เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 541
อนุโมทนากับท่านtanoppanด้วยครับ
ผมได้ยินชื่ออ.โกเอนก้าครั้งแรก ตอนปฏิบัติธรรมครั้งแรก(หลักสูตรคุณแม่สิริ ที่อ.อ้อย จัดเป็นครั้งสุดท้าย)
มีอ.หมอศิริราช มาบรรยายธรรมแล้วพูดถึงชื่ออ.โกเอนก้า(ทราบต่อมาว่าท่านป่วย และจากไปแล้ว)
มาได้มีโอกาสเข้าคอร์สเมื่อสักสองปีก่อนที่สังขละบุรี
รู้สึกถูกจริตกับหลักสูตรนี้ฮะ เพราะผมเป็นคนสวดมนต์ไม่เป็น พิธีกรรมธรรมเนียมอะไรก็ไม่รู้เรื่องสักอย่าง
กราบพระแบมือรึพนมมือยังไม่รู้เลย
ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะรอดรึเปล่า นั่งหลับตาวันละหลายชั่วโมงแบบเนียะ
ปรากฎว่าผ่านไปได้แฮะ มีแซวๆตัวเองในใจบ้างเวลาตะคริวกินขา(อุเบกขา..โอย..ขากูจะหลุดแหล่วว..)
ผ่านturbulanceวันแรกๆ แล้วเจอเวทนาที่หมักหมมอยู่หลายชาติผุดขึ้นมา
(คุยกะรุ่นพี่ที่มาหลายครั้ง เค้าเล่าว่าของเค้าเหมือนbubble ซ่าสบาย(โมหะ?) แต่ของผมเหมือนถูกถีบกลางหลังรัวๆฮะ(น่าจะเป็นโทสะเก็บกดมานาน))
เลยมโนเอาเองว่าน่าจะถูกทางแล้ว รอปฎิบัติซ้ำอีก ให้เวลาให้มากขึ้นอีก น่าจะได้อะไรมากกว่านี้ฮะ
หวังใจว่าคงมีโอกาสเข้าคอร์สสามเดือนหกเดือนสักครั้งก่อนตายฮะ
ผมได้ยินชื่ออ.โกเอนก้าครั้งแรก ตอนปฏิบัติธรรมครั้งแรก(หลักสูตรคุณแม่สิริ ที่อ.อ้อย จัดเป็นครั้งสุดท้าย)
มีอ.หมอศิริราช มาบรรยายธรรมแล้วพูดถึงชื่ออ.โกเอนก้า(ทราบต่อมาว่าท่านป่วย และจากไปแล้ว)
มาได้มีโอกาสเข้าคอร์สเมื่อสักสองปีก่อนที่สังขละบุรี
รู้สึกถูกจริตกับหลักสูตรนี้ฮะ เพราะผมเป็นคนสวดมนต์ไม่เป็น พิธีกรรมธรรมเนียมอะไรก็ไม่รู้เรื่องสักอย่าง
กราบพระแบมือรึพนมมือยังไม่รู้เลย
ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะรอดรึเปล่า นั่งหลับตาวันละหลายชั่วโมงแบบเนียะ
ปรากฎว่าผ่านไปได้แฮะ มีแซวๆตัวเองในใจบ้างเวลาตะคริวกินขา(อุเบกขา..โอย..ขากูจะหลุดแหล่วว..)
ผ่านturbulanceวันแรกๆ แล้วเจอเวทนาที่หมักหมมอยู่หลายชาติผุดขึ้นมา
(คุยกะรุ่นพี่ที่มาหลายครั้ง เค้าเล่าว่าของเค้าเหมือนbubble ซ่าสบาย(โมหะ?) แต่ของผมเหมือนถูกถีบกลางหลังรัวๆฮะ(น่าจะเป็นโทสะเก็บกดมานาน))
เลยมโนเอาเองว่าน่าจะถูกทางแล้ว รอปฎิบัติซ้ำอีก ให้เวลาให้มากขึ้นอีก น่าจะได้อะไรมากกว่านี้ฮะ
หวังใจว่าคงมีโอกาสเข้าคอร์สสามเดือนหกเดือนสักครั้งก่อนตายฮะ
samatah
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 542
น่าจะเป็นผรณาปีติหรือเปล่าครับ?dr1 เขียน:...
(คุยกะรุ่นพี่ที่มาหลายครั้ง เค้าเล่าว่าของเค้าเหมือนbubble ซ่าสบาย(โมหะ?)
...
จริงๆ โดยสภาวะก็เรื่องหนึ่ง โดยเจตสิกที่ประกอบกับจิตว่าเป็นโมหะหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ
สภาวะที่จิตใกล้สมาธิ สภาวะที่จิตเหนื่อยล้า สภาวะที่จิตต้องการพัก อันนี้ก็สักแต่ว่าเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นทางจิต ซึ่งบางครั้งเราอาจจะเข้าใจว่าเป็นโมหะ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นแค่สภาวะหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตตามเหตุปัจจัย
แต่ท่าทีของเราที่มีต่อสภาวะเหล่านี้ต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นกิเลส
สภาวะที่จิตใสแจ๋ว อิ่มเอิ่ม ปลอดโปล่ง โล่งสบาย แต่จิตเต็มไปด้วยโมหะ รู้อารมณ์คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงก็มีอยู่บ่อยๆ และสภาวะแบบนี้แหละที่ยิ่งทำให้เราหลงผิด ยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้นๆ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 543
ขอบพระคุณอ.picatosมากครับ
คำอธิบายของอ.ทำให้ผมเข้าใจปิ๊งขึ้นมาเลยฮะ แล้ววันหลังผมจะมาส่งการบ้านอีกนะครับ
เพราะลองหลักสูตรคุณแม่สิริ สองครั้งยังแต่รู้ว่า ไม่รู้สึกและไม่รู้อะไรเลย(สงสัยมัวแต่ตั้งใจเดินจงกรม รึเวลาไม่พอ)
เข้าใจว่าต้องปฎิบัติสักหมื่นชั่วโมง ถึงจะได้ผล แต่ก็เหมือนที่ทางหลักสูตรทำนายไว้เลยฮะ
คือหลังอบรม ไปนั่งต่อวันละสองชั่วโมงด้วยตัวเองที่บ้าน เดือนเดียวก็เลิก แฮ่..
คำอธิบายของอ.ทำให้ผมเข้าใจปิ๊งขึ้นมาเลยฮะ แล้ววันหลังผมจะมาส่งการบ้านอีกนะครับ
เพราะลองหลักสูตรคุณแม่สิริ สองครั้งยังแต่รู้ว่า ไม่รู้สึกและไม่รู้อะไรเลย(สงสัยมัวแต่ตั้งใจเดินจงกรม รึเวลาไม่พอ)
เข้าใจว่าต้องปฎิบัติสักหมื่นชั่วโมง ถึงจะได้ผล แต่ก็เหมือนที่ทางหลักสูตรทำนายไว้เลยฮะ
คือหลังอบรม ไปนั่งต่อวันละสองชั่วโมงด้วยตัวเองที่บ้าน เดือนเดียวก็เลิก แฮ่..
samatah
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 544
ธรรมชาติของปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา จะเป็นตัวรู้ ตัวน้อยๆ อันเกิดจากขณิกสมาธิเลยอาจจะทำให้ไม่รู้สึกอะไร หรือเหมือนว่าจะรู้แต่ยังรู้ไม่ชัด จนกระทั่งตัวรู้น้อยๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะสะสมกำลังกันอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดเป็นความรู้ชัดขึ้นมากบ้างdr1 เขียน:ขอบพระคุณอ.picatosมากครับ
คำอธิบายของอ.ทำให้ผมเข้าใจปิ๊งขึ้นมาเลยฮะ แล้ววันหลังผมจะมาส่งการบ้านอีกนะครับ
เพราะลองหลักสูตรคุณแม่สิริ สองครั้งยังแต่รู้ว่า ไม่รู้สึกและไม่รู้อะไรเลย(สงสัยมัวแต่ตั้งใจเดินจงกรม รึเวลาไม่พอ)
เข้าใจว่าต้องปฎิบัติสักหมื่นชั่วโมง ถึงจะได้ผล แต่ก็เหมือนที่ทางหลักสูตรทำนายไว้เลยฮะ
คือหลังอบรม ไปนั่งต่อวันละสองชั่วโมงด้วยตัวเองที่บ้าน เดือนเดียวก็เลิก แฮ่..
ในปฏิสัมภิทามรรค จะมีประโยคหนึ่งลงท้ายอยู่บ่อยๆ คือ "ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด" การเข้าถึงความรู้ชัดนี้จำเป็นต้องฝึกฝน สั่งสม ทำให้มาก แล้วจึงจะเกิดความรู้ชัดขึ้นเอง
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า คงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติถึงหนึ่งหมื่นชั่วโมงถึงจะเห็นผลหรอกครับ ปฏิบัติแค่ไหน ก็เห็นผลแค่นั้น แต่บางครั้งความคาดหวังของเราที่จะเห็นผลมาก จากการปฏิบัติน้อย หรือมีความคาดหวังอะไรบางอย่าง เช่น มีความคาดหวังว่าการปฏิบัติจะต้องสงบ เงียบ เบา สบาย ทั้งๆ ที่โดยสภาวะวิปัสสนาแล้ว อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ สภาวะอย่างที่ ความคิดเยอะ ปวด ทรมาณ บีบคั้น อึดอัด ก็เป็นสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และการเกิดขึ้นของสภาวะเหล่านี้ อาจจะเป็นความก้าวหน้าของการปฏิบัติก็ได้ อย่าง วิปัสสนาญาณ ในระดับ ภยญาณ อาทีนญาณ นิพพิทาญาณ หรือ มุจจิตุกัมยตาญาน นี่มีแต่สภาวะทุกข์ที่บีบคั้น ที่มาแสดงให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นทุกขเวทนา ทุกข์ไตรลักษณ์ หรือ ทุกขอริยสัจ ซึ่งผู้ปฏิบัติบางคนอาจจะคิดว่าตัวเองถอยหลัง แต่จริงๆ แล้วกำลังก้าวหน้าอยู่ก็เป็นได้
ขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ผู้ปฏิบัติทุกคนครับ... ทำเท่าไหร่ ก็ได้เท่านั้น กรุงโรมไม่ได้สร้างในวันเดียว การเข้าถึงองค์ความรู้ในระดับจิตจนถึงขั้นรู้ชัดก็ไม่ได้เรียนรู้ในชาติเดียวครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 546
จาก Facebook ท่านโกเอ็นก้า
เป็นเวลานานนับหลายศตวรรษที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจังได้ประจักษ์แจ้งด้วยประสบการณ์ของตัวเองว่า ความสุขจากการเป็นอิสระจากกิเลสนั้น เหนือกว่าความสุขทางโลกอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
-เอส เอ็น โกเอ็นก้า-
จากหนังสือ “พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายหรือ”
เป็นเวลานานนับหลายศตวรรษที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจังได้ประจักษ์แจ้งด้วยประสบการณ์ของตัวเองว่า ความสุขจากการเป็นอิสระจากกิเลสนั้น เหนือกว่าความสุขทางโลกอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
-เอส เอ็น โกเอ็นก้า-
จากหนังสือ “พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายหรือ”
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 547
เล่าสู่กันฟังหลังจากที่ได้ไป "โกเอ็นก้า"
หลังจากได้รับการอบรมแล้วท่านทำอะไรบ้าง
"นั่งวิปัสนาทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชม.
ได้เขียนไว้
ที่บ้าน
ขณะนั่งวิปัสสนา
ดูนาฬิกาไป ดูสี่ถึงห้าครั้ง เมื่อไรจะครบเวลา
บางวันได้ 40นาที 60 นาที ก็ลุกขึ้น
เช้านี้
คำพูดอาจาร์ยก้องอยู่ในใจ
"พยามยามนั่งให้ได้ 1 ชั่วโมง คือให้ทนนั่งให้ครบ 1 ชั่วโมง ด้วยใจที่อุเบกขา"
วันนี้ได้รู้เท่าทันต่อ "การอยากดูนาฬิกา"
ด้วยการทำใจอุเบกขาต่อความอยากนี้ด้วย"ระลึกรู้การเข้าออกของลมหายใจ"
ได้รู้เท่าทันต่อ "การอยากจะลุก ก่อนเวลา"
ด้วยการทำใจอุเบกขาต่อความอยากนี้ด้วย"ระลึกรู้การเข้าออกของลมหายใจ"
เสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น
ทำได้แล้วเช้านี้
หลังจากได้รับการอบรมแล้วท่านทำอะไรบ้าง
"นั่งวิปัสนาทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชม.
ได้เขียนไว้
ที่บ้าน
ขณะนั่งวิปัสสนา
ดูนาฬิกาไป ดูสี่ถึงห้าครั้ง เมื่อไรจะครบเวลา
บางวันได้ 40นาที 60 นาที ก็ลุกขึ้น
เช้านี้
คำพูดอาจาร์ยก้องอยู่ในใจ
"พยามยามนั่งให้ได้ 1 ชั่วโมง คือให้ทนนั่งให้ครบ 1 ชั่วโมง ด้วยใจที่อุเบกขา"
วันนี้ได้รู้เท่าทันต่อ "การอยากดูนาฬิกา"
ด้วยการทำใจอุเบกขาต่อความอยากนี้ด้วย"ระลึกรู้การเข้าออกของลมหายใจ"
ได้รู้เท่าทันต่อ "การอยากจะลุก ก่อนเวลา"
ด้วยการทำใจอุเบกขาต่อความอยากนี้ด้วย"ระลึกรู้การเข้าออกของลมหายใจ"
เสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น
ทำได้แล้วเช้านี้
-
- Verified User
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 548
บางทีเวลาไปอยู่วัดนานๆมันชินครับ ไม่รู้มีใครเหมือนผมไหม คือเวลากลับมาบ้านก็จะทำตัวเหมือนอยู่วัดในช่วงแรกๆ เช่น ตื่นตีสาม มาสวดมนต์เดินจงกลม ไปช่วยทำอาหารที่โรงครัว(อันนี้แล้วแต่วัดแต่ละที่ไม่เหมือนกัน) ตอนเช้าหลังกินข้าวก็ช่วยกันทำความสะอาดภาชนะ ทำความสะอาดครัว ช่วยงานวัดเช่นขัดห้องน้ำ ทำความสะอาดศาลา กลางวันพัก บ่ายๆกวาดลานวัด เย็นอาบน้ำ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกลม 4-5ทุ่มก็นอน
กลับมาบ้านใหม่ๆก็ทำตัวเหมือนอยู่วัดเลย เช่นกินมื้อเดียว ตื่นเช้าๆสวดมนต์ หลังจากนั้นอีกไม่เกินเดือนมันก็จะกลับมาเหลวไหลเหมือนเก่า
อยู่บ้านสู้กับความขี้เกียจได้ยากจริงๆ
โชคดีอยู่บ้างที่เดี๋ยวนี้ไม่ได้สุงสิงกับเพื่อนฝูง หรือคนอื่นๆ วันๆมักจะอยู่คนเดียวทั้งวัน จะยุ่งอยู่ก็เรื่องสังคมออนไลน์(เฟสบุ๊ค)อ่านข่าวบ้าง ถ้าคบเพื่อนก็คงวุ่นวายกว่านี้(ผมไม่มีเพื่อนโทรมาหานานเกือบปีแล้วครับ คือไม่โทรหาใครเค้าก็เลยไม่โทรมา ญาติพี่น้องก็ไม่ได้โทรหาเลย ไม่มีธุระ จะคุยก็คุยกับคนงานกรีดยางบ้าง กับพระที่รู้จักกันบ้าง เดี๋ยวนี้บางทีก็ไม่ได้พกโทรศัพท์ไปเพราะไม่มีคนโทรมาหานานแล้ว)
กลับมาบ้านใหม่ๆก็ทำตัวเหมือนอยู่วัดเลย เช่นกินมื้อเดียว ตื่นเช้าๆสวดมนต์ หลังจากนั้นอีกไม่เกินเดือนมันก็จะกลับมาเหลวไหลเหมือนเก่า
อยู่บ้านสู้กับความขี้เกียจได้ยากจริงๆ
โชคดีอยู่บ้างที่เดี๋ยวนี้ไม่ได้สุงสิงกับเพื่อนฝูง หรือคนอื่นๆ วันๆมักจะอยู่คนเดียวทั้งวัน จะยุ่งอยู่ก็เรื่องสังคมออนไลน์(เฟสบุ๊ค)อ่านข่าวบ้าง ถ้าคบเพื่อนก็คงวุ่นวายกว่านี้(ผมไม่มีเพื่อนโทรมาหานานเกือบปีแล้วครับ คือไม่โทรหาใครเค้าก็เลยไม่โทรมา ญาติพี่น้องก็ไม่ได้โทรหาเลย ไม่มีธุระ จะคุยก็คุยกับคนงานกรีดยางบ้าง กับพระที่รู้จักกันบ้าง เดี๋ยวนี้บางทีก็ไม่ได้พกโทรศัพท์ไปเพราะไม่มีคนโทรมาหานานแล้ว)
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 549
กำลังสับสนพอดีว่าการตามดูกายดูจิต ควรจะใช้อะไรเป็นหลักดี เพราะมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ บางทีผมใช้แบบนึงได้ผล ใช้อีกครั้งไม่ค่อยได้ผลละpicatos เขียน:สำหรับแนวทางที่ผมใช้ผมจะกำหนดอารมณ์ที่เด่นชัดที่สุด กายชัดกำหนดกาย เวทนาชัดกำหนดเวทนา จิตชัดกำหนดจิต ธรรมชัดกำหนดธรรม ถ้าไม่มีอะไรเด่นชัดก็มากำหนดฐานกายซึ่งก็คือลมหายใจNevercry.boy เขียน:ขอถามทุกท่านครับ สิ่งหนึ่งที่เรามักจะลืมคือเรากำลังหายใจ
แต่สิ่งที่ยากคือ เช่น เวลาเราพูดและเราสัมผัสลมหายใจเข้าออกไปด้วย ไม่ให้หลุด
มีวิธีการอย่างไรครับ
ของผมจะเป็นลักษณะ เวลาพูดจะหลุดจากลมหายใจ เมื่อพูดเสร็จแล้วจึงกลับมา
สำหรับในการพูด ผมจะกำหนดความคิดก่อน เห็นจิตที่อยากจะพูดก็กำหนดรู้ความอยากพูด ขณะพูดก็กำหนดอาการเคลื่อนของปากบ้าง อาการกระทบของลมบ้าง ตอนฟังก็กำหนดการฟัง นานๆ ไปเผลอ ก็กำหนดรู้ว่าเผลอ แล้วตั้งสติใหม่ครับ
จะลองนำไปใช้ดูครับ
ขอบคุณข้อความนี้มากๆครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 550
ตลาดช่วงนี้ถือว่าเป็นบททดสอบ เป็นโจทย์เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในการปฏิบัติไม่ใช่น้อย
ถ้าตลาดลงครั้งนี้ ใจของเราสงบสุขมากยิ่งขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ ก็ถือว่าเรามีพัฒนาการในการปฏิบัติมากกว่าแต่ก่อน จนอยู่ในระดับที่ทนทานความผันผวนแปรปรวนของตลาดได้ ยอมรับความเป็นจริงของโลกนี้ได้มากขึ้น
แต่ถ้าทุกข์ร้อนมากยิ่งขึ้น เราคงจะต้องกลับมาพิจารณาว่ายังมีสิ่งใดที่เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้บ้าง
จริงๆ แล้ว หากเห็นว่าใจทุกข์ร้อนมากยิ่งขึ้น จะถือว่าเราถอยหลังในการปฏิบัติก็ไม่อาจสรุปได้ เพราะ ในหลายๆ ครั้งมันอาจจะเป็นความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็ได้ ครั้งก่อนๆ สติสมาธิของเราอาจจะไม่สมบูรณ์มากเพียงพอ จนทำให้ไม่เห็นอารมณ์ ครั้งนี้สติสมาธิดีขึ้นเลยเห็นอารมณ์ เห็นความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นก็เป็นได้
แต่พัฒนาการที่เกิดขึ้นในอดีตก็ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่จะทำในปัจจุบัน สาระสำคัญก็คือ เราจะใช้ประโยชน์จากการที่หุ้นตกครั้งนี้อย่างไร เราจะใช้มันเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้กายใจของเราอย่างไรให้ได้มากขึ้น เราจะฝึกใจของเราอย่างไร ไม่ให้พลาดทำสิ่งที่ไม่สมควร เราจะฝึกอย่างไรที่จะมีจิตใจที่มั่นคง ปราศจากความหวั่นไหว สามารถที่จะคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นในวิกฤต
ความจริงในสิ่งต่างๆ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ คนที่เข้ามาเล่นหุ้นทุกคนก็รู้อยู่ว่าหุ้นขึ้นก็มีหุ้นลง มีลาภก็มีเสื่อมลาภ เหมือนอย่างที่คนทุกคนรู้ว่า มีเกิดก็มีตาย ทั้งๆ ที่รู้อยู่ ว่าวันหนึ่งเรื่องเลวร้าย เรื่องที่เราไม่พึงปรารถนาจะเกิดขึ้นกับเรา แต่ก็แปลกที่เมื่อสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นจริงๆ เรากลับรับมือมันไม่ได้ เรากลับทุกข์ใจ เศร้าโศกเสียใจ กับสิ่งสามัญธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
