AH หน้ามืดแล้ว
- Doraemon
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 2
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่1(F45-3)
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ไตรมาสที่ 1
ปี 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 114,486 205,391
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.48 0.86
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุ
ประกอบงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบ
การเงินฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน
ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ _______________________
( นาย เย็บ ซู ชวน )
ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ไตรมาสที่ 1
ปี 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 114,486 205,391
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.48 0.86
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุ
ประกอบงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์
"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบ
การเงินฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน
ก.ล.ต.เรียบร้อยแล้ว"
ลงลายมือชื่อ _______________________
( นาย เย็บ ซู ชวน )
ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
- Doraemon
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 3
วันที่ 15 พฤษภาคม 2549
เรื่อง ชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2549
เรียน กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) แถลงผลประกอบการของบริษัทฯ
และบริษัทในเครือ สำหรับไตรมาสที่1 ของปี 2549 มีผลกำไรสุทธิ 114.49 ล้านบาท
หรือ 0.48 บาทต่อหุ้น ลดลง 44% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีผล
กำไรสุทธิ 205.39 ล้านบาท หรือ 0.86 บาทต่อหุ้น ซึ่งสามารถสรุป ผลประกอบการ
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
ปี 2548 ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ไตรมาสที่ 1 ปี 2549
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
ยอดขาย 8,068.92 1,870.56 1,926.50
กำไรสุทธิ 710.82 205.39 114.49
สาเหตุหลักที่ทำให้กำไรสุทธิงวดไตรมาสแรกลดลง เนื่องจากการให้ส่วนลดของการ
จำหน่ายชิ้นส่วนโครงช่วงล่างรถกระบะ ให้แก่อีซูซุ คิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 108
ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการให้ส่วนลดตามสัญญากับทางอีซูซุ อย่างไรก็ตาม คาดว่า
ผลประกอบการในไตรมาสต่อไป จะดีขึ้นและเป็นไปตามประมาณการของบริษัทที่
ได้ทำไว้
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
________________________________
( นาย เย็บ ซู ชวน )
ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
เรื่อง ชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2549
เรียน กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) แถลงผลประกอบการของบริษัทฯ
และบริษัทในเครือ สำหรับไตรมาสที่1 ของปี 2549 มีผลกำไรสุทธิ 114.49 ล้านบาท
หรือ 0.48 บาทต่อหุ้น ลดลง 44% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ซึ่งมีผล
กำไรสุทธิ 205.39 ล้านบาท หรือ 0.86 บาทต่อหุ้น ซึ่งสามารถสรุป ผลประกอบการ
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้
ปี 2548 ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ไตรมาสที่ 1 ปี 2549
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท)
ยอดขาย 8,068.92 1,870.56 1,926.50
กำไรสุทธิ 710.82 205.39 114.49
สาเหตุหลักที่ทำให้กำไรสุทธิงวดไตรมาสแรกลดลง เนื่องจากการให้ส่วนลดของการ
จำหน่ายชิ้นส่วนโครงช่วงล่างรถกระบะ ให้แก่อีซูซุ คิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 108
ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการให้ส่วนลดตามสัญญากับทางอีซูซุ อย่างไรก็ตาม คาดว่า
ผลประกอบการในไตรมาสต่อไป จะดีขึ้นและเป็นไปตามประมาณการของบริษัทที่
ได้ทำไว้
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
________________________________
( นาย เย็บ ซู ชวน )
ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- Doraemon
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 4
ผิดหวังที่ชี้แจงไม่ละเอียดเลยครับ กำไรลดไม่เท่าไหร่ แต่ความโปร่งใสนี่สิสำคัญกว่า :roll:
ล่าสุดมีแผนซื้อหุ้นคืนด้วย ไม่รู้ออกแผนมาพยุงราคาหุ้นหรือเปล่า? แต่ถ้าออกเพราะมองว่าราคาหุ้นถูกไปจริงๆ ก็ดีครับ
ตัวนี้วิเคราะห์ยากจัง เอาไงดีหว่า...
ล่าสุดมีแผนซื้อหุ้นคืนด้วย ไม่รู้ออกแผนมาพยุงราคาหุ้นหรือเปล่า? แต่ถ้าออกเพราะมองว่าราคาหุ้นถูกไปจริงๆ ก็ดีครับ
ตัวนี้วิเคราะห์ยากจัง เอาไงดีหว่า...
