทำอย่างไร
วิทยากร
1. คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ บล CLSA
2. คุณ สมจินต์ ศรไพศาล บลจ ทหารไทย
3. คุณ มนตรี ศรไพศาล บล MBKET
4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
อ เสน่ห์ เอื้อนกลอนสอดคล้องกับหัวข้อในวันนี้
“เรื่องวิกฤติ คิดรับมือ คือทางออก
ไม่จนตรอก จนใจ ไร้ทางสู้
ทุกสิบปี มีวิกฤติ คิดครวญดู
โลกรับรู้ เกิดครั้งใด เสียหายจริง
แล้วทำไม วิกฤตินั้น มันถึงมา
มีสัญญาณ ไหมหนา อย่าเฉยนิ่ง
ถ้ามันมา ต้องทำไง ไม่ประวิง
จะขายทิ้ง หรือถือไว้ เอาไงดี
ดร.นิเวศน์เกิดมานาน ผ่านมามาก
รู้ลำบาก รู้สบาย หลายวิถี
เปลี่ยนวิกฤติ เป็นโอกาส ฉลาดมี
การันตี วีไอ ไม่เปลี่ยนแปลง
ดร.สมจินต์มือบริหาร ทหารไทย
จัดทัพใหญ่ การลงทุน หนุนความแกร่ง
กองทุนดี มีโอกาส ไม่หวาดระแวง
พร้อมปันแบ่ง แนวทาง มั่งคั่งยาว
คุณมนตรี เมย์แบงค์ แห่งกิมเอ็ง
เป็นมือเก่ง มือบริหาร ผ่านร้อนหนาว
ต้มยำกุ้ง แฮมเบอเกอร์ เจอทุกคราว
ได้สืบสาว เล่าบทเรียน แลกเปลี่ยนกัน
คุณปริญญ์คนขายเป็ด รสเด็ดขาด
เป็ดรสชาติ ไม่ได้โม้ โฟซีซั่น
ซีแอลเอสเอ เป็นนายใหญ่ นายสำคัญ
มุมมองมั่น ทันโลก ทันเหตุการณ์
จะเกิดไหม วิกฤติใหญ่ ไม่ประมาท
รู้ฉลาด รู้รับมือ หรือฝ่าผ่าน
ไม่ละเลย พร้อมขยับ จับสัญญาณ
ทำการบ้าน การลงทุน ช่วยอุ่นใจ
สองคำถาม สำคัญ ของวันนี้
วิกฤติมี ที่มา ท่าไฉน
วิกฤติมา อย่าถลำ ทำอย่างไร
เชิญฟังได้ พร้อมกัน มันนี่ทอล์ค”
เริ่มจากคำถามแรก วิกฤตเกิดจากอะไร
ดร สมจินต์พูดเป็นท่านแรก
ดร สมจินต์ บอกว่า เริ่มจากวงจรเศรษฐกิจ ในหนึ่งวงจรเศรษฐกิจอาจไม่เกิดวิกฤต
หรือเกิดก็ได้ ซึ่งขึ้นปัจจัยสามปัจจัยได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
2. อัตราเงินเฟ้อ
3. อัตราดอกเบี้ย
เปรียบเทียบวงจรเศรษฐกิจกับเข็มนาฬิกา
ตรง12นาฬิกา เงินเฟ้อต่ำ ตรง 6 นาฬิกา เงินเฟ้อสูง
ตรง 3 นาฬิกา เศรษฐกิจขยายตัว
ตรง 9 นาฬิกา เศรษฐกิจหดตัว
ถ้าเริ่มจาก 12 นาฬิกาเริ่มจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี แล้วค่อยๆดีขึ้น
สิ่งที่มักจะเกิดขึ้น หุ้นขึ้นมากกว่าหุ้นลง
ถ้าเรามาจากเศรษฐกิจแย่ๆ หลายๆคนอาจมีsurprise ว่าทำไมหุ้นขึ้น
ช่วงเข็มนาฬิกาชี้เลข 3 เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว หุ้นเป็นปัจจัยนำเศรษฐกิจ
(Leading indicator) ขยับจากนั้น มีกิจกรรมทางธุรกิจซื้อของลงทุนเริ่มมีการกู้ยืม
ของเริ่มแพงขึ้นไม่ว่า ที่ดิน ราคาน้ำมัน ทองคำแพงขึ้น
6นาฬิกา ของเริ่มแพงขึ้น ที่ตามมาคืออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ตามระบบเศรษฐกิจ มีการปล่อยpersonal loan บริษัทเริ่มกล้าขยายกิจการ
กู้ยืมตามการขยายเศรษฐกิจ ของแพงขึ้น ธนาคารกลางอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจช้าลง
จาก 3 นาฬิกาไปที่ 6 นาฬิกา ตอนของแพงขึ้น ทรัพย์สินที่มักได้ประโยชน์ คือ commodity เช่นทองคำ น้ำมันรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ จุดนี้ คนเริ่มชะลอการจับจ่าย ของที่เริ่มแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น
