MoneyTalk@SET20Jul14จับตาหุ้นเด่น&กูรูหุ้นโลก
- i-salmon
- Verified User
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
MoneyTalk@SET20Jul14จับตาหุ้นเด่น&กูรูหุ้นโลก
โพสต์ที่ 1
Money talk@SET20July2014
ช่วงที่1 สัมมนาหัวข้อ "จับตาหุ้นเด่น"
1. วิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล
ประธานกรรมการ KAMART
2. เจริญ รุจิราโสภณ
ประธานกรรมการบริหาร SORKON
3. สุณี เสรีภาณุ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MC
4. ปิยะ พงษ์อัชฌา
กรรมการผู้จัดการ JMT
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
พื้นฐานธุรกิจ
SORKON :
- เริ่ม 30 ปีก่อน ทำสินค้าพื้นเมือง แหนม หมูยอ กุนเชียง ต่อมาทำซีฟู๊ด ตัวที่มีปริมาณมากส่งไปทั่วโลกคือ ลูกชิ้นปลาแต้จิ๋ว ถัดมาทำอาหารร่วมสมัย เช่น อองเทรย์ หมูแผ่นอบ เน้นคนรักสุขภาพ
- ปีนี้กำลังจะออกใหม่อีก 1 ตัว แบรนด์มูชิ เป็นอาหารแนวญี่ปุ่น เน้นความอร่อย งานวิจัยในอเมริกาสินค้าทอดโตมากกกว่าสินค้าอบ 20 เท่า จะหอมกว่า อร่อยกว่า สินค้าใหม่อีกตัวคือข้าวเกรียบเคลือบหมูหยอง จะออกไตรมาส 4 มีโฆษณาทีวี
- ธุรกิจ QSR อาหารแช่แข็งมองว่าจะมี margin น้อยลง จึงมองจะเพิ่ม value added ทำขาหมูยูนาน ตอนนี้จับมือ ปตท. เปิดแล้ว 10 สาขา กำลังจะเปิดอีก 10 สาขา เป็น QSR Quick service restaurant มี 2 แนว 1) แนวอีสาน ส้มตำไก่ย่างหมูปิ้ง ชื่อ แซ่บเอสเพลส 2) แนวจีน ขาหมู ข้าวหมูแดง แบรนด์ขาหมูยูนนาน ที่ผ่านมายอดขายส่วนนี้โตจากสัดส่วนรายได้รวมคาดการณ์ว่าจะเติบโต 1%->3% เติบโตปีละ 100% ไปได้ในระยะหนึ่ง
- ยอดขายปี 56 2,000 ล้าน ปีนี้คิดว่าน่าจะโตเกิน 15% %กำไรน่าจะไป 19%
MC:
- เป็นธุรกิจ lifestyle ค้าปลีก ดั้งเดิมสินค้าคือ mc ยีนส์ แต่ต่อไปจะไม่หยุดแค่เสื้อผ้า กางเกงยีนส์ แต่จะต่อยอดไปสินค้าที่ใช้กับตัว ตอนนี้มี takeover นาฬิกา และจะขยายไปกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เช่น ทำสินค้ารองรับคนที่มีรูปร่างอ้วน, สินค้านวัตกรรม เช่น กางเกงที่มีคอลลาเจน หรือกางเกงที่ลงน้ำแล้วครึ่งชั่วโมงแห้ง บางส่วนอยู่ในช่วงวิจัย บางส่วนก็มีขายแล้วเช่น กลุ่ม biker เอาเส้นใย เคฟลาร์ที่ใช้ในกันชนรถยนต์ ถักเข้าไปในกางเกงยีนส์ทำให้มีความเหนียว
- ผลิตเอง 60% outsource 40% จะขยายสัดส่วน outsource มากขึ้น
- รายได้ปีนี้คาดว่า 4000 ล้านบาท เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% sssg เติบโตต่ำกว่าคาดในครึ่งปีแรกจากสถานการณ์ความผันผวนในประเทศ แต่ยังได้การขยายสาขาใหม่ได้เร็วมาช่วย
- จุดขายมีรวมทั้งหมด 700 กว่าสาขา รวมกับ time deco มี free standing ราว 200 สาขา ปีนี้แผนจะเปิดไม่น้อยกว่า 100 จุดขาย
- Free standing ช่วยขยายในลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ mc mini, lady executive สามารถปรับสินค้าตอบสนองลูกค้าได้เร็วขึ้น และได้ margin ดีขึ้นด้วย ได้เงินสดเร็วขึ้น
- นาฬิกา เป็นเรื่องสุขภาพ หรือ lifestyle เป็น trend fashion เป็นสัญลักษณ์เมื่อมีเงินมากขึ้นก็จะซื้อเพื่อแสดงความเป็นตัวตน การบอกเวลาเป็น 2nd priority ในการตัดสินใจ เช่น เมียนมาร์ เปิด time deco 10 สาขา
KAMART
- ธุรกิจเครื่องสำอางค์ ความงาม ทำมา 5 ปี
- จุดเด่นคือคุณภาพดีในราคาที่จับต้องได้ รูปแบบความน่ารักเห็นแล้วอยากได้
- ปีนี้ไม่เน้นขยายสาขา ช่วง 10 เดือนย้อนหลัง มีเหตุการณ์ทางการเมืองจะมีปัญหาพอสมควร ตอนนี้มีราว 90 สาขา
- ขายผ่าน modern trade เกือบทุกเจ้า และมีขายผ่าน traditional trade
- สินค้าหลักๆ คือ Make up , skin care , body care พวกที่ใช้แล้วขาวใสกระจ่างจะขายดี
- สัดส่วนกำไรมี margin ที่ดี เพราะสินค้าให้ความรู้สึกดี ใช้แล้วคุ้มค่าเห็นผล
- สินค้าขายดี CC cream Color change ใช้แล้วเปลี่ยนสีผิว
- สินค้าสำหรับผู้ใหญ่ก็มี AA cream Anti aging ชะลอความแก่ สินค้า DD cream ก็มี double detox เราก็สรรหาคำพูดให้ตลาดจดจำได้ง่าย
- ช่วงหลังมีรายได้จาก make up มากขึ้น เมื่อเทียบกับ skin care/body care
- สินค้าผลิตจากบริษัทในเกาหลีและนำเข้ามา ในช่วงหลังเปลี่ยนรูปแบบสินค้าเริ่มมาบรรจุในไทย
- กระแสเกาหลียังมีผลดีอยู่ ซึ่งเราออกสินค้ามาในช่วงที่เกาหลีได้รับความยอมรับในตลาด ตอนนี้เครื่องสำอางค์เกาหลีน่าจะเป็นลำดับต้นในโลก
- สินค้าอาหารเสริม อยู่ในระยะเริ่มต้น ชื่อแบรนด์เจจูวิต้า มีหลายประโยชน์ ลดสิว ลดไขมัน
JMT
- Core business ซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหาร ลีซซิ่งรถ/รถจักรยานยนต์ และกลุ่ม retail personal loan ธุรกิจย่อยคือรับติดตามหนี้ให้กับสถาบันการเงิน เก็บได้เท่าไร คิดค่า commission 20-25% มี พอร์ตอยู่อย่างละ 50,000 ล้าน สัดส่วนรายได้ 80% มาจากซื้อหนี้ 20% จากธุรกิจรับติดตามหนี้
- มูลค่าซื้อหนี้เฉลี่ย 5% ของมูลค่าหนี้ ใช้เวลาเก็บโดยเฉลี่ย 3 ปีก็คุ้ม
- วิธีการเก็บหนี้ เราเรียกลูกหนี้ว่าลูกค้า เข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้เขา ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน เมื่อเกิดวิกฤติจะกระทบ เช่น น้ำท่วม หรือเหตุการเมือง คนไทยมักจะเป็นหนี้หลายๆประเภทพร้อมกัน ไม่สามารถเคลียร์ได้ ตั้งแต่เข้าตลาดมาเราก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี ไปช่วยแก้ไขเยียวยาให้ลูกหนี้กลับมาได้ปกติ
- ประเภทหนี้ที่ไม่รับเก็บ ได้แก่ หนี้เกษตรกร หนี้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ หนี้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล(ให้เก็บหนี้กับญาติคนจะเสีย ไม่รับ) หนี้เกี่ยวกับการศึกษา
- มูลค่าหนี้ 50,000 ล้านบาท ก็จะมีกลุ่มซ้ำๆกัน หลักการคือถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อน ยิ่งมี database เยอะยิ่งเก็บลูกค้าได้ง่าย ขั้นแรกคือ match ข้อมูลในระบบ จะเห็นว่าลูกค้ามีลักษณะอย่างไร และจะใช้วิธีโทรศัพท์ติดต่อลูกค้า โดยประนีประนอม
- ต้อง group ออกมาว่าลูกค้าแต่ละรายมี character อย่างไร เราจะเข้าไปช่วยเยียวยา เช่น มีปัญหาสะดุดการจ่ายต่อเนื่อง เราจะไม่บีบบังคับ ให้มาคุยกันว่าอาจจะให้พักไว้ก่อน 2-3 เดือนแล้วมาคุยกันอีกที
- เรามีบริษัท j asset management เปิดดำเนินการกลางปี 56 เนื่องจากสถาบันการเงินและ non-bank ฟ้องคดีลูกหนี้ไว้ แต่อยากให้ jmt เข้าไปเจรจาให้ ดีกว่าเสี่ยค่าธรรมเนียมฟ้องร้อง,ดำเนินคดี
- สิ่งสำคัญอยู่ในธุรกิจนี้ได้คือ ภาพลักษณ์เราดูแลกภาพลักษณ์เรื่องการ complain ถ้ามีเรื่องนี้เข้ามาคนขายก็ไม่อยากขายให้ ถ้าเข้าไปแล้วเผด็จศึกก็ไม่มีคนอยากคุยกับเราไม่มีคนอยากจ่าย
- ปีที่ผ่านมาซื้อหนี้ 50 กว่ากลุ่มมูลค่า 30,000 กว่าล้าน Q2 ที่ผ่านมาเราเก็บหนี้ได้สูงสุดเพราะมีบางรายยังไม่พร้อม บางรายก็พร้อมแล้ว ถ้าเราสร้างศัตรูไว้เยอะ ก็จะไม่มีคนอยากจ่ายเรา
- การตามหนี้มีแนวทางปฏิบัตืร่างโดยแบงค์ชาติตั้งแต่ปี 47 มีการชงเข้าคณะรัฐมนตรีสัปดาห์ที่ผ่านมา คนทวงหนี้ต้องมีจรรยาบรรณ 25 ปีก่อน คุณปิยะเคยขี่มอเตอร์ไซค์เก็บนี้อยู่ที่คลองเตย การทวงหนี้มีวิธีหลากหลาย ถ้าคุยกับลูกค้าโดยใช้กฏหมายนำจะได้ผลในระยะสั้น แต่การเสนอลูกค้าด้วยวิธีการต่างๆ แบ่งจ่าย,ตัดยอดหนี้, motivation ต่างๆจะเป็นเรื่องระยะยาว หนี้ 8 ปีที่ผ่านมาทุกวันนี้เราก็ยังเก็บเงินได้อยู่ ช่วงนั้นเขายังมีปัญหา เมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นก็จะกลับมาหาเรา แผนก CS(Customer service) จะคอยสำรวจความพึงพอใจ เขามักมีความเห็นว่าช่วงมีปัญหาเราเป็นคนช่วยและไม่ซ้ำเติม เมื่อเขาสามารถฟื้นคืนได้ ก็จะกลับมาหาเราก่อน
- พนักงาน 70% เป็นผู้หญิง เพราะมีความละเอียดอ่อนกว่า
- ที่เห็นข่าวตามหนังสือพิมพ์ถูกยิงเป็นการทวงหนี้นอกระบบ ลูกค้ากลุ่มเหล่านี้ก็มักจะต้องออกจากงาน เพื่อคอยหลบ ซึ่งถ้ากฏหมายออกมา ก็จะช่วยให้คนกลุ่มนี้กลับเข้ามาในระบบได้
- เราเป็นบริษัททวงหนี้เดียวที่อยู่ในตลาดและเป็นเบอร์1 ในประเทศ เพราะเราใช้หลักประนอมหนี้ กลุ่มที่ดำเนินคดีทางกฏหมายไม่เกิน 2%
- การ haircut ให้ลูกหนี้ขึ้นกับความจำเป็น ต้องมีเอกสารอ้างอิง หลักฐาน
- เศรษฐกิจไม่ดีก็ซื้อหนี้ได้มากขึ้น เศรษฐกิจดีก็เก็บหนี้ได้มากขึ้น
ผลประกอบการของบริษัท
SORKON