- Doraemon
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 5
แบบรายงานการเปิดเผยการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน
(ตาม ม. 66/1 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาชนจํากัด)
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จํากัด (มหาชน)
วันที่ 11 พฤษภาคม 2549
ข้าพเจ้าบริษัท อาปิโก ไฮเทค จํากัด (มหาชน).ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะ
กรรมการครั้งที่ 13/2549 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2549 เกี่ยวกับการอนุมัติโครงการ
ซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.โครงการซื้อหุ้นคืน
1.1 วงเงินสูงสุดที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืน 847,080,000 บาท
1.2 จํานวนหุ้นที่จะซื้อคืน 28,236,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
จํานวนหุ้นที่จะซื้อคืน คิดเป็นร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
1.3 วิธีการในการซื้อหุ้นคืน
/ ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ในราคา ............ บาท/หุ้น
(ต้องเป็นราคาเดียวกัน) กําหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2549
ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549
หมายเหตุ บริษัทต้องเปิดเผยโครงการซื้อคืนหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันซื้อหุ้น โดย
1. ซื้อใน ตลท. ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
2. เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ต้องไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 20 วัน
1.4 หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน โดยให้นําราคาหุ้นเฉลี่ย
ย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทจะทําการเปิดเผยข้อมูลมาประกอบการพิจารณากําหนด
ราคาหุ้นด้วย
ราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่จะทำการเปิดเผยข้อมูลเท่ากับ 26.23 บาท
ต่อหุ้น
ราคาซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกครั้งจะไม่เกิน 115% ของราคา
ปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
2. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
2.1 ข้อมูลกําไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัท
ข้อมูลจากงบการเงินสอบทาน/ตรวจสอบงวดล่าสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548
- กําไรสะสมของบริษัท เท่ากับ 1,494,438,335 บาท
- หนี้สินที่ถึงกําหนดชําระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน
เท่ากับ 150,000,000 บาท
- อธิบายความสามารถในการชําระหนี้ของบริษัทที่ถึงกําหนดชําระภาย
ใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน โดยระบุแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการการชําระหนี้คืน
บริษัทมีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอ โดยสามารถใช้แหล่งเงินทุนจากทุนหมุน
เวียนของบริษัทในการชำระหนี้คืน
2.2 จํานวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free float) ณ วันปิดสมุดทะเบียน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2549 เท่ากับ 74,797,341 หุ้น เท่ากับร้อยละ 31.17
ของทุนชําระแล้วของบริษัท ทั้งนี้บริษัทได้แนบแบบแสดงรายการการกระจายการถือหุ้น
ของบริษัทมาพร้อมนี้
3. เหตุผลในการซื้อหุ้นคืน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทางการเงิน และยังส่งผลให้ผลตอบแทนต่อ
ผู้ถือหุ้นสูงขึ้น
4. ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน
4.1 ต่อผู้ถือหุ้น : ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนต่อหุ้นสูงขึ้น
4.2 ต่อบริษัท : ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงตามงบการเงินของบริษัท
5. การจําหน่ายและการตัดหุ้นที่ซื้อคืน
- วิธีการจําหน่ายหุ้น / ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
- กําหนดระยะเวลาจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 (ภายหลัง 6 เดือน นับแต่การซื้อหุ้นคืนเสร็จสิ้นแต่ต้องไม่เกิน 3 ปี)
- หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาที่จะจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน
ในราคาไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