ราคาหุ้นและพันธบัตรเริ่มชะลอขึ้นและมีความผันผวน ถือเงินสดจะนิ่งกว่า
จาก6ไปที่9นาฬิกา ทรัพย์สินเริ่มผันผวน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มหายไป แต่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่ง คือ พันธบัตรหรือตราสารหนี้ เริ่มน่าสนใจ
จากช่วงที่ดอกเบี้ยขึ้นมาสูงๆและเริ่มนิ่ง และค่อยๆลดลง ดูน่าสนใจมากขึ้น
ธนาคารกลางเริ่มมาช่วยหนุนเศรษฐกิจ
ช่วงระหว่าง9-12นาฬิกา เศรษฐกิจชะลอ เงินเฟ้อเริ่มชะลอ ทรัพย์สินเริ่มลดลง Bondดีขึ้นในช่วงนี้
Low inflation คนลงทุนจะกลัว และ หลายบริษัทเริ่มล้มหาย หุ้นเริ่มจะฟื้นขึ้นก่อนเศรษฐกิจฟื้น
วงจรเศรษฐกิจจาก12นาฬิกาไป1,2,3นาฬิกา หุ้นเริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว (expansion)
ส่วนช่วง 3ไป6นาฬิกาเป็นช่วงอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนช่วง9นาฬิกาเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว
เป็นวงจรแบบนี้ ทำให้ราคาทรัพย์สินออกดอกผลแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละช่วง
แล้ววิกฤตมาตอนไหน
ตอบว่านี่คือวงจรตามธรรมชาติ แต่บางอย่างเติมเข้ามาในวงจรเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ กรณีย้อนไปช่วงต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger crisis
ก่อนหน้าที่ ธนาคารกลางมาแก้ไข
อสังหาริมทรัพย์มีราคาสูงมาก คนจำนวนมากแห่ไปลงทุน
คนมีบ้านแล้วก็ไปซื้อบ้านเพิ่มขึ้น เพราะทรัพย์สินราคาเพิ่มขึ้น
มีการทำleverageมากขึ้น ช่วงนั้นFinancial market มีเครื่องมือเช่น
MBS (Mortgage back securities) ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนง่ายขึ้นเยอะ
ขณะที่ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เงินที่ไปซื้อในขณะที่asset เป็นฟองสบู่
ตอนมีปัญหา การปรับตัวของนักลงทุนค่อนข้างยาก เพราะasset priceถูกผลักไปสูงมาก
คนไปกู้ตอนนั้น จะเกิดปัญหามากเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา
ช่วงต้มยำกุ้ง asset price สูงมาก ช่วงปี 1994 ดัชนีประมาณ 1,800 PE 30กว่าเท่า
Bond yield 7-9% เราดูEarning yield หรือส่วนกลับของ PE ที่ 30กว่าเท่า
คือ 1/30 ได้ประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับBond 7-8% คือลักษณะของBubble
คุณมนตรีจะพูดเรื่องนี้ได้ดี
ช่วงต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทเมื่อก่อนผูกกับสกุลเงิน$ เกิดการleverageของหนี้สินขณะนั้น
พอฟองสบู่แตกเลยทำให้การฟื้นตัวใช้เวลานานมาก
อ เสน่ห์ บอกว่า ตอนนั้นมีหลายคนเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ที่เรียกแบบนั้น เพราะเราเป็นต้นเหตุของวิกฤต และ ต้มยำกุ้งเป็นอาหารขึ้นชื่อของไทย
ดังนั้นจึงเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง
และต่างชาติช่วงนั้นคาดการณ์ว่าเสือตัวที่ห้าของเอเซียน่าจะเป็นประเทศไทย