- ปี 56 อัตรากำไรไม่ค่อยดีเกิดจากต้นทุน ถ้าราคาเนื้อหมูแพงก็กระทบต้นทุน เช่น ต้นทุนขึ้น 20% แต่เราขึ้นราคาขายไม่ได้ ตอนนี้เราสร้าง hedging โดยมีฟาร์มของเราเอง ซึ่งปีก่อนสุกรโรคระบาดราคาขึ้นไปที่ 150 บาท ซึ่งควรจะอยู่ที่ 120 บาท ฟาร์มที่เราทำจึงสามารถช่วยชดเชยราคาหมูขึ้นได้ เช่น ราคาเนื้อหมูต้นทุนขึ้น 5 ล้านบาท แต่เราทำกำไรที่การเลี้ยงหมูอาจเกิน 5 ล้านบาท จึงชดเชยได้หรืออาจกำไรด้วย
- อองเทรย์ ขาย 1000 บาท/kg แต่ตัวที่ขายดีกว่าคือ แคพหมู 1400 บาท/kg ขาหมูขาละ 400-500 บาท ต่อไปจะแบ่งขายเป็นแพ็คละ 70-80 บาท
- ธุรกิจ QSR แรงงานคุกคามอุตสาหกรรม 1 สาขาใช้ 15 คน ถ้า 100 สาขาต้องใช้ 1,000 กว่าคน ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ เช่น home delivery หรือ vending machine อาจจะหยอดตู้แล้วได้ ส้มตำ ไก่ย่าง หมูปิ้ง แก้ปัญหาระยะยาวคือต้องใช้คนน้อยลงหรือไม่ใช้เลย
- บางสาขาขายดีต้องแจกบัตรคิวเข้าร้าน ถ้าจะโตไปข้างหน้า กำลังลองทำ 3 คนต่อสาขา ให้ลูกค้ายกอาหารเอง ในอนาคตต้องทำหยอดตู้ได้ก็อาจจะใช้ 1 คน
- AEC เปิดไม่รู้ว่าแรงงานจะไหลเข้าหรือออก คิดว่าแรงงานอาจจะกลับบ้าน
- ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล เราใช้คนแพ็คกิ้ง 50-60 คน แล่เนื้อปลาใช้คนเป็น 100 คน ซึ่งเราจะใช้เครื่องจักรลดคน
- ลูกชิ้นปลายอดขาย 30% กว่า ประเทศ CLMV บริโภคเหมือนเรา มีสินค้าบางส่วนเข้าไปแล้ว กำลังการผลิตตอนนี้ไม่พอ แต่ถ้าเหลือแล้วก็จะขายในประเทศเหล่านี้กำลังขยายกำลังผลิตจาก 9,000 -> 14,000
- การเข้าไปสู่ธุรกิจ halal เป็นเรื่องที่คนสงสัย ที่จริงเราทำตลาดกับอิสลามมา 20 กว่าปีแล้ว ลูกชิ้นปลา เราส่งไปทั่วโลกมีเครื่องหมาย halal ที่มหาชัยเรามีพื้นที่ 30 กว่าไร่ จะขยายพื้นที่อีก 3 เท่าครึ่ง สินค้า snack จากไก่จากซีฟู๊ด เป้าหมาขายที่ตะวันออกกลาง
MC
- ปี 57 สัดส่วนรายได้กำไรที่ผิดปกติเทียบกับปี 56 เกิดจากซื้อกิจการใหม่เข้ามาคือ time deco ในสัดส่วน 51% ปกติ MC มี NPM 24-25% แต่ time deco อยู่ที่ 6-7% ดังนั้นงบ consolidate เข้ามาจึงดูลดลง
- คู่แข่งเจ้าอื่นจะไม่มีสิทธิ์เอาสินค้าในกลุ่ม time deco มาขายได้ ยกเว้น king power ที่เป็นสินค้าปลอดภาษี
- ร้าน free standing มีอัตราเติบโตดีมากจนสินค้าบางตัวเริ่มขาด
- ผลประกอบการณ์ครึ่งปีแรกกระทบจากช่วงเหตุการณ์การเมือง คนเดินเข้าห้างน้อยลง มีเวลาเข้าห้างน้อยลง คิดว่าใน Q3-Q4 จะมีรายได้ sssg และสาขาใหม่ดีขึ้น ยังคงเป้าหมายเติบโต 20% เหมือนเดิม
- MC อายุ 40 ปีแล้ว คุณสุนีย์เข้ามาทำงานในช่วงต้มยำกุ้งก็เป็นช่วงท้าทาย และปีที่แล้วเข้าตลาดก็มีความสนุกท้าทาย เราเข้าตลาด 4 ก.ค.56 sentiment ตลาดเปลี่ยน ราคาหุ้นก็ลดลง ทั้งที่พื้นฐานบริษัทไม่ได้เปลี่ยน ใน1ปีที่ผ่านมาเราจึงทำความเข้าใจกับนักลงทุน ตลาดทุนมากขึ้น เข้าใจความสำคัญ IR, Roadshow มากขึ้น ตั้งแต่เข้าตลาดจนถึงวันนี้เราก็ปรับเปลี่ยนไปมากมั่นใจที่จะเติบโตต่อ บุคลากรที่เข้ามาก็มีความแข็งแกร่งเข้าใจ business model
- สัดส่วนนักลงทุนต่างประเทศตอนนี้น่าจะราว 30% เราไป road show ก็ได้ยินคำว่า too good too be true ก็มีคนคอยติดตามสอบถาม IR ซึ่งเราก็ให้ความเข้าใจ จากเดิมที่นักลงทุนต่างประเทศแค่ฟังอย่างเดียวในที่สุดก็ตัดสินใจซื้อ ล่าสุด MC ก็ติด SET 100 หลังจากเข้าตลาดไม่ถึงปี
KAMART
- ผลประกอบการปี 57 เรามีค่าใช้จ่ายการตลาดมากขึ้น Q157 เรามี spot ในทีวี ใช้งบหลายสิบล้านบาท เป็นการลงทุนสร้างแบรนด์ และก่อนหน้านี้เรามี tax shield จากขาดทุนสะสมจึงได้กำไรล้วนๆ แต่ตั้งแต่ Q1 เราต้องเสียภาษี 20%
- แนวโน้มข้างหน้า gross margin ไม่ได้ต่างจากเดิม แต่ก็ยังต้องมีลงทุนโฆษณาอยู่ เพื่อสร้างแบรนด์
- ช่องทางขายพยายามเข้าทุกช่องทาง เดิมเราไม่ได้ทำขายปลีก เรามีที่ดินอาคาร ทำเครื่องไฟฟ้า ก็จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้มากขึ้น
- การจะออกตลาดโลกต้องมีเทคโนโลยีโนว์ฮาวต่างๆ ที่ทำ 2-3 ปีในอาเซียนมา เรามีลูกค้าเกือบทุกประเทศ จะเข้าไปจดแจ้งสินค้าอย่างเป็นทางการ มีทำแล้วในเวียดนาม,สิงคโปร์,มาเลเซีย
- ผู้นำเข้าส่วนใหญ่เป็นวิธีผ่านชายแดนเหมือนหิ้วข้ามประเทศ ปกติต้องจดแจ้งทางการ เช่น แจ้ง อย. แต่ถ้าเราจะทำให้โตได้วงกว้างก็ต้องทำให้เป็นทางการ
- ในอาเซียนตอนนี้มีลูกค้าครบหมดแล้ว คุ้นเคยสินค้าเรา
- การขยายโรงงานผลิตเองของเราจะซื้อวัตถุดิบต้นน้ำมาวิจัย กำลังตั้งทีมพัฒนาสินค้า
- การขายสินค้าใน 7-11 มี 2 sku ก็ต้องเปลี่ยน size ให้เหมาะสม
JMT
- มีแผนจะไปปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนในเมียนมาร์ ที่ประเทศเขาไม่มีหนี้ เนื่องจากเดิมไม่ได้ให้สินเชื่อ ดังนั้นเก็บเงินได้ 100% ไม่มีหนี้เสีย คนเมียนมาร์ เหมือนไทย 20 ปีก่อน ค่าครองชีพต่ำ
- รัฐบาลกำหนด ห้ามปล่อยสินเชื่อมอมเมาประชาชน ให้ปล่อยสินเชื่อในลักษณะช่วยเหลือประชาชน ปล่อยสินเชื่อให้ซื้อเครื่องมือทำกิน สินเชื่อให้สตรีไปทำคลอด
- ในช่วงPilot กำหนดวงเงินไว้ 30 ล้านบาท ดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นลงตลอด ซึ่งอัตราตอนนี้สูงกว่าเมืองไทย
- ยังไม่มีกฏหมายรองรับถ้าลูกหนี้ผิดนัก ตรงนี้คงเป็นเรื่องระยะยาวต้องทดลองทำดู
- ผลประกอบการ หนี้ต้องตัดลดทุน(amortization) ปี 56 เก็บหนี้ได้เยอะมาก แต่ต้องไปตัดทอนหนี้ก้อนใหญ่อยู่ก้อนใน Q1 เช่น 5 ล้าน รับรู้ 5 แสน แต่ถ้าหนี้ก้อนนั้นตัดรับรู้หมดแล้วก็จะรับรู้ 5 ล้านบาทได้เต็ม ซึ่ง Net profit นี้น่าจะโตไม่ต่ำกว่า 50% 5 ปี แต่เราตัด 3 ปี อานิสงค์ได้จากการซื้อหนี้ รถคันแรก จำนำข้าว เราซื้อหนี้ไป 10,000 ล้าน ปีนี้ปรับเป้าซื้อเพิ่ม 13,000 ล้าน ครึ่งปีซื้อไป 6500 ล้านบาท อยู่ระหว่างดีลตอนนี้มากกว่านั้น รถคันแรก cut off Dec-55 บ.ที่ปล่อยสินเชื่อรถรายใหญ่สุดก็เป็นลูกค้าเรา ต้นทุนในการซื้อหนี้ 900 ล้านบาท แต่ดูเหมือนได้น้อยลง เพราะหนี้ใหม่ขึ้น และหนี้รถยนต์คุณภาพดีกว่า มีคนค้ำประกัน มีรถให้ติดตาม อายุลูกหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 3-5 ปี หนี้ก้อนนี้อยู่แค่ 1 ปี ก็ขายออกมาแล้ว ตัวเลขคนที่จะขายเป็นรายใหม่ๆ ที่เป็นพันธมิตรหรือลูกค้าก็มีมากขึ้น เรามีการคุยกับแบงค์ชาติ ncb(national credit bureau) หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราก็เปิดเผยให้กับคนอื่นว่าวิธีการเราโปร่งใส ดังนั้นปี 57 น่าจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของ JMT เราซื้อหนี้มาเป็นกรรมสิทธิ์เรา เราควบคุมได้ ยิ่งซื้อหนี้เยอะ ยิ่งมี cost ต่ำ เพราะซื้อหนี้คนเดิมมา คนตามก็คนเดิม ลูกค้ามาจ่ายที่เราก็มั่นใจว่าจ่ายแล้วจบ
- งบการเงินของ JMT หลักเกณฑ์ได้มีคุยกับ กลต.ไว้ เป็นหลักสากลเปลี่ยนได้ลำบาก ปกติจะดูกระแสเงินสดรับ ความมั่นคงของเราซื้อมา 60 กอง amortization หมดไป 50% แล้ว มี 3 ปีก็น่าจะตัดหมด แต่ถ้าเราซื้อหนี้ก้อนใหญ่เข้ามาก็อาจจะต้องตัดเพิ่มอีกทำให้งบการเงินเหวี่ยง ถ้าอยากทำความเข้าใจสามารถรวมตัวกันเข้าไปคุยที่ office ได้
อนาคตธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า
SORKON
- จะทำอาหารสำเร็จรูปทั้งในประเทศและข้ามชาติ ไทยฟาสฟู๊ด ยังประเมินไม่ได้ว่าเราจะใหญ่แค่ไหน แต่ความต้องการอาหารพร้อมรับประทานเยอะมาก คนรุ่นใหม่ทำอาหารกินเองไม่เป็น สำหรับคนทำเป็นก็มีข้อจำกัดด้านเวลา เราจะทำอาหารฟาสฟู๊ดกับข้าวไทย อาหารกล่อง ขายที่ร้าน ส่งไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ต
MC
- การดูแลตัวเอง สนใจภาพลักษณ์จะดีขึ้นทั้งในไทยและเพื่อนบ้าน คนจะใส่สะโหร่ง โจงกระเบน น้อยลง lifestyle จะเข้ามาแทนที่ จะเห็นสินค้าไทยหลายตัวแพร่หลายในภูมิภาค
KAMART
- แบรนด์สินค้าเราคือ Cathy doll อนาคตจะสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้จักเหมือนเครื่องสำอางค์ชั้นนำของโลก รอรีอัล เมเบิลลิน แบรนด์เราจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีมาที่เราทุ่มเทงบประมาณในการโฆษณา 30% โฆษณาเป็นเครื่องสำอางค์
- จากฐานเดิมที่มีรายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เรามีซื้อที่ดิน 1 ผืนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะทำให้มีรายได้ที่แน่นอนจากอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนส่วนเกินที่เหลือจากที่ตั้งใจจะปันผล
JMT
