ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงพยาบาลปี 2560
ก่อนอื่นมาดูที่โครงสร้างการให้บริการสุขภาพในประเทศไทย
Health service infrastructure
1. Government health services
2. Private medical sector
3. Non profit health services รพ เปิดให้บริการไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่มีการเก็บเงินคนไข้
เช่น รพ กรุงเทพคริสเตียน รพ หัวเฉียว รพ เซนต์หลุยส์
ส่วนที่ 1 Government health servicesและ 2 Private medical sectorแบ่งออกเป็น
Cash & Insurance ซึ่งแบ่งได้เป็น Premium , Mid-tier
Managed care schemes (สวัสดิการภาครัฐ) ( ข้อมูลปีล่าสุด คือ ปี 56)
แบ่งเป็น
1.ประกันสังคม คิดเป็น 74.4% รพเอกชน เข้าร่วม 36 แห่ง
2.บัตรทอง 30 บาท คิดเป็น 15.4% รพเอกชน เข้าร่วม 36 แห่ง
3.สวัสดิการข้าราชการ หรือ ข้าราชการบำนาญรัฐวิสาหกิจ คิดเป็น 8.6% รพ เอกชนเข้าร่วม 216 แห่ง
จุดสังเกตว่า รพ เอกชน เข้าร่วมโครงการประกันสังคม มากกว่า บัตรทอง เพราะได้ค่าเหมาจ่ายสูงกว่า
ค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพในปี 47-56
ส่วนภาครัฐ โต 13% ต่อปี
ภาคเอกชน ประกันสุขภาพ โต 11.3% ต่อปีก สอดคล้องกับประชากรที่มีประกันสุขภาพโต 12.7% ต่อปี
และเบี้ยประกันสุขภาพ CAGR 13.4% ต่อปี
ปัจจัยบวกต่อธุรกิจ รพ
1. การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากรและอายุเฉลี่ยที่สูงขึ้น
2. การเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง
3. การขยายตัวของชุมชนเมือง
4. จำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากขึ้น
5. การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยต่างชาติ
ปัจจัยเสี่ยงต่อธุรกิจ รพ
1. ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ทำให้ผู้มีรายได้ปานกลางอาจเลือกใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลจากภาครัฐแทน
2. การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ไทยมีแพทย์ 4 คน ต่อประชากร 10,000 คน เทียบกับสิงคโปร์ 19 คน
3. แนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง มีโรงพยาบาลจะเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกหลายแห่ง
วิธีการรับรู้รายได้
1.สำหรับประกันสังคมมีการจ่ายผลตอบแทนให้กับโรงพยาบาล แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. Fixed payment
2. Statistics
2.1 IPD AdjRW>=2 , AdjRW<2
2.2 OPD เฉพาะ 26 โรคร้ายแรง
3. Per Special Medical Service
ประกันสังคมปรับเรื่องการจ่ายผลประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลมากขึ้น มีผล 1 กค 17
รายการที่ปรับมี 4 ข้อ คือ
1. เหมาจ่ายรายหัว Fixed paymentเพิ่มจาก 1,460 บาท เป็น 1,500 บาท ต่อ คน ต่อปี
โรงพยาบาลที่สามารถยกระดับการรักษาโรคยากเป็น HA Level II จะได้เพิ่มอีก คนละ 40 บาทต่อปี
ถ้าเพิ่มเป็นHA Level III จะได้เพิ่มอีก คนละ 80 บาทต่อปี
( HA เป็นมาตรฐานของโรงพยาบาลไทย )
2. การบันทึกโรคยากซับซ้อนสูงจะได้เพิ่มขึ้นอีกถ้าเป็นเคสIPD
Adj มากกว่าหรือเท่ากับ 2 เป็นโรคซับซ้อน จะได้เฉลี่ย 10,000 บาทต่อ RW
Adj น้อยกว่า 2 หรือ เป็นเคส OPD 26 โรคร้ายแรง จะได้เฉลี่ย 432 บาท ต่อคนต่อปี
3. สำหรับการใช้เครื่องมือพิเศษ จะคิดจากรายได้หารด้วยจำนวนผู้ใช้บริการจริง
4.case บางอันค่ารักษาเกิน 1ล้านบาท ส่วนที่เกินเบิกได้ 80% ซึ่งช่วย รพ ได้มาก แต่เคสที่เจอะไม่ค่อยเยอะ
2. วิธีรับรู้รายได้สำหรับผู้ป่วยเงินสด
รายได้ผู้ป่วย OPD=Number of OPD visits per day * revenue per visit
รายได้ผู้ป่วย IPD=Average daily census * revenue per admission
สุดท้ายขอขอบคุณ หทัยชนก มูลวงศ์ นักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์ บล Phillip ครับ
ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงพยาบาลปี 2560
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงพยาบาลปี 2560
โพสต์ที่ 3
อย่าลืมประเด็นความเสี่ยงเรื่องการฟ้องร้องค่าชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ด้วยนะครับ ไม่แน่ใจว่าแต่ละที่บริหารความเสี่ยงอย่างไร แต่สำหรับ รพ.เล็กๆ เจอเข้าไปซัก case ก็หน้ามืดละครับ แต่กว่าจะจ่ายกันจริงก็นานอยู่ จะบอกว่า Medical error มันมีมากเสียจนคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบบริการอาจไม่รู้ บางทีเราก็เจอแม้กระทั่ง รพ.ที่เราเองก็รู้สึกว่าเป็นระดับต้นๆของประเทศ(เอกชน) ทำไมถึงพลาดได้ขนาดนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0