รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 91
ซื้อหุ้นไปแล้ว อะไร ๆ ก็เป็นลางดีไปซะหมด (Subjective validation)
หลายคนเวลาลงทุน เขาก็มักจะเชื่อถือสิ่งที่อาจจะเหนือธรรมชาติ ซึ่งเรื่องนี้ก็คงแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคลนะครับ
แต่สิ่งที่อยากบอกคือ บางที ความเชื่อที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นการสร้างความเชื่อขึ้นมาเอง เนื่องจากเราจะพยายามเอาไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราอยากให้เกิด
เช่น สมมุติว่าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่ง พอซื้อปุ๊บ เราอาจจะบังเอิญเจอของที่ตกบนพื้นถนน
พอหยิบขึ้นมา ดันเป็นสินค้าของบริษัทที่เราเพิ่งซื้อหุ้น
นี่มันพรหมลิขิตชัด ๆ หุ้นนี้น่าจะเป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตเรา !!!
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันอาจจะเป็นเพียงแค่เหตุการณ์บังเอิญเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น แต่เราก็พยายามโยงให้เป็นเหตุเป็นผลกันให้ได้ เพียงเพราะว่าเราอยากให้มันเกิดสิ่งนั้น (เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิต) เท่านั้นเอง !!!
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Subjective validation ครับ
สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เวลาเราไปดูหมอครับ
พอหมอพูดอะไรออกมา ถ้ามันเป็นสิ่งที่เราอยากให้เกิด
เราก็มักที่พร้อมจะเชื่อ แล้วก็บอกว่าหมอดูคนนี้แม่นมาก ๆ
เอาเป็นว่าระวังกันไว้หน่อยก็ดีครับ
เวลาคิดว่ามันน่าจะใช่ มันเป็นลางดี
หลายครั้งมันอาจจะเป็นเพราะเราคิดไปเองก็ได้ครับ
หลายคนเวลาลงทุน เขาก็มักจะเชื่อถือสิ่งที่อาจจะเหนือธรรมชาติ ซึ่งเรื่องนี้ก็คงแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคลนะครับ
แต่สิ่งที่อยากบอกคือ บางที ความเชื่อที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นการสร้างความเชื่อขึ้นมาเอง เนื่องจากเราจะพยายามเอาไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราอยากให้เกิด
เช่น สมมุติว่าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่ง พอซื้อปุ๊บ เราอาจจะบังเอิญเจอของที่ตกบนพื้นถนน
พอหยิบขึ้นมา ดันเป็นสินค้าของบริษัทที่เราเพิ่งซื้อหุ้น
นี่มันพรหมลิขิตชัด ๆ หุ้นนี้น่าจะเป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิตเรา !!!
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันอาจจะเป็นเพียงแค่เหตุการณ์บังเอิญเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น แต่เราก็พยายามโยงให้เป็นเหตุเป็นผลกันให้ได้ เพียงเพราะว่าเราอยากให้มันเกิดสิ่งนั้น (เป็นหุ้นเปลี่ยนชีวิต) เท่านั้นเอง !!!
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Subjective validation ครับ
สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เวลาเราไปดูหมอครับ
พอหมอพูดอะไรออกมา ถ้ามันเป็นสิ่งที่เราอยากให้เกิด
เราก็มักที่พร้อมจะเชื่อ แล้วก็บอกว่าหมอดูคนนี้แม่นมาก ๆ
เอาเป็นว่าระวังกันไว้หน่อยก็ดีครับ
เวลาคิดว่ามันน่าจะใช่ มันเป็นลางดี
หลายครั้งมันอาจจะเป็นเพราะเราคิดไปเองก็ได้ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 92
ผลวิจัย ยังไงมันก็ดี (Survivorship bias)
เวลาเล่นหุ้นเคยอ่านพวกผลวิจัยไหมครับ
เช่น “ผลตอบแทนตลาดหุ้นในระยะยาว เป็นผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงที่สุด” หรือ “กำไรเฉลี่ยของบริษัทที่อยู่ใน SET50 เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง”
อ่านแล้วรู้สึกฮึกเหิมไหมครับ อ่านแล้วอาจจะคิดในใจว่า
ลงทุนในหุ้น ยังไงก็ไม่ขาดทุน เพราะค่าเฉลี่ยเหล่านี้มันก็บอกแบบนี้หนิ
ระวังนะครับ เพราะท่านอาจจะกำลังเจอสิ่งที่เรียกว่า....
Survivorship bias ครับ!!!
เอ้า แล้วมันคืออะไรเหรอครับ
ตามชื่อเลยครับ Survivor แปลว่าผู้รอดชีวิต
ความลำเอียงประเภทนี้หมายถึงการที่เราทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มที่รอดและประสบผลสำเร็จ แต่ละเลยที่จะศึกษากลุ่มที่ล้มเหลว
มันจึงทำให้ผลลัพธ์มันดีกว่าความเป็นจริงเสมอไงครับ!!!
อย่างเช่นตัวอย่างข้างบน บางทีตอนเราคำนวณ “ค่าเฉลี่ย” ของผลตอบแทนของการลงทุนในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั้น เราคำนวณเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันใช่ไหมครับ แต่เราไม่ได้รวมเอาบริษัทที่เจ๊งไประหว่างทางที่มันก็มีจำนวนไม่น้อย
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “คนตายไม่ได้พูด” นั่นเอง
ค่ามันจึงดูดีเกินจริงไปไงครับ หรือเวลาเราคำนวณกำไรเฉลี่ยของบริษัทที่อยู่ใน SET50 มันก็จะรวมมาเฉพาะบริษัทใหญ่ที่มีมูลค่าสูง จะสังเกตเห็นว่าหากบริษัทขาดทุนมาก ๆ ราคาหุ้นลด มูลค่าบริษัทลดลง บริษัทนั้นก็ถูกถอดออกจาก SET50
ดังนั้นพอคำนวณอัตราการทำกำไรของบริษัทใน SET50 มันก็เลยดูดีตลอดไงครับ
เวลาอ่านวิจัยทางด้านการเงิน บางทีก็ต้องระวังเรื่องนี้ไว้เหมือนกันนะครับ วิธีไหนที่บอกว่าใช้แล้วสำเร็จ เราต้องไปดูด้วยว่า มันเป็นเพราะเราไป survey เฉพาะคนที่สำเร็จแล้วหรือเปล่า คนที่ล้มเหลวด้วยการใช้วิธีแบบนั้นก็อาจมีไม่น้อย เพียงแต่ว่า ...