พอเศรษฐกิจไทยแย่ ก็ดึงเสืออีก4ตัวที่อยู่ในเอเซียลงไปด้วย
ประเทศเกาหลีใต้เป็นลูกหนี้IMFพร้อมเรา แต่ตอนนี้เศรษฐกิจของเขาไปไกลมาก
ธุรกิจเจ๊งมากมายเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าไปสองเท่า หมายถึงหนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
สกุลเงินอินโดนีเซียคือรูเปี๊ย แย่สุดเพราะเงินรูเปี๊ย เปี๊ยจนใกล้แตก
ส่วนเงินรูเบิ้ล เบิ้ลหมายถึงเจ๊งสองเท่า
เงินรูปีของอินเดีย ไม่ค่อยกระทบเพราะหนึ่งรูปีเท่ากับสิบสองรูเดือน เกิดผลกระทบช้า
สถาบันการเงินของไทยปิดไป56แห่ง โดยเฉพาะธนาคารที่มีคำว่านครไม่ว่าจะเป็น
นครธน ศรีนคร มหานคร ก็ถูกปิดไป
คุณศิริวัฒน์ เซียนหุ้นก็มาขายแซนวิส
มีการเปิดท้ายขายของที่เบนซ์ทองหล่อ
แต่คนจนไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีเงิน
คนตกงานก็กลับสู่บ้านเกิด ทำให้เกิดสินค้าโอท๊อป และ SME ก็เกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้
ปี2008 Hamberger crisis คนตกงานมากมายลามไปถึงEU
แต่ประเทศไทยไม่มีหนี้สิน เพราะเราเสียเครดิตไปตั้งแต่ปี40 ไม่มีใครไว้ใจให้กู้
ประเทศไทยไม่เดือดร้อน คนไม่ตกงาน (จริงๆแล้ว บริษัทต่างๆหลังจากเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ได้บทเรียนมาเลยมีการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ทำให้ไม่กระทบต่อบริษัท แต่กระทบต่อ
บริษัทส่งออกเพราะประเทศที่นำเข้าแย่ ทำให้ไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทย)
คนไปชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรีช่วงนั้นมีม๊อบสีลม แต่ยังชุมนุมไม่ครบวัน นายกก็ลาออกภายในครึ่งวัน
จริงๆท่านเป็นคนน่ารัก ไม่โกรธใคร เป็นคนใจดี
คุณมนตรี บอกว่า สองปีที่แล้วฝ่ายวิจัยวิเคราะห์ของเมย์แบงค์กิมเอ็ง
ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจย้อนไปในแต่ละช่วงที่เกิดวิกฤต
ปี 1987 เกิดวิกฤต Black Monday
ปี 2007 เกิดวิกฤต Subprime ทำให้ปีต่อมา 2008 เกิด Hamberger crisis
ปี 1997 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง
ปี 2017 จะเป็นอย่างไร จะเกิดวิกฤตหรือไม่
จากตอนวันที่ 5 มค 1994 ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีสูงสุดแล้ว
เราจะไปถึงตรงนั้นและดัชนีจะตกตลอดหรือไม่
สิ่งที่วิเคราะห์และเปรียบเทียบดูในแต่ละช่วง เรามีความประทับใจกับนายกสมัยนั้น
ยุคปี1997 ลูกโป่งแตกในวงการอสังหา และ วงการหุ้น
สภาพลูกโป่งแตกวัดจากสามปัจจัยคือ การกู้เงินเกินตัว เก็งกำไรเกินตัว ใช้จ่ายเกินตัว
ช่วงนั้นราคาที่ดินขึ้นทุกวัน ถ้าไม่ซื้อวันนี้ วันรุ่งขึ้นราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
บริษัทในช่วงนั้น หนี้คิดเป็น%ของสินทรัพย์ บางกรณีเป็น 100%
แต่ช่วง hamburger crisis หนี้เทียบกับทรัพย์สินเฉลี่ยประมาณ 120% ซึ่งสูงมาก
เงินกู้ในตลาดหุ้นที่ไปซื้อหุ้น ลองสอบถามผู้ใหญ่ในสมัยต้มยำกุ้ง
ตัวเลขเงินกู้ 120,000 ล้านบาท
