เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 661
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 220&Z=9419
มหาเวทัลลสูตร
"....
เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ
ก. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร?
สา. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ.
ก. ปัญญา มีอะไรเป็นประโยชน์?
สา. ปัญญา มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์ มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์ มีความละเป็น
ประโยชน์.
[๔๙๗] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร?
สา. ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑
เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สัมมาทิฏฐิ.
ก. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา
วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว?
สา. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา
วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์
แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์
แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็น
ผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติ
เป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว.
..."
แปลสั้นๆ นะครับ
สัมมาทิฎฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล หมายถึง การบรรลุโสดาบัน
องค์ธรรมที่อนุเคราะห์ให้บรรลุโสดาบัน คือ
1 ศีล
2 การอ่าน การฟัง
3 การสอบถาม ปรึกษา ผู้รู้
4 การเจริญสมถะ
5 การเจริญวิปัสสนา
มหาเวทัลลสูตร
"....
เรื่องประโยชน์แห่งปัญญาและเหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ
ก. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร?
สา. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ.
ก. ปัญญา มีอะไรเป็นประโยชน์?
สา. ปัญญา มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์ มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์ มีความละเป็น
ประโยชน์.
[๔๙๗] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร?
สา. ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑
เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สัมมาทิฏฐิ.
ก. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา
วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว?
สา. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา
วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์
แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์
แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็น
ผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติ
เป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว.
..."
แปลสั้นๆ นะครับ
สัมมาทิฎฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล หมายถึง การบรรลุโสดาบัน
องค์ธรรมที่อนุเคราะห์ให้บรรลุโสดาบัน คือ
1 ศีล
2 การอ่าน การฟัง
3 การสอบถาม ปรึกษา ผู้รู้
4 การเจริญสมถะ
5 การเจริญวิปัสสนา
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 663
ผู้รู้ คือ จิต มโน วิญญาณ ตัวเดียวกันหมดครับsakkaphan เขียน:ีอีกคำถามครับ สภาวะธรรมตอนเจอผู้รู้นี่ ยังไม่ใช่โลกุตตระ รึป่าวครับ ยังต้องทำต่อรึป่าวครับ
ผมเสียดายที่ไม่เคยได้ถามครูบาอาจารย์ ขอคุณ cobain vi ชี้แนะด้วย
ผู้รู้ในขันธ์ 5 ก็วิญญาณนั่นแหละครับ บัญญัติศัพท์ตถาคตเรียกว่า วิชานาติ
ต้องละตัว ผู้รู้ หรือ จิตนี่แหละถึงจะนิพพานครับ
วิธีละจิต ก็ เห็นจิตเกิดดับโดยใช้ มรรคแปดครับ อานาปานสติ ครับ ปล่อยวางจิต
ส่วนสิ่งที่เข้ามาหลงยึดจิต ก็เรียกว่า สัตว์ สัตตะ สัตตา สัตตานัง ไม่เกิดไม่ดับ เป็นผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏครับ พอมีวิชชาแล้วก็จะ ไม่เพลินกะขันธ์ 5 มีบัญญัติศัพท์ว่า วิมุตติญาณทรรศนะครับ
พระพุทธเจ้าเรียกแทนตัวพระองค์ว่า ตถาคต ครับ มีเหตุให้เรียกแบบนี้*
ไม่ประมาท
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 664
ผัสสะ หรือ สัมผัสเป็นเหตุเกิด ของ สุข ทุกข์ (เวทนา) ครับANDREW39 เขียน:คนเราตายแล้วไม่เหลือกายมีแต่จิต ไม่ทราบว่าจิตใช้อะไรในการรับรู้สุข(ขึ้นสวรรค์)หรือทุกข์(ลงนรค) ครับ.สงสัยมานานเเล้ว
รบกวนท่านผู้รู้ด้วยครับ ไม่ทราบจะหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ไหนครับ
ขอบคุณมากครับ
พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้เลยว่า ใครจะบัญญัติสุขและทุกข์โดยไม่มีผัสสะนั้นเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้
กรณีนี้คือ
กายแตกทำลาย ...สัตตานังก็จะจับจิตดวงใหม่ครับ และสร้างอัตภาพขึ้นมาใหม่ เป็นอัตภาพ ที่มีส่วนแห่งบุญก็ดี มีส่วนแห่งอบุญก็ดี หรือเกิดใหม่นั่นแหละครับ.. ตอนนี่พอมีกายใหม่แล้ว ก็จะมีผัสสะใหม่ได้ครับ.รับรู้สุขทุกข์ได้ละ. พวกเทพบางจำพวกก็มีแต่สุขไม่ทุกข์เลย มนุษย์ก็มีได้ทั้งสุขทุกข์ครับ
จิตไม่ได้ขึ้นสวรรค์หรือลงนรก แต่เป็นธรรมชาติที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปครับ จิตไม่ใช่ของเรา.. ความเร็วในการเกิดดับของจิต ตถาคต บอกว่า ยากที่จะอุปมาครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ watnapp.com
ไม่ประมาท
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 665
ขอบคุณมากครับpeerawit เขียน:ผู้รู้ คือ จิต มโน วิญญาณ ตัวเดียวกันหมดครับsakkaphan เขียน:ีอีกคำถามครับ สภาวะธรรมตอนเจอผู้รู้นี่ ยังไม่ใช่โลกุตตระ รึป่าวครับ ยังต้องทำต่อรึป่าวครับ
ผมเสียดายที่ไม่เคยได้ถามครูบาอาจารย์ ขอคุณ cobain vi ชี้แนะด้วย
ผู้รู้ในขันธ์ 5 ก็วิญญาณนั่นแหละครับ บัญญัติศัพท์ตถาคตเรียกว่า วิชานาติ
ต้องละตัว ผู้รู้ หรือ จิตนี่แหละถึงจะนิพพานครับ
วิธีละจิต ก็ เห็นจิตเกิดดับโดยใช้ มรรคแปดครับ อานาปานสติ ครับ ปล่อยวางจิต
ส่วนสิ่งที่เข้ามาหลงยึดจิต ก็เรียกว่า สัตว์ สัตตะ สัตตา สัตตานัง ไม่เกิดไม่ดับ เป็นผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏครับ พอมีวิชชาแล้วก็จะ ไม่เพลินกะขันธ์ 5 มีบัญญัติศัพท์ว่า วิมุตติญาณทรรศนะครับ
พระพุทธเจ้าเรียกแทนตัวพระองค์ว่า ตถาคต ครับ มีเหตุให้เรียกแบบนี้*
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 671
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 667
อานาปานสติภาวนาเป็นกรรมฐานที่ให้สมถะและวิปัสสนาไปพร้อมๆ กันครับ ซึ่งจะเห็นความไม่เที่ยงเกิดขึ้นก่อน(ความสั้นยาวของลมหายใจ) แล้วขยับไปสู่การเห็นตัวทุกข์ และอนัตตาsakkaphan เขียน:
....ผมได้พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจอย่างมากเมื่อต้นปี ผลคือ หลังจากนั้น ผมปฏิบัติภาวนาอย่างหนัก เนื่องจากมีความอยากหลุดพ้นเป็นแรงผลักดันอย่างยิ่งยวด มีช่วงหนึ่งที่ทำตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน โดยไม่ออกไปไหนเลยนอกจากกินข้าว นับเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดนี้กินเวลาประมาณ10วันครับ
- ผมทำอานาปานสติ อย่างเดียวรวดเลยครับ คือไม่ได้มีปริยัติในหัวเลย ดูลมแบบอุกฤษณ์อย่างเดียว จิตเกิดวิปัสสนาเองโดยไม่ต้องเอาความคิดมาปรุงแต่ง เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านว่านั่นเป็นวิปัสสนาแท้ อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแรงผลักดันที่เป็นในส่วนของปัญญา คือความเห็นแต่ทุกข์ อยากหลุดพ้นอยู่แล้วในตัว พอเติมสมาธิมากๆเข้าไป จึงเห็นผลในที่สุด
- สภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น จิตเกิดความเบื่อหน่ายอย่างหนัก เบื่อแบบเหมือนจะตาย แล้วจิตจะเกิดวิปัสสนาเอง เราจะรู้ได้เองเช่น จิตจับที่ร่างกาย มีครั้งนึงอยู่ๆไปจับที่แข้งรู้สึกถึงกระดูกข้างใน มีหลายครั้งสำหรับตัวผมที่ได้กลิ่นจากในตัว เหม็นอย่างมาก ยิ่งกว่าส้วมแตก หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ากายหายไปเลยชั่วแวบหนึ่ง เป็นต้น
- ถึงจุดหนึ่งจะเจอผู้รู้ ธาตุรู้ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นเหมือนเป็นอิสระจากขันธ์ 5 หลังจากนั้นกิเลสไม่ขึ้นเท่าเดิมอีกเลย ถึงแม้ว่าสมาธิจะเสื่อมเพราะเริ่มคลายการปฏิบัติ แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่ เยอะด้วย
- ฌาณก็กดกิเลสได้ ถ้าอยากรู้ว่า ที่กิเลสลดๆไปนี่ เป็นโลกุตตระหรือแค่ฌาณกด ก็ต้องลองคลายสมาธิหรือหาเรื่องกระตุ้นกิเลสดู ผมใช้วิธีนี้สำรวจเหมือนกันตอนแรกๆที่ตกใจ แปลกใจจากผลการปฏิบัติ
- พลังสมาธิเหลือเชื่อมาก ช่วงที่มีสมาธิดีๆนี่ เกิดสิ่งที่เอาไปเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า เรื่องอิทธิฤทธิ์หรือญาณต่างๆของพระอรหันต์เลยเป็นเรื่องปกติไปเฉยซะงั้น ไม่แปลกเลย ขนาดสมาธิระดับขี้กากก็ยังทำอะไรแปลกๆเล็กๆน้อยๆได้
อยากถามพี่ pekko และพี่ cobain vi ต่อนะครับ รวมถึงพี่ๆท่านอื่นๆด้วยหากปฏิบัติถึงแล้ว อ่านเจอตรงที่ว่าแบกผู้รู้อยู่ อย่างนี้ก็หมดกามราคะ กับโทสะ แล้ว ใช่มั้ยครับ ปฏิบัตินานมั้ยครับกว่าจะถึงตรงนั้น
ปริยัตินั้นอาจจะเกิดขึ้นในระหว่างที่ปฏิบัติก็เป็นไปได้ เนื่องด้วยว่าเราสนใจสิ่งตรงหน้าคือการหลุดพ้น ไม่ได้มัวมาแบ่งจิตแบ่งภาคสนใจว่าขณะนั้นอะไรคือปริยัติ อะไรคือปฏิบัติ และอะไรคือปฏิเวธ ซึ่งต้องมาทบทวนภายหลังอีกทีหลังจากทำสมถะภาวนาเสร็จสิ้น ส่วนอาการเบื่อหน่ายตัวผู้ปฏิบัติเองจะรู้ดีที่สุดครับว่าเป็นเบื่อหน่ายทางโลกหรือทางธรรม
สำหรับการแบกผู้รู้นั้น ก็ยังแสดงว่า ยังมีอวิชชาอยู่ ยังไม่หมดกิเลส/สังโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าปฏิบัติเข้าสู่ระดับอริยชนกิเลสจะเบาบางลง แต่ไม่หมด ยังต้องขุดและต้องสู้กับกิเลสนิวรณ์ต่อในขั้นที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นครับ
ในเรื่องฌาณนั้น เป็นสมาธิที่ในระดับโลกียะครับ ยังมีความไม่แน่ไม่นอนอยู่มาก ซึ่งกำลังของฌาณนี้จะกดข่มระงับนิวรณ์ได้ชั่วคราว ดังนั้นหากกำลังหมด พวกนิวรณ์ก็กลับมาอาละวาดเหมือนเดิม ควรระมัดระวังสมาธิที่ไปข้องเกี่ยวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หากเราไม่รู้ทันหรือขาดอาจารย์ผู้ชี้แนะ อาจจะเกิดวิปัสสนูกิเลส ซึ่งเป็นอันตรายมากๆๆ ต่อผู้ปฏิบัติครับ ผมเองก็เคยบ้าสมาธิประมาณ 1 ปีครึ่งครับ (มันเป็นไปเหมือนที่คุณ sakkaphan บอกไว้ว่าเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า) กว่าจะรู้ตัวว่าเราหลง ไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้นก็แทบแย่ครับ แต่ถ้าผ่านได้เราก็จะ strong ขึ้น จะไม่มีวันกลับไปทำแบบนั้นอีกเด็ดขาด
และในเรื่องระยะเวลาปฏิบัติแล้วสัมฤทธิ์ผลนั้น ขึ้นกับตัวบุคคลครับ บางคนเร็ว บางคนช้า มันมีปัจจัยหลายๆ อย่างเป็นองค์ประกอบ
ก็ทำไปเรื่อยๆ ตามกำลังอินทรีย์ของเรา(มรรค8 สติปัฎฐาน 4) โดยใช้โพชฌงค์7 เป็นเครื่องตรวจสอบว่ามาถูกทางหรือมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 668
รบกวนพี่ Pekko ช่วยแชร์ประสบการณ์หน่อยได้ไหมครับ ว่าพี่ Pekko มารู้ตัวว่าหลงทางไปได้อย่างไร? เผื่อจะเป็นประโยชน์ เป็นวิทยาทาน เพื่อที่ว่าเราจะได้มีจุดสังเกตว่าหลงไป โดยไม่รู้ตัว จะได้กลับตัวได้ทันPekko เขียน:อานาปานสติภาวนาเป็นกรรมฐานที่ให้สมถะและวิปัสสนาไปพร้อมๆ กันครับ ซึ่งจะเห็นความไม่เที่ยงเกิดขึ้นก่อน(ความสั้นยาวของลมหายใจ) แล้วขยับไปสู่การเห็นตัวทุกข์ และอนัตตาsakkaphan เขียน:
....ผมได้พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจอย่างมากเมื่อต้นปี ผลคือ หลังจากนั้น ผมปฏิบัติภาวนาอย่างหนัก เนื่องจากมีความอยากหลุดพ้นเป็นแรงผลักดันอย่างยิ่งยวด มีช่วงหนึ่งที่ทำตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน โดยไม่ออกไปไหนเลยนอกจากกินข้าว นับเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดนี้กินเวลาประมาณ10วันครับ
- ผมทำอานาปานสติ อย่างเดียวรวดเลยครับ คือไม่ได้มีปริยัติในหัวเลย ดูลมแบบอุกฤษณ์อย่างเดียว จิตเกิดวิปัสสนาเองโดยไม่ต้องเอาความคิดมาปรุงแต่ง เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านว่านั่นเป็นวิปัสสนาแท้ อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแรงผลักดันที่เป็นในส่วนของปัญญา คือความเห็นแต่ทุกข์ อยากหลุดพ้นอยู่แล้วในตัว พอเติมสมาธิมากๆเข้าไป จึงเห็นผลในที่สุด
- สภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น จิตเกิดความเบื่อหน่ายอย่างหนัก เบื่อแบบเหมือนจะตาย แล้วจิตจะเกิดวิปัสสนาเอง เราจะรู้ได้เองเช่น จิตจับที่ร่างกาย มีครั้งนึงอยู่ๆไปจับที่แข้งรู้สึกถึงกระดูกข้างใน มีหลายครั้งสำหรับตัวผมที่ได้กลิ่นจากในตัว เหม็นอย่างมาก ยิ่งกว่าส้วมแตก หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ากายหายไปเลยชั่วแวบหนึ่ง เป็นต้น
- ถึงจุดหนึ่งจะเจอผู้รู้ ธาตุรู้ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นเหมือนเป็นอิสระจากขันธ์ 5 หลังจากนั้นกิเลสไม่ขึ้นเท่าเดิมอีกเลย ถึงแม้ว่าสมาธิจะเสื่อมเพราะเริ่มคลายการปฏิบัติ แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่ เยอะด้วย
- ฌาณก็กดกิเลสได้ ถ้าอยากรู้ว่า ที่กิเลสลดๆไปนี่ เป็นโลกุตตระหรือแค่ฌาณกด ก็ต้องลองคลายสมาธิหรือหาเรื่องกระตุ้นกิเลสดู ผมใช้วิธีนี้สำรวจเหมือนกันตอนแรกๆที่ตกใจ แปลกใจจากผลการปฏิบัติ
- พลังสมาธิเหลือเชื่อมาก ช่วงที่มีสมาธิดีๆนี่ เกิดสิ่งที่เอาไปเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า เรื่องอิทธิฤทธิ์หรือญาณต่างๆของพระอรหันต์เลยเป็นเรื่องปกติไปเฉยซะงั้น ไม่แปลกเลย ขนาดสมาธิระดับขี้กากก็ยังทำอะไรแปลกๆเล็กๆน้อยๆได้
อยากถามพี่ pekko และพี่ cobain vi ต่อนะครับ รวมถึงพี่ๆท่านอื่นๆด้วยหากปฏิบัติถึงแล้ว อ่านเจอตรงที่ว่าแบกผู้รู้อยู่ อย่างนี้ก็หมดกามราคะ กับโทสะ แล้ว ใช่มั้ยครับ ปฏิบัตินานมั้ยครับกว่าจะถึงตรงนั้น
ปริยัตินั้นอาจจะเกิดขึ้นในระหว่างที่ปฏิบัติก็เป็นไปได้ เนื่องด้วยว่าเราสนใจสิ่งตรงหน้าคือการหลุดพ้น ไม่ได้มัวมาแบ่งจิตแบ่งภาคสนใจว่าขณะนั้นอะไรคือปริยัติ อะไรคือปฏิบัติ และอะไรคือปฏิเวธ ซึ่งต้องมาทบทวนภายหลังอีกทีหลังจากทำสมถะภาวนาเสร็จสิ้น ส่วนอาการเบื่อหน่ายตัวผู้ปฏิบัติเองจะรู้ดีที่สุดครับว่าเป็นเบื่อหน่ายทางโลกหรือทางธรรม
สำหรับการแบกผู้รู้นั้น ก็ยังแสดงว่า ยังมีอวิชชาอยู่ ยังไม่หมดกิเลส/สังโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าปฏิบัติเข้าสู่ระดับอริยชนกิเลสจะเบาบางลง แต่ไม่หมด ยังต้องขุดและต้องสู้กับกิเลสนิวรณ์ต่อในขั้นที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นครับ