6. การซื้อหุ้นคืนในอดีต (ถ้ามี)
วันสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนครั้งหลังสุด ไม่มี่
(การซื้อหุ้นคืนตามโครงการใหม่จะกระทําได้เมื่อครบกําหนดระยะเวลาเกิน 1 ปี
นับแต่วันสิ้นสุดโครงการครั้งหลังสุด)
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
ลายมือชื่อ .................................................... กรรมการหรือเลขานุการบริษัท
(นายเย็บ ซู ชวน) หรือผู้บริหารซึ่งเป็นผู้มีอํานาจ
ลงนามแทนบริษัท
ประทับตราบริษัท ตําแหน่ง ประธานกรรมการ
หมายเหตุ : ให้บริษัทจดทะเบียนรายงานมติคณะกรรมการอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน
ภายในวันที่คณะกรรมการมีมติหรือภายใน9.00 น. ของวันทําการถัดไป โดยนําส่ง
รายงานทางโทรสารและ On-line ผ่านระบบ ELCID ของตลาดหลักทรัพย์
(ตาม ม. 66/1 (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาชนจํากัด)
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จํากัด (มหาชน)
วันที่ 11 พฤษภาคม 2549
ข้าพเจ้าบริษัท อาปิโก ไฮเทค จํากัด (มหาชน).ขอแจ้งมติที่ประชุมคณะ
กรรมการครั้งที่ 13/2549 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2549 เกี่ยวกับการอนุมัติโครงการ
ซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.โครงการซื้อหุ้นคืน
1.1 วงเงินสูงสุดที่จะใช้ในการซื้อหุ้นคืน 847,080,000 บาท
1.2 จํานวนหุ้นที่จะซื้อคืน 28,236,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
จํานวนหุ้นที่จะซื้อคืน คิดเป็นร้อยละ 10 ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด
1.3 วิธีการในการซื้อหุ้นคืน
/ ซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ในราคา ............ บาท/หุ้น
(ต้องเป็นราคาเดียวกัน) กําหนดระยะเวลาที่จะซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2549
ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549
หมายเหตุ บริษัทต้องเปิดเผยโครงการซื้อคืนหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันซื้อหุ้น โดย
1. ซื้อใน ตลท. ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
2. เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ต้องไม่น้อยกว่า 10 วัน และไม่เกิน 20 วัน
1.4 หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน โดยให้นําราคาหุ้นเฉลี่ย
ย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทจะทําการเปิดเผยข้อมูลมาประกอบการพิจารณากําหนด
ราคาหุ้นด้วย
ราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่จะทำการเปิดเผยข้อมูลเท่ากับ 26.23 บาท
ต่อหุ้น
ราคาซื้อคืนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทุกครั้งจะไม่เกิน 115% ของราคา
ปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
2. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
2.1 ข้อมูลกําไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัท
ข้อมูลจากงบการเงินสอบทาน/ตรวจสอบงวดล่าสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548
- กําไรสะสมของบริษัท เท่ากับ 1,494,438,335 บาท
- หนี้สินที่ถึงกําหนดชําระภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน
เท่ากับ 150,000,000 บาท
- อธิบายความสามารถในการชําระหนี้ของบริษัทที่ถึงกําหนดชําระภาย
ใน 6 เดือน นับแต่วันที่จะซื้อหุ้นคืน โดยระบุแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการการชําระหนี้คืน
บริษัทมีสภาพคล่องคงเหลือเพียงพอ โดยสามารถใช้แหล่งเงินทุนจากทุนหมุน
เวียนของบริษัทในการชำระหนี้คืน
2.2 จํานวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย (Free float) ณ วันปิดสมุดทะเบียน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2549 เท่ากับ 74,797,341 หุ้น เท่ากับร้อยละ 31.17
ของทุนชําระแล้วของบริษัท ทั้งนี้บริษัทได้แนบแบบแสดงรายการการกระจายการถือหุ้น
ของบริษัทมาพร้อมนี้
3. เหตุผลในการซื้อหุ้นคืน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทางการเงิน และยังส่งผลให้ผลตอบแทนต่อ
ผู้ถือหุ้นสูงขึ้น
4. ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน
4.1 ต่อผู้ถือหุ้น : ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนต่อหุ้นสูงขึ้น