- วางเป้าเติบโต 3-5 ปีข้างหน้า NPM 20-30% ช่องของเรายังมีอีกมา ใน j asset management มีเป็นแสนล้านบาทที่สถาบันการเงินฟ้องแล้วยังไม่ได้ทำอะไรต่อ ตลาดนี้ข้างบนคือ BAM กับ SAM ลงมาเป็น ACAP แล้วก็เป็น JMT ซึ่งของเราคือจะเป็นยอดหนี้ต่ำกว่า 10 ล้านลงมา ต่างกับคนอื่นที่เป็นขนาดใหญ๋ % หนี้เสียอาจไม่เพิ่ม แต่อัตราปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ยังไม่เห็นบริษัทไหนบอกจะปล่อยสินเชื่อลดลง %NPL เพิ่มขึ้น %ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนน่าจะปล่อยหนี้ออกมาขายมากขึ้น
- มีอีกธุรกิจเป็นนายหน้าประกันภัย j insurance ประกันวินาศภัย รถยนต์ อุบัติเหตุส่วนบุคคล ใช้บุคคลากรเดิม ทำเหมือนเก็บหนี้ แต่เปลี่ยนมาขายของคนแทน
ประกันภัยเจ้าใหญ่ขายผ่านเทเลเซล อีกเจ้าของผ่านออนไลน์ JMT มีทำทั้ง 2 อย่าง แต่เราจะขายผ่าน modern trade ผ่าน shop JMART ช่วยขายด้วย
ช่วงที่ 2 สัมมนาหัวข้อ “ตามรอยหุ้นกูรูโลก”
1. วิบูลย์ พึงประเสริฐ
นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
2. พรชัย รัตนนนทชัยสุข
นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
3. ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์
นักเขียนนักวิชาการด้านการลงทุน
4. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
หลักการลงทุน ฟิลิป ฟิชเชอร์ (โดย คุณวิบูลย์)
- หนังสือแนะนำ คัมภีร์ VI คุณวิบูลย์+คุณมนครี , Common stock Uncommon profit ฟิลิป ฟิชเชอร์, รู้เขารู้เรา เล่นหุ้น 100 ชนะ 70 ดร.นิเวศน์ เปลี่ยนชื่อหนังสือ-> ชื่อเดิมธรรมะกับการลงทุน
- อ.บัฟเฟตต์มี 2 ท่าน คือ เบน เกรแฮม กับ ฟิลิป ฟิชเชอร์
- ฟิชเชอร์เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบัฟเฟต์รู้จักเขาจากหนังสือ Common stock Uncommon profit ซึ่งบัฟเฟต์บินไปหาเพื่อคุยกับฟิชเชอร์แล้วหลังจากนั้นก็สนิทกัน
- บัฟเฟต์ช่วงแรกลงทุนแบบก้นบุหรี่ ลงทุนในหุ้นที่ถูกมากๆ ก้นบุหรี่หยิบมาสูบแล้วทิ้งไป ดูจากงบการเงินเป็นหลัก ไม่สนใจผู้บริหาร ไม่สนใจธุรกิจ ดู working capital ราคาหุ้นต่ำกว่าเงินทุนหมุนเวียนคือใช้ได้ แล้วก็ไปดูหนี้สิน ซึ่งบัฟเฟต์พบว่าหุ้นไม่ไปไหน ธุรกิจบางทีแย่ลงราคาหุ้นก็ไม่ไปไหนหรือลดลง จึงหาวิธีอื่นที่จะลงทุนในระยะยาว ซึ่งหนังสือของฟิชเชอร์ตอบโจทย์ ลงทุนในหุ้นเติบโต ความสามารถแข่งขัน ผู้บริหาร อุตสาหกรรม และประเมินอนาคตธุรกิจ ซื้อหุ้นแล้วถือยาว ถ้าหุ้นยังเติบโตอยู่ก็ถือไปเรื่อยๆ ในระยะหลังบัฟเฟต์ก็ลงทุนแบบนี้มากขึ้นทั้ง coke หรือ American express
- บริษัทที่ส่วนใหญ่ฟิชเชอร์จะซื้อบ.เทคโนโลยี ดาวเคมิคอล หรือ เท็กซัส อินสตรูเมนท์ ซึ่งมี R&D
- ฟิชเชอร์เสียอายุตอน 90 กว่าปี ซึ่งยังทำงานอยู่จนวันนั้น (อ.เสน่ห์เสริม เสียชีวิต11 มี.ค. 2004) (อ.นิเวศน์ ลูกก็สืบทอดทำแบบเดียวกัน)
- ถ้าเป็นสมัยนี้ฟิชเชอร์คงซื้อหุ้นแบบ apple หรือ google
- ก่อนจะซื้อหุ้นจะศึกษาอย่างดี สัมภาษณ์ผู้บริหาร ถ้าไม่ให้ก็สัมภาษณ์บริษัทคู่แข่ง ก็จะได้ฟังเรื่องไม่ดีของบริษัทที่เราสนใจด้วย สัมภาษณ์ลูกค้าบริษัท, supplier และมาวิเคราะห์ตัวธุรกิจและแผนงานของบริษัท ใช้เวลานานหลายเดือนในการตัดสินใจ โดยจะทุ่มเงินเข้าไปซื้อ 3-5 บริษัท focus มาก
- สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเราได้คือศึกษาหุ้นอย่างดี วิเคราะห์ดี อย่าถือหลายตัวนัก
- ในเมืองไทยมีหลายบริษัทที่ผ่านไป 10 ปีขึ้นมาเป็น 10 เท่า ตอนนี้ก็จะแพงไปแล้วเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน ก็คงต้องหาหุ้นตอนนี้ที่มีอนาคต
- จังหวะขาย มองว่าถ้าหุ้นมีความสามารถแข่งขันลดลง คู่แข่งเข้ามามากขึ้น บริษัทไม่ได้เป็นที่ 1 หรือ 2 ของอุตสาหกรรมแล้วก็ขาย ไม่สนใจราคา
- IPO ฟิชเชอร์ไม่ค่อยซื้อ ส่วนใหญ๋จะซื้อที่ผลดำเนินงานมานาน และยังเติบโตได้
- อ.เสน่ห์ เสริมฟิชเชอร์ บอกต้องดูผู้บริหารว่ามี integrity แปลว่า อุตมสัตยา อุดมไปด้วยความซื่อสัตย์ คุณวิบูลย์ เช่น บ.เอนรอน เป็นบ.ขนาดใหญ่ เจ้าตลาด แทบจะผูกขาดท่อแก๊สในอเมริกา แต่ผบห.ตกแต่งบัญชี และบริษัทล้มละลาย
- อ.เสน่ห์ ฟิชเชอร์บอกอย่าซื้อหุ้นเพราะชอบ annual report คุณวิบูลย์ ตีความว่าสมัยก่อนนักลงทุนรู้จักผู้บริหารผ่าน annual report อย่างเดียว สมัยนี้มีหลายทาง มองว่าอย่าเชื่อมั่นในโครงการผู้บริหารมากนัก ต้องดูว่าทำแล้วได้กำไรหรือเปล่า บริษัทมีความสามารถแค่ไหน มีหลายๆครั้งที่ลงทุนแล้วก็ขาดทุน
- ฟิชเชอร์บอกว่าซื้อหุ้นไม่ใช่ซื้อตอนไหนก็ได้ การซื้อหุ้น growth stock ที่ดีต้องซื้อตอนตลาดตกต่ำ หรือตอนมีปัญหาชั่วคราว เช่น ตอนบัฟเฟตต์ซื้อหุ้นอเมริกันเอ็กเพลส ร่วงเพราะมีปัญหาโครงการที่กู้เงินแต่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลักที่เป็นบัตรเครดิต จึงเข้าไปซื้อ
- ฟิชเชอร์บอกอย่ากระจายความเสี่ยงมากเกินไป
Benjamin Graham (โดย คุณพรชัย)
- หนังสือ Intelligence investor เล่มสีแดง เบน เกรแฮม คุณพรชัยแปล, มีเล่มสีเหลืองเป็นฉบับแบบสั้นกว่า, บทเรียนนักลงทุนชั้นนำของโลก
- เป็นคนละขั้วกับฟิลิป ฟิชเชอร์ เบนเกรแฮมเคยตั้งกองทุนจนมีช่วงหนึ่งหุ้นดาวโจนส์ขึ้นมากปี 1925-1929 แล้วก็ลงมากปี 1929 หุ้นลง 89% ซึ่งเกรแฮมเจ็บตัวมาก ต้องไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขียนหนังสือเล่มแรกคือ security analysis ในปี 1934
- เบนเกรแฮมผ่านช่วงวิกฤติมาจึงเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งช่วงแบบนั้นงบการเงินจะไม่ค่อยมีกำไร จะไม่ค่อยมีบริษัทดูดีๆซื้อน้อยๆตัว งบดุล กระจายความเสี่ยง หลักการที่ดัง เรียกว่า Net-net คือเอา สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน ถ้าต่างมากๆคือ ถูกมากเหมือนได้เปล่า สินทรัพย์ถาวรเหมือนเป็น upside
- อย่างในช่วงต้มยำกุ้ง คุณเวบเคยดูก็ได้หุ้นหลายตัว บางตัวสินค้าหมุนเวียน เป็นสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้ แต่มันด้อยค่าได้ ซึ่งสุดท้ายก็อาจติดลบเจ็บตัวได้เหมือนกัน
- ดังนั้นจะลงทุนแบบใครก็ต้องทำให้ครบหลักการ ไม่ใช่หลักซื้อแบบเบนเกรแฮม แต่ถือน้อยตัวแบบฟิชเชอร์
- เกรแฮมบอกนักลงทุนไม่เหมือนกัน แบ่งเป็นเชิงรับ และเชิงรุก ไม่ใช่แบ่งตามอายุแบบนักวางแผนการเงิน จะลงทุนได้แค่ไหนอยู่ที่ความพยายามทุ่มเทเวลา ถ้าให้เวลามากเป็นนักลงทุนเชิงรุก แต่ถ้าไม่มีเวลามากเป็นเชิงรับ ซึ่งต้องรู้ว่าเราเป็นแบบไหน นักลงทุนเชิงรับให้ลงทุนบริษัทใหญ่ มีชื่อเสียง มีเงินปันผลต่อเนื่อง จำนวนซัก 10 บริษัท ไม่ต้องใช้เวลาติดตามมาก นักลงทุนเชิงรุก พวกนี่อยากซื้ออะไรก็ซื้อไป ประเด็นที่ทำให้คนขาดทุนเยอะ เพราะนักลงทุนเชิงรับไปลงทุนแบบเชิงรุก
- สมัยนั้นต้องหางบการเงิน กดเครื่องคิดเลข ทำตามก็น่าจะได้เงิน แต่สมัยนี้จะใช้ไม่ค่อยได้ผลแล้ว เพราะทุกคนมีข้อมูลคิดออกง่าย ดังนั้นถ้าถามบัฟเฟตต์ว่าเรียนรู้อะไรจากเบน เกรแฮมก็จะไม่พูดเรื่อง หุ้นnet-net มี 3 ข้อ 1) ซื้อหุ้นเป็นธุรกิจ 2) ตลาดขึ้นลงตลอด อย่าไปตกใต้ความผันผวน ถ้าตลาดบ้าคลั่งก็เป็นโอกาสขาย ถ้าเราไปตกใต้อิทธิพลตลาดก็จะซื้อแพงขายถูก บัฟเฟต์เคยบอกว่าถ้าคนซื้อหุ้นตก 50% ทนไม่ได้อย่าเข้าตลาด แต่บางทีเราก็เอาไปใช้กันผิด ถือจนตกไป 50% ก็ไม่ขายจนมันเจ๊ง ต้องใช้กับบริษัทที่มันดี ซึ่งในระยะยาวมันก็จะผ่านไปได้ ไม่ใช่ใช้กับหุ้นเก็งกำไร เป็น VI จำเป็น 3) ซ้อหุ้นให้มี margin of safety อย่าซื้อหุ้นที่แพง หรือไม่ถูก
- Margin of safety คือส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย เราสามารถคิดผิดได้ ทำให้การที่จะคิดให้ได้ตรงเป๊ะไม่จำเป็น เช่น ประเมินได้มูลค่า 100 ซื้อที่ 60
- จะรู้ว่าเป็นนักลงทุนแบบไหน ก็ดูจากพฤติกรรมเราเองว่าวันๆทำอะไร
- เบนเกรแฮมซื้อหุ้นหลายตัวมาก กระจายจึงไม่มีตัวเด่น ตัวที่ดังมีคือ geico บัฟเฟตต์เห็นว่าเกรแฮมถือจึงไปหาผู้บริหารที่ geico ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยขายตรง
จอห์น เนฟ (โดย ดร.กุศยา)
- ช่วงหลังวิกฤติมีกูรูเกิดหลายคน ก็จะอายุไล่เลี่ยกัน ตอนนี้ประมาณ 83 ปี เกิดที่โอไฮโอ พ่อแม่แยกทางกัน เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ขยันทำงาน จากนั้นไปเรียนปริญญาตรี แล้วก็กลายเป็นนักเรียนที่ได้แต่เกรด A ต้องยกความดีให้กับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเขาเรียนแล้วชอบมาก ชื่อ ดร.ซิดนีย์ รอบบินส์ เป็นอ.ที่มหาลัยโคลัมเบีย และย้ายไปโอไฮโอ (อ.นิเวศน์/อ.ไพบูลย์เสริมว่าเป็นคนที่มาศึกษาการจัดตั้งตลท.)