ในเรื่องฌาณนั้น เป็นสมาธิที่ในระดับโลกียะครับ ยังมีความไม่แน่ไม่นอนอยู่มาก ซึ่งกำลังของฌาณนี้จะกดข่มระงับนิวรณ์ได้ชั่วคราว ดังนั้นหากกำลังหมด พวกนิวรณ์ก็กลับมาอาละวาดเหมือนเดิม ควรระมัดระวังสมาธิที่ไปข้องเกี่ยวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หากเราไม่รู้ทันหรือขาดอาจารย์ผู้ชี้แนะ อาจจะเกิดวิปัสสนูกิเลส ซึ่งเป็นอันตรายมากๆๆ ต่อผู้ปฏิบัติครับ ผมเองก็เคยบ้าสมาธิประมาณ 1 ปีครึ่งครับ (มันเป็นไปเหมือนที่คุณ sakkaphan บอกไว้ว่าเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า) กว่าจะรู้ตัวว่าเราหลง ไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้นก็แทบแย่ครับ แต่ถ้าผ่านได้เราก็จะ strong ขึ้น จะไม่มีวันกลับไปทำแบบนั้นอีกเด็ดขาด
และในเรื่องระยะเวลาปฏิบัติแล้วสัมฤทธิ์ผลนั้น ขึ้นกับตัวบุคคลครับ บางคนเร็ว บางคนช้า มันมีปัจจัยหลายๆ อย่างเป็นองค์ประกอบ
ก็ทำไปเรื่อยๆ ตามกำลังอินทรีย์ของเรา(มรรค8 สติปัฎฐาน 4) โดยใช้โพชฌงค์7 เป็นเครื่องตรวจสอบว่ามาถูกทางหรือมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดครับ
ขอบคุณครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 671
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 669
ผมเคย post ไว้นานแล้ว ไม่อยาก post ซ้ำอีก (กลัวไปเพิ่มความปรุงแต่งให้ผู้อ่าน)picatos เขียน:รบกวนพี่ Pekko ช่วยแชร์ประสบการณ์หน่อยได้ไหมครับ ว่าพี่ Pekko มารู้ตัวว่าหลงทางไปได้อย่างไร? เผื่อจะเป็นประโยชน์ เป็นวิทยาทาน เพื่อที่ว่าเราจะได้มีจุดสังเกตว่าหลงไป โดยไม่รู้ตัว จะได้กลับตัวได้ทัน
ขอบคุณครับ
ตอนหลงเราไม่รู้ รู้ตอนมีหลายต่อหลายท่านช่วยเตือน ว่า พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นคนละคน เพ้อเจ้อ หมกมุ่นแต่นิมิต แต่ผมไม่รู้ครับ กลับยึดเป็นสรณะ ใช้เวลานานนะที่จะกลับมาทบทวนตัวเอง ทรมานมาก กว่าจะกลับมาเป็น(เกือบ)ปกติได้ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 670
ถ้าอย่างนั้นผมขอความรู้ เป็นจุดสังเกตหน่อยได้ไหมครับ? ว่าต้องระวัง หรือ สังเกต อาการอะไรเป็นพิเศษ ก่อนที่จะหลวมตัวเดินไปไกลจนหันหลังกลับได้ยากPekko เขียน:ผมเคย post ไว้นานแล้ว ไม่อยาก post ซ้ำอีก (กลัวไปเพิ่มความปรุงแต่งให้ผู้อ่าน)picatos เขียน:รบกวนพี่ Pekko ช่วยแชร์ประสบการณ์หน่อยได้ไหมครับ ว่าพี่ Pekko มารู้ตัวว่าหลงทางไปได้อย่างไร? เผื่อจะเป็นประโยชน์ เป็นวิทยาทาน เพื่อที่ว่าเราจะได้มีจุดสังเกตว่าหลงไป โดยไม่รู้ตัว จะได้กลับตัวได้ทัน
ขอบคุณครับ
ตอนหลงเราไม่รู้ รู้ตอนมีหลายต่อหลายท่านช่วยเตือน ว่า พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นคนละคน เพ้อเจ้อ หมกมุ่นแต่นิมิต แต่ผมไม่รู้ครับ กลับยึดเป็นสรณะ ใช้เวลานานนะที่จะกลับมาทบทวนตัวเอง ทรมานมาก กว่าจะกลับมาเป็น(เกือบ)ปกติได้ครับ
ขอบคุณครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 671
มีหลายคนเป็นอย่างพี่ pekko ที่ผมเคยเจอมา ส่วนใหญ่คนจำพวกนี้นั่งสมาธิได้เก่งแล้วพาลไปติดไปหลงในสมาธิ นึกว่าตัวเองบรรลุธรรมขั้นสูง คล้ายคนบ้าเลย ถ้าไม่เจออาจารย์ที่รู้มาท้วงชักจูงให้เข้าแนวทางเดิม มาแนะนำก็หลงทางไปเลย คนนี้ที่ผมเจอด้วยตัวเอง ท่านไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน นั่งสมาธิ เดินจงกลม เจ็ดวัน ช่วงที่อยู่ได้สมาธิแบบอัปปนาเลย และพูดทำนองว่าได้บรรลุถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ปฏิบัติธรรมอย่างแรงกล้า แต่ก็ไปเพ่งโทษคนอื่นด้วยหาว่า หย่อนยาน แต่ก็ไม่มีอาจารย์แก้ไขให้ กลับมาก็ยังติดในสมาธิ แถมไปว่าคนโน้นคนนี้ว่า ทำตัวไม่ดีบ้าง และได้ข่าวว่าท่านต้องสึกเพราะเหมือนกลายเป็นโรคจิต
และคนที่หลงนี่ไม่รู้ตัวหรอกครับ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่รู้จริงคอยท้วงติง บอกแนวทางที่ถูกต้อง
ท่านถึงบอกว่า มิจฉาทิฎฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม เพราะทำกรรมหนักเช่นฆ่าพ่อแม่ ลงนรกยังมีกำหนดว่าพ้นโทษเมื่อไหร่ แต่เห็นผิดนี้คือหลงทางแล้วต้องวนเวียนในสังสารวัฏฏ์นานมากกว่าหลายเท่า
และคนที่หลงนี่ไม่รู้ตัวหรอกครับ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่รู้จริงคอยท้วงติง บอกแนวทางที่ถูกต้อง
ท่านถึงบอกว่า มิจฉาทิฎฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม เพราะทำกรรมหนักเช่นฆ่าพ่อแม่ ลงนรกยังมีกำหนดว่าพ้นโทษเมื่อไหร่ แต่เห็นผิดนี้คือหลงทางแล้วต้องวนเวียนในสังสารวัฏฏ์นานมากกว่าหลายเท่า
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 672
ขอบคุณครับพี่ oatty ที่ผมถามก็เพราะกลัวตัวเองไปหลงติดอะไรสักอย่าง เพราะ การที่ตัวเองยังมีกิเลสอยู่นี่ก็แสดงว่ายังมีความหลงอยู่แน่ๆ และก็กลัวว่าสิ่งที่กำลังเพียรทำอยู่นี่จะไปเข้ารกเข้าพง ยิ่งโดยส่วนตัวเป็นพวกอ่อนศรัทธา เข้าหาอาจารย์น้อย ยิ่งกลัวว่าตัวเองจะเสียเวลาหลงทางไปไกลoatty เขียน:มีหลายคนเป็นอย่างพี่ pekko ที่ผมเคยเจอมา ส่วนใหญ่คนจำพวกนี้นั่งสมาธิได้เก่งแล้วพาลไปติดไปหลงในสมาธิ นึกว่าตัวเองบรรลุธรรมขั้นสูง คล้ายคนบ้าเลย ถ้าไม่เจออาจารย์ที่รู้มาท้วงชักจูงให้เข้าแนวทางเดิม มาแนะนำก็หลงทางไปเลย คนนี้ที่ผมเจอด้วยตัวเอง ท่านไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน นั่งสมาธิ เดินจงกลม เจ็ดวัน ช่วงที่อยู่ได้สมาธิแบบอัปปนาเลย และพูดทำนองว่าได้บรรลุถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ปฏิบัติธรรมอย่างแรงกล้า แต่ก็ไปเพ่งโทษคนอื่นด้วยหาว่า หย่อนยาน แต่ก็ไม่มีอาจารย์แก้ไขให้ กลับมาก็ยังติดในสมาธิ แถมไปว่าคนโน้นคนนี้ว่า ทำตัวไม่ดีบ้าง และได้ข่าวว่าท่านต้องสึกเพราะเหมือนกลายเป็นโรคจิต
และคนที่หลงนี่ไม่รู้ตัวหรอกครับ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่รู้จริงคอยท้วงติง บอกแนวทางที่ถูกต้อง
ท่านถึงบอกว่า มิจฉาทิฎฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม เพราะทำกรรมหนักเช่นฆ่าพ่อแม่ ลงนรกยังมีกำหนดว่าพ้นโทษเมื่อไหร่ แต่เห็นผิดนี้คือหลงทางแล้วต้องวนเวียนในสังสารวัฏฏ์นานมากกว่าหลายเท่า
อาจารย์ที่สอนให้ผมปฏิบัติธรรมก็เป็นฆารวาสที่ยังมีความไม่สมบูรณ์ของสมาธิและปัญญา ครั้นจะหาอาจารย์ท่านอื่น ก็ไม่รู้อีกว่าอาจารย์ท่านไหนบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะ ในยุคนี้ก็ไม่มีพระพุทธเจ้ามารับประกันผลการปฏิบัติ กลัวจะเสียเวลาไปกับการค้นหาอาจารย์อีก
โชคดีที่พอจะอ่านพุทธพจน์และคำสั่งสอนของพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลเข้าใจอยู่บ้าง เวลามีปัญหาในการปฏิบัติก็เจาะลงไปที่เนื้อหาคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติในพระสูตร และอรรถกถา โดยตรงแทน เพราะ คำสอนเหล่านี้เป็นคำสอนของพระอรหันต์แน่ๆ แต่ก็ยังกลัวว่าจะไปผิดทางอยู่ เพราะ ตัวผมเองก็ยังปัญญาอ่อนด้อยเกินกว่าที่จะเข้าใจเนื้อหาได้ทั้งหมด เลยอยากสอบถามความเห็นจากเพื่อนๆ ที่เคยเดินผิด เก็บเป็นฐานข้อมูลของตัวเอง เพื่อระวังไม่ให้ตัวเองหลงไปผิดทาง เลยอยากให้เพื่อนๆ ช่วยกันแชร์ indicator ในการวัดผลการศึกษาธรรมะ
โดยส่วนตัว indicator ของผมในการใช้ชีวิต ผมจะใช้แนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ให้ไว้ในมหาสุญญตาสูตรเป็น benchmark ในการวัดว่าไม่หลงออกนอกทาง คือ ถ้าเดินถูกทาง การคิด การพูด การกระทำ จะมีความโน้มเอียงเข้าสู่พระสูตรนี้มากขึ้นเรื่อยๆ บางอย่างยังทำไม่ได้ แต่เป็นเป้าที่จะมุ่งหน้าไป
อีกอย่าง คือ ผมวัดความก้าวหน้าของตัวเองจาก ความเป็นอิสระจากเรื่อง คน หรือสิ่งต่างๆ โดยย่อคือ ความเป็นอิสระจากอุปทานขันธ์ 5 มีมากขึ้นหรือเปล่า วัดง่ายๆ อย่างเรื่องหุ้น เช่น หุ้นขึ้น หุ้นลงครั้งนี้ จิตใจเราหวั่นไหวมากขึ้นหรือน้อยลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้า เมื่อเสวยเวทนาครั้งนี้ จิตของเรามีการปรุงแต่งแตกต่างจากในอดีตอย่างไร เป็นต้น
โดยย่อ คือ เข้าใจทุกข์และการเกิดของทุกข์มากขึ้นหรือไม่? ชีวิตเป็นทุกข์น้อยลงหรือไม่ และเห็นทางที่จะทำให้ทุกข์น้อยลงไปอีกหรือไม่ ถ้าใช่ ก็คิดว่าน่าจะมาถูกทาง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 673
ผมว่าโอกาสที่พี่ตี่จะหลงมีน้อย เพราะดูเป็นคนมีจริตด้านใช้ปัญญามากกว่าสมาธิ ซึ่งการเดินทางด้านวิปัสสนาเป็นใหญ่กว่าสมถะนี่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า มันต้องใช้พละกำลังมากกว่า ลำบากกว่าเจริญสมถะนำ สมัยวัยยี่สิบต้น ๆ ผมยังเคยเถียงเรืองตถตา ตัวกูของกูกับท่านอาจารย์ที่อ่านหนังสือหลวงพ่อพุทธทาสอยู่เลย พูดง่าย ๆ คือไม่เข้าใจในหนังสือที่ท่านเทศนาออกมา
แต่ประมาณ 7 ปีที่แล้วตอน back pack ไปเที่ยวหลวงพระบางคนเดียวมีเวลาอ่านหนังสือบนเรือ slow boat จากเชียงของล่องลำโขงไปหลวงพระบาง ชื่อ วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม และ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม จนจบ จึงได้ความกระจ่างหลายเรื่อง
หลวงพ่อชาจะให้พระใหม่ศึกษาบุพพสิกขวรรณนา เป็นเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นก็จะสั่งสอนไปตามแต่นิสัยสันดานของแต่ละคน ส่วนใหญ่คือทำให้ดู และสรุปง่าย ๆ คือให้ดูจิตของตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการปฏิบัติจะอยู่บนพื้นฐานคือ ทาน ศีล ภาวนา สำหรับฆราวาส และ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา สำหรับพระ
ลองไปอ่าน หนึ่งเดือนในป่าพง ดูก็ได้ครับ
จะว่าไป ลำพังทรัพย์สิน เงินทอง ปล่อยวางง่ายกว่า บุตรธิดายิ่งนัก ลองถามท่านเด็กใหม่ไฟแรงดูก็ได้ และดั่งที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งวาจาตอนพระชายาประสูติพระโอรสว่า ห่วงเกิดแล้ว ๆ นั่นแหละครับ
แต่ประมาณ 7 ปีที่แล้วตอน back pack ไปเที่ยวหลวงพระบางคนเดียวมีเวลาอ่านหนังสือบนเรือ slow boat จากเชียงของล่องลำโขงไปหลวงพระบาง ชื่อ วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม และ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม จนจบ จึงได้ความกระจ่างหลายเรื่อง
หลวงพ่อชาจะให้พระใหม่ศึกษาบุพพสิกขวรรณนา เป็นเบื้องต้นก่อน หลังจากนั้นก็จะสั่งสอนไปตามแต่นิสัยสันดานของแต่ละคน ส่วนใหญ่คือทำให้ดู และสรุปง่าย ๆ คือให้ดูจิตของตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการปฏิบัติจะอยู่บนพื้นฐานคือ ทาน ศีล ภาวนา สำหรับฆราวาส และ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา สำหรับพระ
ลองไปอ่าน หนึ่งเดือนในป่าพง ดูก็ได้ครับ
จะว่าไป ลำพังทรัพย์สิน เงินทอง ปล่อยวางง่ายกว่า บุตรธิดายิ่งนัก ลองถามท่านเด็กใหม่ไฟแรงดูก็ได้ และดั่งที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งวาจาตอนพระชายาประสูติพระโอรสว่า ห่วงเกิดแล้ว ๆ นั่นแหละครับ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 674
ขอบคุณพี่ oatty มากเลยครับ ไว้จะลองหาโอกาสอ่านดูครับ
เรื่องลูกนี่ โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เคยอยากมีลูกมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ โดยไม่อยากมี เพราะ เห็นปัญหาของการเกิดขึ้นของมนุษย์หนึ่งคน ที่มีต่อสภาพแวดล้อม และสิ่งต่างๆ ถ้าพูดเป็นภาษาฟิสิกส์ คือ Entropy และไม่อยากเป็นเหตุในการสร้าง Entropy เพิ่ม อยากที่จะหยุดวงจรนี้ เพราะ เห็นว่าแค่ตัวเองก็เป็นเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆ มากมายพออยู่แล้ว ผมอยากที่จะสร้างเหตุความวุ่นวายกับโลกใบนี้ให้น้อย
ยิ่งพอมาได้ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมะ ก็เลยยิ่งมั่นใจว่า ไม่มีลูกแน่ๆ ... เคยพยายามเลี้ยงสุนัขกับภรรยา ตอนที่ธรรมต่างๆ แสดงผลให้ภรรยาต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เลี้ยงได้ไม่แค่ไม่กี่สัปดาห์ สุนัขที่ซื้อมาเลี้ยงก็ด่วนตายลงอย่างรวดเร็วจากโรคภัยที่จรมา เห็นกระบวนการเกิดการตายแล้ว ทำให้ภรรยาแม้จะชอบเด็ก รักสุนัขเพียงใด ก็ได้แต่ตัดใจ เพราะ ไม่อยากสร้างเหตุแห่งทุกข์แบบนี้อีกแล้ว
ส่วนเรื่องสมถะ วิปัสสนานี่ ตอนนี้ผมวางแผนว่า ผมจะเพิ่ม จะพัฒนากำลังของสมถะให้มีมากขึ้น หลังจากที่ได้ศึกษาพระสูตรหลายๆ พระสูตรแล้ว ตอนนี้เริ่มมีความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น รู้สึกว่า อยากที่จะศึกษาจิตให้ละเอียดลึกซึ้ง อยากที่จะมีความสมบูรณ์ในจิตให้มากยิ่งขึ้น อยากที่จะมีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงสภาพจิตในแต่ละอย่าง ทั้งการเข้า การออก การทรงอยู่ และการพิจารณาธรรมที่เกิดจากสภาพจิตแต่ละประเภท ซึ่งหากฝึกฝนจนมีความเชี่ยวชาญก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่เป้าหมายในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีเจตนา มีความโน้มเอียงที่จะศึกษาสมถะมากยิ่งขึ้น การได้รับทราบประสบการณ์ของผู้รู้ที่เคยเดินผ่านทางมาก่อน นี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผมมากๆ โดยปกติแล้วผมไม่เข้าสังคม ไม่มีโอกาสได้ไปเจอใครมาก ไม่ได้ไปถามตอบอะไรกับใครที่ไหน ก็มีแต่ห้องนี้แหละครับ ที่ผมพอจะได้มีโอกาสพูดคุย ปรึกษาปัญหาทางธรรมกับคนอื่นๆ อยู่บ้าง การได้อ่านความเห็นของเพื่อนๆ พี่ๆ ที่นี่จึงเป็นประโยชน์ต่อผมมากๆ ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากขอบคุณจากใจจริง ถึงเพื่อนๆ พี่ๆ ที่เข้ามาช่วยแชร์ประสบการณ์ แล้วช่วยเปิดวิสัยทัศน์แคบๆ ของผมให้กว้างขึ้นด้วยนะครับ
แล้วถ้าหากคำพูด ข้อความอันใดของผมได้ล่วงเกินเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใดไป ผมกราบขออภัย ขออโหสิอีกครั้งด้วยนะครับ นิสัยเสียๆ ของผมอย่างหนึ่ง คือ เวลาอยากรู้อะไร บางทีมันสำรวมคำพูดไม่ค่อยเป็น ชอบซักไซ้ไล่เลียง ถามจี้ เป็นเจ้าหนูจัมมัย ขนาดที่ว่า พี่ๆ ที่สนิทกันสมัยเรียนมหาลัยต้องถามผมว่า "ถ้าเอ็งไม่รู้เรื่องนี้สักเรื่อง เอ็งจะตายไหม" และผมก็ตอบกลับว่า "ตาย ก็อยากรู้จริงๆ นี่" อันนี้เป็นนิสัยเสียมากๆ ที่มักจะไปล่วงเกินคนอื่นๆ เพราะ บางคนอาจจะรู้สึกว่าผมไปจี้ ไปจับผิด พยายามหาข้อเสีย ความผิดพลาดของเขา ซึ่งจริงๆ แล้วผมแค่อยากรู้ อยากเข้าใจ ในองค์ความรู้นั้นๆ จนหน้ามืดตามัวล้ำเส้นอะไรบางอย่างไป จึงต้องกราบขออภัยพี่ๆ เพื่อนๆ ต่อวจีกรรมของผมด้วยนะครับ ขอเพื่อนๆ พี่ๆ ได้โปรดอโหสิให้กับผมด้วยนะครับ
เรื่องลูกนี่ โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เคยอยากมีลูกมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ โดยไม่อยากมี เพราะ เห็นปัญหาของการเกิดขึ้นของมนุษย์หนึ่งคน ที่มีต่อสภาพแวดล้อม และสิ่งต่างๆ ถ้าพูดเป็นภาษาฟิสิกส์ คือ Entropy และไม่อยากเป็นเหตุในการสร้าง Entropy เพิ่ม อยากที่จะหยุดวงจรนี้ เพราะ เห็นว่าแค่ตัวเองก็เป็นเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆ มากมายพออยู่แล้ว ผมอยากที่จะสร้างเหตุความวุ่นวายกับโลกใบนี้ให้น้อย
ยิ่งพอมาได้ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมะ ก็เลยยิ่งมั่นใจว่า ไม่มีลูกแน่ๆ ... เคยพยายามเลี้ยงสุนัขกับภรรยา ตอนที่ธรรมต่างๆ แสดงผลให้ภรรยาต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เลี้ยงได้ไม่แค่ไม่กี่สัปดาห์ สุนัขที่ซื้อมาเลี้ยงก็ด่วนตายลงอย่างรวดเร็วจากโรคภัยที่จรมา เห็นกระบวนการเกิดการตายแล้ว ทำให้ภรรยาแม้จะชอบเด็ก รักสุนัขเพียงใด ก็ได้แต่ตัดใจ เพราะ ไม่อยากสร้างเหตุแห่งทุกข์แบบนี้อีกแล้ว