ปัจจุบันเงินกู้ไปซื้อหุ้นอยู่แถว 70,000 ล้านบาท ถ้านึกย้อนกลับไปช่วงพีค
ในปี1997 market cap 3.5 ล้านบาท
ตลาดหุ้นตอนนี้market capใหญ่ขึ้น5เท่าเมื่อเทียบกับช่วงต้มยำกุ้ง
แต่margin loan เล็กกว่าเมื่อก่อน
หนี้อีกกลุ่ม คือ หนี้สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงต้มยำกุ้ง
D/E ratio 2.1 เท่าตอนนี้ลงมา 1.3 เท่า แสดงว่าหนี้ในระบบน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก
ยุคนี้ธนาคารปล่อยอย่างระมัดระวัง บริษัทก็ไม่ยอมมีหนี้ระดับสูง
ส่วนอัตราดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 13% เหลือ 5-6%
เราได้บทเรียนจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงเตือนว่า อย่าใช้จ่ายเกิน กู้เกินตัว
การกู้ซื้อคอนโดทีละ 5-10ห้องในสมัยนั้น ตอนนี้ก็น้อยลง
เงิน$ในกองทุนสำรองระหว่างประเทศสมัยนั้น จากที่ควรมี 40,000 ล้าน$
ลดลงเหลือ 7,000 ล้าน$ ในช่วงปี2540
ตอนนั้นเราก็ไปต่อต้านคอร์รับชั่น สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ทำให้นายกช่วงนั้นลาออกไป
หลังจากนั้นประทับใจรัฐบาลนายกชวน หลีกภัย โดยมีดร ศุภชัย และ คุณธารินทร์มาร่วมรัฐบาล
ดร ศุภชัย บอกว่า เรื่องCyclical , Bubble ,หนี้เกินตัว และเรื่องโครงสร้างการลงทุน
คนจีนช่วงนั้นทำงานได้เหมือนเราแต่ค่าแรงถูกกว่า เราต้องปรับตัวเพื่อแข่งกับจีน
ดังนั้น ปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 215,000 ล้าน$
และ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดหลายปี
มีคนมาท่องเที่ยวเยอะ เห็นจากคนที่สนามบินดอนเมือง หรือสุวรรณภูมิเยอะ
เศรษฐกิจยังไปได้ วิกฤตมองแล้ว คุณมนตรีฟันธงว่าวิกฤตไม่น่าจะมา
อ เสน่ห์ บอกว่า ช่วงนั้นมาเลเซีย ตรึงเงินไว้ ตามทฤษฏีของคุณครุกแมน
ตอนนี้มาเลเซียเปลี่ยนโฉม หนี้มาเลเซียคิดเป็น 1ล้านล้านริงกิต
รัฐบาลมาเลเซีย รณรงค์ให้ระดมเงินขึ้นมาคนละหนึ่งริงกิต สามารถช่วยประเทศได้
ปรากฏว่าไทยดีกว่า เพราะไม่มีหนี้มากเมื่อเทียบกับมาเลเซีย
ใครจะไปรู้ว่า ดร นิเวศน์ ตอนอายุ92ปีจะมากอบกู้
และ อ เสน่ห์ สงสัยต่อว่ามหาเธร์ บวชวัดไหน เพราะมีคำว่า มหา นำหน้า
คุณปริญญ์ กล่าวเป็นท่านต่อมาว่า
วิกฤตฟังดูเครียด ขอบคุณพี่เปี๊ยก(คุณมนตรี) มาพูดว่าไม่เกิดวิกฤต
ปกติทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ไม่มีสัญญาณบอกว่าวิกฤตเกิดขึ้น
ตอนนี้ประเทศทางละตินอเมริกา จนถึงบราซิล เริ่มมีกลิ่นของวิกฤต
เวลาวิกฤตมาค่อนข้างจะคล้ายเดิม รอบนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว
เริ่มในปี2017ต่อเนื่องถึงปีนี้ ToneและTrendของสังคม มีความแตกแยกรุนแรงขึ้น
ระบบทุนนิยมที่ได้ยอมรับมานาน ช่วงสิบปีหลังเริ่มมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง
คุณ โดนัล ทรัมป์ ที่มาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ
ปกติการเมืองของสหรัฐไม่น่าจะเลือกคุณทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี
แต่คนอเมริกาไม่พอใจเรื่องการเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นวิกฤตทางการเงิน
ช่วงแฮมเบอเกอร์ วิธีแก้ต่างกับวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างสิ้นเชิง
ลอแรนซ์ ซัมเมอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐในสมัยต้มยำกุ้ง
สั่งให้เราปิดสถาบันการเงิน ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ ให้กระทรวงการคลังมีวินัยทางการคลัง
แต่ที่อเมริกาช่วงแฮมเบอเกอร์ทำกลับกัน การแก้ปัญหาโดยขยายbalance sheet 18%
คลังทำการอัดฉีดให้กับ Freddy May, Freddie Mac รวมถึง AIG
วิกฤตรอบที่แล้ว ไม่ได้แก้ แต่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น
เงินไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงในEmerging market ซึ่งFEDควบคุมเงินที่อัดฉีดเข้าไปไม่ได้
ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน FED
กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto มีการสร้างBitcoinช่วงนั้น
เพราะไม่เชื่อถือธนาคารกลางแต่ละประเทศ
ตอนนี้หนี้ครัวเรือนอเมริกาเริ่มกลับมาอยู่ระดับสูง มาจากหนี้สินเชื่อ
ขณะที่หนี้ภาครัฐก็ยังอยู่ในระดับที่สูง
มีการเกิด Government shutdownบ่อยมาก
เวลาเกิดปัญหา พรรคRepublicanก็ด่าพรรคเดโมแครต
อเมริกาต่อให้หนี้ท่วมหัวก็รอดได้ พวกเขาคิดอย่างนั้นจริงๆ
ทรัมป์บอกว่าให้ลดภาษี ซึ่งทำให้รายได้เข้ารัฐน้อยลง ผลประโยชน์ไปอยู่บริษัทเอกชนใหญ่ๆ
แถมรัฐบาลยังสร้างinfrastructure ขณะที่ระดับหนี้ยังอยู่ที่สูง ข้อนี้ไทยก็มีการสร้างinfraแต่ยังดีกว่าอเมริกา
ผมจะแปลกใจ ถ้าFED ขึ้นดอกเบี้ยสี่ครั้งได้ในปีนี้ ถ้าเป็นไปได้ ฟันธงว่าปีหน้าเจอวิกฤตแน่
ธนาคารกลางประเทศอื่นๆเริ่มตึงๆ และจะทยอยถอนQEออก
วิกฤตเบาๆค่อยๆมาแล้ว
หลายผู้นำของแต่ละประเทศ พยายามทำนโยบายแบบกีดกันประเทศอื่น
เช่นนโยบาย America first , Made in India
คนในยุโรปไม่พอใจผู้นำ จะไม่เห็นการร่วมมือกันของประเทศในยุโรป
ดร นิเวศน์ พูดในเชิงวิชาการ
เกี่ยวข้องกับเงินทองของเรา วิกฤตจะมาต่อเมื่อ
เรื่องแรก ราคาหุ้นแพงมากๆ
เรื่องสองมีสองความคิด ขึ้นกับค่าเงินสำรอง Balance of payment ฐานะทางการคลัง
ถ้าปัจจัยทางด้านfundamentalดีก็จะไม่เกิดวิกฤต ถ้าไม่ดีมีโอกาสเกิดวิกฤต
ทำให้เรารู้ได้ว่าวิกฤตจะมา แสดงว่าวิกฤตคาดการณ์ได้ นี่เป็นความคิดแรก
แต่มีอีกความคิด เรื่องแรกเหมือนกัน
แต่เรื่องที่สอง fundamentalไม่ร้ายแรง แต่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงมาก ก็เกิดวิกฤตได้
ตัวที่ทำให้เกิดวิกฤต Robert Shiller เขียนไว้ แปลเป็นไทยว่า ความตื่นเต้นที่ไร้ตรรกะ
หุ้นแพง มีคนตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ พอซื้อหุ้นเข้าไป รอบแรกขึ้นนิดหน่อย
อีกกลุ่มเข้าไปซื้อต่อและหุ้นขึ้น คนต่อมาก็เข้าไปซื้อ เกิดการปั่นหุ้นขึ้น จริงๆพื้นฐานพอใช้ได้
มีlook feedback วงจรย้อนกลับ ราคาหุ้นขึ้นคล้ายๆกับแชร์ลูกโซ่
