เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
cobain_vi
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 481

โพสต์

Dech เขียน:เราปฏิบัติกรรมฐาน เพื่ออะไรครับ

ในเมื่อก่อนปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ก็บอกไว้หมดแล้ว
คนในยุคนี้ก่อนทำ ก็รู้หมดแล้วว่าทำแล้วถ้าได้ผล สุดท้ายผลจะออกมายังไง

คำตอบสำหรับคำถามหรือผลจากการปฏิบัติก็มีเฉลยแล้วทั้งนั้น

เรามาพิจารณาผลเลยได้หรือเปล่าครับ
ถ้าเคยได้ผลอย่างไรก็คงพิจารณาได้(อยู่ภูมิธรรมชั้นไหนก็ได้แค่ภูมิธรรมชั้นนั้น) ถ้าจะพิจารณาผลในขั้นที่สูงกว่าตัวเอง(อย่างที่ผมเข้าใจคำถามของพี่Dech)คงเป็นการคาดเดาเอา
ส่วนพระโสดา สกิทา อนาคาเคยเห็นนิพพพานแล้ว ถ้าอยากจะเห็นอีกต้องเพิกรูปนาม ส่วนพระอรหันต์แค่มนสิการก็เห็นแล้ว
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 482

โพสต์

cobain_vi เขียน:
เดือนหน้าผมว่าจะไปอยู่วัดที่อีสานประมาณเดือนนึง (คงเป็นถ้ำสหายกับวัดดอยฯ) พี่tumHอยู่จังหวัดไหนหรือครับ
ผมอยู่ศรีสะเกษครับ แต่ตอนนี้ทำงานที่กรุงเทพ
เหมือนอยู่กึ่งกลางเส้นทาง เลยไปทำบุญได้บ่อยๆ ว่าไปก็โชคดีเหมือนกัน
แถวโซนนี้ มีวัดทองคำเยอะมาก ไปทำบุญกี่ครั้งๆ ก็ได้ปีติกลับมาทุกที

บางครั้งก็ไปทำบุญกับหลวงพ่อจรัญ ที่สิงห์บุรี ขับแป๊ปเดียวก็ถึง
หรือท่านพระอาจารย์ตั๋น ที่ชลบุรีก็ไม่ไกล
บางที่ไปเที่ยว ก็ได้มีโอกาสทำบุญไปด้วย เช่นไประยอง ก็ไปร่วมสร้างเจดีย์
กับพระอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม
หรือในกรุงเทพ ก็จะมีกิจกรรมที่นิมนต์พระกรรมฐานมาบ่อยๆ เช่น สวนแสงธรรม เป็นต้น

ดูเหมือนหลังๆเนี่ย จะมีวัยรุ่นเกินครึ่ง ที่ไปทำบุญนะครับพี่ cobain_vi
หลวงพ่อฤาษี เคยกล่าวไว้ว่า ต่อไปเมืองไทยจะมีพระอรหันต์เป็นแสน
อนาคตคงพากันเข้าวัด รักษาศีลกันมากนะครับ

:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
cobain_vi
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 483

โพสต์

tum_H เขียน:
cobain_vi เขียน:
เดือนหน้าผมว่าจะไปอยู่วัดที่อีสานประมาณเดือนนึง (คงเป็นถ้ำสหายกับวัดดอยฯ) พี่tumHอยู่จังหวัดไหนหรือครับ
ผมอยู่ศรีสะเกษครับ แต่ตอนนี้ทำงานที่กรุงเทพ
เหมือนอยู่กึ่งกลางเส้นทาง เลยไปทำบุญได้บ่อยๆ ว่าไปก็โชคดีเหมือนกัน
แถวโซนนี้ มีวัดทองคำเยอะมาก ไปทำบุญกี่ครั้งๆ ก็ได้ปีติกลับมาทุกที

บางครั้งก็ไปทำบุญกับหลวงพ่อจรัญ ที่สิงห์บุรี ขับแป๊ปเดียวก็ถึง
หรือท่านพระอาจารย์ตั๋น ที่ชลบุรีก็ไม่ไกล
บางที่ไปเที่ยว ก็ได้มีโอกาสทำบุญไปด้วย เช่นไประยอง ก็ไปร่วมสร้างเจดีย์
กับพระอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม
หรือในกรุงเทพ ก็จะมีกิจกรรมที่นิมนต์พระกรรมฐานมาบ่อยๆ เช่น สวนแสงธรรม เป็นต้น

ดูเหมือนหลังๆเนี่ย จะมีวัยรุ่นเกินครึ่ง ที่ไปทำบุญนะครับพี่ cobain_vi
หลวงพ่อฤาษี เคยกล่าวไว้ว่า ต่อไปเมืองไทยจะมีพระอรหันต์เป็นแสน
อนาคตคงพากันเข้าวัด รักษาศีลกันมากนะครับ

:D
คงจะเห็นแล้วว่าชีวิตมันไม่มีอะไร ดิ้นรนแทบตายสุดท้ายก็ว่างเปล่า ทางโลกหาที่พึ่งที่แท้จริงไม่ได้เลย ทรัพย์สินเงินทองเป็นของโลกๆให้แค่ความสะดวกสบายชั่วครั้งชั่วคราว ลูกเมียหรือแม้แต่ตัวเองสักวันนึงก็ต้องพลัดพรากจากกัน คืนร่างกายให้โลกไป มีแต่อริยทรัพย์อย่างเดียวที่นำติดตัวไปได้ คนสมัยนี้ฉลาดมากนะครับ ดูๆไปผมว่าสนใจปฏิบัติภาวนากันมากขึ้นเมื่อตอนผมเข้าวัดใหม่ๆสักสิบกว่าปีก่อนตามวัดครูบาอาจารย์ไม่ค่อยมีวัยรุ่นไป เดี๋ยวนี้คนที่เข้าวัดวัยรุ่นทั้งนั้น แต่ถ้าเทียบกับคนส่วนใหญ่อัตราส่วนก็ยังน้อยอยู่ดี
เคยได้ยินมาว่าแถวๆจ.ชัยภูมิมีฆราวาสได้โสดาบันกันเยอะมากๆ อนาคตคงต้องมีพระอรหันต์เยอะขึ้นจริงๆอย่างที่หลวงปู่ฤษีลิงดำว่าไว้แน่ๆ อนาคตผมว่าพี่tumHก็คงต้องได้ธรรมะแน่ๆเลย(แต่ไม่รู้เมื่อไร :B )เพราะเห็นสนใจขนาดนั้น

..
สทฺธา พีชํ ตโป วุฏฐิ. ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปญฺญา เม ยุคนงฺคลํ. ปัญญาเป็นแอกเป็นไถ
หิริ อีสา มโนโยตฺตํ. หิริเป็นงอนไถใจเป็นเชือก
สติ เม ผาลปาจนํ สติเป็นผาลและปฏัก
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 484

โพสต์

cobain_vi เขียน: อนาคตผมว่าพี่tumHก็คงต้องได้ธรรมะแน่ๆเลย(แต่ไม่รู้เมื่อไร :B )เพราะเห็นสนใจขนาดนั้น
แหะๆ ชาตินี้คงจะยากอะครับพี่ cobain_vi
ขอเพียงได้ขั้นต้น ไม่ไปอบายภูมิ ก็พอใจล่ะครับชาตินี้



:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 522
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 485

โพสต์

Dech เขียน:เราปฏิบัติกรรมฐาน เพื่ออะไรครับ

ในเมื่อก่อนปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ก็บอกไว้หมดแล้ว
คนในยุคนี้ก่อนทำ ก็รู้หมดแล้วว่าทำแล้วถ้าได้ผล สุดท้ายผลจะออกมายังไง

คำตอบสำหรับคำถามหรือผลจากการปฏิบัติก็มีเฉลยแล้วทั้งนั้น

เรามาพิจารณาผลเลยได้หรือเปล่าครับ
เป็นคำถามที่ดีมากเลยครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตอบว่า ปฏิบัติเพื่อความถึงที่สุดแห่งทุกข์คับ

ทุกข์นั้นคืออะไร ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย ความประสบกันสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ

ที่นี้ทุกข์เอง ก็มีเหตุให้เกิดขึ้น มีเหตุให้ดับไป

และความที่เป็นเพราะมี เหตุให้เกิด และ เหตุให้ดับไป
จึงเป็นที่มาของลักษณะของทุกสิ่งคือ

เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

(จริงไหม? ลองพิจารณาดูได้ครับ ไม่ว่าในศาสตร์ด้านไหนๆ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์
เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เศรษฐกิจ การเมือง แม้แต่การลงทุน)

แล้วก็มีหนทางในการปฏิบัติเพื่อความดับไปของทุกข์ (ที่เรานำมาปฏิบัติกัน นั่นคือ มรรคมีองค์แปดนั้นแหละครับ)

ตัวเราประกอบด้วย ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เราเห็นขันธ์ทั้งห้าทำงานไหม
(ถ้าเปรียบกับทางการแพทย์ และทางจิตวิทยา ก็คือ ด้านร่างกาย และด้านความจำ ความรู้สึก ความคิด การรับรู้-ตีความ ในสมองนั่นเอง)

เราเห็นสัมผัสที่มากระทบทางประสาทสัมผัสทั้งหกไหม มองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส การรับรู้ในใจ
(พระผู้มีพระภาคท่านเรียกว่า อายตนะหก) ว่าพอมีสิ่งต่างๆเข้ามากระทบแล้วเกิดอะไรขึ้น

ผลที่เกิดคือ เราจะเห็นความไม่เที่ยง ความเกิดขึ้น-ดับไป ความที่มีการเกิดขึ้น-ดับไปนั้น เพราะมีเหตุปัจจัย นั่นคือความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนถาวร
ก็ทำให้ละความยึดมั่นในความเป็นตัวเรา-ของเรา ละความเห็นผิดว่ามีสิ่งอื่นบันดาลให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือเกิดขึ้นได้เอง หรือด้วยความบังเอิญ
หรือแม้กระทั้ง เพราะตัวเราบันดาลให้เกิด

แต่เป็นเพราะสิ่งต่างๆเกิดขึ้นเป็นเพราะ กรรม หรือ สัมผัส ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย
ในด้านต่างๆที่ส่งผลดี ผลเสีย ซึ่ง จะมีผลดี หรือ ผลเสียนั้นตามมา เหมือนกับการ คั้นเมล็ดงา ย่อมได้น้ำมันงา