ส่วนเรื่องสมถะ วิปัสสนานี่ ตอนนี้ผมวางแผนว่า ผมจะเพิ่ม จะพัฒนากำลังของสมถะให้มีมากขึ้น หลังจากที่ได้ศึกษาพระสูตรหลายๆ พระสูตรแล้ว ตอนนี้เริ่มมีความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น รู้สึกว่า อยากที่จะศึกษาจิตให้ละเอียดลึกซึ้ง อยากที่จะมีความสมบูรณ์ในจิตให้มากยิ่งขึ้น อยากที่จะมีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงสภาพจิตในแต่ละอย่าง ทั้งการเข้า การออก การทรงอยู่ และการพิจารณาธรรมที่เกิดจากสภาพจิตแต่ละประเภท ซึ่งหากฝึกฝนจนมีความเชี่ยวชาญก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่เป้าหมายในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีเจตนา มีความโน้มเอียงที่จะศึกษาสมถะมากยิ่งขึ้น การได้รับทราบประสบการณ์ของผู้รู้ที่เคยเดินผ่านทางมาก่อน นี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผมมากๆ โดยปกติแล้วผมไม่เข้าสังคม ไม่มีโอกาสได้ไปเจอใครมาก ไม่ได้ไปถามตอบอะไรกับใครที่ไหน ก็มีแต่ห้องนี้แหละครับ ที่ผมพอจะได้มีโอกาสพูดคุย ปรึกษาปัญหาทางธรรมกับคนอื่นๆ อยู่บ้าง การได้อ่านความเห็นของเพื่อนๆ พี่ๆ ที่นี่จึงเป็นประโยชน์ต่อผมมากๆ ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากขอบคุณจากใจจริง ถึงเพื่อนๆ พี่ๆ ที่เข้ามาช่วยแชร์ประสบการณ์ แล้วช่วยเปิดวิสัยทัศน์แคบๆ ของผมให้กว้างขึ้นด้วยนะครับ
แล้วถ้าหากคำพูด ข้อความอันใดของผมได้ล่วงเกินเพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใดไป ผมกราบขออภัย ขออโหสิอีกครั้งด้วยนะครับ นิสัยเสียๆ ของผมอย่างหนึ่ง คือ เวลาอยากรู้อะไร บางทีมันสำรวมคำพูดไม่ค่อยเป็น ชอบซักไซ้ไล่เลียง ถามจี้ เป็นเจ้าหนูจัมมัย ขนาดที่ว่า พี่ๆ ที่สนิทกันสมัยเรียนมหาลัยต้องถามผมว่า "ถ้าเอ็งไม่รู้เรื่องนี้สักเรื่อง เอ็งจะตายไหม" และผมก็ตอบกลับว่า "ตาย ก็อยากรู้จริงๆ นี่" อันนี้เป็นนิสัยเสียมากๆ ที่มักจะไปล่วงเกินคนอื่นๆ เพราะ บางคนอาจจะรู้สึกว่าผมไปจี้ ไปจับผิด พยายามหาข้อเสีย ความผิดพลาดของเขา ซึ่งจริงๆ แล้วผมแค่อยากรู้ อยากเข้าใจ ในองค์ความรู้นั้นๆ จนหน้ามืดตามัวล้ำเส้นอะไรบางอย่างไป จึงต้องกราบขออภัยพี่ๆ เพื่อนๆ ต่อวจีกรรมของผมด้วยนะครับ ขอเพื่อนๆ พี่ๆ ได้โปรดอโหสิให้กับผมด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 671
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 675
ขอบคุณคุณ oatty ที่กรุณาช่วยอธิบายครับ
สมถะ > วิปัสสนา มากเกินไป --> ติดสมาธิ บ้าอภินิหารย์
วิปัสสนา > สมถะ มากเกินไป --> เพ้อเจ้อ บ้าความคิด
สรุปไม่ดีทั้งคู่ครับ (ผมติดมาทั้ง 2 อย่างครบแล้ว ตอดสมาธิก่อนแล้วมาบ้าปัญญา 5555)
จุดสังเกต คือ พฤติกรรมเปลี่ยนครับ
ถ้ากำลังทั้ง 2 ใกล้เคียงกัน ก็เหมือนธรรมดาทั่วๆไป ดังนั้นเราจึงดูฉาบฉวย ยากมากว่าคนไหนประพฤติปฏิบัติดี ยกเว้นได้ได้คลุกคลีเป็นแรมเดือนครับ
ผมแต่งงานแล้ว แต่ไม่(ยอม)มีลูกครับ เหตุผลเดียวกับคุณ picatos ครับ
สมถะ > วิปัสสนา มากเกินไป --> ติดสมาธิ บ้าอภินิหารย์
วิปัสสนา > สมถะ มากเกินไป --> เพ้อเจ้อ บ้าความคิด
สรุปไม่ดีทั้งคู่ครับ (ผมติดมาทั้ง 2 อย่างครบแล้ว ตอดสมาธิก่อนแล้วมาบ้าปัญญา 5555)
จุดสังเกต คือ พฤติกรรมเปลี่ยนครับ
ถ้ากำลังทั้ง 2 ใกล้เคียงกัน ก็เหมือนธรรมดาทั่วๆไป ดังนั้นเราจึงดูฉาบฉวย ยากมากว่าคนไหนประพฤติปฏิบัติดี ยกเว้นได้ได้คลุกคลีเป็นแรมเดือนครับ
ผมแต่งงานแล้ว แต่ไม่(ยอม)มีลูกครับ เหตุผลเดียวกับคุณ picatos ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 676
ขออนุญาติแสดงความเห็นนะครับpicatos เขียน:ขอบคุณครับพี่ oatty ที่ผมถามก็เพราะกลัวตัวเองไปหลงติดอะไรสักอย่าง เพราะ การที่ตัวเองยังมีกิเลสอยู่นี่ก็แสดงว่ายังมีความหลงอยู่แน่ๆ และก็กลัวว่าสิ่งที่กำลังเพียรทำอยู่นี่จะไปเข้ารกเข้าพง ยิ่งโดยส่วนตัวเป็นพวกอ่อนศรัทธา เข้าหาอาจารย์น้อย ยิ่งกลัวว่าตัวเองจะเสียเวลาหลงทางไปไกลoatty เขียน:มีหลายคนเป็นอย่างพี่ pekko ที่ผมเคยเจอมา ส่วนใหญ่คนจำพวกนี้นั่งสมาธิได้เก่งแล้วพาลไปติดไปหลงในสมาธิ นึกว่าตัวเองบรรลุธรรมขั้นสูง คล้ายคนบ้าเลย ถ้าไม่เจออาจารย์ที่รู้มาท้วงชักจูงให้เข้าแนวทางเดิม มาแนะนำก็หลงทางไปเลย คนนี้ที่ผมเจอด้วยตัวเอง ท่านไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน นั่งสมาธิ เดินจงกลม เจ็ดวัน ช่วงที่อยู่ได้สมาธิแบบอัปปนาเลย และพูดทำนองว่าได้บรรลุถึงขั้นนั้นขั้นนี้ ปฏิบัติธรรมอย่างแรงกล้า แต่ก็ไปเพ่งโทษคนอื่นด้วยหาว่า หย่อนยาน แต่ก็ไม่มีอาจารย์แก้ไขให้ กลับมาก็ยังติดในสมาธิ แถมไปว่าคนโน้นคนนี้ว่า ทำตัวไม่ดีบ้าง และได้ข่าวว่าท่านต้องสึกเพราะเหมือนกลายเป็นโรคจิต
และคนที่หลงนี่ไม่รู้ตัวหรอกครับ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ที่รู้จริงคอยท้วงติง บอกแนวทางที่ถูกต้อง
ท่านถึงบอกว่า มิจฉาทิฎฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม เพราะทำกรรมหนักเช่นฆ่าพ่อแม่ ลงนรกยังมีกำหนดว่าพ้นโทษเมื่อไหร่ แต่เห็นผิดนี้คือหลงทางแล้วต้องวนเวียนในสังสารวัฏฏ์นานมากกว่าหลายเท่า
อาจารย์ที่สอนให้ผมปฏิบัติธรรมก็เป็นฆารวาสที่ยังมีความไม่สมบูรณ์ของสมาธิและปัญญา ครั้นจะหาอาจารย์ท่านอื่น ก็ไม่รู้อีกว่าอาจารย์ท่านไหนบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะ ในยุคนี้ก็ไม่มีพระพุทธเจ้ามารับประกันผลการปฏิบัติ กลัวจะเสียเวลาไปกับการค้นหาอาจารย์อีก
โชคดีที่พอจะอ่านพุทธพจน์และคำสั่งสอนของพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลเข้าใจอยู่บ้าง เวลามีปัญหาในการปฏิบัติก็เจาะลงไปที่เนื้อหาคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติในพระสูตร และอรรถกถา โดยตรงแทน เพราะ คำสอนเหล่านี้เป็นคำสอนของพระอรหันต์แน่ๆ แต่ก็ยังกลัวว่าจะไปผิดทางอยู่ เพราะ ตัวผมเองก็ยังปัญญาอ่อนด้อยเกินกว่าที่จะเข้าใจเนื้อหาได้ทั้งหมด เลยอยากสอบถามความเห็นจากเพื่อนๆ ที่เคยเดินผิด เก็บเป็นฐานข้อมูลของตัวเอง เพื่อระวังไม่ให้ตัวเองหลงไปผิดทาง เลยอยากให้เพื่อนๆ ช่วยกันแชร์ indicator ในการวัดผลการศึกษาธรรมะ
โดยส่วนตัว indicator ของผมในการใช้ชีวิต ผมจะใช้แนวทางที่พระพุทธเจ้าได้ให้ไว้ในมหาสุญญตาสูตรเป็น benchmark ในการวัดว่าไม่หลงออกนอกทาง คือ ถ้าเดินถูกทาง การคิด การพูด การกระทำ จะมีความโน้มเอียงเข้าสู่พระสูตรนี้มากขึ้นเรื่อยๆ บางอย่างยังทำไม่ได้ แต่เป็นเป้าที่จะมุ่งหน้าไป
อีกอย่าง คือ ผมวัดความก้าวหน้าของตัวเองจาก ความเป็นอิสระจากเรื่อง คน หรือสิ่งต่างๆ โดยย่อคือ ความเป็นอิสระจากอุปทานขันธ์ 5 มีมากขึ้นหรือเปล่า วัดง่ายๆ อย่างเรื่องหุ้น เช่น หุ้นขึ้น หุ้นลงครั้งนี้ จิตใจเราหวั่นไหวมากขึ้นหรือน้อยลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้า เมื่อเสวยเวทนาครั้งนี้ จิตของเรามีการปรุงแต่งแตกต่างจากในอดีตอย่างไร เป็นต้น
โดยย่อ คือ เข้าใจทุกข์และการเกิดของทุกข์มากขึ้นหรือไม่? ชีวิตเป็นทุกข์น้อยลงหรือไม่ และเห็นทางที่จะทำให้ทุกข์น้อยลงไปอีกหรือไม่ ถ้าใช่ ก็คิดว่าน่าจะมาถูกทาง
ผมว่าเอาจริงๆแล้ว เนื้อหาในพระไตรปิฎก ก็ผ่านมานานมากแล้ว ผิดเพี้ยนไปมากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ แต่ในขณะเดียวกัน ครูบาอาจารย์ท่านไหนที่เป็นพระอรหันต์จริงๆ เราก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน สำหรับผมสิ่งเหล่านี้มีค่าเท่ากัน คือเป็นสิ่งที่ ไม่รู้ ผมใช้วิธีแค่ เคารพ และ ฟังไว้ สุดท้ายต้องปฏิบัติเองถึงจะรู้จริงๆ ผมเคยถามครูบาอาจารย์บางท่านว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าก้าวหน้าแล้ว ท่านก็ตอบว่าเหมือนเรากินข้าว หิวเราก็รู้ว่าหิว อิ่มเมื่อไรก็รู้ว่าอิ่ม ไม่ต้องพูดต้องอธิบายออกมา การพูดออกมาเป็นคำพูดหรือบันทึกเป็นคำเขียนนี่เป็นสมมติบัญญัติ มันคลาดเคลื่อนได้เสมอ
ดังนั้นแล้ว ใจจริงผมว่า หากพี่picatosลองเข้าหาครูบาจารย์บ้าง มีหรือจะไม่ได้ประโยชน์ พี่picatosคงมีปัญญาและมีสติพอที่จะฟังเอาไว้ โดยไม่เชื่อก่อนตามหลักกาลามสูตรอยู่แล้วนี่ครับ มันจะเป็นประโยชน์กับพี่มากกว่านะผมว่า ขออภัยหากล่วงเกินตรงนี้
หรือ เรื่องที่ว่า กลัวว่า ฟังเยอะแล้วฟุ้ง พูดเยอะแล้วฟุ้ง ผมเห็นด้วย ผมก็เป็น แต่ความจริงแล้วเราฟุ้งกันมาเท่าไรแล้วที่ยังนั่งอยู่ตรงนี้ ฟุ้งทางโลกก็ฟุ้ง แต่พอฟุ้งทางปัญญา กลับกลัวว่ามันจะเป็นโทษซะงั้น ขออภัยหากล่วงเกินตรงนี้อีกเช่นกัน แต่บรรทัดนี้ผมเอาคำพูดครูบาอาจารย์มาพูดนะครับ(ดัดแปลงนิดหนึ่งแต่มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งเคยพูดคล้ายๆแบบนี้) ผมเขียนไว้เตือนตัวเองด้วยนะ
ส่วนเรื่อง indicator นี่ สำหรับผม อย่างที่พระท่านบอกเลยครับ หิวก็รู้ว่าหิว อิ่มก็รู้ว่าอิ่ม สำหรับผมคือ ผมวัดความรุนแรงของกิเลสตนเอง แล้วก็วัดว่า มีสติบ่อยขึ้นมั้ยมากน้อยแค่ไหน และตอนนี้เหมือนจะรู้มากขึ้นด้วย เวลาใจเป็นกุศล หรือ อกุศล อีกอย่างหนึ่งก่อนหน้านี้ที่ผมแชร์ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม ได้พี่cobain_vi มาช่วยพูดเตือนสติ ตอนนั้นที่ได้สติและรู้สึกว่าตัวเองช่างกระจอก ขำตัวเอง แต่กลายเป็นว่าผมจับความรู้สึกได้ว่า จิตคลายความยึดมั่นว่า ตัวเองเป็นบางอย่าง ลงไป ณ วินาทีนั้นเข้าใจเลยว่า คำพูดที่หลวงตามหาบัวเคยพูดไว้ว่า
"ผู้ใดสำคัญตนว่าเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ผู้นั้นไม่ใช่"
หรือคำพูดหลวงปู่ชา "อย่าเป็นอรหันต์ อย่าเป็นอะไรเลย เป็นแล้วทุกข์"
เข้าใจเลยว่ามันเป็นยังไง ไอการที่เราไปเป็นอะไรสักอย่างนี่ หมายความว่าจิตมันถืออยู่ครับ มันไม่ปล่อย
ตอนนี้ผมรู้แค่ว่า เป็นอะไรก็ไม่ได้ครับ หรือตัดสินว่า รู้อะไร ก็ไม่ดีครับ ตัดสินปุ๊ปสังขารเกิด ตัดสินว่าใช่ ไม่ใช่ ถูก ไม่ถูก ว่าเป็นยังงั้นเป็นยังงี้ พอตัดสินก็เกิดความเอนเอียงไม่เป็นกลาง เกิดต่อว่า ชอบ ไม่ชอบ พอชอบไม่ชอบแล้วก็ อยาก ไม่อยาก ทีนี้จิตอกุศลก็เกิดครับ สำคัญที่มีสติรู้ตัว รู้แล้วก็ปล่อย ประมาณนี้นะ
ขออภัยหากล่วงเกิน ผมเป็นผู้น้อยด้อยปัญญา แต่แค่คิดว่า ผมพูดออกมานี่ น่าจะดีกว่าเก็บความคิดไว้คนเดียว น่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นมากกว่า นี่เป็นจริตผมด้วยแหละ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 677
เอามาฝาก
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่า มรรค อันมรรคนี้ยังมิใช้ศาสนา อีกซ้ำยังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาต้องการอย่างแท้จริงเลย แต่ก็เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไป
เหมือนกับที่ท่านมหามาจากกรุงเทพ จะมาวัดหนองป่าพง ท่านมหาคงไม่ต้องการหนทาง ต้องการถึงวัดต่างหาก แต่หนทางเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านมหาที่จะต้องมา
ฉะนั้น ถนนที่ท่านมหามานั้นมันไม่ใช่วัด มันเป็นเพียงถนนมาวัดเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องมาตามถนนจึงจะมาถึงวัดได้
ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ถ้าจะพูดว่านอกศาสนา แต่ก็เป็นถนนเข้าไปถึงศาสนา เมื่อทำศีลให้ยิ่ง สมาธิให้ยิ่ง ปัญญาให้ยิ่งแล้ว ผลคือความสงบเกิดขึ้นมา นั่นเป็นจุดที่ต้องการ เมื่อสงบแล้วถึงได้ยินเสียงก็ไม่มีอะไร เมื่อถึงความสงบอันนี้แล้วก็ไม่มีอะไร ฉะนั้น พระศาสดาจึงให้ละ จะเป็นอะไรก็ไม่ต้องกังวล อันนี้เป็นปัจจัตตังแล้วจริงๆ มิได้เชื่อใครอีก
หลักของพระพุทธศาสนาจึงมิได้มีอะไร ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีปาฏิหาริย์อย่างอื่นทั้งหลายทั้งปวง
สิ่งเหล่านี้พระศาสดามิได้สรรเสริญ แต่มันก็อาจทำได้ เป็นได้ สิ่งเหล่านี้เป็นโมหธรรม พระศาสดาไม่สรรเสริญ ท่านสรรเสริญผู้ที่ทำให้พ้นจากทุกข์เท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติ อุปกรณ์เครื่องปฏิบัตินั้น ได้แก่ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา จะต้องฝึกหัดอย่างนี้
อันนี้คือทางดำเนินเข้าไป ก่อนจะถึงได้ต้องมีปัญญามาก่อน นี้เป็นมรรค มรรคมีองค์แปดประการ รวมแล้วได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ากิเลสหุ้มขึ้นมาก็เกิดไม่ได้ ถ้ามรรคกล้าก็ฆ่ากิเลส ถ้ากิเลสกล้าก็ฆ่ามรรค สองอย่างเท่านี้ที่จะต่อสู้กันไปตลอดจนปลายทางทีเดียว รบกันไปเรื่อย ไม่มีหยุด ไม่มีสิ้นสุด
อุปกรณ์เครื่องปฏิบัติก็เป็นของลำบากอยู่ ต้องอาศัยความอดทน ความอดกลั้น ต้องทำเอง ให้มันเกิดมาเอง เป็นเอง
จาก ๔๘ พระธรรมเทศนา หลวงปู่ชา สุภัทโท กัณฑ์เทศน์กุญแจภาวนาหน้าที่ ๓๘๖-๓๘๗
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- boypeter
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 678
เพิ่งรู้ว่ามีห้องนี้ที่คุยเรื่องธรรมะขั้นลึกซึ้งด้วยครับ
ปกติจะเข้ามาอ่านข้อมูลในthaivi ไม่ค่อยมีเวลาได้เขียนอะไรเนื่องจากภารกิจการงาน
อ่านเเบบเร็วๆไม่ได้ละเอียดในกระทู้ที่ผ่านมา เลยเห็นว่ามีคนที่สนใจ มีความตั้งใจมากๆ ในวิถีทางในทางเดียวกัน คือการหลุดพ้น(นิพพาน)ตามทางที่พระพุทธเจ้าได้เเสดงธรรมไว้มา กว่า 2500ปีแล้ว
ขออนุญาตเล่าประสบการณ์การปฏิบัติที่ผ่านมา มีหลายครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดการปฏิบัติสั่งสอนธรรมะมา
- ปี 2538 เริ่มจากการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสตามร้านหนังสือดอกหญ้าหลายเล่ม(เด็กรุ่นใหม่อาจไม่รู้จักร้านหนังสือนี้เเล้ว) ไม่ว่าจะเป็น คู่มือมนุษย์ ,จิตว่าง อ่านเล่นๆไปก็สะดุดกับคำว่า อนัตตา อ้าวพุทธเจ้าสอนบอกเราว่า เราไม่มีตัวไม่มีตนหรือนี่ เข้าใจนึกว่าศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี พุทธเจ้าสอนอะไรนี่ตอนเรียนวิชาพุทธศาสนาเอามาสอบไม่ใช่เเบบนี้นี่นา เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการสนใจศึกษาธรรมะ
- ปี 2539 ช่วงปิดเทอมปี1 ขึ้นปี2 ว่าง3เดือน อ่านหนังสือจนอินขอลองปฏิบัติ อ่านทฤษฎีมาพอสมควรเเล้ว ปรึกษาคุณอาเเนะนำไปบวชเณรฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร ศิษย์หลวงปู่กงมา ศิษย์หลวงปู่มั่นอีกที ได้ข้อวัตรปฏิบัติสายวัดป่ามาอย่างเข้มงวด และทำให้เชื่อได้ว่าครูบาอาจารย์ท่านมีความสามารถพิเศษทางจิตจริงและสามารถรู้สภาวะจิตเราแน่นอน เรื่องนี้ต้องเจอกับตัวเองจึงจะเชื่อได้ ตอนจะสึกกลับมาเรียนต่อดีใจมาก เพราะอยู่แล้วร้อน กิเลสวัยหนุ่มอยากออกมาเที่ยวเล่นมากกว่า บุญบารมีไม่เพียงพอ(ช่วงนั้นพ่อเเม่กลัวมาก ว่าจะบวชไม่สึก ท่านสบายใจได้)
เรียนหนักอีกหลายปี เรียนต่ออีกหลายปีกว่าจะจบ ห่างไกลธรรมะ ได้มาสนใจอีกทีตอนจบทำงาน
- ปี 2551 จบมาก่อนทำงานมีเวลาว่าง2สัปดาห์ ไปอยู่วัดคราบฆารวาสกับหลวงพ่อคำเขียน ศิษย์หลวงพ่อเทียน วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ได้สนทนากับท่าน ท่านมีเมตตา ใจดีมาก
- ปี 2552 ได้ฟังCD หลวงพ่อปราโมทย์ในรถ จากกัลยาณมิตร และได้ไปกราบท่านที่สวนสันติธรรมอยู่เนืองๆ เนื่องจากไม่ไกลจากที่ทำงาน ได้สนทนาธรรมกับท่านเป็นครั้งคราว ท่านเน้นเรื่องการดูจิต และอื่นการปฏิบัติอื่นๆด้วย
