MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิกฤต

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
Verified User
โพสต์: 293
ผู้ติดตาม: 0

MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิกฤต

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุปสัมมนา Money Talk@SET 11/11/60


ช่วงที่ 2 “ยุทธศาสตร์สู้วิกฤต” ผ่านประสบการณ์ชีวิต
1) คุณ ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ / ศิริวัฒน์แซนวิช
2) คุณ ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ / นักเรียนไทยที่เสีย2ขาในสิงคโปร์ (น้องธันย์)
3) คุณ ชิน กิตติภานุวัฒน์ / เซียนหุ้นฉายา ผู้ชนะสิบทิศ
4) คุณ ธานินทร์ งามวิทยาพงศ์ / คลายเครียด หรือ เอ็นโดฟิน แห่งพันทิพย์
5) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / เซียนผู้ผันชีวิตจากตกงานสู่กูรู
ผู้ดำเนินรายการ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ

ในตอนที่ประสบวิกฤติรู้สึกอย่างไร และทำใจปรับตัวรับผลกระทบที่ตามมาอย่างไร?

น้องธันย์ ณิชชารีย์
ก่อนเกิดอุบัติเหตุ เป็นคนที่เคยคิดมาตลอดว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตตัวเองเดินไปข้างหน้า โดยไม่ถอยหลัง
พอตอนที่เกิดวิกฤติเกิดขึ้นกับเรา ก็คิดแบบเดียวกันว่า ทำไมเราไม่มองข้อดีของวิกฤตินั้นเพื่อให้เดินต่อไปข้างหน้าได้
เหมือนตอนเรียนคณิตศาสตร์ อาจารย์สอนเรื่องขาดทุนกำไร ชีวิตเราก็เป็นแบบนั้น
ถ้าไม่อยากขาดทุนก็ต้องทำให้บวก ต้องพยายามหาข้อดีของวิกฤตินั้น เพื่อเป็นกำไรไปตั้งต้นทุนใหม่
และสร้างกำไรเพิ่มขึ้น หรือกระจายความเสี่ยงให้ติดลบน้อยที่สุด
ช่วงที่ตกลงไปที่รางรถไฟฟ้าจากการโดนเบียด ความรู้สึกมันเกิดชั่ววูบเหมือนปิดไฟไปแล้วเปิดใหม่
ตอนที่ตกลงไปอยู่หน้ารถ ขาจะพาดกับรางก่อนที่รถจะลากผ่านไป
(รถมีการเบรก แต่ไม่สามารถหยุดได้ทันที จะมีการไหลต่อไป)
พอมีสติอีกทีเราก็อยู่ใต้ท้องรถแล้ว ซึ่งรู้ตัวแล้วว่าเสียอวัยวะ เพราะ พยายามขยับนิ้วเท้าแต่ขยับไม่ได้
ไม่มีความรู้สึก ขามันหักแล้วแต่ยังไม่หลุดจากร่างเรา

ใช้เวลารักษาตัวจนเดินได้อีกครั้ง 5 เดือน นอนที่สิงคโปร์ 2 เดือน
กลับมากายภาพ ฟื้นฟูที่ไทย ใส่ขาเทียม 3 เดือน กลับมาก็เข้าโรงเรียนต่อเลย

สิ่งที่คิดเมื่อตอนประสบอุบัติเหตุ ตอนนั้นมี 2 อย่าง
อย่างที่ 1 คือ จะบอก พ่อแม่อย่างไร เพราะเคยสัญญาไว้ว่าจะดูแลตัวเองดีๆ
อย่างที่ 2 คือ แล้วจะไปโรงเรียนอย่างไร จะช่วยเหลือตัวเองอย่างไร เพราะที่ผ่านมาต้องเดินเรียน ขึ้นรถ กลับบ้านเอง
ค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมด รัฐบาลสิงคโปร์ไม่ได้จ่ายให้ แต่ได้รับเงินช่วยเหลือจากนักธุรกิจชาวฮ่องกง
ที่ทราบข่าวแล้วอยากช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถตามหาตัวได้เพราะท่านไม่ได้เปิดเผยชื่อ

โดยรวมแล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดในชีวิตตอนนี้ คิดว่าไม่ได้เป็นการถอยหลัง เป็นการเดินหน้า และเดินหน้าไปมากกว่าที่ตั้งไว้
ไม่ใช่แค่กลับเพียงไปใช้ชีวิตในสังคมปกติ กลายเป็นโอกาสให้ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น ได้เรียนรู้โอกาสที่เร็วกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน

การได้รับพระราชทานขาเทียม ก็ถือเป็นจังหวะชีวิต จากการที่มีข่าวหนังสือพิมพ์ออกเป็นเวลานาน
ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ทรงเห็นข่าวเราจากหน้า นสพ.เป็นภาพยิ้มชูสองนิ้ว
พระองค์ทรงเคยครัสไว้ว่า งานคนพิการคืองานของท่าน ดังนั้นคนไทยอยู่ที่ไหน ถ้ากำลังลำบากก็ต้องช่วยเหลือ
ท่านทรงมีการส่งคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องขา และเลขาฯท่านผู้หญิงอารยา ไปเยี่ยมเยียนที่โรงพยายาลและถามไถ่อาการ
เป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

น้องธันย์เคยพูดสัมภาษณ์สื่อว่า ไม่มีขาก็ไม่เป็นภาระกับขาอีก ปกติเวลาพ่อขับรถพาไปเที่ยว
จะชอบนอนขดขาอยู่ในรถ เป็นเหน็บ ตอนนี้ก็นอนได้ไม่เป็นภาระ เตียงก็ยาวกว่าตัว
อ.เสน่ห์ ชื่นชมว่าแนวคิดว่าไม่คร่ำครวญถึงอดีตและเป็นรุ่นใหม่ที่เล่าเรื่องแล้วฟังรู้เรื่อง

คุณธานินทร์ (เฮียคลาดเครียด)
ถ้ามีเราสติก็จะมีสตางค์ เคยเกิดวิกฤติหนักๆ ช่วงราชาเงินทุน
ตอนนั้นไม่ค่อยรู้สึกอะไรมาก เพราะทุกคนเจ๊งกันหมด
อาชีพค้าขายผ้าที่บ้านอยู่กับพ่อ ก็มีต้นทุนเงินจากพ่อ คนเครียดเลยกลายเป็นพ่อไม่ใช่เรา
ที่บ้านไม่มีคนมองหุ้นในแง่ไม่ดี ไม่ได้เห็นเป็นการพนัน

ปัญหาที่เสียท่าคือเล่น margin ขาดทุนแค่ 30% แต่กู้เงินมา 70%
กับวิกฤติอีกครั้ง ปี 40 ตอนฟองสบู่แตก เข็ดจากเล่นมาร์จิ้นแล้ว ก็เป็นเงินสด
พอร์ต 60% เหลือ 40% เป็นเงินสด แต่เจ๊ง 60% หนักกว่าตอนที่เจ๊งเล่น มาร์จิ้น
ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกับไปให้น้องๆให้พ่อได้แล้ว
ปัญหาตลาดตอนนั้น คือ ไม่ได้มีข้อมูลอะไรมาก รู้แค่ราคาขึ้นราคาลง ไม่เทียบพาร์,ไม่เทียบ PE

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา
(อ.ไพบูลย์ เสริมว่ามีนักลงทุนท่านหนึ่งที่มีแนวคิดเดียวกัน แต่ท่านเสียชีวิตแล้ว คือ คุณโกศล ไกรฤกษ์)
หุ้นบางตัวถือมาเป็นสิบปี แต่ก็ดูอยู่ทุกวัน เรียกเป็นเงินมายา ถ้าขายออกมาถึงเป็นจริง
ขอพูดเสริมถึงน้องธันย์ นึกถึงคำพูดที่เจอท้ายรถ ต่อให้ชะตาฟ้าลิขิต ชีวิตเราก็ยังกำหนดเอง
บางคนปล่อยไปตามยถากรรม แต่ถ้าแบบน้องธันย์คือลิขิตเอง
ยุทธศาสตร์กับยุทธวิธีไม่เหมือนกัน ขึ้นกับความเชื่อของเรา
อย่างพอร์ตทุกวันนั้นไม่ได้รวยแบบคนเป็นพันล้านร้อยล้าน แต่ก็มีความสุขได้ เราลิขิตเองว่าเราพอใจเท่านี้

คุณศิริวัฒน์ แซนด์วิช
ให้กำลังใจและชื่นชมน้องธันย์ ชีวิตพวกเราที่อยู่เวทีวันนี้ที่บอกวิกฤติ ไม่ได้ 1 ส่วน 10 ของน้องธันย์
ยุคสมัยที่เกิดในวิกฤติบนเวทีไม่มีใครรวยกว่า แต่สมัยนี้จนสุด แต่ก็ภูมิใจที่สุดที่วันนี้ยังมีชีวิตอยู่

จากวันนั้นจนมาถึงวันนี้ก็ได้สัจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งสมมติ อย่าไปยึดติดกับมัน เป็นทุกข์
ฟ้าลิขิต หรือจะสู้มานะตน คนเราทุกคนอยากประสบความสำเร็จ มีโอกาสเกิดเป็นคนมีบุญมหาศาล
ก็ต้องยอมรับว่าความไม่แน่นอน คือสิ่งที่แน่นอนที่สุด สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ ความไม่แน่นอน

สมัยที่รุ่งเรืองมีเงินมาก แต่พอวิกฤติไม่เหลืออะไรเลย คอนโดต้องอาศัยเพื่อนอยู่
บ้านแม่ติดจำนองก็ต้องไปประมูลกรมบังคับคดี (ซึ่งก็ได้รับการช่วยเหลือจาก ดร.ไพบูลย์)
ชีวิตวันนี้กล้าพูดได้ว่ายืนกลับมาได้ด้วยลำแข้งตัวเอง
คนเราอย่าไปหวังอะไรมากมาย มันคือตัวเลข
เรื่องหุ้น ซื้อไปตก กลุ้มใจ ขายเสร็จคัทลอส หุ้นขึ้น

ช่วงที่เกิดวิกฤติ อยู่ในวงการหุ้น เป็นโบรกเกอร์ เป็นแมงเม่าตัวใหญ่
สมัยวิกฤติราชาเงินทุนยังไม่มี กลต. ยังไม่มี force sell
ปี 40 มีกลต.แล้ว ไปเล่นมาร์จิ้น โดน force sell เลยหมดเนื้อหมดตัว
หุ้นที่ถูก force sell โบรกเกอร์ก็ส่งข่าวถึงกันว่าอย่าไปซื้อ ลงไป 6 floor จนหุ้นหมด
เหลือแต่หนี้ดอกเบี้ย 17% และมีสร้างคอนโดที่เขาใหญ่ 20 ปีก่อนขาย ตรม.ละ 5 หมื่นบาท ขณะที่ กทม. ขายตรม.ละ 3 หมื่นบาท
โดนไป 2 ดอกใหญ่เลยร่วง

มาตั้งสติว่าเราทำอะไรผิดหรือไป เราต้องอยู่ต่อไป ช่วงวิกฤติ 40 ก็มีคนฆ่าตัวตายเยอะ
ตอนไปออก TV ก็มีหมอสุขภาพจิตถาม ว่าเคยคิดฆ่าตัวตายไหม ก็ตอบว่าไม่เคยคิด
เป็นหนี้เกือบพันล้าน ลูกยังเล็ก มีพนักงาน กว่าจะได้เกิดเป็นคนก็มีบุญแล้ว ไม่ได้โกงใคร กู้เงินไปลงทุน ก็เลยสู้ต่อ
แต่ไม่มีเครดิตแล้ว ขอยืมเงินญาติ 2 แสน ญาติก็ไม่ให้ยืม
จ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 8 ล้าน จ่ายได้ 2 เดือนก็ปิด finance ชั่วครา 56 แห่ง
หลังจากนั้น IMF ก็สั่งปิดทุกแห่ง จึงต้องไปขายแซนวิชข้างถนนกับลูกน้อง

จากการคิดบวก ชีวิตต้องอยู่ต่อไป อดีตแก้ไชไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงอนาคตอได้อยู่ที่ตัวเรา
ถ้าไปจมปลักกับสิ่งที่ผ่านมาก็จะไม่มีความหวัง ไม่มีกำลังใจ

อยากฝากพวกเราที่เป็นนักลงทุนรายใหม่ๆ ว่ายังไม่เจอขนาดนั้น และอาจจะไม่เจอขนาดนั้น
เพราะไม่ได้เล่นมาร์จิ้น และกลต.ก็มีระบบดีขึ้น จึงช่วยปกป้องนักลงทุนด้วย
การเล่นหุ้น ทุกคนโลภเหมือนกัน เวลาอยากได้เงินก็อยากได้เพิ่ม แต่เวลาเสียมันเร็วกว่าได้
เวลาได้กำไร 5 ล้าน ทำไมน้อย แต่ขาดทุน 1 ล้านรู้สึกว่ามันเยอะ เพราะเราเจ็บใจ

