Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
- i-salmon
- Verified User
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
โพสต์ที่ 1
Moneytalk@SET27Aug16
ช่วงที่ 1 สัมมนา หัวข้อ หุ้นเด่นโค้งหลัง 59
1) คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ ILINK
2) คุณวิวัฒน์ ฑีฆคีรีกุล ประธานกรรมการ KAMART
3) คุณชัชพล ประสบโชค กรรมการผู้จัดการ UAC
4) คุณประเสริฐ มริตตนะพร กรรมการ CK
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิช ดำเนินรายการ
ภาพรวมธุรกิจที่ดำเนินการ
Kamart
ทำธุรกิจเครื่องสำอางค์เข้าปีที่ 6 ที่ผ่านมาเติบโตทุกปี ด้วยอัตราการเติบโตที่ใช้ได้ เฉลี่ย 20-30 % ทุกปี
เริ่มเปลี่ยนธุรกิจตั้งแต่ปี 54 ยอดขาย 400 ล้านบาท โดยปีถัดไปยอดขายเติบโตเป็น 700 => 900 => 1000 => 1200
ยอดขายครึ่งแรกปี 59 750 ล้าน คาดว่าทั้งปี 1600 ล้านบาท
กำไรขั้นต้นเราสามารถรักษาได้สม่ำเสมอ และสามารถทำได้ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะเป็นบริษัทที่ 4 ที่ปันผลทุกไตรมาส
หนี้สินลดลงต่อเนื่อง มีเงินสดเหลือก็สามารถทำอย่างอื่นได้ เช่น ซื้อที่ดิน หรือลงทุนในบริษัทอื่น
ปีนี้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่และทุ่มงบโฆษณาทำให้ยอดขายเติบโต และเริ่มมีการขายต่างประเทศเป็นทางการ
โดยไปจดแจ้งกับรัฐบาลประเทศนั้นๆ รองรับการเติบโตในอนาคต
ผลิตภัณฑ์เด่นคือ AA คูชั่น เป็นนวัตกรรมจากเกาหลี และแบรนด์ระดับโลกก็ออกมาขายกัน
ขายในแบรนด์เคธี่ดอลล์ เป็น แป้งกึ่งครีมกึ่งฝุ่น
ilink
ก่อตั้งมา 30 ปี เริ่มต้นเป็นธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณ รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สินค้าเช่น สาย LAN, Fiber optic, สายกล้องวงจรปิด, ตู้ใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นได้ต่อยอดธุรกิจ
โดยเพิ่ม value added ด้วยการรับเหมาติดตั้งสายสัญญาณ งานแรกที่ได้รับคือ งานสนามบินสุวรรณภูมิ
(บริษัทรับงานขนาด 100 ล้านบาทขึ้นไป)
ซึ่งหลังจากที่เห็นผลงานบริษัท จึงได้รับการว่าจ้างไปติดตั้งสายสัญญาณตามเสา เดินโครงข่ายไฟเบอร์ออคติก
ต่อยอดไปเกี่ยวกับงานสายใต้ดิน และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น เอาติดตั้งสายลงน้ำ
ซึ่งเราเป็น 1 ใน 2 บริษัทของคนไทยที่สามารถทำธุรกิจ engineering แบบนี้ได้
ล่าสุดได้งานสุวรรณภูมิ 2 พันล้าน แบ่งกับอีกเจ้า(สัมประสิทธิ์) 1 พันล้านบาท
อีกธุรกิจคือ itel ก่อตั้ง 4-5 ปี ทำธุรกิจ data communication, data connectivity
ให้เช่าโครงข่ายไฟเบอร์ออพติค และ data center ซึ่งเป็นธุรกิจที่เรามองหารายได้สม่ำเสมอ
โดยใช้จุดแข็งเราคือนำเข้าและขายส่งสัญญาณ บวกกับทีมวิศวกรรมที่มีความสามารถสูง
จึงนำไปลงทุนธุรกิจโทรคมนาคม อยู่ระหว่างนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ธุรกิจโครงข่ายไฟเบอร์ออพติค ลูกค้าหลักคือ mobile operator ทุกรายเช่าโครงข่ายของเรา
การใช้งานโทรศัพท์ของเราจะผ่านเสา และผ่าน fiber optic ถึงแม้ operator จะมีโครงข่ายเอง
แต่การใช้งานเติบโตเร็วจึงไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ
ธุรกิจ Data center ในไทยมีไม่กี่ราย ซึ่งข้อมูลของ bank ก็ต้องเก็บใน data center ที่ปลอดภัย
ปัจจุบันเรามีลูกค้าจองเต็ม จึงต้องสร้างเพิ่ม
คู่แข่งในตลาดก็มีที่เป็นเจ้าของโครงข่ายเหมือนกัน แต่เรามีจุดแข็งที่จัดจำหน่ายสายเองและมีทีมวิศวกรรม
จึงสามารถวางโครงข่ายทั้งกรุงเทพและครอบคลุมต่างจังหวัด และวางสายทั้งทางถนนและรถไฟ ซึ่งปลอดภัยและสั้น
Itel มีโครงข่ายทั่วประเทศ และเชื่อมโยงไปต่างประเทศ ซึ่งลงทุนโครงข่ายเป็นของ itel เอง ส่วน ilink เป็นผู้ติดตั้งให้
มองว่าต่อไป itel จะสามารถเติบโตกว่า ilink ได้
อย่างไรก็ตาม ภาพข้างหน้า Ilink ยังสามารถโตได้ต่อ เพราะงานภาครัฐออกมาจำนวนมาก
อย่างปีนี้แม้จะแพ้ประมูลงานสายไฟลงดินที่ช่องนนทรี
แต่ทางการไฟฟ้ายังมีโครงการนำสายลงดินอีก 5 โครงการ มูลค่าราว 1 หมื่นล้าน
CK
มีคนถามบ่อยๆ ว่า ช. ย่อมาจากอะไร ซึ่งมักจะตอบว่า เรามีประสบการณ์ เรา เชี่ยวชาญ
ดำเนินธุรกิจปีนี้เป็นปีที่ 44 มีโครงการอาคาร สำนักงาน สะพาน หลายที่ซึ่งเราเป็นผู้ก่อสร้าง
งานก่อสร้างประจำตอนนี้คือ รถไฟใต้ดิน รถไฟบนดิน เช่น รถไฟสายสีน้ำเงินลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
ก่อสร้างทางด่วน ล่าสุดที่เปิดไปคือ ศรีรัช วงแหวนรอบนอก
ระบบน้ำประปา ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม มีเพิ่มกำลังผลิต และมีศึกษาลงทุนต่างประเทศอยู่ เช่น เมียนมาร์
อีกธุรกิจเราสร้างฝายผลิตไฟฟ้า เขื่อนน้ำงึม 2 ขายไฟฟ้ามา 4-5 ปี แล้วกำลังสร้างโครงการที่ 2 ไซยะบุรี 1200 MW
มูลค่าโครงการ 1.2-1.3 แสนล้านบาท สร้างอีก 2 ปีจะขายไฟฟ้าได้แล้ว CK ทยอยรับรู้รายได้จากการก่อสร้าง
มูลค่างานก่อสร้าง 8 หมื่นล้าน ระยะก่อสร้าง 8 ปี
ธุรกิจไม่ใช่มีแค่ก่อสร้าง มีลงทุนใน BECL, BMCL ที่รวมเป็น BEM ทุนจดทะเบียนเยอะขึ้น
ทำอะไรได้ง่ายขึ้น อนาคตก็อาจไปต่างประเทศได้
ธุรกิจลูก เราลงทุนไปก่อน ต้องมีการก่อสร้าง ทำตึก ทำทางด่วน แล้วก็ได้รับปันผลคืน
UAC
ก่อตั้งเข้าปี 21 เข้าตลาด mai มา 6 ปีแล้ว ธุรกิจ 3 ด้านหลัก
1.ธุรกิจหลัก ซื้อมาขายไปเน้นอุตสาหกรรมพลังงาน ขุดเจาะ โรงกลั่น เครื่องจักร อุปกรณ์
2.ธุรกิจพลังงาน ผลิตไบโอดีเซลร่วมกับบางจาก เราถือหุ้น 30% มี 2 โรงงาน กำลังผลิต 8.1 แสนลิตร
ใหญ่เป็นเบอร์ 2 ของไทย ทำไบโอแก๊สเป็นรายแรกที่ทำจากมูลสุกร , เรามีโครงการทำไบโอแก๊สเพื่อผลิตไฟฟ้า