เขาไม่ได้มีโอกาสมาพูดเท่านั้นเองครับ!!!
เวลาเล่นหุ้นเคยอ่านพวกผลวิจัยไหมครับ
เช่น “ผลตอบแทนตลาดหุ้นในระยะยาว เป็นผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงที่สุด” หรือ “กำไรเฉลี่ยของบริษัทที่อยู่ใน SET50 เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง”
อ่านแล้วรู้สึกฮึกเหิมไหมครับ อ่านแล้วอาจจะคิดในใจว่า
ลงทุนในหุ้น ยังไงก็ไม่ขาดทุน เพราะค่าเฉลี่ยเหล่านี้มันก็บอกแบบนี้หนิ
ระวังนะครับ เพราะท่านอาจจะกำลังเจอสิ่งที่เรียกว่า....
Survivorship bias ครับ!!!
เอ้า แล้วมันคืออะไรเหรอครับ
ตามชื่อเลยครับ Survivor แปลว่าผู้รอดชีวิต
ความลำเอียงประเภทนี้หมายถึงการที่เราทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มที่รอดและประสบผลสำเร็จ แต่ละเลยที่จะศึกษากลุ่มที่ล้มเหลว
มันจึงทำให้ผลลัพธ์มันดีกว่าความเป็นจริงเสมอไงครับ!!!
อย่างเช่นตัวอย่างข้างบน บางทีตอนเราคำนวณ “ค่าเฉลี่ย” ของผลตอบแทนของการลงทุนในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั้น เราคำนวณเฉพาะบริษัทที่อยู่ในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันใช่ไหมครับ แต่เราไม่ได้รวมเอาบริษัทที่เจ๊งไประหว่างทางที่มันก็มีจำนวนไม่น้อย
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “คนตายไม่ได้พูด” นั่นเอง
ค่ามันจึงดูดีเกินจริงไปไงครับ หรือเวลาเราคำนวณกำไรเฉลี่ยของบริษัทที่อยู่ใน SET50 มันก็จะรวมมาเฉพาะบริษัทใหญ่ที่มีมูลค่าสูง จะสังเกตเห็นว่าหากบริษัทขาดทุนมาก ๆ ราคาหุ้นลด มูลค่าบริษัทลดลง บริษัทนั้นก็ถูกถอดออกจาก SET50
ดังนั้นพอคำนวณอัตราการทำกำไรของบริษัทใน SET50 มันก็เลยดูดีตลอดไงครับ
เวลาอ่านวิจัยทางด้านการเงิน บางทีก็ต้องระวังเรื่องนี้ไว้เหมือนกันนะครับ วิธีไหนที่บอกว่าใช้แล้วสำเร็จ เราต้องไปดูด้วยว่า มันเป็นเพราะเราไป survey เฉพาะคนที่สำเร็จแล้วหรือเปล่า คนที่ล้มเหลวด้วยการใช้วิธีแบบนั้นก็อาจมีไม่น้อย เพียงแต่ว่า ...
เขาไม่ได้มีโอกาสมาพูดเท่านั้นเองครับ!!!
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 93
เรา save เวลาไปได้เท่าไร (Time-saving bias)
มีคำถามมาถามครับ สมมุติว่าท่านกำลังต้องการปรับปรุงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าที่ท่านสร้างขึ้นสามารถขับได้เร็วมากขึ้น เพื่อจะสามารถลดระยะเวลาในการเดินทางลงโดยมีนวัตกรรมใหม่ 2 อย่างให้เลือก ท่านจะเลือกนวัตกรรมอันไหนครับ
1. นวัตกรรมที่ช่วยให้ความเร็วของรถเพิ่มขึ้นจาก 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. นวัตกรรมที่ช่วยให้ความเร็วของรถเพิ่มขึ้นจาก 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ถ้าเป้าหมายคือนวัตกรรมที่จะช่วยให้ save เวลาการเดินทางของท่าน ท่านคิดว่าข้อไหนน่าสนใจกว่ากันครับ
ลองตอบกันดูนะครับ ให้เวลาครับ ...
ถ้าท่านเป็นเหมือนคนอื่น ๆ คำตอบของท่านจะเป็นข้อที่ 2 แต่เชื่อไหมครับ จริง ๆ แล้ว นวัตกรรมข้อที่ 1 ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางลงมากกว่า
หาเป็นไปได้ยังไง ในเมื่อข้อแรกเพิ่มอัตราเร็วแค่ 10 เอง จาก 30 เป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่อันหลังเพิ่มตั้ง 20 นะคือ จาก 80 เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง !!!
