ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 1
ปัญหา ศ.ก. ของประเทศไทยเกิดจากการสร้างสภาพแวดล้อมให้มีการผูกขาด เมื่อผูกขาดแล้ว
รัฐบาลก็จะปล่อยให้มีการแข่งขันเสรีแบบ ยิ่งแข่ง ยิ่งผูกขาด จะเห็นได้ว่า ธุรกิจหลักๆ
เบอร์ 1+2+3 กินตลาดไป 90% แล้ว โดยผู้มีอำนาจ เช่น กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารชาติ
จะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกลตลาด
1.ธุรกิจพลังงาน โดย ปตท และ กลุ่ม ปตท ราคาน้ำมันที่คนไทยบริโภคแพงกว่ามาเลเซีย
มากกว่า 10บาทต่อลิตร (รัฐบาลมาเลไม่ได้อุดหนุนแล้ว) พลังงานคือต้นทุนของอุตสาหกรรม
ทุกชนิด ธุรกิจจะอยู่ได้ต้องมีกำไรคือ ราคาขายมากกว่าต้นทุนผลิต เมื่อต้นทุน พลังงานแพง
ก็ต้องขึ้นราคาขายหรือ ลดต้นทุนอื่นๆลง รวมทั้ง ต้นทุนแรงงานด้วย สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์
ทำคือ ควบคุมราคา ข้าวผัดกระเพรา ก้วยเตี๋ยวเป็ด ข้าวราดแกง
2.ช่องทางการจำหน่าย โดยตระกูล CP เช่น CPall MAKRO Tesco-Lotus
CPall มีกำไรขั้นต้น ปี 2558 ที่ 27.12% แปลว่า CPall จะซื้อสินค้า ราคา 72.78 บาท
เอามาขายในราคา 100บาท ราคาขึ้นลงไปตามต้นทุนที่ซื้อมา โดยมีเงื่อนไขการเอาเปรียบอีก
สารพัด การคืนสินค้า การจัดโปรโมชั่น เช้ลวางสินค้า นอกจากนี้ สินค้าตัวไหนขายดีมีอนาคต
ก็ทำแข่ง ยึดแบรนด์ และจ้างเจ้าของแบรนด์ผลิต กำไรขั้นต้นที่ CPall คิด ทำให้ supplier
โตไม่ได้ เพราะ กำไรส่วนมาก CPall เอาไปหมดแล้ว ทำไปนานๆก็จะเริ่มขาดทุน
3.สถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์และอื่นๆ) ผูกขาดมานานเอาเปรียบธุรกิจอื่นๆมานาน
ช่องว่างระหว่าง เงินกู้กับเงินฝากห่างมาก ตอนนี้ มีนาโนไฟแนนซ์เข้ามาอีก ดอกเบี้ย 36%
นาโนไฟแนนพวกนายธนาคารบอกว่าเอามาแก้ปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ ซึ่งก็ดี แต่ด้วยความ
โลภของคนกลุ่มนี้จึงผลักให้สูงถึง 36% พวกที่จะโดนด้วยคือพวกหนี้ บัตรเครดิต เมื่อก่อน
โดน 25%ซึ่งเดือนๆไม่มีอะไรกินแล้วต่อไปจะโดน 36% พวกนี้น่าจะเป็นเหยื่อที่พวกนายธนาคาร
จะเคี้ยว ส่วนพวกลูกหนี้นอกระบบนายธนาคารจะได้จากการปล่อยให้ พวกนาโนไฟแนนไปปล่อยต่อ
ผู้ว่าแบ้งชาติ ส่วนมาก มาจากนายธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งพวก กนง. ด้วย นโยบายทุกอย่าง
ของแบ้งชาติ คิดถึงผลประโยชน์ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นอันดับแรก เราจึงเห็นการคง
อัตราดอกเบี้ย ทั้งๆที่เงินบาทแข็งเกินไป และไม่ใช่แข็งจากการค้าขาย ฟองสบู่ครั้งที่แล้วก็เกิด
จากอัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงมากเงินจึงไหลเข้าเป็นน้ำ
พวก SME ในประเทศไทย หลังจากถูก พวก 3เสือ นี้เอาเปรียบ SME ที่อยู่รอดต้องเก่งจริงๆ
ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกวิธี ทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย นักวิชาการก็มากรอกหูให้ SME
ต้องพัฒนา เรียนรู้ แต่ไม่เคยมีใครไปดูการเอาเปรียบของ 3 เสือนี้เลย
รัฐบาลก็จะปล่อยให้มีการแข่งขันเสรีแบบ ยิ่งแข่ง ยิ่งผูกขาด จะเห็นได้ว่า ธุรกิจหลักๆ
เบอร์ 1+2+3 กินตลาดไป 90% แล้ว โดยผู้มีอำนาจ เช่น กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารชาติ
จะปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกลตลาด
1.ธุรกิจพลังงาน โดย ปตท และ กลุ่ม ปตท ราคาน้ำมันที่คนไทยบริโภคแพงกว่ามาเลเซีย
มากกว่า 10บาทต่อลิตร (รัฐบาลมาเลไม่ได้อุดหนุนแล้ว) พลังงานคือต้นทุนของอุตสาหกรรม
ทุกชนิด ธุรกิจจะอยู่ได้ต้องมีกำไรคือ ราคาขายมากกว่าต้นทุนผลิต เมื่อต้นทุน พลังงานแพง
ก็ต้องขึ้นราคาขายหรือ ลดต้นทุนอื่นๆลง รวมทั้ง ต้นทุนแรงงานด้วย สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์
ทำคือ ควบคุมราคา ข้าวผัดกระเพรา ก้วยเตี๋ยวเป็ด ข้าวราดแกง
2.ช่องทางการจำหน่าย โดยตระกูล CP เช่น CPall MAKRO Tesco-Lotus
CPall มีกำไรขั้นต้น ปี 2558 ที่ 27.12% แปลว่า CPall จะซื้อสินค้า ราคา 72.78 บาท
เอามาขายในราคา 100บาท ราคาขึ้นลงไปตามต้นทุนที่ซื้อมา โดยมีเงื่อนไขการเอาเปรียบอีก
สารพัด การคืนสินค้า การจัดโปรโมชั่น เช้ลวางสินค้า นอกจากนี้ สินค้าตัวไหนขายดีมีอนาคต
ก็ทำแข่ง ยึดแบรนด์ และจ้างเจ้าของแบรนด์ผลิต กำไรขั้นต้นที่ CPall คิด ทำให้ supplier
โตไม่ได้ เพราะ กำไรส่วนมาก CPall เอาไปหมดแล้ว ทำไปนานๆก็จะเริ่มขาดทุน