ทุกวันนี้ยังดูตลาดหลักทรัพย์แต่ลดพอร์ต ไม่ได้เพิ่ม ก็ตกรถไฟ
ในการลงทุนไม่มีใครเก่งกว่าใคร ใครที่พูดอะไรให้ฟังหูไว้หู
ทุกคนคิดและรู้สึกเหมือนกันหมด เพราะเป็นปุถุชน
ไม่ต้องอิจฉาคนนั้นคนนี้ แต่ละคนถูกกำหนดแล้ว
คนเราจะมีความสุขที่สุดถ้าเรามีความพอใจ และพอเพียง

ขอกล่าวถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ผมฟื้นขึ้นได้เพราปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทำพอประมาณ พึ่งตัวเอง ไม่พึ่งคนอื่น สร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ทำอย่างมีเหตุมีผล เดินทางสายการ
ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีธรรมะอยู่ในนั้น
มีหนี้เกือบพันล้าน ขายแซนวิชชิ้นละ 30 บาท ไม่ได้คิดว่าจะฟื้นคืนหนี้ได้หมด แต่ทำไปเรื่อยๆ
แต่มีความสุขมากกว่าในอดีตเพราะทำอย่างพอเพียง
สมัยก่อนกำไร 10 ล้าน ขาดทุน 10 ล้าน เพราะไม่พอเพียง
พอผ่านจุดสูงสุดต่ำสุดก็เลยเห็นหมด เลยอยากฝากพวกเรา
ให้ทำอย่างสมควรแก่เหตุ จะได้เล่นหุ้นอย่างมีความสุข รวยอย่างมีความสุข

คุณชิณณ์
เคยออก Money talk 2 ครั้ง อาจจะทำให้คนเข้าใจแนวทางการลงทุนเราผิด
เริ่มต้นชีวิตค่อนข้างจน รู้สึกว่าความลำบากเป็นเรื่องปกติ
คุณพ่อล้มละลาย 3 ครั้ง แต่ย้ายบ้านไปเรื่อย ไม่ได้หนีหนี้ มีเงินก็เคลียร์หนี้
นอนบนเสื่อมาตลอดเวลาเพราะไม่มีเงินซื้อเตียง จนมีแฟนคนหนึ่งที่เคยมาเห็นแล้วควักเงินซื้อฟูกให้
รู้สึกว่าชีวิตเรามาฐานต่ำมาก ไม่ได้มีความลำบากจริงๆจังๆ
ช่วงเด็กๆมักคลุกคลีกับ รปภ. ความต้องการรวยของเราก็ต้องการแค่พ้นจากเส้นความลำบาก
ตั้งเป้าเกษียณลงทุนเดือนละ 5 พันบาทก็มีอิสรภาพทางการเงินได้

วิกฤติครั้งแรก ช่วงที่เป็นวัยรุ่นก็ขอเงินพ่อมาลงทุน 5 แสนบาท ก็เอาเงินไปซื้อ warrantแล้วพัง เหลือแค่ 2 แสนบาท
ได้รับบทเรียนคือต้องถอยทันทีเมื่อเกิดปัญหา ต้องเหลือเงินต้นเพื่อให้สู้ต่อได้
จึง Cut loss และศึกษาอย่างหนัก ใช้เวลาหกโมงเช้าถึงเที่ยงคืนทุกวันเพื่อให้มีความรู้จริงๆจัง

วิกฤติครั้งที่ 2 คล้ายๆกัน มีหนี้ 4 ล้านบาท ในความรู้สึกเราคือแค่กู้ซื้อไปก่อนแล้วพยายามหาเงินมาจ่ายหนี้ตรงนี้
ไม่ได้คิดว่าเป็นการเก็งกำไรเพียวๆ แต่ก็ทำให้เกิดวิกฤติ

วิกฤติครั้งล่าสุด ที่จริงพบว่าเป็นวิกฤติทางใจก่อน ตอนไปออก Money talk
ก็ได้รับฉายาผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ได้บู๊ล้างผลาญขนาดนั้น
มองตัวเองไม่ได้เก่งเรื่องการลงทุน แต่รู้จักทำ financial plan ให้กับชีวิตตัวเองได้ดีพอสมควร
แต่หลังจากนั้นรู้สึกหลงตัวเอง รู้สึกฟู ขาดสติ

เราเขียนเป้าหมายชีวิตมาตลอด เริ่มต้นจากเงินน้อย มีร้อยล้านอยากช่วยศาสนา ช่วยสังคม
พอพอร์ตใหญ่ขึ้นก็ขยับไปเป้าหมายเป็นพันล้าน ทำบุญให้ได้เท่านั้นเท่านี้
ตอนนั้นที่เกิดวิกฤติถ้าเราค่อยๆทำก็ไปถึงเป้าหมายได้ แต่ด้วยความเร่งรีบ
ใช้มาร์จิ้นในระดับที่ไม่เคยใช้มากก่อน หนี้ระดับ 1.2 พันล้านบาท (กู้ต่างประเทศเงินเยน)
ตอนนั้นก็รู้สึกภูมิใจ ช่วงอายุ 32-33 ปี สามารถมีหนี้เป็นพันล้านได้
แต่พอทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่คาดหุ้นลงเร็วมาก อัตราแลกเปลี่ยนลงเร็วมาก
กลายเป็นขาดทุนราว 5 ร้อยล้านบาทในช่วงเวลาสั้นๆ
พอเกิดวิกฤติ ตอนนั้นก็รู้สึกว่าท้อใจน้อยใจว่าทำไมไม่เกิดมารวย ถึงต้องพยายามขนาดนี้
และอีกอย่างก็รู้สึกว่าทำไมเราต้องแบกภาระเยอะขนาดนี้ เงินส่วนใหญ่ก็ใช้กับสังคม
พอไปเจอคุณพ่อก็ถูกถามให้มีสติว่าเธอทำเพื่อใคร ดูให้ดี ว่าทำเพื่อคนอื่นหรือ
ที่จริงแล้วเห็นแก่ตัวที่สุด เรากำลังเอาทั้งบ้านไปสู่หายนะได้ เพื่อต้องการความมั่งคั่ง เพื่อต้องการชื่อเสียง

สิ่งที่ทำต่อ คือ ปิดสถานะของทุกอย่าง เหลือเงินเท่าไรก็มาเริ่มต้นใหม่
ถัดมาเรื่องของใจ เป็นปุถุชนมียินดี มีเสียใจเวลาเสียทรัพย์ ก็ปรับความรู้สึกตัวเองก่อน
ก็ยกมืออธิษฐานว่าเงินที่เสียไปนี้ ขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา
หัวใจสำคัญของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ต้องการปัจจัยเหล่านี้ ท่านต้องการแก้ทุกข์ของคน
ถ้าเราเอาทุกข์ออกจากใจได้ ถือเป็นการปฏิบัติที่ยิ่งยอด
ก่อนนอนทุกคืนจะทำสมาธิ และพิจารณาว่าถ้าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา คือเรื่องจบแล้ว
การตายเป็นการหมดหน้าที่ หมดภาระที่ต้องแบก ถ้าพรุ่งนี้ตื่นมาแล้วเหมือนเกิดใหม่
จุดเริ่มต้นเรามีอะไรติดตัวมาบ้าง เราจะบริหารสิ่งที่มีเพื่อเกิดประโยชน์เกิดคุณค่ากับคนรอบตัว กับสังคมได้อย่างไร

อีกเรื่องคือความสุข ช่วงเวลาที่มีทรัพย์มากมีความรู้สึกจะทำอย่างไรจึงมีความสุขแบบคนรวย
เที่ยวหรูๆ นอนโรงแรมดีๆ กินอาหารอย่างดี มันเต็มไปด้วยความอยากที่จะมีความสุข
แต่สิ่งที่ได้มาคือมีความทุกข์กว่าเดิม
เพราะมันเต็มไปด้วยตัณหาท่วมนหัวใจ อยากได้ความสุขอยากจะเก็บความสุขไว้ให้ได้
แต่เอาแค่เสียงเสี้ยววินาทีหนึ่ง พอเกิดแล้วก็ดับ มีใครเก็บเสียงนี้ไว้ได้บ้าง เอามาคืนได้บ้าง
ความสุขก็เช่นเดียวกัน และความทุกข์ก็เช่นเดียวกัน เป็นแค่เสี้ยวแว่บหนึ่ง
แต่ถ้าเราเผลอสติไป มันก็ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
หลังจากนั้นพอเราเข้าใจว่าการตามหาความสุขคือบ่อเกิดความทุกข์ที่แท้จริง
ถ้าเราหยุดการตามหา ชีวิตก็จะสงบราบเรียบตามที่ควรเป็น
พอเราเกิดความทุกข์ เราก็กำหนดรู้ว่าคิดหนอ แล้วความคิดก็ดับ
แล้วก็กลับมาอยู่กับโลกปัจจุบันแล้วคิดว่าจะทำอะไรต่อไป ปัญหามันก็หมด
ตอนที่เกิดเรื่องรู้สึกว่าครูบาอาจารย์มาสอนธรรมะ เป็นโอกาสที่ดีมาก
ตัวเองและภรรยา เคยหลงไปกับทรัพย์สินว่าจะต้องทำอะไรให้มีความสุข
เรากลับมาดูว่าต้องใช้เงินเท่าไร ทุกวันนี้ใช้จ่ายส่วนตัวเดือน ละ 2-3 หมื่นบาท
ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไป พอเห็นแบบนี้แล้วเราเห็นทางเดินต่อไป
เห็นว่าเรารวยมาก รวยกว่าตอนที่เรามีเงินเยอะกว่านี้ ตอนนั้นค่าใช้จ่ายเยอะมากจนปันผลมาชดเชยไม่พอ
เคยซื้อคอนโด 7 ห้อง ผ่อนเดือนละ 5 แสน ให้พ่อแม่แฟน ครอบครัวแฟน เดือนละ 2-3 แสน
ใช้ส่วนตัวกับแฟนเดือนละ 2 แสน รวมแล้วเดือนละเกือบล้านบาท
พอเกิดวิกฤติเราก็บอกให้ทุกคนต้องลดลง อยู่ให้ได้
อย่างพ่อแม่แฟนเคยให้เดือนละ 3 หมื่น ก็เหลือ 1.5 หมื่น

ถ้ามองในแง่ดีคือเราได้บทเรียนสำคัญในการดำรงชีวิตต่อ
ถ้าคุณเจอวิกฤติอยู่จะทำอย่างไร ?
อย่างแรกปรับที่ใจ ทำใจให้ออกจากกองทุกข์ให้ได้ก่อน พอมีสติแล้ว ค่อยๆมาดูว่า position ที่อยู่ตรงนี้
สามารถปรับแก้อะไรได้บ้าง คนที่มาปรึกษาเรื่องวิกฤติเงินเพราะไม่ได้ตั้งสติให้ดี
ค่อยๆทำไปเรื่อยๆโดยหวังว่าปัญหาจะคลี่คลายเอง พอเราแก้ที่จิตใจได้แล้วค่อยกลับมาที่การเงิน
เราอยากจะรวยเหมือนเดิมไหม?
ตอนที่มีเงินมากกว่านี้เรากลับไม่พอ ตี 4 ต้องดูอัตราแลกเปลี่ยน ความอยากได้อยากมีอยากเป็นน่าจะมากกว่าใครๆ
ตอนนี้ที่มีทั้งหมดน่าจะพอเลี้ยงตัวแล้ว แบ่งเงินเป็น 3 กอง กองที่เป็น asset, passive income และกองที่เป็นการลงทุนหุ้น
เราก็ไม่ได้ต้องไปคาดหวังสูงๆในหุ้นแล้ว เพราะที่มีอยู่ก็มากพอแล้ว
เงินไม่ใช่ปัจจัยว่าจะมีความสุข ขึ้นกับเข้าใจธรรมชาติของชีวิตเหลือเปล่า
ทุกคนพร้อมจะมีความสุขได้ตลอดเวลา เพียงเข้าใจว่าเหตุอะไรทำให้เกิดความทุกข์และระงับเหตุนั้น

ตอนที่รำพึงรำพันว่าทำไมไม่เกิดมารวยเป็นไอเดียให้เห็นภาพว่า
ถ้าเราไม่มีสติ การรำพึงรำพัน มันเกิดขึ้นได้ตลอด ถ้าเรามีสติ ความคิดนี้มันดับไป เราเดินหน้าต่อไป เราเห็นทางสว่าง

ดร.นิเวศน์
ตอนที่เข้าไปทำงานไม่กี่วันก็นิ้วขาด ยู่ต่างจังหวัดโรงพยาบาลก็ล้าสมัยแค่เย็บให้ติดกัน ข้างในไม่ได้ต่อ
แต่ตอนนั้นนอนน้ำตาไหลเป็นเดือน รู้สึกเหมือนพิการ นอนคนเดียวอยู่ต่างจังหวัดเหงา
ตลอดชีวิตก็เจอวิกฤติเล็กๆน้อยๆมาตลอด รู้สึกว่าตัวเราเองก็เก่งนะ เจอวิกฤติทีไรเราก็ไปที่อื่นต่อ
เป็นคนระวังตัว อาจเพราะสมัยก่อนเกิดมายากจน ก็ทำให้รู้วิธีเอาตัวรอดอย่างไร