เป็นไปแล้วครับ เอ้า มาลองดูกันนะครับ
สมมุติว่าระยะทางในการเดินทางทั้งหมดคือ 120 กิโลเมตร
นวัตกรรมอันแรก ในตอนแรกจะใช้เวลาในการเดินทางในอัตรา 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใช่ไหมครับ ดังนั้น จะใข้เวลาในการเดินทางทั้งสิ้น 120/30 = 4 ชั่วโมง แต่พอใช้นวัตกรรมนี้อัตราความเร็วเพิ่มเป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเวลาในการเดินทางจะเหลือ 120/40 = 3 ชั่วโมง คือลดลงไปได้ 1 ชั่วโมง
นวัตกรรมอันที่สอง ในตอนแรกจะใช้เวลาในการเดินทางในอัตราความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นจะใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 120/80 = 1.5 ชั่วโมง แต่พอตอนหลังอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาเดินทางจะเหลือ 120/100 = 1.2 ชั่วโมง หรือลดลงไป 0.3 ชั่วโมง
คราวนี้เชื่อแล้วหรือยังครับว่ามันเป็นแบบนี้จริง ๆ ถ้าท่านตอบผิด ท่านเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีอคติที่เรียกว่า Time-saving bias
คนส่วนใหญ่มักจะ Underestimate เวลาที่ลดลงไปได้ หากเริ่มจากความเร็วต่ำ ๆ และ Overestimate เวลาที่เพิ่มขึ้นจากความเร็วสูง ๆ ครับ
Fuller จากมหาวิทยาลัย Dublin และคณะได้ตีพิมพ์ผลการศกึษาในเรื่องนี้ในปี 2009 โดยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมักจะ Underestimate เวลาที่ลดลง หากเขาเริ่มจากความเร็วของการขับรถระดับต่ำ แต่ Overestimate เวลาที่ลดลงเวลาเขาเริ่มจากความเร็วของการชับรถระดับสูง !!!
คำถามคือแล้วเกี่ยวอะไรกับการเล่นหุ้น
สิ่งที่กำลังจะบอกคือเรื่องนี้มันเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะเรื่องของอัตราความเร็วในการขับรถเท่านั้นนะครับ
มันเกิดขึ้นได้กับอัตราการให้บริการ productivity ในการทำงาน อะไรก็ตามที่มีหน่วยของ Unit ต่อระยะเวลา
เวลาเราไปอ่านบทวิเคราะห์ต่าง ๆ แล้วพบว่าบริษัทมีอัตราเหล่านี้ดีขึ้น ให้ระวังเรื่องนี้ไว้นะครับ เพราะการเพิ่มขึ้นจากจุดที่ต่ำนั้น มันจะมี Improvement ที่ดีกว่า การเพิ่มขึ้นจากจุดที่สูง ซึ่งมันจะขัดกับความรู้สึกเราในตอนแรกเนื่องจาก Time-saving bias นี่แหละครับ
ดังนั้นหากเห็นตัวเลขว่าบริษัทสามารถเพิ่มอัตราการผลิตจาก 30 ชิ้นต่อชั่วโมงเป็น 40 ชิ้นต่อชั่วโมง นวัตกรรมนี้จะระยะเวลาในการผลิตได้มากกว่า (หมายถึงเวลาที่ลดลงได้นะครับ) การเพิ่มอัตราการผลิตจาก 80 ชิ้นต่อชั่วโมงเป็น 100 ชิ้นต่อชั่วโมงนะครับ
เอ้า ถ้ายังไม่เชื่อ ลองคำนวณกันอีกทีนะครับ 555
มีคำถามมาถามครับ สมมุติว่าท่านกำลังต้องการปรับปรุงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าที่ท่านสร้างขึ้นสามารถขับได้เร็วมากขึ้น เพื่อจะสามารถลดระยะเวลาในการเดินทางลงโดยมีนวัตกรรมใหม่ 2 อย่างให้เลือก ท่านจะเลือกนวัตกรรมอันไหนครับ
1. นวัตกรรมที่ช่วยให้ความเร็วของรถเพิ่มขึ้นจาก 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. นวัตกรรมที่ช่วยให้ความเร็วของรถเพิ่มขึ้นจาก 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ถ้าเป้าหมายคือนวัตกรรมที่จะช่วยให้ save เวลาการเดินทางของท่าน ท่านคิดว่าข้อไหนน่าสนใจกว่ากันครับ
ลองตอบกันดูนะครับ ให้เวลาครับ ...
ถ้าท่านเป็นเหมือนคนอื่น ๆ คำตอบของท่านจะเป็นข้อที่ 2 แต่เชื่อไหมครับ จริง ๆ แล้ว นวัตกรรมข้อที่ 1 ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางลงมากกว่า
หาเป็นไปได้ยังไง ในเมื่อข้อแรกเพิ่มอัตราเร็วแค่ 10 เอง จาก 30 เป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่อันหลังเพิ่มตั้ง 20 นะคือ จาก 80 เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง !!!
เป็นไปแล้วครับ เอ้า มาลองดูกันนะครับ
สมมุติว่าระยะทางในการเดินทางทั้งหมดคือ 120 กิโลเมตร
นวัตกรรมอันแรก ในตอนแรกจะใช้เวลาในการเดินทางในอัตรา 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใช่ไหมครับ ดังนั้น จะใข้เวลาในการเดินทางทั้งสิ้น 120/30 = 4 ชั่วโมง แต่พอใช้นวัตกรรมนี้อัตราความเร็วเพิ่มเป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเวลาในการเดินทางจะเหลือ 120/40 = 3 ชั่วโมง คือลดลงไปได้ 1 ชั่วโมง
นวัตกรรมอันที่สอง ในตอนแรกจะใช้เวลาในการเดินทางในอัตราความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นจะใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 120/80 = 1.5 ชั่วโมง แต่พอตอนหลังอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาเดินทางจะเหลือ 120/100 = 1.2 ชั่วโมง หรือลดลงไป 0.3 ชั่วโมง
คราวนี้เชื่อแล้วหรือยังครับว่ามันเป็นแบบนี้จริง ๆ ถ้าท่านตอบผิด ท่านเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีอคติที่เรียกว่า Time-saving bias
คนส่วนใหญ่มักจะ Underestimate เวลาที่ลดลงไปได้ หากเริ่มจากความเร็วต่ำ ๆ และ Overestimate เวลาที่เพิ่มขึ้นจากความเร็วสูง ๆ ครับ
Fuller จากมหาวิทยาลัย Dublin และคณะได้ตีพิมพ์ผลการศกึษาในเรื่องนี้ในปี 2009 โดยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมักจะ Underestimate เวลาที่ลดลง หากเขาเริ่มจากความเร็วของการขับรถระดับต่ำ แต่ Overestimate เวลาที่ลดลงเวลาเขาเริ่มจากความเร็วของการชับรถระดับสูง !!!