3.สถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์และอื่นๆ) ผูกขาดมานานเอาเปรียบธุรกิจอื่นๆมานาน
ช่องว่างระหว่าง เงินกู้กับเงินฝากห่างมาก ตอนนี้ มีนาโนไฟแนนซ์เข้ามาอีก ดอกเบี้ย 36%
นาโนไฟแนนพวกนายธนาคารบอกว่าเอามาแก้ปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ ซึ่งก็ดี แต่ด้วยความ
โลภของคนกลุ่มนี้จึงผลักให้สูงถึง 36% พวกที่จะโดนด้วยคือพวกหนี้ บัตรเครดิต เมื่อก่อน
โดน 25%ซึ่งเดือนๆไม่มีอะไรกินแล้วต่อไปจะโดน 36% พวกนี้น่าจะเป็นเหยื่อที่พวกนายธนาคาร
จะเคี้ยว ส่วนพวกลูกหนี้นอกระบบนายธนาคารจะได้จากการปล่อยให้ พวกนาโนไฟแนนไปปล่อยต่อ
ผู้ว่าแบ้งชาติ ส่วนมาก มาจากนายธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งพวก กนง. ด้วย นโยบายทุกอย่าง
ของแบ้งชาติ คิดถึงผลประโยชน์ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นอันดับแรก เราจึงเห็นการคง
อัตราดอกเบี้ย ทั้งๆที่เงินบาทแข็งเกินไป และไม่ใช่แข็งจากการค้าขาย ฟองสบู่ครั้งที่แล้วก็เกิด
จากอัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงมากเงินจึงไหลเข้าเป็นน้ำ
พวก SME ในประเทศไทย หลังจากถูก พวก 3เสือ นี้เอาเปรียบ SME ที่อยู่รอดต้องเก่งจริงๆ
ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกวิธี ทั้งถูกกฏหมายและผิดกฏหมาย นักวิชาการก็มากรอกหูให้ SME
ต้องพัฒนา เรียนรู้ แต่ไม่เคยมีใครไปดูการเอาเปรียบของ 3 เสือนี้เลย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 100
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 2
"CPall มีกำไรขั้นต้น ปี 2558 ที่ 27.12% แปลว่า CPall จะซื้อสินค้า ราคา 72.78 บาท
เอามาขายในราคา 100บาท" อันนี้ผิด
ที่ถูกคือ "ซื้อสินค้ามาราคา 100 บาท ขายไปในราคา 127.12 บาท"
เอามาขายในราคา 100บาท" อันนี้ผิด
ที่ถูกคือ "ซื้อสินค้ามาราคา 100 บาท ขายไปในราคา 127.12 บาท"
-
- Verified User
- โพสต์: 928
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 3
น่าจะถูกแล้วนะครับ (แต่ตัวเลขผิดนิดนึง) แบบแรกขาย 100 บาท กำไรขั้นต้น 100 - 72.78 = 27.22 บาท ก็เท่ากับ 27.22%Eakchai56 เขียน:"CPall มีกำไรขั้นต้น ปี 2558 ที่ 27.12% แปลว่า CPall จะซื้อสินค้า ราคา 72.78 บาท
เอามาขายในราคา 100บาท" อันนี้ผิด
ที่ถูกคือ "ซื้อสินค้ามาราคา 100 บาท ขายไปในราคา 127.12 บาท"
ถ้าแบบคุณ Eakchai56 ก็กำไรขั้นต้น 27.12 / 127.12 = 21.33%
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 4
ปัญหา ศ.ก. ของประเทศไทยเกิดจากการสร้างสภาพแวดล้อมให้มีการผูกขาด ...
ธุรกิจพลังงาน โดย ปตท และ กลุ่ม ปตท ราคาน้ำมันที่คนไทยบริโภคแพงกว่ามาเลเซีย
มากกว่า 10บาทต่อลิตร
เออๆๆ พูดแบบนี้ คนจะเข้าใจผิดได้นะครับ
สาเหตุที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเราต่างกันมาก เป็นเพราะภาษีสรรพสามิตน้ำมันและการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันครับ ไม่ใช่เรื่องของการผูกขาด
แล้วบ้านเราก็นำเข้า ส่งออกน้ำมันเสรีครับ ถ้าราคาต่างกันขนาดนั้นจริง จะมีคนนำเข้ามันจากมาเลเซีย มาขายแข่งขัน PTT ครับ
แต่ที่ทำกันอยู่ในภาคใต้ เป็นพวกน้ำมันเถื่อนครับ (ซึ่งลักลอบนำเข้าและหลบภาษี)
เพราะถ้ารวมภาษีสรรพสามิต ในราคาเนื้อน้ำมัน (ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนของรัฐบาลมาเลย์)
ราคาเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเรา แทบไม่ต่างกับมาเลเซียเลยครับ
ธุรกิจพลังงาน โดย ปตท และ กลุ่ม ปตท ราคาน้ำมันที่คนไทยบริโภคแพงกว่ามาเลเซีย
มากกว่า 10บาทต่อลิตร
เออๆๆ พูดแบบนี้ คนจะเข้าใจผิดได้นะครับ
สาเหตุที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเราต่างกันมาก เป็นเพราะภาษีสรรพสามิตน้ำมันและการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันครับ ไม่ใช่เรื่องของการผูกขาด
แล้วบ้านเราก็นำเข้า ส่งออกน้ำมันเสรีครับ ถ้าราคาต่างกันขนาดนั้นจริง จะมีคนนำเข้ามันจากมาเลเซีย มาขายแข่งขัน PTT ครับ
แต่ที่ทำกันอยู่ในภาคใต้ เป็นพวกน้ำมันเถื่อนครับ (ซึ่งลักลอบนำเข้าและหลบภาษี)
เพราะถ้ารวมภาษีสรรพสามิต ในราคาเนื้อน้ำมัน (ที่ไม่รวมเงินอุดหนุนของรัฐบาลมาเลย์)
ราคาเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเรา แทบไม่ต่างกับมาเลเซียเลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 5
ขออภัยล่วงหน้ากับความเห็นส่วนตัวของผม