สุดท้ายมาสรุปว่าตัวเองเป็นเหมือนเต่า แต่เป็นเต่าที่ฉลาดหน่อย
คือไปเรื่อยๆ ช้าๆ วิ่งก็ช้าๆแต่วิ่งนาน ว่ายน้ำก็ว่ายไปเรื่อยๆ
แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรเสี่ยงมาก แต่รู้สึกตัวเองว่าชีวิตดีขึ้นทุกปี ทีละเล็กละน้อย

ชีวิตตอนเด็กเกิดมานอนกับพื้นดิน พ่อแม่เดินทางจากเมืองจีน เป็นช่างก่อสร้าง
แต่มันพัฒนามาตลอด จากหลังคาจาก ไปสังกะสี และดีขึ้นเรื่อยๆ
ไม่ได้เคยคิดว่าจะรวย มันไกลเกินเอื้อม หวังแค่ปีหน้าจะดีขึ้นยังไง
มีอยู่แค่ไม่กี่ปีที่รู้สึกว่าเราแย่ลง ก็ประคองตัวไป

การมีวิกฤติเป็นเรื่องปกติ พอไม่มีวิกฤติชีวิตจะเดินช้าไป
คนส่วนใหญ่ไม่มีวิกฤติ ถ้าไม่ challenge(ท้าทาย,เสี่ยง) ไม่มีวิกฤติหรอก คนทำงานกินเงินเดือนไปเรื่อยๆ
คนที่ร่ำรวยจริงๆคือ challenge กล้าเจอวิกฤติ แต่ถ้ามากไปก็อาจจะไม่รอด
ที่เกิดวิกฤติทนๆไปได้ก็จะดีขึ้น แต่อย่าให้ตายไป
ก่อนทำอะไรต้องคิดว่าถ้ามันแย่มากๆจะทำอย่างไรให้รอดได้
แม้บริษัทที่ทำจะเจ๊งแต่ตัวเราต้องรอดให้ได้

อย่าง สตีฟ จ็อป challenge ตัวเองมาตลอดชีวิต แต่สุดท้ายตาย
สุขภาพสำคัญสุดแล้ว อย่าให้ทรุดโทรม รักษาสุขภาพเป็นอันดับหนึ่ง
อันดับสองคือทำอะไรแล้วจะรอดได้
เอาตัวรอด รักษาตัวเองให้ได้ ทำอะไรช้าๆไม่เสี่ยง
ในวันที่เราตายสิ่งที่ทำไว้ก็ยังรอดอยู่ได้ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง ครอบครัว
(อ.ไพบูลย์ เสริมว่านั่นคือในทางโลก ในด้านทางธรรม วันตายก็ต้องเตรียมพร้อม)
คนที่คิดว่ามีเงินแล้วจะเอาเงินไปใช้จ่ายแล้วมีความสุข ไม่ใช่ แค่มีเงินก็มีความสุขแล้ว อดๆอยากๆก็ไม่เป็นไร
แต่มีเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้ ใช้แล้วเงินหายไปเรื่อยจะไม่มีความสุข


อยากให้ฝากข้อคิด เตือนใจ
น้องธันย์
ทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเอง มีพรสวรรค์ของแต่ละคน มีวิธีเอาตัวรอดเหมือนกัน
ทีทุกคนได้แชร์เรื่องราวตัวเองมีหลากหลายแง่มุม สามารถเอาไปปรับช้ให้เหมาะกับชีวิตเรา
อยากฝากเมื่อเกิดวิกฤติสิ่งแรกที่จะทำให้ก้าวข้ามได้คือตัวเราเอง ก้าวข้ามให้ได้ด้วยตัวเราก่อน
แล้วสิ่งต่างๆจะมี มาสนับสนุนเรา ทำอย่างไรก็ได้ให้เอาตัวรอดได้ และพร้อมที่จะไปปรับเปลี่ยนกับสิ่งที่ผ่านมา
เอาบทเรียนแล้วนำมาแก้ไข เราสูญเสียไปในราคาแพง อย่าเอาไปใช้ในราคาที่ถูก จึงมีคำกล่าวที่ว่า "บทเรียนราคาแพง"

คุณธานินทร์
คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต แต่คนต้องคำนวณมาก่อนฟ้าลิชิต
เหมือนคนถูกล็อตเตอรี่ จะถูกได้ก็ต้องซื้อล็อตเตอรี่ก่อน
การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาเจ้ามือก่อนการแทง

คุณศิริวัฒน์
อตตาหิ อตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

คุณชิณณ์
คนเราควรวางแผนชิวิต ชีวิตที่แท้จริงมี 2 ลักษณะ
ชีวิตในโลกิยะ เป็นเวลาสั้นมากไม่เกิน 100 ปี
กับชีวิตที่พ้นโลกนี้ไปแล้ว หรือหลังความาย อาจจะยาวนานกว่า
ถ้าพิจารณาดูว่า จักรวาล 4 หมื่นพันล้านปี ถ้านับ 4 หมื่นพันล้านปีเท่ากับ 1 ปี
พระพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อ 15 วินาทีที่ผ่านมา เป็นแค่แสงแฟลช
ไม่ว่าเราเจอวิกฤติใดในชีวิต เป็นแค่ช่วงสั้นๆ ให้วางแผนชีวิตหลังความตายว่าเราจะไปไหน
เมื่อวานวางแผนไว้ ในระดับโลกิยะคิดว่าสุดท้ายแล้วเราจะต้องตาย
ก่อนจะตายเป็นอย่างไร มีอาชีพอะไร ดูแลครอบครัวอย่างไร ดูแลสังคมอย่างไร
เช่นเดียวกันในระดับโลกุตระ เราควรมีความคาดหวัง ถ้าไม่หวังนิพพาน อย่างน้อยควรอยู่บนสวรรค์
ถ้าเรามีลมหายใจอยู่ แม้เพียงแวบเดียวจะใช้ให้มีคุณค่าสูงสุดในสังสารวัฏนี้อย่างไร

ดร.นิเวศน์
ทุกวันนี้ก็คิดว่าเมื่อไรเราถึงจะชีวิตไม่ดีขึ้น คนทำงานเมื่อถึงวันเกษียณจะมีปัญหาใหญ่
เพราะอนาคตนับถอยหลัง ทุกวันนี้ก็พยายามทำว่า 60 กว่าปีที่ผ่านมาเราดีขึ้นทุกปี
ปีหน้าจะดีขึ้น มีความสุขกว่าทุกวันนี้ได้หรอเปล่า และเราก็หากลยุทธ์ให้ได้อย่างนั้น
พยายามปรับตัว สุขภาพสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ทำอะไรที่เครียดน้อยลง
การลงทุนการเงินก็เป็นเรื่องรอง เพราะมันยากขึ้นเรื่อยๆ พยายามใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
การจะรวยไม่จำเป็นต้องได้ผลตอบแทนสูง แต่มีอายุยืนขึ้นเรื่อยๆก็รวยได้
ถ้าตายช้ากว่าคนอื่น 20 ปี ยังไงก็รวยกว่าเขา

อ.ไพบูลย์
ฝากเรื่องความตาย ต้องเตรียมพร้อมความตายไม่รู้วันไหน เมื่อมาถึงวันนั้นเราจะตายอย่างไร
ถ้าเตรียมพร้อมที่จะตาย อย่างอื่นจะตามมาเป็นแถว (รู้ว่าต้องเตรียมอะไร)

อ.เสน่ห์ สรุปยุทธศาสตร์เป็นกลอนปิดท้าย
คือบทเรียนสู้วิกฤติต้องคิดบวก ทำหูหนวกเป็นใบ้ไม่ได้ผล
หากอ่อนแอแพ้ยับทำอับจน อย่าทุกข์ทนรับกรรมสุดช้ำใจ
ชีวิตนี้ต้องเดินหน้าแม้ขาขาด ต้ององอาจก้าวต่อขอสู้ไหว
ฟ้าลิขิตหรือจะสู้มานะชัย โปรดรู้ไว้สติยังสตางค์มี
ความแน่นอนนั้นหรือคือไม่แน่ อย่ายอมแพ้หาโอกาสไม่พลาดหนี
ต้องยืนหยัดด้วยลำแข้งแกร่งทวี ช่างโชคดีเกิดเป็นคนสุขล้นทรวง
อยากมีสุขกลับทุกข์กว่าเดิมอีก รู้หลบหลีกสงบใจให้หมดห่วง
เจอวิกฤติอย่าให้ตายคลายโลกลวง ต้องตักตวงสุขภาพตราบชีวัน
คือหลักคิดที่เรียนรู้สู้วิกฤติ ให้มิ่งมิตรหาญกล้าอย่าหวาดหวั่น
ยุทธศาสตร์จากประสบที่ครบครัน จงตั้งมั่นทำมันจนวันตาย

ช่วงที่ 1 ทางผมติดธุระเข้าร่วมไม่ทัน ทางพี่อมร จะเป็นผู้โพสต์สรุปให้นะครับ ขอบคุณพี่อมรด้วยคร้าบ :D

ขอขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.เสน่ห์ อ.นิเวศน์ หมอเค และทีมงาน money talk ที่ร่วมจัดงานและดำเนินรายการดีๆครับ
ขอบคุณผู้บริหาร 3 บริษัทที่ให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน
และขอบคุณแขกรับเชิญคุณศิริวัฒน์ เฮียคลาดเครียด พี่ชิณณ์และน้องธันย์ที่มาแบ่งปันประสบการณ์สู้วิกฤติครับ

ข้อมูลที่แชร์หากผิดพลาด ตกหล่นอย่างไรขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ติดตาม VDO ฉบับเต็มได้ทาง fb live, youtube และช่อง TV ครับ
Go against and stay alive.
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณน้องบิ๊ก มากค่ะ ^^
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Money Talk @ SET 11 November 2017
ช่วงที่1 หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย

คุณบวร วงศ์สินอุดม ประธานกรรมการ PRM
คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTTGC
คุณนที พานิชชีวะ ประธานกรรมการ UNIQ

เกริ่นนำ

PRMเป็นบริษัทขนส่งน้ำมันทางเรือรายใหญ่ที่สุดในไทย มีอัตรากำไรสูงสุดในอุตสาหกรรม มีแผนการเติบโตที่สูงมากๆ เห็นบอกจะขยายกองเรืออีกเกินเท่าตัวในสามปี แต่โตได้ต่อเนื่องไหม ต้องมาคุยกันครับ
ดร ไพบูลย์ถามว่าขนาดเรือประมาณเท่าใด คุณบวรตอบว่าขนาดเรือขนาดเท่ากับสี่สนามฟุตบอลขนาดใหญ่

PTTGC เป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีรายใหญ๋ที่สุดในอาเซียน ปีนี้เป็นเหมือนปีทองของปิโตรเคมี แผนเติบโตน่าสนใจ
หลายอย่างตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และยังขยายไปธุรกิจใหม่อีก

UNIQ เคยให้สัมภาษณ์ที่รายการMoney Talkว่าชื่อ Uniq มาจากความไม่เหมือนใคร หมายถึงรับงานรับเหมาที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ได้GPสูงสุดในบริษัทที่ทำรับเหมา ช่วงแค่3ปีกลายเป็น TOP4

คำถามที่1 ประวัติความเป็นมาของแต่ละบริษัท

เริ่มที่บริษัทPRM หมอเคถามคุณบวรว่าธุรกิจเรือขนส่งน้ำมันดีอย่างไร ทำไมมาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้

คุณบวรตอบว่า ธุรกิจเรือขนส่งน้ำมัน เวลาดีก็ดีใจหาย เวลาไม่ดี แย่สนิทเลย ต้องระวัง
ทำอย่างไรให้กำไรไม่แกว่งมาก บริษัทมีแผนการธุรกิจที่ทำมา 30 ปีค่อยๆเติบโตมาเรื่อยๆ
พยายามbalanceรายได้ไม่ให้แกว่งตัว
รายได้ที่แกว่งตัวเยอะๆตอนนี้มีสัดส่วน 10% แต่ก็มีผลทำให้กำไรแกว่งตัวมาก
ส่วนอีก 90%รายได้ไม่ค่อนแกว่งตัว เรามีธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้เรือที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน
บางบริษัทที่เจ็งไปเพราะไปrely on ธุรกิจที่รายได้แกว่งตัวเยอะๆ

ธุรกิจแรกของบริษัท รับจ้างเอาเรือมาขนน้ำมันต่างที่กันมาผสมเพื่อให้ได้สัดส่วน
ตามที่ลูกค้าต้องการ ถือเป็นรายได้จากค่าต๋ง
เราก็ตกลงกับแต่ละบริษัทเช่าเป็นรายปี ถือว่ารายได้นี้เป็นแบบproject base จะเป็นรายได้ที่แน่นอน

ธุรกิจที่2 น้ำมันที่ขุดขึ้นมาเช่นที่บริษัท PTTEP มีแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล หลังจากได้น้ำมัน ผมก็นำเรือมาใส่น้ำมัน พอได้น้ำมันพอ ก็มาแบ่งใส่เรือเล็ก และมาส่งให้ลูกค้าอีกที