-ปี 2558 ได้ฟังCDพอจ. คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ในรถ และได้สนทนาธรรมกับท่านครั้งนึงที่วัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี เป็นที่เข้าใจกันว่าท่านเน้นเรื่อง พุทธวจน เป็นหลัก
ที่ระบุชื่อพระอาจารย์ ก็เนื่องด้วยว่าตนเองถือเป็นศิษย์ท่านที่เคยสั่งสอนสืบทอดการปฏิบัติมา เเม้ว่าจะมีข้อวัตร คำสอนที่หลากหลายไปบ้าง เเต่โดยหลักคำสอนสูงสุดเลยคือนิพพานการหลุดพ้น ก็สิ่งเดียวกันจากคำสอนของพุทธเจ้าไม่เเตกต่างกัน
ก็ขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การปฏิบัติ เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับตัวเอง ว่าเราไม่ได้เป็นบุคคลปะหลาด คิดเเปลกในสังคม ที่มุ่งนิพพานในภพภูมินี้ ไม่ได้ก่อนตาย ก็สะสมบารมีในภพภูมิถัดๆไปก็เเล้วกันครับ
โดยเฉพาะเรื่องลูก ต้องขอบคุณมากที่มีคนคิดคล้ายกันแล้วมาเเชร์ ผมไม่เคยมีความรู้สึกที่อยากจะมีลูกเลยตั้งแต่เด็กจนโต ถึงแม้ว่าตอนนี้ใครๆก็ถามว่าอายุเยอะเเล้ว ทุกอย่างมีพร้อมเเล้วทำไมไม่มีลูก โดยเฉพาะพ่อเเม่ ญาติผู้ใหญ่ จนรู้สึกว่าเราปะหลาดรึป่าวที่คิดอย่างนี้ ตอนหลังมีคนถามจึงบอกว่า ผมเป็นคนปะหลาดไม่อยากสืบทอดเผ่าพันธ์ ลูกหลาน
เหตุผลจริงเลยคือ ไม่อยากมีห่วง ไม่ได้กลัวกังวลเรื่องภาระเลี้ยงดูอะไร รู้ตัวเองเลยว่าถ้ามีลูกเกิดมาเเล้วจะกังวล ห่วง หวง ปล่อยวางลูกได้ยากมากเลย เพื่อนๆรอบข้าง ในรุ่นก็มีลูกกันไปหมด ตอนนี้ในรุ่นเจอกันก็คุยกันเรื่องลูก คนที่ยังไม่มีลูกก็ยังไม่เเต่งงานเพลย์บอยไปเลยอะไรอย่างนั้น
ต้องขอบคุณทุกท่านที่เเลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่ผ่านๆมาครับ
ปกติจะเข้ามาอ่านข้อมูลในthaivi ไม่ค่อยมีเวลาได้เขียนอะไรเนื่องจากภารกิจการงาน
อ่านเเบบเร็วๆไม่ได้ละเอียดในกระทู้ที่ผ่านมา เลยเห็นว่ามีคนที่สนใจ มีความตั้งใจมากๆ ในวิถีทางในทางเดียวกัน คือการหลุดพ้น(นิพพาน)ตามทางที่พระพุทธเจ้าได้เเสดงธรรมไว้มา กว่า 2500ปีแล้ว
ขออนุญาตเล่าประสบการณ์การปฏิบัติที่ผ่านมา มีหลายครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดการปฏิบัติสั่งสอนธรรมะมา
- ปี 2538 เริ่มจากการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสตามร้านหนังสือดอกหญ้าหลายเล่ม(เด็กรุ่นใหม่อาจไม่รู้จักร้านหนังสือนี้เเล้ว) ไม่ว่าจะเป็น คู่มือมนุษย์ ,จิตว่าง อ่านเล่นๆไปก็สะดุดกับคำว่า อนัตตา อ้าวพุทธเจ้าสอนบอกเราว่า เราไม่มีตัวไม่มีตนหรือนี่ เข้าใจนึกว่าศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี พุทธเจ้าสอนอะไรนี่ตอนเรียนวิชาพุทธศาสนาเอามาสอบไม่ใช่เเบบนี้นี่นา เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการสนใจศึกษาธรรมะ
- ปี 2539 ช่วงปิดเทอมปี1 ขึ้นปี2 ว่าง3เดือน อ่านหนังสือจนอินขอลองปฏิบัติ อ่านทฤษฎีมาพอสมควรเเล้ว ปรึกษาคุณอาเเนะนำไปบวชเณรฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่เเบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร ศิษย์หลวงปู่กงมา ศิษย์หลวงปู่มั่นอีกที ได้ข้อวัตรปฏิบัติสายวัดป่ามาอย่างเข้มงวด และทำให้เชื่อได้ว่าครูบาอาจารย์ท่านมีความสามารถพิเศษทางจิตจริงและสามารถรู้สภาวะจิตเราแน่นอน เรื่องนี้ต้องเจอกับตัวเองจึงจะเชื่อได้ ตอนจะสึกกลับมาเรียนต่อดีใจมาก เพราะอยู่แล้วร้อน กิเลสวัยหนุ่มอยากออกมาเที่ยวเล่นมากกว่า บุญบารมีไม่เพียงพอ(ช่วงนั้นพ่อเเม่กลัวมาก ว่าจะบวชไม่สึก ท่านสบายใจได้)
เรียนหนักอีกหลายปี เรียนต่ออีกหลายปีกว่าจะจบ ห่างไกลธรรมะ ได้มาสนใจอีกทีตอนจบทำงาน
- ปี 2551 จบมาก่อนทำงานมีเวลาว่าง2สัปดาห์ ไปอยู่วัดคราบฆารวาสกับหลวงพ่อคำเขียน ศิษย์หลวงพ่อเทียน วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ ได้สนทนากับท่าน ท่านมีเมตตา ใจดีมาก
- ปี 2552 ได้ฟังCD หลวงพ่อปราโมทย์ในรถ จากกัลยาณมิตร และได้ไปกราบท่านที่สวนสันติธรรมอยู่เนืองๆ เนื่องจากไม่ไกลจากที่ทำงาน ได้สนทนาธรรมกับท่านเป็นครั้งคราว ท่านเน้นเรื่องการดูจิต และอื่นการปฏิบัติอื่นๆด้วย
-ปี 2558 ได้ฟังCDพอจ. คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ในรถ และได้สนทนาธรรมกับท่านครั้งนึงที่วัดนาป่าพง จ.ปทุมธานี เป็นที่เข้าใจกันว่าท่านเน้นเรื่อง พุทธวจน เป็นหลัก
ที่ระบุชื่อพระอาจารย์ ก็เนื่องด้วยว่าตนเองถือเป็นศิษย์ท่านที่เคยสั่งสอนสืบทอดการปฏิบัติมา เเม้ว่าจะมีข้อวัตร คำสอนที่หลากหลายไปบ้าง เเต่โดยหลักคำสอนสูงสุดเลยคือนิพพานการหลุดพ้น ก็สิ่งเดียวกันจากคำสอนของพุทธเจ้าไม่เเตกต่างกัน
ก็ขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การปฏิบัติ เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับตัวเอง ว่าเราไม่ได้เป็นบุคคลปะหลาด คิดเเปลกในสังคม ที่มุ่งนิพพานในภพภูมินี้ ไม่ได้ก่อนตาย ก็สะสมบารมีในภพภูมิถัดๆไปก็เเล้วกันครับ
โดยเฉพาะเรื่องลูก ต้องขอบคุณมากที่มีคนคิดคล้ายกันแล้วมาเเชร์ ผมไม่เคยมีความรู้สึกที่อยากจะมีลูกเลยตั้งแต่เด็กจนโต ถึงแม้ว่าตอนนี้ใครๆก็ถามว่าอายุเยอะเเล้ว ทุกอย่างมีพร้อมเเล้วทำไมไม่มีลูก โดยเฉพาะพ่อเเม่ ญาติผู้ใหญ่ จนรู้สึกว่าเราปะหลาดรึป่าวที่คิดอย่างนี้ ตอนหลังมีคนถามจึงบอกว่า ผมเป็นคนปะหลาดไม่อยากสืบทอดเผ่าพันธ์ ลูกหลาน
เหตุผลจริงเลยคือ ไม่อยากมีห่วง ไม่ได้กลัวกังวลเรื่องภาระเลี้ยงดูอะไร รู้ตัวเองเลยว่าถ้ามีลูกเกิดมาเเล้วจะกังวล ห่วง หวง ปล่อยวางลูกได้ยากมากเลย เพื่อนๆรอบข้าง ในรุ่นก็มีลูกกันไปหมด ตอนนี้ในรุ่นเจอกันก็คุยกันเรื่องลูก คนที่ยังไม่มีลูกก็ยังไม่เเต่งงานเพลย์บอยไปเลยอะไรอย่างนั้น
ต้องขอบคุณทุกท่านที่เเลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติธรรมที่ผ่านๆมาครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 679
สวัสดีสหธรรมิกทุกท่านครับ ผมขอเข้ามาหาความรู้ ทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ด้วยคนครับ
ขอฝากธรรมะอันประเสริฐของท่านพุทธทาสไว้ให้ระลึกถึงกันครับ.
"ลองตั้งสติตามดู ภาวะจิต เราเองเถิด ก็จะรู้ว่ามันกำลังดำรงอยู่ในสามกระบวนการเท่านั้น คือ รู้สึก นึก คิด
รู้สึก เป็น ปัจจุบัน
นึก เป็น อดีต
คิด เป็น อนาคต
ใจเราก็มีเท่านี้ นี่แหละจิต ซึ่งอาศัยและเป็นไปอยู่ในกายนี้ คำพระเรียก รูป(กาย) กับ นาม(จิต)"
ขอฝากธรรมะอันประเสริฐของท่านพุทธทาสไว้ให้ระลึกถึงกันครับ.
"ลองตั้งสติตามดู ภาวะจิต เราเองเถิด ก็จะรู้ว่ามันกำลังดำรงอยู่ในสามกระบวนการเท่านั้น คือ รู้สึก นึก คิด
รู้สึก เป็น ปัจจุบัน
นึก เป็น อดีต
คิด เป็น อนาคต
ใจเราก็มีเท่านี้ นี่แหละจิต ซึ่งอาศัยและเป็นไปอยู่ในกายนี้ คำพระเรียก รูป(กาย) กับ นาม(จิต)"
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 680
หนังสือสำคัญพระธรรมเทศนา ที่หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านเขียนขึ้นเอง ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีสาระบางส่วนดังนี้
ขอถวายพระพร คำภาษิตของอาตมาภาพมีอยู่ดังนี้
๑. การเห็น เป็นเหตุแห่ง การคิด
... การคิด เป็นเหตุแห่ง การเห็น
... ถ้าคิดดี ก็เป็นทางเย็น
... หากคิดไม่เป็น ก็เย็นสบาย
ธรรมภาษิตบทที่ ๑ ประโยคแรก "การเห็น เป็นเหตุแห่ง การคิด" หมายความว่า การรู้ธรรมเป็นเหตุแห่งการหลุดพ้น นั้นจะต้องเรื่มที่ ความเห็น หรือ สัมมาทิฏฐิ ในองค์มรรคทั้ง 8 สัมมาทิฏฐิในขั้นต้นนี้เป็นสัมมาทิฏฐิในระดับ โลกียธรรม คือเป็นความเห็นที่ถูกต้อง แม้จะยังไม่บริสุทธิ์นัก แต่ก็เป็นเหตุให้เห็นธรรมะ จากที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน อย่างเช่น นาย ก.เป็นเศรษฐีที่ยึดถือผลกำไรเป็นเป้าหมาย ไม่เคยเชื่อในบาปบุญ ต่อมานาย ก.ป่วยหนัก ทนทุกข์ทรมาน ทรัพย์สินที่มีอยู่มากมาย ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย ระหว่างอยู่ ร.พ. นาย ก. มองเห็นคนตายทุกวัน เกิดความปลงในสังขารขันธ์ มองเห็นสัจธรรมว่า อีกไม่นานตนก็จะต้องตายอย่างคนเหล่านั้น เห็นความจริงของ ทุกข์ในอริยสัจ อย่างนี้เรียกว่า นาย ก.มีสัมมาทิฏฐิ คือมองเห็นสัจธรรมแล้ว ความเห็นนี้เองเป็นเหตุให้ นาย ก.เกิดความคิดชอบ หรือที่เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ คือ มีความคิดที่ถูกต้องว่า หนทางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นนั้นคือ การออกจากกาม การไม่พยาบาทหรือเบียดเบียนผู้ใด อย่างนี้เรียกว่า นาย ก.เกิดความคิดที่ถูกต้องแล้ว หลวงพ่อเกษมจึงกล่าวว่า "การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด"
ประโยคที่สอง "การคิด เป็นเหตุแห่ง การเห็น" หมายความว่า เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้องแล้ว (สัมมาทิฏฐิ) แล้วก็จะเกิดความคิดที่ถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ) ตามมา และเมื่อเกิดความคิดที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะตามก็คือ สัมมาทิฏฐิ แต่สัมมาทิฏฐิในขั้นนี้ เป็นความเห็นที่ถูกต้องในระดับ " โลกุตรธรรม"ไม่ใช่ความเห็นชอบในระดับ "โลกียธรรม"แล้ว สัมมาทิฏฐิในระดับโลกุตรธรรมเป็นความเห็นที่เกิดจากปัญญา ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ความเห็นในระดับนี้เป็นความเห็น บริสุทธิ์ ที่เกิดจากปัญญาจริงๆไม่ใช่การนึกคิด การที่บุคคลจะปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้น จะต้องมีพื้นฐานมาจาก สัมมาสังกัปปะ อันประกอบด้วยความคิด ที่จะไม่พยาบาทหรือเบียดเบียนใคร และความคิดที่จะออกจากกาม (เพราะมองเห็นโทษ ของกามแล้ว) ความคิดนี้ ก็นำไปสู่การปฏิบัติตามองค์มรรคต่างๆ นั่นก็คือ เริ่มที่ความคิด เริ่มที่จิต แล้วก็ตามมาด้วยวาจาและกาย และจบลงที่ ความเห็น (สัมมาทิฏฐิ) ในระดับโลกุตรธรรม หลวงพ่อเกษม จึงกล่าวว่า " การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด"
ประโยคที่สาม "ถ้าคิดดี ก็เป็นทางเย็น" การคิดดีย่อมเป็นพื้นฐาน ของการละเว้นความชั่วและการทำความดี เมื่อมนุษย์ทำความดีวิบากแห่งความดี ย่อมอำนวยผลเป็นความสงบเย็น แม้ตายไป สุคติภพ (สวรรค์) ก็เป็นอันหวังได้
ประโยคที่สี่ "หากคิดไม่เป็น ก็เย็นสบาย" ในประโยคที่สามที่กล่าวว่า "ถ้าคิดดีก็เป็นทางเย็น" นั้นหมายถึง การคิดดีย่อมได้ดี แด่สิ่งที่เหนือยิ่งไปกว่าการ "คิดดี" ก็คือการ "คิดไม่เป็น" คำว่า "คิดไม่เป็น"ในที่นี้หมายถึง การคิดโดยปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรารถนาที่จะเป็นสิ่งใด ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานใดๆ ว่านี้เป็นตัวเรา สิ่งนี้เป็นของเรา สิ่งนั้นเป็นของเขา ปล่อยวางในธรรมทั้งหลายทั้งปวง มองเห็นธรรมตามความเป็นจริง คือธรรมะทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนของเรา ที่จะยึดถือครอบครองว่าเป็นของเรา ดังนั้น "หากคิดไม่เป็นก็เย็นสบาย" จึงหมายความว่า เมื่อสิ้นความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ย่อมเย็นสบาย คือ "นิพพาน" นั่นเอง
ขอถวายพระพร
พระภิกษุเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
ในความน้อยนั้นมีความมาก ธรรมะที่ดูเหมือนจะมีเนื้อหาน้อย แท้จริงกลับมีความลึกซึ้งแยบคาย เต็มไปด้วยปริศนาธรรม
ขอนอบน้อมสักการะ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์
ขอถวายพระพร คำภาษิตของอาตมาภาพมีอยู่ดังนี้
๑. การเห็น เป็นเหตุแห่ง การคิด
... การคิด เป็นเหตุแห่ง การเห็น
... ถ้าคิดดี ก็เป็นทางเย็น
... หากคิดไม่เป็น ก็เย็นสบาย
ธรรมภาษิตบทที่ ๑ ประโยคแรก "การเห็น เป็นเหตุแห่ง การคิด" หมายความว่า การรู้ธรรมเป็นเหตุแห่งการหลุดพ้น นั้นจะต้องเรื่มที่ ความเห็น หรือ สัมมาทิฏฐิ ในองค์มรรคทั้ง 8 สัมมาทิฏฐิในขั้นต้นนี้เป็นสัมมาทิฏฐิในระดับ โลกียธรรม คือเป็นความเห็นที่ถูกต้อง แม้จะยังไม่บริสุทธิ์นัก แต่ก็เป็นเหตุให้เห็นธรรมะ จากที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน อย่างเช่น นาย ก.เป็นเศรษฐีที่ยึดถือผลกำไรเป็นเป้าหมาย ไม่เคยเชื่อในบาปบุญ ต่อมานาย ก.ป่วยหนัก ทนทุกข์ทรมาน ทรัพย์สินที่มีอยู่มากมาย ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย ระหว่างอยู่ ร.พ. นาย ก. มองเห็นคนตายทุกวัน เกิดความปลงในสังขารขันธ์ มองเห็นสัจธรรมว่า อีกไม่นานตนก็จะต้องตายอย่างคนเหล่านั้น เห็นความจริงของ ทุกข์ในอริยสัจ อย่างนี้เรียกว่า นาย ก.มีสัมมาทิฏฐิ คือมองเห็นสัจธรรมแล้ว ความเห็นนี้เองเป็นเหตุให้ นาย ก.เกิดความคิดชอบ หรือที่เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ คือ มีความคิดที่ถูกต้องว่า หนทางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นนั้นคือ การออกจากกาม การไม่พยาบาทหรือเบียดเบียนผู้ใด อย่างนี้เรียกว่า นาย ก.เกิดความคิดที่ถูกต้องแล้ว หลวงพ่อเกษมจึงกล่าวว่า "การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด"
ประโยคที่สอง "การคิด เป็นเหตุแห่ง การเห็น" หมายความว่า เมื่อมีความเห็นที่ถูกต้องแล้ว (สัมมาทิฏฐิ) แล้วก็จะเกิดความคิดที่ถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ) ตามมา และเมื่อเกิดความคิดที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะตามก็คือ สัมมาทิฏฐิ แต่สัมมาทิฏฐิในขั้นนี้ เป็นความเห็นที่ถูกต้องในระดับ " โลกุตรธรรม"ไม่ใช่ความเห็นชอบในระดับ "โลกียธรรม"แล้ว สัมมาทิฏฐิในระดับโลกุตรธรรมเป็นความเห็นที่เกิดจากปัญญา ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ความเห็นในระดับนี้เป็นความเห็น บริสุทธิ์ ที่เกิดจากปัญญาจริงๆไม่ใช่การนึกคิด การที่บุคคลจะปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้น จะต้องมีพื้นฐานมาจาก สัมมาสังกัปปะ อันประกอบด้วยความคิด ที่จะไม่พยาบาทหรือเบียดเบียนใคร และความคิดที่จะออกจากกาม (เพราะมองเห็นโทษ ของกามแล้ว) ความคิดนี้ ก็นำไปสู่การปฏิบัติตามองค์มรรคต่างๆ นั่นก็คือ เริ่มที่ความคิด เริ่มที่จิต แล้วก็ตามมาด้วยวาจาและกาย และจบลงที่ ความเห็น (สัมมาทิฏฐิ) ในระดับโลกุตรธรรม หลวงพ่อเกษม จึงกล่าวว่า " การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด"
ประโยคที่สาม "ถ้าคิดดี ก็เป็นทางเย็น" การคิดดีย่อมเป็นพื้นฐาน ของการละเว้นความชั่วและการทำความดี เมื่อมนุษย์ทำความดีวิบากแห่งความดี ย่อมอำนวยผลเป็นความสงบเย็น แม้ตายไป สุคติภพ (สวรรค์) ก็เป็นอันหวังได้
ประโยคที่สี่ "หากคิดไม่เป็น ก็เย็นสบาย" ในประโยคที่สามที่กล่าวว่า "ถ้าคิดดีก็เป็นทางเย็น" นั้นหมายถึง การคิดดีย่อมได้ดี แด่สิ่งที่เหนือยิ่งไปกว่าการ "คิดดี" ก็คือการ "คิดไม่เป็น" คำว่า "คิดไม่เป็น"ในที่นี้หมายถึง การคิดโดยปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรารถนาที่จะเป็นสิ่งใด ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานใดๆ ว่านี้เป็นตัวเรา สิ่งนี้เป็นของเรา สิ่งนั้นเป็นของเขา ปล่อยวางในธรรมทั้งหลายทั้งปวง มองเห็นธรรมตามความเป็นจริง คือธรรมะทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนของเรา ที่จะยึดถือครอบครองว่าเป็นของเรา ดังนั้น "หากคิดไม่เป็นก็เย็นสบาย" จึงหมายความว่า เมื่อสิ้นความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ย่อมเย็นสบาย คือ "นิพพาน" นั่นเอง