และมีต่อยอดไปทำโซลาร์รูฟ 2 MW
อีกธุรกิจมีการนำ flare gas ที่เป็นแก๊สธรรมชาติเผาทิ้งมาเข้าโรงงานแยกแก๊สไปใช้ต่อ
ช่วงแรกมีแก๊สน้อย เราจึงไปเจรจากับปตท.สผ. ทำให้ได้แก๊สมากขึ้นเดินโรงานได้ 100% มี product 3 ตัว LNG,CNG,NGL
3. โรงงานผลิตลาเท็กซ์โพลีเมอร์ (ผลิตกาว) ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมาธุรกิจนี้ก็มียอดขาย และกำไรที่ดี
ช่วงแรกที่เข้าตลาด บริษัทมี %GPM ราว 22% ซึ่งอัตรากำไรมี drop ลงไปบ้างเพราะมีค่าเสื่อมจากการลงทุน
งบการเงินล่าสุด Gross profit margin กลับมาในระดับ 20% แล้วเพราะธุรกิจที่ลงทุนไป เช่น ไบโอดีเซล
โรงแยกแก๊สธรรมชาติ โรงไฟฟ้า พอเริ่มผลิตรับรู้รายได้ จะมีรายได้เข้ามา และมีอัตรากำไรที่ดี
ธุรกิจไบโอดีเซล จำหน่ายให้ผู้ขายน้ำมันทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่บางจาก
ซึ่งปัจจุบันน้ำมันการใช้สูงขึ้น 5-6% จึงทำให้ธุรกิจเติบโตดี ปัญหาหลักอุตสาหกรรมคือ วัตถุดิบ
จะเห็นว่ารัฐบาลประกาศให้ผสมน้อยลง B4 ซึ่งเป็นปัญหาชั่วคราว คิดว่าในอนาคตจะกลับเป็น B7 เหมือนเดิม
ธุรกิจโรงกาว มีโครงการขยายหน่วยผลิตที่ 3 ลงทุน 120 ล้าน เพื่อขยายกำลังผลิต 1 หมื่นตัน(เพิ่มเท่าตัว)
ซึ่งเติบโตตามการก่อสร้าง กาวที่ผลิตเราขายให้ผู้ผลิตสี สีทาบ้าน ทาอาคาร รวมถึงประเทศ CLMV
โรงแยกแก๊สธรรมชาติเราจุดเด่นต้นทุนเนื้อแก๊สต่ำมาก ซึ่งพอเอามาทำประโยชน์ได้เราก็ต้องจ่ายเงินซื้อ
พอเดินได้เต็มที่เราก็คิดว่าจะ contribute margin ได้ดี
แผนในอนาคตของบริษัท
Kamart
คาดปี 59 1600 ล้านบาท ปี 60,61 รายได้ 2000,2400 ล้านบาท
ยอดขาย 100 บาท เราเอามาปันผล 12-15%
เงินสดที่เหลือมี 2 ทางคือ ปันผลมากขึ้น หรือเอากำไรสะสมที่เหลือไปใช้รูปแบบอื่น เช่น ซื้อหุ้นคืน
การเติบโตต่างประเทศก็น่าสนใจ เพราะเรามีขายทุกประเทศใน asean รวมถึงส่งไปขายที่จีน และไต้หวัน
แต่ยังไม่อยากคาดการณ์ตัวเลขตอนนี้
อัตรากำไร ขายในประเทศกับต่างประเทศ ใกล้เคียงกัน
ธุรกิจตอนนี้ก็สามารถทำต่อโดยรุ่นลูกได้เป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่มีช่วยกำกับดูแลบ้าง
ที่ดินที่เราซื้อเก็บไว้คิดว่าน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้
ilink
ที่ผ่านมาเรามีกำไรทุกไตรมาส และวางรากฐานทั้ง 3 ธุรกิจอย่างมั่นคง
ธุรกิจจัดจำหน่ายปีหนึ่ง 2 พันล้าน เติบโตส่วนใหญ่จะมากกว่า 10% มองย้อนหลังไปก็ไม่ตก
ธุรกิจ engineering มีความผันผวน การรับรู้งานแล้วแต่จังหวะ backlog เมื่อ 3-4 เดือนก่อนหมดไปแล้ว
ซึ่งล่าสุดได้ backlog งานสนามบินสุวรรณภูมิ 1 พันล้านบาท เดือน พ.ย. จะมีประมูลงาน underground
ซึ่งสิ่งที่เราเฝ้ารองาน submarine cable เกาะเต่า, เกาะสมุย 2 งาน 4 พันกว่าล้านบาท
เป็นงานที่เราถนัดคิดว่าโอกาสประมูลได้เกิน 50% งานนี้ดีเลย์มา 3 ปีแล้ว อยู่ระหว่างรอเข้าครม. คาดว่าจะมีประมูลปีนี้
นอกจากนี้จะมีงาน submarine cable อื่นที่จะทยอยมาอีกเป็นหมื่นล้าน
CLMV มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เราคิดว่าน่าจะทำธุรกิจได้
โครงการอินเตอร์เน็ทแห่งชาติ จะวาง fiber optic ไปกว่า 3 หมื่นหมู่บ้าน มีสายสัญญาณ 5-6 พันล้านบาท
ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าได้ก็เรียกว่าส้มหล่น
ธุรกิจโทรคมนาคม ตลาดในอนาคตยุคสื่อสารมีความเฟื่องฟู เราผ่านเฟสการลงทุนจนครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว
และมีลูกค้า mobile operator รายใหญ่ ที่ผูกสัญญาระยะยาวกับเรา รวมถึง bank สีน้ำเงิน สีชมพูก็เช่าเรา
ธุรกิจ data center ก็จองเต็มแล้ว เราจะลงทุน data center ใหญ่กว่าเดิม 2-3 เท่า โดยร่วมกับ ait และ wha มาร่วมทุน
(อ.ไพบูลย์ เสริมว่า สัปดาห์หน้า itel มีออก money talk weekly)
CK
Backlog 8 หมื่นล้าน น่าจะรับรู้ได้อีก 2-3 ปี
คิดว่าปี 59 น่าจะมีรายได้ 4-4.5 หมื่นล้านบาท
งานอนาคตภาครัฐคงมีประมูลสายสีส้ม ต.ค. ขนาด 8-9 หมื่นล้าน
รวมถึงสายสีเหลือง, สีชมพู ที่จะเป็น เอกชนลงทุน(PPP)
เรื่องสถานีรถไฟส่วนต่อขยาย 1 กม.ที่หายไปอยู่ระหว่างเจรจาสร้าง
ส่วน BEM มีหน้าที่บริหารเดินรถ เก็บเงินไม่ได้เกี่ยวกับการลงทุน
BEM อยู่ระหว่างรอซื้อซอง สายสีเหลืองกับสีชมพู รวมถึงในอนาคตสามารถรับบริหารได้
รถไฟฟ้าใต้ดินตอนนี้ขาดทุกอยู่ ถ้าผู้โดยสารต่อวัน 2.5-2.6 แสนคนก็จะมีกำไรได้
CKP ปีหน้ามี co gen สร้างเสร็จ อีก 2 ปีกว่า ไซยบุรีสร้างเสร็จผลิตไฟฟ้าได้ ก็จะมีรายได้ดีขึ้น
TTW ดีมาตลอด และจ่ายปันผลดีอยู่แล้ว
UAC
ครึ่งปีแรก ยอดขาย 7 ร้อยล้าน ตั้งใจว่าจะยอดขาย 1700-1800 ล้านบาท
กำไรเติบโตครึ่งปีแรก 200% จึงคิดว่าปีนี้ยอดขายกำไรเติบโตต่อเนื่อง
โรงแยกแก๊สธรรมชาติที่จะเดิน 100% และโรงไบโอดีเซลที่เพิ่มกำลังผลิต 120%
ที่เริ่มเดินเดือน มิ.ย. จะเป็นกำลังหลักให้เติบโต
แผนการลงทุนในอนาคตคิดว่ามีศักยภาพลงทุนต่อเนื่อง 4 ปีข้างหน้า
ตั้งเป้าหมายจะโต 2 เท่า เป็น 3000 ล้านบาท อัตรากำไรก็น่าจะดีขึ้นด้วย
มีศึกษาลงทุนเพิ่มเติมใน CLMV ใกล้จะจบดีล
ในประเทศโครงการพลังงานทดแทน ทั้งไบโอแก๊สไบโอแมส ปลายปีนี้รัฐบาลจะมีเปิดประมูล
ช่วงที่ 2 สัมมนา หัวข้อ “เจาะเศรษฐกิจ จับ MegaTrend เฟ้นกลยุทธ์ลงทุน ยุค Thailand 4.0"
1) คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ KBANK
2) คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงิน
3) คุณอรุณ จิรชวาลา นักการเงินอาวุโส
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
Thailand 4.0 คืออะไร?