ผู้ที่ฝึกฝน เรียนรู้ ศึกษา ทำความเข้าใจจิตใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง จะไม่เห็นถึงสาระของการจะต้องไปเสียใจอะไรกับเรื่องราวสามัญธรรมดาเหล่านี้เลย และเมื่อไม่เห็นสาระ เขาก็ฝึกฝนจิตให้มีความสามารถในการที่จะวางจิตในตำแหน่งที่ถูก วางจิตในที่ๆ ปลอดภัยจากทุกข์ มีเครื่องมือในการจัดการกับจิตให้ถึงสภาพที่ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
จิตที่ฝึกดีแล้วจะเข้าถึงสภาพความไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดๆ หากผู้ใดกำลังประสบกับความทุกข์อย่างใหญ่หลวงจากหุ้นที่ตกในครั้งนี้ อยากให้เปลี่ยนมุมมองนิดหนึ่งว่า นี่อาจจะเป็นโอกาสครั้งใหญ่ในชีวิต ที่จะเป็นแรงบันดาลใจในการเห็นสาระสำคัญในการที่จะฝึกใจตัวเองให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะพร้อมรับเรื่องสามัญธรรมดาในชีวิตบางอย่างที่อาจจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ อย่างความตายของเราเองบ้าง ความตายของคนที่เรารักบ้าง ที่วันหนึ่งต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ในอนาคต
ถ้าตลาดลงครั้งนี้ ใจของเราสงบสุขมากยิ่งขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ ก็ถือว่าเรามีพัฒนาการในการปฏิบัติมากกว่าแต่ก่อน จนอยู่ในระดับที่ทนทานความผันผวนแปรปรวนของตลาดได้ ยอมรับความเป็นจริงของโลกนี้ได้มากขึ้น
แต่ถ้าทุกข์ร้อนมากยิ่งขึ้น เราคงจะต้องกลับมาพิจารณาว่ายังมีสิ่งใดที่เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้บ้าง
จริงๆ แล้ว หากเห็นว่าใจทุกข์ร้อนมากยิ่งขึ้น จะถือว่าเราถอยหลังในการปฏิบัติก็ไม่อาจสรุปได้ เพราะ ในหลายๆ ครั้งมันอาจจะเป็นความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็ได้ ครั้งก่อนๆ สติสมาธิของเราอาจจะไม่สมบูรณ์มากเพียงพอ จนทำให้ไม่เห็นอารมณ์ ครั้งนี้สติสมาธิดีขึ้นเลยเห็นอารมณ์ เห็นความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นก็เป็นได้
แต่พัฒนาการที่เกิดขึ้นในอดีตก็ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่จะทำในปัจจุบัน สาระสำคัญก็คือ เราจะใช้ประโยชน์จากการที่หุ้นตกครั้งนี้อย่างไร เราจะใช้มันเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้กายใจของเราอย่างไรให้ได้มากขึ้น เราจะฝึกใจของเราอย่างไร ไม่ให้พลาดทำสิ่งที่ไม่สมควร เราจะฝึกอย่างไรที่จะมีจิตใจที่มั่นคง ปราศจากความหวั่นไหว สามารถที่จะคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นในวิกฤต
ความจริงในสิ่งต่างๆ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ คนที่เข้ามาเล่นหุ้นทุกคนก็รู้อยู่ว่าหุ้นขึ้นก็มีหุ้นลง มีลาภก็มีเสื่อมลาภ เหมือนอย่างที่คนทุกคนรู้ว่า มีเกิดก็มีตาย ทั้งๆ ที่รู้อยู่ ว่าวันหนึ่งเรื่องเลวร้าย เรื่องที่เราไม่พึงปรารถนาจะเกิดขึ้นกับเรา แต่ก็แปลกที่เมื่อสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นจริงๆ เรากลับรับมือมันไม่ได้ เรากลับทุกข์ใจ เศร้าโศกเสียใจ กับสิ่งสามัญธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
ผู้ที่ฝึกฝน เรียนรู้ ศึกษา ทำความเข้าใจจิตใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง จะไม่เห็นถึงสาระของการจะต้องไปเสียใจอะไรกับเรื่องราวสามัญธรรมดาเหล่านี้เลย และเมื่อไม่เห็นสาระ เขาก็ฝึกฝนจิตให้มีความสามารถในการที่จะวางจิตในตำแหน่งที่ถูก วางจิตในที่ๆ ปลอดภัยจากทุกข์ มีเครื่องมือในการจัดการกับจิตให้ถึงสภาพที่ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
จิตที่ฝึกดีแล้วจะเข้าถึงสภาพความไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดๆ หากผู้ใดกำลังประสบกับความทุกข์อย่างใหญ่หลวงจากหุ้นที่ตกในครั้งนี้ อยากให้เปลี่ยนมุมมองนิดหนึ่งว่า นี่อาจจะเป็นโอกาสครั้งใหญ่ในชีวิต ที่จะเป็นแรงบันดาลใจในการเห็นสาระสำคัญในการที่จะฝึกใจตัวเองให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะพร้อมรับเรื่องสามัญธรรมดาในชีวิตบางอย่างที่อาจจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ อย่างความตายของเราเองบ้าง ความตายของคนที่เรารักบ้าง ที่วันหนึ่งต้องเกิดขึ้นแน่ๆ ในอนาคต
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 551
ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงรู้สึกแย่มากเลยช่วงหุ้นตก เพราะไม่มีความพอดีในการลงทุน แต่ตอนนี้แบ่งการลงทุนกับการใช้ชีวิตpicatos เขียน:ตลาดช่วงนี้ถือว่าเป็นบททดสอบ เป็นโจทย์เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในการปฏิบัติไม่ใช่น้อย
ถ้าตลาดลงครั้งนี้ ใจของเราสงบสุขมากยิ่งขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ ก็ถือว่าเรามีพัฒนาการในการปฏิบัติมากกว่าแต่ก่อน จนอยู่ในระดับที่ทนทานความผันผวนแปรปรวนของตลาดได้ ยอมรับความเป็นจริงของโลกนี้ได้มากขึ้น
อย่างชัดเจน กล่าวคือถึงแม้หุ้นจะตก ก็ไม่กระทบกับกระแสเงินสดที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
และอีกอย่าง หากเราเลือกปฎิบัติตามหลักดำเนินที่ถูกต้อง ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะน้อยลงไปด้วยครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 552
ผมคงแปลกเพื่อน ช่วงนี้ถึงตลาดจะลงพอร์ตจะแดง แต่มันก็ทำร้ายผมไม่ได้มากเท่าไร อาจจะเพราะผมไม่ยึดติดว่า ต้องการรวยเร็วอะไรมากมาย จะว่าไปช่วงหลังๆผมว่าผมละความอยากในเรื่องเงินๆทองๆไปได้พอสมควรละมั้งครับ555
แต่สาเหตุที่เริ่มจริงจังกับทางธรรมะมากขึ้น ก้เพราะได้พบเจอ ธรรมชาติ ด้วยตนเอง โดนธรรมชาติเล่นงานก็หลายหนมาในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอื่นๆอย่างเช่นเรื่องความรัก หรือความอยากมีอยากเป็น อยากได้รับการยอมรับ หรืออะไรต่างๆเทือกนั้น เมื่อโดนเล่นงานมากๆเข้า ก็คิดได้ว่า จริงๆแล้ว ธรรมชาติไม่ได้เล่นงานเราเลย ธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ไม่เที่ยง เปลี่ยนได้ตลอดเวลา กิเลสและความโง่เขลาของตัวเองต่างหาก ที่ไปคิดเอาว่า มันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างงี้ ความไม่รู้อะไรเลยของตัวเองต่างหากที่เล่นงานตัวเองให้พบเจอความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ผมจึงได้เข้าสู่ทางธรรมมากขึ้น ศึกษาจิตใจตัวเองและพยายามเข้าใจธรรมชาติให้มากขึ้น หวังว่าคงจะฉลาดขึ้นมาบ้าง
ยังไงก็ ขอฝากตัวไว้ในห้องนี้อีกคนนึงนะครับ ผมมือใหม่ ไร้ซึ่งปัญญา ขอคำแนะนำจากพี่ๆ ฝากตัวด้วยครับผม
แต่สาเหตุที่เริ่มจริงจังกับทางธรรมะมากขึ้น ก้เพราะได้พบเจอ ธรรมชาติ ด้วยตนเอง โดนธรรมชาติเล่นงานก็หลายหนมาในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอื่นๆอย่างเช่นเรื่องความรัก หรือความอยากมีอยากเป็น อยากได้รับการยอมรับ หรืออะไรต่างๆเทือกนั้น เมื่อโดนเล่นงานมากๆเข้า ก็คิดได้ว่า จริงๆแล้ว ธรรมชาติไม่ได้เล่นงานเราเลย ธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ไม่เที่ยง เปลี่ยนได้ตลอดเวลา กิเลสและความโง่เขลาของตัวเองต่างหาก ที่ไปคิดเอาว่า มันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างงี้ ความไม่รู้อะไรเลยของตัวเองต่างหากที่เล่นงานตัวเองให้พบเจอความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ผมจึงได้เข้าสู่ทางธรรมมากขึ้น ศึกษาจิตใจตัวเองและพยายามเข้าใจธรรมชาติให้มากขึ้น หวังว่าคงจะฉลาดขึ้นมาบ้าง
ยังไงก็ ขอฝากตัวไว้ในห้องนี้อีกคนนึงนะครับ ผมมือใหม่ ไร้ซึ่งปัญญา ขอคำแนะนำจากพี่ๆ ฝากตัวด้วยครับผม
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 553
คุณ sakkaphan มีแนวทางในการศึกษาธรรมะอย่างไรบ้างเหรอครับ? เอามาประยุกต์ใช้กับการลงทุนแนววีไอได้มากไหมครับ?sakkaphan เขียน:ผมคงแปลกเพื่อน ช่วงนี้ถึงตลาดจะลงพอร์ตจะแดง แต่มันก็ทำร้ายผมไม่ได้มากเท่าไร อาจจะเพราะผมไม่ยึดติดว่า ต้องการรวยเร็วอะไรมากมาย จะว่าไปช่วงหลังๆผมว่าผมละความอยากในเรื่องเงินๆทองๆไปได้พอสมควรละมั้งครับ555
แต่สาเหตุที่เริ่มจริงจังกับทางธรรมะมากขึ้น ก้เพราะได้พบเจอ ธรรมชาติ ด้วยตนเอง โดนธรรมชาติเล่นงานก็หลายหนมาในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอื่นๆอย่างเช่นเรื่องความรัก หรือความอยากมีอยากเป็น อยากได้รับการยอมรับ หรืออะไรต่างๆเทือกนั้น เมื่อโดนเล่นงานมากๆเข้า ก็คิดได้ว่า จริงๆแล้ว ธรรมชาติไม่ได้เล่นงานเราเลย ธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ไม่เที่ยง เปลี่ยนได้ตลอดเวลา กิเลสและความโง่เขลาของตัวเองต่างหาก ที่ไปคิดเอาว่า มันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างงี้ ความไม่รู้อะไรเลยของตัวเองต่างหากที่เล่นงานตัวเองให้พบเจอความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ผมจึงได้เข้าสู่ทางธรรมมากขึ้น ศึกษาจิตใจตัวเองและพยายามเข้าใจธรรมชาติให้มากขึ้น หวังว่าคงจะฉลาดขึ้นมาบ้าง
ยังไงก็ ขอฝากตัวไว้ในห้องนี้อีกคนนึงนะครับ ผมมือใหม่ ไร้ซึ่งปัญญา ขอคำแนะนำจากพี่ๆ ฝากตัวด้วยครับผม
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 554
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ ผมขออนุญาตขอพื้นที่ตรงนี้ให้ผมอธิบายในสิ่งที่ผมคิดได้ ในสิ่งที่ผมประจักษ์ เผื่ออาจจะเกิดประโยชน์กับท่านอื่นบ้างนะครับpicatos เขียน:คุณ sakkaphan มีแนวทางในการศึกษาธรรมะอย่างไรบ้างเหรอครับ? เอามาประยุกต์ใช้กับการลงทุนแนววีไอได้มากไหมครับ?sakkaphan เขียน:ผมคงแปลกเพื่อน ช่วงนี้ถึงตลาดจะลงพอร์ตจะแดง แต่มันก็ทำร้ายผมไม่ได้มากเท่าไร อาจจะเพราะผมไม่ยึดติดว่า ต้องการรวยเร็วอะไรมากมาย จะว่าไปช่วงหลังๆผมว่าผมละความอยากในเรื่องเงินๆทองๆไปได้พอสมควรละมั้งครับ555
แต่สาเหตุที่เริ่มจริงจังกับทางธรรมะมากขึ้น ก้เพราะได้พบเจอ ธรรมชาติ ด้วยตนเอง โดนธรรมชาติเล่นงานก็หลายหนมาในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอื่นๆอย่างเช่นเรื่องความรัก หรือความอยากมีอยากเป็น อยากได้รับการยอมรับ หรืออะไรต่างๆเทือกนั้น เมื่อโดนเล่นงานมากๆเข้า ก็คิดได้ว่า จริงๆแล้ว ธรรมชาติไม่ได้เล่นงานเราเลย ธรรมชาติก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ไม่เที่ยง เปลี่ยนได้ตลอดเวลา กิเลสและความโง่เขลาของตัวเองต่างหาก ที่ไปคิดเอาว่า มันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างงี้ ความไม่รู้อะไรเลยของตัวเองต่างหากที่เล่นงานตัวเองให้พบเจอความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเข้าใจอย่างนี้ ผมจึงได้เข้าสู่ทางธรรมมากขึ้น ศึกษาจิตใจตัวเองและพยายามเข้าใจธรรมชาติให้มากขึ้น หวังว่าคงจะฉลาดขึ้นมาบ้าง
ยังไงก็ ขอฝากตัวไว้ในห้องนี้อีกคนนึงนะครับ ผมมือใหม่ ไร้ซึ่งปัญญา ขอคำแนะนำจากพี่ๆ ฝากตัวด้วยครับผม
ก่อนตอบคำถามผมขอเสนอแนวคิดของผมก่อนอย่างหนึ่งว่า จริงๆแล้ว ธรรมะ กับ วีไอ หรือถ้าพูดให้ถูกก็คือ ธรรมะ กับ ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเรา มันเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก การรู้หลักธรรมแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆในชีวิตได้ฉันใด การเรียนรู้เรื่องอื่นๆในชีวิตก็สามารถนำไปเชื่อมต่อประยุกต์ใช้กับหลักธรรมได้ฉันนั้น เพราะธรรมะคือธรรมชาตินั่นเอง เป็นของซึ่งขึ้นต่อกันและกัน ไม่สามารถแยกออกมาเป็นหนึ่งเดียวได้ ซึ่งไว้ผมจะพยายามอธิบายต่อไปนะครับ
ทีนี้คำตอบต่อคำถามเรื่องการแนวทางการศึกษาธรรมมะ ผมก็อยากจะขอเล่าความเป็นมาเป็นไปว่า ผมมาถึงจุดนี้ได้ยังไงก่อนแล้วกันนะครับ จะได้เข้าใจบริบททั้งหมด แรกเริ่มเดิมทีผมก็เหมือนคนทั่วๆไป ที่มีความต้องการความสุขในชีวิต เป็นตัวขับเคลื่อนทำให้ชีวิตดำเนินไปได้ครับ โดยรูปแบบของความต้องการความสุขนี้ อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปได้ตามการเวลา เช่น บางช่วงเวลาก็ต้องการความรัก บางช่วงอยากรวย บางช่วงอยากมีชื่อเสียง อะไรทำนองนี้ ทีนี้ ไอ้รูปแบบเหล่านี้แหละ ที่ผมไล่ตามมานาน ไล่ตามอยู่ตลอดเวลา และเป็นแรงผลักทำให้ผมทำสิ่งต่างๆ โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเรื่อยๆ บางช่วงขยันเรียน บางช่วงศึกษาหุ้นอย่างจริงจัง บางช่วงทำธุรกิจส่วนตัว บางช่วงบ้างานอดิเรก บ้าเที่ยว เป็นต้น รวมถึงด้านความรัก พอเจอทุกข์ด้านความรักในแต่ละครั้ง ผมก็พยายามเปลี่ยนวิธีคิดต่อความรัก เปลี่ยนลักษณะการกระทำ ผมมีแฟนมา 4 คนครับ บางคนรักมาก บางคนไม่รักมาก บางคนคาดหวังมากพยายามมาก ทุ่มเทมาก บางคนคาดหวังน้อยไม่ต้องการอะไรมาก ถ้าดูจริงๆแล้วจะเห็นได้ว่า ผมเป็นเหมือนนักวิทยาศาสตร์ในชีวิตจริง โดยใช้ตัวเองเป็นหนูทดลอง พยายามเปลี่ยนตัวแปร เปลี่ยนปัจจัย เปลี่ยนลักษณะการกระทำไปเรื่อยๆ โดยผมหวังมาตลอดว่าสักวัน ผมจะเจอสิ่งที่แท้จริง
หลังจากผ่านประสบการณ์ชีวิตมาสักพัก และใช้การคิดการทดลองกับชีวิตจริงแบบวิทยาศาสตร์แล้วนั้น ผมเริ่มสับสน ผมไม่เจอ"สิ่งที่แท้จริงที่ว่านั้น"เลย ผมทำ ผมสุข แล้วก็กลับมาทุกข์ ผมทำ ผมสุข แล้วก็ทุกข์อีก เป็นอยู่อย่างนี้ซ้ำๆเดิมๆ เมื่อเป็นมากเข้า พอครั้งนี้ ก่อนที่จะทำอะไรต่อไปอีก ผมก็จะ"จินตนาการ"ไปในอนาคต เมื่อจินตนาการดูแล้ว ก็พบว่า หากไม่หลอกตัวเอง จะเห็นภาพตัวเองอยู่ในวงจรซ้ำๆแบบนั้น ไม่มีทางหนีได้เลย เมื่อพูดถึงตรงนี้ ผมอยากให้ทุกคนลองนึกภาพ ในเว็บนี้ใครก็อยากรวยอยากมีอิสรภาพทางการเงินทั้งนั้น แต่ลองนึกภาพดู ผมไม่รู้ใครจะจินตนาการเห็นภาพอย่างไร แต่สำหรับผมแล้ว พอผมจินตนาการดูแล้ว ผมเห็นภาพที่ ผมเริ่มรวยขึ้นมา พอเริ่มรวยแล้ว อาจจะรวยมากๆเลยจนนับได้ว่าตัวเองมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว แล้วไงต่อ ทีนี้ อาว ถ้าผมยังคง "อยากให้ตัวเองมีอิสรภาพทางการเงินตลอดไป" ผมก็ต้องทำในสิ่งที่พยายามรักษาเงินนั้นไว้ให้ได้ แล้วเพื่อความปลอดภัยก็ต้องพยายามให้มันงอกขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้ามันเริ่มลดลงมา ก็จะเริ่มกลัวเริ่มทุกข์ว่า เฮ่ยๆ อิสรภาพกำลังหมิ่นเหม่แล้ว แล้วหากเงินลดมามาก สมมติหุ้นตกมากจริงๆ ก็จะกลายเป็นว่า "เฮ่ยๆ ตอนนี้อิสรภาพบินหนีไปแล้ว" ก็ดิ้นรนให้มันกลับมาอีก พอมันกลับมาอีกได้จริง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? คิดว่าวงจรนี้จะหยุดเมื่อไร?