4.2 ต่อบริษัท : ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงตามงบการเงินของบริษัท
5. การจําหน่ายและการตัดหุ้นที่ซื้อคืน
- วิธีการจําหน่ายหุ้น / ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
- กําหนดระยะเวลาจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 (ภายหลัง 6 เดือน นับแต่การซื้อหุ้นคืนเสร็จสิ้นแต่ต้องไม่เกิน 3 ปี)
- หลักเกณฑ์ในการกําหนดราคาที่จะจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน
ในราคาไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายล่าสุด
6. การซื้อหุ้นคืนในอดีต (ถ้ามี)
วันสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนครั้งหลังสุด ไม่มี่
(การซื้อหุ้นคืนตามโครงการใหม่จะกระทําได้เมื่อครบกําหนดระยะเวลาเกิน 1 ปี
นับแต่วันสิ้นสุดโครงการครั้งหลังสุด)
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
ลายมือชื่อ .................................................... กรรมการหรือเลขานุการบริษัท
(นายเย็บ ซู ชวน) หรือผู้บริหารซึ่งเป็นผู้มีอํานาจ
ลงนามแทนบริษัท
ประทับตราบริษัท ตําแหน่ง ประธานกรรมการ
หมายเหตุ : ให้บริษัทจดทะเบียนรายงานมติคณะกรรมการอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน
ภายในวันที่คณะกรรมการมีมติหรือภายใน9.00 น. ของวันทําการถัดไป โดยนําส่ง
รายงานทางโทรสารและ On-line ผ่านระบบ ELCID ของตลาดหลักทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 97
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 6
วันนี้ลบไปตั้ง3บาท พอๆกับmetcoเลย
SAT YNPก็เอาตัวไม่รอด
SAT YNPก็เอาตัวไม่รอด
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4244
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 7
ผมเชื่อว่าไม่ใช่เพื่อพยุงราคาหุ้นนะ ผมมองว่าเป็นการสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้มั่นใจในบริษัทมากกว่า
กำไรลดคาดการณ์กันไว้แล้ว แต่ไม่คาดว่ามันจะแรงขนาดนี้
ปลายปีนี้หลังขยายกำลังการผลิตเรียบร้อย รวมถึงปีหน้าที่เริ่มโรงงานใหม่ควรจะเป็นปีที่ยอดเยี่ยมได้
ถ้าเป็นเช่นนี้จริง EPS น่าจะเติบโตได้น่าดูเลย
กำไรลดคาดการณ์กันไว้แล้ว แต่ไม่คาดว่ามันจะแรงขนาดนี้
ปลายปีนี้หลังขยายกำลังการผลิตเรียบร้อย รวมถึงปีหน้าที่เริ่มโรงงานใหม่ควรจะเป็นปีที่ยอดเยี่ยมได้
ถ้าเป็นเช่นนี้จริง EPS น่าจะเติบโตได้น่าดูเลย
_________
- Doraemon
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 8
เห็นทีแผนซื้อคืนจะมีกลิ่นตุๆ ซะแล้ว เล่นเลื่อนไปกลางปีหน้าแบบนี้ ใครถืออยู่ดูดีๆ ด้วยครับ
วันที่ 17 พฤษภาคม 2549
เรื่อง เปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาจำหน่ายหุ้นที่จะซื้อคืน
เรียน กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลา
การจำหน่ายหุ้นที่จะซื้อคืน ที่ได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
ครั้งที่ 13/2549 และแบบรายงานการเปิดเผยการซื้อหุ้นคืน ซึ่งเผยแพร่ในวันที่
16 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดระยะเวลาใหม่ คือ ตั้งแต่
วันที่ 1 มิถุนายน 2550 ถึง วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552
วันที่ 17 พฤษภาคม 2549
เรื่อง เปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาจำหน่ายหุ้นที่จะซื้อคืน
เรียน กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลา
การจำหน่ายหุ้นที่จะซื้อคืน ที่ได้ระบุไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
ครั้งที่ 13/2549 และแบบรายงานการเปิดเผยการซื้อหุ้นคืน ซึ่งเผยแพร่ในวันที่
16 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยมีกำหนดระยะเวลาใหม่ คือ ตั้งแต่
วันที่ 1 มิถุนายน 2550 ถึง วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4244
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 9
- กําหนดระยะเวลาจําหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 (ภายหลัง 6 เดือน นับแต่การซื้อหุ้นคืนเสร็จสิ้นแต่ต้องไม่เกิน 3 ปี)
ที่เป็นคือเวลาจำหน่ายหุ้นกลับครับ ไม่ใช่เวลาซื้อคืน
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 (ภายหลัง 6 เดือน นับแต่การซื้อหุ้นคืนเสร็จสิ้นแต่ต้องไม่เกิน 3 ปี)
ที่เป็นคือเวลาจำหน่ายหุ้นกลับครับ ไม่ใช่เวลาซื้อคืน
_________
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 11
ตัวนี้ผมเคยเข้าไปเมื่อปลายปีที่แล้ว เพราะความเชื่อว่าญี่ปุ่นไม่น่าจะยอมซื้อของแพง(ถ้าจำไม่ผิดราคาเพิ่มทุนที่34.5)ซัดเข้าไปประมาณ15%ของปอด
ดีที่นายตลาดใจดีมีการไล่ราคาไปให้ผมขาย แล้วออกมานอนดูอยู่ในโรงพยาบาลห่างๆเมื่อต้นปี กะไว้ว่าคงจะนอนอยู่ในโรงพยาบาลนานหน่อยแล้วปีหน้าฟ้าใหม่เก็บเงินปันผลจากค่าพักฟื้น แล้วค่อยไปซื้อISUZUอีกรอบครับ :lol:
ดีที่นายตลาดใจดีมีการไล่ราคาไปให้ผมขาย แล้วออกมานอนดูอยู่ในโรงพยาบาลห่างๆเมื่อต้นปี กะไว้ว่าคงจะนอนอยู่ในโรงพยาบาลนานหน่อยแล้วปีหน้าฟ้าใหม่เก็บเงินปันผลจากค่าพักฟื้น แล้วค่อยไปซื้อISUZUอีกรอบครับ :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 15
จำไม่ได้เหรอ ตอน psl ซื้อหุ้นคืน พอหุ้นลง พวกเราหลายคนในตลาดหุ้นดอดทคอม โวยวายใหญ่ ทำไมบริษัทไม่ซื้อคืน
ต่อมา
หุ้นลงต่ออีก
ก็มีการซื้อขาย
พอหุ้นขึ้นมา บริษัทซื้อคืน
พอหุ้นขึ้นไปมากๆ
บริษัทไม่ได้ขาย
ไม่รู้ใครขาย
พอหุ้นลง หรือขึ้น ต่อไป ผมไม่ได้ตามแล้ว
เอาเป็นว่า โครงการซื้อคืน
มีเงินสองกระเป่า
1. เงินบริษัท
2. เงินตัวเอง
ผมไม่ได้บอกว่า AH จะเป็นแบบนี้นะ
เหอๆ แต่ ลองคิด ความน่าจะเป็น
ว่า ถ้าลงไปเยอะๆ 15 บาท แล้วโนมินี่ซื้อก่อน พอขึ้นมาแล้ว บริษัทค่อยซื้อ
เหอๆ ใครรวย
อันนี้ ไม่ได้บอกนะว่า AH จะเป็นแบบนี้ แค่คิดถึงความเป็นไปได้คับ
ต่อมา
หุ้นลงต่ออีก
ก็มีการซื้อขาย
พอหุ้นขึ้นมา บริษัทซื้อคืน
พอหุ้นขึ้นไปมากๆ
บริษัทไม่ได้ขาย
ไม่รู้ใครขาย
พอหุ้นลง หรือขึ้น ต่อไป ผมไม่ได้ตามแล้ว
เอาเป็นว่า โครงการซื้อคืน
มีเงินสองกระเป่า
1. เงินบริษัท
2. เงินตัวเอง
ผมไม่ได้บอกว่า AH จะเป็นแบบนี้นะ
เหอๆ แต่ ลองคิด ความน่าจะเป็น
ว่า ถ้าลงไปเยอะๆ 15 บาท แล้วโนมินี่ซื้อก่อน พอขึ้นมาแล้ว บริษัทค่อยซื้อ
เหอๆ ใครรวย
อันนี้ ไม่ได้บอกนะว่า AH จะเป็นแบบนี้ แค่คิดถึงความเป็นไปได้คับ
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 17
ahเป็นต.ย.ของการมีลูกค้ารายใหญ่ไม่กี่ราย
ทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองสูง
และการออกจากธุรกิจก็ออกยากด้วย
เพราะลงทุนสร้างโรงงานไปแล้ว
ทำให้ต้องกัดฟันอยู่
คล้ายกับรายของceiที่ทำเอาชาวviเละไปแล้วหลายคน
ทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองสูง
และการออกจากธุรกิจก็ออกยากด้วย
เพราะลงทุนสร้างโรงงานไปแล้ว
ทำให้ต้องกัดฟันอยู่
คล้ายกับรายของceiที่ทำเอาชาวviเละไปแล้วหลายคน
หนักแน่นในแนวทางviพันธ์แท้
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 19
แล้วกรณีนี้จะเหมือน SPPT ใหม มีลูกค้าไม่กี่รายประจวบ เขียน:ahเป็นต.ย.ของการมีลูกค้ารายใหญ่ไม่กี่ราย
ทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองสูง
และการออกจากธุรกิจก็ออกยากด้วย
เพราะลงทุนสร้างโรงงานไปแล้ว
ทำให้ต้องกัดฟันอยู่
คล้ายกับรายของceiที่ทำเอาชาวviเละไปแล้วหลายคน
แถมเงินต้องนํามาลงเครื่องจักรทุกปี
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 20
แล้วกรณีนี้จะเหมือน SPPT ใหม มีลูกค้าไม่กี่รายประจวบ เขียน:ahเป็นต.ย.ของการมีลูกค้ารายใหญ่ไม่กี่ราย
ทำให้ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองสูง
และการออกจากธุรกิจก็ออกยากด้วย
เพราะลงทุนสร้างโรงงานไปแล้ว
ทำให้ต้องกัดฟันอยู่
คล้ายกับรายของceiที่ทำเอาชาวviเละไปแล้วหลายคน
แถมเงินต้องนํามาลงเครื่องจักรทุกปี
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 21
เท่าที่ดู ราคาร่วงเอา ๆ อย่างงี้ คงไม่ใช่เป็นเพราะ กำไรลดอย่างเดียวแล้ว ถ้าไม่เป็นเพราะนายตลาด ทำงานดีเกินเหตุ ก็อาจจะมีข่าวร้ายรออยู่อีกก็ได้ เดาเล่น ๆ รอดูวันประชุมวิสามัญ วันที่ 26 นี้ดีกว่าว่าจะมีลูกเล่นอะไรอีก
ส่วนประเด็นเรื่องถูกกดราคาก็ไม่น่าจะเป็นเหมือน cei นะผมว่าเพราะโรงงานที่ผลิตในประเทศไทย มีไม่กี่โรง ถ้าเกิดซัพพรายช็อตขึ้นมาอีซูซู ก็เสียหายด้วยเหมือนกัน แล้วจะไปหาซัพพรายเออร์ ที่ไหนในเมื่อกำลังการผลิตเฟรมของบริษัทอื่นก็ไม่พอ แต่ที่ah ต้องลดราคาขายให้เพราะเป็นสัญญาที่ทำไว้ตอนที่ ah ไปเทคโอเวอร์โรงงานนี้มา ก็เลยต้องรับภาระนี้ได้ด้วย
สรุปก็คืองานนี้ถ้าใครวิเคราะห์ถูกก็ได้เงินเป็นรางวัล
หมายเหตุต้องซื้อหุ้นด้วยนะถึงจะได้
ส่วนประเด็นเรื่องถูกกดราคาก็ไม่น่าจะเป็นเหมือน cei นะผมว่าเพราะโรงงานที่ผลิตในประเทศไทย มีไม่กี่โรง ถ้าเกิดซัพพรายช็อตขึ้นมาอีซูซู ก็เสียหายด้วยเหมือนกัน แล้วจะไปหาซัพพรายเออร์ ที่ไหนในเมื่อกำลังการผลิตเฟรมของบริษัทอื่นก็ไม่พอ แต่ที่ah ต้องลดราคาขายให้เพราะเป็นสัญญาที่ทำไว้ตอนที่ ah ไปเทคโอเวอร์โรงงานนี้มา ก็เลยต้องรับภาระนี้ได้ด้วย
สรุปก็คืองานนี้ถ้าใครวิเคราะห์ถูกก็ได้เงินเป็นรางวัล
หมายเหตุต้องซื้อหุ้นด้วยนะถึงจะได้
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 22
FTAแผลงฤทธิ์อินเดียได้ดุลชิ้นส่วนไทย
เอฟทีเอไทยเพลี่ยงพล้ำอินเดีย ล่าสุดชิ้นส่วนรถยนต์แดนภารตะไหลทะลักในอัตราเพิ่มมากกว่าไทยส่งออก ส่งผลปี 48 ไทยขาดดุลการค้ากว่า 520 ล้าน ขณะที่ปี 49 ส่อขาดดุลเพิ่ม 3 เดือนแรกนำเข้าพุ่งกว่า 70% สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯชี้เหตุภาษีเอื้อ โรงงานรถญี่ปุ่นแห่นำเข้าเพิ่ม
แหล่งข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศ(คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)ไทย-อินเดีย ที่ทั้งสองประเทศได้มีการลดภาษีสินค้านำร่อง(Early Harvest) จำนวน 82 รายการ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.47 โดยจะทยอยลดภาษีลงเหลือ 0 ในปี 49 ทั้งนี้ในกลุ่มสินค้านำร่องซึ่งมีสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ 9 รายการรวมอยู่ด้วย จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ภายหลังการลดภาษี มูลค่าการค้าของสินค้าในกลุ่มนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
โดยสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ไทยส่งไปอินเดียที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องระบายหรือเครื่องหมุนเวียนอากาศ(ปี 48 ขยายตัว 1,623%) ล้อตุนแรงและพูลเลย์ รวมถึงพูลเลย์บล็อก (ปี 48 ขยายตัว 438%) ขณะที่สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่อินเดียส่งออกมาไทยที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากได้แก่ กระปุกเกียร์ ขยายตัว 611% และอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมอัตโนมัติขยายตัว 3,175%
อย่างไรก็ตามแม้มูลค่าการค้าสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ 9 รายการที่นำมาลดภาษีกันในครั้งนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกชิ้นส่วนยายนต์ของไทยไปอินเดียขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏมูลค่าการนำเข้าของไทยจากอินเดียในกลุ่มสินค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวน้อยกว่าที่อินเดียส่งออกมาไทย ซึ่งจากข้อมูลในปี 48 ไทยมีการนำเข้าสินค้ายานยนต์จากอินเดียในกลุ่มนำร่องลดภาษี 9 รายการมูลค่า 1,512 ล้านบาท ขณะที่ไทยส่งออกสินค้าในกลุ่มเดียวกันไปอินเดียมูลค่า 985 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามูลค่า 527 ล้านบาทจากที่เคยเกินดุลในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มสินค้าดังกล่าวของไทยในอินเดียเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่อินเดียยังคงมีการนำเข้าจากแหล่งสำคัญ อาทิ เยอรมณี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร อิตาลี และเกาหลีใต้ เป็นต้น
"สำหรับช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เราอยู่ระหว่างการวบรวมข้อมูลจากกรมศุลกากรแต่คาดว่าการขาดดุลการค้าในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์คงลดลงเพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการของไทยจะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปรับปรุงมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับความต้องการของค่ายรถยนต์ในอินเดียได้ดีขึ้น"
ด้านนายยงเกียรติ กิตะพาณิชย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้าในกลุ่มชิ้นส่วนยายนต์แก่อินเดียในครั้งนี้น่าจะมาจากโรงงานประกอบรถยนต์ในไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายญี่ปุ่น หลายรายมีหุ้นส่วนอยู่ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนในอินเดีย ซึ่งก่อนที่จะมีการลดภาษีก็มีการนำเข้าเป็นประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระปุกเกียร์ และเฟืองท้ายที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้ เมื่อมีการลดภาษีจึงมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ดีจากศักยภาพการผลิตชิ้นส่วนของผู้ประกอบการไทยที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี และคุณภาพได้มาตรฐานสากลเพิ่มขึ้นเรื่อย คาดว่าในอนาคตไทยจะสามารถส่งออกไปอินเดียได้เพิ่มขึ้น และจะช่วยลดการขาดดุลการค้าได้
อนึ่ง ในปี 48 ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปทุกตลาดมูลค่า 102,972 ล้านบาท โดยตลาด 3 อันดับแรกประกอบด้วย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ขณะที่อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับ 6 ของไทย โดยในปี 48ไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่า 3,522 ล้านบาท ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ส่งออกมูลค่า 1,277 ล้านบาท ขยายตัว 59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในปี 48 ไทยมีการนำเข้าชิ้นส่วนจากอินเดียมูลค่า 1,391 ล้านบาท และช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีการนำเข้า 446 ล้านบาท ขยายตัว 73%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เอฟทีเอไทยเพลี่ยงพล้ำอินเดีย ล่าสุดชิ้นส่วนรถยนต์แดนภารตะไหลทะลักในอัตราเพิ่มมากกว่าไทยส่งออก ส่งผลปี 48 ไทยขาดดุลการค้ากว่า 520 ล้าน ขณะที่ปี 49 ส่อขาดดุลเพิ่ม 3 เดือนแรกนำเข้าพุ่งกว่า 70% สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯชี้เหตุภาษีเอื้อ โรงงานรถญี่ปุ่นแห่นำเข้าเพิ่ม
แหล่งข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศ(คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ)ไทย-อินเดีย ที่ทั้งสองประเทศได้มีการลดภาษีสินค้านำร่อง(Early Harvest) จำนวน 82 รายการ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.47 โดยจะทยอยลดภาษีลงเหลือ 0 ในปี 49 ทั้งนี้ในกลุ่มสินค้านำร่องซึ่งมีสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ 9 รายการรวมอยู่ด้วย จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ภายหลังการลดภาษี มูลค่าการค้าของสินค้าในกลุ่มนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
โดยสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ไทยส่งไปอินเดียที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องระบายหรือเครื่องหมุนเวียนอากาศ(ปี 48 ขยายตัว 1,623%) ล้อตุนแรงและพูลเลย์ รวมถึงพูลเลย์บล็อก (ปี 48 ขยายตัว 438%) ขณะที่สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่อินเดียส่งออกมาไทยที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากได้แก่ กระปุกเกียร์ ขยายตัว 611% และอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมอัตโนมัติขยายตัว 3,175%
อย่างไรก็ตามแม้มูลค่าการค้าสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ 9 รายการที่นำมาลดภาษีกันในครั้งนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกชิ้นส่วนยายนต์ของไทยไปอินเดียขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏมูลค่าการนำเข้าของไทยจากอินเดียในกลุ่มสินค้าดังกล่าวกลับมีอัตราการขยายตัวน้อยกว่าที่อินเดียส่งออกมาไทย ซึ่งจากข้อมูลในปี 48 ไทยมีการนำเข้าสินค้ายานยนต์จากอินเดียในกลุ่มนำร่องลดภาษี 9 รายการมูลค่า 1,512 ล้านบาท ขณะที่ไทยส่งออกสินค้าในกลุ่มเดียวกันไปอินเดียมูลค่า 985 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามูลค่า 527 ล้านบาทจากที่เคยเกินดุลในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มสินค้าดังกล่าวของไทยในอินเดียเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่อินเดียยังคงมีการนำเข้าจากแหล่งสำคัญ อาทิ เยอรมณี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร อิตาลี และเกาหลีใต้ เป็นต้น
"สำหรับช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เราอยู่ระหว่างการวบรวมข้อมูลจากกรมศุลกากรแต่คาดว่าการขาดดุลการค้าในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์คงลดลงเพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการของไทยจะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปรับปรุงมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับความต้องการของค่ายรถยนต์ในอินเดียได้ดีขึ้น"