ขอถวายพระพร
พระภิกษุเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
ในความน้อยนั้นมีความมาก ธรรมะที่ดูเหมือนจะมีเนื้อหาน้อย แท้จริงกลับมีความลึกซึ้งแยบคาย เต็มไปด้วยปริศนาธรรม
ขอนอบน้อมสักการะ หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 681
ขอบคุณสำหรับคำตอบ ความเห็น ตลอดจนคำแนะนำ ผมขอน้อมรับด้วยความเคารพ และจะนำไปพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อนำไปใช้ และผมขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 682
สวัสดีเพื่อนๆทางธรรมอีกครั้งนะครับ วันนี้ผมขอมาเล่าประสบการณ์การปฏิบัติธรรม วิปัสสนากรรมฐาน ที่ผมได้ประสบมา ผิดถูกอย่างไร เพื่อนๆสหธรรมิกโปรดช่วยแนะนำชี้ทางให้ผมด้วยครับ
ปี พ.ศ. 2555 เดือนตุลาคม ผมได้มีโอกาสได้ไปปฏิบัติธรรมของโกเอ็นก้า ผมไปที่ศูนย์ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก ซึ่งหลักคำสอนปฏิบัติก็จะยึดแนวทาง วิปัสสนากรรมฐาน หลักสติปัฏฐาน 4 ของพระพุทธเจ้า ไปอยู่ปฏิบัติได้ 10 วันแบบเข้มข้น กลับมาผมรู้สึกได้เลย ว่าแนวคิดมุมมองการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนไป หลังจากกลับจากปฏิบัติกลับมาที่บ้าน ผมก็กลับมาปฏิบัติต่อได้อีกแค่ 1 เดือน คือ ตื่นตี 4 นั่งปฏิบัติ 1 ชม. พอกลับมาจากทำงาน ก็นั่งปฏิบัติอีก 1 ชม.ก่อนนอน แต่พอหลังจากครบ 1 เดือนไปแล้ว ความเกียจคร้านเริ่มบังเกิด การปฏิบัติเริ่มละเลยและหยุดไปในที่สุด ชีวิตก็กลับมาหลงระเริงทางโลกต่ออีก พอปี 2557 ผมได้มีโอกาสกลับไปปฏิบัติธรรมอีกครั้งที่โกเอ็นก้าเช่นเดิม ความตั้งใจเดิม จริงๆแล้วอยากจะไปปฏิบัติทุกปี ปีละ 1 ครั้ง แต่ด้วยงานที่ทำและเวลาไม่อำนวย ก็เลยล่วงมา 2 ปีถึงจะได้ไปอีกครั้ง พอกลับไปครั้งที่ 2 ก็รู้สึกเข้าใจการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ระหว่าง ปฏิบัติ เคยรู้สึกได้ คือ ปีติ ที่ผมรู้สึกคือ ขนจะลุกไปทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะยันฝ่าเท้า เหมือนใครเอาน้ำเย็นมาราดใส่หัวเรา แต่พอกลับจากปฏิบัติ ผมก็กลับมาทำได้ประมาณ 1 เดือน ชีวิตก็กลับไปสู่วงจรทางโลกต่อเหมือนเดิม คือไม่ได้นั่ง วิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ แต่ระหว่างเวลาที่ล่วงไป ผมก็จะมีซื้อหนังสือธรรมะ หรือ อ่านธรรมะคำสอนทางครูบาอาจารย์ทางเวบไซต์ต่างๆ โหลดอีบุ๊ค หนังสือธรรมะมาเก็บไว้อ่านบ้าง หรือ เปิดฟังเสียงผ่านทาง youtube และพอมาปีนี้ ปี 2559 พี่สาวผมบอกว่าสนใจจะไปโกเอ็นก้าบ้าง ผมก็รู้สึกยินดีและบอกพี่สาวทันทีว่า ไปเลย ดีมากๆ อยากให้ไปนะ พี่สาวได้ส่งอีเมล์ไปสมัครไปปฏิบัติ ช่วงเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ พอเดือนที่ผ่านมา พ.ค. ผมนั่งคิดมา ถ้าพี่สาวไปปฏิบัติกลับมา เกิดมีข้อสงสัย แล้วถามผมในฐานะที่ผมไปมาแล้ว 2 ครั้ง ผมจะตอบคำถามพี่สาวได้มั้ย แล้วถ้าตอบไม่ได้ ผมจะรู้สึกผิดกับตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ในใจผมนั่งคิดอยู่ตอนนั้นว่าจะทำอย่างไรที่จะฟื้นการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานของตัวเองขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร แต่ก่อนหน้านั้นขณะที่ผมขับรถเข้า กทม.คนเดียว (ผมอยู่ตจว.) ระยะทางที่ผมขับรถ ประมาณ 4-5 ชม. แต่ก่อนผมมักจะเปิดเพลงฟัง แต่พอหลังจากนั้น ผมก็เปลี่ยนมาเปิดเป็น เสียงธรรมเทศนาสอนการปฏิบัติแทน เสียงธรรมที่ผมฟังจากครูบาอาจารย์บ่อยๆ ก็จะเป็น หลวงปู่ชา สุภัทโท หลวงพ่อวิริยังค์ สมเด็จพระญานสังวร ซึ่งแต่ละท่านก็จะมีวิธีการสอนแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ในหลักปฏิบัติก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมเริ่มอยากจะลองปฏิบัติแบบจริงจังอีกครั้ง คือ ตื่นตี 4 นั่งปฏิบัติ 1 ชม. หลังจากนั้น ผมก็จะไปวิ่งออกกำลังกายประมาณ 6 กม. (แต่วิ่งอาทิตย์ละ 3 วัน) แต่นั่งปฏิบัติทุกวัน พอผมเริ่มทำแบบจริงจังได้ 1 อาทิตย์ ระหว่างนั่งปฏิบัติ ผมจะเปิดไฟล์เสียง วิธีปฏิบัติของสมเด็จพระญานสังวร ชุด หายใจให้เป็นสุข ซึ่งจะมีทั้งหมด 11 ตอน เริ่มตั้งแต่ ตอนที่ 1 จิตหลงมายา และ ทางดับ ตอนที่ 2 ทำอย่างไรกับวิตกวิจาร ตอนที่ 3 วิธีละอกุศล ตอนที่ 4 วิธีละอกุศล(ต่อ) ตอนที่ 5 สังเวธ 8 เพื่อพร้อมทำสมาธิ ตอนที่ 6 สติปัฏฐานเบื้องต้น ตอนที่ 7 กายานุปัสสนา 4 ขั้น และตอนที่ 8 กายานุปัสสนา 4 ขั้น(ต่อ) ซึ่งหลักที่ผมฟังไฟล์เสียงประกอบ คือ ระหว่างที่ผมนั่ง 1 ชม. ก็จะฟัง 1 ตอน ซึ่งแต่ละตอนโดยเฉลี่ยก็จะประมาณ 30-60 นาที ซึ่งจะพอดีกับเวลาที่ผมปฏิบัติ ผมนั่งปฎิบัติมาจนครบบทที่ 8 คือ จบกายานุปัสสนา ซึ่งเป็นเมื่อวาน ซึ่งระหว่าง 4 วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะ 1-2 วัน ผมพยามยามระลึกรู้ให้ได้ตลอดเวลาถึงลมหายใจที่เข้าออกทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ระหว่างทำงาน
ก็รู้สึกว่าตนเองระลึกรู้ได้ด้วยดี แต่ปัญหาที่ผมประสบคือ ระหว่างที่นั่งปฏิบัติ บางคราวที่เรารู้สึกปีติ เย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว เราคิดเองว่า เรานี่รู้แจ้งแทงตลอด รู้สึกคิดว่าตัวเองนี่แท้แล้ว รู้ธรรมดีแล้ว เริ่มอยากพูดอยากสอนคนอื่น แต่ในใจตัวเอง เคยอ่านมาแล้วว่า ถ้าเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง อาจจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ขึ้นได้ ซึ่งผมเองก็รู้สึกกลัวพอสมควร เนื่องจากผมเองถึงแม้จะเคยผ่านการอบรมวิปัสสนากรรมฐานมาจากโกเอ็นก้าและฟังธรรมะปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ต่างๆจาก youtube แต่ผมนั่งปฏิบัติคนเดียวที่บ้าน ซึ่งในบ้านก็มีพ่อและพี่สาวหลายคน ซึ่งแต่ละคนก็ยังไม่สนใจการปฏิบัติอย่างจริงจัง ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมเริ่มจะโดนวิปัสนูปกิเลส เล่นงานซะแล้ว เพราะผมไปพิมพ์เข้าไปในกลุ่มไลน์ของครอบครัวผม เรื่องธรรมะ พิมพ์เยอะมาก จนพี่สาวแซวว่า จะบวชเหรอ หรือ ขึ้นกัณฑ์เทศน์เหรอ แล้วรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ข่มคนอื่น และ ตอนกลางคืนหลังจากนั่งปฏิบัติ 1 ชม.เสร็จ ผมก็จะนอน แต่รู้สึกได้เลยว่า ผมนอนหลับไม่สนิท ในใจคิดจะดูและจับอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา ทำให้ตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกไม่สดชื่น ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมหมกหมุ่นและจริงจังกับการปฏิบัติมากจนเกินไป ระหว่างปฎิบัติก็เกิดกิเลสขึ้นในจิตของตนเองว่า อยากจะปฏิบัติให้ได้ดียิ่งๆขึ้นไปโดยเร็ว ซึ่งการทำเช่นนั้น ทำให้เช้าวันหนึ่ง ผมรู้สึกมึนงงมาก เหมือนคนอดนอนมาหลายวัน และเริ่มรู้สึกตัวว่า ทำไมเราปฏิบัติธรรม แล้ว ผลถึงเป็นเช่นนี้ ทำไมเป็นแบบนี้ ทำให้ผมฉุกคิดแล้วว่า ผมต้องทำอะไรผิดพลาดบางอย่างเสียแล้ว และที่ผมประมวลและคิดเอง ผมประสบว่า ผมเคร่งและตึงกับการปฏิบัติมากจนเกินไป หวังผลเร็วจนเกิดไป จนทำให้เกิดกิเลสเกิดความอยากขึ้นในจิต ส่งผลให้เกิด วิปัสสนูกิเลสขึ้นมา แต่ถือว่า ผมโชคดีหรืออาจจะเป็นผลบุญกรรมแต่ในอดีตที่ช่วยให้ผมคิดได้ โดยที่ผมไปไม่เข้ารกเข้าพง หลงคือในอวิชชาของตัวเอง ทำให้ตอนนี้ผมเลยต้องหยุดปฏิบัติชั่วคราวก่อน แต่กลับมานั่งดูลมหายใจตัวเองในระหว่างวัน ระหว่างทำงาน แทนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานวันละ 2 ชม.เช้ากับก่อนนอนแทน คือ ย้อนไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้งที่เริ่มปฏิบัติ เริ่มแบบที่เราไม่รู้สึกกดดัน รู้สึกถึงความอยากได้มรรคผลนิพพานโดยเร็ว ทางแก้ของผมคือ หันเหจิตไปทำอย่างอื่นแทน เช่นฟังเพลง คุยไลน์กับเพื่อน อ่านข่าว คุยสนทนาเรื่องทั่วไปกับครอบครัว สุดท้ายนี้ ขอให้สหธรรมิกทุกๆท่านในที่นี่ จงมีแต่ความสุข สุขที่เกิดจากธรรม ขอให้ธรรมะจับจิต จับใจของทุกๆท่าน / ขอบคุณครับ (เพิ่มเติม) ตอนที่ 9 คือ เวทนานุปัสสนา ๔ ขั้น ตอนที่ 10 จิตตานุปัสสนา ๔ ชั้น และตอนที่ 11 ธัมมานุปัสสนา ๔ ชั้น
ปี พ.ศ. 2555 เดือนตุลาคม ผมได้มีโอกาสได้ไปปฏิบัติธรรมของโกเอ็นก้า ผมไปที่ศูนย์ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก ซึ่งหลักคำสอนปฏิบัติก็จะยึดแนวทาง วิปัสสนากรรมฐาน หลักสติปัฏฐาน 4 ของพระพุทธเจ้า ไปอยู่ปฏิบัติได้ 10 วันแบบเข้มข้น กลับมาผมรู้สึกได้เลย ว่าแนวคิดมุมมองการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนไป หลังจากกลับจากปฏิบัติกลับมาที่บ้าน ผมก็กลับมาปฏิบัติต่อได้อีกแค่ 1 เดือน คือ ตื่นตี 4 นั่งปฏิบัติ 1 ชม. พอกลับมาจากทำงาน ก็นั่งปฏิบัติอีก 1 ชม.ก่อนนอน แต่พอหลังจากครบ 1 เดือนไปแล้ว ความเกียจคร้านเริ่มบังเกิด การปฏิบัติเริ่มละเลยและหยุดไปในที่สุด ชีวิตก็กลับมาหลงระเริงทางโลกต่ออีก พอปี 2557 ผมได้มีโอกาสกลับไปปฏิบัติธรรมอีกครั้งที่โกเอ็นก้าเช่นเดิม ความตั้งใจเดิม จริงๆแล้วอยากจะไปปฏิบัติทุกปี ปีละ 1 ครั้ง แต่ด้วยงานที่ทำและเวลาไม่อำนวย ก็เลยล่วงมา 2 ปีถึงจะได้ไปอีกครั้ง พอกลับไปครั้งที่ 2 ก็รู้สึกเข้าใจการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ระหว่าง ปฏิบัติ เคยรู้สึกได้ คือ ปีติ ที่ผมรู้สึกคือ ขนจะลุกไปทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะยันฝ่าเท้า เหมือนใครเอาน้ำเย็นมาราดใส่หัวเรา แต่พอกลับจากปฏิบัติ ผมก็กลับมาทำได้ประมาณ 1 เดือน ชีวิตก็กลับไปสู่วงจรทางโลกต่อเหมือนเดิม คือไม่ได้นั่ง วิปัสสนากรรมฐานเป็นประจำ แต่ระหว่างเวลาที่ล่วงไป ผมก็จะมีซื้อหนังสือธรรมะ หรือ อ่านธรรมะคำสอนทางครูบาอาจารย์ทางเวบไซต์ต่างๆ โหลดอีบุ๊ค หนังสือธรรมะมาเก็บไว้อ่านบ้าง หรือ เปิดฟังเสียงผ่านทาง youtube และพอมาปีนี้ ปี 2559 พี่สาวผมบอกว่าสนใจจะไปโกเอ็นก้าบ้าง ผมก็รู้สึกยินดีและบอกพี่สาวทันทีว่า ไปเลย ดีมากๆ อยากให้ไปนะ พี่สาวได้ส่งอีเมล์ไปสมัครไปปฏิบัติ ช่วงเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ พอเดือนที่ผ่านมา พ.ค. ผมนั่งคิดมา ถ้าพี่สาวไปปฏิบัติกลับมา เกิดมีข้อสงสัย แล้วถามผมในฐานะที่ผมไปมาแล้ว 2 ครั้ง ผมจะตอบคำถามพี่สาวได้มั้ย แล้วถ้าตอบไม่ได้ ผมจะรู้สึกผิดกับตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ในใจผมนั่งคิดอยู่ตอนนั้นว่าจะทำอย่างไรที่จะฟื้นการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานของตัวเองขึ้นมาใหม่ได้อย่างไร แต่ก่อนหน้านั้นขณะที่ผมขับรถเข้า กทม.คนเดียว (ผมอยู่ตจว.) ระยะทางที่ผมขับรถ ประมาณ 4-5 ชม. แต่ก่อนผมมักจะเปิดเพลงฟัง แต่พอหลังจากนั้น ผมก็เปลี่ยนมาเปิดเป็น เสียงธรรมเทศนาสอนการปฏิบัติแทน เสียงธรรมที่ผมฟังจากครูบาอาจารย์บ่อยๆ ก็จะเป็น หลวงปู่ชา สุภัทโท หลวงพ่อวิริยังค์ สมเด็จพระญานสังวร ซึ่งแต่ละท่านก็จะมีวิธีการสอนแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ในหลักปฏิบัติก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมเริ่มอยากจะลองปฏิบัติแบบจริงจังอีกครั้ง คือ ตื่นตี 4 นั่งปฏิบัติ 1 ชม. หลังจากนั้น ผมก็จะไปวิ่งออกกำลังกายประมาณ 6 กม. (แต่วิ่งอาทิตย์ละ 3 วัน) แต่นั่งปฏิบัติทุกวัน พอผมเริ่มทำแบบจริงจังได้ 1 อาทิตย์ ระหว่างนั่งปฏิบัติ ผมจะเปิดไฟล์เสียง วิธีปฏิบัติของสมเด็จพระญานสังวร ชุด หายใจให้เป็นสุข ซึ่งจะมีทั้งหมด 11 ตอน เริ่มตั้งแต่ ตอนที่ 1 จิตหลงมายา และ ทางดับ ตอนที่ 2 ทำอย่างไรกับวิตกวิจาร ตอนที่ 3 วิธีละอกุศล ตอนที่ 4 วิธีละอกุศล(ต่อ) ตอนที่ 5 สังเวธ 8 เพื่อพร้อมทำสมาธิ ตอนที่ 6 สติปัฏฐานเบื้องต้น ตอนที่ 7 กายานุปัสสนา 4 ขั้น และตอนที่ 8 กายานุปัสสนา 4 ขั้น(ต่อ) ซึ่งหลักที่ผมฟังไฟล์เสียงประกอบ คือ ระหว่างที่ผมนั่ง 1 ชม. ก็จะฟัง 1 ตอน ซึ่งแต่ละตอนโดยเฉลี่ยก็จะประมาณ 30-60 นาที ซึ่งจะพอดีกับเวลาที่ผมปฏิบัติ ผมนั่งปฎิบัติมาจนครบบทที่ 8 คือ จบกายานุปัสสนา ซึ่งเป็นเมื่อวาน ซึ่งระหว่าง 4 วันที่ผ่านมา โดยเฉพาะ 1-2 วัน ผมพยามยามระลึกรู้ให้ได้ตลอดเวลาถึงลมหายใจที่เข้าออกทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ระหว่างทำงาน
ก็รู้สึกว่าตนเองระลึกรู้ได้ด้วยดี แต่ปัญหาที่ผมประสบคือ ระหว่างที่นั่งปฏิบัติ บางคราวที่เรารู้สึกปีติ เย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว เราคิดเองว่า เรานี่รู้แจ้งแทงตลอด รู้สึกคิดว่าตัวเองนี่แท้แล้ว รู้ธรรมดีแล้ว เริ่มอยากพูดอยากสอนคนอื่น แต่ในใจตัวเอง เคยอ่านมาแล้วว่า ถ้าเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง อาจจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ขึ้นได้ ซึ่งผมเองก็รู้สึกกลัวพอสมควร เนื่องจากผมเองถึงแม้จะเคยผ่านการอบรมวิปัสสนากรรมฐานมาจากโกเอ็นก้าและฟังธรรมะปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ต่างๆจาก youtube แต่ผมนั่งปฏิบัติคนเดียวที่บ้าน ซึ่งในบ้านก็มีพ่อและพี่สาวหลายคน ซึ่งแต่ละคนก็ยังไม่สนใจการปฏิบัติอย่างจริงจัง ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมเริ่มจะโดนวิปัสนูปกิเลส เล่นงานซะแล้ว เพราะผมไปพิมพ์เข้าไปในกลุ่มไลน์ของครอบครัวผม เรื่องธรรมะ พิมพ์เยอะมาก จนพี่สาวแซวว่า จะบวชเหรอ หรือ ขึ้นกัณฑ์เทศน์เหรอ แล้วรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ข่มคนอื่น และ ตอนกลางคืนหลังจากนั่งปฏิบัติ 1 ชม.เสร็จ ผมก็จะนอน แต่รู้สึกได้เลยว่า ผมนอนหลับไม่สนิท ในใจคิดจะดูและจับอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา ทำให้ตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกไม่สดชื่น ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมหมกหมุ่นและจริงจังกับการปฏิบัติมากจนเกินไป ระหว่างปฎิบัติก็เกิดกิเลสขึ้นในจิตของตนเองว่า อยากจะปฏิบัติให้ได้ดียิ่งๆขึ้นไปโดยเร็ว ซึ่งการทำเช่นนั้น ทำให้เช้าวันหนึ่ง ผมรู้สึกมึนงงมาก เหมือนคนอดนอนมาหลายวัน และเริ่มรู้สึกตัวว่า ทำไมเราปฏิบัติธรรม แล้ว ผลถึงเป็นเช่นนี้ ทำไมเป็นแบบนี้ ทำให้ผมฉุกคิดแล้วว่า ผมต้องทำอะไรผิดพลาดบางอย่างเสียแล้ว และที่ผมประมวลและคิดเอง ผมประสบว่า ผมเคร่งและตึงกับการปฏิบัติมากจนเกินไป หวังผลเร็วจนเกิดไป จนทำให้เกิดกิเลสเกิดความอยากขึ้นในจิต ส่งผลให้เกิด วิปัสสนูกิเลสขึ้นมา แต่ถือว่า ผมโชคดีหรืออาจจะเป็นผลบุญกรรมแต่ในอดีตที่ช่วยให้ผมคิดได้ โดยที่ผมไปไม่เข้ารกเข้าพง หลงคือในอวิชชาของตัวเอง ทำให้ตอนนี้ผมเลยต้องหยุดปฏิบัติชั่วคราวก่อน แต่กลับมานั่งดูลมหายใจตัวเองในระหว่างวัน ระหว่างทำงาน แทนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานวันละ 2 ชม.เช้ากับก่อนนอนแทน คือ ย้อนไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้งที่เริ่มปฏิบัติ เริ่มแบบที่เราไม่รู้สึกกดดัน รู้สึกถึงความอยากได้มรรคผลนิพพานโดยเร็ว ทางแก้ของผมคือ หันเหจิตไปทำอย่างอื่นแทน เช่นฟังเพลง คุยไลน์กับเพื่อน อ่านข่าว คุยสนทนาเรื่องทั่วไปกับครอบครัว สุดท้ายนี้ ขอให้สหธรรมิกทุกๆท่านในที่นี่ จงมีแต่ความสุข สุขที่เกิดจากธรรม ขอให้ธรรมะจับจิต จับใจของทุกๆท่าน / ขอบคุณครับ (เพิ่มเติม) ตอนที่ 9 คือ เวทนานุปัสสนา ๔ ขั้น ตอนที่ 10 จิตตานุปัสสนา ๔ ชั้น และตอนที่ 11 ธัมมานุปัสสนา ๔ ชั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 671