ผมใช้การ "จินตนาการไปไกลๆ" ให้เห็นภาพยืนยาวไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตเช่นนี้ พอผมใช้วิธีนี้แล้ว ผมก็พบจริงๆว่า มันไม่มีอยู่เลย สิ่งที่จะคงอยู่กับเราไปตลอดชีวิต สมมติว่าความรวยของเรามันอยู่ไปจนแก่เฒ่าก็จริง สมมติตอนนั้นผมรวยระดับแสนล้านแล้ว บิล เกต ก็คารวะให้แล้ว แล้วไงต่อ เกิดโรค สุขภาพเริ่มแย่ เจ็บปวดทรมาณ ผมจะมีความสุขได้อย่างไรในภาวะแบบนั้น? เงินแสนล้านเริ่มไร้ค่า ผมเริ่มอยากหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์จากความเจ็บปวด จากความตาย ความอยากมีอิสรภาพทางการเงินหายไปแล้ว แต่เกิดอะไรขึ้นแทนล่ะ? ความอยากมี "อิสรภาพทางการไม่เจ็บปวด ไม่แก่ไม่ตาย" ขึ้นมาแทนที่ แล้วมันหนีพ้นตรงไหน "ความอยากอันหนึ่งหมดไป ความอยากอีกอันหนึ่งเข้ามาแทนที่" มันเป็นสิ่งแท้จริงตรงไหน "ไหนล่ะสิ่งที่แท้จริงที่ผมหามาตลอด"
เมื่อผมคิดได้ดังนี้แล้ว ดูเหมือนว่าตอนนี้ ผมไม่มีทางอื่นให้เลือกแล้ว การเลือกหาความแท้จริงในทางโลก มันไม่มีอยู่เลย ผมหาไม่เจอ ผมเหลือทางเดียวแล้ว นั่นคือพระพุทธศาสนา ศาสนาที่สอนให้เข้าถึงสิ่งที่แท้จริงในโลกนี้
ผมเริ่มจากหนังสือ คู่มือมนุษย์ ของท่านพุทธทาสครับ เนื่องจากได้ยินมาว่า เป็นหนังสือที่อ่านง่าย เข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนา และผมเห็นด้วยว่า เป็นสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล เข้าใจได้ขั้นต้นในเชิงตรรกะ ถึงแม้จะยังไม่ "รู้แจ้ง" ก็ตาม ผมจึงเริ่มใช้หลักธรรมมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ในการดำเนินของจิตใจ จากที่ก่อนหน้านี้มีกิเลสเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทำสิ่งต่างๆ ผมเริ่มหาทางลดกิเลส โดยการ "จินตนาการไปไกลๆ" ให้เห็นภาพในสิ่งที่เราอยากมีอยากเป็น หรือแม้แต่ความโกรธความทุกข์เล็กๆในชีวิตประจำวันทั้งหลาย เช่น ทะเลาะกับแฟนกับแม่ อะไรเทือกนี้ เมื่อจินตนาการไปแล้วให้พยายามมองโดยไม่หลอกตัวเองว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้ จะทำให้เป็นอย่างไรในอนาคต จะมีผลต่อเราอย่างไร มันสำคัญหรือไม่ มันทำให้เราหยุดทุกข์หรือเปล่า พอผมใช้วิธีนี้ไปเรื่อยๆ ผมก็เริ่มเห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆที่คนเรายึดติดยึดมั่นน้อยลง เริ่มไม่ค่อยเห็นค่าเห็นความหมายของมัน และเริ่มเป็นผลทำให้จิตใจของผมมันแกว่งน้อยลง คำว่าแกว่งคือ แกว่งไปตามสิ่งเร้าที่ทำให้ทุกข์หรือสุข พอจิตใจผมแกว่งน้อยลง มันก็เหมือนกับ ทุกข์น้อยลง แต่ในขณะเดียวกันเวลามีอะไรมาทำให้ควรจะสุข ผมก็สุขน้อยลงเหมือนกัน แต่กลายเป็นว่า ปัญญา เริ่มเข้ามาแทนที่ การจะทำสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน ทุกๆอย่างๆ จากที่แต่ก่อน เราจะเลือกทำเมื่อเห็นว่า เราจะได้ความสุขจากมัน หรือได้อะไรบางอย่างจากมัน กลายเป็นว่าตอนนี้ ความสุขที่ไม่จีรังเหล่านั้น เริ่มไม่มีค่าสำหรับผม ผมเลือกทำในสิ่งต่างๆในชีวิตด้วยเห็นว่า มันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนรอบข้าง ดีกว่าอยู่เฉยๆอย่างเกียจคร้านเท่านั้นเอง ซึ่งทำให้เกิดประโยคที่ผมค้นพบด้วยตนเองว่า ชีวิตเราจะ "มีสติปัญญาเข้ามาเป็นพลังในการทำสิ่งต่างๆในชีวิต โดยพลังของกิเลสนั้นลดน้อยถอยลงไป" นั่นเองครับ
เกี่ยวกับเรื่องการค้นพบข้างต้น ผมขออธิบายเพิ่มเติมว่า ตอนแรกๆ ผมก็เริ่มจากนั่งสมาธิ หรือบางครั้งก็ใช้วิธีดูจิต ตามจิตตัวเองให้ทัน หรืออะไรทำนองนั้น ในเทคนิคการวิปัสสนาทั้งหลายเหมือนกัน บางครั้งเมื่อทำแล้ว ผมก็รู้สึกว่า มันสงบดี มันเกิดสมาธิดี แต่แล้วไงต่อ? ผมก็งงว่าผมจะเข้าถึง "ปัญญาสูงสุด" เพื่อให้รู้ว่า สิ่งที่แท้จริงคืออะไร ได้อย่างไร หากมัวแต่ทำสมาธิเช่นนี้ ซึ่งตรงนี้ ท่านพุทธทาส ก็บอกว่า อย่าดูถูกสมาธิที่เกิดจากธรรมชาติ สมาธิตามธรรมชาติตามที่พวกเราทุกคนมีอยู่ทั่วไปก็ก่อให้เกิดปัญญาได้เช่นกัน และท่านก็กล่าวว่า สมาธิ เป็นแค่ฐานเพื่อให้จิตใจ ได้ทำการวิเคราะห์สรรพสิ่ง เพื่อให้เกิด ปัญญา ต่อไป ดังนั้นแล้ว ตามหลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ เป็นรากฐานที่ทำให้เกิด ปัญญา เท่านั้น ผมเลยไม่ติดใน สมาธิ ผมใช้ทั้งการทำสมาธิตามเทคนิค และใช้สมาธิตามธรรมชาตินี่แหละ ในการวิเคราะห์ จินตนาการ สรรพสิ่งต่างๆ ครับ
ทีนี้ คำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ผมเอาไปใช้ในแนวทางวีไออย่างไรบ้าง เอาจริงๆแล้ว ผมรู้สึกจริงๆว่า มันเป็นไปโดยอัตโนมัติ เหมือนว่าผมเอาไปใช้โดยที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะเอาไปใช้ตั้งแต่แรก แถมพอมาคิดตอนนี้ ผมไม่แน่ใจด้วยว่า "อะไรเกิดก่อนกัน" แต่ขอเริ่มดังนี้ละกันนะครับ เมื่อผมเริ่มมีสติปัญญาเข้ามาแทนที่ และเริ่มลดกิเลสได้ จากการ"จินตนาการเรื่องเงิน" ทำให้รู้สึกว่า ไม่ได้อยากทำเพื่อความร่ำรวยเพื่อความสุขของตนเอง ผมก็ตั้งคำถามว่า ผมควรจะลงทุนต่อไปหรือไม่ ผมได้คำตอบว่า ผมควรจะลงทุนต่อไป เพราะว่าผมมีภาระต้องดูแลแม่และพ่อซึ่งแก่เฒ่าขึ้นทุกวันในอนาคต แต่ผมก็ไม่ได้คาดหวังมากมายให้มันสำเร็จ หรือหากทำดีที่สุดแล้วเจ๊งจริงๆ ก็คงต้องปล่อยให้มันเป็นไป ไม่เชิงว่ายึดติดว่าจะต้องดูแลพ่อแม่นะ เพราะสังคมบอกว่าดีนะ ไม่ใช่แบบนั้น มันเป็นรูปแบบที่ว่า แม้แต่เหตุผลที่จะทำให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ผมก็คลายความยึดติดเช่นกัน หรือแม้แต่เหตุผลของเหตุผลของเหตุผล ยาวไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ผมก็เริ่มคลายเช่นกัน เหมือนเริ่มอิสระในการคิดมากขึ้น "อะไรก็ได้"มากขึ้น เจ๊งจริงก็ไม่เห็นเป็นไร จะได้บวชไปหาทางเข้าถึงพระธรรมให้ถึงที่สุด แล้วก็มาสอนพ่อแม่ สอนคนอื่น อะไรเทือกนี้ เมื่อเหตุผลที่ทำให้ผมต้องลงทุนต่อไป มาจากปัญญาและความไม่ประมาท ไม่ได้มาจากความยึดติดว่าต้องรวย ทำให้ผมเริ่มมองอะไรอย่างสภาพจริงมากขึ้น มองอย่างเป็นกลางมากขึ้น "ทิฐุปาทาน"หรืออคติซึ่งเกิดจากความยึดมั่นเริ่มหมดไป ผมก็หาข้อมูลในการลงทุนอย่างเป็นกลาง ทั้งข้อมูลแบบ VI ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลแบบกราฟ แล้วค่อยเอามาประมวลผลว่าจะทำอย่างไรต่อไป ทีนี้ ยกตัวอย่างจากตลาดหุ้นช่วงนี้ ตามความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ หากความยึดติดหรือ โลภ ในความอยากรวย มีพลังมากกว่าความกลัวว่าจะสูญเงิน พูดง่ายๆคือพลังโลภมากกว่า ก็จะมีแนวโน้มที่ว่า ความคิดหรือการกระทำของเรา จะส่อไปในทาง ลงทุนในหุ้นตลอดเวลาเข้าไว้มากกว่า แต่หากเกิดความกลัวว่าจะสูญเงิน มีพลังมากกว่าความโลภ ก็อาจจะกลัวและถือเงินสดมากกว่า ทีนี้พอกิเลสในตัวผมมันมีพลังอ่อน การที่จะวางกลยุทธ์การลงทุนต่อไปนั้น ไม่ขึ้นกับกิเลสอีกต่อไป ขึ้นกับการวิเคราะห์ของผมล้วนๆ นั่นหมายความว่า ผมจะไม่รู้สึกเสียดายหากผมถือเงินสดแล้วตลาดกลับขึ้นเอาๆ หรือ ผมจะไม่รู้สึกแย่ถ้าผมเลือกที่จะลงทุนในหุ้นแล้วตลาดลงหนักๆ พูดอีกอย่างก็คือ เหมือนมันไม่สำคัญอะไรเท่าไรอีกต่อไป ผมแค่ทำเพราะตามการวิเคราะห์แล้วผมควรทำ ก็แค่นั้นเอง
หรืออย่างเวลาหุ้นขึ้นหรือลง อยากซื้อหรืออยากขาย ให้สำรวจดู "ความวูบวาบในจิตใจดูก่อน" ผมขอใช้คำนี้เพราะว่า กิเลส มันจะทำให้เกิดลักษณะอย่างนั้นจริงๆ สำหรับผม นั่นทำให้บางที เราหลอกตัวเองว่า เราไม่ได้ทำเพราะกิเลสหรอก แต่จริงๆก็ยังทำเพราะกิเลสอยู่ดี ทีนี้ เวลาหุ้นขึ้น หุ้นลง อยากซื้อ หรือ อยากขาย ลองดูว่า มันเกิดความรู้สึกอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเกิด ให้วิเคราะห์มันว่า ณ ตอนนี้ ที่เราอยากซื้อ หรือ อยากขาย เป็นเพราะกิเลส เพราะความกลัวหรือโลภ หรือเปล่า ถ้าใช่ ให้หยุดก่อน การกระทำโดยมีกิเลสเป็นเครื่องนำทาง มันก็จะไปจบที่กิเลสเป็นผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นความสุขชั่วคราว หรือความเสียใจเสียดายทุกข์ใจก็แล้วแต่ เมื่อหยุดแล้ว ให้คิดดูให้ถี่ถ้วน ถึงเหตุผลที่ทำให้เราลงทุน ตั้งแต่ภาพใหญ่ที่สุด ไปจนถึงภาพเล็กที่สุดที่ทำให้เกิดการซื้อขายครั้งนี้ ให้ลองคิดดูถึงความเป็นไปได้ในทุกๆทางในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และตรวจสอบดูว่ามันสอดคล้องกับสิ่งที่สมควรทำ มันเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท แต่มิใช่ตั้งอยู่บนกิเลสหรือไม่ เมื่อตรวจสอบคิดถี่ถ้วนแล้ว หลังจากนั้น สิ่งที่คุณควรจะทำถัดไป จะซื้อ จะขาย หรือจะอยู่นิ่งๆ ก็จะปรากฏชัดแก่ใจเอง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า การนำธรรมะไปใช้เป็นครั้งคราว โดยไม่ได้เกิดจากการเข้าใจจริงๆ มันจะได้ผลหรือไม่ ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาวก็ตาม เพราะกิเลสในการใช้วิตของเราทุกคน มันก็เป็นกิเลสตัวเดียวกันกับที่เราใช้ทำในเรื่องเล็กๆอย่างแค่การเคาะซื้อเคาะขายในเสี้ยววินาทีนั่นเอง ดังนั้น หากเราเริ่มเข้าใจธรรมชาติและเริ่มละกิเลสได้ในชีวิตประจำวัน เราก็จะลดละกิเลสในการซื้อขายแต่ละครั้งได้ หรือถ้าเราเข้าใจและลดละกิเลสจากการเคาะซื้อขายได้ มันก็จะนำไปสู่การเข้าใจและลดละกิเลสในทุกสิ่งอย่างได้เช่นกัน ทำนองเดียวกัน หากความรู้ในธรรมมะสามารถนำมาใช้ในการลงทุนวีไออย่างที่ผมได้อธิบายไว้ข้างบน ความรู้ VI ก็นำกลับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ธรรมได้ เช่น VI สอนให้มองระยะยาว ไม่ใช่มองเพียงแค่ซื้อขายรายวัน ผมก็นำสิ่งนี้ไปใช้พิจารณาทุกสรรพสิ่ง เวลาวิเคราะห์สรรพสิ่ง ให้มองไปยาวๆ มองให้เห็นสิ่งที่มันเกิดที่มันเป็น ให้เห็นความตั้งอยู่ เห็นความทนอยู่ เห็นความเปลี่ยนแปลง และเห็นความดับของมัน จะเห็นว่าธรรมะกับทุกๆสิ่งมันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน แยกกันสิ้นเชิงไม่ได้ เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันโยงใยไม่จบไม่สิ้น ดังนั้น ตามความเห็นของผมแล้ว สาระสำคัญจริงๆอยู่ที่ว่า หากอยากนำหลักธรรมไปใช้ในการลงทุนจริง ควรเข้าใจจริงๆก่อนว่า มันไม่ได้แยกกันอย่างสิ้นเชิง ให้นำทั้งสองสิ่งมาเชื่อมโยงกัน ใช้วิเคราะห์ซึ่งกันและกัน โยงไปได้ ก็โยงกลับได้ ก็จะเกิดความรู้ในธรรมและในการลงทุนไปพร้อมๆกันเอง
ตรงนี้ขอฝากเพิ่มเติมนิดนึงว่า จะเห็นว่า มันมีหลักธรรมหรือก็คือ หลักความจริงของทุกสรรพสิ่งแทรกอยู่ในสิ่งที่ผมพูดมาบ้างแล้ว เชื่อมโยงกันอยู่แล้ว อย่างเช่น เรื่องที่ว่า มันเชื่อมโยงกันจนไม่รู้ว่าอะไรเกิดก่อน เรื่องของเหตุและผลที่โยงกันไปไม่จบไม่สิ้น ก็เชื่อมโยงกับหลักธรรมที่ว่า ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน มีแต่เหตุให้เกิด เหตุให้เปลี่ยน เหตุให้ดับ และผลของมันสืบรับกันไปเป็นทอดๆไม่จบสิ้น ซึ่งในส่วนของเรื่องนี้ มีการค้นพบอยู่จริงอยู่ในทฤษฤีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ และฟิสิกส์ควอนตัม และโดยส่วนตัวของผมก็กำลังศึกษาเรื่องนี้เช่นกัน และเริ่มเห็นด้วยตนเองว่า หลักธรรมในศาสนาพุทธ มันใช้ได้ตามการคิดด้วยหลัก ตรรกะ ในขั้นต้น ข้อย้ำว่าแค่ในขั้นต้นนะครับ (ตรงนี้ผมขอยืนยันระดับหนึ่งว่า เคยได้ยินคำพูดว่าพุธศาสนาเข้าถึงไม่ได้โดยหลักตรรกะทั่วไป ผมยืนยันว่า ไม่จริงครับ เข้าถึงได้ครับ แต่ที่มันเข้าถึงได้ยาก เพราะต้องลดกิเลสหรือความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่งก่อน เพราะทุกคนเวลาคิดตามตรรกะจะมีความยึดมั่นในตรรกะพื้นฐานอยู่ในระดับหนึ่งโดยไม่รู้ตัว หากมีโอกาสจะอธิบายเพิ่มเติมในอนาคตครับ) ซึ่งส่วนตัวผมก็เห็นด้วยตนเองแล้วว่า แค่ผมเข้าใจในขั้นต้น และพยายามทำความเข้าใจมันจริงๆ กิเลสในตัวผมมันก็อ่อนพลังลงไปแล้ว แต่อย่างไรผมก็ยังเชื่อว่า การจะเข้าให้ถึงในระดับที่ตัดกิเลสได้จริงๆ ซึ่งฝังลึกอยู่ในสัญชาติญาณสัตว์โลกและสรรพสิ่งทั้งปวง ยังต้องไปอีกไกลมาก และเชื่อว่าน่าจะต้องใช้การเข้าถึงทางจิตเพื่อให้เกิดการรู้แจ้งอย่างแท้จริง จึงจะถึงระดับนั้นได้
พูดมาซะยืดยาว วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนละกันครับ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 555
ผมประทับใจคุณ sakkaphan มาตั้งแต่การเลือกหนัง มุมมองในการดูหนัง ในห้องนั่งเล่นแล้ว พึ่งจะได้ทราบว่าคุณ sakkaphan มีความรู้ทางธรรมที่ลึกซึ้งละเอียดละออขนาดนี้ ยิ่งทำให้ผมยิ่งประทับใจคุณ sakkaphan เข้าไปใหญ่
โดยส่วนตัวแล้ว ธรรมชาติจิต วิธีการศึกษาธรรมของผมก็จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกับคุณ sakkaphan อยู่ไม่ใช่น้อย ซึ่งคงจะเป็นการดีไม่น้อย หากเราจะได้พูดคุย เพื่อต่อยอดจากเนื้อหาที่คุณ sakkaphan ได้เขียนมาแล้วนั้น
ส่วนประโยคที่คุณ sakkaphan ยกขึ้นมาว่า "หลักธรรมในศาสนาพุทธ มันใช้ได้ตามการคิดด้วยหลัก ตรรกะ ในขั้นต้น" อันนี้ผมเห็นด้วยครับ ปัญญาที่เกิดจากคนอื่น (สุตมยปัญญา) ปัญญาที่เกิดจากการคิดของเราเอง (จินตามยปัญญา) เหล่านี้เป็นญาณปัญญาในระดับ "สัมมสนญาณ" เปรียบเทียบก็เหมือนปัญญาในการพิจารณา สอบสวน ก่อนที่จะตัดสิน ดำเนินคดี ของผู้พิพากษา
การตัดสินคดี ให้โทษ สั่งประหาร คงจะไม่สมบูรณ์ได้ หากขาดการพิจารณาโดยรอบ ฉันใด การจะจัดการกิเลส ประหารกิเลส ก็จำเป็นต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาสอบสวนให้ชัดเจน ก่อนที่จะเข้าไปกระทำในจิตในระดับสมาธิ เพื่อใช้ภาวนามยปัญญา ในการตัดสินโทษของกิเลสนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม การเตรียมสภาพจิตให้พร้อมก่อนที่จะพิจารณา สอบสวน ดำเนินคดี ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นการจัดการเรื่องศีล ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ต้องพร้อมระดับหนึ่ง ต้องมีความเชี่ยวชาญในการปรับสภาพของจิตในอยู่ในสภาวะที่ปราศนิวรณ์ ให้อยู่สภาพที่เหมาะสมแก่การงานระดับหนึ่ง การพิจารณา ศึกษาธรรม จึงจะเกิดขึ้นได้อย่างสะดวก ราบรื่น
ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมในขั้นต้นส่วนใหญ่มักจะยังไม่รู้ว่าสภาพจิตของเราขณะนี้ประกอบหรือไม่ประกอบด้วยนิวรณ์ ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรในการจัดการกับนิวรณ์ ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับนิวรณ์ เมื่อจิตยังมีนิวรณ์อยู่ แล้วโน้มจิตมาพิจารณา ตัดสินสิ่งต่างๆ จึงขาดความบริสุทธิ์ที่มากเพียงพอ เลยไม่สามารถมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็น ตัดสินไปส่วนใหญ่ก็ตัดสินตามกิเลสซะมาก ตัดสินด้วยปัญญาซะน้อย