มองแบบกว้างเอาความจริงเลยครับ ปัญหาการผูกขาดเป็นเพียง 1 ใน ปัญหาหลายร้อยปัญหา ที่สร้างสมมานานหลายชั่วอายุคนของประเทศไทย ส่วนที่มาไม่ขอกล่าวเดี๋ยวจะมั่วไปใหญ่ ซึ่งไม่Criticalเท่าไร
ส่วนปัญหาใหญ่แท้จริง 1 ใน 3 ปัญหาที่critical กับประเทศไทยนั้น ผมมองว่า
1) ส่วนใหญ่ Corruption คนไทยกินคนไทยครับ = คุณเก่งแค่ไหน ทำงานไปแต่กระเป๋าเก็บเงินรั่วตลอด ไม่เจริญ หรือ เจริญได้ไม่นานครับ
2) ส่วนใหญ่ ความไร้ประสิทธิภาพในผลงานของคนไทยเอง ในโลกของระบบทุนนิยมที่ประเทศอื่นจ้องจะกินประเทศไทย = คิดจะทำงานเช้าชามเย็นชาม แข่งขันคนอื่นไม่ได้ครับ 10-50ปีที่แล้วมีสินค้าหรือแรงงานอะไร10-50ปีนี้หรือข้างหน้าก็ยังคงเดิมอันนี้แข่งขันไม่ได้ครับ
3) บลาๆครับ
เข้าใจและพบเห็น ส่วนน้อยที่มีประสิทธิภาพและไม่Corruption แต่มันน้อยเกินไปครับ ประเทศไทยเลยโดยส่วนมากกลืน
ต่อให้ไม่มีธุรกิจคนไทยที่ผูกขาดคนไทยกันเอง เดี๋ยวคุณๆก็เจอธุรกิจนอกมากินตลาดอยู่ดี เช่น Window Apple Honda Toyota บลาๆ นี้มันโลกแข่งขันระบบทุนนิยมครับ
ปล ผมโทษตนเองก่อนเสมอ เพื่อปรับตนเอง ให้พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ เท่าที่ตนเองทำได้ครับ
ขออภัยอีกครั้งไม่ได้ดูถูกแต่ชี้ปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาครับ
มองแบบกว้างเอาความจริงเลยครับ ปัญหาการผูกขาดเป็นเพียง 1 ใน ปัญหาหลายร้อยปัญหา ที่สร้างสมมานานหลายชั่วอายุคนของประเทศไทย ส่วนที่มาไม่ขอกล่าวเดี๋ยวจะมั่วไปใหญ่ ซึ่งไม่Criticalเท่าไร
ส่วนปัญหาใหญ่แท้จริง 1 ใน 3 ปัญหาที่critical กับประเทศไทยนั้น ผมมองว่า
1) ส่วนใหญ่ Corruption คนไทยกินคนไทยครับ = คุณเก่งแค่ไหน ทำงานไปแต่กระเป๋าเก็บเงินรั่วตลอด ไม่เจริญ หรือ เจริญได้ไม่นานครับ
2) ส่วนใหญ่ ความไร้ประสิทธิภาพในผลงานของคนไทยเอง ในโลกของระบบทุนนิยมที่ประเทศอื่นจ้องจะกินประเทศไทย = คิดจะทำงานเช้าชามเย็นชาม แข่งขันคนอื่นไม่ได้ครับ 10-50ปีที่แล้วมีสินค้าหรือแรงงานอะไร10-50ปีนี้หรือข้างหน้าก็ยังคงเดิมอันนี้แข่งขันไม่ได้ครับ
3) บลาๆครับ
เข้าใจและพบเห็น ส่วนน้อยที่มีประสิทธิภาพและไม่Corruption แต่มันน้อยเกินไปครับ ประเทศไทยเลยโดยส่วนมากกลืน
ต่อให้ไม่มีธุรกิจคนไทยที่ผูกขาดคนไทยกันเอง เดี๋ยวคุณๆก็เจอธุรกิจนอกมากินตลาดอยู่ดี เช่น Window Apple Honda Toyota บลาๆ นี้มันโลกแข่งขันระบบทุนนิยมครับ
ปล ผมโทษตนเองก่อนเสมอ เพื่อปรับตนเอง ให้พรุ่งนี้ดีกว่าวันนี้ เท่าที่ตนเองทำได้ครับ
ขออภัยอีกครั้งไม่ได้ดูถูกแต่ชี้ปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาครับ
- Lastpun
- Verified User
- โพสต์: 819
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 7
ผมกับคิดว่าขาด innovation มากกว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะโตจากการรับจ้างผลิตไปตลอดถึงจุดหนึงเราต้องก้าวขึ้นมาแต่ทว่าความสามารถของคนเราพร้อมหรือยัง ผมก็ยังมองว่าหลายๆอย่างที่ประเทศเราได้เปรียบเพือนบ้าน
-
- Verified User
- โพสต์: 177
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 8
ไอ้ปัญหา ไม่ innovate มันก็มาจากระบบการศึกษา ค่านิยม ฯลฯ ที่ไม่เอื้อให้ประชาชนคิดเองเป็นมีความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ที่ทำๆกันก็มีแต่ป้อนข้อมูล แถมชอบมีระบบบางอย่างที่ทำให้เกิดการห้ามคิดนอกกรอบ เพราะถ้าทำชีวิตจะเดือดร้อนได้
ที่ทำๆกันก็มีแต่ป้อนข้อมูล แถมชอบมีระบบบางอย่างที่ทำให้เกิดการห้ามคิดนอกกรอบ เพราะถ้าทำชีวิตจะเดือดร้อนได้
- Pyrostrikes
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1000
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 9
ผมคิดว่า ปัญหารากเหง้าของเศรษฐกิจตกต่ำของปรเทศเราจาก 4 ประเด็น หลัก คือ
1. คอร์รัปชั่นในทุกระดับ (Corruption) ซึ่งเป็นที่มาของต้นทุนสามานย์
2. การขาดความสามารถในการแข่งขันทอย่างยั่งยืน (Durable Competitive Advantage) เช่นการไม่มีนวตกรรมที่ต่อยอดและเพิ่มมูลค่า
3. ขาดวิธีการคิดแบบกระบวนทัศน์ (Paradigm)
แค่ 3 อย่างนี้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการพัฒนาของประเทศละครับ
1. คอร์รัปชั่นในทุกระดับ (Corruption) ซึ่งเป็นที่มาของต้นทุนสามานย์
2. การขาดความสามารถในการแข่งขันทอย่างยั่งยืน (Durable Competitive Advantage) เช่นการไม่มีนวตกรรมที่ต่อยอดและเพิ่มมูลค่า
3. ขาดวิธีการคิดแบบกระบวนทัศน์ (Paradigm)
แค่ 3 อย่างนี้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการพัฒนาของประเทศละครับ
Nothing comes for free...