คุณธีรนันท์ เป็นการพูดถึงการเปลี่ยนยุค ซึ่งสอดคล้องกับ industry 4.0 เป็นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะจากเทคโนโลยี คำที่ได้ยิน disruptive technology ที่ทำให้เปลี่ยนธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง
อย่างเช่น grab หรือ uber ที่ทำให้เราสะดวกขึ้น หรือ โรบอทเข้ามาช่วยทำงาน
ถ้าไปคุย chat bot ในอเมริกา มีหุ่นยนต์มาตอบเราโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเขาเข้าใจและตอบเราได้เหมือนคนเลย
ประเทศไทยลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมใหญ่ๆครั้งล่าสุดก็เกือบ 20 ปีแล้วคือ eastern seaboard
ธุรกิจต่างๆที่เกิดขึ้นก็เป็นผลจากพัฒนาตรงนั้น เช่น ปิโตรเคมี พลาสติค ยานยนต์ หรืออาหาร
ซึ่งเราทำได้ดี แต่ว่ามันล่าสมัยไปแล้ว จะเริ่มเห็นว่าส่งออกเราก็ลดลง ปัญหาต่างๆก็เข้ามา
ถ้า AI เข้ามาทำงานแทนคนได้มากขึ้น คนไทยมีโอกา สตกงานถึง 70% ทีเดียว
รัฐบาลก็มีการศึกษามาและต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน
จากเกษตรกรรมดั้งเดิมที่ใช้คนเป็นหลักจะทำอย่างไรให้ใช้เทคโนโลยี
อย่างเช่น แล้ง ไม่มีใครบอกเราว่าจะแล้งขนาดนี้ ซึ่งถ้าศึกษาอุตนิยมวิทยาจะเห็นว่ามันเคยมีเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว
จะทำอย่างไรให้ข้อมูลนี้ส่งไปหาผู้ผลิต
เรื่อง productivity เทียบกับออสเตรเลีย เราต่างกันเป็นสิบเท่าตัว เพราะเขนาใช้เครื่องจักร น้ำ ปุ๋ย เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติทั้งสิ้น
จะทำให้การเกษตรยุคใหม่ เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่จำกัดได้มาก
SME ที่ผ่านมาก็เกิดขึ้นตามผู้ประกอบการ ทำอ่ย่างไรให้เพิ่มความสำเร็จ และทำให้เติบโตได้เร็ว
ก็ขึ้นกับการสนับสนุน sme อย่างเป็นระบบทั้งเรื่องเงินทุน R&D งานวิจัยต่างๆ
ภาคบริการ เราทำได้ดีมาก แต่ productivity ต่ำ เพราะเราใช้คนเยอะเกินไป อย่างคนขับรถเราใช้เยอะ
แต่เขาจะนั่งเฉยๆเวลาเราไม่ไปไหน
Taxi ขับวนไปวนมา ระหว่างรอผู้โดยสาร ซึ่งเสียเวลา เสียพลังงาน เทคโนโลยีจะเข้าช่วยใด้มากขึ้น
การพัฒนาฝีมือแรงงาน ในยุคใหม่ของโลก การทำงานของคนก็เปลี่ยน เครื่องทำได้ คนก็เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น
ถ้าหากโรงงานมีหุ่นยนต์มากขึ้น คนจะกลายเป็นคุมหุ่นยนต์แทนที่จะทำงาน
มีคนไทยทำหุ่นยนต์บริการ และทำขายญี่ปุ่นแล้ว ใช้บริการคนแก่โดยเฉพาะ ว่าสั่งให้ทำอะไร
หรือช่วยดูแลถ้ามีความผิดปกติ เช่น หกล้ม
คุณอรุณ ถ้ามองไปทั่วโลก เศรษฐกิจโลกหลายปีที่ผ่านมาและมองไปข้างหน้าก็ไม่สดใสนัก
หลายสำนักก็ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกโตประมาณ 3% ซึ่งมาจากอินเดีย จีน ที่โต 6-7% แต่อเมริกา ญี่ปุ่น โตต่ำกว่ามาก
ถ้ามองงอเมริกาดูดีกว่าประเทศอื่น สิ่งที่นำหน้าคือ เรื่องพลังงาน ซึ่งค้นพบแหล่งพลังงานใหม่
จากเดิมที่ต้องนำเข้าพลังงานวันละกว่า 10 ล้านบาร์เรล กลายเป็นส่งออกได้ ทำให้สร้างอุตสาหกรรมปิโตเคมีซึ่งกำลังบูมใหม่ในอเมริกา
ส่งผลให้เงินเฟ้อในโลกลดลงอย่างมหาศาล
อีกเรื่องที่เด่นมากของอเมริกาคือเทคโนโลยี การขึ้นค้นใหม่ๆที่ทำเป็นเงินได้ส่วนใหญ่มาจากอเมริกา
เช่น google , apple, facebook มองข้างหน้าจึงโตได้เรื่อยๆ อัตราการว่างงานการลดลงต่อเนื่อง แนวโน้มดอกเบี้ยน่าจะปรับขึ้น
ยุโรปเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไม่ตกมาหลายปีแล้ว และแนวโน้มยังเหมือนเดิม
ปัญหาขาดความสามารถแข่งขัน นำโดยกรีซ สเปน โปรตุเกส อิตาลี อย่างกรีซตอนนี้ได้เงินกู้เพิ่ม แต่เศรษฐกิจยังถดถอย
ปัญหาผู้อพยพจากตะวันออกกลาง ประเทศเยอรมันที่เศรษฐกิจดีก็สามารถรองรับได้ แต่หลายประเทศทำไม่ได้
รวมทั้งเรื่องก่อการร้ายที่ต้องระวัง อย่างอังกฤษที่แยกตัวออกไปก็กังวลว่าจะมีประเทศอื่นออกไปด้วยไหม
โดยรวมแล้วยุโรปก็ไม่ค่อยไปไหน อย่างมากก็โต 1% กว่า
ญี่ปุ่น ทำท่าจะเหมือนทางตัน พอขึ้นภาษี 5-> 8% เศรษฐกิจแย่ ก็ใช้จ่ายภาครัฐมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้ผล
เพราะภาครัฐไม่สามารถใช้เงินได้มีประสิทธิภาพได้เหมือนเอกชน
มองไปข้างหน้าญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยสดใส แต่ยังเติบโต
จีน ค่าแรงแพงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าจีนไม่ถูกเท่าไรแล้ว จะค้าขายยากขึ้น
ท่าทีของจีนที่แข็งกร้าวทำให้อเมริกาไม่พอใจ จึงเห็นการดันให้ประเทศอื่นแข่งกับจีนมากขึ้น
อย่าง PPP แต่สินค้าของจีนหรือบริการหลังการขายก็ยังไม่ดีเท่าไร
มองไปข้างหน้าจีน ก็คงโตช้าลงๆ เป็นแกนนำโลกไม่ไหวเท่าไร
ไทย เราเป็นคนป่วย เพื่อนบ้านโตสูงกว่าเราทั้งนั้น อย่างฟิลิปปินส์ที่เคยล้าหลัง ก็โต 5-6% เวียดนามก็โตดีมาก
การลงทุนในไทยก็เฉามานานมาก นโยบายภาครัฐบอกจะส่งเสริมการลงทุน แต่จริงๆไม่ค่อยได้ผล
เทคโนโลยีใหม่ๆก็ไปลงที่อื่น ของเราอาศัยรูปแบบเดิมๆ เงื่อนไขเดิมๆ
น่าจะโต 2% กว่าแบบที่ต่างประเทศมอง
ระยะหลังเห็นภาครัฐปรับตัวเรื่องส่งเสริมการลงทุน หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ยังไม่เห็นผลมาก
รายย่อยหนี้สินภาคครัวเรือนก็สูงมากแล้ว คงกระตุ้นมากกว่านี้ไม่ได้
จะทำให้เศรษฐกิจโตได้ ต้องทำให้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มขึ้น
ตอนนี้ยังไม่เห็นรูปธรรมเท่าไร
เรายังเกินดุล เงินเฟ้อยังต่ำ ถ้าเราไม่โลภมากคงไปได้เรื่อยๆ ตัวช่วยของเราคือการท่องเที่ยว
ที่จีนค่าเงินแข็งกว่าเราจึงมาเที่ยวเยอะ
Megatrend มีอะไรบ้าง?
คุณวิวรรณ
มองว่าสาเหตุหลักเดียวเลย คือ ประชากรในโลกแก่
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก็ยังไม่มีเหตุการณ์ทำให้คนตายมากๆ และประชากรอายุยืนขึ้น
ก็ส่งผลตามมาหลายอย่าง ทำให้เศรษฐกิจไม่ค่อยโต ซึ่งถัดมาเราคุมกำเนิดได้ผลดีเกินไป
ทำให้เกิด aging society ขณะหลายๆประเทศที่ไม่ได้คุมกำเนิดจึงมีประชากรเยาว์วัยกว่าเรา
Thailand 4.0 เป็นการเปลี่ยนอุตสาหกรรม เรามีทางเลือก 3 ทาง คือ
เป็นผู้นำเทรนด์ เกาะไปกับเทรนด์ และตกเทรนด์
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโตช้าลง คนจึงไม่ต้องการเงินทุนไปลงทุน ดอกเบี้ยจึงต่ำ เงินเฟ้อต่ำ เศรษฐกิจเติบโตต่ำ
คุณธีรนันท์ เสริม industry 4.0 จะทำให้เกิดอาการโต แต่ไม่จ้างงาน เพราะใช้คนน้อยลง พอไม่จ้างงาน
เงินก็ไม่กระจาย บริษัท instragram มีคน 17 คน ถูกซื้อไป 1 พันล้านเหรียญ
อีกเรื่อง เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมาก สัปดาห์ที่แล้วรถที่ไม่มีคนขับวิ่งอยู่ในสิงคโปร์ ซึ่งจะสามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้
ต่อไปรถจะไม่ชน ถ้าเราใช้ชีวิตโดยไม่ต้องขับรถ ชีวิตก็จะเปลี่ยนไป
Medical tech ที่ทำให้คนอายุยาวขึ้น อายุเฉลี่ยคาดว่าจะตาย 80 ปี แต่อีกสิบปีข้างหน้า มีคนบอกว่าอาจนจะกลายเป็น 90 ปี