- ตอนอายุ 11 ปี จอห์น เนฟ หาเงินใช้เองโดยไม่ขอพ่อแม่ โดยดูการแข่งเบสบอลว่าแมตซ์ไหนน่าสนใจ แล้วซื้อตั๋วเข้าชมมาล่วงหน้า แต่เอาไปขายในราคาแพงขึ้นเพราะมีคนอยากดูแต่ไม่มีตั๋ซ อายุ 12 ปี กลางวันเป็นแคดดี้ กลางคืนส่งหนังสือพิมพ์ แล้วเอาเงินจำนวนนี้ไปเรียนต่อปริญญาตรี (ดร.นิเวศน์เสริม กูรูโลกทำเหมือนกันเลย ปีเตอร์ลินซ์ก็เคยเป็นแคดดี้ บัฟเฟตต์ก็เคยส่งหนังสือพิมพ์)
- หลังจบมหาวิทยาลัยทำงานที่ธนาคารในcleveland ชื่อ national city bank of cleveland
- เรียนต่อโทภาคค่ำจนจบสาขาการเงิน และลาออกไปเป็นผู้บริหารกองทุน
- ในช่วงปี 1963 กองทุนที่ใหญ๋สุดในอเมริการตกต่ำ และถูกฟ้องร้อง ถูกยึดชื่อกองทุนเบริงตัน เป็นวินด์เซอร์ แล้วจอห์นเนฟเข้าไปบริหารและผลประกอบการดีขึ้นเรื่อยๆ บริหารมา 31 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 13.7 % ต่อปี เทียบกันตลาด 10% ซึ่งชนะตลาดมาตลอด เกษียณอายุปี 1995
- วิธีการของเนฟ ลงทุนดูคุณภาพบริษัท ผลประกอบการเหมือนกัน แต่จะคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมด้วย แล้วเอามาคาดการณ์ผลประกอบการบริษัท คือดูมหภาคด้วย
- สรุปหลักการลงทุน จอห์นเนฟ 7 ข้อ
1) ดูหุ้น pe ต่ำๆ
2) ต้องมีอัตราเติบโตพื้นฐานไม่น้อยกว่า 7% ต่อปี ถ้าต่ำกว่า 6% ขาย ถ้าโตมากกว่า 20% ขาย เพราะถ้ามากเกินไปอาจรักษาอัตราการเติบโตแบบนี้ไม่ได้
3) มีปันผลสม่ำเสมอและมีแนวโน้มมากขึ้น
4) ผลตอบแทนโดยรวม เทียบกับ pe ต้องสูงกว่า pe หรือ เอาอัตราเติบโตกำไร + %ปันผล หารด้วย pe ควรอยู่ที่ 2:1
5) หุ้นที่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ควรซื้อที่ pe ต่ำมากๆ หรือ pe ที่เคยต่ำสุด ไม่อย่างนั้นก็ไม่ซื้อ
6) ลงทุนในบริษัทมั่นคงในอุตสาหกรรมที่เติบโต
7) หุ้นต้องมีปัจจัยพื้นฐานดี แข็งแรง โดยดูจาก roe สูงมากพอ สม่ำเสมอ, profit margin ไม่ดูกำไรจากการดำเนินงาน แต่จะดู ebit ต้องเติบโตและมีแนวโน้มเพิ่ม, ดูที่กระแสเงินสดอิสระ
- ราคาที่จะซื้อหุ้นต้องต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมิน ถ้าต่ำกว่ามูลค่าที่คิดน้อยกว่า 25% จะไม่ซื้อ (อ.ไพบูลย์เสริม คือ margin of safety อย่างน้อย 25%)
- มักจะมีแต่คนบอกเวลาจะซื้อหุ้นตอนไหน แต่ไม่ค่อยมีคนบอกว่าขายเมื่อไร ซึ่งเขาบอกว่ามี 2 เหตุผล คือปัจจัยพื้นฐานแย่ลง และราคาตลาดเท่ากับมูลค่าที่คำนวณได้ เป็นช่วงที่ควรขายได้แล้ว
- อ.เสน่ห์เสริมอย่างกรณีเคสเครื่องบินมาเลเซียตกควรทำอย่างไร ? ดร.กุศยา ถ้าช่วงสั้นๆ Vi ก็ถือต่อถ้าปัจจัยพื้นฐานยังดี แต่สำหรับธุรกิจการบินบัฟเฟตต์บอกว่าใครอยากเจ๊งก็ให้ลงทุนในธุรกิจการบินพาณิชย์ แต่บัฟเฟตต์ซื้อ flight simulator กับ net jet ทำเหมาลำและขายสัดส่วนความเป็นเจ้าของ
ปีเตอร์ ลินซ์ (โดย ดร.นิเวศน์ )
- หนังสือ one up on wall street ปีเตอร์ ลินซ์
- เป็นตำนานของผู้บริหารกองทุนที่ยังไม่มีใครทำลายสถิติได้ เพราะเขาเกษียณไปก่อน เหมือนชกมวยชนะมาตลอดแล้วแขวนนวม
- เคยเป็นแคดดี้ แล้วฟังนักกอล์ฟคุยเรื่องหุ้นกัน ไปเรียนจบด้านศิลปะ วรรณคดีมา ซึ่งเป็นนักการเงินที่มี background เป็นศิลปศาสตร์ ต่อมาได้ไปบริหารกองทุนแมคเจลลันฟันด์ บริหาร 13 ปี ผลตอบแทนราว 30% ทบต้น (อ.เสน่ห์เสริมว่า ขนาดกองทุนเพิ่มจาก 20 million เป็น 40 billion US)
- อย่าง บิล มิลเลอร์ เคยขึ้นสูงมากครั้งหนึ่ง อาจจะ 8-9 ปี แล้วก็เจ๊งไป
- ปีเตอร์ ลินซ์ซื้อหุ้นเกือบทุกตัว มีหุ้นเป็นพันตัว เล่นหุ้นได้ทุกรูปแบบ ส่วนที่โดดเด่นมาก คือเป็นคนแรกที่บอกว่านักลงทุนไม่ต้องเป็นมืออาชีพ เป็นชาวบ้านก็ได้ ต้องใช้ common sense จะรู้ข้อมูลที่สำคัญกองพวกนักลงทุนอาชีพนักวิเคราะห์ หุ้นดีๆอยู่รอบตัวเราไม่ได้อยู่ในห้องค้า เค้าจะคอยฟังเมียพูดอะไร เด็กพูดอะไร คนขับ taxi ถ้าทำงานอะไรที่เราคุ้นเคยดี ก็จะเป็นโอกาสเห็นหุ้นดีๆ เป็นการเปิดโลกใหม่ให้คนเห็นว่าการลงทุนหุ้นไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องรอบตัว
- ลินซ์เคยเล่าถึงหุ้นตัวหนึ่งทุกคนไม่สนใจเลย เป็นธุรกิจจัดงานศพ ซึ่งหุ้นนี้ก็ขึ้นมากมาย ถ้าธุรกิจทำได้ดีมากก็ไปซื้อหุ้นเขา
- ลินซ์แบ่งหุ้นออกเป็น 6 กลุ่ม ให้พิจารณาดูเมื่อดูหุ้นจะรู้ว่าต้องทำอย่างไร
1) หุ้นโตช้า ไม่โตหรือติดลบ รายได้กำไรไม่ค่อยโต ไม่ต้องสนใจ แต่ถ้าจะซื้อก็คือต้องปันผลดีมาก ซึ่งลินซ์ไม่ชอบกลุ่มนี้ แต่ก็ดูเป็นบริษัท เช่น อุตสาหกรรมไม่เติบโต แต่มีบริษัทขายพรม กิน market share ไปได้เรื่อยๆ ก็เติบโตได้ แบบนี้ซื้อได้
2) หุ้นแข็งแกร่ง เติบโตได้เรื่อยๆ หรือเติบโตตามเศรษฐกิจ เป็น blue chip จะมั่นคงทนทานภาวะเศรษฐกิจได้ เช่น แบงค์ ซื้อได้แต่ต้องรู้เวลาขาย ถ้ากำไร 30-50% แล้วก็อย่าไปเก็บไว้ เพราะหุ้นแบบนี้โตได้ไม่เร็ว
3) หุ้นโตเร็ว ลินซ์ชอบกลุ่มนี้ เป็นหุ้นเล็กในเมืองนอก ต้องเติบโต 20-25% อาจจะโตได้ต่อเนื่องซัก 5 ปี ซื้อแล้วถือไว้รอจนบางทีอาจจะขึ้นไป 10 เท่าถึงจะขาย ถ้ามันยังโตเร็วอยู่ เป็นหุ้นเด้ง (bagger) เวลาโตแล้วจะดูด้วยว่ากำไรโตอย่างไร สิ่งที่เน้นคือ ถ้าเป็นสาขาจะเห็นชัดว่าเปิดสาขาเพิ่มโตอย่างไร หรืออย่างตัดผม อาจมีโรงเรียนสอนตัดผม ร้านค้าปลีก ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ทำให้เขาประสบความสำเร็จสูง
4) หุ้นวัฏจักร หุ้นบางตัวเหมือนโต แต่โตไม่นาน เพราะเป็น cycle ราคาสินค้าขึ้น ไม่ใช่เกิดการขายมากขึ้น เช่นในบ้านเราเคยหุ้นเรือวิ่งขึ้นมากจากค่าระวาง หุ้นแบบนี้ต้องเล่นเป็นรอบ ได้ผลตอบแทนมาก แต่ก็เจ๊งได้มาก เวลาราคาหุ้นวิ่งขึ้น กำไรขึ้นสูงมากกว่า ก็ทำให้ pe ถูก ซึ่งลินซ์บอกว่าหุ้นพวกนี้ต้องซื้อตอน pe สูง ตอนกำไรแย่ๆ ราคาตกลงมาก แต่น้อยกว่ากำไร ต้องซื้อตอนที่ยอดขายกำลังฟื้นตัว ตกต่ำไปหลายปี เช่น 3 ขึ้นไป ซื้อแล้วก็รอไว้
5) หุ้น turn around บริษัทที่ตกต่ำหนัก จะเจ๊ง ขาดทุนมาก ราคาหุ้นตกต่ำ ต้องซื้อหุ้นที่ไม่เจ๊ง มีเงินสดมาก หนี้ไม่มากเกินไป วันหนึ่งอาจจะฟื้นคืนมาได้ ซื้อในช่วงที่มั่นใจว่าไม่เจ๊งและจะฟื้นได้
6) หุ้น asset play ทรัพย์สินมาก เอาทรัพย์สินทั้งหมดมาคำนวณ ลบหนี้สิน แล้วเทียบกับ market cap เช่นได้คิดมูลค่าได้ 100 บาทต่อหุ้น แต่หุ้นราคา 50 บาท ก็ซื้อไปแล้วรอ unlock แก้ปัญหาหุ้นได้ ราคาหุ้นก็จะสูงมาก
- แบรนด์เนมของลินซ์ คือ ราคาหุ้นจะตามกำไรเสมอในระยะยาว จะพลอตให้ดูเส้นราคาหุ้นกับกำไรคู่กัน ถ้ากำไรเพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่เพิ่มขึ้น ยิ่งมีโอกาสซื้อหุ้นแล้วราคาขึ้นมาก ลินซ์ใช้สูตร peg ต่ำกว่า 1 คำนวณโดยเอา pe หารด้วย growth ของกำไร เช่น ถ้า pe 10 เท่า มี growth 20% peg = 0.5 ซื้อได้
- อีกคำพูดที่ดังของลินซ์คือ อย่าเด็ดดอกไม้และรดน้ำให้วัชพืช หุ้นดีๆขึ้นเราก็ขายทิ้ง แต่หุ้นไม่ดีขาดทุนเราก็ไม่ขาย บางทีซื้อเพิ่มอีกเป็นการดน้ำให้วัชพืช
- อ.เสน่ห์ เสริมมีคำพูดบอกว่า ให้ avoid long shot คืออะไร? อ.นิเวศน์ ลงทุนอย่าไปหวังลูกฟลุ๊ก
สรุปปิดท้าย
- คุณวิบูลย์ บัฟเฟตต์เคยบอกว่าหลักลงทุนเขา 50% เกรแฮม 50% ฟิชเชอร์ แต่คิดว่าระยะหลังบัฟเฟต์ แนวคิด 80% เป็นฟิชเชอร์ ไปพบผู้บริหาร ซื้อหุ้นโฟกัสจำนวนไม่มากและระยะหลังซื้อหุ้นที่อยู่นอกตลาดมากกว่า ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ปิดไปก็ไม่เป็นไร
- คุณพรชัย กูรูโลกมีจุดเด่นคือวินัย บัฟเฟตต์มักบอกว่าซื้อหุ้นบริษัทที่เข้าใจ แต่บ้านเราซื้อตามกันบางทีไม่รู้เรื่องกิจการ นักลงทุนที่เก่งๆส่วนใหญ่ถ้าขาดทุนมักจะเกิดจากวินัย ตลาดขึ้นแล้วโลภ หรือทนเห็นคนอื่นกำไรก็เข้าไปซื้อบ้าง วินัยนักลงทุนต้องพึ่งตัวเอง ไม่ได้มีโค้ชควบคุม บางทีเห็นคนอื่นได้กำไรจากหุ้นไม่ดี เราก็อยากได้บ้าง ไม่ใช่กูรู แต่กรูไม่รู้แต่กรูเคาะ มีน้อยคนที่ผ่านไปหลายสิบปียังอยู่ได้ ไม่งั้นก็จะไม่ยั่งยืน อยากให้ยึดหลักการ และมีวินัย แต่จะยากหน่อยเพราะไม่มีตัวช่วย
- ดร.กุศยา ลินซ์มีบอกว่า ถ้าหุ้นถ้าเติบโตมากไปให้ระวัง อาจจะเป็นเพราะระยะสั้น และอาจจะรักษาการเติบโตได้ไม่ตลอด ดังนั้นจะศึกษาหุ้น 6 ประเภทของลินซ์ก็ต้องศึกษาให้ถูกต้อง ฟิชเชอร์ บอกเหตุผลที่จะขายหุ้น 3 เรื่อง คือ
1) เมื่อพบว่าการซื้อของเราผิดพลาดแม้จะขาดทุนก็ต้องตัดใจ
ไม่ใช่ไม่ขายไม่ขาดทุน ดูที่ปัจจัยพื้นฐานว่าตัดสินใจผิดไหม
2) ขายเมื่อบริษัทเหตุผลเปลี่ยนแปลง ตามเกณฑ์การซื้อ 15 ข้อของฟิชเชอร์
3) ขายเมื่อพบว่ามีการลงทุนอย่างอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า น่าสนใจกว่า ต้องดูจริงๆไม่ใข่ฟังเขาว่า
Money talk ครั้งต่อไป เสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557 เปิดจอง 2 สิงหาคม 2557 มี 2 หัวข้อ :
1) บริษัทจดทะเบียน เช่น jubilie, pttgc,..
2) กลยุทธลงทุนมนุษย์เงินเดือน(สู่อิสรภาพทางการเงิน) วิทยากร คุณtheenuch, ดร.สมจินต์, ดร.นิเวศน์
รอตามประกาศทาง facebook
สุดท้ายขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร ผู้บริหารและวิทยากรทุกท่าน
ขอบคุณทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่านที่ทำให้มีการสัมมนาครับ
ถ้าหากมีสิ่งผิดพลาดขาดตกไปขออภัยด้วยครับช่วยกันเสริมได้ครับ ขอบคุณครับ
ช่วงที่1 สัมมนาหัวข้อ "จับตาหุ้นเด่น"
1. วิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล
ประธานกรรมการ KAMART
2. เจริญ รุจิราโสภณ
ประธานกรรมการบริหาร SORKON
3. สุณี เสรีภาณุ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MC
4. ปิยะ พงษ์อัชฌา
กรรมการผู้จัดการ JMT
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
พื้นฐานธุรกิจ
SORKON :
- เริ่ม 30 ปีก่อน ทำสินค้าพื้นเมือง แหนม หมูยอ กุนเชียง ต่อมาทำซีฟู๊ด ตัวที่มีปริมาณมากส่งไปทั่วโลกคือ ลูกชิ้นปลาแต้จิ๋ว ถัดมาทำอาหารร่วมสมัย เช่น อองเทรย์ หมูแผ่นอบ เน้นคนรักสุขภาพ
- ปีนี้กำลังจะออกใหม่อีก 1 ตัว แบรนด์มูชิ เป็นอาหารแนวญี่ปุ่น เน้นความอร่อย งานวิจัยในอเมริกาสินค้าทอดโตมากกกว่าสินค้าอบ 20 เท่า จะหอมกว่า อร่อยกว่า สินค้าใหม่อีกตัวคือข้าวเกรียบเคลือบหมูหยอง จะออกไตรมาส 4 มีโฆษณาทีวี
- ธุรกิจ QSR อาหารแช่แข็งมองว่าจะมี margin น้อยลง จึงมองจะเพิ่ม value added ทำขาหมูยูนาน ตอนนี้จับมือ ปตท. เปิดแล้ว 10 สาขา กำลังจะเปิดอีก 10 สาขา เป็น QSR Quick service restaurant มี 2 แนว 1) แนวอีสาน ส้มตำไก่ย่างหมูปิ้ง ชื่อ แซ่บเอสเพลส 2) แนวจีน ขาหมู ข้าวหมูแดง แบรนด์ขาหมูยูนนาน ที่ผ่านมายอดขายส่วนนี้โตจากสัดส่วนรายได้รวมคาดการณ์ว่าจะเติบโต 1%->3% เติบโตปีละ 100% ไปได้ในระยะหนึ่ง
- ยอดขายปี 56 2,000 ล้าน ปีนี้คิดว่าน่าจะโตเกิน 15% %กำไรน่าจะไป 19%
MC:
- เป็นธุรกิจ lifestyle ค้าปลีก ดั้งเดิมสินค้าคือ mc ยีนส์ แต่ต่อไปจะไม่หยุดแค่เสื้อผ้า กางเกงยีนส์ แต่จะต่อยอดไปสินค้าที่ใช้กับตัว ตอนนี้มี takeover นาฬิกา และจะขยายไปกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เช่น ทำสินค้ารองรับคนที่มีรูปร่างอ้วน, สินค้านวัตกรรม เช่น กางเกงที่มีคอลลาเจน หรือกางเกงที่ลงน้ำแล้วครึ่งชั่วโมงแห้ง บางส่วนอยู่ในช่วงวิจัย บางส่วนก็มีขายแล้วเช่น กลุ่ม biker เอาเส้นใย เคฟลาร์ที่ใช้ในกันชนรถยนต์ ถักเข้าไปในกางเกงยีนส์ทำให้มีความเหนียว
- ผลิตเอง 60% outsource 40% จะขยายสัดส่วน outsource มากขึ้น
- รายได้ปีนี้คาดว่า 4000 ล้านบาท เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% sssg เติบโตต่ำกว่าคาดในครึ่งปีแรกจากสถานการณ์ความผันผวนในประเทศ แต่ยังได้การขยายสาขาใหม่ได้เร็วมาช่วย
- จุดขายมีรวมทั้งหมด 700 กว่าสาขา รวมกับ time deco มี free standing ราว 200 สาขา ปีนี้แผนจะเปิดไม่น้อยกว่า 100 จุดขาย
- Free standing ช่วยขยายในลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ mc mini, lady executive สามารถปรับสินค้าตอบสนองลูกค้าได้เร็วขึ้น และได้ margin ดีขึ้นด้วย ได้เงินสดเร็วขึ้น
- นาฬิกา เป็นเรื่องสุขภาพ หรือ lifestyle เป็น trend fashion เป็นสัญลักษณ์เมื่อมีเงินมากขึ้นก็จะซื้อเพื่อแสดงความเป็นตัวตน การบอกเวลาเป็น 2nd priority ในการตัดสินใจ เช่น เมียนมาร์ เปิด time deco 10 สาขา
KAMART
- ธุรกิจเครื่องสำอางค์ ความงาม ทำมา 5 ปี
- จุดเด่นคือคุณภาพดีในราคาที่จับต้องได้ รูปแบบความน่ารักเห็นแล้วอยากได้
- ปีนี้ไม่เน้นขยายสาขา ช่วง 10 เดือนย้อนหลัง มีเหตุการณ์ทางการเมืองจะมีปัญหาพอสมควร ตอนนี้มีราว 90 สาขา
- ขายผ่าน modern trade เกือบทุกเจ้า และมีขายผ่าน traditional trade
- สินค้าหลักๆ คือ Make up , skin care , body care พวกที่ใช้แล้วขาวใสกระจ่างจะขายดี
- สัดส่วนกำไรมี margin ที่ดี เพราะสินค้าให้ความรู้สึกดี ใช้แล้วคุ้มค่าเห็นผล
- สินค้าขายดี CC cream Color change ใช้แล้วเปลี่ยนสีผิว
- สินค้าสำหรับผู้ใหญ่ก็มี AA cream Anti aging ชะลอความแก่ สินค้า DD cream ก็มี double detox เราก็สรรหาคำพูดให้ตลาดจดจำได้ง่าย
- ช่วงหลังมีรายได้จาก make up มากขึ้น เมื่อเทียบกับ skin care/body care
- สินค้าผลิตจากบริษัทในเกาหลีและนำเข้ามา ในช่วงหลังเปลี่ยนรูปแบบสินค้าเริ่มมาบรรจุในไทย
- กระแสเกาหลียังมีผลดีอยู่ ซึ่งเราออกสินค้ามาในช่วงที่เกาหลีได้รับความยอมรับในตลาด ตอนนี้เครื่องสำอางค์เกาหลีน่าจะเป็นลำดับต้นในโลก
- สินค้าอาหารเสริม อยู่ในระยะเริ่มต้น ชื่อแบรนด์เจจูวิต้า มีหลายประโยชน์ ลดสิว ลดไขมัน
JMT
- Core business ซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหาร ลีซซิ่งรถ/รถจักรยานยนต์ และกลุ่ม retail personal loan ธุรกิจย่อยคือรับติดตามหนี้ให้กับสถาบันการเงิน เก็บได้เท่าไร คิดค่า commission 20-25% มี พอร์ตอยู่อย่างละ 50,000 ล้าน สัดส่วนรายได้ 80% มาจากซื้อหนี้ 20% จากธุรกิจรับติดตามหนี้
- มูลค่าซื้อหนี้เฉลี่ย 5% ของมูลค่าหนี้ ใช้เวลาเก็บโดยเฉลี่ย 3 ปีก็คุ้ม
- วิธีการเก็บหนี้ เราเรียกลูกหนี้ว่าลูกค้า เข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้เขา ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน เมื่อเกิดวิกฤติจะกระทบ เช่น น้ำท่วม หรือเหตุการเมือง คนไทยมักจะเป็นหนี้หลายๆประเภทพร้อมกัน ไม่สามารถเคลียร์ได้ ตั้งแต่เข้าตลาดมาเราก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี ไปช่วยแก้ไขเยียวยาให้ลูกหนี้กลับมาได้ปกติ
- ประเภทหนี้ที่ไม่รับเก็บ ได้แก่ หนี้เกษตรกร หนี้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ หนี้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล(ให้เก็บหนี้กับญาติคนจะเสีย ไม่รับ) หนี้เกี่ยวกับการศึกษา
- มูลค่าหนี้ 50,000 ล้านบาท ก็จะมีกลุ่มซ้ำๆกัน หลักการคือถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อน ยิ่งมี database เยอะยิ่งเก็บลูกค้าได้ง่าย ขั้นแรกคือ match ข้อมูลในระบบ จะเห็นว่าลูกค้ามีลักษณะอย่างไร และจะใช้วิธีโทรศัพท์ติดต่อลูกค้า โดยประนีประนอม
- ต้อง group ออกมาว่าลูกค้าแต่ละรายมี character อย่างไร เราจะเข้าไปช่วยเยียวยา เช่น มีปัญหาสะดุดการจ่ายต่อเนื่อง เราจะไม่บีบบังคับ ให้มาคุยกันว่าอาจจะให้พักไว้ก่อน 2-3 เดือนแล้วมาคุยกันอีกที
- เรามีบริษัท j asset management เปิดดำเนินการกลางปี 56 เนื่องจากสถาบันการเงินและ non-bank ฟ้องคดีลูกหนี้ไว้ แต่อยากให้ jmt เข้าไปเจรจาให้ ดีกว่าเสี่ยค่าธรรมเนียมฟ้องร้อง,ดำเนินคดี
- สิ่งสำคัญอยู่ในธุรกิจนี้ได้คือ ภาพลักษณ์เราดูแลกภาพลักษณ์เรื่องการ complain ถ้ามีเรื่องนี้เข้ามาคนขายก็ไม่อยากขายให้ ถ้าเข้าไปแล้วเผด็จศึกก็ไม่มีคนอยากคุยกับเราไม่มีคนอยากจ่าย
- ปีที่ผ่านมาซื้อหนี้ 50 กว่ากลุ่มมูลค่า 30,000 กว่าล้าน Q2 ที่ผ่านมาเราเก็บหนี้ได้สูงสุดเพราะมีบางรายยังไม่พร้อม บางรายก็พร้อมแล้ว ถ้าเราสร้างศัตรูไว้เยอะ ก็จะไม่มีคนอยากจ่ายเรา
- การตามหนี้มีแนวทางปฏิบัตืร่างโดยแบงค์ชาติตั้งแต่ปี 47 มีการชงเข้าคณะรัฐมนตรีสัปดาห์ที่ผ่านมา คนทวงหนี้ต้องมีจรรยาบรรณ 25 ปีก่อน คุณปิยะเคยขี่มอเตอร์ไซค์เก็บนี้อยู่ที่คลองเตย การทวงหนี้มีวิธีหลากหลาย ถ้าคุยกับลูกค้าโดยใช้กฏหมายนำจะได้ผลในระยะสั้น แต่การเสนอลูกค้าด้วยวิธีการต่างๆ แบ่งจ่าย,ตัดยอดหนี้, motivation ต่างๆจะเป็นเรื่องระยะยาว หนี้ 8 ปีที่ผ่านมาทุกวันนี้เราก็ยังเก็บเงินได้อยู่ ช่วงนั้นเขายังมีปัญหา เมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นก็จะกลับมาหาเรา แผนก CS(Customer service) จะคอยสำรวจความพึงพอใจ เขามักมีความเห็นว่าช่วงมีปัญหาเราเป็นคนช่วยและไม่ซ้ำเติม เมื่อเขาสามารถฟื้นคืนได้ ก็จะกลับมาหาเราก่อน
- พนักงาน 70% เป็นผู้หญิง เพราะมีความละเอียดอ่อนกว่า
- ที่เห็นข่าวตามหนังสือพิมพ์ถูกยิงเป็นการทวงหนี้นอกระบบ ลูกค้ากลุ่มเหล่านี้ก็มักจะต้องออกจากงาน เพื่อคอยหลบ ซึ่งถ้ากฏหมายออกมา ก็จะช่วยให้คนกลุ่มนี้กลับเข้ามาในระบบได้
- เราเป็นบริษัททวงหนี้เดียวที่อยู่ในตลาดและเป็นเบอร์1 ในประเทศ เพราะเราใช้หลักประนอมหนี้ กลุ่มที่ดำเนินคดีทางกฏหมายไม่เกิน 2%
- การ haircut ให้ลูกหนี้ขึ้นกับความจำเป็น ต้องมีเอกสารอ้างอิง หลักฐาน
- เศรษฐกิจไม่ดีก็ซื้อหนี้ได้มากขึ้น เศรษฐกิจดีก็เก็บหนี้ได้มากขึ้น
ผลประกอบการของบริษัท
SORKON