-
- Verified User
- โพสต์: 2135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 10
เห็นมีบทความในกรุงเทพธุรกิจพอดี
ผูกขาดจริง กับ ผูกขาดเทียม
ก่อนผมเริ่มสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในหัวข้อการแข่งขันทุกครั้ง ผมจะตั้งคำถามนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจว่า คุณคิดว่าธุรกิจใดในประเทศไทยผูกขาด
หรือเป็นเจ้าตลาดแต่เพียงรายเดียว โดยให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสิ่งที่เขาคิดลงในกระดาษ ผลที่ได้คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่า ซีพี รองลงมาคือ ปตท. มีบางคนตอบว่าคิงพาวเวอร์ ไฟฟ้า ประปา ทางด่วน แต่ก็เป็นส่วนน้อย คำตอบดังกล่าวทำให้ผมต้องตั้งคำถามนักศึกษาเพิ่มเติมเช่น ซีพี เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจมากมายทั้ง ไก่ หมู อาหารสัตว์ ค้าปลีก โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า ซีพี ผูกขาด ก็ต้องระบุให้ชัดว่าผูกขาดในธุรกิจใด และผูกขาดในตลาดใดด้วยเช่น ผูกขาดในประเทศไทยแต่เป็นเพียงผู้เล่นรายเล็กๆ ในตลาดโลก เป็นต้น แต่พอหาข้อมูลเพิ่มเติมก็จะพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ของซีพีในประเทศไทย ล้วนแต่มีคู่แข่งด้วยกันทั้งสิ้น ในส่วนของปตท. นั้น นักศึกษาส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าฟังมาอีกทีจากสื่อต่างๆ ซึ่งก็ต้องชี้ให้นักศึกษาคิดอีกครั้งเกี่ยวกับธุรกิจของปตท.ว่า ต้องแยกการวิเคราะห์ออกเป็น การสำรวจ การผลิต การขนส่งผ่านท่อ โรงกลั่น ปั๊มน้ำมัน และอาจรวมถึงร้านกาแฟ ด้วย
เวลาเราพูดถึงการผูกขาด หรือ Monopoly นั้น เรามักจะนึกถึงการผูกขาดตามโครงสร้างอุตสาหกรรมคือ มีผู้ขายสินค้าเพียงรายเดียวในตลาดที่ไม่ต้องแข่งขันกับใคร ดังนั้น ผู้ที่ผูกขาดก็สามารถกำหนดราคาและปริมาณเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ผลเสียก็จะตกกับผู้บริโภคเพราะต้องแย่งสินค้าที่มีปริมาณน้อยและยังต้องจ่ายแพงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากในตลาดมีผู้เล่นมากกว่า 1 ราย แต่ผู้บริโภคกลับคิดว่า ตลาดนี้ถูกครอบงำโดยผู้ขายเพียงรายเดียว ลักษณะนี้ นักเศรษฐศาสตร์ไม่ค่อยพูดถึง แต่นักการตลาดเรียกว่า การผูกขาดเทียม หรือ Psychological Monopoly (เวลาผมสอนนักศึกษาก็จะเรียกตามภาษาวัยรุ่นว่า ผูกขาดแบบมโนไปเอง)
การผูกขาดเทียม อาจเกิดจากการผู้บริโภคยึดติดกับยี่ห้อหรือตราสินค้าหนึ่งจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรมาทดแทนได้ ผู้บริโภคก็จะลืมนึกถึงคู่แข่งหรือทางเลือกอื่น ตัวอย่างหนึ่งคือ Google ในธุรกิจโปรแกรมค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือ Search Engine ผมเคยทำวิจัยเรื่องดังกล่าวพบว่า นักศึกษาไทยยึดติดกับ Google มากจนไม่ได้ใส่ใจว่ายังมี Search Engine อีกมากมายให้เลือก หลายคนคิดว่า Google เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจนี้แต่เพียงผู้เดียวในโลก (ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยนะครับ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าส่วนแบ่งการตลาดของ Google ในประเทศไทยอาจจะมากกว่า 90% แต่ก็ยังไม่ใช่ 100% ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของ Google ในบางประเทศนั้นน้อยกว่า 50% ด้วยซ้ำไป บางคนก็อาจนึกถึง Line หรือ Facebook ว่าเป็นผู้ผูกขาด ในขณะที่สาวก Apple หลายคนอาจมีความรู้สึกนี้เช่นกัน โดยมองว่า Android นั้นไม่ใช่คู่แข่ง เนื่องจากไม่มีอะไรมาทดแทน Apple ได้ เป็นต้น
การผูกขาดโดยเฉพาะการผูกขาดเทียมอาจไม่ใช่ข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการเสมอไป หากการผูกขาดนั้นส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึก “กลัว” ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าจะใช้กลยุทธ์บางอย่างที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์เมื่อกระแสไม่พอใจหรือต่อต้านมีมาก การทำธุรกิจก็จะยากขึ้น ในกรณีของ ปตท. นั้น มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่เป็นรัฐวิสาหกิจจนกระทั่งแปรรูปไปเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รายได้และกำไรนั้นมหาศาลติดอันดับโลก (ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น) แม้ว่า ปตท. จะพยายามกระจายธุรกิจให้มีความหลากหลายแต่ธุรกิจหลักก็ยังเกี่ยวข้องกับพลังงานซึ่งคนไทยมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นค่าใช้จ่ายลำดับต้นๆ ข่าวคราวเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคมก็มีมากแต่ก็ถูกเบียดบังไปเมื่อมีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และไหนจะยังมีเรื่องท่อก๊าซอีก ในส่วนของราคาน้ำมันนั้น แม้ว่าทุกคนจะทราบดีว่าปตท.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันแต่รัฐก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของปตท.อยู่ดีจึงไม่น่าแปลกใจหากคนจำนวนมากจะ “กลัว” ปตท.