(เป็นที่ให้ได้ทราบว่า ชีวิตเราไม่ได้ล่องลอยไปเรื่อยๆ แต่เพราะมี สัมผัส หรือ ผัสสะ เราก็ตอบสนองไปตามสิ่งนั้นๆ
โดยความเคยชิน ความเพลิน พอใจ ไม่พอใจ ในสิ่งนั้นๆ จนเผลอไผล ทำให้ตัวเองเดือนร้อนบ้าง ผู้อื่นเดือดร้อนบ้าง
เหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้บ้าง ทำให้ชีวิตตกต่ำ หรือ ดีขึ้น วนเวียนกันไป แต่ถ้าผู้ใดได้ปฏิบัติ และ เข้าใจ
ในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าสอน ก็จะเห็นและเข้าใจ แต่ถ้าไม่ได้ฟัง หรือ ไม่เคยได้ปฏิบัติเลย ก็จะวนเวียนไป เหมือน
กับไร้สติ ไปตามสัมผัส ผัสสะต่างๆ ที่น่าพอใจ ไม่น่าพอใจ ยกตัวอย่าง ถ้าเราเป็นนักลงทุน จะเข้าใจได้ชัด
ถึงความกลัวและความโลภ และผลของปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น ที่ทำให้เราตัดสินใจไปตามสิ่งนั้นๆ แน่นอนถ้าเป็นนักลงทุนที่ผ่านประสบการณ์มามาก
ก็จะเข้าใจ นี่แหละเป็นธรรมส่วนนึง เรารับรู้สิ่งเร้า จากตลาดหุ้น และ แยกมันออกมาได้ โดยไม่ทำตาม แต่เราใช้ เหตุผล ข้อมูล แยกแยะสิ่งต่างๆ
เพราะจิตใจเรา เข้าใจ ไม่ทำตามความกลัวและความโลภไป นี่แหล่ะ ตรงจุดนี้ ถ้าเราสังเกตุ จะเห็นว่า
ก่อนความกลัวและความโลภจะเกิด เรามีสัมผัสกระทบต่อเรื่องนั้นๆที่ก่อให้เกิดความกลัวและความโลภ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างนึงนะคับ
แต่ชีวิตของเรา นอกจากในเรื่องการลงทุน ก็มีเรื่องการดำรงชีวิตในด้านต่างๆ แต่พื้นฐานจะไม่ต่างกัน ลองสังเกตุกันดูในชีวิตประจำวัน
ทั้งของตัวเราเอง และของผู้อื่น แต่ลองสังเกตุเด็กๆดูจะเห็นได้ง่ายมาก หรือ คนแก่บางคน หรือ หัวหน้างาน 555)

ถ้าเราพิจารณาผลที่เราจะได้รับในการปฏิบัติ ก็คือ เรามีความทุกข์น้อยลงไหม มีความรู้สึกตัวมากขึ้นไหม
มีความทันต่ออารมณ์ต่างๆที่มากระทบไหม ไม่หลงไปตามอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทางประสาทสัมผัสทั้งหกได้ไหม

แค่นี้ในฐานะมนุษย์-ปุถุชน ก็จะมีความสุข-ความเจริญมากขึ้นๆในการดำรงชีวิตแล้ว

ยิ่งปฏิบัติไปเรื่อยๆ และหาความรู้ในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าสอน ก็จะเข้าใจยิ่งขึ้นๆได้เอง

ปล. สิ่งที่ผมอธิบายก็จะอยู่ในพระสูตรต่างๆนะคับ มิได้ยกคำขึ้นมาอธิบายเอง นอกจากตัวอย่างในการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 486

โพสต์

ขออนุญาติทุกท่าน นำ link มาไว้หน้าหลักครับ

เห็นพี่ cobain_vi ตั้งไว้ อยู่ในห้องนั่งเล่น
ผมเชื่อว่าคนเห็นน้อยครับ จะตั้งกระทู้ใหม่เลยก็เกรงใจ ขอฝากไว้ในกระทู้นี้นะครับ

อยู่หน้านี้เผื่อมีท่านที่สนใจ แต่ไม่ได้เข้าไปเล่นในห้องอื่น ได้ร่วมทำบุญบ้างครับ

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=57665
ขอเชิญร่วมทำบุญบริจาคสร้างหนังสือ "กายคตาสติ"

ถ้าสนใจก็ร่วมทำบุญหรือร่วมอนุโมทนานะครับ

สาธุ ขอบคุณครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 487

โพสต์

สัปดาห์นี้มีวันหยุดหลายวัน อย่ามัวแต่ทำหน้าที่ทางโลกนะครับ
เพราะหน้าที่ทางโลกที่ทำกันอยู่ทุกวัน เป็นการทำให้คนอื่นทั้งหมด
พิจารณาดูดีๆ ว่าจริงหรือเปล่า ที่ว่าทำให้ตนนั้นจริงมั้ย
หรือจริงๆ แล้วตนไม่ได้อะไรเลย ทิ้งเหวไปทั้งหมด

ส่วนหน้าที่ทางธรรมนั้นสิ เป็นการทำให้เฉพาะตนเท่านั้น
ทำได้เฉพาะตนเอง ไม่มีใครทำแทนให้ได้เลย
พระพุทธะท่านก็เป็นแค่ผู้บอกทาง ครูบาอาจารย์ท่านก็มาบอกต่อ

เราทำทางโลกเพื่อหวังอิสรภาพทางโลกหวังทางการเงินกัน
คิดหรือว่าเป็นอิสรภาพที่ยั่งยืน
ไม่หวังอิสรภาพทางจิตวิญญาณกันบ้างหรือครับ

แล้วถ้าเราได้อิสรภาพทางจิตวิญญาณไปพร้อมๆกับทางโลกได้ จะไม่เอาหรือครับ
ลองปฏิบัติทำกันวันนี้ เราก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไรทางโลกเลย
ถ้าอิสรภาพที่ว่านั้นมันไม่มีจริง เราก็ได้ประโยชน์โลกในทางธรรมไปอยู่แล้วนะครับ
จะไม่เอาหรือครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 488

โพสต์

สยามสัปปายะ...
เป็นอีกรายการที่ดูแล้วรู้สึกเย็นใจ
อยากให้มีรายการแบบนี้ออกมาอีกมากๆ
สำหรับผู้ที่สนใจการปฏิบัติธรรม
แนะนำให้ลองชมกันครับ
จะได้อะไรดีๆ กลับไปคิด
และยังเป็นกำลังใจให้คนทำงานด้วยครับ

-พศิน อินทรวงศ์-

[youtube]CXKWzQ_z40Y[/youtube]
wisarnjin
Verified User
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 489

โพสต์

-สมเด็จพระบรมศาสดาของข้าพเจ้าตรัสไว้ว่า
"ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง
ตราบใดคนเรายังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุข จากที่อื่น สิ่งอื่น
เขาเหล่านั้นจะไม่สามารถพบความสุขที่แท้จริงเลย
คนเราได้สรรค์สร้างสิ่งต่างๆ เพื่อล่อให้ตนเองวิ่งตาม แต่ไม่เคยตามทัน
การแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจตน ให้ไหลเลื่อนเปื้อนไปตามอารมณ์ที่ตนเองปราถนานั้น
เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย"
-จากบทบรรยายธรรมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ส่วนหนึ่งของหนังสือธรรมนิยาย
"พระอานนท์ พุทธอนุชา" ซึ่งตอนนี้เป็น พุทธโอวาสก่อนดับขันธ์ปรินิพพาน
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เราเข้าใจความสุขที่แท้จริงของชีวิต และในแง่การลงทุนหรือการกระทำใดๆก็ตาม
ถ้าปราศจากความสุข ตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป หรือเร็วเกินไป ย่อมยากจะประสบความสำเร็จ เป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อย และทุกข์ย่อมเกิดระหว่างทาง
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 490

โพสต์

ปฏิบัติธรรม เพื่อลด ละ กิเลส โดยดู จาก โลภ โกรธ หลง ลดลงหรือไม่

ถ้าปฎิบัติแล้ว ทุกข์น้อยลง ก็ใช่เลย

ถ้าปฎิบัติแล้ว ทุกข์เท่าเดิม ก็ไม่น่าจะใช่

www.pasukato.org

สายหลวงพ่อเทียน วัดสนามใน
naitai
Verified User
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 491

โพสต์

บุญเป็นอะไร?

สิ่งนั้นๆ เป็นเหมือน ของเกลื่อนกลาด
ที่เป็นบาป เก็บกวาด ทิ้งใต้ถุน
ที่เป็นบุญ มีไว้ เพียงเจือจุน
ใช้เป็นคุณ สะดวกคาย คล้ายรถเรือ,
หรือบ่าวไพร่ มีไว้ใช้ ใช่ไว้แบก
กลัวตกแตก ใจสั่น ประหวั่นเหลือ
เรากินเกลือ ใช่จะต้อง บูชาเกลือ
บุญเหมือนเรือ มีไว้ขี่ ไปนิพพาน
มิใช่เพื่อ ไว้ประดับ ให้สวยหรู
เที่ยวอวดชู แบกไป ทุกสถาน
หรือลอยล่อง ไปในโลก โอฆกันดาร
ไม่อยากข้าม ขึ้นนิพพาน เสียดายเรือ ฯ
พุทธทาส อินทปัญโญ
tanoppan
Verified User
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 492

โพสต์

จาก PostToday September 4 at 10:05pm

รสแห่งความว่าง
รสอะไร ไม่ประเสริฐ หรือสุทธิ-ศานต์
ยิ่งไปกว่า รสของการ ไม่ต้องได้
ไม่ต้องเป็น ไม่ต้องอยู่ ไม่ต้องตาย
ไม่กระหาย ไม่สงสัย ไม่กังวล

ไม่หวั่นไหว ไม่ถือ ร้ายหรือดี
ไม่ถวิล หวังที่ มันสับสน

เช่นจวนได้ หรือจะได้ แต่กลายวน
เป็นไม่แน่ ว่าตน จะได้มัน
รสความว่าง อิ่มโอชะ ตลอดกาล
เป็นสัมปราย โวหาร พระอรหันต์
ดูให้ดี บางนาที ท่านมีมัน
แต่ว่าท่าน ดูไม่ดี ไม่มีเอย ฯ.


พุทธทาสภิกขุ
ธรรมมะก่อนนอน ฝันดีราตรีสวัสดิ์ ครับ
naitai
Verified User
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 493

โพสต์

ผมว่านิทานเรื่องนี้ใช้ใด้กับการลงทุนและคนที่พยายามเร่งผลตอบแทนหรือเล่นหุ้นปั่นลองอ่านดูนะครับ...
นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง ยิ่งให้เร็ว นั้นแหละจะยิ่งช้า



นิทานเรื่องที่ ๙ เรื่อง "ยิ่งให้เร็ว นั้นแหละ จะยิ่งช้า" เรื่องนี้ จะมีประโยชน์มาก สำหรับ ครูบาอาจารย์ อาตมา จึงเลือกนำมาเล่า ให้ฟัง "ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละ จะยิ่งช้า" เรื่องนี้ ถึงท่านจะ ไม่เรียก ตนเองว่า ครู ก็ตาม ก็ควรจะสนใจฟัง ในฐานะที่ว่า จะเป็นปัจจัย เกื้อกูล แก่การ เข้าใจธรรม และปฏิบัติธรรม เรื่องเล่าว่า มีหนุ่มคนหนึ่ง เขาอยากจะเป็น นักฟันดาบ ที่เก่งกาจ เขาไปหา อาจารย์สอนฟันดาบ ให้ช่วยสอนเขา ให้เป็นนักฟันดาบ เขาถาม อาจารย์ว่า จะใช้เวลาสักกี่ปี อาจารย์ ตอบว่า ประมาณ ๗ ปี เขาชักจะรวนเร เพราะว่า ๗ ปี นี้มันเป็นเวลา มิใช่น้อย ฉะนั้น เขาขอร้องใหม่ว่า เขาจะพยายาม ให้สุดฝีมือ สุดความสามารถ ในการศึกษา ฝึกฝน ทั้งกำลังกาย กำลังใจ ทั้งหมด ถ้าเป็นเช่นนี้ จะใช้เวลา สักกี่ปี อาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้น ต้องใช้เวลา สัก ๑๔ ปี" แทนที่จะเป็น ๗ ปี กลายเป็น ๑๔ ปี ฟังดู

หนุ่มคนนั้น ก็โอดครวญ ขึ้นมาว่า บิดาของเขาแก่มากแล้ว จะตาย อยู่รอมร่อแล้ว เขาจะ พยายาม อย่างยิ่ง ให้บิดา ของเขา ได้ทันเห็น ฝีมือ ฟันดาบของเขา ก่อนตาย เขาจะแสดง ฝีมือฟันดาบ ของเขา ให้บิดา ของเขา ชม ให้เป็นที่ชื่นใจ แก่บิดา เขาจะพยายาม อย่างยิ่ง ที่จะแสดง ความสามารถ ให้ทันสนองคุณ ของบิดา จะต้องใช้เวลา สักเท่าไร ขอให้อาจารย์ ช่วยคิดดูให้ดีๆ

ท่านอาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นต้อง ๒๑ ปี" นี้มันเป็นอย่างไร ขอให้นึกดู แทนที่จะ ลดลงมา มันกลายเป็น เพิ่มขึ้นเป็น ๒๑ ปี หนุ่มคนนั้น จะเล่นงาน อาจารย์ อย่างไร ก็ไม่ได้ เพราะเป็นอาจารย์ จะทำอย่างอื่น ก็ไม่ถูก นึกไม่ออก เพราะไม่มีใคร จะเป็นอาจารย์ สอนฟันดาบ ให้ดีกว่านี้ ซึ่งเป็น อาจารย์ ของประเทศ ดังนั้น เขาก็ ซังกะตาย อยู่ไปกะอาจารย์ ด้วยไม่รู้ว่า จะทำอย่างไรดีนั่นเอง

หลายวันต่อมา อาจารย์ก็ใช้ คนคนนี้ แทนที่จะเรียก ไปสอน ให้ใช้ดาบ ฟันดาบ กลับให้ทำครัว ให้ทำงานในครัว ให้ตักน้ำผ่าฟืน หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เรียกว่า ต้องทำงานในครัว

หลายวันล่วงมา วันหนึ่ง อาจารย์ผลุนผลัน เข้าไปในครัว ด้วยดาบสองมือ ฟันหนุ่มคนนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้สึกตัว อุตลุต เป็นการใหญ่ เขาก็ต้องต่อสู้ ไปตามเรื่อง ตามราว ของเขา ตามที่เขาจะสู้ได้ โดยใช้อะไร แทนดาบ หรือ ด้วยมือ เปล่าๆ หรืออะไรก็สุดแท้ สองสามอึดใจ แล้วก็เลิกกัน อาจารย์ ก็กลับไป แล้วต่อมา อีกหลายวัน เขาก็ถูกเข้า โดยวิธีนี้อีก และมีบ่อยๆ อย่างนี้เรื่อยไป ไม่กี่ครั้ง เขาก็กลายเป็น นักฟันดาบ ขึ้นมาได้ โดยไม่รู้สึกตัว จนกระทั่ง อาจารย์บอกว่า กลับบ้านได้ คือจบหลักสูตรแล้ว และปรากฏว่า ต่อมาหนุ่มคนนี้ ก็เป็น นักดาบ ลือชื่อ ของประเทศญี่ปุ่นไป นิทานของเขาก็จบ.

ท่านลองคิดดูว่า นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอย่างไร? ตอบสั้นๆ ที่สุดก็คือว่า การทำอะไร ด้วยความ ยึดมั่น ถือมั่น ว่า ตัวตน ว่าของ ของตนนั้น ใช้ไม่ได้ ไม่มีทางที่จะเป็น ผลดีเลย คือ ถ้าหนุ่มคนนี้ ยังคิดว่า กูจะดี กูจะเด่น อยู่ละก็ มีตัวกู เข้ามาฝึก เป็นตัวกู ที่ใหญ่เอาการ อยู่เหมือนกัน ทีนี้ ถ้ายิ่งจะทำให้ดีที่สุด กูจะทำให้เก่งที่สุด ให้เร็วที่สุด อย่างนี้ด้วยแล้ว ไอ้ตัวกู มันยิ่งขยาย โตออกไปอีก ถ้ายิ่งจะให้ทัน บิดาเห็น บิดาแก่มากจะตายแล้ว ตัวกู มันยิ่งพองมากออกไปอีก มันยิ่งเร่งร้อน ออกไปอีก อย่างนี้ จิตไม่เป็นสมาธิได้ จิตเต็มอัดอยู่ด้วยตัวกู กลัดกลุ้มไปด้วยตัวกูของกู ไม่เป็นจิตว่าง ไม่เป็นตัวสติปัญญา อยู่ในจิต ไม่สามารถจะมี สมรรถภาพเดิมแท้ของจิต ออกมาได้ เพราะมัน กลัดกลุ้ม อยู่ด้วยอุปาทาน ว่า ตัวกูของกู หรือ ความเห็นแก่ตัวนี้ มันเลยไม่เฉียบแหลม ไม่ว่องไว ไม่ active อะไรหมด ฉะนั้น ถ้าขืนทำไปอย่างนี้ จริงๆ แล้ว จะต้องใช้เวลา ๗ ปี หรือว่า ๑๔ ปี หรือว่า ๒๑ ปีจริงๆ

ขณะที่เขาอยู่ในครัวนั้น เขาไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกู ของกู กูจะเอาใน ๗ ปี หรือจะให้ทันบิดาเห็น อย่างนี้ไม่มีเลย กำลังเป็นจิตที่ว่างอยู่ ถึงแม้ว่า อาจารย์จะผลุนผลัน เข้าไปในลักษณะอย่างไร ปฏิภาณของจิตว่าง หรือ จิตเดิมแท้นี้ ก็มีมากพอ ที่จะต่อสู้ออกไปอย่างถูกต้องได้ มันเป็นการ เรียกร้องขึ้นมา หรือ ปลุกขึ้นมา จากหลับ ปลุกจิตอันนี้ ขึ้นมาจากหลับ ตามวิธีของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะ มาเป็นจิตที่ เบิกบานเต็มที่ ซึ่งต่อไป ก็เอาไปใช้ได้เลย เขาจึงเป็น ผู้สำเร็จหลักสูตร โดยวิธี ประหลาด นั้น ภายในไม่ถึง ๗ ปี หรือ ภายในไม่ถึงปี อย่างนี้เป็นต้น

เกี่ยวกับข้อนี้ อยากจะให้ท่าน ครูบาอาจารย์ สนใจที่จะนึกดูว่า ความรู้สึกที่เป็น ตัวตน หรือเป็นของตนนั้น อยู่ที่ตรงไหน? เหมือนอย่างว่า เราจะยิงปืน หรือ ยิงธนู หรือว่า ขว้างแม่น ในการกีฬาขว้างแม่น ถ้าจิตของผู้ขว้าง มีความรู้สึกเป็นตัวกูของกู เป็นชื่อเสียงของกู ชื่อเสียง ของโรงเรียนของกู ของมหาวิทยาลัยของกู รัวอยู่ในใจแล้ว ไม่มีวันที่จะ ขว้างแม่น หรือขว้างถูกได้ มันสั่นระรัว อยู่ด้วยตัวกู หรือของกูนี้ ทั้งนั้น ที่ถูกนั้น เมื่อมีความตั้งใจ ถูกต้อง ที่จะทำเพื่อเกียรติยศ ชื่อเสียง ของโรงเรียน หรือของอะไรก็ตาม แล้วเขาต้องลืมหมด ลืมแม้แต่ตัวกู โรงเรียนของกู มหาวิทยาลัยของกู เหลืออยู่แต่สติปัญญา และ สติสัมปชัญญะ ที่จะขว้างด้วย อำนาจสมาธิ เท่านั้น คือพูดตรงๆ ก็ว่า ขณะนั้น มีแต่จิตที่เป็นสมาธิ กับสติปัญญาเท่านั้น ตัวกู ของกู ไม่มีเลย มันจึงเป็นจิตเดิม เป็นจิตตามสภาพจิต มือไม้ไม่สั่น ใจไม่สั่น ประสาทไม่สั่น อะไรๆ ไม่สั่น ปรกติ เป็น active ถึงที่สุดแล้ว เขาจะขว้างแม่น เหมือนอย่างกะ ปาฏิหาริย์ นี้ขอให้เข้าใจอย่างนี้

หรือว่า ในการจัดดอกไม้ในแจกัน คนจัดจะต้องทำจิตให้ว่าง จากความเห็นแก่ตัวกู หรือชื่อเสียงของกู ตลอดถึงโรงเรียนของกู หมู่คณะ ของกู เสียก่อนแล้ว เสียบดอกไม้ ไปด้วยจิตว่าง จิตบริสุทธิ์ นั่นแหละ คือ สติปัญญา ล้วนๆ ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู เจืออยู่ ก็จะได้ แจกันที่สวยที่สุด ไม่เคยปรากฏ มาแต่ก่อน นี่เขาถือเป็นหลัก ของนิกายเซ็น ฉะนั้น ขอให้สนใจ ในการที่จะทำอะไร หรือมีชีวิตอยู่ ด้วยความ ไม่มีตัวกู ของกู มันยิ่งจำเป็นมาก สำหรับครูบาอาจารย์ ที่จะสอนเด็ก ให้ทำงาน ฝีมือดี ด้วยจิตใจ ที่ปรกติ ไม่สั่น ในระบบประสาท ไม่สั่น ในระบบของ ความคิดนึก หรือว่า เมื่อเด็กๆ จะสอบไล่ เมื่อเขารู้สึกตัว อยู่แล้วว่า จะต้องสอบได้แล้ว จะไปมัวห่วง กลัวจะสอบตก จะเสียชื่อ จะเสียเวลา ถ้าสอบไม่ได้ จะไปโดดน้ำตาย เป็นต้น จะต้องไปนึกทำไม นั่นเป็นเรื่องตัวกู ของกู เด็กคนนั้น จะต้อง ลืมสิ่งเหล่านั้น หมด และลืม แม้แต่กระทั่ง ตัวเอง คำว่า "ลืมตัวเอง" นี้ถ้าฟังไม่ดีแล้ว ก็จะไม่เข้าใจ แล้วจะรู้สึกเถียง แย้งขึ้นมาว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จริง เราลืมตัวเราเอง นี้ได้ ในลักษณะ หรือกรณีเช่น:

เด็กๆ ในขณะสอบไล่นั้น จะต้องลืมหมด แม้กระทั่งตัวเอง เหลืออยู่ในใจ แต่ว่า ปัญหาว่าอย่างไร มีใจความว่าอย่างไร แล้วคำตอบควรจะว่าอย่างไร ถ้าจิตใจ ว่างจากตัวกู ว่างจากของกูแล้ว วิชาความรู้ ต่างๆ ที่เคยสะสม มาตั้งแต่แรก เรียนนั้น จะมาหา พรู มาทีเดียว ให้เขาพบคำตอบว่า อย่างนั้น อย่างนี้ และถูกต้องที่สุด แต่ถ้าเขากลัดกลุ้ม อยู่ด้วยตัวกู ของกู แล้ว แม้เขาจะเคยเรียน มามากอย่างไร มันก็ไม่มา มันมีอาการ เหมือนกับ ลืม นึกไม่ออก นั่นแหละ แล้วมันจะ ระส่ำระสาย กระสับกระส่าย รวนเรไปหมด ก็เลยตอบ ไม่ได้ดี ถ้าสอบไล่ ด้วยจิตว่างนี้ จะได้ที่หนึ่ง หรือ ยิ่งกว่า ที่หนึ่ง เสียอีก ฉะนั้น เขาจึงมีการ สอนมาก ในเรื่องที่ว่า อย่าทำจิต ที่สั่นระรัว ด้วยตัวกู ของกู เพราะว่า การทำอย่างนั้น ยิ่งจะให้เร็ว มันจะ ยิ่งช้าที่สุด ตามชื่อของนิทานว่า "ยิ่งให้เร็ว มันยิ่งช้า" หรือ ที่เราจะพูดว่า จะเอาให้ได้ มันยิ่งจะไม่ได้เลย หรือว่า จะไม่เอาอะไรเลย มันยิ่งจะ ได้มาหมด คือ ไม่มีตัวเรา ที่จะเอาอะไรเลยแล้ว มันจะได้มาหมด
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 494

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ผมได้เสนอกระทู้ “วีไอกับเส้นทางธรรม”
เพื่อขอความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
โดยเฉพาะสำหรับตัวผมเอง และอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆวีไอด้วย

ผมขอกราบขอบคุณและอนุโมทนากับการให้ความรู้ด้วยการนำข้อคิดข้อเขียนทางธรรมมาแนะนำ
แต่เนื่องจากผมมีความรู้ทางปริยัติน้อย การให้ความรู้ด้วยภาษาที่อ่านยากสำหรับผม
ก็ทำให้การอ่านได้ประโยชน์ไม่เต็มที่

แต่ผมก็ยังอยากได้คำแนะนำ อยากได้ฟังประสบการณ์ของผู้ที่เดินผ่านเส้นทางนี้ไปก่อน
แต่อยากอ่านด้วยภาษาที่ผมเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ครับ
นึกว่าสงเคราะห์สำหรับวีไอที่อ่อนปริยัติแต่มีความปรารถนาที่จะเดินตามไปในเส้นทางธรรมครับ
เห็นกระทู้เงียบๆ ไปอีกรอบ และมา scan ดูกระทู้อีกรอบก็เห็นด้วยกับ อ. ว่า
ข้อคิดข้อเขียนที่ทุกท่านนำมานำเสนอในนี้ก็ดีๆ ทั้งนั้น สมควรอนุโมทนาทั้งสิ้น
แต่ว่าบางอย่างก็ยากเกินไป สำหรับบางคนที่ไม่มีพื้นฐาน ที่พอจะเข้าใจได้ ยิ่งอ่านไปก็อาจจะงงงวยได้
หลาย post ที่ยาวๆ หรือที่อ่านยากผมก็ไม่ได้อ่าน อันไหนที่ scan ดูแล้วไม่ไหว ผมก็ข้าม ไม่ไหวเหมือนกันครับ

จากใน web นี้ที่เป็นสังคมนักอ่าน นักวิเคราะห์ อยู่แล้ว จึงเห็นว่าการแนะนำหนังสือน่าอ่าน
ให้ไปอ่านกันเอาเองน่าจะเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไปได้มากกว่า
อาจจะหลุดไปจากกรอบหัวข้อกระทู้ไปบ้าง ก็ไม่น่าจะเป็นไร
เพราะเส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ก็ควรจะได้อ่านหนังสือธรรมไปคู่กับหนังสือการลงทุน ระหว่างการเดินทางบ้าง
แม้ว่าทางพุทธเราเน้นให้ปฏิบัติ โดยไม่ต้องอ่านตำราก็ตาม โดยเน้นให้อ่านและสังเกตจากใจที่ปฏิบัติไปเลย

ผมคิดอยู่นานว่าจะเขียนแนะนำหนังสือดีหรือเปล่า กลัวจะสอนจรเข้ให้ว่ายน้ำ
แต่คิดไปคิดมาก็น่าจะดีกว่าไม่ดี จึงขอแนะนำหนังสือธรรมะ ที่คิดเอาเองว่าน่าจะอ่านและเข้าใจได้ง่ายๆ
จำนวนสัก 16 เล่ม ตามจำนวนข้อในพระโสฬส 16 ข้อละกันครับ อาจจะเป็นสัปดาห์ละเล่ม

ลองดูสักเล่ม 2 เล่มก่อนว่ามีใครสนใจหรือเปล่า ถ้าสนใจก็คงจะลงให้ครบ
ผมเลือกไว้แล้วละ แต่อาจมีปรับเปลี่ยนไปบ้าง ถ้าไม่สนใจกันก็ข้ามๆ ไปครับ
เพราะธรรมะต้องมีคนสนใจด้วย ไม่มีคนสนใจ พูดไปสองไพเบี้ย

แล้วคงไม่ได้แนะนำอะไร หรือวิจารณ์หรืออธิบายหนังสืออะไรนะครับ จะลงแค่ชื่อและปกหนังสือ
อาจมีคำแนะนำนิดหน่อย พอให้เป็นพิธี
เพราะผมคงไม่มีความรู้ไปวิพากษ์อะไรได้ครับ หนังสือท่านแต่ละเล่มเป็นที่สุดอยู่แล้ว

แต่ถ้ายังสงสัยอะไรในหนังสือ ก็ถาม อ. google เอา หรือถามครูบาอาจารย์ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เอาเองได้ครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
naitai
Verified User
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 495

โพสต์

สวัดดีครับเพื่อนกัลยาณมิตรผมมีการบริหารธุรกิจแบบพุทธคิดว่ามีประโยชน์เพี่อนๆลองฟังดูนะครับผมก็อ่อนปริยัติเหมือนกันครับhttp://www.youtube.com/watch?v=4p4fsdT4Yug
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 496

โพสต์

ผมเป็นคนที่อ่านหนังสือธรรมะน้อยมาก คิดว่าชีวิตนี้น่าจะไม่เกิน 20 เล่ม โดยส่วนใหญ่เน้นปฏิบัติ

หนังสือธรรมะที่ผมรู้สึกว่ามีประโยชน์จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเสียส่วนใหญ่ ซึ่งที่เป็นประโยชน์จริงๆ นี่ก็มีจำกัดลงไปอีก

สวดมนต์นี่ก็สวดไม่เป็น เป็นแค่บทสั้นๆ 2-3 บท เอาไว้ใช้ทำความเคารพรัตนตรัยทำจิตให้สงบก่อนเริ่มปฏิบัติช่วงเช้า

ทุกวันนี้เริ่มปรับตารางการใช้ชีวิตใหม่ ให้เวลากับการปฏิบัติช่วงเช้าตั้งแต่ตี 3 ไปถึงเที่ยง หลังเที่ยงมาใช้ชีวิตทางโลกก็เลือกที่จะเสพเสวยโลกอย่างมีสตินิดนึง

การลงทุนจริงๆ แล้วถ้าเราเข้าใจสาระสำคัญกับการลงทุน จริงๆ วันนึงใช้เวลาไม่มาก แค่ 2-3 ชั่วโมงก็พอที่จะลงทุนประสบความสำเร็จได้

จริงๆ แล้วการลงทุนแนววีไอก็เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว เพราะ ถ้าเอาจริงๆ หุ้นแต่ละตัวที่เราถือจะถือนาน ไม่ต้องนั่งเฝ้าตลาด กิจการที่ดีๆ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเร็วอะไรมากมาย เราสามารถที่จะลงทุนแล้วปิดจอไปเป็นเดือนๆ โดยไม่ต้องทำอะไร

แต่เป็นกิเลส และวิธีการบริหารจัดการมากกว่าที่ทำให้ปฏิบัติธรรมได้ยาก

ถ้าหาใช้พอแต่ความเหมาะสม เลือกกลยุทธ์ การบริหารจัดการดีๆ ก็จะเอื้อต่อการปฏิบัติ จิตเข้าสู่ความสงบได้ง่าย ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าได้ แม้จะอยู่ในโลกของคนโลภ

ความสุขจากการได้กำไรหุ้นนั้นช่างน้อยนิดนัก เมื่อเทียบกับรสอันประณีตของธรรมะที่ผุดเกิดขึ้นในใจระหว่างการปฏิบัติ ทรัพย์สมบัติแม้จะมีเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน ก็ช่างน้อยนิดนัก เมื่อเทียบกับอริยทรัพย์ที่จะนำพามาซึ่งความร่มเย็นให้แก่จิตใจทั้งในชาตินี้ ในชาติหน้า ตลอดจนถึงพระนิพพาน

ขอเชิญชวนทุกท่านได้เข้ามาลิ้มลองรสชาติอันปราณีตของพระธรรมด้วยตนเอง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 497

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณ picatos ทุกประการครับ และขออนุโมทนาผลการปฏิบัติธรรมด้วยนะครับ

ผมก็เหมือนกับคุณ picatos สวดมนต์ได้ 2-3 บท ไม่ชอบสวดยาวๆ ปฏิบัติเลยดีกว่า
ผมสวดไว้แค่ระลึกพระรัตนตรัยและรวมสติ ว่าจะเริ่มปฏิบัติครับ
ถ้าจะสวดยาวๆ ก็แค่บททำวัตรเช้าเย็นแต่ต้องเปิดหนังสืออ่านตามแล้วครับ

อยากมีอิสระทางเวลาแบบคุณ picatos จะได้มีเวลาปฏิบัติมากขึ้น
แต่นี้งานประจำทางโลกกินเวลาไปหมดครับ

เท่าที่เป็นแฟนคลับติดตามคุณ picatos อยู่ หาคนเก่งๆ แบบคุณนี้ยากครับ
เก่งทั้งทางโลกและทางธรรม แค่ได้ฟังได้เห็นหรืออ่านอะไรครั้งสองครั้งก็เอาไปปฏิบัติและต่อยอดได้ด้วย เก่งมากครับ

ผมเป็นพวกอ่านแล้วอ่านอีก ฟังแล้วฟังอีก ปฏิบัติก็แล้ว ก็ยังไม่ถึงไหนครับ
ก็พยายามจัดสรรเวลาอยู่ครับและปรับทิศทางการลงทุนด้วย อยากได้มีเวลามาปฏิบัติมากขึ้นครับ

อยากให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติธรรมดูเช่นกัน เพราะธรรมนั้นพระพุทธเจ้าท่านเชื้อเชิญให้เราทำทดลองและพิสูจน์ผลด้วยตัวเองนะครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Mr.Viva
Verified User
โพสต์: 55
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 498

โพสต์

เมื่อผ่านมาไม่นานนี้ ผมมีเรื่องที่ทำให้คิดไม่ตกถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ จึงอยากหาความสงบให้กับใจตนเอง
ก็นึกถึงครูบาอาจารย์ที่เคยเห็นเคยสัมผัสมา ก็เลยไปเจอคลิปนี้เป็นประโยชน์มาก จึงอยากขอแชร์ให้ทุกท่านครับ
[youtube]tbdpB_IGfIg[/youtube]
ปล.ยาวสักนิด แต่เชื่อว่าได้ประโยชน์มาก
อยากจะ"บู๊"ให้สมชื่อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 499

โพสต์

อนุโมทนากับคุณ Dech ด้วยนะครับ

จริงๆ แล้ว การได้อ่าน ได้ฟัง ได้ปฏิบัติทุกครั้งที่เราทำมันมีความก้าวหน้าของมันตลอดนะครับ เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่ได้รวดเร็วดังใจอย่างที่เราอยากได้ หรือไม่เราก็โดนกิเลสของเราล่อหลอกให้เราท้อถอย

การตั้งเป้าสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ตั้งใจอ่านให้จบเล่มนี้ ตั้งใจฟังให้จบกัณฑ์นี้ ตั้งใจปฏิบัติให้จบบัลลังค์นี้ เหล่านี้เป็นการสะสมเล็กสะสมน้อย เอาชนะกิเลสให้ได้มากขึ้นอีกนิด เดินหน้าให้มากขึ้นอีกสักก้าว เพื่อที่ว่าวันหนึ่งจะไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้

คล้ายๆ กับการลงทุน หรือปีนเขา ถ้าเราตั้งเป้าไว้สูง แล้วคอยมองเป้าอยู่บ่อยๆ บางทีมันก็ท้อนะครับ มีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้ทีละหนึ่งขณะ อ่านทีละหนึ่งตัวอักษร ฟังทีละหนึ่งกระทบ มีความสุขกับการค่อยๆ ก้าวเดิน สร้างนิสัยปัจจัยที่ดี วันหนึ่งเหตุเหล่านี้จะให้ผลอย่างให้หลวงในอนาคต จากที่มีภาระทางโลกมาก ก็จะมีภาระทางโลกน้อยลง ของพร่องที่เราขาดก็จะค่อยๆ ถูกเติมด้วยเหตุใหม่ที่เราสร้าง วันใดวันหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง เหตุปัจจัยที่เราได้เพียรสร้างในวันนี้ก็ออกดอกออกผล ให้ปฏิบัติได้ง่ายขึ้นๆ เห็นผลมากขึ้นๆ

สำคัญก็คือก้าวเล็กๆ ก้าวนี้แหละครับ

ขออนุโมทนา และเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ ร่วมเส้นทางสายนี้ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
เกล้า
Verified User
โพสต์: 1165
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 500

โพสต์

ขอเข้ามาร่วมอนุโมทนาบุญกับพี่ๆทุกท่านด้วยครับ...และก็รู้สึกดีใจครับที่ช่วงหลังๆมานี้นักลงทุนหลายท่านให้ความสำคัญในการปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้น...เรื่องของธรรมถ้าไม่ได้ทำก็ไม่ได้มา... :D
ควรทุ่มเทเจริญให้มาก..ในงานที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง..
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 501

โพสต์

หนังสือธรรมในร้านหนังสือเดียวนี้มีเยอะมากๆ ซึ่งผมว่าเยอะเกินไปแล้วด้วยซ้ำ
ส่วนมากในร้าน บอกว่าเป็นหนังสือศาสนาพุทธ สอนโดยพระสงฆ์หรือคนที่พอรู้ธรรม
ผม scan ดูเห็นว่าส่วนใหญ่เป็นหนังสือนิยายหรือหนังสือสอนวิธีการเป็นอยู่ในโลกทั่วไปมากกว่านะครับ
แต่ก็อาจเหมาะกับคนที่มีหลากหลายประเภทครับ บางคนแค่ระดับศีลก็ยังไม่มี ก็อ่านแบบนั้นไปก่อน

หาหนังสือที่เข้าถึงหรือสอนศาสนาแท้ๆ ยากมาก
ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้ ปกบอกว่าเป็นบันไดขั้นแรกสำหรับการศึกษาพุทธศาสนา ผมว่าเล่มนี้ใช่เลย
หนังสือดีราคาถูกมากๆๆ หลักสิบบาท
เล่มนี้ เล่มเล็กๆ บางๆ ผมว่ามีขายแทบทุกร้านหนังสือนะครับ ปกท่านก็เปลี่ยนไปมีหลายแบบ
คู่มือมนุษย์ ท่านพุทธทาส_1.jpg
หลายๆ คนน่าจะเคยได้อ่านแล้ว เป็นหนังสือที่ผมได้อ่านมานานแล้ว อ่านไปได้เรื่อยนะครับ
หยิบมาอ่านใหม่ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมตลอด

จริงมีหลายฉบับ ทั้งหนาและย่อมา
ผมว่าอ่านแบบไหนก็เหมือนกันครับ จริงๆ ถ้าปฏิบัติตามท่านได้
เล่มแรกเล่มเดียวก็เพียงพอแล้วนะครับ ไม่ต้องอ่านเยอะหรอกครับ
ผมซื้อแจกไปเยอะเหมือนกัน เพราะทั้งดีและราคาถูก
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 502

โพสต์

คู่มือมนุษย์

ผมก็เคยพิมพ์แจกเหมือนกันครับ อ่านง่าย เข้าใจง่าย
เป็นอีกเล่มที่ทำให้รู้ว่า ธรรมะง่ายต่อการเข้าใจครับ


:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
tanoppan
Verified User
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 503

โพสต์

:!: มนุษย์เป็นสิ่งทีแปลกที่สุดในโลก :?: :?: :?:

:!: เขายอมสละสุขภาพเพื่อทำให้ได้เงินมา
:!: แล้วก็สละเงินเพื่อให้ได้สุขภาพกลับคืนมา
:!: เขาห่วงอนาคตมา
:!: จนไม่มีความสุขกับปัจจุบัน
:arrow: ผลคือ เขาไม่อยู่ทั้งปัจจุบันและอนาคต
:?: เขาอยู่เหมือนจะไม่มีวันตาย
:idea: และสุดท้ายเขาก็ตายอย่างไม่เคยมีชีวิตอยู่จริง

DILAILAMA (องค์ทะไลลามะ)
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 504

โพสต์

วันนี้แนะนำเล่มนี้ครับ ชีวิตของข้าพเจ้าและคำบรรยายวิชาพุทธศาสตร์
ของท่านปัญญา หาซื้อได้ที่วัดชลประทาน แถวปากเกร็ดนะครับ เล่มละ 100 บาท น่าจะราคาเดิมนะครับ
ที่อื่นๆ ไม่แน่ใจว่าที่ไหนจะมีครับ วัดในสายของท่านหรือของท่านพุทธทาส อาจจะมีครับ

อ่านง่ายมากๆ ราคาก็ถูกและดีด้วย เนื้อหามี 12 บท น่าสนใจมาก
ผมไม่เคยพบท่านหรอกครับ เคยกราบแต่ร่างท่าน ตอนสิ้นท่านแล้ว
เนื้อหาในหนังสือ ประวัติท่านเอง ท่านเล่าไว้ตั้งแต่ปี 2514
ส่วนคำสอนอื่นเทศน์สอนไว้ตอนปลายปี 2516 ถึงต้นปี 2517 นะครับ
ชีวิตของข้าพเจ้า ลพ ปัญญา_1.jpg
เป็นประวัติหลวงพ่อบทเดียว ที่เหลือเป็นพุทธประวัติและคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้า
ท่านเล่าตั้งแต่ประวัติพุทธบิดามารดา จนวันประสูติ เหตุให้บวช ขั้นตอนการตรัสรู้ ถึงปรินิพพานครับ
การได้ศิษย์ชุดแรก ปัญจวัคคีย์ พระยสและเพื่อน
ท่านอุรุเวลกัสสปะ น้องๆ และศิษย์ กลุ่มนี้บูชาไฟ ท่านก็สอนตามจริยสอนอาทิตตปริยายสูตร
ได้อัครสาวกซ้ายขวา พระสารีบุตร โมคคัลลานะและคณะ สอนเรื่องวันมาฆบูชา
และอื่นๆ อีกเยอะ ครบหัวใจสำคัญที่พุทธศาสนิกทั้งหลายควรรู้ จนถึงสาวกรูปสุดท้ายก่อนท่านปรินิพพาน
ท่านเล่าและเอาใจความแบบย่อๆ เอาแต่สาระมาให้เราครับ แนะนำมากๆ ครับ อ่านสนุกมากด้วย

มีบทตามนี้
1 ชีวิตของข้าพเจ้า
2 มูลเหตุของศาสนา
3 พุทธประวัติ
4 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
5 อนัตตลักขณสูตร
ุ6 อนุปุพพิกถา คุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกาและมงคลสูตร
ึ7 การประดิษฐานพระพุทธศาสนา
8 พุทธกิจและโอวาทปาฏิโมกข์
9 อัฏฐังคิกมรรค
10 สัปปุริสธรรม
11 กิเลสและอุปกิเลส
12 ปรินิพพาน

เล่มนี้เล่มเดียวพอแล้วครับ มีครบทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 505

โพสต์

วันนี้แนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ จำไม่ได้ว่าเล่มละกี่บาท น่าจะ 100-150 ประมาณนี้ครับ
พลิกโลกเหนือความคิด ลพ เทียน.jpg
ของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ แห่งวัดสนามใน บางกรวย นนทบุรี ใกล้ๆสถานีรถไฟบางบำรุ ครับ
เดี่ยวนี้วัดไปง่ายแล้วครับ ถนนตัดผ่านแล้ว ไม่ไกลจากห้างตั้งฮั้วเส็ง บางพลัด

หลายคนอาจเคยได้ยิน และสงสัยว่าหลวงพ่อและวัดในสายท่าน สอนอะไร ทำอะไรแปลก
สอนปฏิบัติธรรมอะไร ให้พลิกมือไปพลิกมือมา หรือกระดิกนิ้วไปมา จะรู้ธรรมได้อย่างไร ให้ทำแค่นี้

อ่านแล้วจะรู้ว่าท่านไม่ได้สอนแค่นั้้น คำสอนท่านมีมากกว่านั้นเยอะ

การพลิกมือไปพลิกมือมา ก็คือ 1 ในสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง ให้มาดูที่ฐานกาย ในข้อดูอิริยาบท
ลองปฏิบัติดูตามท่านดูได้ครับ ว่าจะรู้ธรรมได้จริงหรือเปล่า อาจจะเหมาะกับบางท่าน ปฏิบัติก็มีหลายวิธี

ลองหาอ่านดูนะครับ อาจจะหายากหน่อย ที่วัดน่าจะมี
วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2557 นี้ ที่วัดก็มีงานกฐินด้วยนะครับ เชิญไปร่วมได้ งานเล็กๆ สงบๆ จัดง่ายๆ ไม่มีพิธีมากมายครับ ลองไปดูได้ครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 506

โพสต์

Dech เขียน:เราปฏิบัติกรรมฐาน เพื่ออะไรครับ
ธรรมะนี้เป็นไปเพื่อการละขาดซึ่งภพครับ
Dech เขียน:ในเมื่อก่อนปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ก็บอกไว้หมดแล้ว
คนในยุคนี้ก่อนทำ ก็รู้หมดแล้วว่าทำแล้วถ้าได้ผล สุดท้ายผลจะออกมายังไง

คำตอบสำหรับคำถามหรือผลจากการปฏิบัติก็มีเฉลยแล้วทั้งนั้น

เรามาพิจารณาผลเลยได้หรือเปล่าครับ
ผลเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งครับ..ด้วยการเดินมรรค
ถ้าไม่เดินมรรคก็ไม่มีผลสิครับ :D

[๓๘๗] ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑
ธรรม ๒ เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ
[๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือสามัญผล ๔ ได้แก่
โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ธรรม ๔ อย่าง
เหล่านี้ควรกระทำให้แจ้ง ฯ

..ทางอันเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อรู้จักการถอนซึ่งลูกศร
ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก
ผู้มุ่งปฏิบัติ พึงพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร...

Credit: พระพุทธเจ้า
ไม่ประมาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 522
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 507

โพสต์

ภพ เป็นแดนเกิด หรือก็คือ กรรม (เป็นกุศล หรือ อกุศล)
แล้วก็จบลงที่ความทุกข์ (แตกสลาย ดับไป) และอาการที่เกิดจากความทุกข์

เหตุเกิดแห่ง กรรม (หรือก็คือเจตนา) คือ สัมผัส หรือ ผัสสะ ทาง ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น
ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจได้รู้สึก เมื่อกระทบแล้ว เกิดอะไรขึ้นตามมา (เห็นทันไหม)
ความพอใจ ไม่พอใจ หรือ เฉยๆ ใช่หรือไม่ ลองตรวจสอบดู แล้วหลังจากนั้นละ เกิดอาการทางจิตอย่างไรต่อไป
เกิดความอยาก ไม่อยาก ความมี ความเป็น ความเห็น แล้วลงมือกระทำอะไรไหม แล้วเกิดผลอย่างไร เหล่านี้คือเหตุเกิดแห่งทุกข์

การละขาดซึ่งภพ ก็ทำให้ กรรม หมดลง กรรมเก่าคือขันธ์ห้าที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ทำให้เรารู้สึกต่ออารมณ์ได้ (อารมณ์คือสิ่งที่จิตเข้าไปรับรู้)
นั่นเป็นเหตุให้ เกิดภพ เกิดกรรม(ใหม่) ตาม อนุสัย หรือความเคยชิน ที่ติดตัวมา ทำให้เรา เพลิน พอใจ อยาก ไปกับสิ่งที่เข้ามา
ในจิต หรือ ในการรับรู้ เราก็จะทำกรรม(ใหม่)ที่เป็น กุศลบ้าง หรือ อกุศลบ้าง (กุศล-อกุศลกรรมบทสิบ) นั่นก็คือ กรรม(ในอดีต)ได้ส่งผลแล้ว
ในขณะที่จิตเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น จะดี หรือ ไม่ดี ก็ตาม เราก็ต้องรับผลกรรมนั้นไป
ท่านจึงให้ตรวจสอบเสมอเวลาจะทำอะไร ว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่นเสมอๆ

ทีนี้ ถ้าหมดกรรม หรือ ละขาดซึ่งภพได้แล้วจะเป็นอย่างไร ท่านก็ได้ตรัสรู้ว่า การเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามันมีมายาวนาน ทำทั้งดี และไม่ดี
ส่งผลให้เราได้ดีก็มีมาก ลำบากก็มีมาก หมุนวนเวียน ไม่จบไม่สิ้น ไม่มีทางออก คงไม่มีใครอยากเกิดมา แล้วลำบาก เจ็บไข้ พิการ ยากจนเข็ญใจ
หรือเกิดมาซึ่งความเป็น สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย (แล้วท่านก็แสดงเหตุที่ทำให้เกิด ให้เป็นอย่างนั้นไว้ ว่าเกิดจากการทำกุศล-อกุศลอย่างไร)

การละกรรมเก่า ละการเกิดภพ และอกุศลต่างๆในการเกิดคราวก่อนที่ยาวนานจนหาประมาณไม่ได้นั้น
ท่านก็ได้แสดงไว้ใน มรรคมีองค์แปดนั่นเอง ผลที่ทำก็เกิดในปัจจุบัน ในทุกขณะจิต กรรมเก่าที่เป็นอกุศลจึงละไปๆ
กรรมใหม่ที่เป็นกุศลจึงเกิดขึั้นๆแทนที่ ทำไปเรื่อยๆ ท่านอุปมาอุปไมย ถึง คลองใหญ่น้อย สุดท้าย ก็ไหลลงไปรวมอยู่มหาสมุทร

และถึงแม้ว่าเราไม่รู้ว่าเราเคยทำหรือเคยเป็นอะไรมาบ้าง แต่ก็ไม่สำคัญว่า ถ้าเราทำกรรมใหม่ที่เป็นกุศลนั้นคือมรรคมีองค์แปด
กรรมที่เป็นอกุศลจะไม่มีทางเกิดได้เลย มีแต่กรรมที่เป็นกุศลจะเกิดขึ้นๆ ทำให้เราได้รับกรรมที่เป็นกุศลต่อไป
เปรียบเหมือนความเค็มของเกลือหยิบมือในแก้วน้ำ เปรียบเทียบกับเกลือหยิบมือในแม่น้ำ น้ำที่ในจะเค็มกว่ากัน
ถึงแม้ว่าเราไม่รู้ว่าเราทำอกุศลอะไรมาบ้าง แต่ถ้าเราเจริญมรรคมีองค์แปด ก็เหมือนน้ำที่มากขึ้น ทำให้เกลือไม่เค็มอีกต่อไป

จนสุดท้าย เราละกรรม ละภพได้ทั้งหมด ทั้งที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล
นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่ๆไม่มี ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นที่ๆสัตว์ทั้งหลายควรไปให้ถึง

ปล. อยากแนะนำให้ศึกษาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ก่อน แล้วจะเข้าใจอะไรอีกเยอะมาก
คำสอนของท่าน จะแยกแยะ-แจกแจงสิ่งทีเกี่ยวข้อง เรียงลำดับจากความสำคัญจากมากมาน้อย-น้อยมามาก หยาบมาละเอียด-ละเอียดมาหยาบ
และเรียงตามลำดับว่าอะไรเกิดขึ้นก่อน-หลัง ถ้าไม่เข้าใจ ท่านก็จะนิยาม ความหมายไว้ ถ้ายังไม่เข้าใจความหมาย
ท่านจะมีอุปมาอุปไมยไว้ ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ให้อ่านไปเรื่อยๆ เราจะสามารถเชื่อมโยงธรรมของท่านได้
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 508

โพสต์

Tibular เขียน:ภพ เป็นแดนเกิด หรือก็คือ กรรม (เป็นกุศล หรือ อกุศล)
แล้วก็จบลงที่ความทุกข์ (แตกสลาย ดับไป) และอาการที่เกิดจากความทุกข์

เหตุเกิดแห่ง กรรม (หรือก็คือเจตนา) คือ สัมผัส หรือ ผัสสะ ทาง ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น
ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจได้รู้สึก เมื่อกระทบแล้ว เกิดอะไรขึ้นตามมา (เห็นทันไหม)
ความพอใจ ไม่พอใจ หรือ เฉยๆ ใช่หรือไม่ ลองตรวจสอบดู แล้วหลังจากนั้นละ เกิดอาการทางจิตอย่างไรต่อไป
เกิดความอยาก ไม่อยาก ความมี ความเป็น ความเห็น แล้วลงมือกระทำอะไรไหม แล้วเกิดผลอย่างไร เหล่านี้คือเหตุเกิดแห่งทุกข์

การละขาดซึ่งภพ ก็ทำให้ กรรม หมดลง กรรมเก่าคือขันธ์ห้าที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ทำให้เรารู้สึกต่ออารมณ์ได้ (อารมณ์คือสิ่งที่จิตเข้าไปรับรู้)
นั่นเป็นเหตุให้ เกิดภพ เกิดกรรม(ใหม่) ตาม อนุสัย หรือความเคยชิน ที่ติดตัวมา ทำให้เรา เพลิน พอใจ อยาก ไปกับสิ่งที่เข้ามา
ในจิต หรือ ในการรับรู้ เราก็จะทำกรรม(ใหม่)ที่เป็น กุศลบ้าง หรือ อกุศลบ้าง (กุศล-อกุศลกรรมบทสิบ) นั่นก็คือ กรรม(ในอดีต)ได้ส่งผลแล้ว
ในขณะที่จิตเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น จะดี หรือ ไม่ดี ก็ตาม เราก็ต้องรับผลกรรมนั้นไป
ท่านจึงให้ตรวจสอบเสมอเวลาจะทำอะไร ว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่นเสมอๆ

ทีนี้ ถ้าหมดกรรม หรือ ละขาดซึ่งภพได้แล้วจะเป็นอย่างไร ท่านก็ได้ตรัสรู้ว่า การเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามันมีมายาวนาน ทำทั้งดี และไม่ดี
ส่งผลให้เราได้ดีก็มีมาก ลำบากก็มีมาก หมุนวนเวียน ไม่จบไม่สิ้น ไม่มีทางออก คงไม่มีใครอยากเกิดมา แล้วลำบาก เจ็บไข้ พิการ ยากจนเข็ญใจ
หรือเกิดมาซึ่งความเป็น สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย (แล้วท่านก็แสดงเหตุที่ทำให้เกิด ให้เป็นอย่างนั้นไว้ ว่าเกิดจากการทำกุศล-อกุศลอย่างไร)

การละกรรมเก่า ละการเกิดภพ และอกุศลต่างๆในการเกิดคราวก่อนที่ยาวนานจนหาประมาณไม่ได้นั้น
ท่านก็ได้แสดงไว้ใน มรรคมีองค์แปดนั่นเอง ผลที่ทำก็เกิดในปัจจุบัน ในทุกขณะจิต กรรมเก่าที่เป็นอกุศลจึงละไปๆ
กรรมใหม่ที่เป็นกุศลจึงเกิดขึั้นๆแทนที่ ทำไปเรื่อยๆ ท่านอุปมาอุปไมย ถึง คลองใหญ่น้อย สุดท้าย ก็ไหลลงไปรวมอยู่มหาสมุทร

และถึงแม้ว่าเราไม่รู้ว่าเราเคยทำหรือเคยเป็นอะไรมาบ้าง แต่ก็ไม่สำคัญว่า ถ้าเราทำกรรมใหม่ที่เป็นกุศลนั้นคือมรรคมีองค์แปด
กรรมที่เป็นอกุศลจะไม่มีทางเกิดได้เลย มีแต่กรรมที่เป็นกุศลจะเกิดขึ้นๆ ทำให้เราได้รับกรรมที่เป็นกุศลต่อไป
เปรียบเหมือนความเค็มของเกลือหยิบมือในแก้วน้ำ เปรียบเทียบกับเกลือหยิบมือในแม่น้ำ น้ำที่ในจะเค็มกว่ากัน
ถึงแม้ว่าเราไม่รู้ว่าเราทำอกุศลอะไรมาบ้าง แต่ถ้าเราเจริญมรรคมีองค์แปด ก็เหมือนน้ำที่มากขึ้น ทำให้เกลือไม่เค็มอีกต่อไป

จนสุดท้าย เราละกรรม ละภพได้ทั้งหมด ทั้งที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล
นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่ๆไม่มี ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นที่ๆสัตว์ทั้งหลายควรไปให้ถึง

ปล. อยากแนะนำให้ศึกษาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ก่อน แล้วจะเข้าใจอะไรอีกเยอะมาก
คำสอนของท่าน จะแยกแยะ-แจกแจงสิ่งทีเกี่ยวข้อง เรียงลำดับจากความสำคัญจากมากมาน้อย-น้อยมามาก หยาบมาละเอียด-ละเอียดมาหยาบ
และเรียงตามลำดับว่าอะไรเกิดขึ้นก่อน-หลัง ถ้าไม่เข้าใจ ท่านก็จะนิยาม ความหมายไว้ ถ้ายังไม่เข้าใจความหมาย
ท่านจะมีอุปมาอุปไมยไว้ ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ให้อ่านไปเรื่อยๆ เราจะสามารถเชื่อมโยงธรรมของท่านได้

-0- ขอบคุณค้าบ
ไม่ประมาท
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 509

โพสต์

:doi: :doi: :doi:

"ยังขันติเป็นไปโดยอนุโลม"

อุบาสกเป็นคนธาตุทึบ ถูกพระเถระกล่าวอย่างนั้นมีความสำคัญ
017 ว่า " อกุศลไม่มีแก่เรา " จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอท่าน
018 จงกล่าวธรรมเถิด. " อุบาสกนั้น เมื่อพระเถระทำอนุโมทนาอยู่, มีจิต
019 มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ฟังธรรมอยู่ ยังขันติเป็นไปโดยอนุโลม (แก่อริย-
020 สัจ) ภายในแห่งโสดาปัตติมรรค ให้บังเกิดแล้ว.
แม้พระเถระ กระทำ
021 อนุโมทนาแล้วก็หลีกไป.
พระศาสดา เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
010 พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น
011 กราบทูลว่า " ด้วยถ้อยคำชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้น
012 บังเกิดในดุสิตบุรี. " ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า " พระเจ้าข้า พระองค์
013 ตรัสอะไร ? บุรุษนั้นฆ่ามนุษย์เท่านี้สิ้นเวลาเท่านี้ แล้วบังเกิดใน
014 วิมานดุสิต. "
015 พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย, บุรุษนั้นได้
016 กัลยาณมิตรผู้ใหญ่, เขาฟังธรรมเทศนาของสารีบุตร ยังอนุโลม-
017 ญาณ
ให้บังเกิดแล้ว เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว บังเกิดในวิมานดุสิต "
018 ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
019 " บุรุษผู้ฆ่าโจรในเมือง ฟังคำเป็นสุภาษิตแล้ว
020 ได้อนุโลมขันติ ไปสู่เทวโลกชั้นไตรทิพย์ ย่อม
021 บันเทิงใจ. "

141

001 ภิกษุ. " พระเจ้าข้า ธรรมดาอนุโมทนากถามีกำลัง, บุรุษ
002 นั้นกระทำอกุศลกรรมไว้มาก, เขายังคุณวิเศษให้บังเกิดด้วยเหตุเท่า
003 นั้นอย่างไรได้ ? "
004 พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่า
005 ถือประมาณแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วว่า ' น้อยหรือมาก ' เพราะว่า
006 แม้วาจาคำเดียวที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้ "
เมื่อจะทรง
007 สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
008 " หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็น
009 ประโยชน์ไซร้, บทที่เป็นประโยชน์ บทเดียว
010 ซึ่งบุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า. "

011 [ แก้อรรถ ]
012 บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสมปิ เป็นคำสำหรับกำหนด.
013 อธิบายว่า " แม้หากว่าวาจาที่เขากำหนดด้วยตั้งพันอย่างนี้ คือ ๑ พัน
014 ๒ พันไซร้, ก็วาจาเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ คือ
015 ประกอบด้วยบททั้งหลายที่ไม่เป็นประโยชน์ อันประกาศแต่เรื่อง
016 พรรณนาอากาส พรรณนาภูเขา และพรรณนาป่าเป็นต้น ไม่แสดง
017 นิพพาน มีมากเพียงใด; ก็เป็นวาจาชั่วนั่นแหละ เพียงนั้น. "
018 สองบทว่า เอกํ อตฺถปทํ ความว่า ส่วนบุคคลฟังบทใด ที่
019 เป็นประโยชน์แม้บทเดียวเห็นปานนี้ว่า " นี้กาย, นี้สติไปในกาย,
020 วิชา ๓ เราตามบรรลุแล้ว, คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เรากระทำ
021 แล้ว. " ย่อมสงบระงับ ด้วยการสงบระงับ กิเลสมีราคะเป็นต้นได้,


142

001 บทนั้น สำเร็จประโยชน์ ประกอบด้วยนิพพาน คือแสดงขันธ์ ธาตุ
002 อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสติปัฏฐาน แม้บทเดียว ยัง
003 ประเสริฐกว่าโดยแท้.
004 ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมี
005 โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
006 เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง จบ.
http://palapanyo.com/files/tpd/fcontent ... 040139.txt


.........................................................................................................................



...***...
อนุโลมขันติ
..***...
ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑
เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑ เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑
เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑
เป็นโทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็น มูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑
เป็นของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความ เกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑
เป็นของมีความคับแค้นใจเป็น ธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... de=bracket


..***...


...................................

อนุโลมิกขันติ

�����

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร


ข้อความสมบูรณ์มีศัพท์บางคำที่อาจเขียนผิด หน้า 2-3

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

]

บัดนี้จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ได้แสดงขันติมาครั้งหนึ่งจะแสดงต่อไป ขันติที่จะแสดงต่อไปนี้มีความหมายในทางเพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ ขันติดังกล่าวนี้เรียกว่า อนุโลมิกขันติ ขันติที่เป็นไปโดยอนุโลม คืออนุโลมต่อความเห็นชอบ ก็คืออนุโลมอริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เพื่อกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ขันติดังกล่าวนี้เป็นขันติที่มีความหมายเป็นพิเศษกว่าขันติทั่วๆ ไป แม้ตามที่ได้แสดงอธิบายแล้ว และได้มีความหมายในทางเดียวกัน กับขันติที่ตรัสไว้ในโอวาทปาติโมกข์ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือ ตีติกขา ความทนทาน เป็นบรมตบะ คือเป็นธรรมะที่เผากิเลสอย่างยิ่ง เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดังที่ตรัสต่อไปว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธะทั้งหลายกล่าวนิพพานว่าเป็นอย่างยิ่ง ขันติเป็นบรมตบะ ดั่งนี้ จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้อีกว่า ขันติ พลัง วยะ ตินัง ขันติเป็นกำลังของนักพรต หรือผู้บำเพ็ญพรตทั้งหลาย ดั่งนี้

ตีติกขาขันติ

อันขันติดังกล่าวว่าตีติกขาขันติ ในโอวาทปาติโมกข์ หรือ อนุโลมิกขันติ ที่ยกขึ้นมาแสดงในวันนี้ จึงมีความหมายว่าเป็นความอดทน เป็นความทนทาน ต่ออารมณ์ทั้งหลาย คืออารมณ์ คือรูปที่เห็นทางตา อารมณ์คือเสียงที่ได้ยินทางหู อารมณ์คือกลิ่นที่ได้ทราบทางจมูก อารมณ์คือรสที่ได้ทราบทางลิ้น อารมณ์คือสิ่งถูกต้องที่ได้ทราบทางกาย อารมณ์คือธรรมะอันได้แก่เรื่องราวที่ได้รู้ได้คิดทางมโนคือใจ

อดทนต่ออารมณ์เหล่านี้เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งราคะความติดใจยินดีก็มี เป็นที่ตั้งแห่งโทสะความโกรธแค้นก็มี เป็นที่ตั้งแห่งโมหะความหลงก็มี เมื่อเป็นดั่งนี้จึงเกิดราคะโทสะโมหะ หรือว่าโลภโกรธหลงขึ้น ไหลเข้าสู่ใจหรือจิต เพราะฉะนั้น อดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย จึงมีความหมายถึงอดทนต่อกิเลสทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นจากอารมณ์นั้นๆ ด้วย

บรมตบะ เครื่องแผดเผากิเลส

ขันติที่เป็นอนุโลมขันติหรืออนุโลมิกขันติ จึงมีความหมายถึงความอดทนต่ออารมณ์ ต่อกิเลสดังกล่าว

เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นบรมตบะ คือเป็นเครื่องแผดเผากิเลส ผู้ที่ปฏิบัติขันติ ฝึกจิตใจให้มีความอดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย ต่อกิเลสทั้งหลาย ย่อมสามารถเผากิเลสทั้งหลายได้ ดับกิเลสทั้งหลายได้ เช่นเมื่อความโลภบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความโลภ หรือราคะความติดใจยินดีบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของราคะ ก็มีความอดทน ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของโลภะหรือราคะ เมื่อความอดทนนี้มีกำลังที่แรงกว่ากำลังของกิเลส ก็ชนะกิเลสได้ กิเลสก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป

เมื่อโทสะบังเกิดขึ้นก็เช่นเดียวกันมีความอดทนต่อโทสะ ต่ออารมณ์ของโทสะ ไม่ยอมแพ้อำนาจของโทสะ และเมื่อความอดทนนี้มีกำลังกว่า โทสะกับอารมณ์ของโทสะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาสิ้นไป โมหะก็เช่นเดียวกัน ความหลงถือเอาผิด หลงติดอยู่ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความหลง มีความอดทนต่อความหลง ความติด และอารมณ์ของความหลงนั้น เมื่อความอดทนมีกำลังก็เอาชนะโมหะได้ โมหะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป

ขันติที่ประกอบด้วยปัญญา

แต่ในการปฏิบัติทำขันติคือความอดทนนี้เมื่อประกอบไปด้วยกับการปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ในปัญญา ก็ทำให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ขึ้นมาได้ ขันติที่ประกอบด้วยปัญญานับว่าเป็นยอดของขันติที่ประกอบด้วยสมาธิด้วยศีล แต่ว่าก็ต้องอาศัยการปฏิบัติทั้งในศีลทั้งในสมาธิทั้งในปัญญาประกอบกันไป ทั้ง ๓ นี้มีปัญญาเป็นยอด แต่เมื่อมียอดก็ต้องหมายความว่าต้องมีต้นมีรากด้วย ศีลก็เหมือนอย่างราก สมาธิก็เหมือนอย่างต้น ปัญญาก็เหมือนอย่างยอด เมื่อเทียบกับต้นไม้ ฉะนั้น แม้จะยกยอดขึ้นมาแสดง ก็ต้องหมายความว่าต้องมีลำต้นต้องมีรากอยู่ด้วยกัน เป็นแต่เพียงต้องการจะชี้ว่าปัญญาเป็นยอด

เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า ปัญญาเห็นอย่างไรจึงจะเป็นฐานะที่ว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ได้ตรัสแสดงไว้ว่า เมื่อยังเห็นสังขารอะไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข เห็นธรรมะอะไรๆ คือทั้งส่วนที่เป็นสังขารทั้งส่วนที่เป็นวิสังขาร โดยความเป็นอัตตาตัวตน เมื่อยังเห็นดั่งนี้อยู่ก็ไม่เป็นฐานะที่จะชื่อว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ และเมื่อไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ก็ไม่เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่ความเป็นชอบ คือหยั่งลงสู่อริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อยังไม่หยั่งลงสู่ความเป็นชอบ หรือว่าสู่ สัมมัตตนิยาม คือความกำหนดแน่โดยความเป็นชอบ ก็ไม่เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย

ต่อเมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ เห็นธรรมอะไรๆ ทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน จึงเป็นฐานะที่จะชื่อว่าประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ และเมื่อประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ก็เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยาม คือความกำหนดแน่แห่งความเป็นชอบ คือสู่นิยามแห่งอริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ก็เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย

เมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์

อนึ่งเมื่อยังเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ก็เช่นเดียวกัน ไม่เป็นฐานะที่จะประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ไม่เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ไม่เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ต่อเมื่อเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข ดังที่มีปาฐะว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นบรมสุข จึงจะเป็นฐานะที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ เป็นฐานะที่จักหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ เป็นฐานะที่จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลาย ดั่งนี้

อนุโลมิกขันติด้วยอาการอย่างไร

และจะชื่อว่าได้อนุโลมิกขันติด้วยอาการอย่างไรจะชื่อว่าหยั่งลงสู่ความเป็นชอบด้วยอาการอย่างไร ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสจำแนกอาการไว้เป็นอันมาก แต่อาจสรุปลงได้เป็น ๓ คือเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เห็นนิพพาน โดยความเป็นเที่ยง โดยความเป็นสุข และโดยความเป็นปรมัตถ์ หรือ ปรมัตถะ คือมีอรรถะอย่างยิ่ง

กล่าวคือเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมิกขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์เป็นของเที่ยงแท้ เป็นนิพพาน ย่อมได้หรือหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ คือสู่ทางอริยมรรค เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมมิกะขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์ เป็นสุข เป็นนิพพาน ย่อมหยั่งลง ย่อมได้นิยามแห่งความเป็นชอบ เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมิกขันติ เห็นความดับขันธ์ ๕ เป็นนิโรธคือความดับทุกข์ เป็น ปรมัตถะ คือ มีอรรถะอย่างยิ่ง อย่างละเอียด เป็นนิพพาน ย่อมหยั่งลงสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ ดั่งนี้

เพราะฉะนั้น อนุโลมิกขันตินี้จึงเป็นข้อสำคัญศีล สมาธิ ปัญญา อาศัยขันติมาก่อน คือในการปฏิบัติศีลสมาธิปัญญานั้นก็ต้องใช้ขันติ ต้องประกอบด้วยขันติ

และเมื่อได้ศีลสมาธิปัญญาขึ้นก็ทำให้ได้ขันติที่สูงขึ้น คืออนุโลมิกขันติดังกล่าว คือเมื่อได้ปัญญาเห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เมื่อได้ปัญญาดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้อนุโลมิกะขันติ ซึ่งนำไปสู่นิยามแห่งความเป็นชอบ คืออริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะกระทำให้แจ้งอริยผลทั้งหลายได้

เพราะฉะนั้นนิยามแห่งความเป็นชอบคืออริยมรรค จึงกล่าวได้ว่าเป็นมรรคนั้นเอง และเมื่อได้มรรคก็ย่อมได้ผล คือกระทำให้แจ้งผลทั้งหลาย คืออริยผลทั้งหลาย ได้อริยมรรค ก็ได้อริยผล อนุโลมิกขันตินั้น จึงเป็นขันติที่อนุโลมต่ออริยมรรคอริยผล สอดคล้องต่ออริยมรรคอริยผล เป็นขันติที่ได้มาจากปัญญาที่เห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

และในการที่จะปฏิบัติในปัญญาในสมาธิในศีลก็ต้องอาศัยขันติคือความอดทนมาโดยลำดับ แผดเผากิเลสมาโดยลำดับ ถ้าไม่อาศัยขันติก็ไม่อาจที่จะปฏิบัติให้สำเร็จได้ เป็นขันติในขั้นปฏิบัติตั้งแต่ในเบื้องต้น ครั้นได้ศีลได้สมาธิได้ปัญญา เห็นขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา จึงได้ขันติที่เป็นอนุโลมต่อมรรคผล อันเรียกว่าอนุโลมิกขันตินี้ มีลักษณะเป็นความทนทาน ไม่หวั่นไหว อันจะเปรียบได้อย่างภูเขาหินล้วน ไม่หวั่นไหวด้วยลมอันพัดมาแต่ทิศทั้งปวง ต่างจากต้นไม้เป็นต้นทั้งใหญ่ทั้งเล็ก เมื่อถูกลมพัดแม้จะไม่หักก็ไหว และแม้ว่าจะไม่โค่นล้มทั้งต้น กิ่งใบก็อาจที่จะหักหล่น ถ้าหากว่าถูกลมแรงมากก็จะต้องล้มทั้งต้น แต่ภูเขาหินล้วนนั้นย่อมทนได้ต่อลมอันพัดมาแต่ทิศทั้งปวง

อนุโลมมิกะขันติก็เช่นเดียวกันเมื่อปฏิบัติให้เห็นไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕ ได้ จิตก็จะแข็งแกร่งทนทาน ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นจึงนำสู่อริยมรรคสู่อริยผล จึงเรียกว่าอนุโลมิกขันติ ขันติที่อนุโลม คืออนุโลมต่ออริยมรรคที่เรียกว่านิยามแห่งความเป็นชอบ และอริยผลทั้งหลาย ดั่งนี้

ตามที่แสดงมานี้แสดงตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ เป็นขันติที่มีลักษณะพิเศษกว่าขันติทั่วไป แต่ว่าในการปฏิบัตินั้นก็จะต้องปฏิบัติตั้งแต่ขันติคือความอดทน มีน้ำอดน้ำทน มีความอดกลั้นทนทาน ต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย ซึ่งอาจจะทนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ว่าเมื่อฝึกอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็จะทำให้ความอดทนนี้มีพลังยิ่งขึ้น สามารถอดทนต่ออารมณ์และกิเลสได้มากขึ้น

พร้อมทั้งเมื่อมีโสรัจจะคือความที่ทำใจให้สบายโดยระบายอารมณ์และกิเลส ที่อัดอยู่ในใจออกไป ไม่ปล่อยให้อัดเอาไว้ ระบายใจออกไปให้สบาย อาศัยสติอาศัยปัญญา และอาศัยธรรมะอื่นๆ เช่นเมตตากรุณาเป็นต้น เข้ามาช่วย และเมื่อระบายออกไปได้ใจก็สบาย เมื่อใจสบาย กายวาจาก็เป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม เพราะฉะนั้นจึงตรัสแสดงว่าธรรมะคู่นี้ ขันติคือความอดทน โสรัจจะที่ท่านแปลว่าความเสงี่ยม เป็นธรรมะที่ทำให้งาม ดั่งนี้

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

source:
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-148.htm



:oops: :twisted: :ohno:

...


ผู้โพสต์
...ดอย..หุ้น..ไม่มีใครอยากอยู่
...แต่.ดอยขันติ..ถ้าทำให้เกิดกับใครได้ คงจะได้แต่สิ่งดีดี..
..
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 510

โพสต์

Dech เขียน:วันนี้แนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ จำไม่ได้ว่าเล่มละกี่บาท น่าจะ 100-150 ประมาณนี้ครับ
พลิกโลกเหนือความคิด ลพ เทียน.jpg
ของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ แห่งวัดสนามใน บางกรวย นนทบุรี ใกล้ๆสถานีรถไฟบางบำรุ ครับ
เดี่ยวนี้วัดไปง่ายแล้วครับ ถนนตัดผ่านแล้ว ไม่ไกลจากห้างตั้งฮั้วเส็ง บางพลัด
ตอนนี้มีหนังสือเล่มนี้อยู่ในมือ 5 เล่มนะครับ ใครสนใจ pm ชื่อที่อยู่มาได้ครับ จะส่งไปให้ครับ
ถ้ามีคนสนใจมากกว่า 5 คน ก็ส่งมาได้นะครับ เดี่ยวไปหามาเพิ่มและส่งให้ได้ครับ ส่งรายละเอียดมาได้ครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์