เปรียบเสมือน การปลูกพืชในที่รกชัฎ การจัดการกับนิวรณ์ การทำจิตในเป็นสมาธิในระดับต่างๆ เปรียบเสมือนการไถถางที่รกชัฎเหล่านั้นให้พร้อมแก่การเพาะปลูก อยากยังไม่จัดการไถถางที่ให้เรียบร้อย ถามว่าปลูกพืชในที่แบบนั้นได้ไหม ก็ตอบว่าได้ แต่มันจะได้แบบงงๆ บ้าง ได้แบบหลงๆ บ้าง ได้ผลผลิตที่ผสมกันระหว่างสิ่งที่ต้องการปลูก กับ ผลผลิตจากวัชพืชที่ไม่ได้ตั้งใจจะปลูก ซึ่งก็คงต้องเลือกกลยุทธกันเอาเองว่าจะไถถางกันในระดับไหนก่อนเพาะปลูก หรือจะปลูกไป เตรียมที่ไปก็ไม่ว่ากัน
นอกจากนี้การปลูกพืชแต่ละชนิด การมี requirement ในการเตรียมที่แตกต่างกัน พืชบางชนิดไม่จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชมากก็ปลูกได้เลย พืชบางชนิดจำเป็นต้องปรับพื้นที่เป็นอย่างมากถึงจะปลูกได้ ถึงจะออกผลได้ ปัญญาหรือธรรมะแต่ละขั้นก็อาศัยระดับของสมาธิในการเข้าถึงแตกต่างกัน อย่างธรรมะในระดับให้เห็นภัยในสังสารวัฎ เห็นทุกข์โทษของการยึดมั่นถือมั่นตัวตนในระดับสักกายทิฎฐิก็อาจจะใช้กำลังสมาธิในระดับเล็กน้อยๆ ก็อาจจะเพียงพอในการเข้าถึง แต่พอเป็นธรรมะในระดับที่จะเข้าถึงการปรุงแต่งของจิตในระดับละเอียดๆ จำเป็นต้องใช้สมาธิที่มีความลึกซึ้ง ตั้งมั่นมากเพียงพอที่จะเห็นจิตเกิดดับทีละขณะ เพื่อที่จะได้เท่าทันกิเลสในระดับที่ลึกๆ ลงไป
ซึ่งก็สอดคล้องกับธรรมชาติจิตของผู้ปฏิบัติบางคนแตกต่างกันไป บางคนเลือกที่จะไถถางให้เรียบร้อยค่อยเพาะปลูก บางคงเลือกที่จะเพาะปลูกก่อนแล้วค่อยๆ ถอนวัชพืช บางคนเลือกที่จะปลูกไปถอนไป ต่างแต่กรรม ต่างแต่วาระ ต่างแต่นิสัย ต่างแต่วาสนา และต่างแต่เป้าหมายและวัตถุประสงค์
โดยธรรมชาติของผม ผมก็อาจจะคล้ายๆ กับคุณ sakkaphan คือ ศึกษาธรรมทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ ทั้งภาพใหญ่และภาพเล็ก ทั้งปราณีตและเลว ทั้งละเอียดและหยาบ ทั้งใกล้และไกล ทั้งอดีต ปัจจุบัน แต่หนักไปทางอนาคต ทั้งสมถะและวิปัสสนา เมื่อพิจารณา ท่องไปในสัมมสนญาณจนอิ่มแล้ว จิตก็จะรวมลงที่ปัจจุบัน เรียนรู้ธรรมะต่างๆ ที่ผุดเกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ว่ากันโดย "ธรรมะ" กับ "ธรรมชาติ" แล้ว ธรรมทั้งมวลมีมากมายมหาศาล เกินกว่าที่เราจะเรียนรู้ได้หมดในชาตินี้ แต่ธรรมที่เป็นสาระ ที่เป็นแก่น ที่เป็นเนื้อหา ที่มีคุณค่ามากที่สุด สำหรับผู้ที่เห็นภัยในสังสารวัฎ ที่เราอยู่ในวิสัยที่จะเรียนรู้ ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง มีเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่อง "อริยสัจ 4" ... ผมอยากทราบมุมมองของคุณ sakkaphan ที่มีต่อเรื่องนี้ครับ ว่าคุณ sakkaphan มีเป้าหมาย มีแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างไรในการไปให้ถึงสภาพ "การเข้าถึงทางจิตเพื่อให้เกิดการรู้แจ้งอย่างแท้จริง"
โดยส่วนตัวแล้ว ธรรมชาติจิต วิธีการศึกษาธรรมของผมก็จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกับคุณ sakkaphan อยู่ไม่ใช่น้อย ซึ่งคงจะเป็นการดีไม่น้อย หากเราจะได้พูดคุย เพื่อต่อยอดจากเนื้อหาที่คุณ sakkaphan ได้เขียนมาแล้วนั้น
ส่วนประโยคที่คุณ sakkaphan ยกขึ้นมาว่า "หลักธรรมในศาสนาพุทธ มันใช้ได้ตามการคิดด้วยหลัก ตรรกะ ในขั้นต้น" อันนี้ผมเห็นด้วยครับ ปัญญาที่เกิดจากคนอื่น (สุตมยปัญญา) ปัญญาที่เกิดจากการคิดของเราเอง (จินตามยปัญญา) เหล่านี้เป็นญาณปัญญาในระดับ "สัมมสนญาณ" เปรียบเทียบก็เหมือนปัญญาในการพิจารณา สอบสวน ก่อนที่จะตัดสิน ดำเนินคดี ของผู้พิพากษา
การตัดสินคดี ให้โทษ สั่งประหาร คงจะไม่สมบูรณ์ได้ หากขาดการพิจารณาโดยรอบ ฉันใด การจะจัดการกิเลส ประหารกิเลส ก็จำเป็นต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาสอบสวนให้ชัดเจน ก่อนที่จะเข้าไปกระทำในจิตในระดับสมาธิ เพื่อใช้ภาวนามยปัญญา ในการตัดสินโทษของกิเลสนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม การเตรียมสภาพจิตให้พร้อมก่อนที่จะพิจารณา สอบสวน ดำเนินคดี ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นการจัดการเรื่องศีล ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ต้องพร้อมระดับหนึ่ง ต้องมีความเชี่ยวชาญในการปรับสภาพของจิตในอยู่ในสภาวะที่ปราศนิวรณ์ ให้อยู่สภาพที่เหมาะสมแก่การงานระดับหนึ่ง การพิจารณา ศึกษาธรรม จึงจะเกิดขึ้นได้อย่างสะดวก ราบรื่น
ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมในขั้นต้นส่วนใหญ่มักจะยังไม่รู้ว่าสภาพจิตของเราขณะนี้ประกอบหรือไม่ประกอบด้วยนิวรณ์ ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรในการจัดการกับนิวรณ์ ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับนิวรณ์ เมื่อจิตยังมีนิวรณ์อยู่ แล้วโน้มจิตมาพิจารณา ตัดสินสิ่งต่างๆ จึงขาดความบริสุทธิ์ที่มากเพียงพอ เลยไม่สามารถมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็น ตัดสินไปส่วนใหญ่ก็ตัดสินตามกิเลสซะมาก ตัดสินด้วยปัญญาซะน้อย
เปรียบเสมือน การปลูกพืชในที่รกชัฎ การจัดการกับนิวรณ์ การทำจิตในเป็นสมาธิในระดับต่างๆ เปรียบเสมือนการไถถางที่รกชัฎเหล่านั้นให้พร้อมแก่การเพาะปลูก อยากยังไม่จัดการไถถางที่ให้เรียบร้อย ถามว่าปลูกพืชในที่แบบนั้นได้ไหม ก็ตอบว่าได้ แต่มันจะได้แบบงงๆ บ้าง ได้แบบหลงๆ บ้าง ได้ผลผลิตที่ผสมกันระหว่างสิ่งที่ต้องการปลูก กับ ผลผลิตจากวัชพืชที่ไม่ได้ตั้งใจจะปลูก ซึ่งก็คงต้องเลือกกลยุทธกันเอาเองว่าจะไถถางกันในระดับไหนก่อนเพาะปลูก หรือจะปลูกไป เตรียมที่ไปก็ไม่ว่ากัน
นอกจากนี้การปลูกพืชแต่ละชนิด การมี requirement ในการเตรียมที่แตกต่างกัน พืชบางชนิดไม่จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชมากก็ปลูกได้เลย พืชบางชนิดจำเป็นต้องปรับพื้นที่เป็นอย่างมากถึงจะปลูกได้ ถึงจะออกผลได้ ปัญญาหรือธรรมะแต่ละขั้นก็อาศัยระดับของสมาธิในการเข้าถึงแตกต่างกัน อย่างธรรมะในระดับให้เห็นภัยในสังสารวัฎ เห็นทุกข์โทษของการยึดมั่นถือมั่นตัวตนในระดับสักกายทิฎฐิก็อาจจะใช้กำลังสมาธิในระดับเล็กน้อยๆ ก็อาจจะเพียงพอในการเข้าถึง แต่พอเป็นธรรมะในระดับที่จะเข้าถึงการปรุงแต่งของจิตในระดับละเอียดๆ จำเป็นต้องใช้สมาธิที่มีความลึกซึ้ง ตั้งมั่นมากเพียงพอที่จะเห็นจิตเกิดดับทีละขณะ เพื่อที่จะได้เท่าทันกิเลสในระดับที่ลึกๆ ลงไป
ซึ่งก็สอดคล้องกับธรรมชาติจิตของผู้ปฏิบัติบางคนแตกต่างกันไป บางคนเลือกที่จะไถถางให้เรียบร้อยค่อยเพาะปลูก บางคงเลือกที่จะเพาะปลูกก่อนแล้วค่อยๆ ถอนวัชพืช บางคนเลือกที่จะปลูกไปถอนไป ต่างแต่กรรม ต่างแต่วาระ ต่างแต่นิสัย ต่างแต่วาสนา และต่างแต่เป้าหมายและวัตถุประสงค์
โดยธรรมชาติของผม ผมก็อาจจะคล้ายๆ กับคุณ sakkaphan คือ ศึกษาธรรมทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ ทั้งภาพใหญ่และภาพเล็ก ทั้งปราณีตและเลว ทั้งละเอียดและหยาบ ทั้งใกล้และไกล ทั้งอดีต ปัจจุบัน แต่หนักไปทางอนาคต ทั้งสมถะและวิปัสสนา เมื่อพิจารณา ท่องไปในสัมมสนญาณจนอิ่มแล้ว จิตก็จะรวมลงที่ปัจจุบัน เรียนรู้ธรรมะต่างๆ ที่ผุดเกิดขึ้นเป็นระยะๆ
ว่ากันโดย "ธรรมะ" กับ "ธรรมชาติ" แล้ว ธรรมทั้งมวลมีมากมายมหาศาล เกินกว่าที่เราจะเรียนรู้ได้หมดในชาตินี้ แต่ธรรมที่เป็นสาระ ที่เป็นแก่น ที่เป็นเนื้อหา ที่มีคุณค่ามากที่สุด สำหรับผู้ที่เห็นภัยในสังสารวัฎ ที่เราอยู่ในวิสัยที่จะเรียนรู้ ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง มีเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่อง "อริยสัจ 4" ... ผมอยากทราบมุมมองของคุณ sakkaphan ที่มีต่อเรื่องนี้ครับ ว่าคุณ sakkaphan มีเป้าหมาย มีแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างไรในการไปให้ถึงสภาพ "การเข้าถึงทางจิตเพื่อให้เกิดการรู้แจ้งอย่างแท้จริง"
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 556
ขอบคุณพี่ picatos มากครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมอง ผมก็ประทับใจพี่ picatos เช่นกัน และจริงๆก็เคยคิดตั้งนานแล้วครับ ตั้งแต่ในช่วงที่ผมเข้าร่วม thaivi แรกๆแล้วได้อ่านความเห็นของพี่หลายๆอย่างทั้งในห้องหุ้น ห้องหนังและห้องอื่นๆ ว่า พี่มีความคล้ายคลึงผมอยู่บ้างเหมือนกัน แล้วเมื่อสักสองปีก่อนผมก็หายๆจากเว็บนี้ไป ไม่ใช่ไปไหน ไปเพื่อค้นหา สิ่งที่แท้จริง เหมือนเดิม เหมือนกับที่ทำมาทั้งชีวิตนี่แหละ จะว่าไปผมก็เดินหาทางที่ถูกมานานแล้วแต่ไม่เคยเจอสักที เพิ่งจะมีครั้งนี้นี่แหละ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมรู้สึกว่า หลังจากเดินหลงมานาน ในที่สุดผมก็เจอทางที่ถูกต้อง ถึงแม้จะยังแค่อยู่ต้นซอย แถมซอยนี้นี่ไม่รู้จะไกลแค่ไหน ท่าทางจะลึกน่าดู 5555
ส่วนคำถามที่ว่า ผมมีเป้าหมายหรือแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างไร ให้ไปถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์นั้น จริงๆสำหรับผมก็ต้องขอบอกก่อนว่า มันไม่เชิงว่าจะเป็นเป้าหมายที่ผมยึดติดอย่างจริงจังว่าจะต้องไปให้ถึงที่สุดให้ได้ หรือจะต้องไปให้ถึงให้เร็วที่สุด แต่มันเป็นลักษณะเหมือนกับว่า ผมรู้แล้วว่า แนวทางนี้คือแนวทางที่ถูกต้อง และผมจะใช้มันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตทั้งหมด หลังจากที่คิดได้แบบนี้ ผมก็คิดว่า ระหว่างนี้ที่ผมยังคงอยู่ในทางโลก ยังต้องหาเงิน ต้องดูแลครอบครัวและคนรัก ผมก็ยังคงทำในสิ่งเหล่านี้ต่อไปด้วยความไม่ประมาท และในขณะเดียวกันผมก็ควรทำกิจให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่นหากทำได้ จึงมีเป้าหมายเพิ่มเติมว่า ผมต้องการเผยแผ่แนวคิดทางพุทธศาสนาให้กับผู้อื่น ทั้งคนไทย ทั้งคนชาติอื่นทั่วโลก เนื่องจากผมเห็นจากคนรอบข้างของผม ทั้งแม่ ทั้งพ่อ ทั้งแฟน ทั้งพ่อแฟน ทุกคนต่างยังหลงอยู่วังวนที่เกิดจากกิเลสและยังทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในเมื่อผมสามารถเข้าถึงหนทางที่แท้จริงได้แล้วแม้ในแค่ระดับน้อยนิด หากเราช่วยได้แม้เพียงสักนิดเดียว ย่อมเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ปัจจุบันแฟนผมก็เริ่มฟังผม เริ่มนำไปคิดนำไปใช้ เริ่มทุกข์น้อยลงบ้าง ส่วนแม่ผมท่านก็ฟังหูซ้ายทะลุหูขวาไป แต่ไม่เป็นไร ผมแค่รู้ว่า ผมต้องทำหน้าที่ของผม เมื่อทำดีที่สุดแล้วผลจะเป็นอย่างไร นั่นอยู่นอกเหนือจากความสามารถของผมแล้ว นอกจากนี้ผมยังต้องการเผยแผ่ไปสู่ผู้อื่นด้วย อาจจะในรูปแบบหนังสือ บทความ หรือรูปแบบใดๆก็ได้
ส่วนในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ผมคงค่อยๆศึกษา เรียนรู้ และปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมทางโลก โดยที่ผมไม่ได้ยึดติดอย่างจริงจังว่า ต้องไปให้ถึงให้ได้ อารมณ์ผมก็ประมาณ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพกว่านั้นอีก ก็คงเป็นประมาณว่า ผมรู้ตัวแล้วว่า ถนนเส้นนี้ คือทางที่ใช่แล้ว แต่ผมไม่รู้เลยว่า มันจะไปอีกไกลแค่ไหน และระหว่างทางนั้น ก็อาจจะมีซอยย่อยเล็กๆน้อยๆ ซอยบางซอยอาจจะเป็นซอยตัน เดินเข้าไปสักพักเดียวก็รู้แล้วว่ามันไม่ใช่ ก็กลับออกมาเส้นหลักแล้วเดินต่อ ซอยบางซอยอาจจะเป็นเขาวงกต ผมอาจจะติดอยู่ในนั้นแล้วหาทางกลับออกมาเพื่อไปสู่ปลายทางไม่ได้ตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หรือในทางเส้นหลัก ระหว่างเดินไป ผมอาจจะไปเจอเครื่องทุ่นแรง เช่นรถม้า รถยนต์ ทำให้ไปถึงปลายทางเร็วขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งผมคิดว่าการปฏิบัติธรรมก็คงเป็นเช่นนี้ไม่ต่างกัน เดินได้ ล้มได้ หลงทางได้ แต่ที่สำคัญก็ต้องรู้ว่า ถนนเส้นไหนคือทางเส้นหลัก ถ้ารู้ตัวว่าหลงทางแล้วก็กลับออกมา จะได้ไปต่อได้ สรุปก็คือ ผมรู้แค่ว่า ผมต้องเดินก้าวไปในถนนเส้นนี้ไปทีละก้าว ตอนนี้ผมรู้แค่นี้เองครับ
มาถึงตรงนี้ ผมก็อยากถามพี่ picatos และพี่ท่านอื่นๆ ทุกคนด้วย ในฐานะที่ เดินมาก่อน ผ่านเส้นทางนี้มาสักระยะแล้ว ไม่ว่าจะใกล้ไกลแค่ไหน ผมเลยอยากถามว่า ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติธรรม เส้นทางเป็นอย่างไรบ้าง มีหลงทาง มีอุปสรรคอย่างไรบ้าง และตั้งแต่ปฏิบัตธรรมมา เห็นความก้าวหน้าพัฒนาไปจากตอนเริ่มต้นอย่างไรบ้าง ขอคำแนะนำด้วยครับ
ส่วนคำถามที่ว่า ผมมีเป้าหมายหรือแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างไร ให้ไปถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์นั้น จริงๆสำหรับผมก็ต้องขอบอกก่อนว่า มันไม่เชิงว่าจะเป็นเป้าหมายที่ผมยึดติดอย่างจริงจังว่าจะต้องไปให้ถึงที่สุดให้ได้ หรือจะต้องไปให้ถึงให้เร็วที่สุด แต่มันเป็นลักษณะเหมือนกับว่า ผมรู้แล้วว่า แนวทางนี้คือแนวทางที่ถูกต้อง และผมจะใช้มันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตทั้งหมด หลังจากที่คิดได้แบบนี้ ผมก็คิดว่า ระหว่างนี้ที่ผมยังคงอยู่ในทางโลก ยังต้องหาเงิน ต้องดูแลครอบครัวและคนรัก ผมก็ยังคงทำในสิ่งเหล่านี้ต่อไปด้วยความไม่ประมาท และในขณะเดียวกันผมก็ควรทำกิจให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่นหากทำได้ จึงมีเป้าหมายเพิ่มเติมว่า ผมต้องการเผยแผ่แนวคิดทางพุทธศาสนาให้กับผู้อื่น ทั้งคนไทย ทั้งคนชาติอื่นทั่วโลก เนื่องจากผมเห็นจากคนรอบข้างของผม ทั้งแม่ ทั้งพ่อ ทั้งแฟน ทั้งพ่อแฟน ทุกคนต่างยังหลงอยู่วังวนที่เกิดจากกิเลสและยังทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในเมื่อผมสามารถเข้าถึงหนทางที่แท้จริงได้แล้วแม้ในแค่ระดับน้อยนิด หากเราช่วยได้แม้เพียงสักนิดเดียว ย่อมเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ปัจจุบันแฟนผมก็เริ่มฟังผม เริ่มนำไปคิดนำไปใช้ เริ่มทุกข์น้อยลงบ้าง ส่วนแม่ผมท่านก็ฟังหูซ้ายทะลุหูขวาไป แต่ไม่เป็นไร ผมแค่รู้ว่า ผมต้องทำหน้าที่ของผม เมื่อทำดีที่สุดแล้วผลจะเป็นอย่างไร นั่นอยู่นอกเหนือจากความสามารถของผมแล้ว นอกจากนี้ผมยังต้องการเผยแผ่ไปสู่ผู้อื่นด้วย อาจจะในรูปแบบหนังสือ บทความ หรือรูปแบบใดๆก็ได้