สำหรับกรณีของซีพีนั้น มีธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ แต่ธุรกิจที่นักศึกษาคิดว่าผูกขาดคือ ไก่ ไข่ กุ้ง และอาหารแช่แข็ง บางคนกลัวว่าเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-11) และแม็คโคร (Macro) จะผูกขาดค้าปลีกของประเทศไทย ซึ่งก็น่าเห็นใจซีพี ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและค้าปลีก (จริงๆ แล้วมีธุรกิจอื่นๆ อีกมาก) ซึ่งใกล้ตัวผู้บริโภคมาก บางคนกลัวไปถึงว่าในอนาคต 7-11 จะขายแต่ของของซีพี แล้วผู้บริโภคคนไทยก็จะถูกบังคับให้กินเฉพาะของของซีพีแบบไม่มีทางเลือกอื่น บางคนกลัวในประเด็นของเกษตรพันธสัญญา หรือ Contract Farming ว่าเกษตรกรจะถูกเอาเปรียบเพราะซีพีมีอำนาจการต่อรองสูงกว่า แท้จริงแล้ว เราไม่ควรกลัวทั้งผู้ผูกขาดจริงและผู้ผูกขาดเทียม หากพฤติกรรมของผู้ผูกขาดไม่ได้ใช้ “อำนาจเหนือตลาด” เอาเปรียบผู้อื่น เช่น ผู้บริโภคไม่ควรกลัวที่ 7-11 จะขายของซีพี (ถ้าของเขาดีจริง) แต่ควรกลัวถ้า 7-11 มีพฤติกรรมกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตรายอื่นขายของใน 7-11 หรือปฏิบัติกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีพีอย่างไม่เป็นธรรม ในกรณีของเกษตรพันธสัญญาก็เช่นกัน เราไม่ควรกลัวเกษตรพันธสัญญาที่เป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้เกษตรกร แต่ควรกลัวกรณีที่มีการหลอกลวงหรือบังคับให้เกษตรกรเข้าทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
หลังจากการสอนเรื่องผูกขาด ผมถามนักศึกษาเป็นคำถามสุดท้ายว่า ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าในทางทฤษฎีนั้น การผูกขาดส่งผลเสียต่อสังคม แต่ถ้านักศึกษาจบการศึกษาและออกไปเป็นเจ้าของธุรกิจ นักศึกษาอยากเป็นผู้ผูกขาดหรือไม่ ผมว่าท่านผู้อ่านคงเดาได้ว่านักศึกษาทุกคนตอบผมว่าอย่างไร
ผศ. ดร. ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ
14 เมษายน 2558
http://www.bangkokbiznews.com/blog/deta ... 5G8Er.dpuf
ผูกขาดจริง กับ ผูกขาดเทียม
ก่อนผมเริ่มสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในหัวข้อการแข่งขันทุกครั้ง ผมจะตั้งคำถามนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจว่า คุณคิดว่าธุรกิจใดในประเทศไทยผูกขาด
หรือเป็นเจ้าตลาดแต่เพียงรายเดียว โดยให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสิ่งที่เขาคิดลงในกระดาษ ผลที่ได้คือ นักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่า ซีพี รองลงมาคือ ปตท. มีบางคนตอบว่าคิงพาวเวอร์ ไฟฟ้า ประปา ทางด่วน แต่ก็เป็นส่วนน้อย คำตอบดังกล่าวทำให้ผมต้องตั้งคำถามนักศึกษาเพิ่มเติมเช่น ซีพี เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจมากมายทั้ง ไก่ หมู อาหารสัตว์ ค้าปลีก โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า ซีพี ผูกขาด ก็ต้องระบุให้ชัดว่าผูกขาดในธุรกิจใด และผูกขาดในตลาดใดด้วยเช่น ผูกขาดในประเทศไทยแต่เป็นเพียงผู้เล่นรายเล็กๆ ในตลาดโลก เป็นต้น แต่พอหาข้อมูลเพิ่มเติมก็จะพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ของซีพีในประเทศไทย ล้วนแต่มีคู่แข่งด้วยกันทั้งสิ้น ในส่วนของปตท. นั้น นักศึกษาส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าฟังมาอีกทีจากสื่อต่างๆ ซึ่งก็ต้องชี้ให้นักศึกษาคิดอีกครั้งเกี่ยวกับธุรกิจของปตท.ว่า ต้องแยกการวิเคราะห์ออกเป็น การสำรวจ การผลิต การขนส่งผ่านท่อ โรงกลั่น ปั๊มน้ำมัน และอาจรวมถึงร้านกาแฟ ด้วย
เวลาเราพูดถึงการผูกขาด หรือ Monopoly นั้น เรามักจะนึกถึงการผูกขาดตามโครงสร้างอุตสาหกรรมคือ มีผู้ขายสินค้าเพียงรายเดียวในตลาดที่ไม่ต้องแข่งขันกับใคร ดังนั้น ผู้ที่ผูกขาดก็สามารถกำหนดราคาและปริมาณเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ผลเสียก็จะตกกับผู้บริโภคเพราะต้องแย่งสินค้าที่มีปริมาณน้อยและยังต้องจ่ายแพงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากในตลาดมีผู้เล่นมากกว่า 1 ราย แต่ผู้บริโภคกลับคิดว่า ตลาดนี้ถูกครอบงำโดยผู้ขายเพียงรายเดียว ลักษณะนี้ นักเศรษฐศาสตร์ไม่ค่อยพูดถึง แต่นักการตลาดเรียกว่า การผูกขาดเทียม หรือ Psychological Monopoly (เวลาผมสอนนักศึกษาก็จะเรียกตามภาษาวัยรุ่นว่า ผูกขาดแบบมโนไปเอง)
การผูกขาดเทียม อาจเกิดจากการผู้บริโภคยึดติดกับยี่ห้อหรือตราสินค้าหนึ่งจนรู้สึกว่าไม่มีอะไรมาทดแทนได้ ผู้บริโภคก็จะลืมนึกถึงคู่แข่งหรือทางเลือกอื่น ตัวอย่างหนึ่งคือ Google ในธุรกิจโปรแกรมค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต หรือ Search Engine ผมเคยทำวิจัยเรื่องดังกล่าวพบว่า นักศึกษาไทยยึดติดกับ Google มากจนไม่ได้ใส่ใจว่ายังมี Search Engine อีกมากมายให้เลือก หลายคนคิดว่า Google เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจนี้แต่เพียงผู้เดียวในโลก (ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยนะครับ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าส่วนแบ่งการตลาดของ Google ในประเทศไทยอาจจะมากกว่า 90% แต่ก็ยังไม่ใช่ 100% ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของ Google ในบางประเทศนั้นน้อยกว่า 50% ด้วยซ้ำไป บางคนก็อาจนึกถึง Line หรือ Facebook ว่าเป็นผู้ผูกขาด ในขณะที่สาวก Apple หลายคนอาจมีความรู้สึกนี้เช่นกัน โดยมองว่า Android นั้นไม่ใช่คู่แข่ง เนื่องจากไม่มีอะไรมาทดแทน Apple ได้ เป็นต้น
การผูกขาดโดยเฉพาะการผูกขาดเทียมอาจไม่ใช่ข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการเสมอไป หากการผูกขาดนั้นส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึก “กลัว” ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าจะใช้กลยุทธ์บางอย่างที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์เมื่อกระแสไม่พอใจหรือต่อต้านมีมาก การทำธุรกิจก็จะยากขึ้น ในกรณีของ ปตท. นั้น มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่เป็นรัฐวิสาหกิจจนกระทั่งแปรรูปไปเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รายได้และกำไรนั้นมหาศาลติดอันดับโลก (ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น) แม้ว่า ปตท. จะพยายามกระจายธุรกิจให้มีความหลากหลายแต่ธุรกิจหลักก็ยังเกี่ยวข้องกับพลังงานซึ่งคนไทยมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นค่าใช้จ่ายลำดับต้นๆ ข่าวคราวเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคมก็มีมากแต่ก็ถูกเบียดบังไปเมื่อมีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และไหนจะยังมีเรื่องท่อก๊าซอีก ในส่วนของราคาน้ำมันนั้น แม้ว่าทุกคนจะทราบดีว่าปตท.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันแต่รัฐก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของปตท.อยู่ดีจึงไม่น่าแปลกใจหากคนจำนวนมากจะ “กลัว” ปตท.