หุ้นขึ้นเพราะคนคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อ ราคาหุ้นขึ้นโดยไม่มีพื้นฐานรองรับ
มีหลายความคิดที่ทำให้หุ้นขึ้น ทุกคนเชียร์หุ้นกันหมด มีการปั่นหุ้นกัน
มีคนซื้อตามกัน หุ้นIPOตอนออกราคาแพง แต่ราคาหุ้นก็ขึ้นไปได้อีก
ในอเมริกา ก่อนปี2000 หุ้นที่มีชื่อด้วย dot com ขึ้นไปหมด
เมื่อรวมกับหุ้นราคาแพง ไม่สนใจเรื่องพื้นฐาน ถึงจุดหนึ่ง ราคาเกินไปเยอะ
พอรายใหญ่เทขาย หุ้นเริ่มลง มีการขายตาม ความตื่นเต้นเปลี่ยนเป็นความกลัว
หุ้นinternetของอเมริกาลงมา 80-90% แม้แต่หุ้นบริษัทAmazon
ตกลงมาเหลือไม่ถึง 10%ทั้งที่เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
ทฤษฏีนี้ไม่มีใครรู้ว่าเกิดวิกฤตเมื่อไหร่ แต่ประเมินว่าคนไร้ตรรกะกันแค่ไหน
สังเกตจากรายการทีวี ข่าวจากนสพ ประเมินว่าคนไร้ตรรกะมากแค่ไหน
กลับมาที่เมืองไทย ราคาถูกแพงใช้PE 17 เท่า ดูไม่ค่อยแพง
แต่เป็นตัวเลขปีเดียว คนมองระยะยาว บอกว่าใช้ได้แต่ไม่ค่อยดี
เบน เกรแฮม บอกว่าให้ใช้เฉลี่ย
E ขึ้นๆลงๆ ใช้ปีเดียวไม่ถูก เอาค่าเฉลี่ยของกำไรย้อนหลัง 10 ปี
ส่วนRobert Shiller มีการปรับค่าเงินเฟ้อ (cyclically adjusted price-to-earnings ratio)
ซึ่งยุ่งยากเกินไป ดร นิเวศน์ เลยเอาแบบง่ายๆโดยเอาตัวเลขกำไร 10ปีย้อนหลัง โดย P เป็นตัวปัจจุบัน
ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ PE 26 เท่า
ส่วน Robert Shiller เคยทำไว้เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วตลาดUS ทำไว้ PE 26 เท่า (เท่ากับไทย)
เขาบอกว่าตอนนั้นราคาหุ้นแพงมาก ไม่เคยเกิดมาก่อน
(ยกเว้นวิกฤตตอน ปี1929 , ปี2008)
Robert Shiller บอกว่า
หุ้นอเมริกาเจ๊งแน่ ปรากฏว่าหลังจากผ่านไปสามปี หุ้นวิ่งขึ้นไปมาก
แต่ดร นิเวศน์ไม่ได้บอกว่าหุ้นไทยจะขึ้นเหมือนกับที่อเมริกา
มันอาจจะขึ้นต่อไปถึง PE 30 แล้วค่อยเกิดวิกฤตก็ได้
เมื่อ2-3ปีที่แล้ว เคยทายไว้หุ้นไทยจะตก ยิ่งทายยิ่งขึ้น แต่ผมไม่ได้บอกว่าจะเจ๊ง
แต่บอกว่ามันอันตราย หุ้นได้เกิดวิกฤตขึ้นจริงในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลาง
ตลาดหุ้นไทยมีสองตลาดคือหุ้นใหญ่(SET) และ หุ้นขนาดกลาง เล็ก(MAI)
หุ้นกลุ่มหลังตกลงมาเยอะ ฝรั่งขายมา100,000กว่าล้านบาท
แต่สถาบันรับซื้อมา วันไหนถ้าซื้อไม่ไหวก็ต้องระวัง
อาจารย์ก็เริ่มซื้อเพิ่มในหุ้นเต่า เราไม่รู้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด
Alternative investment ถ้าขายหุ้นจะไปซื้ออะไรดี
อสังหาริมทรัพย์ก็แพง ไม่มีทางออก ดอกเบี้ยต่ำมาก
ดู Robert Shillerที่ทำช่วงนั้นดอกเบี้ยสูงมากเทียบกับไทยตอนนี้
ดอกเบี้ยต่ำมาก เงินปันผล3%ก็ยังคุ้มกว่าไปฝากธนาคาร
ตราบใดที่จ่ายปันผล3-4% ก็ยังถือหุ้นต่อได้
คำถามที่2 วิกฤตสมมติว่ามา เราจะทำอย่างไร
ดร สมจินต์ บอกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคิดก่อนคือ ก่อนวิกฤตจะมา เราต้องทำอย่างไร
อย่างที่ดร นิเวศน์เปิดไว้ว่า เราไม่รู้ว่าวิกฤตมาเมื่อไหร่
ในแต่ละวงจรเศรษฐกิจ ก็จะมีทรัพย์สินที่น่าลงทุน