ส่วนในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ผมคงค่อยๆศึกษา เรียนรู้ และปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมทางโลก โดยที่ผมไม่ได้ยึดติดอย่างจริงจังว่า ต้องไปให้ถึงให้ได้ อารมณ์ผมก็ประมาณ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพกว่านั้นอีก ก็คงเป็นประมาณว่า ผมรู้ตัวแล้วว่า ถนนเส้นนี้ คือทางที่ใช่แล้ว แต่ผมไม่รู้เลยว่า มันจะไปอีกไกลแค่ไหน และระหว่างทางนั้น ก็อาจจะมีซอยย่อยเล็กๆน้อยๆ ซอยบางซอยอาจจะเป็นซอยตัน เดินเข้าไปสักพักเดียวก็รู้แล้วว่ามันไม่ใช่ ก็กลับออกมาเส้นหลักแล้วเดินต่อ ซอยบางซอยอาจจะเป็นเขาวงกต ผมอาจจะติดอยู่ในนั้นแล้วหาทางกลับออกมาเพื่อไปสู่ปลายทางไม่ได้ตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หรือในทางเส้นหลัก ระหว่างเดินไป ผมอาจจะไปเจอเครื่องทุ่นแรง เช่นรถม้า รถยนต์ ทำให้ไปถึงปลายทางเร็วขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งผมคิดว่าการปฏิบัติธรรมก็คงเป็นเช่นนี้ไม่ต่างกัน เดินได้ ล้มได้ หลงทางได้ แต่ที่สำคัญก็ต้องรู้ว่า ถนนเส้นไหนคือทางเส้นหลัก ถ้ารู้ตัวว่าหลงทางแล้วก็กลับออกมา จะได้ไปต่อได้ สรุปก็คือ ผมรู้แค่ว่า ผมต้องเดินก้าวไปในถนนเส้นนี้ไปทีละก้าว ตอนนี้ผมรู้แค่นี้เองครับ
มาถึงตรงนี้ ผมก็อยากถามพี่ picatos และพี่ท่านอื่นๆ ทุกคนด้วย ในฐานะที่ เดินมาก่อน ผ่านเส้นทางนี้มาสักระยะแล้ว ไม่ว่าจะใกล้ไกลแค่ไหน ผมเลยอยากถามว่า ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติธรรม เส้นทางเป็นอย่างไรบ้าง มีหลงทาง มีอุปสรรคอย่างไรบ้าง และตั้งแต่ปฏิบัตธรรมมา เห็นความก้าวหน้าพัฒนาไปจากตอนเริ่มต้นอย่างไรบ้าง ขอคำแนะนำด้วยครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 557
ขออนุญาตแชร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติหน่อยนะครับ ซึ่งความเห็นหรือประสบการณ์ของผมก็ถือว่าเป็นแค่ความเห็นของผู้กำลังศึกษา อันมีความผิดพลาดมากมายเป็นธรรมดา หากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เห็นว่ามีสิ่งใดให้คำแนะนำกับผมได้ ได้โปรดให้ความกรุณาชี้ให้ผมได้เห็นที่มุมของคนนอก มุมที่ผมไม่อาจเห็นได้ด้วยตัวผมเองได้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ผมเข้าใจว่าโดยพื้นฐานของผมแล้ว ผมเป็นคนโทสะจริต ทิฎฐิจริต มีสมาธิมาก สติน้อย วิริยะอ่อน ทำให้โดยสภาวะแล้ว ความไม่สมส่วนของอินทรีย์ 5 จะเกิดจากการที่สมาธิล้ำหน้า มีวิริยะในการเอาสติเข้าไปรับรู้อารมณ์ อาการต่างๆ มีไม่เพียงพอ
ผลที่เกิดขึ้น คือ ชีวิตในวัยเด็กของผม การรับรู้ต่างๆ จะมีลักษณะที่เป็น Tunnel Vision ปักเข้าไปในอารมณ์หนึ่งนาน โดยลืมโลก ไม่รับรู้โลก มักจะหงุดหงิดรำคาญใจเวลามาคนมารบกวนในช่วงเวลาที่กำลังจดจ่อสิ่งต่างๆ จนกลายเป็นโทสะ
โดยส่วนตัวแล้ว เชื่อว่า การปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพ คือ การเติมของพร่อง ของที่เราขาด เพราะ ปัญญาต่างๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดความสมส่วน ไม่ว่า จะเป็นความสมส่วนของอินทรีย์ ความเสมอกันของสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น
เมื่อผมได้ประสบกับความทุกข์และมีจิตโน้มเข้าศึกษาธรรม ธรรมะได้จัดสรรให้ได้เจอวิธีการปฏิบัติที่เติมของพร่องให้สมบูรณ์ขึ้น ผมได้มีโอกาสไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในสายพองหนอ-ยุบหนอ ของมหาสีสยาดอ ซึ่งในสายนี้จะเน้นการทำวิปัสสนาโดยจำกัดกำลังสมาธิให้อยู่แค่ในระดับอุปจาระสมาธิ กล่าวคือ ไม่ปล่อยให้จิตไหลลงสู่อัปปนาสมาธิแบบสมถะฌาน ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติแบบนี้ถือว่าเติมสิ่งที่ผมขาดอยู่พอดี
หลังจากที่ปฏิบัติครั้งแรก การได้เติมสัมมาสติที่ตัวเองขาดไป ทำให้การรับรู้ทางโลกเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก จากที่ปักอยู่ในอารมณ์หนึ่งลึกและนานเกินไป ก็มีความสามารถในการตัดอารมณ์ เปลี่ยนอารมณ์ การรับรู้ที่มีเป็นลักษณะแบบ Tunnel Vision ก็จางลง การรับรู้ต่างๆ สะอาดและผ่องใสขึ้น มีความสามารถในการจัดการอารมณ์ ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ทุกข์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด ผลที่ได้รับจึงเป็นที่มาของศรัทธาที่เต็มเปี่ยมยิ่งๆ ขึ้น พยายามศึกษา พยายามปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมา
ความสะอาดของจิต ความเข้าใจวิธีการใช้จิตในการทำการงานมากขึ้น ความมีสติที่สมส่วนมายิ่งขึ้น ทำให้ชีวิตหมุนไป ดำเนินไป ในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยหมั่นเติมทาน ศีล และภาวนา ให้วงรอบแห่งมรรคที่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ผมปรับการใช้ชีวิตให้เข้าสู่ความสงบมากยิ่งขึ้น ห่างไกลจากสังคมและภาระมากยิ่งขึ้น การกระทำต่างๆ ก็พยายามสำรวมระวังมากยิ่งขึ้น มีเรื่องวุ่นวายน้อยลง ส่งผลให้มีความสงบมากขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการศึกษา ทำความเข้าใจตัวเองได้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตามอันธรรมทั้งหลายเป็นเรื่องรู้เห็นได้เฉพาะตน สภาวะต่างๆ ของคนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปตามจริต ตามนิสัย ตามวาสนาเดิมของแต่ละคน ในการปฏิบัติในสายนี้วิปัสสนาจารย์ของผมก็มีธรรมชาติจิตที่แตกต่างจากผมไป โดยตัวผมเองก็มีธรรมชาติจิตที่มีลักษณะเฉพาะมากๆ แตกต่างจากคนอื่นๆ เมื่อติดอุปสรรคในการปฏิบัติบางอย่างคำแนะนำของวิปัสสนาจารย์ก็ไม่สามารถใช้แก้ไขได้ จึงจำเป็นต้องทดลอง ดิ้นรน ขวนขวาย หาทางแก้ไขเอาเอง
โดยแนวทางการปฏิบัติของที่นี่ จะไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งคิด เมื่อฟุ้งคิด ก็ให้ตัดความคิดกลับมากำหนดที่ฐานกาย เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะเข้าสู่สมาธิ แต่ก็จะไม่ปล่อยให้สมาธิไหลลงลึกจนถึงระดับอัปปนาสมาธิ เมื่อกำลังสมาธิมากขึ้น ก็จำเป็นต้องเร่งวิริยะในการกำหนดสติด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพิ่มขอบเขตในการรับรู้ของจิต การเพิ่มความว่องไวในการรับรู้ของจิต การปรับโหมดของจิตไปรับรู้สิ่งที่ละเอียดละออมากกว่าบ้าง เป็นต้น ในขณะที่เมื่อความคิดฟุ้งซ่านมาก ก็ต้องเพิ่มกำลังสมาธิโดยปักอารมณ์เข้าไปที่อารมณ์หลักให้มากขึ้นมาก เพิ่มความละเอียดละออในการเกาะอารมณ์บ้าง เป็นต้น
มันจะเป็นการรักษาสมดุล เดินไต่บนเส้นเชือกบางๆ รักษาอินทรีย์ให้สมส่วน เพื่อป้องกันนิวรณ์ และพัฒนาความสมส่วนของจิตให้เข้าถึงสภาพที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ธรรมต่างๆ ที่จะผุดเกิดขึ้นเอง
หากไปปฏิบัติธรรมที่ศูนย์วิปัสสนา รูปแบบการปฏิบัติของแนวทางในสายนี้ คือ การเดินจงกรมและนั่งสมาธิ การเดินจงกรมใช้สติตามดูฐานกายเป็นอารมณ์หลัก การนั่งสมาธิจะดูอาการเคลื่อนของท้องเป็นอารมณ์หลัก โดยจะใช้องค์บริกรรม "หนอ" เป็นเครื่องมือในการปักจิตลงสู่อารมณ์ โดยบังลังค์มาตรฐานของสายนี้จะเดิน 1 ชั่วโมง นั่ง 1 ชั่วโมง ทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ วันหนึ่งทำ 12 ช.ม. เป็นอย่างน้อย นอน 6 ช.ม. เป็นอย่างมาก นอกการปฏิบัติจะต้องกำหนดในรู้ในอิริยาบทต่างๆ โดยเคลื่อนไหวช้าๆ งดเว้นการพูดคุย
อุปสรรคของผมในการปฏิบัติที่เกิดขึ้น คือ ธรรมชาติจิตของผมมีระดับของสมาธิที่ลึกพอสมควร จึงทำให้จิตไหลไปในทางเกียจคร้าน โดยสภาพปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน ระดับของสมาธิที่ลึกแบบนี้ เหมาะแก่การคิด คำนวน วิเคราะห์ ที่มีเป้าหมายในการกระทำ แต่พอมาทำวิปัสสนาเมื่อกำจัดความฟุ้งซ่านหมด จิตมันจะมีแต่ความว่าง ความไม่มี ไม่ค่อยมีอารมณ์ให้กำหนด จิตมันจะไหลลงอัปปนาสมาธิเร็วมาก แต่ไม่มีวิริยะในการกำหนดสติมากพอ ทำให้จิตใกล้ภวังค์บ่อยครั้ง เป็นผลให้โงกง่วง มึนงงมากระหว่างปฏิบัติ ในช่วงที่อินทรีย์ไม่สมส่วน เดินจงกรมนี่แทบจะเดินเป็นตุ๊กตาล้มลุก ทำให้การปฏิบัติในช่วงเช้า แทบจะทั้งเช้า จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการเร่งวิริยะ กว่าจะปรับอินทรีย์ให้สมส่วนได้
แต่ด้วยความที่สมาธิมาก นอกจากถีนมิทธะแล้วปัญหานิวรณ์ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากนัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กับการปรับเทคนิคในการกำหนด เทคนิคในการเร่งวิริยะ เทคนิคในการเอาสติเข้าไปรู้สิ่งต่างๆ เทคนิคในการขยายการรับรู้ เทคนิคในการเพิ่มการงานให้แก่จิตซะมากกว่า ก็ต้องมัว สู้แทบตาย กว่าจะเข้าใจถึงธรรมชาติจิต ธรรมชาติของสติ ธรรมชาติของสมาธิ ธรรมชาติของวิริยะ จนมีเครื่องมือ ประสบการณ์ และเทคนิคที่มากเพียงพอที่จะจัดการกับจิตตัวเองได้ระดับหนึ่ง
ถึงทุกวันนี้ เมื่อเข้าใจจิต จัดการกับจิต ได้มากเพียงพอแล้ว การศึกษาธรรมก็เป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก ความสามารถในการวางจิต ในการใช้งานจิตที่ฝึกมาแล้ว ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเราก็ได้เรียนรู้ธรรมะ จากสิ่งต่างๆ ที่มากระทบทางกายและใจ เห็นการปรุงแต่งของจิตที่เกิดขึ้น ระหว่างการดำเนินชีวิต ธรรมต่างๆ ก็หลั่งไหลมาของมันเองตามเหตุปัจจัย
โดยส่วนตัวเป็น Type ที่ไม่ได้เดินไปสู่ไปเป้าหมายเพราะคิดว่าความสุข แต่เป็นคนที่เห็นทุกข์ในสิ่งต่างๆ และพยายามเดินหน้าเพื่อให้ทุกข์น้อยลงอีกนิด ให้เบาคลายจากกิเลสที่มาบีบคั้นลงอีกสักหน่อย สมัยก่อนทุกครั้งที่ไหว้พระ ก็ขอแค่ความกล้าหาญ เพียรพยายาม ที่จะเผชิญหน้ากับทุกข์ ก้าวข้ามผ่านทุกข์ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลส และมีความเข้มแข็งพอที่จะสู้กับมัน
สำหรับผม ผมทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น ก็ขอแค่อยากจะทำให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน และอยากจะทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
ผมเข้าใจว่าโดยพื้นฐานของผมแล้ว ผมเป็นคนโทสะจริต ทิฎฐิจริต มีสมาธิมาก สติน้อย วิริยะอ่อน ทำให้โดยสภาวะแล้ว ความไม่สมส่วนของอินทรีย์ 5 จะเกิดจากการที่สมาธิล้ำหน้า มีวิริยะในการเอาสติเข้าไปรับรู้อารมณ์ อาการต่างๆ มีไม่เพียงพอ
ผลที่เกิดขึ้น คือ ชีวิตในวัยเด็กของผม การรับรู้ต่างๆ จะมีลักษณะที่เป็น Tunnel Vision ปักเข้าไปในอารมณ์หนึ่งนาน โดยลืมโลก ไม่รับรู้โลก มักจะหงุดหงิดรำคาญใจเวลามาคนมารบกวนในช่วงเวลาที่กำลังจดจ่อสิ่งต่างๆ จนกลายเป็นโทสะ
โดยส่วนตัวแล้ว เชื่อว่า การปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพ คือ การเติมของพร่อง ของที่เราขาด เพราะ ปัญญาต่างๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดความสมส่วน ไม่ว่า จะเป็นความสมส่วนของอินทรีย์ ความเสมอกันของสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น
เมื่อผมได้ประสบกับความทุกข์และมีจิตโน้มเข้าศึกษาธรรม ธรรมะได้จัดสรรให้ได้เจอวิธีการปฏิบัติที่เติมของพร่องให้สมบูรณ์ขึ้น ผมได้มีโอกาสไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในสายพองหนอ-ยุบหนอ ของมหาสีสยาดอ ซึ่งในสายนี้จะเน้นการทำวิปัสสนาโดยจำกัดกำลังสมาธิให้อยู่แค่ในระดับอุปจาระสมาธิ กล่าวคือ ไม่ปล่อยให้จิตไหลลงสู่อัปปนาสมาธิแบบสมถะฌาน ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติแบบนี้ถือว่าเติมสิ่งที่ผมขาดอยู่พอดี
หลังจากที่ปฏิบัติครั้งแรก การได้เติมสัมมาสติที่ตัวเองขาดไป ทำให้การรับรู้ทางโลกเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก จากที่ปักอยู่ในอารมณ์หนึ่งลึกและนานเกินไป ก็มีความสามารถในการตัดอารมณ์ เปลี่ยนอารมณ์ การรับรู้ที่มีเป็นลักษณะแบบ Tunnel Vision ก็จางลง การรับรู้ต่างๆ สะอาดและผ่องใสขึ้น มีความสามารถในการจัดการอารมณ์ ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ทุกข์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด ผลที่ได้รับจึงเป็นที่มาของศรัทธาที่เต็มเปี่ยมยิ่งๆ ขึ้น พยายามศึกษา พยายามปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมา
ความสะอาดของจิต ความเข้าใจวิธีการใช้จิตในการทำการงานมากขึ้น ความมีสติที่สมส่วนมายิ่งขึ้น ทำให้ชีวิตหมุนไป ดำเนินไป ในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยหมั่นเติมทาน ศีล และภาวนา ให้วงรอบแห่งมรรคที่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ผมปรับการใช้ชีวิตให้เข้าสู่ความสงบมากยิ่งขึ้น ห่างไกลจากสังคมและภาระมากยิ่งขึ้น การกระทำต่างๆ ก็พยายามสำรวมระวังมากยิ่งขึ้น มีเรื่องวุ่นวายน้อยลง ส่งผลให้มีความสงบมากขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการศึกษา ทำความเข้าใจตัวเองได้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตามอันธรรมทั้งหลายเป็นเรื่องรู้เห็นได้เฉพาะตน สภาวะต่างๆ ของคนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปตามจริต ตามนิสัย ตามวาสนาเดิมของแต่ละคน ในการปฏิบัติในสายนี้วิปัสสนาจารย์ของผมก็มีธรรมชาติจิตที่แตกต่างจากผมไป โดยตัวผมเองก็มีธรรมชาติจิตที่มีลักษณะเฉพาะมากๆ แตกต่างจากคนอื่นๆ เมื่อติดอุปสรรคในการปฏิบัติบางอย่างคำแนะนำของวิปัสสนาจารย์ก็ไม่สามารถใช้แก้ไขได้ จึงจำเป็นต้องทดลอง ดิ้นรน ขวนขวาย หาทางแก้ไขเอาเอง
โดยแนวทางการปฏิบัติของที่นี่ จะไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งคิด เมื่อฟุ้งคิด ก็ให้ตัดความคิดกลับมากำหนดที่ฐานกาย เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะเข้าสู่สมาธิ แต่ก็จะไม่ปล่อยให้สมาธิไหลลงลึกจนถึงระดับอัปปนาสมาธิ เมื่อกำลังสมาธิมากขึ้น ก็จำเป็นต้องเร่งวิริยะในการกำหนดสติด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพิ่มขอบเขตในการรับรู้ของจิต การเพิ่มความว่องไวในการรับรู้ของจิต การปรับโหมดของจิตไปรับรู้สิ่งที่ละเอียดละออมากกว่าบ้าง เป็นต้น ในขณะที่เมื่อความคิดฟุ้งซ่านมาก ก็ต้องเพิ่มกำลังสมาธิโดยปักอารมณ์เข้าไปที่อารมณ์หลักให้มากขึ้นมาก เพิ่มความละเอียดละออในการเกาะอารมณ์บ้าง เป็นต้น
มันจะเป็นการรักษาสมดุล เดินไต่บนเส้นเชือกบางๆ รักษาอินทรีย์ให้สมส่วน เพื่อป้องกันนิวรณ์ และพัฒนาความสมส่วนของจิตให้เข้าถึงสภาพที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ธรรมต่างๆ ที่จะผุดเกิดขึ้นเอง