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 683
เหมือนผมเป๊ะเลย พวกสุดโต่งแบบเคร่งครัด ยินดีด้วยครับที่ผ่านมาได้ ทำได้เยี่ยมยอดมากsharpy เขียน:ก็รู้สึกว่าตนเองระลึกรู้ได้ด้วยดี แต่ปัญหาที่ผมประสบคือ ระหว่างที่นั่งปฏิบัติ บางคราวที่เรารู้สึกปีติ เย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว เราคิดเองว่า เรานี่รู้แจ้งแทงตลอด รู้สึกคิดว่าตัวเองนี่แท้แล้ว รู้ธรรมดีแล้ว เริ่มอยากพูดอยากสอนคนอื่น แต่ในใจตัวเอง เคยอ่านมาแล้วว่า ถ้าเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง อาจจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ขึ้นได้ ซึ่งผมเองก็รู้สึกกลัวพอสมควร เนื่องจากผมเองถึงแม้จะเคยผ่านการอบรมวิปัสสนากรรมฐานมาจากโกเอ็นก้าและฟังธรรมะปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ต่างๆจาก youtube แต่ผมนั่งปฏิบัติคนเดียวที่บ้าน ซึ่งในบ้านก็มีพ่อและพี่สาวหลายคน ซึ่งแต่ละคนก็ยังไม่สนใจการปฏิบัติอย่างจริงจัง ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมเริ่มจะโดนวิปัสนูปกิเลส เล่นงานซะแล้ว เพราะผมไปพิมพ์เข้าไปในกลุ่มไลน์ของครอบครัวผม เรื่องธรรมะ พิมพ์เยอะมาก จนพี่สาวแซวว่า จะบวชเหรอ หรือ ขึ้นกัณฑ์เทศน์เหรอ แล้วรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ข่มคนอื่น และ ตอนกลางคืนหลังจากนั่งปฏิบัติ 1 ชม.เสร็จ ผมก็จะนอน แต่รู้สึกได้เลยว่า ผมนอนหลับไม่สนิท ในใจคิดจะดูและจับอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา ทำให้ตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกไม่สดชื่น ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมหมกหมุ่นและจริงจังกับการปฏิบัติมากจนเกินไป ระหว่างปฎิบัติก็เกิดกิเลสขึ้นในจิตของตนเองว่า อยากจะปฏิบัติให้ได้ดียิ่งๆขึ้นไปโดยเร็ว ซึ่งการทำเช่นนั้น ทำให้เช้าวันหนึ่ง ผมรู้สึกมึนงงมาก เหมือนคนอดนอนมาหลายวัน และเริ่มรู้สึกตัวว่า ทำไมเราปฏิบัติธรรม แล้ว ผลถึงเป็นเช่นนี้ ทำไมเป็นแบบนี้ ทำให้ผมฉุกคิดแล้วว่า ผมต้องทำอะไรผิดพลาดบางอย่างเสียแล้ว และที่ผมประมวลและคิดเอง ผมประสบว่า ผมเคร่งและตึงกับการปฏิบัติมากจนเกินไป หวังผลเร็วจนเกิดไป จนทำให้เกิดกิเลสเกิดความอยากขึ้นในจิต ส่งผลให้เกิด วิปัสสนูกิเลสขึ้นมา แต่ถือว่า ผมโชคดีหรืออาจจะเป็นผลบุญกรรมแต่ในอดีตที่ช่วยให้ผมคิดได้ โดยที่ผมไปไม่เข้ารกเข้าพง หลงคือในอวิชชาของตัวเอง ทำให้ตอนนี้ผมเลยต้องหยุดปฏิบัติชั่วคราวก่อน แต่กลับมานั่งดูลมหายใจตัวเองในระหว่างวัน ระหว่างทำงาน แทนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานวันละ 2 ชม.เช้ากับก่อนนอนแทน คือ ย้อนไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้งที่เริ่มปฏิบัติ เริ่มแบบที่เราไม่รู้สึกกดดัน รู้สึกถึงความอยากได้มรรคผลนิพพานโดยเร็ว ทางแก้ของผมคือ หันเหจิตไปทำอย่างอื่นแทน เช่นฟังเพลง คุยไลน์กับเพื่อน อ่านข่าว คุยสนทนาเรื่องทั่วไปกับครอบครัว
คุณ sharpy คงทำเหมือนผมคือเร่งจับลมหายใจมากไปจนต้องสร้างลมหายใจขึ้นเองแบบไม่รู้ตัว เพื่อจับจดให้รู้ชัดๆ ซึ่งเป็นเรื่องฝืนธรรมชาติและฝืนกำลังของตนถ้าทำเป็นเวลานานๆ (ผมเถึงกับเข้าโรงพยาบาลรักษาตัว รวมถึงมีการส่งผมไปหาจิตแพทย์อีกต่างหาก 5555)
ดังนั้นการหยุดฝึกชั่วคราวเป็นการดีที่สุดครับ ลดกำลังสมถะสมาธิที่มีมากเกินไปลงมาก่อน หันไปพัฒนามรรคด้านอื่นๆให้มันทัดเทียมกัน ดำเนินชีวิตตามปกติ แต่มุมมองเราจะเปลี่ยนไปเองโดยอัตโนมัติครับ คือ สังเกตสิ่งต่างๆก็ตามแต่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากขึ้นและแก้ปัญหาด้วยการล้วงลึกถึงสาเหตุแล้วจัดการกับมัน ผมเองก็แก้ปัญหาวิธีนี้เหมือนกันครับ
ขอบคุณคุณ sharpy ที่มาแชร์ ทำให้ผมรู้สึกว่า มีอีกคนที่ผ่านประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับผมด้วยเช่นกันครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 684
ขอพิมพ์ต่อนะครับ เมื่อวานพิมพ์ครบแล้วส่ง post reply นึกว่าข้อความส่งผ่านหมดแล้ว พอมาดูตอนเช้า ข้อความถูกส่งให้ไม่ครบ เลยพิมพ์เพิ่มใหม่
แต่รู้สึกได้เลยว่าผมนอนหลับไม่สนิท ภายในจิตใจคิดแต่จะจับดูลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้เวลาตื่นขึ้นมาเหมือนกับนอนไม่พอ รู้สึกมึนงง ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า เราปฏิบัติธรรมแต่ทำไมผลที่ได้รับถึงเป็นแบบนี้ คงต้องมีอะไรบางอย่างผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว ผมลองหยุดปฏิบัติลงชั่วคราวแล้ว นั่งคิดพินิจพิจารณาดู ก็คิดว่า ผมเคร่งครัดหรือตึงกับการปฏิบัติมากจนเกินไป จิตมีความอยากที่จะให้ผลการปฏิบัติรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เกิดกิเลสขึ้นในจิต ต้องการมรรคผล จนเกิดวิปัสสนูปกิเลส ขึ้นในจิต จะเป็นความโชคดีของผลหรือเกิดจากกรรมดีแต่อดีตที่ช่วยให้ผมรู้สึกตัวขึ้นได้ ไม่ต้องหลงเข้ารกเข้าพง จนติดอยู่กับ วิปัสสนูปกิเลส เป็นอวิชชาที่เกิดขึ้นในจิต ตอนนี้ผมเลยหยุดปฏิบัติ นั่งวิปัสสนากรรมฐานวันละ 2 ชม.ลงชั่วคราว กลับมาเพียงดูลมหายใจ ตลอดเวลาที่ทำงานและใช้ชีวตประจำวันแทน และพยายามเบี่ยงจิตไปสนใจสิ่งต่างๆรอบตัวที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติแทน เช่น คุยไลน์ อ่านเฟซ หรือ สนทนาพูดคุยกับเพื่อนๆน้องและครอบครัวแทน สุดท้ายนี้ขอให้สหธรรมิกทุกๆท่านในที่นี้ จงมีความสุข สุขที่เกิดจากธรรม ขอให้ธรรมจับจิต จับใจ ทุกท่านทั้งหลายด้วยเถิด / ขอบคุณครับ (เพิ่มเติม) ตอนที่ 9 เวทนานุปัสสนา 4 ขั้น ตอนที่ 10 จิตตานุปัสสนา 4 ชั้น ตอนที่ 11 ธัมมานุปัสสนา 4 ชั้น
แต่รู้สึกได้เลยว่าผมนอนหลับไม่สนิท ภายในจิตใจคิดแต่จะจับดูลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้เวลาตื่นขึ้นมาเหมือนกับนอนไม่พอ รู้สึกมึนงง ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่า เราปฏิบัติธรรมแต่ทำไมผลที่ได้รับถึงเป็นแบบนี้ คงต้องมีอะไรบางอย่างผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว ผมลองหยุดปฏิบัติลงชั่วคราวแล้ว นั่งคิดพินิจพิจารณาดู ก็คิดว่า ผมเคร่งครัดหรือตึงกับการปฏิบัติมากจนเกินไป จิตมีความอยากที่จะให้ผลการปฏิบัติรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เกิดกิเลสขึ้นในจิต ต้องการมรรคผล จนเกิดวิปัสสนูปกิเลส ขึ้นในจิต จะเป็นความโชคดีของผลหรือเกิดจากกรรมดีแต่อดีตที่ช่วยให้ผมรู้สึกตัวขึ้นได้ ไม่ต้องหลงเข้ารกเข้าพง จนติดอยู่กับ วิปัสสนูปกิเลส เป็นอวิชชาที่เกิดขึ้นในจิต ตอนนี้ผมเลยหยุดปฏิบัติ นั่งวิปัสสนากรรมฐานวันละ 2 ชม.ลงชั่วคราว กลับมาเพียงดูลมหายใจ ตลอดเวลาที่ทำงานและใช้ชีวตประจำวันแทน และพยายามเบี่ยงจิตไปสนใจสิ่งต่างๆรอบตัวที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติแทน เช่น คุยไลน์ อ่านเฟซ หรือ สนทนาพูดคุยกับเพื่อนๆน้องและครอบครัวแทน สุดท้ายนี้ขอให้สหธรรมิกทุกๆท่านในที่นี้ จงมีความสุข สุขที่เกิดจากธรรม ขอให้ธรรมจับจิต จับใจ ทุกท่านทั้งหลายด้วยเถิด / ขอบคุณครับ (เพิ่มเติม) ตอนที่ 9 เวทนานุปัสสนา 4 ขั้น ตอนที่ 10 จิตตานุปัสสนา 4 ชั้น ตอนที่ 11 ธัมมานุปัสสนา 4 ชั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 685
ขอขอบพระคุณ คุณ Pekko มากครับ ผมไม่รู้ตัวเลยจริงๆครับตอนนั้นว่า ผมสร้างลมหายใจขึ้นเองแบบไม่รู้ตัว ในใจผมยังคิดเลยว่า ผมกำลังจะบ้าหรือบ้าไปแล้วหรือเปล่า
แต่ตัวผมเองจะมีหลักยึดอยู่เสมอสำหรับผม คือ สติ ระลึกได้ และ สัมปะชัญญะ รู้ตัว ทำให้ผมไม่หลงไปในตอนนั้น จริงๆคือ หลงไปแล้วล่ะครับ แต่โชคดีคือ ดึงกลับได้ทัน
ก่อนผมนั่งวิปัสสนา กรรมฐาน ทุกครั้งผมจะสวด นะโมตัสสะ 3 จบ อรหังสัมมา 1 จบ และ สมาทานศีล 5 พร้อมกับระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ผมเคยศึกษาธรรมะของท่าน ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือหรือฟังธรรม และระลึกถึง หลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งท่านเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผมเคยไปพบท่าน 1 ครั้ง ตอนผมยังเป็นเด็ก แต่คือ เห็นตัวท่านเป็นๆ แต่ไม่ได้เข้าไปกราบท่าน เพราะคนเยอะมาก ที่กุฏิท่าน แต่ความรู้สึกตัวผมเอง เหมือนสัมผัสได้ว่าท่านรับรู้ว่า ศิษย์หรือญาติธรรมทุกคนต้องการเข้าไปกราบไว้ท่าน สัมผัสได้ถึงเมตตา บารมีธรรมที่ท่านแผ่ออกมาครับ อีกรูปนึง ที่ผมศรัทธาวัตรปฏิบัติของท่าน คือ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท แต่ผมไม่มีโอกาสไปกราบท่านตอนท่านยังอยู่ แต่มีล็อคเกตของท่านอยู่ มีเศษสบงของท่านพร้อมข้อความเขียนใน ล็อคเกตว่า กูสู้ตาย ผมเลยตั้งสัตย์ปฏิญาณกับตัวเองว่า ชาตินี้ ถ้ามีโอกาสปฏิบัติธรรมหลังจากนี้ ผมจะตั้งใจและปฏิบัติอย่างยิ่งยวด แต่จะไม่หวังถึงมรรคผลนิพพานอีกแล้ว เพราะตอนนี้หลังจากที่ผมรอดตายมาจาก วิปัสสนูปกิเลสแล้ว ผมรู้สึกแบบอย่างที่ คุณ Pekko ว่าไว้ ว่า เราจะมองอะไรได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น มองตามความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่มองแบบความหลงของจิตที่คิดอุปทานไปเอง
แต่ตัวผมเองจะมีหลักยึดอยู่เสมอสำหรับผม คือ สติ ระลึกได้ และ สัมปะชัญญะ รู้ตัว ทำให้ผมไม่หลงไปในตอนนั้น จริงๆคือ หลงไปแล้วล่ะครับ แต่โชคดีคือ ดึงกลับได้ทัน
ก่อนผมนั่งวิปัสสนา กรรมฐาน ทุกครั้งผมจะสวด นะโมตัสสะ 3 จบ อรหังสัมมา 1 จบ และ สมาทานศีล 5 พร้อมกับระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ผมเคยศึกษาธรรมะของท่าน ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือหรือฟังธรรม และระลึกถึง หลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งท่านเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผมเคยไปพบท่าน 1 ครั้ง ตอนผมยังเป็นเด็ก แต่คือ เห็นตัวท่านเป็นๆ แต่ไม่ได้เข้าไปกราบท่าน เพราะคนเยอะมาก ที่กุฏิท่าน แต่ความรู้สึกตัวผมเอง เหมือนสัมผัสได้ว่าท่านรับรู้ว่า ศิษย์หรือญาติธรรมทุกคนต้องการเข้าไปกราบไว้ท่าน สัมผัสได้ถึงเมตตา บารมีธรรมที่ท่านแผ่ออกมาครับ อีกรูปนึง ที่ผมศรัทธาวัตรปฏิบัติของท่าน คือ หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท แต่ผมไม่มีโอกาสไปกราบท่านตอนท่านยังอยู่ แต่มีล็อคเกตของท่านอยู่ มีเศษสบงของท่านพร้อมข้อความเขียนใน ล็อคเกตว่า กูสู้ตาย ผมเลยตั้งสัตย์ปฏิญาณกับตัวเองว่า ชาตินี้ ถ้ามีโอกาสปฏิบัติธรรมหลังจากนี้ ผมจะตั้งใจและปฏิบัติอย่างยิ่งยวด แต่จะไม่หวังถึงมรรคผลนิพพานอีกแล้ว เพราะตอนนี้หลังจากที่ผมรอดตายมาจาก วิปัสสนูปกิเลสแล้ว ผมรู้สึกแบบอย่างที่ คุณ Pekko ว่าไว้ ว่า เราจะมองอะไรได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น มองตามความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่มองแบบความหลงของจิตที่คิดอุปทานไปเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 686
เพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ หลังจากผมนั่ง กรรมฐานวิปัสสนาเสร็จ ทุกครั้ง ผมจะแผ่เมตตา พูดในใจว่า ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย จงหลุดพ้นเถิด ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีแต่ความสุข และพูดในใจต่อว่า ผมขออโหสิกรรมให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ที่ผมได้ล่วงเกินทั้งทางกาย วาจา ใจ โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม และ ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น อโหสิกรรมให้ผม ที่ได้ล่วงเกินทั้งทางกาย วาจา ใจ โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ซึ่งคำพูดแผ่เมตตานี้ ผมจำมาจากการไปปฏิบัติ กรรมฐานวิปัสสนาที่โกเอ็นก้า เสร็จแล้วก็กราบพระในห้อง แล้วก็นอนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 687
รู้จักวิปัสสนูปกิเลส กับดักขวางการปฎิบัติ และแนวทางแก้ไข
ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก นักปฏิบัติบางคน จะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง
** ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นกับดักขัดขวาง เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ ! **
ตลอดเส้นทางวิปัสสนา ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต ดังคำหลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า
"สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ (วิปัสสนูปกิเลส) ว่าถึงประโยชน์ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน
คือจะได้เป็นบรรทัดฐานเป็นเครื่องนำสติ มิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก
เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ในแนวทางตรงต่อไป”
*************************
รู้จักวิปัสสนูปกิเลส
วิปัสสนูปกิเลส แปลว่า อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, เครื่องทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานและได้เสวยผลแห่งวิปัสสนาอ่อน ๆ ก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้บรรลุมรรคผล จึงหลงเพลิดเพลินอยู่แล้วหยุดบำเพ็ญเพียรเสีย ทำให้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป จัดเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมชั้นสูง
วิปัสสนูปกิเลสเป็นอารมณ์ของสมถะไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา มักเกิดจากการหลงเน้นปฏิบัติแต่ฝ่ายสมถะหรือสมาธิจนเสียการ โดยขาดการนำไตรลักษณ์มากำกับสภาวะที่เกิดขึ้นเท่าที่ควรเสียนั่นเอง ซึ่งเกิดได้ตลอดสายของการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเข้าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ 4 ใหม่ ๆ อันเมื่อช่วงผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวด ๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่าง ๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลายอันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ 5 หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาญาณอ่อน ๆ ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
ฉะนั้นเมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ให้พิจารณาให้ดีและให้มีสติ อย่าหลงอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้การปฏิบัติหยุดชะงักไม่ก้าวหน้าถึงญาณเบื้องสูง
วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นกับผู้ใด ? และไม่เกิดกับผู้ใดบ้าง ?