ธุรกิจที่3 เรามีเรือลอยน้ำเอาไว้ให้เป็นที่นอนสำหรับพนักงานที่ทำงานบนแท่นขุดเจาะ ลูกค้าได้แก่ PTTEP , เชฟรอน ถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่ง แต่รายได้ค่อนข้างแกว่งตัว เพราะเจอมรสุม เราก็ถอยออก รับลูกค้าไม่ได้ ทำให้พนักงานอาจนอนที่แท่นขุดเจาะแทน
สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21เริ่ม เราก็ตื่นเต้น ธุรกิจก็จะดีขึ้นเยอะ ทำให้ธุรกิจเดินเรือเติบโตมาก เรามีเรือหลายอย่าง

ผมมีธุรกิจที่สี่ ฝึกพนักงานใหม่สำหรับทำงานบนเรือแต่ละแบบเพื่อสามารถทำงานให้ได้มาตรฐานที่กำหนด

นี่คือภาพที่เราได้จากธุรกิจ4อย่าง เป็นธุรกิจแบบ Cost plus เช่นเรื่องmanagement
ทำให้ที่ผ่านมามีกำไร20-30%มาตลอด
คู่แข่ง ทำคนละแบบกับเรา แต่ละคนจะมีธุรกิจเฉพาะ เช่น ธุรกิจให้นอน เท่านั้น แต่ธุรกิจเรือผสมน้ำมันยังไม่มีใครทำได้
อุตสาหกรรมผสมน้ำมันนี้มีเรือที่มีหน้าที่แบบนี้อยู่ทั้งหมด 18 ลำ จอดอยู่แถวมาเลเซีย สิงคโปร์
เรามีเรือแบบนี้อยู่ 6 ลำ ถือเป็นหนึ่งในสามของเรือทั้งหมด

หมอเคสรุปบริษัทมีเรืออยู่ 4แบบ ได้แก่

1.เรือขนส่งน้ำมัน
2.เรือที่จอด เพื่อปรับสัดส่วนน้ำมัน บางที่มีค่าออกเทนต่ำ บางที่ค่าออกเทนสูง ต้องมาผสมตามที่ลูกค้าต้องการเพื่อเอาไปขายเช่น ที่สิงคโปร์
3.เรือให้เช่านอน
4. เรือสำหรับฝึกอบรม
ธุรกิจนี้ไม่ง่าย

หมอเคถามว่า สำหรับเรือ ต้องซื้อตอนไหน

คุณบวรตอบเองว่า ต้องซื้อตอนเหล็กถูกและในช่วงที่เศรษฐกิจไม่บูม
บางครั้งราคาเหล็กสูง เราก็ขายเรือเก่าเป็นเศษเหล็กเพื่อเอากำไรได้
บางครั้งราคาเหล็กลง เราก็ซื้อเรือใหม่
กองเรือมีทั้งหมด 26 ลำ อายุเฉลี่ย 19 ปี ถือว่าเยอะ ตอนนี้เริ่มต่อเรือใหม่ที่จีน
เพื่อลดอายุกองเรือให้น้อยลง ซึ่งอายุของกองเรือมีผลต่อการคิดเบี้ยประกันภัย
ถ้าราคาเหล็กดีหมายถึงราคาถูกลง เราอาจซื้อเรือใหม่เข้ามาด้วย
Opportunityอาจไม่ใช่ซื้อเรือ แต่อาจร่วมกับบริษัทอื่นทำเกี่ยวกับธุรกิจปิโตรเคมี
ที่มี 3,000-4,000 ล้านลิตรที่เหลือใช้จากการผลิต ต้องจ้างต่างชาติมาขนแทน
เพราะเรามีเรือจำกัดคิดเป็นสัดส่วนแค่ 10%เอง
การบรรทุกสารเคมีกับน้ำมันมีความแตกต่างกัน ต้องมีการอบรมพนักงานก่อนทำงานจริง

หมอเคถามว่า Project base สัญญากี่ปี

คุณบวรตอบว่า มีหลายแบบ ขึ้นกับการแบ่งตามตลาด หรือ ขึ้นกับการตกลง
ลูกค้าเรามีแต่รายใหญ่ มาตรฐานสูง การหาเรือกว่าจะได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นจะเน้นคุณภาพมากกว่าราคา

PTTGC หมอเคเกริ่นว่าบริษัทอยู่ในช่วงปีทอง เน้นธุรกิจปลายน้ำมากขึ้น

คุณสุพัฒนพงษ์ พูดเกริ่นนำสำหรับ PTTGC ว่า เป็นบริษัทปิโตรเคมีครบวงจร
ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ใหญ่ที่สุดของอาเซียน มีอายุแค่ 6 ปี เพราะเกิดจากการรวมตัวของ 4 บริษัทเป็นแนวคิดของปตท เมื่อรวมกันแล้ว เรามีครบวงจร เรามีโรงกลั่น ที่มีกำลังการผลิต 2แสนบาร์เรลต่อวัน ปิโตรเคมีเกือบ9ล้านตัน , asset 3แสนล้านบาท และมีสิ่งที่ดีจากการควบรวม4บริษัท

Value chainทอดยาว สำหรับช่วยทำให้ผ่อนแรงกระทบจากความผันผวน
ปี2014 ราคาน้ำมัน 120 $ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นช่วงส่งมอบงานจากคุณบวร หลังจากนั้นราคาน้ำมันลงเหลือ 40$ ด้วยการเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ กำไรตอนนั้นยังมีเท่ากับ 15,000 ลบ สามารถหล่อเลี้ยงบริษัทได้ ซึ่งช่วงนั้นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของโลกขาดทุนกันหมด เป็นการพิสูจน์ของภูมิคุ้มกันที่มีครบวงจร

หลังจากนั้นก็ค่อยๆเจริญเติบโต ปีนี้เป็นปีประวัติการณ์ แค่ช่วงระยะเวลา 9เดือน
รายได้ 29,000 ลบ เติบโต88% เฉพาะ Q3 1x,xxx ลบ

ปีนี้เป็นปีที่เราทำได้ดี อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเริ่มเติบโตขึ้นมา ปีนี้ธุรกิจทุกส่วนดีทุกตัว Aromatic , ปิโตรเคมี ค่าการกลั่น ราคาน้ำมัน ดีขึ้นหมด
โรงกลั่นตอนนี้สร้างกันน้อย สาเหตุมาจากการขาดทุนของโรงกลั่นในปี2014เยอะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเราในปีหน้า
ปีโตรเคมี มาจากบริษัทในUSที่ขยายตัว บริษัทที่นั่นมีการขยายกำลังการผลิต แต่ก็ยังมีเหลือ 2ล้านตัน ส่วนหนึ่งจะส่งมาย่านเอเชียคือจีน และ South America กระทบเราไม่เยอะ เพราะเราหาแหล่งใหม่สำรองแล้ว เราไปขยายการเติบโตการใช้เม็ดพลาสติกใน CLMV เขมร เวียดนาม ลาว และ พม่า การเติบโตของประเทศในCLMV โตมากกว่าประเทศเราเยอะ GDP Growthจนถึง double digit 9-12%
เมื่อก่อนยอดขายให้ประเทศในCLMV 30,000-40,000 ตันต่อปี ตอนนี้ขายได้มากกว่า 300,000 ตันต่อปี
กำไรที่ขึ้นมา80%ในช่วง9เดือนไม่ได้จากการเพิ่มของราคาอย่างเดียว แต่เกิดจากการพัฒนาของเรา โดยเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายที่ทำกันมานาน เริ่มส่งผลต่อกำไรในปีนี้ เกือบ50% เป็นเรื่องน่าสนใจ ต้องขอชมคุณบวรที่ทำได้ดีมาก่อน และผมมาสานต่อ

หมอเคถามว่านักลงทุนจะประเมินการเติบโตของแต่ละธุรกิจของPTTGCได้อย่างไร

คุณสุพัฒนพงษ์ อธิบายถึงวิธีการดูว่าธุรกิจเติบโตดูจาก
1 ค่าการกลั่น
2. ส่วนต่างของ Arometic หรือดูอ้อมจาก Thai oil ก็ได้
3. ราคาเม็ดพลาติก ถ้าดีขึ้นกว่าปีที่แล้วน่าจะดีขึ้น
ปกติจะดีสลับกับไม่ดีในแต่ละปี
แต่ถ้าดูอย่างหยาบ คือ ราคาน้ำมันดีขึ้น ส่วนใหญ่ราคาเม็ดพลาสติกจะดี

หมอเคถามว่า ความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจปิโตรเคมีแข่งกันที่อะไร ข้อได้เปรียบของเราเทียบกับคู่แข่งในเรื่องการทำกำไรมีอะไรบ้าง

คุณสุพัฒนพงษ์ตอบว่า
1.เรามีโรงงานขนาดใหญ๋ 20 โรง ที่มาบตาพุด
และกระจายโรงงานไปอีกใน 7 ประเทศ การขยายธุรกิจโดยมีต้นทุนที่ไม่แพง
คนอื่นมาทำ ไม่เคยทำ ก็จะยากที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจได้
2 เรามีวัตถุดิบผสม โดยมีก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนที่เยอะซึ่งราคาจะนิ่งกว่า กับ อีกส่วนคือน้ำมัน
3 ตลาด เรามีลูกค้าอยู่ในมือ คู่แข่งมาเจาะลูกค้ายาก เพราะความคุ้นเคย ความใกล้ชิด
ทางตะวันออกกลางเข้ามาเจาะตลาดเรายากเพราะเรื่องความคุ้นเคย

บริษัทที่3 UNIQ เป็นบริษัทเติบโตเยอะ ราคาหุ้นโตมา4เท่าใน4ปี

คุณนทีเริ่มด้วยการพูดว่า ฟังทั้งสองบริษัทพี่บวรและพี่พงษ์พูดแล้วอยากไปซื้อหุ้นทั้งสองบริษัท เราเป็นบริษัทชั้นนำด้าน Infrastructure แต่เทียบกับอีกสองบริษัทก็ถือว่ายังเล็ก
บริษัท สัดส่วน 100%ทำสาธารณูโภค ทางบก อากาศ น้ำ

สาธารณูปโภคบนบก infrastructure เช่น สะพาน รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง สนามบิน การบริหารจัดการน้ำ
เราเน้นงานรัฐอย่างเดียว มีงานต่อเนื่องเสมอ มีมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมคิดว่า Projectมูลค่าแค่ 2ล้านล้านบาท
แต่พบว่า ตอนนี้มูลค่าโครงการขึ้นไปถึง 3 ล้านล้านบาทแล้ว
มีงานเจาะอุโมงค์ให้แม่น้ำทั้งสองสายเชื่อมกัน
เราโต20% ในกรุงเทพก็ทำกับรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เช่น จตุจักร ก็เป็นชุมทางที่ใหญ่ที่สุดของรถไฟ ซึ่งเป็นMass transit รวมถึงรถไฟความเร็วสูงด้วย ท่าเรือก็มีที่ปากบารา
เรามุ่งเน้น infrastructure อย่างเดียวทำให้เติบโตสูงกว่าคู่แข่งที่จะรับงานหลายอย่าง
บริษัทอื่นจะมาแข่งก็ต้องดูผลงาน และ คุณภาพด้วย
เราถนัดงานเกี่ยวกับเหล็ก

หมอเคถามถึงBacklog ใช้เวลากว่ารับรู้รายได้กี่ปี

คุณนทีตอบว่า Backlogใช้เวลากว่ารับรู้รายได้ 3-4 ปี ซึ่งอนาคตจะมีBacklogเพิ่มขึ้นตามแผนงานของรัฐบาล
ส่วนสนามบินอู่ตะเภาถ้ามีการประมูล เราก็ต้องการประมูลในส่วนสนามบินด้วย
เราได้GPสูง อยู่ที่การควบคุมต้นทุน เช่น ตอนเหล็กที่แนวโน้มลง เราก็ซื้อเหล็กตุนไว้ก่อน
อีกfactorคือ การบริหารเรื่องความเร็วในการดำเนินงาน ก็จะช่วยลดต้นทุนได้ด้วย
ส่วนการรับงานมา เรามีsubcontractในการทำบางเรื่อง แต่งานส่วนใหญ๋เราทำเอง ทำให้เราได้กำไรเยอะ
ถ้าราคาเหล็กมีแนวโน้มจะลง เราจะพยายามmatchปริมาณการใช้เหล็กเข้ากับงานเพื่อป้องกันความผันผวนของราคาเหล็ก

คำถามช่วงที่2 ผลประกอบการที่ผ่านมา และ อนาคตเป็นอย่างไร

1.PRM หมอเคยิงคำถามทันทีว่า ปีนี้ที่คุณชาญวิทย์ CEO บอกว่า 1H17 โตลดลง แต่2H17ก็จะโตเยอะ อยากให้คุณบวรช่วยอธิบายด้วยครับ