- ปี 56 อัตรากำไรไม่ค่อยดีเกิดจากต้นทุน ถ้าราคาเนื้อหมูแพงก็กระทบต้นทุน เช่น ต้นทุนขึ้น 20% แต่เราขึ้นราคาขายไม่ได้ ตอนนี้เราสร้าง hedging โดยมีฟาร์มของเราเอง ซึ่งปีก่อนสุกรโรคระบาดราคาขึ้นไปที่ 150 บาท ซึ่งควรจะอยู่ที่ 120 บาท ฟาร์มที่เราทำจึงสามารถช่วยชดเชยราคาหมูขึ้นได้ เช่น ราคาเนื้อหมูต้นทุนขึ้น 5 ล้านบาท แต่เราทำกำไรที่การเลี้ยงหมูอาจเกิน 5 ล้านบาท จึงชดเชยได้หรืออาจกำไรด้วย
- อองเทรย์ ขาย 1000 บาท/kg แต่ตัวที่ขายดีกว่าคือ แคพหมู 1400 บาท/kg ขาหมูขาละ 400-500 บาท ต่อไปจะแบ่งขายเป็นแพ็คละ 70-80 บาท
- ธุรกิจ QSR แรงงานคุกคามอุตสาหกรรม 1 สาขาใช้ 15 คน ถ้า 100 สาขาต้องใช้ 1,000 กว่าคน ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ เช่น home delivery หรือ vending machine อาจจะหยอดตู้แล้วได้ ส้มตำ ไก่ย่าง หมูปิ้ง แก้ปัญหาระยะยาวคือต้องใช้คนน้อยลงหรือไม่ใช้เลย
- บางสาขาขายดีต้องแจกบัตรคิวเข้าร้าน ถ้าจะโตไปข้างหน้า กำลังลองทำ 3 คนต่อสาขา ให้ลูกค้ายกอาหารเอง ในอนาคตต้องทำหยอดตู้ได้ก็อาจจะใช้ 1 คน
- AEC เปิดไม่รู้ว่าแรงงานจะไหลเข้าหรือออก คิดว่าแรงงานอาจจะกลับบ้าน
- ธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล เราใช้คนแพ็คกิ้ง 50-60 คน แล่เนื้อปลาใช้คนเป็น 100 คน ซึ่งเราจะใช้เครื่องจักรลดคน
- ลูกชิ้นปลายอดขาย 30% กว่า ประเทศ CLMV บริโภคเหมือนเรา มีสินค้าบางส่วนเข้าไปแล้ว กำลังการผลิตตอนนี้ไม่พอ แต่ถ้าเหลือแล้วก็จะขายในประเทศเหล่านี้กำลังขยายกำลังผลิตจาก 9,000 -> 14,000
- การเข้าไปสู่ธุรกิจ halal เป็นเรื่องที่คนสงสัย ที่จริงเราทำตลาดกับอิสลามมา 20 กว่าปีแล้ว ลูกชิ้นปลา เราส่งไปทั่วโลกมีเครื่องหมาย halal ที่มหาชัยเรามีพื้นที่ 30 กว่าไร่ จะขยายพื้นที่อีก 3 เท่าครึ่ง สินค้า snack จากไก่จากซีฟู๊ด เป้าหมาขายที่ตะวันออกกลาง
MC
- ปี 57 สัดส่วนรายได้กำไรที่ผิดปกติเทียบกับปี 56 เกิดจากซื้อกิจการใหม่เข้ามาคือ time deco ในสัดส่วน 51% ปกติ MC มี NPM 24-25% แต่ time deco อยู่ที่ 6-7% ดังนั้นงบ consolidate เข้ามาจึงดูลดลง
- คู่แข่งเจ้าอื่นจะไม่มีสิทธิ์เอาสินค้าในกลุ่ม time deco มาขายได้ ยกเว้น king power ที่เป็นสินค้าปลอดภาษี
- ร้าน free standing มีอัตราเติบโตดีมากจนสินค้าบางตัวเริ่มขาด
- ผลประกอบการณ์ครึ่งปีแรกกระทบจากช่วงเหตุการณ์การเมือง คนเดินเข้าห้างน้อยลง มีเวลาเข้าห้างน้อยลง คิดว่าใน Q3-Q4 จะมีรายได้ sssg และสาขาใหม่ดีขึ้น ยังคงเป้าหมายเติบโต 20% เหมือนเดิม
- MC อายุ 40 ปีแล้ว คุณสุนีย์เข้ามาทำงานในช่วงต้มยำกุ้งก็เป็นช่วงท้าทาย และปีที่แล้วเข้าตลาดก็มีความสนุกท้าทาย เราเข้าตลาด 4 ก.ค.56 sentiment ตลาดเปลี่ยน ราคาหุ้นก็ลดลง ทั้งที่พื้นฐานบริษัทไม่ได้เปลี่ยน ใน1ปีที่ผ่านมาเราจึงทำความเข้าใจกับนักลงทุน ตลาดทุนมากขึ้น เข้าใจความสำคัญ IR, Roadshow มากขึ้น ตั้งแต่เข้าตลาดจนถึงวันนี้เราก็ปรับเปลี่ยนไปมากมั่นใจที่จะเติบโตต่อ บุคลากรที่เข้ามาก็มีความแข็งแกร่งเข้าใจ business model
- สัดส่วนนักลงทุนต่างประเทศตอนนี้น่าจะราว 30% เราไป road show ก็ได้ยินคำว่า too good too be true ก็มีคนคอยติดตามสอบถาม IR ซึ่งเราก็ให้ความเข้าใจ จากเดิมที่นักลงทุนต่างประเทศแค่ฟังอย่างเดียวในที่สุดก็ตัดสินใจซื้อ ล่าสุด MC ก็ติด SET 100 หลังจากเข้าตลาดไม่ถึงปี
KAMART
- ผลประกอบการปี 57 เรามีค่าใช้จ่ายการตลาดมากขึ้น Q157 เรามี spot ในทีวี ใช้งบหลายสิบล้านบาท เป็นการลงทุนสร้างแบรนด์ และก่อนหน้านี้เรามี tax shield จากขาดทุนสะสมจึงได้กำไรล้วนๆ แต่ตั้งแต่ Q1 เราต้องเสียภาษี 20%
- แนวโน้มข้างหน้า gross margin ไม่ได้ต่างจากเดิม แต่ก็ยังต้องมีลงทุนโฆษณาอยู่ เพื่อสร้างแบรนด์
- ช่องทางขายพยายามเข้าทุกช่องทาง เดิมเราไม่ได้ทำขายปลีก เรามีที่ดินอาคาร ทำเครื่องไฟฟ้า ก็จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้มากขึ้น
- การจะออกตลาดโลกต้องมีเทคโนโลยีโนว์ฮาวต่างๆ ที่ทำ 2-3 ปีในอาเซียนมา เรามีลูกค้าเกือบทุกประเทศ จะเข้าไปจดแจ้งสินค้าอย่างเป็นทางการ มีทำแล้วในเวียดนาม,สิงคโปร์,มาเลเซีย
- ผู้นำเข้าส่วนใหญ่เป็นวิธีผ่านชายแดนเหมือนหิ้วข้ามประเทศ ปกติต้องจดแจ้งทางการ เช่น แจ้ง อย. แต่ถ้าเราจะทำให้โตได้วงกว้างก็ต้องทำให้เป็นทางการ
- ในอาเซียนตอนนี้มีลูกค้าครบหมดแล้ว คุ้นเคยสินค้าเรา
- การขยายโรงงานผลิตเองของเราจะซื้อวัตถุดิบต้นน้ำมาวิจัย กำลังตั้งทีมพัฒนาสินค้า
- การขายสินค้าใน 7-11 มี 2 sku ก็ต้องเปลี่ยน size ให้เหมาะสม
JMT
- มีแผนจะไปปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนในเมียนมาร์ ที่ประเทศเขาไม่มีหนี้ เนื่องจากเดิมไม่ได้ให้สินเชื่อ ดังนั้นเก็บเงินได้ 100% ไม่มีหนี้เสีย คนเมียนมาร์ เหมือนไทย 20 ปีก่อน ค่าครองชีพต่ำ
- รัฐบาลกำหนด ห้ามปล่อยสินเชื่อมอมเมาประชาชน ให้ปล่อยสินเชื่อในลักษณะช่วยเหลือประชาชน ปล่อยสินเชื่อให้ซื้อเครื่องมือทำกิน สินเชื่อให้สตรีไปทำคลอด
- ในช่วงPilot กำหนดวงเงินไว้ 30 ล้านบาท ดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นลงตลอด ซึ่งอัตราตอนนี้สูงกว่าเมืองไทย
- ยังไม่มีกฏหมายรองรับถ้าลูกหนี้ผิดนัก ตรงนี้คงเป็นเรื่องระยะยาวต้องทดลองทำดู
- ผลประกอบการ หนี้ต้องตัดลดทุน(amortization) ปี 56 เก็บหนี้ได้เยอะมาก แต่ต้องไปตัดทอนหนี้ก้อนใหญ่อยู่ก้อนใน Q1 เช่น 5 ล้าน รับรู้ 5 แสน แต่ถ้าหนี้ก้อนนั้นตัดรับรู้หมดแล้วก็จะรับรู้ 5 ล้านบาทได้เต็ม ซึ่ง Net profit นี้น่าจะโตไม่ต่ำกว่า 50% 5 ปี แต่เราตัด 3 ปี อานิสงค์ได้จากการซื้อหนี้ รถคันแรก จำนำข้าว เราซื้อหนี้ไป 10,000 ล้าน ปีนี้ปรับเป้าซื้อเพิ่ม 13,000 ล้าน ครึ่งปีซื้อไป 6500 ล้านบาท อยู่ระหว่างดีลตอนนี้มากกว่านั้น รถคันแรก cut off Dec-55 บ.ที่ปล่อยสินเชื่อรถรายใหญ่สุดก็เป็นลูกค้าเรา ต้นทุนในการซื้อหนี้ 900 ล้านบาท แต่ดูเหมือนได้น้อยลง เพราะหนี้ใหม่ขึ้น และหนี้รถยนต์คุณภาพดีกว่า มีคนค้ำประกัน มีรถให้ติดตาม อายุลูกหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 3-5 ปี หนี้ก้อนนี้อยู่แค่ 1 ปี ก็ขายออกมาแล้ว ตัวเลขคนที่จะขายเป็นรายใหม่ๆ ที่เป็นพันธมิตรหรือลูกค้าก็มีมากขึ้น เรามีการคุยกับแบงค์ชาติ ncb(national credit bureau) หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราก็เปิดเผยให้กับคนอื่นว่าวิธีการเราโปร่งใส ดังนั้นปี 57 น่าจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของ JMT เราซื้อหนี้มาเป็นกรรมสิทธิ์เรา เราควบคุมได้ ยิ่งซื้อหนี้เยอะ ยิ่งมี cost ต่ำ เพราะซื้อหนี้คนเดิมมา คนตามก็คนเดิม ลูกค้ามาจ่ายที่เราก็มั่นใจว่าจ่ายแล้วจบ
- งบการเงินของ JMT หลักเกณฑ์ได้มีคุยกับ กลต.ไว้ เป็นหลักสากลเปลี่ยนได้ลำบาก ปกติจะดูกระแสเงินสดรับ ความมั่นคงของเราซื้อมา 60 กอง amortization หมดไป 50% แล้ว มี 3 ปีก็น่าจะตัดหมด แต่ถ้าเราซื้อหนี้ก้อนใหญ่เข้ามาก็อาจจะต้องตัดเพิ่มอีกทำให้งบการเงินเหวี่ยง ถ้าอยากทำความเข้าใจสามารถรวมตัวกันเข้าไปคุยที่ office ได้
อนาคตธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า
SORKON
- จะทำอาหารสำเร็จรูปทั้งในประเทศและข้ามชาติ ไทยฟาสฟู๊ด ยังประเมินไม่ได้ว่าเราจะใหญ่แค่ไหน แต่ความต้องการอาหารพร้อมรับประทานเยอะมาก คนรุ่นใหม่ทำอาหารกินเองไม่เป็น สำหรับคนทำเป็นก็มีข้อจำกัดด้านเวลา เราจะทำอาหารฟาสฟู๊ดกับข้าวไทย อาหารกล่อง ขายที่ร้าน ส่งไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ต
MC
- การดูแลตัวเอง สนใจภาพลักษณ์จะดีขึ้นทั้งในไทยและเพื่อนบ้าน คนจะใส่สะโหร่ง โจงกระเบน น้อยลง lifestyle จะเข้ามาแทนที่ จะเห็นสินค้าไทยหลายตัวแพร่หลายในภูมิภาค
KAMART
- แบรนด์สินค้าเราคือ Cathy doll อนาคตจะสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้จักเหมือนเครื่องสำอางค์ชั้นนำของโลก รอรีอัล เมเบิลลิน แบรนด์เราจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีมาที่เราทุ่มเทงบประมาณในการโฆษณา 30% โฆษณาเป็นเครื่องสำอางค์
- จากฐานเดิมที่มีรายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เรามีซื้อที่ดิน 1 ผืนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็จะทำให้มีรายได้ที่แน่นอนจากอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนส่วนเกินที่เหลือจากที่ตั้งใจจะปันผล
JMT
- วางเป้าเติบโต 3-5 ปีข้างหน้า NPM 20-30% ช่องของเรายังมีอีกมา ใน j asset management มีเป็นแสนล้านบาทที่สถาบันการเงินฟ้องแล้วยังไม่ได้ทำอะไรต่อ ตลาดนี้ข้างบนคือ BAM กับ SAM ลงมาเป็น ACAP แล้วก็เป็น JMT ซึ่งของเราคือจะเป็นยอดหนี้ต่ำกว่า 10 ล้านลงมา ต่างกับคนอื่นที่เป็นขนาดใหญ๋ % หนี้เสียอาจไม่เพิ่ม แต่อัตราปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ยังไม่เห็นบริษัทไหนบอกจะปล่อยสินเชื่อลดลง %NPL เพิ่มขึ้น %ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนน่าจะปล่อยหนี้ออกมาขายมากขึ้น
- มีอีกธุรกิจเป็นนายหน้าประกันภัย j insurance ประกันวินาศภัย รถยนต์ อุบัติเหตุส่วนบุคคล ใช้บุคคลากรเดิม ทำเหมือนเก็บหนี้ แต่เปลี่ยนมาขายของคนแทน
ประกันภัยเจ้าใหญ่ขายผ่านเทเลเซล อีกเจ้าของผ่านออนไลน์ JMT มีทำทั้ง 2 อย่าง แต่เราจะขายผ่าน modern trade ผ่าน shop JMART ช่วยขายด้วย
ช่วงที่ 2 สัมมนาหัวข้อ “ตามรอยหุ้นกูรูโลก”
1. วิบูลย์ พึงประเสริฐ
นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
2. พรชัย รัตนนนทชัยสุข
นักเขียนนักลงทุนแนวคุณค่า
3. ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์
นักเขียนนักวิชาการด้านการลงทุน
4. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
หลักการลงทุน ฟิลิป ฟิชเชอร์ (โดย คุณวิบูลย์)
- หนังสือแนะนำ คัมภีร์ VI คุณวิบูลย์+คุณมนครี , Common stock Uncommon profit ฟิลิป ฟิชเชอร์, รู้เขารู้เรา เล่นหุ้น 100 ชนะ 70 ดร.นิเวศน์ เปลี่ยนชื่อหนังสือ-> ชื่อเดิมธรรมะกับการลงทุน
- อ.บัฟเฟตต์มี 2 ท่าน คือ เบน เกรแฮม กับ ฟิลิป ฟิชเชอร์
- ฟิชเชอร์เป็นผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งบัฟเฟต์รู้จักเขาจากหนังสือ Common stock Uncommon profit ซึ่งบัฟเฟต์บินไปหาเพื่อคุยกับฟิชเชอร์แล้วหลังจากนั้นก็สนิทกัน
- บัฟเฟต์ช่วงแรกลงทุนแบบก้นบุหรี่ ลงทุนในหุ้นที่ถูกมากๆ ก้นบุหรี่หยิบมาสูบแล้วทิ้งไป ดูจากงบการเงินเป็นหลัก ไม่สนใจผู้บริหาร ไม่สนใจธุรกิจ ดู working capital ราคาหุ้นต่ำกว่าเงินทุนหมุนเวียนคือใช้ได้ แล้วก็ไปดูหนี้สิน ซึ่งบัฟเฟต์พบว่าหุ้นไม่ไปไหน ธุรกิจบางทีแย่ลงราคาหุ้นก็ไม่ไปไหนหรือลดลง จึงหาวิธีอื่นที่จะลงทุนในระยะยาว ซึ่งหนังสือของฟิชเชอร์ตอบโจทย์ ลงทุนในหุ้นเติบโต ความสามารถแข่งขัน ผู้บริหาร อุตสาหกรรม และประเมินอนาคตธุรกิจ ซื้อหุ้นแล้วถือยาว ถ้าหุ้นยังเติบโตอยู่ก็ถือไปเรื่อยๆ ในระยะหลังบัฟเฟต์ก็ลงทุนแบบนี้มากขึ้นทั้ง coke หรือ American express
- บริษัทที่ส่วนใหญ่ฟิชเชอร์จะซื้อบ.เทคโนโลยี ดาวเคมิคอล หรือ เท็กซัส อินสตรูเมนท์ ซึ่งมี R&D
- ฟิชเชอร์เสียอายุตอน 90 กว่าปี ซึ่งยังทำงานอยู่จนวันนั้น (อ.เสน่ห์เสริม เสียชีวิต11 มี.ค. 2004) (อ.นิเวศน์ ลูกก็สืบทอดทำแบบเดียวกัน)
- ถ้าเป็นสมัยนี้ฟิชเชอร์คงซื้อหุ้นแบบ apple หรือ google
- ก่อนจะซื้อหุ้นจะศึกษาอย่างดี สัมภาษณ์ผู้บริหาร ถ้าไม่ให้ก็สัมภาษณ์บริษัทคู่แข่ง ก็จะได้ฟังเรื่องไม่ดีของบริษัทที่เราสนใจด้วย สัมภาษณ์ลูกค้าบริษัท, supplier และมาวิเคราะห์ตัวธุรกิจและแผนงานของบริษัท ใช้เวลานานหลายเดือนในการตัดสินใจ โดยจะทุ่มเงินเข้าไปซื้อ 3-5 บริษัท focus มาก
- สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเราได้คือศึกษาหุ้นอย่างดี วิเคราะห์ดี อย่าถือหลายตัวนัก
- ในเมืองไทยมีหลายบริษัทที่ผ่านไป 10 ปีขึ้นมาเป็น 10 เท่า ตอนนี้ก็จะแพงไปแล้วเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน ก็คงต้องหาหุ้นตอนนี้ที่มีอนาคต
- จังหวะขาย มองว่าถ้าหุ้นมีความสามารถแข่งขันลดลง คู่แข่งเข้ามามากขึ้น บริษัทไม่ได้เป็นที่ 1 หรือ 2 ของอุตสาหกรรมแล้วก็ขาย ไม่สนใจราคา
- IPO ฟิชเชอร์ไม่ค่อยซื้อ ส่วนใหญ๋จะซื้อที่ผลดำเนินงานมานาน และยังเติบโตได้
- อ.เสน่ห์ เสริมฟิชเชอร์ บอกต้องดูผู้บริหารว่ามี integrity แปลว่า อุตมสัตยา อุดมไปด้วยความซื่อสัตย์ คุณวิบูลย์ เช่น บ.เอนรอน เป็นบ.ขนาดใหญ่ เจ้าตลาด แทบจะผูกขาดท่อแก๊สในอเมริกา แต่ผบห.ตกแต่งบัญชี และบริษัทล้มละลาย
- อ.เสน่ห์ ฟิชเชอร์บอกอย่าซื้อหุ้นเพราะชอบ annual report คุณวิบูลย์ ตีความว่าสมัยก่อนนักลงทุนรู้จักผู้บริหารผ่าน annual report อย่างเดียว สมัยนี้มีหลายทาง มองว่าอย่าเชื่อมั่นในโครงการผู้บริหารมากนัก ต้องดูว่าทำแล้วได้กำไรหรือเปล่า บริษัทมีความสามารถแค่ไหน มีหลายๆครั้งที่ลงทุนแล้วก็ขาดทุน
- ฟิชเชอร์บอกว่าซื้อหุ้นไม่ใช่ซื้อตอนไหนก็ได้ การซื้อหุ้น growth stock ที่ดีต้องซื้อตอนตลาดตกต่ำ หรือตอนมีปัญหาชั่วคราว เช่น ตอนบัฟเฟตต์ซื้อหุ้นอเมริกันเอ็กเพลส ร่วงเพราะมีปัญหาโครงการที่กู้เงินแต่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลักที่เป็นบัตรเครดิต จึงเข้าไปซื้อ
- ฟิชเชอร์บอกอย่ากระจายความเสี่ยงมากเกินไป
Benjamin Graham (โดย คุณพรชัย)
- หนังสือ Intelligence investor เล่มสีแดง เบน เกรแฮม คุณพรชัยแปล, มีเล่มสีเหลืองเป็นฉบับแบบสั้นกว่า, บทเรียนนักลงทุนชั้นนำของโลก
- เป็นคนละขั้วกับฟิลิป ฟิชเชอร์ เบนเกรแฮมเคยตั้งกองทุนจนมีช่วงหนึ่งหุ้นดาวโจนส์ขึ้นมากปี 1925-1929 แล้วก็ลงมากปี 1929 หุ้นลง 89% ซึ่งเกรแฮมเจ็บตัวมาก ต้องไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขียนหนังสือเล่มแรกคือ security analysis ในปี 1934
- เบนเกรแฮมผ่านช่วงวิกฤติมาจึงเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งช่วงแบบนั้นงบการเงินจะไม่ค่อยมีกำไร จะไม่ค่อยมีบริษัทดูดีๆซื้อน้อยๆตัว งบดุล กระจายความเสี่ยง หลักการที่ดัง เรียกว่า Net-net คือเอา สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน ถ้าต่างมากๆคือ ถูกมากเหมือนได้เปล่า สินทรัพย์ถาวรเหมือนเป็น upside
- อย่างในช่วงต้มยำกุ้ง คุณเวบเคยดูก็ได้หุ้นหลายตัว บางตัวสินค้าหมุนเวียน เป็นสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้ แต่มันด้อยค่าได้ ซึ่งสุดท้ายก็อาจติดลบเจ็บตัวได้เหมือนกัน
- ดังนั้นจะลงทุนแบบใครก็ต้องทำให้ครบหลักการ ไม่ใช่หลักซื้อแบบเบนเกรแฮม แต่ถือน้อยตัวแบบฟิชเชอร์
- เกรแฮมบอกนักลงทุนไม่เหมือนกัน แบ่งเป็นเชิงรับ และเชิงรุก ไม่ใช่แบ่งตามอายุแบบนักวางแผนการเงิน จะลงทุนได้แค่ไหนอยู่ที่ความพยายามทุ่มเทเวลา ถ้าให้เวลามากเป็นนักลงทุนเชิงรุก แต่ถ้าไม่มีเวลามากเป็นเชิงรับ ซึ่งต้องรู้ว่าเราเป็นแบบไหน นักลงทุนเชิงรับให้ลงทุนบริษัทใหญ่ มีชื่อเสียง มีเงินปันผลต่อเนื่อง จำนวนซัก 10 บริษัท ไม่ต้องใช้เวลาติดตามมาก นักลงทุนเชิงรุก พวกนี่อยากซื้ออะไรก็ซื้อไป ประเด็นที่ทำให้คนขาดทุนเยอะ เพราะนักลงทุนเชิงรับไปลงทุนแบบเชิงรุก
- สมัยนั้นต้องหางบการเงิน กดเครื่องคิดเลข ทำตามก็น่าจะได้เงิน แต่สมัยนี้จะใช้ไม่ค่อยได้ผลแล้ว เพราะทุกคนมีข้อมูลคิดออกง่าย ดังนั้นถ้าถามบัฟเฟตต์ว่าเรียนรู้อะไรจากเบน เกรแฮมก็จะไม่พูดเรื่อง หุ้นnet-net มี 3 ข้อ 1) ซื้อหุ้นเป็นธุรกิจ 2) ตลาดขึ้นลงตลอด อย่าไปตกใต้ความผันผวน ถ้าตลาดบ้าคลั่งก็เป็นโอกาสขาย ถ้าเราไปตกใต้อิทธิพลตลาดก็จะซื้อแพงขายถูก บัฟเฟต์เคยบอกว่าถ้าคนซื้อหุ้นตก 50% ทนไม่ได้อย่าเข้าตลาด แต่บางทีเราก็เอาไปใช้กันผิด ถือจนตกไป 50% ก็ไม่ขายจนมันเจ๊ง ต้องใช้กับบริษัทที่มันดี ซึ่งในระยะยาวมันก็จะผ่านไปได้ ไม่ใช่ใช้กับหุ้นเก็งกำไร เป็น VI จำเป็น 3) ซ้อหุ้นให้มี margin of safety อย่าซื้อหุ้นที่แพง หรือไม่ถูก
- Margin of safety คือส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย เราสามารถคิดผิดได้ ทำให้การที่จะคิดให้ได้ตรงเป๊ะไม่จำเป็น เช่น ประเมินได้มูลค่า 100 ซื้อที่ 60
- จะรู้ว่าเป็นนักลงทุนแบบไหน ก็ดูจากพฤติกรรมเราเองว่าวันๆทำอะไร
- เบนเกรแฮมซื้อหุ้นหลายตัวมาก กระจายจึงไม่มีตัวเด่น ตัวที่ดังมีคือ geico บัฟเฟตต์เห็นว่าเกรแฮมถือจึงไปหาผู้บริหารที่ geico ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยขายตรง
จอห์น เนฟ (โดย ดร.กุศยา)
- ช่วงหลังวิกฤติมีกูรูเกิดหลายคน ก็จะอายุไล่เลี่ยกัน ตอนนี้ประมาณ 83 ปี เกิดที่โอไฮโอ พ่อแม่แยกทางกัน เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ขยันทำงาน จากนั้นไปเรียนปริญญาตรี แล้วก็กลายเป็นนักเรียนที่ได้แต่เกรด A ต้องยกความดีให้กับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งเขาเรียนแล้วชอบมาก ชื่อ ดร.ซิดนีย์ รอบบินส์ เป็นอ.ที่มหาลัยโคลัมเบีย และย้ายไปโอไฮโอ (อ.นิเวศน์/อ.ไพบูลย์เสริมว่าเป็นคนที่มาศึกษาการจัดตั้งตลท.)
- ตอนอายุ 11 ปี จอห์น เนฟ หาเงินใช้เองโดยไม่ขอพ่อแม่ โดยดูการแข่งเบสบอลว่าแมตซ์ไหนน่าสนใจ แล้วซื้อตั๋วเข้าชมมาล่วงหน้า แต่เอาไปขายในราคาแพงขึ้นเพราะมีคนอยากดูแต่ไม่มีตั๋ซ อายุ 12 ปี กลางวันเป็นแคดดี้ กลางคืนส่งหนังสือพิมพ์ แล้วเอาเงินจำนวนนี้ไปเรียนต่อปริญญาตรี (ดร.นิเวศน์เสริม กูรูโลกทำเหมือนกันเลย ปีเตอร์ลินซ์ก็เคยเป็นแคดดี้ บัฟเฟตต์ก็เคยส่งหนังสือพิมพ์)
- หลังจบมหาวิทยาลัยทำงานที่ธนาคารในcleveland ชื่อ national city bank of cleveland
- เรียนต่อโทภาคค่ำจนจบสาขาการเงิน และลาออกไปเป็นผู้บริหารกองทุน
- ในช่วงปี 1963 กองทุนที่ใหญ๋สุดในอเมริการตกต่ำ และถูกฟ้องร้อง ถูกยึดชื่อกองทุนเบริงตัน เป็นวินด์เซอร์ แล้วจอห์นเนฟเข้าไปบริหารและผลประกอบการดีขึ้นเรื่อยๆ บริหารมา 31 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ย 13.7 % ต่อปี เทียบกันตลาด 10% ซึ่งชนะตลาดมาตลอด เกษียณอายุปี 1995
- วิธีการของเนฟ ลงทุนดูคุณภาพบริษัท ผลประกอบการเหมือนกัน แต่จะคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมด้วย แล้วเอามาคาดการณ์ผลประกอบการบริษัท คือดูมหภาคด้วย
- สรุปหลักการลงทุน จอห์นเนฟ 7 ข้อ
1) ดูหุ้น pe ต่ำๆ
2) ต้องมีอัตราเติบโตพื้นฐานไม่น้อยกว่า 7% ต่อปี ถ้าต่ำกว่า 6% ขาย ถ้าโตมากกว่า 20% ขาย เพราะถ้ามากเกินไปอาจรักษาอัตราการเติบโตแบบนี้ไม่ได้
3) มีปันผลสม่ำเสมอและมีแนวโน้มมากขึ้น
4) ผลตอบแทนโดยรวม เทียบกับ pe ต้องสูงกว่า pe หรือ เอาอัตราเติบโตกำไร + %ปันผล หารด้วย pe ควรอยู่ที่ 2:1
5) หุ้นที่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ควรซื้อที่ pe ต่ำมากๆ หรือ pe ที่เคยต่ำสุด ไม่อย่างนั้นก็ไม่ซื้อ
6) ลงทุนในบริษัทมั่นคงในอุตสาหกรรมที่เติบโต
7) หุ้นต้องมีปัจจัยพื้นฐานดี แข็งแรง โดยดูจาก roe สูงมากพอ สม่ำเสมอ, profit margin ไม่ดูกำไรจากการดำเนินงาน แต่จะดู ebit ต้องเติบโตและมีแนวโน้มเพิ่ม, ดูที่กระแสเงินสดอิสระ
- ราคาที่จะซื้อหุ้นต้องต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมิน ถ้าต่ำกว่ามูลค่าที่คิดน้อยกว่า 25% จะไม่ซื้อ (อ.ไพบูลย์เสริม คือ margin of safety อย่างน้อย 25%)
- มักจะมีแต่คนบอกเวลาจะซื้อหุ้นตอนไหน แต่ไม่ค่อยมีคนบอกว่าขายเมื่อไร ซึ่งเขาบอกว่ามี 2 เหตุผล คือปัจจัยพื้นฐานแย่ลง และราคาตลาดเท่ากับมูลค่าที่คำนวณได้ เป็นช่วงที่ควรขายได้แล้ว
- อ.เสน่ห์เสริมอย่างกรณีเคสเครื่องบินมาเลเซียตกควรทำอย่างไร ? ดร.กุศยา ถ้าช่วงสั้นๆ Vi ก็ถือต่อถ้าปัจจัยพื้นฐานยังดี แต่สำหรับธุรกิจการบินบัฟเฟตต์บอกว่าใครอยากเจ๊งก็ให้ลงทุนในธุรกิจการบินพาณิชย์ แต่บัฟเฟตต์ซื้อ flight simulator กับ net jet ทำเหมาลำและขายสัดส่วนความเป็นเจ้าของ
ปีเตอร์ ลินซ์ (โดย ดร.นิเวศน์ )
- หนังสือ one up on wall street ปีเตอร์ ลินซ์
- เป็นตำนานของผู้บริหารกองทุนที่ยังไม่มีใครทำลายสถิติได้ เพราะเขาเกษียณไปก่อน เหมือนชกมวยชนะมาตลอดแล้วแขวนนวม
- เคยเป็นแคดดี้ แล้วฟังนักกอล์ฟคุยเรื่องหุ้นกัน ไปเรียนจบด้านศิลปะ วรรณคดีมา ซึ่งเป็นนักการเงินที่มี background เป็นศิลปศาสตร์ ต่อมาได้ไปบริหารกองทุนแมคเจลลันฟันด์ บริหาร 13 ปี ผลตอบแทนราว 30% ทบต้น (อ.เสน่ห์เสริมว่า ขนาดกองทุนเพิ่มจาก 20 million เป็น 40 billion US)
- อย่าง บิล มิลเลอร์ เคยขึ้นสูงมากครั้งหนึ่ง อาจจะ 8-9 ปี แล้วก็เจ๊งไป
- ปีเตอร์ ลินซ์ซื้อหุ้นเกือบทุกตัว มีหุ้นเป็นพันตัว เล่นหุ้นได้ทุกรูปแบบ ส่วนที่โดดเด่นมาก คือเป็นคนแรกที่บอกว่านักลงทุนไม่ต้องเป็นมืออาชีพ เป็นชาวบ้านก็ได้ ต้องใช้ common sense จะรู้ข้อมูลที่สำคัญกองพวกนักลงทุนอาชีพนักวิเคราะห์ หุ้นดีๆอยู่รอบตัวเราไม่ได้อยู่ในห้องค้า เค้าจะคอยฟังเมียพูดอะไร เด็กพูดอะไร คนขับ taxi ถ้าทำงานอะไรที่เราคุ้นเคยดี ก็จะเป็นโอกาสเห็นหุ้นดีๆ เป็นการเปิดโลกใหม่ให้คนเห็นว่าการลงทุนหุ้นไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องรอบตัว
- ลินซ์เคยเล่าถึงหุ้นตัวหนึ่งทุกคนไม่สนใจเลย เป็นธุรกิจจัดงานศพ ซึ่งหุ้นนี้ก็ขึ้นมากมาย ถ้าธุรกิจทำได้ดีมากก็ไปซื้อหุ้นเขา
- ลินซ์แบ่งหุ้นออกเป็น 6 กลุ่ม ให้พิจารณาดูเมื่อดูหุ้นจะรู้ว่าต้องทำอย่างไร
1) หุ้นโตช้า ไม่โตหรือติดลบ รายได้กำไรไม่ค่อยโต ไม่ต้องสนใจ แต่ถ้าจะซื้อก็คือต้องปันผลดีมาก ซึ่งลินซ์ไม่ชอบกลุ่มนี้ แต่ก็ดูเป็นบริษัท เช่น อุตสาหกรรมไม่เติบโต แต่มีบริษัทขายพรม กิน market share ไปได้เรื่อยๆ ก็เติบโตได้ แบบนี้ซื้อได้
2) หุ้นแข็งแกร่ง เติบโตได้เรื่อยๆ หรือเติบโตตามเศรษฐกิจ เป็น blue chip จะมั่นคงทนทานภาวะเศรษฐกิจได้ เช่น แบงค์ ซื้อได้แต่ต้องรู้เวลาขาย ถ้ากำไร 30-50% แล้วก็อย่าไปเก็บไว้ เพราะหุ้นแบบนี้โตได้ไม่เร็ว
3) หุ้นโตเร็ว ลินซ์ชอบกลุ่มนี้ เป็นหุ้นเล็กในเมืองนอก ต้องเติบโต 20-25% อาจจะโตได้ต่อเนื่องซัก 5 ปี ซื้อแล้วถือไว้รอจนบางทีอาจจะขึ้นไป 10 เท่าถึงจะขาย ถ้ามันยังโตเร็วอยู่ เป็นหุ้นเด้ง (bagger) เวลาโตแล้วจะดูด้วยว่ากำไรโตอย่างไร สิ่งที่เน้นคือ ถ้าเป็นสาขาจะเห็นชัดว่าเปิดสาขาเพิ่มโตอย่างไร หรืออย่างตัดผม อาจมีโรงเรียนสอนตัดผม ร้านค้าปลีก ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ทำให้เขาประสบความสำเร็จสูง
4) หุ้นวัฏจักร หุ้นบางตัวเหมือนโต แต่โตไม่นาน เพราะเป็น cycle ราคาสินค้าขึ้น ไม่ใช่เกิดการขายมากขึ้น เช่นในบ้านเราเคยหุ้นเรือวิ่งขึ้นมากจากค่าระวาง หุ้นแบบนี้ต้องเล่นเป็นรอบ ได้ผลตอบแทนมาก แต่ก็เจ๊งได้มาก เวลาราคาหุ้นวิ่งขึ้น กำไรขึ้นสูงมากกว่า ก็ทำให้ pe ถูก ซึ่งลินซ์บอกว่าหุ้นพวกนี้ต้องซื้อตอน pe สูง ตอนกำไรแย่ๆ ราคาตกลงมาก แต่น้อยกว่ากำไร ต้องซื้อตอนที่ยอดขายกำลังฟื้นตัว ตกต่ำไปหลายปี เช่น 3 ขึ้นไป ซื้อแล้วก็รอไว้
5) หุ้น turn around บริษัทที่ตกต่ำหนัก จะเจ๊ง ขาดทุนมาก ราคาหุ้นตกต่ำ ต้องซื้อหุ้นที่ไม่เจ๊ง มีเงินสดมาก หนี้ไม่มากเกินไป วันหนึ่งอาจจะฟื้นคืนมาได้ ซื้อในช่วงที่มั่นใจว่าไม่เจ๊งและจะฟื้นได้
6) หุ้น asset play ทรัพย์สินมาก เอาทรัพย์สินทั้งหมดมาคำนวณ ลบหนี้สิน แล้วเทียบกับ market cap เช่นได้คิดมูลค่าได้ 100 บาทต่อหุ้น แต่หุ้นราคา 50 บาท ก็ซื้อไปแล้วรอ unlock แก้ปัญหาหุ้นได้ ราคาหุ้นก็จะสูงมาก
- แบรนด์เนมของลินซ์ คือ ราคาหุ้นจะตามกำไรเสมอในระยะยาว จะพลอตให้ดูเส้นราคาหุ้นกับกำไรคู่กัน ถ้ากำไรเพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่เพิ่มขึ้น ยิ่งมีโอกาสซื้อหุ้นแล้วราคาขึ้นมาก ลินซ์ใช้สูตร peg ต่ำกว่า 1 คำนวณโดยเอา pe หารด้วย growth ของกำไร เช่น ถ้า pe 10 เท่า มี growth 20% peg = 0.5 ซื้อได้
- อีกคำพูดที่ดังของลินซ์คือ อย่าเด็ดดอกไม้และรดน้ำให้วัชพืช หุ้นดีๆขึ้นเราก็ขายทิ้ง แต่หุ้นไม่ดีขาดทุนเราก็ไม่ขาย บางทีซื้อเพิ่มอีกเป็นการดน้ำให้วัชพืช
- อ.เสน่ห์ เสริมมีคำพูดบอกว่า ให้ avoid long shot คืออะไร? อ.นิเวศน์ ลงทุนอย่าไปหวังลูกฟลุ๊ก
สรุปปิดท้าย
- คุณวิบูลย์ บัฟเฟตต์เคยบอกว่าหลักลงทุนเขา 50% เกรแฮม 50% ฟิชเชอร์ แต่คิดว่าระยะหลังบัฟเฟต์ แนวคิด 80% เป็นฟิชเชอร์ ไปพบผู้บริหาร ซื้อหุ้นโฟกัสจำนวนไม่มากและระยะหลังซื้อหุ้นที่อยู่นอกตลาดมากกว่า ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ปิดไปก็ไม่เป็นไร
- คุณพรชัย กูรูโลกมีจุดเด่นคือวินัย บัฟเฟตต์มักบอกว่าซื้อหุ้นบริษัทที่เข้าใจ แต่บ้านเราซื้อตามกันบางทีไม่รู้เรื่องกิจการ นักลงทุนที่เก่งๆส่วนใหญ่ถ้าขาดทุนมักจะเกิดจากวินัย ตลาดขึ้นแล้วโลภ หรือทนเห็นคนอื่นกำไรก็เข้าไปซื้อบ้าง วินัยนักลงทุนต้องพึ่งตัวเอง ไม่ได้มีโค้ชควบคุม บางทีเห็นคนอื่นได้กำไรจากหุ้นไม่ดี เราก็อยากได้บ้าง ไม่ใช่กูรู แต่กรูไม่รู้แต่กรูเคาะ มีน้อยคนที่ผ่านไปหลายสิบปียังอยู่ได้ ไม่งั้นก็จะไม่ยั่งยืน อยากให้ยึดหลักการ และมีวินัย แต่จะยากหน่อยเพราะไม่มีตัวช่วย
- ดร.กุศยา ลินซ์มีบอกว่า ถ้าหุ้นถ้าเติบโตมากไปให้ระวัง อาจจะเป็นเพราะระยะสั้น และอาจจะรักษาการเติบโตได้ไม่ตลอด ดังนั้นจะศึกษาหุ้น 6 ประเภทของลินซ์ก็ต้องศึกษาให้ถูกต้อง ฟิชเชอร์ บอกเหตุผลที่จะขายหุ้น 3 เรื่อง คือ
1) เมื่อพบว่าการซื้อของเราผิดพลาดแม้จะขาดทุนก็ต้องตัดใจ
ไม่ใช่ไม่ขายไม่ขาดทุน ดูที่ปัจจัยพื้นฐานว่าตัดสินใจผิดไหม
2) ขายเมื่อบริษัทเหตุผลเปลี่ยนแปลง ตามเกณฑ์การซื้อ 15 ข้อของฟิชเชอร์
3) ขายเมื่อพบว่ามีการลงทุนอย่างอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า น่าสนใจกว่า ต้องดูจริงๆไม่ใข่ฟังเขาว่า
Money talk ครั้งต่อไป เสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557 เปิดจอง 2 สิงหาคม 2557 มี 2 หัวข้อ :
1) บริษัทจดทะเบียน เช่น jubilie, pttgc,..
2) กลยุทธลงทุนมนุษย์เงินเดือน(สู่อิสรภาพทางการเงิน) วิทยากร คุณtheenuch, ดร.สมจินต์, ดร.นิเวศน์
รอตามประกาศทาง facebook
สุดท้ายขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร ผู้บริหารและวิทยากรทุกท่าน
ขอบคุณทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่านที่ทำให้มีการสัมมนาครับ
ถ้าหากมีสิ่งผิดพลาดขาดตกไปขออภัยด้วยครับช่วยกันเสริมได้ครับ ขอบคุณครับ
Go against and stay alive.
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: MoneyTalk@SET20Jul14จับตาหุ้นเด่น&กูรูหุ้นโลก
โพสต์ที่ 5
ชาบูๆ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET20Jul14จับตาหุ้นเด่น&กูรูหุ้นโลก
โพสต์ที่ 22
ขอบคุณค่ะ