ถ้าเราเกษียณตอน 60 ปี แล้วคิดว่าจะอยู่ 20 ปีเราจะใช้ชีวิตอีกแบบ แต่ถ้าคิดว่าจะอยู่อีก 30 ปีก็ต้องใช้ชีวิตอีกแบบ
ผู้แนะนำการลงทุนก็ต้องแนะนำอีกแบบ ความต้องการคนก็จะเป็นอีกแบบ เผลอๆต่อไปจะเป็นการแนะนำการใช้ชีวิต
ธุรกิจประกันก็จะเปลี่ยนไปมากเพราะเราคิดราคาจากคนละแบบ
คุณวิวรรณ เสริมว่าเคยคุยกับคนที่พัฒนาโปรแกรมไร้คนขับ เงื่อนไขก็ขึ้นกับคนขับรถคันอื่นด้วย
คุณ อรุณ ขอเสริม รถไร้คนขับคงเป็นขั้นไป อันดับแรกน่าจะเป็นรถเมล์ไร้คนขับ เพราะเส้นทางชัดเจน
ประเทศแรกไม่ใช่ประเทศไทย น่าจะเป็นอเมริกา หรือญี่ปุ่น เส้นทางกำหนดชัดเจน แผนที่ชัดเจน เพราะถ้าใช้รถยนต์ทั่วไป
ไม่รู้ว่าจะขับไปไหนบ้าง แผนที่ต้องละเอียดมาก และอะไรตามมาอีกเยอะ
ถัดมาคงเป็น Taxi ซึ่งเริ่มมีการลองแล้ว ทุกวันนี้เริ่มมีการใช้ระบบไร้คนขับแล้ว ในการเกษตร
ที่บอกว่า ออสเตรเลีย บราซิล ใช้คนน้อย เพราะเอารถมารดน้ำพืช หรือทำอะไรแทนคนได้ พื้นที่หมื่นไร่อาจใช้คนแค่ 1-2 คน
ดร.นิเวศน์ มองว่ามี 3 เรื่องใหญ่ 1. อายุชัดเจน 2. คนเรามีเงินมากขึ้น ทั้งที่เศรษฐกิจโตไม่เร็ว เก็บเงินแต่ไม่มีที่ใช้
บางคนไม่มีลูก บางคนยังไม่มีเมียด้วย 3. เทคโนโลยีพัฒนาเร็วมาก โดยเฉพาะดิจิตอล
นอกจาก 3 เรื่องนี้ เรื่องอื่นเป็นเรื่องรองๆ อย่างเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ไบโอเทค ฟินเทค ต่างๆ
ต้องไปดูว่าเมกะเทรนด์ 3 เรื่องนี้มันต่อไปถึงอะไร
คุณอรุณ ขยายความ การผลิตในอนาคตจะใช้คนน้อยลงมาก เพราะทุกอย่างใช้โรบอทแทนได้ ราคาพลังงานจะถูกลงมาก
ไนกี้ แอปเปิล ไม่ผลิตสินค้าเอง พวกนี้จะไม่เดือดร้อน อย่างอเมริกาเดินมาถูกทางเพราะไม่สนใจใช้แรงงานผลิต
ต่อไปแนวโน้มนี้จะเกิดขึ้น ให้โรบอทผลิตแทนแล้วป้อนพลังงานถูกๆเข้าไป
ประเทศไทย ซึ่งมุ่งการผลิตเยอะ มีข้อดีคือ เมื่อผลิตไม่ได้แล้ว แรงงานจะไปไหน มองว่าน่าจะหันไปหาบริการ
เช่น การท่องเที่ยวก็จะเป็นสิ่งที่เราถนัด แต่ถ้าเป็นงานบริการระดับสูง อย่างนักกฏหมาย คงเป็นต่างประเทศ
กลุ่มุอุตสาหกรรมไหนในตลาดหุ้นที่น่าจะจับตาดู
คุณวิวรรณ บริการเป็นหลักของเรา แต่ขอพูดถึงอีกเทรนด์คือ การปกป้องตัวเอง จะเกิดขึ้น
อย่างค่าเงิน แข่งกันอ่อนเพื่อทำให้ขายของได้ หรือแข่งกันกีดกันทางการค้า สิ่งที่ไม่ได้มีการกีดกันคือบริการ
คนรวยเพิ่มขึ้นเยอะ ก็บริการคนรวย เช่นท่องเที่ยว อาหาร บริการอื่นๆ
ความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มก็เป็นเทรนด์ที่ต้องจับตา ถ้าไม่จัดการให้ดีก็เกิดปัญหา (เหลื่อมล้ำทางฐานะ การศึกษา โอกาส อาชีพ)
ที่น่าจะดี พวกบริการ ท่องเที่ยว อาหาร หลายๆอย่างที่เครื่องจักรทำแทนไม่ได้ พวก automation ต้องจับตากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าไป
กลุ่มที่เกี่ยวกับผู้สูงวัย อะไรที่ได้ประโยชน์จากตรงนี้ก็จะดี
พลังงานทางเลือก จะมีบทบาทมากขึ้นที่จะพาโลกไปยุคใหม่
ธุรกิจที่เป็นตัวกลางอาจลำบาก เช่นค้าปลีก คนไม่ต้องเดินไปดู สามารถทำอะไรเองได้จากมือถือ
คุณธีรนันท์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุต้องจับตามอง แต่ก็ขึ้นกับการปรับตัวผู้ประกอบการ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ
บ้าน เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ เมื่อก่อนสร้างบ้านไม่เคยติดตั้งเอาไว้
ผู้ประกอบการที่สร้างของเหล่านั้นโดยที่มีความเข้าใจแท้จริงว่าลูกค้าต้องการอะไรจะได้ประโยชน์
ยานยนต์ถ้ามีคนสูงอายุ นั่งวีลแชร์ จะทำอย่างไรให้คนขึ้นรถได้สะดวก เป็นต้น
ในฐานะนักลงทุนลองถามคำถามกับบริษัทดูว่ามีมุมมองมีการปรับตัวทันไหม
ธุรกิจไฟฟ้า ถ้าแบตเตอรี่ breakthrough เมื่อไร ฟอสซิลจบเลย ต้องจับตามอง
โชคดีอย่าง ปตท.ก็ลงทุนพลังงานทางเลือกต่างๆไว้เยอะ รวมทั้งแบตเตอรี่ด้วย
ยานยนต์ไร้คนขับจะกระทบกับใคร อย่างเช่น taxi เพราะคนไทยก็ทำอาชีพเป็นคนขับรถเยอะ
ต้องดูว่าเทคโนโลยีอะไรจะมากระทบ แล้วแต่ละบริษัทมองอย่างไร มีแผนจะมีจัดการอย่างไร
คิดว่าถัดนี้อีก 20 ปี จะเห็นการเปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตคนไปเยอะมาก อาจจะเกิดความปั่นป่วนเยอะไปหมด
ธุรกิจการเงินก็โดนแน่นอน อย่างกสิกรไทยก็เปลี่ยนอะไรไปหลายอย่าง ทำเรื่องฟินเทค open innovation
เราไม่ตั้งคำถามว่าโดนกระทบหรือไม่ เราก็สรุปเลยว่าโดน แล้วจะทำอย่างไร
ถ้าโลกจะเปลี่ยนเราก็เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเองเลย
ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการ มีการทำ workshop ซึ่งยังมี gap มหาศาล
บริษัท blockbuster ที่เจ๊งไปเพราะ Netflix ตอนที่ Netflix เข้าตลาดเพื่อเอาเงินไปลงทึนทำ video streaming
ตอนนั้น blockbuster ออกมาประกาศว่า economic ของการทำ vdo on demand ยังไม่คุ้มที่จะลงทุน
5 ปีถัดมา block buster ล้มละลาย ก็ต้องดูให้ดีๆ
ดร.นิเวศน์ สรุปว่า trend ทั้งหมดของเมืองไทยไม่ดี ตอนนี้เป็น trend โลก ไทยไม่มี trend ของตัวเอง
จะไปตายที่การพัฒนาจากต่างประเทศ พอต่างประเทศเริ่มใช้ คนไทยก็ใช้ได้ โลกไม่มีพรมแดน เราก็ไปใช้ของเขา
ดูอย่างโปเกมอนมา เราก็ตามไปใช้กัน ดูอย่างรถยนต์ไฟฟ้า เดี๋ยวประเทศอื่นใช้กันของเราก็มาใช้ เพียงแต่ใช้เวลา ค่อยเปลี่ยนไป
อย่างโทรศัพท์มือถือที่ใช้เอง ทีแรกก็ว่าจะใช้ไป 2G ไปตลอด พอโทรศัพท์เสีย ก็หาซื้อแบบเดิมไม่ได้ ก็ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่
คุณธีระนันท์ ขออนุญาตค้านและเห็นด้วย ในมุมที่เป็นผู้ใช้บริการไม่ต้องกลัว แต่ผู้ประกอบการมีเรื่องที่ต้องกลัว
อย่าง Alibaba เข้าซื้อ lazada ถ้าต่อไป trend จะซื้อของออนไลน์แบบในอเมริกา
ต่อไปคนกรุงเทพจะซื้อของจากผู้ผลิตเชียงใหม่ ก็เข้าเวบ Alibaba สั่งซื้อของ สั่งจ่ายเงินด้วย alipay
แล้วของที่ส่งไปสิงคโปร์ก่อน แล้วส่งจากเชียงใหม่ไปสิงคโปร์ แล้วค่อยมากรุงเทพ เพราะไว้ใจได้สูงมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผลกระทบคือผู้ประกอบการไทยไม่ได้ประโยชนสักคน เป็นสิ่งที่ต้องลุกขึ้นมาสู้
ส่วนที่เห็นด้วยว่ายังไม่ต้องไปกลัวมาก อย่างธนาคาร มีความเป็น local มากกว่า global
Taxi เมืองจีน uber เข้าไปแล้วสู้ไม่ได้ขาดทุนครั้งใหญ่ น่าจะขาดทุนราว 1 พันล้านเหรียญ
แต่ไม่ได้แปลว่าธนาคารไทยจะได้รับการคุ้มครองจากเทคโนโลยี คงต้องปรับตัว
ทำไมธนาคารไทยจะเป็นฟินเทคไม่ได้ ทำไมธนาคารไทยจะใช้เทคโนโลยีไปบุกใน asean ไม่ได้
มีทั้งวิกฤติและโอกาส
ดร.นิเวศน์ เห็นด้วยอย่างยิง ว่าเราต้องประเมินดูว่า ถ้ากิจกรรมบางอย่างไม่ได้มี economy ที่จะทำ ก็จะอยู่รอดได้
แต่สิ่งที่คุ้มกว่ามากที่จะใช้ของใหม่ อันนั้นอันตราย อย่าง ค้าปลีก สินค้าที่จะคุ้มส่งผ่านโดรนต้องมีมูลค่ามากพอ
ถ้าน้อยก็ไม่คุ้มหรอก สิ่งเหล่านั้นก็จะปลอดภัย หรือ การรักษาพยาบาล จะยอมให้เครื่องจักรเป็นคนรักษาเราได้หรือ
หรือธนาคารก็ยังเปิดสาขาเพิ่ม เพราะอยู่ใกล้ลูกค้าก็จะมีคนอยากเข้าไปใช้บริการไปปรึกษา