คุณบวร บอกว่ารายได้ของเราโตต่อเนื่องจากปี2558 =3,800, ปี2559 =4,200 ดังนั้นปีนี้น่าจะโตต่อเนื่อง แต่กำไรไม่แน่ใจว่าจะโตต่อเนื่อง เพราะมีโครงการใหม่ๆที่กำไรอาจยังไม่มา
แต่งานที่ขยายต่อในอนาคต เราเอาเงินจากการทำIPO จำนวน 5,000กว่าล้านบาท ไปลงทุนเพิ่มเรือปีละ10ลำ ซึ่งเงินที่เหลือที่จะลงทุนในปีต่อไป หมายถึง เงินIPOที่จะไปซื้อเรือในปีที่สองและปีที่สาม

ตอนนี้ต้องคิดว่าจะเอาเงินที่เหลือจากIPOไปทำอะไรเพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ปริมาณการขนส่งจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณเรือที่เราเพิ่มขึ้น ส่วนที่เกินเราส่งต่อให้กับPartnerทำ
PRM marine ดูแลpartnerว่าถ้ามีแต่เรือ เราหางานให้ หรือมีวัตถุดิบ
เราหาเรือให้ แล้วเก็บค่าต๋ง
Asia pacific มีการใช้น้ำมันขยายปีละ 3% ตัวเลขดูเหมือนโตน้อยแต่ถ้าคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 3,000-4,000 ล้านลิตรต่อปี แต่ถือเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับที่ไทยทำได้
นี่คือโอกาสที่เติบโตอีกมากในอนาคต บริษัทพยายามทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้น
เงินที่ต้องใช้ในปีที่3 คุณบวรคิดว่าอาจเอาเรือเข้า Infrastructure fund เพื่อได้เงินมาซื้อเรือ
แต่ละstepที่เราจะเดิน เรามีสัญญาถือไว้ บางสัญญายาวมาก แต่ก็อาจมีความเสี่ยงถ้าเศรษฐกิจไม่ดี
partnerอาจยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาได้
เรือลอยน้ำที่ผสมน้ำมัน ทำกำไรสูงสุด พยายามขยายในส่วนนี้ แต่ก็พยายามหาธุรกิจใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง
ถึงแม้PTTจะแข็งแกร่ง เราก็อยากเพิ่มทางเลือกของบริษัทให้มากขึ้น เราจะdiversifyในประเทศซึ่งมีอยู่25%หรือต่างประเทศเพิ่มขึ้น

หมอเคถามต่อว่า ถ้าแยกตามประเภทของเรือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเติบโต คืออะไร

คุณบวรตอบว่า เรือขนส่ง กับ เรือผสมน้ำมันที่เติบโตเร็วให้กำไรเยอะ เราเกาะแน่นเลย และมีแผนสำหรับเรือ2ประเภทนี้ที่ต้องตามตลาดไป

หลังปี2020 ให้ลดลงจำนวน%ของกำมะถันในน้ำมันเตาจาก2%เหลือ 0.5% ซึ่งทำได้ยากมาก โรงกลั่นต้องลงทุนเยอะ
คำถามคือ ที่ไหนที่ทำง่าย คำตอบก็คือ ทำบนเรือ และ ทำที่ไหน คือ สิงคโปร์ ถือเป็นโอกาสของเราที่เข้ามาบริการส่วนนี้
อีกเรื่อง ตอนนี้มีพรบเดินเรือพาณิชย์ไทย การเดินเรือจะเปลี่ยนแปลง ต่อไปให้เรือชักธงไทยทุกลำต้องregisterเรือในไทย ถึงจะใช้เรือไทยได้ในการบรรทุกน้ำมันในอ่าวไทย ทำให้ต่างชาติเข้าไม่ได้ เป็นโอกาสของเรา
ผมทำงานในบริษัทคนไทยตลอด ตั้งแต่ Thaioil , PTTGC, PRM
คนไทยมาช่วยบริษัทสร้างกองเรือไทย ช่วยsupportประเทศไทย ผมรู้สึกภูมิใจในชีวิตครับ

หมอเคถามถึงปัจจัยเสี่ยงของบริษัท มีอะไรบ้างที่นักลงทุนต้องกังวล

คุณบวร ตอบว่า ทุกธุรกิจก็มีปัจจัยเสี่ยง สำหรับเรื่องของเรื่องก็มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่

1. Rateแกว่งตัวมาจาก demand,supplyของเรือ และ ราคาเหล็กผันผวน
เรื่องกฎหมาย และ พรบเปลี่ยน หรือ %ของกรดกำมะถันเปลี่ยนแปลง ก็มีผลกระทบต่อธุรกิจ บางครั้งผลเหมือนกับเป็นลบต่อธุรกิจ แต่เราก็พยายามทำให้เป็นโอกาสมาผสมให้กับคนอื่น
2. ลูกค้าอาจไม่จ้างเรา หรือ อากาศไม่ดี ไม่มีการเดินเรือ หรือแวะจอด
แต่เราอาศัยประสบการณ์เพื่อช่วยผ่อนหนักเป็นเบา การตั้งโรงเรียนสอนก็เอาประสบการณ์มาแชร์ได้
3. ราคาน้ำมันหรือบังเกอร์ถ้าแพงขึ้น เป็นต้นทุน40% และ ได้รับค่าเช่าเท่าเดิม ก็จะแย่ ต้องพยายามทำสัญญาราคาค่าขนส่งแปรผันกับราคาน้ำมัน เช่น PTTGC ก็ทำสัญญาให้ปรับเพิ่มตามราคาน้ำมันได้


2. PTTGC หมอเคถามว่า บริษัทจะดีต่อไปในอีกสามปีข้างหน้าไหม

คุณสุพัฒนพงษ์ ตอบว่า

1.เรามีบริหารความเสี่ยง และมีvalue chain ที่ยาวเพื่อลดความผันผวน เรามีแผนสำหรับการเติบโต
แนวโน้มองค์ประกอบการใน3sector คือ โรงกลั่น, aromatic ,ปิโตรเคมี ปีนี้ดีพร้อมกัน
ปีหน้ายังดี อาจมีอ่อนตัวในส่วนของปิโตรเคมี แต่เราปกป้องความเสี่ยงโดยหาตลาดสำรองไว้
2. ต้นปีหน้า เราขยายกำลังการผลิต โดยโรงงานใหม่ที่สร้างมาสองปีเปิดแล้ว เริ่มดำเนินการเม็ดพลาสติก(โพลีเอสเทอรีน)400,000ตันออกขายได้ ทำให้มีรายได้เกิดขึ้น
3. ช่วงปีที่ผ่านมา มีการซ่อมโรงงานใหญ่ เพื่อให้กลับมาทำใหม่อีกหลายปี ปีนี้มีซ่อมใหญ่หลายโรง แต่ปีหน้าไม่มีการซ่อมใหญ่
4.เราตัดสินใจลงทุน 7 หมื่นกว่าล้านบาทด้านต้นน้ำทางปิโตรเคมี และ ปลายน้ำเพื่อต่อยอด
เอาproductกลางน้ำไปทำเป็นproduct ปลายน้ำ

ระยะยาวอีก 3 ปี เป็นประโยชน์ต่อบริษัทและไทย ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นเบอร์หนึ่งในอาเซียน
เราต้องการเป็นพลาสติกเชิงวิศวกรรม (Super engineering) ตอนรัฐบาลเปิด EEC
เราทำroad show เชิญชวนเจ้าของเทคโนโลยี เรามีที่ดิน วัตถุดิบ วิศวกรที่ดี มาร่วมมือกัน
เราทำไป 17 บริษัท เซ็นต์MOU=1ราย น่าจะร่วมทุนกันได้ต้นปีหน้า โดยเราลงทุน30%
เราขายที่ดิน น้ำประปา ไฟฟ้าให้เขาได้ และยังมีคุยกันอีก 2-3 ราย
แผนการซื้อกิจการ หรือ M&A เราเล็งหาโอกาสตลอดเวลา เรามีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีเทคโนโลยีมาช่วยเรา ทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน ตอนนี้กำลังหาอยู่
โครงการ MAX ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3,000 ลบ ปีที่สองเป็น 6,000 ลบ
ปีที่สามจะเป็น 9,000 ลบ

บริษัท Global Clean chemical (GCC) เป็นบริษัทลูกซึ่งเป็น1 บริษัทที่ทยอยเข้าตลาด
วัตถุดิบของเราเส่วนใหญ่ ป็นGas ซึ่งจะทยอยหมดไป แต่ศักยภาพของเราใช้แค่60%
ถึงแม้หายไป40%ก็ยังเพียงพอ แต่แผนระยะยาว20ปีต้องหาsolutionอื่น
เราใช้เงินลงทุน 50%ของ 70,000 ลบ โดยสร้างโรงงานใหม่ให้ใช้Gasน้อยลง และใช้น้ำมันมากขึ้น สัมปทานปิโตรเลียมฉบับที่ 21 ทำให้เรามีงานมากขึ้น แต่ถ้าGasยังมีให้ใช้ต่ออีก
เราก็ลงทุนปลายน้ำมากขึ้น
Plastic engineering ราคา 8พัน$ต่อตัน แต่ตอนนี้เราขายได้แค่ 1400$ต่อตัน ดังนั้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม จะมีประโยชน์มากขึ้นในอนาคต

3.UNIQ ปีนี้โตน้อยกว่า3-4ปีที่แล้ว เพราะหลายโครงการของรัฐdelayออกไป โดยเฉพาะรถไฟรางคู่ที่จะประมูลเมื่อ
ต้นปี17 แต่มีการเลื่อนออกไป ดูแล้วบริษัทจะมีกำไรใกล้เคียงเดิม

สัญญาณที่โครงการเลื่อน สมัยก่อน มีเหตุผลมาจากเปลี่ยนรัฐบาล
แต่คราวนี้มาจากการทบทวนให้ละเอียดจากรัฐบาล เช่น Project EEC
มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับ EECมีมากขึ้น ทำให้มูลค่าของโครงการเพิ่มเป็น 3 ล้านล้านบาท
ประเมินจากสิ่งที่เคยทำและได้งานในอดีต เราน่าจะได้สัก 10% หรือ 300,000 ลบ

ตอนนี้มีBacklog 30,000 ลบ ทยอยรับรู้รายได้ พอๆกับปีที่แล้ว

ตอนนี้รถไฟรางคู่มีการประมูลที่น่าจะได้ ปัญหาการรับงาน เราสามารถบริหารจัดการได้ ค่อนข้างมั่นใจบริหารจัดการได้ ส่วนเรื่องกฎหมายแรงงาน เราต้องจ้างแรงงานมากขึ้น แรงงานพม่าต้องมีการทำสัญญา มีคนที่จัดการแรงงานพม่าอยู่ ไม่มีปัญหา

เวลาเข้าประมูล บริษัทที่ประมูลมาจากCreditจากธนาคาร เรามีประวัติและประสบการณ์ ที่ได้รับBid bondเป็นโครงการที่ไม่ต้องใช้เงินสด

DE หรือหนี้สินต่อทุน อยู่ประมาณ 2.5 เท่า แต่เป็นธรรมชาติของธุรกิจ
แต่ถ้าเป็นเงินกู้จริงที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยคิดเป็น1เท่าเอง

ความเสี่ยงของธุรกิจมีสองส่วน

1 ความเสี่ยงที่controlได้ ไม่มีปัญหา
2 ความเสี่ยงที่controlไม่ได้ คือ project delay หรือเลื่อนการประมูลออกไป หรือ ประมูลProjectไม่ได้

เราประมูลโครงการรถไฟรางคู่ 18,000 ลบ ได้ แต่ยังไม่เซ็นต์สัญญา ยังถือเป็นBacklogไม่ได้
เรามีการทำPRECAST ทำให้ควบคุมต้นทุนและประหยัดเวลา เราควบคุมต้นทุน ดังนั้นสามารถแข่งขันราคากับคู่แข่งได้

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านรวมถึงทีมงาน Money Talkมา ณ โอกาสนี้ครับ
luckyingame
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

amornkowa เขียน:Money Talk @ SET 11 November 2017
ช่วงที่1 หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย

คุณบวร วงศ์สินอุดม ประธานกรรมการ PRM
คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTTGC
คุณนที พานิชชีวะ ประธานกรรมการ UNIQ

เกริ่นนำ

PRMเป็นบริษัทขนส่งน้ำมันทางเรือรายใหญ่ที่สุดในไทย มีอัตรากำไรสูงสุดในอุตสาหกรรม มีแผนการเติบโตที่สูงมากๆ เห็นบอกจะขยายกองเรืออีกเกินเท่าตัวในสามปี แต่โตได้ต่อเนื่องไหม ต้องมาคุยกันครับ
ดร ไพบูลย์ถามว่าขนาดเรือประมาณเท่าใด คุณบวรตอบว่าขนาดเรือขนาดเท่ากับสี่สนามฟุตบอลขนาดใหญ่

PTTGC เป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีรายใหญ๋ที่สุดในอาเซียน ปีนี้เป็นเหมือนปีทองของปิโตรเคมี แผนเติบโตน่าสนใจ
หลายอย่างตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ และยังขยายไปธุรกิจใหม่อีก