หากไปปฏิบัติธรรมที่ศูนย์วิปัสสนา รูปแบบการปฏิบัติของแนวทางในสายนี้ คือ การเดินจงกรมและนั่งสมาธิ การเดินจงกรมใช้สติตามดูฐานกายเป็นอารมณ์หลัก การนั่งสมาธิจะดูอาการเคลื่อนของท้องเป็นอารมณ์หลัก โดยจะใช้องค์บริกรรม "หนอ" เป็นเครื่องมือในการปักจิตลงสู่อารมณ์ โดยบังลังค์มาตรฐานของสายนี้จะเดิน 1 ชั่วโมง นั่ง 1 ชั่วโมง ทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ วันหนึ่งทำ 12 ช.ม. เป็นอย่างน้อย นอน 6 ช.ม. เป็นอย่างมาก นอกการปฏิบัติจะต้องกำหนดในรู้ในอิริยาบทต่างๆ โดยเคลื่อนไหวช้าๆ งดเว้นการพูดคุย
อุปสรรคของผมในการปฏิบัติที่เกิดขึ้น คือ ธรรมชาติจิตของผมมีระดับของสมาธิที่ลึกพอสมควร จึงทำให้จิตไหลไปในทางเกียจคร้าน โดยสภาพปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน ระดับของสมาธิที่ลึกแบบนี้ เหมาะแก่การคิด คำนวน วิเคราะห์ ที่มีเป้าหมายในการกระทำ แต่พอมาทำวิปัสสนาเมื่อกำจัดความฟุ้งซ่านหมด จิตมันจะมีแต่ความว่าง ความไม่มี ไม่ค่อยมีอารมณ์ให้กำหนด จิตมันจะไหลลงอัปปนาสมาธิเร็วมาก แต่ไม่มีวิริยะในการกำหนดสติมากพอ ทำให้จิตใกล้ภวังค์บ่อยครั้ง เป็นผลให้โงกง่วง มึนงงมากระหว่างปฏิบัติ ในช่วงที่อินทรีย์ไม่สมส่วน เดินจงกรมนี่แทบจะเดินเป็นตุ๊กตาล้มลุก ทำให้การปฏิบัติในช่วงเช้า แทบจะทั้งเช้า จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการเร่งวิริยะ กว่าจะปรับอินทรีย์ให้สมส่วนได้
แต่ด้วยความที่สมาธิมาก นอกจากถีนมิทธะแล้วปัญหานิวรณ์ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากนัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กับการปรับเทคนิคในการกำหนด เทคนิคในการเร่งวิริยะ เทคนิคในการเอาสติเข้าไปรู้สิ่งต่างๆ เทคนิคในการขยายการรับรู้ เทคนิคในการเพิ่มการงานให้แก่จิตซะมากกว่า ก็ต้องมัว สู้แทบตาย กว่าจะเข้าใจถึงธรรมชาติจิต ธรรมชาติของสติ ธรรมชาติของสมาธิ ธรรมชาติของวิริยะ จนมีเครื่องมือ ประสบการณ์ และเทคนิคที่มากเพียงพอที่จะจัดการกับจิตตัวเองได้ระดับหนึ่ง
ถึงทุกวันนี้ เมื่อเข้าใจจิต จัดการกับจิต ได้มากเพียงพอแล้ว การศึกษาธรรมก็เป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก ความสามารถในการวางจิต ในการใช้งานจิตที่ฝึกมาแล้ว ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเราก็ได้เรียนรู้ธรรมะ จากสิ่งต่างๆ ที่มากระทบทางกายและใจ เห็นการปรุงแต่งของจิตที่เกิดขึ้น ระหว่างการดำเนินชีวิต ธรรมต่างๆ ก็หลั่งไหลมาของมันเองตามเหตุปัจจัย
โดยส่วนตัวเป็น Type ที่ไม่ได้เดินไปสู่ไปเป้าหมายเพราะคิดว่าความสุข แต่เป็นคนที่เห็นทุกข์ในสิ่งต่างๆ และพยายามเดินหน้าเพื่อให้ทุกข์น้อยลงอีกนิด ให้เบาคลายจากกิเลสที่มาบีบคั้นลงอีกสักหน่อย สมัยก่อนทุกครั้งที่ไหว้พระ ก็ขอแค่ความกล้าหาญ เพียรพยายาม ที่จะเผชิญหน้ากับทุกข์ ก้าวข้ามผ่านทุกข์ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลส และมีความเข้มแข็งพอที่จะสู้กับมัน
สำหรับผม ผมทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น ก็ขอแค่อยากจะทำให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน และอยากจะทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 558
จำชื่อหนังสือและคนแต่งไม่ได้ ได้จดไว้ ชอบมาก
"เห็นสายรุ้ง"
เราไม่คิดว่ามันเป็นจริง
รุ้งเกิดขึ้นได้จากเหตุและปัจจัยบางประการ
เช่นความชื้นในอากาศสัมผัสกับแสงแดด ด้วยมุมที่กระทบกันพอเหมาะพอดี และอื่นๆ
ถ้าเหตุและปัจจัยทั้งหลายมาพร้อมอยู่ด้วยกันเราก็จะได้อะไรบางอย่างซึ่งมึความงดงามมากและดูเป็นของจริง
มีแก่นสารจับต้องได้อย่างยิ่งที่เดียว ซึ่งเราเรียกว่ารุ้ง
จะว่าไป มันก็ไม่ได้มีอยู่จริง แต่กระนั้น มันก็มีอยู่ เราทุกคนก็เห็น
แต่อย่างนั้นเราก็ไม่อาจเอื้อมไปคว้ามันได้
นี่ก็เหมือนกันมากกับความเป็นจริงแห่งโลกภายนอกตัวเราและอารมย์ของเรา
มันมีอยู๋ แต่ขณะเดียวกัน มันก็ไม่ได้มีอยู่ในแบบทีเราสัมผัสรับรู้มันนัก
เมื่อเราตระหนักได้สิ่งนี้
เราก็ได้มาซึ่งอิสรภาพอย่างเปี่ยมล้น
เราอาจเบิกบานกับสายรุ้งได้โดยไม่ต้องพยายามที่จะไขว่คว้ามัน ไม่ใช่รุ้งของฉัน
ไม่มีใครสามารถซื้อรุ้งแล้วเก็บไว้ในสวนหลังบ้าน เป็นรุ้งส่วนตัว
เราจำต้องหลุดพ้นจากการกดขี่ของอัตตา
ถ้าเรามองหาอัตตานี้ เราก็จะไม่มีวันหามันพบ
ในลักษณะนี้เราก็สามารถสลายมายาลวงนี้ได้
"เห็นสายรุ้ง"
เราไม่คิดว่ามันเป็นจริง
รุ้งเกิดขึ้นได้จากเหตุและปัจจัยบางประการ
เช่นความชื้นในอากาศสัมผัสกับแสงแดด ด้วยมุมที่กระทบกันพอเหมาะพอดี และอื่นๆ
ถ้าเหตุและปัจจัยทั้งหลายมาพร้อมอยู่ด้วยกันเราก็จะได้อะไรบางอย่างซึ่งมึความงดงามมากและดูเป็นของจริง
มีแก่นสารจับต้องได้อย่างยิ่งที่เดียว ซึ่งเราเรียกว่ารุ้ง
จะว่าไป มันก็ไม่ได้มีอยู่จริง แต่กระนั้น มันก็มีอยู่ เราทุกคนก็เห็น
แต่อย่างนั้นเราก็ไม่อาจเอื้อมไปคว้ามันได้
นี่ก็เหมือนกันมากกับความเป็นจริงแห่งโลกภายนอกตัวเราและอารมย์ของเรา
มันมีอยู๋ แต่ขณะเดียวกัน มันก็ไม่ได้มีอยู่ในแบบทีเราสัมผัสรับรู้มันนัก
เมื่อเราตระหนักได้สิ่งนี้
เราก็ได้มาซึ่งอิสรภาพอย่างเปี่ยมล้น
เราอาจเบิกบานกับสายรุ้งได้โดยไม่ต้องพยายามที่จะไขว่คว้ามัน ไม่ใช่รุ้งของฉัน
ไม่มีใครสามารถซื้อรุ้งแล้วเก็บไว้ในสวนหลังบ้าน เป็นรุ้งส่วนตัว
เราจำต้องหลุดพ้นจากการกดขี่ของอัตตา
ถ้าเรามองหาอัตตานี้ เราก็จะไม่มีวันหามันพบ
ในลักษณะนี้เราก็สามารถสลายมายาลวงนี้ได้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 559
ขอบคุณมากครับ อ่านดูแล้วเท่าที่ผมเข้าใจ ขอตั้งคำถามแบบมือใหม่นะครับpicatos เขียน:ขออนุญาตแชร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติหน่อยนะครับ ซึ่งความเห็นหรือประสบการณ์ของผมก็ถือว่าเป็นแค่ความเห็นของผู้กำลังศึกษา อันมีความผิดพลาดมากมายเป็นธรรมดา หากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เห็นว่ามีสิ่งใดให้คำแนะนำกับผมได้ ได้โปรดให้ความกรุณาชี้ให้ผมได้เห็นที่มุมของคนนอก มุมที่ผมไม่อาจเห็นได้ด้วยตัวผมเองได้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ผมเข้าใจว่าโดยพื้นฐานของผมแล้ว ผมเป็นคนโทสะจริต ทิฎฐิจริต มีสมาธิมาก สติน้อย วิริยะอ่อน ทำให้โดยสภาวะแล้ว ความไม่สมส่วนของอินทรีย์ 5 จะเกิดจากการที่สมาธิล้ำหน้า มีวิริยะในการเอาสติเข้าไปรับรู้อารมณ์ อาการต่างๆ มีไม่เพียงพอ
ผลที่เกิดขึ้น คือ ชีวิตในวัยเด็กของผม การรับรู้ต่างๆ จะมีลักษณะที่เป็น Tunnel Vision ปักเข้าไปในอารมณ์หนึ่งนาน โดยลืมโลก ไม่รับรู้โลก มักจะหงุดหงิดรำคาญใจเวลามาคนมารบกวนในช่วงเวลาที่กำลังจดจ่อสิ่งต่างๆ จนกลายเป็นโทสะ
โดยส่วนตัวแล้ว เชื่อว่า การปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพ คือ การเติมของพร่อง ของที่เราขาด เพราะ ปัญญาต่างๆ จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดความสมส่วน ไม่ว่า จะเป็นความสมส่วนของอินทรีย์ ความเสมอกันของสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น
เมื่อผมได้ประสบกับความทุกข์และมีจิตโน้มเข้าศึกษาธรรม ธรรมะได้จัดสรรให้ได้เจอวิธีการปฏิบัติที่เติมของพร่องให้สมบูรณ์ขึ้น ผมได้มีโอกาสไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในสายพองหนอ-ยุบหนอ ของมหาสีสยาดอ ซึ่งในสายนี้จะเน้นการทำวิปัสสนาโดยจำกัดกำลังสมาธิให้อยู่แค่ในระดับอุปจาระสมาธิ กล่าวคือ ไม่ปล่อยให้จิตไหลลงสู่อัปปนาสมาธิแบบสมถะฌาน ซึ่งแนวทางในการปฏิบัติแบบนี้ถือว่าเติมสิ่งที่ผมขาดอยู่พอดี
หลังจากที่ปฏิบัติครั้งแรก การได้เติมสัมมาสติที่ตัวเองขาดไป ทำให้การรับรู้ทางโลกเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก จากที่ปักอยู่ในอารมณ์หนึ่งลึกและนานเกินไป ก็มีความสามารถในการตัดอารมณ์ เปลี่ยนอารมณ์ การรับรู้ที่มีเป็นลักษณะแบบ Tunnel Vision ก็จางลง การรับรู้ต่างๆ สะอาดและผ่องใสขึ้น มีความสามารถในการจัดการอารมณ์ ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ทุกข์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด ผลที่ได้รับจึงเป็นที่มาของศรัทธาที่เต็มเปี่ยมยิ่งๆ ขึ้น พยายามศึกษา พยายามปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมา
ความสะอาดของจิต ความเข้าใจวิธีการใช้จิตในการทำการงานมากขึ้น ความมีสติที่สมส่วนมายิ่งขึ้น ทำให้ชีวิตหมุนไป ดำเนินไป ในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยหมั่นเติมทาน ศีล และภาวนา ให้วงรอบแห่งมรรคที่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ผมปรับการใช้ชีวิตให้เข้าสู่ความสงบมากยิ่งขึ้น ห่างไกลจากสังคมและภาระมากยิ่งขึ้น การกระทำต่างๆ ก็พยายามสำรวมระวังมากยิ่งขึ้น มีเรื่องวุ่นวายน้อยลง ส่งผลให้มีความสงบมากขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการศึกษา ทำความเข้าใจตัวเองได้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตามอันธรรมทั้งหลายเป็นเรื่องรู้เห็นได้เฉพาะตน สภาวะต่างๆ ของคนแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปตามจริต ตามนิสัย ตามวาสนาเดิมของแต่ละคน ในการปฏิบัติในสายนี้วิปัสสนาจารย์ของผมก็มีธรรมชาติจิตที่แตกต่างจากผมไป โดยตัวผมเองก็มีธรรมชาติจิตที่มีลักษณะเฉพาะมากๆ แตกต่างจากคนอื่นๆ เมื่อติดอุปสรรคในการปฏิบัติบางอย่างคำแนะนำของวิปัสสนาจารย์ก็ไม่สามารถใช้แก้ไขได้ จึงจำเป็นต้องทดลอง ดิ้นรน ขวนขวาย หาทางแก้ไขเอาเอง
โดยแนวทางการปฏิบัติของที่นี่ จะไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งคิด เมื่อฟุ้งคิด ก็ให้ตัดความคิดกลับมากำหนดที่ฐานกาย เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะเข้าสู่สมาธิ แต่ก็จะไม่ปล่อยให้สมาธิไหลลงลึกจนถึงระดับอัปปนาสมาธิ เมื่อกำลังสมาธิมากขึ้น ก็จำเป็นต้องเร่งวิริยะในการกำหนดสติด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพิ่มขอบเขตในการรับรู้ของจิต การเพิ่มความว่องไวในการรับรู้ของจิต การปรับโหมดของจิตไปรับรู้สิ่งที่ละเอียดละออมากกว่าบ้าง เป็นต้น ในขณะที่เมื่อความคิดฟุ้งซ่านมาก ก็ต้องเพิ่มกำลังสมาธิโดยปักอารมณ์เข้าไปที่อารมณ์หลักให้มากขึ้นมาก เพิ่มความละเอียดละออในการเกาะอารมณ์บ้าง เป็นต้น
มันจะเป็นการรักษาสมดุล เดินไต่บนเส้นเชือกบางๆ รักษาอินทรีย์ให้สมส่วน เพื่อป้องกันนิวรณ์ และพัฒนาความสมส่วนของจิตให้เข้าถึงสภาพที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ธรรมต่างๆ ที่จะผุดเกิดขึ้นเอง
หากไปปฏิบัติธรรมที่ศูนย์วิปัสสนา รูปแบบการปฏิบัติของแนวทางในสายนี้ คือ การเดินจงกรมและนั่งสมาธิ การเดินจงกรมใช้สติตามดูฐานกายเป็นอารมณ์หลัก การนั่งสมาธิจะดูอาการเคลื่อนของท้องเป็นอารมณ์หลัก โดยจะใช้องค์บริกรรม "หนอ" เป็นเครื่องมือในการปักจิตลงสู่อารมณ์ โดยบังลังค์มาตรฐานของสายนี้จะเดิน 1 ชั่วโมง นั่ง 1 ชั่วโมง ทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ วันหนึ่งทำ 12 ช.ม. เป็นอย่างน้อย นอน 6 ช.ม. เป็นอย่างมาก นอกการปฏิบัติจะต้องกำหนดในรู้ในอิริยาบทต่างๆ โดยเคลื่อนไหวช้าๆ งดเว้นการพูดคุย
อุปสรรคของผมในการปฏิบัติที่เกิดขึ้น คือ ธรรมชาติจิตของผมมีระดับของสมาธิที่ลึกพอสมควร จึงทำให้จิตไหลไปในทางเกียจคร้าน โดยสภาพปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน ระดับของสมาธิที่ลึกแบบนี้ เหมาะแก่การคิด คำนวน วิเคราะห์ ที่มีเป้าหมายในการกระทำ แต่พอมาทำวิปัสสนาเมื่อกำจัดความฟุ้งซ่านหมด จิตมันจะมีแต่ความว่าง ความไม่มี ไม่ค่อยมีอารมณ์ให้กำหนด จิตมันจะไหลลงอัปปนาสมาธิเร็วมาก แต่ไม่มีวิริยะในการกำหนดสติมากพอ ทำให้จิตใกล้ภวังค์บ่อยครั้ง เป็นผลให้โงกง่วง มึนงงมากระหว่างปฏิบัติ ในช่วงที่อินทรีย์ไม่สมส่วน เดินจงกรมนี่แทบจะเดินเป็นตุ๊กตาล้มลุก ทำให้การปฏิบัติในช่วงเช้า แทบจะทั้งเช้า จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการเร่งวิริยะ กว่าจะปรับอินทรีย์ให้สมส่วนได้
แต่ด้วยความที่สมาธิมาก นอกจากถีนมิทธะแล้วปัญหานิวรณ์ก็ไม่ได้เป็นปัญหามากนัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กับการปรับเทคนิคในการกำหนด เทคนิคในการเร่งวิริยะ เทคนิคในการเอาสติเข้าไปรู้สิ่งต่างๆ เทคนิคในการขยายการรับรู้ เทคนิคในการเพิ่มการงานให้แก่จิตซะมากกว่า ก็ต้องมัว สู้แทบตาย กว่าจะเข้าใจถึงธรรมชาติจิต ธรรมชาติของสติ ธรรมชาติของสมาธิ ธรรมชาติของวิริยะ จนมีเครื่องมือ ประสบการณ์ และเทคนิคที่มากเพียงพอที่จะจัดการกับจิตตัวเองได้ระดับหนึ่ง
ถึงทุกวันนี้ เมื่อเข้าใจจิต จัดการกับจิต ได้มากเพียงพอแล้ว การศึกษาธรรมก็เป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก ความสามารถในการวางจิต ในการใช้งานจิตที่ฝึกมาแล้ว ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเราก็ได้เรียนรู้ธรรมะ จากสิ่งต่างๆ ที่มากระทบทางกายและใจ เห็นการปรุงแต่งของจิตที่เกิดขึ้น ระหว่างการดำเนินชีวิต ธรรมต่างๆ ก็หลั่งไหลมาของมันเองตามเหตุปัจจัย
โดยส่วนตัวเป็น Type ที่ไม่ได้เดินไปสู่ไปเป้าหมายเพราะคิดว่าความสุข แต่เป็นคนที่เห็นทุกข์ในสิ่งต่างๆ และพยายามเดินหน้าเพื่อให้ทุกข์น้อยลงอีกนิด ให้เบาคลายจากกิเลสที่มาบีบคั้นลงอีกสักหน่อย สมัยก่อนทุกครั้งที่ไหว้พระ ก็ขอแค่ความกล้าหาญ เพียรพยายาม ที่จะเผชิญหน้ากับทุกข์ ก้าวข้ามผ่านทุกข์ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลส และมีความเข้มแข็งพอที่จะสู้กับมัน
สำหรับผม ผมทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น ก็ขอแค่อยากจะทำให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวาน และอยากจะทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
แสดงว่า พี่ picatos ก็ฝึกจิตควบคู่ไปกับการวิเคราะห์เรียนรู้กิเลสไปในทุกๆวันด้วยใช่มั้ยครับ? หรือว่าฝึกจิตดีแล้วจนจิตอยู่ในสภาพ "พร้อมทำงาน" ตลอดเวลา หรือว่าในทุกๆวัน ก็ต้องปรับสภาพจิตให้พร้อมทำงาน ก่อนที่จะวิเคราะห์เรียนรู้ แต่เพียงแค่ว่าพี่picatosเรียนรู้จิตมาจนรู้จักดี ทำให้เข้าถึง สภาพพร้อมทำงานได้เร็ว? เป็นแบบไหนกันแน่ครับ หรือว่าไม่ใช่แบบไหนในบรรดาที่ผมกล่าวมาเลย?