ธุรกิจอย่าง vdo streaming ที่ส่งไปถึงบ้านมันสบายกว่า หรือหนังสือที่มีความจำเป็นน้อยลง
สรุปว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคทั้งหมด และต้องใช้เวลาปรับตัว ถึงเวลาเข้ามาก็ไม่รู้ตัว
กิจการบางอย่างทำลายยาก อย่างอาหารคนคงไม่อยากกินอาหารเม็ด
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค ที่สละแรงกายแรงใจจัดสัมมนาดีๆเสมอมา
ขอบคุณผู้บริหารและแขกรับเชิญทุกท่านที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้
และขอบคุณพี่นุช พี่แป๋ม น้องเมย์ สมาคม thaivi สปอนเซอร์ ทีมงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกท่านในการจัดงานทุกคนด้วยครับ
ปล.ขอให้น้องจ๋าสุขภาพแข็งแรง หายไวๆนะครับ
Moneytalk@SETครั้งต่อไป
อาทิตย์ 25 ก.ย.59 เปิดจองเสาร์ 17 ก.ย.59
หัวข้อ 1 สัมภาษณ์ 4 บริษัท TPBI, TVD, MC, อีกบริษัทอยู่ระหว่างเชิญ
หัวข้อ 2 อดีตชี้อนาคตจริงไหม คุณมนตรี, คุณกวี, คุณธานินทร์ (คุณคลายเครียด,endophine), ดร.นิเวศน์
ช่วงที่ 1 สัมมนา หัวข้อ หุ้นเด่นโค้งหลัง 59
1) คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ ILINK
2) คุณวิวัฒน์ ฑีฆคีรีกุล ประธานกรรมการ KAMART
3) คุณชัชพล ประสบโชค กรรมการผู้จัดการ UAC
4) คุณประเสริฐ มริตตนะพร กรรมการ CK
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิช ดำเนินรายการ
ภาพรวมธุรกิจที่ดำเนินการ
Kamart
ทำธุรกิจเครื่องสำอางค์เข้าปีที่ 6 ที่ผ่านมาเติบโตทุกปี ด้วยอัตราการเติบโตที่ใช้ได้ เฉลี่ย 20-30 % ทุกปี
เริ่มเปลี่ยนธุรกิจตั้งแต่ปี 54 ยอดขาย 400 ล้านบาท โดยปีถัดไปยอดขายเติบโตเป็น 700 => 900 => 1000 => 1200
ยอดขายครึ่งแรกปี 59 750 ล้าน คาดว่าทั้งปี 1600 ล้านบาท
กำไรขั้นต้นเราสามารถรักษาได้สม่ำเสมอ และสามารถทำได้ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะเป็นบริษัทที่ 4 ที่ปันผลทุกไตรมาส
หนี้สินลดลงต่อเนื่อง มีเงินสดเหลือก็สามารถทำอย่างอื่นได้ เช่น ซื้อที่ดิน หรือลงทุนในบริษัทอื่น
ปีนี้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่และทุ่มงบโฆษณาทำให้ยอดขายเติบโต และเริ่มมีการขายต่างประเทศเป็นทางการ
โดยไปจดแจ้งกับรัฐบาลประเทศนั้นๆ รองรับการเติบโตในอนาคต
ผลิตภัณฑ์เด่นคือ AA คูชั่น เป็นนวัตกรรมจากเกาหลี และแบรนด์ระดับโลกก็ออกมาขายกัน
ขายในแบรนด์เคธี่ดอลล์ เป็น แป้งกึ่งครีมกึ่งฝุ่น
ilink
ก่อตั้งมา 30 ปี เริ่มต้นเป็นธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณ รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สินค้าเช่น สาย LAN, Fiber optic, สายกล้องวงจรปิด, ตู้ใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นได้ต่อยอดธุรกิจ
โดยเพิ่ม value added ด้วยการรับเหมาติดตั้งสายสัญญาณ งานแรกที่ได้รับคือ งานสนามบินสุวรรณภูมิ
(บริษัทรับงานขนาด 100 ล้านบาทขึ้นไป)
ซึ่งหลังจากที่เห็นผลงานบริษัท จึงได้รับการว่าจ้างไปติดตั้งสายสัญญาณตามเสา เดินโครงข่ายไฟเบอร์ออคติก
ต่อยอดไปเกี่ยวกับงานสายใต้ดิน และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น เอาติดตั้งสายลงน้ำ
ซึ่งเราเป็น 1 ใน 2 บริษัทของคนไทยที่สามารถทำธุรกิจ engineering แบบนี้ได้
ล่าสุดได้งานสุวรรณภูมิ 2 พันล้าน แบ่งกับอีกเจ้า(สัมประสิทธิ์) 1 พันล้านบาท
อีกธุรกิจคือ itel ก่อตั้ง 4-5 ปี ทำธุรกิจ data communication, data connectivity
ให้เช่าโครงข่ายไฟเบอร์ออพติค และ data center ซึ่งเป็นธุรกิจที่เรามองหารายได้สม่ำเสมอ
โดยใช้จุดแข็งเราคือนำเข้าและขายส่งสัญญาณ บวกกับทีมวิศวกรรมที่มีความสามารถสูง
จึงนำไปลงทุนธุรกิจโทรคมนาคม อยู่ระหว่างนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ธุรกิจโครงข่ายไฟเบอร์ออพติค ลูกค้าหลักคือ mobile operator ทุกรายเช่าโครงข่ายของเรา
การใช้งานโทรศัพท์ของเราจะผ่านเสา และผ่าน fiber optic ถึงแม้ operator จะมีโครงข่ายเอง
แต่การใช้งานเติบโตเร็วจึงไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ
ธุรกิจ Data center ในไทยมีไม่กี่ราย ซึ่งข้อมูลของ bank ก็ต้องเก็บใน data center ที่ปลอดภัย
ปัจจุบันเรามีลูกค้าจองเต็ม จึงต้องสร้างเพิ่ม
คู่แข่งในตลาดก็มีที่เป็นเจ้าของโครงข่ายเหมือนกัน แต่เรามีจุดแข็งที่จัดจำหน่ายสายเองและมีทีมวิศวกรรม
จึงสามารถวางโครงข่ายทั้งกรุงเทพและครอบคลุมต่างจังหวัด และวางสายทั้งทางถนนและรถไฟ ซึ่งปลอดภัยและสั้น
Itel มีโครงข่ายทั่วประเทศ และเชื่อมโยงไปต่างประเทศ ซึ่งลงทุนโครงข่ายเป็นของ itel เอง ส่วน ilink เป็นผู้ติดตั้งให้
มองว่าต่อไป itel จะสามารถเติบโตกว่า ilink ได้
อย่างไรก็ตาม ภาพข้างหน้า Ilink ยังสามารถโตได้ต่อ เพราะงานภาครัฐออกมาจำนวนมาก
อย่างปีนี้แม้จะแพ้ประมูลงานสายไฟลงดินที่ช่องนนทรี
แต่ทางการไฟฟ้ายังมีโครงการนำสายลงดินอีก 5 โครงการ มูลค่าราว 1 หมื่นล้าน
CK
มีคนถามบ่อยๆ ว่า ช. ย่อมาจากอะไร ซึ่งมักจะตอบว่า เรามีประสบการณ์ เรา เชี่ยวชาญ
ดำเนินธุรกิจปีนี้เป็นปีที่ 44 มีโครงการอาคาร สำนักงาน สะพาน หลายที่ซึ่งเราเป็นผู้ก่อสร้าง
งานก่อสร้างประจำตอนนี้คือ รถไฟใต้ดิน รถไฟบนดิน เช่น รถไฟสายสีน้ำเงินลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
ก่อสร้างทางด่วน ล่าสุดที่เปิดไปคือ ศรีรัช วงแหวนรอบนอก
ระบบน้ำประปา ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม มีเพิ่มกำลังผลิต และมีศึกษาลงทุนต่างประเทศอยู่ เช่น เมียนมาร์
อีกธุรกิจเราสร้างฝายผลิตไฟฟ้า เขื่อนน้ำงึม 2 ขายไฟฟ้ามา 4-5 ปี แล้วกำลังสร้างโครงการที่ 2 ไซยะบุรี 1200 MW
มูลค่าโครงการ 1.2-1.3 แสนล้านบาท สร้างอีก 2 ปีจะขายไฟฟ้าได้แล้ว CK ทยอยรับรู้รายได้จากการก่อสร้าง
มูลค่างานก่อสร้าง 8 หมื่นล้าน ระยะก่อสร้าง 8 ปี
ธุรกิจไม่ใช่มีแค่ก่อสร้าง มีลงทุนใน BECL, BMCL ที่รวมเป็น BEM ทุนจดทะเบียนเยอะขึ้น
ทำอะไรได้ง่ายขึ้น อนาคตก็อาจไปต่างประเทศได้
ธุรกิจลูก เราลงทุนไปก่อน ต้องมีการก่อสร้าง ทำตึก ทำทางด่วน แล้วก็ได้รับปันผลคืน
UAC
ก่อตั้งเข้าปี 21 เข้าตลาด mai มา 6 ปีแล้ว ธุรกิจ 3 ด้านหลัก
1.ธุรกิจหลัก ซื้อมาขายไปเน้นอุตสาหกรรมพลังงาน ขุดเจาะ โรงกลั่น เครื่องจักร อุปกรณ์
2.ธุรกิจพลังงาน ผลิตไบโอดีเซลร่วมกับบางจาก เราถือหุ้น 30% มี 2 โรงงาน กำลังผลิต 8.1 แสนลิตร
ใหญ่เป็นเบอร์ 2 ของไทย ทำไบโอแก๊สเป็นรายแรกที่ทำจากมูลสุกร , เรามีโครงการทำไบโอแก๊สเพื่อผลิตไฟฟ้า
และมีต่อยอดไปทำโซลาร์รูฟ 2 MW
อีกธุรกิจมีการนำ flare gas ที่เป็นแก๊สธรรมชาติเผาทิ้งมาเข้าโรงงานแยกแก๊สไปใช้ต่อ
ช่วงแรกมีแก๊สน้อย เราจึงไปเจรจากับปตท.สผ. ทำให้ได้แก๊สมากขึ้นเดินโรงานได้ 100% มี product 3 ตัว LNG,CNG,NGL
3. โรงงานผลิตลาเท็กซ์โพลีเมอร์ (ผลิตกาว) ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมาธุรกิจนี้ก็มียอดขาย และกำไรที่ดี
ช่วงแรกที่เข้าตลาด บริษัทมี %GPM ราว 22% ซึ่งอัตรากำไรมี drop ลงไปบ้างเพราะมีค่าเสื่อมจากการลงทุน
งบการเงินล่าสุด Gross profit margin กลับมาในระดับ 20% แล้วเพราะธุรกิจที่ลงทุนไป เช่น ไบโอดีเซล
โรงแยกแก๊สธรรมชาติ โรงไฟฟ้า พอเริ่มผลิตรับรู้รายได้ จะมีรายได้เข้ามา และมีอัตรากำไรที่ดี
ธุรกิจไบโอดีเซล จำหน่ายให้ผู้ขายน้ำมันทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่บางจาก
ซึ่งปัจจุบันน้ำมันการใช้สูงขึ้น 5-6% จึงทำให้ธุรกิจเติบโตดี ปัญหาหลักอุตสาหกรรมคือ วัตถุดิบ
จะเห็นว่ารัฐบาลประกาศให้ผสมน้อยลง B4 ซึ่งเป็นปัญหาชั่วคราว คิดว่าในอนาคตจะกลับเป็น B7 เหมือนเดิม
ธุรกิจโรงกาว มีโครงการขยายหน่วยผลิตที่ 3 ลงทุน 120 ล้าน เพื่อขยายกำลังผลิต 1 หมื่นตัน(เพิ่มเท่าตัว)
ซึ่งเติบโตตามการก่อสร้าง กาวที่ผลิตเราขายให้ผู้ผลิตสี สีทาบ้าน ทาอาคาร รวมถึงประเทศ CLMV
โรงแยกแก๊สธรรมชาติเราจุดเด่นต้นทุนเนื้อแก๊สต่ำมาก ซึ่งพอเอามาทำประโยชน์ได้เราก็ต้องจ่ายเงินซื้อ
พอเดินได้เต็มที่เราก็คิดว่าจะ contribute margin ได้ดี
แผนในอนาคตของบริษัท
Kamart
คาดปี 59 1600 ล้านบาท ปี 60,61 รายได้ 2000,2400 ล้านบาท
ยอดขาย 100 บาท เราเอามาปันผล 12-15%
เงินสดที่เหลือมี 2 ทางคือ ปันผลมากขึ้น หรือเอากำไรสะสมที่เหลือไปใช้รูปแบบอื่น เช่น ซื้อหุ้นคืน
การเติบโตต่างประเทศก็น่าสนใจ เพราะเรามีขายทุกประเทศใน asean รวมถึงส่งไปขายที่จีน และไต้หวัน
แต่ยังไม่อยากคาดการณ์ตัวเลขตอนนี้
อัตรากำไร ขายในประเทศกับต่างประเทศ ใกล้เคียงกัน
ธุรกิจตอนนี้ก็สามารถทำต่อโดยรุ่นลูกได้เป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่มีช่วยกำกับดูแลบ้าง
ที่ดินที่เราซื้อเก็บไว้คิดว่าน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้
ilink
ที่ผ่านมาเรามีกำไรทุกไตรมาส และวางรากฐานทั้ง 3 ธุรกิจอย่างมั่นคง
ธุรกิจจัดจำหน่ายปีหนึ่ง 2 พันล้าน เติบโตส่วนใหญ่จะมากกว่า 10% มองย้อนหลังไปก็ไม่ตก
ธุรกิจ engineering มีความผันผวน การรับรู้งานแล้วแต่จังหวะ backlog เมื่อ 3-4 เดือนก่อนหมดไปแล้ว
ซึ่งล่าสุดได้ backlog งานสนามบินสุวรรณภูมิ 1 พันล้านบาท เดือน พ.ย. จะมีประมูลงาน underground
ซึ่งสิ่งที่เราเฝ้ารองาน submarine cable เกาะเต่า, เกาะสมุย 2 งาน 4 พันกว่าล้านบาท
เป็นงานที่เราถนัดคิดว่าโอกาสประมูลได้เกิน 50% งานนี้ดีเลย์มา 3 ปีแล้ว อยู่ระหว่างรอเข้าครม. คาดว่าจะมีประมูลปีนี้
นอกจากนี้จะมีงาน submarine cable อื่นที่จะทยอยมาอีกเป็นหมื่นล้าน
CLMV มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน เราคิดว่าน่าจะทำธุรกิจได้
โครงการอินเตอร์เน็ทแห่งชาติ จะวาง fiber optic ไปกว่า 3 หมื่นหมู่บ้าน มีสายสัญญาณ 5-6 พันล้านบาท
ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าได้ก็เรียกว่าส้มหล่น
ธุรกิจโทรคมนาคม ตลาดในอนาคตยุคสื่อสารมีความเฟื่องฟู เราผ่านเฟสการลงทุนจนครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว
และมีลูกค้า mobile operator รายใหญ่ ที่ผูกสัญญาระยะยาวกับเรา รวมถึง bank สีน้ำเงิน สีชมพูก็เช่าเรา
ธุรกิจ data center ก็จองเต็มแล้ว เราจะลงทุน data center ใหญ่กว่าเดิม 2-3 เท่า โดยร่วมกับ ait และ wha มาร่วมทุน
(อ.ไพบูลย์ เสริมว่า สัปดาห์หน้า itel มีออก money talk weekly)
CK
Backlog 8 หมื่นล้าน น่าจะรับรู้ได้อีก 2-3 ปี
คิดว่าปี 59 น่าจะมีรายได้ 4-4.5 หมื่นล้านบาท
งานอนาคตภาครัฐคงมีประมูลสายสีส้ม ต.ค. ขนาด 8-9 หมื่นล้าน
รวมถึงสายสีเหลือง, สีชมพู ที่จะเป็น เอกชนลงทุน(PPP)
เรื่องสถานีรถไฟส่วนต่อขยาย 1 กม.ที่หายไปอยู่ระหว่างเจรจาสร้าง
ส่วน BEM มีหน้าที่บริหารเดินรถ เก็บเงินไม่ได้เกี่ยวกับการลงทุน
BEM อยู่ระหว่างรอซื้อซอง สายสีเหลืองกับสีชมพู รวมถึงในอนาคตสามารถรับบริหารได้
รถไฟฟ้าใต้ดินตอนนี้ขาดทุกอยู่ ถ้าผู้โดยสารต่อวัน 2.5-2.6 แสนคนก็จะมีกำไรได้
CKP ปีหน้ามี co gen สร้างเสร็จ อีก 2 ปีกว่า ไซยบุรีสร้างเสร็จผลิตไฟฟ้าได้ ก็จะมีรายได้ดีขึ้น
TTW ดีมาตลอด และจ่ายปันผลดีอยู่แล้ว
UAC
ครึ่งปีแรก ยอดขาย 7 ร้อยล้าน ตั้งใจว่าจะยอดขาย 1700-1800 ล้านบาท
กำไรเติบโตครึ่งปีแรก 200% จึงคิดว่าปีนี้ยอดขายกำไรเติบโตต่อเนื่อง
โรงแยกแก๊สธรรมชาติที่จะเดิน 100% และโรงไบโอดีเซลที่เพิ่มกำลังผลิต 120%
ที่เริ่มเดินเดือน มิ.ย. จะเป็นกำลังหลักให้เติบโต
แผนการลงทุนในอนาคตคิดว่ามีศักยภาพลงทุนต่อเนื่อง 4 ปีข้างหน้า
ตั้งเป้าหมายจะโต 2 เท่า เป็น 3000 ล้านบาท อัตรากำไรก็น่าจะดีขึ้นด้วย
มีศึกษาลงทุนเพิ่มเติมใน CLMV ใกล้จะจบดีล
ในประเทศโครงการพลังงานทดแทน ทั้งไบโอแก๊สไบโอแมส ปลายปีนี้รัฐบาลจะมีเปิดประมูล
ช่วงที่ 2 สัมมนา หัวข้อ “เจาะเศรษฐกิจ จับ MegaTrend เฟ้นกลยุทธ์ลงทุน ยุค Thailand 4.0"
1) คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ KBANK
2) คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงิน
3) คุณอรุณ จิรชวาลา นักการเงินอาวุโส
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
Thailand 4.0 คืออะไร?
คุณธีรนันท์ เป็นการพูดถึงการเปลี่ยนยุค ซึ่งสอดคล้องกับ industry 4.0 เป็นการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะจากเทคโนโลยี คำที่ได้ยิน disruptive technology ที่ทำให้เปลี่ยนธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง
อย่างเช่น grab หรือ uber ที่ทำให้เราสะดวกขึ้น หรือ โรบอทเข้ามาช่วยทำงาน
ถ้าไปคุย chat bot ในอเมริกา มีหุ่นยนต์มาตอบเราโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเขาเข้าใจและตอบเราได้เหมือนคนเลย
ประเทศไทยลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมใหญ่ๆครั้งล่าสุดก็เกือบ 20 ปีแล้วคือ eastern seaboard
ธุรกิจต่างๆที่เกิดขึ้นก็เป็นผลจากพัฒนาตรงนั้น เช่น ปิโตรเคมี พลาสติค ยานยนต์ หรืออาหาร
ซึ่งเราทำได้ดี แต่ว่ามันล่าสมัยไปแล้ว จะเริ่มเห็นว่าส่งออกเราก็ลดลง ปัญหาต่างๆก็เข้ามา
ถ้า AI เข้ามาทำงานแทนคนได้มากขึ้น คนไทยมีโอกา สตกงานถึง 70% ทีเดียว
รัฐบาลก็มีการศึกษามาและต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน
จากเกษตรกรรมดั้งเดิมที่ใช้คนเป็นหลักจะทำอย่างไรให้ใช้เทคโนโลยี
อย่างเช่น แล้ง ไม่มีใครบอกเราว่าจะแล้งขนาดนี้ ซึ่งถ้าศึกษาอุตนิยมวิทยาจะเห็นว่ามันเคยมีเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว
จะทำอย่างไรให้ข้อมูลนี้ส่งไปหาผู้ผลิต
เรื่อง productivity เทียบกับออสเตรเลีย เราต่างกันเป็นสิบเท่าตัว เพราะเขนาใช้เครื่องจักร น้ำ ปุ๋ย เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติทั้งสิ้น
จะทำให้การเกษตรยุคใหม่ เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่จำกัดได้มาก
SME ที่ผ่านมาก็เกิดขึ้นตามผู้ประกอบการ ทำอ่ย่างไรให้เพิ่มความสำเร็จ และทำให้เติบโตได้เร็ว