แต่เราไม่เห็นอนาคตว่าทรัพย์สินไหนดี
เราสมมติว่าเป็นเจ้าของสวนผลไม้
แต่ละฤดูจะมีผลไม้ที่ผลัดกันออกดอกออกผล
หลักของการลงทุน เราต้องจัดกองทัพของการลงทุนให้เหมาะสม
มีกองหน้า กองกลาง กองหลัง ให้ครบ
เงินบางส่วนสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ถือเป็นกองหน้า อัตราผลตอบแทนที่สูง
สินทรัพย์ที่ลงทุนในระยะยาว คือ หุ้น หรือ กองทุนหุ้น ซึ่งสามารถก้าวข้ามวงจรเศรษฐกิจ
ประมาณ 10ปี ถ้าเงินของเราเย็นแบบนั้น
จะมาอยู่กองหน้าได้ อาจได้ผลตอบแทน 10-12% ต่อปี แต่ไม่ลงทุนกระจุกแค่หุ้นบางตัว
หรือ บางอุตสาหกรรม
ถ้าเป็นเงินที่จะใช้ในปีหน้า ควรลงทุนอยู่ในส่วนที่คล่องตัวสูง
เช่น กองทุนตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
เงินที่อยู่ไม่ถึง10ปี ก็ไปอยู่กองกลาง และ สามารถเปลี่ยนเป็นกองหน้า
โดยซื้อสินทรัพย์ที่ราคาลงมาจากวิกฤต บางทีกองกลางไปกองหลังได้
เงินกองกลาง ลงในตราสารหนี้ หรือ property asset, Infrastructure ตัวให้ผลตอบแทน คือ ดอกเบี้ย
ค่าเช่าที่ค่อนข้างเสถียร ผันผวนแต่มีกระแสเงินสดค่อนข้างดี
ลักษณะอย่างนี้อยากให้เน้น
ปัจจัยที่1 ความสอดคล้องในวัตถุประสงค์ เวลาลงทุนต้องดูที่วัตถุประสงค์ก่อน
และหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการลงทุน
ปัจจัยที่2 คือ การกระจายความเสี่ยง กองทุนรวมเป็นเครื่องมือที่ดี
กองหน้า ตัวอย่าง กองทุนหุ้นไทย เช่น กองทุน SET50 หรือ กองทุนที่กระจายไปต่างประเทศ
ช่วงที่วิกฤตที่ภูมิภาคอื่น แต่กระทบหุ้นไทยด้วย การกระจายความเสี่ยงสำคัญมาก
เช่น กองทุนGlobal quality growth ของ Wellington
เศรษฐกิจขาขึ้น คือ ลงทุนในบริษัทGrowth company
เศรษฐกิจขาลง คือ ลงทุนในบริษัทQuality company
ส่วนกองกลาง เสี่ยงกว่ากองหลังโดยอายุตราสารที่ลงเหลืออายุ 4-7 ปี ได้แก่
Global income fund แม้เป็นตราสารหนี้ช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ราคาก็จะผันผวนด้วย
Property fund สามารถลงทุนได้ในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนกองหลัง กองทุนธนไพศาล กองทุนธนพลัส ก็น่าสนใจ
การที่เราเจอวิกฤตมาจะทำอย่างไร เราควรเตรียมตัวก่อนวิกฤต และ สามารถจัดการได้
ดร ไพบูลย์ บอกว่า ต้องตั้งรับไว้ก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้
ว่าช่วงไหนวิกฤต เมื่อวิกฤตมาเราจะรอดได้อย่างไร แบบดร สมจินต์
อ มนตรี บอกว่าวิกฤตเกิดจากคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร
เราคิดอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต
หนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มใหม่ๆ บอกว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตมีดังนี้
1.การคาดการณ์ในแต่ละเรื่อง ถ้าคาดว่ามันโต มันก็โตได้
ตัวขับเคลื่อนขาขึ้น คือ ความโลภ ส่วนตัวขับเคลื่อนขาลงคือความกลัว
ไม่ว่าความโลภหรือความกลัว คือ ซาตานทั้งสิ้น
กู้หรือก่อหนี้เกินตัว มีการเก็งกำไร เป็นสัญญาณที่ลูกโป่งแตก
หุ้นลงมา คนจนหมดตัว เกิดความกลัวไม่กล้าใช้จ่าย
