|0 คอมเมนต์
ข้อมูลผิดค่อนข้างมากนะครับ ถ้าไม่ได้ตรวจสอบจากเวป กลต.
drsp เขียน:
กรรมการตรวจสอบ นอกจากมีหน้าที่ สอบทาน งบการเงิน รายงานข้อมูล ให้ถูกต้องแล้ว ยังมีหน้าที่ รับผิดชอบ สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
ความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ บมจ. ซีพีออลล์ จึงควรจะจำกัดเพียงแค่ว่า เมื่อกรรมการและผู้บริหารของซีพีออลล์ ทำผิดมาตรา 241 พรบ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2535 ยังจะมีคุณสมบัติของการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ตามกฎของ ก.ล.ต. และตามนโยบายเรื่องกรรมการและผู้บริหารของ ซีพีอออล์เองหรือไม่
"กรรมการตรวจสอบคือกรรมการบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งจาก Board ให้อยู่ในคณะกรรมการชุดย่อยที่ชื่อว่า คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) เพื่อทำหน้าที่สอบทานรายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายใน รวมทั้งให้มีการเปิดเผยข้อมูลรายการเกี่ยวโยงให้ครบถ้วน ฯลฯ"
กรรมการตรวจสอบไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินกฏ ก.ล.ต นะครับ อันนั้นควรจะเป็นก.ล.ต ตัดสิน
drsp เขียน:มติของคณะกรรมการตรวจสอบซีพีออลล์ เป็นการเห็นแก่ประโยชน์ในทางธุรกิจองบริษัทซีพีอออล์ มากกว่า หลักการกำกับกิจการที่ดี ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการส่งสารต่อสังคมว่า คนทำผิด หรือ ทุจริต อาจได้รับการให้อภัย เพราะเป็นคนเก่ง มีความสามารถ ผิดหรือโกงไม่เป็นไร ถ้าเป็นคนเก่ง
"Q: กรรมการที่ปฏิบัติหน้าที่โดย "เชื่อโดยสุจริต" ไม่ว่าจะอย่างสมเหตุสมผลหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่หากไม่ได้มีการแสวงหาผลประโยชน์มิชอบแล้ว จะถือว่ามีความผิดหรือไม่
A: มาตรา 89/8 กำหนดลักษณะการตัดสินใจของกรรมการหรือผู้บริหารที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและระมัดระวังต้องเป็นดังนี้
(1) การตัดสินใจได้กระทำไปด้วยความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ
(2) การตัดสินใจได้กระทำบนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อโดยสุจริตว่าเพียงพอ และ
(3) การตัดสินใจได้กระทำไปโดยตนไม่มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่ตัดสินใจนั้น ดังนั้น การที่กรรมการและผู้บริหารจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติข้างต้น จึงต้องมีลักษณะการตัดสินใจที่ครบถ้วนตามเกณฑ์ข้างต้นทุกข้อ
Q: “การตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท” มีความหมายอย่างไร
A: หมายถึง ในการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัท ซึ่งหมายความถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยรวม"
อันนี้ชัดเจนนะครับ กรรมการทั้งหมดมีหน้าที่คำนึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัท ของผู้ถือหุ้นโดยรวม ไม่ได้มีหน้าที่ทำตามคำเรียกร้องของกองทุน หรือผู้ถือหุ้นบางส่วน
ดังนั้นการที่กรรมการบริษัทตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท ก็คือการทำหน้าที่ตามบทบาทที่ถูกต้องแล้ว เช่นเดียวกับกองทุน หรือสมาคม หรือผู้ถือหุ้นบางส่วนยึดมั่นในหลักการของตัวเอง และออกมาเรียกร้องธรรมมาภิบาล ...ผมชื่นชมคนที่ทำตามหน้าที่่ของตัวเองครับ
ส่วนเรื่องการส่งสารต่อสังคม ผมว่าคนเขียนใส่สีตีไข่และใส่ความเห็นของตัวเองด้านเดียวครับ สำหรับผม กรณีนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเด็ดขาดของกลต. ที่กล้าเปรียบเทียบปรับผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่และประกาศแบบไม่ไว้หน้า ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึง การตัดสินใจของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่รักษาลูกน้องไว้ ใช้เหตุผล ใช้ความเป็นธรรมโดยไม่ได้ใช้การตัดสินใจตามกระแสสังคม ...ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ที่จะเซย์โนท่ามกลางกระแสโซเชียลแบบนี้
และสุดท้าย แสดงให้เห็นถึง บทบาทหน้าที่ของสมาคมต่าง ๆ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่พยายามรักษาหลักการของธรรมาภิบาล แม้จะรู้ว่ามีผลค่อนข้างน้อย แต่ก็พยายามทำสิ่งที่ตนทำได้อย่างดีที่สุด...
drsp เขียน:คณะกรรมการตรวจสอบ 3 คน ของ ซีพีออลล์ ประกอบด้วย นายโกเมน ภัทรภิรมย์ อดีตอัยการสูงสุด ตุลาการรัฐธรรมนุญ และ กรรมการร่างฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ นายปรีดี บุญยัง อดีตอธิบดี กรมบัญชีกลาง กรมศุลกากร และกรมธนารักษ์ นายผดุง เตชะศรินทร์ อดีตกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย
กรรมการอิสระอีก 2 คนคือ นายศุภชัย พิศิษฐวานิช อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รายงานประจำปีของบมจ. ซีพีอออล์ ประจำปี 2557 เรื่องค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินของ คณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2557 นายโกเมน ได้รับค่าตอบแทน 1,200,000 บาท ได้ โบนัส 4,465, ,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ห้าล้านแปดแสนบาท
นายปรีดี และนายผดุง ได้รับ ค่าตอบแทนคนละ 1,080,000 บาท โบนัสคนละ 4,020,000 บาท รวมห้า ล้านหนึ่งแสนบาท
นายศุภชัย ซึ่งเป็น กรรมการอิสระเพียงตำแหน่งเดียว ไม่ได้เป็นกรรมการตรวจสอบด้วย ได้ ค่าตอบแทน 720,000 บาท โบนัส 2,680,000 บาท รวมสามล้านสี่แสนบาท
พล. ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กรรมการอิสระ ได้รับ ค่าตอบแทน 720,000 บาท โบนัส 2,457,000บาท รวม สามล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาท
ยกเว้นพลตำรวจเอกพัชรวาท ซึ่งเพิ่งเป็นกรรมการอิสระ เมื่อต้นปี 2556 กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระคนอื่นๆ ล้วนอยู่ในตำแหน่งคนละหลายๆปี
นายศุภชัย เป็นกรรมการอิสระ ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน รวม 6 ปี นายโกเมน เป็นกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระตั้งแต่ปี 2548 นายปรีดี และนายผดุง เป็นกรรมการตรวจสอบตั้งแต่ปี 2542 รวมแล้วนานถึง 16 ปี
แต่อันสุดท้ายนี่ ผมไม่แน่ใจว่า source ของข่าวมาจากไหน แต่ขอประนามว่า "ทุเรศ" ครับ ที่เอาชื่อ เอาเงินรายได้มาประกาศ เหตุผลที่ทำ ผมคิดได้แค่ว่าเพียงเพื่อ discredit หรือพยายามกดดันการทำงานโดยอาศัยกระแสสังคม มันทำให้ผมนึกถึง "กีฬาสี" ที่เพิ่งผ่านไป ใครที่ไม่เห็นด้วย หรือไม่ใช่พวกตัวเองก็จะประกาศชื่อ เรียกร้องให้พวกตัวเองช่วยกันแอนตี้ อาศัยกฏหมู่เพื่อเอาชนะคะคานกัน...
ถ้าจะต่อสู้กัน ก็ต่อสู้ตามวิถีทางที่ขาวสะอาดดีกว่าครับ กระแสโซเชียลมันเป็นดาบสองคม ผมแอนตี้คนที่ใช้สิ่งเหล่านี้แบบผิด ๆ ครับ