ก็ขึ้นกับการสนับสนุน sme อย่างเป็นระบบทั้งเรื่องเงินทุน R&D งานวิจัยต่างๆ
ภาคบริการ เราทำได้ดีมาก แต่ productivity ต่ำ เพราะเราใช้คนเยอะเกินไป อย่างคนขับรถเราใช้เยอะ
แต่เขาจะนั่งเฉยๆเวลาเราไม่ไปไหน
Taxi ขับวนไปวนมา ระหว่างรอผู้โดยสาร ซึ่งเสียเวลา เสียพลังงาน เทคโนโลยีจะเข้าช่วยใด้มากขึ้น
การพัฒนาฝีมือแรงงาน ในยุคใหม่ของโลก การทำงานของคนก็เปลี่ยน เครื่องทำได้ คนก็เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น
ถ้าหากโรงงานมีหุ่นยนต์มากขึ้น คนจะกลายเป็นคุมหุ่นยนต์แทนที่จะทำงาน
มีคนไทยทำหุ่นยนต์บริการ และทำขายญี่ปุ่นแล้ว ใช้บริการคนแก่โดยเฉพาะ ว่าสั่งให้ทำอะไร
หรือช่วยดูแลถ้ามีความผิดปกติ เช่น หกล้ม
คุณอรุณ ถ้ามองไปทั่วโลก เศรษฐกิจโลกหลายปีที่ผ่านมาและมองไปข้างหน้าก็ไม่สดใสนัก
หลายสำนักก็ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกโตประมาณ 3% ซึ่งมาจากอินเดีย จีน ที่โต 6-7% แต่อเมริกา ญี่ปุ่น โตต่ำกว่ามาก
ถ้ามองงอเมริกาดูดีกว่าประเทศอื่น สิ่งที่นำหน้าคือ เรื่องพลังงาน ซึ่งค้นพบแหล่งพลังงานใหม่
จากเดิมที่ต้องนำเข้าพลังงานวันละกว่า 10 ล้านบาร์เรล กลายเป็นส่งออกได้ ทำให้สร้างอุตสาหกรรมปิโตเคมีซึ่งกำลังบูมใหม่ในอเมริกา
ส่งผลให้เงินเฟ้อในโลกลดลงอย่างมหาศาล
อีกเรื่องที่เด่นมากของอเมริกาคือเทคโนโลยี การขึ้นค้นใหม่ๆที่ทำเป็นเงินได้ส่วนใหญ่มาจากอเมริกา
เช่น google , apple, facebook มองข้างหน้าจึงโตได้เรื่อยๆ อัตราการว่างงานการลดลงต่อเนื่อง แนวโน้มดอกเบี้ยน่าจะปรับขึ้น
ยุโรปเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไม่ตกมาหลายปีแล้ว และแนวโน้มยังเหมือนเดิม
ปัญหาขาดความสามารถแข่งขัน นำโดยกรีซ สเปน โปรตุเกส อิตาลี อย่างกรีซตอนนี้ได้เงินกู้เพิ่ม แต่เศรษฐกิจยังถดถอย
ปัญหาผู้อพยพจากตะวันออกกลาง ประเทศเยอรมันที่เศรษฐกิจดีก็สามารถรองรับได้ แต่หลายประเทศทำไม่ได้
รวมทั้งเรื่องก่อการร้ายที่ต้องระวัง อย่างอังกฤษที่แยกตัวออกไปก็กังวลว่าจะมีประเทศอื่นออกไปด้วยไหม
โดยรวมแล้วยุโรปก็ไม่ค่อยไปไหน อย่างมากก็โต 1% กว่า
ญี่ปุ่น ทำท่าจะเหมือนทางตัน พอขึ้นภาษี 5-> 8% เศรษฐกิจแย่ ก็ใช้จ่ายภาครัฐมากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้ผล
เพราะภาครัฐไม่สามารถใช้เงินได้มีประสิทธิภาพได้เหมือนเอกชน
มองไปข้างหน้าญี่ปุ่นก็ไม่ค่อยสดใส แต่ยังเติบโต
จีน ค่าแรงแพงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าจีนไม่ถูกเท่าไรแล้ว จะค้าขายยากขึ้น
ท่าทีของจีนที่แข็งกร้าวทำให้อเมริกาไม่พอใจ จึงเห็นการดันให้ประเทศอื่นแข่งกับจีนมากขึ้น
อย่าง PPP แต่สินค้าของจีนหรือบริการหลังการขายก็ยังไม่ดีเท่าไร
มองไปข้างหน้าจีน ก็คงโตช้าลงๆ เป็นแกนนำโลกไม่ไหวเท่าไร
ไทย เราเป็นคนป่วย เพื่อนบ้านโตสูงกว่าเราทั้งนั้น อย่างฟิลิปปินส์ที่เคยล้าหลัง ก็โต 5-6% เวียดนามก็โตดีมาก
การลงทุนในไทยก็เฉามานานมาก นโยบายภาครัฐบอกจะส่งเสริมการลงทุน แต่จริงๆไม่ค่อยได้ผล
เทคโนโลยีใหม่ๆก็ไปลงที่อื่น ของเราอาศัยรูปแบบเดิมๆ เงื่อนไขเดิมๆ
น่าจะโต 2% กว่าแบบที่ต่างประเทศมอง
ระยะหลังเห็นภาครัฐปรับตัวเรื่องส่งเสริมการลงทุน หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ยังไม่เห็นผลมาก
รายย่อยหนี้สินภาคครัวเรือนก็สูงมากแล้ว คงกระตุ้นมากกว่านี้ไม่ได้
จะทำให้เศรษฐกิจโตได้ ต้องทำให้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มขึ้น
ตอนนี้ยังไม่เห็นรูปธรรมเท่าไร
เรายังเกินดุล เงินเฟ้อยังต่ำ ถ้าเราไม่โลภมากคงไปได้เรื่อยๆ ตัวช่วยของเราคือการท่องเที่ยว
ที่จีนค่าเงินแข็งกว่าเราจึงมาเที่ยวเยอะ
Megatrend มีอะไรบ้าง?
คุณวิวรรณ
มองว่าสาเหตุหลักเดียวเลย คือ ประชากรในโลกแก่
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาก็ยังไม่มีเหตุการณ์ทำให้คนตายมากๆ และประชากรอายุยืนขึ้น
ก็ส่งผลตามมาหลายอย่าง ทำให้เศรษฐกิจไม่ค่อยโต ซึ่งถัดมาเราคุมกำเนิดได้ผลดีเกินไป
ทำให้เกิด aging society ขณะหลายๆประเทศที่ไม่ได้คุมกำเนิดจึงมีประชากรเยาว์วัยกว่าเรา
Thailand 4.0 เป็นการเปลี่ยนอุตสาหกรรม เรามีทางเลือก 3 ทาง คือ
เป็นผู้นำเทรนด์ เกาะไปกับเทรนด์ และตกเทรนด์
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโตช้าลง คนจึงไม่ต้องการเงินทุนไปลงทุน ดอกเบี้ยจึงต่ำ เงินเฟ้อต่ำ เศรษฐกิจเติบโตต่ำ
คุณธีรนันท์ เสริม industry 4.0 จะทำให้เกิดอาการโต แต่ไม่จ้างงาน เพราะใช้คนน้อยลง พอไม่จ้างงาน
เงินก็ไม่กระจาย บริษัท instragram มีคน 17 คน ถูกซื้อไป 1 พันล้านเหรียญ
อีกเรื่อง เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วมาก สัปดาห์ที่แล้วรถที่ไม่มีคนขับวิ่งอยู่ในสิงคโปร์ ซึ่งจะสามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้
ต่อไปรถจะไม่ชน ถ้าเราใช้ชีวิตโดยไม่ต้องขับรถ ชีวิตก็จะเปลี่ยนไป
Medical tech ที่ทำให้คนอายุยาวขึ้น อายุเฉลี่ยคาดว่าจะตาย 80 ปี แต่อีกสิบปีข้างหน้า มีคนบอกว่าอาจนจะกลายเป็น 90 ปี
ถ้าเราเกษียณตอน 60 ปี แล้วคิดว่าจะอยู่ 20 ปีเราจะใช้ชีวิตอีกแบบ แต่ถ้าคิดว่าจะอยู่อีก 30 ปีก็ต้องใช้ชีวิตอีกแบบ
ผู้แนะนำการลงทุนก็ต้องแนะนำอีกแบบ ความต้องการคนก็จะเป็นอีกแบบ เผลอๆต่อไปจะเป็นการแนะนำการใช้ชีวิต
ธุรกิจประกันก็จะเปลี่ยนไปมากเพราะเราคิดราคาจากคนละแบบ
คุณวิวรรณ เสริมว่าเคยคุยกับคนที่พัฒนาโปรแกรมไร้คนขับ เงื่อนไขก็ขึ้นกับคนขับรถคันอื่นด้วย
คุณ อรุณ ขอเสริม รถไร้คนขับคงเป็นขั้นไป อันดับแรกน่าจะเป็นรถเมล์ไร้คนขับ เพราะเส้นทางชัดเจน
ประเทศแรกไม่ใช่ประเทศไทย น่าจะเป็นอเมริกา หรือญี่ปุ่น เส้นทางกำหนดชัดเจน แผนที่ชัดเจน เพราะถ้าใช้รถยนต์ทั่วไป
ไม่รู้ว่าจะขับไปไหนบ้าง แผนที่ต้องละเอียดมาก และอะไรตามมาอีกเยอะ
ถัดมาคงเป็น Taxi ซึ่งเริ่มมีการลองแล้ว ทุกวันนี้เริ่มมีการใช้ระบบไร้คนขับแล้ว ในการเกษตร
ที่บอกว่า ออสเตรเลีย บราซิล ใช้คนน้อย เพราะเอารถมารดน้ำพืช หรือทำอะไรแทนคนได้ พื้นที่หมื่นไร่อาจใช้คนแค่ 1-2 คน
ดร.นิเวศน์ มองว่ามี 3 เรื่องใหญ่ 1. อายุชัดเจน 2. คนเรามีเงินมากขึ้น ทั้งที่เศรษฐกิจโตไม่เร็ว เก็บเงินแต่ไม่มีที่ใช้
บางคนไม่มีลูก บางคนยังไม่มีเมียด้วย 3. เทคโนโลยีพัฒนาเร็วมาก โดยเฉพาะดิจิตอล
นอกจาก 3 เรื่องนี้ เรื่องอื่นเป็นเรื่องรองๆ อย่างเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ไบโอเทค ฟินเทค ต่างๆ
ต้องไปดูว่าเมกะเทรนด์ 3 เรื่องนี้มันต่อไปถึงอะไร
คุณอรุณ ขยายความ การผลิตในอนาคตจะใช้คนน้อยลงมาก เพราะทุกอย่างใช้โรบอทแทนได้ ราคาพลังงานจะถูกลงมาก
ไนกี้ แอปเปิล ไม่ผลิตสินค้าเอง พวกนี้จะไม่เดือดร้อน อย่างอเมริกาเดินมาถูกทางเพราะไม่สนใจใช้แรงงานผลิต
ต่อไปแนวโน้มนี้จะเกิดขึ้น ให้โรบอทผลิตแทนแล้วป้อนพลังงานถูกๆเข้าไป
ประเทศไทย ซึ่งมุ่งการผลิตเยอะ มีข้อดีคือ เมื่อผลิตไม่ได้แล้ว แรงงานจะไปไหน มองว่าน่าจะหันไปหาบริการ
เช่น การท่องเที่ยวก็จะเป็นสิ่งที่เราถนัด แต่ถ้าเป็นงานบริการระดับสูง อย่างนักกฏหมาย คงเป็นต่างประเทศ
กลุ่มุอุตสาหกรรมไหนในตลาดหุ้นที่น่าจะจับตาดู
คุณวิวรรณ บริการเป็นหลักของเรา แต่ขอพูดถึงอีกเทรนด์คือ การปกป้องตัวเอง จะเกิดขึ้น
อย่างค่าเงิน แข่งกันอ่อนเพื่อทำให้ขายของได้ หรือแข่งกันกีดกันทางการค้า สิ่งที่ไม่ได้มีการกีดกันคือบริการ
คนรวยเพิ่มขึ้นเยอะ ก็บริการคนรวย เช่นท่องเที่ยว อาหาร บริการอื่นๆ
ความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มก็เป็นเทรนด์ที่ต้องจับตา ถ้าไม่จัดการให้ดีก็เกิดปัญหา (เหลื่อมล้ำทางฐานะ การศึกษา โอกาส อาชีพ)
ที่น่าจะดี พวกบริการ ท่องเที่ยว อาหาร หลายๆอย่างที่เครื่องจักรทำแทนไม่ได้ พวก automation ต้องจับตากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าไป
กลุ่มที่เกี่ยวกับผู้สูงวัย อะไรที่ได้ประโยชน์จากตรงนี้ก็จะดี
พลังงานทางเลือก จะมีบทบาทมากขึ้นที่จะพาโลกไปยุคใหม่
ธุรกิจที่เป็นตัวกลางอาจลำบาก เช่นค้าปลีก คนไม่ต้องเดินไปดู สามารถทำอะไรเองได้จากมือถือ
คุณธีรนันท์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุต้องจับตามอง แต่ก็ขึ้นกับการปรับตัวผู้ประกอบการ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ
บ้าน เฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ เมื่อก่อนสร้างบ้านไม่เคยติดตั้งเอาไว้
ผู้ประกอบการที่สร้างของเหล่านั้นโดยที่มีความเข้าใจแท้จริงว่าลูกค้าต้องการอะไรจะได้ประโยชน์
ยานยนต์ถ้ามีคนสูงอายุ นั่งวีลแชร์ จะทำอย่างไรให้คนขึ้นรถได้สะดวก เป็นต้น
ในฐานะนักลงทุนลองถามคำถามกับบริษัทดูว่ามีมุมมองมีการปรับตัวทันไหม
ธุรกิจไฟฟ้า ถ้าแบตเตอรี่ breakthrough เมื่อไร ฟอสซิลจบเลย ต้องจับตามอง
โชคดีอย่าง ปตท.ก็ลงทุนพลังงานทางเลือกต่างๆไว้เยอะ รวมทั้งแบตเตอรี่ด้วย
ยานยนต์ไร้คนขับจะกระทบกับใคร อย่างเช่น taxi เพราะคนไทยก็ทำอาชีพเป็นคนขับรถเยอะ
ต้องดูว่าเทคโนโลยีอะไรจะมากระทบ แล้วแต่ละบริษัทมองอย่างไร มีแผนจะมีจัดการอย่างไร
คิดว่าถัดนี้อีก 20 ปี จะเห็นการเปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตคนไปเยอะมาก อาจจะเกิดความปั่นป่วนเยอะไปหมด
ธุรกิจการเงินก็โดนแน่นอน อย่างกสิกรไทยก็เปลี่ยนอะไรไปหลายอย่าง ทำเรื่องฟินเทค open innovation
เราไม่ตั้งคำถามว่าโดนกระทบหรือไม่ เราก็สรุปเลยว่าโดน แล้วจะทำอย่างไร
ถ้าโลกจะเปลี่ยนเราก็เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเองเลย
ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการ มีการทำ workshop ซึ่งยังมี gap มหาศาล
บริษัท blockbuster ที่เจ๊งไปเพราะ Netflix ตอนที่ Netflix เข้าตลาดเพื่อเอาเงินไปลงทึนทำ video streaming
ตอนนั้น blockbuster ออกมาประกาศว่า economic ของการทำ vdo on demand ยังไม่คุ้มที่จะลงทุน
5 ปีถัดมา block buster ล้มละลาย ก็ต้องดูให้ดีๆ
ดร.นิเวศน์ สรุปว่า trend ทั้งหมดของเมืองไทยไม่ดี ตอนนี้เป็น trend โลก ไทยไม่มี trend ของตัวเอง
จะไปตายที่การพัฒนาจากต่างประเทศ พอต่างประเทศเริ่มใช้ คนไทยก็ใช้ได้ โลกไม่มีพรมแดน เราก็ไปใช้ของเขา
ดูอย่างโปเกมอนมา เราก็ตามไปใช้กัน ดูอย่างรถยนต์ไฟฟ้า เดี๋ยวประเทศอื่นใช้กันของเราก็มาใช้ เพียงแต่ใช้เวลา ค่อยเปลี่ยนไป
อย่างโทรศัพท์มือถือที่ใช้เอง ทีแรกก็ว่าจะใช้ไป 2G ไปตลอด พอโทรศัพท์เสีย ก็หาซื้อแบบเดิมไม่ได้ ก็ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่
คุณธีระนันท์ ขออนุญาตค้านและเห็นด้วย ในมุมที่เป็นผู้ใช้บริการไม่ต้องกลัว แต่ผู้ประกอบการมีเรื่องที่ต้องกลัว
อย่าง Alibaba เข้าซื้อ lazada ถ้าต่อไป trend จะซื้อของออนไลน์แบบในอเมริกา
ต่อไปคนกรุงเทพจะซื้อของจากผู้ผลิตเชียงใหม่ ก็เข้าเวบ Alibaba สั่งซื้อของ สั่งจ่ายเงินด้วย alipay
แล้วของที่ส่งไปสิงคโปร์ก่อน แล้วส่งจากเชียงใหม่ไปสิงคโปร์ แล้วค่อยมากรุงเทพ เพราะไว้ใจได้สูงมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผลกระทบคือผู้ประกอบการไทยไม่ได้ประโยชนสักคน เป็นสิ่งที่ต้องลุกขึ้นมาสู้
ส่วนที่เห็นด้วยว่ายังไม่ต้องไปกลัวมาก อย่างธนาคาร มีความเป็น local มากกว่า global
Taxi เมืองจีน uber เข้าไปแล้วสู้ไม่ได้ขาดทุนครั้งใหญ่ น่าจะขาดทุนราว 1 พันล้านเหรียญ
แต่ไม่ได้แปลว่าธนาคารไทยจะได้รับการคุ้มครองจากเทคโนโลยี คงต้องปรับตัว
ทำไมธนาคารไทยจะเป็นฟินเทคไม่ได้ ทำไมธนาคารไทยจะใช้เทคโนโลยีไปบุกใน asean ไม่ได้
มีทั้งวิกฤติและโอกาส
ดร.นิเวศน์ เห็นด้วยอย่างยิง ว่าเราต้องประเมินดูว่า ถ้ากิจกรรมบางอย่างไม่ได้มี economy ที่จะทำ ก็จะอยู่รอดได้
แต่สิ่งที่คุ้มกว่ามากที่จะใช้ของใหม่ อันนั้นอันตราย อย่าง ค้าปลีก สินค้าที่จะคุ้มส่งผ่านโดรนต้องมีมูลค่ามากพอ
ถ้าน้อยก็ไม่คุ้มหรอก สิ่งเหล่านั้นก็จะปลอดภัย หรือ การรักษาพยาบาล จะยอมให้เครื่องจักรเป็นคนรักษาเราได้หรือ
หรือธนาคารก็ยังเปิดสาขาเพิ่ม เพราะอยู่ใกล้ลูกค้าก็จะมีคนอยากเข้าไปใช้บริการไปปรึกษา
ธุรกิจอย่าง vdo streaming ที่ส่งไปถึงบ้านมันสบายกว่า หรือหนังสือที่มีความจำเป็นน้อยลง
สรุปว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคทั้งหมด และต้องใช้เวลาปรับตัว ถึงเวลาเข้ามาก็ไม่รู้ตัว
กิจการบางอย่างทำลายยาก อย่างอาหารคนคงไม่อยากกินอาหารเม็ด
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์ อ.นิเวศน์ อ.เสน่ห์ หมอเค ที่สละแรงกายแรงใจจัดสัมมนาดีๆเสมอมา
ขอบคุณผู้บริหารและแขกรับเชิญทุกท่านที่สละเวลามาแบ่งปันความรู้
และขอบคุณพี่นุช พี่แป๋ม น้องเมย์ สมาคม thaivi สปอนเซอร์ ทีมงานกับผู้เกี่ยวข้องทุกท่านในการจัดงานทุกคนด้วยครับ
ปล.ขอให้น้องจ๋าสุขภาพแข็งแรง หายไวๆนะครับ
Moneytalk@SETครั้งต่อไป
อาทิตย์ 25 ก.ย.59 เปิดจองเสาร์ 17 ก.ย.59
หัวข้อ 1 สัมภาษณ์ 4 บริษัท TPBI, TVD, MC, อีกบริษัทอยู่ระหว่างเชิญ
หัวข้อ 2 อดีตชี้อนาคตจริงไหม คุณมนตรี, คุณกวี, คุณธานินทร์ (คุณคลายเครียด,endophine), ดร.นิเวศน์
Go against and stay alive.
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครัช
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 65
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
โพสต์ที่ 4
กราบขอบพระคุณพี่บิ๊กครับ
นักลงทุนที่ดี คือ นักลงทุนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 315
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ
-----------------------------------------
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
-
- Verified User
- โพสต์: 345
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
โพสต์ที่ 9
Facebook Page: VI10x:
https://www.facebook.com/vi10x
https://www.facebook.com/vi10x