แล้วพี่ทำมากี่ปีแล้วครับ แล้วคิดว่า กิเลส มันอ่อนกำลังไปเยอะมั้ย เมื่อเทียบกับตอนแรก หรือว่าสามารถตัดกิเลสได้บางตัวเรียบร้อยแล้ว?
เมื่อวาน ระหว่างที่ผมนั่งพิมพ์ ผมยังคิดอยู่เลยว่า ค่อยๆไปก็ได้ ช้าๆไม่ต้องรีบ แต่วันนี้ พบเจอกับความงอแงของกิเลส มันจะขึ้นๆมาแผลงฤทธิ์อีกแล้ว เลยคิดได้ว่า กิเลสนี่ ตัวร้ายเลย เลี้ยงไม่เชื่อง ปล่อยไว้มันก็แว้งกัดเราอยู่เนืองๆ เลยคิดว่า ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากจะหาทางปฏิบัติฆ่ามันให้ตายเสีย แต่ก็ยังไม่รู้ว่า จะทำได้มั้ยในเมื่อยังอยู่ทางโลก ถ้ายังงี้ ผมก็ควรหาทาง ฝึกสภาพจิตให้พร้อมทำงาน ในทุกๆวัน ใช่มั้ยครับ (ที่เหมาะกับผมคงต้องทำสมาธิมั้งครับ เพราะผมว่าผมขาดสมาธิ) พี่ๆคิดว่าผมควรต้องทำทุกวันมั้ยครับ? หรือมีหลักสูตรหรือค่ายปฎิบัติธรรมที่ไหนแนะนำมั้ยครับ
รบกวนด้วยครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 560
พี่ๆคิดว่าผมควรต้องทำทุกวันมั้ยครับ? หรือมีหลักสูตรหรือค่ายปฎิบัติธรรมที่ไหนแนะนำมั้ยครับ
น่าจะไป "โกเอ็นก้า" ค่ะ
http://www.thaidhamma.net/
น่าจะไป "โกเอ็นก้า" ค่ะ
http://www.thaidhamma.net/
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 561
จะตอบอย่างไรดีล่ะ จะว่าใช่ก็ได้ จะว่าไม่ใช่ก็ได้แสดงว่า พี่ picatos ก็ฝึกจิตควบคู่ไปกับการวิเคราะห์เรียนรู้กิเลสไปในทุกๆวันด้วยใช่มั้ยครับ? หรือว่าฝึกจิตดีแล้วจนจิตอยู่ในสภาพ "พร้อมทำงาน" ตลอดเวลา หรือว่าในทุกๆวัน ก็ต้องปรับสภาพจิตให้พร้อมทำงาน ก่อนที่จะวิเคราะห์เรียนรู้ แต่เพียงแค่ว่าพี่picatosเรียนรู้จิตมาจนรู้จักดี ทำให้เข้าถึง สภาพพร้อมทำงานได้เร็ว? เป็นแบบไหนกันแน่ครับ หรือว่าไม่ใช่แบบไหนในบรรดาที่ผมกล่าวมาเลย?
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการเล่นกีฬาแล้วกัน ในช่วงต้นเป็นช่วงที่เราต้องฝึกฝนท่าทาง วง ทักษะ ฝึกฝนกล้ามเนื้อ ทดลองเล่นกีฬาในขั้นต้น หลังจากนั้นเราถึงมาเรียนรู้แทคติกต่างๆ วิเคราะห์เกมส์ กลยุทธ์ สั่งสมประสบการณ์ เมื่อถึงที่สุดแล้วเราจึงจะสามารถเล่นกีฬาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
ในการปฏิบัติธรรม เริ่มแรกเราไม่เคยรู้จักจิต ไม่รู้จักการใช้งานจิตในรูปแบบต่างๆ ในขั้นต้นเราก็ต้องเริ่มต้นฝึกที่จะทำความเข้าใจมัน ฝึกที่จะใช้งานมัน ทดลองใช้งานมันในรูปแบบต่างๆ เหมือนกับการฝึกกล้ามเนื้อ ฝึกทักษะทางการกีฬาขั้นต้น ดังนั้นในขั้นตอนนี้กว่าจะลงมือลงไม้ได้ ก็ต้องเตรียมตัว Warm Up กล้ามเนื้ออยู่นาน review ทักษะ ก่อนที่จะลงสนาม พอลงสนามแล้วก็ผิดๆ พลาดๆ บ้างทำถูกทำผิดบ้าง
แต่แล้วเมื่อมีความเข้าใจ มีทักษะประสบการณ์มากยิ่งขึ้น การ Warm Up การทบทวนก่อนลงสนามก็อาจจะน้อยลง เล่นได้ดีขึ้น เริ่มมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น
จนถึงขั้นที่สุดแล้ว ความอยู่ตัวของร่างกาย ประสบการณ์ และทักษะที่สั่งสม อยู่ๆ จะให้กระโดดลงไปเล่นในสนามเล่นก็ทำได้ หรือเล่นๆ อยู่จะให้หยุดเล่นก็เล่นได้ ไม่รู้สึกขัดเคืองอะไร เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งของเราไปแล้ว
ฉันใดก็ฉันนั้น หากเราฝึกจิตจนมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการที่จะปรับสภาพจิตในพร้อมแก่การใช้งาน เพียงแค่มีเจตนา จิตก็พร้อมแก่การงานแล้ว นั่นคือเป้าหมาย นั่นคือสภาพของจิตที่พร้อมที่จะเข้าไปศึกษากิเลสที่อยู่ลึกๆ ได้ และเป็นสภาพของจิตที่แม้จะอยู่ทางโลกก็เห็นธรรมะที่หลั่งไหล่มาอยู่ตลอดเวลา
และถึงแม้ว่าเราจะฝึกจิตจนมีความแก่กล้าจนมีความพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลาอยู่แล้ว ราวกับว่า แม้จะไม่ฝึก ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนฝึก แต่การฝึกเหล่านี้ก็เป็นกิจกรรมทางจิตที่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นโทษ เป็นเครื่องอยู่อันสงบ สัปปายะ ต่อการดำรงของจิต ผู้ที่มีทักษะเหล่านี้แล้ว จึงใช้กระบวนการฝึกจิตที่ได้เคยทำมาแล้วในขั้นต้น เป็นเครื่องอยู่ เป็นกิจกรรมทางจิต เอามาใช้แทนที่กิจกรรมทางโลกที่มีโทษมากกว่า ซึ่งเราเรียกกิจกรรมทางจิตอย่างนี้ว่า วิหารธรรม กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อฝึก แต่เอาไว้ใช้เพื่ออยู่
ด้วยเหตุนี้จึงตอบว่าจะว่าใช่ก็ได้ จะว่าไม่ใช่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานะของการปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับสภาพของจิต และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเรา
ผมทำมาประมาณ 5 ปี ได้แล้วครับ เป็นธรรมดาที่กิเลสจะอ่อนกำลังลง มีผลลบต่อชีวิตน้อยลง ศรัทธาที่มีอยู่คงจะมีแต่เดินหน้า ไม่มีถอยหลังแล้ว ส่งผลให้วิถีชีวิตได้ถูกปรับ ถูกโน้มให้เข้ามาทำกิจอันนี้ ซึ่งก็คงจะทำให้กิเลสอ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ วันใดวันหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมกิเลสที่มีอยู่ก็ดับลงเป็นธรรมดา จะสนใจทำไมกับกิเลสที่จัดการได้แล้ว สิ่งที่ต้องสนใจคือกิเลสที่ยังมีอำนาจเหนือเรานี่แหละ เพราะ กิเลสเหล่านี้ยังคงทำให้เราทุกข์อยู่ร่ำไปแล้วพี่ทำมากี่ปีแล้วครับ แล้วคิดว่า กิเลส มันอ่อนกำลังไปเยอะมั้ย เมื่อเทียบกับตอนแรก หรือว่าสามารถตัดกิเลสได้บางตัวเรียบร้อยแล้ว?
ในมหาสติปัฐานสูตร ส่วนท้ายของพระสูตร พระพุทธเจ้าได้รับรองเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ใดก็ตามหากมีความตั้งใจเจริญสติอย่างต่อเนื่องตลอดไม่เกิน 7 ปีเป็นอย่างมาก กิเลสอย่างน้อยที่สุด คือ สังโยชน์เบื้องล่างจะหมดไป
จริงๆ แล้ว สติเป็นสิ่งที่ควรจะมีอยู่ทุกๆ ขณะครับ ไม่ใช่แค่ทุกๆ วัน แต่การจะฝึกประคองสติให้ดำรงอยู่ทุกๆ ขณะจิตได้ นี่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก จึงควรตั้งเป้าแค่พยายามให้มีสติมากที่สุดเท่าที่ทำได้ รู้ตัวเมื่อไหร่ว่าเผลอสติไป ก็ตั้งสติขึ้นมาไหม ยกมันขึ้นมาบ่อยๆ สติก็จะตั้งมั่นได้มากขึ้นเองเมื่อวาน ระหว่างที่ผมนั่งพิมพ์ ผมยังคิดอยู่เลยว่า ค่อยๆไปก็ได้ ช้าๆไม่ต้องรีบ แต่วันนี้ พบเจอกับความงอแงของกิเลส มันจะขึ้นๆมาแผลงฤทธิ์อีกแล้ว เลยคิดได้ว่า กิเลสนี่ ตัวร้ายเลย เลี้ยงไม่เชื่อง ปล่อยไว้มันก็แว้งกัดเราอยู่เนืองๆ เลยคิดว่า ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากจะหาทางปฏิบัติฆ่ามันให้ตายเสีย แต่ก็ยังไม่รู้ว่า จะทำได้มั้ยในเมื่อยังอยู่ทางโลก ถ้ายังงี้ ผมก็ควรหาทาง ฝึกสภาพจิตให้พร้อมทำงาน ในทุกๆวัน ใช่มั้ยครับ (ที่เหมาะกับผมคงต้องทำสมาธิมั้งครับ เพราะผมว่าผมขาดสมาธิ) พี่ๆคิดว่าผมควรต้องทำทุกวันมั้ยครับ? หรือมีหลักสูตรหรือค่ายปฎิบัติธรรมที่ไหนแนะนำมั้ยครับ
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนการลงทุน หากได้มีโอกาสพบกับผู้มีประสบการณ์ ผ่าน Case Study มาเยอะๆ แนวคิด สไตล์ นิสัย สอดคล้องกับเรา โอกาสในการก้าวหน้าก็มีมาก เพราะ เค้าจะแนะนำ แก้ปัญหาให้กับตัวเราได้ตรงจุด ตรงประเด็น สามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ จะช่วยเติมจุดที่เราพร่องให้กับเราได้ จะทำให้ความสมส่วนมีมากยิ่งขึ้น ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าวาสนาเดิมของคุณ sakkaphan จะเหมาะสมกับที่ไหน ที่จะช่วยให้ก้าวหน้าได้ง่ายเหมือนกัน แต่ผมเชื่อว่าเหตุปัจจัยต่างๆ จะนำพาคุณ sakkaphan ให้ได้พบสถานที่ ครูบาอาจารย์ที่เหมาะสมเอง
โดยประสบการณ์ส่วนตัวของผมแล้ว ผมเริ่มต้นและเคยปฏิบัติอยู่ที่เดียว จึงไม่อาจแนะนำอะไรให้ได้มาก คงจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ ได้แค่ว่าผมปฏิบัติธรรมที่มูลนิธิศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ในหลักสูตรเบื้องต้น ซึ่งวิปัสสนาจารย์ได้นำหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัยมาใช้ แล้วก็ได้มีโอกาสปฏิบัติในหลักสูตรขั้นลึก ซึ่งจะใช้วิธีการของทางพม่าในแนวทางของมหาสีสยาดอมาใช้ แล้วก็ต่อยอดศึกษาต่อจากพระไตรปิฎก ตลอดจนคัมภีร์อรรถกถาจารย์ในชั้นหลังๆ ปัจจุบันปฏิบัติธรรมด้วยตัวเองกับภรรยาอยู่ที่บ้านครับ
ในการปฏิบัติในแนวทางสายคุณแม่สิริ จะมีหลักสูตร 7 คืน 8 วัน เป็นหลักสูตรที่เน้นให้เข้าใจการปฏิบัติในเบื้องต้น อารมณ์การปฏิบัติจะหนักไปทางบัญญัติเสียมาก มีความโน้มเอียงไปทางสมถะมากกว่าวิปัสสนา เพราะ ระยะเวลาการปฏิบัติที่สั้น จึงเน้นไปที่ความเข้าใจในเบื้องต้น หวังผลให้ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติได้มีศีล ได้สมาธิ และเห็นผลของสมาธิในขั้นต้น เพื่อให้เกิดศรัทธาในการปฏิบัติกลับออกไป สามารถนำการปฏิบัติไปใช้ในชีวิตทางโลกได้
ในขณะที่หลักสูตรในเชิงลึกจะต่อยอดจากหลักสูตรของคุณแม่สิริ ปรับการปฏิบัติให้เข้าถึงอารมณ์ปรมัตถ์มากยิ่งขึ้น อารมณ์จะเน้นไปทางวิปัสสนา โดยใช้หลักสูตรพม่าของท่านมหาสีสยาดอ ซึ่งในแนวทางการปฏิบัติของทางพม่านี้ เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งเอามรรคผลนิพพาน ตามที่เคยมีมาแต่ในสมัยพุทธกาล โดยวิธีการในสายนี้จะมีระเบียบ ขั้นตอน เทคนิคในการปรับแต่งอินทรีย์ของโยคี เพื่อให้สภาพของจิตมีความพร้อมที่มากเพียงพอในการเข้าถึงธรรมะในเบื้องลึก ตลอดจนมีวิธีการตรวจสอบผลของการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
สุดท้ายก็ขออนุโมทนากับคุณ sakkaphan ด้วยนะครับ ที่เห็นทุกข์โทษของกิเลส มีความปรารถนาที่จะออกจากกิเลส ขอให้คุณ sakkaphan มีความก้าวหน้าในทางธรรมยิ่งๆ ขึ้น ไป มีชัยชนะเหนือกิเลสได้อย่างสิ้นเชิงในอนาคตนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 562
ขอบคุณพี่ tanoppan และพี่ picatos มากครับ ขอให้อานิสงส์ผลบุญที่พี่ทั้งสองให้แบ่งปันความรู้แนะนำอะไรต่างๆให้กับน้องใหม่ ขอให้พี่ๆเจริญในทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปและถึงจุดหมายปลายทางแห่งทางสายนี้อย่างที่ตั้งใจไว้นะครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 563
วันนี้ ตอนนั่งเครื่องกลับ มีโอกาสดูการ์ตูน พระมหาชนก เนื้อหาธรรมตอนหนึ่งน่าสนใจมากเลยครับ
"ราชสมบัติ เปรียบเหมือน ต้นไม้มีผลอาจถูกทำลาย แม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอย ระแวดระวังรักษา เกิดความกังวล เราจะทำตนเป็นผู้ ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล"
ผู้ที่เห็นทุกข์ คือผู้ที่เดินนำหน้ากิเลส ขณะที่ผู้ที่ยังคงติดในสุข คือผู้ที่ยังคงต้องตกอยู่ในวังวนของกิเลสต่อไป
ได้อ่านเรื่องของแต่ล่ะท่าน ทำให้มีพลังในการปฏิบัติเพิ่มขึ้นมาก ขออนุโมทนาครับ
"ราชสมบัติ เปรียบเหมือน ต้นไม้มีผลอาจถูกทำลาย แม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอย ระแวดระวังรักษา เกิดความกังวล เราจะทำตนเป็นผู้ ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล"
ผู้ที่เห็นทุกข์ คือผู้ที่เดินนำหน้ากิเลส ขณะที่ผู้ที่ยังคงติดในสุข คือผู้ที่ยังคงต้องตกอยู่ในวังวนของกิเลสต่อไป
ได้อ่านเรื่องของแต่ล่ะท่าน ทำให้มีพลังในการปฏิบัติเพิ่มขึ้นมาก ขออนุโมทนาครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 565
ตัวจิตเองนี่แหละที่รับรู้ เพราะจิตคือตัวประธาน คือตัวรู้
ให้ลองสังเกตุเวลาเราโกรธอะไรที่แรงๆ ตอนนั้นเราจะไม่รู้สึกตัว (ถ้าไม่เคยปฏิบัติ) จะมีแต่ความโกรธ ก็คือจิตโกรธ มีความโกรธ โกรธจนลืมตัว
ตอนเราจะตายก็เช่นกัน กายเป็นของหยาบ จะทิ้งกายไปจนเหลือแต่จิต ช่วงนั้น(หมายถึงจิตสุดท้าย)จิต(เจตสิก)เป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น เช่นจิตหลงเห็นภาพนิมิต เป็นสัตว์ จิตนั้นก็จะไปสร้างภพใหม่ เป็นสัตว์ ฯลฯ
จิตกำลังโลภ ถ้าทำลายความโลภไม่ทันก็จะหลงไปโลภ ตัวจิตเองจะโลภ ก็จะไปเป็นพวกเปรต ฯลฯ
ถ้าจิตเคยฝึกมาอย่างดี มีศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแก่กล้าแล้ว ตัวจิตเองก็จะไปตามชั้นตามภูมิที่เราได้ฝึกมา
เช่นถ้าเราเคยทำฌาณมาอย่างช่ำชอง ตัวจิตเองเคยอบรมมาในฌาณอย่างแก่กล้า ก็จะไปเป็นพรหมตามชั้นต่างๆ
ถ้าเรามีศีลอย่างมั่นคง เราก็อาจจะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
แต่พวกนี้ก็ยังไม่แน่เพราะการที่เรายังไม่ได้เป็นพระอริยะบุคคล
ส่วนเรื่องหนังสือเรื่องอะไรนี้ ผมไม่แน่ใจนะครับว่าควรไปอ่านหนังสือเล่มไหน
ให้ลองสังเกตุเวลาเราโกรธอะไรที่แรงๆ ตอนนั้นเราจะไม่รู้สึกตัว (ถ้าไม่เคยปฏิบัติ) จะมีแต่ความโกรธ ก็คือจิตโกรธ มีความโกรธ โกรธจนลืมตัว
ตอนเราจะตายก็เช่นกัน กายเป็นของหยาบ จะทิ้งกายไปจนเหลือแต่จิต ช่วงนั้น(หมายถึงจิตสุดท้าย)จิต(เจตสิก)เป็นอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น เช่นจิตหลงเห็นภาพนิมิต เป็นสัตว์ จิตนั้นก็จะไปสร้างภพใหม่ เป็นสัตว์ ฯลฯ
จิตกำลังโลภ ถ้าทำลายความโลภไม่ทันก็จะหลงไปโลภ ตัวจิตเองจะโลภ ก็จะไปเป็นพวกเปรต ฯลฯ
ถ้าจิตเคยฝึกมาอย่างดี มีศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแก่กล้าแล้ว ตัวจิตเองก็จะไปตามชั้นตามภูมิที่เราได้ฝึกมา
เช่นถ้าเราเคยทำฌาณมาอย่างช่ำชอง ตัวจิตเองเคยอบรมมาในฌาณอย่างแก่กล้า ก็จะไปเป็นพรหมตามชั้นต่างๆ
ถ้าเรามีศีลอย่างมั่นคง เราก็อาจจะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
แต่พวกนี้ก็ยังไม่แน่เพราะการที่เรายังไม่ได้เป็นพระอริยะบุคคล
ส่วนเรื่องหนังสือเรื่องอะไรนี้ ผมไม่แน่ใจนะครับว่าควรไปอ่านหนังสือเล่มไหน
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 566
ผมคิดว่าน่าจะเข้าใจผิดนะครับ เวลาตายแล้ว เวลาไปเกิดใหม่ ก็จะได้กายใหม่มา อย่างถ้าสมมติว่าเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็ได้กายแบบมนุษย์อย่างที่เราเข้าใจ ถ้าไปเกิดในนรกก็ได้กายของสัตว์นรก ถ้าไปเกิดบนสวรรค์ ก็ได้กายทิพย์ ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์ก็ได้กายเป็นสัตว์ ถ้าไปเกิดเป็นพรหม ก็ได้กาย(รูป) ละเอียด จะมีก็แต่ไปเกิดเป็นอรูปพรหมนี่ จะไม่เหลือกาย(รูป) มีแต่จิตเพียวๆANDREW39 เขียน:คนเราตายแล้วไม่เหลือกายมีแต่จิต ไม่ทราบว่าจิตใช้อะไรในการรับรู้สุข(ขึ้นสวรรค์)หรือทุกข์(ลงนรค) ครับ.สงสัยมานานเเล้ว
รบกวนท่านผู้รู้ด้วยครับ ไม่ทราบจะหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ไหนครับ
ขอบคุณมากครับ
อย่างคำถามว่า ถ้าไม่เหลือกายแล้ว เหลือแต่จิตเพียวๆ จะรับรู้สุขทุกข์ได้อย่างไร อันนี้คงจะหมายถึง อรูปพรหม ทีนี้ อรูปพรหม อายตนะ ในขันธ์ 5 จะเหลือแค่ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
แม้จะไม่มีอายตนะ 5 ในการรับรู้อย่าง ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย แต่ใจยังทำงานอยู่ครับ เอาให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ มันจะเหมือนความฝันครับ ในฝันของเรา มันจะรับอารมณ์ผ่านทาง มโนวิญญาณ(ใจ) อย่างเดียว จะเห็นได้ว่าในฝัน เราก็ยังมีสุข มีทุกข์อยู่
ในทางธรรม หากมีการรับรู้อารมณ์(วิญญาณ) ก็จะเกิด เวทนา และ สัญญา ตามมา นอกจากนี้ อารมณ์ทางจิตนี่ หากการรับรู้ละเอียดจริงๆ จะรู้ว่า มันมีการรับรู้อารมณ์ที่ปราศจากรูปจากภายนอกได้อยู่ เราสามารถรับรู้คลื่นกระแสต่างๆ ได้ ซึ่งผัสสะเหล่านี้ก็นำมาซึ่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้เหล่านี้ ไม่ใช่สาระสำคัญในทางพุทธฯ เลยครับ สาระสำคัญของพุทธนี้มีแค่เรื่องอริยสัจ 4 การเสียเวลาไปกับองค์ความรู้พวกนี้ ไม่ช่วยให้ทุกข์ของเราน้อยลงสักเท่าไหร่ ดีไม่ดีจะทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นใหม่ กลายเป็นทุกข์อันใหม่ไปได้
ผมคิดว่าเราควรมุ่งเป้าไปที่การศึกษากายใจของเราเพื่อทำความเข้าใจทุกข์ เพื่อหาทางจัดการของทุกข์เสียมากกว่า ซึ่งหากสติ สมาธิ ของเรามีความแก่กล้ามากยิ่งขึ้นๆ เราจะเข้าใจกระบวนการทำงานของกายและใจเองโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องไปอ่านหนังสือให้เสียเวลาแม้แต่น้อย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 568