สำหรับกรณีของซีพีนั้น มีธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ แต่ธุรกิจที่นักศึกษาคิดว่าผูกขาดคือ ไก่ ไข่ กุ้ง และอาหารแช่แข็ง บางคนกลัวว่าเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-11) และแม็คโคร (Macro) จะผูกขาดค้าปลีกของประเทศไทย ซึ่งก็น่าเห็นใจซีพี ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและค้าปลีก (จริงๆ แล้วมีธุรกิจอื่นๆ อีกมาก) ซึ่งใกล้ตัวผู้บริโภคมาก บางคนกลัวไปถึงว่าในอนาคต 7-11 จะขายแต่ของของซีพี แล้วผู้บริโภคคนไทยก็จะถูกบังคับให้กินเฉพาะของของซีพีแบบไม่มีทางเลือกอื่น บางคนกลัวในประเด็นของเกษตรพันธสัญญา หรือ Contract Farming ว่าเกษตรกรจะถูกเอาเปรียบเพราะซีพีมีอำนาจการต่อรองสูงกว่า แท้จริงแล้ว เราไม่ควรกลัวทั้งผู้ผูกขาดจริงและผู้ผูกขาดเทียม หากพฤติกรรมของผู้ผูกขาดไม่ได้ใช้ “อำนาจเหนือตลาด” เอาเปรียบผู้อื่น เช่น ผู้บริโภคไม่ควรกลัวที่ 7-11 จะขายของซีพี (ถ้าของเขาดีจริง) แต่ควรกลัวถ้า 7-11 มีพฤติกรรมกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตรายอื่นขายของใน 7-11 หรือปฏิบัติกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีพีอย่างไม่เป็นธรรม ในกรณีของเกษตรพันธสัญญาก็เช่นกัน เราไม่ควรกลัวเกษตรพันธสัญญาที่เป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้เกษตรกร แต่ควรกลัวกรณีที่มีการหลอกลวงหรือบังคับให้เกษตรกรเข้าทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
หลังจากการสอนเรื่องผูกขาด ผมถามนักศึกษาเป็นคำถามสุดท้ายว่า ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าในทางทฤษฎีนั้น การผูกขาดส่งผลเสียต่อสังคม แต่ถ้านักศึกษาจบการศึกษาและออกไปเป็นเจ้าของธุรกิจ นักศึกษาอยากเป็นผู้ผูกขาดหรือไม่ ผมว่าท่านผู้อ่านคงเดาได้ว่านักศึกษาทุกคนตอบผมว่าอย่างไร
ผศ. ดร. ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ
14 เมษายน 2558
http://www.bangkokbiznews.com/blog/deta ... 5G8Er.dpuf
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 13
ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากหลายปัจจัยครับ
1. ภาคการส่งออกใน ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ข้าว ดำเนินนโยบายผิด
ยาง ความต้องการยางจากจีนหดตัว น้ำตาล หดตัวลงเนื่องจากราคาน้ำมันลดลงและปริมาณซัพพลายเกิน
ภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์เด่นๆของไทย เช่น ฮาร์ดดิสก์ หดตัวลงเพราะความต้องการใช้งานน้อยลง
ตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความนิยมของผู้บริโภค ที่หันมานิยมสมาร์ทโฟน และแท็ปเลตมากกว่า
2. ต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น และ การยกระดับสินค้าในการแข่งขันกับชาติอื่นๆ เราผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนแรงงานเป็นหลักมาสิบกว่าปีแล้ว
จากสมัยที่เปลี่ยนจากการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก ซึ่งด้วยการเปลี่ยนแปลงจากการสินค้าเกษตรเป็นหลัก มาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
ทำให้รายได้ของคนไทยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เกิดการจ้างงานหลากหลายประเภทในหลายอุตสหกรรม แต่ตอนนี้หมดยุคแบบนี้แล้ว
เพราะประเทศที่ตามเรามา เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา พม่า ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่เราเคยทำมาก่อน
รวมถึงจีนด้วย ซึ่งในจีน ค่าแรงขั้นต่ำก็เพิ่มขึ้นมาก จนต้นทุนต่างๆเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ส่วนของการส่งออกจีนก็ฃะลอตัวลงไป จีนเลยหันมา
เพิ่มการบริโภคในประเทศ จึงส่งผลให้การนำสินค้าเข้ามาผลิตลดลง ทำให้ประเทศผู้ส่งออกขั้นต้นและวัตถุดิบชะลอดตัวลงไปด้วย
ทำให้รายได้จากการส่งออกของประเทศเหล่านั้นลดลง
3. การลงทุนใหญ๋ๆในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเราไม่ได้ทำมานานแล้ว เราสร้างแต่ถนน ส่งเสริมการใช้รถขนส่ง ขนสินค้า
ซึ่งต้องพี่งพาพลังงานอย่างมาก ประเทศที่มีทรัพยากรพลังงานน้อยกว่าการบริโภคอย่างประเทศเราจึงเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงาน
เราไม่ได้สนใจในเรื่องโลจิสติกส์เลย ไม่เหมือนประเทศที่เค้ารู้ตัวว่าเค้ามีพลังงานน้อย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงค์โปร์ มาเลเชีย
ที่สนับสนุนระบบขนส่งโดยราง ทำให้ต้นทุนพลังงานลดลง จึงมีเงินลงทุนเหลือไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นเป็นเวลาหลายปี
4. การวิจัย การลงทุนในด้านเทคโนโลยี การสร้างเทคโนโลยีของตัวเองในด้านต่างๆน้อยเกินไป องค์ความรู้เหล่านี้มีประโยชน์
ในการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทำให้การความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลงเรื่อยๆ
5. เรื่องของค่านิยมในสังคมส่วนรวม เช่น ค่านิยมความมีวินัย ค่านิยมในการเสียสละเพื่อประเทศ ค่านิยมในการเคารพสิทธิส่วนตัวของกันและกัน
ไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยเมื่อเทียบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เรายังไม่ดูแลทรัพย์สินสาธารณะ เรายังทิ้งขยะกันไม่เป็นที่ เรายังทำอะไรตามใจ
โดยไม่คิดถึงว่าผู้อื่นจะคิดอย่างไร แต่ใครมาละเมิดสิทธิเราเราจะโวยวาย แต่เราละเมิดสิทธิคนอื่นได้ไม่เป็นไร หยวนๆ เพราะสังคมเราเป็น
สังคมที่มีน้ำใจ แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเยอะครับ จำนวนคนไทยทุกวันนี้เกือบเจ็ดสิบล้าน พื้นที่ส่วนตัวก็น้อยลง การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
ควรให้ความสำคัญ และที่สำคัญ ค่านิยมในการทำงาน เช่น หนักเอา เบาสู้ หายไปแล้ว
6. ความเชื่อๆผิดในศาสนาพุทธซึ่งมีผู้นับถือในไทยจำนวนมากโดยบัตรประชาชน เช่น เรื่องผลของกรรม
ว่ามีผู้อื่นบันดาล เลยต้องอ้อนวอนบูชา บน เพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อจะได้รุ่งเรือง เพื่อตำแหน่งหน้าที่