ด้านนายยงเกียรติ กิตะพาณิชย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้าในกลุ่มชิ้นส่วนยายนต์แก่อินเดียในครั้งนี้น่าจะมาจากโรงงานประกอบรถยนต์ในไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายญี่ปุ่น หลายรายมีหุ้นส่วนอยู่ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนในอินเดีย ซึ่งก่อนที่จะมีการลดภาษีก็มีการนำเข้าเป็นประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระปุกเกียร์ และเฟืองท้ายที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้ เมื่อมีการลดภาษีจึงมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ดีจากศักยภาพการผลิตชิ้นส่วนของผู้ประกอบการไทยที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี และคุณภาพได้มาตรฐานสากลเพิ่มขึ้นเรื่อย คาดว่าในอนาคตไทยจะสามารถส่งออกไปอินเดียได้เพิ่มขึ้น และจะช่วยลดการขาดดุลการค้าได้
อนึ่ง ในปี 48 ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปทุกตลาดมูลค่า 102,972 ล้านบาท โดยตลาด 3 อันดับแรกประกอบด้วย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา ขณะที่อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับ 6 ของไทย โดยในปี 48ไทยส่งออกไปอินเดียมูลค่า 3,522 ล้านบาท ส่วนช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ส่งออกมูลค่า 1,277 ล้านบาท ขยายตัว 59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในปี 48 ไทยมีการนำเข้าชิ้นส่วนจากอินเดียมูลค่า 1,391 ล้านบาท และช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีการนำเข้า 446 ล้านบาท ขยายตัว 73%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 24
AH เผยสัญญาให้ส่วนลดกับอีซูซุจบแล้วในไตรมาส 1/49 จากนี้ซื้อขายกันตามปกติ
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการ บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH เปิด
เผยกับ eFinanceThai.com ว่า การให้ส่วนลดการจำหน่ายชิ้นส่วนโครงช่วงล่างรถกระบะให้กับ
อีซูซุนั้น สัญญาการให้ส่วนลดดังกล่าวได้หมดลงแล้วตั้งแต่ในไตรมาสที่ 1 /2549 ซึ่งต่อจากนี้ไป
AH กับ อีซูซุ ก็คงซื้อขายสินค้ากันตามปกติ
' การซื้อขายหรือการทำธุรกิจร่วมกันก็ต้องมีการให้ส่วนลดกันบ้างเป็นธรรมดา ซึ่งนอก
จากการให้ส่วนกับอีซูซุแล้ว ลูกค้ารายอื่นๆ AH ก็มีการให้ส่วนลดบ้างตามความเหมาะสมแต่ให้
ส่วนลดไม่มากนักก็คงไม่กระทบผลการดำเนินงานแน่ ' นายเย็บ กล่าว
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการ บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH เปิด
เผยกับ eFinanceThai.com ว่า การให้ส่วนลดการจำหน่ายชิ้นส่วนโครงช่วงล่างรถกระบะให้กับ
อีซูซุนั้น สัญญาการให้ส่วนลดดังกล่าวได้หมดลงแล้วตั้งแต่ในไตรมาสที่ 1 /2549 ซึ่งต่อจากนี้ไป
AH กับ อีซูซุ ก็คงซื้อขายสินค้ากันตามปกติ
' การซื้อขายหรือการทำธุรกิจร่วมกันก็ต้องมีการให้ส่วนลดกันบ้างเป็นธรรมดา ซึ่งนอก
จากการให้ส่วนกับอีซูซุแล้ว ลูกค้ารายอื่นๆ AH ก็มีการให้ส่วนลดบ้างตามความเหมาะสมแต่ให้
ส่วนลดไม่มากนักก็คงไม่กระทบผลการดำเนินงานแน่ ' นายเย็บ กล่าว
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4244
- ผู้ติดตาม: 0
AH หน้ามืดแล้ว
โพสต์ที่ 25
ไอเนี่ยผมยังสับสนว่า สรุปไตรมาสหน้ากำไรจากส่วนของอิซูซุจะเท่านี้ หรือว่าจะเยอะกว่านี้เพราะไม่ลดX-ray เขียน:AH เผยสัญญาให้ส่วนลดกับอีซูซุจบแล้วในไตรมาส 1/49 จากนี้ซื้อขายกันตามปกติ
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการ บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH เปิด
เผยกับ eFinanceThai.com ว่า การให้ส่วนลดการจำหน่ายชิ้นส่วนโครงช่วงล่างรถกระบะให้กับ
อีซูซุนั้น สัญญาการให้ส่วนลดดังกล่าวได้หมดลงแล้วตั้งแต่ในไตรมาสที่ 1 /2549 ซึ่งต่อจากนี้ไป
AH กับ อีซูซุ ก็คงซื้อขายสินค้ากันตามปกติ
' การซื้อขายหรือการทำธุรกิจร่วมกันก็ต้องมีการให้ส่วนลดกันบ้างเป็นธรรมดา ซึ่งนอก
จากการให้ส่วนกับอีซูซุแล้ว ลูกค้ารายอื่นๆ AH ก็มีการให้ส่วนลดบ้างตามความเหมาะสมแต่ให้
ส่วนลดไม่มากนักก็คงไม่กระทบผลการดำเนินงานแน่ ' นายเย็บ กล่าว
ผมว่ามันควรจะเท่าไตรมาสนี้ดิ
ผมคาดว่า
ไตรมาส 1 117
ไตรมาส 2 117
ไตรมาส 3 130 << รู้สึกโรงงานผลิตโครงกระบะเปิดนะไม่แน่ใจ เรื่องไม่มีงานไม่ต้องกลัว กลัวไม่มีคนอ่ะซิ
ไตรมาส 4 150 << เปิดแล้วก็รอสักไตรมาสเผื่อจะดี
แล้วปีหน้าค่อยมาดูกัน
_________