UNIQ เคยให้สัมภาษณ์ที่รายการMoney Talkว่าชื่อ Uniq มาจากความไม่เหมือนใคร หมายถึงรับงานรับเหมาที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ได้GPสูงสุดในบริษัทที่ทำรับเหมา ช่วงแค่3ปีกลายเป็น TOP4

คำถามที่1 ประวัติความเป็นมาของแต่ละบริษัท

เริ่มที่บริษัทPRM หมอเคถามคุณบวรว่าธุรกิจเรือขนส่งน้ำมันดีอย่างไร ทำไมมาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้

คุณบวรตอบว่า ธุรกิจเรือขนส่งน้ำมัน เวลาดีก็ดีใจหาย เวลาไม่ดี แย่สนิทเลย ต้องระวัง
ทำอย่างไรให้กำไรไม่แกว่งมาก บริษัทมีแผนการธุรกิจที่ทำมา 30 ปีค่อยๆเติบโตมาเรื่อยๆ
พยายามbalanceรายได้ไม่ให้แกว่งตัว
รายได้ที่แกว่งตัวเยอะๆตอนนี้มีสัดส่วน 10% แต่ก็มีผลทำให้กำไรแกว่งตัวมาก
ส่วนอีก 90%รายได้ไม่ค่อนแกว่งตัว เรามีธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้เรือที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน
บางบริษัทที่เจ็งไปเพราะไปrely on ธุรกิจที่รายได้แกว่งตัวเยอะๆ

ธุรกิจแรกของบริษัท รับจ้างเอาเรือมาขนน้ำมันต่างที่กันมาผสมเพื่อให้ได้สัดส่วน
ตามที่ลูกค้าต้องการ ถือเป็นรายได้จากค่าต๋ง
เราก็ตกลงกับแต่ละบริษัทเช่าเป็นรายปี ถือว่ารายได้นี้เป็นแบบproject base จะเป็นรายได้ที่แน่นอน

ธุรกิจที่2 น้ำมันที่ขุดขึ้นมาเช่นที่บริษัท PTTEP มีแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล หลังจากได้น้ำมัน ผมก็นำเรือมาใส่น้ำมัน พอได้น้ำมันพอ ก็มาแบ่งใส่เรือเล็ก และมาส่งให้ลูกค้าอีกที

ธุรกิจที่3 เรามีเรือลอยน้ำเอาไว้ให้เป็นที่นอนสำหรับพนักงานที่ทำงานบนแท่นขุดเจาะ ลูกค้าได้แก่ PTTEP , เชฟรอน ถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่ง แต่รายได้ค่อนข้างแกว่งตัว เพราะเจอมรสุม เราก็ถอยออก รับลูกค้าไม่ได้ ทำให้พนักงานอาจนอนที่แท่นขุดเจาะแทน
สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21เริ่ม เราก็ตื่นเต้น ธุรกิจก็จะดีขึ้นเยอะ ทำให้ธุรกิจเดินเรือเติบโตมาก เรามีเรือหลายอย่าง

ผมมีธุรกิจที่สี่ ฝึกพนักงานใหม่สำหรับทำงานบนเรือแต่ละแบบเพื่อสามารถทำงานให้ได้มาตรฐานที่กำหนด

นี่คือภาพที่เราได้จากธุรกิจ4อย่าง เป็นธุรกิจแบบ Cost plus เช่นเรื่องmanagement
ทำให้ที่ผ่านมามีกำไร20-30%มาตลอด
คู่แข่ง ทำคนละแบบกับเรา แต่ละคนจะมีธุรกิจเฉพาะ เช่น ธุรกิจให้นอน เท่านั้น แต่ธุรกิจเรือผสมน้ำมันยังไม่มีใครทำได้
อุตสาหกรรมผสมน้ำมันนี้มีเรือที่มีหน้าที่แบบนี้อยู่ทั้งหมด 18 ลำ จอดอยู่แถวมาเลเซีย สิงคโปร์
เรามีเรือแบบนี้อยู่ 6 ลำ ถือเป็นหนึ่งในสามของเรือทั้งหมด

หมอเคสรุปบริษัทมีเรืออยู่ 4แบบ ได้แก่

1.เรือขนส่งน้ำมัน
2.เรือที่จอด เพื่อปรับสัดส่วนน้ำมัน บางที่มีค่าออกเทนต่ำ บางที่ค่าออกเทนสูง ต้องมาผสมตามที่ลูกค้าต้องการเพื่อเอาไปขายเช่น ที่สิงคโปร์
3.เรือให้เช่านอน
4. เรือสำหรับฝึกอบรม
ธุรกิจนี้ไม่ง่าย

หมอเคถามว่า สำหรับเรือ ต้องซื้อตอนไหน

คุณบวรตอบเองว่า ต้องซื้อตอนเหล็กถูกและในช่วงที่เศรษฐกิจไม่บูม
บางครั้งราคาเหล็กสูง เราก็ขายเรือเก่าเป็นเศษเหล็กเพื่อเอากำไรได้
บางครั้งราคาเหล็กลง เราก็ซื้อเรือใหม่
กองเรือมีทั้งหมด 26 ลำ อายุเฉลี่ย 19 ปี ถือว่าเยอะ ตอนนี้เริ่มต่อเรือใหม่ที่จีน
เพื่อลดอายุกองเรือให้น้อยลง ซึ่งอายุของกองเรือมีผลต่อการคิดเบี้ยประกันภัย
ถ้าราคาเหล็กดีหมายถึงราคาถูกลง เราอาจซื้อเรือใหม่เข้ามาด้วย
Opportunityอาจไม่ใช่ซื้อเรือ แต่อาจร่วมกับบริษัทอื่นทำเกี่ยวกับธุรกิจปิโตรเคมี
ที่มี 3,000-4,000 ล้านลิตรที่เหลือใช้จากการผลิต ต้องจ้างต่างชาติมาขนแทน
เพราะเรามีเรือจำกัดคิดเป็นสัดส่วนแค่ 10%เอง
การบรรทุกสารเคมีกับน้ำมันมีความแตกต่างกัน ต้องมีการอบรมพนักงานก่อนทำงานจริง

หมอเคถามว่า Project base สัญญากี่ปี

คุณบวรตอบว่า มีหลายแบบ ขึ้นกับการแบ่งตามตลาด หรือ ขึ้นกับการตกลง
ลูกค้าเรามีแต่รายใหญ่ มาตรฐานสูง การหาเรือกว่าจะได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นจะเน้นคุณภาพมากกว่าราคา

PTTGC หมอเคเกริ่นว่าบริษัทอยู่ในช่วงปีทอง เน้นธุรกิจปลายน้ำมากขึ้น

คุณสุพัฒนพงษ์ พูดเกริ่นนำสำหรับ PTTGC ว่า เป็นบริษัทปิโตรเคมีครบวงจร
ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ใหญ่ที่สุดของอาเซียน มีอายุแค่ 6 ปี เพราะเกิดจากการรวมตัวของ 4 บริษัทเป็นแนวคิดของปตท เมื่อรวมกันแล้ว เรามีครบวงจร เรามีโรงกลั่น ที่มีกำลังการผลิต 2แสนบาร์เรลต่อวัน ปิโตรเคมีเกือบ9ล้านตัน , asset 3แสนล้านบาท และมีสิ่งที่ดีจากการควบรวม4บริษัท

Value chainทอดยาว สำหรับช่วยทำให้ผ่อนแรงกระทบจากความผันผวน
ปี2014 ราคาน้ำมัน 120 $ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นช่วงส่งมอบงานจากคุณบวร หลังจากนั้นราคาน้ำมันลงเหลือ 40$ ด้วยการเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ กำไรตอนนั้นยังมีเท่ากับ 15,000 ลบ สามารถหล่อเลี้ยงบริษัทได้ ซึ่งช่วงนั้นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของโลกขาดทุนกันหมด เป็นการพิสูจน์ของภูมิคุ้มกันที่มีครบวงจร

หลังจากนั้นก็ค่อยๆเจริญเติบโต ปีนี้เป็นปีประวัติการณ์ แค่ช่วงระยะเวลา 9เดือน
รายได้ 29,000 ลบ เติบโต88% เฉพาะ Q3 1x,xxx ลบ

ปีนี้เป็นปีที่เราทำได้ดี อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเริ่มเติบโตขึ้นมา ปีนี้ธุรกิจทุกส่วนดีทุกตัว Aromatic , ปิโตรเคมี ค่าการกลั่น ราคาน้ำมัน ดีขึ้นหมด
โรงกลั่นตอนนี้สร้างกันน้อย สาเหตุมาจากการขาดทุนของโรงกลั่นในปี2014เยอะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเราในปีหน้า
ปีโตรเคมี มาจากบริษัทในUSที่ขยายตัว บริษัทที่นั่นมีการขยายกำลังการผลิต แต่ก็ยังมีเหลือ 2ล้านตัน ส่วนหนึ่งจะส่งมาย่านเอเชียคือจีน และ South America กระทบเราไม่เยอะ เพราะเราหาแหล่งใหม่สำรองแล้ว เราไปขยายการเติบโตการใช้เม็ดพลาสติกใน CLMV เขมร เวียดนาม ลาว และ พม่า การเติบโตของประเทศในCLMV โตมากกว่าประเทศเราเยอะ GDP Growthจนถึง double digit 9-12%
เมื่อก่อนยอดขายให้ประเทศในCLMV 30,000-40,000 ตันต่อปี ตอนนี้ขายได้มากกว่า 300,000 ตันต่อปี
กำไรที่ขึ้นมา80%ในช่วง9เดือนไม่ได้จากการเพิ่มของราคาอย่างเดียว แต่เกิดจากการพัฒนาของเรา โดยเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายที่ทำกันมานาน เริ่มส่งผลต่อกำไรในปีนี้ เกือบ50% เป็นเรื่องน่าสนใจ ต้องขอชมคุณบวรที่ทำได้ดีมาก่อน และผมมาสานต่อ

หมอเคถามว่านักลงทุนจะประเมินการเติบโตของแต่ละธุรกิจของPTTGCได้อย่างไร

คุณสุพัฒนพงษ์ อธิบายถึงวิธีการดูว่าธุรกิจเติบโตดูจาก
1 ค่าการกลั่น
2. ส่วนต่างของ Arometic หรือดูอ้อมจาก Thai oil ก็ได้
3. ราคาเม็ดพลาติก ถ้าดีขึ้นกว่าปีที่แล้วน่าจะดีขึ้น
ปกติจะดีสลับกับไม่ดีในแต่ละปี
แต่ถ้าดูอย่างหยาบ คือ ราคาน้ำมันดีขึ้น ส่วนใหญ่ราคาเม็ดพลาสติกจะดี

หมอเคถามว่า ความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจปิโตรเคมีแข่งกันที่อะไร ข้อได้เปรียบของเราเทียบกับคู่แข่งในเรื่องการทำกำไรมีอะไรบ้าง

คุณสุพัฒนพงษ์ตอบว่า
1.เรามีโรงงานขนาดใหญ๋ 20 โรง ที่มาบตาพุด
และกระจายโรงงานไปอีกใน 7 ประเทศ การขยายธุรกิจโดยมีต้นทุนที่ไม่แพง
คนอื่นมาทำ ไม่เคยทำ ก็จะยากที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจได้
2 เรามีวัตถุดิบผสม โดยมีก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนที่เยอะซึ่งราคาจะนิ่งกว่า กับ อีกส่วนคือน้ำมัน
3 ตลาด เรามีลูกค้าอยู่ในมือ คู่แข่งมาเจาะลูกค้ายาก เพราะความคุ้นเคย ความใกล้ชิด
ทางตะวันออกกลางเข้ามาเจาะตลาดเรายากเพราะเรื่องความคุ้นเคย

บริษัทที่3 UNIQ เป็นบริษัทเติบโตเยอะ ราคาหุ้นโตมา4เท่าใน4ปี

คุณนทีเริ่มด้วยการพูดว่า ฟังทั้งสองบริษัทพี่บวรและพี่พงษ์พูดแล้วอยากไปซื้อหุ้นทั้งสองบริษัท เราเป็นบริษัทชั้นนำด้าน Infrastructure แต่เทียบกับอีกสองบริษัทก็ถือว่ายังเล็ก
บริษัท สัดส่วน 100%ทำสาธารณูโภค ทางบก อากาศ น้ำ

สาธารณูปโภคบนบก infrastructure เช่น สะพาน รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง สนามบิน การบริหารจัดการน้ำ
เราเน้นงานรัฐอย่างเดียว มีงานต่อเนื่องเสมอ มีมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมคิดว่า Projectมูลค่าแค่ 2ล้านล้านบาท
แต่พบว่า ตอนนี้มูลค่าโครงการขึ้นไปถึง 3 ล้านล้านบาทแล้ว
มีงานเจาะอุโมงค์ให้แม่น้ำทั้งสองสายเชื่อมกัน
เราโต20% ในกรุงเทพก็ทำกับรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ เช่น จตุจักร ก็เป็นชุมทางที่ใหญ่ที่สุดของรถไฟ ซึ่งเป็นMass transit รวมถึงรถไฟความเร็วสูงด้วย ท่าเรือก็มีที่ปากบารา
เรามุ่งเน้น infrastructure อย่างเดียวทำให้เติบโตสูงกว่าคู่แข่งที่จะรับงานหลายอย่าง
บริษัทอื่นจะมาแข่งก็ต้องดูผลงาน และ คุณภาพด้วย
เราถนัดงานเกี่ยวกับเหล็ก