คำถามคือแล้วเกี่ยวอะไรกับการเล่นหุ้น
สิ่งที่กำลังจะบอกคือเรื่องนี้มันเกิดขึ้นได้ไม่เฉพาะเรื่องของอัตราความเร็วในการขับรถเท่านั้นนะครับ
มันเกิดขึ้นได้กับอัตราการให้บริการ productivity ในการทำงาน อะไรก็ตามที่มีหน่วยของ Unit ต่อระยะเวลา
เวลาเราไปอ่านบทวิเคราะห์ต่าง ๆ แล้วพบว่าบริษัทมีอัตราเหล่านี้ดีขึ้น ให้ระวังเรื่องนี้ไว้นะครับ เพราะการเพิ่มขึ้นจากจุดที่ต่ำนั้น มันจะมี Improvement ที่ดีกว่า การเพิ่มขึ้นจากจุดที่สูง ซึ่งมันจะขัดกับความรู้สึกเราในตอนแรกเนื่องจาก Time-saving bias นี่แหละครับ
ดังนั้นหากเห็นตัวเลขว่าบริษัทสามารถเพิ่มอัตราการผลิตจาก 30 ชิ้นต่อชั่วโมงเป็น 40 ชิ้นต่อชั่วโมง นวัตกรรมนี้จะระยะเวลาในการผลิตได้มากกว่า (หมายถึงเวลาที่ลดลงได้นะครับ) การเพิ่มอัตราการผลิตจาก 80 ชิ้นต่อชั่วโมงเป็น 100 ชิ้นต่อชั่วโมงนะครับ
เอ้า ถ้ายังไม่เชื่อ ลองคำนวณกันอีกทีนะครับ 555
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 94
ทำไมเราจึงมักจะซื้อหุ้นจนไม่มีเงินสดเหลือทุกที (Unit Bias)
เคยมีอาการแบบนี้ไหมครับ
ไม่ว่าใครจะตักข้าวให้เรามากเท่าไรในจาน 1 จาน เรามักจะกินหมดเสมอ
ไม่ว่าน้ำอัดลมจะอยู่ในขวดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เราก็กินหมดขวดเสมอ
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Unit Bias ครับ
ในปี 2006 Geier Rozin และ Doros 3 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pennsylvania ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยเรื่อง Unit Bias A New Heuristic That Helps Explain the Effect of Portion Size on Food Intake โดยได้นำเสนอผลการศึกษาที่พบว่า ...
คนจะกินขนมมากกว่าหากใช้ช้อนที่ใหญ่ และกินน้อยลงหากใช้ช้อนเล็ก ทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถจะตักขนมกินเท่าไรก็ได้ !!!
ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้เหรอครับ
คือคนเราส่วนใหญ่จะรู้สึกดี เมื่อเราทำอะไรเสร็จสิ้น
แบบว่าขนมไม่ว่าจะชิ้นใหญ่หรือเล็กเราก็จะกินจนหมดจนได้ เพราะเราชอบความรู้สึกของการกินให้หมด
ไม่เชื่อลองไปเปิดขนมสักถุงสิครับ ถ้าถุงเล็ก เราก็กินจนหมด แล้วก็หยุด แต่ถ้าเป็นถุงใหญ่ เราก็กินไปเรื่อย ๆ จนหมดเหมือนกัน !!!
ด้วยความรู้ในเรื่องนี้ เลยมีข้อแนะนำให้คนอยากลดความอ้วนใช้กินข้าวที่ใส่จานขนาดเล็ก ๆ มีข้าวน้อย ๆ ไงครับ
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหุ้นเนี่ย !!!
จริง ๆ ก็ยังไม่มีการศึกษาเรื่องอคติแบบนี้ที่เกี่ยวกับหุ้นนะครับ แต่พอผมอ่านเรื่องนี้แล้ว บางทีนึกถึงตัวเอง ในบางครั้งที่เวลาซื้อหุ้น จากเงินสดที่มีอยู่
คือบางทียิ่งมีเงินสดเยอะ เราก็มักจะมือซนซื้อไปเรื่อย ๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อเงินหมด คือถ้าเงินน้อย ก็ซื้อน้อย แล้วก็รู้สึกโอเค แต่ถ้าเงินมาก ก็ซื้อมาก (ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ จะซื้อน้อย แล้วเก็บเงินไว้ก็ได้)
ฟังดูแล้วมันคล้าย ๆ อาการแบบนี้เลย !!!
บางทีมันอาจจะเป็นเพราะว่าหากเรายังเหลือเงินสดอยู่ความรู้สึกมันเหมือนยังทำงานไม่เสร็จยังไงก็ไม่รู้
ก็เอาไว้เตือนตัวเองกันบ้างนะครับ 5555
เคยมีอาการแบบนี้ไหมครับ
ไม่ว่าใครจะตักข้าวให้เรามากเท่าไรในจาน 1 จาน เรามักจะกินหมดเสมอ
ไม่ว่าน้ำอัดลมจะอยู่ในขวดขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เราก็กินหมดขวดเสมอ
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Unit Bias ครับ
ในปี 2006 Geier Rozin และ Doros 3 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pennsylvania ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยเรื่อง Unit Bias A New Heuristic That Helps Explain the Effect of Portion Size on Food Intake โดยได้นำเสนอผลการศึกษาที่พบว่า ...
คนจะกินขนมมากกว่าหากใช้ช้อนที่ใหญ่ และกินน้อยลงหากใช้ช้อนเล็ก ทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถจะตักขนมกินเท่าไรก็ได้ !!!
ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้เหรอครับ
คือคนเราส่วนใหญ่จะรู้สึกดี เมื่อเราทำอะไรเสร็จสิ้น
แบบว่าขนมไม่ว่าจะชิ้นใหญ่หรือเล็กเราก็จะกินจนหมดจนได้ เพราะเราชอบความรู้สึกของการกินให้หมด
ไม่เชื่อลองไปเปิดขนมสักถุงสิครับ ถ้าถุงเล็ก เราก็กินจนหมด แล้วก็หยุด แต่ถ้าเป็นถุงใหญ่ เราก็กินไปเรื่อย ๆ จนหมดเหมือนกัน !!!
ด้วยความรู้ในเรื่องนี้ เลยมีข้อแนะนำให้คนอยากลดความอ้วนใช้กินข้าวที่ใส่จานขนาดเล็ก ๆ มีข้าวน้อย ๆ ไงครับ
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหุ้นเนี่ย !!!
จริง ๆ ก็ยังไม่มีการศึกษาเรื่องอคติแบบนี้ที่เกี่ยวกับหุ้นนะครับ แต่พอผมอ่านเรื่องนี้แล้ว บางทีนึกถึงตัวเอง ในบางครั้งที่เวลาซื้อหุ้น จากเงินสดที่มีอยู่
คือบางทียิ่งมีเงินสดเยอะ เราก็มักจะมือซนซื้อไปเรื่อย ๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อเงินหมด คือถ้าเงินน้อย ก็ซื้อน้อย แล้วก็รู้สึกโอเค แต่ถ้าเงินมาก ก็ซื้อมาก (ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ จะซื้อน้อย แล้วเก็บเงินไว้ก็ได้)
ฟังดูแล้วมันคล้าย ๆ อาการแบบนี้เลย !!!
บางทีมันอาจจะเป็นเพราะว่าหากเรายังเหลือเงินสดอยู่ความรู้สึกมันเหมือนยังทำงานไม่เสร็จยังไงก็ไม่รู้
ก็เอาไว้เตือนตัวเองกันบ้างนะครับ 5555
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 95
เลือกทางใหม่ ยังไงก็นาน (Well travelled road effect)
เคยรู้สึกอย่างนี้กันไหมครับ
เวลาเราเดินทาง แล้วเราตัดสินใจเลือกทางที่ไม่คุ้นเคย
สิ่งที่เรามักจะรู้สึกคือ มันใช้เวลานานกว่าทางที่เราคุ้นเคย
ถ้าเคยรู้สึกแบบนี้ แสดงว่าเราเหมือนคนส่วนใหญ่ครับ
คือเราโดน Effect ที่เรียกกันว่า Well travelled road effect
ผลกระทบลักษณะนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับการขับรถนะครับ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการเดินด้วยเท้าหรือการขึ้นรถสาธารณะ ก็เกิด Effect แบบนี้ได้เช่นกัน
ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้น่ะเหรอครับ
จริง ๆ แล้วระยะทางที่เรา “รู้สึก” นั้น มันไม่ใช่ระยะทาง
จริง ๆ ครับ แต่มันเกิดขึ้นจาก “ความคิด” ของเราเอง !!!
พูดง่าย ๆ คือเวลาเดินทางในเส้นทางที่เราคุ้นเคยนั้น ระยะทางมันไม่ได้สั้นลงหรอกครับ เพียงแต่เราใช้ความคิดน้อยลงในการเดินทาง
ปรากฏการณ์แบบนี้ ได้ถูกค้นพบมานานแล้ว แต่ได้รับการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกจาก Daniel Kahneman และ Amos Tversky 2 กูรูชื่อดังที่ทำวิจัยทางด้านการตัดสินใจมามากมาย
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหุ้นเหรอครับ 555
คือกำลังจะบอกว่า เราทำอะไรที่มันคุ้นเคย เดี๋ยวมันก็ดูง่ายครับ แต่ถ้าทำอะไรใหม่ ๆ ครั้งแรก ๆ มันจะรู้สึกยากเสมอ
เวลาเราไปเรียนเทคนิคการ Trade หุ้นอะไรมา ในช่วงแรก ๆ มันจะรู้สึกว่ามันยากเสมอ ก็อย่าเพิ่งท้อใจและล้มเลิกไปซะก่อนนะครับ อะไรที่เราทำซ้ำเรื่อย ๆ ต่อไปมันจะกลายเป็นนิสัย และผมเชื่ออย่างยิ่งว่านิสัยการลงทุนที่ถูกต้อง จะนำไปสู่ความสำเร็จเสมอ
เอาเป็นว่า ผมเอาใจช่วยนะครับ
เคยรู้สึกอย่างนี้กันไหมครับ
เวลาเราเดินทาง แล้วเราตัดสินใจเลือกทางที่ไม่คุ้นเคย
สิ่งที่เรามักจะรู้สึกคือ มันใช้เวลานานกว่าทางที่เราคุ้นเคย
ถ้าเคยรู้สึกแบบนี้ แสดงว่าเราเหมือนคนส่วนใหญ่ครับ
คือเราโดน Effect ที่เรียกกันว่า Well travelled road effect
ผลกระทบลักษณะนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับการขับรถนะครับ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นการเดินด้วยเท้าหรือการขึ้นรถสาธารณะ ก็เกิด Effect แบบนี้ได้เช่นกัน
ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้น่ะเหรอครับ
จริง ๆ แล้วระยะทางที่เรา “รู้สึก” นั้น มันไม่ใช่ระยะทาง
จริง ๆ ครับ แต่มันเกิดขึ้นจาก “ความคิด” ของเราเอง !!!
พูดง่าย ๆ คือเวลาเดินทางในเส้นทางที่เราคุ้นเคยนั้น ระยะทางมันไม่ได้สั้นลงหรอกครับ เพียงแต่เราใช้ความคิดน้อยลงในการเดินทาง
ปรากฏการณ์แบบนี้ ได้ถูกค้นพบมานานแล้ว แต่ได้รับการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกจาก Daniel Kahneman และ Amos Tversky 2 กูรูชื่อดังที่ทำวิจัยทางด้านการตัดสินใจมามากมาย
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับหุ้นเหรอครับ 555
คือกำลังจะบอกว่า เราทำอะไรที่มันคุ้นเคย เดี๋ยวมันก็ดูง่ายครับ แต่ถ้าทำอะไรใหม่ ๆ ครั้งแรก ๆ มันจะรู้สึกยากเสมอ
เวลาเราไปเรียนเทคนิคการ Trade หุ้นอะไรมา ในช่วงแรก ๆ มันจะรู้สึกว่ามันยากเสมอ ก็อย่าเพิ่งท้อใจและล้มเลิกไปซะก่อนนะครับ อะไรที่เราทำซ้ำเรื่อย ๆ ต่อไปมันจะกลายเป็นนิสัย และผมเชื่ออย่างยิ่งว่านิสัยการลงทุนที่ถูกต้อง จะนำไปสู่ความสำเร็จเสมอ
เอาเป็นว่า ผมเอาใจช่วยนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 96
เราชอบหุ้นที่ไม่มีวันขาดทุน (Zero-risk bias)
พอเห็นหัวข้อแล้วทุกคนก็อาจจะสงสัย
อ้าว ก็แน่ล่ะ ใครจะไม่ชอบหุ้นที่ไม่มีวันขาดทุนล่ะ
งั้น ผมลองถามแบบนี้นะครับ
สมมุติว่าตอนนี้เราถือหุ้นตัวหนึ่ง ซึ่งตอนนี้มีมูลค่า 1 ล้านบาท แต่มีโอกาสขาดทุนหมดตัวเลย 20% และมีโอกาสได้กำไรเท่าตัวอีก 80% นะครับ
และสมมุติต่อว่าเราสามารถจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ที่สามารถลดโอกาสในการขาดทุนหมดตัวลงได้ 15% (คือเหลือโอกาสขาดทุนหมดตัวอยู่แค่ 5% มีโอกาสกำไรเท่าตัว 95%) เราจะยินดีจ่ายเงินจำนวนนั้นกี่บาทครับ
ไม่ว่าท่านจะตอบว่าเงินจำนวนนั้นจะเป็นเท่าไร จำไว้ก่อนนะครับ
แล้วถ้าผมบอกว่า ท่านสามารถนำเงินจำนวนดังกล่าว มาลดโอกาสที่จะขาดทุนหมดตัว ที่ยังเหลืออีก 5% ให้มันเหลือ 0% เลย เรียกว่าได้กำไรเท่าหนึ่งแน่ ๆ 100% ท่านจะยอมไหมครับ
ถ้าท่านตอบว่า เอาสิ !!! ท่านก็เป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่มีสิ่งที่เรียกว่า Zero-risk bias ครับ
อาการแบบนี้ คือความชอบของคนที่ต้องการลดความเสี่ยงให้เหลือ 0 มากกว่าการลดความเสี่ยงในปริมาณที่มากกว่าแต่ก็ยังเหลือความเสี่ยงอยู่
จากตัวอย่างข้างบน ถ้าท่านตอบว่ายอมจ่ายเงินจำนวนเท่ากันกับที่จ่ายครั้งแรก ท่านจะเห็นว่าตอนแรกท่านจ่ายเงินจำนวนนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนจาก 20% เหลือ 5% คือลดได้ตั้ง 15% นะครับ
แต่พอมาตอนหลังทำไม ท่านถึงยอมจ่ายเงินจำนวนเท่าเดิม เพื่อลดความเสี่ยงจาก 5% เหลือ 0% คือลดได้เพียง 5% เท่านั้นล่ะครับ
คำตอบคือ เพราะคราวนี้มันสามารถลดความเสี่ยงในการขาดทุนให้เหลือ 0% เลยไงล่ะครับ คือพูดง่าย ๆ คือเราชอบมาก ๆ ที่จะไม่ให้มีความเสี่ยงเลย!!!
จริง ๆ ในการลงทุนในตลาดหุ้นมันก็มีความเสี่ยงนี่แหละครับ และอยากลดความเสี่ยงลง บางคนก็อาจจะคิดว่างั้นก็เอาเงินไปฝากธนาคารดีกว่า
อย่าลืมนะครับ เอาเงินฝากธนาคารก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะนับวันเงินเฟ้อมันก็จะทำให้ค่าของเงินเรามันลดลงเรื่อย ๆ
ผมว่าวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการสร้างความรู้ความเข้าใจในการลงทุนให้ถูกต้องนี่แหละครับ
ขอเอาใจช่วยทุกท่านครับ
พอเห็นหัวข้อแล้วทุกคนก็อาจจะสงสัย
อ้าว ก็แน่ล่ะ ใครจะไม่ชอบหุ้นที่ไม่มีวันขาดทุนล่ะ
งั้น ผมลองถามแบบนี้นะครับ
สมมุติว่าตอนนี้เราถือหุ้นตัวหนึ่ง ซึ่งตอนนี้มีมูลค่า 1 ล้านบาท แต่มีโอกาสขาดทุนหมดตัวเลย 20% และมีโอกาสได้กำไรเท่าตัวอีก 80% นะครับ
และสมมุติต่อว่าเราสามารถจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ที่สามารถลดโอกาสในการขาดทุนหมดตัวลงได้ 15% (คือเหลือโอกาสขาดทุนหมดตัวอยู่แค่ 5% มีโอกาสกำไรเท่าตัว 95%) เราจะยินดีจ่ายเงินจำนวนนั้นกี่บาทครับ
ไม่ว่าท่านจะตอบว่าเงินจำนวนนั้นจะเป็นเท่าไร จำไว้ก่อนนะครับ
แล้วถ้าผมบอกว่า ท่านสามารถนำเงินจำนวนดังกล่าว มาลดโอกาสที่จะขาดทุนหมดตัว ที่ยังเหลืออีก 5% ให้มันเหลือ 0% เลย เรียกว่าได้กำไรเท่าหนึ่งแน่ ๆ 100% ท่านจะยอมไหมครับ
ถ้าท่านตอบว่า เอาสิ !!! ท่านก็เป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่มีสิ่งที่เรียกว่า Zero-risk bias ครับ
อาการแบบนี้ คือความชอบของคนที่ต้องการลดความเสี่ยงให้เหลือ 0 มากกว่าการลดความเสี่ยงในปริมาณที่มากกว่าแต่ก็ยังเหลือความเสี่ยงอยู่
จากตัวอย่างข้างบน ถ้าท่านตอบว่ายอมจ่ายเงินจำนวนเท่ากันกับที่จ่ายครั้งแรก ท่านจะเห็นว่าตอนแรกท่านจ่ายเงินจำนวนนั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนจาก 20% เหลือ 5% คือลดได้ตั้ง 15% นะครับ
แต่พอมาตอนหลังทำไม ท่านถึงยอมจ่ายเงินจำนวนเท่าเดิม เพื่อลดความเสี่ยงจาก 5% เหลือ 0% คือลดได้เพียง 5% เท่านั้นล่ะครับ
คำตอบคือ เพราะคราวนี้มันสามารถลดความเสี่ยงในการขาดทุนให้เหลือ 0% เลยไงล่ะครับ คือพูดง่าย ๆ คือเราชอบมาก ๆ ที่จะไม่ให้มีความเสี่ยงเลย!!!
จริง ๆ ในการลงทุนในตลาดหุ้นมันก็มีความเสี่ยงนี่แหละครับ และอยากลดความเสี่ยงลง บางคนก็อาจจะคิดว่างั้นก็เอาเงินไปฝากธนาคารดีกว่า
อย่าลืมนะครับ เอาเงินฝากธนาคารก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะนับวันเงินเฟ้อมันก็จะทำให้ค่าของเงินเรามันลดลงเรื่อย ๆ
ผมว่าวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการสร้างความรู้ความเข้าใจในการลงทุนให้ถูกต้องนี่แหละครับ
ขอเอาใจช่วยทุกท่านครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 97
ถ้าฉันได้ เธอต้องเสีย (Zero-sum heuristic)
เคยได้ยินคำว่า Zero-sum game ไหมครับ
คำ ๆ นี้มีความหมายว่า ถ้าเราได้ คนอื่นต้องเสีย ในขณะเดียวกันถ้าเราเสีย คนอื่นต้องได้ ในปริมาณที่เท่ากัน
เช่น สมมุติว่าในการทำธุรกิจ ถ้าเราคิดว่าจำนวนลูกค้าคงที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นถ้าเราได้ลูกค้ามา 1 หมื่นคน ก็เท่ากับคู่แข่งก็ต้องเสียลูกค้า 1 หมื่นคนเช่นกัน ดังนั้น ผลรวมของเรากับคู่แข่งก็จะเป็น +10,000 – 10,000 = 0
อย่างนี้เรียกว่า Zero-sum game
แต่ Zero-sum game มันไม่ได้เกิดขึ้นในทุกกรณี เพราะบางอย่างมันไม่ได้เป็นค่าคงที่เสมอไป
ในธุรกิจมันมีโอกาสที่ตลาดจะโตขึ้น และลูกค้าของเราและคู่แข่งก็จะเพิ่มขึ้นได้พร้อม ๆ กัน
หรือเราสามารถทำกำไรได้ โดยคู่แข่งเราก็ไม่จำเป็นต้องขาดทุน พูดง่าย ๆ คือเขาก็อาจจะกำไรไปพร้อม ๆ กับเราได้ ถ้าตลาดมันโตขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
หรือเรียกว่า win-win นั่นแหละครับ
แต่คราวนี้ หลายคนยังคงติดภาพของ Zero-sum game อยู่ ถึงแม้ว่าสถานการณ์นั้น ๆ มันไม่จำเป็นต้องมีคนได้หรือเสีย เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Zero-sum heuristic ครับ
ในปี 2010 Daniel Meegan นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Guelph ในประเทศแคนาดา ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขาได้ทำการทดลอง โดยบอกให้นักศึกษาทราบว่าเขาจะให้คะแนนตามคุณภาพของงานและไม่ได้ขึ้นอยู่กับคะแนนของคนอื่น ๆ
ในการทดลองนั้น เขาให้นักศึกษามานำเสนองาน และก็ให้คะแนน เมื่อทำการนำเสนองานสักระยะหนึ่ง เขาก็เอาการกระจายตัวของคะแนนมาให้นักศึกษาดู และให้นักศึกษาทำนายคะแนน ของคนที่จะ present คนต่อไป
ผลปรากฏว่า ถ้าในช่วงแรกนั้น คะแนนของนักศึกษาที่นำเสนอมีคะแนนที่สูง นักศึกษาที่ทำการทำนาย จะทำนายว่าการนำเสนอของนักศึกษาคนต่อไปน่าจะได้คะแนนต่ำ
ทั้ง ๆ ที่ก็บอกแล้วว่า คะแนนที่ให้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการนำเสนอ ไม่ใช่ขึ้นกับคะแนนของคน
อื่น ๆ !!!
ทำไม ถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทราบไหมครับ เพราะนักศึกษายังคงติดกับภาพของ Zero-sum Game อยู่ คือเขาคิดว่าเมื่อคนอื่น ๆ ได้คะแนนดีกันไปเยอะแล้ว คนที่เหลืออยู่ก็น่าจะได้คะแนนไม่ดีไปด้วย
ทั้ง ๆ ที่ในกรณีนี้ มันไม่ได้มีข้อจำกัดอะไรทำนองนี้อยู่เลย !!!
ในตลาดหุ้นก็เช่นกันครับ หลายคนบอกว่ามันเป็น Zero-sum game คนหนึ่งได้กำไร แปลความหมายว่าอีกคนต้องขาดทุน แต่ในบางกรณีมันก็อาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปนะครับ
เช่นหากพวกเราลงทุนในบริษัทที่แข็งแกร่งและเติบโต มีปันผลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราก็อาจจะทำกำไรไปได้พร้อม ๆ กันจากปันผลที่ได้มาก็ได้ครับ
มีคนกล่าวว่า คนส่วนใหญ่จะขาดทุนในตลาดหุ้น และหากคำกล่าวนี้เป็นจริง มันก็ต้องเป็นไปได้เช่นกันที่คนส่วนใหญ่ก็จะสามารถได้กำไรจากตลาดหุ้น ถ้าเรามีวิธีการคิดที่ถูกต้อง จริงไหมครับ
สุดท้ายผมว่า Mindset คือสิ่งที่สำคัญที่สุดจริง ๆ นะครับ
เคยได้ยินคำว่า Zero-sum game ไหมครับ
คำ ๆ นี้มีความหมายว่า ถ้าเราได้ คนอื่นต้องเสีย ในขณะเดียวกันถ้าเราเสีย คนอื่นต้องได้ ในปริมาณที่เท่ากัน
เช่น สมมุติว่าในการทำธุรกิจ ถ้าเราคิดว่าจำนวนลูกค้าคงที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นถ้าเราได้ลูกค้ามา 1 หมื่นคน ก็เท่ากับคู่แข่งก็ต้องเสียลูกค้า 1 หมื่นคนเช่นกัน ดังนั้น ผลรวมของเรากับคู่แข่งก็จะเป็น +10,000 – 10,000 = 0
อย่างนี้เรียกว่า Zero-sum game
แต่ Zero-sum game มันไม่ได้เกิดขึ้นในทุกกรณี เพราะบางอย่างมันไม่ได้เป็นค่าคงที่เสมอไป
ในธุรกิจมันมีโอกาสที่ตลาดจะโตขึ้น และลูกค้าของเราและคู่แข่งก็จะเพิ่มขึ้นได้พร้อม ๆ กัน
หรือเราสามารถทำกำไรได้ โดยคู่แข่งเราก็ไม่จำเป็นต้องขาดทุน พูดง่าย ๆ คือเขาก็อาจจะกำไรไปพร้อม ๆ กับเราได้ ถ้าตลาดมันโตขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
หรือเรียกว่า win-win นั่นแหละครับ
แต่คราวนี้ หลายคนยังคงติดภาพของ Zero-sum game อยู่ ถึงแม้ว่าสถานการณ์นั้น ๆ มันไม่จำเป็นต้องมีคนได้หรือเสีย เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Zero-sum heuristic ครับ
ในปี 2010 Daniel Meegan นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Guelph ในประเทศแคนาดา ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขาได้ทำการทดลอง โดยบอกให้นักศึกษาทราบว่าเขาจะให้คะแนนตามคุณภาพของงานและไม่ได้ขึ้นอยู่กับคะแนนของคนอื่น ๆ
ในการทดลองนั้น เขาให้นักศึกษามานำเสนองาน และก็ให้คะแนน เมื่อทำการนำเสนองานสักระยะหนึ่ง เขาก็เอาการกระจายตัวของคะแนนมาให้นักศึกษาดู และให้นักศึกษาทำนายคะแนน ของคนที่จะ present คนต่อไป
ผลปรากฏว่า ถ้าในช่วงแรกนั้น คะแนนของนักศึกษาที่นำเสนอมีคะแนนที่สูง นักศึกษาที่ทำการทำนาย จะทำนายว่าการนำเสนอของนักศึกษาคนต่อไปน่าจะได้คะแนนต่ำ
ทั้ง ๆ ที่ก็บอกแล้วว่า คะแนนที่ให้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการนำเสนอ ไม่ใช่ขึ้นกับคะแนนของคน
อื่น ๆ !!!
ทำไม ถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทราบไหมครับ เพราะนักศึกษายังคงติดกับภาพของ Zero-sum Game อยู่ คือเขาคิดว่าเมื่อคนอื่น ๆ ได้คะแนนดีกันไปเยอะแล้ว คนที่เหลืออยู่ก็น่าจะได้คะแนนไม่ดีไปด้วย
ทั้ง ๆ ที่ในกรณีนี้ มันไม่ได้มีข้อจำกัดอะไรทำนองนี้อยู่เลย !!!
ในตลาดหุ้นก็เช่นกันครับ หลายคนบอกว่ามันเป็น Zero-sum game คนหนึ่งได้กำไร แปลความหมายว่าอีกคนต้องขาดทุน แต่ในบางกรณีมันก็อาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปนะครับ
เช่นหากพวกเราลงทุนในบริษัทที่แข็งแกร่งและเติบโต มีปันผลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราก็อาจจะทำกำไรไปได้พร้อม ๆ กันจากปันผลที่ได้มาก็ได้ครับ
มีคนกล่าวว่า คนส่วนใหญ่จะขาดทุนในตลาดหุ้น และหากคำกล่าวนี้เป็นจริง มันก็ต้องเป็นไปได้เช่นกันที่คนส่วนใหญ่ก็จะสามารถได้กำไรจากตลาดหุ้น ถ้าเรามีวิธีการคิดที่ถูกต้อง จริงไหมครับ
สุดท้ายผมว่า Mindset คือสิ่งที่สำคัญที่สุดจริง ๆ นะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 98
รายการ Money Talk เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจในการลงทุนในตลาดหุ้นครับ
https://www.youtube.com/watch?v=ZEetMxfUwww
https://www.youtube.com/watch?v=ZEetMxfUwww
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 99
การบรรยายเรื่อง Why Investors Fail ที่ SiamQuant Conference 2015 ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=u_2Gk_dz8ls
https://www.youtube.com/watch?v=u_2Gk_dz8ls
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 100
บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุน ติดตามได้ใน Page Data Analysis for Decision Making นะครับ
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 101
หนังสือที่รวบรวมบทความต่าง ๆ ที่ผม Post ไว้ในกระทู้นี้ทั้ง 2 เล่มครับ มีวางจำหน่ายที่ซีเอ็ดทั้ง 2 เล่ม หรือหากท่านใดสนใจ สอบถามรายละเอียดมาได้ที่นี่นะครับ http://m.me/DataAnalysisforDecisionMaking
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 102
สำหรับท่านที่อ่านบทความใน Forum นี้เป็นประจำ อันนี้เป็นหนังสือเล่มที่ "เล่นหุ้นอย่างไร ไม่ให้ลำเอียง" ที่ผมรวบรวมเอาบทความต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เผื่อบางท่านสนใจครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้