ทำให้ไม่เกิดความพยายาม ทำให้ไม่ใช้ความสามารถของตัวเอง ทำให้รอคอยความหวัง ทำให้ไม่ทำอะไร
ความเชื่อเรื่องกรรมที่ผิดนั้นประกอบด้วย
1. บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน
2. บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการบันดาลของเจ้าเป็นนาย
3. บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๐๑.
7. การเมืองของไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง และผู้ที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ ซึ่งทุกท่านเป็นคนเก่งมีความสามารถ
แต่ไม่สามารถวางยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องได้ เพราะปัญหาต่างๆ เช่น ...
ยังมีอะไรอีกไหมครับลองช่วยกันคิดดูครับ
ส่วน ศ.ก. ของประเทศไทยที่จะรุ่งเรื่องในวันหน้า น่าจะมาจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ เช่น
1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปอาหาร นำโดยบริษัทส่งออกอาหารรายใหญ่ของไทย รวมถึงกลุ่มผลิตและบริการอาหาร-เครื่องดื่ม
2. กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการ เช่น การเงินการธนาคาร ค้าปลีก การแพทย์ การท่องเที่ยว โรงแรม
3. กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์สมัยใหม่ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ประหยัดพลังงานหรือชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า
แผงวงจร หน้าจอ ของสมาร์ทโฟน หรือ โซลิดสเตตไดรฟ์
4. กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการด้านการสื่อสาร-ดาวเทียม-มีเดีย
ยังมีอะไรอีกไหมครับลองช่วยกันคิดดูครับ
1. ภาคการส่งออกใน ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ข้าว ดำเนินนโยบายผิด
ยาง ความต้องการยางจากจีนหดตัว น้ำตาล หดตัวลงเนื่องจากราคาน้ำมันลดลงและปริมาณซัพพลายเกิน
ภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์เด่นๆของไทย เช่น ฮาร์ดดิสก์ หดตัวลงเพราะความต้องการใช้งานน้อยลง
ตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความนิยมของผู้บริโภค ที่หันมานิยมสมาร์ทโฟน และแท็ปเลตมากกว่า
2. ต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น และ การยกระดับสินค้าในการแข่งขันกับชาติอื่นๆ เราผลิตสินค้าที่ใช้ต้นทุนแรงงานเป็นหลักมาสิบกว่าปีแล้ว
จากสมัยที่เปลี่ยนจากการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก ซึ่งด้วยการเปลี่ยนแปลงจากการสินค้าเกษตรเป็นหลัก มาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
ทำให้รายได้ของคนไทยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เกิดการจ้างงานหลากหลายประเภทในหลายอุตสหกรรม แต่ตอนนี้หมดยุคแบบนี้แล้ว
เพราะประเทศที่ตามเรามา เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา พม่า ได้ทดแทนอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่เราเคยทำมาก่อน
รวมถึงจีนด้วย ซึ่งในจีน ค่าแรงขั้นต่ำก็เพิ่มขึ้นมาก จนต้นทุนต่างๆเพิ่มขึ้น ก็ทำให้ส่วนของการส่งออกจีนก็ฃะลอตัวลงไป จีนเลยหันมา
เพิ่มการบริโภคในประเทศ จึงส่งผลให้การนำสินค้าเข้ามาผลิตลดลง ทำให้ประเทศผู้ส่งออกขั้นต้นและวัตถุดิบชะลอดตัวลงไปด้วย
ทำให้รายได้จากการส่งออกของประเทศเหล่านั้นลดลง
3. การลงทุนใหญ๋ๆในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเราไม่ได้ทำมานานแล้ว เราสร้างแต่ถนน ส่งเสริมการใช้รถขนส่ง ขนสินค้า
ซึ่งต้องพี่งพาพลังงานอย่างมาก ประเทศที่มีทรัพยากรพลังงานน้อยกว่าการบริโภคอย่างประเทศเราจึงเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงาน
เราไม่ได้สนใจในเรื่องโลจิสติกส์เลย ไม่เหมือนประเทศที่เค้ารู้ตัวว่าเค้ามีพลังงานน้อย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงค์โปร์ มาเลเชีย
ที่สนับสนุนระบบขนส่งโดยราง ทำให้ต้นทุนพลังงานลดลง จึงมีเงินลงทุนเหลือไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นเป็นเวลาหลายปี
4. การวิจัย การลงทุนในด้านเทคโนโลยี การสร้างเทคโนโลยีของตัวเองในด้านต่างๆน้อยเกินไป องค์ความรู้เหล่านี้มีประโยชน์
ในการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทำให้การความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลงเรื่อยๆ
5. เรื่องของค่านิยมในสังคมส่วนรวม เช่น ค่านิยมความมีวินัย ค่านิยมในการเสียสละเพื่อประเทศ ค่านิยมในการเคารพสิทธิส่วนตัวของกันและกัน
ไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยเมื่อเทียบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เรายังไม่ดูแลทรัพย์สินสาธารณะ เรายังทิ้งขยะกันไม่เป็นที่ เรายังทำอะไรตามใจ
โดยไม่คิดถึงว่าผู้อื่นจะคิดอย่างไร แต่ใครมาละเมิดสิทธิเราเราจะโวยวาย แต่เราละเมิดสิทธิคนอื่นได้ไม่เป็นไร หยวนๆ เพราะสังคมเราเป็น
สังคมที่มีน้ำใจ แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเยอะครับ จำนวนคนไทยทุกวันนี้เกือบเจ็ดสิบล้าน พื้นที่ส่วนตัวก็น้อยลง การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
ควรให้ความสำคัญ และที่สำคัญ ค่านิยมในการทำงาน เช่น หนักเอา เบาสู้ หายไปแล้ว
6. ความเชื่อๆผิดในศาสนาพุทธซึ่งมีผู้นับถือในไทยจำนวนมากโดยบัตรประชาชน เช่น เรื่องผลของกรรม
ว่ามีผู้อื่นบันดาล เลยต้องอ้อนวอนบูชา บน เพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อจะได้รุ่งเรือง เพื่อตำแหน่งหน้าที่
ทำให้ไม่เกิดความพยายาม ทำให้ไม่ใช้ความสามารถของตัวเอง ทำให้รอคอยความหวัง ทำให้ไม่ทำอะไร
ความเชื่อเรื่องกรรมที่ผิดนั้นประกอบด้วย
1. บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน
2. บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการบันดาลของเจ้าเป็นนาย
3. บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย
ติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๐๑.
7. การเมืองของไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง และผู้ที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ ซึ่งทุกท่านเป็นคนเก่งมีความสามารถ
แต่ไม่สามารถวางยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องได้ เพราะปัญหาต่างๆ เช่น ...
ยังมีอะไรอีกไหมครับลองช่วยกันคิดดูครับ
ส่วน ศ.ก. ของประเทศไทยที่จะรุ่งเรื่องในวันหน้า น่าจะมาจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ เช่น
1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปอาหาร นำโดยบริษัทส่งออกอาหารรายใหญ่ของไทย รวมถึงกลุ่มผลิตและบริการอาหาร-เครื่องดื่ม
2. กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการ เช่น การเงินการธนาคาร ค้าปลีก การแพทย์ การท่องเที่ยว โรงแรม
3. กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์สมัยใหม่ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ประหยัดพลังงานหรือชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า
แผงวงจร หน้าจอ ของสมาร์ทโฟน หรือ โซลิดสเตตไดรฟ์
4. กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการด้านการสื่อสาร-ดาวเทียม-มีเดีย
ยังมีอะไรอีกไหมครับลองช่วยกันคิดดูครับ
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 15
เป็นประเด็นที่น่าคิดเหมือนกันนะครับ สำหรับภาวะประเทศในปัจจุบัน
รัฐบาลเอาเข้าจริงๆก็เป็นแค่รักษาการณ์เท่านั้น ภายใต้สภาวะแบบนี้
ถึงแม้ว่าการทำอะไรจะดูเหมือนมีอำนาจเต็มในการจัดการปัญาหาต่างๆ
แต่จริงๆแล้วอาจทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะผลกระทบในอนาคตยังบอกได้ยาก
เช่น โครงการต่างๆที่ได้ดำเนินงานไป จะได้รับการสานต่อไหม หากคืนอำนาจสู่ระบบปกติ
รัฐบาลต่อไปที่ได้รับการเลือกตั้งจะสานต่อไหม เลยทำให้การพิจาราณาอะไรต้องใช้เวลามาก
และต้องประสานงานไปยังส่วนต่างๆ รวมถึงทัศนคติของผู้ที่ได้เลือกมาทำหน้าที่รัฐบาลเฉพาะกาลชุดนี้
บางท่านบางกระทรวงแนวคิดดี แต่ออกมาผิดที่ผิดเวลา เช่น การเก็บภาษีที่ดิน
ส่วนทางด้านเศรษฐกิจที่มีปัญหาภาวะถดถอยลง ส่วนนึงอาจเป็นเพราะประเทศอื่นเค้าก็ทำใจลำบาก
เหมือนกันที่ต้องค้าขายกับประเทศที่ยังไม่อยู่ในภาวะปกติ เลยค้าขายไม่ได้เต็มที่ และอีกประเด็นนึงคือฝีมือการทำงาน
ของทีมเศรษฐกิจที่ยังน่ากังขาว่าเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นดีแค่ไหน
รัฐบาลเอาเข้าจริงๆก็เป็นแค่รักษาการณ์เท่านั้น ภายใต้สภาวะแบบนี้
ถึงแม้ว่าการทำอะไรจะดูเหมือนมีอำนาจเต็มในการจัดการปัญาหาต่างๆ
แต่จริงๆแล้วอาจทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะผลกระทบในอนาคตยังบอกได้ยาก
เช่น โครงการต่างๆที่ได้ดำเนินงานไป จะได้รับการสานต่อไหม หากคืนอำนาจสู่ระบบปกติ
รัฐบาลต่อไปที่ได้รับการเลือกตั้งจะสานต่อไหม เลยทำให้การพิจาราณาอะไรต้องใช้เวลามาก
และต้องประสานงานไปยังส่วนต่างๆ รวมถึงทัศนคติของผู้ที่ได้เลือกมาทำหน้าที่รัฐบาลเฉพาะกาลชุดนี้
บางท่านบางกระทรวงแนวคิดดี แต่ออกมาผิดที่ผิดเวลา เช่น การเก็บภาษีที่ดิน
ส่วนทางด้านเศรษฐกิจที่มีปัญหาภาวะถดถอยลง ส่วนนึงอาจเป็นเพราะประเทศอื่นเค้าก็ทำใจลำบาก
เหมือนกันที่ต้องค้าขายกับประเทศที่ยังไม่อยู่ในภาวะปกติ เลยค้าขายไม่ได้เต็มที่ และอีกประเด็นนึงคือฝีมือการทำงาน
ของทีมเศรษฐกิจที่ยังน่ากังขาว่าเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นดีแค่ไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศ.ก. ของประเทศไทยที่ตกต่ำทุกวันนี้ เนื่องมาจากการผูกขาด
โพสต์ที่ 17
ผมว่า เพราะเราไม่เริ่ม"ลงมือทำ"สักทีครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