หมอเคถามถึงBacklog ใช้เวลากว่ารับรู้รายได้กี่ปี

คุณนทีตอบว่า Backlogใช้เวลากว่ารับรู้รายได้ 3-4 ปี ซึ่งอนาคตจะมีBacklogเพิ่มขึ้นตามแผนงานของรัฐบาล
ส่วนสนามบินอู่ตะเภาถ้ามีการประมูล เราก็ต้องการประมูลในส่วนสนามบินด้วย
เราได้GPสูง อยู่ที่การควบคุมต้นทุน เช่น ตอนเหล็กที่แนวโน้มลง เราก็ซื้อเหล็กตุนไว้ก่อน
อีกfactorคือ การบริหารเรื่องความเร็วในการดำเนินงาน ก็จะช่วยลดต้นทุนได้ด้วย
ส่วนการรับงานมา เรามีsubcontractในการทำบางเรื่อง แต่งานส่วนใหญ๋เราทำเอง ทำให้เราได้กำไรเยอะ
ถ้าราคาเหล็กมีแนวโน้มจะลง เราจะพยายามmatchปริมาณการใช้เหล็กเข้ากับงานเพื่อป้องกันความผันผวนของราคาเหล็ก

คำถามช่วงที่2 ผลประกอบการที่ผ่านมา และ อนาคตเป็นอย่างไร

1.PRM หมอเคยิงคำถามทันทีว่า ปีนี้ที่คุณชาญวิทย์ CEO บอกว่า 1H17 โตลดลง แต่2H17ก็จะโตเยอะ อยากให้คุณบวรช่วยอธิบายด้วยครับ

คุณบวร บอกว่ารายได้ของเราโตต่อเนื่องจากปี2558 =3,800, ปี2559 =4,200 ดังนั้นปีนี้น่าจะโตต่อเนื่อง แต่กำไรไม่แน่ใจว่าจะโตต่อเนื่อง เพราะมีโครงการใหม่ๆที่กำไรอาจยังไม่มา
แต่งานที่ขยายต่อในอนาคต เราเอาเงินจากการทำIPO จำนวน 5,000กว่าล้านบาท ไปลงทุนเพิ่มเรือปีละ10ลำ ซึ่งเงินที่เหลือที่จะลงทุนในปีต่อไป หมายถึง เงินIPOที่จะไปซื้อเรือในปีที่สองและปีที่สาม

ตอนนี้ต้องคิดว่าจะเอาเงินที่เหลือจากIPOไปทำอะไรเพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
ปริมาณการขนส่งจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปริมาณเรือที่เราเพิ่มขึ้น ส่วนที่เกินเราส่งต่อให้กับPartnerทำ
PRM marine ดูแลpartnerว่าถ้ามีแต่เรือ เราหางานให้ หรือมีวัตถุดิบ
เราหาเรือให้ แล้วเก็บค่าต๋ง
Asia pacific มีการใช้น้ำมันขยายปีละ 3% ตัวเลขดูเหมือนโตน้อยแต่ถ้าคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 3,000-4,000 ล้านลิตรต่อปี แต่ถือเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับที่ไทยทำได้
นี่คือโอกาสที่เติบโตอีกมากในอนาคต บริษัทพยายามทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้น
เงินที่ต้องใช้ในปีที่3 คุณบวรคิดว่าอาจเอาเรือเข้า Infrastructure fund เพื่อได้เงินมาซื้อเรือ
แต่ละstepที่เราจะเดิน เรามีสัญญาถือไว้ บางสัญญายาวมาก แต่ก็อาจมีความเสี่ยงถ้าเศรษฐกิจไม่ดี
partnerอาจยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาได้
เรือลอยน้ำที่ผสมน้ำมัน ทำกำไรสูงสุด พยายามขยายในส่วนนี้ แต่ก็พยายามหาธุรกิจใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง
ถึงแม้PTTจะแข็งแกร่ง เราก็อยากเพิ่มทางเลือกของบริษัทให้มากขึ้น เราจะdiversifyในประเทศซึ่งมีอยู่25%หรือต่างประเทศเพิ่มขึ้น

หมอเคถามต่อว่า ถ้าแยกตามประเภทของเรือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเติบโต คืออะไร

คุณบวรตอบว่า เรือขนส่ง กับ เรือผสมน้ำมันที่เติบโตเร็วให้กำไรเยอะ เราเกาะแน่นเลย และมีแผนสำหรับเรือ2ประเภทนี้ที่ต้องตามตลาดไป

หลังปี2020 ให้ลดลงจำนวน%ของกำมะถันในน้ำมันเตาจาก2%เหลือ 0.5% ซึ่งทำได้ยากมาก โรงกลั่นต้องลงทุนเยอะ
คำถามคือ ที่ไหนที่ทำง่าย คำตอบก็คือ ทำบนเรือ และ ทำที่ไหน คือ สิงคโปร์ ถือเป็นโอกาสของเราที่เข้ามาบริการส่วนนี้
อีกเรื่อง ตอนนี้มีพรบเดินเรือพาณิชย์ไทย การเดินเรือจะเปลี่ยนแปลง ต่อไปให้เรือชักธงไทยทุกลำต้องregisterเรือในไทย ถึงจะใช้เรือไทยได้ในการบรรทุกน้ำมันในอ่าวไทย ทำให้ต่างชาติเข้าไม่ได้ เป็นโอกาสของเรา
ผมทำงานในบริษัทคนไทยตลอด ตั้งแต่ Thaioil , PTTGC, PRM
คนไทยมาช่วยบริษัทสร้างกองเรือไทย ช่วยsupportประเทศไทย ผมรู้สึกภูมิใจในชีวิตครับ

หมอเคถามถึงปัจจัยเสี่ยงของบริษัท มีอะไรบ้างที่นักลงทุนต้องกังวล

คุณบวร ตอบว่า ทุกธุรกิจก็มีปัจจัยเสี่ยง สำหรับเรื่องของเรื่องก็มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่

1. Rateแกว่งตัวมาจาก demand,supplyของเรือ และ ราคาเหล็กผันผวน
เรื่องกฎหมาย และ พรบเปลี่ยน หรือ %ของกรดกำมะถันเปลี่ยนแปลง ก็มีผลกระทบต่อธุรกิจ บางครั้งผลเหมือนกับเป็นลบต่อธุรกิจ แต่เราก็พยายามทำให้เป็นโอกาสมาผสมให้กับคนอื่น
2. ลูกค้าอาจไม่จ้างเรา หรือ อากาศไม่ดี ไม่มีการเดินเรือ หรือแวะจอด
แต่เราอาศัยประสบการณ์เพื่อช่วยผ่อนหนักเป็นเบา การตั้งโรงเรียนสอนก็เอาประสบการณ์มาแชร์ได้
3. ราคาน้ำมันหรือบังเกอร์ถ้าแพงขึ้น เป็นต้นทุน40% และ ได้รับค่าเช่าเท่าเดิม ก็จะแย่ ต้องพยายามทำสัญญาราคาค่าขนส่งแปรผันกับราคาน้ำมัน เช่น PTTGC ก็ทำสัญญาให้ปรับเพิ่มตามราคาน้ำมันได้


2. PTTGC หมอเคถามว่า บริษัทจะดีต่อไปในอีกสามปีข้างหน้าไหม

คุณสุพัฒนพงษ์ ตอบว่า

1.เรามีบริหารความเสี่ยง และมีvalue chain ที่ยาวเพื่อลดความผันผวน เรามีแผนสำหรับการเติบโต
แนวโน้มองค์ประกอบการใน3sector คือ โรงกลั่น, aromatic ,ปิโตรเคมี ปีนี้ดีพร้อมกัน
ปีหน้ายังดี อาจมีอ่อนตัวในส่วนของปิโตรเคมี แต่เราปกป้องความเสี่ยงโดยหาตลาดสำรองไว้
2. ต้นปีหน้า เราขยายกำลังการผลิต โดยโรงงานใหม่ที่สร้างมาสองปีเปิดแล้ว เริ่มดำเนินการเม็ดพลาสติก(โพลีเอสเทอรีน)400,000ตันออกขายได้ ทำให้มีรายได้เกิดขึ้น
3. ช่วงปีที่ผ่านมา มีการซ่อมโรงงานใหญ่ เพื่อให้กลับมาทำใหม่อีกหลายปี ปีนี้มีซ่อมใหญ่หลายโรง แต่ปีหน้าไม่มีการซ่อมใหญ่
4.เราตัดสินใจลงทุน 7 หมื่นกว่าล้านบาทด้านต้นน้ำทางปิโตรเคมี และ ปลายน้ำเพื่อต่อยอด
เอาproductกลางน้ำไปทำเป็นproduct ปลายน้ำ

ระยะยาวอีก 3 ปี เป็นประโยชน์ต่อบริษัทและไทย ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นเบอร์หนึ่งในอาเซียน
เราต้องการเป็นพลาสติกเชิงวิศวกรรม (Super engineering) ตอนรัฐบาลเปิด EEC
เราทำroad show เชิญชวนเจ้าของเทคโนโลยี เรามีที่ดิน วัตถุดิบ วิศวกรที่ดี มาร่วมมือกัน
เราทำไป 17 บริษัท เซ็นต์MOU=1ราย น่าจะร่วมทุนกันได้ต้นปีหน้า โดยเราลงทุน30%
เราขายที่ดิน น้ำประปา ไฟฟ้าให้เขาได้ และยังมีคุยกันอีก 2-3 ราย
แผนการซื้อกิจการ หรือ M&A เราเล็งหาโอกาสตลอดเวลา เรามีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีเทคโนโลยีมาช่วยเรา ทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน ตอนนี้กำลังหาอยู่
โครงการ MAX ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3,000 ลบ ปีที่สองเป็น 6,000 ลบ
ปีที่สามจะเป็น 9,000 ลบ

บริษัท Global Clean chemical (GCC) เป็นบริษัทลูกซึ่งเป็น1 บริษัทที่ทยอยเข้าตลาด
วัตถุดิบของเราเส่วนใหญ่ ป็นGas ซึ่งจะทยอยหมดไป แต่ศักยภาพของเราใช้แค่60%
ถึงแม้หายไป40%ก็ยังเพียงพอ แต่แผนระยะยาว20ปีต้องหาsolutionอื่น
เราใช้เงินลงทุน 50%ของ 70,000 ลบ โดยสร้างโรงงานใหม่ให้ใช้Gasน้อยลง และใช้น้ำมันมากขึ้น สัมปทานปิโตรเลียมฉบับที่ 21 ทำให้เรามีงานมากขึ้น แต่ถ้าGasยังมีให้ใช้ต่ออีก
เราก็ลงทุนปลายน้ำมากขึ้น
Plastic engineering ราคา 8พัน$ต่อตัน แต่ตอนนี้เราขายได้แค่ 1400$ต่อตัน ดังนั้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม จะมีประโยชน์มากขึ้นในอนาคต

3.UNIQ ปีนี้โตน้อยกว่า3-4ปีที่แล้ว เพราะหลายโครงการของรัฐdelayออกไป โดยเฉพาะรถไฟรางคู่ที่จะประมูลเมื่อ
ต้นปี17 แต่มีการเลื่อนออกไป ดูแล้วบริษัทจะมีกำไรใกล้เคียงเดิม

สัญญาณที่โครงการเลื่อน สมัยก่อน มีเหตุผลมาจากเปลี่ยนรัฐบาล
แต่คราวนี้มาจากการทบทวนให้ละเอียดจากรัฐบาล เช่น Project EEC
มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับ EECมีมากขึ้น ทำให้มูลค่าของโครงการเพิ่มเป็น 3 ล้านล้านบาท
ประเมินจากสิ่งที่เคยทำและได้งานในอดีต เราน่าจะได้สัก 10% หรือ 300,000 ลบ

ตอนนี้มีBacklog 30,000 ลบ ทยอยรับรู้รายได้ พอๆกับปีที่แล้ว

ตอนนี้รถไฟรางคู่มีการประมูลที่น่าจะได้ ปัญหาการรับงาน เราสามารถบริหารจัดการได้ ค่อนข้างมั่นใจบริหารจัดการได้ ส่วนเรื่องกฎหมายแรงงาน เราต้องจ้างแรงงานมากขึ้น แรงงานพม่าต้องมีการทำสัญญา มีคนที่จัดการแรงงานพม่าอยู่ ไม่มีปัญหา

เวลาเข้าประมูล บริษัทที่ประมูลมาจากCreditจากธนาคาร เรามีประวัติและประสบการณ์ ที่ได้รับBid bondเป็นโครงการที่ไม่ต้องใช้เงินสด

DE หรือหนี้สินต่อทุน อยู่ประมาณ 2.5 เท่า แต่เป็นธรรมชาติของธุรกิจ
แต่ถ้าเป็นเงินกู้จริงที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยคิดเป็น1เท่าเอง

ความเสี่ยงของธุรกิจมีสองส่วน

1 ความเสี่ยงที่controlได้ ไม่มีปัญหา
2 ความเสี่ยงที่controlไม่ได้ คือ project delay หรือเลื่อนการประมูลออกไป หรือ ประมูลProjectไม่ได้

เราประมูลโครงการรถไฟรางคู่ 18,000 ลบ ได้ แต่ยังไม่เซ็นต์สัญญา ยังถือเป็นBacklogไม่ได้
เรามีการทำPRECAST ทำให้ควบคุมต้นทุนและประหยัดเวลา เราควบคุมต้นทุน ดังนั้นสามารถแข่งขันราคากับคู่แข่งได้

สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านรวมถึงทีมงาน Money Talkมา ณ โอกาสนี้ครับ
คลายเครียด
Verified User
โพสต์: 1734
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

i-salmon เขียน:ปัญหาที่เสียท่าคือเล่น margin ขาดทุนแค่ 30% แต่กู้เงินมา 70%
กับวิกฤติอีกครั้ง ปี 40 ตอนฟองสบู่แตก เข็ดจากเล่นมาร์จิ้นแล้ว ก็เป็นเงินสด
พอร์ต 60% เหลือ 40% เป็นเงินสด แต่เจ๊ง 60% หนักกว่าตอนที่เจ๊งเล่น มาร์จิ้น
ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกับไปให้น้องๆให้พ่อได้แล้ว
ปัญหาตลาดตอนนั้น คือ ไม่ได้มีข้อมูลอะไรมาก รู้แค่ราคาขึ้นราคาลง ไม่เทียบพาร์,ไม่เทียบ PE

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา

ขอบคุณทางทีมงานที่ช่วยจดบันทึกบทสนทนาไว้ด้วยครับ

ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยนะครับดังนี้

ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกลับไปให้น้องๆ ให้พ่อได้แล้ว

ความจริงคือ เป็นเงินที่พี่น้องยินยอมให้ผมเป็นคนดูแลเงินฝากของพ่อ
หลังจากที่พ่อไม่สามารถทำธุรกรรมถอนเงินฝาก
เพราะไม่สามารถเซนต์ชื่อได้แล้ว

เป็นเงินที่ไม่เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของผมแต่อย่างไร
และมันยังทำให้ผมดีใจมาก
ที่สามารถแยกแยะมีวินัยในการใช้เงิน จำแนกได้ว่า มันเป็นเงินของใครด้วย

ตอนซับไพร์ม ผมอยากจะเอาเงินฝากของพ่อมาซื้อหุ้นเพิ่มเติมมากๆ
แต่ก็ไม่ได้ทำ
เพราะถือว่าเป็นเงินฝากที่พ่อจะไม่ยอมเอามาซื้อหุ้นแน่ๆ (ถ้าพ่อยังมีชีวิตอยู่)


ถ้าเอาเงินฝากพ่อมาซื้อหุ้นในตอนนั้น เงินก็จะเพิ่มพูนไปอีกหลายล้านบาท
แต่ก็ไม่เคยทำ นอกจาก แค่คิดจะทำ
และไม่เคยนึกเสียใจเลยที่ไม่ได้ทำตามนั้น แม้จะรู้ผลลัพธ์ในเวลาต่อมาว่า จะได้กำไร

ลงท้ายได้คืนเงินฝากของพ่อกลับไปให้น้องๆจนหมดหลังจากพ่อเสียชีวิต

เท่ากับผมได้เงินจากพ่อมาเล่นหุ้น สี่แสนห้าหมื่นบาทในตอนเริ่มแรกเท่านั้น
ส่วนน้องๆ ได้เงินฝากพ่อกลับไปดูแลแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ ประมาณเก้าล้านสามแสนบาทครับ

ทำให้พี่น้องไม่ต้องผิดใจกันเพราะเรื่องเงินๆทองๆ เหมือนกับที่เกิดกับครอบครัวจำนวนมาก


+++++++++

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา

อาจารย์ไพบูลย์ต้องการจะถามว่า ที่มาของวิธี "ตลายเครียดเรโช" มาจากอะไร

ไม่ได้หมายถึงว่าฉายาคลายเครียดมากจากอะไรครับ
อันนั้นผมตั้งไว้ตั้งแต่เป็นสมาชิกห้องสินธร
แล้วค่อยเอาวิธีการ ถอนเงินต้นบวกกำไรบางส่วนจากหุ้นออกมาก่อนว่า
"คลายเครียดเรโช" ตามนามแฝงในห้องสินธรครับ
poody
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

นับถือเฮียคลายเครียด ตัวจริงเสียงจริง
จะมีสักกี่คนควบคุมความโลภในใจตัวเองได้
amornkowa
Verified User
โพสต์: 2195
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คลายเครียด เขียน:
i-salmon เขียน:ปัญหาที่เสียท่าคือเล่น margin ขาดทุนแค่ 30% แต่กู้เงินมา 70%
กับวิกฤติอีกครั้ง ปี 40 ตอนฟองสบู่แตก เข็ดจากเล่นมาร์จิ้นแล้ว ก็เป็นเงินสด
พอร์ต 60% เหลือ 40% เป็นเงินสด แต่เจ๊ง 60% หนักกว่าตอนที่เจ๊งเล่น มาร์จิ้น
ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกับไปให้น้องๆให้พ่อได้แล้ว
ปัญหาตลาดตอนนั้น คือ ไม่ได้มีข้อมูลอะไรมาก รู้แค่ราคาขึ้นราคาลง ไม่เทียบพาร์,ไม่เทียบ PE

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา

ขอบคุณทางทีมงานที่ช่วยจดบันทึกบทสนทนาไว้ด้วยครับ

ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยนะครับดังนี้

ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกลับไปให้น้องๆ ให้พ่อได้แล้ว

ความจริงคือ เป็นเงินที่พี่น้องยินยอมให้ผมเป็นคนดูแลเงินฝากของพ่อ
หลังจากที่พ่อไม่สามารถทำธุรกรรมถอนเงินฝาก
เพราะไม่สามารถเซนต์ชื่อได้แล้ว

เป็นเงินที่ไม่เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของผมแต่อย่างไร
และมันยังทำให้ผมดีใจมาก
ที่สามารถแยกแยะมีวินัยในการใช้เงิน จำแนกได้ว่า มันเป็นเงินของใครด้วย

ตอนซับไพร์ม ผมอยากจะเอาเงินฝากของพ่อมาซื้อหุ้นเพิ่มเติมมากๆ
แต่ก็ไม่ได้ทำ
เพราะถือว่าเป็นเงินฝากที่พ่อจะไม่ยอมเอามาซื้อหุ้นแน่ๆ (ถ้าพ่อยังมีชีวิตอยู่)


ถ้าเอาเงินฝากพ่อมาซื้อหุ้นในตอนนั้น เงินก็จะเพิ่มพูนไปอีกหลายล้านบาท
แต่ก็ไม่เคยทำ นอกจาก แค่คิดจะทำ
และไม่เคยนึกเสียใจเลยที่ไม่ได้ทำตามนั้น แม้จะรู้ผลลัพธ์ในเวลาต่อมาว่า จะได้กำไร

ลงท้ายได้คืนเงินฝากของพ่อกลับไปให้น้องๆจนหมดหลังจากพ่อเสียชีวิต

เท่ากับผมได้เงินจากพ่อมาเล่นหุ้น สี่แสนห้าหมื่นบาทในตอนเริ่มแรกเท่านั้น
ส่วนน้องๆ ได้เงินฝากพ่อกลับไปดูแลแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ ประมาณเก้าล้านสามแสนบาทครับ

ทำให้พี่น้องไม่ต้องผิดใจกันเพราะเรื่องเงินๆทองๆ เหมือนกับที่เกิดกับครอบครัวจำนวนมาก


+++++++++

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา

อาจารย์ไพบูลย์ต้องการจะถามว่า ที่มาของวิธี "ตลายเครียดเรโช" มาจากอะไร

ไม่ได้หมายถึงว่าฉายาคลายเครียดมากจากอะไรครับ
อันนั้นผมตั้งไว้ตั้งแต่เป็นสมาชิกห้องสินธร
แล้วค่อยเอาวิธีการ ถอนเงินต้นบวกกำไรบางส่วนจากหุ้นออกมาก่อนว่า
"คลายเครียดเรโช" ตามนามแฝงในห้องสินธรครับ
ขอบคุณเฮียคลายเครียดมากๆครับที่มาเสริมเนื้อหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คลายเครียด
Verified User
โพสต์: 1734
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

poody เขียน:นับถือเฮียคลายเครียด ตัวจริงเสียงจริง
จะมีสักกี่คนควบคุมความโลภในใจตัวเองได้

ขอบคุณครับ คุณปู๊ด
คลายเครียด
Verified User
โพสต์: 1734
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET11/11/60หุ้นเด่นโค้งสุดท้าย&ยุทธศาสตร์สู้วิ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

amornkowa เขียน:
คลายเครียด เขียน:
i-salmon เขียน:ปัญหาที่เสียท่าคือเล่น margin ขาดทุนแค่ 30% แต่กู้เงินมา 70%
กับวิกฤติอีกครั้ง ปี 40 ตอนฟองสบู่แตก เข็ดจากเล่นมาร์จิ้นแล้ว ก็เป็นเงินสด
พอร์ต 60% เหลือ 40% เป็นเงินสด แต่เจ๊ง 60% หนักกว่าตอนที่เจ๊งเล่น มาร์จิ้น
ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกับไปให้น้องๆให้พ่อได้แล้ว
ปัญหาตลาดตอนนั้น คือ ไม่ได้มีข้อมูลอะไรมาก รู้แค่ราคาขึ้นราคาลง ไม่เทียบพาร์,ไม่เทียบ PE

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา

ขอบคุณทางทีมงานที่ช่วยจดบันทึกบทสนทนาไว้ด้วยครับ

ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลเล็กน้อยนะครับดังนี้

ตอนหลังก็สามารถคืนเงินกลับไปให้น้องๆ ให้พ่อได้แล้ว

ความจริงคือ เป็นเงินที่พี่น้องยินยอมให้ผมเป็นคนดูแลเงินฝากของพ่อ
หลังจากที่พ่อไม่สามารถทำธุรกรรมถอนเงินฝาก
เพราะไม่สามารถเซนต์ชื่อได้แล้ว

เป็นเงินที่ไม่เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของผมแต่อย่างไร
และมันยังทำให้ผมดีใจมาก
ที่สามารถแยกแยะมีวินัยในการใช้เงิน จำแนกได้ว่า มันเป็นเงินของใครด้วย

ตอนซับไพร์ม ผมอยากจะเอาเงินฝากของพ่อมาซื้อหุ้นเพิ่มเติมมากๆ
แต่ก็ไม่ได้ทำ
เพราะถือว่าเป็นเงินฝากที่พ่อจะไม่ยอมเอามาซื้อหุ้นแน่ๆ (ถ้าพ่อยังมีชีวิตอยู่)


ถ้าเอาเงินฝากพ่อมาซื้อหุ้นในตอนนั้น เงินก็จะเพิ่มพูนไปอีกหลายล้านบาท
แต่ก็ไม่เคยทำ นอกจาก แค่คิดจะทำ
และไม่เคยนึกเสียใจเลยที่ไม่ได้ทำตามนั้น แม้จะรู้ผลลัพธ์ในเวลาต่อมาว่า จะได้กำไร

ลงท้ายได้คืนเงินฝากของพ่อกลับไปให้น้องๆจนหมดหลังจากพ่อเสียชีวิต

เท่ากับผมได้เงินจากพ่อมาเล่นหุ้น สี่แสนห้าหมื่นบาทในตอนเริ่มแรกเท่านั้น
ส่วนน้องๆ ได้เงินฝากพ่อกลับไปดูแลแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ ประมาณเก้าล้านสามแสนบาทครับ

ทำให้พี่น้องไม่ต้องผิดใจกันเพราะเรื่องเงินๆทองๆ เหมือนกับที่เกิดกับครอบครัวจำนวนมาก


+++++++++

ฉายา คลาดเครียด มาจากแม่เคยซื้อเงินแท่ง พอมีกำไรก็ขายออกไปส่วนหนึ่ง เก็บทุนไว้ก่อน จึงได้แนวคิดนั้นมา

อาจารย์ไพบูลย์ต้องการจะถามว่า ที่มาของวิธี "ตลายเครียดเรโช" มาจากอะไร

ไม่ได้หมายถึงว่าฉายาคลายเครียดมากจากอะไรครับ
อันนั้นผมตั้งไว้ตั้งแต่เป็นสมาชิกห้องสินธร
แล้วค่อยเอาวิธีการ ถอนเงินต้นบวกกำไรบางส่วนจากหุ้นออกมาก่อนว่า
"คลายเครียดเรโช" ตามนามแฝงในห้องสินธรครับ
ขอบคุณเฮียคลายเครียดมากๆครับที่มาเสริมเนื้อหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ขอบคุณเช่นกันครับ
โพสต์โพสต์