ปี 1929-ปี1930 (Great depression) คนกลัวนานมาก หุ้นตกแรงมาก
ประธานาธิบดี รูสเวล บอกว่า สิ่งน่ากลัวมากสุด ก็คือความกลัว
2. ในแง่ความระมัดระวัง ใกล้วิกฤตต้องทำอย่างไร
เราต้องระมัดระวังเรื่องลงทุนเกินตัว เช่น กู้marginในหุ้นที่เสี่ยง
เวลาขาขึ้นดี แต่เวลาขาลงอันตราย
การลงทุนในFuture เวลาลงในแต่ละตัวหุ้น เงินที่ลง 500,000 บาทใช้แค่ 5-10%เอง
เวลาขึ้นมันดี เงินเติบโตขึ้นเท่าตัว แต่เวลาลงก็ลงหนักด้วย
ต้องมีเงินทุนที่พอเพียง หุ้นบางตัวถูกdumpมาแรงจากForce salesจากFuture
สุดท้าย แผ่นดินไหนที่มีธรรม ก็เป็นแผ่นดินทอง ไม่คิดเห็นแก่ตัวมากเกินไป ก็อยู่กันได้
ไม่ว่าจะBrexitที่ชวนให้คิดเห็นแก่ตัว
นโยบายทรัมป์ ที่ชวนให้เห็นแก่ประเทศตัวเอง
บ้านเมืองเราเข้าสู่การเลือกตั้ง เป็นทิศทางที่ดี ถ้าเราอยู่ในเนื้อหา ทำให้บ้านเราไม่เข้าสู่วิกฤต
คุณ ปริญญ์ บอกว่า เวลาวิกฤตจะมา จะมีโอกาส เช่น คุณ Robert Shillerเป็นนักเศรษฐศาสตร์
ปกติจะมีการคาดการณ์เรื่องวิกฤตตลอด เช่น คาดการณ์ 10 ครั้ง แต่เกิดจริง4ครั้ง
ผมเป็นนักศึกษาตอนช่วงวิกฤตไปทำงานร้านอาหาร
เจอเจ้าของร้านอาหารBlue elephantที่ Plaza asthenia
ที่บ้านเจ็บปวดตอนค่าเงินบาทอ่อน ค่าใช้จ่ายที่ส่งไปเรียนขึ้นสองเท่าแต่ผมไม่เดือดร้อนเพราะรายได้จาก
การทำงานพิเศษมากขึ้น ทำให้เราชอบอาหาร
ผมไม่เชื่อในทฤษฏีเรื่องเอาไข่ไว้ในตระกร้าเดียวกัน เพราะเคยเจ็บมาก่อน
ช่วงdot com bubble เสียเกือบหมด รอบที่สอง เจอซาโตชิ แจกชิฟ 4 bitcoin ทุกคนโยนทิ้งไป
ตอนนี้สินทรัพย์เสี่ยงมองไปทางเดียวกัน อาจรอดจากวิกฤต แต่ค่าเงิน$แข็งกว่าที่ควร
ต้องกระจายความเสี่ยง สินทรัพย์ ทอง ใกล้all time low
นักวิเคราะห์มองทองอย่างเหยียดหยาม เพราะชอบBitcoinมากกว่า
เราควรลงแค่1%สำหรับbitcoin และแบ่งเงินลงใน Emerging market โดยเฉพาะเอเชีย
ดร นิเวศน์ บอกว่า หุ้นที่เราถือ อยากถือต่อไหม แต่อย่างไรก็ตามก็มีปันผล
เวลาวิกฤต หุ้นก็ลงแต่ไม่เยอะ เราต้องมีเงินพร้อมจะซื้อเพิ่ม เรากล้าหรือเปล่า
ถ้ากล้า ก็ไม่มีปัญหา ผมเก็บเงินสดมาตั้งนาน ถ้าเกิดเมื่อไหร่จะเข้าไปซื้อ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เราถือ ยังดี ลงทุนระยะยาว
ประวัติศาสตร์ในการเกิดวิกฤต กว่าจะฟื้นก็ใช้เวลา2-3ปีกว่าจะฟื้น
ยังมีเวลา รอได้ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการลงทุน
ยกเว้น Subprime crisis ที่ฟื้นเร็วกว่าปกติ
กลยุทธ์แบบเชิงรับ ตัวไหนแพงก็ถอยดีกว่า
อ เสน่ห์ กล่าวปิดท้ายว่า
มีหรือไม่มีวิกฤตเราก็มีความทุกข์ เวลาหุ้นขึ้น ก็กลัวหุ้นตก
เวลาหุ้นตก ก็ทุกข์ใจว่าตกจริง ความสุขอยู่ที่ไหนกันแน่
และฝากกลอนสำหรับปิดท้ายรายการดังนี้
ทุกข์หรือสุขอยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ
เราอยากได้ความทุกข์หรือสุขนา
-พระศาสนโสภณ
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน รวมถึง ดร ไพบูลย์
อ เสน่ห์ ผู้ดำเนินรายการ และ ทีมงานMoneyTalkทุกท่านครับ