ตามพระสูตร ที่พระศาสดาตรัสบอกสอนนะครับ (ขอย่อนะครับ เพราะยกพระสูตรมาได้ไม่หมด)
จากปฏิจจสมุปบาท
เพราะมีอวิชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะมีสังขารทั้งหลายเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ
วิญญาณ จะทำงานกับ นามรูป จึงปรากฏเป็นการเกิดกองทุกข์ตามมา (เกิด แก่ เจ็บตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ
ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ มีความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น)
ถ้าสัตว์(หรือสิ่งๆหนึ่งหรือตัวเราที่แท้จริง)ซึ่งเป็นผู้หลงอยุ่เพราะมีอวิชาเป็นเครื่องกั้น ตัณหาเป็นเครื่องผูก
ดังสัตตสูตรนี้ http://etipitaka.com/read/thai/17/191/ ทำให้สัตว์นั้นยังมีฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความพอใจอย่างยิ่ง)
นันทิ(ความเพลิน) ตัณหา(ความอยาก) ในขันธ์ห้า(รป1นาม4) หรือ อายตนะทั้งหก(รูป5นาม1)
คือ รูป(กาย) เวทนา(พอใจ ไม่พอใจ เฉย) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ(กริยาที่รู้แจ้ง)
และ ตา(รูป) หู(เสียง) จมูก(กลิ่น) ลิ้น(รส) กาย(สัมผัส) ใจ(ธรรมารมณ์)
ก็จะมีการเกิดต่อไปครับ แม้ว่ารูปหรือร่างกายจะตายไปก็ตาม
แต่ จิต(กริยารู้แจ้งในขันธ์ทั้งสี่คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร) หรือ วิญญาณ(กริยาที่รู้แจ้งทางอายตนะทั้งหก) ยังทำงาน จึงทำให้เกิด
นามรูปตามเจตนาหรือกรรมที่ทำมา ซึ่งพระศาสดาเรียกการได้อัตภาพนี้ว่าเป็นกรรมเก่า เช่น กรรมเก่าทำให้เกิดมาเป็นมนุษย์ หรือเกิดในภพภูมิต่างๆ
จิต มโน วิญญาณ ความหมายคือ กริยาที่รู้แจ้งนะครับ เป็นธาตุที่มีตามธรรมชาติ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืนดังพระสูตรนี้
อัสสุตวตาสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้นยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดคืนและตลอดวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ
พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติหลักในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์แปด หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ สมถะ วิปัสสนา หรือ อานาปานสติ เพื่อทำการละอาสวะและอนุสัยที่คุ้นเคยกับอกุศลออกไปก่อน จึงจะทำให้จิตเกิดสมาธิ
เห็นการทำงานของขันธ์ห้า ว่าไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นและดับไป บังคับไม่ได้ เป็นไปตามปัจจัย(เหตุ) เห็นอกุศลที่ทำให้มีการเกิด
คือ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ที่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรียกว่าอุปทาน(ความเพลินใดในรูป ฯลฯ)
ถ้าทำบ่อยๆหรือเห็นบ่อยๆก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งเหล่านี้ และจะคิดได้ว่า จิตนี้หลอกเราเหมือนที่พระศาสดาว่าไว้ว่า
“ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย! นานจริงหนอที่เราถูกจิตนี้ คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก,
จึงเมื่อเรามายึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป, ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว :
เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ,
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ, เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”
ก็จะเข้าสู่สภาวะที่ท่านเรียกว่า สงบ ปราณีต หรือ อมตะธรรม
หรือ เป็นความไม่มีโรค เป็นนิพพาน คือไม่ปรากฏอีกในสังสารวัฏ หรือ บรมสุขที่แท้จริง
สรุปในเรื่องภพนี้ภพหน้า ชาตินี้ชาติหน้าว่าควรสนใจไหม
พระศาสดาตรัสไว้ในส่วนหนึ่งของ เกสปุตตสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 930&Z=5092
“...กาลามชนทั้งหลาย อริยะสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง 4 ประการ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดี ทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่าเมื่อเราแตกหายทำลายขันธ์ไปแล้วจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นความอุ่นใจประการที่ 1
ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดี ทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครองตนอยู่โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่ แต่ในชาติปัจจุบันแล้ว เป็นความอุ่นใจประการที่ 2
ถ้าเมื่อคนทำชั่วย่อมได้ชั่ว แต่ถ้าเราไม่ได้คิดร้ายต่อใคร ที่ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้อง เราผู้มิได้ทำบาปกรรม เป็นความอุ่นใจประการที่ 3
ก็ถ้าเมื่อคนไม่ทำชั่ว ก็ไม่มีชื่อว่าเป็นอันชั่วไซร์ ในกรณีนี้เราเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน เป็นความอบอุ่นใจประการที่ 4..."
แล้วก็เรื่องการปรากฏขึ้นของวิญญาณและนามรูป
พระศาสดาทรงอุปมาเหมือนแสงกับฉากรับแสง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอด[ปราสาท] หรือศาลามีสองยอด หน้าต่างด้านทิศตะวันออก อันบุคคลเปิดไปทางเหนือหรือทางใต้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแสงสว่างส่องเข้าไปทางหน้าต่าง จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ที่แผ่นดิน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแผ่นดินไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ที่น้ำ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ไม่ตั้งอยู่เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ ... ในผัสสาหารไซร้ ... ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ ... ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น
ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป
ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ในที่ใด ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป
ในที่ใด ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่าไม่มีความโศก ไม่มีธุลีไม่มีความคับแค้น ฯ
จากปฏิจจสมุปบาท
เพราะมีอวิชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะมีสังขารทั้งหลายเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ
วิญญาณ จะทำงานกับ นามรูป จึงปรากฏเป็นการเกิดกองทุกข์ตามมา (เกิด แก่ เจ็บตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ
ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ มีความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น)
ถ้าสัตว์(หรือสิ่งๆหนึ่งหรือตัวเราที่แท้จริง)ซึ่งเป็นผู้หลงอยุ่เพราะมีอวิชาเป็นเครื่องกั้น ตัณหาเป็นเครื่องผูก
ดังสัตตสูตรนี้ http://etipitaka.com/read/thai/17/191/ ทำให้สัตว์นั้นยังมีฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความพอใจอย่างยิ่ง)
นันทิ(ความเพลิน) ตัณหา(ความอยาก) ในขันธ์ห้า(รป1นาม4) หรือ อายตนะทั้งหก(รูป5นาม1)
คือ รูป(กาย) เวทนา(พอใจ ไม่พอใจ เฉย) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ(กริยาที่รู้แจ้ง)
และ ตา(รูป) หู(เสียง) จมูก(กลิ่น) ลิ้น(รส) กาย(สัมผัส) ใจ(ธรรมารมณ์)
ก็จะมีการเกิดต่อไปครับ แม้ว่ารูปหรือร่างกายจะตายไปก็ตาม
แต่ จิต(กริยารู้แจ้งในขันธ์ทั้งสี่คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร) หรือ วิญญาณ(กริยาที่รู้แจ้งทางอายตนะทั้งหก) ยังทำงาน จึงทำให้เกิด
นามรูปตามเจตนาหรือกรรมที่ทำมา ซึ่งพระศาสดาเรียกการได้อัตภาพนี้ว่าเป็นกรรมเก่า เช่น กรรมเก่าทำให้เกิดมาเป็นมนุษย์ หรือเกิดในภพภูมิต่างๆ
จิต มโน วิญญาณ ความหมายคือ กริยาที่รู้แจ้งนะครับ เป็นธาตุที่มีตามธรรมชาติ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืนดังพระสูตรนี้
อัสสุตวตาสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้นยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป
ตลอดคืนและตลอดวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ
พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติหลักในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์แปด หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ สมถะ วิปัสสนา หรือ อานาปานสติ เพื่อทำการละอาสวะและอนุสัยที่คุ้นเคยกับอกุศลออกไปก่อน จึงจะทำให้จิตเกิดสมาธิ
เห็นการทำงานของขันธ์ห้า ว่าไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นและดับไป บังคับไม่ได้ เป็นไปตามปัจจัย(เหตุ) เห็นอกุศลที่ทำให้มีการเกิด
คือ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ที่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรียกว่าอุปทาน(ความเพลินใดในรูป ฯลฯ)
ถ้าทำบ่อยๆหรือเห็นบ่อยๆก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งเหล่านี้ และจะคิดได้ว่า จิตนี้หลอกเราเหมือนที่พระศาสดาว่าไว้ว่า
“ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย! นานจริงหนอที่เราถูกจิตนี้ คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก,
จึงเมื่อเรามายึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป, ซึ่งเวทนา, ซึ่งสัญญา, ซึ่งสังขาร, และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว :
เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ,
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ, เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”
ก็จะเข้าสู่สภาวะที่ท่านเรียกว่า สงบ ปราณีต หรือ อมตะธรรม
หรือ เป็นความไม่มีโรค เป็นนิพพาน คือไม่ปรากฏอีกในสังสารวัฏ หรือ บรมสุขที่แท้จริง
สรุปในเรื่องภพนี้ภพหน้า ชาตินี้ชาติหน้าว่าควรสนใจไหม
พระศาสดาตรัสไว้ในส่วนหนึ่งของ เกสปุตตสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 930&Z=5092
“...กาลามชนทั้งหลาย อริยะสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง 4 ประการ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดี ทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่าเมื่อเราแตกหายทำลายขันธ์ไปแล้วจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นความอุ่นใจประการที่ 1
ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดี ทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครองตนอยู่โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่ แต่ในชาติปัจจุบันแล้ว เป็นความอุ่นใจประการที่ 2
ถ้าเมื่อคนทำชั่วย่อมได้ชั่ว แต่ถ้าเราไม่ได้คิดร้ายต่อใคร ที่ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้อง เราผู้มิได้ทำบาปกรรม เป็นความอุ่นใจประการที่ 3
ก็ถ้าเมื่อคนไม่ทำชั่ว ก็ไม่มีชื่อว่าเป็นอันชั่วไซร์ ในกรณีนี้เราเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน เป็นความอบอุ่นใจประการที่ 4..."
แล้วก็เรื่องการปรากฏขึ้นของวิญญาณและนามรูป
พระศาสดาทรงอุปมาเหมือนแสงกับฉากรับแสง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรือนยอด[ปราสาท] หรือศาลามีสองยอด หน้าต่างด้านทิศตะวันออก อันบุคคลเปิดไปทางเหนือหรือทางใต้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแสงสว่างส่องเข้าไปทางหน้าต่าง จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ที่แผ่นดิน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแผ่นดินไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ที่น้ำ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ฯ
ภิ. ไม่ตั้งอยู่เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ ... ในผัสสาหารไซร้ ... ในมโนสัญเจตนาหารไซร้ ... ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น
ในที่ใด วิญญาณไม่ตั้งอยู่ ไม่งอกงาม ในที่นั้น ย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป
ในที่ใด ไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ในที่ใด ไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ในที่ใด ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป
ในที่ใด ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่าไม่มีความโศก ไม่มีธุลีไม่มีความคับแค้น ฯ
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 569
ตรงส่วนที่ขีดเส้นใต้นี้
“...กาลามชนทั้งหลาย อริยะสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง 4 ประการ..."
แก้คำผิดเป็นอย่างนี้นะครับ ขอโทษทีครับตรวจไม่ละเอียด
“...กาลามชนทั้งหลาย อริยะสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง 4 ประการ..."
“...กาลามชนทั้งหลาย อริยะสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง 4 ประการ..."
แก้คำผิดเป็นอย่างนี้นะครับ ขอโทษทีครับตรวจไม่ละเอียด
“...กาลามชนทั้งหลาย อริยะสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง 4 ประการ..."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 570
ผมเพิ่งไปหลักสูตรวิปัสสนา 10 วัน ที่กาญจนบุรีมา หลังจากที่คุณพี่ได้แนะนำแล้ว ผมก็ไปทันทีเลยtanoppan เขียน:พี่ๆคิดว่าผมควรต้องทำทุกวันมั้ยครับ? หรือมีหลักสูตรหรือค่ายปฎิบัติธรรมที่ไหนแนะนำมั้ยครับ
น่าจะไป "โกเอ็นก้า" ค่ะ
http://www.thaidhamma.net/
เป็นความรู้สึกขอบคุณที่สุดในชีวิต เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ผมไม่คิดเลยว่า ผมจะได้เริ่มเดินบนหนทางสายเอก ทางแห่งความจริงแท้ ได้เร็วถึงเพียงนี้ ผมพบเจอพี่ๆหลายคนที่ไปปฏิบัติด้วยเค้าบอกว่า ใครที่ได้มาปฏิบัติวิธีนี้ เป็นบุญวาสนาเก่าโดยแท้ พี่ๆหลายคนปฏิบัติสายอื่นอยู่นาน เดินวนไปมาหาทางไปไม่เจอ
ผมปฏิบัติด้วยตนเองและพบเห็นด้วยตนเองอย่างไม่น่าเชื่อ ประกอบกับความเป็นคนเรียนรู้เร็วซึ่งก็เป็นความขอบคุณในความโชคดีของตัวเองอย่างล้นเหลือนี้ ไม่รู้ว่าเคยไปทำบุญอะไรไว้แต่ชาติปางไหน ผมพบด้วยตนเองจริงๆว่า กิเลสของผมมันค่อยๆตายไปแล้ว ความชั่วร้ายในตัวผมสลายออกไปเรื่อยๆ ความปรุงแต่งที่เกิดขึ้นเวลามีสิ่งมากระทบ น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ความรู้ตัวความมีสติปัญญาเข้ามาแทนที่ขึ้นเรื่อยๆ ความสำคัญทางทรัพย์สินเงินทองลาภยศสมบัติสรรเสริญ เริ่มหมดค่าไปเรื่อยๆ ทางสายเอกแห่งชีวิต ทางที่จะเดินจากนี้ไปไม่ว่าจะถึงหรือไม่ในชาตินี้หรือภพชาติอื่นๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังอีกยาวไกลแค่ไหนก็ไม่หวั่น ผมเริ่มเดินไปบนทางโดยมีเป้าหมายเพื่อการบรรลุธรรมขั้นสูงสุด เพื่อการหยั่งรู้ถึงสรรพสิ่งอย่างแท้จริงนี้แล้ว
ผมอยากเชิญชวนเพื่อนๆพี่ๆทุกคน ให้ลองมาปฏิบัติวิธีนี้ดู ไม่ว่าท่านจะเคยปฏิบัติด้วยวิธีไหนมาก่อนก็ตาม หากใครที่รู้สึกว่าปฏิบัติแล้วไม่เห็นผลชัดเจน กิเลสไม่ได้เบาบางลงไป สังขารความปรุงแต่งไม่ได้ลดไป อยากให้ลองมาปฏิบัติดู ผมยอมรับว่า ผมเพิ่งเริ่มปฏิบัติ และไม่เคยปฏิบัติวิธีอื่นใดอย่างจริงๆจังๆมาก่อน เป็นแค่เด็กหัดเดิน ดังนั้นผมไม่อาจจะบอกได้เลยว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีสุด เพียงแต่ผลที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองนั้น ทำให้ผมอดไม่ได้จริงๆที่จะเชิญชวนทุกๆคน ให้มาลองดู
หากมีโอกาส ไว้ผมจะเขียนในกระทู้คราวหน้า ถึงคอนเซปต์แนวทางการปฏิบัติวิธีนี้ ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ใช่อื่นไกลเลย คือ สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง เพียงแต่อาจจะมีรูปแบบเทคนิค ที่แตกต่างกันออกไป
ขอขอบคุณท่าน tanoppan อีกครั้ง ขอให้ผลบุญนี้ ส่งผลให้ท่านมีแต่ความเจริญในทางธรรมยิ่งๆขึ้นไป และเข้าถึงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง