ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 1
เพราะคนย่อมเปลี่ยนจากลงทุนในหุ้นมาฝากเงิน ถามนักเศรษฐศาสตร์หน่อยครับ หรือผู้รู้ครับ ผมก็โง่ ๆ ไม่ค่อยรู้เรื่อง
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 2
คิดง่ายๆๆ
สมมติว่า ฝากธนาคาร แบบ 12 เดือนคุณได้ แน่นอน 5%
ซื้อหุ้นได้เงินปันผลแค่ 2% ในอีก 12 เดือนหน้า
กับ Capital Gain ดังนี้
ทางที่ 1 ได้ 20% แต่โอกาสเกิด 10%
ทางที่ 2 ได้ 5% แต่โอกาสเกิด 20%
ทางที่ 3 ได้ 0% แต่โอกาสเกิด 40%
ทางเลือกที่ 4 ลดลง10% โอกาสเกิด 30%
ทั้งสี่ทางได้ผลตอบแทน 2.7% รวม ผลตอบแทนจากปันผลและ Capital Gain ได้แค่ 2%+2.7% =4.7%
ถ้าหากใครคิดละเอียดก็ต้องเอา เครดิตภาษีไปรวมด้วย
แล้วแบบนี้คุณเลือกอะไรล่ะ ระหว่าง ฝากธนาคาร กับ ลงทุนในหลักทรัพย์
ถ้าคุณลงแรงขนาดนี้ผลตอบแทนไม่ได้มากกว่าเงินฝาก คุณจะลงทุนและลงแรงตัวเองหรือเปล่า
ปล
ผมถามเพื่อให้เกิดการกระตุ้นในการคิด เมื่อเกิดการคบคิด แล้วคบคิดอีก สักวันมันก็ถึงบางอ้อ
สมมติว่า ฝากธนาคาร แบบ 12 เดือนคุณได้ แน่นอน 5%
ซื้อหุ้นได้เงินปันผลแค่ 2% ในอีก 12 เดือนหน้า
กับ Capital Gain ดังนี้
ทางที่ 1 ได้ 20% แต่โอกาสเกิด 10%
ทางที่ 2 ได้ 5% แต่โอกาสเกิด 20%
ทางที่ 3 ได้ 0% แต่โอกาสเกิด 40%
ทางเลือกที่ 4 ลดลง10% โอกาสเกิด 30%
ทั้งสี่ทางได้ผลตอบแทน 2.7% รวม ผลตอบแทนจากปันผลและ Capital Gain ได้แค่ 2%+2.7% =4.7%
ถ้าหากใครคิดละเอียดก็ต้องเอา เครดิตภาษีไปรวมด้วย
แล้วแบบนี้คุณเลือกอะไรล่ะ ระหว่าง ฝากธนาคาร กับ ลงทุนในหลักทรัพย์
ถ้าคุณลงแรงขนาดนี้ผลตอบแทนไม่ได้มากกว่าเงินฝาก คุณจะลงทุนและลงแรงตัวเองหรือเปล่า
ปล
ผมถามเพื่อให้เกิดการกระตุ้นในการคิด เมื่อเกิดการคบคิด แล้วคบคิดอีก สักวันมันก็ถึงบางอ้อ
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 4
สาเหตุที่ดอกเบี้ยขึ้นแล้วหุ้นลง
สาเหตุอันที่หนึ่ง
ดอกเบี้ยขึ้น===การกู้เงินมาลงทุนของบมจ.มีต้นทุนมากขึ้น===บมจ.มีแนวโน้มจะขยายกิจการด้วยการกู้น้อยลง
===การเติบโตน้อยลง===กำไรเพิ่มน้อยหรืออาจจะโดนดอกเบี้ยซัดกำไรหด=== หุ้นมีความน่าสนใจน้อยลง==หุ้นลง
สาเหตุอันที่สอง
Difference ของผลตอบแทนเงินฝาก,พันธบัตร และตราสารทุน มีช่องว่างน้อยลง เพราะดอกเบี้ยให้ผลตอบแทนมากขึ้น
ประกอบกับสาเหตุที่ 1
หุ้นมันก็เลยลง
สาเหตุอันที่หนึ่ง
ดอกเบี้ยขึ้น===การกู้เงินมาลงทุนของบมจ.มีต้นทุนมากขึ้น===บมจ.มีแนวโน้มจะขยายกิจการด้วยการกู้น้อยลง
===การเติบโตน้อยลง===กำไรเพิ่มน้อยหรืออาจจะโดนดอกเบี้ยซัดกำไรหด=== หุ้นมีความน่าสนใจน้อยลง==หุ้นลง
สาเหตุอันที่สอง
Difference ของผลตอบแทนเงินฝาก,พันธบัตร และตราสารทุน มีช่องว่างน้อยลง เพราะดอกเบี้ยให้ผลตอบแทนมากขึ้น
ประกอบกับสาเหตุที่ 1
หุ้นมันก็เลยลง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 5
อีกประเด็นคือ
พวกเราชอบใช้งาน DCF กัน
ซึ่งตัว ต้นทุนเงินทุน มันมีสองตัวที่ใช้ใน DCF
คือ ตัวแรก คิดแค่ส่วนของผู้ถือหุ้น กับอีกตัวคือ WACC
ตัวหลัง ประกอบด้วย ต้นทุนเงินทุนของส่วนของผู้ถือหุ้น รวมกับ ต้นทุนส่วนของหนี้ และ ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์เข้าด้วยกัน
WACC นี้เป็นตัวหาร หากดอกเบี้ยขึ้นมันก็กระทบไปยังส่วนของหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้น ผู้ถือหุ้นก็ต้องการผลตอบแทนที่มาขึ้นด้วย
ดังนั้น WACC ก็เพิ่มขึ้นในยามดอกเบี้ยแพง หาก WACC เพิ่มแล้วไซร้ โดยที่ Free Cash Flow เหมือนเดิม เมื่อทำมูลค่าปัจจุบัน (Present value) จากมูลค่าในอนาคต แล้วทำให้มูลค่าของกิจการที่เราซื้อนั้นลดลงไป
(หลักการคิดเหมือนตราสารหนี้พวกพันธบัตรรัฐบาลที่จ่ายคูปองคงที่ เอามาประยุกต์ใช้ได้ก็จะเห็นภาพละครับ)
พวกเราชอบใช้งาน DCF กัน
ซึ่งตัว ต้นทุนเงินทุน มันมีสองตัวที่ใช้ใน DCF
คือ ตัวแรก คิดแค่ส่วนของผู้ถือหุ้น กับอีกตัวคือ WACC
ตัวหลัง ประกอบด้วย ต้นทุนเงินทุนของส่วนของผู้ถือหุ้น รวมกับ ต้นทุนส่วนของหนี้ และ ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์เข้าด้วยกัน
WACC นี้เป็นตัวหาร หากดอกเบี้ยขึ้นมันก็กระทบไปยังส่วนของหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้น ผู้ถือหุ้นก็ต้องการผลตอบแทนที่มาขึ้นด้วย
ดังนั้น WACC ก็เพิ่มขึ้นในยามดอกเบี้ยแพง หาก WACC เพิ่มแล้วไซร้ โดยที่ Free Cash Flow เหมือนเดิม เมื่อทำมูลค่าปัจจุบัน (Present value) จากมูลค่าในอนาคต แล้วทำให้มูลค่าของกิจการที่เราซื้อนั้นลดลงไป
(หลักการคิดเหมือนตราสารหนี้พวกพันธบัตรรัฐบาลที่จ่ายคูปองคงที่ เอามาประยุกต์ใช้ได้ก็จะเห็นภาพละครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 6
ต้องดูว่า อนาคตโอกาสการทำกำไรของกิจการที่เพิ่มขึ้น เทียบกับต้นทุนเงินที่สูงขึ้นเป็นอย่างไร
หรือ mr- mc เป็นอย่างไร
หรือ mr- mc เป็นอย่างไร
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 7
อันนี้เป็นบทความของ THAIBMA เมื่อนานมาแล้ว
เขียนไว้ค่อนข้างที่ให้มุมมองในเรื่องนี้อย่างดีครับ
http://www.thaibma.or.th/doc/research/8_rates.pdf
อันต่อมาเป็นบทความที่ดีในเรื่องการลงทุนตราสารหนี้เมื่อเผชิญภาวะตลาดที่เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น
http://www.thaibma.or.th/bond_tutor/pdf ... Invest.pdf
ขอให้โชคดีครับ
"_"
เขียนไว้ค่อนข้างที่ให้มุมมองในเรื่องนี้อย่างดีครับ
http://www.thaibma.or.th/doc/research/8_rates.pdf
อันต่อมาเป็นบทความที่ดีในเรื่องการลงทุนตราสารหนี้เมื่อเผชิญภาวะตลาดที่เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น
http://www.thaibma.or.th/bond_tutor/pdf ... Invest.pdf
ขอให้โชคดีครับ
"_"
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 8
ดอกเบี้ยขึ้นหุ้นลงนี้ ปกติหมายถึง ความคาดหวังของดอกเบี้ยครับ
ถ้าตลาด price in อัตราดอกเบี้ยไปในอนาคตอย่างถูกต้องแล้ว แล้วมันก็เป็นไปตามที่ตลาดคาด พอดอกเบี้ยขึ้นจริงๆ หุ้นอาจจะขึ้น อาจจะลง หรืออาจจะอยู่กับที่ก็ได้
ความคาดหวังของดอกเบี้ย นี่หมายถึงการมองอนาคตของต้นทุนเงินที่เกิดขึ้นยาวออกไปเป็นสิบๆ ปี ซึ่งสุดท้ายก็ไม่มีใครคาดเดามันได้
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หลักๆ บอกว่า อัตราดอกเบี้ยในระยะยาวแล้วควรสะท้อนความคาดหวังของเงินเฟ้อ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศส่วนใหญ่จะใช้คุมเป้าหมาย คือ อัตราเงินเฟ้อ ถ้าเงินเฟ้อต่ำ ก็สามารถอัดดอกเบี้ยให้ต่ำ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ถ้าเงินเฟ้อสูง ต้องดึงสภาพคล่องกลับ ผ่านทางการขึ้นดอกเบี้ย
อัตราเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่สะท้อนอะไรหลายๆ อย่างมาก ซึ่งการที่จะโมเดล ทำความเข้าใจ รวมไปถึงโมเดลเงินเฟ้อในอนาคตก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ จนเหมือนกับทำนายไม่ได้
ผลที่ตามมา เราจึงเห็น Action ของธนาคารกลางจำเป็นต้อง Monitor ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ค่อยๆ ปรับนโยบายทางการเงินให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ
ในอดีตประเทศต่างๆ เคยเผชิญหน้ากับปัญหาเงินเฟ้อสูงเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามช่วงประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อโดยรวมของทั่วโลกอยู่ในระดับที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ สาเหตุเท่าที่ผมพอจะคิดได้ คือ 1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาก้าวหน้าในอัตราทวีคูณ (exponential) จึงทำให้ผลิตผลรวมไปถึงประสิทธิภาพทางการผลิตและให้บริการสามารถทำได้ดีขึ้น รวมไปถึงเกิด Disruptive Innovation ทำให้เกิด Product Category ใหม่ๆ ที่ 1 ชิ้นในปัจจุบันแทนที่ 10 ชิ้นในอดีต แถมทำได้ดีกว่า มากกว่า กว้างกว่า และลึกกว่า 2) โลกาภิวัตน์ (Globalization) ทำให้แรงงานราคาถูก โลกแบนลง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
ผลที่ตามมา มันทำให้เราสามารถใช้ของที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาที่ถูกลง ทำให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยลง ทำให้เราได้ใช้สินค้าและบริการดีๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีต้นทุนที่น้อยลง ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่กดให้อัตราเงินเฟ้อของโลกอยู่ในระดับต่ำ และทำให้ประชากรโลกมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นแม้จะมีเงินเท่าเดิม (หากวัดความมั่งคั่งโดยวัดจากทรัพยากรเวลาที่ต้องใช้ ในการได้มาซึ่งสินค้าและบริการ ณ คุณภาพหนึ่งๆ) และเป็นผลที่ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกสามารถพิมพ์เงิน อัดเงินเข้าสู่ระบบได้อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน เพราะ หากอัดเงินแบบนี้เมื่อสมัย 30 ปีก่อน รับรองได้ว่าเงินเฟ้อกระจาย ความเชื่อมั่นของสกุลเงินคงจะไม่สามารถคงอยู่ได้
ผมเชื่อว่า deflationary pressure จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ globalization จะยังคงกดดันเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำไปอีกเป็นเวลานาน แต่ผมไม่เชื่อว่าถ้าเงินฝืด (deflation) จะทำให้เราติดอยู่ในกับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap) ตามทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ในสมัยก่อน และจำเป็นต้องอัดเงินเข้าไปเพื่อทำให้เงินเฟ้อเป็นบวก เพราะ เงินฝืดที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่เหมือนกับ Supply Shock หรือ Demand Shock ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
การที่เงินฝืดจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า หมายความว่า เราสามารถกินอยู่ใช้สอยข้าวของที่ดีขึ้น ปราณีตขึ้นเรื่อยๆ มีเวลาพักผ่อน เที่ยวเล่นที่มากขึ้น โดยใช้เงินเท่าๆ เดิม เมื่อเวลาผ่านไป... สังเกตจากชีวิตของเราในวันนี้เมื่อเทียบกับเมื่อ 10-20 ปีก่อนสิครับ เสื้อผ้า อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ การเดินทางท่องเที่ยว ของเราเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับในอดีต
ลองจินตนาการดู... ถ้าคุณเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศ เมื่อ 100-200 ปี เวลาคุณร้อนคุณก็ไม่มีแอร์ เวลาคุณเข้าห้องน้ำ ก็ไม่มีระบบชำระที่ดี อาหารของคุณก็เดิมๆ ซ้ำๆ ไม่หลากหลาย ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกได้อย่างที่คุณเป็นชนชั้นกลางอย่างในปัจจุบัน ทุกวันนี้คนชนชั้นกลางมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ากษัตริย์หรือเศรษฐีเมื่อ 100 ปีก่อนอย่างเทียบชั้นกันไม่ได้
อนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้านี่ดีกว่าที่เราคิดเอาไว้มากครับ... และถึงแม้เราจะได้เงินเดือน มีรายได้เท่าๆ เดิม ชีวิตเราก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ทฤษฎีทางการเงินเก่าๆ ที่พูดถึงการออมในยามเกษียณที่ต้องเผื่อเรื่องเงินเฟ้อเข้าไปนี่ เป็นทฤษฎีที่คิดภายใต้สภาพแวดล้อมที่เงินเฟ้อสูง และเทคโนโลยียังคงล้าหลัง ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจุบัน แค่คุณหางานทำ อยู่ในตำแหน่งที่จะมีงานทำไปเรื่อยๆ ไม่ถูกพวกหุ่นยนต์ หรือคอมพิวเตอร์เข้ามาแทนที่ได้ คุณก็รอดแล้วครับ คุณจะยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ มั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีเงินเท่าเดิม
การออมเพื่อการเกษียณ หากเราใส่โมเดลเงินเฟ้อแบบใหม่ ในมุมมองแบบใหม่จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าไป อาจต้องการเงินน้อยกว่าที่เราคิดเอาไว้เยอะ อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนที่เราจะทำได้จากการลงทุน เมื่อโดนแรงกดดันจากเงินฝืด จาก disruptive innovation จากความเร็วในการเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ทำให้เราลงทุนยากขึ้นเช่นกัน
โดยส่วนตัวภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวที่ได้เขียนมาทั้งหมด ถ้าผมได้อัตราผลตอบแทนทบต้นในระยะยาวต่อปีเฉลี่ยเกิน 10% ก็น่าจะรอด อยู่ได้สบายๆ แล้ว แต่การจะหาการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงๆ ภายใต้เงื่อนไขการลงทุนแบบนี้ก็เริ่มจะหาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ที่แน่ๆ การถือเงินสดในสัดส่วนที่มากเกินพอดี จะเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงแน่นอน... หุ้นแพงนี่ แพงจริงครับเมื่อเทียบกับอดีต แต่ที่แพงส่วนหนึ่งก็เป็นการแพงอย่างสมเหตุสมผลจากพื้นฐานของเทคโนโลยี และ Inflation Expectation ที่เปลี่ยนไปจริงๆ (แต่ก็มีอีกเยอะนะครับ ที่แพงจากความโลภในการเก็งกำไร จากการให้ Risk Premium ที่ต่ำเกินจริงจากการอ่านอนาคตไม่ขาดของนักลงทุนเอง และจากการเฉื่อยจากการตอบสะท้อนที่เป็นผลจากอคติต่างๆ ในการลงทุน)
การ Valuation ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนี่ ประเด็นจะไม่ได้อยู่ที่ discount factor ที่อยู่ข้างล่างแล้วครับ ด้วย discount rate ที่ต่ำมากในปัจจุบัน การจะไป adjust ข้างล่างแค่ 10bps ก็ทำให้มูลค่ากิจการ Swing ได้สุดยอดแล้ว แต่ความสำคัญจะกลับไปอยู่ที่ข้างบนในส่วน FCFF เสียมากกว่า ว่าเราจะอ่านคุณภาพของกิจการกันออกขนาดไหน เรามองเห็นอนาคตว่าธุรกิจที่เราวิเคราะห์จะอยู่รอดอย่างไร และได้ประโยชน์อย่างไรในการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กิจการนี้จะได้ถูกฆ่าทิ้งจาก disruptive innovation ไหม กิจการนี้มี dca มีตำแหน่งทางการแข่งขันที่จะเอาตัวรอด และเติบโตไปกับการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้
555... ถามเรื่องหนึ่ง ตอบไปอีกเรื่องหนึ่ง... ขออภัยที่พาออกทะเล
ถ้าตลาด price in อัตราดอกเบี้ยไปในอนาคตอย่างถูกต้องแล้ว แล้วมันก็เป็นไปตามที่ตลาดคาด พอดอกเบี้ยขึ้นจริงๆ หุ้นอาจจะขึ้น อาจจะลง หรืออาจจะอยู่กับที่ก็ได้
ความคาดหวังของดอกเบี้ย นี่หมายถึงการมองอนาคตของต้นทุนเงินที่เกิดขึ้นยาวออกไปเป็นสิบๆ ปี ซึ่งสุดท้ายก็ไม่มีใครคาดเดามันได้
ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หลักๆ บอกว่า อัตราดอกเบี้ยในระยะยาวแล้วควรสะท้อนความคาดหวังของเงินเฟ้อ ดังนั้นเราจึงเห็นว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศส่วนใหญ่จะใช้คุมเป้าหมาย คือ อัตราเงินเฟ้อ ถ้าเงินเฟ้อต่ำ ก็สามารถอัดดอกเบี้ยให้ต่ำ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ถ้าเงินเฟ้อสูง ต้องดึงสภาพคล่องกลับ ผ่านทางการขึ้นดอกเบี้ย
อัตราเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่สะท้อนอะไรหลายๆ อย่างมาก ซึ่งการที่จะโมเดล ทำความเข้าใจ รวมไปถึงโมเดลเงินเฟ้อในอนาคตก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ จนเหมือนกับทำนายไม่ได้
ผลที่ตามมา เราจึงเห็น Action ของธนาคารกลางจำเป็นต้อง Monitor ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ค่อยๆ ปรับนโยบายทางการเงินให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ
ในอดีตประเทศต่างๆ เคยเผชิญหน้ากับปัญหาเงินเฟ้อสูงเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามช่วงประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อโดยรวมของทั่วโลกอยู่ในระดับที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ สาเหตุเท่าที่ผมพอจะคิดได้ คือ 1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาก้าวหน้าในอัตราทวีคูณ (exponential) จึงทำให้ผลิตผลรวมไปถึงประสิทธิภาพทางการผลิตและให้บริการสามารถทำได้ดีขึ้น รวมไปถึงเกิด Disruptive Innovation ทำให้เกิด Product Category ใหม่ๆ ที่ 1 ชิ้นในปัจจุบันแทนที่ 10 ชิ้นในอดีต แถมทำได้ดีกว่า มากกว่า กว้างกว่า และลึกกว่า 2) โลกาภิวัตน์ (Globalization) ทำให้แรงงานราคาถูก โลกแบนลง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
ผลที่ตามมา มันทำให้เราสามารถใช้ของที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาที่ถูกลง ทำให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยลง ทำให้เราได้ใช้สินค้าและบริการดีๆ ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีต้นทุนที่น้อยลง ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่กดให้อัตราเงินเฟ้อของโลกอยู่ในระดับต่ำ และทำให้ประชากรโลกมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นแม้จะมีเงินเท่าเดิม (หากวัดความมั่งคั่งโดยวัดจากทรัพยากรเวลาที่ต้องใช้ ในการได้มาซึ่งสินค้าและบริการ ณ คุณภาพหนึ่งๆ) และเป็นผลที่ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกสามารถพิมพ์เงิน อัดเงินเข้าสู่ระบบได้อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน เพราะ หากอัดเงินแบบนี้เมื่อสมัย 30 ปีก่อน รับรองได้ว่าเงินเฟ้อกระจาย ความเชื่อมั่นของสกุลเงินคงจะไม่สามารถคงอยู่ได้
ผมเชื่อว่า deflationary pressure จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ globalization จะยังคงกดดันเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำไปอีกเป็นเวลานาน แต่ผมไม่เชื่อว่าถ้าเงินฝืด (deflation) จะทำให้เราติดอยู่ในกับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap) ตามทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ในสมัยก่อน และจำเป็นต้องอัดเงินเข้าไปเพื่อทำให้เงินเฟ้อเป็นบวก เพราะ เงินฝืดที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่เหมือนกับ Supply Shock หรือ Demand Shock ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
การที่เงินฝืดจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า หมายความว่า เราสามารถกินอยู่ใช้สอยข้าวของที่ดีขึ้น ปราณีตขึ้นเรื่อยๆ มีเวลาพักผ่อน เที่ยวเล่นที่มากขึ้น โดยใช้เงินเท่าๆ เดิม เมื่อเวลาผ่านไป... สังเกตจากชีวิตของเราในวันนี้เมื่อเทียบกับเมื่อ 10-20 ปีก่อนสิครับ เสื้อผ้า อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ การเดินทางท่องเที่ยว ของเราเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับในอดีต
ลองจินตนาการดู... ถ้าคุณเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศ เมื่อ 100-200 ปี เวลาคุณร้อนคุณก็ไม่มีแอร์ เวลาคุณเข้าห้องน้ำ ก็ไม่มีระบบชำระที่ดี อาหารของคุณก็เดิมๆ ซ้ำๆ ไม่หลากหลาย ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกได้อย่างที่คุณเป็นชนชั้นกลางอย่างในปัจจุบัน ทุกวันนี้คนชนชั้นกลางมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ากษัตริย์หรือเศรษฐีเมื่อ 100 ปีก่อนอย่างเทียบชั้นกันไม่ได้
อนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้านี่ดีกว่าที่เราคิดเอาไว้มากครับ... และถึงแม้เราจะได้เงินเดือน มีรายได้เท่าๆ เดิม ชีวิตเราก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ทฤษฎีทางการเงินเก่าๆ ที่พูดถึงการออมในยามเกษียณที่ต้องเผื่อเรื่องเงินเฟ้อเข้าไปนี่ เป็นทฤษฎีที่คิดภายใต้สภาพแวดล้อมที่เงินเฟ้อสูง และเทคโนโลยียังคงล้าหลัง ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจุบัน แค่คุณหางานทำ อยู่ในตำแหน่งที่จะมีงานทำไปเรื่อยๆ ไม่ถูกพวกหุ่นยนต์ หรือคอมพิวเตอร์เข้ามาแทนที่ได้ คุณก็รอดแล้วครับ คุณจะยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ มั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีเงินเท่าเดิม
การออมเพื่อการเกษียณ หากเราใส่โมเดลเงินเฟ้อแบบใหม่ ในมุมมองแบบใหม่จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าไป อาจต้องการเงินน้อยกว่าที่เราคิดเอาไว้เยอะ อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนที่เราจะทำได้จากการลงทุน เมื่อโดนแรงกดดันจากเงินฝืด จาก disruptive innovation จากความเร็วในการเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ทำให้เราลงทุนยากขึ้นเช่นกัน
โดยส่วนตัวภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวที่ได้เขียนมาทั้งหมด ถ้าผมได้อัตราผลตอบแทนทบต้นในระยะยาวต่อปีเฉลี่ยเกิน 10% ก็น่าจะรอด อยู่ได้สบายๆ แล้ว แต่การจะหาการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงๆ ภายใต้เงื่อนไขการลงทุนแบบนี้ก็เริ่มจะหาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ที่แน่ๆ การถือเงินสดในสัดส่วนที่มากเกินพอดี จะเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงแน่นอน... หุ้นแพงนี่ แพงจริงครับเมื่อเทียบกับอดีต แต่ที่แพงส่วนหนึ่งก็เป็นการแพงอย่างสมเหตุสมผลจากพื้นฐานของเทคโนโลยี และ Inflation Expectation ที่เปลี่ยนไปจริงๆ (แต่ก็มีอีกเยอะนะครับ ที่แพงจากความโลภในการเก็งกำไร จากการให้ Risk Premium ที่ต่ำเกินจริงจากการอ่านอนาคตไม่ขาดของนักลงทุนเอง และจากการเฉื่อยจากการตอบสะท้อนที่เป็นผลจากอคติต่างๆ ในการลงทุน)
การ Valuation ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนี่ ประเด็นจะไม่ได้อยู่ที่ discount factor ที่อยู่ข้างล่างแล้วครับ ด้วย discount rate ที่ต่ำมากในปัจจุบัน การจะไป adjust ข้างล่างแค่ 10bps ก็ทำให้มูลค่ากิจการ Swing ได้สุดยอดแล้ว แต่ความสำคัญจะกลับไปอยู่ที่ข้างบนในส่วน FCFF เสียมากกว่า ว่าเราจะอ่านคุณภาพของกิจการกันออกขนาดไหน เรามองเห็นอนาคตว่าธุรกิจที่เราวิเคราะห์จะอยู่รอดอย่างไร และได้ประโยชน์อย่างไรในการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กิจการนี้จะได้ถูกฆ่าทิ้งจาก disruptive innovation ไหม กิจการนี้มี dca มีตำแหน่งทางการแข่งขันที่จะเอาตัวรอด และเติบโตไปกับการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้
555... ถามเรื่องหนึ่ง ตอบไปอีกเรื่องหนึ่ง... ขออภัยที่พาออกทะเล
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 9
ถ้าว่าตามกำไร หุ้นที่มีDCAและหนี้น้อยจะไม่ลง พวกเริ่มธุรกิจใหม่กับต้องลงทุนสูงบ่อยๆจะลดลงเพราะต้นทุนสูงขึ้น
ต้องขึ้นกับความสามารถบริษัทด้วยว่าจะสร้างผลตอบแทนหนีดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้หรือไม่ ต้องลุ้นเอา
ต้องขึ้นกับความสามารถบริษัทด้วยว่าจะสร้างผลตอบแทนหนีดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้หรือไม่ ต้องลุ้นเอา
- blackninja
- Verified User
- โพสต์: 176
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 10
จากความเป็นจริงดอกเบี้ยมักจะขึ้นช่วงเศรษฐกิจดีหุ้นก็มักจะขึ้นด้วยครับ และดอกเบี้ยก็มักจะลงในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีหุ้นก็มักจะลงด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 334
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 11
เมื่อสมัยก่อนสังเกตุได้ว่าดอกเบี้ยแพง แต่ที่ดินกลับถูกนะครับ มาสมัยนี้ที่ดินโครตแพง แต่ดอกเบี้ย
ก็โครตจะถูก. โดยเฉพาะทำเลดี ที่เป็นไข่แดง ว่ากันเป็นไร่ละหลายสิบล้านบาท ทำให้ลูกหลานที่บรรพบุรุษ
ที่มีวิสัยทัศน์เสียสละอดออมและลงทุนซื้อที่ดิน แต่ตัวเองไม่ได้ใช่ มาถึงลูกหลานที่ทำบุญมาดี
ก็ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีกันไป. โดยเฉลี่ยแล้วมีเศรษฐีที่เกิดจากที่ดินเพิ่มขึ้นมากและง่ายกว่า
เศรษฐีหุ้น ผมว่าเป็นสัดส่วนที่มีกว่ากันมากครับ. เพราะบางกิจการก็เจ๊งกันไปเยอะ จากวิกฤตเศรษฐกิจ
ยกเว้นบางกิจการที่ยิ่งใหญ่และเข้มแข็งและอยู่ยงคงกะพันจริงๆ. เช่น scc เป็นต้น
ออกนอกเรื่องไป. ความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่าดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มขึ้นหรือลง จะไม่เกี่ยวกันว่าหุ้นหรือจะลงเท่าไหร่ ถ้าไม่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ที่ทำให้ดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงอย่ารวดเร็วมากจนธุรกิจ
ต่างๆ ในประเทศตั้งรับไม่ทัน. ทำให้เกิดภาวะช๊อคและขาดทุนอย่างมาก. ถ้าดอกเบี้ยมีแนวโน้มขึ้นหรือลง
แบบช้าๆ ซึ่งธนาคารกลางของโลกและต่างประเทศ พยายามควบคุมอยู่แล้ว นักธุรกิจจะคาดการณ์แนวโน้ม
และบริหารความเสี่ยงและต้นทุนต่างๆ จนไม่กระทบกับผลกำไรมากนัก
แต่ก็ยกเว้นว่าดอกเบี้ยสูงจนเกินไปนะครับ ในระดับที่นักธุรกิจคำนวณแล้วว่าทำธุรกิจไปก็ไม่คุ้มความเสี่ยง
อยู่เฉยๆ ดีกว่า ก็จะไม่ขยายงานครับ อยู่เฉยๆ ดีกว่าซึ่งทำให้กิจการและผลกำไรอาจจะอิ่มตัวได้ และหุ้น
อาจพร้อมที่จะลงได้
ก็โครตจะถูก. โดยเฉพาะทำเลดี ที่เป็นไข่แดง ว่ากันเป็นไร่ละหลายสิบล้านบาท ทำให้ลูกหลานที่บรรพบุรุษ
ที่มีวิสัยทัศน์เสียสละอดออมและลงทุนซื้อที่ดิน แต่ตัวเองไม่ได้ใช่ มาถึงลูกหลานที่ทำบุญมาดี
ก็ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีกันไป. โดยเฉลี่ยแล้วมีเศรษฐีที่เกิดจากที่ดินเพิ่มขึ้นมากและง่ายกว่า
เศรษฐีหุ้น ผมว่าเป็นสัดส่วนที่มีกว่ากันมากครับ. เพราะบางกิจการก็เจ๊งกันไปเยอะ จากวิกฤตเศรษฐกิจ
ยกเว้นบางกิจการที่ยิ่งใหญ่และเข้มแข็งและอยู่ยงคงกะพันจริงๆ. เช่น scc เป็นต้น
ออกนอกเรื่องไป. ความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่าดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มขึ้นหรือลง จะไม่เกี่ยวกันว่าหุ้นหรือจะลงเท่าไหร่ ถ้าไม่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ที่ทำให้ดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงอย่ารวดเร็วมากจนธุรกิจ
ต่างๆ ในประเทศตั้งรับไม่ทัน. ทำให้เกิดภาวะช๊อคและขาดทุนอย่างมาก. ถ้าดอกเบี้ยมีแนวโน้มขึ้นหรือลง
แบบช้าๆ ซึ่งธนาคารกลางของโลกและต่างประเทศ พยายามควบคุมอยู่แล้ว นักธุรกิจจะคาดการณ์แนวโน้ม
และบริหารความเสี่ยงและต้นทุนต่างๆ จนไม่กระทบกับผลกำไรมากนัก
แต่ก็ยกเว้นว่าดอกเบี้ยสูงจนเกินไปนะครับ ในระดับที่นักธุรกิจคำนวณแล้วว่าทำธุรกิจไปก็ไม่คุ้มความเสี่ยง
อยู่เฉยๆ ดีกว่า ก็จะไม่ขยายงานครับ อยู่เฉยๆ ดีกว่าซึ่งทำให้กิจการและผลกำไรอาจจะอิ่มตัวได้ และหุ้น
อาจพร้อมที่จะลงได้
-
- Verified User
- โพสต์: 1096
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 12
เอาบทความชิ้นเยี่ยมของ TISCO มาแชร์ครับ
หรือจะสรุปง่ายๆจะได้ตามนี้
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets. - Peter Lynch
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 13
จริงๆ Shock ของดอกเบี้ย
ที่ขึ้นหรือลงนั้น มีระยะเวลาตั้งแต่ 4-8 ไตรมาสถึงจะเห็นผลชัดเจน
แต่บริษัทจดทะเบียน นั้นออกงบทุกไตรมาส จึงเห็น Shock ดังกล่าวอย่างน้อยก็ 2 ไตรมาส ที่เห็นดอกเบี้ยที่จ่ายเพิ่มขึ้น/ลดลง หาก ธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับ ซึ่งการปรับดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้นมีความล่าช้าอยู่ประมาณ 1-4 weeks หรือไม่ปรับเลย หากไร้ซึ่งผู้นำในการปรับอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเรื่องไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตามดอกเบี้ยนโยบายนั้น เป็นสิ่งที่น่าศึกษาว่า ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เนื่องจากเงินในระบบมีสภาพคล่องที่ล้นหรือภาวะที่เงินตึงตัวเกิดไปหรือเปล่า หรือธนาคารพาณิชย์มีเงินเพียงพอไม่จำเป็นต้องระดมทุน
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าติดตาม มันเหมือนพฤติกรรมเลยล่ะเนี่ย
อีกอย่างหนึ่ง ในการขึ้นดอกเบี้ยแต่ละครั้งนั้น มีการโยนหินถามทางอยู่เสมอๆ
ลองดูจดดูว่า สื่อไปถามใคร บ้าง หรือ สำนักไหนบ้าง แล้วจดสถิติดูผลการทายว่าเป็นเช่นไร เพราะว่า สื่อนี้เป็นสิ่งที่มีอนุภาพในการบอกเล่าเรื่องของแนวโน้มพวกนี้ได้ดี สามารถจัดทำสถิติการโยนหินถามทางได้ ทำให้เราคาดคะเนได้เลยว่า เป็นเช่นไร
สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาการสังเกต การเฝ้าติดตาม และ การแสวงหา
ที่ขึ้นหรือลงนั้น มีระยะเวลาตั้งแต่ 4-8 ไตรมาสถึงจะเห็นผลชัดเจน
แต่บริษัทจดทะเบียน นั้นออกงบทุกไตรมาส จึงเห็น Shock ดังกล่าวอย่างน้อยก็ 2 ไตรมาส ที่เห็นดอกเบี้ยที่จ่ายเพิ่มขึ้น/ลดลง หาก ธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับ ซึ่งการปรับดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้นมีความล่าช้าอยู่ประมาณ 1-4 weeks หรือไม่ปรับเลย หากไร้ซึ่งผู้นำในการปรับอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเรื่องไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตามดอกเบี้ยนโยบายนั้น เป็นสิ่งที่น่าศึกษาว่า ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น เนื่องจากเงินในระบบมีสภาพคล่องที่ล้นหรือภาวะที่เงินตึงตัวเกิดไปหรือเปล่า หรือธนาคารพาณิชย์มีเงินเพียงพอไม่จำเป็นต้องระดมทุน
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าติดตาม มันเหมือนพฤติกรรมเลยล่ะเนี่ย
อีกอย่างหนึ่ง ในการขึ้นดอกเบี้ยแต่ละครั้งนั้น มีการโยนหินถามทางอยู่เสมอๆ
ลองดูจดดูว่า สื่อไปถามใคร บ้าง หรือ สำนักไหนบ้าง แล้วจดสถิติดูผลการทายว่าเป็นเช่นไร เพราะว่า สื่อนี้เป็นสิ่งที่มีอนุภาพในการบอกเล่าเรื่องของแนวโน้มพวกนี้ได้ดี สามารถจัดทำสถิติการโยนหินถามทางได้ ทำให้เราคาดคะเนได้เลยว่า เป็นเช่นไร
สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาการสังเกต การเฝ้าติดตาม และ การแสวงหา
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 14
ผมคิดว่าบอกยากครับ มันไม่สามารถโยงกันตรงๆได้ ถ้าดอกเบี้ยขึ้นแล้ว หุ้นอาจจะลงหรืออาจจะขึ้นก็ได้
ขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจ พื้นฐานของบริษัท สภาวะตลาด สภาพคล่อง และอื่นๆอีกมากครับ
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นเป็น multifactorial ครับ หุ้นแต่ละตัวก็ไม่เหมือนกันด้วย
การพยายามกะเก็ง จะทำให้มีโอกาสผิดพลาดได้มากครับ ยึดแนว VI ไว้ดีกว่าครับ
ขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจ พื้นฐานของบริษัท สภาวะตลาด สภาพคล่อง และอื่นๆอีกมากครับ
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นเป็น multifactorial ครับ หุ้นแต่ละตัวก็ไม่เหมือนกันด้วย
การพยายามกะเก็ง จะทำให้มีโอกาสผิดพลาดได้มากครับ ยึดแนว VI ไว้ดีกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 145
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 16
ถามนอกเรื่องเกียวกับการยกตัวอย่างวิธีคิด ผลตอบแทนรวมของโอกาสทั้ง 4 ทางเลือกmiracle เขียน: ทางที่ 1 ได้ 20% แต่โอกาสเกิด 10%
ทางที่ 2 ได้ 5% แต่โอกาสเกิด 20%
ทางที่ 3 ได้ 0% แต่โอกาสเกิด 40%
ทางเลือกที่ 4 ลดลง10% โอกาสเกิด 30%
ทั้งสี่ทางได้ผลตอบแทน 2.7% รวม
(1) + (2) + (3) + (4) = 20%x10% + 5%x20% + 0 + (-10%)x30%
= 2% + 1% + 0% - 3%
= 0% งี้ป่ะคับ
visit : goodmorningholding.wordpress.com
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1766
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถ้าดอกเบี้ยขึ้นหุ้นจะลงใช่ไหมครับ
โพสต์ที่ 17
มุมมองของผมว่าไม่จริงเสมอไปครับ ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมา กับตลาดหุ้นจะไม่แปรผัน
กันอย่างตรงไปตรงมาเสมอไปครับ เนื่องจากในตลาดหุ้นมีความคาดหวัง อารมณ์และสัดส่วน
ในการเก็งกำไรที่สูงมากทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจแล้วเอามาใช้กับตลาด
หุ้นได้เสมอไป
กันอย่างตรงไปตรงมาเสมอไปครับ เนื่องจากในตลาดหุ้นมีความคาดหวัง อารมณ์และสัดส่วน
ในการเก็งกำไรที่สูงมากทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจแล้วเอามาใช้กับตลาด
หุ้นได้เสมอไป