วิปัสสนูปกิเลส มิใช่สิ่งเลวร้ายแต่จะเกิดขึ้นตลอดทางเมื่อเริ่มเข้าสู่เส้นทางวิปัสสนา และจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ประกอบความเพียร ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วเท่านั้น จึงเป็นสัญญาณให้ผู้ปฎิบัติได้ทราบว่า ได้เข้าสู่หนทางสายวิปัสสนาซึ่งจะเริ่มเห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จึงถือว่าเป็นอุปสรรคเพื่อให้ติดความเผลอเพลิน ทำให้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป จัดเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมชั้นสูง
แต่วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่
1.พระอริยสาวก ผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
2 ผู้ปฏิบัติผิด (เริ่มต้นมาแต่ศีลวิบัติ)
3. ผู้ละทิ้งกรรมฐาน
4. บุคคลเกียจคร้าน (แม้ปฏิบัติถูกมาแต่เริ่มต้น) แม้จะปฏิบัติถูกต้องมาตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวิริยะความเพียรน้อยก็ทำให้มีกำลังสมาธิอ่อน เพราะว่าอารมณ์ในวิปัสสนูปกิเลสนั้นเกิดขึ้นจากกำลังสมาธิ
วิปัสสนูปกิเลส 10 ได้แก่
1. โอภาส - แสงหรือภาพ เห็นแสงสว่างสุกใสหรือนิมิต เห็นแสงต่าง ๆ ภาพต่าง ๆ เห็นแสงสว่างรอบ ๆ สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง ว่าเป็นจริงอย่างนั้นจริงแท้แน่นอน
ซึ่งความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิโดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อในความตื่นตา ตื่นใจ จึงน้อมคิดปรุงแต่งไปต่าง ๆ นานา ว่าเป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง ว่าโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา) เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ติดนิมิต
2. ปีติ - ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ 5 แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาของสังขารขันธ์ชนิดนี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้
ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติธรรมดา ๆ อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่ว ๆ ไปเป็นธรรมดา เป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ แต่เพราะอวิชชาความไม่รู้ จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์ ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดปีติ กล่าวคือ มีอาการจิตส่งไปภายในตน ไปคอยจ้องเสพความอิ่มเอิบต่างๆ อยู่เนือง ๆ ทั้งโดยรู้ตัวและที่สำคัญยิ่งก็คือโดยไม่รู้ตัว
3.ญาณ - ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึงเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง คือเป็นความรู้หรือความเข้าใจแบบผิด ๆ เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรมต่างๆแจ่มแจ้งดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต (ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์
ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเข้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิดว่าได้มรรคผลใดแล้ว
จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์ จึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ทำให้เกิดอาการติดผู้รู้ หรือมิจฉาญาณ คือยึดมั่นเชื่อถือในความเชื่อหรือปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆขาดปัญญา และเป็นอย่างงมงายถอนตัวไม่ขึ้น
4. ปัสสัทธิ - ความสงบกายและจิต จึงเกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสงบ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ อันเนื่องจากจิตเป็นสมาธิหรือฌาน จิตย่อมไม่ส่งส่ายออกไปปรุงแต่งให้เกิดการผัสสะกับสิ่งต่าง ๆ นา นา ให้เกิดเวทนาต่าง ๆ ขึ้น จึงย่อมเกิดการผ่อนคลายทั้งกายและใจ จึงไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย อันเป็นไปตามหลักเหตุและผล หรือเหตุปัจจัยอันย่อมต้องเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นธรรมดา แต่ไปติดอยู่ในความสงบสบายเหล่านั้นด้วยเข้าใจผิดว่าสมบูรณ์ดีแล้ว ทําให้หยุดการปฏิบัติด้วยคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ จึงจมแช่อยู่เยี่ยงนั้น ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป
กลายเป็นการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ คือหมกมุ่นหรือแช่นิ่งอยู่กับความสงบที่เกิดขึ้นในกายหรือในจิตตน หรือก็คืออาการจิตส่งในอย่างหนึ่งนั่นเอง จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างมีสติเท่าที่ควร และทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ที่คิดว่าดีแล้ว ถูกแล้วจนขาดการพิจารณา
อาการนี้มักเป็นมากในผู้ที่ปฏิบัติไปในทางมิจฉาสมาธิต่างๆ เช่น นั่งเอาแต่ในความสงบ หรือสวดมนต์หรือบริกรรมซ้ำซ้อนยาวนานแต่อย่างเดียว แต่ขาดการเจริญปัญญา เมื่อถูกกระทบจนความสงบหวั่นไหว ก็มักมีโทสะ หรืออ่อนเปลี้ยทันทีที่จิตหวั่นไหวเลื่อนไหลหลุดออกจากความสงบ แม้ความสบาย
5. สุข - ความสบายกายสบายจิต ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสุข เพราะมีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะอันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้
จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยจิตส่งในไปเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน) และย่อมเกิดอาการของจิตส่งในไปคอยเสพความสุขความสบายที่เกิดขึ้นจากอำนาจของฌานสมาธิเช่นเดียวกับปัสสัทธิ
6. อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ เป็นศรัทธาจึงน้อมใจไปเชื่อแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรืองมงาย ไม่มีที่มาที่ไป หรือไม่มีเหตุมีผลนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น หรือเกิดความเชื่อตามที่ได้ยินเขาร่ำลือกันต่อๆมา ฯลฯ. จึงทําให้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ซาบซึ้ง เลื่อมใส จิตสว่างเจิดจ้าที่หมายถึงหมดความเศร้าหมอง จึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัว แต่เป็นไปแบบขาดปัญญา หรืออย่างงมงายอย่างขาดเหตุผล
เกิดแต่ความเชื่อ มิได้เกิดแต่ความเข้าใจขั้นปัญญา เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณพระศาสนา อยากสอนธรรมะผู้อื่นตามแนวทางตน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในนนิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงาย ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทาน คือ อุปาทานชนิดยึดมั่นในกิเลสเพื่อความพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน
ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์
7. ปัคคาหะ - ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี
ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว
8. อุปัฏฐานะ - สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น นั่นคื่อ ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร เป็นมิจฉาสติ คือ ตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาในอารมณ์เดียวอย่างจดจ้องจดจ่อ (ยึดอารมณ์ หรือวิตก) แต่อย่างเดียว จนในที่สุดเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทที่ประกอบด้วยอวิชชา แต่กลับขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป
เรียกว่า สติชัดเกินไป จนขาดสัมปชัญญะ ทั้งที่ สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงควรรู้เท่าทันถึงความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา รู้แต่สิ่งที่สติหรือจิตไปกำหนด(ยึดอารมณ์ หรือวิตก)แต่อย่างเดียวจนเป็นไปในลักษณะสมาธิควบไปด้วย จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆด้วยนั่นเอง จนในที่สุดสติอยู่แต่กับสิ่งนั้นๆที่เป็นอารมณ์จนถอนไม่ขึ้น
9. อุเบกขา - ความวางจิตเป็นกลาง ยังให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดอุเบกขา ติดแช่นิ่ง เพราะติดแช่นิ่งอยู่ภายในเป็นกลางวางเฉยอย่างขาดปัญญา, เป็นกลางวางเฉยแต่อย่างงมงายผิดๆ, วางเฉยเสียสิ้นโดยขาดปัญญา แต่ย่อมรู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะแช่นิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ, แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ (ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางอันดีงาม คือรู้เห็นตามความเป็นจริงทั้งในคุณในโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา คือวางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว เราถูก หรือเขาผิด)
แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่นิ่งอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน
10. นิกันติ - ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลขององค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยได้และต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา
ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก นักปฏิบัติบางคน จะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง
** ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นกับดักขัดขวาง เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ ! **
ตลอดเส้นทางวิปัสสนา ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต ดังคำหลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า
"สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ (วิปัสสนูปกิเลส) ว่าถึงประโยชน์ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน
คือจะได้เป็นบรรทัดฐานเป็นเครื่องนำสติ มิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก
เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ในแนวทางตรงต่อไป”
*************************
รู้จักวิปัสสนูปกิเลส
วิปัสสนูปกิเลส แปลว่า อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, เครื่องทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานและได้เสวยผลแห่งวิปัสสนาอ่อน ๆ ก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้บรรลุมรรคผล จึงหลงเพลิดเพลินอยู่แล้วหยุดบำเพ็ญเพียรเสีย ทำให้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป จัดเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมชั้นสูง
วิปัสสนูปกิเลสเป็นอารมณ์ของสมถะไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา มักเกิดจากการหลงเน้นปฏิบัติแต่ฝ่ายสมถะหรือสมาธิจนเสียการ โดยขาดการนำไตรลักษณ์มากำกับสภาวะที่เกิดขึ้นเท่าที่ควรเสียนั่นเอง ซึ่งเกิดได้ตลอดสายของการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
จะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเข้าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ 4 ใหม่ ๆ อันเมื่อช่วงผู้ปฏิบัติวิปัสสนาสามารถยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวด ๆ ตามแนวไตรลักษณ์ที่ละอย่าง ๆ จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลายอันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ 5 หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาญาณอ่อน ๆ ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
ฉะนั้นเมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ให้พิจารณาให้ดีและให้มีสติ อย่าหลงอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้การปฏิบัติหยุดชะงักไม่ก้าวหน้าถึงญาณเบื้องสูง
วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นกับผู้ใด ? และไม่เกิดกับผู้ใดบ้าง ?
วิปัสสนูปกิเลส มิใช่สิ่งเลวร้ายแต่จะเกิดขึ้นตลอดทางเมื่อเริ่มเข้าสู่เส้นทางวิปัสสนา และจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ประกอบความเพียร ผู้เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วเท่านั้น จึงเป็นสัญญาณให้ผู้ปฎิบัติได้ทราบว่า ได้เข้าสู่หนทางสายวิปัสสนาซึ่งจะเริ่มเห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จึงถือว่าเป็นอุปสรรคเพื่อให้ติดความเผลอเพลิน ทำให้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณต่อไป จัดเป็นสิ่งขัดขวางไม่ให้บรรลุธรรมชั้นสูง
แต่วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดขึ้นแก่
1.พระอริยสาวก ผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
2 ผู้ปฏิบัติผิด (เริ่มต้นมาแต่ศีลวิบัติ)
3. ผู้ละทิ้งกรรมฐาน
4. บุคคลเกียจคร้าน (แม้ปฏิบัติถูกมาแต่เริ่มต้น) แม้จะปฏิบัติถูกต้องมาตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวิริยะความเพียรน้อยก็ทำให้มีกำลังสมาธิอ่อน เพราะว่าอารมณ์ในวิปัสสนูปกิเลสนั้นเกิดขึ้นจากกำลังสมาธิ
วิปัสสนูปกิเลส 10 ได้แก่
1. โอภาส - แสงหรือภาพ เห็นแสงสว่างสุกใสหรือนิมิต เห็นแสงต่าง ๆ ภาพต่าง ๆ เห็นแสงสว่างรอบ ๆ สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง ว่าเป็นจริงอย่างนั้นจริงแท้แน่นอน
ซึ่งความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิโดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อในความตื่นตา ตื่นใจ จึงน้อมคิดปรุงแต่งไปต่าง ๆ นานา ว่าเป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง ว่าโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา) เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันทั่วๆไปว่า ติดนิมิต
2. ปีติ - ความอิ่มใจ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ 5 แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาของสังขารขันธ์ชนิดนี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้
ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติธรรมดา ๆ อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่ว ๆ ไปเป็นธรรมดา เป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ แต่เพราะอวิชชาความไม่รู้ จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์ ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดปีติ กล่าวคือ มีอาการจิตส่งไปภายในตน ไปคอยจ้องเสพความอิ่มเอิบต่างๆ อยู่เนือง ๆ ทั้งโดยรู้ตัวและที่สำคัญยิ่งก็คือโดยไม่รู้ตัว
3.ญาณ - ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึงเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง คือเป็นความรู้หรือความเข้าใจแบบผิด ๆ เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรมต่างๆแจ่มแจ้งดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต (ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์
ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเข้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิดว่าได้มรรคผลใดแล้ว
จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์ จึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ทำให้เกิดอาการติดผู้รู้ หรือมิจฉาญาณ คือยึดมั่นเชื่อถือในความเชื่อหรือปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆขาดปัญญา และเป็นอย่างงมงายถอนตัวไม่ขึ้น
4. ปัสสัทธิ - ความสงบกายและจิต จึงเกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสงบ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ อันเนื่องจากจิตเป็นสมาธิหรือฌาน จิตย่อมไม่ส่งส่ายออกไปปรุงแต่งให้เกิดการผัสสะกับสิ่งต่าง ๆ นา นา ให้เกิดเวทนาต่าง ๆ ขึ้น จึงย่อมเกิดการผ่อนคลายทั้งกายและใจ จึงไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย อันเป็นไปตามหลักเหตุและผล หรือเหตุปัจจัยอันย่อมต้องเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นธรรมดา แต่ไปติดอยู่ในความสงบสบายเหล่านั้นด้วยเข้าใจผิดว่าสมบูรณ์ดีแล้ว ทําให้หยุดการปฏิบัติด้วยคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ จึงจมแช่อยู่เยี่ยงนั้น ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป
กลายเป็นการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ คือหมกมุ่นหรือแช่นิ่งอยู่กับความสงบที่เกิดขึ้นในกายหรือในจิตตน หรือก็คืออาการจิตส่งในอย่างหนึ่งนั่นเอง จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างมีสติเท่าที่ควร และทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา ที่คิดว่าดีแล้ว ถูกแล้วจนขาดการพิจารณา
อาการนี้มักเป็นมากในผู้ที่ปฏิบัติไปในทางมิจฉาสมาธิต่างๆ เช่น นั่งเอาแต่ในความสงบ หรือสวดมนต์หรือบริกรรมซ้ำซ้อนยาวนานแต่อย่างเดียว แต่ขาดการเจริญปัญญา เมื่อถูกกระทบจนความสงบหวั่นไหว ก็มักมีโทสะ หรืออ่อนเปลี้ยทันทีที่จิตหวั่นไหวเลื่อนไหลหลุดออกจากความสงบ แม้ความสบาย
5. สุข - ความสบายกายสบายจิต ทำให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดสุข เพราะมีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะอันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้
จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยจิตส่งในไปเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน) และย่อมเกิดอาการของจิตส่งในไปคอยเสพความสุขความสบายที่เกิดขึ้นจากอำนาจของฌานสมาธิเช่นเดียวกับปัสสัทธิ
6. อธิโมกข์ - ความน้อมใจเชื่อ เป็นศรัทธาจึงน้อมใจไปเชื่อแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรืองมงาย ไม่มีที่มาที่ไป หรือไม่มีเหตุมีผลนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น หรือเกิดความเชื่อตามที่ได้ยินเขาร่ำลือกันต่อๆมา ฯลฯ. จึงทําให้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ซาบซึ้ง เลื่อมใส จิตสว่างเจิดจ้าที่หมายถึงหมดความเศร้าหมอง จึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัว แต่เป็นไปแบบขาดปัญญา หรืออย่างงมงายอย่างขาดเหตุผล
เกิดแต่ความเชื่อ มิได้เกิดแต่ความเข้าใจขั้นปัญญา เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณพระศาสนา อยากสอนธรรมะผู้อื่นตามแนวทางตน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในนนิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงาย ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทาน คือ อุปาทานชนิดยึดมั่นในกิเลสเพื่อความพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน
ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์
7. ปัคคาหะ - ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี
ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว
8. อุปัฏฐานะ - สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น นั่นคื่อ ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร เป็นมิจฉาสติ คือ ตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาในอารมณ์เดียวอย่างจดจ้องจดจ่อ (ยึดอารมณ์ หรือวิตก) แต่อย่างเดียว จนในที่สุดเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทที่ประกอบด้วยอวิชชา แต่กลับขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป
เรียกว่า สติชัดเกินไป จนขาดสัมปชัญญะ ทั้งที่ สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงควรรู้เท่าทันถึงความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา รู้แต่สิ่งที่สติหรือจิตไปกำหนด(ยึดอารมณ์ หรือวิตก)แต่อย่างเดียวจนเป็นไปในลักษณะสมาธิควบไปด้วย จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆด้วยนั่นเอง จนในที่สุดสติอยู่แต่กับสิ่งนั้นๆที่เป็นอารมณ์จนถอนไม่ขึ้น
9. อุเบกขา - ความวางจิตเป็นกลาง ยังให้เกิดอาการที่เรียกกันว่า ติดอุเบกขา ติดแช่นิ่ง เพราะติดแช่นิ่งอยู่ภายในเป็นกลางวางเฉยอย่างขาดปัญญา, เป็นกลางวางเฉยแต่อย่างงมงายผิดๆ, วางเฉยเสียสิ้นโดยขาดปัญญา แต่ย่อมรู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะแช่นิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ, แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ (ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางอันดีงาม คือรู้เห็นตามความเป็นจริงทั้งในคุณในโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา คือวางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว เราถูก หรือเขาผิด)
แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่นิ่งอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน
10. นิกันติ - ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลขององค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยได้และต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 688
หนทางแก้ไขวิปัสสนูปกิเลส
อุปกิเลส 10 นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ แต่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้งจะมีอาการคล้ายคลึงคนบ้าก็ตาม เป็นเพียงสติวิกล อันเนื่องจากการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน ไม่ได้สัดไม่ได้ส่วนกันเท่านั้น
ซึ่งหากสามารถแก้ไขได้จน สติตั้งไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง
เมื่อผู้ปฏิบัติเป็นผู้มีสติอย่างดีเฉียบแหลม ผู้นั้นก็จะผ่านกับดักคือวิปัสสนูปกิเลสไปได้โดยการใคร่ครวญด้วยสติปัญญา เห็นเนืองๆ ในโอภาสว่า “โอภาสนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่โอภาส โอภาสนี้มิใช่อัตตาของเรา” (การพิจารณา ญาณ ปีติ เป็นต้นก็เป็นไปทำนองเดียวกัน) เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นอย่างนี้อยู่เสมอเนืองๆ ก็จะสามารถผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสทั้งหลายได้
นั่นคือ หากช่วงเกิดวิปัสสนูปกิเลสแล้วมีสติสัมปชัญญะมั่น จะแก้ไขได้ และจะรู้เท่าทันได้ว่า “วิปัสสนูปกิเลสไม่ใช่ทาง” ให้หมั่นรู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาแห่งไตรลักษณ์ว่า โอภาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา จิตจึงจะถอนออกจากอุปาทานที่ยึดอุปกิเลสนั้น แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป ทางปฎิบัติ ต้องคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใด ๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ เปลี่ยนอิริยาบถ 4 ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย
แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ อาจารย์มักจะใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตเพื่อให้จิตเคลื่อนออกจากจุดนั้น
ตัวอย่างเกิดขึ้นจริงของวิปัสสนูปกิเลส
ในประวัติของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอจะเห็นตัวอย่างของวิปัสสนูปกิเลส 2 ตัวอย่าง คือกรณีของท่านหลวงตาพวง และกรณีของท่านพระอาจารย์เสร็จ จะขอยกกรณีของหลวงตาพวงมาเล่าเพื่อประดับความรู้ต่อไป
ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ หลวงตาพวง ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิกสำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึกตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวันตลอดคืน
พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง เกิดความสำคัญผิด เชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งเป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลกเห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึงธรรมเสมอด้วยตนบังเกิดจิตคิดเอ็นดูสรรพสัตว์ทั้งหลาย ใคร่จะไปโปรดให้พ้นจากทุกข์โทษความโง่เขลา เล็งเห็นพระสงฆ์ทั้งหมด ตลอดจนครูบาอาจารย์ ล้วนแต่ยังไม่รู้ จึงตั้งใจจะต้องไปโปรดหลวงปู่ดูลย์ผู้เป็นพระอาจารย์เสียก่อน
ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจากเขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึงวัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง
หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา 6 ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตูหน้าต่างหมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว ท่านก็มาร้องเรียกหลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง
ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนี ยังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์...” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของหลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ
สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า ตามธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า
“หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว”
ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว! ไม่เห็นกราบ ท่านผู้สำเร็จมาแล้ว ไม่เห็นกราบ”
เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ
หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วยเมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ"
หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเราพระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่ ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่
ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิงคล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร"หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตาไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ”
ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียกพระองค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน
หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อให้หลวงตานั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิตแล่นไปข้างหน้า จนกระทั่งสองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว ไม่สำเร็จ
หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธหลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูดให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ! สัตว์นรก สัตว์
นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้” ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวรและกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น
ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมาอย่างน่าขำว่า “เออ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้าเอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลดของท่าน แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม
ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง อาการของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจากการควบคุมของสติที่ได้สัดส่วนกัน ก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทกด้วยอานุภาพแห่งความโกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร สำคัญตนผิดอย่างไร และได้พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติเพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิดความละอายใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่กราบเรียนว่าท่านจำคำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึกละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น
หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า
"สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐานเป็นเครื่องนำสติ มิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ในแนวทางตรงต่อไป”
ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/ethi ... s_id=19967
อุปกิเลส 10 นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ แต่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้งจะมีอาการคล้ายคลึงคนบ้าก็ตาม เป็นเพียงสติวิกล อันเนื่องจากการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน ไม่ได้สัดไม่ได้ส่วนกันเท่านั้น
ซึ่งหากสามารถแก้ไขได้จน สติตั้งไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง
เมื่อผู้ปฏิบัติเป็นผู้มีสติอย่างดีเฉียบแหลม ผู้นั้นก็จะผ่านกับดักคือวิปัสสนูปกิเลสไปได้โดยการใคร่ครวญด้วยสติปัญญา เห็นเนืองๆ ในโอภาสว่า “โอภาสนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่โอภาส โอภาสนี้มิใช่อัตตาของเรา” (การพิจารณา ญาณ ปีติ เป็นต้นก็เป็นไปทำนองเดียวกัน) เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นอย่างนี้อยู่เสมอเนืองๆ ก็จะสามารถผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสทั้งหลายได้
นั่นคือ หากช่วงเกิดวิปัสสนูปกิเลสแล้วมีสติสัมปชัญญะมั่น จะแก้ไขได้ และจะรู้เท่าทันได้ว่า “วิปัสสนูปกิเลสไม่ใช่ทาง” ให้หมั่นรู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาแห่งไตรลักษณ์ว่า โอภาสนี้ ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา จิตจึงจะถอนออกจากอุปาทานที่ยึดอุปกิเลสนั้น แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป ทางปฎิบัติ ต้องคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใด ๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ เปลี่ยนอิริยาบถ 4 ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย
แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ อาจารย์มักจะใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตเพื่อให้จิตเคลื่อนออกจากจุดนั้น
ตัวอย่างเกิดขึ้นจริงของวิปัสสนูปกิเลส
ในประวัติของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอจะเห็นตัวอย่างของวิปัสสนูปกิเลส 2 ตัวอย่าง คือกรณีของท่านหลวงตาพวง และกรณีของท่านพระอาจารย์เสร็จ จะขอยกกรณีของหลวงตาพวงมาเล่าเพื่อประดับความรู้ต่อไป
ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ หลวงตาพวง ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิกสำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึกตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวันตลอดคืน
พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง เกิดความสำคัญผิด เชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งเป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลกเห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึงธรรมเสมอด้วยตนบังเกิดจิตคิดเอ็นดูสรรพสัตว์ทั้งหลาย ใคร่จะไปโปรดให้พ้นจากทุกข์โทษความโง่เขลา เล็งเห็นพระสงฆ์ทั้งหมด ตลอดจนครูบาอาจารย์ ล้วนแต่ยังไม่รู้ จึงตั้งใจจะต้องไปโปรดหลวงปู่ดูลย์ผู้เป็นพระอาจารย์เสียก่อน
ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจากเขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึงวัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง
หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา 6 ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตูหน้าต่างหมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว ท่านก็มาร้องเรียกหลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง
ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนี ยังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์...” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของหลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ
สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า ตามธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า
“หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว”
ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว! ไม่เห็นกราบ ท่านผู้สำเร็จมาแล้ว ไม่เห็นกราบ”
เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ
หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วยเมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ"
หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเราพระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่ ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่
ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิงคล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร"หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตาไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ”
ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียกพระองค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน
หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อให้หลวงตานั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิตแล่นไปข้างหน้า จนกระทั่งสองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว ไม่สำเร็จ
หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธหลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูดให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ! สัตว์นรก สัตว์
นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้” ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวรและกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น
ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมาอย่างน่าขำว่า “เออ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้าเอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลดของท่าน แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม
ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง อาการของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจากการควบคุมของสติที่ได้สัดส่วนกัน ก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทกด้วยอานุภาพแห่งความโกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร สำคัญตนผิดอย่างไร และได้พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติเพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิดความละอายใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่กราบเรียนว่าท่านจำคำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึกละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น
หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า
"สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐานเป็นเครื่องนำสติ มิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบการปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง ในแนวทางตรงต่อไป”
ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/true/ethi ... s_id=19967
-
- Verified User
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 689
อย่างที่ทราบตอนนี้หลวงพ่อปราโมทย์ท่านเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต้องพักรักษาตัวไม่มีกำหนดท่านต้องงดการเเสดงธรรมออกไป หลวงพ่อบอกว่าไม่ต้องห่วงหลวงพ่อให้รีบภาวนาเพราะชีวิตนี้ไม่แน่นอน
ช่วงนี้เป็นช่วงเร่งความเพียรของผมเลย ครูบาอาจารย์เริ่มเหลือน้อยลงทุกที ถ้าไม่ภาวนาตอนนี้ตอนที่มีครูบาอาจารย์อยู่อีกหน่อยท่านไม่อยู่แล้วจะทำให้เราภาวนายากขึ้นเพราะบางทีถ้าเราไม่ถาม
เราก็อาจจะหาทางออกไม่ได้ เพราะบางอย่างมันเกินภูมิปัญญาของเรา แต่บางทีเราก็ถามมากไปบางเรื่องไม่ควรถามก็เอามาถาม บางเรื่องท่านเคยตอบไว้แล้วก็ไม่หาฟังกัน ถามมากก็ทำให้หลวงพ่อ
เหนื่อยมาก คนที่ถามบางคำถามบางทีผมฟังแล้วก็เหนื่อยแทนหลวงพ่อ ฮา ถามแบบมักง่ายก็มี คำถามแบบนี้บางทีไปถามครูบาอาจารย์อื่นท่านอาจจะไม่ตอบเผลออาจจะโดนดุ แต่หลวงพ่อท่านก็ตอบเพราะท่านเมตตา
มาก
-ปัญญาที่แท้จริง มันจะเฉียบขาด รวดเร็ว รุนแรง ไม่ช้า พริบตาเดียว (บางสำนวนใช้คำว่าชั่วขณะจิตเดียว) สมาธิที่เกิดร่วมกับปัญญาก็เป็นสมาธิที่ลึกมากระดับอัปณาสมาธิ ตอนที่เข้าใจอย่างถ่องแท้นี่
ก็จะมาทำลายที่จิต มาทำงานกันที่จิต(บางสำนวนเค้าบอกว่าจิตจะทวนเข้าหาจิต) ไม่ได้ไปทำลายที่อื่น(ถ้าทำที่อื่นก็ไม่ใช่) ตอนสำคัญๆจะเป็นอย่างนี้นะครับ
เคยได้ยินบางคนเล่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการของสมาธิทั้งนั้น(สมาธิจะเกิดนาน ปัญญาจะพริบตาเดียว) บางคนบอกว่าติดสมาธิกว่าจะรู้ตัวแทบตายตอนนี้ไม่ติดเเล้ว พอเล่ามาก็เป็นอาการของสมาธิอีกอย่างนึง คือละ
อย่างนึงได้แต่ก็ไปติดอีกอย่าง (ผมว่ามันน่ากลัวจริงๆนะครับ ติดสมาธิเนี่ย) แต่ถ้ารู้เมื่อไรก็ไม่ติดเเล้ว ส่วนใหญ่ที่ติดก็เพราะว่าไม่รู้ หลงคิดว่าที่เราทำอยู่คือวิปัสสนา
(สมถะเกิดเมื่อหมดความคิด วิปัสนาเกิดเมื่อหมดความตั้งใจ)
-เมื่อสัก7ปีก่อนเคยไปถามครูบาอาจารย์ท่านนึง ถามว่า (เล่าอาการให้ท่านฟังเรื่องจิต)จิตมันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นบางทีเห็นจิต(วิญญาณ)ทำงานตอนที่ตากระทบรูป จิตก็รวมเข้าอัปณาสมาธิ บางทีก็อุปจาร
บางทีก็ขณิกะสมาธิ จิตก็จ่ออยู่ที่จิตเฉยๆ ไม่เกิดอะไรขึ้นได้แค่นั้นแล้วก็ถอยพักออกมา บางที่จิตเข้าไปพักในสมาธิกายหายไปเหลือแต่จิตดวงเดียว (จริงๆเล่าให้ท่านฟังหลายเรื่อง) เล่าให้ท่านฟังแล้วก็ภูมิใจท่านต้องชมเราแน่ๆที่ไหนได้ ท่านบอกว่าจิตต่างหากที่ไปเห็น ของที่ถูกเห็นไม่ใช่จิตแท้
ผมแทบหงายหลังเลยครับ ฮา นี่เป็นการแสดงว่าถ้าเราภาวนาโดยไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะมันยากมากๆนะครับ ถ้าไปได้ด้วยตัวเองก็คงเป็นปัญญาระดับพระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกฯแล้วละครับ
ที่เล่ามานี้อยากจะบอกว่า นามธรรมทั้งหลายเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(ตัวนี้ใกล้เคียงจิตที่สุด) จริงๆก็เป็นจิตนี่แหละ แต่ส่วนใหญ่เป็นเจตสิก ขนาดปัญญายังเป็นเจตสิก *จำง่ายๆนามธรรมทุกตัวนอกเหนือจากจิตเป็นเจตสิก "จิตผู้รู้ก็เป็นอีกตัว เหมือนกระจกที่คอยส่องจิต” อยากให้ทุกท่านที่สนใจ
การภาวนาได้จำไว้ เพราะส่วนใหญ่จะไม่รู้กันว่าของทุกอย่างที่เราเห็นจะเห็นได้เพราะมีจิตผู้รู้ แม้แต่ขณะที่เราเข้าอัปณาสมธิก็ตามจิตที่รู้(ที่เค้าเรียกว่า ผู้รู้)ก็ยังมีจิตอีกตัวที่คอยเป็นกระจกส่อง(คนส่วนใหญ่จะไม่รู้กันนะครับ)
แต่ขั้นแรกๆต้องใช้จิตผู้รู้ไปก่อน ไว้จะขึ้นขั้นสุดท้ายค่อยมาทำลายมันทีหลัง
ผมไม่อยากให้อ่านหนังสือหรือฟังธรรมะกันมากๆนะครับ ฟังมากอ่านมากสัญญายิ่งเยอะ วิตกวิจารณ์ก็เยอะ รู้มากๆเผินๆเหมือนจะดีแต่มันจะทำให้เราเสียเวลา(เสียเวลาอ่าน แล้วก็มาเสียเวลาวิตกวิจารณ์) ผมก็เคยเป็นอ่านมาเยอะเหมือนกัน
ทำให้รู้ว่าเสียเวลามาก ธรรมะของจริงไม่ได้เกิดจากการอ่าน แต่เกิดจากการภาวนา ความรู้ที่เกิดจากการอ่านหรือการฟังเป็นความรู้ของคนอื่นเราแค่อ่านมาฟังมาได้แค่ความจำ แต่ความรู้ที่เกิดจากการภาวนา(ภาวนามัยปัญญา)เป็นความรู้ที่เกิดจากเราเอง เป็นความรู้แท้
ช่วงนี้เป็นช่วงเร่งความเพียรของผมเลย ครูบาอาจารย์เริ่มเหลือน้อยลงทุกที ถ้าไม่ภาวนาตอนนี้ตอนที่มีครูบาอาจารย์อยู่อีกหน่อยท่านไม่อยู่แล้วจะทำให้เราภาวนายากขึ้นเพราะบางทีถ้าเราไม่ถาม
เราก็อาจจะหาทางออกไม่ได้ เพราะบางอย่างมันเกินภูมิปัญญาของเรา แต่บางทีเราก็ถามมากไปบางเรื่องไม่ควรถามก็เอามาถาม บางเรื่องท่านเคยตอบไว้แล้วก็ไม่หาฟังกัน ถามมากก็ทำให้หลวงพ่อ
เหนื่อยมาก คนที่ถามบางคำถามบางทีผมฟังแล้วก็เหนื่อยแทนหลวงพ่อ ฮา ถามแบบมักง่ายก็มี คำถามแบบนี้บางทีไปถามครูบาอาจารย์อื่นท่านอาจจะไม่ตอบเผลออาจจะโดนดุ แต่หลวงพ่อท่านก็ตอบเพราะท่านเมตตา
มาก
-ปัญญาที่แท้จริง มันจะเฉียบขาด รวดเร็ว รุนแรง ไม่ช้า พริบตาเดียว (บางสำนวนใช้คำว่าชั่วขณะจิตเดียว) สมาธิที่เกิดร่วมกับปัญญาก็เป็นสมาธิที่ลึกมากระดับอัปณาสมาธิ ตอนที่เข้าใจอย่างถ่องแท้นี่
ก็จะมาทำลายที่จิต มาทำงานกันที่จิต(บางสำนวนเค้าบอกว่าจิตจะทวนเข้าหาจิต) ไม่ได้ไปทำลายที่อื่น(ถ้าทำที่อื่นก็ไม่ใช่) ตอนสำคัญๆจะเป็นอย่างนี้นะครับ
เคยได้ยินบางคนเล่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอาการของสมาธิทั้งนั้น(สมาธิจะเกิดนาน ปัญญาจะพริบตาเดียว) บางคนบอกว่าติดสมาธิกว่าจะรู้ตัวแทบตายตอนนี้ไม่ติดเเล้ว พอเล่ามาก็เป็นอาการของสมาธิอีกอย่างนึง คือละ
อย่างนึงได้แต่ก็ไปติดอีกอย่าง (ผมว่ามันน่ากลัวจริงๆนะครับ ติดสมาธิเนี่ย) แต่ถ้ารู้เมื่อไรก็ไม่ติดเเล้ว ส่วนใหญ่ที่ติดก็เพราะว่าไม่รู้ หลงคิดว่าที่เราทำอยู่คือวิปัสสนา
(สมถะเกิดเมื่อหมดความคิด วิปัสนาเกิดเมื่อหมดความตั้งใจ)
-เมื่อสัก7ปีก่อนเคยไปถามครูบาอาจารย์ท่านนึง ถามว่า (เล่าอาการให้ท่านฟังเรื่องจิต)จิตมันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นบางทีเห็นจิต(วิญญาณ)ทำงานตอนที่ตากระทบรูป จิตก็รวมเข้าอัปณาสมาธิ บางทีก็อุปจาร
บางทีก็ขณิกะสมาธิ จิตก็จ่ออยู่ที่จิตเฉยๆ ไม่เกิดอะไรขึ้นได้แค่นั้นแล้วก็ถอยพักออกมา บางที่จิตเข้าไปพักในสมาธิกายหายไปเหลือแต่จิตดวงเดียว (จริงๆเล่าให้ท่านฟังหลายเรื่อง) เล่าให้ท่านฟังแล้วก็ภูมิใจท่านต้องชมเราแน่ๆที่ไหนได้ ท่านบอกว่าจิตต่างหากที่ไปเห็น ของที่ถูกเห็นไม่ใช่จิตแท้
ผมแทบหงายหลังเลยครับ ฮา นี่เป็นการแสดงว่าถ้าเราภาวนาโดยไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะมันยากมากๆนะครับ ถ้าไปได้ด้วยตัวเองก็คงเป็นปัญญาระดับพระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกฯแล้วละครับ
ที่เล่ามานี้อยากจะบอกว่า นามธรรมทั้งหลายเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(ตัวนี้ใกล้เคียงจิตที่สุด) จริงๆก็เป็นจิตนี่แหละ แต่ส่วนใหญ่เป็นเจตสิก ขนาดปัญญายังเป็นเจตสิก *จำง่ายๆนามธรรมทุกตัวนอกเหนือจากจิตเป็นเจตสิก "จิตผู้รู้ก็เป็นอีกตัว เหมือนกระจกที่คอยส่องจิต” อยากให้ทุกท่านที่สนใจ
การภาวนาได้จำไว้ เพราะส่วนใหญ่จะไม่รู้กันว่าของทุกอย่างที่เราเห็นจะเห็นได้เพราะมีจิตผู้รู้ แม้แต่ขณะที่เราเข้าอัปณาสมธิก็ตามจิตที่รู้(ที่เค้าเรียกว่า ผู้รู้)ก็ยังมีจิตอีกตัวที่คอยเป็นกระจกส่อง(คนส่วนใหญ่จะไม่รู้กันนะครับ)
แต่ขั้นแรกๆต้องใช้จิตผู้รู้ไปก่อน ไว้จะขึ้นขั้นสุดท้ายค่อยมาทำลายมันทีหลัง
ผมไม่อยากให้อ่านหนังสือหรือฟังธรรมะกันมากๆนะครับ ฟังมากอ่านมากสัญญายิ่งเยอะ วิตกวิจารณ์ก็เยอะ รู้มากๆเผินๆเหมือนจะดีแต่มันจะทำให้เราเสียเวลา(เสียเวลาอ่าน แล้วก็มาเสียเวลาวิตกวิจารณ์) ผมก็เคยเป็นอ่านมาเยอะเหมือนกัน
ทำให้รู้ว่าเสียเวลามาก ธรรมะของจริงไม่ได้เกิดจากการอ่าน แต่เกิดจากการภาวนา ความรู้ที่เกิดจากการอ่านหรือการฟังเป็นความรู้ของคนอื่นเราแค่อ่านมาฟังมาได้แค่ความจำ แต่ความรู้ที่เกิดจากการภาวนา(ภาวนามัยปัญญา)เป็นความรู้ที่เกิดจากเราเอง เป็นความรู้แท้
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 690
ขอขอบพระคุณ คุณ cobain_vi
ที่มาแชร์มุมมองและประสบการณ์การภาวนา ผมเห็นด้วยกับคุณ cobain_vi เป็นอย่างยิ่งที่ บอกว่า " ผมไม่อยากให้อ่านหนังสือหรือฟังธรรมะกันมากๆนะครับ ฟังมากอ่านมากสัญญายิ่งเยอะ วิตกวิจารณ์ก็เยอะ รู้มากๆเผินๆเหมือนจะดีแต่มันจะทำให้เราเสียเวลา(เสียเวลาอ่าน แล้วก็มาเสียเวลาวิตกวิจารณ์) ผมก็เคยเป็นอ่านมาเยอะเหมือนกัน
ทำให้รู้ว่าเสียเวลามาก ธรรมะของจริงไม่ได้เกิดจากการอ่าน แต่เกิดจากการภาวนา ความรู้ที่เกิดจากการอ่านหรือการฟังเป็นความรู้ของคนอื่นเราแค่อ่านมาฟังมาได้แค่ความจำ แต่ความรู้ที่เกิดจากการภาวนา(ภาวนามัยปัญญา)เป็นความรู้ที่เกิดจากเราเอง เป็นความรู้แท้ "
เพราะปัญญามี 3 ระดับ คือ
1.สุตมยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการฟัง หมายถึงเอาปัญญาความรู้ความเข้าใจ จากการอ่านและการฟังทบทวนศึกษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งมีพื้นฐานความรู้ ที่ถูกต้องและแม่นยำ ในอรรถะและพยัญชนะ
2.จินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดพิจารณา หมายถึงปัญญาที่ได้จากการคิดใคร่ครวญ พินิจพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ อย่างตกผลึกตามขั้นตอนของเหตุผล และความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมิใช่การจดจำเฉย ๆ แต่สามารถมองสภาพปรมัตถ์ธรรมออกด้วยจินตนาการ เข้าใจถึงเป้าหมายและรายละเอียดธรรมะได้ตรงทาง ไม่ว่าจะเป็นนัยตรงหรือเชิงประยุกต์ เพียงแต่มิได้อยู่ในฐานะเป็น"ผู้เห็นด้วยตนเอง"ก็เท่านั้น
3.ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่สำเร็จโดยการภาวนา หมายถึง ปัญญาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางของมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วประจักษ์แจ้งในความมิใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล ของขันธุ์ 5 เพราะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น แม้ 'ใจ' หรือ 'วิญญาณ' ก็ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นแล้ว ก็จะไม่เหลือคุณค่าสาระใดๆ ที่จะต้องยึดถือให้เกิดความทุกข์ทรมาน บีบคั้นจิตใจอีกต่อไป.
ปัญญาที่จะทำให้เราหลุดพ้นซึ่ง สังสารวัฏ ได้ คือ ภาวนามยปัญญา
ขอให้ความสงบซึ่งเกิดจากธรรม จงมีแด่ท่านผู้แสวงหาความหลุดพ้น ขอให้ปัญญาจงมีแด่ท่านซึ่งประกอบด้วยความเพียรด้วยปัญญา
ที่มาแชร์มุมมองและประสบการณ์การภาวนา ผมเห็นด้วยกับคุณ cobain_vi เป็นอย่างยิ่งที่ บอกว่า " ผมไม่อยากให้อ่านหนังสือหรือฟังธรรมะกันมากๆนะครับ ฟังมากอ่านมากสัญญายิ่งเยอะ วิตกวิจารณ์ก็เยอะ รู้มากๆเผินๆเหมือนจะดีแต่มันจะทำให้เราเสียเวลา(เสียเวลาอ่าน แล้วก็มาเสียเวลาวิตกวิจารณ์) ผมก็เคยเป็นอ่านมาเยอะเหมือนกัน
ทำให้รู้ว่าเสียเวลามาก ธรรมะของจริงไม่ได้เกิดจากการอ่าน แต่เกิดจากการภาวนา ความรู้ที่เกิดจากการอ่านหรือการฟังเป็นความรู้ของคนอื่นเราแค่อ่านมาฟังมาได้แค่ความจำ แต่ความรู้ที่เกิดจากการภาวนา(ภาวนามัยปัญญา)เป็นความรู้ที่เกิดจากเราเอง เป็นความรู้แท้ "
เพราะปัญญามี 3 ระดับ คือ
1.สุตมยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการฟัง หมายถึงเอาปัญญาความรู้ความเข้าใจ จากการอ่านและการฟังทบทวนศึกษาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งมีพื้นฐานความรู้ ที่ถูกต้องและแม่นยำ ในอรรถะและพยัญชนะ
2.จินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จโดยการคิดพิจารณา หมายถึงปัญญาที่ได้จากการคิดใคร่ครวญ พินิจพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ อย่างตกผลึกตามขั้นตอนของเหตุผล และความสัมพันธ์ต่างๆ โดยมิใช่การจดจำเฉย ๆ แต่สามารถมองสภาพปรมัตถ์ธรรมออกด้วยจินตนาการ เข้าใจถึงเป้าหมายและรายละเอียดธรรมะได้ตรงทาง ไม่ว่าจะเป็นนัยตรงหรือเชิงประยุกต์ เพียงแต่มิได้อยู่ในฐานะเป็น"ผู้เห็นด้วยตนเอง"ก็เท่านั้น
3.ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่สำเร็จโดยการภาวนา หมายถึง ปัญญาของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางของมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วประจักษ์แจ้งในความมิใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล ของขันธุ์ 5 เพราะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น แม้ 'ใจ' หรือ 'วิญญาณ' ก็ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นแล้ว ก็จะไม่เหลือคุณค่าสาระใดๆ ที่จะต้องยึดถือให้เกิดความทุกข์ทรมาน บีบคั้นจิตใจอีกต่อไป.
ปัญญาที่จะทำให้เราหลุดพ้นซึ่ง สังสารวัฏ ได้ คือ ภาวนามยปัญญา
ขอให้ความสงบซึ่งเกิดจากธรรม จงมีแด่ท่านผู้แสวงหาความหลุดพ้น ขอให้ปัญญาจงมีแด่ท่านซึ่งประกอบด้วยความเพียรด้วยปัญญา